SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 95
Downloaden Sie, um offline zu lesen
ก
ʾ        . . 2556
    ก   ก ก
คํานํา

              ตามบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546 มาตรา 16 กําหนดให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ เป็นแผน 4 ปี ที่สอดคล้องกับ
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน และให้จัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีในแต่ละปีงบประมาณเสนอต่อ
รัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ โดยให้ระบุสาระสําคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้

                 ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารจึ ง ได้ จั ด ทํ า แผนปฏิ บั ติ ร าชการประจํ า ปี พ.ศ. 2556
ของกระทรวงศึกษาธิการขึ้น โดยนําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555-2558 แผนปฏิบัติราชการ
4 ปี (พ.ศ. 2555-2558) และยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555-2558
มาใช้เป็นกรอบของการดําเนินงาน ซึ่งสาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการประจําปี พ.ศ. 2556 ฉบับนี้
จะแสดงให้เห็นยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ผลผลิต/แผนงาน/โครงการที่ทุกหน่วยงานในสังกัดจะดําเนินการ
เพื่ อให้เ กิ ดผลผลิ ต ผลลั พธ์ บรรลุ เป้ า หมายตามนโยบายหรือยุ ทธศาสตร์ ที่เ ป็ นจุ ดเน้ นสํ าคั ญ ที่รั ฐบาล
และกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารกํ า หนดไว้ อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ล เกิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด
ต่อการพัฒนาการศึกษา นอกจากนั้น ยังใช้เป็นเครื่องมือในการประสานงาน บูรณาการการทํางานกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกกระทรวง ตลอดจนใช้เป็นกรอบในการติดตามประเมินผลและรายงานผล
การดําเนินงานในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ

           กระทรวงศึกษาธิการขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือในการจัดทําแผนปฏิบัติ
ราชการประจําปี พ.ศ. 2556 ของกระทรวงศึกษาธิการจนสําเร็จได้เป็นอย่างดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
ทุกหน่วยงานจะระดมสรรพกําลังร่วมผลักดันขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้
ต่อไป


                                                                        กระทรวงศึกษาธิการ
                                                                          มีนาคม 2555
สารบัญ

                                                                                   หน้า

คํานํา
สารบัญ
บทนํา                                                                               1
ส่วนที่ 1 นโยบายรัฐบาล                                                              2
ส่วนที่ 2 ทิศทางการพัฒนาการศึกษา                                                    8
          2.1 ความนํา                                                               8
          2.2 แผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและนโยบายการพัฒนาการศึกษา                       9
          2.3 สาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ                    18
                 วิสัยทัศน์
                 พันธกิจ
                 ค่านิยม
                 ยุทธศาสตร์
                 เป้าประสงค์
                 ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
                 กลยุทธ์
                 ชุดโครงการที่สําคัญตามจุดเน้นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         2.4 รายละเอียดแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556                  25


ส่วนที่ 3 ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการนําแผนสู่การปฏิบัติ                            82

ภาคผนวก
ความเชื่อมโยงระหว่าง แผนการบริหารราชการแผ่นดิน                                     ผ.1-1
         ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
         เป้าหมายการให้บริการกระทรวง ยุทธศาสตร์
หนังสือเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556                           ผ.2-1
         ของกระทรวงศึกษาธิการ
อักษรย่อหน่วยงาน                                                                   ผ.3-1
บทนํา

                     ตามบทบั ญ ญั ติ ข องรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ งราชอาณาจั กรไทย พุ ทธศั กราช 2550 หมวด 5
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 76 และพระราชกฤษฎี ก าว่ า ด้ ว ยหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารบริ ห าร
กิ จ การบ้ า นเมื อ งที่ ดี พ.ศ. 2546 บั ญ ญั ติ ใ ห้ คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการจัดทําแผนนิติบัญญัติและแผนปฏิบัติราชการเพื่อใช้ในการบริหารราชการ
แผ่นดินตลอดระยะเวลา 4 ปี (มาตรา 13) และให้ส่วนราชการไปดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี
และแผนปฏิบัติราชการประจําปี (มาตรา 14) เพื่อรองรับการปฏิบัติราชการตามแผนการบริหารราชการ
แผ่นดิน และกําหนดให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีในแต่ละปีงบประมาณเสนอรัฐมนตรี
ให้ความเห็นชอบ (มาตรา 16) โดยมีสาระสําคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
เป้ า หมายและผลสั มฤทธิ์ ของงาน เพื่ อใช้ เป็ น กรอบแนวทางในการดํ า เนิ น งานของหน่ ว ยงานให้ บ รรลุ
ตามเป้าหมาย และเป็นแนวทางในการบริหารจัดการงบประมาณให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง
การติดตามประเมินผล
                     รัฐ บาลที่ มีน างสาวยิ่งลั กษณ์ ชิน วั ตร เป็น นายกรั ฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่ อรั ฐสภา
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 โดยแบ่งการดําเนินงานเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดําเนินการ
ในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ สมดุล ยั่งยืน
และมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายหลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา รัฐบาล
ได้ ดํ า เนิ น การจั ด ทํ า แผนการบริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น พ.ศ. 2555–2558 ที่ แ สดงรายละเอี ย ด
กรอบแนวทางการดําเนินการบริหารราชการแผ่นดินรองรับนโยบายข้างต้น ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้ให้ความ
เห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดินฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 และสํานักเลขาธิการ
คณะรัฐมนตรีได้ดําเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2554
                     เพื่อให้ เป็นไปตามบทบัญญั ติข องพระราชกฤษฎี ก าว่ า ด้ ว ยหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก าร
บริ ห ารกิ จ การบ้ า นเมื อ งที่ ดี พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการในฐานะที่เป็นส่วนราชการจึงต้องจัดทํา
แผนปฏิบัติราชการประจําปีในแต่ละปีงบประมาณเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณา
ให้ความเห็นชอบ โดยแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จัดทําขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียด
การดําเนินการตามภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการและรองรับการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ที่มุ่งหวังให้
บรรลุผลสําเร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
                     แผนปฏิ บั ติ ร าชการประจํ า ปี ง บประมาณ พ.ศ. 2556 ของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร
มีเนื้อหาสาระสําคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งว่าด้วยนโยบายรัฐบาล ส่วนที่สองว่าด้วยทิศทางการพัฒนา
การศึกษา และส่วนที่สามเป็นปัจจัยแห่งความสําเร็จในการนําแผนสู่การปฏิบัติ
ส่วนที่ 1
                                         นโยบายรัฐบาล
           ตามที่ รั ฐ บาลได้ แถลงนโยบายต่ อรั ฐ สภา เมื่ อวั น ที่ 23 สิ งหาคม 2554 ได้ กํา หนดนโยบาย
การบริหารราชการแผ่นดินไว้โดยแบ่งการดําเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดําเนินการ
ในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ สมดุล ยั่งยืน
และมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังต่อไปนี้
                      นโยบายที่ 1 นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดําเนินการในปีแรก
                      นโยบายที่ 2 นโยบายความมั่นคงของรัฐ
                      นโยบายที่ 3 นโยบายเศรษฐกิจ
                      นโยบายที่ 4 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต
                      นโยบายที่ 5 นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                      นโยบายที่ 6 นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
                      นโยบายที่ 7 นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
                      นโยบายที่ 8 นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
           กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะที่มีบทบาทและภารกิจในการจัดและส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา
เพื่ อ พั ฒ นาคนให้ เ ป็ น คนดี มี คุ ณ ธรรมนํ า ความรู้ มี คุ ณ ภาพและศั ก ยภาพในการพั ฒ นาตนเอง
อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับสาระสําคัญของแผนการบริหารราชการแผ่นดินที่กําหนดไว้
จึงมีบทบาทหลักดําเนินการตามนโยบายข้อ 4 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต (4.1) นโยบายการศึกษา
และกระทรวงศึกษาธิการยังเป็นส่วนราชการที่สําคัญในการร่วมขับเคลื่อนการดําเนินการตามนโยบายข้อ 1
นโยบายเร่ ง ด่ ว นที่ จ ะเริ่ ม ดํ า เนิ น การในปี แ รก นโยบายข้ อ 4 นโยบายสั ง คมและคุ ณ ภาพชี วิ ต
(4.3) นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน (4.4) นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม และ
นโยบายข้อ 6 นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม นอกจากนั้น ในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2556 รัฐ บาลได้กําหนดจุดเน้น หรื อแผนงานเร่งด่ว นที่ ให้ ส่วนราชการที่เ กี่ย วข้ องบูร ณาการ
ดําเนินงานร่วมกัน 17 แผนงาน ซึ่งมีแผนงานในเชิงบูรณาการที่กําหนดให้กระทรวงศึกษาธิการเป็น
หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 9 แผนงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดําเนินการในปีแรก
        1.5 เร่งนําสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอํานาจมืด โดยน้อม
นํากระแสพระราชดํารัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติใน
แนวทางสัน ติวิธี โดยเน้น การส่งเสริมความร่ว มมือในทุกภาคส่วนกับ ประชาชนในพื้นที่ อํานวย
ความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค
3

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการ
กระจายอํานาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ
รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริง
ของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม
          1.10 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ
เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมใน
ชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน
                  1.10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา
ที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ
ผนวกกับกลไกของ“หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษา โดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่
ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
          1.15 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดําเนินการในโรงเรียน
นําร่องสําหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ. 2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหา
ที่ เ หมาะสมตามหลั ก สู ต รบรรจุ ล งในคอมพิ ว เตอร์ แ ท็ บ เล็ ต รวมทั้ ง จั ด ทํ า ระบบอิ น เทอร์ เ น็ ต ไร้ ส าย
ตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กําหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
4. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต
           4.1 นโยบายการศึกษา
                   4.1.1 เร่งพั ฒนาคุณภาพการศึ กษา โดยการปฏิรูป ระบบความรู้ของสังคมไทย
อันประกอบด้วยการยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานสากล จัดให้มีโครงการตําราแห่งชาติที่บรรจุ
ความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐานทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการอ่าน พร้อมทั้ง
ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น จัดให้มีระบบการจัดการความรู้ ปฏิรูป
หลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและทัดเทียมกับมาตรฐานสากลบนความ
เป็ นท้ องถิ่ น และความเป็ นไทยเพิ่ มผลสัมฤทธิ์ ของการศึกษาทุ กระดั บชั้ น โดยวัด ผลจากการผ่ า นการ
ทดสอบมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจากสังคมไทย จัดให้มีครูดี
เพียงพอในทุกห้องเรียน ให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัย
เข้าสู่ระดับโลก พัฒนาระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมมุ่งการสร้างจริยธรรมในระดับปัจเจก
รวมทั้งสร้างความตระหนักในสิทธิและหน้าที่ความเสมอภาค และดําเนินการให้การศึกษาเป็นพื้นฐาน
ของสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริงปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาโดยการกระจายอํานาจสู่
พื้นที่ให้เสร็จสมบูรณ์โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีความพร้อม
4

