SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 8
Downloaden Sie, um offline zu lesen
บทนํา 1
พอลิเมอร์ (polymer) เป็นสารประกอบขนาดใหญ่ มีมวลโมเลกุลค่อนข้างสูง โดยมีค่า
อย่างน้อย 1,000 กรัม/โมล หรือมากกว่า สามารถเกิดขึนในธรรมชาติ หรือสังเคราะห์ขึนมาได้
ประกอบด้วยโมเลกุลเคมีเล็กๆ ซึงเหมือนกันเรียกว่า มอนอเมอร์ (monomer) มาเรียงต่อกันด้วย
พันธะเคมีจนเป็นโมเลกุลใหญ่ โดยแต่ละโมเลกุลเล็กๆ ทีมาเรียงต่อกันมีสูตรทางเคมีซํากัน เรียก
หน่วยย่อยๆ ทีซํากันในสายพอลิเมอร์นีว่า หน่วยซํา (repeat unit) คําว่า "พอลิเมอร์" มาจาก
ภาษากรีก 2 คําประกอบกัน คือคําว่า "poly" ซึงหมายถึง จํานวนมาก รวมกับคําว่า "meros"
แปลว่า ส่วนหรือหน่วยย่อย โดยใน ค.ศ. 1833 เบอร์เซอเรียส (Berzelius) [1] นักเคมีชาวสวีเดน
เป็นผู้นําคํา polymer มาใช้เป็นครังแรก
1.1 วิวัฒนาการการใช้ประโยชน์ของพอลิเมอร์
ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินัน ได้มีการแบ่งยุคสมัยตามวัสดุทีใช้ทําสิงของเครืองใช้
ต่างๆ เช่น ยุคหิน ยุคทองแดง ยุคบรอนซ์ ยุคโลหะ ถึงแม้จะไม่มีการแบ่งเป็นยุคพอลิเมอร์ก็ตาม
แต่มนุษย์รู้จักนําวัสดุพอลิเมอร์ในธรรมชาติมาใช้เป็นประโยชน์ตังแต่สมัยโบราณ ทังๆ ทียังไม่เคย
มีใครรู้จักคําว่าพอลิเมอร์เลย โดยรู้จักใช้ใบไม้ ขนสัตว์ เป็นเครืองปกปิดร่างกาย ต่อมาได้มีการ
พัฒนาโดยรู้จักการนําเส้นใยจากขนสัตว์ เส้นใยจากไหม และเส้นใยจากพืช เช่น ฝ้าย ปอ มาทําเป็น
เสือผ้าเครืองนุ่งห่ม ซึงนํามาใช้เป็นประโยชน์ไม่น้อยกว่า 5-6 พันปีล่วงมาแล้วก่อนคริสตศักราช
ชาวจีนรู้จักทําผ้าจากใยไหม ชาวอียิปต์รู้จักใช้ผ้าลินินทีทําจากปอมาใช้ห่อมัมมี ชาวโรมันได้ใช้นํา
ยางจากต้นมาสติก (mastic) และเชลแล็ก (shellac) ในการเคลือบผิวภาชนะสิงของเครืองใช้ต่างๆ
ประโยชน์จากการใช้พอลิเมอร์ธรรมชาติได้มีวิวัฒนาการมาเรือยๆ จนใน ค.ศ. 1492 คริสโตเฟอร์
โคลัมบัส (Christopher Columbus) [2] นักสํารวจชาวอิตาลี และนักสํารวจคนอืนๆ ทีค้นพบทวีป
อเมริกา พบว่าคนพืนเมืองรู้จักนํายางธรรมชาติจากต้นยาง (Hevea brasiliensis) มาทําเป็น
วัสดุเครืองใช้ เช่น ทํารองเท้ายาง ทําขันนํา และทําภาชนะบรรจุสิงของอืนๆ ใน ค.ศ. 1760 ตาม
ประวัติศาสตร์จีน ได้มีโรงงานผลิตขึนรูปหวีจากเชลแล็ก ทีเป็นโรงงานอุตสาหกรรมรายแรกซึงใช้
ประโยชน์จากพอลิเมอร์ธรรมชาติ
ในระยะเริมต้นยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของพอลิเมอร์ ทําให้การนํายางธรรมชาติ
มาใช้ประโยชน์จึงเป็นไปได้น้อย ทังนีเพราะสมบัติของยางจะปลียนไปตามความร้อนของอากาศ
จนกระทังใน ค.ศ. 1839 ชาร์ลส์ กูดเยียร์ (Charles Goodyear) [3-5] นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันได้
ทําการปรับปรุงสมบัติของยางธรรมชาติ โดยการเติมกํามะถันลงไปในปริมาณเหมาะสม พร้อม
กับให้ความร้อนทีอุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวของกํามะถัน ทําให้ยางมีสภาพคงตัวในอุณหภูมิ
2
ต่างๆ ทนต่อความร้อน แสง และละลายในตัวทําละลายยากขึน ซึงเรียกกระบวนการนีว่า วัลคะไน-
เซชัน (vulcanization) การทดลองของชาร์ลส์ กูดเยียร์นีถือเป็นจุดเริมต้นของการศึกษาทาง
วิทยาศาสตร์ของพอลิเมอร์ก็ว่าได้ ยางธรรมชาติทีผ่านกระบวนการนีเรียกว่ายางวัลคะไนซ์ ยาง
ทีเติมกํามะถันในปริมาณทีเหมาะสม ทําให้เกิดพันธะโคเวเลนต์ของกํามะถันเชือมต่อระหว่างสาย
พอลิไอโซพรีนในบางตําแหน่ง เมือได้รับแรงกระทํา สายโซ่จะไม่เลือนหลุดออกจากกันได้ง่าย จึง
ทําให้ยางมีความยืดหยุ่นคงรูปร่างมากขึน ยางวัลคะไนซ์มีสมบัติเชิงกลดีขึน และใช้ประโยชน์ได้
อย่างกว้างขวาง ซึงชาร์ลส์ กูดเยียร์ได้แสดงตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทีทําจากยางวัลคะไนซ์มากมายใน
งานแสดงสินค้าทังทีประเทศอังกฤษและฝรังเศส เช่น หวี ด้ามจับมีด เฟอร์นิเจอร์ ฉนวนหุ้มสายไฟ
ของเล่นเด็ก และอุปกรณ์กีฬาชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตาม เป็นทีน่าเสียดายทีนักวิทยาศาสตร์อย่าง
เช่นชาร์ลส์เสียชีวิตก่อนทีจะได้รับรู้ถึงการเริมต้นอุตสาหกรรมการผลิตยางวัลคะไนซ์อย่างแท้จริง
ต่อมาได้มีการปรุงแต่งยางธรรมชาติจนได้ยางทีแข็งมาก และมีสมบัติเป็นพลาสติกเรียกว่า อีโบไนต์
(ebonite) ซึงเป็นผลิตภัณฑ์ยางทีเนลสัน (Nelson) น้องชายของกูดเยียร์ได้จดทะเบียนการค้าไว้ใน
ค.ศ. 1851 ซึงอาจกล่าวได้ว่า อีโบไนต์เป็นพลาสติกชนิดแรกที
มนุษย์รู้จักทําขึนจากพอลิเมอร์ทีมีในธรรมชาติ ยังมีการประดิษฐ์
คิดค้นสังเคราะห์พอลิเมอร์ชนิดต่างๆ ขึนมาอีกมากมาย ดังเช่นใน
ค.ศ. 1847 คริสเตียน เอฟ. ชอนเบียน (Christain F. Schönbein)
ได้ทําการสังเคราะห์เซลลูโลสไนเทรต โดยการนําเซลลูโลสจาก
ฝ้ ายมาทําปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกและกรดไนทริก ซึงถือว่าเป็น
เทอร์โมพลาสติกชนิดแรกทีมนุษย์ประดิษฐ์ขึน ต่อมาใน ค.ศ. 1866
จอห์น ไฮแอท (John W. Hyatt) ชาวอเมริกัน พบว่าเมือผสมผง
การบูรกับเซลลูโลสไนเทรต พร้อมทังให้ความร้อนและความดัน
ผลลัพธ์ทีได้ก็คือวัสดุทีมีสมบัติดีขึนและคล้ายงาช้าง ซึงได้ถูกนําไป
ใช้ประโยชน์ในชือทางการค้าว่าเซลลูลอยด์ (celluloid) โดยสามารถ
นําเซลลูลอยด์มาใช้ทดแทนผลิตภัณฑ์ทีทําจากงาช้าง เขาสัตว์ หรือ
กระดองสัตว์ ประเภทหวี และเครืองประดับได้เป็นอย่างดี อันเป็น
การลดการล่าและการฆ่าสัตว์ลงได้อย่างมากในสมัยนัน แต่อย่างไร
ก็ตาม สมบัติของเซลลูลอยด์ทีผลิตได้ในขณะนันยังไม่เพียงพอ
สําหรับผลิตภัณฑ์อีกหลายประเภท เช่น อุปกรณ์ทางด้านทันตกรรม
ลูกบิลเลียด ฟิล์มภาพยนตร์ ตลอดจนงานด้านวิศวกรรม ข้อจํากัด
ของเซลลูลอยด์ก็คือ เป็นวัสดุทีขึนรูปค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม
ประโยชน์การใช้ของเซลลูลอยด์ในสมัยนันก็ยังแพร่หลายมาก
ชาร์ลส์ กูดเยียร์
1800–1860 [5]
ประดิษฐ์ยางวัลคะไนซ์
เลโอ เฮนดริค แบเคลแลนด์
1863–1944 [6]
ประดิษฐ์เบคิไลต์
3
ใน ค.ศ. 1907 เลโอเฮนดริคแบเคลแลนด์ (Leo Hendrik Baekeland) [6] นักวิจัยเคมีชาว
เบลเยียมได้ผลิตเบคิไลต์ (Bekelite) จากปฏิกิริยาระหว่างฟีนอล (phenol) และฟอร์มาลดีไฮด์
(formaldehyde) การพัฒนานีเกิดขึนจากความต้องการหาวัสดุทดแทนเชลแล็ก เบคิไลต์นับเป็น
