SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 38
Downloaden Sie, um offline zu lesen
เรื่องการเคลื่อนที่ของคนเล่มที่ 4
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา (ว 32242)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
นางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการ
โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่
ของสิ่งมีชีวิต เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน ผู้สอนได้ดาเนินการจัดทาขึ้นเพื่อประกอบในการ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาชีววิทยา รหัสวิชา
ว 32242 สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้และปฏิบัติ
กิจกรรมได้ด้วยตนเอง เรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ตามลาดับขั้น ศักยภาพและความสามารถของ
ตนเอง ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ ทักษะความคิด สามารถดารงชีวิตใน
โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทัน
เมื่อผู้เรียนศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้แล้ว ผู้เรียนจะมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เพราะนอกจากความรู้ คาถาม สื่อการเรียนรู้
ที่ถูกจัดทาอย่างเป็นระบบขั้นตอนแล้ว ยังเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลวีดิทัศน์เพื่อช่วยขยายขอบเขต
ของการรับรู้ของผู้เรียนอีกด้วย
ผู้สอนหวังว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เรียน ครูผู้สอน
และผู้ที่สนใจนาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีความปกติสุข
ในการดารงชีวิต
กมลรัตน์ ฉิมพาลี
คานา
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน ก.
เรื่อง หน้า
คานา ................................................................................................................................
สารบัญ .............................................................................................................................
คาชี้แจงการใช้ชุดการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่ของคน........................................................
คาแนะนาสาหรับครู............................................................................................................
คาแนะนาสาหรับนักเรียน....................................................................................................
ขั้นตอนการใช้......................................................................................................................
มาตรฐานการเรียนรู้............................................................................................................
ผลการเรียนรู้.......................................................................................................................
แบบทดสอบก่อนเรียน ......................................................................................................
ตารางวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้...................................................................................
ชุดการเรียนรู้เล่มที่ 4 เรื่องการเคลื่อนที่ของคน…………………………................................
บัตรเนื้อหา ................................................................................................................
บัตรกิจกรรม .............................................................................................................
บัตรเฉลย ...................................................................................................................
แบบทดสอบหลังเรียน .......................................................................................................
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน .......................................................................
บรรณานุกรม ....................................................................................................................
ก
ข
1
2
3
4
5
6
7
10
12
13
27
29
31
34
35
สารบัญ
ข.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ว 32242 หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของ
สิ่งมีชีวิต สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 7 เล่ม ดังนี้
1. เล่มที่ 1 เรื่อง การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
2. เล่มที่ 2 เรื่อง การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
3. เล่มที่ 3 เรื่อง การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
4. เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน
5. เล่มที่ 5 เรื่อง กิจกรรม STEM กับการเคลื่อนที่ของข้อต่อและกล้ามเนื้อมือ
6. เล่มที่ 6 เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์การกีฬากับการเคลื่อนที่
7. เล่มที่ 7 เรื่อง กิจกรรมการสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเหลือคนที่มีปัญหา
ด้านการเคลื่อนที่
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ว 32242 หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของ
สิ่งมีชีวิต มีจุดประสงค์การเรียนรู้ และเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานกลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ว 32242 หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของ
สิ่งมีชีวิต ในแต่ละชุดกิจกรรมจะเสร็จสมบูรณ์ในตัวเอง นักเรียนสามารถทบทวนได้ตามที่
ต้องการ นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงไปยังสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้ศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติม
4. นักเรียนสามารถประเมินตนเองได้โดยการตรวจคาตอบจากเฉลย
5. ควรศึกษาคาแนะนาในการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ก่อนใช้ทุกชุดกิจกรรม
หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน
คาชี้แจง
1.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
1.1 ศึกษารายละเอียดของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เข้าใจก่อนสอน
1.2 จัดเตรียมสิ่งแวดล้อม ระบบสนับสนุน เครื่องมือวัดและประเมินผล
ให้พร้อมใช้
ครูให้คาแนะนาและเป็นผู้อานวยความสะดวกในการดาเนินกิจกรรม ทั้งนี้ควรกระตุ้น
และส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการคิด
กล้าแสดงความคิดเห็น การทางานเป็นทีม และรับผิดชอบต่อหน้าที่
เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอน ครูควรประเมินผลการเรียนรู้
ของผู้เรียนโดยใช้แบบทดสอบประจาชุดกิจกรรมการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน
คาแนะนา
สาหรับครู
1. ขั้นตอนก่อนจัดการเรียนรู้
2. ขั้นการสอน
3. ขั้นสรุป
หากคุณครูมีข้อสงสัยในขั้นตอนใดของ
กิจกรรม สามารถสอบถามผ่านจากเพจ
“BioWow เทคนิคการเรียนการสอน
ชีววิทยา By Krupumbio
ได้ตลอดเวลาค่ะ
2.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ว 32242 หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของ
สิ่งมีชีวิต สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนด้วยความซื่อสัตย์และ
ตั้งใจ ดังนี้
1. ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้
2. ทาแบบทดสอบก่อนเรียน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ว 32242
หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่มที่ 4
เรื่องการเคลื่อนที่ของคน
3. ปฏิบัติกิจกรรมและศึกษาสื่อต่างๆตามคาแนะนาของชุดกิจกรรมการเรียนรู้
ซึ่งสื่อวิดีทัศน์จะเชื่อมโยงได้ในรูปของ QR Code หรือการใช้ URL ไปยังวิดีทัศน์นั้น
4. ทาแบบฝึกเสริมทักษะเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในบทเรียน
5. ทาแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต สาหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่มที่ 4 เรื่องการเคลื่อนที่ของคน
6. หากมีข้อคาถามหรือข้อสงสัยสามารถสอบถามครูผู้สอนได้
7. เกณฑ์การผ่านการประเมินจะผ่านเมื่อนักเรียนทาคะแนนได้ คิดเป็นร้อยละ 80
หากนักเรียนไม่ผ่านการประเมิน ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหา และทากิจกรรมอีกครั้ง แล้วทาการ
ประเมินผลใหม่ จนกว่าจะได้คะแนนผ่านเกณฑ์ เพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ
ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้และพร้อมที่จะเรียนรู้ในเล่มต่อไป
หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน
คาแนะนา
สาหรับ
นักเรียน
หากนักเรียนมีข้อสงสัยในขั้นตอนใด
ของกิจกรรม สามารถสอบถามผ่าน
จากเพจ “BioWow เทคนิคการเรียน
การสอนชีววิทยา By Krupumbio
ได้ตลอดเวลาค่ะ
3.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
ในการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา รหัสวิชา ว 32242 หน่วยการเรียนรู้ :
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน นักเรียนควรปฏิบัติดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน
