SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 8
Downloaden Sie, um offline zu lesen
บทน�ำ
_13-03(001-008)P2.indd 1 5/31/13 6:53 PM
…2…จิตวิทยาสำ�หรับครู
“ครู” เป็นผู้ที่มีบทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมและประเทศ
ชาติ เพราะงานของครูคืองานสร้าง “คุณภาพ” ความเป็นมนุษย์ให้กับ
“ศิษย์” โดยเฉพาะศิษย์ที่ยังเป็นเยาวชนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความ
สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ ความรู้ความสามารถ ความคิดและคุณธรรม
ความดีงาม มีความรักตนเอง รักผู้อื่น มีความเป็นประชาธิปไตยอย่าง
แท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้สังคมและประเทศชาติมีความสงบสุขพร้อมกับ
มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภารกิจดังกล่าวมีความยากล�ำบากต้องอาศัย
ทั้งพลังกาย พลังใจ ความรู้ความสามารถ จึงพบว่ามีครูไม่มากนักที่
ท�ำหน้าที่ของ “ครู” ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากหลาย
ปัจจัย เช่น การขาดจิตส�ำนึกของความเป็นครูที่ดี มีปัญหาชีวิตส่วนตัว
หรือขาดแนวทางที่จะปฏิบัติตนให้สามารถบรรลุพันธกิจของการเป็น
ครูที่ดีได้ ซึ่งประการหลังนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการศึกษาหาความรู้
เพิ่มเติม
มีผู้ให้ความหมายและแนวทางในการเป็นครูที่ดีไว้หลากหลาย เช่น
ลอสัน (Lawson, 2004 อ้างถึงใน Hurst & Reding, 2006: 9)
กล่าวว่า ครูคือผู้น�ำทางการศึกษาซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้เรียน
เพราะเป็นส่วนส�ำคัญในการกระตุ้นให้ก�ำลังใจและจูงใจให้ผู้เรียนไปสู่
ความส�ำเร็จได้
ดูโฟร (DuFour, 2004 อ้างถึงใน Hurst & Reding, 2006: 63)
เชื่อว่า ครูมืออาชีพในสังคมแห่งการเรียนรู้ต้องให้ความส�ำคัญกับค�ำถาม
3 ข้อต่อไปนี้อยู่ตลอดเวลา
1. เราต้องการให้ผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้อะไร
2. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งนั้นแล้ว
3. เมื่อผู้เรียนพบปัญหาในการเรียนรู้ เราจะช่วยเขาได้อย่างไร
_13-03(001-008)P2.indd 2 5/31/13 6:53 PM
…3…
บทนำ�
เฮิร์ทและเรดดิง (Hurst & Reding, 2006: 43) กล่าวว่า การเป็น
ครูมิได้เป็นเพียงผู้มีบทบาทในการให้ข้อมูลความรู้ที่น่าเชื่อถือแก่ผู้เรียน
เท่านั้น ในแต่ละวันที่ครูสอนและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และ
การพัฒนางอกงาม ผู้เรียนเองก็ท�ำให้ครูได้เรียนรู้และพัฒนางอกงามไป
ด้วยเช่นกัน
นิโคลา-ลิซ่าและเบอร์นาฟอร์ด, (Nikola-Lisa & Burnaford, 1994
อ้างถึงใน Santrock, 2009: 6) กล่าวว่า ครูดีคือครูที่มีความพยายามใน
การสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน เพราะบางครั้งจะพบว่าขณะที่ครูก�ำลัง
สอน แต่ผู้เรียนไม่ได้รับรู้เลยว่าครูก�ำลังสอนอะไร ครูที่ดีคือครูที่สามารถ
กระตุ้นให้นักเรียนคิดตามสิ่งที่ครูก�ำลังสอนได้
จากความหมายที่ยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเป็นครูเท่านั้น
และดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าครูมีหน้าที่สร้างคุณภาพความเป็นมนุษย์
ให้กับศิษย์ แต่เนื่องจากกระบวนการสอนให้มีประสิทธิภาพนั้นมีความ
ซับซ้อน และผู้เรียนในแต่ละชั้นเรียนก็มีความหลากหลาย การสอน
ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง จะไม่สามารถช่วยให้ผู้เรียนทุกคนประสบความส�ำเร็จ
ในการเรียนรู้ได้ ครูจึงต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้กลยุทธ์การสอนที่
หลากหลาย ยืดหยุ่น เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งแซนโทรค (Santrock,
2009: 6) กล่าวว่า การเป็นครูที่มีประสิทธิภาพมีองค์ประกอบที่ส�ำคัญ
2 ประการคือ
1.		ความรู้อย่างมืออาชีพ
					ครูที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
ที่จะสอน รวมถึงหลักการส�ำคัญของทักษะการสอนเป็นอย่างดี มีกลยุทธ์
ที่เป็นเลิศในการก�ำหนดเป้าหมาย แผนการสอนและการบริหารจัดการ
ชั้นเรียน สามารถกระตุ้น สื่อสาร และท�ำงานกับผู้เรียนซึ่งมีความแตกต่าง
กันทั้งด้านระดับความสามารถและภูมิหลังได้เป็นอย่างดี สามารถใช้
_13-03(001-008)P2.indd 3 5/31/13 6:53 PM
…4…จิตวิทยาสำ�หรับครู
เทคนิควิธีการสอนได้อย่างเหมาะสม โดยครูต้องตรวจสอบและพัฒนา
ตนเองในเรื่องต่อไปนี้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่
					1.1			ความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชา ในที่นี้มิได้
หมายถึงเฉพาะความรู้ในข้อเท็จจริง สถานการณ์ และความคิดรวบยอด
