SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 26
Downloaden Sie, um offline zu lesen
๑
                             
                            บทนำ




                                 

                           บทนำ
                                 


10-037(001-026)P2.indd 1             3/16/11 9:45:34 PM
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย


                      “... นิยายอิงพงศาวดารไทยถูกทำให้เป็นทังงานเขียนประวัต-ิ
                                                            ้
                      ศาสตร์และงานบันเทิงเริงรมย์พร้อมกันไปในตัว”๑
                                                            (สุเนตร ชุตินธรานนท์)
                    วี ร กรรมของวี ร บุ รุ ษ และวี ร สตรี ไ ทยสมั ย อยุ ธ ยา โดยเฉพาะใน
             ช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ไปจนถึงการกอบกู้เอกราช นับเป็น
             แรงบันดาลใจสำคัญให้นักประพันธ์ในยุคต่าง ๆ นำมาสร้างเป็นผลงาน
             วรรณกรรมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นต้นมา อย่าง
             เช่น เหตุการณ์การสละพระชนม์ชีพของสมเด็จพระสุริโยทัย มีปรากฏทั้ง
             ใน โคลงภาพพระราชพงศาวดาร (พ.ศ. ๒๔๓๐) เฉลิมเกียรดิ์กษัตรีย
                ์
             คำฉันท์ (พ.ศ. ๒๔๕๘) นวนิยายเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ (พ.ศ. ๒๔๗๔)
             สมเด็จพระสุริโยทัย (พ.ศ. ๒๕๓๕) และสุริโยทัย (พ.ศ. ๒๕๔๓) หรือ
             เหตุการณ์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี ก็มีปรากฏ
             ทั้งใน ลิลิตตะเลงพ่าย (พ.ศ. ๒๓๗๕) โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
             (พ.ศ. ๒๔๓๐) ลิลิตนเรศวร (พ.ศ. ๒๔๙๖) นวนิยายเรื่อง มหาราชโสด
             (พ.ศ. ๒๕๑๔) และ อธิราชา (พ.ศ. ๒๕๔๖) เป็นต้น
                     อย่างไรก็ตาม ยังมีบุคคลในประวัติศาสตร์อีกจำนวนไม่น้อยที่แม้
             จะไม่ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษหรือวีรสตรีของชาติ แต่นักประพันธ์ก็
             สนใจนำเรื่องราวมาถ่ายทอดในวรรณกรรมอยู่เสมอ เช่น ขุนวรวงศาธิราช
             ท้ า วศรี สุ ด าจั น ทร์ สมเด็ จ พระมหิ น ทราธิ ร าช และพระวิ สุ ท ธิ ก ษั ต รี ย์
             เป็นต้น ในจำนวนนี้ “ขุนพิเรนทรเทพ” ผู้มีเรื่องราวปรากฏในเอกสาร
             ประวัติต่าง ๆ เช่น พระราชพงศาวดาร
 ฉบับพระราชหัตถเลขา ในราว
             พ.ศ. ๒๐๖๘ ในฐานะแม่ทัพในแผ่นดินสมเด็จพระชัยราชาธิราช และได้
                  ๑สุเนตร ชุตินธรานนท์, บุเรงนอง (กะยอดินนรธา) กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย,
             พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๘), หน้า ๑๘๐.




10-037(001-026)P2.indd 2                                                                          3/16/11 9:45:35 PM
บทนำ


                 ขึ้นครองราชย์เป็น “สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ พระมหาธรรมราชา” ใน
                 ราว พ.ศ. ๒๑๑๒๒ ถือเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ผู้หนึ่งที่ถูกนำมาสร้าง
                 เป็นตัวละครในวรรณกรรมหลายเรื่อง
                          จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ผู้เขียนพบว่าตัวละครสมเด็จพระ
                 มหาธรรมราชาปรากฏในวรรณกรรมไทยอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ปลายสมัย
                 รัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบันอย่างน้อย ๑๕ เรื่อง กล่าวคือ เริ่ม
                 ปรากฏใน เสภาพระราชพงศาวดาร ที่สุนทรภู่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่
                 ๔ และปรากฏอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงล่าสุดในนวนิยายเรื่อง อธิราชา
                 ของทมยันตี ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร สกุลไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ น่า
                 สังเกตว่า วรรณกรรมที่ปรากฏบทบาทของสมเด็จพระมหาธรรมราชา มี
                 ทั้งที่แต่งเป็นร้อยกรอง เช่น กลอน โคลง และคำฉันท์ และที่แต่งเป็น
                 ร้ อ ยแก้ ว ได้ แ ก่ นวนิ ย าย นั บ ว่ า ตั ว ละครสมเด็ จ พระมหาธรรมราชา
                 ในวรรณกรรมไทยเป็ น ตั ว ละครที่ ป รากฏซ้ ำ ในลั ก ษณะที่ ห ลากหลาย
                 เพราะปรากฏในวรรณกรรมหลายสำนวน หลายยุคสมัย และหลายรูป-
                 แบบแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชา
                 มิได้ปรากฏในฐานะตัวประกอบเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวละครเอกในนวนิยาย
                 เรื่อง พ่อ ของปองพล อดิเรกสาร (พ.ศ. ๒๕๔๓) อีกด้วย
                         เหตุ ที่ เ รื่ อ งราวของสมเด็ จ พระมหาธรรมราชาเป็ น ที่ ส นใจของผู้
                 ประพันธ์วรรณกรรมไทยเป็นอย่างมากนั้นน่าจะเป็นเพราะสมเด็จพระ
                 มหาธรรมราชาทรงเป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้ทรง
                 เป็นวีรบุรุษพระองค์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่วรรณกรรมนิยมนำเสนอ
                 เรื่องราวของพระองค์อยู่เสมอนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อวรรณกรรม

                     ๒ ปีพุทธศักราชนี้อ้างจาก พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, (กรุงเทพฯ :
                 กรมศิลปากร, ๒๕๓๕), หน้า ๖๕-๑๐๕.




10-037(001-026)P2.indd 3                                                                 3/16/11 9:45:36 PM
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย


             หลายเรืองมุงนำเสนอเรืองราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วรรณกรรม
                    ่ ่              ่
             แต่ละเรื่องเหล่านั้นจึงมักจะต้องกล่าวถึงรายละเอียดของสมเด็จพระมหา-
             ธรรมราชาผู้เป็นพระราชบิดาด้วย
                      ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ เช่น พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราช
             หัตถเลขา
 นั้น เรื่องราวของสมเด็จพระมหาธรรมราชาปรากฏยาวนานถึง
             ๕ รัชสมัย คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๕๗ เมื่อสมเด็จพระชัยราชาธิราชเสด็จ
             จากเมืองพิษณุโลกมาครองกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรง
             ดำรงยศเป็นขุนพิเรนทรเทพผู้ติดตามสมเด็จพระชัยราชาธิราชมาด้วย
             ต่อมา สมเด็จพระชัยราชาธิราชถูกลอบปลงพระชนม์ พระยอดฟ้าพระ
             ราชโอรสผู้ครองราชย์ต่อมาถูกประหารชีวิต ขุนวรวงศาธิราชได้ราชสมบัติ
             ขุนพิเรนทรเทพก็ได้มีบทบาทสำคัญในการล้มล้างอำนาจของขุนวรวงศา
             ธิ ร าช รวมถึงสนับสนุนให้พระเทียรราชาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จ
             พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชในเวลาต่อมา จากนั้น ในรัชสมัยสมเด็จ
             พระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ขุนพิเรนทรเทพได้รับการสถาปนาเป็น
             พระมหาธรรมราชาผู้ครองเมืองพิษณุโลก และหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา
             ครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๑๑๒ พระมหาธรรมราชาทรงได้ขึ้นครองราชย์เป็น
             สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ แห่ง
             กรุงศรีอยุธยา๓
                    วรรณกรรมที่เสนอเรื่องราวของสมเด็จพระมหาธรรมราชา มีทั้ง
             วรรณกรรมที่เลือกเสนอบทบาทของสมเด็จพระมหาธรรมราชาตั้งแต่ยัง
             เป็นขุนพิเรนทรเทพต่อเนื่องมาจนตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรม
             ราชาธิราช เช่น นวนิยายเรือง พ่อ ของปองพล อดิเรกสาร กษัตริยา และ
                                      ่
             อธิราชา ของทมยันตี และวรรณกรรมที่เลือกเสนอเฉพาะเหตุการณ์บาง

                  ๓   เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๕-๑๐๕.




10-037(001-026)P2.indd 4                                                            3/16/11 9:45:37 PM
บทนำ


                 ช่วงในพระชนม์ชพของสมเด็จพระมหาธรรมราชา เช่น เฉลิมเกียรดิกษัตรีย

                                ี                                             ์ ์
                 คำฉันท์ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประ-
                 พันธพงศ์ บทละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง ท้าวศรีสุดาจันทร์ ของสมภพ
                 จันทรประภา และนวนิยายเรื่อง สมเด็จพระสุริโยทัย ของธเนศ เนติโพธิ์
                 เลือกเสนอบทบาทของสมเด็จพระมหาธรรมราชาเฉพาะในช่วงที่ทรงเป็น
                 ขุนพิเรนทรเทพไปจนถึงช่วงที่ทรงครองเมืองพิษณุโลก ในขณะที่ เสภา
                 พระราชพงศาวดาร ตอน ศึกหงสาวดี ของสุนทรภู่ และนวนิยายเรื่อง ผู้
                 ชนะสิบทิศ ของยาขอบ เลือกเสนอบทบาทของสมเด็จพระมหาธรรมราชา
                 ในฐานะกษัตริย์เมืองพิษณุโลกในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก
                          เมื่อวรรณกรรมแต่ละเรื่องเลือกเสนอเรื่องราวของสมเด็จพระมหา-
                 ธรรมราชาในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันเช่นนี้ บทบาท
                 ของตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่นำเสนอในวรรณกรรมแต่ละ
                 เรื่องจึงแตกต่างกันไปตามบริบทของเหตุการณ์ด้วย ที่เห็นได้ชัด คือ พบ
                 ว่าวรรณกรรมที่เลือกเสนอเรื่องราวของขุนพิเรนทรเทพในช่วงการต่อสู้
                 ล้มล้างอำนาจขุนวรวงศาธิราชมักจะสร้างตัวละครขุนพิเรนทรเทพให้มี
                 บุคลิกอย่างวีรบุรุษผู้กล้าหาญ ฉลาด มีคุณธรรม แต่วรรณกรรมที่เสนอ
                 บทบาทของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในช่วงประวัติศาสตร์การเสียกรุง
                 ศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ มักจะสร้างตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาให้มี
                 บุคลิกในด้านลบเช่น อ่อนแอ เป็นผู้แพ้
                         อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณารายละเอียดของวรรณกรรมที่นำมาศึกษา
                 พบว่ า ในวรรณกรรมหลายเรื่ อ งที่ เ สนอเหตุ ก ารณ์ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ต อน
                 เดียวกัน ผู้ประพันธ์แต่ละคนกลับเลือกเสนอตัวละครสมเด็จพระมหา-
                 ธรรมราชาให้มีบทบาทแตกต่างกัน เช่น บทบาทในฐานะผู้สนับสนุน
                 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองในสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ใน เสภา
                 พระราชพงศาวดาร และ บทร้อยกรองประวัติศาสตร์สงครามไทย-พม่า



10-037(001-026)P2.indd 5                                                              3/16/11 9:45:38 PM
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย


             ผู้ประพันธ์วิพากษ์วิจารณ์ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาในด้านลบ
             อย่างชัดเจน เช่น วิจารณ์ว่าทรงเป็นผู้ทรยศต่อชาติ เป็นกษัตริย์ผู้อ่อนแอ
             ไม่สามารถรักษาบ้านเมืองไว้ได้๔ แต่ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง
             กษัตริยา และเรื่อง พ่อ ผู้ประพันธ์กลับแสดงความเห็นว่า การตัดสินใจ
             เข้ า ข้ า งพระเจ้ า หงสาวดี บุ เ รงนองนั้ น เป็ น วิ ธี คิ ด ที่ ฉ ลาด และหวั ง ดี ต่ อ
             ประเทศชาติอย่างแท้จริง ทำให้ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาใน
             วรรณกรรมดังกล่าวมีบทบาทเป็นกษัตริย์ผู้มองการณ์ไกล รักชาติ และมี
             บทบาทสำคัญในฐานะผู้สนับสนุนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้ทรงกอบ
             กู้เอกราชจากหงสาวดีสำเร็จ๕
                    จากการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ข้ า งต้ น ผู้ เ ขี ย นมี ข้ อ สั ง เกตว่ า ถึ ง แม้
             วรรณกรรมที่นำมาใช้เป็นข้อมูลล้วนแต่เสนอตัวละครที่เป็นตัวแทนของ
             สมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์บุคคลเดียวกัน
             แต่ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ปรากฏในวรรณกรรม
             แต่ละเรื่องกลับมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ถึงระดับที่ว่าตัวละคร
             สมเด็ จ พระมหาธรรมราชาในบริ บ ทของประวั ติ ศ าสตร์ ต อนเดี ย วกั น
             สามารถปรากฏในวรรณกรรมได้ทั้งในฐานะ “ผู้ร้าย” ผู้ทรยศต่อชาติและ
             “พระเอก” ผู้มองการณ์ไกลและมีบทบาทสำคัญในการกอบกู้เอกราชให้
             แก่กรุงศรีอยุธยา แสดงว่า กลวิธีการเล่าเรื่องของวรรณกรรมแต่ละเรื่อง


                  ๔ รวมนิทาน บทเห่กล่อม และสุภาษิตของสุนทรภู่. (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,
             ๒๕๒๙) และสนิท พูลพงศ์, บทร้อยกรองประวัติศาสตร์สงครามไทย-พม่า การเสียกรุง
             ศรีอยุธยา ครั้งที่ ๑ (กรุงเทพฯ : จัดพิมพ์โดย พ.อ.สนิท พูลพงศ์, ๒๕๔๖).
                  ๕ ทมยันตี, กษัตริยา ตอน แก้วกษัตริยา, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพฯ : ณ บ้าน
             วรรณกรรม กรุ๊ป, ๒๕๔๗), และ ปองพล อดิเรกสาร, พ่อ ภาคสอง, พิมพ์ครั้งที่ ๒,
             (กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น, ๒๕๔๖).