                  4.1.2 สร้างโอกาสทางการศึกษา กระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย โดย
คํานึงถึงการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ประชากรทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงผู้ยากไร้
ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้ รวมทั้ง ชนกลุ่มน้อย โดยส่งเสริมการให้ความรู้
ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงแรกเกิดให้ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งแม่และเด็ก สนับสนุนการจัด
การศึกษาตามวัยและพัฒนาการอย่างมีคุณภาพตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้
มีการเทียบโอนวุฒิการศึกษาสําหรับกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น กลุ่มแม่บ้าน จัดให้มีระบบ
สะสมผลการศึกษาและการเทียบโอนเพื่อขยายโอกาสให้กว้างขวางและลดปัญหาคนออกจากระบบ
การศึ กษา นอกจากนี้ จะดําเนินการลดข้อจํ ากัด ของการเข้าถึงการศึกษาระดั บอุดมศึกษาและ
อาชีวศึกษาชั้นสูง โดยจัดให้มี “โครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต” โดยให้ผู้กู้เริ่ม
ใช้คืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้ พักชําระหนี้แก่ผู้เป็นหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดย
ปรับเปลี่ยนการชําระหนี้เป็นระบบที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ปรับปรุงระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
ทุกระดับให้เอื้อต่อการกระจายโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือกกลางเพื่อเข้าศึกษาต่อ
ในมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ดําเนิน “โครงการ 1 อําเภอ 1 ทุน” เพื่อเปิดโอกาสให้
เด็กไทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดการศึกษาชุมชนเพื่อมุ่งให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และการศึกษา
ตลอดชีวิต
                  4.1.3 ปฏิรูปครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริงโดยปฏิรูประบบการผลิต
ครูให้มีคุณภาพทั ดเทีย มกั บนานาชาติ สร้า งแรงจูงใจให้ คนเรีย นดี และมี คุณธรรมเข้ าสู่ วิช าชี พครู
ปรับปรุงระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนครู พัฒนาระบบความก้าวหน้าของครูโดยใช้การประเมิน
เชิงประจักษ์ที่อิงขีดความสามารถและวัดสัมฤทธิผลของการจัดการศึกษาเป็นหลัก จัดระบบการศึกษา
และฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาหนี้สินครูโดยการพักชําระหนี้และการปรับ
โครงสร้างหนี้ตามนโยบายแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของรัฐบาล พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการ
กระจายครูขจัดปัญหาการขาดแคลนครูในสาระวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา
                  4.1.4 จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งใน
เชิงปริมาณและคุณภาพ โดยกระบวนการสร้างประสบการณ์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม และสนับสนุน
การสร้างรายได้ระหว่างเรียน และสนับสนุนให้ผู้สําเร็จการศึกษามีงานทําได้ทันทีโดยความร่วมมือ
ระหว่างแหล่งงานกับสถานศึกษา ส่งเสริมให้มีศูนย์อบรมอาชีวศึกษาเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และ
ประชาชน สามารถเรียนรู้หาประสบการณ์ก่อนไปประกอบอาชีพโดยให้สถาบันอาชีวศึกษาดําเนินการ
ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอาชีพ รวมทั้งจัดให้มีศูนย์ซ่อมสร้างประจําชุมชนเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือและ
การสร้างทักษะในการให้บริการแก่ประชาชน ทั้งนี้ จะดําเนินการร่วมกับภาคเอกชนอย่างจริงจังเพื่อ
ส่งเสริมการศึกษาในสายอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับและสามารถมีรายได้สูงตามความสามารถ
                  4.1.5 เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ
โดยใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษา จัดให้มีระบบ
การเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเพื่อเป็นกลไกในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเรียนรู้ให้เป็นแบบ
5

ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา
พัฒนาระบบ “ไซเบอร์โฮม”ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งเสริม
ให้ นั ก เรี ย นทุ กระดั บ ชั้ น ได้ ใช้ อุป กรณ์ คอมพิ ว เตอร์ แท็ บ เล็ ต เพื่ อการศึ ก ษา ขยายระบบโทรทั ศ น์
เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง ปรับปรุงห้องเรียนนําร่องให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้ง
เร่งดําเนินการให้ “กองทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” สามารถดําเนินการตามภารกิจได้
                       4.1.6 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ พัฒนามหาวิทยาลัย
ให้มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก ระดมสรรพกําลังเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการวิจัยแห่งชาติ
เพื่อสร้างทุนทางปัญญาและนวัตกรรม ผลักดันให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ทางเทคโนโลยีเพื่อนําไปสู่
การสร้างรากฐานใหม่ของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการวิจัยสําหรับสาขาวิชา
ที่ จํ า เป็ น พั ฒ นาโครงสร้ า งการบริ ห ารงานวิ จั ย ของชาติ โ ดยเน้ น ความสั มพั น ธ์ อย่ า งเหมาะสมและมี
ประสิทธิภาพระหว่างองค์กรบริหารงานวิจัยกับสถาบันอุดมศึกษา
                       4.1.7 เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคม
อาเซียน โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในการวางแผนการผลิตและพัฒนากําลังคนให้มี
คุณภาพและปริมาณเพียงพอ สอดคล้องตามความต้องการของภาคการผลิตและบริการ เร่งรัดการจัดทํา
มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพรับรองสมรรถนะการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพ และการจัดทํามาตรฐาน
ฝีมือแรงงานให้ครบทุกอุตสาหกรรม
              4.3 นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน
                       4.3.1 ลงทุนด้านบริการสุขภาพ โดยการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสุขภาพทั้งระบบ
อย่างมีบูรณาการเชื่อมโยงในทุกระดับ จัดให้มีระบบสารสนเทศทางสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และเร่ง
ผลิ ต บุ คลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุ ขให้ เ พี ย งพอกั บ ปริ มาณงานที่ เ พิ่ มขึ้ น ตามข้ อเท็ จ จริ งใน
ปัจจุบัน เพิ่มขีดความสามารถของโรงพยาบาลระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์ความเป็นเลิศที่
กระจายอยู่ในส่วนภูมิภาค และมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยไปสู่โรงพยาบาลต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งสนับสนุนให้โรงพยาบาลในระดับต่างๆ มีเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และห้องปฏิบัติการ
วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทันสมัย รวมทั้งพัฒนาสถานบริการปฐมภูมิในเขตเมืองและชนบทที่สมบูรณ์
แบบทั่วประเทศ
              4.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
                       4.4.5 นําทุนทางวัฒนธรรมของประเทศมาสร้างคุณค่าทางสังคมและเพิ่มมูล ค่าทาง
เศรษฐกิจ โดยนําวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์และ
บริการด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นวัฒนธรรมสร้างสรรค์ก่อให้เกิดคุณค่าทางสังคม และนํามาซึ่งรายได้
สู่ชุมชน ตลอดจนให้สามารถต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์อย่างครบวงจรที่สร้างรายได้
เข้าประเทศ
6

6. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
       6.2 เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอต่อความต้องการของ
ประเทศ เพื่อรองรั บ การพั ฒ นาประเทศอย่ า งมั่น คงและนํ า พาประเทศไทยเข้า สู่ ร ะบบเศรษฐกิ จ
ฐานความรู้ แ บบสร้ า งสรรค์ แ ละนวั ต กรรมใหม่ พั ฒ นาสายงานการวิ จั ย เพื่ อ ให้ นั ก วิ จั ย มี ร ะบบ
ความก้าวหน้าในวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาแหล่งงานด้านการวิจัยเพื่อรองรับบุคลากรการวิจัยทั้งในภาครัฐ
และเอกชน
แผนงานในเชิงบูรณาการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
            เนื่องจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการดําเนินการตามนโยบาย
เร่ ง ด่ ว น 16 ข้ อ จึ ง ได้ มี ก ารบู ร ณาการการดํ า เนิ น ภารกิ จ ต่ า งๆ ทั้ ง ในระดั บ กระทรวง หน่ ว ยงาน
และระหว่ า งกระทรวงให้ ส อดคล้ อ งกั บ นโยบายรั ฐ บาลและมี ค วามเชื่ อ มโยงระหว่ า งกั น ตลอดจน
ให้ความสําคัญกับการบูรณาการระดับพื้นที่ ระหว่างส่วนราชการ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อลดความซ้ําซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน รวมทั้งเพื่อให้โครงสร้าง
แผนงานตามยุทธศาสตร์การจั ดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2556 สามารถ
สะท้อนการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาลได้อย่างชัดเจน จึงกําหนดแผนงานในเชิงบูรณาการรองรับ
นโยบายเร่ งด่ว นและกํ า หนดแผนงานไว้ ในยุ ทธศาสตร์ ที่ 1 ของยุ ทธศาสตร์ การจั ด สรรงบประมาณ
รายจ่ า ยประจํ า ปี ง บประมาณ พ.ศ. 2556 จํ า นวนทั้ ง สิ้ น 17 แผนงาน โดยมี ส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ
กระทรวงศึกษาธิการ จํานวน 9 แผนงาน ประกอบด้วย
            แผนงานที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลัก ได้แก่
            1. แผนงานสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา
            แผนงานที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
            1. แผนงานป้องกัน ปราบปราม และบําบัดรักษายาเสพติด
            2. แผนงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต
            3. แผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
            4. แผนงานฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาค
            5. แผนงานส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน
            6. แผนงานเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
            7. แผนงานพัฒนาศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน
            8. แผนงานฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ
7

          ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555-
2558 พบว่า สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายข้อ 1 นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่ม
ดําเนินการในปีแรก (1.2, 1.3, 1.5, 1.6, 1.10, 1.12, 1.13, 1.15) รวม 8 แผนงาน ส่วนแผนงานฟื้นฟู
และสร้ า งอนาคตประเทศ จะสอดคล้ อ งกั บ นโยบายที่ 5 นโยบายที่ ดิ น ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ
สิ่งแวดล้อม (5.7) ดั งนั้น รายละเอี ย ดแผนงาน/โครงการของกระทรวงศึกษาธิ การรองรั บแผนงาน
ในเชิ งบู ร ณาการที่ กระทรวงศึ ก ษาธิ การเป็ น หน่ ว ยงานหลั ก (ข้ อ 1) และเป็ น หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง
(ข้ อ 1-7) จะปรากฏอยู่ ใ นนโยบายข้ อ 1 นโยบายเร่ ง ด่ ว นที่ จ ะเริ่ ม ดํ า เนิ น การในปี แ รก และข้ อ 8
จะปรากฏอยู่ในนโยบายข้อ 5 นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 2
                                         ทิศทางการพัฒนาการศึกษา
2.1 ความนํา
                      หลั งจากการประกาศใช้รั ฐ ธรรมนูญ แห่ งราชอาณาจั กรไทย พุ ทธศั กราช 2550 นโยบาย
การศึ ก ษาของรั ฐ บาล และแนวโน้ ม การเปลี่ ย นแปลงทั้ ง ด้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คม ประชากร พลั ง งาน
และสิ่ ง แวดล้ อ ม วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ท่ า มกลางกระแสโลกาภิ วั ต น์ ที่ มี ก ารเคลื่ อ นย้ า ยคน เงิ น
เทคโนโลยี ข้ อมู ล ข่ า วสาร และความรู้ อย่ า งเสรี รวมทั้ งได้ มี การจั ด การเลื อกตั้ งสมาชิ กสภาผู้ แทนราษฎร
เมื่ อวั นที่ 3 กรกฎาคม 2554 และได้มีพระบรมพระราชโองการโปรดเกล้ าฯ แต่งตั้งคณะรั ฐมนตรีชุ ดใหม่
เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน และได้มีการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม
2554 ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้ มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของประเทศอย่างมีนัยสําคัญ และผลการประเมิน
การศึ ก ษาของสํ า นั ก งานรั บ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา (องค์ ก ารมหาชน) และการ
ประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ผ่านมาของสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา พบว่า มีประเด็น
ปั ญ หาต้ อ งเร่ ง พั ฒ นา ปรั บ ปรุ ง และต่ อยอด โดยเฉพาะด้ า นคุ ณ ภาพผู้ เ รี ย น ครู คณาจารย์ และบุ คลากร
ทางการศึ กษา และสถานศึ กษา ซึ่ งพบว่ า มี ปั ญหาขาดแคลนครู คณาจารย์ ไม่ ได้ คนเก่ ง คนดี และใจรั ก
มาเป็ น ครู คณาจารย์ มี ส ถานศึ ก ษาจํ า นวนมากที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ม าตรฐาน มี ผู้ เ รี ย นที่ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ต่ํ า กว่ า เกณฑ์
ด้ า นการกระจายอํ า นาจการบริ ห ารจั ด การ ยั งไม่ มี การกระจายไปสู่ สถานศึ กษาอย่ างเป็ นรู ปธรรม รวมทั้ ง
ขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง (ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา
ในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552-2561, หน้า 2)
                      จากบริบทดังกล่าว ส่งผลให้มีการดําเนินการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-
2561) เพื่ อ ใช้ เ ป็ น ทิ ศ ทางการพั ฒ นาการศึ ก ษาในอนาคต โดยมุ่ ง เน้ น ให้ ค นไทยได้ เ รี ย นรู้ ต ลอดชี วิ ต
อย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงการจัดทําแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) ที่ใช้เป็นกรอบ
สําหรับการดําเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร
ระดั บนโยบายของกระทรวงศึ กษาธิการบ่ อยครั้ง ทํ าให้ มีผลต่อการขับเคลื่อนและการพัฒ นาการศึ กษา
ของประเทศ
                      โดยสรุปกล่าวได้ว่า บริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจเป็นได้
ทั้ ง โอกาสและอุ ป สรรคที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การปรั บ รู ป แบบและบทบาทการพั ฒ นาการศึ ก ษา
ของกระทรวงศึ ก ษาธิ การในอนาคตเป็ น อย่ า งมาก จึ ง จํ า เป็ น ต้ อ งทบทวนแนวคิ ด และทิ ศทางการพั ฒ นา
การศึ ก ษา และกํ า หนดยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาการศึ ก ษาให้ ส อดรั บ กั บ บริ บ ทการเปลี่ ย นแปลงดั ง กล่ า ว
เพื่อรองรับและสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป
9
2.2 แผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและนโยบายการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
           1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555–2559)
                  การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีแนวคิดที่มีความต่อเนื่องจากแนวคิด
ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-10 โดยยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลาง
ของการพัฒนา” รวมทั้ง “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจน
ยิ่งขึ้นในทุกระดับ เพื่อให้การพัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปบนทางสายกลาง เชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนา
อย่างบูรณาการ ทั้งคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการเมือง โดยมีการวิเคราะห์อย่าง “มีเหตุผล”
และใช้หลัก “ความพอประมาณ” ให้เกิดความสมดุลระหว่างมิติทางวัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ความสมดุล
ระหว่างความสามารถในการพึ่งตนเองกับการแข่งขันในเวทีโลก ความสมดุลระหว่างสังคมชนบทกับเมือง
เตรี ย ม “ระบบภู มิคุ้ ม กั น ” ด้ ว ยการบริ ห ารจั ด การความเสี่ ย งให้ เ พี ย งพอพร้ อมรั บ ผลกระทบจาก
การเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอนต้องใช้
“ความรอบรู้” ในการพัฒนาด้านต่างๆ ด้วยความรอบคอบ เป็นไปตามลําดับขั้นตอน และสอดคล้องกับวิถีชีวิต
ของสังคมไทย รวมทั้งเสริมสร้างศีลธรรมและสํานึกใน “คุณธรรม” จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่และดําเนิน
ชีวิตด้วย “ความเพียร” จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก
ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ จึงได้กําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่มีลําดับความสําคัญสูง ดังนี้
                  1.1 วิสัยทัศน์
                  “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อ
การเปลี่ยนแปลง”
                  1.2 พันธกิจ
                            1.2.1 สร้างสังคมเป็นธรรมและเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต
ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและกระบวนการ
ยุติธรรมอย่างเสมอภาค ทุกภาคส่วนได้รับการเสริมพลังให้สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ภายใต้
ระบบบริหารจัดการภาครัฐที่โปร่งใส เป็นธรรม
                            1.2.2 พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการ
ดํารงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัว
รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง
                            1.2.3 พัฒ นาฐานการผลิต และบริการให้ เข้ มแข็งและมี คุณภาพบนฐานความรู้
ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและ
การบริโ ภคให้เ ป็นมิ ตรกั บสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้ างความเชื่ อมโยงกั บประเทศในภูมิภาคเพื่ อความมั่ นคง
ทางเศรษฐกิจและสังคม
                            1.2.4 สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมี
ส่ว นร่ ว มของชุ มชน รวมทั้งสร้า งภูมิคุ้มกั น เพื่ อรองรั บ ผลกระทบจากการเปลี่ ย นแปลงสภาพภูมิอากาศ
และภัยพิบัติทางธรรมชาติ
10
                    1.3 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
                        1.3.1 วัตถุประสงค์
                              1) เพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมสันติสุข
                              2) เพื่อพัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางกาย ใจ สติปัญญา
อารมณ์ คุณธรรม จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีบทบาทหลักในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
                              3) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ คุณภาพ และยั่งยืน มีความ
เชื่อมโยงกับเครือข่ายการผลิตสินค้าและบริการบนฐานปัญญา นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในภูมิภาค
อาเซียน มีความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นําไปสู่การเป็น
สังคมคาร์บอนต่ํา
                              4) เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษา
สมดุลของระบบนิเวศ และเป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ
                        1.3.2 เป้าหมายหลัก
                              1) ความอยู่เย็นเป็นสุขและความสงบสุขของสังคมไทยเพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ํา
ในสังคมลดลง สัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลง และดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นไม่ต่ํากว่า 5.0 คะแนน
                              2) คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะดีขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรม และ
สถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น
                              3) เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมตามศักยภาพของประเทศ ให้ความสําคัญ
กับการเพิ่มผลิตภาพรวมไม่ต่ํากว่าร้อยละ 3.0 ต่อปี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ให้มีไม่ต่ํากว่าร้อยละ 40.0
                              4) คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
                    1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
                        1.4.1 ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
                        1.4.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
                        1.4.3 ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
                        1.4.4 ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
                        1.4.5 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจและสังคม
                        1.4.6 ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
11
          2. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561)
              คณะรัฐมนตรีเมื่อคราวประชุมวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูป
การศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) มุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมี
เป้าหมายหลักสามประการ คือ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทาง
การศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการ
บริ ห ารและจั ด การศึ ก ษา โดยกํ า หนดประเด็ น สํ า คั ญ ของระบบการศึ ก ษาและเรี ย นรู้ ที่ ต้ อ งการปฏิ รู ป
อย่างเร่งด่วนได้ 4 ประการหลัก ได้แก่ (1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ (2) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
(3) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และ (4) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ดังนี้
                    1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตั้งแต่ปฐมวัย สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
และแสวงหาความรู้ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งตลอดชี วิ ต สามารถสื่ อ สาร คิ ด วิ เ คราะห์ แก้ ปั ญ หา ริ เ ริ่ มสร้ า งสรรค์
มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ทํางานเป็นกลุ่มได้ มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยม จิต สํานึกและภู มิใจในความเป็นไทย ก้าวทันโลก เป็นกําลังคนที่มีคุณภาพ มีทักษะความรู้พื้นฐาน
ที่จําเป็น สมรรถนะ ความรู้ สามารถทํางานมีประสิทธิภาพ มีโอกาสเรียนรู้อย่างเท่าเทียม เสมอภาค
                    2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ที่เป็นผู้อํานวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า
มี ร ะบบ กระบวนการผลิ ต และพั ฒ นาครู คณาจารย์ และบุ ค ลากรทางการศึ กษา ที่ มีคุณ ภาพมาตรฐาน
เหมาะสมกั บ การเป็ น วิ ช าชี พ ชั้ น สู ง สามารถดึ ง ดู ด คนเก่ ง และดี มี ใ จรั ก มาเป็ น ครู มี ป ริ ม าณเพี ย งพอ
และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ สามารถพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
มีสภาวิชาชีพที่เข้มแข็ง บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
                    3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ โดยการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
ทุกระดับ/ประเภทให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สําหรับการศึกษาและการเรียนรู้
ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                    4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ มุ่งเน้นการกระจายอํานาจสู่สถานศึกษาเขตพื้นที่
การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน
และทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส เป็นธรรมตรวจสอบได้ มีการ
นําระบบและวิธีการบริหารจัดการแนวใหม่มาใช้ ควบคู่กับการสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลง มีการบริหารจัดการ
การเงินและงบประมาณที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (Demand side) โดยให้ผู้เรียนเลือกรับบริการ
          3. แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559)
             คณะรัฐมนตรีเมื่อคราวประชุมวันที่ 5 มกราคม 2553 ได้มีมติเห็นชอบแผนการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559) โดยมีวัตถุประสงค์ที่สําคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) พัฒนาคนอย่างรอบด้าน
และสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา (2) สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
และ (3) พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและ
การเรียนรู้
12
                        สาระสําคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559)
                        ปัจจุบันแม้สถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ แต่เนื่องจากแผนการ
ศึกษาแห่งชาติ ฉบับเดิม (พ.ศ. 2545-2559) นั้น เป็นแผนระยะยาวที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่ งชาติ พ.ศ. 2542 จึ งเห็น ควรให้ คงปรัช ญาหลั ก เจตนารมณ์ และวั ตถุ ป ระสงค์ ของแผนฉบับ เดิมไว้
แล้ ว ปรั บ ปรุ ง ในส่ ว นของนโยบาย เป้ า หมาย และกรอบการดํ า เนิ น งานให้ ส อดคล้ อ งกั บ สถานการณ์
ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสรุปสาระสําคัญได้ดังนี้
                        ปรัชญาหลักและกรอบแนวคิด
                        การจัดทําแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) ยึดหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล
มีความรอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการ
แบบองค์รวมที่ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและสร้างการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ” ทั้งด้าน
เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากั บ
การศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง การปกครองวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น โดยคํานึงถึงการพัฒนา
อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
                        เจตนารมณ์ของแผน
                        แผนการศึกษาแห่งชาติมีเจตนารมณ์เพื่อมุ่ง (1) พัฒนาชีวิตให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์
ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต สามารถ
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” และ (2) พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็งและมีดุลยภาพ
ใน 3 ด้าน คือ เป็นสังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทร
ต่อกัน
                        วัตถุประสงค์ของแผน
                        เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง
(พ.ศ. 2552 - 2559) จึงกําหนดวัตถุประสงค์ของแผนฯ ที่สําคัญ 3 ประการ ดังนี้
                         1. พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา
                         2. เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
                          3. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคม
คุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
                        แนวนโยบาย เป้าหมาย และกรอบการดําเนินงาน
                        เพื่ อให้บ รรลุวั ต ถุ ป ระสงค์ทั้งสามประการดั งกล่ า ว ประกอบกั บการคํ านึ งถึ งทิ ศทาง
การพัฒนาประเทศในอนาคตที่เน้นการใช้ความรู้เป็นฐานของการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
ประชากร สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กําหนดวัตถุประสงค์และแนวนโยบายไว้ดังนี้
                        วัตถุประสงค์ 1 พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุล เพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา
                             1.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับและประเภทการศึกษา
13
                       1.2 ปลูกฝังและเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตสํานึก
และมีความภูมิใจในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นใน
การปกครองระบอบประชาธิ ปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรังเกียจการทุจริต ต่อต้า น
การซื้อสิทธิ์ขายเสียง
                       1.3 เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตได้มีโอกาส
เข้าถึงบริการการศึกษาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ยากจน อยู่ในท้องถิ่น
ห่างไกล ทุรกันดาร
                       1.4 ผลิตและพัฒนากําลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และเสริมสร้าง
ศักยภาพการแข่งขัน และร่วมมือกับนานาประเทศ
                       1.5 พัฒนามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งระบบประกันคุณภาพ
ภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
                       1.6 ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและ
มาตรฐาน มีคุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
                    วัตถุประสงค์ 2 สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
                       2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษา อบรม และเรียนรู้ของสถาบันศาสนา และสถาบัน
ทางสังคม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
                       2.2 ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายภูมิปัญญา และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ
วัฒนธรรม พลศึกษา กีฬา เป็นวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพและตลอดชีวิต
                       2.3 ส่ ง เสริ ม การวิ จั ย และพั ฒ นาเพื่ อสร้ า งองค์ ความรู้ นวั ต กรรม และทรั พย์ สิ น
ทางปัญญา พัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ และสร้างกลไกการนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
                    วัตถุประสงค์ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน
และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้
                       3.1 พัฒนาและนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสทาง
การศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                       3.2 เพิ่มประสิทธิภ าพการบริหารจัดการ โดยเร่งรัดกระจายอํา นาจการบริหาร
และจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                       3.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม และทุกภาคส่วน
ของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา
                       3.4 ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ และการลงทุนเพื่อการศึกษา ตลอดจนบริหาร
จัดการและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
                       3.5 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษา พัฒนาความเป็นสากล
ของการศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศภายใต้กระแส
โลกาภิวัตน์ ขณะเดียวกันสามารถอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุข มีการพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน
14
           4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555-2558
              รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธํารงเวช) ตระหนักในความสําคัญ
ของการศึ ก ษาที่ เ ป็ น หั ว ใจและกลไกหลั ก ในการพั ฒ นาประเทศในทุ ก ด้ า น เพื่ อ ให้ ส ามารถก้ า วทั น การ
เปลี่ยนแปลงและแข่งขันในประชาคมโลกได้อย่างสง่างาม โดยเน้นปรัชญา “ความเท่าเทียม” และการนํ า
“เทคโนโลยี” มาใช้ โดยจะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพสําหรับเยาวชนทุกคนทุกพื้นที่ และจัดการ
อุ ด มศึ ก ษาโดยปั้ น นั ก ศึ ก ษาไทยให้ เ ป็ น มื อ อาชี พ จึ ง ได้ กํ า หนดยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาการศึ ก ษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555-2558 มีสาระสําคัญโดยสรุป ดังนี้