ทั่วไป หากยังหมายถึงความสามารถในการรวบรวมความคิดการเชื่อม
โยงแนวคิดต่าง ๆ วิธีการในการคิดและการหาเหตุผล การเปลี่ยนแปลง
หลักการ ความเชื่อ และความสามารถที่จะเชื่อมโยงแนวคิดจากหลักการ
หนึ่งไปสู่หลักการอื่น ๆ ได้
					1.2			กลยุทธ์การสอน การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น
ผู้เรียนไม่ควรรับความรู้จากครูโดยการจดจ�ำ แต่ควรได้รับการกระตุ้นให้
เปิดโลกค้นหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณได้
ครูควรให้ความส�ำคัญกับการฝึกให้ผู้เรียนท�ำงานร่วมกันเพื่อน�ำไปสู่การ
เรียนรู้และเข้าใจบทเรียน มากกว่าการให้ครูเป็นผู้บอกความรู้แก่ผู้เรียน
อย่างเดียว
					1.3			การก�ำหนดเป้าหมายและทักษะการวางแผนการสอน
พินทริคและชัง (Pintrich & Schunk, 2006: 8) กล่าวว่า ครูที่มี
ประสิทธิภาพมักจะก�ำหนดเป้าหมายในการสอนและวางแผนไปสู่
เป้าหมายนั้น พร้อมทั้งพัฒนาเกณฑ์เฉพาะเพื่อให้ประสบความส�ำเร็จ
เขาจะใช้เวลาค่อนข้างมากในการวางแผนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้
ได้มากที่สุด และจะพยายามหาวิธีที่จะท�ำให้บทเรียนมีความท้าทาย
น่าสนใจ ส�ำหรับผู้เรียน
					1.4			ทักษะการจัดการชั้นเรียน คุณลักษณะที่ส�ำคัญอีก
อย่างหนึ่งของครูที่มีประสิทธิภาพคือความสามารถที่จะจัดการให้ผู้เรียน
ทั้งห้องท�ำกิจกรรมร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายของการเรียนการสอน ครู
จะต้องสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่จะท�ำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
_13-03(001-008)P2.indd 4 5/31/13 6:53 PM
…5…
บทนำ�
นี้ไว้ตลอดเวลา ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้สูงสุด
ครูจ�ำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมการด�ำเนินกิจกรรมการเรียน
การสอน เช่น การเล่นเกม การร้องเพลง การอภิปราย ฯลฯ ด้วยการ
สร้างกฎ กติกา ข้อตกลงในการด�ำเนินกิจกรรม อาจให้กลุ่มช่วยกันดูแล
ซึ่งกันและกัน หรือตั้งหัวหน้ากลุ่มช่วยควบคุมไม่ให้ผู้เรียนบางคนกระท�ำ
พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ทั้งของตนเอง
และของเพื่อนคนอื่น ๆ
					1.5			ทักษะในการสร้างแรงจูงใจ ครูที่มีประสิทธิภาพจะมี
กลยุทธ์ที่ดีในการช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาแรงจูงใจภายในเพื่อที่จะเรียนรู้
โบรฟี (Brophy, 2004 อ้างถึงใน Santrock, 2006: 9) กล่าวว่า
นักจิตวิทยาการศึกษาเชื่อว่าแรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยที่ดีที่สุดที่จะ
ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนมีความพยายามเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงไปสู่
การเกิด การเรียนรู้ ครูควรทราบว่าผู้เรียนจะเกิดแรงจูงใจเมื่อเขาสามารถ
เลือกแนวทางที่สอดคล้องกับความสนใจส่วนตัวของเขา ครูจึงควรให้
ผู้เรียนมีโอกาสเลือกท�ำโครงการที่เขาสามารถคิดได้อย่างลึกซึ้งและ
สร้างสรรค์ด้วยตนเอง
					1.6			ทักษะในการติดต่อสื่อสาร ความจริงแล้วทักษะใน
การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับมนุษย์ทุกคน ทุกคนต้องการมี
ความเข้าใจอันดีกับคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องส่วนตัว การงาน หรือ
อาชีพ โดยเฉพาะอาชีพครู ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนหลากหลาย ทั้ง
ผู้เรียน เพื่อนร่วมงาน ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน ฯลฯ ครูจึงต้องฝึกทักษะ
การติดต่อสื่อสาร อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความส�ำคัญกับการสร้าง
สัมพันธภาพกับผู้อื่น โดยการให้ความสนใจ ใส่ใจและรับฟังผู้อื่น รู้จัก
สังเกตเพื่อนร่วมงาน เรียนรู้ว่าใครมีนิสัยอย่างไร เช่น บางคนเป็นครูที่
มีความสุขในการท�ำงาน บางคนมีอารมณ์ขัน บางคนเป็นคนคิดบวก
_13-03(001-008)P2.indd 5 5/31/13 6:53 PM
…6…จิตวิทยาสำ�หรับครู
บางคนอยู่ใกล้แล้วเกิดความรู้สึกที่ดี ถ้าเราเป็นครูที่ต้องการมีความสุข
มีความกระตือรือร้นในการท�ำงาน ก็ควรเลือกคบหาสมาคมกับเพื่อน
ร่วมงานที่มีคุณลักษณะดังกล่าว ครูมืออาชีพจะสามารถใช้ทักษะ
การสื่อสารในการท�ำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อน�ำไปสู่การเข้าใจความต้องการ
ของผู้เรียนอย่างชัดเจน ถูกต้อง นอกจากนั้นทักษะที่ส�ำคัญในการสอน
ก็คือทักษะในการติดต่อสื่อสารทั้งหมด ได้แก่ ทักษะการพูด การฟัง
การสื่อสารด้วยค�ำพูด และเข้าใจการสื่อสารด้วยภาษากายของผู้เรียน
พร้อมกับระวังภาษากายของครูด้วย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายก็เป็น
