SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 16
Downloaden Sie, um offline zu lesen
บทความบ
	 เมื่อวันที่ 19-24 มกราคม พ.ศ. 2557 มีการ
จัดประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์โลก (Global
Young Scientists Summit: GYSS) 2014 เพื่อสร้าง
เครือข่ายระหว่างนักวิทยาศาสตร์อาวุโสกับนักวิทยาศาสตร์
รุ่นเยาว์ โดยเชิญนักวิทยาศาสตร์อาวุโสผู้ได้รับรางวัล
ประสบการณ์จากการเข้าร่วม
Global Young Scientists Summit 2014 (ตอนที่ 1)
ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ 1,*
, ดร.น้ำริน ไทยตรง 2
, ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ 3
,
ดร.สมพงค์ จิตต์มั่น 4
และ นพ.พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ 5
1	 นักวิจัย ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ หน่วยวิจัยการออกแบบ
และวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
	 * somboono@mtec.or.th
2	 ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
3	 นักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
4	 อาจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5	 อาจารย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
	 โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เมื่อเอ่ยถึงรางวัลโนเบล (Nobel prize) อันทรงเกียรติ หลายคนคงอยากรู้
ว่านักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนี้มีหลักคิดและวิธีทำงานวิจัยอย่างไรจึงประสบ
ความสำเร็จในระดับที่เป็นเกียรติสูงสุดในวงการวิทยาศาสตร์ของโลก
สำคัญระดับสากล อันได้แก่ รางวัลโนเบล (Nobel
Prize), Fields Medal1
, Millennium Technology
Prize2
และ IEEE Medal of Honor3
มาบรรยายเพื่อ
ถ่ายทอดประสบการณ์และให้ข้อคิดกับนักวิทยาศาสตร์
รุ่นเยาว์
1	 รางวัล Fields Medal [http://www.mathunion.org/general/prizes/fields/details] มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า International Medal for
Outstanding Discoveries in Mathematics เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักคณิตศาสตร์อายุไม่เกิน 40 ปี จำนวน 2-4 คน ในงานการประชุม  
International Congress of the International Mathematical Union ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี รางวัล Fields Medal นี้ถือได้ว่าเป็นเกียรติ
ประวัติสูงสุดที่นักคณิตศาสตร์ผู้หนึ่งจะได้รับ
2	 รางวัล Millennium Technology Prize [http://taf.fi/en/millennium-technology-prize/] เป็นรางวัลใหญ่ที่สุดรางวัลหนึ่งในสาขา
เทคโนโลยี รางวัลนี้มอบทุกๆ 2 ปีให้แก่ผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
รางวัลนี้มอบให้โดย Technology Academy Finland (กองทุนอิสระที่ก่อตั้งโดยอุตสาหกรรมในประเทศฟินแลนด์ร่วมกับรัฐบาลฟินแลนด์)
3	 รางวัล IEEE Medal of Honor [http://taf.fi/en/millennium-technology-prize/] เป็นรางวัลที่ทรงเกียรติที่สุดของ the Institute of
Electrical and Electronics Engineers (IEEE) ซึ่งมอบให้แก่ผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างโดดเด่นในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาการที่เกี่ยว
ข้องกับ IEEE
กรกฎาคม - กันยายน 255740
	 คณะผู้เขียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณแห่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวินิจฉัย
คัดเลือกให้เป็นผู้แทนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของ
ประเทศไทยไปร่วมการประชุมดังกล่าว บทความนี้จะ
เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้ไปเข้าร่วมการประชุมสุดยอด
ในครั้งนี้
	 การประชุม GYSS เป็นการประชุมแบบ
สหสาขาวิชา ได้แก่ เคมี ฟิสิกส์ การแพทย์ คณิตศาสตร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งแตกต่าง
จากการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดาที่ใน
การประชุมแต่ละครั้งมีเพียงสาขาเดียว	
	 ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้ประกาศเปิดตัว
เป็นเจ้าภาพการประชุม  GYSS  ในงานประชุมผู้ได้รับ
รางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ประจำปี พ.ศ. 2555
และได้จัดการประชุม GYSS ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556
ณ National University of Singapore และในปีนี้
เป็นการประชุม GYSS ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 19-24
มกราคม พ.ศ. 2557 ณ Nanyang Technological
University
	 หัวข้อหลักของการประชุม GYSS 2014 คือ
Advancing Science, Creating Technologies for
a Better World (การพัฒนาวิทยาศาสตร์ให้ก้าวหน้า
และการสร้างเทคโนโลยีเพื่อโลกที่ดีขึ้น) โดยการประชุม
ในครั้งนี้มีกำหนดการ 5 วันประกอบด้วยกิจกรรมหลัก
3 ส่วน ดังนี้
•	 การบรรยายและเสวนาด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย plenary lecture4
panel discussion5
และ master-class6
ซึ่งบรรยาย
โดยนักวิทยาศาสตร์อาวุโสผู้ได้รับรางวัลสำคัญ
ระดับสากลต่างๆ
	 กิจกรรมเยี่ยมชมหน่วยงานวิจัยชั้นนำของประเทศ
สิงคโปร์ ได้แก่ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย
และหน่วยงานราชการ
	 การเข้าชมแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ
สิงคโปร์ ได้แก่ สวนสัตว์เปิดกลางคืน Singapore
Flyer  และการเยี่ยมชมเมืองและศึกษาวัฒนธรรม
ที่หลากหลายของชาวสิงคโปร์ตามอัธยาศัย
	 การประชุม GYSS 2014 มีนักวิทยาศาสตร์
อาวุโส 18 ท่านเข้าร่วม ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์
ที่ได้รับรางวัลโนเบล 13 ท่าน นักคณิตศาสตร์ที่ได้รับ
รางวัล Fields Medal 3 ท่าน นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ
รางวัล Millennium Technology Prize 1 ท่าน และ
นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัล IEEE Medal of Honor
1 ท่าน ส่วนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ที่เข้าร่วมงานจะ
เป็นนักศึกษาปริญญาเอก และผู้ที่สำเร็จปริญญาเอก
แล้วและมีอายุไม่เกิน 35 ปี
	 ในการจัดงานครั้งนี้เจ้าภาพได้สนับสนุน
ค่าใช้จ่ายในการประชุมทั้งหมด ยกเว้นค่าเดินทางที่
ต้นสังกัดของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์เป็นผู้สนับสนุน
ส่วนมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยจากประเทศต่างๆ
ทั่วโลกจะเป็นผู้เสนอรายชื่อนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์
โดยพิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ เช่น ผลการศึกษา
ผลงานวิจัย ความสนใจในการวิจัย และความสามารถ
ด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งในปีนี้มีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์
เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 309 คน จาก 23 ประเทศ
	 ส่วนประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับสนองพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรง
มีพระประสงค์ให้นิสิต นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์
ของไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม GYSS นี้เพื่อ
เปิดโลกทัศน์ทางวิชาการ อีกทั้งได้มีโอกาสเรียนรู้
ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ จากประสบการณ์จริง
ของนักวิจัยที่มีผลงานทางวิทยาศาสตร์ในระดับสากล
4 plenary lecture เป็นการบรรยายที่ผู้ฟังทั้งหมดเข้าฟังผู้บรรยายท่านเดียว
5 panel discussion เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นหนึ่งๆ ที่หยิบยกขึ้นมา
6 master-class เป็นชั้นเรียนย่อยที่สอนโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชานั้นๆ
กรกฎาคม - กันยายน 2557 41
	 ในการคัดเลือก คณะกรรมการจะพิจารณาผู้สมัครจากใบสมัคร และเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติและศักยภาพสอด
คล้องกับข้อกำหนดมากที่สุด เพื่อมาสอบสัมภาษณ์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2556 จำนวน 22 คน จากนั้นจึงนำความขึ้น
กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงคัดเลือกจำนวน 5 คน ดังนี้
1.	ดร.น้ำริน ไทยตรง
	 นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส สวทช.)
2.	ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์
	 นักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
3.	ดร.สมพงค์  จิตต์มั่น
	 อาจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
4.	ดร.สมบูรณ์  โอตรวรรณะ
	 นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
5.	นพ.พรเทพ  ตั่นเผ่าพงษ์	
	 อาจารย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพที่ 1 ผู้แทนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของประเทศไทยกับผู้บริหารสวทช. (จากซ้ายไปขวา) นพ.พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์
ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ คุณฤทัย จงสฤษดิ์ (ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายบริหารค่ายวิทยาศาสตร์ สวทช.) ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ
ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ (ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สวทช.) ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (ผู้อำนวยการ สวทช.) ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์
ทรงศิวิไล (ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ) ดร.น้ำริน ไทยตรง และ ดร.สมพงค์ จิตต์มั่น
กรกฎาคม - กันยายน 255742
	 หลังเสร็จสิ้นพิธีเปิดการประชุม GYSS 2014
ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระเทพรัตน
ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ทั้งห้าคนและผู้บริหาร สวทช.
เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและทรงให้โอวาทความว่า
ภาพที่ 2 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฉายพระรูปร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับเชิญมาบรรยาย
และแขกคนสำคัญในระหว่างพิธีเปิดงาน GYSS 2014
ทรงสนับสนุนและมองหาเวทีที่จะทำให้นักวิทยาศาสตร์
ของไทยโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานแล้วได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน
ความรู้และร่วมมือกับต่างประเทศให้มากขึ้น ผู้ที่ได้รับ
คัดเลือกควรปูทางให้รุ่นหลังต่อไป ส่วนนักวิทยาศาสตร์
รุ่นเก่าจะเป็นหัวหน้าทีมที่คอยอำนวยความสะดวกให้
Plenary Lecture และ Master-Class
	 ใน plenary lecture และ master-class นักวิทยาศาสตร์อาวุโสแต่ละท่านได้บรรยายเนื้อหาในหัวข้อต่างๆ
ซึ่งผู้เขียนสรุปไว้ ดังนี้
	 บรรยายเรื่อง“วิวัฒนาการของการแพทย์จำเพาะ
บุคคล - เราจะสามารถรักษาทุกโรคได้หรือไม่และด้วยราคา
เท่าไหร่ (The Revolution of Personalised Medicine -