ขั้นตอน
การใช้
1. ทาแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้เดิม
2. ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้และเนื้อหาให้เข้าใจ
3. ทากิจกรรมในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบถ้วน
4. ทาแบบฝึกกิจกรรมให้ถูกต้อง
5. ทาแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินผลความก้าวหน้าในการเรียนรู้
4.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
มาตรฐานสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่
ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทางานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ในการดารงชีวิต
ของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหา
ความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มี
รูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและ
เครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงสั้นๆเข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และ
สิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
5.
มาตรฐาน
การเรียนรู้
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
1. สืบค้น อภิปรายและอธิบายการสร้างเท้าเทียมของอะมีบา
2. สืบค้นอธิบายและเปรียบเทียบโครงสร้างและการทางานของแฟลเจลลัมกับซิเลีย
3. อธิบายลักษณะการเคลื่อนที่ของแมงกะพรุน หมึก ดาวทะเลไส้เดือนดิน และแมลง
4. เปรียบเทียบลักษณะการเคลื่อนที่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
5. อธิบายการทางานของกล้ามเนื้อแบบสภาวะตรงกันข้าม (antagonism)
6. สารวจตรวจสอบ สืบค้น อภิปรายและอธิบายโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของสัตว์
มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ในน้ากับสัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก
7. สารวจตรวจสอบ สืบค้น อภิปรายและอธิบายโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคน
8.สารวจ ตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายถึงการทางานของข้อต่อแบบต่างๆ
9. สืบค้นข้อมูล สารวจตรวจสอบและอธิบายลักษณะของกล้ามเนื้อประเภทต่างๆ
และกลไกการทางานของกล้ามเนื้อ
หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
6.
ผลการ
เรียนรู้
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
คาชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้มีข้อสอบ 10 ข้อ ใช้เวลา 10 นาที
2. จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด แล้วเขียน  ลงในกระดาษคาตอบ
1. ข้อใดคือกระดูกระยางค์เมื่อแบ่งตามตาแหน่งที่อยู่
1. กระดูกอก
2. กระดูกซี่โครง
3. กระดูกเชิงกราน
4. กระดูกกะโหลกศีรษะ
2. ข้อใดคือลักษณะเซลล์ของกล้ามเนื้อลาย
1. หัวท้ายแหลม
2. ไม่มีแถบลายพาดขวาง
3. ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง
4. แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส
3. กระดูกมี........ชิ้น ประกอบด้วย กระดูกระยางค์.........ชิ้นและส่วนที่เหลือคือ
กระดูกแกนจงเติมให้สมบูรณ์ เรียงตามลาดับ
1. 206ชิ้น และ 80 ชิ้น
2. 206ชิ้น และ 126 ชิ้น
3. 216ชิ้น และ 80 ชิ้น
4. 216ชิ้น และ 136 ชิ้น
4. หมอนรองกระดูกคือข้อใดและทาหน้าที่อย่างไร
1. เอ็นยึดข้อ แผ่นเชื่อมกระดูกสันหลัง
2. เอ็นยึดข้อ รองและเชื่อมกระดูกสันหลัง
3. กระดูกอ่อน แผ่นเชื่อมกระดูกสันหลัง
4. กระดูกอ่อน รองและเชื่อมกระดูกสันหลัง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4
เรื่องการเคลื่อนที่ของคน
แบบทดสอบ
ก่อนเรียน
7.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
5. ข้อต่อชนิดประกบสวมกันทาให้บิด ซ้ายขวา ลงล่าง ขึ้นบนได้ เป็นข้อต่อชนิดใดอยู่บริเวณใด
1. Saddle นิ้วมือ
2. Saddle ต้นคอ
3. Pivot นิ้วมือ
4. Pivot ต้นคอ
6. ข้อต่อระหว่างกระดูกสะบักกับกระดูกต้นแขนต่อกันแบบใด
1. บานพับ
2. ไม่เคลื่อนที่
3. ลูกบอลและเบ้า
4. เลื่อนไปมา(สไลด์)
7. การหดตัวของกล้ามเนื้อลายเกิดจากข้อใด
1. แอกตินเลื่อนตัวเข้าหากัน
2. ไมโอซินเลื่อนตัวเข้าหากัน
3. ไมโอซินเลื่อนตัวเข้าหาแอกทิน
4. แอกทินกับไมโอซินเลื่อตัวเข้าหากัน
8. ข้อใดถูกต้อง
1. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก
เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกล้ามเนื้อ
2. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก
เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก
3. ลิกาเมนต์และเท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูกเหมือนกัน
4. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก
เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก
8.
9.จากแผนภาพแสดงถึงกล้ามเนื้อ 4 มัด ของขาคน
กล้ามเนื้อคู่ใดหดตัวในเวลาเดียวกันเพื่อยกและเหยียดขา
1. A และ B
2. A และ D
3. C และ D
4. C และ B
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
10. กล้ามเนื้อของสัตว์ชั้นสูงและคนอาจจะแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือกล้ามเนื้อลายชนิด
กล้ามเนื้อยึดกระดูก กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งโดยปกติแล้วมีการ ทางานที่
ควบคุมโดยระบบประสาทดังนี้
1. การทางานของกล้ามเนื้อเรียบอยู่ภายใต้อานาจการ ควบคุมของจิตใจ
2. การทางานของกล้ามเนื้อหัวใจ ไม่อยู่ภายใต้การ ควบคุมของอานาจจิตใจ
3. การทางานของกล้ามเนื้อทั้ง 3 ชนิด อยู่ภายใต้การ ควบคุมของอานาจจิตใจ
4. การทางานของกล้ามเนื้อยึดกระดูก ไม่อยู่ภายใต้การ ควบคุมของอานาจจิตใจ
เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง 9.
มาตรฐานสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่
ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทางานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบ
เสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ในการดารงชีวิตของ
ตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ผลการเรียนรู้
1. สืบค้นข้อมูล สารวจตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่ของคน
เรื่องที่ สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ เวลา
(ชั่วโมง)
1.การเคลื่อนที่
ของคน
สิ่งมีชีวิตมีการเคลื่อนที่เพื่อตอบสนอง
ต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน คนใช้การ
เคลื่อนที่ที่อาศัยการทางานของระบบ
โครงกระดูก และระบบกล้ามเนื้อ
กระดูกแต่ละชิ้นเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อ
กล้ามเนื้อแต่ละคู่ที่ยึดติดกับกระดูก
ทางานร่วมกันในสภาวะตรงกันข้าม
(Antagonism)
ด้านความรู้ (K)
1. สืบค้นข้อมูล สารวจ
ตรวจสอบอธิปรายและอธิบาย
ส่วนประกอบหน้าที่ของกระดูก
ของคน เอ็น ชนิดของข้อต่อ
และการทางานของข้อต่อแบบ
ต่างๆ
2. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและ
เปรียบเทียบลักษณะ ตาแหน่ง
และหน้าที่ของกล้ามเนื้อยึด
กระดูก กล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อเรียบ ตลอดจน
การทางานของกล้ามเนื้อ
3
มาตรฐานการเรียนรู้
ตาราง
วิเคราะห์
10.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
เรื่องที่ สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ เวลา
(ชั่วโมง)
ด้านทักษะและกระบวนการ
(P)
1. ออกแบบโมเดล/การ
ทดลอง/การวิเคราะห์ตัวอย่าง
และหลักฐานเพื่อสร้าง
คาอธิบายทางวิทยาศาสตร์
2. อภิปรายวิธีการศึกษา
การเคลื่อนที่ของคนจากวิธีการ
สืบเสาะหาความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ การใช้หลักฐาน
และตีความจากหลักฐาน
3. ด้านคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ (A)
3.1 ความมีวินัย
3.2 ความสนใจใฝ่รู้
11.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
การเคลื่อนที่ของคนชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ที่ 4
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 12.
นักเรียนคิดว่าการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ในแต่ละกิจกรรม ต้องอาศัยระบบใดในร่างกาย
ภาพจาก
http://rectusabdominis.com/2016/11
/human-skeleton-movement.html
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
ภาพว่ายน้าจาก https://www.pinterest.com/yifensky/swim/
ภาพการเต้นบัลเลย์จาก http://www.spotlablog.com/blog/
ภาพยิมนาสติกจาก http://rectusabdominis.com/2016/11/human-skeleton-movement.html
ภาพโยคะจาก https://www.popsugar.com/fitness/How-Strengthen-Abs-Headstand-30493505
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
3
1 2
4 ....................................................................................
....................................................................................
....................................................................................
....................................................................................
....................................................................................
....................................................................................
....................................................................................
