SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 10
Downloaden Sie, um offline zu lesen
1
SET
 1
ในการศึกษาเรื่องความน่าจะเป็นความรู้พื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องเซตมีความจาเป็น
อย่างยิ่งโดยเฉพาะในเรื่องของรูปแบบของเหตุการณ์ การทดลอง ปรากฏการณ์ต่างๆ ผลลัพธ์ที่
เกิดขึ้นจากการทดลอง สัญลักษณ์ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการประมาณค่า
ความน่าจะเป็นและเป็นการทบทวนความรู้เบื้องต้นก่อนที่จะศึกษาวิชาความน่าจะเป็นต่อไป
1.1 ความหมายของเซต
บทนิยาม 1.1 เซต (Set) หมายถึง ผลลัพธ์หรือการรวบรวมสิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของ
เหตุการณ์ ซึ่งมีการกาหนดขอบเขต รูปแบบไว้ชัดเจนแน่นอน เช่น เซตของเลขจานวนเต็มบวก
เซตของนักศึกษาที่ลงเรียนวิชาความน่าจะเป็น
แต่ละหน่วยที่ประกอบขึ้นเป็นเซตนั้น เรียกว่า สมาชิกของเซต (Element of Set) โดยที่แต่ละ
หน่วยนั้นจะต้องเป็นหน่วยที่แตกต่างกัน
2
สัญลักษณ์ที่ใช้ในเซต
1. สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนเซตจะใช้ตัวอักษรใหญ่แทนเช่น A B และ C เป็นต้น
2. สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนสมาชิกของเซตจะใช้ตัวอักษรเล็กแทนเช่น a b และ c
เป็นต้น
3. สัญลักษณ์  (Epsilon) ใช้แทนคาว่า “เป็นสมาชิกของเซต” และ สัญลักษณ์  ใช้
แทนคาว่า “ไม่เป็นสมาชิกของเซต”
4. ในการเขียนเซตจะเขียนได้2 แบบ คือ แบบแรกเขียนสมาชิกของเซตทุก ๆ ตัวเรียงไว้
ในปีกกา เช่น A = {1,2,3,….} และแบบที่สอง เขียนสัญลักษณ์ตัวหนึ่งแทนสมาชิก
ของเซตแล้วบรรยายสัญลักษณ์ตัวนั้นโดยคั่นด้วยเครื่องหมาย slash (|) ใช้เพื่อแทนคา
ว่า “ซึ่ง” หรือ “โดยที่” ภายในวงเล็บปีกกา เช่น A = {a | a เป็นเลขจานวนจริง}
ตัวอย่าง 1.1 ให้เซต A ประกอบด้วยเซตของเลขจานวนเต็มบวกที่น้อยกว่า 5
วิธีทา
A = {1,2,3,4} 
ตัวอย่าง 1.2 ให้เซต B เป็นเซตของเลขจานวนจริงที่มากกว่า 10
วิธีทา
B = { |b b  10} 
ตัวอย่าง 1.3 ให้เซต C เป็นผลบวกของหน้าลูกเต๋าในการโยนลูกเต๋า 2 ลูก
วิธีทา
C = {2,3,4,…,12} 
ตัวอย่าง 1.4 ให้เซต D เป็นการจาแนกเพศของบุตรในครอบครัวหนึ่งที่มีบุตร 3 คน
วิธีทา
D = {ชายชายชาย, ชายชายหญิง, ชายหญิงชาย, ชายหญิงหญิง, หญิงหญิงชาย, หญิงชาย
หญิง, หญิงชายชาย, หญิงหญิงหญิง} 
3
1.2 ชนิดของเซต
เซตแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.2.1 เซตจากัด (Finite Sets) หมายถึงเซตที่มีจานวนสมาชิกที่นับได้หรือมีขอบเขตจากัด
เช่น เซตของเลขจานวนเต็มบวกที่อยู่ระหว่าง 1 ถึง 10 เซตของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เซต
ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
1.2.2 เซตอนันต์ (Infinite Sets) หมายถึงเซตที่มีจานวนสมาชิกนับไม่ได้หรือไม่มีขอบเขต
จากัด เช่น เซตของเลขจานวนจริงที่อยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 เซตของจานวนต้นไม้บนโลก
1.3 ลักษณะต่าง ๆ ของเซต
1.3.1 เซตที่เท่ากัน (Equal Sets)
บทนิยาม 1.2 เซต 2 เซตใด ๆ A และ B จะเรียกว่าเป็นเซตที่เท่ากัน ถ้าสมาชิกของเซต A
เหมือนกับสมาชิกของเซต B ทุกประการซึ่งเขียนสัญลักษณ์แทนว่า A B และ ถ้าสมาชิกของ
เซต A ทุกตัวไม่เหมือนกับสมาชิกของเซต B เรียกว่า A และ B เซตที่ไม่เท่ากัน ซึ่งเขียน
สัญลักษณ์แทนว่า A B
ตัวอย่าง 1.5 ให้เซต A = {2,4,8} และ B = {4,8,2}
วิธีทา
เมื่อพิจารณาทั้งเซต A และ B จะได้ว่า A B หรือเซต A และ B เป็นเซตที่เท่ากัน 
ตัวอย่าง 1.6 ให้เซต A ={ก,ข,ค,ง} และ B = {a,b,ค,ง}
วิธีทา
เมื่อพิจารณาทั้งเซต A และ B จะได้ว่า A B หรือเซต A และ B เป็นเซตที่ไม่เท่ากัน 
1.3.2 เซตที่เหมือนกัน (Equivalent Sets)
บทนิยาม 1.3 เซต 2 เซตใด ๆ A และ B จะเป็นเซตที่เหมือนกัน ถ้าจานวนสมาชิกของเซต A