Are we going to cure all diseases and at what
price?)”
	 ทุกวันนี้วิวัฒนาการที่สำคัญที่สุดทางการแพทย์
คือ การมียาจำเพาะบุคคล ปัจจุบันแพทย์เปลี่ยนมาใช้
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์แทนการเรียนรู้การรักษาอยู่
ข้างเตียงผู้ป่วย อย่างไรก็ดีวิธีใหม่ๆ ในการรักษาโรคและ
ความสำเร็จทางการแพทย์อื่นๆ มักมีราคาสูง ราคาที่
จ่ายให้กับความก้าวหน้าเหล่านี้ยังคงเป็นจุดอ่อนของ
การอยู่รอดของมนุษย์มาก
	 ตอนนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคการแพทย์ที่จำเพาะ
ต่อบุคคล ซึ่งต่างจากยุคก่อนหน้านี้ที่ใช้แนวคิด “One
1.	 Prof. Aaron Ciechanover (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2004 	
	 สาขาเคมี)
กรกฎาคม - กันยายน 2557 43
ภาพที่ 3 Prof. Aaron Ciechanover
size fits all.” ซึ่งความแตกต่างของการใช้ชีวิตแต่ละ
คนนั้นไม่ได้นำมาพิจารณาในการรักษา ใครเป็นโรคอะไร
ก็รักษาไปในแบบเดียวกัน ผลลัพธ์ก็คือความล้มเหลว
ในการรักษา มีการดื้อยาและปฏิกิริยาต่อต้านการรักษา
ที่นำไปสู่การเสียชีวิตจำนวนมาก
	 เทคโนโลยีการถอดรหัสจีโนม (genome) ของ
ผู้ป่วยจะช่วยในการทำนายการตอบสนองของผู้ป่วยต่อ
การรักษา ปัจจุบันเทคนิคการถอดรหัสจีโนมพัฒนาไป
อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงและราคา
ประมาณ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่
ความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคนิคการรักษาและยาที่
จำเพาะบุคคล
	 Prof. Ciechanover มองว่า การแพทย์ทุกวันนี้
เป็นไปใน 3 ทิศทางที่ขนานกัน ได้แก่
-	 ทิศทางที่ 1 คือ การพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์
ปัจจุบันเราประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพที่
ซับซ้อน มีมีดรังสีแกมมาสำหรับผ่าตัด และผ่าตัด
เปลี่ยนถ่ายอวัยวะได้ จะเห็นว่าเทคนิคทางวิศวกรรม
มีบทบาทสำคัญมาก
-	 ทิศทางที่ 2 คือ การปฏิรูปการแพทย์โดยการใช้
เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) เราสามารถเลี้ยงเซลล์
ที่ออกแบบมาเพื่อทดแทนเนื้อเยื่อที่เสียหายและ
สามารถแก้ปัญหาการเสื่อมสภาพของเซลล์สำคัญ
ได้
-	 ทิศทางที่ 3 คือ การพัฒนายา การค้นพบยาในยุค
แรกๆ เกิดจากความบังเอิญ และยุคถัดมาเกิดจาก
การค้นคว้าทดลองที่ทันสมัย แต่น่าเสียดายว่าการ
พัฒนายาเน้นหนักไปที่ยาสำหรับรักษาโรคของคนมี
ฐานะและโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องเช่นอินซูลิน
(insulin) ได้รับความสนใจมากกว่ายาปฏิชีวนะ
กรกฎาคม - กันยายน 255744
ภาพที่ 4 Prof. Anthony Leggett
	 บรรยายเรื่อง “โครงสร้างของโลกที่ (อาจจะ)
อธิบายได้ด้วยกลศาสตร์ควอนตัม (The Structure of
a World (Which Maybe Be) Described by
Quantum Mechanics)”
	 เชื่อกันโดยทั่วไปว่า นอกจากกลศาสตร์ควอนตัม
สามารถอธิบายรูปแบบและพฤติกรรมของสิ่งต่างๆ ใน
ระดับอิเล็กตรอนและอะตอมได้ดีแล้ว ยังสามารถอธิบาย
รูปแบบและพฤติกรรมของสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ดี
อีกด้วย  Prof. Leggett อธิบายถึงผลการทดลองใหม่ๆ
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ที่แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของสิ่งต่างๆ
ในชีวิตประจำวันนั้นมีความแตกต่างจากสามัญสำนึก
ปกติของคนทั่วไป
2.	 Prof. Anthony Leggett (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2003 	
	 สาขาฟิสิกส์)
3.	 Prof. Wendelin Werner (นักคณิตศาสตร์ผู้ได้รับ Fields Medal ปี ค.ศ. 2006)
ภาพที่ 5 Prof. Wendelin Werner
กรกฎาคม - กันยายน 2557 45
	 บรรยายเรื่อง “ปรากฏการณ์สุ่มและความต่อเนื่อง
(Randomness and Continuum)”
	 Prof. Werner กล่าวว่าเราสามารถเห็นภาพ
ได้ง่ายว่าพื้นที่ (space) และเวลา (time) มีความต่อเนื่อง
ซึ่งสามารถแบ่งส่วนและรวมกันได้  แนวคิดนี้สัมพันธ์
โดยตรงกับความต่อเนื่องของฟังก์ชันในทางคณิตศาสตร์  
ในทางกลับกัน ปรากฏการณ์สุ่ม เช่น การโยนเหรียญ
การโยนลูกเต๋า จะให้ความรู้สึกถึงความไม่ต่อเนื่อง และ
ยากที่จะอธิบายในแง่ความต่อเนื่อง
	 Prof. Werner ได้ยกตัวอย่างปรากฏการณ์สุ่ม
ของการระบายสีขาวและดำในตารางรังผึ้งอย่างสุ่ม ซึ่ง
เราอาจสนใจการกระจายตัว จำนวน หรือความหนาแน่น
ของแต่ละสี ตลอดจนการพิจารณาบนบริเวณต่อเนื่อง
หรือบริเวณปิดล้อมของแต่ละสี การศึกษาและวิเคราะห์
สิ่งเหล่านี้อย่างลึกซึ้งนำมาสู่การประยุกต์ในด้านการจัด
การสัญญาณ (signal processing)
ภาพที่ 6 ภาพการอธิบายปรากฏการณ์สุ่มของการระบายสี
ขาวและดำในตารางรังผึ้งอย่างสุ่ม
	 บรรยายเรื่อง “ต่อสู้กับการดื้อยาปฏิชีวนะ?
(Combating Antibiotics Resistance?)”
	 Prof. Yonath สนใจศึกษาโครงสร้างโปรตีน
โดยเฉพาะโปรตีนไรโบโซม (riborsome) ซึ่งมีหน้าที่
แปลรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายให้เป็นการ
สังเคราะห์โปรตีนอื่นๆ ในร่างกาย ความรู้ทางโครงสร้าง
ของไรโบโซมนำไปสู่การพัฒนาความรู้ทางการทำงาน
ของไรโบโซมในร่างกายสิ่งมีชีวิตทั่วไปทั้งในมนุษย์และ
แบคทีเรีย และการพัฒนาเป็นกลยุทธ์ในการแยกแยะ
ความแตกต่างระหว่างไรโบโซมของมนุษย์ออกจาก
ไรโบโซมของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค
	 ข้อมูลใหม่ที่ได้จากการหาโครงสร้างสามมิติจาก
ไรโบโซมคริสตัลที่ตกผลึกร่วมกับสารยับยั้งนั้นๆ ท้าย
ที่สุดได้นำไปพัฒนายาปฏิชีวนะที่มีคุณสมบัติยับยั้ง
การทำงานของจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค
รวมถึงการต่อสู้กับการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียและ
จุลินทรีย์ที่ยังคงความสามารถในการเปลี่ยนแปลง
ไรโบโซมให้หนีฤทธิ์ของยาใหม่ๆ
ภาพที่ 7 Prof. Ada Yonath
4.	 Prof. Ada Yonath (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2009 สาขาเคมี)
กรกฎาคม - กันยายน 255746
ภาพที่ 8 Prof. Robert Grubbs
	 บรรยายเรื่อง “การกระตุ้นปฏิกิริยาและการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (Catalysis and Sustainability)”
	 Prof. Grubbs บรรยายถึงกระบวนการ olefin
metathesis และการพัฒนาสารเร่งปฏิกิริยา olefin
metathesis ทั้งในเชิงกลไกการทำงานและการเพิ่ม
ประสิทธิภาพของปฏิกิริยาอย่างทวีคูณ นอกจากนี้ ท่าน
ยังได้กล่าวถึงงานวิจัยประยุกต์ที่พัฒนามาจากกระบวนการ
metathesis ได้แก่ 1) การใช้ประโยชน์จากน้ำมันของ
เมล็ดพืช (seed oil) เพื่อใช้แก้ปัญหาการขาดแคลน
พลังงานของโลกและผลิตภัณฑ์เคมีที่มีค่าสูงต่างๆ  
2) การสังเคราะห์สารฟีโรโมน (pheromone) เพื่อดึงดูด
แมลงต่างเพศ และนำมาใช้เชิงเกษตรกรรมเพื่อลดปัญหา
การใช้ยาฆ่าแมลง และ 3) การพัฒนากระบวนการ
เกิดพอลิเมอร์ (polymerization) เพื่อให้มีความแม่นยำ
ในการก่อสายพอลิเมอร์ สำหรับการประยุกต์ใช้ในเชิง
การแพทย์และพลังงาน เช่น กังหันลม ผลึกโฟโตนิก
(photonic crystals) และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
	 บรรยายเรื่อง “ทางเดินอย่างสุ่มไปที่กรุงสตอก
โฮล์ม (Random Walk to Stockholm)”
	 Prof. Geim เล่าถึงการค้นพบแกรฟีน (graphene)
ว่า การสังเคราะห์แกรฟีนต้องใช้ความพยายามอย่างมาก
ในการนำแกรไฟต์ (graphite) ไปขัดให้บางมากๆ แต่ก็
ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมาประสบความสำเร็จ
จากการลองนำเทปกาวธรรมดาไปติดบนแกรไฟต์และ
ลอกเอาแกรไฟต์แผ่นบางๆ ออกมา
	 นอกจากนั้น Prof. Geim ยังบรรยายถึง
สมบัติพิเศษต่างๆ ของแกรฟีน เช่น มีความแข็ง
มากที่สุดในบรรดาวัสดุทั้งหลาย และเป็นตัวนำไฟฟ้าที่
ดีกว่าซิลิคอน (silicon) ทำให้แกรฟีนเป็นวัสดุที่น่าสนใจ
มาก และมีโอกาสพัฒนาเพื่อใช้งานในด้านต่างๆ เช่น
จอภาพที่ใช้งานด้วยการสัมผัส (touch screen) เซลล์
สุริยะ อุปกรณ์กักเก็บพลังงาน และชิปคอมพิวเตอร์
ความเร็วสูง
5.	 Prof. Robert Grubbs (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลปี ค.ศ. 2005 สาขาเคมี)
6	 Prof. Andre Geim (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2010 สาขาฟิสิกส์)
กรกฎาคม - กันยายน 2557 47
ภาพที่ 9 Prof. Andre Geim
	 บรรยายเรื่อง “Univalent Foundations -
รากฐานใหม่ของคณิตศาสตร์ (Univalent Foundations -
new foundations of mathematics)”
	 Prof.Voevodskyได้บรรยายเกี่ยวกับรากฐาน
ใหม่ของคณิตศาสตร์ ที่เรียกว่า Univalent Foundations
ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ที่เริ่มพัฒนาในปี พ.ศ. 2553 โดยใช้
แนวคิดของ motivic homotopy ท่านเล่าถึงประวัติ
คร่าวๆ ของรากฐานทางคณิตศาสตร์ แนวคิดพื้นฐาน
ของ Univalent Foundations และการประยุกต์
Univalent Foundations ในการสร้างโปรแกรม
คอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์
อย่างอัตโนมัติ
ภาพที่ 10 Prof. Vladimir Voevodsky
7.	 Prof. Vladimir Voevodsky (นักคณิตศาสตร์ผู้ได้รับ Fields Medal ปี ค.ศ. 2002)
กรกฎาคม - กันยายน 255748
ภาพที่ 11 Prof. David Gross
ภาพที่ 12 Dr. John Robin Warren
	 บรรยายเรื่อง “ขอบเขตของฟิสิกส์พื้นฐาน
(The Frontiers of Fundamental Physics)”
	 Prof. Gross อธิบายงานที่ได้รางวัลโนเบลคือ
การอธิบายถึงแรงพื้นฐาน 3 ประเภทในด้านฟิสิกส์
อนุภาค (particle physics) ได้แก่ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า
(electromagnetic force) แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน
(weak nuclear force) และแรงนิวเคลียร์อย่างแรง
(strong nuclear force)
	 บรรยายเรื่อง “การค้นพบเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter (Discovering Helicobacter)”
	 Dr. Warren พูดถึงการค้นพบเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดกระเพาะอาหาร
อักเสบ รวมทั้งแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
8.	 Prof. David Gross (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2004 สาขาฟิสิกส์)
9.	 Dr. John Robin Warren (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2005 	
	 สาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์)
กรกฎาคม - กันยายน 2557 49
ภาพที่ 13 Prof. Hartmut Michel
	 บรรยายเรื่อง “ความไร้สาระของเชื้อเพลิง
ชีวภาพ (The Nonsense of Biofuels)”
	 แม้เชื้อเพลิงชีวภาพจะได้รับการยอมรับว่าเป็น
พลังงานทดแทนเพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล
(fossil fuels) แต่เชื้อเพลิงชีวภาพได้จากชีวมวลซึ่งเป็น
ผลจากกิจกรรมการสังเคราะห์ด้วยแสง มีหลักการคล้าย
กับเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นผลจากกิจกรรมการสังเคราะห์
ด้วยแสงเมื่อหลายล้านปีที่แล้ว
	 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชและ
สาหร่ายที่ใช้ทำเชื้อเพลิงชีวภาพนั้นใช้พลังงาน
แสงอาทิตย์ในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จาก
บรรยากาศเพื่อสังเคราะห์น้ำตาลและสะสมเป็นชีวมวล
แต่ประสิทธิภาพของการสังเคราะห์แสงนั้นต่ำมาก