การสื่อสารถึงผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา บางครั้งแม้จะไม่มีค�ำพูดใด ๆ เลยแต่
ภาษากายที่ครูแสดงออกอาจมีผลให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่นใจ สบายใจ หรือ
ในทางตรงกันข้ามอาจท�ำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกหนาวยะเยือก วิตก
กังวลได้เช่นกัน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความขัดแย้ง
และช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับผู้ปกครอง ผู้บริหาร
บุคคลในชุมชน และคนอื่น ๆ อันจะช่วยให้การท�ำงานมีความราบรื่น
ประสบความส�ำเร็จได้โดยง่าย ขณะเดียวกันครูที่มีทักษะในการติดต่อ
สื่อสารจะช่วยปรับปรุงและพัฒนาทักษะในการสื่อสารของผู้เรียนได้
โดยการซึมซับจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
					1.7			ความเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละ
คน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามนุษย์เรามีความแตกต่างกัน เรากับเพื่อน
เพศเดียวกัน วัยเดียวกัน มีภูมิหลังที่ใกล้เคียงกันก็มีความชอบ ไม่ชอบ
ต่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ความสามารถไม่เท่ากัน ยิ่งในแต่ละห้องเรียน
ประกอบด้วยผู้เรียนที่มาจากภูมิหลังต่างกัน พัฒนาการต่างกัน แม้จะ
อยู่ในชั้นเรียนเดียวกันก็อาจมีอายุต่างกันได้ประมาณ 1-3 ปี ย่อมต้อง
มีธรรมชาติและพัฒนาการที่แตกต่างกันมีความสามารถและความ
สนใจต่างกัน ครูจึงจ�ำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีในเรื่อง
_13-03(001-008)P2.indd 6 5/31/13 6:53 PM
…7…
บทนำ�
พัฒนาการของมนุษย์และจิตวิทยาความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อ
ให้สามารถเลือกวิธีการสอน สื่อการสอน และวางแผนการจัดกิจกรรม
การสอนได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของผู้เรียน เฮนนินเจอร์
(Henninger, 2009 อ้างถึงใน Santrock, 2009: 7) กล่าวว่าความเข้าใจ
กระบวนการเจริญเติบโตและขั้นพัฒนาการของผู้เรียนมีความส�ำคัญ
มากที่สุดต่อการเลือกวิธีการสอนที่จะน�ำไปสู่การเรียนรู้สูงสุดของผู้เรียน
แต่ละคน
2.		การอุทิศตนและแรงจูงใจ
					นอกจากคุณสมบัติทั้ง 7 ประการ ที่เป็นองค์ประกอบของ
“ความรู้อย่างมืออาชีพ” ในการเป็นครูที่มีประสิทธิภาพแล้ว การเป็นครู
ที่ดีหรือครูที่ท�ำหน้าที่สร้าง “คุณภาพ” ความเป็นมนุษย์ให้กับศิษย์ได้
อย่างครบถ้วน เป็นครูที่อยู่ในใจ “ศิษย์” เป็นครูที่ศิษย์รู้สึกเคารพรัก
ด้วยความจริงใจนั้น จะต้องกอปรด้วยความเสียสละ อดทน มุ่งมั่น อบรม
บ่มเพาะ ศิษย์ทุกคนด้วยความรัก ความเข้าใจ ความหวังดีโดยไม่มี
อคติ มีความยุติธรรมต่อศิษย์อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง
ซื่อสัตย์ มีศักดิ์ศรี มีความภูมิใจในตนเอง และเคารพในศักดิ์ศรีความ
เป็นมนุษย์ของผู้อื่น คุณลักษณะเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ ต้องอาศัย
แรงจูงใจภายในและอุดมคติชีวิตที่ดีงามเป็นพลังผลักดัน แต่ถ้าท�ำได้
ส�ำเร็จ จะได้รับผลตอบแทนที่ล�้ำค่า เพราะผลตอบแทนนั้นคือ ความรัก
ความเชื่อถือศรัทธา ความเคารพนับถืออย่างจริงใจจากศิษย์ จาก
ผู้ปกครอง จากสังคม การได้เห็นความงอกงาม เจริญก้าวหน้าอย่าง
มั่นคงของศิษย์ จะสร้างความสุข ความภูมิใจให้กับ “ครู” ตลอดไปและ
บุญกุศลจากการสร้าง “คน” ให้เป็นคนดี มีคุณภาพ มีคุณค่าต่อสังคม
ก็เป็นกุศลอันประเสริฐที่จะย้อนกลับมาสนองผู้สร้างด้วยเช่นกัน
_13-03(001-008)P2.indd 7 5/31/13 6:53 PM
…8…จิตวิทยาสำ�หรับครู
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาความเป็น “ครูดี”
จะต้องอาศัยความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และวิชาที่จะสอนอย่าง
ถ่องแท้ เชี่ยวชาญและเหนือสิ่งอื่นใดต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง
ธรรมชาติและพัฒนาการของมนุษย์เป็นอย่างดี เพราะการรู้จักและเข้าใจ
ผู้เรียนจะช่วยให้ครูสามารถเลือกเทคนิควิธีการสอนได้อย่างเหมาะสม
สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด ความสนใจของผู้เรียนอันจะ
ช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้ตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนด
ไว้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จะน�ำเสนอเนื้อหาความรู้แก่ผู้อ่านโดยเริ่มจาก
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความ
เข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียนก่อนที่จะน�ำเสนอ
ความรู้เรื่องอื่น ๆ ของวิชาจิตวิทยาส�ำหรับครูในบทต่อ ๆ ไป
_13-03(001-008)P2.indd 8 5/31/13 6:53 PM