เท่ากับจานวนสมาชิกของเซต B และเขียนสัญลักษณ์แทนว่า A B และ ถ้าจานวนสมาชิกของ
เซต A ไม่เท่ากับจานวนสมาชิกของเซต B เรียกว่า เซต A ไม่เหมือนเซต B
4
จากบทนิยาม 1.2 จะเห็นได้ว่า ถ้าเซต 2 เซตนั้นเท่ากันทั้ง 2 เซตจะเป็นเซตที่เหมือนกัน
ด้วย แต่ถ้าเซตทั้ง 2 เซตเป็นเซตที่เหมือนกัน เซต 2 เซตนั้นอาจะเป็นเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้
ตัวอย่าง 1.7 ให้เซต A ={ก,ข,ค,ง} และ B = {a, b, c, d}
วิธีทา
เมื่อพิจารณาทั้งเซต A และ B จะได้ว่า A B แต่ A B
หรือเซต A และ B เป็นเซตที่เหมือนกันไม่เป็นเซตที่ไม่เท่ากัน 
1.3.3 สับเซต (Subsets)
บทนิยาม 1.4 เซต A จะเป็นสับเซตของเซต B ถ้าสมาชิกทุก ๆ ตัวของเซต A ต่างก็เป็นสมาชิก
ของเซต B ด้วย และเขียนสัญลักษณ์แทนด้วย A B แต่ถ้าสมาชิกไม่ทุกตัวของเซต A เป็น
สมาชิกของเซต B ด้วย และเขียนสัญลักษณ์แทนด้วย A B
ตัวอย่าง 1.8 ให้ เซต A = { |x x เป็นเลขจานวนเต็มคี่ที่น้อยกว่า 10}
เซต B = {1,2,3,4,….,10} และ เซต C = {8,9,10,…,15}
จงแสดงว่าเซตใดเป็นสับเซตของเซตใดบ้าง
วิธีทา
เซต A ประกอบด้วยสมาชิกของเซตคือ A = {1,3,5,7,9}
แสดงว่า A B หรือ A เป็นสับเซตของเซต B 
1.3.4 เซตว่าง (Empty Sets หรือ Null Sets)
บทนิยาม 1.5 เซตใด ๆ ที่ไม่มีสมาชิกเลยเรียกว่า เซตว่าง เขียนสัญลักษณ์แทนด้วย  เช่น เซตของ
เลขจานวนเต็มบวกที่อยู่ระหว่าง 2 ถึง 3
ข้อสังเกต
1. เซตว่าง 2 เซตใด ๆ เป็นเซตที่เท่ากัน
2. เซตว่างเป็นสับเซตของทุก ๆ เซต
5
1.3.5 เซตจักรวาลหรือเซตสากล (Universal Sets)
บทนิยาม 1.6 เซตใด ๆ ก็ตามที่เป็นสับเซตของเซตที่ใหญ่กว่า เซตที่ใหญ่กว่านั้นเรียกว่า เซตสากล
หรือเซตจักรวาล เขียนสัญลักษณ์แทนด้วย U เช่น ให้เซต U เป็นเซตของเลขจานวนเต็มบวก
ดังนั้นเซตของเลขจานวนเต็มเป็นเซตจักรวาล
ข้อสังเกต
1. A A
2. เซตว่าง ()เป็นสับเซตของทุก ๆ เซต
3. ถ้า A B และ B A จะได้ว่า A B
4. ถ้า A B และ B C จะได้ว่า A C
5. ถ้า A B ไม่จาเป็นที่ B A
6. จานวนสับเซตที่สร้างได้จะเท่ากับ n
2 เมื่อ n คือสมาชิกของเซตนั้น ๆ
ตัวอย่าง 1.9 ถ้าเซตจักรวาล { | 3 3}U x x    เซต { | 1 1}A x x    และ
เซต { | 2 2}B x x    จงแสดงว่าเซตใดเป็นสับเซตของเซตใดบ้าง
วิธีทา
เซต A B และ เซตB U ดังนั้น เซต A U เช่นกัน 
ตัวอย่าง 1.10 ถ้าเซต A = {1,2,3} จงเขียนสับเซตของเซต A
วิธีทา
{,{1},{2},{3},{1,2},{1,3},{2,3},{1,2,3}} มีจานวนสับเซตเท่ากับ 8 หรือเท่ากับ 3
2 
1.3.6 เซตที่ไม่เกิดร่วมกัน (Disjoint Sets)
บทนิยาม 1.7 เซต 2 เซตใด ๆ ที่ไม่มีสมาชิกร่วมกันเลยเรียกว่า เซตทั้งสองเซตไม่เกิดร่วมกัน
(Disjoint Sets หรือ Mutually Exclusives)
6
ตัวอย่าง 1.11 เซต A = {1,2,3,4} และ เซต B = {5,6,7,8}
จงแสดงว่า เซต A และ เซต B ไม่มีสมาชิกเกิดร่วมกัน
วิธีทา
เขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ (Venn-Euler diagram) ได้ดังรูป 1.1
A
1,2,3,4
B
5,6,7,8
รูป 1.1 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A และ เซต B ที่ไม่มีสมาชิกเกิดร่วมกัน
จากรูปสมาชิกในเซต A ไม่ได้เกิดร่วมกันสมาชิกในเซต B
สรุปได้ว่า เซต A และ เซต B ไม่มีสมาชิกเกิดร่วมกัน
1.3.7 เซตที่เกิดร่วมกัน (Joint Sets)
บทนิยาม 1.8 เซต 2 เซตใด ๆ ที่มีสมาชิกร่วมกัน ในทางกลับกันถ้าเซต A และ B มีสมาชิก
ร่วมกัน เรียกเซต A และเซต B เป็นเซตที่ร่วมกัน (Joint Sets)
ตัวอย่าง 1.12 เซต A = {1,2,3,4,5,6,7} และ เซต B = {5,6,7,8}
จงแสดงว่า เซต A และ เซต B มีสมาชิกเกิดร่วมกัน
วิธีทา
จากโจทย์ เซตที่เกิดร่วมกันคือ {5,6,7}
หรือเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ได้ดังรูป 1.2
7
5,
6,
7
1,2,3,4
A
8
B
รูป 1.2 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A และ เซต B ที่มีสมาชิกเกิดร่วมกัน

