SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 96
Downloaden Sie, um offline zu lesen
จริยธรรมทางการแพทย์
(Medical Ethics)
กับธรรมาภิบาล
นําเสนอโดย
พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
ผู้อานวยการสานักสันติวิธี และธรรมาภิบาล
สถาบันพระปกเกล้า
www.elifesara.com
หัวข้อนําเสนอ
 จริยธรรมมีความสําคัญอย่างไร
 จรรยาบรรณ และจริยธรรม คืออะไร
 ความหมายของจริยธรรมทางการแพทย์
 จริยธรรมทางการแพทย์ในจีน
 จริยธรรมทางการแพทย์ในประเทศตะวันตก
 จริยธรรมทางการแพทย์ในไทย
 สรุปหลักสําคัญของจริยธรรมทางการแพทย์
 กรณีศึกษา
www.elifesara.com
คําสอนของพระพุทธเจ้า
อย่ายึดถือโดยการฟังกันตามมา
อย่ายึดถือโดยการยึดถือสืบๆกันมา
อย่ายึดถือโดยการเล่าลือ
อย่ายึดถือโดยการอ้างตํารา
อย่ายึดถือโดยตรรกะ
อย่ายึดถือโดยการอนุมาน
อย่ายึดถือโดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่ายึดถือเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
อย่ายึดถือเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
อย่ายึดถือเพราะนับถือว่าท่านสมนะนี้เป็นครูของเรา
ปัจจัตตัง
ความหมายของคําว่า “คุณธรรม”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้
ความหมาย “คุณธรรม” ว่า “สภาพคุณงามความดี”
การจะวินิจฉัยว่าบุคคลใดมีคุณธรรมดีเด่นมากน้อยเพียงใดต้อง
พิจารณาโดยรวมว่าบุคคลนั้นมีอุปนิสัยและประพฤติปฏิบัติตน
อย่างไร อยู่ในกรอบของกฎหมายและศีลธรรมหรือไม่อย่างไร
เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานและต่อสังคมอย่างไร
เป็นผู้ที่ยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมเพียงใดหรือไม่
www.elifesara.com
ความหมายของคําว่า “จริยธรรม”
“จริยธรรม” คือ “ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ” “ศีลธรรม”
และ “กฎศีลธรรม”
จริยธรรมของนักบริหารที่ดีควรจะปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพอย่างไร
จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุดประการหนึ่ง
นักบริหารที่ดีจักต้องครองตนในสังคมอย่างใดอีกประการหนึ่ง
www.elifesara.com
วิกฤตการณ์ของสังคมไทย
 การฉ้อราษฎร์บังหลวง การซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ทั้งใน
ระดับชาติและในระดับท้องถิ่น มีการประมูลซื้อขายตําแหน่งหน้าที่
ราชการ
 มีการสมยอมคบคิดกันในการประกวดราคาก่อสร้าง และการจัดซื้อพัสดุ
ของหน่วยงานต่างๆของรัฐ
 มีการวิ่งเต้นที่จะให้ได้มาซึ่งตําแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้นกว่าผู้ร่วมงาน และ
การยักยอกเงินราชการลับ การหลบเลี่ยงการเสียภาษีอากรที่จะต้องชําระ
ตามกฎหมาย สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมไทยปัจจุบัน
(ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี)
www.elifesara.com
วิกฤตการณ์ของสังคมไทย
สังคมไทยปัจจุบันมีค่านิยมที่ยอมรับทุกอย่างไม่ว่าชั่วว่าดีเป็นสังคมที่
ตามใจทุกคน
ความเดือดร้อนเกิดทุกหย่อมหญ้า เศรษฐกิจไม่ฟูเฟื่องตามที่ปรารถนา
การใช้มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมเข้ามาช่วยเสริมสร้างสํานึก
และความรับผิดชอบให้แก่ทุกคนทุกฝ่ายในบ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็น
นักการเมือง ข้าราชการ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วๆไป
www.elifesara.com
(ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี)
ประสบการณ์ประเทศต่างๆในทวีปแอฟริกา
ตั้งคําถามกับนักการเมืองว่าต้องการอะไรจากการเป็น
นักการเมือง
๑. ต้องการอํานาจ (POWER)
๒. ต้องการความมั่งคั่ง (WEALTH)
๓. ต้องการสถานภาพที่ทุกคนยอมรับ (STATUS)
ต้องการทั้ง ๓ สิ่งนี้พร้อมกันไม่ใช่เพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น
www.elifesara.com
(ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี)
ประสบการณ์ประเทศต่างๆในทวีปแอฟริกา
นักการเมืองต้องการตําแหน่งเป็นรัฐมนตรีที่มีผลประโยชน์ ต้องการ
ความมั่งคั่ง เช่นหุ้นลมบริษัทใหญ่ รถยนต์ใหญ่หรูหรา คฤหาสน์ที่โอ่
อ่า ของขวัญราคาแพง ล้วนมาจาก “กิเลส”
ต้องการทุกอย่างที่ไม่มีความชอบธรรมตามกฎหมายและศีลธรรมอันดี
ประชาชนไม่สนใจกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายอ่อนแอ ไม่มีใครฟัง
ใคร เชื่อฟังแต่นักการเมืองซึ่งไม่มีอุดมการณ์ เชื่อสื่อว่าอย่างไรก็เชื่อ
อย่างนั้น ไม่มีการกลั่นกรองว่าความจริงเป็นหรือไม่
www.elifesara.com
(ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี)
ประสบการณ์ประเทศต่างๆในทวีปแอฟริกา
การแก้ไขปัญหาระยะยาวต้องมีมาตรการป้องกันและปราบปรามหลาย
ประเภทผสมผสานกัน
ปลุกจิตสํานึกให้เคารพกฎหมาย นําตัวผู้ฉ้อราษฎร์บังหลวงมาลงโทษ
ให้การศึกษาแก่ประชาชน ที่เน้นหนักในด้านสร้างอุปนิสัยอันงดงาม
(CHARACTER) ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (INTEGRITY)
การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้สําเร็จได้นั้น ต้องไม่ใช้วิทีเร่งรัดให้รวดเร็ว ต้องใช้
เวลาเพื่อการแก้ไขอันยาวนานด้วยความเสียสละและอดทนของทุกๆฝ่าย
www.elifesara.com
(ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี)
ประสบการณ์ประเทศอังกฤษ
 มีมาตรฐานทางศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรมดีที่สุด
 การพิจารณาคดีมีลูกขุน ๑๒ คนผู้พิพากษาพิจารณาข้อกฎหมาย คณะลูกขุน
พิจารณาข้อเท็จจริง คณะลูกขุนมาจากชาวบ้านที่เสียภาษีโรงเรือน/ที่ดิน เป็นเจ้าของ
บ้านที่มีหน้าต่างเปิดได้ไม่น้อยกว่า ๑๕ บาน กฎหมายมีมาหลายร้อยปีแล้วเพราะ
ไม่ใช่คนจรจัด
 คณะของลูกขุนมีจํานวน ๑๒ คน เป็นชาย ๙ คน อีก ๓ คนเป็นหญิง เสียงทั้งหมด
จะต้องเป็นเอกฉันท์ ศาลถึงจะลงโทษจําเลยได้ มิฉะนั้นศาลต้องยกฟ้อง
 ตลอด ๓๑๕ ปีตั้งแต่ปี ๑๗๐๑ ถึงปัจจุบันผู้พิพากษาศาลสูงที่มีประมาณ ๑๐๐ กว่าคน
ไม่เคยมีผู้ใดถูกถูกกล่าวหา/ลงโทษเรื่องสินบนเลย เป็นประเทศเดียวในโลกที่ทําได้
www.elifesara.com
(ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี)
สังคมอังกฤษปลูกฝังคติธรรมแต่วัยเยาว์
 จะปลูกฝังคติธรรม อย่างน้อยที่สุด ๗ ประการ ตั้งแต่เด็ก คือ :
๑. สัจจะ พูดความจริง (TRUTH)
๒. ความซื่อสัตย์สุจริต (HONESTY)
๓. ความระลึกในหน้าที่ (SENSE OF DUTY)
๔. ความอดกลั้น (PATIENCE)
๕. ความเป็นธรรม (FAIR PLAY)
๖. ความเอาใจเขามาใส่ใจเรา (CONSIDERATION FOR OTHERS)
๗. เมตตาธรรม (KINDNESS)
www.elifesara.com
(ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี)
สังคมอังกฤษปลูกฝังคติธรรมแต่วัยเยาว์
คติธรรมทั้ง ๗ ประการนี้ปลูกฝังกันมาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งเป็นอุปนิสัย
ประจําชาติ
ถ้าคนมีคติธรรมทั้ง ๗ ประการแล้ว ก็จะมี “INTEGRITY” ตามมา(อวิ
โรธนะหรือความไม่คลาดธรรม)
มีความหมายว่าความหนักแน่นน่าเชื่อถือ “การยึดมั่นในความถูกต้อง
ชอบธรรม”
เป็นคุณธรรมที่มีความสําคัญอย่างยิ่งและเป็นพลังแห่งชาติของอังกฤษ
อย่างแท้จริง
www.elifesara.com
(ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี)
ธรรมาภิบาล
หลักความ
รับผิดชอบ
หลักความ
คุ้มค่า
หลักนิติธรรม
หลักการมี
ส่วนร่วม
หลักคุณธรรม
หลักความ
โปร่งใส
www.elifesara.com
กฎหมาย ระเบียบ ประมวลจริยธรรม
การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ วัฒนธรรม
ความรับผิดชอบ ตอบสนองต่อความต้องการ
มีความโปร่งใส สร้างการมีส่วนร่วม
โครงสร้างและวิธีการ
ความสมดุลและเป็นธรรม ความ
สุจริต ความมีประสิทธิภาพ/ผล
สภาพแวดล้อม
เป้าหมาย
www.elifesara.com
จริยธรรมทางการแพทย์
 จริยธรรมตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่ง
วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526
 จริยธรรมตามหลักสากล
 ประมวลจริยธรรม(ผู้ตรวจการแผ่นดิน)
 จรรยาข้าราชการ
 จริยธรรมสังคม( ศาสนา ประเพณี วิถีชุมชน )
 จริยธรรมในอาเซี่ยน
www.elifesara.com
สังคมตะวันตกแนะนําให้ผู้อยู่ในสาขาแพทย์และพยาบาลปฏิบัติต่อ
ผู้ป่วยดังนี้
เน้นประโยชน์ผู้ป่วยสูงที่สุด และเน้นไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายใดๆ
เพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะรู้สาเหตุและอาการป่วยของตัวเองและเลือก
วิธีรักษาตามความเหมาะสม
การรักษาด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามสมมุติฐานโรค ทุกคนต่างมี
เกียรติและสมควรได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างมีเกียรติ
www.elifesara.com
สังคมตะวันตกแนะนําให้ผู้อยู่ในสาขาแพทย์และพยาบาลปฏิบัติต่อ
ผู้ป่วยดังนี้
แพทย์และพยาบาลไม่ปิดอาการป่วยต่อผู้ป่วย ควรให้ผู้ป่วยรับรู้ความ
หนักเบาของอาการตามจริง ดูความเหมาะสมอื่นประกอบ เช่น สภาพจิต
ผู้ป่วย
หลักปฏิบัติเหล่านี้แล้ว ผู้บรรยายวิชานี้ จะนําองค์ความรู้จากศาสนาและ
วัฒนธรรมท้องถิ่นให้เห็นว่าคล้ายคลึงหรือแตกต่างจากองค์ความรู้ใน
ประเทศตะวันตกอย่างไร เพื่อให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุดจากการดูแล
รักษาของแพทย์และพยาบาล
www.elifesara.com
จริยธรรมมีความสําคัญอย่างไร (1)
 การเพิ่มขึ้นของความขัดแย้งของผลประโยชน์ระหว่างรัฐบาล
และสถาบันทางการแพทย์ ระหว่างสถาบันทางการแพทย์และ
บุคลากรทางการแพทย์ ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ที่มีมากขึ้น
รุนแรงมากขึ้นและมีความซับซ้อน
 การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่เพียงแต่นํามาซึ่งการ
พัฒนาในการรักษา แต่ยังได้สร้างภาระหนักทางเศรษฐกิจด้วย
(ประเด็นเรื่องการใช้งานที่เหมาะสม)
www.elifesara.com
จริยธรรมมีความสําคัญอย่างไร (2)
 หลักเกณฑ์ทางจริยธรรมใหม่ๆ และที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
จะต้องพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของการพัฒนา
สังคมและบริการทางการแพทย์
 หลักเกณฑ์ใหม่ๆ นี้ได้รวมจริยธรรมทางการแพทย์แบบดั้งเดิม
กับหลักการสมัยใหม่และค่านิยมหรือความพอใจต่างๆ เข้า
ด้วยกัน
www.elifesara.com
จรรยาบรรณ หรือ ศีลธรรม (Morality) คืออะไร
ศาสตร์หรือกฎ ของการปฏิบัติหน้าที่ของมนุษย์
หน้าที่ของความมีหลักศีลธรรมคือ "เพื่อต่อสู้กับผลกระทบอันตรายจาก
ความเห็นอกเห็นใจมนุษย์" (Beauchamp)
จุดมุ่งหมายของศีลธรรมคือ "การมีส่วนร่วมที่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยไม่แย่
ลงของสถานการณ์ของมนุษย์" (Warnock)
จริยธรรมมีจุดมุ่งหมายที่ "การค้นพบคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เป็นของส่วนหนึ่ง
ของสิ่งที่ดี" (Moore)
www.elifesara.com
จริยธรรม (Ethics) คืออะไร
เป็นมาตรฐานการปฏิบัติหรือบรรทัดฐานสังคม ที่กําหนดพฤติกรรม
“จริยศาสตร์”เป็นปรัชญาว่าด้วยความประพฤติ/การครองชีวิตว่าอะไรดี/
ชั่ว อะไรถูก/ผิด หรืออะไรควร/ไม่ควร(พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)
“จริยธรรม” มีผู้ให้คําอธิบายแตกต่างกันออกไปตามสาขาวิชา โดยสรุป
จริยธรรมคือ กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติ
ของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผล มนุษย์มีมโน
ธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่
ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุมกันเองในกลุ่ม
www.elifesara.com
 มาตรฐานการปฏิบัติไม่ได้อธิบายพฤติกรรมจริงของเรา เนื่องจาก
คนมักจะละเมิดมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย
 คนส่วนใหญ่ยอมรับความคิดที่ว่า คนหนึ่งควรจะบอกความจริง
แต่หลายคนยังคงโกหกอยู่ตลอดเวลา แม้คนโกหก หลอกลวง
ตลอดเวลา
เราควรมีความเห็นว่าความซื่อสัตย์สุจริตเป็นมาตรฐานของการ
ปฏิบัติ โดยปกป้องความซื่อสัตย์สุจริตในที่สาธารณะ โดยการสอน
เด็ก / นักเรียนของเรา ให้ซื่อสัตย์และโดยการแสดงความไม่พอใจ
หรือความรังเกียจของการโกหก หลอกลวง
www.elifesara.com
ความหมายของ “จริยธรรมทางการแพทย์”
 จริยธรรมทางการแพทย์ เป็นส่วนหนึ่งของจริยศาสตร์ประยุกต์ ซึ่ง
เป็นส่วนหนึ่งของวิชาจริยศาสตร์ในวิชาปรัชญา วิชานี้นาเสนอวิธี
ปฏิบัติบนพื้นฐานหลักจริยธรรมว่าแพทย์และพยาบาลควรปฏิบัติต่อ
คนไข้อย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม แต่ละประเทศก็จะมีองค์
ความรู้ในสาขานี้แตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง
 จริยธรรมทางการแพทย์ คือ ระบบของคุณธรรมจริยธรรมที่ใช้
ประเมินค่าและตัดสินการปฏิบัติของแพทย์
www.elifesara.com
“วิทยาศาสตร์ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งทางศีลธรรม แต่สามารถช่วยให้มี
กรอบที่แม่นยํามากขึ้นในการอภิปรายเกี่ยวกับความขัดแย้งนั้น”
Heinz Pagels
www.elifesara.com
จริยธรรมทางการแพทย์ในจีน
 จริยธรรมทางการแพทย์แบบดั่งเดิมของจีนเน้นที่เรื่องคุณธรรม และ
จริยธรรมมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
 มองคนไข้เหมือนเด็ก โดยเชื่อมโยงกับภาพของอุดมคติของผู้ปกครอง
ที่มีจิตใจดี มีเมตตา อาจจะคล้ายกับแนวความคิดของการปกครอง หรือ
การคุ้มครองในวัฒนธรรมของตะวันตก
www.elifesara.com
การศึกษาทางด้านจริยธรรมทางการแพทย์ในต่างประเทศ
 การพัฒนาของหลักเกณฑ์และแนวทางทางจริยธรรม
 การส่งเสริมการปฏิบัติทางจริยธรรม
 การป้องกันการละเมินทางจริยธรรม
 การรับรู้ของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม
 การแก้ปัญหาของความขัดแย้งทางจริยธรรม
www.elifesara.com
องค์ประกอบของจริยธรรมทางการแพทย์
 ความสัมพันธ์ของแพทย์กับคนไข้
 ความสัมพันธ์ของแพทย์กับแพทย์ด้วยกันเอง
 ความสัมพันธ์ของแพทย์กับระบบสุขภาพ
 ความสัมพันธ์ของแพทย์กับสังคม
www.elifesara.com
จริยธรรมทางการแพทย์จีนใน ลัทธิขงจื๊อ (Confucianism)
จริยธรรมและปรัชญาจีน พัฒนามาจากการสอนของขงจื๊อ(551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.)
 ลัทธิขงจื้อทําให้เกิดเป็นค่านิยมหลักของวัฒนธรรมจีน
แพทย์ศาสตร์ เป็นศิลปะของการมีมนุษยธรรม ที่จะเน้นการดูแลเกี่ยวกับผู้ป่วยและ
การปลูกคุณความดีด้วยตนเองของแพทย์
ขงจื๊อนั้นถือว่า ความเมตตาเป็นที่มาหรือเป็นพื้นฐานของคุณธรรมทั้งปวง เน้นให้
มนุษย์สร้างชีวิตที่ดีงามตั้งแต่แรกเกิด
ชาวจีนยึดมั่นในหลักมนุษยธรรม ให้มีความเมตตากรุณาต่อทุกชีวิต และปลูกฝังให้
เด็ก ๆ รักในความเป็นธรรม เห็นอกเห็นใจ พร้อมทั้งเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อมนุษย์
เมื่อเด็กฝังใจในคุณธรรมแล้ว เด็กผู้นั้นก็จะมีชีวิตที่ดีงามตลอดไป
www.elifesara.com
หลักคําสอนของขงจื๊อที่สําคัญ ๆ มีดังนี้
1. เมตตา (ยิ้ง)
2. ทําตัวให้เป็นตัวอย่าง (สิ่งที่ตนไม่ชอบ ก็อย่าหยิบให้ผู้อื่น)