พอลิเมอร์สังเคราะห์ชนิดแรกทีใช้ในเชิงพาณิชย์ เพราะไม่มีส่วนประกอบใดๆ ทีได้จากธรรมชาติ
เลย เบคิไลต์จัดเป็นเทอร์โมเซตของฟีนอล-ฟอร์มาลดีไฮด์เรซิน และถูกพัฒนาต่อมาโดยรู้จักกันใน
ชือ ฟีนอลิก (phenolics) ซึงเป็นวัสดุทีคงรูปเมือสังเคราะห์เสร็จ และไม่สามารถนํากลับมาหลอม
ขึนรูปใหม่ได้ ฟีนอลิกมีประโยชน์ใช้งานมากมาย สามารถทดแทนงาช้างสําหรับทําลูกบิลเลียดซึง
นิยมเล่นกันในสมัยนันได้เป็นอย่างดี ทังยังเป็นฉนวนทีดีสําหรับระบบไฟฟ้าในยานยนต์ ตลอดจน
ชินส่วนของอุปกรณ์สือสารและเครืองบินทีใช้ในสงครามโลกครังที 1 นอกจากฟีนอลิกแล้ว เรยอน
(rayon) เป็นอีกตัวอย่างหนึงของพอลิเมอร์สังเคราะห์ทีใช้ทําเส้นใยเพือทดแทนใยไหมจากธรรมชาติ
และเป็นพอลิเมอร์ทีใช้อยู่จนถึงในปัจจุบันนี จากการค้นพบเบคิไลต์และเรยอนนี ทําให้วิวัฒนาการ
ด้านเคมีอินทรีย์มีการเติบโตและขยายขอบเขตอย่างกว้างขวาง ซึงนับเป็นก้าวสําคัญสู่การพัฒนา
พอลิเมอร์สังเคราะห์ในระดับอุตสาหกรรม นอกจากนีแล้วยังมีการสังเคราะห์เทอร์โมเซตตัวอืนอีก
เช่น กริปทัล (glyptal) ซึงเป็นเรซินพวกพอลิเอสเทอร์ทีไม่อิมตัว (unsaturated polyester resin)
ต่อมาประมาณ ค.ศ. 1930 บริษัทดูปองต์ (Du Pont) ในสหรัฐอเมริกาได้ผลิตไนลอน (nylon) และ
เทฟลอน (TeflonTM) ออกจําหน่าย ในปัจจุบันได้มีการสังเคราะห์พอลิเมอร์ในระดับอุตสาหกรรม
และใช้ในเชิงการค้ามากมาย เช่น พีวีซี พอลิเอทิลีน พอลิสไตรีน และอืนๆ
ตังแต่สงครามโลกครังที 2 เป็นต้นมา วัสดุพวกพอลิเมอร์หรือพลาสติกได้เข้ามามีบทบาท
ในชีวิตประจําวันของทุกคนเป็นอย่างมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น ยุคพอลิเมอร์ คงไม่มีใครปฏิเสธ
ได้เลยว่า ในชีวิตนีไม่เคยสัมผัสกับสิงของเครืองใช้ทีทําจากสารพอลิเมอร์หรือพลาสติก เนืองจาก
พอลิเมอร์ทังในธรรมชาติและทีสังเคราะห์ขึนมา สามารถนําไปแปรรูปเป็นสิงของเครืองใช้ได้หลาย
ลักษณะทังชินเล็ก ชินใหญ่ อีกทังสภาพการใช้งานก็ทนทาน เบา สะดวกแก่การเคลือนย้าย มีสีสัน
สวยงามน่าใช้ และทีสําคัญก็คือมีราคาถูกกว่าพวกโลหะ ด้วยเหตุนีการเติบโตของพอลิเมอร์ในเชิง
พาณิชย์ และการค้นคว้าวิจัยสังเคราะห์จึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพือทีจะนําเอาสิงเหล่านีเข้ามาใช้
ทดแทนโลหะและวัสดุธรรมชาติอืนๆ นอกจากพอลิเมอร์สังเคราะห์มีบทบาทในชีวิตประจําวัน
โดยตรงของทุกคนแล้ว ยังมีบทบาทสําคัญต่อการขยายตัวทางภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเป็น
อย่างมากอีกด้วย พอลิเมอร์หลายประเภทช่วยทําให้ความฝันทางวิทยาศาสตร์ทีมนุษย์สามารถ
เดินทางออกนอกโลก หรือเดินทางสู่อวกาศเป็นจริงขึนมา ยุคอวกาศเกิดขึนใน ค.ศ. 1957 เมือ
สหภาพโซเวียตส่งยานดาวเทียมสพูทนิค (Sputnik) [7] ซึงเป็นยานดาวเทียมดวงแรกของโลกเข้าสู่
ระบบวงโคจรในห้วงอวกาศ นับจากวันนันเป็นต้นมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีอวกาศเพือพัฒนา
ยานหรืออุปกรณ์ต่างๆ ในการพิชิตอวกาศจึงเกิดขึนอย่างต่อเนืองอย่างไม่หยุดยังจนถึงปัจจุบัน
ความสําเร็จในการพิชิตอวกาศนีจะเป็นจริงได้ก็อยู่บนพืนฐานของการพัฒนาวัสดุพลาสติกทีมี
นําหนักเบาและมีความแข็งแรง ตลอดจนทนต่อภาวะเปลียนแปลงของอุณหภูมิและสิงแวดล้อม
4
ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จากทีกล่าวมาข้างต้นอาจลําดับประวัติการใช้พอลิเมอร์ของยุคพอลิเมอร์ได้
4 ช่วงดังนีคือ 1) ช่วงพอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่น ยางธรรมชาติ เชลแล็ก ยางไม้ 2) ช่วงพอลิเมอร์
กึงสังเคราะห์ เช่น เซลลูโลสไนเทรต เซลลูลอยด์ 3) ช่วงพอลิเมอร์สังเคราะห์ยุคต้น เช่น เบคิไลต์
ฟีนอลิก เรยอน 4) ช่วงพอลิเมอร์สังเคราะห์เชิงพาณิชย์ หรือพอลิเมอร์ระดับอุตสาหกรรม เช่น
ไนลอน เทฟลอน พอลิเอทิลีน พอลิสไตรีน พีวีซี
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าพอลิเมอร์จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็เป็นสิงทีก่อให้เกิดมลภาวะ
ต่อสิงแวดล้อมมากมายเช่นกัน ด้วยเหตุทีพอลิเมอร์มีการสลายตัวยาก มีความทนทานต่อนํา
แสงแดด และอากาศ เมือใช้งานแล้วจึงตกค้างอยู่ในสิงแวดล้อมทังในดินและนํา ดังนัน ในปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นวิธีกําจัดพอลิเมอร์หรือพลาสติกทีใช้แล้ว รวมทังค้นคว้าเพือสังเคราะห์
ผลิตพอลิเมอร์ชนิดใหม่ๆ ทีสามารถใช้ประโยชน์ในช่วงระยะเวลาหนึง หลังจากนันจะเสือมสลายไป
หรือสังเคราะห์พลาสติกพอลิเมอร์ทีจุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ หรือพยายามนําพลาสติกกลับ
มาใช้ใหม่ได้อีก เพือเป็นการลดมลภาวะต่อสิงแวดล้อม
1.2 วิทยาศาสตร์ของพอลิเมอร์
ในปัจจุบันได้มีการสังเคราะห์และผลิตพอลิเมอร์ขึนอย่างมากมาย เพือนํามาใช้ประโยชน์
อย่างจริงจัง รวมทังการผลิตในเชิงพาณิชย์ด้วย ประโยชน์การใช้งานของพอลิเมอร์เป็นไปตาม
สมบัติและลักษณะของพอลิเมอร์ใน 5 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1) พวกพลาสติก 2) พวกรับเบอร์
3) พวกไฟเบอร์ 4) พวกนํายาเคลือบผิว และ 5) พวกสารยึดติด (adhesives) ทําให้วัสดุติดกันได้
ในระยะแรกๆ ความรู้ในการอธิบายถึงสมบัติ และลักษณะของพอลิเมอร์แต่ละชนิดมีน้อย
และไม่ค่อยเป็นทีเข้าใจกัน ทังนีเพราะขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านเคมีพืนฐานของพอลิเมอร์
เหล่านัน สารประกอบพอลิเมอร์มีธรรมชาติและสมบัติแตกต่างจากสารอินทรีย์ทีมีมวลโมเลกุลตํา
ทัวไป กล่าวคือ การทําให้พอลิเมอร์บริสุทธิ โดยวิธีการตกผลึกเป็นไปได้ยาก จึงเป็นอุปสรรคใน
การศึกษาสมบัติทางกายภาพโดยทัวไป ประการสําคัญอีกอย่างหนึงก็คือสารประกอบพอลิเมอร์มี
ความสามารถในการละลายตํา จนบางครังไม่สามารถละลายในตัวทําละลายใดๆ ได้ จึงเกิดเป็นสาร
แขวนลอยในตัวทําละลาย และจากการหามวลโมเลกุลโดยวิธีง่ายๆ โดยอาศัยสมบัติคอลลิเกทิฟ
ของสาร ผลปรากฏว่ามวลโมเลกุลทีหาได้มีค่าไม่สูงมากนัก จึงทําให้ในระยะแรกๆ นันเข้าใจว่า
สารประกอบพอลิเมอร์เป็นอนุภาคคอลลอยด์ทีเกิดจากการรวมตัวของโมเลกุลเล็กๆ เป็นจํานวน
มากเท่านัน จนกระทังในช่วง ค.ศ. 1920 เฮอร์มานน์ สตอดิงเจอร์ (Hermann Staudinger) [8-10]
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เป็นคนแรกทีเสนอสมมติฐานเกียวกับโมเลกุลของสารประกอบพอลิ-
