SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 6
Downloaden Sie, um offline zu lesen
1
บทสรุปผู้บริหาร
โครงการศึกษา Generation Gap มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
The Inter-generational Accord
ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี ประกอบกับ
กลุ่มประชากรที่เกิดในช่วงต่างยุคต่างสมัย ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ความแตกต่างทั้งด้านค่านิยม และทัศนคติ
ในแต่ละช่วงวัยของประชากรในสังคมไทยอย่างยิ่งยวด รวมทั้งสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจก่อให้เกิดความ
ไม่เข้าใจซึ่งกันและกันในบางสถานการณ์ จากการเก็บข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 298 คน รวมทั้งหมด 8 กลุ่ม
ได้แก่ 1. กลุ่มนักเรียน 2. กลุ่มนักศึกษา 3. กลุ่มคณาจารย์ 4. กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 5. กลุ่มผู้ปกครอง 6. กลุ่มศิษย์เก่า
7. กลุ่มผู้ประกอบการ และกลุ่มบุคลากร ประกอบไปด้วย 4 กลุ่มเจเนอเรชัน ได้แก่ 1. เบบี้บูมเมอร์ (Baby
Boomer) อายุ 55 ปีขึ้นไป 2. เจเนอเรชันเอกซ์ (Generation X) อายุ 40-54 ปี 3. เจเนอเรชันวาย (Generation
Y) อายุ 23-39 ปี และ4. เจเนอเรชันซี (Generation Z) อายุ 10-22 ปี เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ
ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางความคิดของแต่ละช่วงวัย 2. เพื่อศึกษาปัญหา
และวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาในประเด็นความแตกต่างทางความคิดของแต่ละช่วงวัย เพื่อนำไปสู่การแก้ไข
ปัญหา และทุกช่วงวัยสามารถดำรงชีวิตร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางความคิด บนพื้นฐานความเข้าใจซึ่งกัน
และกันอย่างปกติสุข
ผลการศึกษาได้ข้อค้นพบ 6 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 มุมมองเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ
สังคมไทยกำลังประสบความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัย ส่วนใหญ่มีข้อคิดเห็นร่วมกันว่า ปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสังคมไทยเกิดปัญหาดังกล่าว เนื่องจากสาเหตุและปัจจัยอย่างน้อย 5 ประการ ได้แก่
1. อิทธิพลเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ ข้อมูลข่าวสาร โซเชียลมีเดีย 2. ชุดความคิดในแต่ละช่วงวัย 3. ความแตกต่าง
ทางด้านประสบการณ์ 4. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม และ5. โลกาภิวัตน์
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่สำคัญ ปัจจัยด้านการเมือง เป็นปัจจัยที่หลายกลุ่มเห็นว่าเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิด
ปัญหาความแตกต่างทางความคิดในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางความคิดกลับมิได้
เกิดขึ้นเพียงในคนต่างวัยและประสบปัญหาเฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น ยังเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีช่วงวัยเดียวกันได้อีก
ด้วย จึงมองว่าความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้และปรากฏในทุกยุคสมัย
2
ประเด็นที่ 2 ผลกระทบจากความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัยต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ
สังคมไทย พบว่า ทุกกลุ่มมีความเห็นว่าผลกระทบดังกล่าวส่งผลทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ กล่าวคือ ในเชิงลบ
ความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัยอาจนำไปสู่ความขัดแย้งภายในมหาวิทยาลัยในวงกว้าง ผลที่ตามมาทำให้
มหาวิทยาลัยมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีและความเชื่อมั่นของคนภายในองค์กรลดลง ขณะเดียวกัน ในเชิงบวก มองว่าหาก
ทั้งสองฝ่ายกล้าแสดงออก เปิดใจรับฟังกัน ร่วมกันเสนอหนทางแก้ไขปัญหา ย่อมนำไปสู่การรับรู้ต่อกันมากขึ้น
มากไปกว่านั้น ทุกกลุ่มมองว่าความแตกต่างแต่ละช่วงวัยสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ
สังคมไทยเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านประเด็นการเมือง ด้านกิจการนักศึกษา
ด้านกระบวนทัศน์ ด้านการถูกตั้งคำถาม ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านระบบการทำงานและองค์กร และด้านการรับฟัง
และการสื่อสาร เป็นต้น
ประเด็นที่ 3 ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมมช.และพลเมืองไทย พบว่า กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ประกอบการ คณาจารย์ รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในขณะที่กลุ่มนักศึกษา ด้านหนึ่งมองว่า
ตนเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมมช. จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย การใช้บัตรนักศึกษา มีพื้นที่อยู่
ร่วมกัน ตลอดจนการเข้าสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ห้องสมุด ระบบสาธารณสุข เป็นต้น ขณะเดียวกัน
มีจำนวนบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง และขาดการรับสิทธิ สวัสดิการที่เพียงพอ เช่น นักศึกษาฝั่งสวนดอกไม่ได้ใช้บริการ
รถม่วงอย่างเต็มที่ จากข้อสังเกตเพิ่มเติมในกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่
ตระหนักถึงความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก โดยให้ความสำคัญกับเรื่อง “สิทธิ” เป็นอันดับแรก รองลงมา
คือ สังคม เสรีภาพ หน้าที่ และมีการมีส่วนร่วม ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่า การที่มหาวิทยาลัยออกนโยบายหรือ
แผนพัฒนาด้านต่าง ๆ แก่นักศึกษา ควรต้องคำนึงและตระหนักถึงเรื่องสิทธิของนักศึกษาเป็นอันดับแรก
จากการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์ เจเนอเรชันที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือ เจเนอเรชันซี (Generation Z)
ที่ปรากฏทั้งในกลุ่มนักศึกษา และนักเรียน โดยมุมมอง และการรับรู้ต่อเจเนอเรชันของตนเอง คือ มีความคิดเป็น
ของตนเอง กล้าแสดงออก กล้าแสดงจุดยืน มีทัศนคติที่พร้อมยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง สื่อโซเชียลมีเดียมีอิทธิพล
ต่อชีวิตประจำวัน มีทัศนคติที่พร้อมยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง และเพื่อนมีบทบาทและอิทธิพลต่อการแสดงออก
หรือพฤติกรรมการเลียนแบบ ขณะเดียวกัน มุมมองของเจเนอเรชันซี (Generation Z) ที่มีต่อเจเนอเรชันอื่น ๆ
พบว่า เจเนอเรชันที่สามารถเป็นที่ปรึกษาและเข้าใจเจเนอเรชันซี (Generation Z) มากที่สุด ได้แก่ เจเนอเรชันวาย
(Generation Y) เห็นได้จากอาจารย์ในเจเนอเรชันดังกล่าวสามารถทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี
พร้อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ยอมรับความแตกต่าง ในขณะที่ กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) และเจเนอเรชัน
เอกซ์ (Generation X) ถูกมองว่า ส่วนใหญ่ยังขาดการยอมรับและความเข้าใจในด้านความแตกต่าง ไม่รับฟัง
ความคิดเห็น มีความคาดหวังต่อลูกหลาน และยึดถึงความมั่นคงเป็นหลัก ตลอดจน เจเนอเรชันแอลฟา
3
(Generation Alpha) มีความแตกต่างจากเจเนอเรชันซี (Generation Z) คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีได้