Weitere ähnliche Inhalte

Andere mochten auch

9789740330592
97897403305929789740330592
9789740330592CUPress
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเเบนดูร่า
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเเบนดูร่าทฤษฎีการเรียนรู้ของเเบนดูร่า
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเเบนดูร่า6Phepho
 
1 จิตวิทยาสำหรับครู
1 จิตวิทยาสำหรับครู1 จิตวิทยาสำหรับครู
1 จิตวิทยาสำหรับครูNatthachai Chalat
 
ทฤษฎีจิตสังคม ของ อีริคสัน
ทฤษฎีจิตสังคม ของ อีริคสันทฤษฎีจิตสังคม ของ อีริคสัน
ทฤษฎีจิตสังคม ของ อีริคสัน6Phepho
 
ฟรอยด์
ฟรอยด์ฟรอยด์
ฟรอยด์ping1393
 
6 จิตวิทยาสำหรับครู
6 จิตวิทยาสำหรับครู6 จิตวิทยาสำหรับครู
6 จิตวิทยาสำหรับครูNatthachai Chalat
 
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)ปกรณ์กฤช ออนไลน์
 

Andere mochten auch (9)

9789740330592
97897403305929789740330592
9789740330592
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเเบนดูร่า
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเเบนดูร่าทฤษฎีการเรียนรู้ของเเบนดูร่า
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเเบนดูร่า
 
1 จิตวิทยาสำหรับครู
1 จิตวิทยาสำหรับครู1 จิตวิทยาสำหรับครู
1 จิตวิทยาสำหรับครู
 
ทฤษฎีจิตสังคม ของ อีริคสัน
ทฤษฎีจิตสังคม ของ อีริคสันทฤษฎีจิตสังคม ของ อีริคสัน
ทฤษฎีจิตสังคม ของ อีริคสัน
 