เมอร์ว่า สารประกอบพอลิเมอร์เกิดจากการทีสารโมเลกุลเล็กจํานวนมากมาเรียงต่อกันเป็น
สายโซ่ยาวด้วยพันธะโคเวเลนต์ ไม่ใช่เพียงการรวมตัวกันของคอลลอยด์ ทําให้พอลิเมอร์
เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ มีมวลโมเลกุลสูง แต่สมมติฐานของสตอดิงเจอร์นีไม่เป็นทียอมรับในระยะ
5
แรก ทังนีเพราะขาดหลักฐานยืนยัน จนกระทัง ค.ศ. 1929 วอลเลซ ฮูม คาโรเธอร์ส (Wallace
Hume Carothers) [11] นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้ค้นพบไนลอน ได้ทําการค้นคว้าวิจัยควบคู่
เฮอร์มานน์ สตอดิงเจอร์
1881–1965 [9]
เสนอทฤษฎีพอลิเมอร์
วอลเลซ ฮูม คาโรเธอร์ส
1896–1937 [11]
สังเคราะห์ไนลอน
กับการพัฒนาวิธีการทดลอง และใช้เครืองมือวัดหามวลโมเลกุลแบบ
ใหม่ เช่นวิธีรังสีเอกซ์ (X-ray) ได้พิสูจน์ว่าพอลิเมอร์ประกอบด้วย
หน่วยเล็กๆ (mer) หรือเรียกว่าหน่วยซํามาเชือมต่อกันเป็นสายโซ่ยาว
ซึงถือเป็นหลักฐานแสดงอย่างแน่ชัดว่า สมมติฐานของสตอดิงเจอร์
เป็นจริง จากผลงานทีสตอดิงเจอร์เป็นผู้บุกเบิกหรือเปิดทางเกียวกับ
ความรู้ทางด้านเคมีของพอลิเมอร์ จนเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วตราบ
เท่าทุกวันนี เป็นเหตุให้สตอดิงเจอร์ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel prize)
สาขาเคมีใน ค.ศ. 1953 จากการทีคาโรเธอร์สได้สังเคราะห์และผลิต
เส้นใยไนลอน 6.6 ขึน ซึงเป็นเส้นใยสังเคราะห์ชนิดแรกของโลก และ
นับว่าเป็นการปูพืนฐาน สําหรับอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยในยุคต่อมา
เส้นใยไนลอนมีสมบัติแข็งแรง เหนียว และยืดหยุ่น ทําให้คาโรเธอร์ส
นําเส้นใยไนลอนมาใช้ประโยชน์มากมาย โดยทดแทนขนสัตว์เพือทํา
ขนแปรงสีฟันและเส้นใยไหม ในสมัยนันผลิตภัณฑ์ทีทําให้ไนลอนเป็น
ทีรู้จักกันอย่างสูงสุดก็คือถุงน่องของสุภาพสตรี ซึงในขณะนันมียอด
ขายของถุงน่องไนลอนสูงถึง 4 ล้านคู่ในเวลาเพียงวันเดียว จาก
หลักการทีว่าพอลิเมอร์ประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ มาต่อกันด้วยพันธะ
เคมีเป็นสายโซ่ยาวนีเอง เปรียบเสมือนจุดเริมต้นของการพัฒนาและ
การสังเคราะห์พอลิเมอร์ชนิดใหม่ๆ ออกมาใช้ประโยชน์ได้มากมายใน
ปัจจุบัน
พอลิเมอร์ประกอบขึนด้วยโมเลกุลเล็กๆ ทีเรียกว่ามอนอเมอร์มาต่อเรียงซํากันไปตลอด
สายโซ่ ดังนัน ความยาวหรือขนาดของสายโซ่ ตลอดจนมวลโมเลกุลของพอลิเมอร์ขึนอยู่กับดีกรี
ของการเกิดสายโซ่ (degree of polymerization) เช่น พอลิเอทิลีน ทีมีดีกรีของการเกิดสายโซ่
เท่ากับ 2,000 มีมวลโมเลกุลสูงถึง 56,000 กรัม/โมล โดยทีหน่วยซําของพอลิเอทิลีนคือเอทิลีน ซึง
มีมวลโมเลกุลเพียง 28 กรัม/โมล ส่วนพอลิเมอร์ทีนํามาใช้ประโยชน์มักจะมีมวลโมเลกุลอยู่ในช่วง
104 ถึง 106 กรัม/โมล หรือมากกว่า มวลโมเลกุลของพอลิเมอร์มีส่วนสัมพันธ์กับขนาดของโมเลกุล
ถ้ามวลโมเลกุลสูงพอลิเมอร์นันก็มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย และสามารถทําการทดลองหามวล
โมเลกุลได้โดยวิธีการหลายอย่าง เช่น วิธีวิเคราะห์หมู่ปลาย วิธีทีอาศัยสมบัติคอลลิเกทิฟ วิธีวัด
ความหนืด และวิธีวัดการกระจายแสง
คําว่า พอลิเมอร์ และคําว่า แมโครโมเลกุล (macromolecule) มักเกิดความเข้าใจสับสน
กันบ้างในบางครัง สารแมโครโมเลกุลหมายถึงสารทีมีโมเลกุลขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น โปรตีน
กรดนิวคลิอิก ดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) และพวกเอนไซม์ต่างๆ
6
(3)
O
R"R'R
C-CH-NH-C-CH-NH-C-CH-NH
O O
ส่วนหนึงของโปรตีน
หมู่ R, R', R",... ในกรดอะมิโนทีมาต่อกันเป็นโปรตีนมีความแตกต่างกันถึง 20 ชนิด จึง
จัดโปรตีนเป็นพวกแมโครโมเลกุล ทังนีเพราะไม่มีหน่วยซําดังเช่นในโมเลกุลของพอลิเมอร์ นัน
แสดงว่าพอลิเมอร์จัดเป็นสารโมเลกุลใหญ่พวกแมโครโมเลกุลได้ แต่สารพวกแมโครโมเลกุลอาจ
เป็นหรือไม่เป็นพอลิเมอร์ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไม่ค่อยเคร่งครัดกับการใช้ศัพท์ 2 คํานีมาก
นัก โดยมีการเรียกพวกโปรตีนเป็นพอลิเมอร์ด้วย แต่โดยแท้จริงแล้วศัพท์คําว่า พอลิเมอร์ และ
แมโครโมเลกุล มีความหมายต่างกันอยู่เล็กน้อย กล่าวคือ สารพอลิเมอร์มีหน่วยซํา แต่สารแมโคร
โมเลกุลไม่มีหน่วยซํา
1.3 ความสําคัญของเคมีพืนฐานสําหรับพอลิเมอร์
ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ทีได้ หากทราบถึงโครงสร้างทางเคมีของโมเลกุลของพอลิเมอร์ จะ
เป็นตัวสําคัญทีทําให้ทราบถึงธรรมชาติ ตลอดจนสมบัติต่างๆ ของพอลิเมอร์ อันเป็นประโยชน์ต่อ
เทคโนโลยีของกระบวนการผลิตพอลิเมอร์ หรือการคิดค้นการนําพอลิเมอร์ไปใช้ให้เป็นประโยชน์
ในชีวิตประจําวันได้อย่างสูงสุด
ผลผลิต
พอลิเมอร์
(1) โครงสร้าง
ของโมเลกุล
(2) สมบัติต่อขบวนการผลิต
(4)
สมบัติต่อวัสดุศาสตร์
(5)
การนําไปใช้ประโยชน์
จากแผนภาพ เมือทราบถึงโครงสร้างทางเคมีของพอลิเมอร์ ซึงเป็นตัวการสําคัญในการ
อธิบายปัญหาต่างๆ อันจะเกิดขึนได้ดังนี
1. ทําอย่างไรจึงสามารถเตรียมพอลิเมอร์ให้มีโครงสร้างตามทีต้องการได้
2. โครงสร้างโมเลกุลของพอลิเมอร์มีผลอย่างไรต่อกระบวนการผลิตหรือกระบวนการแปรสภาพ
3. สมบัติทางด้านวัสดุศาสตร์ขึนอยู่กับโครงสร้างของพอลิเมอร์หรือไม่ อย่างไร
4. กระบวนการแปรสภาพมีผลต่อสมบัติทางด้านวัสดุศาสตร์อย่างไร
7
5. การทีทราบถึงสมบัติทางด้านวัสดุศาสตร์ แล้วนําผลิตภัณฑ์ทีได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะ
ทําได้อย่างไรบ้าง
จากทีกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า เคมีพืนฐานของพอลิเมอร์เป็นส่วนสําคัญในการศึกษา และ
เข้าใจกระบวนการปรากฏการณ์ธรรมชาติของพอลิเมอร์เอง และเทคโนโลยีในการทีนําพอลิเมอร์
ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนีเคมีพืนฐานของพอลิเมอร์ยังสามารถอธิบายถึงการสลายตัวของ
พอลิเมอร์ได้ อันเป็นประโยชน์ในการผลิตวัสดุพอลิเมอร์ให้สลายตัวเมือใช้ไปได้ในระยะเวลาหนึง
อันเป็นการลดมลภาวะต่อสิงแวดล้อม
8
คําถามท้ายบทที 1
1. พอลิเมอร์คืออะไร มีประโยชน์หรือโทษอย่างไรบ้าง
2. คําว่า พอลิเมอร์ และ แมโครโมเลกุล มีความหมายเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
3. โครงสร้างทางเคมีของพอลิเมอร์มีผลต่อสมบัติต่างๆ ของพอลิเมอร์หรือไม่
4. เคมีพืนฐานของพอลิเมอร์มีความสําคัญอย่างไร