10-037(001-026)P2.indd 6                                                                                3/16/11 9:45:39 PM
บทนำ


                 มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดภาพตัวแทนสมเด็จพระมหาธรรม-
                 ราชาให้แตกต่างกัน
                        กรณีภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมนี้ชี้
                 ให้เห็นว่า วรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ไม่ได้เป็นเพียงบันเทิงคดีที่นำเสนอ
                 เหตุการณ์ประวัติศาสตร์อย่างเที่ยงตรงไปพร้อมกับการสอดแทรกความ
                 บันเทิงเท่านั้น แต่วรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์แต่ละเรื่องมีบทบาทใน
                 การนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ที่ผู้อ่านวรรณกรรมรับรู้ให้แตกต่างกันไป
                 ด้วย จึงน่าจะมีการศึกษาลักษณะต่าง ๆ ของภาพตัวแทนของสมเด็จ
                 พระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย และศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ผู้
                 ประพันธ์ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหา-
                 ธรรมราชาได้อย่างหลากหลายเพื่อเป็นกรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
                 วรรณกรรมกับประวัติศาสตร์
                       เพื่ อ ให้ เ ข้ า ใจการเสนอภาพตั ว แทนบุ ค คลในประวั ติ ศ าสตร์ ผ่ า น
                 วรรณกรรมชัดเจนขึ้น ผู้เขียนจึงเลือกศึกษาการสร้างภาพตัวแทนสมเด็จ
                 พระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย เพื่อให้เห็นภาพตัวแทนของสมเด็จ
                 พระมหาธรรมราชาในลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฏในวรรณกรรมไทย ศึกษา
                 การใช้กลวิธีการเล่าเรื่องที่ใช้นำเสนอภาพของตัวละครสมเด็จพระมหา-
                 ธรรมราชา และศึกษาปัจจัยทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ที่
                 ส่งผลต่อการประกอบสร้างภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชา
                 ในวรรณกรรม การศึกษานี้นอกจากจะมุ่งชี้ให้เห็นความซับซ้อนของการ
                 สร้างภาพตัวแทนของบุคคลในวรรณกรรมแล้ว ผู้เขียนยังปรารถนาจะเปิด
                 ประเด็นให้มีการศึกษาตัวละครประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในวรรณกรรม นอก
                 เหนือจากวีรบุรุษและวีรสตรีที่เป็นที่สนใจในสังคมเป็นอย่างมากอยู่แล้ว




10-037(001-026)P2.indd 7                                                                  3/16/11 9:45:40 PM
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย



             ข้อตกลงเบื้องต้น
                      (๑) การเรียกพระนามสมเด็จพระมหาธรรมราชา
                     เนื่องจากจำเป็นต้องเรียกพระนามสมเด็จพระมหาธรรมราชาใน
             หนังสือเล่มนี้หลายครั้ง และในหลายบริบท ดังนั้น หากตัวบทวรรณกรรม
             หรือประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่ยกมามิได้ระบุเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง การเรียก
             พระนามสมเด็จพระมหาธรรมราชาในหนังสือเล่มนี้ จะใช้คำเรียกต่าง ๆ
             กันเพื่อจะได้ระบุได้แน่ชัดว่า กำลังกล่าวถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชาใน
             สมัยใด และในบริบทใด กล่าวคือ
                   ก. ในการกล่าวถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งเป็นบุคคลจริงใน
             ประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปจะใช้คำเรียกพระนามว่า “สมเด็จพระมหาธรรม-
             ราชา” และเมื่อกล่าวถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ปรากฏในวรรณกรรม
             จะเรียกว่า “ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชา”
                    ข. หากมี ก ารระบุ ช่ ว งเวลาในประวั ติ ศ าสตร์ แ น่ น อน จะเรี ย ก
             พระนามสมเด็จพระมหาธรรมราชาดังนี้ ในรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชา
             ธิราชถึงช่วงทีขนวรวงศาธิราชครองราชสมบัติ เรียกสมเด็จพระมหาธรรม-
                           ุ่
             ราชาว่า “ขุนพิเรนทรเทพ” ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชา
             ธิราช เรียกสมเด็จพระมหาธรรมราชาว่า “พระมหาธรรมราชา” และใน
             รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
             เรียกสมเด็จพระมหาธรรมราชาว่า “สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช”
                    และเมื่อกล่าวถึงตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรม
             ใช้คำว่า “ตัวละคร” นำหน้าเสมอ ได้แก่ “ตัวละครขุนพิเรนทรเทพ” “ตัว
             ละครพระมหาธรรมราชา” และ “ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชา
             ธิราช”




10-037(001-026)P2.indd 8                                                                 3/16/11 9:45:41 PM
บทนำ


                           (๒)	นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้	
                        วาทกรรม	 (discourse) หมายถึง “กระบวนทัศน์หรือแนวทาง
     

                 ของความรู้ความเข้าใจที่สื่อสารออกมาผ่านทางการใช้ภาษาและตัวบท
   

                 อื่น
 ๆ
 กระบวนการดังกล่าวนี้
 ทำให้เกิดความรู้และอำนาจทางสังคม
                 ขึ้น”๖
                          การประกอบสร้าง	(construction) คือ การให้ความหมายแก่สงใดิ่
                 สิ่งหนึ่งโดยอาศัยมโนทัศน์ (concept) ที่คนร่วมวัฒนธรรมรับรู้และเข้าใจ
                 ตรงกัน ผ่านทางภาษาและระบบสัญญะต่าง ๆ ในสังคม๗
                          ชาตินยม	(nationalism) หมายถึง “การเคลือนไหวทางอุดมการณ์

                               ิ                                     ่
                 เพื่อที่จะได้มาและธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพและอำนาจในการปกครองตนเอง
                 ของกลุ่มชนผู้ซึ่งสมาชิกในกลุ่มมีความรับรู้ร่วมกันว่าชาติเป็นหน่วยที่มีอยู่
                 จริงหรือมีศักยภาพที่จะเกิดขึ้นมาได้จริง”๘
                        สถานภาพ	 (status) มีความหมาย ๒ นัย คือ “(๑)
 ตำแหน่ง
                 ของบุคคลในระบบสังคม
เช่น
เป็นลูก
พ่อ
แม่
ครู
พระ
ฯลฯ
ความหมายนี
   ้
                 แสดงว่าบุคคลนันเป็นใคร
ซึงจะเชือมโยงกับคำว่า
บทบาท
(role)
ทีหมายถึง

                               ้          ่     ่                            ่
                 ว่าบุคคลนั้นควรทำอะไรเมื่ออยู่ในตำแหน่งหรือสถานภาพนั้น
 และ
 (๒)

                     ๖ Michael O’Shaughnessy and Jane Stadler, Media	 and	 society:	 an	
                 introduction, 3rd edition, (Victoria: Oxford University Press, 2005), p. 150.
                     ๗ สรุปความจาก ibid., p. 77-79 และ Stuart Hall, Representation:	 Cultural	
                 Representations	and	Signifying	Practices, 8th edition, (London: Sage, 2003),
                 p. 25-26.
                     ๘ Anthony Smith cited in Andreas Sturm, The	King’s	Nation	:	A	Study	of	
                 The	 Emergence	 and	 Development	 of	 Nation	 and	 Nationalism	 in	 Thailand,
                 (Doctoral dissertation. London School of Economics and Political Science.
                 University of London, 2006), p. 23.




10-037(001-026)P3.indd 9                                                                  5/13/11 9:38:57 PM
0
                               ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย


             ตำแหน่งของบุคคลหรือกลุมบุคคลในลำดับชันทางสังคม
 ความหมายนีแสดง

                                      ่              ้                      ้ 

             ถึงเกียรติและศักดิ์ศรี
 การที่บุคคลหรือกลุ่มจะถูกกำหนดให้อยู่ในลำดับ
             ชั้นใด
เป็นไปตามเกณฑ์ทางกฎหมาย
การเมือง
หรือวัฒนธรรม” ๙
                     ในหนังสือเล่มนี้ใช้ทั้ง ๒ นัยของความหมาย กล่าวคือ สถานภาพ
             ต่าง ๆ ของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแสดงถึงตำแหน่งในสังคมที่สัมพันธ์
             กับบุคคลอืนต่างกัน คือ เมือมีสถานภาพเป็นขุนพิเรนทรเทพ สมเด็จพระ-
                        ่                   ่
             มหาธรรมราชาจะมีบทบาทเป็นข้าราชการในราชสำนักของสมเด็จพระชัย
             ราชาธิราช เมือมีสถานภาพเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา จะตรงกับบทบาท
                           ่
             เจ้าเมืองพิษณุโลก เมืองลูกหลวงในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
             และในสถานภาพสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช จะตรงกับบทบาทพระ
             มหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ส่วนความหมายที่สองคือ บรรดาศักดิ์
             และตำแหน่งทางราชการที่ต่างกัน คือ เป็นขุน เป็นเจ้าเมือง และเป็นพระ
             มหากษัตริย์

             รายชื่อวรรณกรรมที่ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา
                     ผู้เขียนเลือกศึกษาวิเคราะห์ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่
             ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน โดย
             เลื อกวรรณกรรมที่มีเนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สมัยกรุง
             ศรีอยุธยาตั้งแต่เริ่มรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. ๒๐๕๗) จน
             สิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ. ๒๑๒๑) และปรากฏ
             บทบาทของตัวละครขุนพิเรนทรเทพ ตัวละครพระมหาธรรมราชา หรือตัว
             ละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชชัดเจน จำนวน ๑๕ เรื่อง

                 ๙ พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่
             ๓, (กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๙) หน้า ๒๓๙.




10-037(001-026)P2.indd 10                                                                  3/16/11 9:45:43 PM
บทนำ


                      วรรณกรรมที่ใช้เป็นข้อมูล เรียงลำดับตามช่วงเวลาที่แต่งหรือพิมพ์
                 เผยแพร่ได้ ดังต่อไปนี้
                      ๑) บทเสภาเรื่อง พระราชพงศาวดาร ตอน ศึกหงสาวดี ของ
                 สุนทรภู่ แต่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ คือ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๔ - พ.ศ.
                 ๒๔๑๑ (ในหนังสือเล่มนี้จะใช้ว่า เสภาพระราชพงศาวดาร)
                        ๒) โคลงภาพพระราชพงศาวดาร พระราชนิ พ นธ์ ใ นพระบาท
                 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกวีท่านอื่น ๆ เผยแพร่ครั้งแรกเพื่อ
                 ประกอบภาพพระราชพงศาวดาร ซึงใช้ประดับพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง
                                                 ่
                 เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐
                       ๓) เฉลิมเกียรดิ์กษัตรีย์คำฉันท์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม
                 พระนราธิปประพันธพงศ์ ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ พิมพ์เผย
                 แพร่ครั้งแรกในงานพระศพหม่อมเจ้าหญิงพรรณพิมล วรวรรณ เมื่อ พ.ศ.
                 ๒๔๖๒
                        ๔) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ (เดิมใช้ชื่อเรื่อง
                 ว่า ยอดขุนพล) ของ ยาขอบ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์
                 สุริยา พ.ศ. ๒๔๗๔
                       ๕) ลิลิตนเรศวร ของชุมพร แสนเสนา แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖
                 และพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายชุมพร แสน
                 เสนา พ.ศ. ๒๕๑๗
                      ๖) ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ
แหล่งคุณ ของศุภร บุนนาค แต่งเมื่อ พ.ศ.
                 ๒๕๑๖ เพื่อส่งประกวดและได้รางวัลที่ ๑ จากการประกวดวรรณกรรม
                 ไทยของธนาคารกรุงเทพ




10-037(001-026)P2.indd 11                                                            3/16/11 9:45:44 PM
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย


                   ๗) เพลงยาวอยุธยาวสาน ของจินตนา ปิ่นเฉลียว แต่งเมื่อ พ.ศ.
             ๒๕๑๖ เพื่อส่งประกวดและได้รับรางวัลทางวรรณคดีของมูลนิธิจอห์น
             เอฟ เคนเนดี้
                  ๘) บทละครดึกดำบรรพ์เรื่อง พระสุพรรณกัลยา เขียนเพื่อใช้
             แสดงทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม ใน พ.ศ. ๒๕๑๗
                     ๙) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สมเด็จพระสุริโยทัย ของธเนศ
             เนติโพธิ ดัดแปลงและเรียบเรียงจากบทละครโทรทัศน์เรื่อง สมเด็จพระ
     

             สุริโยทัย ของวรยุทธ พิชัยศรทัต บทละครโทรทัศน์ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์
             ข่าวสด พร้อมกับออกอากาศทางโทรทัศน์เมือ พ.ศ. ๒๕๓๕ และเรียบเรียง
                                                      ่
             เป็นนวนิยายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖
                  ๑๐) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง พระพี่นางสุพรรณกัลยาณี
             ของกาญจนา นาคนันทน์ พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๒
                    ๑๑) นวนิยายอิงประวัตศาสตร์เรือง สุรโยทัย ของคึกเดช กันตามระ
                                        ิ        ่     ิ
             พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๓
                  ๑๒) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง พ่อ ภาคหนึ่ง และภาคสอง
             ของปองพล อดิเรกสาร พิมพ์เผยแพร่ครังแรก พ.ศ. ๒๕๔๓ และ พ.ศ.
                                                 ้
             ๒๕๔๕
                    ๑๓) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง กษัตริยา ตอน แก้วกษัตริยา
             ของทมยันตี พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๕ (ในหนังสือเล่มนี้จะใช้
             ว่า กษัตริยา)
                  ๑๔) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง กษัตริยา ตอน อธิราชา ของ
             ทมยันตี ตีพิมพ์ในนิตยสาร สกุลไทย พ.ศ. ๒๕๔๖




10-037(001-026)P2.indd 12                                                         3/16/11 9:45:44 PM
บทนำ


                        ๑๕) บทร้อยกรองประวัติศาสตร์สงครามไทย-พม่า
 การเสียกรุง
                 ศรีอยุธยา
 ครั้งที่
 ๑ ของสนิท พูลพงศ์ พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ.
                 ๒๕๔๖ (ในหนังสือเล่มนี้จะใช้ว่า บทร้อยกรองประวัติศาสตร์สงครามฯ)

                 กรอบทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
                      (๑) มโนทัศน์เรือง “ภาพตัวแทน/การนำเสนอภาพตัวแทน
                                     ่
                 (representation)”
                        คำว่า “ภาพตัวแทน” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า representation
                 นอกจากคำว่า ภาพตัวแทนแล้ว ยังมีผู้ใช้คำอื่นที่สื่อความหมายเดียวกัน
                 อีก ได้แก่ คำว่าภาพแทน และภาพเสนอ
                      คำว่า representation ที่ใช้ในที่นี้มิได้มีความหมายเพียงแค่ภาพที่
                 เรามองเห็นเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติ ศัพท์เฉพาะคำนี้ยังครอบคลุมถึง
                 กระบวนการต่าง ๆ ในการเสนอภาพออกมาอีกด้วย ในที่นี้จึงขอใช้คำว่า
                 “การนำเสนอภาพตัวแทน” เมื่อกล่าวถึงคำว่า representation ในความ
                 หมายที่สื่อถึงกระบวนการนำเสนอ และใช้คำว่า “ภาพตัวแทน” ในความ
                 หมายที่สื่อถึงภาพแต่เพียงอย่างเดียว๑๐
                      คำว่า representation ในวิชาสือศึกษา (Media Studies) สามารถ
                                                   ่
                 แปลความหมายในนัยต่าง ๆ ได้ ๓ ประการ คือ
                            “
 ๑)
 ีลักษณะคล้ายคลึง
(To
look
like
or
to
resemble)