วิสัยทัศน์
             จัดการศึกษาโดย “ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง” มุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม
ทั้งในเมืองและชนบท พร้อมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสําหรับทุกคน การศึกษาจะนําไปสู่การสร้างความเข้มแข็ง
ของประชาชน ประชาชนที่เข้มแข็งและมีความรู้คือทุนที่มีพลังในการต่อสู้กับความยากจน

พันธกิจ
             1. จัดการศึกษาที่มีคุณภาพสําหรับเด็ก เยาวชน ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสทุกคน เพื่อให้เท่าเทียม
กันทุกแห่งไม่ว่าในเมืองหรือชนบท ไม่ว่าจะจัดโดยรั ฐหรือเอกชน ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
และเทียบเท่า
             2. พั ฒ นานั ก ศึ ก ษาไทยให้ เ ป็ น มื อ อาชี พ เป็ น พลเมื อ งโลกที่ ทั น สมั ย มี ทั ก ษะหลากหลาย
มี ค วามสามารถในการแข่ ง ขั น ในตลาดโลกได้ และอยู่ ร่ ว มกั น เป็ น สั ง คมที่ ว างอยู่ บ นฐานความรู้ ตั้ ง แต่
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป โดยเฉพาะระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา

กรอบแนวคิดการพัฒนาการศึกษา
             กระทรวงศึกษาธิการมุ่งพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดหลักของคุณภาพและความเท่าเทียม
รวมทั้งการนําเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียน นักศึกษาเป็นสําคัญ
             โดยขยายโอกาสทางการศึกษา ดังนี้
             1. โอกาสในการเข้ า ถึ งทรั พยากรสิ่ งอํ า นวยความสะดวก เพื่ อสามารถได้ รั บ การศึ ก ษาอย่ า ง
เท่าเทียมกัน
             2. โอกาสในการเข้ า ถึ ง แหล่ ง ทุ น นั กเรี ย น นั ก ศึ ก ษาสามารถเข้ า เรี ย นได้ โ ดยไม่ ขึ้ น กั บฐานะ
ของผู้ปกครอง
             3. โอกาสในการเพิ่มพูน และฝึกฝนทักษะ นักเรียน นักศึกษาทุกคนสามารถเติบโตได้ ในโลกที่
เป็นจริง ผ่านการเรียนรู้บนฐานกิจกรรม (Activity-Based Learning)
             4. โอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยใช้
เทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

2552 2.1-plan administration-land
2552 2.1-plan administration-land2552 2.1-plan administration-land
2552 2.1-plan administration-landps-most
 
แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กระทรวงศึกษาธิการแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กระทรวงศึกษาธิการสอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)Kanjana thong
 
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556waranyuati
 
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงกองพัน ตะวันแดง
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสาKanjana thong
 
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...Kosin Jind
 
Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29Kamolkan Thippaboon
 
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ25465.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546กองพัน ตะวันแดง
 
2554-2.1government land-management-plans-in-most
2554-2.1government land-management-plans-in-most2554-2.1government land-management-plans-in-most
2554-2.1government land-management-plans-in-mostps-most
 
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ25465.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546กองพัน ตะวันแดง
 

Was ist angesagt? (19)

2552 2.1-plan administration-land
2552 2.1-plan administration-land2552 2.1-plan administration-land
2552 2.1-plan administration-land
 
บทที่ ๑
บทที่ ๑บทที่ ๑
บทที่ ๑
 
Thai Research Policy # 8
Thai Research Policy # 8Thai Research Policy # 8
Thai Research Policy # 8
 
แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กระทรวงศึกษาธิการแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กระทรวงศึกษาธิการ
 
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...
 
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ 2560
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ 2560แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ 2560
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ 2560
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2560 - 2563)
 
แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2560 - 2562
แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2560 - 2562 แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2560 - 2562
แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2560 - 2562
 
แนวทางประสานแผน 59
แนวทางประสานแผน 59แนวทางประสานแผน 59
แนวทางประสานแผน 59
 
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556
 
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
 
กฎหมายการศึกษา กฎหมายปกครอง
กฎหมายการศึกษา กฎหมายปกครองกฎหมายการศึกษา กฎหมายปกครอง
กฎหมายการศึกษา กฎหมายปกครอง
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
 
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...
กรอบแนวทางกรขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง)นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนั...
 
Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมคณะกรรมการอาเซียน mar 29
 
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ25465.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546
 
แผนพัฒนาสามปี 2559 - 2561
แผนพัฒนาสามปี 2559 - 2561แผนพัฒนาสามปี 2559 - 2561
แผนพัฒนาสามปี 2559 - 2561
 
2554-2.1government land-management-plans-in-most
2554-2.1government land-management-plans-in-most2554-2.1government land-management-plans-in-most
2554-2.1government land-management-plans-in-most
 
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ25465.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546
5.2พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ2546
 

Ähnlich wie แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการAffiya Aming
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์คุณครูพี่อั๋น
 
แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ(3).docx
แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ(3).docxแบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ(3).docx
แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ(3).docxSattaReangnoi
 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29Ppt ประชุมอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29Kamolkan Thippaboon
 
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ ปีงบประมาณ 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ   ปีงบประมาณ 2562  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...แผนการดำเนินงานและงบประมาณ   ปีงบประมาณ 2562  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ ปีงบประมาณ 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556ading
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556adingเตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556ading
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556adingWareerut Hunter
 
หลักสูตรเรณูนครฯปี51
หลักสูตรเรณูนครฯปี51หลักสูตรเรณูนครฯปี51
หลักสูตรเรณูนครฯปี51Manchai
 
นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559
นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559
นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559worapanthewaha
 
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559นรินทร์ แสนแก้ว
 

Ähnlich wie แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา (20)

สพฐ
สพฐสพฐ
สพฐ
 
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
 
5.กรอบแนวทางการติดตามและประเมินผล
5.กรอบแนวทางการติดตามและประเมินผล5.กรอบแนวทางการติดตามและประเมินผล
5.กรอบแนวทางการติดตามและประเมินผล
 
0 afcap
0 afcap0 afcap
0 afcap
 
แผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 11
แผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 11แผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 11
แผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 11
 
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
 
Summary plan1 11
Summary plan1 11Summary plan1 11
Summary plan1 11
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
 
Microsoft word สัปดาห์ที่12
Microsoft word   สัปดาห์ที่12Microsoft word   สัปดาห์ที่12
Microsoft word สัปดาห์ที่12
 
Operation plan
Operation planOperation plan
Operation plan
 
แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ(3).docx
แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ(3).docxแบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ(3).docx
แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ(3).docx
 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
 
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
 
Arc pr plan2011
Arc pr plan2011Arc pr plan2011
Arc pr plan2011
 
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29Ppt ประชุมอาเซียน mar 29
Ppt ประชุมอาเซียน mar 29
 
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ ปีงบประมาณ 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ   ปีงบประมาณ 2562  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...แผนการดำเนินงานและงบประมาณ   ปีงบประมาณ 2562  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ ปีงบประมาณ 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโ...
 
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556ading
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556adingเตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556ading
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556ading
 
หลักสูตรเรณูนครฯปี51
หลักสูตรเรณูนครฯปี51หลักสูตรเรณูนครฯปี51
หลักสูตรเรณูนครฯปี51
 
นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559
นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559
นโยบาย สพฐ. ปีงบประมาณ 2559
 
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559
นโยบายสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ2559
 

Mehr von ราชประชานุเคราะห์ จังหวัดชุมพร

Mehr von ราชประชานุเคราะห์ จังหวัดชุมพร (14)

รายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sar
รายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sarรายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sar
รายงานการประเมินตนเองรายบุคคล Sar
 
Asean curriculum sourcebook
Asean curriculum sourcebookAsean curriculum sourcebook
Asean curriculum sourcebook
 
แบบฟอร์มโครงการ
แบบฟอร์มโครงการแบบฟอร์มโครงการ
แบบฟอร์มโครงการ
 
ปกSar2554
ปกSar2554ปกSar2554
ปกSar2554
 
ตอนที่3 sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20
ตอนที่3  sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20ตอนที่3  sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20
ตอนที่3 sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20
 
ตอนที่1 sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20
ตอนที่1 sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20ตอนที่1 sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20
ตอนที่1 sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20
 
ตอนที่2 sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20
ตอนที่2 sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20ตอนที่2 sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20
ตอนที่2 sar2554 ราชประชานุเคราะห์ 20
 
แปลงไฟล์ง่ายๆ
แปลงไฟล์ง่ายๆแปลงไฟล์ง่ายๆ
แปลงไฟล์ง่ายๆ
 
โหลดไฟล์ Youtube ง่ายๆ
โหลดไฟล์ Youtube ง่ายๆโหลดไฟล์ Youtube ง่ายๆ
โหลดไฟล์ Youtube ง่ายๆ
 
นโยบายหลักด้านการศึกษา 2555
นโยบายหลักด้านการศึกษา 2555นโยบายหลักด้านการศึกษา 2555
นโยบายหลักด้านการศึกษา 2555
 
วิธีติดตั้งจาน PSI Ok
วิธีติดตั้งจาน PSI Okวิธีติดตั้งจาน PSI Ok
วิธีติดตั้งจาน PSI Ok
 
รายการสำรวจอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
รายการสำรวจอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษารายการสำรวจอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
รายการสำรวจอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
 