3. กตัญํูกตเวที (เจ้ากับบ่าว พ่อกับลูก รู้ศักดิ์ศรี รู้หน้าที่)
4. ส่งเสริมการศึกษา (ไม่เกี่ยงคนรวยหรือคนจน)
5. เรียกร้องคุณธรรมในการปกครอง และอารยธรรมในวงสังคม
www.elifesara.com
“แพทย์ที่ดีไม่ควรใส่ใจกับสถานะ ความมั่งคั่ง หรืออายุ หรือไม่ควร
คิดว่าบุคคลนั้นเป็นที่น่าสนใจหรือไม่สวย ไม่ว่าเขาจะเป็นศัตรูหรือ
เพื่อน เป็นคนจีนหรือชาวต่างชาติ ท้ายที่สุดเขาเป็นคนไม่มี
การศึกษาหรือมีการศึกษา เขาควรจะพบเจอทุกๆ คนในพื้นที่
เท่ากัน และเขาควรปฏิบัติกับทุกๆคนราวกับว่าเขาเป็นญาติที่
ใกล้ชิดของเขา”
Sun Simiao
เป็นนักคิดทางการแพทย์ นักปรัชญา แพทย์รักษาชีวิต
มีชื่อเสียงทางแพทย์แผนจีน และได้รับขนานนามว่า
“China's King of Medicine”
www.elifesara.com
จริยธรรมทางการแพทย์ในประเทศตะวันตก
ฮิปพอคราทีส (Hippocrates) เกิดประมาณ 460 ปีก่อนคริสตกาลเป็น
ชาวกรีก ได้ขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก”
 คําสัตย์สาบานฮิปพอคราทีส (Hippocratic Oath) - เป็นหลักเกณฑ์
ของจริยธรรมทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุด 4th Century BC
แพทย์ยุโรปสมัยก่อนต้องกล่าวคาปฏิญาณของฮิปโปเครติสก่อนที่จะเริ่ม
ประกอบวิชาชีพเสมอและปัจจุบันได้นาคาปฏิญาณตนนี้ เป็นแนวทางในการ
กาหนดข้อบังคับทางจริยธรรมในวิชาชีพแพทย์ทั่วโลก
www.elifesara.com
“..ข้าสาบานต่อทวยเทพว่า ข้าจะเคารพครูผู้ประสาทวิชาเยี่ยงพ่อแม่ มีอะไรก็จะแบ่งให้
ครูกินและใช้ จะใส่ใจสอนลูกหลานของครูเหมือนพี่น้องของข้าเอง จะทําการรักษาเพื่อ
ประโยชน์ต่อคนไข้ ให้ดีที่สุดเท่าที่ความสามารถและดุลพินิจของข้าจะทําได้ จะไม่ทํา
อะไรให้เกิดผลร้ายแก่คนไข้ จะไม่ให้ยาเบือหรือทําให้ใครตายแม้ว่าเขาจะร้องขอ จะไม่
เอาอะไรสอดให้ผู้หญิงเพื่อทําแท้ง และไม่สอนให้ใครทําด้วย จะดํารงชีพและประกอบ
วิชาชีพอย่างซื่อตรง อะไรที่ตัวเองทําไม่เป็นจะไม่ทํา แต่จะละไว้ให้คนที่เขาเชี่ยวชาญ
กว่าทํา จะเข้าบ้านคนไข้ก็เพื่อประโยชน์ของคนไข้เท่านั้น จะห้ามใจไม่ให้ไขว้เขวหรือ
ยอมตามสิ่งยั่วยวนและจะไม่หาความเพลิดเพลินทาง กามากับคนไข้ ไม่ว่าหญิงหรือ
ชาย เสรีชนหรือทาส จะรักษาความลับของคนไข้ ถ้าข้าทําตามนี้ได้ก็ขอให้ข้าเจริญ
ถ้าข้าทําตรงกันข้ามก็ขอให้ข้าฉิบหาย... เพี้ยง”
www.elifesara.com
สาระสําคัญของคําปฏิญาณของฮิปโปคราตีส (The Hippocratic Oath)
1. ให้ความเคารพแก่ครูอาจารย์และแสดงออกถึงความกตัญํู โดยการดูแลทุกข์สุข
ของตัวอาจารย์และครอบครัว
2. ดํารงรักษาไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของวิชาชีพและแนวทางการดําเนินชีวิต
3. ไม่มีทิฐิในการรักษาผู้ป่วย กรณีใดที่ตนขาดความรู้ ความชํานาญ ก็ไม่ลังเลที่จะเชิญ
ผู้รู้และชํานาญกว่ามาดูแลรักษาแทน แพทย์ไม่พึงให้ร้ายและทะเลาะวิวาทกันเอง
อันเป็นการเสื่อมเสียเกียรติ
4. ไม่ทําแท้งให้แก่สตรีใดๆ
5. ไม่กระทําในสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อผู้ป่วย แม้ว่าจะได้รับการขอร้อง รวมถึงไม่แนะนําใน
สิ่งที่ผิด
6. การรักษาความลับของผู้ป่วยไม่แพร่งพรายเรื่องราวของผู้ป่วยให้แก่ผู้อื่น
7. การสํารวมระมัดระวังที่จะไม่ประพฤติผิดทางเพศ
www.elifesara.com
ฮิปโปคราตีสกล่าวถึงจิตสานึกของแพทย์และความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ดังนี้
“ ผู้ที่เป็นแพทย์ต้องประกอบด้วยคุณลักษณะของความไม่มีอคติ
แบ่งแยก เป็นผู้มีศีลธรรม มีความสุภาพอ่อนโยน แต่งกายเหมาะสม มี
วิธีการคิดด้วยเหตุด้วยผลอย่างเป็นระบบ มีการตัดสินใจที่ดี บุคลิกภาพ
สงบน่าเชื่อถือ มีความประพฤติที่ดีงาม มีสติปัญญาสามารถแยกแยะ
ความดีและความชั่วสิ่งที่จําเป็นสําหรับชีวิต เป็นผู้มีความดีโดยที่มนุษย์
ทั่วไปพึงมี
แพทย์พึงตระหนักในจิตสํานึกและพัฒนาตนเอง ส่วนคุณลักษณะที่แพทย์ไม่พึงมีพึงเป็น ได้แก่ ความเป็นผู้ขาด
ความอดทน หยาบคาย ละโมบ มักมากในกาม ไม่ซื่อสัตย์ และขาดหิริโอตัปปะ คือความละอายเกรงกลัวต่อสิ่งที่ผิด
www.elifesara.com
จริยธรรมสําหรับแพทย์มุสลิม
(Islamic Code of Medical Ethics) (1)
จากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน
1. ต้องมีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าและคําสอนของศาสนาอิสลาม
2. ต้องปฏิบัติตัวตามแนวทางดังกล่าวในทุกๆด้านของการดําเนินชีวิต
3. มีความกตัญํูรู้คุณ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผู้อาวุโส
4. ถ่อมตน สงบเสงี่ยมเจียมตน มีความเมตตา กรุณา อดทน มีใจกว้าง
5. ปฏิบัติตนอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง และขอความช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้าอยู่เสมอ
6. หาความรู้ ความชํานาญทางวิชาชีพให้ทันต่อเหตุการณ์พร้อมรับคําแนะนําและ
ช่วยเหลือจากผู้มีประสบการณ์มากกว่าอยู่ตลอดเวลา
www.elifesara.com
7. ปฏิบัติตามกฎ ข้อบังคับแห่งวิชาชีพอย่างครัดเคร่ง
8. พึงระลึกอยู่เสมอว่าทั้งร่างกายและจิตใจผู้ป่วยนั้นเป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานมาการ
เยียวยาผู้ป่วยจึงต้องอยู่ในแนวทางคําสอนของศาสนา
9. พึงระลึกว่า พระเจ้าเป็นผู้ประทานชีวิต และผู้ที่จะถอดชีวิตได้คือพระองค์ หรือโดย
อนุมัติจากพระองค์
10. พึงสังวรว่า ทุกย่างก้าวและทุกอริยาบทของเรานั้นพระผู้เป็นเจ้าเห็นและเฝ้าดูอยู่
11. ไม่กระทําการอันใดถึงแม้จะเป็นเสียงส่วนใหญ่หรือเป็นการขอร้องจากผู้ป่วย ถ้าสิ่งนั้น
ขัดต่อหลักทางนําของพระผู้เป็นเจ้า
12. ไม่แนะนําหรือนําสิ่งที่เป็นอันตรายมาใช้
จริยธรรมสําหรับแพทย์มุสลิม
(Islamic Code of Medical Ethics) (2)
www.elifesara.com
13. ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทุกหมู่เหล่าโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา ผิวสี
14. ให้คําแนะนําที่จําเป็นโดยพิจารณาจากสภาพรวมคือทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
15. พึงรักษาความลับของผู้ป่วย
16. พึงใช้กริยามารยาทที่เหมาะสมในการติดต่อสนทนา ตลอดจนในการให้บริการต่างๆ
ให้มีบุคคลที่สามอยู่ด้วยในการตรวจผู้ป่วยต่างเพศ
17. ไม่วิจารณ์เพื่อนแพทย์ด้วยกันต่อหน้าผู้ป่วยหรือบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ
18. ไม่คิดค่าตอบแทนต่างๆในการตรวจรักษาเพื่อนแพทย์หรือญาติใกล้ชิดของแพทย์
ด้วยกัน
19. พึงใช้สติปัญญาอันรอบคอบ(จากที่พระผู้เป็นเจ้าให้มา)ในการตัดสินใจในการงานต่างๆ
จริยธรรมสําหรับแพทย์มุสลิม
(Islamic Code of Medical Ethics) (3)
www.elifesara.com
คุณธรรม 10 ประการ (จรรยาบรรณแพทย์)ตะวันตก
มีเมตตาจิตแก่คนไข้ ไม่เลือกชั้นวรรณะ
มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน
มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป
มีความละเอียดรอบคอบ สุขุม มีสติใคร่ครวญเหตุผล
ไม่โลภเห็นแก่ลาภของผู้ป่วยแต่ฝ่ายเดียว
ไม่โอ้อวดวิชาความรู้ให้ผู้อื่นหลงเชื่อ
ไม่เป็นคนเกียจคร้าน เผอเรอ มักง่าย
ไม่ลุอํานาจแก่อคติ 4 คือความลําเอียงด้วย ความรัก ความโกรธ ความกลัว
ความหลง (โง่)
ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่เป็นโลกธรรม 8 คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และความเสื่อม
ไม่มีสันดานชอบความมัวเมาในหมู่อบายมุข
www.elifesara.com
หลักจริยธรรมทางการแพทย์ของนานาประเทศ 7 ประการ