                             ( ม

                     ๑๐  ประเด็นเรื่องการแปลและเข้าใจความซับซ้อนของคำว่า presentation นี้ อาจดูเพิ่ม
                 เติมได้จากบทความเรื่อง “วาทกรรม ภาพแทน และอัตลักษณ์” ของ สุรเดช โชติอุดมพันธุ์
                 [ออนไลน์] ใน http://www.phd-lit.arts.chula.ac.th/Download/discourse.pdf [๒ สิงหาคม
                 ๒๕๕๓]		




10-037(001-026)P2.indd 13                                                                        3/16/11 9:45:45 PM
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย


                   
(๒)
ป็นตัวแทนของสิ่งของหรือบุคคล
(To
stand
in
for
some-

                        เ                                                  

             thing
or
someone)

                   
(๓)
 ำเสนอครั้งใหม่
 หรือนำเสนอซ้ำ
 (To
 present
 a
 second

                        น
             time
or
to
re-present)”๑๑
                     ความหมายของคำว่า representation ทังสามนัยข้างต้นนันสามารถ
                                                          ้               ้
             สรุปความได้ว่า การนำเสนอภาพตัวแทนเป็นการนำ “ความจริง” หรือ
             ภาพต้ น แบบมานำเสนอซ้ำอีกครั้ง โดยที่ การนำเสนอภาพตัวแทนนั้ น
             ไม่ ส ามารถนำเสนอได้ ต รงกั บ ภาพต้ น แบบ เพราะการนำเสนอภาพ
             ตัวแทนเป็นการนำภาพต้นแบบมานำเสนอครั้งใหม่ ภาพที่ถูกนำเสนอจึง
             มิได้มีคุณสมบัติเท่าเทียมกับความจริงดั้งเดิม แต่เป็นเพียง “ตัวแทน” ที่
             “คล้ายคลึง” กับความจริง/ภาพต้นแบบเท่านั้น โดยนัยนี้ ปรัชญาปรากฏ-
             การณ์นิยม (Phenomenology) อธิบายว่า “...ภาพตัวแทนมิใช่สิ่งที่เคย
             เป็นอยู่หรือมีอยู่
 แต่เป็นผลผลิตของการประกอบสร้างขึ้นใหม่ตลอดเวลา

             ภาพตัวแทนจะมีลักษณะเป็นอย่างไรจึงขึ้นอยู่กับว่าภาพนั้นจะถูกนำเสนอ
             ออกมาอย่างไร
 หรือกล่าวในแง่ของภาษาคือ
 ภาพตัวแทนนั้นถูกนิยาม
             หรือถูกเล่าเรื่องในลักษณะใด”๑๒
                    อาจกล่าวได้วา สาเหตุทภาพตัวแทนแปรเปลียนไปจากภาพต้นแบบ
                                ่        ี่                 ่
             นั้นเพราะรูปลักษณ์และคุณสมบัติบางประการถูก “สื่อกลาง” ที่ใช้นำ
             เสนอบิดเบือนลักษณะของภาพต้นแบบไป ในชีวิตประจำวัน สื่อกลางที่
             เป็นเครื่องมือในการนำเสนอภาพตัวแทนนั้น มิได้มีเพียงรูปภาพ (image)

                 ๑๑ Michael O’Shaughnessy and Jane Stadler, Media and society : an
             introduction, p.73.
                 ๑๒ กาญจนาแก้วเทพ, “สื่อและวัฒนธรรมศึกษากับสังคมไทย”, ใน รัฐศาสตร์สาร,
             ๒๓, ๓ (๒๕๔๕) : ๘๐.




10-037(001-026)P2.indd 14                                                                3/16/11 9:45:46 PM
บทนำ


                 ตามความหมายนัยตรงของคำว่าภาพเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงสื่อชนิด
                 อื่น ๆ ทุกชนิดที่มีความสามารถในการนำเสนอได้ ทั้งภาพวาด ภาพถ่าย
                 โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ ภาษา รวมทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ล้วน
                 แต่เป็นสื่อที่สามารถนำเสนอภาพตัวแทนได้ทั้งสิ้น
                       ไมเคิล โอ ชอจ์เนสซี (Michael O’Shaughnessy) และเจน
                 สเตดเลอร์ (Jane Stadler) (2005) ได้เสนอแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์
                 ระหว่างความจริง/ภาพต้นแบบและภาพตัวแทนไว้ ดังนี้


                                                การนำเสนอผ่านสื่อ
                                              Media Representation
                       สรรพสิ่ง/
                                              การประกอบสร้างโดยสื่อ          ภาพ/ตัวบท
                     ความเป็นจริง
                                               Media Construction           Image/Text
                   The World/Reality
                                                การตีความโดยสื่อ
                                               Media Interpretation

                            แผนภูมิ
๑
ความสัมพันธ์ระหว่างความจริง
สื่อ
และภาพตัวแทน


                         จากแผนภูมิข้างต้น สรรพสิ่งและความจริงต่าง ๆ ล้วนแต่ถูกเสนอ
                 ผ่านสื่อ ในกระบวนการนำเสนอนี้ สื่อย่อมมีบทบาทในการบิดเบือนภาพ
                 ของสรรพสิ่งเหล่านี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การนำเสนอ คือ การให้
                 ความหมายแก่สิ่งต่าง ๆ การประกอบสร้าง คือ การดึงเอาความหมาย
                 ต่ า ง ๆ ในวั ฒ นธรรมมาให้ ค วามหมายแก่ สิ่ ง ที่ ถู ก นำเสนอ และการ
                 ตีความ คือ การแปลความหมายของสิ่งที่นำเสนอไปในทิศทางที่ผู้ส่งสาร
                 เข้าใจ และในที่สุดก็จะได้ภาพ หรือตัวบทซึ่งมีลักษณะแปรเปลี่ยนไปจาก
                 สรรพสิ่งที่เป็นต้นแบบ เพราะผ่านกระบวนการทั้งสามข้างต้นมาแล้ว




10-037(001-026)P2.indd 15                                                                3/16/11 9:45:47 PM
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย


                     นอกจากนี้ จะสังเกตได้ว่าลูกศรที่อยู่ระหว่างกรอบที่ ๑ สรรพสิ่ง/
             ความจริง กับกรอบที่ ๒ การนำเสนอผ่านสื่อ การประกอบสร้างผ่าน
             สื่อ และการตีความโดยสื่อนั้นเป็นลูกศรสองด้าน เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ
             มโนทัศน์เรื่องภาพตัวแทนเชื่อว่ามนุษย์ไม่อาจประจักษ์ถึงความจริงแท้
             (Reality) ได้โดยง่าย หากแต่ความจริงแท้ที่เราเข้าใจนั้นก็ถูกนำเสนอผ่าน
             สื่อเช่นกัน จึงต้องมีหัวลูกศรชี้กลับเพื่อสื่อนัยว่า ตัวของ “ความจริง” เอง
             ก็มีที่มาจากการนำเสนอภาพตัวแทนด้วย
                     อนึ่ง การที่เราเรียกภาพที่ถูกเสนอผ่านสื่อว่าเป็น “ตัวบท” (Text)
             นั้น เพราะรูปลักษณ์ของภาพนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นภาพ ตัวอักษร หรือ
             สัญลักษณ์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ภาพตัวแทนนั้นมีความหมายกว้าง
             ครอบคลุมถึงวัตถุทุกชนิดที่ผู้รับสารสามารถรับรู้ได้ทางโสตประสาท และ
             เอื้อต่อการศึกษาวิเคราะห์ ดังที่ โอ ชอจ์เนสซี และ สเตดเลอร์ อธิบาย
             ว่า ตัวบทคือ สื่อทุกชนิด เช่น ภาพถ่าย โฆษณา ภาพยนตร์ นิตยสาร
             เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ บทความหนังสือพิมพ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวบท
             ต้องสามารถที่จะถูกผลิตซ้ำได้และสามารถนำมาวิเคราะห์ได้๑๓
                   จากความหมายที่เสนอมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าประเด็นสำคัญของ
             การนำเสนอภาพตั ว แทนนั้ น คื อ ความไม่ เ ท่ า เที ย มกั น ระหว่ า งภาพ
             ต้นแบบกับภาพตัวแทน อันเนื่องมาจากบทบาทของ “สื่อ” ที่ใช้นำเสนอ
             ภาพตัวแทน สจ๊วต ฮอลล์ (Stuart Hall) นักวิชาการวัฒนธรรมศึกษาได้
             เสนอว่ า สื่ อ ที่ มี บ ทบาทสำคั ญ ที่ สุ ด ในการเสนอภาพตั ว แทนนั้ น คื อ
             “ภาษา” เพราะมนุษย์คิดและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ผ่านภาษาทั้งสิ้น เขาอธิบาย
             ว่า กระบวนการเสนอภาพตัวแทน (System of Representation) มีสอง

                 ๑๓ Michael  O’Shaughnessy and Jane Stadler, Media and society : an
             introduction, p. 91.




10-037(001-026)P2.indd 16                                                                 3/16/11 9:45:48 PM
บทนำ


                 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนแรก มนุษย์มี “มโนทัศน์” (ซึ่งหมายถึงภาษาสามัญ
                 ทั่วไปที่มนุษย์ใช้แปลความคิดออกมา) เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อยู่ในสมอง
                 มโนทัศน์เหล่านี้หมายรวมถึงรูปธรรม เช่น แก้วน้ำ เก้าอี้ ต้นไม้ และ
                 นามธรรม เช่น ความดี ความชั่ว ความสุข ความทุกข์ มโนทัศน์เหล่านี้
                 จะมีอยู่ในสมองของมนุษย์อยู่แล้วเพราะได้ผ่านการเรียนรู้สั่งสมหรือจาก
                 ประสบการณ์ของปัจเจกบุคคลในสังคม จากนั้น ในขั้นตอนต่อมา มนุษย์
                 จะได้รับสารผ่านตัวบทด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ดู ฟัง พูดคุย อ่าน ฯลฯ
                 ในขั้นตอนนี้ภาษาจะเข้ามามีบทบาทคือเป็นรหัสที่ช่วยให้มนุษย์สามารถ
                 เชื่อมโยงสารดังกล่าวเข้ากับมโนทัศน์ในสมองของตนได้ ตัวอย่างเช่น
                 เมื่อเราได้ยินคำว่า แก้วน้ำ เราก็จะสามารถเชื่อมโยงคำนี้เข้ากับภาชนะ
                 ทรงกระบอกสำหรับใช้บรรจุของเหลวที่ใช้ดื่มได้ทันที เพราะเรามีข้อมูล
                 เกี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งเสี ย งของคำว่ า แก้ ว น้ ำ กั บ วั ต ถุ อั น ได้ แ ก่
                 ภาชนะดังกล่าวอยู่ในสมอง (ซึ่งฮอลล์เรียกว่า “มโนทัศน์” เกี่ยวกับแก้ว
                 น้ำ)๑๔
                         ด้วยเหตุทภาษาเป็นสือสำคัญทีสดในการเสนอภาพตัวแทน ฮอลล์จง
                                  ี่        ่       ่ ุ                              ึ
                 ให้ความหมายของ “การนำเสนอภาพตัวแทน” ว่าหมายถึง “การใช้ภาษา
           

                 เพื่อกล่าวถึง/นำเสนอสรรพสิ่งโดยที่มีการเน้นย้ำความหมาย”      ๑๕ หรื อ

                 กล่าวโดยละเอียดคือ “การนำเสนอภาพตัวแทนเป็นกระบวนการผลิต
                 ความหมายจากมโนทัศน์ในความคิดของเราผ่านทางภาษา
 ภาพตัวแทน
                 เป็นสิ่งเชื่อมโยงมโนทัศน์กับภาษาเข้าด้วยกันเพื่อใช้อ้างอิงถึงโลกแห่ง
                 ความจริงหรือแม้แต่โลกจินตนาการ”๑๖ ในการให้ความหมายของภาพ
                     ๑๔ Stuart Hall, Representation: Cultural Representations and Signifying
                 Practices, pp. 16-22.
                     ๑๕     ibid, p. 15.
                     ๑๖ibid,    pp. 15-19.




10-037(001-026)P2.indd 17                                                                                   3/16/11 9:45:49 PM
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย


             ตัวแทนนั้น นพพร ประชากุล อธิบายว่า การนำเสนอภาพตัวแทนจะ
             “...เลือกเอาคุณลักษณะบางอย่างมาขับเน้น
แล้วนำเสนอออกมาประหนึ่ง
             ว่าเป็นตัวแทนของทั้งหมด”๑๗ ตัวอย่างเช่น มนุษย์คนหนึ่งอาจจะมีทั้ง
             ข้อดีและข้อเสีย แต่การนำเสนอภาพตัวแทนมนุษย์คนดังกล่าวอาจจะ
             เลือกเฉพาะด้านดีมานำเสนอให้เป็นวีรบุรุษ หรืออาจจะเลือกเฉพาะด้านที่
             ไม่ดีมานำเสนอให้เป็นผู้ร้ายก็ได้ หรือการรณรงค์ท่องเที่ยวตลาดโบราณ
             แนวตลาดร้อยปี อาจจะเลือกเน้นประชาสัมพันธ์เฉพาะสิ่งที่มีคุณลักษณะ
             แบบโบราณ เช่น ของเล่น อาหารการกิน และการแต่งกายของคนใน
             ตลาดที่พ้นสมัยไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วในตลาดนั้นอาจจะมีสินค้า
             และผู้คนที่ทันสมัยตามปกติรวมอยู่ด้วยก็ได้
                     จากแนวทางการศึกษาภาพตัวแทนที่กล่าวมาทั้งหมด ผู้เขียนเห็น
             ว่ามโนทัศน์เรื่องภาพตัวแทนนั้นเป็นมโนทัศน์ที่สอดคล้องกับปัญหาของ
             การวิจัยเรื่องนี้ เพราะเป็นมโนทัศน์ที่ใช้วิพากษ์การเสนอภาพตัวแทน
             ในวรรณกรรมว่ามิได้สะท้อนความจริงของภาพต้นแบบอย่างเต็มที่เช่น
             เดียวกับที่ภาพของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไม่ได้สะท้อน
             ภาพของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่เป็นบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ ดัง
             จะเห็นได้ว่า ถ้าหากภาพของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรม
             สะท้อนภาพประวัติศาสตร์อย่างเที่ยงตรงแล้ว ภาพของสมเด็จพระมหา-
             ธรรมราชาในวรรณกรรมแต่ละเรื่องก็ควรจะเป็นภาพเดียวกันหรือคล้าย
             คลึงกัน แต่การที่ภาพของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมที่นำ
             มาเป็นข้อมูลศึกษาแตกต่างกระจัดกระจายกันเป็นอย่างมากนั้นชี้ให้เห็น
             ว่ า กลวิ ธี ใ นการเล่ า เรื่ อ งของผู้ ป ระพั น ธ์ แ ต่ ล ะคนมี บ ทบาทในการ “นำ
                 ๑๗ นพพร  ประชากุล, “‘การวิจารณ์ในแนวหลังอาณานิคม’ อาวุธที่ถูกเมินในกระแสวิชา
             การของโลกที่สาม” ใน ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม ๒ ว่าด้วยสังคมศาสตร์และ
             มนุษยศาสตร์, (กรุงเทพฯ : อ่าน และ วิภาษา, ๒๕๕๒) หน้า ๔๑๕.