ฟรอยด์
ฟรอยด์ฟรอยด์
ฟรอยด์
 
6 จิตวิทยาสำหรับครู
6 จิตวิทยาสำหรับครู6 จิตวิทยาสำหรับครู
6 จิตวิทยาสำหรับครู
 
แนวข้อสอบ 100 ข้อ
แนวข้อสอบ  100  ข้อแนวข้อสอบ  100  ข้อ
แนวข้อสอบ 100 ข้อ
 
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
 
สรุปวิชาการศึกษา
สรุปวิชาการศึกษาสรุปวิชาการศึกษา
สรุปวิชาการศึกษา
 

Ähnlich wie 9789740331278

1 กระตุกต่อมคิด
1 กระตุกต่อมคิด1 กระตุกต่อมคิด
1 กระตุกต่อมคิดNirut Uthatip
 
9.หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
9.หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน9.หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
9.หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนnang_phy29
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1khuwawa
 
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียนร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียนNattayaporn Dokbua
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานcartoon656
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานcartoon656
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
บทความบทที่ 2 ภาษาไทย
บทความบทที่  2  ภาษาไทยบทความบทที่  2  ภาษาไทย
บทความบทที่ 2 ภาษาไทยpatcharee0501
 
บทที่ 2 ภาษาไทย
บทที่  2  ภาษาไทยบทที่  2  ภาษาไทย
บทที่ 2 ภาษาไทยpatcharee0501
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8nattawad147
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8benty2443
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8wanneemayss
 
บทความบทที่ 2 คณิตศาสตร์
บทความบทที่  2  คณิตศาสตร์บทความบทที่  2  คณิตศาสตร์
บทความบทที่ 2 คณิตศาสตร์supanyasaengpet
 

Ähnlich wie 9789740331278 (20)

02
0202
02
 
1 กระตุกต่อมคิด
1 กระตุกต่อมคิด1 กระตุกต่อมคิด
1 กระตุกต่อมคิด
 
9.หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
9.หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน9.หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
9.หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
 
2.2
2.22.2
2.2
 
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียนร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
ร่างหลักสูตรสถานศึกษา เนื้อหาโรงเรียน
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
 
K
KK
K
 
ใบงานที่2
ใบงานที่2ใบงานที่2
ใบงานที่2
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทความบทที่ 2 ภาษาไทย
บทความบทที่  2  ภาษาไทยบทความบทที่  2  ภาษาไทย
บทความบทที่ 2 ภาษาไทย
 
บทที่ 2 ภาษาไทย
บทที่  2  ภาษาไทยบทที่  2  ภาษาไทย
บทที่ 2 ภาษาไทย
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทความบทที่ 2 คณิตศาสตร์
บทความบทที่  2  คณิตศาสตร์บทความบทที่  2  คณิตศาสตร์
บทความบทที่ 2 คณิตศาสตร์
 

Mehr von CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Mehr von CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740331278