1. หลักเอื้อประโยชน์ให้คนไข้ (Beneficence)
2. หลักไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย (Non-malfeasance)
3. หลักเคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย (Autonomy)
4. หลักความเป็นธรรม/ยุติธรรมกับคนไข้ (Justice)
5. หลักการรักษาความลับของผู้ป่วย (Confidentiality)
6. หลักความซื่อสัตย์ (Fidelity) และ หลักซื่อตรงต่อคนไข้ (Truthfulness)
7. หลักรักษาศักดิ์ศรีคนไข้ (Dignity): จะทาอะไร ต้องไม่ให้คนไข้เสียศักดิ์ศรีของ
ความเป็นคน
www.elifesara.com
1) หลักเอื้อประโยชน์ให้คนไข้ (Beneficence) และ
2) หลักไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย (Non-malfeasance) (1)
 แพทย์จะทําอะไรก็ต้องเพื่อประโยชน์ของคนไข้เท่านั้น ให้มีความเมตตาต่อทุกชีวิต เห็นอกเห็นใจ
พร้อมทั้งเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อมนุษย์
 สิ่งที่จะดําเนินการจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลร้ายกับคนไข้ ทั้งทางกายหรือจิตใจ
 คิดในสิ่งที่ดี (Think good)
 คุณอาจจะไม่ได้พูดอะไรเลย แต่คนอื่นยังคงสามารถอ่านคุณจาก ใบหน้า สําเนียง ภาษากาย/
ท่าทาง
 การแสดงออกของคุณเป็นการแสดงออกของความคิดของคุณด้วย
 เมื่อคุณเงียบ คุณอาจจะยังบอกอะไรบางอย่างอยู่
www.elifesara.com
 พูดในสิ่งที่ดี (Talk/Say good) - คําพูด
 ศิลปะของการสื่อสารเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้
 ทําในสิ่งที่ดี (Do good) – การปฏิบัติ การแสดงออก
 การอุทิศตน ทุ่มเท
 เขียนในสิ่งที่ดี (Write good)
คําถาม : เรามักจะรู้เสมอว่าอะไรคือสิ่งที่ดีสําหรับผู้ป่วยหรือไม่
? (มุมมองของผู้ป่วยอาจจะแตกต่างจากเราก็ได้)
1) หลักเอื้อประโยชน์ให้คนไข้ (Beneficence) และ
2) หลักไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย (Non-malfeasance) (2)
www.elifesara.com
ข้อจํากัดของการเอื้อประโยชน์ให้คนไข้ (Beneficence)
 ต้องเคารพในการตัดสินใจของผู้ป่วย และการตัดสินใจของ
แพทย์อาจแตกต่างกัน
 ต้องแน่ใจว่าสุขภาพไม่ได้ถูกซื้อในราคาที่สูงเกินไป
 ต้องพิจารณาสิทธิของผู้อื่นด้วย
www.elifesara.com
3) หลักเคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย (Autonomy)
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาต่าง ๆ ด้วยตนเอง
ความสามารถที่จะคิด ตัดสินใจ ปฏิบัติ
4) หลักความเป็นธรรม/ยุติธรรมกับคนไข้ (Justice)
การจัดหาบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมกันตามความจําเป็นโดยไม่คํานึงถึงฐานะทาง
เศรษฐกิจ ชนชั้นทางสังคม ความเชื่อทางศาสนา หรือสีผิว
5) หลักการรักษาความลับของผู้ป่วย (Confidentiality)
ระมัดระวังในการนําข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วยไปบอกเล่าให้ผู้อื่น
www.elifesara.com
6) หลักความซื่อสัตย์ (Fidelity) และ หลักซื่อตรงต่อคนไข้
(Truthfulness)
 จะทําอะไรต้องเปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่โกหกผู้ป่วย
 ต้องบอกคนไข้ก่อนว่าสิ่งที่จะทํามีข้อดีข้อเสียอะไร
 การบอกความจริงกับคนไข้
 การจัดหาบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมกันตามความจําเป็นโดยไม่คํานึงถึงฐานะทาง
เศรษฐกิจ ชนชั้นทางสังคม ความเชื่อทางศาสนา หรือสีผิว
7. หลักรักษาศักดิ์ศรีคนไข้ (Dignity):
 จะทําอะไร ต้องไม่ให้คนไข้เสียศักดิ์ศรีของความเป็นคน
 ทั้งผู้ป่วยและแพทย์มีสิทธิที่จะมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
www.elifesara.com
จริยธรรมทางการแพทย์ในไทย
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่ง
การแพทย์ไทย และพระบิดาแห่งการสังคมสงเคราะห์ ได้สั่งสอนนักเรียน
แพทย์ให้ยึดมั่นในอุดมคติ ดังนี้
www.elifesara.com
“ให้แพทย์ รู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน ทุกคนมีดี
อย่าไปดูถูกใคร ถ้าประพฤติดีต่อกันด้วยไมตรี
ให้เกียรติกัน ทั้งแพทย์ ผู้ป่วย และญาติ
ก็จะเกิดความสัมพันธ์อันดี”
พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
www.elifesara.com
CASE
www.elifesara.com
คณะบุคคล/สถาบัน/
หน่วยงานต่างๆ
ระดับความเชื่อมั่น
รวม เชื่อมั่น
มาก
ค่อนข้าง
เชื่อมั่น
ไม่ค่อย
เชื่อมั่น
ไม่เชื่อ
มั่น
ไม่มี
ความ
เห็น
ไม่รู้จัก
• แพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ 2553 100.0 17.9 63.3 10.3 2.2 6.0 0.3
2557 100.0 24.4 56.1 11.4 3.0 4.6 0.5
• แพทย์ในโรงพยาบาลของเอกชน 2553 100.0 17.5 60.9 9.5 1.7 9.7 0.7
2557 100.0 24.3 55.7 8.9 2.4 7.8 0.9
• ทหาร 2553 100.0 13.3 59.7 13.7 3.3 9.6 0.4
2557
100.0 29.9 54.2 7.7 2.5 5.3 0.4
• โทรทัศน์ 2553 100.0 7.8 62.1 16.3 2.6 10.8 0.4
2557
100.0 9.2 56.0 21.5 4.5 8.3 0.5
• ข้าราชการพลเรือน 2553 100.0 5.9 61.1 14.9 2.6 13.2 2.3
2557
100.0 10.0 57.5 16.3 4.0 10.5 1.7
ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อการทํางานของคณะบุคคล/สถาบัน/หน่วยงานต่างๆ
(สํารวจโดย สํานักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า ปี 2557)
www.elifesara.com
คณะบุคคล/สถาบัน/
หน่วยงานต่างๆ
ระดับความเชื่อมั่น
รวม เชื่อมั่น
มาก
ค่อนข้าง
เชื่อมั่น
ไม่ค่อย
เชื่อมั่น
ไม่เชื่อ
มั่น
ไม่มี
ความ
เห็น
ไม่รู้จัก
• ผู้ว่าราชการจังหวัด 2553 100.0 9.9 56.2 10.1 2.4 14.1 7.3
2557 100.0 12.8 50.0 11.6 3.9 13.7 8.0
• ตารวจ 2553 100.0 6.2 51.1 23.9 8.9 9.6 0.3
2557 100.0 10.0 44.9 26.9 11.3 6.5 0.4
• สมาชิกสภาท้องถิ่น 2553 100.0 4.1 51.7 21.8 6.0 14.9 1.5
2557 100.0 8.7 52.9 21.0 6.2 10.1 1.1
• องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อบจ/เทศบาล/อบต/
สานักงานเขต) 2553
100.0 4.2 51.5 21.2 6.3 15.5 1.3
2557 100.0 9.0 54.3 20.6 6.3 9.3 0.5
ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อการทํางานของคณะบุคคล/สถาบัน/หน่วยงานต่างๆ
(สํารวจโดย สํานักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า ปี 2557)
www.elifesara.com
คณะบุคคล/สถาบัน/
หน่วยงานต่างๆ
ระดับความเชื่อมั่น
รวม เชื่อมั่น
มาก
ค่อนข้าง
เชื่อมั่น
ไม่ค่อย
เชื่อมั่น
ไม่เชื่อ
มั่น
ไม่มี
ความ
เห็น
ไม่รู้จัก
• เจ้าหน้าที่ที่ดิน 2553 100.0 4.2 50.5 18.8 5.1 19.5 1.9
2557 100.0 9.0 48.7 19.2 5.6 16.1 1.4
• หนังสือพิมพ์ 2553 100.0 3.7 49.5 22.3 4.1 19.6 0.8
2557 100.0 6.9 45.8 26.1 6.2 14.1 0.9
• เจ้าหน้าที่ศุลกากร 2553 100.0 4.3 43.5 14.5 3.3 25.2 9.2
2557 100.0 8.4 44.2 17.4 4.6 20.5 4.9
• วิทยุกระจ่ายเสียงทั่วไป 2553 100.0 2.9 42.5 18.3 3.9 30.2 2.2
2557 100.0 5.3 42.4 23.0 6.1 21.0 2.2
• วิทยุชุมชน 2553 100.0 2.6 36.9 20.2 5.3 32.1 2.9
2557 100.0 4.8 37.5 25.0 7.6 22.2 2.9
ความพึงพอใจนโยบายโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
รู้/ทราบนโยบายรัฐบาล 97.5 ความพึงพอใจ(ร้อยละ) 84.3 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ(คะแนนเต็ม 4) 3.12
www.elifesara.com
กรณีของบทบาทพยาบาลในฐานะผู้ช่วยเหลือแพทย์
 แพทย์บางคนละเลยการปฏิบัติหน้าที่ที่แพทย์จะต้องทําเอง และมอบหมายให้พยาบาล
ทําเช่น เมื่อผ่าตัดเสร็จ สั่งให้พยาบาลเย็บแผลต่อเพราะตนจะรีบไปทาธุระอื่น บอกให้