อย่างคล่องแคล่ว ความอดทนน้อย ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ และมีความกล้าแสดงออกอย่างเต็มที่
ประเด็นที่ 4 ข้อเสนอด้านต่าง ๆ ต่อมหาวิทยาลัยเพื่อบริหารและสร้างสังคม/สภาพแวดล้อมที่ดีภายใต้
ความแตกต่างทางความคิดของแต่ละช่วงวัย
4.1 ข้อเสนอด้านบทบาทของมหาวิทยาลัยที่ควรบริหารจัดการความเห็นต่างหรือความขัดแย้ง ได้แก่
ปรึกษาคณบดีของคณะนั้น ๆ และพยายามดึงนักศึกษามาร่วมกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น
จากปรากฎการณ์ที่นักศึกษาประท้วงตึกของผู้บริหารสะท้อนว่าผู้บริหารไม่ค่อยลงมาพูดหรือเจรจา และแก้ไข
ปัญหากับนักศึกษาเท่าที่ควร วิธีการพูดคุยในระดับต่าง ๆ ต้องเริ่มจากระดับครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันที่ใกล้ชิดที่สุด
ให้ความสำคัญกับการรับฟังผู้น้อย และมีช่องทางในการมีส่วนร่วมที่ปลอดภัย มหาวิทยาลัยควรมีบทบาท อันได้แก่
มีหลักสูตรการไกล่เกลี่ย ในสโมสรนักศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลเป็นตัวกลางประสานพูดคุยร่วมมือระหว่าง
อาจารย์ นักศึกษา ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง อยากให้มหาวิทยาลัยให้การดูแลไปจนเสร็จสิ้นจนจบกระบวนการ ควรมี
การเปิดเผยการดำเนินการเมื่อมีเหตุการณ์ต่าง ๆ และทำให้ความขัดแย้งนั้นรุนแรงน้อยลง เเละแสดงความ
ความคิดของตนเองได้อย่างอิสระภายในขอบเขตการร่วมกันช่วยแก้ปัญหาสังคมเเละชุมชนอย่างสร้างสรรค์
4.2 ข้อเสนอด้านระบบและกลไกที่มหาวิทยาลัยควรสร้างหรือพัฒนา ส่วนใหญ่ความคิดเห็นตรงกันว่า
ควรมีพื้นที่สาธารณะและพื้นที่กลางการเพื่อการมีส่วนร่วมในการรับทราบปัญหาและแก้ไขปัญหาร่วมกัน และการ
กำหนดนโยบายต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยต้องมีความทันสมัยและเท่าทันสถานการณ์ปัจจุบันให้มากขึ้น
4.3 ข้อเสนอด้านระบบการสื่อสารของมหาวิทยาลัยควรปรับปรุง กล่าวคือ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า
ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมีการสร้างการสื่อสารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการและอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ เช่น
ใช้การสื่อสารน้อย ขาดการอธิบายมิติภายใต้หลักเหตุผลให้แก่อาจารย์ นักศึกษาได้รับทราบ ขาดการชี้แจงและ
ถ่ายทอดสื่อสารแก่คณะและส่วนงานให้มีความเข้าใจตรงกัน เน้นเพียงการสื่อสารแบบทางเดียว ขาดการสื่อสารที่
กระชับและชัดเจน ทำให้เกิดการตีความในทิศทางต่างๆ ได้ง่าย จากปัญหาดังกล่าวจึงเสนอข้อควรปรับปรุงสำคัญ
ต่อการสื่อสารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้ 1.ปรับปรุงแอปพลิเคชัน การกรอกแบบฟอร์มข้อมูล และปรับ
ภาษาการสื่อสารของเพจมหาวิทยาลัยให้ชัดเจน ให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนบุคคล (privacy) และเปลี่ยนการ
สื่อสารเป็นแบบสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน (one team one voice) 2. ต้องรับฟังความคิดเห็นให้กว้างขึ้น
โดยให้คณะเป็นตัวกลางในการสื่อสาร และปรับปรุงสื่อของมหาวิทยาลัยให้ทันสมัย และเข้าถึงนักศึกษาเพิ่มขึ้น 3.
ควรมีช่องทางออนไลน์ทางการที่ตอบโต้รวดเร็ว มีระบบและกลไกในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น ระบบการรับฟัง
พื้นที่แสดงออก เปิดเวทีสาธารณะ รับฟังการแสดงความคิดเห็น และมีการทบทวนในระเบียบ ข้อบังคับของ
มหาวิทยาลัยในการดำเนินการด้านต่าง ๆ และ 4. ปรับปรุงช่องทางสื่อสารที่นักศึกษาจะเลือกรับสื่อ รวมถึงการ
4
สื่อสารระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง และมหาวิทยาลัยจะต้องสร้างเครือข่ายผ่านสื่อโซเซียลมีเดียที่มีความแตกต่าง
หลากหลาย
4.4 ข้อเสนอด้านการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่าการ
แสดงความคิดเห็นหรือการเห็นต่างทางการเมืองเป็นเรื่องปกติ แต่มหาวิทยาลัยควรมีมาตรการและแนวทางการ
แก้ปัญหาที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้ ผู้บริหารควรจะตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา มหาวิทยาลัยต้อง
ปกป้องและเป็นที่พึ่งให้กับนักศึกษา นักศึกษามีสิทธิแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่ต้องชี้แจงให้นักศึกษาทราบ
ถึงผลทางกฎหมายที่ตามมา มหาวิทยาลัยต้องเข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น เช่น ตั้งกลุ่มผู้นำ
เพื่อให้เป็นตัวกลางในการสื่อสาร สร้างความตระหนักต่อผลของการแสดงออกทางการเมือง เพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่ควร
ทำและไม่ควรทำ เพิ่มความรู้ความเข้าใจในระเบียบ พระราชบัญญัติ ข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และ
อาจารย์ไม่ควรพูดชี้นำความคิดนักศึกษา
ประเด็นที่ 5 แนวทางการพัฒนาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากข้อเสนอกลุ่มผู้ประกอบการ
บัณฑิตที่ต้องการรับเข้าทำงานต้องมีคุณลักษณะต่อไปนี้ มีทัศนคติที่ดีในการทำงานมีความสามารถและ
ความถนัดชัดเจน มีลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพที่ดี ยอมรับความคิดที่แตกต่างได้มีความเข้าใจโลกภายนอก
พร้อมพัฒนาตัวเองเสมอ มีความมั่นใจในตัวเอง มีภาวะผู้นำ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนเป็นอย่างดี ขยัน ซื่อสัตย์ ละเอียด
รับผิดชอบสูง อย่างไรก็ตาม หากบัณฑิตที่ถูกดำเนินคดีทางการเมือง เช่น มาตรา112 มาตรา 116 เป็นต้น
ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าไม่มีผลในการปฏิเสธรับเข้าทำงาน ในขณะที่ ลักษณะที่ผู้ประกอบการไม่พึงประสงค์หรือ
ปฏิเสธการรับเข้าทำงาน ได้แก่ บุคคลผู้มีประวัติอาญา มีความก้าวร้าว มีความคิดสุดโต่ง ทำงานเป็นทีมไม่ได้
ไม่ขยัน ไม่ซื่อสัตย์ ไม่ยอมรับความแตกต่างทางความคิด ไม่มีความรับผิดชอบ พร้อมเสนอข้อควรปรับปรุงและ
พัฒนาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ พัฒนาทักษะทางสังคมเพิ่มขึ้น (Soft Skills) มีพื้นที่ให้
ผู้ประกอบการเข้าไปหานักศึกษาได้ง่ายขึ้น พัฒนาภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3-4 เพราะพบว่ายังมีทักษะทางด้าน
ภาษาที่ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ พัฒนาเด็กสายสังคมศาสตร์ในตลาดงานให้เพิ่มมากขึ้น
ประเด็นที่ 6 ความวาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ของกลุ่มต่าง ๆ
6.1 กลุ่มนักศึกษา วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า ต้องมีความเป็นมิตร ส่งเสริมเสรีภาพทาง
วิชาการ เป็นพื้นที่ที่เป็นกลางสำหรับทุกคน ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาและสวัสดิการอื่น ๆ มีการพัฒนา
ทางด้านกายภาพ ด้านกิจกรรม และกระบวนการเรียนการสอนของอาจารย์
6.2 กลุ่มผู้ปกครอง วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า เป็นมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการเพื่อมนุษยชาติ
สะท้อนหลักการ inclusive และแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม
5
6.3 กลุ่มผู้ประกอบการ วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ด้าน
วิชาการและอารมณ์ (emotional learning) มีระบบการดูแลสุขภาพจิตใจที่ดีนำสู่การประกอบอาชีพของนักศึกษา
อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องสร้างบรรยากาศในมหาวิทยาลัยให้สามารถร่วมกันออกแบบ เสนอแนะต่อปัญหาในระดับ
ต่าง ๆ ได้ และสุดท้ายมีรูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัย เข้าถึงง่ายและรวดเร็ว
6.4 กลุ่มคณาจารย์ วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า ควรมีช่องทางออนไลน์ทางการที่ตอบโต้
รวดเร็ว มีระบบและกลไกในการแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ระบบการรับฟัง พื้นที่แสดงออก เปิดเวทีสาธารณะ รับฟังการ
แสดงความคิดเห็น และมีการทบทวนในระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการด้านต่างๆ
6.5 กลุ่มบุคลากร อยากเห็นมหาวิทยาลัยสร้างหลักสูตรการศึกษาในแนวใหม่ที่เป็นการออกแบบโดยผู้
ส่วนได้ส่วนเสีย เยาวชนที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย สามารถชี้นำสังคมเป็นไปทิศทางที่ดี เหมาะสมกับประชากรตาม
ความต้องการแต่ละช่วงวัยและสามารถนำมาปรับใช้ได้จริง เสนอให้มหาวิทยาลัยนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้จาก
ผลการประเมินความผูกพัน มาใช้เพื่อหาช่องทางในการจัดการหรือดำเนินงานต่อไป ควรมีการเปิดพื้นที่รับฟังที่
แตกต่างสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยทั้งสองฝ่าย อีกทั้งสามารถนำประเด็นต่าง ๆ
6.6 กลุ่มศิษย์เก่า วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า เป็นมหาวิทยาลัย Reskills หรือ Upskills
ค้นพบความสามารถของตนเอง มีพื้นที่ที่สามารถพูดได้ สามารถเสนอได้โดยที่ไม่ต้องมีตัวตน เป็น Community
สร้างขึ้นมาเพื่อจังหวัดเชียงใหม่ มีมุมมองความแตกต่างทางความคิดให้เป็นเชิงบวก รับฟังและเข้าใจความแตกต่าง
มี Forum พี่ฟังน้อง น้องบอกพี่ โดดเด่นด้านวิชาการ มีเวทีให้นำเสนอแนวคิดทุกเรื่อง สร้างโอกาสให้เด็กในหลาย
ๆ รูปแบบ และเป็นพื้นที่ปลอดภัย มีอุปกรณ์การสอนที่ทันสมัย และบุคลากรที่มีความรู้เป็นอย่างดี
6.7 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาศักยภาพของ
นักศึกษาในด้าน Soft Skills การพัฒนาทักษะวิชาการและหลักสูตรให้มีความหลากหลาย มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่
สำหรับทุกคน มีลักษณะเป็นสังคมเปิด สร้างอาชีพกับการทำงานในพื้นที่ของเชียงใหม่หรือภาคเหนือ และด้านการ
บริหารงานของผู้บริหารระดับสูงจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการบริหารกลุ่มศิษย์เก่า
6.8 กลุ่มนักเรียน มีมุมมองต่อบุคลิก/ลักษณะของผู้ใหญ่และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ตนชื่นชอบ ได้แก่
สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน มีการรับฟังแนวทางการผลิตสื่อการเรียนการสอนร่วมกันกับนักศึกษา
ยอมรับความแตกต่างและปฏิบัติกับนักศึกษาทุกคนอย่างเท่าเทียม มีความเป็นกันเองทั้งในห้องเรียนและนอก
ห้องเรียน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยอมรับความแตกต่าง ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พร้อมเปิดใจรับฟังเด็ก
รุ่นใหม่ ไม่เอาความคิดตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ใส่อนาคตที่ตนเองอยากเป็นให้กับเด็ก เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติ
ตาม
6
ขณะเดียวกัน เหตุผลที่นักเรียนอยากเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเรียน
และการครองชีพ มีความเหมาะสม มีโอกาสได้ทำกิจกรรมและเรียนรู้กับอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขณะกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมปลาย มีรุ่นพี่และบุคคลรอบข้างศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
ภาคเหนือใกล้บ้าน สะดวกในการเดินทาง เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับประเทศและเป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน
และองค์กรต่าง ๆ หลักสูตรมีความน่าสนใจ อาจารย์ และบุคลากรมีความสามารถในการพัฒนานักศึกษา
สภาพแวดล้อมในการเรียน และการอยู่อาศัยดี มีบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ และเหตุผลที่นักเรียนจะไม่เลือกศึกษา
ต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ คุณสมบัติของนักเรียนไม่ตรงกับคุณสมบัติที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการ ไม่ผ่านการ
คัดเลือกของมหาวิทยาลัย ได้โควตา MOU จากสถานศึกษากับมหาวิทยาลัยอื่น ต้องการศึกษาต่อในต่างประเทศ
สภาพอากาศของพื้นที่ และข่าวในด้านลบของมหาวิทยาลัย
กล่าวสรุป จากการศึกษาความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัยต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสังคมไทย
พบว่า ปัจจุบันเกิดปัญหาความแตกต่างระหว่างวัยเนื่องจากหลายสาเหตุและปัจจัยดังที่ได้กล่าวไป โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง ปัจจัยทางการเมืองที่ทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างทางความคิดมากยิ่งขึ้น มากไปกว่านั้น ความแตกต่างทาง
ความคิดแต่ละช่วงวัยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้และปรากฏในทุกยุคสมัย ทั้งยังเกิดขึ้นในช่วงวัยเดียวกันได้อีกด้วย
ขณะที่ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมมช.และพลเมืองไทย พบว่า ความรู้สึกของกลุ่มต่าง ๆ ในการเป็นส่วน
หนึ่งของประชาคมมช. เกิดจากการทำกิจกรรมและการได้รับสวัสดิการของมหาวิทยาลัย แต่การที่มหาวิทยาลัยไม่
เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง และเข้าถึงสวัสดิการบางอย่างได้ยาก
ส่งผลทำให้เกิดความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมมช.ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการเข้าถึง “สิทธิ” ที่นักศึกษา
คำนึงเป็นอันดับแรก
อย่างไรก็ตาม ทุกกลุ่มมองว่า ความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัยส่งผลทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ
กล่าวคือ ความขัดแย้งภายในมหาวิทยาลัยได้สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีและกระทบต่อความเชื่อมั่นของคนภายใน
องค์กร แต่หากทั้งสองฝ่ายรับฟังกัน ย่อมนำไปสู่การรับรู้ต่อกันมากขึ้น และหาหนทางเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็น
ข้อเสนอด้านระบบและกลไกที่มหาวิทยาลัยควรสร้างหรือพัฒนา ระบบการสื่อสารของมหาวิทยาลัยที่ควรปรับปรุง
และการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่เหมาะสม ล้วนเป็นข้อเสนอที่ทุกกลุ่มมีความเห็นร่วมกันว่า
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต้องปรับปรุงให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพื่อบริหารและสร้างสังคม / สภาพแวดล้อมที่ดีภายใต้
ความแตกต่างทางความคิดของแต่ละช่วงวัย และท้ายที่สุด มีความวาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในแง่ต่าง ๆ
ร่วมกัน ทั้งการปรับปรุงแผนการเรียนการสอน การสร้างสภาพแวดล้อมที่ การสื่อสารที่ทั่วถึงและชัดเจน
การคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนมีเวทีกลางและพื้นที่สาธารณะเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา และลดความ
ขัดแย้งต่อไปในอนาคต