ระบบโครงกระดูกประกอบด้วย
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 13.
การเคลื่อนของคน
จากภาพ
https://ptcg1999.wordpress.com/unit-
two-unit-two-human-movement-
assessmentmovement-analysis/
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
การเคลื่อนไหวของคน
การเคลื่อนไหวเป็นคุณลักษณะหนึ่งของ
สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอากัปกิริยาต่างๆ เช่น
การกิน การนอน การวิ่ง ล้วนแล้วเป็นการ
เคลื่อนไหว ที่เกิดจากระบบโครงกระดูกและ
ระบบกล้ามเนื้อทั้งสิ้น ในเรื่องนี้เราจะมาดูในเรื่อง
ของโครงกระดูกของคน ข้อต่อและกล้ามเนื้อที่ใช้
ในการเคลื่อนที่ของมนุษย์
การเคลื่อนไหวของคน
การเคลื่อนไหวของคนอาศัยโครงสร้างสาคัญ ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ และเอ็น ซึ่งทา
หน้าที่ประสานก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายได้
ระบบโครงกระดูก
ระบบกระดูกของมนุษย์ทาหน้าที่พยุงและป้องกันอวัยวะภายในของร่างกายตลอดจน
เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อประกอบด้วยโครงกระดูกมากกว่า 200 ชิ้น
ในทารกแรกเกิดจะมีกระดูกอ่อน 350 ชิ้น ซึ่งมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 150 ชิ้น กระดูกของทารก
เหล่านี้ ไม่ได้หายไปไหน แต่กระดูกจะเชื่อมกันสมบูรณ์เมื่ออายุประมาณ 20-25 ปี ทาให้กระดูก
เหลืออยู่ทั้ง หมด 206 ชิ้น เป็นกระดูกที่แข็งและอยู่อย่างถาวร กระดูกแข็งทั้งหมด 206 ชิ้นใน
ร่างกายแบ่งเป็น
1. กระดูกแกนกลาง (axial skeleton) มีทั้งหมด 80 ชิ้น ประกอบด้วย
กระดูกในร่างกายมนุษย์
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 14.
1) กระดูกกะโหลกศีรษะ (skull) มี 29 ชิ้น
เป็นกระดูกกะโหลกศีรษะ และกระดูกย่อย
หลายชิ้นเชื่อมต่อกัน นอกจากนี้ยังรวมกระดูก
ที่ใบหน้า และกระดูกขากรรไกร ภายใน
กะโหลกศีรษะมีลักษณะคล้ายถุงบรรจุเนื้อ
สมองเอาไว้ กะโหลกศีรษะทาหน้าที่ห่อหุ้ม
และป้องกันมันสมองที่อยู่ภายใน
2) กระดูกสันหลัง (vertebra) มี 26 ชิ้น เป็น
ส่วนหนึ่งของกระดูกแกนที่ช่วยค้าจุนและ
รองรับน้าหนักของร่างกาย กระดูกสันหลังเป็น
แนวกระดูกที่ทอดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย
ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็ก ๆ เป็นข้อ ๆ
ติดกัน กระดูกแต่ละข้อเชื่อมต่อกันด้วย
กล้ามเนื้อและเอ็น ระหว่างกระดูกสันหลังแต่
ละข้อจะมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกกันว่า
หมอนรองกระดูก (intervertebral disc)
ทาหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ
เพื่อป้องกันการเสียดสี ถ้ากระดูกอ่อนนี้เสื่อม
เราจะไม่สามารถบิดหรือเอี้ยว
ภาพกระดูกแกน ปรับปรุงจาก
http://www.teachpe.com/anatomy/skele
ton_axial.php
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
ภาพกระดูกซี่โครงกับกระดูกหน้าอกจาก
http://diseasespictures.com/sternum-pain/
3) กระดูกซี่โครง (rib) มีทั้งหมด 12 คู่
แต่ละคู่จะต่อกับด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วน
ทรวงอก และด้านหน้าโค้งมาต่อเชื่อมกับกระดูก
หน้าอกยกเว้นคู่ที่ 11 และ 12 จะมีขนาดสั้น ไม่
เชื่อมต่อกับกระดูกหน้าอกระหว่างกระดูกซี่โครง
จะมีกล้ามเนื้อ 2 ชุดทางานหดและคลายตัว
สลับกันแบบแอนทา-โกนนิซึม ได้แก่ กล้ามเนื้อ
ยึดซี่โครงแถบนอกและกล้ามเนื้อยึดซี่โครงแถบใน
ซึ่งการทางานของซี่โครงทั้ง 2 ชุดนี้จะทาให้ซี่โครง
เคลื่อนขึ้นและลงในขณะหายใจ
4) กระดูกหน้าอก (sternum) อยู่
ทางด้านหน้าของช่วงอกเป็นที่ยึดของกระดูก
ซี่โครงตั้งแต่คู่ที่ 1 ถึงคู่ที่10
กระดูกในร่างกายมนุษย์ (ต่อ)
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 15.
2. กระดูกรยางค์ (appendicular skeleton)
ประกอบด้วยกระดูกทั้งหมด 126 ชิ้น ได้แก่กระดูกมือ
แขนขา กระดูกเชิงกราน (pelvic girdle) กระดูกสะบัก
(scapula) กระดูกไหปลาร้า (clavicle) ตลอดจนกระดูก
ภาพกระดูกระยางค์จาก
https://www.boundless.com/biology/textbooks/bound
less-biology-textbook/the-musculoskeletal-system-
38/types-of-skeletal-systems-215/human-appendicular-
skeleton-814-12055/
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 16.
ข้อต่อ (joint)
ข้อต่อเป็นบริเวณที่กระดูก 2 ท่อนมาเชื่อมต่อกัน
และเชื่อมโยงให้อวัยวะเคลื่อนไหวได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้
ตามลักษณะการเคลื่อนไหวได้ดังนี้
2.1 ข้อต่อชนิดที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (synarthrosis)
เป็นข้อต่อที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เป็น
เส้นใย มีความแข็งแรงและต่อกันสนิท ได้แก่ ข้อต่อ
ระหว่างกะโหลกศีรษะ เป็นแนวกระดูกประสาน
ภาพข้อต่อชนิดไม่เคลื่อนไหว
https://newsciencebiology.blogspot.com
/2012/10/2012-structure-of-joint-and-
various.html
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
2.2 ข้อต่อชนิดที่เคลื่อนไหวได้บ้าง (amphiarthrosis)
เป็นข้อต่อที่ประกอบด้วยกระดูกอ่อน
(fibrocartilage) อยู่ระหว่างปลายกระดูกทั้ง 2 ที่มา
ต่อกันข้อต่อแบบนี้สามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง เรียกว่า
ข้อต่อกระดูกอ่อน (cartilage joint) กระดูกอ่อน
จัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษที่มีเมทริกซ์แข็งกว่า
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดอื่นๆได้แก่ ข้อต่อที่อยู่ระหว่าง
กระดูกเชิงกรานตรงบริเวณหัวเหน่าเรียกว่า ข้อต่อ
กระดูกเชิงกราน และข้อต่อระหว่างข้อต่อกระดูก
สันหลังเรียกว่า ข้อต่อกระดูกสันหลัง
ภาพข้อต่อชนิดเคลื่อนไหวได้บ้าง
http://www.proprofs.com/flashcards/sto
ry.php?title=anatomy-and-physiology-
lab-2
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 17.
ข้อต่อกระดูกสันหลังจะมี หมอนรองกระดูก เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเหนียวเป็นเหมือน
หมอนที่มีส่วนของปลอกหมอนและไส้ของหมอนอยู่ภายใน อยู่ระหว่างกระดูกแข็งแต่
ละข้อ ดังนั้นจึงทาหน้าที่เชื่อมต่อกระดูกสันหลังส่วนแข็งแต่ละข้อระหว่างระดับคอ
จนถึงระดับเอว การที่หมอนรองกระดูกเชื่อมต่อแทรกอยู่ระหว่างกระดูกแข็งแต่ละข้อ
นั้น ทาให้การเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังทั้งหมดจึงมีลักษณะที่สมดุลและต่อเนื่อง
คล้ายกระดูกงู มีลักษณะการเคลื่อนที่ที่มีการเคลื่อนไหวกันอย่างสมดุล หรือเรียกว่า
Synchronization ธรรมชาติได้สร้างหมอนรองกระดูกให้มีความยืดหยุ่นและมีความ
เหนียวคงทนเป็นอย่างดียิ่ง
เอ็นเชื่อมกระดูก
เป็นวิวัฒนาการที่เกิดมาควบคู่กันของกล้ามเนื้อและกระดูก คือ การเกิดเอ็น
ต่างๆ เพื่อยึดกระดูกและกล้ามเนื้อทาให้การยึดเกาะเหนียวแน่น แข็งแรง สามารถ
เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วมีประสิทธิภาพและช่วยป้องกันการสะเทือนได้ดี คือ
1. เอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก เรียกว่า เอ็นยึดกระดูก หรือ เทนดอน
(tendon)
2. เอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก เรียกว่า เอ็นยึดข้อ หรือ ลิกกาเมนท์
(ligament)
3. เอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อน่องกับกระดูกส้นเท้า เรียกว่า เอ็นร้อยหวาย
ภาพจาก
http://www.vcha
rkarn.com/lesson
/1268
สืบค้นเมื่อวันที่ 1
กันยายน 2559
ภาพข้อต่อชนิดที่เคลื่อนไหวได้มากแบบต่างๆ ปรับปรุงจาก
https://sites.google.com/site/30882kkz/home/1-1
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
2.3 ข้อต่อชนิดที่เคลื่อนไหวได้มาก (diathrosis)
เป็นข้อต่อที่มีช่องว่างอยู่ภายใน (synovial joint) และภายในมีแผ่นเยื่อที่ทาหน้าที่
สร้างของเหลวที่เรียกว่า น้าไขข้อ (synovial fluid) ข้อต่อชนิดที่มีการเคลื่อนไหวได้มาก
ได้แก่ ข้อต่อบริเวณหัวเข่า ข้อต่อของนิ้วมือ เป็นต้น ซึ่งข้อต่อชนิดนี้สามารถแยกออกเป็นแบบ
ต่าง ๆ ดังนี้
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 18.
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 19.
ได้แก่ ข้อต่อที่เข่า ข้อต่อที่ข้อศอกระหว่างปลาย
กระดูกต้นแขนกับโคนกระดูก ulna ซึ่งเป็นข้อ
ต่อที่เคลื่อนไหวได้มากกว่าชนิดแรกและ
เคลื่อนไหวได้ในแนวเดียวคล้ายบานพับ
1. ข้อต่อแบบบานพับ (hinge joint)
ภาพข้อต่อแบบบานพับ ปรับปรุงจาก
https://www.exploringnature.org/db/view/1
565 และ http://cephalicvein.com/
2016/07/hinge-joint/
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
2. ข้อต่อแบบสไลด์ (gliding joint)
ข้อต่อแบบสไลด์ (gliding joint) ได้แก่ ข้อต่อ
ของกระดูกข้อมือ ข้อเท้าและกระดูกสันหลัง
เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้บ้างแต่ไม่มากนัก
คล้ายกับงูเลื้อย
ภาพข้อต่อแบบสไลด์ ปรับปรุงจาก
http://www.teachpe.com/anatomy/joints.php และ
https://www.studydroid.com/printerFriendlyViewP
ack.php?packId=367022
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 20.
3. ข้อต่อแบบอานม้า saddle joint
ข้อต่อแบบอานม้า ปลายกระดูกที่มาประกอบ
เป็นข้อต่อแบบอานม้า จะเคลื่อนไปมาคล้าย ๆ
กับการเคลื่อนไหวบนอานม้า พบได้ที่บริเวณฐาน
นิ้วหัวแม่มือ ภาพข้อต่อแบบอานม้า จาก
http://www.meritnation.com/ask-