พยาบาลจ่ายยาไปตามที่เห็นสมควร ทั้งๆที่เป็นผู้ป่วยหนัก เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่
ถูกต้อง พยาบาลเองก็อึดอัดที่จะปฏิบัติตามคําสั่งแพทย์ในกรณีดังกล่าว เพราะหาก
เกิดความเสียหายขึ้นพยาบาลต้องร่วมรับผิดด้วย ปัญหานี้จะแก้ไขอย่างไร ?
 พยาบาลติดต่อเพื่อให้แพทย์มาดูผู้ป่วย แต่แพทย์ไม่มา
จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม พยาบาลจะทําอย่างไร ?
(ปัญหานี้เป็นเรื่องที่อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆกัน ส่วนหนึ่งเป็นเรื่อง
ของระบบบริหาร ส่วนหนึ่งเกิดจากความบกพร่องของแพทย์เอง
ซึ่งจะต้องแยกเป็นส่วนๆ ไป)
www.elifesara.com
สหรัฐฯสอบสวนโครงการทดลองทางการแพทย์ ในคดีละเมิด
จริยธรรมแพทย์
มีการสอบสวนแพทย์ของสหรัฐฯ ที่มีการใช้มนุษย์ลองยาเข้าข่ายละเมิด
จริยธรรมและมนุษยธรรม ส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ
และชีวิต
มีการฉีดเซลล์มะเร็งเข้าสู่ร่างกายวัยรุ่นชายอายุ 19 ปี ซึ่งป่วยเรื้อรัง
เพื่อสังเกตอาการทางร่างกาย แต่เจ้าหน้าที่กลับบอกอาสาสมัครว่าเป็นการ
ทดลองตัวยารวมถึงการพ่นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอเชียเข้าจมูก
นักโทษ การฉีดเชื้อไวรัสซิฟิลิส และโกโนเรียแก่ผู้ป่วยโรคประสาท
http://www.thairath.co.th/content/oversea/152503
www.elifesara.com
แพทย์สภายัน ตัดไข่เด็ก ผิด (1)
 บรรดาตุ๊ด แต๋ว กะเทย ที่อยากจะเปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง พากันหันไปใช้วิธีการตัด
ลูกอัณฑะหรือ “ตัดไข่” ทิ้ง จนกลายเป็นแฟชั่นฮิต โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียง 4,000-5,000
บาท ถูกกว่าการผ่าตัดแปลงเพศ “เฉาะจิ๋ม” ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินหลายแสนบาท
โดยเชื่อว่าการตัดไข่ทิ้งจะทําให้รูปร่างผิวพรรณดี มีความ เป็นหญิงมากขึ้น กอปรกับมี
กระแสข่าวว่า จะมีกฎหมายให้บรรดาบุคคลประเภทสอง สามารถใช้คํานําหน้าว่า “น.ส.” ได้
ทําให้บรรดาผู้ปกครองของบรรดาตุ๊ด แต๋วและกะเทยวัยกระเตาะเหล่านี้ เกิดความวิตก
กังวลและเป็นห่วงลูกหลาน ว่าอาจมีอันตรายต่อชีวิตในอนาคต
http://tnews.teenee.com/crime/21912.html
www.elifesara.com
แพทย์สภายัน ตัดไข่เด็ก ผิด (2)
ต้องกําชับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ให้เข้มงวดใน
เรื่องดังกล่าวเพราะการผ่าตัดอัณฑะในเด็ก ที่ยังไม่ บรรลุนิติ
ภาวะน่าเป็นห่วง นอกจากนี้ จะต้องตรวจดูกฎหมายให้เข้มงวด
ไม่ใช่นึกจะทําก็ทํา ยืนยันว่าโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวง
สาธารณสุข ไม่มีการให้บริการลักษณะนี้ การกระทําของแพทย์
ลักษณะนี้น่าถูกตําหนิ ต่างกับกรณีที่แพทย์ถูกฟ้องร้อง เพื่อ
ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือ ชีวิตคน ที่ควรให้การช่วยเหลือ
http://tnews.teenee.com/crime/21912.html
www.elifesara.com
แพทย์สภาระบุหมอที่เลือกรักษาคนไข้ไร้จรรยาบรรณ เพราะ
ผิดทางอาญา ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
กรณีที่โรงพยาบาล........งดตรวจและรักษาเจ้าหน้าที่บางอาชีพว่า
“หลักการทั่วไปในเรื่องของจริยธรรมและเสรีภาพการประกอบวิชาชีพแพทย์ตามรัฐ
ธรรมนูญที่กําหนดไว้หากมีผู้บาทเจ็บในภาวะฉุกเฉินซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
แพทย์จะปฎิเสธการรักษาไม่ได้ถึงแม้ผู้บาดเจ็บจะเป็นศัตรูเป็นผู้ร้ายก็ต้อง ทําการ
รักษาตามหลักจริยธรรม แต่หากได้รับบาดเจ็บที่ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินไม่ถึงขั้นเป็น
อันตรายต่อชีวิต แพทย์สามารถปฎิเสธการรักษาได้โดยการให้ไปรักษาที่โรงพยาบาล
อื่นแทน รวมทั้งหากเป็นการรักษาที่เกินความสามารถของแพทย์ แพทย์ก็สามารถที่
จะปฏิเสธการรักษาได้
http://www.thaibizcenter.com/hotnewsdetail.asp?newsid=688
www.elifesara.com
ASEAN
www.elifesara.com
www.elifesara.com
อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายไปทํางานได้อย่างเสรี ในสายการแพทย์
อาชีพพยาบาล ทันตแพทย์ และแพทย์ จากตลาดการให้บริการประชาชน 67
ล้านคน เป็น 600 ล้านคน
คุณภาพผู้ทํางานสายแพทย์จะเป็นอย่างไร
จะรักษามาตรฐานของผู้จบวิชาชีพแพทย์ได้อย่างไร ที่มิให้เกิดการทํางานต่ําใน
เรื่องมาตรฐานขององค์กรในการผลิตคน และการบริการ
บางวิชาชีพของไทยเริ่มจะเข้าสู่วิกฤตการขาดแคลนอาจารย์ เช่น ทันตแพทย์
จะระวังดูแลในเรื่องมาตรฐานของคนจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่เข้ามา
ประกอบอาชีพในไทยได้อย่างไร
http://www.thai-aec.com/ หรือ http://www.facebook.com/thailandaec
www.elifesara.com
เราจะเตรียมการรับมืออย่างไรดี
เมื่อประชาคมอาเซียนมาถึง
จับตาฟิลิปปินส์และเวียดนาม จากข้อมูล
 สภาวการณ์ขาดแคลนนักรังสีเทคนิคไทย
จํานวนมาก
 ไทยมีอัตราค่าตอบแทนที่สูงกว่าอย่างมีนัยสําคัญ
 การเปิดให้มีการเคลื่อนย้ายเสรีของแรงงานมีฝีมือ
 ระบบการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน
 มีใบประกอบโรคศิลปะ
 ประเทศไทยน่าอยู่ คนไทยมีน้ําใจ อัธยาศัยดี
www.elifesara.com
เราจะเตรียมการรับมืออย่างไรดี
เมื่อประชาคมอาเซียนมาถึง
เมื่อประชาคมอาเซียนมาถึง จึงน่าเป็นไปได้ว่า นักรังสีเทคนิคจากฟิลิปปินส์มีโอกาส
สูงที่สุดที่จะเข้ามาทางานในไทย โอกาสรองลงไปคือเวียดนาม
จะกีดกันหรือจะสนับสนุนหรืออย่างไรก็ได้ เมื่อคิดว่าเราจะเสียเปรียบ แสดงว่าต้อง
เอาเปรียบใช่ไหม นั่นไม่ใช่วัตถุประสงค์ของประชาคมอาเซียน มิตรประเทศของเรา
ทั้งนั้น เพื่อน win เรา win น่าจะเป็นแนวทางที่ดี แต่ win ด้วยกันมีอะไรบ้าง
ต้องช่วยกันคิด
www.elifesara.com
www.elifesara.com
การสํารวจทางด้านจริยธรรมในวิชาชีพของแกลลัพโพล (Gallup Poll)
บริษัท แกลลัพ เป็นหนึ่งในสํานักโพลที่มีชื่อเสียงของอเมริกา ได้
สํารวจข้อมูลในประเทศต่างๆ มากกว่า 160 ประเทศ
ชาวอเมริกันได้รับการขอให้ลงคะแนนความซื่อสัตย์และจริยธรรม
ของวิชาชีพต่างๆเป็นประจําทุกปีตั้งแต่ปี 1990
ผลโพลล์นี้รวบรวมความคิดเห็นโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ
ตัวอย่างที่ถูกสุ่มจาก 805 คน โดยในจํานวนนี้เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่
18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ใน 50 รัฐของสหรัฐอเมริกาและโคลัมเบีย
ผลการสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความซื่อสัตย์/
ความจริงใจ และจริยธรรมใน 11 วิชาชีพ
3 อันดับสูงสุด
2 อันดับต่ําสุด
ที่มา http://www.gallup.com/poll/145214/Rate-Nurses-Doctors-Highly.aspx
หลักจรรยาบรรณทางจริยธรรม
(Code of Ethical conduct)
 หลักจรรยาบรรณทางจริยธรรมเป็นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างและ
รักษาวัฒนธรรมของความซื่อสัตย์ อีกทั้งเป็นกฎที่ตั้งขึ้นมาอย่าง
ชัดเจนและรัดกุม เพื่อให้บุคลากรรู้และเข้าใจถึงกรอบของ
พฤติกรรมที่ถูกคาดหวังในที่ทางาน
www.elifesara.com
ทําไมหลักจรรยาบรรณทางจริยธรรม
(Code of Ethical conduct) จึงสําคัญ ?
 หลักจรรยาบรรณทางจริยธรรมจะช่วยให้บุคลากรในโรงพยาบาลทุกคน
เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยการกําหนดความคาดหวังที่บุคลากรทุกคน
สามารถปฏิบัติตามโดยใช้มาตรฐานทางพฤติกรรมเดียวกัน