  • 2. …2…จิตวิทยาสำ�หรับครู “ครู” เป็นผู้ที่มีบทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมและประเทศ ชาติ เพราะงานของครูคืองานสร้าง “คุณภาพ” ความเป็นมนุษย์ให้กับ “ศิษย์” โดยเฉพาะศิษย์ที่ยังเป็นเยาวชนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความ สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ ความรู้ความสามารถ ความคิดและคุณธรรม ความดีงาม มีความรักตนเอง รักผู้อื่น มีความเป็นประชาธิปไตยอย่าง แท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้สังคมและประเทศชาติมีความสงบสุขพร้อมกับ มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภารกิจดังกล่าวมีความยากล�ำบากต้องอาศัย ทั้งพลังกาย พลังใจ ความรู้ความสามารถ จึงพบว่ามีครูไม่มากนักที่ ท�ำหน้าที่ของ “ครู” ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากหลาย ปัจจัย เช่น การขาดจิตส�ำนึกของความเป็นครูที่ดี มีปัญหาชีวิตส่วนตัว หรือขาดแนวทางที่จะปฏิบัติตนให้สามารถบรรลุพันธกิจของการเป็น ครูที่ดีได้ ซึ่งประการหลังนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติม มีผู้ให้ความหมายและแนวทางในการเป็นครูที่ดีไว้หลากหลาย เช่น ลอสัน (Lawson, 2004 อ้างถึงใน Hurst & Reding, 2006: 9) กล่าวว่า ครูคือผู้น�ำทางการศึกษาซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้เรียน เพราะเป็นส่วนส�ำคัญในการกระตุ้นให้ก�ำลังใจและจูงใจให้ผู้เรียนไปสู่ ความส�ำเร็จได้ ดูโฟร (DuFour, 2004 อ้างถึงใน Hurst & Reding, 2006: 63) เชื่อว่า ครูมืออาชีพในสังคมแห่งการเรียนรู้ต้องให้ความส�ำคัญกับค�ำถาม 3 ข้อต่อไปนี้อยู่ตลอดเวลา 1. เราต้องการให้ผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้อะไร 2. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งนั้นแล้ว 3. เมื่อผู้เรียนพบปัญหาในการเรียนรู้ เราจะช่วยเขาได้อย่างไร _13-03(001-008)P2.indd 2 5/31/13 6:53 PM
  • 3. …3… บทนำ� เฮิร์ทและเรดดิง (Hurst & Reding, 2006: 43) กล่าวว่า การเป็น ครูมิได้เป็นเพียงผู้มีบทบาทในการให้ข้อมูลความรู้ที่น่าเชื่อถือแก่ผู้เรียน เท่านั้น ในแต่ละวันที่ครูสอนและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และ การพัฒนางอกงาม ผู้เรียนเองก็ท�ำให้ครูได้เรียนรู้และพัฒนางอกงามไป ด้วยเช่นกัน นิโคลา-ลิซ่าและเบอร์นาฟอร์ด, (Nikola-Lisa & Burnaford, 1994 อ้างถึงใน Santrock, 2009: 6) กล่าวว่า ครูดีคือครูที่มีความพยายามใน การสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน เพราะบางครั้งจะพบว่าขณะที่ครูก�ำลัง สอน แต่ผู้เรียนไม่ได้รับรู้เลยว่าครูก�ำลังสอนอะไร ครูที่ดีคือครูที่สามารถ กระตุ้นให้นักเรียนคิดตามสิ่งที่ครูก�ำลังสอนได้ จากความหมายที่ยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเป็นครูเท่านั้น และดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าครูมีหน้าที่สร้างคุณภาพความเป็นมนุษย์ ให้กับศิษย์ แต่เนื่องจากกระบวนการสอนให้มีประสิทธิภาพนั้นมีความ ซับซ้อน และผู้เรียนในแต่ละชั้นเรียนก็มีความหลากหลาย การสอน ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง จะไม่สามารถช่วยให้ผู้เรียนทุกคนประสบความส�ำเร็จ ในการเรียนรู้ได้ ครูจึงต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้กลยุทธ์การสอนที่ หลากหลาย ยืดหยุ่น เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งแซนโทรค (Santrock, 2009: 6) กล่าวว่า การเป็นครูที่มีประสิทธิภาพมีองค์ประกอบที่ส�ำคัญ 2 ประการคือ 1. ความรู้อย่างมืออาชีพ ครูที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา ที่จะสอน รวมถึงหลักการส�ำคัญของทักษะการสอนเป็นอย่างดี มีกลยุทธ์ ที่เป็นเลิศในการก�ำหนดเป้าหมาย แผนการสอนและการบริหารจัดการ ชั้นเรียน สามารถกระตุ้น สื่อสาร และท�ำงานกับผู้เรียนซึ่งมีความแตกต่าง กันทั้งด้านระดับความสามารถและภูมิหลังได้เป็นอย่างดี สามารถใช้ _13-03(001-008)P2.indd 3 5/31/13 6:53 PM