answer/question/is-ther-any-module-of-how-
to-draw-a-saddle-joint-asked-to-me/body-
movements/3326179
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 25594. ข้อต่อแบบเดือย pivot joint
ข้อต่อแบบเดือย (pivot joint) ได้แก่ ข้อต่อของ
axis และ atlas เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวทา
ให้ศีรษะหมุนจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้
(หันซ้ายไปขวา หันขวาไปซ้ายได้) และข้อต่อ
ระหว่างหัวของกระดูก radius กับปลายกระดูก
ต้นแขน
ภาพข้อต่อแบบเดือย จาก
http://cephalicvein.com/2016/06/pivot-joint/
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
5. ข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้ากระดูก ball and socket joint
ข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้า (ball and socket joint) ได้แก่ ข้อ
ต่อระหว่างหัวของกระดูกต้นแขนกับกระดูกสะบัก และระหว่าง
หัวของกระดูกต้นขากับกระดูกเชิงกราน ซึ่งเป็นข้อต่อที่มีการ
เคลื่อนไหวได้หลายทิศทางและเคลื่อนที่ได้คล่องมาก เพราะ
หัวของกระดูกต้นแขน ต้นขามีลักษณะกลมอยู่ภายในแอ่ง จึง
หมุนได้สะดวก
ภาพข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้ากระดูก
จาก http://www.chw.org/
medical-care/rheumatology/
conditions/anatomy-of-a-joint/
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 21.
กล้ามเนื้อยึดกระดูก
ลักษณะรูปร่าง ทรงกระบอกยาว แถบลาย
(striation) สีอ่อนสลับสีเข้ม
นิวเคลียส แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส
ระบบการทางาน อยู่ในอานาจจิตใจ
(somatic system )
ตัวอย่าง เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา
กล้ามเนื้อหัวใจ
ลักษณะรูปร่าง ทรงกระบอกยาว มีปลาย
แตกแขนง แถบลายสีอ่อน
นิวเคลียส แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส
ระบบการทางาน นอกเหนืออานาจจิตใจ
(automatic system)
ตัวอย่าง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อเรียบ
ลักษณะรูปร่าง
ลักษณะรูปร่าง ยาวหัวท้ายแหลม ไม่มีลาย
พาดขวาง
นิวเคลียส แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส
ระบบการทางาน นอกเหนืออานาจจิตใจ
(automatic system)
ตัวอย่าง เช่น ผนังกระเพาะอาหาร ผนังลาไส้
ผนังหลอดเลือด และม่านตา
กล้ามเนื้อของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่ง
ออกเป็น 3 ชนิดคือ กล้ามเนื้อยึด
กระดูก กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อ
เรียบ
ภาพชนิดของกล้ามเนื้อปรับปรุงจาก
http://musclemwit2241.blogspot.com/20
12/06/blog-post.html
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 22.
การทางานของระบบกล้ามเนื้อยึดกระดูก
(กระดูกลาย)
การทางานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกเพื่อให้เกิด
การเคลื่อนไหวนั้น กล้ามเนื้อยึดกระดูกจะ
ทางานเป็นคู่แบบสภาวะตรงกันข้าม เรียกว่า
แอนตาโกนิซึม (antagonism) ดังนั้นเมื่อ
กล้ามเนื้อด้านหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกด้านหนึ่ง
จะคลายตัว การหดตัวของกล้ามเนื้อทาให้เกิด
แรงดึงให้กระดูกทั้งท่อนเคลื่อนไหวได้ด้วย
เนื่องจากระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูกมีเอ็นยึด
กระดูก (tendon) ยึดอยู่เอ็นยึดกระดูกเป็น
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีความเหนียวแข็งแรงและ
ทนทานต่อแรงดึงหรือการรองรับน้าหนัก
กล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทาให้อวัยวะงอเข้า
เรียกว่า กล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) ส่วน
กล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทาให้อวัยวะเหยียด
ออก เรียกว่า กล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์
(extensor) เช่น การเคลื่อนไหวของแขนคน
โครงสร้างของแขนคนประกอบด้วย
กล้ามเนื้อไบเซพ (bicep) และกล้ามเนื้อ
ไตรเซพ (tricep) เมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหดตัว
กล้ามเนื้อไตรเซพคลายตัวทาให้แขนงอเข้า
แต่ถ้ากล้ามเนื้อไตรเซพหดตัว กล้ามเนื้อ
ไบเซพคลายตัวแขนจะเหยียดออก ดังนั้น
กล้ามเนื้อไบเซพจึงป็นกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์
กล้ามเนื้อไตรเซพจัดเป็นกล้ามเนื้อ
เอ็กเทนเซอร์
ปรับปรุงภาพจาก
http://www.wangchan.ac.th/
teacher_issue/t712/unit43.html
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
ภาพจาก
http://www.pixell.club/bicep-and-tricep-
muscles/
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
กล้ามเนื้อนับได้ว่าเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดและมีอยู่ถึงร้อยละ 40 ของน้าหนักตัว กล้ามเนื้อ
ทั้งมัดประกอบด้วยหลายมัดเส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fascicle หรือ muscle fiber) และแต่ละ
มัดย่อยประกอบด้วยเส้นใยเล็ก (fiber) ใยกล้ามเนื้อมีขนาดประมาณ 60 ไมครอน และมีความยาว
ตั้งแต่ 2-10 เซนติเมตร แต่ละใยประกอบด้วยใยฝอย (fibrill) ซึ่งมีขนาดประมาณ 1 ไมครอน
แต่ละใยฝอยประกอบด้วยไมโอฟิลาเมนท์ (myofilament) อันเป็นหน่วยเล็กที่สุดของกล้ามเนื้อที่
ทางาน ซึ่งประกอบด้วย แอ็คติน (actin) และไมโอซิน (myosin) แอ็คตินเป็นเส้นบาง ยาว 1
ไมครอน และหนา 50 อังสตรอม ส่วนไมโอซินยาว 1.5 ไมครอนและหนา 100 อังสตรอม
ภาพและข้อมูล ปรับปรุงจาก http://www.mhhe.com/
biosci/genbio/raven6b/graphics/raven06b/other/raven06_50.pdf
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
ยูทูปเรื่องกล้ามเนื้อ
www.youtube.com/watch?v=
BNe2rHuVLE8
ไปเรียนรู้เรื่องกล้ามเนื้อกัน
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 23.
แต่ละไมโอไฟบริลประกอบด้วยฟิลาเมนท์ (filament) ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ชนิดหนา (thick filament)
และชนิดบาง (thin filament) Z line คือ ขอบโปรตีนบาง Actin บริเวณ I band คือ กึ่งกลางโปรตีน
บาง Actin บริเวณ H line คือ กึ่งกลางโปรตีนหนา Myosin ใยกล้ามเนื้อหลายใยรวมกันเป็นมัด
กล้ามเนื้อ การทางานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่ในอานาจจิตใจ บางครั้งจึงเรียกว่ากล้ามเนื้อในอานาจ
จิตใจ (voluntary muscle) บางครั้งจึงใช้คุณสมบัติ ของกล้ามเนื้อลายทั้งหมดเรียกชื่อว่า กล้ามเนื้อ
ลายในอานาจจิตใจ (voluntary striated skeletal muscle)
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 24.
หน่วยปฏิบัติการเพื่อการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ
ภาพและข้อมูลปรับปรุงจาก
http://www.mhhe.com/biosci/genbio/raven6b/graphics/raven06b
/other/raven06_50.pdf
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
ภาพและข้อมูลปรับปรุงจาก
http://www.mhhe.com/biosci/genbio/raven6b/graphics/raven06b
/other/raven06_50.pdf
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
การเคลื่อนที่
ของกล้ามเนื้อ
เกิดขึ้นเมื่อ
Actin เคลื่อน
เข้าหา I band
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 25.
กลไกการเคลื่อนตัวของกล้ามเนื้อ
Myosin จะมีหัว Actin จะเป็นก้อนโปรตีน
หัวของ Myosin จึงเกี่ยวให้ Actin เคลื่อนเข้ามาหา I band เรียกว่า Cross-bridge
I band
ที่หัวของ Myosin มี พลังงาน ADP + Pi
อยู่นั่นเอง
ภาพและข้อมูลปรับปรุงจาก
http://www.mhhe.com/biosci/genbio/raven6
b/graphics/raven06b
/other/raven06_50.pdf
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนตัวของกล้ามเนื้อ
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 26.
ในสภาวะที่ Ca+
ต่า Cross-bridge
จะไม่สามารถจับกับ Actin ได้
เพราะมี tropomyosin ขวางกันอยู่ (ภาพ a)
เมื่อ Ca+
เพิ่มขึ้น จะไปจับโปรตีน
tropomyosin ทาให้ Cross-bridge จับกับ
Actin ได้ (ภาพ b) โดยที่ Ca+
หลั่งมาจาก
sarcoplasmic reticulum, หรือ SR หลั่งโดย
ผ่านการกระตุ้นของระบบประสาท
ภาพและข้อมูลปรับปรุงจาก
http://www.mhhe.com/biosci/genbio/raven6
b/graphics/raven06b
/other/raven06_50.pdf
สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
YouTube ระบบโครงกระดูกและข้อต่อ
https://www.youtube.com/watch?v
=JsdtukhzMbE&index=2&list=PLTE
mdJNFmjRz_T5O-
mGOzDfpzKzAgeA7I
YouTube การหดคลายกล้ามเนื้อ
https://www.youtube.com/watch?v=ZgpGzNAKK
xI&list=PLTEmdJNFmjRz_T5O-
mGOzDfpzKzAgeA7I&index=6
ครูจัดทา YouTube เทคนิคการทาความเข้าใจระบบ
โครงกระดูกและการหดคลายของกล้ามเนื้อ
นักเรียนสามารถทบทวนเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
คาชี้แจง : ให้นักเรียนใส่ชื่อของกระดูกและระบุด้วยว่าเป็นกระดูกชนิดใด (กระดูกแกนหรือกระดูกรยางค์)
จงอธิบายความหมายของคาต่อไปนี้
1. กระดูกอ่อน(cartilage)................................................................................................................
2. หมอนรองกระดูก..........................................................................................................................
3. ข้อต่อ............................................................................................................................................