กล่าวคือ มีพลังงานแสงน้อยกว่า 1 % ที่สามารถ
สะสมอยู่ในรูปชีวมวลและการพัฒนาประสิทธิภาพให้ดี
กว่านี้ก็เป็นไปได้ยาก
	 ก๊าซชีวภาพและไบโอดีเซลที่ผลิตได้ต่อหน่วย
พื้นที่เพาะปลูกคิดเป็นพลังงานประมาณ 0.4 % ของ
พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดที่พื้นที่นั้นได้รับ และ
กระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอดีเซลต้องใช้
พลังงานจากฟอสซิลอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของพลังงานที่
จะได้จากก๊าซชีวภาพหรือไบโอดีเซลนั้น นอกจากนี้
เซลล์สุริยะมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนรูปพลังงาน
แสงอาทิตย์สูงกว่าเชื้อเพลิงชีวภาพถึง 50-100 เท่า
และจากการที่เครื่องยนต์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงกว่า
เครื่องยนต์สันดาปกว่าสี่เท่า จึงสรุปได้ว่าการใช้รถยนต์
ไฟฟ้าหนึ่งคันต้องการพื้นที่ในการติดตั้งเซลล์สุริยะ
เพียงแค่ 0.2 % ของพื้นที่ในการปลูกพืชสำหรับผลิต
ไบโอดีเซลเพื่อใช้ขับเคลื่อนรถเครื่องยนต์สันดาป ดังนั้น
การปลูกพืชเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจึงเป็นการใช้พื้นที่
อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
	 นอกจากนี้การปลูกปาล์มน้ำมันหรือพืชตระกูล
ถั่วในเขตร้อนเพื่อผลิตไบโอดีเซลยังเป็นการตัดไม้
ทำลายป่า การสูญเสียป่าในเขตร้อนยิ่งทำให้การ
เปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศรุนแรงขึ้น การใช้เซลล์
สุริยะเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์จึงน่าจะเป็นทาง
เลือกที่ดีกว่าเชื้อเพลิงชีวภาพ
10.	 Prof. Hartmut Michel (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 1988 สาขาเคมี)
กรกฎาคม - กันยายน 255750
	 บรรยายเรื่อง “จีเอฟพี: ฉายไฟส่องชีวิต (GFP:
Lighting Up Life)”
	 Prof. Chalfie กล่าวว่าการสังเกตทางชีววิทยา
ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ถูกจำกัดด้วยข้อกำหนดที่ว่า
ตัวอย่าง (specimen) ที่ต้องการศึกษาต้องเป็นเซลล์ที่
ตายแล้วเท่านั้น เนื่องจากไม่มีเทคนิคการย้อมสีที่สามารถ
ใช้กับสิ่งมีชีวิตได้ การเก็บข้อมูลของสิ่งมีชีวิตในสมัยก่อน
จึงเป็นข้อมูลที่มาจากภาพนิ่งเท่านั้นแต่ข้อจำกัดเหล่านี้
หมดไปเมื่อ Prof. Chalfie ร่วมกับ Prof.
Shimomura และ Prof. Tsien ค้นพบโปรตีน GFP
(Green Fluorescent Protein)
	 การค้นพบ GFP และโปรตีนเรืองแสงอื่นๆ
ถือว่าเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญทางชีววิทยาเนื่องจาก
GFP เป็นไบโอมาร์เกอร์ (biomarker) หลักที่สำคัญ
ที่มีคุณสมบัติพิเศษสามารถถ่ายถอดให้กับสิ่งมีชีวิต
อื่นๆ โดยการสืบพันธุ์การฉีด viral vector และ
การเเปรรูปของเชลล์ (cell transformation) GFP จึง
เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์นำไปใช้ในการ
ศึกษาการแสดงออกของยีนส์ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมถึง
การหาตำแหน่งของโปรตีนในเนื้อเยื่อ และศึกษาการ
เปลี่ยนแปลงของเซลล์ตามกาลเวลา
	 บรรยายเรื่อง “Bacterial Methylomes”
	 การเป็นผู้ค้นพบเอนไซม์ตัดจำเพาะ (restriction
enzymes) และยีนส์ที่ได้รับการตัดทอน (split genes)
ทำให้ Sir Roberts ได้รับรางวัลโนเบล สาขา
สรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์ ร่วมกับ Prof. Phillip
Allen Sharp ในการประชุมครั้งนี้ท่านได้บรรยายระบบ
การตัดจำเพาะและปรับเปลี่ยนยีนส์ (restriction-
modification system) ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการป้องกัน
แบคทีเรียจากการรุกรานของไวรัสสลายแบคทีเรีย
(bacteriophage) หรือดีเอ็นเอใดๆ ที่พยายามรุกราน
แบคทีเรีย โดยท่านเริ่มศึกษาจากแบคทีเรีย Escherichia
coli ก่อน
ภาพที่ 15 Sir Richard Roberts
11.	 Prof. Martin Chalfie (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลรางวัลโนเบลสาขาเคมี ปีค.ศ. 2008)
ภาพที่ 14 Prof. Martin Chalfie
12.	 Sir Richard Roberts(นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 1993 	 	
	 สาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์)
กรกฎาคม - กันยายน 2557 51
ภาพที่ 16 Prof. Kurt Wuthrich
	 บรรยายเรื่อง “การวิเคราะห์จักรวาลโปรตีน
เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Analysing the Protein
Universe for Improved Quality of Life)”
	 Prof. Wuthrich ผู้พัฒนาเทคนิคนิวเคลียร์
แมกเนติกเรโซแนนซ์ (Nuclear Magnetic Resonance,
NMR) เพื่อการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติของโมเลกุล
ชีวภาพ กล่าวว่า การศึกษาลำดับดีเอ็นเอหรือจีโนมมี
ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกเหนือ
จากลำดับดีเอ็นเอของยีนและการใช้เทคนิค NMR สำหรับ
ศึกษาโครงสร้างโมเลกุลของโปรตีน ความก้าวหน้าใหม่ๆ
ในด้านอื่น เช่น การเกษตร โภชนาการ และสาธารณสุข
ก็เป็นรากฐานที่สำคัญที่ช่วยให้เข้าใจรายละเอียดของ
โปรตีโอม (proteome) และผลผลิตอื่นๆ จากยีนของ
สิ่งมีชีวิต
13.	 Prof. Kurt Wuthrich (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2002 สาขาเคมี)
14.	 Prof. Michael Grätzel(นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลรางวัล Millennium Technology
	 ปี ค.ศ. 2010)
ภาพที่ 17 Prof. Michael Grätzel
	 บรรยายเรื่อง “แสงและพลังงานจากการเลียนแบบ
การสังเคราะห์แสงในธรรมชาติ (Light and Energy
Mimicking Natural Photosynthesis)”
	 ในปี ค.ศ. 1988 ขณะที่ Prof. Grätzel และ
Dr. Brian O’ Regan อยู่ที่ University of California,  
Berkeley ได้ร่วมกันสร้างเซลล์สุริยะชนิดสีย้อม (dye
solar cell) รุ่นใหม่ที่เรียกว่า the Grätzel cell ขึ้น
และ Prof. Grätzel ได้พัฒนาเซลล์สุริยะชนิดนี้อย่าง
ต่อเนื่อง จนกระทั่งสำเร็จเป็นเซลล์สุริยะชนิดสีย้อม
ประสิทธิภาพสูงชนิดเเรกในปี ค.ศ. 1991 ปัจจุบันท่าน
ยังคงพัฒนาเซลล์สุริยะชนิดสีย้อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตพลังงานไฟฟ้าให้สูงขึ้น
	 Prof. Grätzel ยังกล่าวถึงการนำเซลล์แสง
อาทิตย์ชนิดสีย้อมไปใช้งานในด้านต่างๆ เช่น ในรถยนต์
อัจฉริยะ (smart car) ของบริษัท Daimler-Benz
หรือร่วมวิจัยกับประเทศซาอุดีอาระเบียในการนำมา
ทดสอบการใช้งาน และใช้ประโยชน์ในศูนย์ประชุมแห่ง
ใหม่ของ the École Polytechnique Fédérale de
Lausanne (EPFL) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
กรกฎาคม - กันยายน 255752
ภาพที่ 18 Prof. Harald zur Hausen
	 บรรยายเรื่อง “การค้นพบความสัมพันธ์ของ
การติดเชื้อกับการเกิดมะเร็ง (Search for Infections
Linked to Human Cancers)”
	 Prof. zur Hausen กล่าวว่า การเกิดมะเร็ง
ในมนุษย์มากกว่าร้อยละ 20 มีความสัมพันธ์กับการติด
เชื้อของแต่ละคนในอดีต โดยมีหลักฐานจากการศึกษา
ทางระบาดวิทยาในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ Prof. zur
Hausen ค้นพบว่าไวรัส EBV มีความสัมพันธ์กับการ
เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร รวมไปถึงไวรัส HPV
กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก
	 Prof. zur Hausen บรรยายผลการศึกษา
ความสัมพันธ์ของการติดเชื้อไวรัส TT กับการเกิดมะเร็ง
ลำไส้ใหญ่ว่าเชื่อมโยงกับการรับประทานเนื้อแดง โดย
เฉพาะเนื้อวัวในประเทศกลุ่มยุโรปและเอเชีย โดยให้
ข้อคิดว่าผู้ที่ทำงานชำแหละเนื้อสัตว์มีโอกาสเป็นมะเร็ง
ในช่องปากและมะเร็งปอดมากกว่าประชากรทั่วไป
และยังกล่าวสรุปสั้นๆ ถึงการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
และมะเร็งต่อมหมวกไตในเด็ก รวมไปถึงมะเร็งในสมอง
ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในระบาดวิทยาว่า มะเร็ง
เหล่านี้เชื่อมโยงถึงการติดเชื้อในช่วงปีแรกๆ ของชีวิต
15.	 Prof. Harald zur Hausen (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2008 	
	 สาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์)
กรกฎาคม - กันยายน 2557 53
ภาพที่ 19 Dr. Irwin Mark Jacobs
	 บรรยายเรื่อง“จากนักวิชาการสู่ผู้ประกอบการ
– นวัตกรรมชั้นนำที่ Linkabit และ Qualcomm
(Academic to Entrepreneur – Leading Innovations
at Linkabit & Qualcomm)”
	 Dr. Jacobs เคยเป็นอาจารย์สอนด้านทฤษฎี
ข้อมูลและการสื่อสารที่ Massachusetts Institute of
Technology และ University of California, San
Diego รวมระยะเวลา 13 ปี ก่อนที่จะร่วมก่อตั้งและเป็น
ผู้บริหารสองบริษัท ได้แก่ Linkabit และ Qualcomm
โดยทั้งสองบริษัทประสบความสำเร็จอย่างมากในการ
สร้างมูลค่าจากการประยุกต์ทฤษฎีของเทคโนโลยีไร้สาย
(wireless technology) มีการพัฒนานวัตกรรมของ
ผลิตภัณฑ์และการใช้งานจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย
เช่น CDMA (Code Division Multiple Access) ซึ่ง
เป็นเทคโนโลยีไร้สายพื้นฐานของการรับส่งข้อมูลในระบบ
เซลลูลาร์ (cellular) รุ่นที่สาม (3G) และรุ่นที่สี่ (4G)
16.	 Dr. Irwin Mark Jacobs (ผู้ได้รับรางวัล IEEE Medal of Honor ปี ค.ศ. 2013)
กรกฎาคม - กันยายน 255754
ภาพที่ 21 Prof. Stephen Smale
	 บรรยายเรื่อง “โปรตีนและการม้วนตัวของ
โปรตีน (Proteins and Protein Folding)”
	 Prof. Smale เป็นผู้ที่สนใจใช้ความรู้ทาง
คณิตศาสตร์มาอธิบายปรากฏการณ์ทางชีววิทยา
ของโปรตีนและการม้วนตัวของโปรตีน จุดเริ่มต้นของ
การศึกษาการม้วนตัวของโปรตีน คือ Anfinsen’s dogma
ซึ่งเป็นผลงานของ Prof. Christian Anfinsen ผู้ได้รับ
รางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี ค.ศ. 1972 โดย Anfinsen’s
dogma กล่าวว่า ลำดับของกรดอะมิโนชี้นำการม้วนตัว
ของโปรตีน Prof. Smale ใช้แนวคิดการวิเคราะห์เชิง
จำนวนจริง (real analysis) และทฤษฎีการเรียนรู้
(learning theory) ทางคณิตศาสตร์ประกอบกับ
Anfinsen’s dogma ในการอธิบายการม้วนตัวของ
โปรตีน
	 บรรยายเรื่อง “สำรวจตรวจสอบโครงสร้างใน
ระดับใหญ่และเล็กของจักรวาล (Probing the Large
and Small Structure of the Universe)”
	 Prof. Friedman เล่าถึงความก้าวหน้าใน
การทำความเข้าใจโครงสร้างของจักรวาล ซึ่งการค้นพบ
ต่างๆ ในสมัยปัจจุบันต้องอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น
เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) และเครื่อง
ตรวจจับอนุภาค (particle detector) เพื่อตรวจวัดค่า
ต่างๆ นอกจากนั้นยังต้องมีการคิดทฤษฎีต่างๆ มาอธิบาย
ผลการทดลองที่ได้
ภาพที่ 22 Prof. Jerome Isaac Friedman
17.	 Prof. Stephen Smale (นักคณิตศาสตร์ผู้ได้รับ Fields Medal ปี ค.ศ. 1966)
18.	 Prof. Jerome Isaac Friedman (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 	
	 1990 สาขาฟิสิกส์)
	 ในตอนต่อไปจะกล่าวถึง panel discussion ข้อคิดในการทำงานของนักวิทยาศาสตร์อาวุโส และความรู้สึก
ของตัวแทนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของประเทศไทยทั้งห้าคนที่ได้เข้าร่วมการประชุมนี้