  • 4. …4…จิตวิทยาสำ�หรับครู เทคนิควิธีการสอนได้อย่างเหมาะสม โดยครูต้องตรวจสอบและพัฒนา ตนเองในเรื่องต่อไปนี้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1.1 ความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชา ในที่นี้มิได้ หมายถึงเฉพาะความรู้ในข้อเท็จจริง สถานการณ์ และความคิดรวบยอด ทั่วไป หากยังหมายถึงความสามารถในการรวบรวมความคิดการเชื่อม โยงแนวคิดต่าง ๆ วิธีการในการคิดและการหาเหตุผล การเปลี่ยนแปลง หลักการ ความเชื่อ และความสามารถที่จะเชื่อมโยงแนวคิดจากหลักการ หนึ่งไปสู่หลักการอื่น ๆ ได้ 1.2 กลยุทธ์การสอน การสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น ผู้เรียนไม่ควรรับความรู้จากครูโดยการจดจ�ำ แต่ควรได้รับการกระตุ้นให้ เปิดโลกค้นหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ ครูควรให้ความส�ำคัญกับการฝึกให้ผู้เรียนท�ำงานร่วมกันเพื่อน�ำไปสู่การ เรียนรู้และเข้าใจบทเรียน มากกว่าการให้ครูเป็นผู้บอกความรู้แก่ผู้เรียน อย่างเดียว 1.3 การก�ำหนดเป้าหมายและทักษะการวางแผนการสอน พินทริคและชัง (Pintrich & Schunk, 2006: 8) กล่าวว่า ครูที่มี ประสิทธิภาพมักจะก�ำหนดเป้าหมายในการสอนและวางแผนไปสู่ เป้าหมายนั้น พร้อมทั้งพัฒนาเกณฑ์เฉพาะเพื่อให้ประสบความส�ำเร็จ เขาจะใช้เวลาค่อนข้างมากในการวางแผนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ ได้มากที่สุด และจะพยายามหาวิธีที่จะท�ำให้บทเรียนมีความท้าทาย น่าสนใจ ส�ำหรับผู้เรียน 1.4 ทักษะการจัดการชั้นเรียน คุณลักษณะที่ส�ำคัญอีก อย่างหนึ่งของครูที่มีประสิทธิภาพคือความสามารถที่จะจัดการให้ผู้เรียน ทั้งห้องท�ำกิจกรรมร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายของการเรียนการสอน ครู จะต้องสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่จะท�ำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ _13-03(001-008)P2.indd 4 5/31/13 6:53 PM
  • 5. …5… บทนำ� นี้ไว้ตลอดเวลา ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้สูงสุด ครูจ�ำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมการด�ำเนินกิจกรรมการเรียน การสอน เช่น การเล่นเกม การร้องเพลง การอภิปราย ฯลฯ ด้วยการ สร้างกฎ กติกา ข้อตกลงในการด�ำเนินกิจกรรม อาจให้กลุ่มช่วยกันดูแล ซึ่งกันและกัน หรือตั้งหัวหน้ากลุ่มช่วยควบคุมไม่ให้ผู้เรียนบางคนกระท�ำ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และของเพื่อนคนอื่น ๆ 1.5 ทักษะในการสร้างแรงจูงใจ ครูที่มีประสิทธิภาพจะมี กลยุทธ์ที่ดีในการช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาแรงจูงใจภายในเพื่อที่จะเรียนรู้ โบรฟี (Brophy, 2004 อ้างถึงใน Santrock, 2006: 9) กล่าวว่า นักจิตวิทยาการศึกษาเชื่อว่าแรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยที่ดีที่สุดที่จะ ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนมีความพยายามเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงไปสู่ การเกิด การเรียนรู้ ครูควรทราบว่าผู้เรียนจะเกิดแรงจูงใจเมื่อเขาสามารถ เลือกแนวทางที่สอดคล้องกับความสนใจส่วนตัวของเขา ครูจึงควรให้ ผู้เรียนมีโอกาสเลือกท�ำโครงการที่เขาสามารถคิดได้อย่างลึกซึ้งและ สร้างสรรค์ด้วยตนเอง 1.6 ทักษะในการติดต่อสื่อสาร ความจริงแล้วทักษะใน การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับมนุษย์ทุกคน ทุกคนต้องการมี ความเข้าใจอันดีกับคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องส่วนตัว การงาน หรือ อาชีพ โดยเฉพาะอาชีพครู ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนหลากหลาย ทั้ง ผู้เรียน เพื่อนร่วมงาน ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน ฯลฯ ครูจึงต้องฝึกทักษะ การติดต่อสื่อสาร อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความส�ำคัญกับการสร้าง สัมพันธภาพกับผู้อื่น โดยการให้ความสนใจ ใส่ใจและรับฟังผู้อื่น รู้จัก สังเกตเพื่อนร่วมงาน เรียนรู้ว่าใครมีนิสัยอย่างไร เช่น บางคนเป็นครูที่ มีความสุขในการท�ำงาน บางคนมีอารมณ์ขัน บางคนเป็นคนคิดบวก _13-03(001-008)P2.indd 5 5/31/13 6:53 PM
  • 6. …6…จิตวิทยาสำ�หรับครู บางคนอยู่ใกล้แล้วเกิดความรู้สึกที่ดี ถ้าเราเป็นครูที่ต้องการมีความสุข มีความกระตือรือร้นในการท�ำงาน ก็ควรเลือกคบหาสมาคมกับเพื่อน ร่วมงานที่มีคุณลักษณะดังกล่าว ครูมืออาชีพจะสามารถใช้ทักษะ การสื่อสารในการท�ำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อน�ำไปสู่การเข้าใจความต้องการ ของผู้เรียนอย่างชัดเจน ถูกต้อง นอกจากนั้นทักษะที่ส�ำคัญในการสอน ก็คือทักษะในการติดต่อสื่อสารทั้งหมด ได้แก่ ทักษะการพูด การฟัง การสื่อสารด้วยค�ำพูด และเข้าใจการสื่อสารด้วยภาษากายของผู้เรียน พร้อมกับระวังภาษากายของครูด้วย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายก็เป็น การสื่อสารถึงผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา บางครั้งแม้จะไม่มีค�ำพูดใด