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 4 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ และการสื่อสารด้วยข้อมูล
วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 4 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ และการสื่อสารด้วยข้อมูลวิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 4 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ และการสื่อสารด้วยข้อมูล
วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 4 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ และการสื่อสารด้วยข้อมูลCoco Tan
 
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงานTanyarad Chansawang
 
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏีหลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏีsukanya5729
 
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน5บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน5บทตัวอย่างการเขียนโครงงาน5บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน5บทSittidet Nawee
 
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223Preeyapat Lengrabam
 
บท2การศึกษาชีววิทยา
บท2การศึกษาชีววิทยาบท2การศึกษาชีววิทยา
บท2การศึกษาชีววิทยาWichai Likitponrak
 
คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณ
คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณคำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณ
คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณRock Rockie
 
การคำนวณกระจกเว้า
การคำนวณกระจกเว้าการคำนวณกระจกเว้า
การคำนวณกระจกเว้าsripai52
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานการสร้างเว็บไซต์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานการสร้างเว็บไซต์หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานการสร้างเว็บไซต์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานการสร้างเว็บไซต์Joop Ssk
 
ชุดข้อสอบแยกตามตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลาง 2551
ชุดข้อสอบแยกตามตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลาง 2551ชุดข้อสอบแยกตามตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลาง 2551
ชุดข้อสอบแยกตามตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลาง 2551Weerachat Martluplao
 
เปรียบเทียบสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
เปรียบเทียบสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2เปรียบเทียบสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
เปรียบเทียบสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2Taraya Srivilas
 
มหัศจรรย์พืช
มหัศจรรย์พืชมหัศจรรย์พืช
มหัศจรรย์พืชWichai Likitponrak
 
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บทตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บทchaipalat
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์สมศรี หอมเนียม
 

Was ist angesagt? (20)

วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 4 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ และการสื่อสารด้วยข้อมูล
วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 4 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ และการสื่อสารด้วยข้อมูลวิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 4 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ และการสื่อสารด้วยข้อมูล
วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 4 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ และการสื่อสารด้วยข้อมูล
 
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
 
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏีหลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
 
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน5บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน5บทตัวอย่างการเขียนโครงงาน5บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน5บท
 
06.ถ่านหิน
06.ถ่านหิน06.ถ่านหิน
06.ถ่านหิน
 
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
 
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223
แบบฝึกหัดหน่วยที่ 1 แก๊สและสมบัติของแก๊ส วิชาเคมี3 ว32223
 
บท2การศึกษาชีววิทยา
บท2การศึกษาชีววิทยาบท2การศึกษาชีววิทยา
บท2การศึกษาชีววิทยา
 
คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณ
คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณคำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณ
คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณ
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
การคำนวณกระจกเว้า
การคำนวณกระจกเว้าการคำนวณกระจกเว้า
การคำนวณกระจกเว้า
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานการสร้างเว็บไซต์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานการสร้างเว็บไซต์หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานการสร้างเว็บไซต์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานการสร้างเว็บไซต์
 