10-037(001-026)P2.indd 18                                                                       3/16/11 9:45:50 PM
บทนำ


                 เสนอ” ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาในแบบฉบับของตนทั้งสิ้น โดย
                 เฉพาะการนำเสนอภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในจุดเน้นที่
                 แตกต่างกันจนเกิดเป็นภาพของ “วีรบุรุษ” “ผู้ร้าย” หรือภาพในลักษณะ
                 อื่นโดดเด่นขึ้นมาในวรรณกรรมแต่ละเรื่อง
                            (๒) มายาคติ (Mythology) : ความหมายแฝงในภาพตัว
                 แทน
                         คำว่ามายาคติ (Mythology) ในที่นี้ใช้ตามคำที่ศาสตราจารย์ชาว
                 ฝรังเศสชือโรลองด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) ใช้ในหนังสือรวมบทความ
                     ่     ่
                 ของเขาชื่อ มายาคติ
 (Mythologies) ในหนังสือเล่มดังกล่าว บาร์ตส์
                 เขี ย นบทความวิ เ คราะห์ ก ารสื่ อ ความหมายทางวั ฒ นธรรมในกิ จ กรรม
                 ธรรมดา ๆ ในชีวิตประจำวันของชาวฝรั่งเศส เช่น กีฬามวยปล้ำ โฆษณา
                 ผงซักฟอก นักเขียนไปพักร้อน เป็นต้น๑๘
                        สจ๊วต ฮอลล์ อธิบายว่า ในการเขียนบทความเหล่านั้น บาร์ตส์แบ่ง
                 การสื่อความหมายในสิ่งที่เขาวิเคราะห์ออกเป็นสองประเภท คือ ความ
                 หมายระดับผิว (denotation) และความหมายแฝง (connotation) ความ
                 หมายระดับผิวนั้น คือ ความหมายตรงตัวที่คนส่วนใหญ่เข้าใจตรงกัน แต่
                 ความหมายแฝงนั้นคือความหมายที่ถูก “เข้ารหัสทางวัฒนธรรม” กล่าว
                 คือ เป็นความหมายที่ผู้คนคุ้นชินและรับรู้อย่างลึก ๆ ในใจโดยผู้รับสาร
                 อาจจะไม่ทันสังเกต๑๙


                     ๑๘ โรล็องด์บาร์ตส์, มายาคติ, แปลโดย วรรณพิมล อังคศิริทรัพย์, พิมพ์ครั้งที่ ๒
                 (กรุงเทพฯ : คบไฟ, ๒๕๔๗)		
                     ๑๙ Stuart Hall, Representation: Cultural Representations and Signifying
                 Practices, p. 38-39.




10-037(001-026)P2.indd 19                                                                     3/16/11 9:45:51 PM
0
                                   ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย


                     ตัวอย่างของความหมายแฝง เช่น ตัวร้ายในกีฬามวยปล้ำมักจะมี
             รูปลักษณ์ที่น่าเกลียดชวนสะอิดสะเอียนและต่อสู้ด้วยวิธีการที่ไม่ซื่อสัตย์
             ภาพตัวร้ายในกีฬามวยปล้ำจึงเป็นภาพที่สื่อความหมายแฝงถึงความชั่ว
             ร้ า ยไม่ พึ ง ปรารถนาและอยุ ติ ธ รรมซึ่ ง เป็ น ปรปั ก ษ์ กั บ ค่ า นิ ย มของชาว
             ฝรั่งเศสได้อย่างชัดเจน การใช้ความรุนแรงกับตัวร้ายในกีฬามวยปล้ำจึง
             เป็นการปราบปรามความอยุติธรรมอันน่ารังเกียจ ซึ่งเป็นปรปักษ์กับค่า-
             นิยมเรื่องความเที่ยงธรรม หรือภาพนักเขียนไปพักร้อนที่อยู่ในนิตยสาร
             โดยที่นักเขียนคนดังกล่าวกำลังอ่านและเขียนหนังสือไปด้วย ก็สื่อความ
             หมายแฝงว่าอาชีพนักเขียนเป็นอาชีพที่สูงส่งและมีเกียรติภูมิสูงมากจน
             ต้องทำงานตลอดเวลาแม้จะกำลังประกอบกิจกรรมการพักผ่อนเช่นคน
             ทั่วไป๒๐
                     บาร์ตส์เรียกความหมายแฝงที่อยู่ลึกกว่าระดับผิวนี้ว่า “มายาคติ”
             (myth) ซึ่งหมายถึง “การสื่อความหมายด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรม
             ซึ่งถูกกลบเกลื่อนให้เป็นที่รับรู้เสมือนว่าเป็นธรรมชาติ”๒๑ เช่น ในกรณี
             กี ฬ ามวยปล้ ำ การที่ ตั ว ร้ า ยผู้ เ ป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องความชั่ ว นั้ น ต้ อ งมี
             พฤติกรรมเล่นโกง ก็สื่อถึงค่านิยมของสังคมฝรั่งเศสว่า ความไม่ซื่อสัตย์
             เป็นพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในสังคมนี้ หรือภาพนักเขียนไปพักร้อนที่
             กล่าวถึงข้างต้นก็แฝงค่านิยมเรื่องการยกย่องอาชีพนักเขียนมากเป็นพิเศษ
             เหตุที่เรียกลักษณะการเสนอภาพตัวแทนเช่นนี้ว่า “มายาคติ” นั้นก็เป็น
             เพราะความหมายแฝงเหล่านี้ถูกทำให้เป็นธรรมชาติ กล่าวคือ ความ
             หมายแฝงนั้ นเป็นเพียงความหมายที่ซ่อนอยู่ หากไม่สังเกตหรือตั้งใจ
             วิเคราะห์ ผู้รับสารก็จะรับรู้เฉพาะความหมายระดับผิวเท่านั้น

                 ๒๐ โรล็องด์   บาร์ตส์, มายาคติ, แปลโดย วรรณพิมล อังคศิริทรัพย์, หน้า ๒๕-๔๓.
                 ๒๑ นพพร    ประชากุล, “คำนำเสนอบทแปล” ใน เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔.




10-037(001-026)P2.indd 20                                                                             3/16/11 9:45:52 PM
บทนำ


                       ความคิดของบาร์ตส์เรื่องมายาคตินี้ มีบทบาทสำคัญในการเน้นย้ำ
                 ปัญหาสำคัญในการศึกษาการนำเสนอภาพตัวแทน โดยชี้ให้เห็นว่า ความ
                 หมายที่ภาพตัวแทนสื่อออกมานั้นมีได้ถึงสองระดับ และความหมายใน
                 ระดับที่เรียกว่าความหมายแฝงนั้นถูกประกอบสร้างขึ้นมาด้วยค่านิยม
                 คุณธรรม และอุดมการณ์ของสังคม ความหมายที่สร้างขึ้นนี้จึงซับซ้อน
                 ยอกย้อนและมิสามารถเปิดเผยเฉพาะด้านที่จริงแท้ของสรรพสิ่งได้
                       ในบทที่ ๕ ของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนจะประยุกต์ความคิดเรื่อง
                 ความหมายระดับผิว-ความหมายแฝง ประกอบกับมโนทัศน์เรื่องวาทกรรม
                 (discourse) เพื่อใช้อธิบายความคิดทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมที่
                 แฝงอยู่เบื้องหลังการประกอบสร้างภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรม-
                 ราชาในวรรณกรรมแต่ละเรื่อง
                     (๓) วาทกรรม (discourse) ของมิแชล ฟูโกต์ (Michel
                 Foucault) : เบื้องหลังของความรู้และความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
                 ของภาพตัวแทน
                       ในการศึกษาภาพตัวแทนโดยทั่วไป รวมทั้งในหนังสือเล่มนี้ มักจะ
                 อาศัยมโนทัศน์เรื่อง วาทกรรม ของมิแช็ล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
                 นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสเป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ด้วยเสมอ
                 เพราะมโนทัศน์เรื่องวาทกรรมนี้สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
                 ของการนำเสนอภาพตัวแทนได้
                       คำว่ า วาทกรรม หรื อ discourse นั้ น โอ ชอจ์ เ นสซี และ
                 สเตดเลอร์ อธิบายว่ามีที่มาจากคำภาษาฝรั่งเศสว่า discours ซึ่งหมายถึง
                 การพูดจาหรือบทสนทนา โดยทั่วไปแล้วคำนี้ใช้กล่าวถึงการสนทนาเพื่อ
                 แสดงทัศนคติและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ เมื่อกลุ่มคนในสังคมแต่ละกลุ่มมี
                 การแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม



10-037(001-026)P2.indd 21                                                        3/16/11 9:45:53 PM
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย


             แต่ละสังคมจะพัฒนาความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นร่วมกัน จนในที่สุดความ
             รู้นั้นก็กลายเป็นความเข้าใจร่วมกันของคนในสังคม คำว่าวาทกรรมจึงใช้
             เพื่ อ กล่ า วถึ ง ข้ อ ถกเถี ย งอภิ ป รายหรื อ ปฏิ สั ม พั น ธ์ ข องความหมายและ
             ทัศนคติต่าง ๆ (ของกลุ่มคนในสังคม)เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่าง
             เฉพาะเจาะจง ข้อถกเถียงและปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวนี้แสดงออกผ่านสื่อและ
             วิธีการที่หลากหลาย๒๒
                    ด้วยเหตุนี้ คำว่าวาทกรรมจึงนิยามได้ว่า หมายถึง “กระบวนทัศน์
             หรือแนวทางของความรู้ความเข้าใจที่สื่อสารออกมาผ่านทางการใช้ภาษา
             และตัวบทอื่น
 ๆ
 กระบวนการดังกล่าวนี้ทำให้เกิดความรู้และอำนาจทาง
             สังคมขึน”๒๓ วาทกรรมเป็น “...กลุมถ้อยคำทีใช้แสดงความรูหรือวิธการที

                     ้                         ่           ่           ้      ี     ่
             ใช้นำเสนอความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์
             ที่เจาะจง”๒๔
                    จากคำนิยามดังกล่าว อาจขยายความได้ว่า วาทกรรมไม่ได้จำกัด
             เพียงถ้อยคำหรือภาษา แต่วาทกรรมปรากฏออกมาในรูปขององค์ความรู้
             ทั้งระบบ ฟูโกต์อธิบายว่า การให้ความหมายต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแต่ละช่วง
             เวลาจะต้องอยู่ในกรอบของวาทกรรมเท่านั้น๒๕ โดยที่แต่ละวาทกรรมนั้น
             ประกอบด้วย (๑) กรอบของคำอธิบายเกี่ยวกับความรู้ที่สามารถให้ความ
             เข้าใจที่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับเรื่องราวหนึ่ง ๆ (๒) กฎเกณฑ์

                 ๒๒ Michael  O’Shaughnessy and Jane Stadler, Media and society : an
             introduction, p. 150.
                 ๒๓ Ibid.,   150.
                 ๒๔ Michel Foucault cited in Stuart Hall, Representation: Cultural Repre-
             sentations and Signifying Practices, p. 44.
                 ๒๕ ibid.,   p. 45.




10-037(001-026)P2.indd 22                                                                       3/16/11 9:45:54 PM
บทนำ


                 ในการกล่าวถึงหรือแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว (๓) องค์-
                 ประธานที่ทำให้มองเห็นภาพของวาทกรรมนั้นชัดเจน (๔) วิธีการที่ทำให้
                 วาทกรรมนั้นน่าเชื่อถือ มีฐานะเป็น “ความจริงแท้” ที่มีพลังในสังคม (๕)
                 กิจกรรมทางสังคมและสถาบันทางสังคมที่ใช้บริหารจัดการองค์ประธานใน
                 วาทกรรม และ (๖) การยอมรับว่าในอนาคตจะต้องมีวาทกรรมชุดอื่นที่
                 ก่อร่างขึ้นมาจากองค์ความรู้และวิธีการมองโลกแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาแทน
                 วาทกรรมชุดเก่า๒๖
                          ตัวอย่างเช่น วาทกรรมความอ้วนในปัจจุบัน ที่มองว่าความอ้วน
                 เป็ น ภั ย ที่ ต้ อ งกำจั ด โดยอาศั ย คำอธิ บ ายจากความรู้ ท างวิ ท ยาศาสตร์
                 สุขภาพว่าความอ้วนก่อให้เกิดโรคภัย ค่านิยมจากวงการแฟชั่นที่มองว่า
                 รูปร่างบอบบางนั้นสวยงามกว่าและสามารถสวมใส่เสื้อผ้าตามแฟชั่นได้
                 เหมาะสมกว่า อุดมการณ์จากสินค้าประเภทลดน้ำหนักและสุขภาพที่ฉาย
                 ภาพคนอ้วนน่าเยาะเย้ยและขบขัน การประกวด “ธิดาช้าง” เพื่อเน้น
                 ความขบขันอันเกิดจากความไม่เข้ากันของความอ้วนและความงาม และ
                 ความคิดความเชืออืน ๆ ในสังคม ระบบต่าง ๆ เหล่านีสร้างเป็น “ความรู”
                                       ่ ่                              ้                  ้
                 เกี่ยวกับความผอมและความอ้วนที่คนมองว่าเป็น “ความจริง” กิจกรรม
                 ต่าง ๆ ในสังคมก็เข้ามาร่วมจัดการกับความอ้วนทั้งทางตรง เช่น จัด
                 กิจกรรมรณรงค์ทางสุขภาพเพื่อต่อสู้กับความอ้วน และทางอ้อม เช่น
                 การหยอกล้อเพื่อนที่มีรูปร่างอ้วน การสอนเด็กให้กินอาหารที่ทำให้ไม่อ้วน
                 เช่น สอนให้กินผักมาก ๆ เพราะทุกคนในสังคมยอมรับตรงกันในกรอบ
                 คิดว่า ความอ้วนเป็นสภาวะไม่พึงประสงค์ เป็นภัยต่อร่างกายที่ต้องกำจัด
                 คนในสังคมที่ตกอยู่ภายใต้วาทกรรมนี้จึงถูกครอบงำอยู่โดยไม่รู้ตัว เช่น
                 คนอ้วนจะรู้สึกผิดรู้สึกอับอายเองเพราะรู้สึกว่าความอ้วนของตนเองเป็น

                     ๒๖ ibid.,   p. 45-46.