1.4 ความสัมพันธ์ของเซต (Operation on Sets)
ความสัมพันธ์ของเซตหมายถึง การกาหนดความสัมพันธ์ของสมาชิกเซตหนึ่งกับอีกเซตหนึ่ง
โดยแสดงความสัมพันธ์ในลักษณะของเหตุการณ์รวม (Union) เหตุการณ์ร่วม (Intersection) และ
คอมพลีเมนต์ (Complement) เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ
บทนิยาม 1.9 เหตุการณ์รวม (Union) ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย “ ” โดยที่
BA   |x x A  หรือ }x B หรือ
BA  หมายถึง เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในเซต A หรือเซต B
หรือทั้งเซต A และเซต B
8
เขียนเป็นแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ได้ดังรูป 1.3-1.6
กรณีที่ 1 เซตที่เกิดร่วมกัน (Joint Sets)
BA   |x x A  หรือ }x B
A B
รูป 1.3 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของเซตที่เกิดร่วมกัน
กรณีที่ 2 เซตที่เกิดไม่ร่วมกัน (Disjoint Sets)
BA  =  |x x A  หรือ }x B
A B
รูป 1.4 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของเซตที่ไม่เกิดร่วมกัน
9
กรณีที่ 3 A B
A B B 
B
A
รูป 1.5 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของ A B
กรณีที่ 4 B A
B A A 
A
B
รูป 1.6 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของB A
10
บทนิยาม 1.10 เหตุการณ์ร่วม (Intersection) ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย “ ” โดยที่
BA   |x x A  และ }x B หรือ
BA  หมายถึง เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในเซต A และเซต B
เขียนเป็นแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ได้ดังรูป 1.7-1.10
กรณีที่ 1 เซตที่เกิดร่วมกัน (Joint Sets)
BA   |x x A  และ }x B
A B
รูป 1.7 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของเซตที่เกิดร่วมกัน
กรณีที่ 2 เซตที่เกิดไม่ร่วมกัน (Disjoint Sets)
BA  = 
A B
รูป 1.8 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของเซตที่ไม่เกิดร่วมกัน