สงครามโลก
สงครามโลกสงครามโลก
สงครามโลก
 
ชุดข้อสอบแยกตามตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลาง 2551
ชุดข้อสอบแยกตามตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลาง 2551ชุดข้อสอบแยกตามตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลาง 2551
ชุดข้อสอบแยกตามตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลาง 2551
 
เปรียบเทียบสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
เปรียบเทียบสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2เปรียบเทียบสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
เปรียบเทียบสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
 
1.แบบฝึกหัดเวกเตอร์
1.แบบฝึกหัดเวกเตอร์1.แบบฝึกหัดเวกเตอร์
1.แบบฝึกหัดเวกเตอร์
 
O-net วิทยาศาสตร์ 2557
O-net วิทยาศาสตร์ 2557O-net วิทยาศาสตร์ 2557
O-net วิทยาศาสตร์ 2557
 
มหัศจรรย์พืช
มหัศจรรย์พืชมหัศจรรย์พืช
มหัศจรรย์พืช
 
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บทตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
 

Ähnlich wie Generation Gap.pdf

การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Z
การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Zการสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Z
การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. ZChutchavarn Wongsaree
 
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้านใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้านprincess Thirteenpai
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5kanwan0429
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5kanwan0429
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...Sawittri Phaisal
 
รวมรายงานอาจารย์สังคม
รวมรายงานอาจารย์สังคมรวมรายงานอาจารย์สังคม
รวมรายงานอาจารย์สังคมWanlapa Kst
 
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และการพัฒนาการเรียนการสอน
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และการพัฒนาการเรียนการสอน การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และการพัฒนาการเรียนการสอน
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และการพัฒนาการเรียนการสอน krupornpana55
 
เอสารนโยบาย
เอสารนโยบายเอสารนโยบาย
เอสารนโยบายqlf
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404gam030
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5nattawad147
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5benty2443
 

Ähnlich wie Generation Gap.pdf (20)

การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Z
การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Zการสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Z
การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Z
 
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้านใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
Generation z
Generation zGeneration z
Generation z
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
 
รวมรายงานอาจารย์สังคม
รวมรายงานอาจารย์สังคมรวมรายงานอาจารย์สังคม
รวมรายงานอาจารย์สังคม
 
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และการพัฒนาการเรียนการสอน
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และการพัฒนาการเรียนการสอน การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และการพัฒนาการเรียนการสอน
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และการพัฒนาการเรียนการสอน
 
เอสารนโยบาย
เอสารนโยบายเอสารนโยบาย
เอสารนโยบาย
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 

Mehr von Pattie Pattie

สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศสรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศPattie Pattie
 
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567Pattie Pattie
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินPattie Pattie
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรPattie Pattie
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชPattie Pattie
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...Pattie Pattie
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationPattie Pattie
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีPattie Pattie
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Pattie Pattie
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfPattie Pattie
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPattie Pattie
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxPattie Pattie
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxPattie Pattie
 

Mehr von Pattie Pattie (20)

สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศสรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
 
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdf
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
 
670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf
 
NoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdfNoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdf
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptx
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptx
 
Udom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdfUdom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdf
 
Kregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdfKregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdf
 
Phuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdfPhuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdf
 
Surin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptxSurin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptx
 
Nakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdfNakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdf
 