4. เอ็นยึดข้อ.....................................................................................................................................
5. น้าไขข้อ .......................................................................................................................................
เสริมความรู้เรื่องการเคลื่อนที่ของคนแบบฝึกหัด
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 27.
คาชี้แจง : ให้นักเรียนพิจารณาและตอบคาถามจากภาพที่กาหนดให้
1. จงอธิบายชนิดของกล้ามเนื้อ
3.
2.
1
หมายเลข 1. คือกล้ามเนื้อชนิดใด
...........................................................................................
ลักษณะรูปร่าง....................................................................
...........................................................................................
หมายเลข 2. คือกล้ามเนื้อชนิดใด
...........................................................................................
ลักษณะรูปร่าง....................................................................
...........................................................................................
หมายเลข 3. คือกล้ามเนื้อชนิดใด
...........................................................................................
ลักษณะรูปร่าง....................................................................
...........................................................................................
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 28.
2. จงอธิบายกลไกการทางานของกล้ามเนื้อเมื่อ
งอแขนหิ้วกระเป๋า
เสริมความรู้เรื่องการเคลื่อนที่ของคน
จงอธิบายความหมายของคาต่อไปนี้
1. กระดูกอ่อน (cartilage) กระดูกอ่อนจัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษที่มีเมทริกซ์แข็งกว่า
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดอื่นๆ
2. หมอนรองกระดูก เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเหนียวเป็นเหมือนหมอนที่มีส่วนของปลอกหมอนและ
ไส้ของหมอนอยู่ภายใน อยู่ระหว่างกระดูกแข็งแต่ละข้อ ดังนั้นจึงทาหน้าที่เชื่อมต่อกระดูกสันหลัง
ส่วนแข็งแต่ละข้อระหว่างระดับคอจนถึงระดับเอว
3. ข้อต่อ จุดหรือบริเวณที่กระดูกตั้งแต่ 2 หรือมากกว่า 2 ชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน ซึ่งมีทั้งข้อต่อชนิดที่
เคลื่อนไหวไม่ได้ (immovable joint) และข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ (movable joint)
4. เอ็นยึดข้อ เอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก
5. น้าไขข้อ เป็นของเหลวที่เรียกว่าน้าไขข้อ (synovial fluid) อยู่ระหว่างกระดูกอ่อนกระดูกอ่อน
มีลักษณะเหนียวสั้นและยืดหยุ่นได้ กระดูกอ่อนได้อาหารจากน้าไขข้อ ทั้งกระดูกอ่อนและน้าไขข้อ
จะช่วยลดการเสียดสีของ
กะโหลกศีรษะ กระดูกแกน
กระดูกอก กระดูกแกน
กระดูกซีโครง กระดูกแกน
กระดูกเชิงกราน
กระดูกรยางค์ กระดูกแขน
กระดูกรยางค์
กระดูกสันหลัง กระดูกแกน
กระดูกขา
กระดูกรยางค์
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 29.
เฉลย
แบบฝึกหัด
หมายเลข 1. คือกล้ามเนื้อชนิดใด....กล้ามเนื้อยึดกระดู
ลักษณะรูปร่าง..ทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์
มีหลายนิวเคลียส.แถบลายสีอ่อนสลับสีเข้ม
หมายเลข 2. คือกล้ามเนื้อชนิดใด........
กล้ามเนื้อหัวใจ.................ลักษณะรูปร่าง..
ทรงกระบอกยาว มีปลายแตกแขนง แต่ละเซลล์มี
หลายนิวเคลียส.แถบลายสีอ่อนสลับสีเข้ม
หมายเลข 3
คือกล้ามเนื้อชนิดใด............กล้ามเนื้อเรียบ..........
ลักษณะรูปร่าง ยาวหัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1
นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 30.
2. จงอธิบายกลไกการทางานของกล้ามเนื้อเมื่อ
งอแขนหิ้วกระเป๋า
เมื่องอแขน เกิดจากกล้ามเนื้อไบเซพหดตัว
กล้ามเนื้อไตรเซพคลายตัวกล้ามเนื้อที่หดตัว
แล้วทาให้อวัยวะงอเข้าเรียกว่า กล้ามเนื้อ
เฟล็กเซอร์ (flexor) (ส่วนกล้ามเนื้อที่หดตัว
แล้วทาให้อวัยวะเหยียดออก เรียกว่า
กล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ (extensor))
คาชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้มีข้อสอบ 10 ข้อ ใช้เวลา 10 นาที
2. จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด แล้วเขียน  ลงในกระดาษคาตอบ
1. ข้อใดคือกระดูกระยางค์เมื่อแบ่งตามตาแหน่งที่อยู่
1. กระดูกอก
2. กระดูกซี่โครง
3. กระดูกเชิงกราน
4. กระดูกกะโหลกศีรษะ
2. ข้อใดคือลักษณะเซลล์ของกล้ามเนื้อลาย
1. หัวท้ายแหลม
2. ไม่มีแถบลายพาดขวาง
3. แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส
4. ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง
3. กระดูกมี........ชิ้น ประกอบด้วย กระดูกระยางค์.........ชิ้นและส่วนที่เหลือคือ
กระดูกแกนจงเติมให้สมบูรณ์ เรียงตามลาดับ
1. 206ชิ้น และ 80 ชิ้น
2. 206ชิ้น และ 126 ชิ้น
3. 216ชิ้น และ 80 ชิ้น
4. 216ชิ้น และ 136 ชิ้น
4. หมอนรองกระดูกคือข้อใดและทาหน้าที่อย่างไร
1. เอ็นยึดข้อ แผ่นเชื่อมกระดูกสันหลัง
2. เอ็นยึดข้อ รองและเชื่อมกระดูกสันหลัง
3. กระดูกอ่อน แผ่นเชื่อมกระดูกสันหลัง
4. กระดูกอ่อน รองและเชื่อมกระดูกสันหลัง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4
เรื่องการเคลื่อนที่ของคน
แบบทดสอบ
หลังเรียน
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 31.
5. ข้อต่อชนิดประกบสวมกันทาให้บิด ซ้ายขวา ลงล่าง ขึ้นบนได้ เป็นข้อต่อชนิดใดอยู่บริเวณใด
1. Saddle นิ้วมือ
2. Saddle ต้นคอ
3. Pivot นิ้วมือ
4. Pivot ต้นคอ
6. ข้อต่อระหว่างกระดูกสะบักกับกระดูกต้นแขนต่อกันแบบใด
1. สไลด์
2. บานพับ
3. ไม่เคลื่อนที่
4. ลูกบอลและเบ้า
7. การหดตัวของกล้ามเนื้อลายเกิดจากข้อใด
1. แอกตินเลื่อนตัวเข้าหากัน
2. ไมโอซินเลื่อนตัวเข้าหากัน
3. ไมโอซินเลื่อนตัวเข้าหาแอกทิน
4. แอกทินกับไมโอซินเลื่อตัวเข้าหากัน
8. ข้อใดถูกต้อง
1. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก
เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกล้ามเนื้อ
2. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก
เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก
3. ลิกาเมนต์และเท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูกเหมือนกัน
4. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก
เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก
32.
9.จากแผนภาพแสดงถึงกล้ามเนื้อ 4 มัด ของขาคน
กล้ามเนื้อคู่ใดหดตัวในเวลาเดียวกันเพื่อยกและเหยียดขา
1. A และ B
2. A และ D
3. C และ D
4. C และ B
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
10. กล้ามเนื้อของสัตว์ชั้นสูงและคนอาจจะแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือกล้ามเนื้อลายชนิด
กล้ามเนื้อยึดกระดูก กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งโดยปกติแล้วมีการ ทางานที่
ควบคุมโดยระบบประสาทดังนี้
1. การทางานของกล้ามเนื้อเรียบอยู่ภายใต้อานาจการควบคุมของจิตใจ
2. การทางานของกล้ามเนื้อหัวใจไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของอานาจจิตใจ
3. การทางานของกล้ามเนื้อทั้ง 3 ชนิดอยู่ภายใต้การควบคุมของอานาจจิตใจ
4. การทางานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของอานาจจิตใจ
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 33.
ก่อนเรียน หลังเรียน
1. 3 1. 3
2. 3 2. 3
3. 2 3. 2
4. 4 4. 4
5. 4 5. 4
6. 4 6. 4
7. 1 7. 1
8. 2 8. 2
9. 1 9. 1
10.1 10.1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4
เรื่องการเคลื่อนที่ของคน
เฉลย
แบบทดสอบ
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 34.
กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์,
2545.
กระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2551.
กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2551.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์และคณะ. ชุดกิจกรรมพัฒนาความคิดเสริมสร้างสมรรถนะสาคัญและ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน วิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 2. กรุงเทพฯ :
สานักพิมพ์บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จากัด, 2558.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา
เล่ม 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
สกสค, 2554.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา
เล่ม 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
สกสค, 2554.
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. ใบงานที่ 1
เรื่อง การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตชั้นต่า. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2559.
http://km.nmrtup.ac.th/files/12051811112536455_12072220203827.pdf
Reece, J. B., & Campbell, N. A. Campbell biology. (11th ed.). Boston:
Benjamin Cummings Pearson, 2011.
บรรณานุกรม
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 35.