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์oraneehussem
 
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตนแอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตนjirat266
 
คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์
คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์
คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์jirat266
 
แอลเคน แอลคีน แอลไคน์
แอลเคน แอลคีน แอลไคน์แอลเคน แอลคีน แอลไคน์
แอลเคน แอลคีน แอลไคน์jirat266
 
Complexation2555
Complexation2555Complexation2555
Complexation2555adriamycin
 

Was ist angesagt? (8)

Biomolecule
BiomoleculeBiomolecule
Biomolecule
 
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
 
Polymer and lipid
Polymer and lipidPolymer and lipid
Polymer and lipid
 
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตนแอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
 
คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์
คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์
คาร์บอกซิลิก เอสเทอร์
 
แอลเคน แอลคีน แอลไคน์
แอลเคน แอลคีน แอลไคน์แอลเคน แอลคีน แอลไคน์
แอลเคน แอลคีน แอลไคน์
 
Hydrocarbon compound
Hydrocarbon  compoundHydrocarbon  compound
Hydrocarbon compound
 
Complexation2555
Complexation2555Complexation2555
Complexation2555
 

Andere mochten auch

E0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899 obec
E0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899 obecE0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899 obec
E0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899 obecThana Sithiarduel
 
9789740335498
97897403354989789740335498
9789740335498CUPress
 
บัญชีคำพื้นฐานชั้นเด็กเล็กถึง ป.3
บัญชีคำพื้นฐานชั้นเด็กเล็กถึง ป.3บัญชีคำพื้นฐานชั้นเด็กเล็กถึง ป.3
บัญชีคำพื้นฐานชั้นเด็กเล็กถึง ป.3Jaru O-not
 
9789740333081
97897403330819789740333081
9789740333081CUPress
 
9789740331889
97897403318899789740331889
9789740331889CUPress
 
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนรายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนManoonpong Srivirat
 
บทที่ 2 ตารางธาตุ
บทที่ 2 ตารางธาตุบทที่ 2 ตารางธาตุ
บทที่ 2 ตารางธาตุGawewat Dechaapinun
 