Generation Gap.pdf

  • 1. 1 บทสรุปผู้บริหาร โครงการศึกษา Generation Gap มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ The Inter-generational Accord ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี ประกอบกับ กลุ่มประชากรที่เกิดในช่วงต่างยุคต่างสมัย ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ความแตกต่างทั้งด้านค่านิยม และทัศนคติ ในแต่ละช่วงวัยของประชากรในสังคมไทยอย่างยิ่งยวด รวมทั้งสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจก่อให้เกิดความ ไม่เข้าใจซึ่งกันและกันในบางสถานการณ์ จากการเก็บข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 298 คน รวมทั้งหมด 8 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มนักเรียน 2. กลุ่มนักศึกษา 3. กลุ่มคณาจารย์ 4. กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 5. กลุ่มผู้ปกครอง 6. กลุ่มศิษย์เก่า 7. กลุ่มผู้ประกอบการ และกลุ่มบุคลากร ประกอบไปด้วย 4 กลุ่มเจเนอเรชัน ได้แก่ 1. เบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) อายุ 55 ปีขึ้นไป 2. เจเนอเรชันเอกซ์ (Generation X) อายุ 40-54 ปี 3. เจเนอเรชันวาย (Generation Y) อายุ 23-39 ปี และ4. เจเนอเรชันซี (Generation Z) อายุ 10-22 ปี เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางความคิดของแต่ละช่วงวัย 2. เพื่อศึกษาปัญหา และวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาในประเด็นความแตกต่างทางความคิดของแต่ละช่วงวัย เพื่อนำไปสู่การแก้ไข ปัญหา และทุกช่วงวัยสามารถดำรงชีวิตร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางความคิด บนพื้นฐานความเข้าใจซึ่งกัน และกันอย่างปกติสุข ผลการศึกษาได้ข้อค้นพบ 6 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 มุมมองเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ สังคมไทยกำลังประสบความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัย ส่วนใหญ่มีข้อคิดเห็นร่วมกันว่า ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสังคมไทยเกิดปัญหาดังกล่าว เนื่องจากสาเหตุและปัจจัยอย่างน้อย 5 ประการ ได้แก่ 1. อิทธิพลเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ ข้อมูลข่าวสาร โซเชียลมีเดีย 2. ชุดความคิดในแต่ละช่วงวัย 3. ความแตกต่าง ทางด้านประสบการณ์ 4. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม และ5. โลกาภิวัตน์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่สำคัญ ปัจจัยด้านการเมือง เป็นปัจจัยที่หลายกลุ่มเห็นว่าเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิด ปัญหาความแตกต่างทางความคิดในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางความคิดกลับมิได้ เกิดขึ้นเพียงในคนต่างวัยและประสบปัญหาเฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น ยังเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีช่วงวัยเดียวกันได้อีก ด้วย จึงมองว่าความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้และปรากฏในทุกยุคสมัย
  • 2. 2 ประเด็นที่ 2 ผลกระทบจากความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัยต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ สังคมไทย พบว่า ทุกกลุ่มมีความเห็นว่าผลกระทบดังกล่าวส่งผลทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ กล่าวคือ ในเชิงลบ ความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัยอาจนำไปสู่ความขัดแย้งภายในมหาวิทยาลัยในวงกว้าง ผลที่ตามมาทำให้ มหาวิทยาลัยมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีและความเชื่อมั่นของคนภายในองค์กรลดลง ขณะเดียวกัน ในเชิงบวก มองว่าหาก ทั้งสองฝ่ายกล้าแสดงออก เปิดใจรับฟังกัน ร่วมกันเสนอหนทางแก้ไขปัญหา ย่อมนำไปสู่การรับรู้ต่อกันมากขึ้น มากไปกว่านั้น ทุกกลุ่มมองว่าความแตกต่างแต่ละช่วงวัยสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ สังคมไทยเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านประเด็นการเมือง ด้านกิจการนักศึกษา ด้านกระบวนทัศน์ ด้านการถูกตั้งคำถาม ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านระบบการทำงานและองค์กร และด้านการรับฟัง และการสื่อสาร เป็นต้น ประเด็นที่ 3 ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมมช.และพลเมืองไทย พบว่า กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประกอบการ คณาจารย์ รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในขณะที่กลุ่มนักศึกษา ด้านหนึ่งมองว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมมช. จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย การใช้บัตรนักศึกษา มีพื้นที่อยู่ ร่วมกัน ตลอดจนการเข้าสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ห้องสมุด ระบบสาธารณสุข เป็นต้น ขณะเดียวกัน มีจำนวนบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง และขาดการรับสิทธิ สวัสดิการที่เพียงพอ เช่น นักศึกษาฝั่งสวนดอกไม่ได้ใช้บริการ รถม่วงอย่างเต็มที่ จากข้อสังเกตเพิ่มเติมในกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ ตระหนักถึงความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก โดยให้ความสำคัญกับเรื่อง “สิทธิ” เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ สังคม เสรีภาพ หน้าที่ และมีการมีส่วนร่วม ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่า การที่มหาวิทยาลัยออกนโยบายหรือ แผนพัฒนาด้านต่าง ๆ แก่นักศึกษา ควรต้องคำนึงและตระหนักถึงเรื่องสิทธิของนักศึกษาเป็นอันดับแรก จากการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์ เจเนอเรชันที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือ เจเนอเรชันซี (Generation Z) ที่ปรากฏทั้งในกลุ่มนักศึกษา และนักเรียน โดยมุมมอง และการรับรู้ต่อเจเนอเรชันของตนเอง คือ มีความคิดเป็น ของตนเอง กล้าแสดงออก กล้าแสดงจุดยืน มีทัศนคติที่พร้อมยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง สื่อโซเชียลมีเดียมีอิทธิพล ต่อชีวิตประจำวัน มีทัศนคติที่พร้อมยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง และเพื่อนมีบทบาทและอิทธิพลต่อการแสดงออก หรือพฤติกรรมการเลียนแบบ ขณะเดียวกัน มุมมองของเจเนอเรชันซี (Generation Z) ที่มีต่อเจเนอเรชันอื่น ๆ พบว่า เจเนอเรชันที่สามารถเป็นที่ปรึกษาและเข้าใจเจเนอเรชันซี (Generation Z) มากที่สุด ได้แก่ เจเนอเรชันวาย (Generation Y) เห็นได้จากอาจารย์ในเจเนอเรชันดังกล่าวสามารถทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี พร้อมเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ยอมรับความแตกต่าง ในขณะที่ กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) และเจเนอเรชัน เอกซ์ (Generation X) ถูกมองว่า ส่วนใหญ่ยังขาดการยอมรับและความเข้าใจในด้านความแตกต่าง ไม่รับฟัง ความคิดเห็น มีความคาดหวังต่อลูกหลาน และยึดถึงความมั่นคงเป็นหลัก ตลอดจน เจเนอเรชันแอลฟา