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1Sumarin Sanguanwong
 
เงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวเงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวPacharee Nammon
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)สำเร็จ นางสีคุณ
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรองชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรองชลธิกาญจน์ จินาจันทร์
 
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชการลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชThanyamon Chat.
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4Thanawut Rattanadon
 
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตเซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตPopeye Kotchakorn
 
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่Wijitta DevilTeacher
 
ข้อสอบPisaวิทย์
ข้อสอบPisaวิทย์ข้อสอบPisaวิทย์
ข้อสอบPisaวิทย์Dnavaroj Dnaka
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อนเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อนKobwit Piriyawat
 
ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2Sukanya Nak-on
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์Aomiko Wipaporn
 
ตำแหน่งระยะทางและการกระจัด Pdf
ตำแหน่งระยะทางและการกระจัด Pdfตำแหน่งระยะทางและการกระจัด Pdf
ตำแหน่งระยะทางและการกระจัด Pdfbansarot
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2dnavaroj
 
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคนกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)สำเร็จ นางสีคุณ
 

Was ist angesagt? (20)

ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
 
เงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวเงามืด เงามัว
เงามืด เงามัว
 
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรองชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
 
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืชการลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
 
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตเซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
 
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
แผนบูรณาการสะเต็ม ร่มพยุงไข่
 
ข้อสอบPisaวิทย์
ข้อสอบPisaวิทย์ข้อสอบPisaวิทย์
ข้อสอบPisaวิทย์
 
ม.6 นิเวศ
ม.6 นิเวศม.6 นิเวศ
ม.6 นิเวศ
 
6.ชุด 3 การแพร่
6.ชุด 3 การแพร่6.ชุด 3 การแพร่
6.ชุด 3 การแพร่
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อนเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องพลังงานความร้อน
 
ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2ระบบขับถ่าย ม.2
ระบบขับถ่าย ม.2
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
 
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
5.ชุดที่ 2 โครงสร้างของเซลล์
 
ตำแหน่งระยะทางและการกระจัด Pdf
ตำแหน่งระยะทางและการกระจัด Pdfตำแหน่งระยะทางและการกระจัด Pdf
ตำแหน่งระยะทางและการกระจัด Pdf
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
 
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
 
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
 

Andere mochten auch

อบรมครูแกนนำ จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ Up
อบรมครูแกนนำ จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ Upอบรมครูแกนนำ จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ Up
อบรมครูแกนนำ จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ Upกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลีรายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลีกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลี
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลีแบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลี
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลีกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
สรุประบบการย่อยอาหารและการหายใจระดับเซลล์
สรุประบบการย่อยอาหารและการหายใจระดับเซลล์สรุประบบการย่อยอาหารและการหายใจระดับเซลล์
สรุประบบการย่อยอาหารและการหายใจระดับเซลล์กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 

Andere mochten auch (14)

Workshop : Teaching Mathematics in English by Professor Dr.Kathryn Chaval (Th...
Workshop : Teaching Mathematics in English by Professor Dr.Kathryn Chaval (Th...Workshop : Teaching Mathematics in English by Professor Dr.Kathryn Chaval (Th...
Workshop : Teaching Mathematics in English by Professor Dr.Kathryn Chaval (Th...
 
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3
 
อบรมครูแกนนำ จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ Up
อบรมครูแกนนำ จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ Upอบรมครูแกนนำ จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ Up
อบรมครูแกนนำ จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ Up
 
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลีรายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
รายงานการนำเสนอผลงานทางวิชาการลอนดอน โดยนางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลี
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลีแบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลี
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองของกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
 
เล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกล
เล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกลเล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกล
เล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกล
 
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.2
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.2แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.2
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.2
 
Evolution Plan : การคัดเลือกตามธรรมชาติ
Evolution Plan : การคัดเลือกตามธรรมชาติEvolution Plan : การคัดเลือกตามธรรมชาติ
Evolution Plan : การคัดเลือกตามธรรมชาติ
 
Training for trainer "Teaching Science in English language"
Training for trainer "Teaching Science in English language"Training for trainer "Teaching Science in English language"
Training for trainer "Teaching Science in English language"
 
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
 
สรุประบบการย่อยอาหารและการหายใจระดับเซลล์
สรุประบบการย่อยอาหารและการหายใจระดับเซลล์สรุประบบการย่อยอาหารและการหายใจระดับเซลล์
สรุประบบการย่อยอาหารและการหายใจระดับเซลล์
 
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครูใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
 
Curriculum vitae kamonrat edit
Curriculum vitae kamonrat editCurriculum vitae kamonrat edit
Curriculum vitae kamonrat edit
 

Ähnlich wie เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน

079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์Kaofang Chairat
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกล
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกลชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกล
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกลโรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม
 
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูป
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูปวิจัยแบบเรียนสำเร็จรูป
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูปWichai Likitponrak
 
รายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้ารายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้าtanakit pintong
 
การสื่อสารไทยก้าวไกลด้วยดาวเทียมไทยคม
การสื่อสารไทยก้าวไกลด้วยดาวเทียมไทยคมการสื่อสารไทยก้าวไกลด้วยดาวเทียมไทยคม
การสื่อสารไทยก้าวไกลด้วยดาวเทียมไทยคมtanakit pintong
 
4 MAT Leaning System DOC
4 MAT Leaning System DOC4 MAT Leaning System DOC
4 MAT Leaning System DOCPete Pitch
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้pornpimonnuy
 
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติวิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติWichai Likitponrak
 
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...dnavaroj
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้Wichai Likitponrak
 
งานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิตงานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิตkrunum11
 
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอทีสมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอทีPakornkrits
 
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์JeeraJaree Srithai
 

Ähnlich wie เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน (20)

079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกล
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกลชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกล
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คลื่นกล
 
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูป
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูปวิจัยแบบเรียนสำเร็จรูป
วิจัยแบบเรียนสำเร็จรูป
 
รายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้ารายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้า
 
การสื่อสารไทยก้าวไกลด้วยดาวเทียมไทยคม
การสื่อสารไทยก้าวไกลด้วยดาวเทียมไทยคมการสื่อสารไทยก้าวไกลด้วยดาวเทียมไทยคม
การสื่อสารไทยก้าวไกลด้วยดาวเทียมไทยคม
 
1
11
1
 
4 MAT Leaning System DOC
4 MAT Leaning System DOC4 MAT Leaning System DOC
4 MAT Leaning System DOC
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
 