10-037(001-026)P2.indd 23                                                                 3/16/11 9:45:55 PM
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชChoengchai Rattanachai
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 5
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 5เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 5
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 5Thanawut Rattanadon
 
ผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ
ผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ
ผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธDrDanai Thienphut
 
สไลด์ ชาวพุทธตัวอย่าง ป.2+434+dltvsocp2+55t2soc p02 f02-1page
สไลด์ ชาวพุทธตัวอย่าง ป.2+434+dltvsocp2+55t2soc p02 f02-1pageสไลด์ ชาวพุทธตัวอย่าง ป.2+434+dltvsocp2+55t2soc p02 f02-1page
สไลด์ ชาวพุทธตัวอย่าง ป.2+434+dltvsocp2+55t2soc p02 f02-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...chaiwat vichianchai
 
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาChinnakorn Pawannay
 
การศึกษาไทยในสมัยโบราณ
การศึกษาไทยในสมัยโบราณการศึกษาไทยในสมัยโบราณ
การศึกษาไทยในสมัยโบราณssuser930700
 
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 3
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 3อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 3
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 3Mahidol University, Thailand
 
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..Samorn Tara
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานSiriporn Kusolpiamsuk
 
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียนการตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียนPrachyanun Nilsook
 
ใบความรู้ที่ 1 หลักการสร้างหนังสั้น
ใบความรู้ที่ 1 หลักการสร้างหนังสั้นใบความรู้ที่ 1 หลักการสร้างหนังสั้น
ใบความรู้ที่ 1 หลักการสร้างหนังสั้นchaiwat vichianchai
 
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)Kornfern Chayaboon
 
บันทึกท่องโลก
บันทึกท่องโลกบันทึกท่องโลก
บันทึกท่องโลกKruBowbaro
 

Was ist angesagt? (20)

เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 
ภาพการ์ตูน
ภาพการ์ตูนภาพการ์ตูน
ภาพการ์ตูน
 
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
หน่วยที่ 10 โคลงนิราศนรินทร์
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 5
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 5เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 5
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 5
 
ผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ
ผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ
ผู้นำแห่งวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ
 
สไลด์ ชาวพุทธตัวอย่าง ป.2+434+dltvsocp2+55t2soc p02 f02-1page
สไลด์ ชาวพุทธตัวอย่าง ป.2+434+dltvsocp2+55t2soc p02 f02-1pageสไลด์ ชาวพุทธตัวอย่าง ป.2+434+dltvsocp2+55t2soc p02 f02-1page
สไลด์ ชาวพุทธตัวอย่าง ป.2+434+dltvsocp2+55t2soc p02 f02-1page
 
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...
รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาหนังสั้นภูมิปัญญาไทยบ้านเรือนไ...
 
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
 
การศึกษาไทยในสมัยโบราณ
การศึกษาไทยในสมัยโบราณการศึกษาไทยในสมัยโบราณ
การศึกษาไทยในสมัยโบราณ
 
CLIL lesson plan
CLIL lesson planCLIL lesson plan
CLIL lesson plan
 
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 3
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 3อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 3
อ่านบทความวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด 3
 
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
สคริปต์ Story board-หนังสั้นเพียงเพราะ..
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
 
โครงการบริจาคโลหิต
โครงการบริจาคโลหิตโครงการบริจาคโลหิต
โครงการบริจาคโลหิต
 
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียนการตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
 
ใบความรู้ที่ 1 หลักการสร้างหนังสั้น
ใบความรู้ที่ 1 หลักการสร้างหนังสั้นใบความรู้ที่ 1 หลักการสร้างหนังสั้น
ใบความรู้ที่ 1 หลักการสร้างหนังสั้น
 
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
 
บันทึกท่องโลก
บันทึกท่องโลกบันทึกท่องโลก
บันทึกท่องโลก
 
ละครไทย
ละครไทยละครไทย
ละครไทย
 
42ลอยกระทง
42ลอยกระทง42ลอยกระทง
42ลอยกระทง
 

Ähnlich wie ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย

9789740335887
97897403358879789740335887
9789740335887CUPress
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมmayavee16
 
๙ กษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
๙ กษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี๙ กษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
๙ กษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีSumintra Boonsri
 
111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143sibsakul jutaphan
 
บทพากย์เอราวัณ
บทพากย์เอราวัณบทพากย์เอราวัณ
บทพากย์เอราวัณRodchana Pattha
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 

Ähnlich wie ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย (20)

สุนทรภู่
สุนทรภู่สุนทรภู่
สุนทรภู่
 
9789740335887
97897403358879789740335887
9789740335887
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
 
Ppt1
Ppt1Ppt1
Ppt1
 
Sss
SssSss
Sss
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่สุนทรภู่
สุนทรภู่
 
วรรณคดี
วรรณคดีวรรณคดี
วรรณคดี
 
๙ กษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
๙ กษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี๙ กษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
๙ กษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
 
111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143
 
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
สมเด็จพระนาราย์มหาราช
สมเด็จพระนาราย์มหาราชสมเด็จพระนาราย์มหาราช
สมเด็จพระนาราย์มหาราช
 
สมเด็จพระนเศวรมหาราช
สมเด็จพระนเศวรมหาราชสมเด็จพระนเศวรมหาราช
สมเด็จพระนเศวรมหาราช
 
ลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่ายลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่าย
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
 
บทพากย์เอราวัณ
บทพากย์เอราวัณบทพากย์เอราวัณ
บทพากย์เอราวัณ
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่  สุนทรภู่
สุนทรภู่
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 