Weitere ähnliche Inhalte

Andere mochten auch

1512 kirk douglas-(menudospeques.net)
1512 kirk douglas-(menudospeques.net)1512 kirk douglas-(menudospeques.net)
1512 kirk douglas-(menudospeques.net)Menudos Peques
 
Scrum na pratica, para developers
Scrum na pratica, para developersScrum na pratica, para developers
Scrum na pratica, para developersComunidade NetPonto
 
Disipador de calor daniela
Disipador de calor   danielaDisipador de calor   daniela
Disipador de calor danielaDaniela Noriega
 
Inför likvärdig beskatning av bostäder
Inför likvärdig beskatning av bostäderInför likvärdig beskatning av bostäder
Inför likvärdig beskatning av bostäderPeter Johansson
 
Orçamento empresarial no sienge o planejamento financeiro como ferramenta est...
Orçamento empresarial no sienge o planejamento financeiro como ferramenta est...Orçamento empresarial no sienge o planejamento financeiro como ferramenta est...
Orçamento empresarial no sienge o planejamento financeiro como ferramenta est...Sienge
 
Varanasi (Benares), Uttar Pradesh, India
Varanasi (Benares), Uttar Pradesh, IndiaVaranasi (Benares), Uttar Pradesh, India
Varanasi (Benares), Uttar Pradesh, Indiaguimera
 
Actividades tema 7
Actividades tema 7Actividades tema 7
Actividades tema 7JGL79
 
So Near Yet so Far: Why Utilities Need to Re-energize Their Digital Customer ...
So Near Yet so Far: Why Utilities Need to Re-energize Their Digital Customer ...So Near Yet so Far: Why Utilities Need to Re-energize Their Digital Customer ...
So Near Yet so Far: Why Utilities Need to Re-energize Their Digital Customer ...Capgemini
 
Guia de Sobrevivência do Vegano
Guia de Sobrevivência do VeganoGuia de Sobrevivência do Vegano
Guia de Sobrevivência do VeganoJuliana Moreira
 
Imperyo ng Akkadian (Akkadian Empire)
Imperyo ng Akkadian (Akkadian Empire)Imperyo ng Akkadian (Akkadian Empire)
Imperyo ng Akkadian (Akkadian Empire)lukehemmings
 
Tiro vertical vertical
Tiro vertical verticalTiro vertical vertical
Tiro vertical verticalSantiago Arias
 
Sistema de Distribuição de medicamentos
Sistema de Distribuição de medicamentosSistema de Distribuição de medicamentos
Sistema de Distribuição de medicamentosJose Carlos
 

Andere mochten auch (20)

Manual da epociências
Manual da epociênciasManual da epociências
Manual da epociências
 
1512 kirk douglas-(menudospeques.net)
1512 kirk douglas-(menudospeques.net)1512 kirk douglas-(menudospeques.net)
1512 kirk douglas-(menudospeques.net)
 
Scrum na pratica, para developers
Scrum na pratica, para developersScrum na pratica, para developers
Scrum na pratica, para developers
 
Disipador de calor daniela
Disipador de calor   danielaDisipador de calor   daniela
Disipador de calor daniela
 
Trabajo aplicativo 2
Trabajo aplicativo 2Trabajo aplicativo 2
Trabajo aplicativo 2
 
Inför likvärdig beskatning av bostäder
Inför likvärdig beskatning av bostäderInför likvärdig beskatning av bostäder
Inför likvärdig beskatning av bostäder
 
Culinaria CaiçAra
Culinaria CaiçAraCulinaria CaiçAra
Culinaria CaiçAra
 
Orçamento empresarial no sienge o planejamento financeiro como ferramenta est...
Orçamento empresarial no sienge o planejamento financeiro como ferramenta est...Orçamento empresarial no sienge o planejamento financeiro como ferramenta est...
Orçamento empresarial no sienge o planejamento financeiro como ferramenta est...
 