Weitere ähnliche Inhalte

Ähnlich wie 9789740337102

คณิตศาสตร์ ม.3 เรื่องเซต
คณิตศาสตร์ ม.3 เรื่องเซตคณิตศาสตร์ ม.3 เรื่องเซต
คณิตศาสตร์ ม.3 เรื่องเซตChokchai Taveecharoenpun
 
คณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซต
คณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซตคณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซต
คณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซตTutor Ferry
 
การเขียนแผนภาพแทนเซต
การเขียนแผนภาพแทนเซตการเขียนแผนภาพแทนเซต
การเขียนแผนภาพแทนเซตkrumath555
 
เซตตตตตต
เซตตตตตตเซตตตตตต
เซตตตตตตSomrak Sokhuma
 
สไลด์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องเซต (Sets) ม.4
สไลด์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องเซต (Sets) ม.4สไลด์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องเซต (Sets) ม.4
สไลด์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องเซต (Sets) ม.4jirat thipprasert
 
สับเซตและพาวเวอร์เซต
สับเซตและพาวเวอร์เซตสับเซตและพาวเวอร์เซต
สับเซตและพาวเวอร์เซตNuchita Kromkhan
 

Ähnlich wie 9789740337102 (20)

Set krupom
Set krupomSet krupom
Set krupom
 
เซต
เซตเซต
เซต
 
10ยูเนียน
10ยูเนียน10ยูเนียน
10ยูเนียน
 
คณิตศาสตร์ ม.3 เรื่องเซต
คณิตศาสตร์ ม.3 เรื่องเซตคณิตศาสตร์ ม.3 เรื่องเซต
คณิตศาสตร์ ม.3 เรื่องเซต
 
คณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซต
คณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซตคณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซต
คณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซต
 
สับเซต
สับเซตสับเซต
สับเซต
 
Set
SetSet
Set
 
Set
SetSet
Set
 
การเขียนแผนภาพแทนเซต
การเขียนแผนภาพแทนเซตการเขียนแผนภาพแทนเซต
การเขียนแผนภาพแทนเซต
 
เซตตตตตต
เซตตตตตตเซตตตตตต
เซตตตตตต
 
Set(เซต)
Set(เซต)Set(เซต)
Set(เซต)
 
หน่วยที่ 1
หน่วยที่ 1หน่วยที่ 1
หน่วยที่ 1
 
M4 1-เซต
M4 1-เซตM4 1-เซต
M4 1-เซต
 
Set1
Set1Set1
Set1
 
Set
SetSet
Set
 
Set1
Set1Set1
Set1
 
Set1
Set1Set1
Set1
 
สไลด์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องเซต (Sets) ม.4
สไลด์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องเซต (Sets) ม.4สไลด์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องเซต (Sets) ม.4
สไลด์ประกอบการเรียนการสอน เรื่องเซต (Sets) ม.4
 
สับเซตและพาวเวอร์เซต
สับเซตและพาวเวอร์เซตสับเซตและพาวเวอร์เซต
สับเซตและพาวเวอร์เซต
 
สรุปแก่นคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สรุปแก่นคณิตศาสตร์ ม.ปลายสรุปแก่นคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สรุปแก่นคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
 