 หลักจรรยาบรรณทางจริยธรรมช่วยในการสร้างความน่าเชื่อถือและ
สร้างภาพแวดล้อมการทํางานที่ปลอดภัยและมีสุขภาพดี คนให้ความ
เคารพนับถือและยอมรับกันเป็นสมาชิกในทีมที่เท่าเทียมกันในการส่ง
มอบการดูแลรักษา
www.elifesara.com
ตัวอย่างหลักจรรยาบรรณทางจริยธรรม (Code of Ethical conduct) -
โรงพยาบาลเมาท์ ไซนาย (The Mount Sinai Hospital) สหรัฐอเมริกา
จากการจัดอันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดของประเทศ (Best Hospitals 2014-15)
ซึ่งจัดอันดับโดย U.S. News & World Report เมาท์ ไซนายเป็นโรงพยาบาลที่
ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 16 จากเกือบ 5,000 โรงพยาบาลทั่วประเทศ และ
ยังถูกจัดอันดับในอีกหลายๆ ด้านที่เชี่ยวชาญพิเศษ เช่น ติดอันดับใน 10 ด้านเวช
ศาสตร์ผู้สูงอายุ ระบบทางเดินอาหาร โรคหัวใจ และหูคอจมูก
มีการเปิดสอนโรงเรียนแพทย์ Icahn School of Medicine at Mount Sinai
www.elifesara.com
ผู้ที่จะนําหลักจรรยาบรรณทางจริยธรรม
(Code of Ethical conduct) ไปใช้คือใคร ?
 สมาชิกทุกคนในคณะกรรมการบริหาร
 ผู้บริหาร
 พนักงานของโรงพยาบาล
 แพทย์
 พนักงานชั่วคราว
 อาสาสมัคร
 นักเรียนนักศึกษา
 นักวิจัย
www.elifesara.com
วิธีการตรวจสอบหลักจรรยาบรรณทางจริยธรรม
กลุ่มผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาลเมาท์ ไซนายมีความรับผิดชอบโดยรวมในการ
ตรวจสอบการนาหลักจรรยาบรรณนี้ไปปฏิบัติภายในโรงพยาบาล
ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นเจ้าของทางด้านการบริหารของหลักจรรยาบรรณนี้ โดยอยู่
ภายใต้การควบคุมดูแลของข้อตกลงตามหลักจรรยาบรรณของคณะกรรมการที่
ปรึกษาซึ่งมีตัวแทนจากฝ่ายทรัพยากรบุคคล, ฝ่ายกฎหมาย, ด้านการแพทย์, ความ
หลากหลายและสิทธิมนุษยชน ฝ่ายการสื่อสาร ฝ่ายการเงินและผู้บริหารระดับสูง
คณะกรรมการทั้งหลายเหล่านี้จะทบทวนหลักข้อตกลงนี้เป็นประจาทุกปี
และจะมีการเปิดประชุมโดยประธาน รองประธานอาวุโส และฝ่าย
พัฒนาองค์กร
www.elifesara.com
ความรับผิดชอบของบุคลากรทุกคน
ต่อหลักจรรยาบรรณทางจริยธรรม
 อ่านและปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณนี้
 ให้ทาความคุ้นเคย เข้าใจและปฏิบัติตามขั้นพื้นฐานตามกฎหมายและข้อกาหนดด้านกฎระเบียบ
ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของตัวเอง
 ยึดมั่นตามมาตรฐานจริยธรรมสูงสุดเมื่อทาหน้าที่ในนามของเมาท์ ไซนาย
 เคารพค่านิยมทางวัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนาของผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว
เพื่อนร่วมงาน ทีมงานและผู้มาเยือน
 ป้องกันและ / หรือละเว้นจากการเลือกปฏิบัติหรือการคุกคามใด ๆ รวมทั้งการล่วงละเมิดหรือข่มเหง
ทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ หรือทางเพศ
 ละเว้นจากการขัดแย้งทางผลประโยชน์และ / หรือใช้ตาแหน่งเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
 รายงานการทาผิด/ฝ่าฝืนทางกฎหมายหรือมาตรฐานทางจริยธรรมที่เป็นไปได้
หรือที่เกิดขึ้นจริง
www.elifesara.com
คําถามมาตรฐานในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
(Compliance Questions)
 ความซื่อสัตย์ ความรู้สึกร่วมและวิจารณญาณที่ดีเป็นตัวชี้แนะที่ดีที่สุดของคุณในการกาหนดว่าการกระทา
ของคุณเป็นไปตามมาตรฐานที่คาดหวังสาหรับพฤติกรรมทางด้านจริยธรรมและที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ถ้าคุณ
พบว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์ที่คุณไม่แน่ใจ ให้ถามตัวเองด้วยคําถามเหล่านี้
 การกระทาของฉันสอดคล้องกับความต้องการตามแนวทางปฏิบัติของเมาท์ ไซนาย และกฎหมาย
หรือกฎระเบียบหรือไม่ ?
 การกระทาของฉัน (เพื่อคนอื่น ๆ ) เข้าข่ายลักษณะ ของความไม่ถูกต้องหรือเป็นการกระทาที่ผิด
กฎหมายหรือไม่ ?
 การกระทานี้จะทาลายชื่อเสียงแก่พนักงานคนอื่นๆ หรือแก่เมาท์ ไซนายหรือไม่ ถ้ามีการเปิดเผย
อย่างเต็มที่ให้กับประชาชน?
 ฉันสามารถปกป้อง/แก้ต่างการกระทาของฉันให้แก่หัวหน้างานของฉัน พนักงานอื่น ๆ
และให้ประชาชนทั่วไปได้หรือไม่ ?
 การกระทาของฉันขัดแย้งกับข้อพึงปฏิบัติส่วนบุคคลของฉันหรือไม่ ?
www.elifesara.com
ประเด็นจริยธรรมทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโซเชียลมีเดีย
(Social Media)
การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์-สิทธิส่วนบุคคลโดยใช้โซเชียลมีเดีย
(Social Media) เช่น Facebook, Twitter จากหลายๆ กรณี เช่น
แพทย์ถ่ายเซลฟี่ในห้องผ่าตัดโดยเห็นหน้าผู้ป่วย
การถ่ายรูปผู้ป่วยขณะทําการรักษา โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้เรื่องหรือไม่
อนุญาต
การโพสต์บ่นผู้ป่วยในโซเชียลมีเดีย เป็นต้น
www.elifesara.com
กรณีศึกษา: บทเรียนของแพทย์จากโรงพยาบาล Westerly
ในรัฐ Rhode Island ประเทศสหรัฐอเมริกา
ดร.อเล็กซาน ทราน อายุ 48 ปีได้ถูกไล่ออกจากโรงพยาบาล และได้ถูก
ตําหนิจากคณะกรรมการของการแพทย์ของรัฐ
โรงพยาบาลได้สั่งระงับสิทธิในการทํางานในห้องฉุกเฉินของแพทย์ท่านนี้
จากสาเหตุที่ได้โพสต์ข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับผู้ป่วยบาดเจ็บ ซึ่งการโพสต์
ของแพทย์ท่านนี้ไม่ได้ระบุชื่อของผู้ป่วย แต่การเขียนของเขาพอที่จะทํา
ให้ผู้อื่นในชุมชนนั้นสามารถระบุได้ว่าใครคือผู้ป่วยคนนั้น
ผลก็คือแพทย์ท่านนี้ได้ถูกสั่งให้ออกจากการทํางาน และยังถูกปรับเป็น
จํานวนเงิน ๕๐๐ ดอลลาร์
(อ้างอิงจาก www.boston.com)
www.elifesara.com
กรณีศึกษาจากโรงพยาบาลในรัฐแคลิฟอร์เนีย
 โรงพยาบาลรัฐวิสคอนซิน และอีกหลายๆ แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนียได้มีข่าวกรณี
พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ถูกไล่ออกจากการพูดคุยเกี่ยวกับผู้ป่วยใน
Facebook และการโพสต์รูปถ่ายของคนไข้ในออนไลน์
 แพทย์ควรที่จะมองในมุมมองของผู้ป่วยด้วยว่าจะคิดอย่างไรในเรื่องที่นําไปพูดคุย
ผ่านโซเชียลมีเดีย และต้องพิจารณาก่อนโพสต์ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพื่อรักษา
มาตรฐานการประกอบวิชาชีพ และไม่ละเมิดสิทธิของผู้ป่วย
 ทั้งนี้ควรที่จะมีการตั้งบัญชีส่วนตัวและอาชีพของโซเชียลมีเดียที่แยกต่างหากออกจาก
กัน โดยใช้บัญชีส่วนตัวเฉพาะตัว และใช้บัญชีทางสายอาชีพเป็นส่วนขยายของการ
แลกเปลี่ยนต่อยอดการปฏิบัติงานเท่านั้น
(อ้างอิงจาก www.boston.com)
www.elifesara.com
ความเป็นมืออาชีพในการใช้โซเชียลมีเดีย
ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการแพทย์
 ปัจจุบันมีการใช้ “โซเชียล มีเดีย (Social Media)” เพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขภาพของ
บุคคล ซึ่งอาจนาไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้ป่วย เช่น ภาพของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ข้อมูลทาง
การแพทย์ ฟิล์มเอ็กซเรย์ ฯลฯ
 ตามหลักการของมาตรา ๗ ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ กาหนดให้ข้อมูล
ด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับ จะนาไปเปิดเผยเพื่อทาให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้
 แต่ด้วยภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โซเชียลมีเดียจึงเป็นเครื่องมือสื่อสารทั้งด้านบวก และด้าน