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007Thidarat Termphon
 
โครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลโครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลพัน พัน
 
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9banlangkhao
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจของบริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชี่ยลจำกัด(Kanpeansan)
ตัวอย่างแผนธุรกิจของบริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชี่ยลจำกัด(Kanpeansan)ตัวอย่างแผนธุรกิจของบริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชี่ยลจำกัด(Kanpeansan)
ตัวอย่างแผนธุรกิจของบริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชี่ยลจำกัด(Kanpeansan)Nattakorn Sunkdon
 

Andere mochten auch (20)

คค
 
อาหาร Fast food
อาหาร Fast foodอาหาร Fast food
อาหาร Fast food
 
E0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899 obec
E0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899 obecE0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899 obec
E0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899 obec
 
08
0808
08
 
9789740335498
97897403354989789740335498
9789740335498
 
บัญชีคำพื้นฐานชั้นเด็กเล็กถึง ป.3
บัญชีคำพื้นฐานชั้นเด็กเล็กถึง ป.3บัญชีคำพื้นฐานชั้นเด็กเล็กถึง ป.3
บัญชีคำพื้นฐานชั้นเด็กเล็กถึง ป.3
 
9789740333081
97897403330819789740333081
9789740333081
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
9789740331889
97897403318899789740331889
9789740331889
 
184 bb10
184 bb10184 bb10
184 bb10
 
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนรายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
รายงานการศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
 
บทนำ
บทนำบทนำ
บทนำ
 
บทที่ 2 ตารางธาตุ
บทที่ 2 ตารางธาตุบทที่ 2 ตารางธาตุ
บทที่ 2 ตารางธาตุ
 
บทนำ (1)
บทนำ (1)บทนำ (1)
บทนำ (1)
 
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007
หลักการเกษตรอินทรีย์ ม.ต้น อช02007
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
โครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลโครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิล
 
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจของบริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชี่ยลจำกัด(Kanpeansan)
ตัวอย่างแผนธุรกิจของบริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชี่ยลจำกัด(Kanpeansan)ตัวอย่างแผนธุรกิจของบริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชี่ยลจำกัด(Kanpeansan)
ตัวอย่างแผนธุรกิจของบริษัทกำแพงแสนคอมเมอร์เชี่ยลจำกัด(Kanpeansan)
 

Mehr von CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Mehr von CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740331209