Mehr von CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419CUPress
 

Mehr von CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
 

9789740337102

  • 1. 1 SET 1 ในการศึกษาเรื่องความน่าจะเป็นความรู้พื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องเซตมีความจาเป็น อย่างยิ่งโดยเฉพาะในเรื่องของรูปแบบของเหตุการณ์ การทดลอง ปรากฏการณ์ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ เกิดขึ้นจากการทดลอง สัญลักษณ์ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการประมาณค่า ความน่าจะเป็นและเป็นการทบทวนความรู้เบื้องต้นก่อนที่จะศึกษาวิชาความน่าจะเป็นต่อไป 1.1 ความหมายของเซต บทนิยาม 1.1 เซต (Set) หมายถึง ผลลัพธ์หรือการรวบรวมสิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของ เหตุการณ์ ซึ่งมีการกาหนดขอบเขต รูปแบบไว้ชัดเจนแน่นอน เช่น เซตของเลขจานวนเต็มบวก เซตของนักศึกษาที่ลงเรียนวิชาความน่าจะเป็น แต่ละหน่วยที่ประกอบขึ้นเป็นเซตนั้น เรียกว่า สมาชิกของเซต (Element of Set) โดยที่แต่ละ หน่วยนั้นจะต้องเป็นหน่วยที่แตกต่างกัน
  • 2. 2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในเซต 1. สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนเซตจะใช้ตัวอักษรใหญ่แทนเช่น A B และ C เป็นต้น 2. สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนสมาชิกของเซตจะใช้ตัวอักษรเล็กแทนเช่น a b และ c เป็นต้น 3. สัญลักษณ์  (Epsilon) ใช้แทนคาว่า “เป็นสมาชิกของเซต” และ สัญลักษณ์  ใช้ แทนคาว่า “ไม่เป็นสมาชิกของเซต” 4. ในการเขียนเซตจะเขียนได้2 แบบ คือ แบบแรกเขียนสมาชิกของเซตทุก ๆ ตัวเรียงไว้ ในปีกกา เช่น A = {1,2,3,….} และแบบที่สอง เขียนสัญลักษณ์ตัวหนึ่งแทนสมาชิก ของเซตแล้วบรรยายสัญลักษณ์ตัวนั้นโดยคั่นด้วยเครื่องหมาย slash (|) ใช้เพื่อแทนคา ว่า “ซึ่ง” หรือ “โดยที่” ภายในวงเล็บปีกกา เช่น A = {a | a เป็นเลขจานวนจริง} ตัวอย่าง 1.1 ให้เซต A ประกอบด้วยเซตของเลขจานวนเต็มบวกที่น้อยกว่า 5 วิธีทา A = {1,2,3,4}  ตัวอย่าง 1.2 ให้เซต B เป็นเซตของเลขจานวนจริงที่มากกว่า 10 วิธีทา B = { |b b 10}  ตัวอย่าง 1.3 ให้เซต C เป็นผลบวกของหน้าลูกเต๋าในการโยนลูกเต๋า 2 ลูก วิธีทา C = {2,3,4,…,12}  ตัวอย่าง 1.4 ให้เซต D เป็นการจาแนกเพศของบุตรในครอบครัวหนึ่งที่มีบุตร 3 คน วิธีทา D = {ชายชายชาย, ชายชายหญิง, ชายหญิงชาย, ชายหญิงหญิง, หญิงหญิงชาย, หญิงชาย หญิง, หญิงชายชาย, หญิงหญิงหญิง} 
  • 3. 3 1.2 ชนิดของเซต เซตแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ 1.2.1 เซตจากัด (Finite Sets) หมายถึงเซตที่มีจานวนสมาชิกที่นับได้หรือมีขอบเขตจากัด เช่น เซตของเลขจานวนเต็มบวกที่อยู่ระหว่าง 1 ถึง 10 เซตของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เซต ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 1.2.2 เซตอนันต์ (Infinite Sets) หมายถึงเซตที่มีจานวนสมาชิกนับไม่ได้หรือไม่มีขอบเขต จากัด เช่น เซตของเลขจานวนจริงที่อยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 เซตของจานวนต้นไม้บนโลก 1.3 ลักษณะต่าง ๆ ของเซต 1.3.1 เซตที่เท่ากัน (Equal Sets) บทนิยาม 1.2 เซต 2 เซตใด ๆ A และ B จะเรียกว่าเป็นเซตที่เท่ากัน