ลบ ซึ่งมีโอกาสละเมิดสิทธิส่วนบุคคลตลอดเวลา โดยเฉพาะข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคล
www.elifesara.com
ความเป็นมืออาชีพในการใช้โซเชียลมีเดีย
ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการแพทย์ (ต่อ)
 แพทย์ควรรู้ทันมาตรฐานความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการถูก
เก็บรักษาไว้ในสภาพแวดล้อมที่รวมถึงในออนไลน์และจะต้องละเว้นจากการโพสต์
ข้อมูลระบุตัวตนของผู้ป่วยทางออนไลน์
 เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ตในเครือข่ายสังคมออน์ไลน์ แพทย์ควรใช้การตั้งค่าความเป็น
ส่วนตัวเพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลและเนื้อหาให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ โดยแพทย์
ควรตรวจสอบอินเตอร์เน็ทของตัวเองเป็นประจาเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลและ
ข้อมูลที่เป็นความลับในเว็บไซต์ของตัวเองมีขอบเขตการโพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับคนไข้หรือ
ผู้อื่น มีความถูกต้องและเหมาะสม
www.elifesara.com
ความเป็นมืออาชีพในการใช้โซเชียลมีเดีย
ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการแพทย์ (ต่อ)
 หากมีการโต้ตอบกับผู้ป่วยบนอินเทอร์เน็ต แพทย์ต้องรักษาขอบเขตที่เหมาะสมของความสัมพันธ์ของผู้ป่วยและแพทย์ตาม
แนวทางจริยธรรมวิชาชีพแพทย์เช่นเดียวกับในบริบทอื่น ๆ
 เพื่อรักษาขอบเขตของวิชาชีพแพทย์ที่เหมาะสม แพทย์ควรพิจารณาแยกเนื้อหาส่วนบุคคลและเกี่ยวกับสายอาชีพทาง
ออนไลน์
 เมื่อแพทย์เห็นเนื้อหาที่ถูกโพสต์โดยเพื่อนร่วมงานที่ปรากฏอย่างไม่เป็นมืออาชีพ แพทย์ควรแนะนาให้ลบเนื้อหาที่ไม่
เหมาะสมนั้นออกไป หรือควรรายงานต่อหน่วยงานที่ดูแลหากเป็นการละเมิดต่อมาตรฐานวิชาชีพแพทย์
 แพทย์ต้องตระหนักดีว่าการดาเนินการทางออนไลน์และเนื้อหาที่โพสต์ในเชิงลบอาจส่งผลต่อชื่อเสียงของแพทย์ในหมู่ผู้ป่วย
และเพื่อนร่วมงาน และอาจมีผลกระทบสาหรับการประกอบอาชีพทางการแพทย์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาหรับแพทย์ในการ
ฝึกอบรมและนักศึกษาแพทย์) และสามารถทาลายความไว้วางใจของประชาชนในวิชาชีพแพทย์
(อ้างอิงจาก AMA - American Medical Association)
www.elifesara.com
ประโยชน์ของการใช้โซเชียลมีเดียของแพทย์ที่จะเป็น
ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยจากการทํากิจกรรมเหล่านี้
การมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชนและการอภิปรายเพื่อ
กําหนดนโยบาย
การสร้างเครือข่ายมืออาชีพในระดับชาติและนานาชาติ
การอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการ
ให้บริการผู้ป่วย
www.elifesara.com
โมเดลบูรณาการจริยธรรม (Integrated Ethics Model)
 ในขณะที่ “คุณภาพ (Quality) ได้กลายเป็นคาฮิตสาหรับองค์กรดูแลสุขภาพในหลาย
ปีผ่านมา แต่องค์กรส่วนใหญ่ยังให้ความสาคัญค่อนข้างน้อยในเรื่อง “คุณภาพทาง
จริยธรรม (Ethics Quality)”
 โมเดลนี้แสดงให้เห็นถึงการออกจากพื้นฐานจากวิธีการแบบดั้งเดิมกับจริยธรรมในองค์กร
ด้านการดูแลสุขภาพ เป็นโมเดลใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพเกี่ยวกับจริยธรรมในองค์กรดูแล
สุขภาพ
 โมเดลนี้ถูกพัฒนาโดยศูนย์เพื่อจริยธรรมในการให้บริการด้านสุขภาพแห่งชาติ (The
National Center for Ethics in Health Care) ในกรมประชาสงเคราะห์ทหาร
ผ่านศึกของสหรัฐอเมริกา (United States Government„s Department of
Veterans Affairs)
www.elifesara.com
โมเดลบูรณาการจริยธรรม (IntegratedEthics Model)(ต่อ)
โมเดลนี้ช่วยให้องค์กรสามารถจัดลาดับความสาคัญ การส่งเสริม
การวัดและการปรับปรุงประสิทธิภาพการทางานที่เกี่ยวข้องกับ
จริยธรรมอย่างเป็นระบบ
หัวใจหลักของโมเดลนี้คือ จริยธรรมเป็นส่วนที่สําคัญเพื่อให้เกิด
คุณภาพ
www.elifesara.com
คุณภาพทางจริยธรรม (Ethics Quality)
 คุณภาพทางจริยธรรมคือ การปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรที่มีความสอดคล้อง/การยอมรับอย่างกว้างขวาง
จากมาตรฐานทางจริยธรรม บรรทัดฐาน หรือความคาดหวังสําหรับองค์กรและพนักงาน
แนวทางการปฏิบัติเหล่านี้จะถูกกําหนดไว้ใน
 คําแถลงพันธกิจ (Mission) และ ค่านิยม (Value) ขององค์กร
 ประมวลจรรยาบรรณ (Code of ethics)
 แนวทาการทํางานอย่างมืออาชีพ (Professional guidelines)
 คําแถลงมติ (Consensus statements)
 เอกสารแสดงความคิดเห็น (Position Papers)
 นโยบายสาธารณะและนโยบายสถาบัน (Public and institutional policies)
 คุณภาพทางจริยธรรมอาจได้รับการประเมินโดยผ่านทางโครงสร้าง กระบวนการ และการวัดผล
www.elifesara.com
คุณภาพทางจริยธรรม (Ethics Quality)(ต่อ)
ตัวอย่าง สมมติว่าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด จากมุมมองของคุณภาพทาง
เทคนิค
การดําเนินการถูกดําเนินการอย่างสมบูรณ์และจากมุมมองของคุณภาพ
การให้บริการผู้ป่วยเป็นที่น่าพอใจด้วยการดูแลอย่างดีที่เขาได้รับ ดังนั้น
การดูแลในกรณีนี้มีคุณภาพสูงใช่มั้ย ?
คําตอบคือ ก็ไม่จําเป็น หากลองคิดดูว่าถ้าผู้ป่วยไม่เคยได้รับการแจ้งหรือ
ได้รับข้อมูลที่ผิด ๆ เกี่ยวกับขั้นตอนที่เขาได้รับการรักษานี้จะบ่งบอกถึง
ปัญหาที่มีคุณภาพจริยธรรม
www.elifesara.com
ระดับของคุณภาพทางจริยธรรม
(Levels of Ethics Quality)
 คุณภาพทางจริยธรรมเป็นผลผลิตของการมีปฏิกิริยาต่อ
กันและกันของปัจจัยทั้ง 3 ระดับ คือ
(1) การตัดสินใจและการกระทํา (Decisions & actions)
(2) ระบบและกระบวนการ (Systems & processes)
(3) สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม (Environment & culture)
ร่วมกันทั้งสามระดับกาหนดคุณภาพทางจริยธรรมของ
องค์กร
www.elifesara.com
ระดับของคุณภาพทางจริยธรรม
(Levels of Ethics Quality) (ต่อ)
 บริเวณพื้นผิวของภูเขาน้าแข็งทางจริยธรรมนี้ อยู่ในตาแหน่งที่
สามารถสังเกตการตัดสินใจและกระทําได้อย่างง่าย และกิจกรรม
ต่างๆ ที่ไหลจากพวกเขาในการปฏิบัติในชีวิตประจาวันขององค์กรและ
การเป็นพนักงาน
 พื้นที่ข้างใต้ภูเขาน้าแข็งนั้นเป็นส่วนของระบบขององค์กรและ
กระบวนการผลักดันการตัดสินใจ ปัจจัยเหล่านี้เป็นองค์กรที่ไม่
สามารถมองเห็นได้อย่างง่ายดายในตัวเอง แต่จะเห็นได้ชัดเมื่อใคร
คนหนึ่งมองระบบขององค์กรและกระบวนการตัดสินใจ เช่น มองโดย
การตรวจสอบรูปแบบและทิศทางสาหรับจริยธรรมในการขอคาปรึกษา
ด้านจริยธรรม
www.elifesara.com
จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559
จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559
จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559
จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559
จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559
จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559
จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559
จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559
จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559
จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559
จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
Aiman Sadeeyamu
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
techno UCH
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็ก
Rofus Yakoh
 