Biorremediacao
BiorremediacaoBiorremediacao
Biorremediacao
 
Varanasi (Benares), Uttar Pradesh, India
Varanasi (Benares), Uttar Pradesh, IndiaVaranasi (Benares), Uttar Pradesh, India
Varanasi (Benares), Uttar Pradesh, India
 
Actividades tema 7
Actividades tema 7Actividades tema 7
Actividades tema 7
 
MIGUEL ÁNGEL BLANCO: LA FUERZA DE LA MEMORIA
MIGUEL ÁNGEL BLANCO: LA FUERZA DE LA MEMORIAMIGUEL ÁNGEL BLANCO: LA FUERZA DE LA MEMORIA
MIGUEL ÁNGEL BLANCO: LA FUERZA DE LA MEMORIA
 
So Near Yet so Far: Why Utilities Need to Re-energize Their Digital Customer ...
So Near Yet so Far: Why Utilities Need to Re-energize Their Digital Customer ...So Near Yet so Far: Why Utilities Need to Re-energize Their Digital Customer ...
So Near Yet so Far: Why Utilities Need to Re-energize Their Digital Customer ...
 
Guia de Sobrevivência do Vegano
Guia de Sobrevivência do VeganoGuia de Sobrevivência do Vegano
Guia de Sobrevivência do Vegano
 
Angina pectoris
Angina pectorisAngina pectoris
Angina pectoris
 
Imperyo ng Akkadian (Akkadian Empire)
Imperyo ng Akkadian (Akkadian Empire)Imperyo ng Akkadian (Akkadian Empire)
Imperyo ng Akkadian (Akkadian Empire)
 
Escuela Cuantitativa
Escuela CuantitativaEscuela Cuantitativa
Escuela Cuantitativa
 
Tiro vertical vertical
Tiro vertical verticalTiro vertical vertical
Tiro vertical vertical
 
Sistema de Distribuição de medicamentos
Sistema de Distribuição de medicamentosSistema de Distribuição de medicamentos
Sistema de Distribuição de medicamentos
 
portico de la gloria
portico de la gloriaportico de la gloria
portico de la gloria
 

Ähnlich wie Global Young Scientists Summit 2014 # 1

03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3KruBeeKa
 
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)SAKANAN ANANTASOOK
 
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreenNSTDA THAILAND
 
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อยKruBeeKa
 
05 แผนงานวิจัยรวม-full
05 แผนงานวิจัยรวม-full05 แผนงานวิจัยรวม-full
05 แผนงานวิจัยรวม-fullKruBeeKa
 
ผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ วุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๖
ผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ วุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๖ผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ วุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๖
ผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ วุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๖IMC Institute
 
รายงานผลการดำเนินงานศูนย์สา่รนิเทศมนุษยศาสตร์
รายงานผลการดำเนินงานศูนย์สา่รนิเทศมนุษยศาสตร์รายงานผลการดำเนินงานศูนย์สา่รนิเทศมนุษยศาสตร์
รายงานผลการดำเนินงานศูนย์สา่รนิเทศมนุษยศาสตร์Humanities Information Center
 
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?Satapon Yosakonkun
 
เครื่องเร่งอนุภาค
เครื่องเร่งอนุภาคเครื่องเร่งอนุภาค
เครื่องเร่งอนุภาคTh'mep Ginger
 
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2Prachyanun Nilsook
 

Ähnlich wie Global Young Scientists Summit 2014 # 1 (20)

Exhibition NAC 2009
Exhibition NAC 2009Exhibition NAC 2009
Exhibition NAC 2009
 
Book Exhibition NAC 2009 Full
Book Exhibition NAC 2009 FullBook Exhibition NAC 2009 Full
Book Exhibition NAC 2009 Full
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
 
Herp congress-v
Herp congress-vHerp congress-v
Herp congress-v
 
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)
TSMT Journal15 (วารสาร สควค. ฉบับที่ 15)
 
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen
 
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
 
2557-6
2557-62557-6
2557-6
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
 
03chap1
03chap103chap1
03chap1
 
05 แผนงานวิจัยรวม-full
05 แผนงานวิจัยรวม-full05 แผนงานวิจัยรวม-full
05 แผนงานวิจัยรวม-full
 
ผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ วุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๖
ผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ วุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๖ผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ วุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๖
ผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ วุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๖
 
รายงานผลการดำเนินงานศูนย์สา่รนิเทศมนุษยศาสตร์
รายงานผลการดำเนินงานศูนย์สา่รนิเทศมนุษยศาสตร์รายงานผลการดำเนินงานศูนย์สา่รนิเทศมนุษยศาสตร์
รายงานผลการดำเนินงานศูนย์สา่รนิเทศมนุษยศาสตร์
 
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
 
Present dpst
Present dpstPresent dpst
Present dpst
 
Binder1
Binder1Binder1
Binder1
 
เครื่องเร่งอนุภาค
เครื่องเร่งอนุภาคเครื่องเร่งอนุภาค
เครื่องเร่งอนุภาค
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2
 