ๆ เลยแต่ ภาษากายที่ครูแสดงออกอาจมีผลให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่นใจ สบายใจ หรือ ในทางตรงกันข้ามอาจท�ำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกหนาวยะเยือก วิตก กังวลได้เช่นกัน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความขัดแย้ง และช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับผู้ปกครอง ผู้บริหาร บุคคลในชุมชน และคนอื่น ๆ อันจะช่วยให้การท�ำงานมีความราบรื่น ประสบความส�ำเร็จได้โดยง่าย ขณะเดียวกันครูที่มีทักษะในการติดต่อ สื่อสารจะช่วยปรับปรุงและพัฒนาทักษะในการสื่อสารของผู้เรียนได้ โดยการซึมซับจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง 1.7 ความเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละ คน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามนุษย์เรามีความแตกต่างกัน เรากับเพื่อน เพศเดียวกัน วัยเดียวกัน มีภูมิหลังที่ใกล้เคียงกันก็มีความชอบ ไม่ชอบ ต่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ความสามารถไม่เท่ากัน ยิ่งในแต่ละห้องเรียน ประกอบด้วยผู้เรียนที่มาจากภูมิหลังต่างกัน พัฒนาการต่างกัน แม้จะ อยู่ในชั้นเรียนเดียวกันก็อาจมีอายุต่างกันได้ประมาณ 1-3 ปี ย่อมต้อง มีธรรมชาติและพัฒนาการที่แตกต่างกันมีความสามารถและความ สนใจต่างกัน ครูจึงจ�ำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีในเรื่อง _13-03(001-008)P2.indd 6 5/31/13 6:53 PM
  • 7. …7… บทนำ� พัฒนาการของมนุษย์และจิตวิทยาความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อ ให้สามารถเลือกวิธีการสอน สื่อการสอน และวางแผนการจัดกิจกรรม การสอนได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของผู้เรียน เฮนนินเจอร์ (Henninger, 2009 อ้างถึงใน Santrock, 2009: 7) กล่าวว่าความเข้าใจ กระบวนการเจริญเติบโตและขั้นพัฒนาการของผู้เรียนมีความส�ำคัญ มากที่สุดต่อการเลือกวิธีการสอนที่จะน�ำไปสู่การเรียนรู้สูงสุดของผู้เรียน แต่ละคน 2. การอุทิศตนและแรงจูงใจ นอกจากคุณสมบัติทั้ง 7 ประการ ที่เป็นองค์ประกอบของ “ความรู้อย่างมืออาชีพ” ในการเป็นครูที่มีประสิทธิภาพแล้ว การเป็นครู ที่ดีหรือครูที่ท�ำหน้าที่สร้าง “คุณภาพ” ความเป็นมนุษย์ให้กับศิษย์ได้ อย่างครบถ้วน เป็นครูที่อยู่ในใจ “ศิษย์” เป็นครูที่ศิษย์รู้สึกเคารพรัก ด้วยความจริงใจนั้น จะต้องกอปรด้วยความเสียสละ อดทน มุ่งมั่น อบรม บ่มเพาะ ศิษย์ทุกคนด้วยความรัก ความเข้าใจ ความหวังดีโดยไม่มี อคติ มีความยุติธรรมต่อศิษย์อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง ซื่อสัตย์ มีศักดิ์ศรี มีความภูมิใจในตนเอง และเคารพในศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ของผู้อื่น คุณลักษณะเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ ต้องอาศัย แรงจูงใจภายในและอุดมคติชีวิตที่ดีงามเป็นพลังผลักดัน แต่ถ้าท�ำได้ ส�ำเร็จ จะได้รับผลตอบแทนที่ล�้ำค่า เพราะผลตอบแทนนั้นคือ ความรัก ความเชื่อถือศรัทธา ความเคารพนับถืออย่างจริงใจจากศิษย์ จาก ผู้ปกครอง จากสังคม การได้เห็นความงอกงาม เจริญก้าวหน้าอย่าง มั่นคงของศิษย์ จะสร้างความสุข ความภูมิใจให้กับ “ครู” ตลอดไปและ บุญกุศลจากการสร้าง “คน” ให้เป็นคนดี มีคุณภาพ มีคุณค่าต่อสังคม ก็เป็นกุศลอันประเสริฐที่จะย้อนกลับมาสนองผู้สร้างด้วยเช่นกัน _13-03(001-008)P2.indd 7 5/31/13 6:53 PM
  • 8. …8…จิตวิทยาสำ�หรับครู จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาความเป็น “ครูดี” จะต้องอาศัยความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และวิชาที่จะสอนอย่าง ถ่องแท้ เชี่ยวชาญและเหนือสิ่งอื่นใดต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ธรรมชาติและพัฒนาการของมนุษย์เป็นอย่างดี เพราะการรู้จักและเข้าใจ ผู้เรียนจะช่วยให้ครูสามารถเลือกเทคนิควิธีการสอนได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด ความสนใจของผู้เรียนอันจะ ช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้ตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนด ไว้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จะน�ำเสนอเนื้อหาความรู้แก่ผู้อ่านโดยเริ่มจาก ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความ เข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียนก่อนที่จะน�ำเสนอ ความรู้เรื่องอื่น ๆ ของวิชาจิตวิทยาส�ำหรับครูในบทต่อ ๆ ไป _13-03(001-008)P2.indd 8 5/31/13 6:53 PM