8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบ8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบ
Wijitta DevilTeacher
 
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
Phattarawan Wai
 
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉางคู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
Suradet Sriangkoon
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
pueniiz
 

Was ist angesagt? (20)

Diabetic ketoacidosis
Diabetic ketoacidosisDiabetic ketoacidosis
Diabetic ketoacidosis
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
 
ไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้าสถิตไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้าสถิต
 
การดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
การดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายการดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
การดูแลเส้นฟอกเลือด (Vascular access) ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
 
บันทึกทางการพยาบาล
บันทึกทางการพยาบาลบันทึกทางการพยาบาล
บันทึกทางการพยาบาล
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
การตกผลึก
การตกผลึกการตกผลึก
การตกผลึก
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็ก
 
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาบริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
 
Ppt.เพศ
Ppt.เพศPpt.เพศ
Ppt.เพศ
 
ระบบยา
ระบบยาระบบยา
ระบบยา
 
โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์
โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์
โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์
 
8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบ8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบ
 
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
 
Chapter2 อุปสงค์อุปทาน
Chapter2 อุปสงค์อุปทานChapter2 อุปสงค์อุปทาน
Chapter2 อุปสงค์อุปทาน
 
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉางคู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
 
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sssบันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
 

Andere mochten auch

แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะแพทย์ กสพท. (จริยธรรม)
แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะแพทย์ กสพท. (จริยธรรม)แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะแพทย์ กสพท. (จริยธรรม)
แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะแพทย์ กสพท. (จริยธรรม)
mintwrsr15
 
ความถนัดเเพทย์ ondemand
ความถนัดเเพทย์ ondemandความถนัดเเพทย์ ondemand
ความถนัดเเพทย์ ondemand
firstnarak
 
แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะ แพทย์กสพท. การวิเคราะห์สังเคราะห์และเชื่อมโยง
แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะ แพทย์กสพท. การวิเคราะห์สังเคราะห์และเชื่อมโยงแนวข้อสอบ วิชาเฉพาะ แพทย์กสพท. การวิเคราะห์สังเคราะห์และเชื่อมโยง
แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะ แพทย์กสพท. การวิเคราะห์สังเคราะห์และเชื่อมโยง
mintwrsr15
 
ความถนัดทางแพทย์
ความถนัดทางแพทย์ความถนัดทางแพทย์
ความถนัดทางแพทย์
Miewz Tmioewr
 
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
Nawanan Theera-Ampornpunt
 

Andere mochten auch (20)

แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะแพทย์ กสพท. (จริยธรรม)
แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะแพทย์ กสพท. (จริยธรรม)แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะแพทย์ กสพท. (จริยธรรม)
แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะแพทย์ กสพท. (จริยธรรม)
 
ความถนัดเเพทย์ ondemand
ความถนัดเเพทย์ ondemandความถนัดเเพทย์ ondemand
ความถนัดเเพทย์ ondemand
 
แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะ แพทย์กสพท. การวิเคราะห์สังเคราะห์และเชื่อมโยง
แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะ แพทย์กสพท. การวิเคราะห์สังเคราะห์และเชื่อมโยงแนวข้อสอบ วิชาเฉพาะ แพทย์กสพท. การวิเคราะห์สังเคราะห์และเชื่อมโยง
แนวข้อสอบ วิชาเฉพาะ แพทย์กสพท. การวิเคราะห์สังเคราะห์และเชื่อมโยง
 
ความถนัดทางแพทย์
ความถนัดทางแพทย์ความถนัดทางแพทย์
ความถนัดทางแพทย์
 
เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2558
เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2558เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2558
เฉลย กสพท. ชีววิทยา 2558
 
บทความ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ
บทความ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการบทความ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ
บทความ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ
 
Book club 2
Book club 2Book club 2
Book club 2
 
New Medical Information Tools
New Medical Information Tools New Medical Information Tools
New Medical Information Tools
 
PDSA
PDSAPDSA
PDSA
 
บทความ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ
บทความ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการบทความ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ
บทความ พรบ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ
 
Presentation on aravind eye hospital
Presentation on aravind eye hospitalPresentation on aravind eye hospital
Presentation on aravind eye hospital
 
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบทางจริยธรรม และประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ย แจก
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ย แจกภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ย แจก
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ย แจก
 
การบริหารความสัมันธ์และความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
การบริหารความสัมันธ์และความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์การบริหารความสัมันธ์และความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
การบริหารความสัมันธ์และความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
 
Case Solution- Aravind Eye Care
Case Solution- Aravind Eye CareCase Solution- Aravind Eye Care
Case Solution- Aravind Eye Care
 
ปปช กล่าวหา จนท.องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ปปช กล่าวหา จนท.องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นปปช กล่าวหา จนท.องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ปปช กล่าวหา จนท.องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส7 แจก
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส7 แจกสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส7 แจก
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส7 แจก
 
ธุรกิจการค้าจีนกับอาเซียน
ธุรกิจการค้าจีนกับอาเซียนธุรกิจการค้าจีนกับอาเซียน
ธุรกิจการค้าจีนกับอาเซียน
 

Ähnlich wie จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559

ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
pentanino
 
ความทุกข์
ความทุกข์ความทุกข์
ความทุกข์
kawpod
 
จริยศาสตร์ ความหมายและขอบเขต
จริยศาสตร์ ความหมายและขอบเขตจริยศาสตร์ ความหมายและขอบเขต
จริยศาสตร์ ความหมายและขอบเขต
chonlataz
 
Topicค ณธรรม (2)
Topicค ณธรรม (2)Topicค ณธรรม (2)
Topicค ณธรรม (2)
Min Chatchadaporn
 
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สินปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
Sorasak Tongon
 
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สินปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
Sorasak Tongon
 
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม
บรรพต แคไธสง
 
10 ethics and lifestyle
10 ethics and lifestyle10 ethics and lifestyle
10 ethics and lifestyle
etcenterrbru
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55
Kwandjit Boonmak
 

Ähnlich wie จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559 (20)

ธรรมาภิบาลและจริยธรรม กศน
ธรรมาภิบาลและจริยธรรม กศนธรรมาภิบาลและจริยธรรม กศน
ธรรมาภิบาลและจริยธรรม กศน
 
05 ethics
05 ethics05 ethics
05 ethics
 
ธรรมาภิบาล สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
ธรรมาภิบาล สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาธรรมาภิบาล สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
ธรรมาภิบาล สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
 
In side-100 story-001-248[1][19]
In side-100 story-001-248[1][19]In side-100 story-001-248[1][19]
In side-100 story-001-248[1][19]
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
 
Pb
PbPb
Pb
 
ความทุกข์
ความทุกข์ความทุกข์
ความทุกข์
 
Clu11
Clu11Clu11
Clu11
 
Clu11
Clu11Clu11
Clu11
 
แผ่นพับ โครงงานคุณธรรม 1
แผ่นพับ โครงงานคุณธรรม 1แผ่นพับ โครงงานคุณธรรม 1
แผ่นพับ โครงงานคุณธรรม 1
 
จริยศาสตร์ ความหมายและขอบเขต
จริยศาสตร์ ความหมายและขอบเขตจริยศาสตร์ ความหมายและขอบเขต
จริยศาสตร์ ความหมายและขอบเขต
 
Intro sciproject
Intro sciprojectIntro sciproject
Intro sciproject
 
Topicค ณธรรม (2)
Topicค ณธรรม (2)Topicค ณธรรม (2)
Topicค ณธรรม (2)
 
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
 
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สินปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
 
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สินปลา ศิรินาฏ  ทรัพย์สิน
ปลา ศิรินาฏ ทรัพย์สิน
 
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม
บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยธรรม
 
10 ethics and lifestyle
10 ethics and lifestyle10 ethics and lifestyle
10 ethics and lifestyle
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55
 

Mehr von Taraya Srivilas

Mehr von Taraya Srivilas (20)

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
 
American first muslim
American first muslimAmerican first muslim
American first muslim
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคต
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 
เอกสารการสร้างความปรองดอง และสมานฉันท์ ผลงาน คสช
เอกสารการสร้างความปรองดอง และสมานฉันท์ ผลงาน คสชเอกสารการสร้างความปรองดอง และสมานฉันท์ ผลงาน คสช
เอกสารการสร้างความปรองดอง และสมานฉันท์ ผลงาน คสช
 

จริยธรรมทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ม.ค. 2559