Mehr von National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

Mehr von National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 

Global Young Scientists Summit 2014 # 1

  • 1. บทความบ เมื่อวันที่ 19-24 มกราคม พ.ศ. 2557 มีการ จัดประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์โลก (Global Young Scientists Summit: GYSS) 2014 เพื่อสร้าง เครือข่ายระหว่างนักวิทยาศาสตร์อาวุโสกับนักวิทยาศาสตร์ รุ่นเยาว์ โดยเชิญนักวิทยาศาสตร์อาวุโสผู้ได้รับรางวัล ประสบการณ์จากการเข้าร่วม Global Young Scientists Summit 2014 (ตอนที่ 1) ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ 1,* , ดร.น้ำริน ไทยตรง 2 , ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ 3 , ดร.สมพงค์ จิตต์มั่น 4 และ นพ.พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ 5 1 นักวิจัย ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ หน่วยวิจัยการออกแบบ และวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ * somboono@mtec.or.th 2 ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 3 นักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 4 อาจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 5 อาจารย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเอ่ยถึงรางวัลโนเบล (Nobel prize) อันทรงเกียรติ หลายคนคงอยากรู้ ว่านักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลนี้มีหลักคิดและวิธีทำงานวิจัยอย่างไรจึงประสบ ความสำเร็จในระดับที่เป็นเกียรติสูงสุดในวงการวิทยาศาสตร์ของโลก สำคัญระดับสากล อันได้แก่ รางวัลโนเบล (Nobel Prize), Fields Medal1 , Millennium Technology Prize2 และ IEEE Medal of Honor3 มาบรรยายเพื่อ ถ่ายทอดประสบการณ์และให้ข้อคิดกับนักวิทยาศาสตร์ รุ่นเยาว์ 1 รางวัล Fields Medal [http://www.mathunion.org/general/prizes/fields/details] มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า International Medal for Outstanding Discoveries in Mathematics เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักคณิตศาสตร์อายุไม่เกิน 40 ปี จำนวน 2-4 คน ในงานการประชุม International Congress of the International Mathematical Union ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี รางวัล Fields Medal นี้ถือได้ว่าเป็นเกียรติ ประวัติสูงสุดที่นักคณิตศาสตร์ผู้หนึ่งจะได้รับ 2 รางวัล Millennium Technology Prize [http://taf.fi/en/millennium-technology-prize/] เป็นรางวัลใหญ่ที่สุดรางวัลหนึ่งในสาขา เทคโนโลยี รางวัลนี้มอบทุกๆ 2 ปีให้แก่ผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษยชาติและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน รางวัลนี้มอบให้โดย Technology Academy Finland (กองทุนอิสระที่ก่อตั้งโดยอุตสาหกรรมในประเทศฟินแลนด์ร่วมกับรัฐบาลฟินแลนด์) 3 รางวัล IEEE Medal of Honor [http://taf.fi/en/millennium-technology-prize/] เป็นรางวัลที่ทรงเกียรติที่สุดของ the Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) ซึ่งมอบให้แก่ผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างโดดเด่นในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาการที่เกี่ยว ข้องกับ IEEE
  • 2. กรกฎาคม - กันยายน 255740 คณะผู้เขียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณแห่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวินิจฉัย คัดเลือกให้เป็นผู้แทนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของ ประเทศไทยไปร่วมการประชุมดังกล่าว บทความนี้จะ เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้ไปเข้าร่วมการประชุมสุดยอด ในครั้งนี้ การประชุม GYSS เป็นการประชุมแบบ สหสาขาวิชา ได้แก่ เคมี ฟิสิกส์ การแพทย์ คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งแตกต่าง จากการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดาที่ใน การประชุมแต่ละครั้งมีเพียงสาขาเดียว ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้ประกาศเปิดตัว เป็นเจ้าภาพการประชุม  GYSS  ในงานประชุมผู้ได้รับ รางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ประจำปี พ.ศ. 2555 และได้จัดการประชุม GYSS ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 ณ National University of Singapore และในปีนี้ เป็นการประชุม GYSS ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 19-24 มกราคม พ.ศ. 2557 ณ Nanyang Technological University หัวข้อหลักของการประชุม GYSS 2014 คือ Advancing Science, Creating Technologies for a Better World (การพัฒนาวิทยาศาสตร์ให้ก้าวหน้า และการสร้างเทคโนโลยีเพื่อโลกที่ดีขึ้น) โดยการประชุม ในครั้งนี้มีกำหนดการ 5 วันประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 ส่วน ดังนี้ • การบรรยายและเสวนาด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย plenary lecture4 panel discussion5 และ master-class6 ซึ่งบรรยาย โดยนักวิทยาศาสตร์อาวุโสผู้ได้รับรางวัลสำคัญ ระดับสากลต่างๆ กิจกรรมเยี่ยมชมหน่วยงานวิจัยชั้นนำของประเทศ สิงคโปร์ ได้แก่ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และหน่วยงานราชการ การเข้าชมแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ สิงคโปร์ ได้แก่ สวนสัตว์เปิดกลางคืน Singapore Flyer และการเยี่ยมชมเมืองและศึกษาวัฒนธรรม ที่หลากหลายของชาวสิงคโปร์ตามอัธยาศัย การประชุม GYSS 2014 มีนักวิทยาศาสตร์ อาวุโส 18 ท่านเข้าร่วม ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลโนเบล 13 ท่าน นักคณิตศาสตร์ที่ได้รับ รางวัล Fields Medal 3 ท่าน นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ รางวัล Millennium Technology Prize 1 ท่าน และ นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัล IEEE Medal of Honor 1 ท่าน ส่วนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ที่เข้าร่วมงานจะ เป็นนักศึกษาปริญญาเอก และผู้ที่สำเร็จปริญญาเอก แล้วและมีอายุไม่เกิน 35 ปี ในการจัดงานครั้งนี้เจ้าภาพได้สนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการประชุมทั้งหมด ยกเว้นค่าเดินทางที่ ต้นสังกัดของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์เป็นผู้สนับสนุน ส่วนมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะเป็นผู้เสนอรายชื่อนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ เช่น ผลการศึกษา ผลงานวิจัย ความสนใจในการวิจัย และความสามารถ ด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งในปีนี้มีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 309 คน จาก 23 ประเทศ ส่วนประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรง มีพระประสงค์ให้นิสิต นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์ ของไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม GYSS นี้เพื่อ เปิดโลกทัศน์ทางวิชาการ อีกทั้งได้มีโอกาสเรียนรู้ ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ จากประสบการณ์จริง ของนักวิจัยที่มีผลงานทางวิทยาศาสตร์ในระดับสากล 4 plenary lecture เป็นการบรรยายที่ผู้ฟังทั้งหมดเข้าฟังผู้บรรยายท่านเดียว 5 panel discussion เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นหนึ่งๆ ที่หยิบยกขึ้นมา 6 master-class เป็นชั้นเรียนย่อยที่สอนโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชานั้นๆ
  • 3. กรกฎาคม - กันยายน 2557 41 ในการคัดเลือก คณะกรรมการจะพิจารณาผู้สมัครจากใบสมัคร และเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติและศักยภาพสอด คล้องกับข้อกำหนดมากที่สุด เพื่อมาสอบสัมภาษณ์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2556 จำนวน 22 คน จากนั้นจึงนำความขึ้น กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงคัดเลือกจำนวน 5 คน ดังนี้ 1. ดร.น้ำริน ไทยตรง นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส สวทช.) 2. ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ นักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 3. ดร.สมพงค์ จิตต์มั่น อาจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 4. ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 5. นพ.พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ อาจารย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ภาพที่ 1 ผู้แทนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของประเทศไทยกับผู้บริหารสวทช. (จากซ้ายไปขวา) นพ.พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์ ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ คุณฤทัย จงสฤษดิ์ (ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายบริหารค่ายวิทยาศาสตร์ สวทช.) ดร.สมบูรณ์ โอตรวรรณะ ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ (ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สวทช.) ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (ผู้อำนวยการ สวทช.) ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล (ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ) ดร.น้ำริน ไทยตรง และ ดร.สมพงค์ จิตต์มั่น
  • 4. กรกฎาคม - กันยายน 255742 หลังเสร็จสิ้นพิธีเปิดการประชุม GYSS 2014 ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ทั้งห้าคนและผู้บริหาร สวทช. เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและทรงให้โอวาทความว่า ภาพที่ 2 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฉายพระรูปร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับเชิญมาบรรยาย และแขกคนสำคัญในระหว่างพิธีเปิดงาน GYSS 2014 ทรงสนับสนุนและมองหาเวทีที่จะทำให้นักวิทยาศาสตร์ ของไทยโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานแล้วได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ความรู้และร่วมมือกับต่างประเทศให้มากขึ้น ผู้ที่ได้รับ คัดเลือกควรปูทางให้รุ่นหลังต่อไป ส่วนนักวิทยาศาสตร์ รุ่นเก่าจะเป็นหัวหน้าทีมที่คอยอำนวยความสะดวกให้ Plenary Lecture และ Master-Class ใน plenary lecture และ master-class นักวิทยาศาสตร์อาวุโสแต่ละท่านได้บรรยายเนื้อหาในหัวข้อต่างๆ ซึ่งผู้เขียนสรุปไว้ ดังนี้ บรรยายเรื่อง“วิวัฒนาการของการแพทย์จำเพาะ บุคคล - เราจะสามารถรักษาทุกโรคได้หรือไม่และด้วยราคา เท่าไหร่ (The Revolution of Personalised Medicine - Are we going to cure all diseases and at what price?)” ทุกวันนี้วิวัฒนาการที่สำคัญที่สุดทางการแพทย์ คือ การมียาจำเพาะบุคคล ปัจจุบันแพทย์เปลี่ยนมาใช้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์แทนการเรียนรู้การรักษาอยู่ ข้างเตียงผู้ป่วย อย่างไรก็ดีวิธีใหม่ๆ ในการรักษาโรคและ ความสำเร็จทางการแพทย์อื่นๆ มักมีราคาสูง ราคาที่ จ่ายให้กับความก้าวหน้าเหล่านี้ยังคงเป็นจุดอ่อนของ การอยู่รอดของมนุษย์มาก ตอนนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคการแพทย์ที่จำเพาะ ต่อบุคคล ซึ่งต่างจากยุคก่อนหน้านี้ที่ใช้แนวคิด “One 1. Prof. Aaron Ciechanover (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2004 สาขาเคมี)