wordpress
wordpresswordpress
wordpress
 
รำวงมาตรฐาน
รำวงมาตรฐานรำวงมาตรฐาน
รำวงมาตรฐาน
 

แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษา

  • 1. ก ʾ . . 2556 ก ก ก
  • 2.
  • 3. คํานํา ตามบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 16 กําหนดให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ เป็นแผน 4 ปี ที่สอดคล้องกับ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน และให้จัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีในแต่ละปีงบประมาณเสนอต่อ รัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ โดยให้ระบุสาระสําคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารจึ ง ได้ จั ด ทํ า แผนปฏิ บั ติ ร าชการประจํ า ปี พ.ศ. 2556 ของกระทรวงศึกษาธิการขึ้น โดยนําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555-2558 แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2555-2558) และยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555-2558 มาใช้เป็นกรอบของการดําเนินงาน ซึ่งสาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการประจําปี พ.ศ. 2556 ฉบับนี้ จะแสดงให้เห็นยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ผลผลิต/แผนงาน/โครงการที่ทุกหน่วยงานในสังกัดจะดําเนินการ เพื่ อให้เ กิ ดผลผลิ ต ผลลั พธ์ บรรลุ เป้ า หมายตามนโยบายหรือยุ ทธศาสตร์ ที่เ ป็ นจุ ดเน้ นสํ าคั ญ ที่รั ฐบาล และกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารกํ า หนดไว้ อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ล เกิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด ต่อการพัฒนาการศึกษา นอกจากนั้น ยังใช้เป็นเครื่องมือในการประสานงาน บูรณาการการทํางานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกกระทรวง ตลอดจนใช้เป็นกรอบในการติดตามประเมินผลและรายงานผล การดําเนินงานในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือในการจัดทําแผนปฏิบัติ ราชการประจําปี พ.ศ. 2556 ของกระทรวงศึกษาธิการจนสําเร็จได้เป็นอย่างดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกหน่วยงานจะระดมสรรพกําลังร่วมผลักดันขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ ต่อไป กระทรวงศึกษาธิการ มีนาคม 2555
  • 4. สารบัญ หน้า คํานํา สารบัญ บทนํา 1 ส่วนที่ 1 นโยบายรัฐบาล 2 ส่วนที่ 2 ทิศทางการพัฒนาการศึกษา 8 2.1 ความนํา 8 2.2 แผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและนโยบายการพัฒนาการศึกษา 9 2.3 สาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ 18 วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ ชุดโครงการที่สําคัญตามจุดเน้นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2.4 รายละเอียดแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 25 ส่วนที่ 3 ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการนําแผนสู่การปฏิบัติ 82 ภาคผนวก ความเชื่อมโยงระหว่าง แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ผ.1-1 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เป้าหมายการให้บริการกระทรวง ยุทธศาสตร์ หนังสือเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ผ.2-1 ของกระทรวงศึกษาธิการ อักษรย่อหน่วยงาน ผ.3-1
  • 5. บทนํา ตามบทบั ญ ญั ติ ข องรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ งราชอาณาจั กรไทย พุ ทธศั กราช 2550 หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 76 และพระราชกฤษฎี ก าว่ า ด้ ว ยหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารบริ ห าร กิ จ การบ้ า นเมื อ งที่ ดี พ.ศ. 2546 บั ญ ญั ติ ใ ห้ คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการจัดทําแผนนิติบัญญัติและแผนปฏิบัติราชการเพื่อใช้ในการบริหารราชการ แผ่นดินตลอดระยะเวลา 4 ปี (มาตรา 13) และให้ส่วนราชการไปดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจําปี (มาตรา 14) เพื่อรองรับการปฏิบัติราชการตามแผนการบริหารราชการ แผ่นดิน และกําหนดให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีในแต่ละปีงบประมาณเสนอรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบ (มาตรา 16) โดยมีสาระสําคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้ า หมายและผลสั มฤทธิ์ ของงาน เพื่ อใช้ เป็ น กรอบแนวทางในการดํ า เนิ น งานของหน่ ว ยงานให้ บ รรลุ ตามเป้าหมาย และเป็นแนวทางในการบริหารจัดการงบประมาณให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การติดตามประเมินผล รัฐ บาลที่ มีน างสาวยิ่งลั กษณ์ ชิน วั ตร เป็น นายกรั ฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่ อรั ฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 โดยแบ่งการดําเนินงานเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดําเนินการ ในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายหลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา รัฐบาล ได้ ดํ า เนิ น การจั ด ทํ า แผนการบริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น พ.ศ. 2555–2558 ที่ แ สดงรายละเอี ย ด กรอบแนวทางการดําเนินการบริหารราชการแผ่นดินรองรับนโยบายข้างต้น ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้ให้ความ เห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดินฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 และสํานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีได้ดําเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2554 เพื่อให้ เป็นไปตามบทบัญญั ติข องพระราชกฤษฎี ก าว่ า ด้ ว ยหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก าร บริ ห ารกิ จ การบ้ า นเมื อ งที่ ดี พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการในฐานะที่เป็นส่วนราชการจึงต้องจัดทํา แผนปฏิบัติราชการประจําปีในแต่ละปีงบประมาณเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบ โดยแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จัดทําขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียด การดําเนินการตามภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการและรองรับการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ที่มุ่งหวังให้ บรรลุผลสําเร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 แผนปฏิ บั ติ ร าชการประจํ า ปี ง บประมาณ พ.ศ. 2556 ของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร มีเนื้อหาสาระสําคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งว่าด้วยนโยบายรัฐบาล ส่วนที่สองว่าด้วยทิศทางการพัฒนา การศึกษา และส่วนที่สามเป็นปัจจัยแห่งความสําเร็จในการนําแผนสู่การปฏิบัติ
  • 6. ส่วนที่ 1 นโยบายรัฐบาล ตามที่ รั ฐ บาลได้ แถลงนโยบายต่ อรั ฐ สภา เมื่ อวั น ที่ 23 สิ งหาคม 2554 ได้ กํา หนดนโยบาย การบริหารราชการแผ่นดินไว้โดยแบ่งการดําเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดําเนินการ ในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังต่อไปนี้ นโยบายที่ 1 นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดําเนินการในปีแรก นโยบายที่ 2 นโยบายความมั่นคงของรัฐ นโยบายที่ 3 นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายที่ 4 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต นโยบายที่ 5 นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นโยบายที่ 6 นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม นโยบายที่ 7 นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายที่ 8 นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะที่มีบทบาทและภารกิจในการจัดและส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา เพื่ อ พั ฒ นาคนให้ เ ป็ น คนดี มี คุ ณ ธรรมนํ า ความรู้ มี คุ ณ ภาพและศั ก ยภาพในการพั ฒ นาตนเอง อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับสาระสําคัญของแผนการบริหารราชการแผ่นดินที่กําหนดไว้ จึงมีบทบาทหลักดําเนินการตามนโยบายข้อ 4 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต (4.1) นโยบายการศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการยังเป็นส่วนราชการที่สําคัญในการร่วมขับเคลื่อนการดําเนินการตามนโยบายข้อ 1 นโยบายเร่ ง ด่ ว นที่ จ ะเริ่ ม ดํ า เนิ น การในปี แ รก นโยบายข้ อ 4 นโยบายสั ง คมและคุ ณ ภาพชี วิ ต (4.3) นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน (4.4) นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม และ นโยบายข้อ 6 นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม นอกจากนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 รัฐ บาลได้กําหนดจุดเน้น หรื อแผนงานเร่งด่ว นที่ ให้ ส่วนราชการที่เ กี่ย วข้ องบูร ณาการ ดําเนินงานร่วมกัน 17 แผนงาน ซึ่งมีแผนงานในเชิงบูรณาการที่กําหนดให้กระทรวงศึกษาธิการเป็น หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 9 แผนงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดําเนินการในปีแรก 1.5 เร่งนําสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอํานาจมืด โดยน้อม นํากระแสพระราชดํารัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติใน แนวทางสัน ติวิธี โดยเน้น การส่งเสริมความร่ว มมือในทุกภาคส่วนกับ ประชาชนในพื้นที่ อํานวย ความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค
  • 7. 3 พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการ กระจายอํานาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริง ของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม 1.10 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อ เพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมใน ชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน 1.10.3 จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษา ที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ“หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษา โดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 1.15 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดําเนินการในโรงเรียน นําร่องสําหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ. 2555 ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหา ที่ เ หมาะสมตามหลั ก สู ต รบรรจุ ล งในคอมพิ ว เตอร์ แ ท็ บ เล็ ต รวมทั้ ง จั ด ทํ า ระบบอิ น เทอร์ เ น็ ต ไร้ ส าย ตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กําหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 4. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 4.1 นโยบายการศึกษา 4.1.1 เร่งพั ฒนาคุณภาพการศึ กษา โดยการปฏิรูป ระบบความรู้ของสังคมไทย อันประกอบด้วยการยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานสากล จัดให้มีโครงการตําราแห่งชาติที่บรรจุ ความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐานทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการอ่าน พร้อมทั้ง ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น จัดให้มีระบบการจัดการความรู้ ปฏิรูป หลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและทัดเทียมกับมาตรฐานสากลบนความ เป็ นท้ องถิ่ น และความเป็ นไทยเพิ่ มผลสัมฤทธิ์ ของการศึกษาทุ กระดั บชั้ น โดยวัด ผลจากการผ่ า นการ ทดสอบมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจากสังคมไทย จัดให้มีครูดี เพียงพอในทุกห้องเรียน ให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัย เข้าสู่ระดับโลก พัฒนาระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมมุ่งการสร้างจริยธรรมในระดับปัจเจก รวมทั้งสร้างความตระหนักในสิทธิและหน้าที่ความเสมอภาค และดําเนินการให้การศึกษาเป็นพื้นฐาน ของสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริงปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาโดยการกระจายอํานาจสู่ พื้นที่ให้เสร็จสมบูรณ์โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีความพร้อม
  • 8. 4 4.1.2 สร้างโอกาสทางการศึกษา กระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย โดย คํานึงถึงการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ประชากรทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้ รวมทั้ง ชนกลุ่มน้อย โดยส่งเสริมการให้ความรู้ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงแรกเกิดให้ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งแม่และเด็ก สนับสนุนการจัด การศึกษาตามวัยและพัฒนาการอย่างมีคุณภาพตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้ มีการเทียบโอนวุฒิการศึกษาสําหรับกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น กลุ่มแม่บ้าน จัดให้มีระบบ สะสมผลการศึกษาและการเทียบโอนเพื่อขยายโอกาสให้กว้างขวางและลดปัญหาคนออกจากระบบ การศึ กษา นอกจากนี้ จะดําเนินการลดข้อจํ ากัด ของการเข้าถึงการศึกษาระดั บอุดมศึกษาและ อาชีวศึกษาชั้นสูง โดยจัดให้มี “โครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต” โดยให้ผู้กู้เริ่ม ใช้คืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้ พักชําระหนี้แก่ผู้เป็นหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดย ปรับเปลี่ยนการชําระหนี้เป็นระบบที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ปรับปรุงระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ทุกระดับให้เอื้อต่อการกระจายโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือกกลางเพื่อเข้าศึกษาต่อ ในมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ดําเนิน “โครงการ 1 อําเภอ 1 ทุน” เพื่อเปิดโอกาสให้ เด็กไทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดการศึกษาชุมชนเพื่อมุ่งให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และการศึกษา ตลอดชีวิต 4.1.3 ปฏิรูปครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริงโดยปฏิรูประบบการผลิต ครูให้มีคุณภาพทั ดเทีย มกั บนานาชาติ สร้า งแรงจูงใจให้ คนเรีย นดี และมี คุณธรรมเข้ าสู่ วิช าชี พครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนครู พัฒนาระบบความก้าวหน้าของครูโดยใช้การประเมิน เชิงประจักษ์ที่อิงขีดความสามารถและวัดสัมฤทธิผลของการจัดการศึกษาเป็นหลัก จัดระบบการศึกษา และฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาหนี้สินครูโดยการพักชําระหนี้และการปรับ โครงสร้างหนี้ตามนโยบายแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของรัฐบาล พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการ กระจายครูขจัดปัญหาการขาดแคลนครูในสาระวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา 4.1.4 จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งใน เชิงปริมาณและคุณภาพ โดยกระบวนการสร้างประสบการณ์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม และสนับสนุน การสร้างรายได้ระหว่างเรียน และสนับสนุนให้ผู้สําเร็จการศึกษามีงานทําได้ทันทีโดยความร่วมมือ ระหว่างแหล่งงานกับสถานศึกษา ส่งเสริมให้มีศูนย์อบรมอาชีวศึกษาเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และ ประชาชน สามารถเรียนรู้หาประสบการณ์ก่อนไปประกอบอาชีพโดยให้สถาบันอาชีวศึกษาดําเนินการ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอาชีพ รวมทั้งจัดให้มีศูนย์ซ่อมสร้างประจําชุมชนเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือและ การสร้างทักษะในการให้บริการแก่ประชาชน ทั้งนี้ จะดําเนินการร่วมกับภาคเอกชนอย่างจริงจังเพื่อ ส่งเสริมการศึกษาในสายอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับและสามารถมีรายได้สูงตามความสามารถ 4.1.5 เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษา จัดให้มีระบบ การเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเพื่อเป็นกลไกในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเรียนรู้ให้เป็นแบบ