ถ้าสมาชิกของเซต A เหมือนกับสมาชิกของเซต B ทุกประการซึ่งเขียนสัญลักษณ์แทนว่า A B และ ถ้าสมาชิกของ เซต A ทุกตัวไม่เหมือนกับสมาชิกของเซต B เรียกว่า A และ B เซตที่ไม่เท่ากัน ซึ่งเขียน สัญลักษณ์แทนว่า A B ตัวอย่าง 1.5 ให้เซต A = {2,4,8} และ B = {4,8,2} วิธีทา เมื่อพิจารณาทั้งเซต A และ B จะได้ว่า A B หรือเซต A และ B เป็นเซตที่เท่ากัน  ตัวอย่าง 1.6 ให้เซต A ={ก,ข,ค,ง} และ B = {a,b,ค,ง} วิธีทา เมื่อพิจารณาทั้งเซต A และ B จะได้ว่า A B หรือเซต A และ B เป็นเซตที่ไม่เท่ากัน  1.3.2 เซตที่เหมือนกัน (Equivalent Sets) บทนิยาม 1.3 เซต 2 เซตใด ๆ A และ B จะเป็นเซตที่เหมือนกัน ถ้าจานวนสมาชิกของเซต A เท่ากับจานวนสมาชิกของเซต B และเขียนสัญลักษณ์แทนว่า A B และ ถ้าจานวนสมาชิกของ เซต A ไม่เท่ากับจานวนสมาชิกของเซต B เรียกว่า เซต A ไม่เหมือนเซต B
  • 4. 4 จากบทนิยาม 1.2 จะเห็นได้ว่า ถ้าเซต 2 เซตนั้นเท่ากันทั้ง 2 เซตจะเป็นเซตที่เหมือนกัน ด้วย แต่ถ้าเซตทั้ง 2 เซตเป็นเซตที่เหมือนกัน เซต 2 เซตนั้นอาจะเป็นเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ ตัวอย่าง 1.7 ให้เซต A ={ก,ข,ค,ง} และ B = {a, b, c, d} วิธีทา เมื่อพิจารณาทั้งเซต A และ B จะได้ว่า A B แต่ A B หรือเซต A และ B เป็นเซตที่เหมือนกันไม่เป็นเซตที่ไม่เท่ากัน  1.3.3 สับเซต (Subsets) บทนิยาม 1.4 เซต A จะเป็นสับเซตของเซต B ถ้าสมาชิกทุก ๆ ตัวของเซต A ต่างก็เป็นสมาชิก ของเซต B ด้วย และเขียนสัญลักษณ์แทนด้วย A B แต่ถ้าสมาชิกไม่ทุกตัวของเซต A เป็น สมาชิกของเซต B ด้วย และเขียนสัญลักษณ์แทนด้วย A B ตัวอย่าง 1.8 ให้ เซต A = { |x x เป็นเลขจานวนเต็มคี่ที่น้อยกว่า 10} เซต B = {1,2,3,4,….,10} และ เซต C = {8,9,10,…,15} จงแสดงว่าเซตใดเป็นสับเซตของเซตใดบ้าง วิธีทา เซต A ประกอบด้วยสมาชิกของเซตคือ A = {1,3,5,7,9} แสดงว่า A B หรือ A เป็นสับเซตของเซต B  1.3.4 เซตว่าง (Empty Sets หรือ Null Sets) บทนิยาม 1.5 เซตใด ๆ ที่ไม่มีสมาชิกเลยเรียกว่า เซตว่าง เขียนสัญลักษณ์แทนด้วย  เช่น เซตของ เลขจานวนเต็มบวกที่อยู่ระหว่าง 2 ถึง 3 ข้อสังเกต 1. เซตว่าง 2 เซตใด ๆ เป็นเซตที่เท่ากัน 2. เซตว่างเป็นสับเซตของทุก ๆ เซต
  • 5. 5 1.3.5 เซตจักรวาลหรือเซตสากล (Universal Sets) บทนิยาม 1.6 เซตใด ๆ ก็ตามที่เป็นสับเซตของเซตที่ใหญ่กว่า เซตที่ใหญ่กว่านั้นเรียกว่า เซตสากล หรือเซตจักรวาล เขียนสัญลักษณ์แทนด้วย U เช่น ให้เซต U เป็นเซตของเลขจานวนเต็มบวก ดังนั้นเซตของเลขจานวนเต็มเป็นเซตจักรวาล ข้อสังเกต 1. A A 2. เซตว่าง ()เป็นสับเซตของทุก ๆ เซต 3. ถ้า A B และ B A จะได้ว่า A B 4. ถ้า A B และ B C จะได้ว่า A C 5. ถ้า A B ไม่จาเป็นที่ B A 6. จานวนสับเซตที่สร้างได้จะเท่ากับ n 2 เมื่อ n คือสมาชิกของเซตนั้น ๆ ตัวอย่าง 1.9 ถ้าเซตจักรวาล { | 3 3}U x x    เซต { | 1 1}A x x    และ เซต { | 2 2}B x x    จงแสดงว่าเซตใดเป็นสับเซตของเซตใดบ้าง วิธีทา เซต A B และ เซตB U ดังนั้น เซต A U เช่นกัน  ตัวอย่าง 1.10 ถ้าเซต A = {1,2,3} จงเขียนสับเซตของเซต A วิธีทา {,{1},{2},{3},{1,2},{1,3},{2,3},{1,2,3}} มีจานวนสับเซตเท่ากับ 8 หรือเท่ากับ 3 2  1.3.6 เซตที่ไม่เกิดร่วมกัน (Disjoint Sets) บทนิยาม 1.7 เซต 2 เซตใด ๆ ที่ไม่มีสมาชิกร่วมกันเลยเรียกว่า เซตทั้งสองเซตไม่เกิดร่วมกัน (Disjoint Sets หรือ Mutually Exclusives)