  • 5. กรกฎาคม - กันยายน 2557 43 ภาพที่ 3 Prof. Aaron Ciechanover size fits all.” ซึ่งความแตกต่างของการใช้ชีวิตแต่ละ คนนั้นไม่ได้นำมาพิจารณาในการรักษา ใครเป็นโรคอะไร ก็รักษาไปในแบบเดียวกัน ผลลัพธ์ก็คือความล้มเหลว ในการรักษา มีการดื้อยาและปฏิกิริยาต่อต้านการรักษา ที่นำไปสู่การเสียชีวิตจำนวนมาก เทคโนโลยีการถอดรหัสจีโนม (genome) ของ ผู้ป่วยจะช่วยในการทำนายการตอบสนองของผู้ป่วยต่อ การรักษา ปัจจุบันเทคนิคการถอดรหัสจีโนมพัฒนาไป อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงและราคา ประมาณ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ ความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคนิคการรักษาและยาที่ จำเพาะบุคคล Prof. Ciechanover มองว่า การแพทย์ทุกวันนี้ เป็นไปใน 3 ทิศทางที่ขนานกัน ได้แก่ - ทิศทางที่ 1 คือ การพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ปัจจุบันเราประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพที่ ซับซ้อน มีมีดรังสีแกมมาสำหรับผ่าตัด และผ่าตัด เปลี่ยนถ่ายอวัยวะได้ จะเห็นว่าเทคนิคทางวิศวกรรม มีบทบาทสำคัญมาก - ทิศทางที่ 2 คือ การปฏิรูปการแพทย์โดยการใช้ เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) เราสามารถเลี้ยงเซลล์ ที่ออกแบบมาเพื่อทดแทนเนื้อเยื่อที่เสียหายและ สามารถแก้ปัญหาการเสื่อมสภาพของเซลล์สำคัญ ได้ - ทิศทางที่ 3 คือ การพัฒนายา การค้นพบยาในยุค แรกๆ เกิดจากความบังเอิญ และยุคถัดมาเกิดจาก การค้นคว้าทดลองที่ทันสมัย แต่น่าเสียดายว่าการ พัฒนายาเน้นหนักไปที่ยาสำหรับรักษาโรคของคนมี ฐานะและโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องเช่นอินซูลิน (insulin) ได้รับความสนใจมากกว่ายาปฏิชีวนะ
  • 6. กรกฎาคม - กันยายน 255744 ภาพที่ 4 Prof. Anthony Leggett บรรยายเรื่อง “โครงสร้างของโลกที่ (อาจจะ) อธิบายได้ด้วยกลศาสตร์ควอนตัม (The Structure of a World (Which Maybe Be) Described by Quantum Mechanics)” เชื่อกันโดยทั่วไปว่า นอกจากกลศาสตร์ควอนตัม สามารถอธิบายรูปแบบและพฤติกรรมของสิ่งต่างๆ ใน ระดับอิเล็กตรอนและอะตอมได้ดีแล้ว ยังสามารถอธิบาย รูปแบบและพฤติกรรมของสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ดี อีกด้วย Prof. Leggett อธิบายถึงผลการทดลองใหม่ๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ที่แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้นมีความแตกต่างจากสามัญสำนึก ปกติของคนทั่วไป 2. Prof. Anthony Leggett (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2003 สาขาฟิสิกส์) 3. Prof. Wendelin Werner (นักคณิตศาสตร์ผู้ได้รับ Fields Medal ปี ค.ศ. 2006) ภาพที่ 5 Prof. Wendelin Werner
  • 7. กรกฎาคม - กันยายน 2557 45 บรรยายเรื่อง “ปรากฏการณ์สุ่มและความต่อเนื่อง (Randomness and Continuum)” Prof. Werner กล่าวว่าเราสามารถเห็นภาพ ได้ง่ายว่าพื้นที่ (space) และเวลา (time) มีความต่อเนื่อง ซึ่งสามารถแบ่งส่วนและรวมกันได้ แนวคิดนี้สัมพันธ์ โดยตรงกับความต่อเนื่องของฟังก์ชันในทางคณิตศาสตร์ ในทางกลับกัน ปรากฏการณ์สุ่ม เช่น การโยนเหรียญ การโยนลูกเต๋า จะให้ความรู้สึกถึงความไม่ต่อเนื่อง และ ยากที่จะอธิบายในแง่ความต่อเนื่อง Prof. Werner ได้ยกตัวอย่างปรากฏการณ์สุ่ม ของการระบายสีขาวและดำในตารางรังผึ้งอย่างสุ่ม ซึ่ง เราอาจสนใจการกระจายตัว จำนวน หรือความหนาแน่น ของแต่ละสี ตลอดจนการพิจารณาบนบริเวณต่อเนื่อง หรือบริเวณปิดล้อมของแต่ละสี การศึกษาและวิเคราะห์ สิ่งเหล่านี้อย่างลึกซึ้งนำมาสู่การประยุกต์ในด้านการจัด การสัญญาณ (signal processing) ภาพที่ 6 ภาพการอธิบายปรากฏการณ์สุ่มของการระบายสี ขาวและดำในตารางรังผึ้งอย่างสุ่ม บรรยายเรื่อง “ต่อสู้กับการดื้อยาปฏิชีวนะ? (Combating Antibiotics Resistance?)” Prof. Yonath สนใจศึกษาโครงสร้างโปรตีน โดยเฉพาะโปรตีนไรโบโซม (riborsome) ซึ่งมีหน้าที่ แปลรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายให้เป็นการ สังเคราะห์โปรตีนอื่นๆ ในร่างกาย ความรู้ทางโครงสร้าง ของไรโบโซมนำไปสู่การพัฒนาความรู้ทางการทำงาน ของไรโบโซมในร่างกายสิ่งมีชีวิตทั่วไปทั้งในมนุษย์และ แบคทีเรีย และการพัฒนาเป็นกลยุทธ์ในการแยกแยะ ความแตกต่างระหว่างไรโบโซมของมนุษย์ออกจาก ไรโบโซมของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ข้อมูลใหม่ที่ได้จากการหาโครงสร้างสามมิติจาก ไรโบโซมคริสตัลที่ตกผลึกร่วมกับสารยับยั้งนั้นๆ ท้าย ที่สุดได้นำไปพัฒนายาปฏิชีวนะที่มีคุณสมบัติยับยั้ง การทำงานของจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค รวมถึงการต่อสู้กับการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียและ จุลินทรีย์ที่ยังคงความสามารถในการเปลี่ยนแปลง ไรโบโซมให้หนีฤทธิ์ของยาใหม่ๆ ภาพที่ 7 Prof. Ada Yonath 4. Prof. Ada Yonath (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2009 สาขาเคมี)
  • 8. กรกฎาคม - กันยายน 255746 ภาพที่ 8 Prof. Robert Grubbs บรรยายเรื่อง “การกระตุ้นปฏิกิริยาและการพัฒนา ที่ยั่งยืน (Catalysis and Sustainability)” Prof. Grubbs บรรยายถึงกระบวนการ olefin metathesis และการพัฒนาสารเร่งปฏิกิริยา olefin metathesis ทั้งในเชิงกลไกการทำงานและการเพิ่ม ประสิทธิภาพของปฏิกิริยาอย่างทวีคูณ นอกจากนี้ ท่าน ยังได้กล่าวถึงงานวิจัยประยุกต์ที่พัฒนามาจากกระบวนการ metathesis ได้แก่ 1) การใช้ประโยชน์จากน้ำมันของ เมล็ดพืช (seed oil) เพื่อใช้แก้ปัญหาการขาดแคลน พลังงานของโลกและผลิตภัณฑ์เคมีที่มีค่าสูงต่างๆ 2) การสังเคราะห์สารฟีโรโมน (pheromone) เพื่อดึงดูด แมลงต่างเพศ และนำมาใช้เชิงเกษตรกรรมเพื่อลดปัญหา การใช้ยาฆ่าแมลง และ 3) การพัฒนากระบวนการ เกิดพอลิเมอร์ (polymerization) เพื่อให้มีความแม่นยำ ในการก่อสายพอลิเมอร์ สำหรับการประยุกต์ใช้ในเชิง การแพทย์และพลังงาน เช่น กังหันลม ผลึกโฟโตนิก (photonic crystals) และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม บรรยายเรื่อง “ทางเดินอย่างสุ่มไปที่กรุงสตอก โฮล์ม (Random Walk to Stockholm)” Prof. Geim เล่าถึงการค้นพบแกรฟีน (graphene) ว่า การสังเคราะห์แกรฟีนต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ในการนำแกรไฟต์ (graphite) ไปขัดให้บางมากๆ แต่ก็ ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมาประสบความสำเร็จ จากการลองนำเทปกาวธรรมดาไปติดบนแกรไฟต์และ ลอกเอาแกรไฟต์แผ่นบางๆ ออกมา นอกจากนั้น Prof. Geim ยังบรรยายถึง สมบัติพิเศษต่างๆ ของแกรฟีน เช่น มีความแข็ง มากที่สุดในบรรดาวัสดุทั้งหลาย และเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ ดีกว่าซิลิคอน (silicon) ทำให้แกรฟีนเป็นวัสดุที่น่าสนใจ มาก และมีโอกาสพัฒนาเพื่อใช้งานในด้านต่างๆ เช่น จอภาพที่ใช้งานด้วยการสัมผัส (touch screen) เซลล์ สุริยะ อุปกรณ์กักเก็บพลังงาน และชิปคอมพิวเตอร์ ความเร็วสูง 5. Prof. Robert Grubbs (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลปี ค.ศ. 2005 สาขาเคมี) 6 Prof. Andre Geim (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2010 สาขาฟิสิกส์)
  • 9. กรกฎาคม - กันยายน 2557 47 ภาพที่ 9 Prof. Andre Geim บรรยายเรื่อง “Univalent Foundations - รากฐานใหม่ของคณิตศาสตร์ (Univalent Foundations - new foundations of mathematics)” Prof.Voevodskyได้บรรยายเกี่ยวกับรากฐาน ใหม่ของคณิตศาสตร์ ที่เรียกว่า Univalent Foundations ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ที่เริ่มพัฒนาในปี พ.ศ. 2553 โดยใช้ แนวคิดของ motivic homotopy ท่านเล่าถึงประวัติ คร่าวๆ ของรากฐานทางคณิตศาสตร์ แนวคิดพื้นฐาน ของ Univalent Foundations และการประยุกต์ Univalent Foundations ในการสร้างโปรแกรม คอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ อย่างอัตโนมัติ ภาพที่ 10 Prof. Vladimir Voevodsky 7. Prof. Vladimir Voevodsky (นักคณิตศาสตร์ผู้ได้รับ Fields Medal ปี ค.ศ. 2002)
  • 10. กรกฎาคม - กันยายน 255748 ภาพที่ 11 Prof. David Gross ภาพที่ 12 Dr. John Robin Warren บรรยายเรื่อง “ขอบเขตของฟิสิกส์พื้นฐาน (The Frontiers of Fundamental Physics)” Prof. Gross อธิบายงานที่ได้รางวัลโนเบลคือ การอธิบายถึงแรงพื้นฐาน 3 ประเภทในด้านฟิสิกส์ อนุภาค (particle physics) ได้แก่ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic force) แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน (weak nuclear force) และแรงนิวเคลียร์อย่างแรง (strong nuclear force) บรรยายเรื่อง “การค้นพบเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter (Discovering Helicobacter)” Dr. Warren พูดถึงการค้นพบเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดกระเพาะอาหาร อักเสบ รวมทั้งแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น 8. Prof. David Gross (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2004 สาขาฟิสิกส์) 9. Dr. John Robin Warren (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2005 สาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์)