  • 9. 5 ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบ “ไซเบอร์โฮม”ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งเสริม ให้ นั ก เรี ย นทุ กระดั บ ชั้ น ได้ ใช้ อุป กรณ์ คอมพิ ว เตอร์ แท็ บ เล็ ต เพื่ อการศึ ก ษา ขยายระบบโทรทั ศ น์ เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง ปรับปรุงห้องเรียนนําร่องให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้ง เร่งดําเนินการให้ “กองทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” สามารถดําเนินการตามภารกิจได้ 4.1.6 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ พัฒนามหาวิทยาลัย ให้มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก ระดมสรรพกําลังเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการวิจัยแห่งชาติ เพื่อสร้างทุนทางปัญญาและนวัตกรรม ผลักดันให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ทางเทคโนโลยีเพื่อนําไปสู่ การสร้างรากฐานใหม่ของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการวิจัยสําหรับสาขาวิชา ที่ จํ า เป็ น พั ฒ นาโครงสร้ า งการบริ ห ารงานวิ จั ย ของชาติ โ ดยเน้ น ความสั มพั น ธ์ อย่ า งเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพระหว่างองค์กรบริหารงานวิจัยกับสถาบันอุดมศึกษา 4.1.7 เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคม อาเซียน โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในการวางแผนการผลิตและพัฒนากําลังคนให้มี คุณภาพและปริมาณเพียงพอ สอดคล้องตามความต้องการของภาคการผลิตและบริการ เร่งรัดการจัดทํา มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพรับรองสมรรถนะการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพ และการจัดทํามาตรฐาน ฝีมือแรงงานให้ครบทุกอุตสาหกรรม 4.3 นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน 4.3.1 ลงทุนด้านบริการสุขภาพ โดยการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสุขภาพทั้งระบบ อย่างมีบูรณาการเชื่อมโยงในทุกระดับ จัดให้มีระบบสารสนเทศทางสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และเร่ง ผลิ ต บุ คลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุ ขให้ เ พี ย งพอกั บ ปริ มาณงานที่ เ พิ่ มขึ้ น ตามข้ อเท็ จ จริ งใน ปัจจุบัน เพิ่มขีดความสามารถของโรงพยาบาลระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์ความเป็นเลิศที่ กระจายอยู่ในส่วนภูมิภาค และมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยไปสู่โรงพยาบาลต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนให้โรงพยาบาลในระดับต่างๆ มีเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และห้องปฏิบัติการ วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทันสมัย รวมทั้งพัฒนาสถานบริการปฐมภูมิในเขตเมืองและชนบทที่สมบูรณ์ แบบทั่วประเทศ 4.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม 4.4.5 นําทุนทางวัฒนธรรมของประเทศมาสร้างคุณค่าทางสังคมและเพิ่มมูล ค่าทาง เศรษฐกิจ โดยนําวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์และ บริการด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นวัฒนธรรมสร้างสรรค์ก่อให้เกิดคุณค่าทางสังคม และนํามาซึ่งรายได้ สู่ชุมชน ตลอดจนให้สามารถต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์อย่างครบวงจรที่สร้างรายได้ เข้าประเทศ
  • 10. 6 6. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม 6.2 เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอต่อความต้องการของ ประเทศ เพื่อรองรั บ การพั ฒ นาประเทศอย่ า งมั่น คงและนํ า พาประเทศไทยเข้า สู่ ร ะบบเศรษฐกิ จ ฐานความรู้ แ บบสร้ า งสรรค์ แ ละนวั ต กรรมใหม่ พั ฒ นาสายงานการวิ จั ย เพื่ อ ให้ นั ก วิ จั ย มี ร ะบบ ความก้าวหน้าในวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาแหล่งงานด้านการวิจัยเพื่อรองรับบุคลากรการวิจัยทั้งในภาครัฐ และเอกชน แผนงานในเชิงบูรณาการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เนื่องจากในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 รัฐบาลได้ให้ความสําคัญกับการดําเนินการตามนโยบาย เร่ ง ด่ ว น 16 ข้ อ จึ ง ได้ มี ก ารบู ร ณาการการดํ า เนิ น ภารกิ จ ต่ า งๆ ทั้ ง ในระดั บ กระทรวง หน่ ว ยงาน และระหว่ า งกระทรวงให้ ส อดคล้ อ งกั บ นโยบายรั ฐ บาลและมี ค วามเชื่ อ มโยงระหว่ า งกั น ตลอดจน ให้ความสําคัญกับการบูรณาการระดับพื้นที่ ระหว่างส่วนราชการ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อลดความซ้ําซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน รวมทั้งเพื่อให้โครงสร้าง แผนงานตามยุทธศาสตร์การจั ดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2556 สามารถ สะท้อนการดําเนินงานตามนโยบายรัฐบาลได้อย่างชัดเจน จึงกําหนดแผนงานในเชิงบูรณาการรองรับ นโยบายเร่ งด่ว นและกํ า หนดแผนงานไว้ ในยุ ทธศาสตร์ ที่ 1 ของยุ ทธศาสตร์ การจั ด สรรงบประมาณ รายจ่ า ยประจํ า ปี ง บประมาณ พ.ศ. 2556 จํ า นวนทั้ ง สิ้ น 17 แผนงาน โดยมี ส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ กระทรวงศึกษาธิการ จํานวน 9 แผนงาน ประกอบด้วย แผนงานที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลัก ได้แก่ 1. แผนงานสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา แผนงานที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. แผนงานป้องกัน ปราบปราม และบําบัดรักษายาเสพติด 2. แผนงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต 3. แผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4. แผนงานฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาค 5. แผนงานส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน 6. แผนงานเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว 7. แผนงานพัฒนาศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน 8. แผนงานฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ
  • 11. 7 ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555- 2558 พบว่า สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายข้อ 1 นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่ม ดําเนินการในปีแรก (1.2, 1.3, 1.5, 1.6, 1.10, 1.12, 1.13, 1.15) รวม 8 แผนงาน ส่วนแผนงานฟื้นฟู และสร้ า งอนาคตประเทศ จะสอดคล้ อ งกั บ นโยบายที่ 5 นโยบายที่ ดิ น ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม (5.7) ดั งนั้น รายละเอี ย ดแผนงาน/โครงการของกระทรวงศึกษาธิ การรองรั บแผนงาน ในเชิ งบู ร ณาการที่ กระทรวงศึ ก ษาธิ การเป็ น หน่ ว ยงานหลั ก (ข้ อ 1) และเป็ น หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง (ข้ อ 1-7) จะปรากฏอยู่ ใ นนโยบายข้ อ 1 นโยบายเร่ ง ด่ ว นที่ จ ะเริ่ ม ดํ า เนิ น การในปี แ รก และข้ อ 8 จะปรากฏอยู่ในนโยบายข้อ 5 นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • 12. ส่วนที่ 2 ทิศทางการพัฒนาการศึกษา 2.1 ความนํา หลั งจากการประกาศใช้รั ฐ ธรรมนูญ แห่ งราชอาณาจั กรไทย พุ ทธศั กราช 2550 นโยบาย การศึ ก ษาของรั ฐ บาล และแนวโน้ ม การเปลี่ ย นแปลงทั้ ง ด้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คม ประชากร พลั ง งาน และสิ่ ง แวดล้ อ ม วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ท่ า มกลางกระแสโลกาภิ วั ต น์ ที่ มี ก ารเคลื่ อ นย้ า ยคน เงิ น เทคโนโลยี ข้ อมู ล ข่ า วสาร และความรู้ อย่ า งเสรี รวมทั้ งได้ มี การจั ด การเลื อกตั้ งสมาชิ กสภาผู้ แทนราษฎร เมื่ อวั นที่ 3 กรกฎาคม 2554 และได้มีพระบรมพระราชโองการโปรดเกล้ าฯ แต่งตั้งคณะรั ฐมนตรีชุ ดใหม่ เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน และได้มีการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้ มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของประเทศอย่างมีนัยสําคัญ และผลการประเมิน การศึ ก ษาของสํ า นั ก งานรั บ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา (องค์ ก ารมหาชน) และการ ประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ผ่านมาของสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา พบว่า มีประเด็น ปั ญ หาต้ อ งเร่ ง พั ฒ นา ปรั บ ปรุ ง และต่ อยอด โดยเฉพาะด้ า นคุ ณ ภาพผู้ เ รี ย น ครู คณาจารย์ และบุ คลากร ทางการศึ กษา และสถานศึ กษา ซึ่ งพบว่ า มี ปั ญหาขาดแคลนครู คณาจารย์ ไม่ ได้ คนเก่ ง คนดี และใจรั ก มาเป็ น ครู คณาจารย์ มี ส ถานศึ ก ษาจํ า นวนมากที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ม าตรฐาน มี ผู้ เ รี ย นที่ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ต่ํ า กว่ า เกณฑ์ ด้ า นการกระจายอํ า นาจการบริ ห ารจั ด การ ยั งไม่ มี การกระจายไปสู่ สถานศึ กษาอย่ างเป็ นรู ปธรรม รวมทั้ ง ขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง (ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552-2561, หน้า 2) จากบริบทดังกล่าว ส่งผลให้มีการดําเนินการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552- 2561) เพื่ อ ใช้ เ ป็ น ทิ ศ ทางการพั ฒ นาการศึ ก ษาในอนาคต โดยมุ่ ง เน้ น ให้ ค นไทยได้ เ รี ย นรู้ ต ลอดชี วิ ต อย่างมีคุณภาพ รวมไปถึงการจัดทําแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) ที่ใช้เป็นกรอบ สําหรับการดําเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ระดั บนโยบายของกระทรวงศึ กษาธิการบ่ อยครั้ง ทํ าให้ มีผลต่อการขับเคลื่อนและการพัฒ นาการศึ กษา ของประเทศ โดยสรุปกล่าวได้ว่า บริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจเป็นได้ ทั้ ง โอกาสและอุ ป สรรคที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การปรั บ รู ป แบบและบทบาทการพั ฒ นาการศึ ก ษา ของกระทรวงศึ ก ษาธิ การในอนาคตเป็ น อย่ า งมาก จึ ง จํ า เป็ น ต้ อ งทบทวนแนวคิ ด และทิ ศทางการพั ฒ นา การศึ ก ษา และกํ า หนดยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาการศึ ก ษาให้ ส อดรั บ กั บ บริ บ ทการเปลี่ ย นแปลงดั ง กล่ า ว เพื่อรองรับและสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป
  • 13. 9 2.2 แผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและนโยบายการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ 1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555–2559) การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีแนวคิดที่มีความต่อเนื่องจากแนวคิด ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-10 โดยยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลาง ของการพัฒนา” รวมทั้ง “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจน ยิ่งขึ้นในทุกระดับ เพื่อให้การพัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปบนทางสายกลาง เชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนา อย่างบูรณาการ ทั้งคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการเมือง โดยมีการวิเคราะห์อย่าง “มีเหตุผล” และใช้หลัก “ความพอประมาณ” ให้เกิดความสมดุลระหว่างมิติทางวัตถุกับจิตใจของคนในชาติ ความสมดุล ระหว่างความสามารถในการพึ่งตนเองกับการแข่งขันในเวทีโลก ความสมดุลระหว่างสังคมชนบทกับเมือง เตรี ย ม “ระบบภู มิคุ้ ม กั น ” ด้ ว ยการบริ ห ารจั ด การความเสี่ ย งให้ เ พี ย งพอพร้ อมรั บ ผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในประเทศ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาทุกขั้นตอนต้องใช้ “ความรอบรู้” ในการพัฒนาด้านต่างๆ ด้วยความรอบคอบ เป็นไปตามลําดับขั้นตอน และสอดคล้องกับวิถีชีวิต ของสังคมไทย รวมทั้งเสริมสร้างศีลธรรมและสํานึกใน “คุณธรรม” จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่และดําเนิน ชีวิตด้วย “ความเพียร” จะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ จึงได้กําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่มีลําดับความสําคัญสูง ดังนี้ 1.1 วิสัยทัศน์ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อ การเปลี่ยนแปลง” 1.2 พันธกิจ 1.2.1 สร้างสังคมเป็นธรรมและเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและกระบวนการ ยุติธรรมอย่างเสมอภาค ทุกภาคส่วนได้รับการเสริมพลังให้สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ภายใต้ ระบบบริหารจัดการภาครัฐที่โปร่งใส เป็นธรรม 1.2.2 พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการ ดํารงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัว รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง 1.2.3 พัฒ นาฐานการผลิต และบริการให้ เข้ มแข็งและมี คุณภาพบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและ การบริโ ภคให้เ ป็นมิ ตรกั บสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้ างความเชื่ อมโยงกั บประเทศในภูมิภาคเพื่ อความมั่ นคง ทางเศรษฐกิจและสังคม 1.2.4 สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมี ส่ว นร่ ว มของชุ มชน รวมทั้งสร้า งภูมิคุ้มกั น เพื่ อรองรั บ ผลกระทบจากการเปลี่ ย นแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • 14. 