  • 1. บทนํา 1 พอลิเมอร์ (polymer) เป็นสารประกอบขนาดใหญ่ มีมวลโมเลกุลค่อนข้างสูง โดยมีค่า อย่างน้อย 1,000 กรัม/โมล หรือมากกว่า สามารถเกิดขึนในธรรมชาติ หรือสังเคราะห์ขึนมาได้ ประกอบด้วยโมเลกุลเคมีเล็กๆ ซึงเหมือนกันเรียกว่า มอนอเมอร์ (monomer) มาเรียงต่อกันด้วย พันธะเคมีจนเป็นโมเลกุลใหญ่ โดยแต่ละโมเลกุลเล็กๆ ทีมาเรียงต่อกันมีสูตรทางเคมีซํากัน เรียก หน่วยย่อยๆ ทีซํากันในสายพอลิเมอร์นีว่า หน่วยซํา (repeat unit) คําว่า "พอลิเมอร์" มาจาก ภาษากรีก 2 คําประกอบกัน คือคําว่า "poly" ซึงหมายถึง จํานวนมาก รวมกับคําว่า "meros" แปลว่า ส่วนหรือหน่วยย่อย โดยใน ค.ศ. 1833 เบอร์เซอเรียส (Berzelius) [1] นักเคมีชาวสวีเดน เป็นผู้นําคํา polymer มาใช้เป็นครังแรก 1.1 วิวัฒนาการการใช้ประโยชน์ของพอลิเมอร์ ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินัน ได้มีการแบ่งยุคสมัยตามวัสดุทีใช้ทําสิงของเครืองใช้ ต่างๆ เช่น ยุคหิน ยุคทองแดง ยุคบรอนซ์ ยุคโลหะ ถึงแม้จะไม่มีการแบ่งเป็นยุคพอลิเมอร์ก็ตาม แต่มนุษย์รู้จักนําวัสดุพอลิเมอร์ในธรรมชาติมาใช้เป็นประโยชน์ตังแต่สมัยโบราณ ทังๆ ทียังไม่เคย มีใครรู้จักคําว่าพอลิเมอร์เลย โดยรู้จักใช้ใบไม้ ขนสัตว์ เป็นเครืองปกปิดร่างกาย ต่อมาได้มีการ พัฒนาโดยรู้จักการนําเส้นใยจากขนสัตว์ เส้นใยจากไหม และเส้นใยจากพืช เช่น ฝ้าย ปอ มาทําเป็น เสือผ้าเครืองนุ่งห่ม ซึงนํามาใช้เป็นประโยชน์ไม่น้อยกว่า 5-6 พันปีล่วงมาแล้วก่อนคริสตศักราช ชาวจีนรู้จักทําผ้าจากใยไหม ชาวอียิปต์รู้จักใช้ผ้าลินินทีทําจากปอมาใช้ห่อมัมมี ชาวโรมันได้ใช้นํา ยางจากต้นมาสติก (mastic) และเชลแล็ก (shellac) ในการเคลือบผิวภาชนะสิงของเครืองใช้ต่างๆ ประโยชน์จากการใช้พอลิเมอร์ธรรมชาติได้มีวิวัฒนาการมาเรือยๆ จนใน ค.ศ. 1492 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) [2] นักสํารวจชาวอิตาลี และนักสํารวจคนอืนๆ ทีค้นพบทวีป อเมริกา พบว่าคนพืนเมืองรู้จักนํายางธรรมชาติจากต้นยาง (Hevea brasiliensis) มาทําเป็น วัสดุเครืองใช้ เช่น ทํารองเท้ายาง ทําขันนํา และทําภาชนะบรรจุสิงของอืนๆ ใน ค.ศ. 1760 ตาม ประวัติศาสตร์จีน ได้มีโรงงานผลิตขึนรูปหวีจากเชลแล็ก ทีเป็นโรงงานอุตสาหกรรมรายแรกซึงใช้ ประโยชน์จากพอลิเมอร์ธรรมชาติ ในระยะเริมต้นยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของพอลิเมอร์ ทําให้การนํายางธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์จึงเป็นไปได้น้อย ทังนีเพราะสมบัติของยางจะปลียนไปตามความร้อนของอากาศ จนกระทังใน ค.ศ. 1839 ชาร์ลส์ กูดเยียร์ (Charles Goodyear) [3-5] นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันได้ ทําการปรับปรุงสมบัติของยางธรรมชาติ โดยการเติมกํามะถันลงไปในปริมาณเหมาะสม พร้อม กับให้ความร้อนทีอุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวของกํามะถัน ทําให้ยางมีสภาพคงตัวในอุณหภูมิ
  • 2. 2 ต่างๆ ทนต่อความร้อน แสง และละลายในตัวทําละลายยากขึน ซึงเรียกกระบวนการนีว่า วัลคะไน- เซชัน (vulcanization) การทดลองของชาร์ลส์ กูดเยียร์นีถือเป็นจุดเริมต้นของการศึกษาทาง วิทยาศาสตร์ของพอลิเมอร์ก็ว่าได้ ยางธรรมชาติทีผ่านกระบวนการนีเรียกว่ายางวัลคะไนซ์ ยาง ทีเติมกํามะถันในปริมาณทีเหมาะสม ทําให้เกิดพันธะโคเวเลนต์ของกํามะถันเชือมต่อระหว่างสาย พอลิไอโซพรีนในบางตําแหน่ง เมือได้รับแรงกระทํา สายโซ่จะไม่เลือนหลุดออกจากกันได้ง่าย จึง ทําให้ยางมีความยืดหยุ่นคงรูปร่างมากขึน ยางวัลคะไนซ์มีสมบัติเชิงกลดีขึน และใช้ประโยชน์ได้ อย่างกว้างขวาง ซึงชาร์ลส์ กูดเยียร์ได้แสดงตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทีทําจากยางวัลคะไนซ์มากมายใน งานแสดงสินค้าทังทีประเทศอังกฤษและฝรังเศส เช่น หวี ด้ามจับมีด เฟอร์นิเจอร์ ฉนวนหุ้มสายไฟ ของเล่นเด็ก และอุปกรณ์กีฬาชนิดต่างๆ อย่างไรก็ตาม เป็นทีน่าเสียดายทีนักวิทยาศาสตร์อย่าง เช่นชาร์ลส์เสียชีวิตก่อนทีจะได้รับรู้ถึงการเริมต้นอุตสาหกรรมการผลิตยางวัลคะไนซ์อย่างแท้จริง ต่อมาได้มีการปรุงแต่งยางธรรมชาติจนได้ยางทีแข็งมาก และมีสมบัติเป็นพลาสติกเรียกว่า อีโบไนต์ (ebonite) ซึงเป็นผลิตภัณฑ์ยางทีเนลสัน (Nelson) น้องชายของกูดเยียร์ได้จดทะเบียนการค้าไว้ใน ค.ศ. 1851 ซึงอาจกล่าวได้ว่า อีโบไนต์เป็นพลาสติกชนิดแรกที มนุษย์รู้จักทําขึนจากพอลิเมอร์ทีมีในธรรมชาติ ยังมีการประดิษฐ์ คิดค้นสังเคราะห์พอลิเมอร์ชนิดต่างๆ ขึนมาอีกมากมาย ดังเช่นใน ค.ศ. 1847 คริสเตียน เอฟ. ชอนเบียน (Christain F. Schönbein) ได้ทําการสังเคราะห์เซลลูโลสไนเทรต โดยการนําเซลลูโลสจาก ฝ้ ายมาทําปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกและกรดไนทริก ซึงถือว่าเป็น เทอร์โมพลาสติกชนิดแรกทีมนุษย์ประดิษฐ์ขึน ต่อมาใน ค.ศ. 1866 จอห์น ไฮแอท (John W. Hyatt) ชาวอเมริกัน พบว่าเมือผสมผง การบูรกับเซลลูโลสไนเทรต พร้อมทังให้ความร้อนและความดัน ผลลัพธ์ทีได้ก็คือวัสดุทีมีสมบัติดีขึนและคล้ายงาช้าง ซึงได้ถูกนําไป ใช้ประโยชน์ในชือทางการค้าว่าเซลลูลอยด์ (celluloid) โดยสามารถ นําเซลลูลอยด์มาใช้ทดแทนผลิตภัณฑ์ทีทําจากงาช้าง เขาสัตว์ หรือ กระดองสัตว์ ประเภทหวี และเครืองประดับได้เป็นอย่างดี อันเป็น การลดการล่าและการฆ่าสัตว์ลงได้อย่างมากในสมัยนัน แต่อย่างไร ก็ตาม สมบัติของเซลลูลอยด์ทีผลิตได้ในขณะนันยังไม่เพียงพอ สําหรับผลิตภัณฑ์อีกหลายประเภท เช่น อุปกรณ์ทางด้านทันตกรรม ลูกบิลเลียด ฟิล์มภาพยนตร์ ตลอดจนงานด้านวิศวกรรม ข้อจํากัด ของเซลลูลอยด์ก็คือ เป็นวัสดุทีขึนรูปค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม ประโยชน์การใช้ของเซลลูลอยด์ในสมัยนันก็ยังแพร่หลายมาก ชาร์ลส์ กูดเยียร์ 1800–1860 [5] ประดิษฐ์ยางวัลคะไนซ์ เลโอ เฮนดริค แบเคลแลนด์ 1863–1944 [6] ประดิษฐ์เบคิไลต์