Mehr von CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419CUPress
 

Mehr von CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
 

ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย

  • 1. บทนำ บทนำ 10-037(001-026)P2.indd 1 3/16/11 9:45:34 PM
  • 2. ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย “... นิยายอิงพงศาวดารไทยถูกทำให้เป็นทังงานเขียนประวัต-ิ ้ ศาสตร์และงานบันเทิงเริงรมย์พร้อมกันไปในตัว”๑ (สุเนตร ชุตินธรานนท์) วี ร กรรมของวี ร บุ รุ ษ และวี ร สตรี ไ ทยสมั ย อยุ ธ ยา โดยเฉพาะใน ช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ไปจนถึงการกอบกู้เอกราช นับเป็น แรงบันดาลใจสำคัญให้นักประพันธ์ในยุคต่าง ๆ นำมาสร้างเป็นผลงาน วรรณกรรมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นต้นมา อย่าง เช่น เหตุการณ์การสละพระชนม์ชีพของสมเด็จพระสุริโยทัย มีปรากฏทั้ง ใน โคลงภาพพระราชพงศาวดาร (พ.ศ. ๒๔๓๐) เฉลิมเกียรดิ์กษัตรีย ์ คำฉันท์ (พ.ศ. ๒๔๕๘) นวนิยายเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ (พ.ศ. ๒๔๗๔) สมเด็จพระสุริโยทัย (พ.ศ. ๒๕๓๕) และสุริโยทัย (พ.ศ. ๒๕๔๓) หรือ เหตุการณ์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี ก็มีปรากฏ ทั้งใน ลิลิตตะเลงพ่าย (พ.ศ. ๒๓๗๕) โคลงภาพพระราชพงศาวดาร (พ.ศ. ๒๔๓๐) ลิลิตนเรศวร (พ.ศ. ๒๔๙๖) นวนิยายเรื่อง มหาราชโสด (พ.ศ. ๒๕๑๔) และ อธิราชา (พ.ศ. ๒๕๔๖) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีบุคคลในประวัติศาสตร์อีกจำนวนไม่น้อยที่แม้ จะไม่ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษหรือวีรสตรีของชาติ แต่นักประพันธ์ก็ สนใจนำเรื่องราวมาถ่ายทอดในวรรณกรรมอยู่เสมอ เช่น ขุนวรวงศาธิราช ท้ า วศรี สุ ด าจั น ทร์ สมเด็ จ พระมหิ น ทราธิ ร าช และพระวิ สุ ท ธิ ก ษั ต รี ย์ เป็นต้น ในจำนวนนี้ “ขุนพิเรนทรเทพ” ผู้มีเรื่องราวปรากฏในเอกสาร ประวัติต่าง ๆ เช่น พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ในราว พ.ศ. ๒๐๖๘ ในฐานะแม่ทัพในแผ่นดินสมเด็จพระชัยราชาธิราช และได้ ๑สุเนตร ชุตินธรานนท์, บุเรงนอง (กะยอดินนรธา) กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๘), หน้า ๑๘๐. 10-037(001-026)P2.indd 2 3/16/11 9:45:35 PM
  • 3. บทนำ ขึ้นครองราชย์เป็น “สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ พระมหาธรรมราชา” ใน ราว พ.ศ. ๒๑๑๒๒ ถือเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ผู้หนึ่งที่ถูกนำมาสร้าง เป็นตัวละครในวรรณกรรมหลายเรื่อง จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ผู้เขียนพบว่าตัวละครสมเด็จพระ มหาธรรมราชาปรากฏในวรรณกรรมไทยอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ปลายสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบันอย่างน้อย ๑๕ เรื่อง กล่าวคือ เริ่ม ปรากฏใน เสภาพระราชพงศาวดาร ที่สุนทรภู่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และปรากฏอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงล่าสุดในนวนิยายเรื่อง อธิราชา ของทมยันตี ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร สกุลไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ น่า สังเกตว่า วรรณกรรมที่ปรากฏบทบาทของสมเด็จพระมหาธรรมราชา มี ทั้งที่แต่งเป็นร้อยกรอง เช่น กลอน โคลง และคำฉันท์ และที่แต่งเป็น ร้ อ ยแก้ ว ได้ แ ก่ นวนิ ย าย นั บ ว่ า ตั ว ละครสมเด็ จ พระมหาธรรมราชา ในวรรณกรรมไทยเป็ น ตั ว ละครที่ ป รากฏซ้ ำ ในลั ก ษณะที่ ห ลากหลาย เพราะปรากฏในวรรณกรรมหลายสำนวน หลายยุคสมัย และหลายรูป- แบบแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชา มิได้ปรากฏในฐานะตัวประกอบเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวละครเอกในนวนิยาย เรื่อง พ่อ ของปองพล อดิเรกสาร (พ.ศ. ๒๕๔๓) อีกด้วย เหตุ ที่ เ รื่ อ งราวของสมเด็ จ พระมหาธรรมราชาเป็ น ที่ ส นใจของผู้ ประพันธ์วรรณกรรมไทยเป็นอย่างมากนั้นน่าจะเป็นเพราะสมเด็จพระ มหาธรรมราชาทรงเป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้ทรง เป็นวีรบุรุษพระองค์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่วรรณกรรมนิยมนำเสนอ เรื่องราวของพระองค์อยู่เสมอนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อวรรณกรรม ๒ ปีพุทธศักราชนี้อ้างจาก พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๕), หน้า ๖๕-๑๐๕. 10-037(001-026)P2.indd 3 3/16/11 9:45:36 PM
  • 4. ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย หลายเรืองมุงนำเสนอเรืองราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วรรณกรรม ่ ่ ่ แต่ละเรื่องเหล่านั้นจึงมักจะต้องกล่าวถึงรายละเอียดของสมเด็จพระมหา- ธรรมราชาผู้เป็นพระราชบิดาด้วย ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ เช่น พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราช หัตถเลขา นั้น เรื่องราวของสมเด็จพระมหาธรรมราชาปรากฏยาวนานถึง ๕ รัชสมัย คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๕๗ เมื่อสมเด็จพระชัยราชาธิราชเสด็จ จากเมืองพิษณุโลกมาครองกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรง ดำรงยศเป็นขุนพิเรนทรเทพผู้ติดตามสมเด็จพระชัยราชาธิราชมาด้วย ต่อมา สมเด็จพระชัยราชาธิราชถูกลอบปลงพระชนม์ พระยอดฟ้าพระ ราชโอรสผู้ครองราชย์ต่อมาถูกประหารชีวิต ขุนวรวงศาธิราชได้ราชสมบัติ ขุนพิเรนทรเทพก็ได้มีบทบาทสำคัญในการล้มล้างอำนาจของขุนวรวงศา ธิ ร าช รวมถึงสนับสนุนให้พระเทียรราชาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชในเวลาต่อมา จากนั้น ในรัชสมัยสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ขุนพิเรนทรเทพได้รับการสถาปนาเป็น พระมหาธรรมราชาผู้ครองเมืองพิษณุโลก และหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๑๑๒ พระมหาธรรมราชาทรงได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ แห่ง กรุงศรีอยุธยา๓ วรรณกรรมที่เสนอเรื่องราวของสมเด็จพระมหาธรรมราชา มีทั้ง วรรณกรรมที่เลือกเสนอบทบาทของสมเด็จพระมหาธรรมราชาตั้งแต่ยัง เป็นขุนพิเรนทรเทพต่อเนื่องมาจนตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรม ราชาธิราช เช่น นวนิยายเรือง พ่อ ของปองพล อดิเรกสาร กษัตริยา และ ่ อธิราชา ของทมยันตี และวรรณกรรมที่เลือกเสนอเฉพาะเหตุการณ์บาง ๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๕-๑๐๕. 10-037(001-026)P2.indd 4 3/16/11 9:45:37 PM
  • 5. บทนำ ช่วงในพระชนม์ชพของสมเด็จพระมหาธรรมราชา เช่น เฉลิมเกียรดิกษัตรีย ี ์ ์ คำฉันท์ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประ- พันธพงศ์ บทละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง ท้าวศรีสุดาจันทร์ ของสมภพ จันทรประภา และนวนิยายเรื่อง สมเด็จพระสุริโยทัย ของธเนศ เนติโพธิ์ เลือกเสนอบทบาทของสมเด็จพระมหาธรรมราชาเฉพาะในช่วงที่ทรงเป็น ขุนพิเรนทรเทพไปจนถึงช่วงที่ทรงครองเมืองพิษณุโลก ในขณะที่ เสภา พระราชพงศาวดาร ตอน ศึกหงสาวดี ของสุนทรภู่ และนวนิยายเรื่อง ผู้ ชนะสิบทิศ ของยาขอบ เลือกเสนอบทบาทของสมเด็จพระมหาธรรมราชา ในฐานะกษัตริย์เมืองพิษณุโลกในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก เมื่อวรรณกรรมแต่ละเรื่องเลือกเสนอเรื่องราวของสมเด็จพระมหา- ธรรมราชาในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันเช่นนี้ บทบาท ของตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่นำเสนอในวรรณกรรมแต่ละ เรื่องจึงแตกต่างกันไปตามบริบทของเหตุการณ์ด้วย ที่เห็นได้ชัด คือ พบ ว่าวรรณกรรมที่เลือกเสนอเรื่องราวของขุนพิเรนทรเทพในช่วงการต่อสู้ ล้มล้างอำนาจขุนวรวงศาธิราชมักจะสร้างตัวละครขุนพิเรนทรเทพให้มี บุคลิกอย่างวีรบุรุษผู้กล้าหาญ ฉลาด มีคุณธรรม แต่วรรณกรรมที่เสนอ บทบาทของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในช่วงประวัติศาสตร์การเสียกรุง ศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ มักจะสร้างตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาให้มี บุคลิกในด้านลบเช่น อ่อนแอ เป็นผู้แพ้ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณารายละเอียดของวรรณกรรมที่นำมาศึกษา พบว่ า ในวรรณกรรมหลายเรื่ อ งที่ เ สนอเหตุ ก ารณ์ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ต อน เดียวกัน ผู้ประพันธ์แต่ละคนกลับเลือกเสนอตัวละครสมเด็จพระมหา- ธรรมราชาให้มีบทบาทแตกต่างกัน เช่น บทบาทในฐานะผู้สนับสนุน พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองในสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ ใน เสภา พระราชพงศาวดาร และ บทร้อยกรองประวัติศาสตร์สงครามไทย-พม่า 10-037(001-026)P2.indd 5 3/16/11 9:45:38 PM
  • 6. ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย ผู้ประพันธ์วิพากษ์วิจารณ์ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาในด้านลบ อย่างชัดเจน เช่น วิจารณ์ว่าทรงเป็นผู้ทรยศต่อชาติ เป็นกษัตริย์ผู้อ่อนแอ ไม่สามารถรักษาบ้านเมืองไว้ได้๔ แต่ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง กษัตริยา และเรื่อง พ่อ ผู้ประพันธ์กลับแสดงความเห็นว่า การตัดสินใจ เข้ า ข้ า งพระเจ้ า หงสาวดี บุ เ รงนองนั้ น เป็ น วิ ธี คิ ด ที่ ฉ ลาด และหวั ง ดี ต่ อ ประเทศชาติอย่างแท้จริง ทำให้ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาใน วรรณกรรมดังกล่าวมีบทบาทเป็นกษัตริย์ผู้มองการณ์ไกล รักชาติ และมี บทบาทสำคัญในฐานะผู้สนับสนุนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้ทรงกอบ กู้เอกราชจากหงสาวดีสำเร็จ๕ จากการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ข้ า งต้ น ผู้ เ ขี ย นมี ข้ อ สั ง เกตว่ า ถึ ง แม้ วรรณกรรมที่นำมาใช้เป็นข้อมูลล้วนแต่เสนอตัวละครที่เป็นตัวแทนของ สมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์บุคคลเดียวกัน แต่ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ปรากฏในวรรณกรรม แต่ละเรื่องกลับมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ถึงระดับที่ว่าตัวละคร สมเด็ จ พระมหาธรรมราชาในบริ บ ทของประวั ติ ศ าสตร์ ต อนเดี ย วกั น สามารถปรากฏในวรรณกรรมได้ทั้งในฐานะ “ผู้ร้าย” ผู้ทรยศต่อชาติและ “พระเอก” ผู้มองการณ์ไกลและมีบทบาทสำคัญในการกอบกู้เอกราชให้ แก่กรุงศรีอยุธยา แสดงว่า กลวิธีการเล่าเรื่องของวรรณกรรมแต่ละเรื่อง ๔ รวมนิทาน บทเห่กล่อม และสุภาษิตของสุนทรภู่. (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๙) และสนิท พูลพงศ์, บทร้อยกรองประวัติศาสตร์สงครามไทย-พม่า การเสียกรุง ศรีอยุธยา ครั้งที่ ๑ (กรุงเทพฯ : จัดพิมพ์โดย พ.อ.สนิท พูลพงศ์, ๒๕๔๖). ๕ ทมยันตี, กษัตริยา ตอน แก้วกษัตริยา, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพฯ : ณ บ้าน วรรณกรรม กรุ๊ป, ๒๕๔๗), และ ปองพล อดิเรกสาร, พ่อ ภาคสอง, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น, ๒๕๔๖). 10-037(001-026)P2.indd 6 3/16/11 9:45:39 PM
  • 7. บทนำ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดภาพตัวแทนสมเด็จพระมหาธรรม- ราชาให้แตกต่างกัน กรณีภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมนี้ชี้ ให้เห็นว่า วรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ไม่ได้เป็นเพียงบันเทิงคดีที่นำเสนอ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์อย่างเที่ยงตรงไปพร้อมกับการสอดแทรกความ บันเทิงเท่านั้น แต่วรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์แต่ละเรื่องมีบทบาทใน การนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ที่ผู้อ่านวรรณกรรมรับรู้ให้แตกต่างกันไป ด้วย จึงน่าจะมีการศึกษาลักษณะต่าง ๆ ของภาพตัวแทนของสมเด็จ พระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย และศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ผู้ ประพันธ์ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหา- ธรรมราชาได้อย่างหลากหลายเพื่อเป็นกรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง วรรณกรรมกับประวัติศาสตร์ เพื่ อ ให้ เ ข้ า ใจการเสนอภาพตั ว แทนบุ ค คลในประวั ติ ศ าสตร์ ผ่ า น วรรณกรรมชัดเจนขึ้น ผู้เขียนจึงเลือกศึกษาการสร้างภาพตัวแทนสมเด็จ พระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย เพื่อให้เห็นภาพตัวแทนของสมเด็จ พระมหาธรรมราชาในลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฏในวรรณกรรมไทย ศึกษา การใช้กลวิธีการเล่าเรื่องที่ใช้นำเสนอภาพของตัวละครสมเด็จพระมหา- ธรรมราชา และศึกษาปัจจัยทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ที่ ส่งผลต่อการประกอบสร้างภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชา ในวรรณกรรม การศึกษานี้นอกจากจะมุ่งชี้ให้เห็นความซับซ้อนของการ สร้างภาพตัวแทนของบุคคลในวรรณกรรมแล้ว ผู้เขียนยังปรารถนาจะเปิด ประเด็นให้มีการศึกษาตัวละครประวัติศาสตร์อื่น ๆ ในวรรณกรรม นอก เหนือจากวีรบุรุษและวีรสตรีที่เป็นที่สนใจในสังคมเป็นอย่างมากอยู่แล้ว 10-037(001-026)P2.indd 7 3/16/11 9:45:40 PM
  • 8. ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย ข้อตกลงเบื้องต้น (๑) การเรียกพระนามสมเด็จพระมหาธรรมราชา เนื่องจากจำเป็นต้องเรียกพระนามสมเด็จพระมหาธรรมราชาใน หนังสือเล่มนี้หลายครั้ง และในหลายบริบท ดังนั้น หากตัวบทวรรณกรรม หรือประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่ยกมามิได้ระบุเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง การเรียก พระนามสมเด็จพระมหาธรรมราชาในหนังสือเล่มนี้ จะใช้คำเรียกต่าง ๆ กันเพื่อจะได้ระบุได้แน่ชัดว่า กำลังกล่าวถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชาใน สมัยใด และในบริบทใด กล่าวคือ ก. ในการกล่าวถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งเป็นบุคคลจริงใน ประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปจะใช้คำเรียกพระนามว่า “สมเด็จพระมหาธรรม- ราชา” และเมื่อกล่าวถึงสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ปรากฏในวรรณกรรม จะเรียกว่า “ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชา” ข. หากมี ก ารระบุ ช่ ว งเวลาในประวั ติ ศ าสตร์ แ น่ น อน จะเรี ย ก พระนามสมเด็จพระมหาธรรมราชาดังนี้ ในรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชา ธิราชถึงช่วงทีขนวรวงศาธิราชครองราชสมบัติ เรียกสมเด็จพระมหาธรรม- ุ่ ราชาว่า “ขุนพิเรนทรเทพ” ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชา ธิราช เรียกสมเด็จพระมหาธรรมราชาว่า “พระมหาธรรมราชา” และใน รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรียกสมเด็จพระมหาธรรมราชาว่า “สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช” และเมื่อกล่าวถึงตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรม ใช้คำว่า “ตัวละคร” นำหน้าเสมอ ได้แก่ “ตัวละครขุนพิเรนทรเทพ” “ตัว ละครพระมหาธรรมราชา” และ “ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชา ธิราช” 10-037(001-026)P2.indd 8 3/16/11 9:45:41 PM