10 1.3 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย 1.3.1 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมสันติสุข 2) เพื่อพัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางกาย ใจ สติปัญญา อารมณ์ คุณธรรม จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีบทบาทหลักในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ 3) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ คุณภาพ และยั่งยืน มีความ เชื่อมโยงกับเครือข่ายการผลิตสินค้าและบริการบนฐานปัญญา นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในภูมิภาค อาเซียน มีความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นําไปสู่การเป็น สังคมคาร์บอนต่ํา 4) เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษา สมดุลของระบบนิเวศ และเป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ 1.3.2 เป้าหมายหลัก 1) ความอยู่เย็นเป็นสุขและความสงบสุขของสังคมไทยเพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ํา ในสังคมลดลง สัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลง และดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นไม่ต่ํากว่า 5.0 คะแนน 2) คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะดีขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรม และ สถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น 3) เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมตามศักยภาพของประเทศ ให้ความสําคัญ กับการเพิ่มผลิตภาพรวมไม่ต่ํากว่าร้อยละ 3.0 ต่อปี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ของประเทศ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ให้มีไม่ต่ํากว่าร้อยละ 40.0 4) คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ 1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1.4.1 ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม 1.4.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน 1.4.3 ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน 1.4.4 ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน 1.4.5 ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจและสังคม 1.4.6 ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • 15. 11 2. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561) คณะรัฐมนตรีเมื่อคราวประชุมวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) มุ่งเน้นให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมี เป้าหมายหลักสามประการ คือ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทาง การศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการ บริ ห ารและจั ด การศึ ก ษา โดยกํ า หนดประเด็ น สํ า คั ญ ของระบบการศึ ก ษาและเรี ย นรู้ ที่ ต้ อ งการปฏิ รู ป อย่างเร่งด่วนได้ 4 ประการหลัก ได้แก่ (1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ (2) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ (3) พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และ (4) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ดังนี้ 1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตั้งแต่ปฐมวัย สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และแสวงหาความรู้ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งตลอดชี วิ ต สามารถสื่ อ สาร คิ ด วิ เ คราะห์ แก้ ปั ญ หา ริ เ ริ่ มสร้ า งสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ทํางานเป็นกลุ่มได้ มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิต สํานึกและภู มิใจในความเป็นไทย ก้าวทันโลก เป็นกําลังคนที่มีคุณภาพ มีทักษะความรู้พื้นฐาน ที่จําเป็น สมรรถนะ ความรู้ สามารถทํางานมีประสิทธิภาพ มีโอกาสเรียนรู้อย่างเท่าเทียม เสมอภาค 2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ที่เป็นผู้อํานวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า มี ร ะบบ กระบวนการผลิ ต และพั ฒ นาครู คณาจารย์ และบุ ค ลากรทางการศึ กษา ที่ มีคุณ ภาพมาตรฐาน เหมาะสมกั บ การเป็ น วิ ช าชี พ ชั้ น สู ง สามารถดึ ง ดู ด คนเก่ ง และดี มี ใ จรั ก มาเป็ น ครู มี ป ริ ม าณเพี ย งพอ และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ สามารถพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีสภาวิชาชีพที่เข้มแข็ง บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ โดยการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ทุกระดับ/ประเภทให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สําหรับการศึกษาและการเรียนรู้ ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ มุ่งเน้นการกระจายอํานาจสู่สถานศึกษาเขตพื้นที่ การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน และทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส เป็นธรรมตรวจสอบได้ มีการ นําระบบและวิธีการบริหารจัดการแนวใหม่มาใช้ ควบคู่กับการสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลง มีการบริหารจัดการ การเงินและงบประมาณที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (Demand side) โดยให้ผู้เรียนเลือกรับบริการ 3. แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) คณะรัฐมนตรีเมื่อคราวประชุมวันที่ 5 มกราคม 2553 ได้มีมติเห็นชอบแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559) โดยมีวัตถุประสงค์ที่สําคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา (2) สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้ และ (3) พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและ การเรียนรู้
  • 16. 12 สาระสําคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) ปัจจุบันแม้สถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ แต่เนื่องจากแผนการ ศึกษาแห่งชาติ ฉบับเดิม (พ.ศ. 2545-2559) นั้น เป็นแผนระยะยาวที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา แห่ งชาติ พ.ศ. 2542 จึ งเห็น ควรให้ คงปรัช ญาหลั ก เจตนารมณ์ และวั ตถุ ป ระสงค์ ของแผนฉบับ เดิมไว้ แล้ ว ปรั บ ปรุ ง ในส่ ว นของนโยบาย เป้ า หมาย และกรอบการดํ า เนิ น งานให้ ส อดคล้ อ งกั บ สถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ ปรัชญาหลักและกรอบแนวคิด การจัดทําแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) ยึดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ยึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการ แบบองค์รวมที่ยึด “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและสร้างการพัฒนาอย่างมี “ดุลยภาพ” ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม เป็นแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากั บ การศึกษาทุกระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น โดยคํานึงถึงการพัฒนา อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เจตนารมณ์ของแผน แผนการศึกษาแห่งชาติมีเจตนารมณ์เพื่อมุ่ง (1) พัฒนาชีวิตให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต สามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” และ (2) พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความเข้มแข็งและมีดุลยภาพ ใน 3 ด้าน คือ เป็นสังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทร ต่อกัน วัตถุประสงค์ของแผน เพื่อให้บรรลุตามปรัชญาหลักและเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 - 2559) จึงกําหนดวัตถุประสงค์ของแผนฯ ที่สําคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1. พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา 2. เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 3. เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคม คุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้ แนวนโยบาย เป้าหมาย และกรอบการดําเนินงาน เพื่ อให้บ รรลุวั ต ถุ ป ระสงค์ทั้งสามประการดั งกล่ า ว ประกอบกั บการคํ านึ งถึ งทิ ศทาง การพัฒนาประเทศในอนาคตที่เน้นการใช้ความรู้เป็นฐานของการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประชากร สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้กําหนดวัตถุประสงค์และแนวนโยบายไว้ดังนี้ วัตถุประสงค์ 1 พัฒนาคนอย่างรอบด้าน และสมดุล เพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนา 1.1 พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับและประเภทการศึกษา
  • 17. 13 1.2 ปลูกฝังและเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตสํานึก และมีความภูมิใจในความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นใน การปกครองระบอบประชาธิ ปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรังเกียจการทุจริต ต่อต้า น การซื้อสิทธิ์ขายเสียง 1.3 เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตได้มีโอกาส เข้าถึงบริการการศึกษาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ยากจน อยู่ในท้องถิ่น ห่างไกล ทุรกันดาร 1.4 ผลิตและพัฒนากําลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และเสริมสร้าง ศักยภาพการแข่งขัน และร่วมมือกับนานาประเทศ 1.5 พัฒนามาตรฐานและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งระบบประกันคุณภาพ ภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก 1.6 ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและ มาตรฐาน มีคุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี วัตถุประสงค์ 2 สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษา อบรม และเรียนรู้ของสถาบันศาสนา และสถาบัน ทางสังคม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 2.2 ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายภูมิปัญญา และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม พลศึกษา กีฬา เป็นวิถีชีวิตอย่างมีคุณภาพและตลอดชีวิต 2.3 ส่ ง เสริ ม การวิ จั ย และพั ฒ นาเพื่ อสร้ า งองค์ ความรู้ นวั ต กรรม และทรั พย์ สิ น ทางปัญญา พัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ และสร้างกลไกการนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ วัตถุประสงค์ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน และสร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ 3.1 พัฒนาและนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาสทาง การศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3.2 เพิ่มประสิทธิภ าพการบริหารจัดการ โดยเร่งรัดกระจายอํา นาจการบริหาร และจัดการศึกษาไปสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม และทุกภาคส่วน ของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา 3.4 ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ และการลงทุนเพื่อการศึกษา ตลอดจนบริหาร จัดการและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 3.5 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษา พัฒนาความเป็นสากล ของการศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์ ขณะเดียวกันสามารถอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุข มีการพึ่งพาอาศัยและเกื้อกูลกัน
  • 18. 14 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555-2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธํารงเวช) ตระหนักในความสําคัญ ของการศึ ก ษาที่ เ ป็ น หั ว ใจและกลไกหลั ก ในการพั ฒ นาประเทศในทุ ก ด้ า น เพื่ อ ให้ ส ามารถก้ า วทั น การ เปลี่ยนแปลงและแข่งขันในประชาคมโลกได้อย่างสง่างาม โดยเน้นปรัชญา “ความเท่าเทียม” และการนํ า “เทคโนโลยี” มาใช้ โดยจะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพสําหรับเยาวชนทุกคนทุกพื้นที่ และจัดการ อุ ด มศึ ก ษาโดยปั้ น นั ก ศึ ก ษาไทยให้ เ ป็ น มื อ อาชี พ จึ ง ได้ กํ า หนดยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาการศึ ก ษาของ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555-2558 มีสาระสําคัญโดยสรุป ดังนี้ วิสัยทัศน์ จัดการศึกษาโดย “ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง” มุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม ทั้งในเมืองและชนบท พร้อมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสําหรับทุกคน การศึกษาจะนําไปสู่การสร้างความเข้มแข็ง ของประชาชน ประชาชนที่เข้มแข็งและมีความรู้คือทุนที่มีพลังในการต่อสู้กับความยากจน พันธกิจ 1. จัดการศึกษาที่มีคุณภาพสําหรับเด็ก เยาวชน ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสทุกคน เพื่อให้เท่าเทียม กันทุกแห่งไม่ว่าในเมืองหรือชนบท ไม่ว่าจะจัดโดยรั ฐหรือเอกชน ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเทียบเท่า 2. พั ฒ นานั ก ศึ ก ษาไทยให้ เ ป็ น มื อ อาชี พ เป็ น พลเมื อ งโลกที่ ทั น สมั ย มี ทั ก ษะหลากหลาย มี ค วามสามารถในการแข่ ง ขั น ในตลาดโลกได้ และอยู่ ร่ ว มกั น เป็ น สั ง คมที่ ว างอยู่ บ นฐานความรู้ ตั้ ง แต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป โดยเฉพาะระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา กรอบแนวคิดการพัฒนาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการมุ่งพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดหลักของคุณภาพและความเท่าเทียม รวมทั้งการนําเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียน นักศึกษาเป็นสําคัญ โดยขยายโอกาสทางการศึกษา ดังนี้ 1. โอกาสในการเข้ า ถึ งทรั พยากรสิ่ งอํ า นวยความสะดวก เพื่ อสามารถได้ รั บ การศึ ก ษาอย่ า ง เท่าเทียมกัน 2. โอกาสในการเข้ า ถึ ง แหล่ ง ทุ น นั กเรี ย น นั ก ศึ ก ษาสามารถเข้ า เรี ย นได้ โ ดยไม่ ขึ้ น กั บฐานะ ของผู้ปกครอง 3. โอกาสในการเพิ่มพูน และฝึกฝนทักษะ นักเรียน นักศึกษาทุกคนสามารถเติบโตได้ ในโลกที่ เป็นจริง ผ่านการเรียนรู้บนฐานกิจกรรม (Activity-Based Learning) 4. โอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยใช้ เทคโนโลยี สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