  • 3. 3 ใน ค.ศ. 1907 เลโอเฮนดริคแบเคลแลนด์ (Leo Hendrik Baekeland) [6] นักวิจัยเคมีชาว เบลเยียมได้ผลิตเบคิไลต์ (Bekelite) จากปฏิกิริยาระหว่างฟีนอล (phenol) และฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) การพัฒนานีเกิดขึนจากความต้องการหาวัสดุทดแทนเชลแล็ก เบคิไลต์นับเป็น พอลิเมอร์สังเคราะห์ชนิดแรกทีใช้ในเชิงพาณิชย์ เพราะไม่มีส่วนประกอบใดๆ ทีได้จากธรรมชาติ เลย เบคิไลต์จัดเป็นเทอร์โมเซตของฟีนอล-ฟอร์มาลดีไฮด์เรซิน และถูกพัฒนาต่อมาโดยรู้จักกันใน ชือ ฟีนอลิก (phenolics) ซึงเป็นวัสดุทีคงรูปเมือสังเคราะห์เสร็จ และไม่สามารถนํากลับมาหลอม ขึนรูปใหม่ได้ ฟีนอลิกมีประโยชน์ใช้งานมากมาย สามารถทดแทนงาช้างสําหรับทําลูกบิลเลียดซึง นิยมเล่นกันในสมัยนันได้เป็นอย่างดี ทังยังเป็นฉนวนทีดีสําหรับระบบไฟฟ้าในยานยนต์ ตลอดจน ชินส่วนของอุปกรณ์สือสารและเครืองบินทีใช้ในสงครามโลกครังที 1 นอกจากฟีนอลิกแล้ว เรยอน (rayon) เป็นอีกตัวอย่างหนึงของพอลิเมอร์สังเคราะห์ทีใช้ทําเส้นใยเพือทดแทนใยไหมจากธรรมชาติ และเป็นพอลิเมอร์ทีใช้อยู่จนถึงในปัจจุบันนี จากการค้นพบเบคิไลต์และเรยอนนี ทําให้วิวัฒนาการ ด้านเคมีอินทรีย์มีการเติบโตและขยายขอบเขตอย่างกว้างขวาง ซึงนับเป็นก้าวสําคัญสู่การพัฒนา พอลิเมอร์สังเคราะห์ในระดับอุตสาหกรรม นอกจากนีแล้วยังมีการสังเคราะห์เทอร์โมเซตตัวอืนอีก เช่น กริปทัล (glyptal) ซึงเป็นเรซินพวกพอลิเอสเทอร์ทีไม่อิมตัว (unsaturated polyester resin) ต่อมาประมาณ ค.ศ. 1930 บริษัทดูปองต์ (Du Pont) ในสหรัฐอเมริกาได้ผลิตไนลอน (nylon) และ เทฟลอน (TeflonTM) ออกจําหน่าย ในปัจจุบันได้มีการสังเคราะห์พอลิเมอร์ในระดับอุตสาหกรรม และใช้ในเชิงการค้ามากมาย เช่น พีวีซี พอลิเอทิลีน พอลิสไตรีน และอืนๆ ตังแต่สงครามโลกครังที 2 เป็นต้นมา วัสดุพวกพอลิเมอร์หรือพลาสติกได้เข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจําวันของทุกคนเป็นอย่างมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น ยุคพอลิเมอร์ คงไม่มีใครปฏิเสธ ได้เลยว่า ในชีวิตนีไม่เคยสัมผัสกับสิงของเครืองใช้ทีทําจากสารพอลิเมอร์หรือพลาสติก เนืองจาก พอลิเมอร์ทังในธรรมชาติและทีสังเคราะห์ขึนมา สามารถนําไปแปรรูปเป็นสิงของเครืองใช้ได้หลาย ลักษณะทังชินเล็ก ชินใหญ่ อีกทังสภาพการใช้งานก็ทนทาน เบา สะดวกแก่การเคลือนย้าย มีสีสัน สวยงามน่าใช้ และทีสําคัญก็คือมีราคาถูกกว่าพวกโลหะ ด้วยเหตุนีการเติบโตของพอลิเมอร์ในเชิง พาณิชย์ และการค้นคว้าวิจัยสังเคราะห์จึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพือทีจะนําเอาสิงเหล่านีเข้ามาใช้ ทดแทนโลหะและวัสดุธรรมชาติอืนๆ นอกจากพอลิเมอร์สังเคราะห์มีบทบาทในชีวิตประจําวัน โดยตรงของทุกคนแล้ว ยังมีบทบาทสําคัญต่อการขยายตัวทางภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเป็น อย่างมากอีกด้วย พอลิเมอร์หลายประเภทช่วยทําให้ความฝันทางวิทยาศาสตร์ทีมนุษย์สามารถ เดินทางออกนอกโลก หรือเดินทางสู่อวกาศเป็นจริงขึนมา ยุคอวกาศเกิดขึนใน ค.ศ. 1957 เมือ สหภาพโซเวียตส่งยานดาวเทียมสพูทนิค (Sputnik) [7] ซึงเป็นยานดาวเทียมดวงแรกของโลกเข้าสู่ ระบบวงโคจรในห้วงอวกาศ นับจากวันนันเป็นต้นมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีอวกาศเพือพัฒนา ยานหรืออุปกรณ์ต่างๆ ในการพิชิตอวกาศจึงเกิดขึนอย่างต่อเนืองอย่างไม่หยุดยังจนถึงปัจจุบัน ความสําเร็จในการพิชิตอวกาศนีจะเป็นจริงได้ก็อยู่บนพืนฐานของการพัฒนาวัสดุพลาสติกทีมี นําหนักเบาและมีความแข็งแรง ตลอดจนทนต่อภาวะเปลียนแปลงของอุณหภูมิและสิงแวดล้อม
  • 4. 4 ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จากทีกล่าวมาข้างต้นอาจลําดับประวัติการใช้พอลิเมอร์ของยุคพอลิเมอร์ได้ 4 ช่วงดังนีคือ 1) ช่วงพอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่น ยางธรรมชาติ เชลแล็ก ยางไม้ 2) ช่วงพอลิเมอร์ กึงสังเคราะห์ เช่น เซลลูโลสไนเทรต เซลลูลอยด์ 3) ช่วงพอลิเมอร์สังเคราะห์ยุคต้น เช่น เบคิไลต์ ฟีนอลิก เรยอน 4) ช่วงพอลิเมอร์สังเคราะห์เชิงพาณิชย์ หรือพอลิเมอร์ระดับอุตสาหกรรม เช่น ไนลอน เทฟลอน พอลิเอทิลีน พอลิสไตรีน พีวีซี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าพอลิเมอร์จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็เป็นสิงทีก่อให้เกิดมลภาวะ ต่อสิงแวดล้อมมากมายเช่นกัน ด้วยเหตุทีพอลิเมอร์มีการสลายตัวยาก มีความทนทานต่อนํา แสงแดด และอากาศ เมือใช้งานแล้วจึงตกค้างอยู่ในสิงแวดล้อมทังในดินและนํา ดังนัน ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นวิธีกําจัดพอลิเมอร์หรือพลาสติกทีใช้แล้ว รวมทังค้นคว้าเพือสังเคราะห์ ผลิตพอลิเมอร์ชนิดใหม่ๆ ทีสามารถใช้ประโยชน์ในช่วงระยะเวลาหนึง หลังจากนันจะเสือมสลายไป หรือสังเคราะห์พลาสติกพอลิเมอร์ทีจุลินทรีย์สามารถย่อยสลายได้ หรือพยายามนําพลาสติกกลับ มาใช้ใหม่ได้อีก เพือเป็นการลดมลภาวะต่อสิงแวดล้อม 1.2 วิทยาศาสตร์ของพอลิเมอร์ ในปัจจุบันได้มีการสังเคราะห์และผลิตพอลิเมอร์ขึนอย่างมากมาย เพือนํามาใช้ประโยชน์ อย่างจริงจัง รวมทังการผลิตในเชิงพาณิชย์ด้วย ประโยชน์การใช้งานของพอลิเมอร์เป็นไปตาม สมบัติและลักษณะของพอลิเมอร์ใน 5 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1) พวกพลาสติก 2) พวกรับเบอร์ 3) พวกไฟเบอร์ 4) พวกนํายาเคลือบผิว และ 5) พวกสารยึดติด (adhesives) ทําให้วัสดุติดกันได้ ในระยะแรกๆ ความรู้ในการอธิบายถึงสมบัติ และลักษณะของพอลิเมอร์แต่ละชนิดมีน้อย และไม่ค่อยเป็นทีเข้าใจกัน ทังนีเพราะขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านเคมีพืนฐานของพอลิเมอร์ เหล่านัน สารประกอบพอลิเมอร์มีธรรมชาติและสมบัติแตกต่างจากสารอินทรีย์ทีมีมวลโมเลกุลตํา ทัวไป กล่าวคือ การทําให้พอลิเมอร์บริสุทธิ โดยวิธีการตกผลึกเป็นไปได้ยาก จึงเป็นอุปสรรคใน การศึกษาสมบัติทางกายภาพโดยทัวไป ประการสําคัญอีกอย่างหนึงก็คือสารประกอบพอลิเมอร์มี ความสามารถในการละลายตํา จนบางครังไม่สามารถละลายในตัวทําละลายใดๆ ได้ จึงเกิดเป็นสาร แขวนลอยในตัวทําละลาย และจากการหามวลโมเลกุลโดยวิธีง่ายๆ โดยอาศัยสมบัติคอลลิเกทิฟ ของสาร ผลปรากฏว่ามวลโมเลกุลทีหาได้มีค่าไม่สูงมากนัก จึงทําให้ในระยะแรกๆ นันเข้าใจว่า สารประกอบพอลิเมอร์เป็นอนุภาคคอลลอยด์ทีเกิดจากการรวมตัวของโมเลกุลเล็กๆ เป็นจํานวน มากเท่านัน จนกระทังในช่วง ค.ศ. 1920 เฮอร์มานน์ สตอดิงเจอร์ (Hermann Staudinger) [8-10] นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เป็นคนแรกทีเสนอสมมติฐานเกียวกับโมเลกุลของสารประกอบพอลิ- เมอร์ว่า สารประกอบพอลิเมอร์เกิดจากการทีสารโมเลกุลเล็กจํานวนมากมาเรียงต่อกันเป็น สายโซ่ยาวด้วยพันธะโคเวเลนต์ ไม่ใช่เพียงการรวมตัวกันของคอลลอยด์ ทําให้พอลิเมอร์ เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ มีมวลโมเลกุลสูง แต่สมมติฐานของสตอดิงเจอร์นีไม่เป็นทียอมรับในระยะ