  • 9. บทนำ (๒) นิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ วาทกรรม (discourse) หมายถึง “กระบวนทัศน์หรือแนวทาง ของความรู้ความเข้าใจที่สื่อสารออกมาผ่านทางการใช้ภาษาและตัวบท อื่น ๆ กระบวนการดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดความรู้และอำนาจทางสังคม ขึ้น”๖ การประกอบสร้าง (construction) คือ การให้ความหมายแก่สงใดิ่ สิ่งหนึ่งโดยอาศัยมโนทัศน์ (concept) ที่คนร่วมวัฒนธรรมรับรู้และเข้าใจ ตรงกัน ผ่านทางภาษาและระบบสัญญะต่าง ๆ ในสังคม๗ ชาตินยม (nationalism) หมายถึง “การเคลือนไหวทางอุดมการณ์ ิ ่ เพื่อที่จะได้มาและธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพและอำนาจในการปกครองตนเอง ของกลุ่มชนผู้ซึ่งสมาชิกในกลุ่มมีความรับรู้ร่วมกันว่าชาติเป็นหน่วยที่มีอยู่ จริงหรือมีศักยภาพที่จะเกิดขึ้นมาได้จริง”๘ สถานภาพ (status) มีความหมาย ๒ นัย คือ “(๑) ตำแหน่ง ของบุคคลในระบบสังคม เช่น เป็นลูก พ่อ แม่ ครู พระ ฯลฯ ความหมายนี ้ แสดงว่าบุคคลนันเป็นใคร ซึงจะเชือมโยงกับคำว่า บทบาท (role) ทีหมายถึง ้ ่ ่ ่ ว่าบุคคลนั้นควรทำอะไรเมื่ออยู่ในตำแหน่งหรือสถานภาพนั้น และ (๒) ๖ Michael O’Shaughnessy and Jane Stadler, Media and society: an introduction, 3rd edition, (Victoria: Oxford University Press, 2005), p. 150. ๗ สรุปความจาก ibid., p. 77-79 และ Stuart Hall, Representation: Cultural Representations and Signifying Practices, 8th edition, (London: Sage, 2003), p. 25-26. ๘ Anthony Smith cited in Andreas Sturm, The King’s Nation : A Study of The Emergence and Development of Nation and Nationalism in Thailand, (Doctoral dissertation. London School of Economics and Political Science. University of London, 2006), p. 23. 10-037(001-026)P3.indd 9 5/13/11 9:38:57 PM
  • 10. 0 ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย ตำแหน่งของบุคคลหรือกลุมบุคคลในลำดับชันทางสังคม ความหมายนีแสดง ่ ้ ้ ถึงเกียรติและศักดิ์ศรี การที่บุคคลหรือกลุ่มจะถูกกำหนดให้อยู่ในลำดับ ชั้นใด เป็นไปตามเกณฑ์ทางกฎหมาย การเมือง หรือวัฒนธรรม” ๙ ในหนังสือเล่มนี้ใช้ทั้ง ๒ นัยของความหมาย กล่าวคือ สถานภาพ ต่าง ๆ ของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแสดงถึงตำแหน่งในสังคมที่สัมพันธ์ กับบุคคลอืนต่างกัน คือ เมือมีสถานภาพเป็นขุนพิเรนทรเทพ สมเด็จพระ- ่ ่ มหาธรรมราชาจะมีบทบาทเป็นข้าราชการในราชสำนักของสมเด็จพระชัย ราชาธิราช เมือมีสถานภาพเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา จะตรงกับบทบาท ่ เจ้าเมืองพิษณุโลก เมืองลูกหลวงในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และในสถานภาพสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช จะตรงกับบทบาทพระ มหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ส่วนความหมายที่สองคือ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่งทางราชการที่ต่างกัน คือ เป็นขุน เป็นเจ้าเมือง และเป็นพระ มหากษัตริย์ รายชื่อวรรณกรรมที่ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา ผู้เขียนเลือกศึกษาวิเคราะห์ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน โดย เลื อกวรรณกรรมที่มีเนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สมัยกรุง ศรีอยุธยาตั้งแต่เริ่มรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. ๒๐๕๗) จน สิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ. ๒๑๒๑) และปรากฏ บทบาทของตัวละครขุนพิเรนทรเทพ ตัวละครพระมหาธรรมราชา หรือตัว ละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชชัดเจน จำนวน ๑๕ เรื่อง ๙ พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๙) หน้า ๒๓๙. 10-037(001-026)P2.indd 10 3/16/11 9:45:43 PM
  • 11. บทนำ วรรณกรรมที่ใช้เป็นข้อมูล เรียงลำดับตามช่วงเวลาที่แต่งหรือพิมพ์ เผยแพร่ได้ ดังต่อไปนี้ ๑) บทเสภาเรื่อง พระราชพงศาวดาร ตอน ศึกหงสาวดี ของ สุนทรภู่ แต่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ คือ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๔ - พ.ศ. ๒๔๑๑ (ในหนังสือเล่มนี้จะใช้ว่า เสภาพระราชพงศาวดาร) ๒) โคลงภาพพระราชพงศาวดาร พระราชนิ พ นธ์ ใ นพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกวีท่านอื่น ๆ เผยแพร่ครั้งแรกเพื่อ ประกอบภาพพระราชพงศาวดาร ซึงใช้ประดับพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ ๓) เฉลิมเกียรดิ์กษัตรีย์คำฉันท์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระนราธิปประพันธพงศ์ ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ พิมพ์เผย แพร่ครั้งแรกในงานพระศพหม่อมเจ้าหญิงพรรณพิมล วรวรรณ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ๔) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ (เดิมใช้ชื่อเรื่อง ว่า ยอดขุนพล) ของ ยาขอบ ลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์ สุริยา พ.ศ. ๒๔๗๔ ๕) ลิลิตนเรศวร ของชุมพร แสนเสนา แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ และพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายชุมพร แสน เสนา พ.ศ. ๒๕๑๗ ๖) ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ แหล่งคุณ ของศุภร บุนนาค แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ เพื่อส่งประกวดและได้รางวัลที่ ๑ จากการประกวดวรรณกรรม ไทยของธนาคารกรุงเทพ 10-037(001-026)P2.indd 11 3/16/11 9:45:44 PM
  • 12. ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย ๗) เพลงยาวอยุธยาวสาน ของจินตนา ปิ่นเฉลียว แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ เพื่อส่งประกวดและได้รับรางวัลทางวรรณคดีของมูลนิธิจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ๘) บทละครดึกดำบรรพ์เรื่อง พระสุพรรณกัลยา เขียนเพื่อใช้ แสดงทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ ๙) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สมเด็จพระสุริโยทัย ของธเนศ เนติโพธิ ดัดแปลงและเรียบเรียงจากบทละครโทรทัศน์เรื่อง สมเด็จพระ สุริโยทัย ของวรยุทธ พิชัยศรทัต บทละครโทรทัศน์ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ข่าวสด พร้อมกับออกอากาศทางโทรทัศน์เมือ พ.ศ. ๒๕๓๕ และเรียบเรียง ่ เป็นนวนิยายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ ๑๐) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง พระพี่นางสุพรรณกัลยาณี ของกาญจนา นาคนันทน์ พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๒ ๑๑) นวนิยายอิงประวัตศาสตร์เรือง สุรโยทัย ของคึกเดช กันตามระ ิ ่ ิ พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๓ ๑๒) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง พ่อ ภาคหนึ่ง และภาคสอง ของปองพล อดิเรกสาร พิมพ์เผยแพร่ครังแรก พ.ศ. ๒๕๔๓ และ พ.ศ. ้ ๒๕๔๕ ๑๓) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง กษัตริยา ตอน แก้วกษัตริยา ของทมยันตี พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๕ (ในหนังสือเล่มนี้จะใช้ ว่า กษัตริยา) ๑๔) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง กษัตริยา ตอน อธิราชา ของ ทมยันตี ตีพิมพ์ในนิตยสาร สกุลไทย พ.ศ. ๒๕๔๖ 10-037(001-026)P2.indd 12 3/16/11 9:45:44 PM
  • 13. บทนำ ๑๕) บทร้อยกรองประวัติศาสตร์สงครามไทย-พม่า การเสียกรุง ศรีอยุธยา ครั้งที่ ๑ ของสนิท พูลพงศ์ พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๖ (ในหนังสือเล่มนี้จะใช้ว่า บทร้อยกรองประวัติศาสตร์สงครามฯ) กรอบทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (๑) มโนทัศน์เรือง “ภาพตัวแทน/การนำเสนอภาพตัวแทน ่ (representation)” คำว่า “ภาพตัวแทน” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า representation นอกจากคำว่า ภาพตัวแทนแล้ว ยังมีผู้ใช้คำอื่นที่สื่อความหมายเดียวกัน อีก ได้แก่ คำว่าภาพแทน และภาพเสนอ คำว่า representation ที่ใช้ในที่นี้มิได้มีความหมายเพียงแค่ภาพที่ เรามองเห็นเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติ ศัพท์เฉพาะคำนี้ยังครอบคลุมถึง กระบวนการต่าง ๆ ในการเสนอภาพออกมาอีกด้วย ในที่นี้จึงขอใช้คำว่า “การนำเสนอภาพตัวแทน” เมื่อกล่าวถึงคำว่า representation ในความ หมายที่สื่อถึงกระบวนการนำเสนอ และใช้คำว่า “ภาพตัวแทน” ในความ หมายที่สื่อถึงภาพแต่เพียงอย่างเดียว๑๐ คำว่า representation ในวิชาสือศึกษา (Media Studies) สามารถ ่ แปลความหมายในนัยต่าง ๆ ได้ ๓ ประการ คือ “ ๑) ีลักษณะคล้ายคลึง (To look like or to resemble) ( ม ๑๐ ประเด็นเรื่องการแปลและเข้าใจความซับซ้อนของคำว่า presentation นี้ อาจดูเพิ่ม เติมได้จากบทความเรื่อง “วาทกรรม ภาพแทน และอัตลักษณ์” ของ สุรเดช โชติอุดมพันธุ์ [ออนไลน์] ใน http://www.phd-lit.arts.chula.ac.th/Download/discourse.pdf [๒ สิงหาคม ๒๕๕๓] 10-037(001-026)P2.indd 13 3/16/11 9:45:45 PM
  • 14. ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย (๒) ป็นตัวแทนของสิ่งของหรือบุคคล (To stand in for some- เ thing or someone) (๓) ำเสนอครั้งใหม่ หรือนำเสนอซ้ำ (To present a second น time or to re-present)”๑๑ ความหมายของคำว่า representation ทังสามนัยข้างต้นนันสามารถ ้ ้ สรุปความได้ว่า การนำเสนอภาพตัวแทนเป็นการนำ “ความจริง” หรือ ภาพต้ น แบบมานำเสนอซ้ำอีกครั้ง โดยที่ การนำเสนอภาพตัวแทนนั้ น ไม่ ส ามารถนำเสนอได้ ต รงกั บ ภาพต้ น แบบ เพราะการนำเสนอภาพ ตัวแทนเป็นการนำภาพต้นแบบมานำเสนอครั้งใหม่ ภาพที่ถูกนำเสนอจึง มิได้มีคุณสมบัติเท่าเทียมกับความจริงดั้งเดิม แต่เป็นเพียง “ตัวแทน” ที่ “คล้ายคลึง” กับความจริง/ภาพต้นแบบเท่านั้น โดยนัยนี้ ปรัชญาปรากฏ- การณ์นิยม (Phenomenology) อธิบายว่า “...ภาพตัวแทนมิใช่สิ่งที่เคย เป็นอยู่หรือมีอยู่ แต่เป็นผลผลิตของการประกอบสร้างขึ้นใหม่ตลอดเวลา ภาพตัวแทนจะมีลักษณะเป็นอย่างไรจึงขึ้นอยู่กับว่าภาพนั้นจะถูกนำเสนอ ออกมาอย่างไร หรือกล่าวในแง่ของภาษาคือ ภาพตัวแทนนั้นถูกนิยาม หรือถูกเล่าเรื่องในลักษณะใด”๑๒ อาจกล่าวได้วา สาเหตุทภาพตัวแทนแปรเปลียนไปจากภาพต้นแบบ ่ ี่ ่ นั้นเพราะรูปลักษณ์และคุณสมบัติบางประการถูก “สื่อกลาง” ที่ใช้นำ เสนอบิดเบือนลักษณะของภาพต้นแบบไป ในชีวิตประจำวัน สื่อกลางที่ เป็นเครื่องมือในการนำเสนอภาพตัวแทนนั้น มิได้มีเพียงรูปภาพ (image) ๑๑ Michael O’Shaughnessy and Jane Stadler, Media and society : an introduction, p.73. ๑๒ กาญจนาแก้วเทพ, “สื่อและวัฒนธรรมศึกษากับสังคมไทย”, ใน รัฐศาสตร์สาร, ๒๓, ๓ (๒๕๔๕) : ๘๐. 10-037(001-026)P2.indd 14 3/16/11 9:45:46 PM
  • 15. บทนำ ตามความหมายนัยตรงของคำว่าภาพเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงสื่อชนิด อื่น ๆ ทุกชนิดที่มีความสามารถในการนำเสนอได้ ทั้งภาพวาด ภาพถ่าย โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ ภาษา รวมทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ล้วน แต่เป็นสื่อที่สามารถนำเสนอภาพตัวแทนได้ทั้งสิ้น ไมเคิล โอ ชอจ์เนสซี (Michael O’Shaughnessy) และเจน สเตดเลอร์ (Jane Stadler) (2005) ได้เสนอแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างความจริง/ภาพต้นแบบและภาพตัวแทนไว้ ดังนี้ การนำเสนอผ่านสื่อ Media Representation สรรพสิ่ง/ การประกอบสร้างโดยสื่อ ภาพ/ตัวบท ความเป็นจริง Media Construction Image/Text The World/Reality การตีความโดยสื่อ Media Interpretation แผนภูมิ ๑ ความสัมพันธ์ระหว่างความจริง สื่อ และภาพตัวแทน จากแผนภูมิข้างต้น สรรพสิ่งและความจริงต่าง ๆ ล้วนแต่ถูกเสนอ ผ่านสื่อ ในกระบวนการนำเสนอนี้ สื่อย่อมมีบทบาทในการบิดเบือนภาพ ของสรรพสิ่งเหล่านี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การนำเสนอ คือ การให้ ความหมายแก่สิ่งต่าง ๆ การประกอบสร้าง คือ การดึงเอาความหมาย ต่ า ง ๆ ในวั ฒ นธรรมมาให้ ค วามหมายแก่ สิ่ ง ที่ ถู ก นำเสนอ และการ ตีความ คือ การแปลความหมายของสิ่งที่นำเสนอไปในทิศทางที่ผู้ส่งสาร เข้าใจ และในที่สุดก็จะได้ภาพ หรือตัวบทซึ่งมีลักษณะแปรเปลี่ยนไปจาก สรรพสิ่งที่เป็นต้นแบบ เพราะผ่านกระบวนการทั้งสามข้างต้นมาแล้ว 10-037(001-026)P2.indd 15 3/16/11 9:45:47 PM
  • 16. ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย นอกจากนี้ จะสังเกตได้ว่าลูกศรที่อยู่ระหว่างกรอบที่ ๑ สรรพสิ่ง/ ความจริง กับกรอบที่ ๒ การนำเสนอผ่านสื่อ การประกอบสร้างผ่าน สื่อ และการตีความโดยสื่อนั้นเป็นลูกศรสองด้าน เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ มโนทัศน์เรื่องภาพตัวแทนเชื่อว่ามนุษย์ไม่อาจประจักษ์ถึงความจริงแท้ (Reality) ได้โดยง่าย หากแต่ความจริงแท้ที่เราเข้าใจนั้นก็ถูกนำเสนอผ่าน สื่อเช่นกัน จึงต้องมีหัวลูกศรชี้กลับเพื่อสื่อนัยว่า ตัวของ “ความจริง” เอง ก็มีที่มาจากการนำเสนอภาพตัวแทนด้วย อนึ่ง การที่เราเรียกภาพที่ถูกเสนอผ่านสื่อว่าเป็น “ตัวบท” (Text) นั้น เพราะรูปลักษณ์ของภาพนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นภาพ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ภาพตัวแทนนั้นมีความหมายกว้าง ครอบคลุมถึงวัตถุทุกชนิดที่ผู้รับสารสามารถรับรู้ได้ทางโสตประสาท และ เอื้อต่อการศึกษาวิเคราะห์ ดังที่ โอ ชอจ์เนสซี และ สเตดเลอร์ อธิบาย ว่า ตัวบทคือ สื่อทุกชนิด เช่น ภาพถ่าย โฆษณา ภาพยนตร์ นิตยสาร เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ บทความหนังสือพิมพ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวบท ต้องสามารถที่จะถูกผลิตซ้ำได้และสามารถนำมาวิเคราะห์ได้๑๓ จากความหมายที่เสนอมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าประเด็นสำคัญของ การนำเสนอภาพตั ว แทนนั้ น คื อ ความไม่ เ ท่ า เที ย มกั น ระหว่ า งภาพ ต้นแบบกับภาพตัวแทน อันเนื่องมาจากบทบาทของ “สื่อ” ที่ใช้นำเสนอ ภาพตัวแทน สจ๊วต ฮอลล์ (Stuart Hall) นักวิชาการวัฒนธรรมศึกษาได้ เสนอว่ า สื่ อ ที่ มี บ ทบาทสำคั ญ ที่ สุ ด ในการเสนอภาพตั ว แทนนั้ น คื อ “ภาษา” เพราะมนุษย์คิดและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ผ่านภาษาทั้งสิ้น เขาอธิบาย ว่า กระบวนการเสนอภาพตัวแทน (System of Representation) มีสอง ๑๓ Michael O’Shaughnessy and Jane Stadler, Media and society : an introduction, p. 91. 10-037(001-026)P2.indd 16 3/16/11 9:45:48 PM