  • 6. 6 ตัวอย่าง 1.11 เซต A = {1,2,3,4} และ เซต B = {5,6,7,8} จงแสดงว่า เซต A และ เซต B ไม่มีสมาชิกเกิดร่วมกัน วิธีทา เขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ (Venn-Euler diagram) ได้ดังรูป 1.1 A 1,2,3,4 B 5,6,7,8 รูป 1.1 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A และ เซต B ที่ไม่มีสมาชิกเกิดร่วมกัน จากรูปสมาชิกในเซต A ไม่ได้เกิดร่วมกันสมาชิกในเซต B สรุปได้ว่า เซต A และ เซต B ไม่มีสมาชิกเกิดร่วมกัน 1.3.7 เซตที่เกิดร่วมกัน (Joint Sets) บทนิยาม 1.8 เซต 2 เซตใด ๆ ที่มีสมาชิกร่วมกัน ในทางกลับกันถ้าเซต A และ B มีสมาชิก ร่วมกัน เรียกเซต A และเซต B เป็นเซตที่ร่วมกัน (Joint Sets) ตัวอย่าง 1.12 เซต A = {1,2,3,4,5,6,7} และ เซต B = {5,6,7,8} จงแสดงว่า เซต A และ เซต B มีสมาชิกเกิดร่วมกัน วิธีทา จากโจทย์ เซตที่เกิดร่วมกันคือ {5,6,7} หรือเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ได้ดังรูป 1.2
  • 7. 7 5, 6, 7 1,2,3,4 A 8 B รูป 1.2 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A และ เซต B ที่มีสมาชิกเกิดร่วมกัน  1.4 ความสัมพันธ์ของเซต (Operation on Sets) ความสัมพันธ์ของเซตหมายถึง การกาหนดความสัมพันธ์ของสมาชิกเซตหนึ่งกับอีกเซตหนึ่ง โดยแสดงความสัมพันธ์ในลักษณะของเหตุการณ์รวม (Union) เหตุการณ์ร่วม (Intersection) และ คอมพลีเมนต์ (Complement) เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ บทนิยาม 1.9 เหตุการณ์รวม (Union) ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย “ ” โดยที่ BA   |x x A  หรือ }x B หรือ BA  หมายถึง เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในเซต A หรือเซต B หรือทั้งเซต A และเซต B
  • 8. 8 เขียนเป็นแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ได้ดังรูป 1.3-1.6 กรณีที่ 1 เซตที่เกิดร่วมกัน (Joint Sets) BA   |x x A  หรือ }x B A B รูป 1.3 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของเซตที่เกิดร่วมกัน กรณีที่ 2 เซตที่เกิดไม่ร่วมกัน (Disjoint Sets) BA  =  |x x A  หรือ }x B A B รูป 1.4 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของเซตที่ไม่เกิดร่วมกัน
  • 9. 9 กรณีที่ 3 A B A B B  B A รูป 1.5 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของ A B กรณีที่ 4 B A B A A  A B รูป 1.6 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของB A
  • 10. 10 บทนิยาม 1.10 เหตุการณ์ร่วม (Intersection) ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย “ ” โดยที่ BA   |x x A  และ }x B หรือ BA  หมายถึง เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในเซต A และเซต B เขียนเป็นแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ได้ดังรูป 1.7-1.10 กรณีที่ 1 เซตที่เกิดร่วมกัน (Joint Sets) BA   |x x A  และ }x B A B รูป 1.7 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของเซตที่เกิดร่วมกัน กรณีที่ 2 เซตที่เกิดไม่ร่วมกัน (Disjoint Sets) BA  =  A B รูป 1.8 แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ของเซต A B ของเซตที่ไม่เกิดร่วมกัน