  • 3. 3 (Generation Alpha) มีความแตกต่างจากเจเนอเรชันซี (Generation Z) คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีได้ อย่างคล่องแคล่ว ความอดทนน้อย ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ และมีความกล้าแสดงออกอย่างเต็มที่ ประเด็นที่ 4 ข้อเสนอด้านต่าง ๆ ต่อมหาวิทยาลัยเพื่อบริหารและสร้างสังคม/สภาพแวดล้อมที่ดีภายใต้ ความแตกต่างทางความคิดของแต่ละช่วงวัย 4.1 ข้อเสนอด้านบทบาทของมหาวิทยาลัยที่ควรบริหารจัดการความเห็นต่างหรือความขัดแย้ง ได้แก่ ปรึกษาคณบดีของคณะนั้น ๆ และพยายามดึงนักศึกษามาร่วมกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น จากปรากฎการณ์ที่นักศึกษาประท้วงตึกของผู้บริหารสะท้อนว่าผู้บริหารไม่ค่อยลงมาพูดหรือเจรจา และแก้ไข ปัญหากับนักศึกษาเท่าที่ควร วิธีการพูดคุยในระดับต่าง ๆ ต้องเริ่มจากระดับครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันที่ใกล้ชิดที่สุด ให้ความสำคัญกับการรับฟังผู้น้อย และมีช่องทางในการมีส่วนร่วมที่ปลอดภัย มหาวิทยาลัยควรมีบทบาท อันได้แก่ มีหลักสูตรการไกล่เกลี่ย ในสโมสรนักศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลเป็นตัวกลางประสานพูดคุยร่วมมือระหว่าง อาจารย์ นักศึกษา ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง อยากให้มหาวิทยาลัยให้การดูแลไปจนเสร็จสิ้นจนจบกระบวนการ ควรมี การเปิดเผยการดำเนินการเมื่อมีเหตุการณ์ต่าง ๆ และทำให้ความขัดแย้งนั้นรุนแรงน้อยลง เเละแสดงความ ความคิดของตนเองได้อย่างอิสระภายในขอบเขตการร่วมกันช่วยแก้ปัญหาสังคมเเละชุมชนอย่างสร้างสรรค์ 4.2 ข้อเสนอด้านระบบและกลไกที่มหาวิทยาลัยควรสร้างหรือพัฒนา ส่วนใหญ่ความคิดเห็นตรงกันว่า ควรมีพื้นที่สาธารณะและพื้นที่กลางการเพื่อการมีส่วนร่วมในการรับทราบปัญหาและแก้ไขปัญหาร่วมกัน และการ กำหนดนโยบายต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยต้องมีความทันสมัยและเท่าทันสถานการณ์ปัจจุบันให้มากขึ้น 4.3 ข้อเสนอด้านระบบการสื่อสารของมหาวิทยาลัยควรปรับปรุง กล่าวคือ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมีการสร้างการสื่อสารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการและอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ เช่น ใช้การสื่อสารน้อย ขาดการอธิบายมิติภายใต้หลักเหตุผลให้แก่อาจารย์ นักศึกษาได้รับทราบ ขาดการชี้แจงและ ถ่ายทอดสื่อสารแก่คณะและส่วนงานให้มีความเข้าใจตรงกัน เน้นเพียงการสื่อสารแบบทางเดียว ขาดการสื่อสารที่ กระชับและชัดเจน ทำให้เกิดการตีความในทิศทางต่างๆ ได้ง่าย จากปัญหาดังกล่าวจึงเสนอข้อควรปรับปรุงสำคัญ ต่อการสื่อสารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้ 1.ปรับปรุงแอปพลิเคชัน การกรอกแบบฟอร์มข้อมูล และปรับ ภาษาการสื่อสารของเพจมหาวิทยาลัยให้ชัดเจน ให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนบุคคล (privacy) และเปลี่ยนการ สื่อสารเป็นแบบสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน (one team one voice) 2. ต้องรับฟังความคิดเห็นให้กว้างขึ้น โดยให้คณะเป็นตัวกลางในการสื่อสาร และปรับปรุงสื่อของมหาวิทยาลัยให้ทันสมัย และเข้าถึงนักศึกษาเพิ่มขึ้น 3. ควรมีช่องทางออนไลน์ทางการที่ตอบโต้รวดเร็ว มีระบบและกลไกในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น ระบบการรับฟัง พื้นที่แสดงออก เปิดเวทีสาธารณะ รับฟังการแสดงความคิดเห็น และมีการทบทวนในระเบียบ ข้อบังคับของ มหาวิทยาลัยในการดำเนินการด้านต่าง ๆ และ 4. ปรับปรุงช่องทางสื่อสารที่นักศึกษาจะเลือกรับสื่อ รวมถึงการ
  • 4. 4 สื่อสารระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง และมหาวิทยาลัยจะต้องสร้างเครือข่ายผ่านสื่อโซเซียลมีเดียที่มีความแตกต่าง หลากหลาย 4.4 ข้อเสนอด้านการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่าการ แสดงความคิดเห็นหรือการเห็นต่างทางการเมืองเป็นเรื่องปกติ แต่มหาวิทยาลัยควรมีมาตรการและแนวทางการ แก้ปัญหาที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้ ผู้บริหารควรจะตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา มหาวิทยาลัยต้อง ปกป้องและเป็นที่พึ่งให้กับนักศึกษา นักศึกษามีสิทธิแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่ต้องชี้แจงให้นักศึกษาทราบ ถึงผลทางกฎหมายที่ตามมา มหาวิทยาลัยต้องเข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น เช่น ตั้งกลุ่มผู้นำ เพื่อให้เป็นตัวกลางในการสื่อสาร สร้างความตระหนักต่อผลของการแสดงออกทางการเมือง เพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่ควร ทำและไม่ควรทำ เพิ่มความรู้ความเข้าใจในระเบียบ พระราชบัญญัติ ข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และ อาจารย์ไม่ควรพูดชี้นำความคิดนักศึกษา ประเด็นที่ 5 แนวทางการพัฒนาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากข้อเสนอกลุ่มผู้ประกอบการ บัณฑิตที่ต้องการรับเข้าทำงานต้องมีคุณลักษณะต่อไปนี้ มีทัศนคติที่ดีในการทำงานมีความสามารถและ ความถนัดชัดเจน มีลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพที่ดี ยอมรับความคิดที่แตกต่างได้มีความเข้าใจโลกภายนอก พร้อมพัฒนาตัวเองเสมอ มีความมั่นใจในตัวเอง มีภาวะผู้นำ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนเป็นอย่างดี ขยัน ซื่อสัตย์ ละเอียด รับผิดชอบสูง อย่างไรก็ตาม หากบัณฑิตที่ถูกดำเนินคดีทางการเมือง เช่น มาตรา112 มาตรา 116 เป็นต้น ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าไม่มีผลในการปฏิเสธรับเข้าทำงาน ในขณะที่ ลักษณะที่ผู้ประกอบการไม่พึงประสงค์หรือ ปฏิเสธการรับเข้าทำงาน ได้แก่ บุคคลผู้มีประวัติอาญา มีความก้าวร้าว มีความคิดสุดโต่ง ทำงานเป็นทีมไม่ได้ ไม่ขยัน ไม่ซื่อสัตย์ ไม่ยอมรับความแตกต่างทางความคิด ไม่มีความรับผิดชอบ พร้อมเสนอข้อควรปรับปรุงและ พัฒนาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ พัฒนาทักษะทางสังคมเพิ่มขึ้น (Soft Skills) มีพื้นที่ให้ ผู้ประกอบการเข้าไปหานักศึกษาได้ง่ายขึ้น พัฒนาภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3-4 เพราะพบว่ายังมีทักษะทางด้าน ภาษาที่ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ พัฒนาเด็กสายสังคมศาสตร์ในตลาดงานให้เพิ่มมากขึ้น ประเด็นที่ 6 ความวาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ของกลุ่มต่าง ๆ 6.1 กลุ่มนักศึกษา วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า ต้องมีความเป็นมิตร ส่งเสริมเสรีภาพทาง วิชาการ เป็นพื้นที่ที่เป็นกลางสำหรับทุกคน ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาและสวัสดิการอื่น ๆ มีการพัฒนา ทางด้านกายภาพ ด้านกิจกรรม และกระบวนการเรียนการสอนของอาจารย์ 6.2 กลุ่มผู้ปกครอง วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า เป็นมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการเพื่อมนุษยชาติ สะท้อนหลักการ inclusive และแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม
  • 5. 5 6.3 กลุ่มผู้ประกอบการ วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ด้าน วิชาการและอารมณ์ (emotional learning) มีระบบการดูแลสุขภาพจิตใจที่ดีนำสู่การประกอบอาชีพของนักศึกษา อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องสร้างบรรยากาศในมหาวิทยาลัยให้สามารถร่วมกันออกแบบ เสนอแนะต่อปัญหาในระดับ ต่าง ๆ ได้ และสุดท้ายมีรูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัย เข้าถึงง่ายและรวดเร็ว 6.4 กลุ่มคณาจารย์ วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า ควรมีช่องทางออนไลน์ทางการที่ตอบโต้ รวดเร็ว มีระบบและกลไกในการแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ระบบการรับฟัง พื้นที่แสดงออก เปิดเวทีสาธารณะ รับฟังการ แสดงความคิดเห็น และมีการทบทวนในระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการด้านต่างๆ 6.5 กลุ่มบุคลากร อยากเห็นมหาวิทยาลัยสร้างหลักสูตรการศึกษาในแนวใหม่ที่เป็นการออกแบบโดยผู้ ส่วนได้ส่วนเสีย เยาวชนที่เข้ามาในมหาวิทยาลัย สามารถชี้นำสังคมเป็นไปทิศทางที่ดี เหมาะสมกับประชากรตาม ความต้องการแต่ละช่วงวัยและสามารถนำมาปรับใช้ได้จริง เสนอให้มหาวิทยาลัยนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้จาก ผลการประเมินความผูกพัน มาใช้เพื่อหาช่องทางในการจัดการหรือดำเนินงานต่อไป ควรมีการเปิดพื้นที่รับฟังที่ แตกต่างสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยทั้งสองฝ่าย อีกทั้งสามารถนำประเด็นต่าง ๆ 6.6 กลุ่มศิษย์เก่า วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า เป็นมหาวิทยาลัย Reskills หรือ Upskills ค้นพบความสามารถของตนเอง มีพื้นที่ที่สามารถพูดได้ สามารถเสนอได้โดยที่ไม่ต้องมีตัวตน เป็น Community สร้างขึ้นมาเพื่อจังหวัดเชียงใหม่ มีมุมมองความแตกต่างทางความคิดให้เป็นเชิงบวก รับฟังและเข้าใจความแตกต่าง มี Forum พี่ฟังน้อง น้องบอกพี่ โดดเด่นด้านวิชาการ มีเวทีให้นำเสนอแนวคิดทุกเรื่อง สร้างโอกาสให้เด็กในหลาย ๆ รูปแบบ และเป็นพื้นที่ปลอดภัย มีอุปกรณ์การสอนที่ทันสมัย และบุคลากรที่มีความรู้เป็นอย่างดี 6.7 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ วาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาศักยภาพของ นักศึกษาในด้าน Soft Skills การพัฒนาทักษะวิชาการและหลักสูตรให้มีความหลากหลาย มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ สำหรับทุกคน มีลักษณะเป็นสังคมเปิด สร้างอาชีพกับการทำงานในพื้นที่ของเชียงใหม่หรือภาคเหนือ และด้านการ บริหารงานของผู้บริหารระดับสูงจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการบริหารกลุ่มศิษย์เก่า 6.8 กลุ่มนักเรียน มีมุมมองต่อบุคลิก/ลักษณะของผู้ใหญ่และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ตนชื่นชอบ ได้แก่ สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน มีการรับฟังแนวทางการผลิตสื่อการเรียนการสอนร่วมกันกับนักศึกษา ยอมรับความแตกต่างและปฏิบัติกับนักศึกษาทุกคนอย่างเท่าเทียม มีความเป็นกันเองทั้งในห้องเรียนและนอก ห้องเรียน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยอมรับความแตกต่าง ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พร้อมเปิดใจรับฟังเด็ก รุ่นใหม่ ไม่เอาความคิดตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ใส่อนาคตที่ตนเองอยากเป็นให้กับเด็ก เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติ ตาม
  • 6. 6 ขณะเดียวกัน เหตุผลที่นักเรียนอยากเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเรียน และการครองชีพ มีความเหมาะสม มีโอกาสได้ทำกิจกรรมและเรียนรู้กับอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมปลาย มีรุ่นพี่และบุคคลรอบข้างศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ภาคเหนือใกล้บ้าน สะดวกในการเดินทาง เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับประเทศและเป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ หลักสูตรมีความน่าสนใจ อาจารย์ และบุคลากรมีความสามารถในการพัฒนานักศึกษา สภาพแวดล้อมในการเรียน และการอยู่อาศัยดี มีบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ และเหตุผลที่นักเรียนจะไม่เลือกศึกษา ต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ คุณสมบัติของนักเรียนไม่ตรงกับคุณสมบัติที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการ ไม่ผ่านการ คัดเลือกของมหาวิทยาลัย ได้โควตา MOU จากสถานศึกษากับมหาวิทยาลัยอื่น ต้องการศึกษาต่อในต่างประเทศ สภาพอากาศของพื้นที่ และข่าวในด้านลบของมหาวิทยาลัย กล่าวสรุป จากการศึกษาความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัยต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสังคมไทย พบว่า ปัจจุบันเกิดปัญหาความแตกต่างระหว่างวัยเนื่องจากหลายสาเหตุและปัจจัยดังที่ได้กล่าวไป โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง ปัจจัยทางการเมืองที่ทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างทางความคิดมากยิ่งขึ้น มากไปกว่านั้น ความแตกต่างทาง ความคิดแต่ละช่วงวัยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้และปรากฏในทุกยุคสมัย ทั้งยังเกิดขึ้นในช่วงวัยเดียวกันได้อีกด้วย ขณะที่ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมมช.และพลเมืองไทย พบว่า ความรู้สึกของกลุ่มต่าง ๆ ในการเป็นส่วน หนึ่งของประชาคมมช. เกิดจากการทำกิจกรรมและการได้รับสวัสดิการของมหาวิทยาลัย แต่การที่มหาวิทยาลัยไม่ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง และเข้าถึงสวัสดิการบางอย่างได้ยาก ส่งผลทำให้เกิดความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมมช.ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการเข้าถึง “สิทธิ” ที่นักศึกษา คำนึงเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม ทุกกลุ่มมองว่า ความแตกต่างทางความคิดแต่ละช่วงวัยส่งผลทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ กล่าวคือ ความขัดแย้งภายในมหาวิทยาลัยได้สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีและกระทบต่อความเชื่อมั่นของคนภายใน องค์กร แต่หากทั้งสองฝ่ายรับฟังกัน ย่อมนำไปสู่การรับรู้ต่อกันมากขึ้น และหาหนทางเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็น ข้อเสนอด้านระบบและกลไกที่มหาวิทยาลัยควรสร้างหรือพัฒนา ระบบการสื่อสารของมหาวิทยาลัยที่ควรปรับปรุง และการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่เหมาะสม ล้วนเป็นข้อเสนอที่ทุกกลุ่มมีความเห็นร่วมกันว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต้องปรับปรุงให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพื่อบริหารและสร้างสังคม / สภาพแวดล้อมที่ดีภายใต้ ความแตกต่างทางความคิดของแต่ละช่วงวัย และท้ายที่สุด มีความวาดฝันอนาคตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในแง่ต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งการปรับปรุงแผนการเรียนการสอน การสร้างสภาพแวดล้อมที่ การสื่อสารที่ทั่วถึงและชัดเจน การคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนมีเวทีกลางและพื้นที่สาธารณะเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา และลดความ ขัดแย้งต่อไปในอนาคต