  • 17. บทนำ ขั้นตอนคือ ขั้นตอนแรก มนุษย์มี “มโนทัศน์” (ซึ่งหมายถึงภาษาสามัญ ทั่วไปที่มนุษย์ใช้แปลความคิดออกมา) เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ อยู่ในสมอง มโนทัศน์เหล่านี้หมายรวมถึงรูปธรรม เช่น แก้วน้ำ เก้าอี้ ต้นไม้ และ นามธรรม เช่น ความดี ความชั่ว ความสุข ความทุกข์ มโนทัศน์เหล่านี้ จะมีอยู่ในสมองของมนุษย์อยู่แล้วเพราะได้ผ่านการเรียนรู้สั่งสมหรือจาก ประสบการณ์ของปัจเจกบุคคลในสังคม จากนั้น ในขั้นตอนต่อมา มนุษย์ จะได้รับสารผ่านตัวบทด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ดู ฟัง พูดคุย อ่าน ฯลฯ ในขั้นตอนนี้ภาษาจะเข้ามามีบทบาทคือเป็นรหัสที่ช่วยให้มนุษย์สามารถ เชื่อมโยงสารดังกล่าวเข้ากับมโนทัศน์ในสมองของตนได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราได้ยินคำว่า แก้วน้ำ เราก็จะสามารถเชื่อมโยงคำนี้เข้ากับภาชนะ ทรงกระบอกสำหรับใช้บรรจุของเหลวที่ใช้ดื่มได้ทันที เพราะเรามีข้อมูล เกี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งเสี ย งของคำว่ า แก้ ว น้ ำ กั บ วั ต ถุ อั น ได้ แ ก่ ภาชนะดังกล่าวอยู่ในสมอง (ซึ่งฮอลล์เรียกว่า “มโนทัศน์” เกี่ยวกับแก้ว น้ำ)๑๔ ด้วยเหตุทภาษาเป็นสือสำคัญทีสดในการเสนอภาพตัวแทน ฮอลล์จง ี่ ่ ่ ุ ึ ให้ความหมายของ “การนำเสนอภาพตัวแทน” ว่าหมายถึง “การใช้ภาษา เพื่อกล่าวถึง/นำเสนอสรรพสิ่งโดยที่มีการเน้นย้ำความหมาย” ๑๕ หรื อ กล่าวโดยละเอียดคือ “การนำเสนอภาพตัวแทนเป็นกระบวนการผลิต ความหมายจากมโนทัศน์ในความคิดของเราผ่านทางภาษา ภาพตัวแทน เป็นสิ่งเชื่อมโยงมโนทัศน์กับภาษาเข้าด้วยกันเพื่อใช้อ้างอิงถึงโลกแห่ง ความจริงหรือแม้แต่โลกจินตนาการ”๑๖ ในการให้ความหมายของภาพ ๑๔ Stuart Hall, Representation: Cultural Representations and Signifying Practices, pp. 16-22. ๑๕ ibid, p. 15. ๑๖ibid, pp. 15-19. 10-037(001-026)P2.indd 17 3/16/11 9:45:49 PM
  • 18. ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย ตัวแทนนั้น นพพร ประชากุล อธิบายว่า การนำเสนอภาพตัวแทนจะ “...เลือกเอาคุณลักษณะบางอย่างมาขับเน้น แล้วนำเสนอออกมาประหนึ่ง ว่าเป็นตัวแทนของทั้งหมด”๑๗ ตัวอย่างเช่น มนุษย์คนหนึ่งอาจจะมีทั้ง ข้อดีและข้อเสีย แต่การนำเสนอภาพตัวแทนมนุษย์คนดังกล่าวอาจจะ เลือกเฉพาะด้านดีมานำเสนอให้เป็นวีรบุรุษ หรืออาจจะเลือกเฉพาะด้านที่ ไม่ดีมานำเสนอให้เป็นผู้ร้ายก็ได้ หรือการรณรงค์ท่องเที่ยวตลาดโบราณ แนวตลาดร้อยปี อาจจะเลือกเน้นประชาสัมพันธ์เฉพาะสิ่งที่มีคุณลักษณะ แบบโบราณ เช่น ของเล่น อาหารการกิน และการแต่งกายของคนใน ตลาดที่พ้นสมัยไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วในตลาดนั้นอาจจะมีสินค้า และผู้คนที่ทันสมัยตามปกติรวมอยู่ด้วยก็ได้ จากแนวทางการศึกษาภาพตัวแทนที่กล่าวมาทั้งหมด ผู้เขียนเห็น ว่ามโนทัศน์เรื่องภาพตัวแทนนั้นเป็นมโนทัศน์ที่สอดคล้องกับปัญหาของ การวิจัยเรื่องนี้ เพราะเป็นมโนทัศน์ที่ใช้วิพากษ์การเสนอภาพตัวแทน ในวรรณกรรมว่ามิได้สะท้อนความจริงของภาพต้นแบบอย่างเต็มที่เช่น เดียวกับที่ภาพของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไม่ได้สะท้อน ภาพของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่เป็นบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ ดัง จะเห็นได้ว่า ถ้าหากภาพของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรม สะท้อนภาพประวัติศาสตร์อย่างเที่ยงตรงแล้ว ภาพของสมเด็จพระมหา- ธรรมราชาในวรรณกรรมแต่ละเรื่องก็ควรจะเป็นภาพเดียวกันหรือคล้าย คลึงกัน แต่การที่ภาพของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมที่นำ มาเป็นข้อมูลศึกษาแตกต่างกระจัดกระจายกันเป็นอย่างมากนั้นชี้ให้เห็น ว่ า กลวิ ธี ใ นการเล่ า เรื่ อ งของผู้ ป ระพั น ธ์ แ ต่ ล ะคนมี บ ทบาทในการ “นำ ๑๗ นพพร ประชากุล, “‘การวิจารณ์ในแนวหลังอาณานิคม’ อาวุธที่ถูกเมินในกระแสวิชา การของโลกที่สาม” ใน ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม ๒ ว่าด้วยสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์, (กรุงเทพฯ : อ่าน และ วิภาษา, ๒๕๕๒) หน้า ๔๑๕. 10-037(001-026)P2.indd 18 3/16/11 9:45:50 PM
  • 19. บทนำ เสนอ” ตัวละครสมเด็จพระมหาธรรมราชาในแบบฉบับของตนทั้งสิ้น โดย เฉพาะการนำเสนอภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในจุดเน้นที่ แตกต่างกันจนเกิดเป็นภาพของ “วีรบุรุษ” “ผู้ร้าย” หรือภาพในลักษณะ อื่นโดดเด่นขึ้นมาในวรรณกรรมแต่ละเรื่อง (๒) มายาคติ (Mythology) : ความหมายแฝงในภาพตัว แทน คำว่ามายาคติ (Mythology) ในที่นี้ใช้ตามคำที่ศาสตราจารย์ชาว ฝรังเศสชือโรลองด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) ใช้ในหนังสือรวมบทความ ่ ่ ของเขาชื่อ มายาคติ (Mythologies) ในหนังสือเล่มดังกล่าว บาร์ตส์ เขี ย นบทความวิ เ คราะห์ ก ารสื่ อ ความหมายทางวั ฒ นธรรมในกิ จ กรรม ธรรมดา ๆ ในชีวิตประจำวันของชาวฝรั่งเศส เช่น กีฬามวยปล้ำ โฆษณา ผงซักฟอก นักเขียนไปพักร้อน เป็นต้น๑๘ สจ๊วต ฮอลล์ อธิบายว่า ในการเขียนบทความเหล่านั้น บาร์ตส์แบ่ง การสื่อความหมายในสิ่งที่เขาวิเคราะห์ออกเป็นสองประเภท คือ ความ หมายระดับผิว (denotation) และความหมายแฝง (connotation) ความ หมายระดับผิวนั้น คือ ความหมายตรงตัวที่คนส่วนใหญ่เข้าใจตรงกัน แต่ ความหมายแฝงนั้นคือความหมายที่ถูก “เข้ารหัสทางวัฒนธรรม” กล่าว คือ เป็นความหมายที่ผู้คนคุ้นชินและรับรู้อย่างลึก ๆ ในใจโดยผู้รับสาร อาจจะไม่ทันสังเกต๑๙ ๑๘ โรล็องด์บาร์ตส์, มายาคติ, แปลโดย วรรณพิมล อังคศิริทรัพย์, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ : คบไฟ, ๒๕๔๗) ๑๙ Stuart Hall, Representation: Cultural Representations and Signifying Practices, p. 38-39. 10-037(001-026)P2.indd 19 3/16/11 9:45:51 PM
  • 20. 0 ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย ตัวอย่างของความหมายแฝง เช่น ตัวร้ายในกีฬามวยปล้ำมักจะมี รูปลักษณ์ที่น่าเกลียดชวนสะอิดสะเอียนและต่อสู้ด้วยวิธีการที่ไม่ซื่อสัตย์ ภาพตัวร้ายในกีฬามวยปล้ำจึงเป็นภาพที่สื่อความหมายแฝงถึงความชั่ว ร้ า ยไม่ พึ ง ปรารถนาและอยุ ติ ธ รรมซึ่ ง เป็ น ปรปั ก ษ์ กั บ ค่ า นิ ย มของชาว ฝรั่งเศสได้อย่างชัดเจน การใช้ความรุนแรงกับตัวร้ายในกีฬามวยปล้ำจึง เป็นการปราบปรามความอยุติธรรมอันน่ารังเกียจ ซึ่งเป็นปรปักษ์กับค่า- นิยมเรื่องความเที่ยงธรรม หรือภาพนักเขียนไปพักร้อนที่อยู่ในนิตยสาร โดยที่นักเขียนคนดังกล่าวกำลังอ่านและเขียนหนังสือไปด้วย ก็สื่อความ หมายแฝงว่าอาชีพนักเขียนเป็นอาชีพที่สูงส่งและมีเกียรติภูมิสูงมากจน ต้องทำงานตลอดเวลาแม้จะกำลังประกอบกิจกรรมการพักผ่อนเช่นคน ทั่วไป๒๐ บาร์ตส์เรียกความหมายแฝงที่อยู่ลึกกว่าระดับผิวนี้ว่า “มายาคติ” (myth) ซึ่งหมายถึง “การสื่อความหมายด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรม ซึ่งถูกกลบเกลื่อนให้เป็นที่รับรู้เสมือนว่าเป็นธรรมชาติ”๒๑ เช่น ในกรณี กี ฬ ามวยปล้ ำ การที่ ตั ว ร้ า ยผู้ เ ป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องความชั่ ว นั้ น ต้ อ งมี พฤติกรรมเล่นโกง ก็สื่อถึงค่านิยมของสังคมฝรั่งเศสว่า ความไม่ซื่อสัตย์ เป็นพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในสังคมนี้ หรือภาพนักเขียนไปพักร้อนที่ กล่าวถึงข้างต้นก็แฝงค่านิยมเรื่องการยกย่องอาชีพนักเขียนมากเป็นพิเศษ เหตุที่เรียกลักษณะการเสนอภาพตัวแทนเช่นนี้ว่า “มายาคติ” นั้นก็เป็น เพราะความหมายแฝงเหล่านี้ถูกทำให้เป็นธรรมชาติ กล่าวคือ ความ หมายแฝงนั้ นเป็นเพียงความหมายที่ซ่อนอยู่ หากไม่สังเกตหรือตั้งใจ วิเคราะห์ ผู้รับสารก็จะรับรู้เฉพาะความหมายระดับผิวเท่านั้น ๒๐ โรล็องด์ บาร์ตส์, มายาคติ, แปลโดย วรรณพิมล อังคศิริทรัพย์, หน้า ๒๕-๔๓. ๒๑ นพพร ประชากุล, “คำนำเสนอบทแปล” ใน เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔. 10-037(001-026)P2.indd 20 3/16/11 9:45:52 PM
  • 21. บทนำ ความคิดของบาร์ตส์เรื่องมายาคตินี้ มีบทบาทสำคัญในการเน้นย้ำ ปัญหาสำคัญในการศึกษาการนำเสนอภาพตัวแทน โดยชี้ให้เห็นว่า ความ หมายที่ภาพตัวแทนสื่อออกมานั้นมีได้ถึงสองระดับ และความหมายใน ระดับที่เรียกว่าความหมายแฝงนั้นถูกประกอบสร้างขึ้นมาด้วยค่านิยม คุณธรรม และอุดมการณ์ของสังคม ความหมายที่สร้างขึ้นนี้จึงซับซ้อน ยอกย้อนและมิสามารถเปิดเผยเฉพาะด้านที่จริงแท้ของสรรพสิ่งได้ ในบทที่ ๕ ของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนจะประยุกต์ความคิดเรื่อง ความหมายระดับผิว-ความหมายแฝง ประกอบกับมโนทัศน์เรื่องวาทกรรม (discourse) เพื่อใช้อธิบายความคิดทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมที่ แฝงอยู่เบื้องหลังการประกอบสร้างภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรม- ราชาในวรรณกรรมแต่ละเรื่อง (๓) วาทกรรม (discourse) ของมิแชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) : เบื้องหลังของความรู้และความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ของภาพตัวแทน ในการศึกษาภาพตัวแทนโดยทั่วไป รวมทั้งในหนังสือเล่มนี้ มักจะ อาศัยมโนทัศน์เรื่อง วาทกรรม ของมิแช็ล ฟูโกต์ (Michel Foucault) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสเป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ด้วยเสมอ เพราะมโนทัศน์เรื่องวาทกรรมนี้สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ของการนำเสนอภาพตัวแทนได้ คำว่ า วาทกรรม หรื อ discourse นั้ น โอ ชอจ์ เ นสซี และ สเตดเลอร์ อธิบายว่ามีที่มาจากคำภาษาฝรั่งเศสว่า discours ซึ่งหมายถึง การพูดจาหรือบทสนทนา โดยทั่วไปแล้วคำนี้ใช้กล่าวถึงการสนทนาเพื่อ แสดงทัศนคติและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ เมื่อกลุ่มคนในสังคมแต่ละกลุ่มมี การแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม 10-037(001-026)P2.indd 21 3/16/11 9:45:53 PM
  • 22. ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย แต่ละสังคมจะพัฒนาความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นร่วมกัน จนในที่สุดความ รู้นั้นก็กลายเป็นความเข้าใจร่วมกันของคนในสังคม คำว่าวาทกรรมจึงใช้ เพื่ อ กล่ า วถึ ง ข้ อ ถกเถี ย งอภิ ป รายหรื อ ปฏิ สั ม พั น ธ์ ข องความหมายและ ทัศนคติต่าง ๆ (ของกลุ่มคนในสังคม)เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่าง เฉพาะเจาะจง ข้อถกเถียงและปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวนี้แสดงออกผ่านสื่อและ วิธีการที่หลากหลาย๒๒ ด้วยเหตุนี้ คำว่าวาทกรรมจึงนิยามได้ว่า หมายถึง “กระบวนทัศน์ หรือแนวทางของความรู้ความเข้าใจที่สื่อสารออกมาผ่านทางการใช้ภาษา และตัวบทอื่น ๆ กระบวนการดังกล่าวนี้ทำให้เกิดความรู้และอำนาจทาง สังคมขึน”๒๓ วาทกรรมเป็น “...กลุมถ้อยคำทีใช้แสดงความรูหรือวิธการที ้ ่ ่ ้ ี ่ ใช้นำเสนอความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ ที่เจาะจง”๒๔ จากคำนิยามดังกล่าว อาจขยายความได้ว่า วาทกรรมไม่ได้จำกัด เพียงถ้อยคำหรือภาษา แต่วาทกรรมปรากฏออกมาในรูปขององค์ความรู้ ทั้งระบบ ฟูโกต์อธิบายว่า การให้ความหมายต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแต่ละช่วง เวลาจะต้องอยู่ในกรอบของวาทกรรมเท่านั้น๒๕ โดยที่แต่ละวาทกรรมนั้น ประกอบด้วย (๑) กรอบของคำอธิบายเกี่ยวกับความรู้ที่สามารถให้ความ เข้าใจที่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับเรื่องราวหนึ่ง ๆ (๒) กฎเกณฑ์ ๒๒ Michael O’Shaughnessy and Jane Stadler, Media and society : an introduction, p. 150. ๒๓ Ibid., 150. ๒๔ Michel Foucault cited in Stuart Hall, Representation: Cultural Repre- sentations and Signifying Practices, p. 44. ๒๕ ibid., p. 45. 10-037(001-026)P2.indd 22 3/16/11 9:45:54 PM
  • 23. บทนำ ในการกล่าวถึงหรือแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว (๓) องค์- ประธานที่ทำให้มองเห็นภาพของวาทกรรมนั้นชัดเจน (๔) วิธีการที่ทำให้ วาทกรรมนั้นน่าเชื่อถือ มีฐานะเป็น “ความจริงแท้” ที่มีพลังในสังคม (๕) กิจกรรมทางสังคมและสถาบันทางสังคมที่ใช้บริหารจัดการองค์ประธานใน วาทกรรม และ (๖) การยอมรับว่าในอนาคตจะต้องมีวาทกรรมชุดอื่นที่ ก่อร่างขึ้นมาจากองค์ความรู้และวิธีการมองโลกแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาแทน วาทกรรมชุดเก่า๒๖ ตัวอย่างเช่น วาทกรรมความอ้วนในปัจจุบัน ที่มองว่าความอ้วน เป็ น ภั ย ที่ ต้ อ งกำจั ด โดยอาศั ย คำอธิ บ ายจากความรู้ ท างวิ ท ยาศาสตร์ สุขภาพว่าความอ้วนก่อให้เกิดโรคภัย ค่านิยมจากวงการแฟชั่นที่มองว่า รูปร่างบอบบางนั้นสวยงามกว่าและสามารถสวมใส่เสื้อผ้าตามแฟชั่นได้ เหมาะสมกว่า อุดมการณ์จากสินค้าประเภทลดน้ำหนักและสุขภาพที่ฉาย ภาพคนอ้วนน่าเยาะเย้ยและขบขัน การประกวด “ธิดาช้าง” เพื่อเน้น ความขบขันอันเกิดจากความไม่เข้ากันของความอ้วนและความงาม และ ความคิดความเชืออืน ๆ ในสังคม ระบบต่าง ๆ เหล่านีสร้างเป็น “ความรู” ่ ่ ้ ้ เกี่ยวกับความผอมและความอ้วนที่คนมองว่าเป็น “ความจริง” กิจกรรม ต่าง ๆ ในสังคมก็เข้ามาร่วมจัดการกับความอ้วนทั้งทางตรง เช่น จัด กิจกรรมรณรงค์ทางสุขภาพเพื่อต่อสู้กับความอ้วน และทางอ้อม เช่น การหยอกล้อเพื่อนที่มีรูปร่างอ้วน การสอนเด็กให้กินอาหารที่ทำให้ไม่อ้วน เช่น สอนให้กินผักมาก ๆ เพราะทุกคนในสังคมยอมรับตรงกันในกรอบ คิดว่า ความอ้วนเป็นสภาวะไม่พึงประสงค์ เป็นภัยต่อร่างกายที่ต้องกำจัด คนในสังคมที่ตกอยู่ภายใต้วาทกรรมนี้จึงถูกครอบงำอยู่โดยไม่รู้ตัว เช่น คนอ้วนจะรู้สึกผิดรู้สึกอับอายเองเพราะรู้สึกว่าความอ้วนของตนเองเป็น ๒๖ ibid., p. 45-46. 10-037(001-026)P2.indd 23 3/16/11 9:45:55 PM