  • 5. 5 แรก ทังนีเพราะขาดหลักฐานยืนยัน จนกระทัง ค.ศ. 1929 วอลเลซ ฮูม คาโรเธอร์ส (Wallace Hume Carothers) [11] นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้ค้นพบไนลอน ได้ทําการค้นคว้าวิจัยควบคู่ เฮอร์มานน์ สตอดิงเจอร์ 1881–1965 [9] เสนอทฤษฎีพอลิเมอร์ วอลเลซ ฮูม คาโรเธอร์ส 1896–1937 [11] สังเคราะห์ไนลอน กับการพัฒนาวิธีการทดลอง และใช้เครืองมือวัดหามวลโมเลกุลแบบ ใหม่ เช่นวิธีรังสีเอกซ์ (X-ray) ได้พิสูจน์ว่าพอลิเมอร์ประกอบด้วย หน่วยเล็กๆ (mer) หรือเรียกว่าหน่วยซํามาเชือมต่อกันเป็นสายโซ่ยาว ซึงถือเป็นหลักฐานแสดงอย่างแน่ชัดว่า สมมติฐานของสตอดิงเจอร์ เป็นจริง จากผลงานทีสตอดิงเจอร์เป็นผู้บุกเบิกหรือเปิดทางเกียวกับ ความรู้ทางด้านเคมีของพอลิเมอร์ จนเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วตราบ เท่าทุกวันนี เป็นเหตุให้สตอดิงเจอร์ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel prize) สาขาเคมีใน ค.ศ. 1953 จากการทีคาโรเธอร์สได้สังเคราะห์และผลิต เส้นใยไนลอน 6.6 ขึน ซึงเป็นเส้นใยสังเคราะห์ชนิดแรกของโลก และ นับว่าเป็นการปูพืนฐาน สําหรับอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยในยุคต่อมา เส้นใยไนลอนมีสมบัติแข็งแรง เหนียว และยืดหยุ่น ทําให้คาโรเธอร์ส นําเส้นใยไนลอนมาใช้ประโยชน์มากมาย โดยทดแทนขนสัตว์เพือทํา ขนแปรงสีฟันและเส้นใยไหม ในสมัยนันผลิตภัณฑ์ทีทําให้ไนลอนเป็น ทีรู้จักกันอย่างสูงสุดก็คือถุงน่องของสุภาพสตรี ซึงในขณะนันมียอด ขายของถุงน่องไนลอนสูงถึง 4 ล้านคู่ในเวลาเพียงวันเดียว จาก หลักการทีว่าพอลิเมอร์ประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ มาต่อกันด้วยพันธะ เคมีเป็นสายโซ่ยาวนีเอง เปรียบเสมือนจุดเริมต้นของการพัฒนาและ การสังเคราะห์พอลิเมอร์ชนิดใหม่ๆ ออกมาใช้ประโยชน์ได้มากมายใน ปัจจุบัน พอลิเมอร์ประกอบขึนด้วยโมเลกุลเล็กๆ ทีเรียกว่ามอนอเมอร์มาต่อเรียงซํากันไปตลอด สายโซ่ ดังนัน ความยาวหรือขนาดของสายโซ่ ตลอดจนมวลโมเลกุลของพอลิเมอร์ขึนอยู่กับดีกรี ของการเกิดสายโซ่ (degree of polymerization) เช่น พอลิเอทิลีน ทีมีดีกรีของการเกิดสายโซ่ เท่ากับ 2,000 มีมวลโมเลกุลสูงถึง 56,000 กรัม/โมล โดยทีหน่วยซําของพอลิเอทิลีนคือเอทิลีน ซึง มีมวลโมเลกุลเพียง 28 กรัม/โมล ส่วนพอลิเมอร์ทีนํามาใช้ประโยชน์มักจะมีมวลโมเลกุลอยู่ในช่วง 104 ถึง 106 กรัม/โมล หรือมากกว่า มวลโมเลกุลของพอลิเมอร์มีส่วนสัมพันธ์กับขนาดของโมเลกุล ถ้ามวลโมเลกุลสูงพอลิเมอร์นันก็มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย และสามารถทําการทดลองหามวล โมเลกุลได้โดยวิธีการหลายอย่าง เช่น วิธีวิเคราะห์หมู่ปลาย วิธีทีอาศัยสมบัติคอลลิเกทิฟ วิธีวัด ความหนืด และวิธีวัดการกระจายแสง คําว่า พอลิเมอร์ และคําว่า แมโครโมเลกุล (macromolecule) มักเกิดความเข้าใจสับสน กันบ้างในบางครัง สารแมโครโมเลกุลหมายถึงสารทีมีโมเลกุลขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น โปรตีน กรดนิวคลิอิก ดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) และพวกเอนไซม์ต่างๆ
  • 6. 6 (3) O R"R'R C-CH-NH-C-CH-NH-C-CH-NH O O ส่วนหนึงของโปรตีน หมู่ R, R', R",... ในกรดอะมิโนทีมาต่อกันเป็นโปรตีนมีความแตกต่างกันถึง 20 ชนิด จึง จัดโปรตีนเป็นพวกแมโครโมเลกุล ทังนีเพราะไม่มีหน่วยซําดังเช่นในโมเลกุลของพอลิเมอร์ นัน แสดงว่าพอลิเมอร์จัดเป็นสารโมเลกุลใหญ่พวกแมโครโมเลกุลได้ แต่สารพวกแมโครโมเลกุลอาจ เป็นหรือไม่เป็นพอลิเมอร์ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไม่ค่อยเคร่งครัดกับการใช้ศัพท์ 2 คํานีมาก นัก โดยมีการเรียกพวกโปรตีนเป็นพอลิเมอร์ด้วย แต่โดยแท้จริงแล้วศัพท์คําว่า พอลิเมอร์ และ แมโครโมเลกุล มีความหมายต่างกันอยู่เล็กน้อย กล่าวคือ สารพอลิเมอร์มีหน่วยซํา แต่สารแมโคร โมเลกุลไม่มีหน่วยซํา 1.3 ความสําคัญของเคมีพืนฐานสําหรับพอลิเมอร์ ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ทีได้ หากทราบถึงโครงสร้างทางเคมีของโมเลกุลของพอลิเมอร์ จะ เป็นตัวสําคัญทีทําให้ทราบถึงธรรมชาติ ตลอดจนสมบัติต่างๆ ของพอลิเมอร์ อันเป็นประโยชน์ต่อ เทคโนโลยีของกระบวนการผลิตพอลิเมอร์ หรือการคิดค้นการนําพอลิเมอร์ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ในชีวิตประจําวันได้อย่างสูงสุด ผลผลิต พอลิเมอร์ (1) โครงสร้าง ของโมเลกุล (2) สมบัติต่อขบวนการผลิต (4) สมบัติต่อวัสดุศาสตร์ (5) การนําไปใช้ประโยชน์ จากแผนภาพ เมือทราบถึงโครงสร้างทางเคมีของพอลิเมอร์ ซึงเป็นตัวการสําคัญในการ อธิบายปัญหาต่างๆ อันจะเกิดขึนได้ดังนี 1. ทําอย่างไรจึงสามารถเตรียมพอลิเมอร์ให้มีโครงสร้างตามทีต้องการได้ 2. โครงสร้างโมเลกุลของพอลิเมอร์มีผลอย่างไรต่อกระบวนการผลิตหรือกระบวนการแปรสภาพ 3. สมบัติทางด้านวัสดุศาสตร์ขึนอยู่กับโครงสร้างของพอลิเมอร์หรือไม่ อย่างไร 4. กระบวนการแปรสภาพมีผลต่อสมบัติทางด้านวัสดุศาสตร์อย่างไร
  • 7. 7 5. การทีทราบถึงสมบัติทางด้านวัสดุศาสตร์ แล้วนําผลิตภัณฑ์ทีได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะ ทําได้อย่างไรบ้าง จากทีกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า เคมีพืนฐานของพอลิเมอร์เป็นส่วนสําคัญในการศึกษา และ เข้าใจกระบวนการปรากฏการณ์ธรรมชาติของพอลิเมอร์เอง และเทคโนโลยีในการทีนําพอลิเมอร์ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนีเคมีพืนฐานของพอลิเมอร์ยังสามารถอธิบายถึงการสลายตัวของ พอลิเมอร์ได้ อันเป็นประโยชน์ในการผลิตวัสดุพอลิเมอร์ให้สลายตัวเมือใช้ไปได้ในระยะเวลาหนึง อันเป็นการลดมลภาวะต่อสิงแวดล้อม
  • 8. 8 คําถามท้ายบทที 1 1. พอลิเมอร์คืออะไร มีประโยชน์หรือโทษอย่างไรบ้าง 2. คําว่า พอลิเมอร์ และ แมโครโมเลกุล มีความหมายเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 3. โครงสร้างทางเคมีของพอลิเมอร์มีผลต่อสมบัติต่างๆ ของพอลิเมอร์หรือไม่ 4. เคมีพืนฐานของพอลิเมอร์มีความสําคัญอย่างไร