  • 11. กรกฎาคม - กันยายน 2557 49 ภาพที่ 13 Prof. Hartmut Michel บรรยายเรื่อง “ความไร้สาระของเชื้อเพลิง ชีวภาพ (The Nonsense of Biofuels)” แม้เชื้อเพลิงชีวภาพจะได้รับการยอมรับว่าเป็น พลังงานทดแทนเพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuels) แต่เชื้อเพลิงชีวภาพได้จากชีวมวลซึ่งเป็น ผลจากกิจกรรมการสังเคราะห์ด้วยแสง มีหลักการคล้าย กับเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นผลจากกิจกรรมการสังเคราะห์ ด้วยแสงเมื่อหลายล้านปีที่แล้ว กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชและ สาหร่ายที่ใช้ทำเชื้อเพลิงชีวภาพนั้นใช้พลังงาน แสงอาทิตย์ในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จาก บรรยากาศเพื่อสังเคราะห์น้ำตาลและสะสมเป็นชีวมวล แต่ประสิทธิภาพของการสังเคราะห์แสงนั้นต่ำมาก กล่าวคือ มีพลังงานแสงน้อยกว่า 1 % ที่สามารถ สะสมอยู่ในรูปชีวมวลและการพัฒนาประสิทธิภาพให้ดี กว่านี้ก็เป็นไปได้ยาก ก๊าซชีวภาพและไบโอดีเซลที่ผลิตได้ต่อหน่วย พื้นที่เพาะปลูกคิดเป็นพลังงานประมาณ 0.4 % ของ พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดที่พื้นที่นั้นได้รับ และ กระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพหรือไบโอดีเซลต้องใช้ พลังงานจากฟอสซิลอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ จะได้จากก๊าซชีวภาพหรือไบโอดีเซลนั้น นอกจากนี้ เซลล์สุริยะมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนรูปพลังงาน แสงอาทิตย์สูงกว่าเชื้อเพลิงชีวภาพถึง 50-100 เท่า และจากการที่เครื่องยนต์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงกว่า เครื่องยนต์สันดาปกว่าสี่เท่า จึงสรุปได้ว่าการใช้รถยนต์ ไฟฟ้าหนึ่งคันต้องการพื้นที่ในการติดตั้งเซลล์สุริยะ เพียงแค่ 0.2 % ของพื้นที่ในการปลูกพืชสำหรับผลิต ไบโอดีเซลเพื่อใช้ขับเคลื่อนรถเครื่องยนต์สันดาป ดังนั้น การปลูกพืชเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจึงเป็นการใช้พื้นที่ อย่างไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การปลูกปาล์มน้ำมันหรือพืชตระกูล ถั่วในเขตร้อนเพื่อผลิตไบโอดีเซลยังเป็นการตัดไม้ ทำลายป่า การสูญเสียป่าในเขตร้อนยิ่งทำให้การ เปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศรุนแรงขึ้น การใช้เซลล์ สุริยะเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์จึงน่าจะเป็นทาง เลือกที่ดีกว่าเชื้อเพลิงชีวภาพ 10. Prof. Hartmut Michel (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 1988 สาขาเคมี)
  • 12. กรกฎาคม - กันยายน 255750 บรรยายเรื่อง “จีเอฟพี: ฉายไฟส่องชีวิต (GFP: Lighting Up Life)” Prof. Chalfie กล่าวว่าการสังเกตทางชีววิทยา ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ถูกจำกัดด้วยข้อกำหนดที่ว่า ตัวอย่าง (specimen) ที่ต้องการศึกษาต้องเป็นเซลล์ที่ ตายแล้วเท่านั้น เนื่องจากไม่มีเทคนิคการย้อมสีที่สามารถ ใช้กับสิ่งมีชีวิตได้ การเก็บข้อมูลของสิ่งมีชีวิตในสมัยก่อน จึงเป็นข้อมูลที่มาจากภาพนิ่งเท่านั้นแต่ข้อจำกัดเหล่านี้ หมดไปเมื่อ Prof. Chalfie ร่วมกับ Prof. Shimomura และ Prof. Tsien ค้นพบโปรตีน GFP (Green Fluorescent Protein) การค้นพบ GFP และโปรตีนเรืองแสงอื่นๆ ถือว่าเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญทางชีววิทยาเนื่องจาก GFP เป็นไบโอมาร์เกอร์ (biomarker) หลักที่สำคัญ ที่มีคุณสมบัติพิเศษสามารถถ่ายถอดให้กับสิ่งมีชีวิต อื่นๆ โดยการสืบพันธุ์การฉีด viral vector และ การเเปรรูปของเชลล์ (cell transformation) GFP จึง เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์นำไปใช้ในการ ศึกษาการแสดงออกของยีนส์ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมถึง การหาตำแหน่งของโปรตีนในเนื้อเยื่อ และศึกษาการ เปลี่ยนแปลงของเซลล์ตามกาลเวลา บรรยายเรื่อง “Bacterial Methylomes” การเป็นผู้ค้นพบเอนไซม์ตัดจำเพาะ (restriction enzymes) และยีนส์ที่ได้รับการตัดทอน (split genes) ทำให้ Sir Roberts ได้รับรางวัลโนเบล สาขา สรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์ ร่วมกับ Prof. Phillip Allen Sharp ในการประชุมครั้งนี้ท่านได้บรรยายระบบ การตัดจำเพาะและปรับเปลี่ยนยีนส์ (restriction- modification system) ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการป้องกัน แบคทีเรียจากการรุกรานของไวรัสสลายแบคทีเรีย (bacteriophage) หรือดีเอ็นเอใดๆ ที่พยายามรุกราน แบคทีเรีย โดยท่านเริ่มศึกษาจากแบคทีเรีย Escherichia coli ก่อน ภาพที่ 15 Sir Richard Roberts 11. Prof. Martin Chalfie (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลรางวัลโนเบลสาขาเคมี ปีค.ศ. 2008) ภาพที่ 14 Prof. Martin Chalfie 12. Sir Richard Roberts(นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 1993 สาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์)
  • 13. กรกฎาคม - กันยายน 2557 51 ภาพที่ 16 Prof. Kurt Wuthrich บรรยายเรื่อง “การวิเคราะห์จักรวาลโปรตีน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Analysing the Protein Universe for Improved Quality of Life)” Prof. Wuthrich ผู้พัฒนาเทคนิคนิวเคลียร์ แมกเนติกเรโซแนนซ์ (Nuclear Magnetic Resonance, NMR) เพื่อการวิเคราะห์โครงสร้างสามมิติของโมเลกุล ชีวภาพ กล่าวว่า การศึกษาลำดับดีเอ็นเอหรือจีโนมมี ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกเหนือ จากลำดับดีเอ็นเอของยีนและการใช้เทคนิค NMR สำหรับ ศึกษาโครงสร้างโมเลกุลของโปรตีน ความก้าวหน้าใหม่ๆ ในด้านอื่น เช่น การเกษตร โภชนาการ และสาธารณสุข ก็เป็นรากฐานที่สำคัญที่ช่วยให้เข้าใจรายละเอียดของ โปรตีโอม (proteome) และผลผลิตอื่นๆ จากยีนของ สิ่งมีชีวิต 13. Prof. Kurt Wuthrich (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2002 สาขาเคมี) 14. Prof. Michael Grätzel(นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลรางวัล Millennium Technology ปี ค.ศ. 2010) ภาพที่ 17 Prof. Michael Grätzel บรรยายเรื่อง “แสงและพลังงานจากการเลียนแบบ การสังเคราะห์แสงในธรรมชาติ (Light and Energy Mimicking Natural Photosynthesis)” ในปี ค.ศ. 1988 ขณะที่ Prof. Grätzel และ Dr. Brian O’ Regan อยู่ที่ University of California, Berkeley ได้ร่วมกันสร้างเซลล์สุริยะชนิดสีย้อม (dye solar cell) รุ่นใหม่ที่เรียกว่า the Grätzel cell ขึ้น และ Prof. Grätzel ได้พัฒนาเซลล์สุริยะชนิดนี้อย่าง ต่อเนื่อง จนกระทั่งสำเร็จเป็นเซลล์สุริยะชนิดสีย้อม ประสิทธิภาพสูงชนิดเเรกในปี ค.ศ. 1991 ปัจจุบันท่าน ยังคงพัฒนาเซลล์สุริยะชนิดสีย้อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตพลังงานไฟฟ้าให้สูงขึ้น Prof. Grätzel ยังกล่าวถึงการนำเซลล์แสง อาทิตย์ชนิดสีย้อมไปใช้งานในด้านต่างๆ เช่น ในรถยนต์ อัจฉริยะ (smart car) ของบริษัท Daimler-Benz หรือร่วมวิจัยกับประเทศซาอุดีอาระเบียในการนำมา ทดสอบการใช้งาน และใช้ประโยชน์ในศูนย์ประชุมแห่ง ใหม่ของ the École Polytechnique Fédérale de Lausanne (EPFL) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  • 14. กรกฎาคม - กันยายน 255752 ภาพที่ 18 Prof. Harald zur Hausen บรรยายเรื่อง “การค้นพบความสัมพันธ์ของ การติดเชื้อกับการเกิดมะเร็ง (Search for Infections Linked to Human Cancers)” Prof. zur Hausen กล่าวว่า การเกิดมะเร็ง ในมนุษย์มากกว่าร้อยละ 20 มีความสัมพันธ์กับการติด เชื้อของแต่ละคนในอดีต โดยมีหลักฐานจากการศึกษา ทางระบาดวิทยาในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ Prof. zur Hausen ค้นพบว่าไวรัส EBV มีความสัมพันธ์กับการ เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร รวมไปถึงไวรัส HPV กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก Prof. zur Hausen บรรยายผลการศึกษา ความสัมพันธ์ของการติดเชื้อไวรัส TT กับการเกิดมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ว่าเชื่อมโยงกับการรับประทานเนื้อแดง โดย เฉพาะเนื้อวัวในประเทศกลุ่มยุโรปและเอเชีย โดยให้ ข้อคิดว่าผู้ที่ทำงานชำแหละเนื้อสัตว์มีโอกาสเป็นมะเร็ง ในช่องปากและมะเร็งปอดมากกว่าประชากรทั่วไป และยังกล่าวสรุปสั้นๆ ถึงการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมหมวกไตในเด็ก รวมไปถึงมะเร็งในสมอง ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในระบาดวิทยาว่า มะเร็ง เหล่านี้เชื่อมโยงถึงการติดเชื้อในช่วงปีแรกๆ ของชีวิต 15. Prof. Harald zur Hausen (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2008 สาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์)
  • 15. กรกฎาคม - กันยายน 2557 53 ภาพที่ 19 Dr. Irwin Mark Jacobs บรรยายเรื่อง“จากนักวิชาการสู่ผู้ประกอบการ – นวัตกรรมชั้นนำที่ Linkabit และ Qualcomm (Academic to Entrepreneur – Leading Innovations at Linkabit & Qualcomm)” Dr. Jacobs เคยเป็นอาจารย์สอนด้านทฤษฎี ข้อมูลและการสื่อสารที่ Massachusetts Institute of Technology และ University of California, San Diego รวมระยะเวลา 13 ปี ก่อนที่จะร่วมก่อตั้งและเป็น ผู้บริหารสองบริษัท ได้แก่ Linkabit และ Qualcomm โดยทั้งสองบริษัทประสบความสำเร็จอย่างมากในการ สร้างมูลค่าจากการประยุกต์ทฤษฎีของเทคโนโลยีไร้สาย (wireless technology) มีการพัฒนานวัตกรรมของ ผลิตภัณฑ์และการใช้งานจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น CDMA (Code Division Multiple Access) ซึ่ง เป็นเทคโนโลยีไร้สายพื้นฐานของการรับส่งข้อมูลในระบบ เซลลูลาร์ (cellular) รุ่นที่สาม (3G) และรุ่นที่สี่ (4G) 16. Dr. Irwin Mark Jacobs (ผู้ได้รับรางวัล IEEE Medal of Honor ปี ค.ศ. 2013)
  • 16. กรกฎาคม - กันยายน 255754 ภาพที่ 21 Prof. Stephen Smale บรรยายเรื่อง “โปรตีนและการม้วนตัวของ โปรตีน (Proteins and Protein Folding)” Prof. Smale เป็นผู้ที่สนใจใช้ความรู้ทาง คณิตศาสตร์มาอธิบายปรากฏการณ์ทางชีววิทยา ของโปรตีนและการม้วนตัวของโปรตีน จุดเริ่มต้นของ การศึกษาการม้วนตัวของโปรตีน คือ Anfinsen’s dogma ซึ่งเป็นผลงานของ Prof. Christian Anfinsen ผู้ได้รับ รางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี ค.ศ. 1972 โดย Anfinsen’s dogma กล่าวว่า ลำดับของกรดอะมิโนชี้นำการม้วนตัว ของโปรตีน Prof. Smale ใช้แนวคิดการวิเคราะห์เชิง จำนวนจริง (real analysis) และทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) ทางคณิตศาสตร์ประกอบกับ Anfinsen’s dogma ในการอธิบายการม้วนตัวของ โปรตีน บรรยายเรื่อง “สำรวจตรวจสอบโครงสร้างใน ระดับใหญ่และเล็กของจักรวาล (Probing the Large and Small Structure of the Universe)” Prof. Friedman เล่าถึงความก้าวหน้าใน การทำความเข้าใจโครงสร้างของจักรวาล ซึ่งการค้นพบ ต่างๆ ในสมัยปัจจุบันต้องอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) และเครื่อง ตรวจจับอนุภาค (particle detector) เพื่อตรวจวัดค่า ต่างๆ นอกจากนั้นยังต้องมีการคิดทฤษฎีต่างๆ มาอธิบาย ผลการทดลองที่ได้ ภาพที่ 22 Prof. Jerome Isaac Friedman 17. Prof. Stephen Smale (นักคณิตศาสตร์ผู้ได้รับ Fields Medal ปี ค.ศ. 1966) 18. Prof. Jerome Isaac Friedman (นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 1990 สาขาฟิสิกส์) ในตอนต่อไปจะกล่าวถึง panel discussion ข้อคิดในการทำงานของนักวิทยาศาสตร์อาวุโส และความรู้สึก ของตัวแทนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของประเทศไทยทั้งห้าคนที่ได้เข้าร่วมการประชุมนี้