Best practice
Best practiceBest practice
Best practice
 
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติวิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
วิจัยในชั้นเรียนตรีโกณมิติ
 
4mat
4mat4mat
4mat
 
Plan 4
Plan 4Plan 4
Plan 4
 
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
 
Koy
KoyKoy
Koy
 
งานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิตงานเดี่ยวโครงร่างคณิต
งานเดี่ยวโครงร่างคณิต
 
5บทที่1
5บทที่1 5บทที่1
5บทที่1
 
R61(1)
R61(1)R61(1)
R61(1)
 
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอทีสมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
 
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
 

Mehr von กมลรัตน์ ฉิมพาลี

Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ
Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ
Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบ
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบเอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบ
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษากมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือด
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือดโครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือด
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือดกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคมหลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคมกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศ
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศการออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศ
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆPoster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trash
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trashนำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trash
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trashกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 

Mehr von กมลรัตน์ ฉิมพาลี (20)

Classroom observation day1
Classroom observation day1Classroom observation day1
Classroom observation day1
 
Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ
Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ
Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ
 
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6
 
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบ
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบเอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบ
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบ
 
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์
 
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
 
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือด
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือดโครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือด
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือด
 
แกมจิ๊กซอกล้องจุลทรรศน์
แกมจิ๊กซอกล้องจุลทรรศน์แกมจิ๊กซอกล้องจุลทรรศน์
แกมจิ๊กซอกล้องจุลทรรศน์
 
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคมหลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
 
เทคนิคการจำ Division พืช
เทคนิคการจำ Division พืชเทคนิคการจำ Division พืช
เทคนิคการจำ Division พืช
 
เซลล์พืช 1
เซลล์พืช 1 เซลล์พืช 1
เซลล์พืช 1
 
เม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดขาว
 
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศ
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศการออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศ
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศ
 
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆPoster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
 
Poster โรงเรียนสุจริต
Poster โรงเรียนสุจริตPoster โรงเรียนสุจริต
Poster โรงเรียนสุจริต
 
Mind mapping genetics
Mind mapping geneticsMind mapping genetics
Mind mapping genetics
 
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์
 
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้า
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าMindmap การลำเลียงสารผ่านเข้า
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้า
 
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต อาณาจักรสิ่งมีชีวิต
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต
 
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trash
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trashนำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trash
นำเสนองานโรงเรียนสุจริต โรงเรียนถนนหักพิทยาคม The trash
 

เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน

  • 1. เรื่องการเคลื่อนที่ของคนเล่มที่ 4 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา (ว 32242) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการ โรงเรียนถนนหักพิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  • 2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ ของสิ่งมีชีวิต เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน ผู้สอนได้ดาเนินการจัดทาขึ้นเพื่อประกอบในการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาชีววิทยา รหัสวิชา ว 32242 สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้และปฏิบัติ กิจกรรมได้ด้วยตนเอง เรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ตามลาดับขั้น ศักยภาพและความสามารถของ ตนเอง ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ ทักษะความคิด สามารถดารงชีวิตใน โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทัน เมื่อผู้เรียนศึกษาชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้แล้ว ผู้เรียนจะมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เพราะนอกจากความรู้ คาถาม สื่อการเรียนรู้ ที่ถูกจัดทาอย่างเป็นระบบขั้นตอนแล้ว ยังเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลวีดิทัศน์เพื่อช่วยขยายขอบเขต ของการรับรู้ของผู้เรียนอีกด้วย ผู้สอนหวังว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เรียน ครูผู้สอน และผู้ที่สนใจนาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีความปกติสุข ในการดารงชีวิต กมลรัตน์ ฉิมพาลี คานา เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน ก.
  • 3. เรื่อง หน้า คานา ................................................................................................................................ สารบัญ ............................................................................................................................. คาชี้แจงการใช้ชุดการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่ของคน........................................................ คาแนะนาสาหรับครู............................................................................................................ คาแนะนาสาหรับนักเรียน.................................................................................................... ขั้นตอนการใช้...................................................................................................................... มาตรฐานการเรียนรู้............................................................................................................ ผลการเรียนรู้....................................................................................................................... แบบทดสอบก่อนเรียน ...................................................................................................... ตารางวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้................................................................................... ชุดการเรียนรู้เล่มที่ 4 เรื่องการเคลื่อนที่ของคน…………………………................................ บัตรเนื้อหา ................................................................................................................ บัตรกิจกรรม ............................................................................................................. บัตรเฉลย ................................................................................................................... แบบทดสอบหลังเรียน ....................................................................................................... เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ....................................................................... บรรณานุกรม .................................................................................................................... ก ข 1 2 3 4 5 6 7 10 12 13 27 29 31 34 35 สารบัญ ข.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 4. 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ว 32242 หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของ สิ่งมีชีวิต สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 7 เล่ม ดังนี้ 1. เล่มที่ 1 เรื่อง การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว 2. เล่มที่ 2 เรื่อง การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 3. เล่มที่ 3 เรื่อง การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง 4. เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน 5. เล่มที่ 5 เรื่อง กิจกรรม STEM กับการเคลื่อนที่ของข้อต่อและกล้ามเนื้อมือ 6. เล่มที่ 6 เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์การกีฬากับการเคลื่อนที่ 7. เล่มที่ 7 เรื่อง กิจกรรมการสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยเหลือคนที่มีปัญหา ด้านการเคลื่อนที่ 2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ว 32242 หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของ สิ่งมีชีวิต มีจุดประสงค์การเรียนรู้ และเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานกลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ว 32242 หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของ สิ่งมีชีวิต ในแต่ละชุดกิจกรรมจะเสร็จสมบูรณ์ในตัวเอง นักเรียนสามารถทบทวนได้ตามที่ ต้องการ นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงไปยังสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้ศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติม 4. นักเรียนสามารถประเมินตนเองได้โดยการตรวจคาตอบจากเฉลย 5. ควรศึกษาคาแนะนาในการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ก่อนใช้ทุกชุดกิจกรรม หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน คาชี้แจง 1.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 5. 1.1 ศึกษารายละเอียดของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เข้าใจก่อนสอน 1.2 จัดเตรียมสิ่งแวดล้อม ระบบสนับสนุน เครื่องมือวัดและประเมินผล ให้พร้อมใช้ ครูให้คาแนะนาและเป็นผู้อานวยความสะดวกในการดาเนินกิจกรรม ทั้งนี้ควรกระตุ้น และส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการคิด กล้าแสดงความคิดเห็น การทางานเป็นทีม และรับผิดชอบต่อหน้าที่ เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอน ครูควรประเมินผลการเรียนรู้ ของผู้เรียนโดยใช้แบบทดสอบประจาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน คาแนะนา สาหรับครู 1. ขั้นตอนก่อนจัดการเรียนรู้ 2. ขั้นการสอน 3. ขั้นสรุป หากคุณครูมีข้อสงสัยในขั้นตอนใดของ กิจกรรม สามารถสอบถามผ่านจากเพจ “BioWow เทคนิคการเรียนการสอน ชีววิทยา By Krupumbio ได้ตลอดเวลาค่ะ 2.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 6. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ว 32242 หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของ สิ่งมีชีวิต สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนด้วยความซื่อสัตย์และ ตั้งใจ ดังนี้ 1. ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้ 2. ทาแบบทดสอบก่อนเรียน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ว 32242 หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่มที่ 4 เรื่องการเคลื่อนที่ของคน 3. ปฏิบัติกิจกรรมและศึกษาสื่อต่างๆตามคาแนะนาของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งสื่อวิดีทัศน์จะเชื่อมโยงได้ในรูปของ QR Code หรือการใช้ URL ไปยังวิดีทัศน์นั้น 4. ทาแบบฝึกเสริมทักษะเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในบทเรียน 5. ทาแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต สาหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่มที่ 4 เรื่องการเคลื่อนที่ของคน 6. หากมีข้อคาถามหรือข้อสงสัยสามารถสอบถามครูผู้สอนได้ 7. เกณฑ์การผ่านการประเมินจะผ่านเมื่อนักเรียนทาคะแนนได้ คิดเป็นร้อยละ 80 หากนักเรียนไม่ผ่านการประเมิน ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหา และทากิจกรรมอีกครั้ง แล้วทาการ ประเมินผลใหม่ จนกว่าจะได้คะแนนผ่านเกณฑ์ เพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้และพร้อมที่จะเรียนรู้ในเล่มต่อไป หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน คาแนะนา สาหรับ นักเรียน หากนักเรียนมีข้อสงสัยในขั้นตอนใด ของกิจกรรม สามารถสอบถามผ่าน จากเพจ “BioWow เทคนิคการเรียน การสอนชีววิทยา By Krupumbio ได้ตลอดเวลาค่ะ 3.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 7. ในการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา รหัสวิชา ว 32242 หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน นักเรียนควรปฏิบัติดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต เล่มที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ของคน ขั้นตอน การใช้ 1. ทาแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้เดิม 2. ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้และเนื้อหาให้เข้าใจ 3. ทากิจกรรมในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบถ้วน 4. ทาแบบฝึกกิจกรรมให้ถูกต้อง 5. ทาแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมินผลความก้าวหน้าในการเรียนรู้ 4.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 8. มาตรฐานสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทางานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ในการดารงชีวิต ของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหา ความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มี รูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและ เครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงสั้นๆเข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และ สิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต 5. มาตรฐาน การเรียนรู้ เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 9. 1. สืบค้น อภิปรายและอธิบายการสร้างเท้าเทียมของอะมีบา 2. สืบค้นอธิบายและเปรียบเทียบโครงสร้างและการทางานของแฟลเจลลัมกับซิเลีย 3. อธิบายลักษณะการเคลื่อนที่ของแมงกะพรุน หมึก ดาวทะเลไส้เดือนดิน และแมลง 4. เปรียบเทียบลักษณะการเคลื่อนที่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 5. อธิบายการทางานของกล้ามเนื้อแบบสภาวะตรงกันข้าม (antagonism) 6. สารวจตรวจสอบ สืบค้น อภิปรายและอธิบายโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของสัตว์ มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ในน้ากับสัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก 7. สารวจตรวจสอบ สืบค้น อภิปรายและอธิบายโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคน 8.สารวจ ตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายถึงการทางานของข้อต่อแบบต่างๆ 9. สืบค้นข้อมูล สารวจตรวจสอบและอธิบายลักษณะของกล้ามเนื้อประเภทต่างๆ และกลไกการทางานของกล้ามเนื้อ หน่วยการเรียนรู้ : การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต 6. ผลการ เรียนรู้ เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 10. คาชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้มีข้อสอบ 10 ข้อ ใช้เวลา 10 นาที 2. จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด แล้วเขียน  ลงในกระดาษคาตอบ 1. ข้อใดคือกระดูกระยางค์เมื่อแบ่งตามตาแหน่งที่อยู่ 1. กระดูกอก 2. กระดูกซี่โครง 3. กระดูกเชิงกราน 4. กระดูกกะโหลกศีรษะ 2. ข้อใดคือลักษณะเซลล์ของกล้ามเนื้อลาย 1. หัวท้ายแหลม 2. ไม่มีแถบลายพาดขวาง 3. ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง 4. แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส 3. กระดูกมี........ชิ้น ประกอบด้วย กระดูกระยางค์.........ชิ้นและส่วนที่เหลือคือ กระดูกแกนจงเติมให้สมบูรณ์ เรียงตามลาดับ 1. 206ชิ้น และ 80 ชิ้น 2. 206ชิ้น และ 126 ชิ้น 3. 216ชิ้น และ 80 ชิ้น 4. 216ชิ้น และ 136 ชิ้น 4. หมอนรองกระดูกคือข้อใดและทาหน้าที่อย่างไร 1. เอ็นยึดข้อ แผ่นเชื่อมกระดูกสันหลัง 2. เอ็นยึดข้อ รองและเชื่อมกระดูกสันหลัง 3. กระดูกอ่อน แผ่นเชื่อมกระดูกสันหลัง 4. กระดูกอ่อน รองและเชื่อมกระดูกสันหลัง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการเคลื่อนที่ของคน แบบทดสอบ ก่อนเรียน 7.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 11. 5. ข้อต่อชนิดประกบสวมกันทาให้บิด ซ้ายขวา ลงล่าง ขึ้นบนได้ เป็นข้อต่อชนิดใดอยู่บริเวณใด 1. Saddle นิ้วมือ 2. Saddle ต้นคอ 3. Pivot นิ้วมือ 4. Pivot ต้นคอ 6. ข้อต่อระหว่างกระดูกสะบักกับกระดูกต้นแขนต่อกันแบบใด 1. บานพับ 2. ไม่เคลื่อนที่ 3. ลูกบอลและเบ้า 4. เลื่อนไปมา(สไลด์) 7. การหดตัวของกล้ามเนื้อลายเกิดจากข้อใด 1. แอกตินเลื่อนตัวเข้าหากัน 2. ไมโอซินเลื่อนตัวเข้าหากัน 3. ไมโอซินเลื่อนตัวเข้าหาแอกทิน 4. แอกทินกับไมโอซินเลื่อตัวเข้าหากัน 8. ข้อใดถูกต้อง 1. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกล้ามเนื้อ 2. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก 3. ลิกาเมนต์และเท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูกเหมือนกัน 4. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก 8. 9.จากแผนภาพแสดงถึงกล้ามเนื้อ 4 มัด ของขาคน กล้ามเนื้อคู่ใดหดตัวในเวลาเดียวกันเพื่อยกและเหยียดขา 1. A และ B 2. A และ D 3. C และ D 4. C และ B เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 12. 10. กล้ามเนื้อของสัตว์ชั้นสูงและคนอาจจะแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือกล้ามเนื้อลายชนิด กล้ามเนื้อยึดกระดูก กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งโดยปกติแล้วมีการ ทางานที่ ควบคุมโดยระบบประสาทดังนี้ 1. การทางานของกล้ามเนื้อเรียบอยู่ภายใต้อานาจการ ควบคุมของจิตใจ 2. การทางานของกล้ามเนื้อหัวใจ ไม่อยู่ภายใต้การ ควบคุมของอานาจจิตใจ 3. การทางานของกล้ามเนื้อทั้ง 3 ชนิด อยู่ภายใต้การ ควบคุมของอานาจจิตใจ 4. การทางานของกล้ามเนื้อยึดกระดูก ไม่อยู่ภายใต้การ ควบคุมของอานาจจิตใจ เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง 9.
  • 13. มาตรฐานสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทางานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบ เสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ในการดารงชีวิตของ ตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต ผลการเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูล สารวจตรวจสอบและอธิบายการเคลื่อนที่ของคน เรื่องที่ สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) 1.การเคลื่อนที่ ของคน สิ่งมีชีวิตมีการเคลื่อนที่เพื่อตอบสนอง ต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน คนใช้การ เคลื่อนที่ที่อาศัยการทางานของระบบ โครงกระดูก และระบบกล้ามเนื้อ กระดูกแต่ละชิ้นเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อ กล้ามเนื้อแต่ละคู่ที่ยึดติดกับกระดูก ทางานร่วมกันในสภาวะตรงกันข้าม (Antagonism) ด้านความรู้ (K) 1. สืบค้นข้อมูล สารวจ ตรวจสอบอธิปรายและอธิบาย ส่วนประกอบหน้าที่ของกระดูก ของคน เอ็น ชนิดของข้อต่อ และการทางานของข้อต่อแบบ ต่างๆ 2. สืบค้นข้อมูล อภิปรายและ เปรียบเทียบลักษณะ ตาแหน่ง และหน้าที่ของกล้ามเนื้อยึด กระดูก กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบ ตลอดจน การทางานของกล้ามเนื้อ 3 มาตรฐานการเรียนรู้ ตาราง วิเคราะห์ 10.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 14. เรื่องที่ สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) ด้านทักษะและกระบวนการ (P) 1. ออกแบบโมเดล/การ ทดลอง/การวิเคราะห์ตัวอย่าง และหลักฐานเพื่อสร้าง คาอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 2. อภิปรายวิธีการศึกษา การเคลื่อนที่ของคนจากวิธีการ สืบเสาะหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ การใช้หลักฐาน และตีความจากหลักฐาน 3. ด้านคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ (A) 3.1 ความมีวินัย 3.2 ความสนใจใฝ่รู้ 11.เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 15. การเคลื่อนที่ของคนชุดกิจกรรม การเรียนรู้ที่ 4 เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 12. นักเรียนคิดว่าการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในแต่ละกิจกรรม ต้องอาศัยระบบใดในร่างกาย ภาพจาก http://rectusabdominis.com/2016/11 /human-skeleton-movement.html สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 ภาพว่ายน้าจาก https://www.pinterest.com/yifensky/swim/ ภาพการเต้นบัลเลย์จาก http://www.spotlablog.com/blog/ ภาพยิมนาสติกจาก http://rectusabdominis.com/2016/11/human-skeleton-movement.html ภาพโยคะจาก https://www.popsugar.com/fitness/How-Strengthen-Abs-Headstand-30493505 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 3 1 2 4 .................................................................................... .................................................................................... .................................................................................... .................................................................................... .................................................................................... .................................................................................... ....................................................................................
  • 16. ระบบโครงกระดูกประกอบด้วย เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 13. การเคลื่อนของคน จากภาพ https://ptcg1999.wordpress.com/unit- two-unit-two-human-movement- assessmentmovement-analysis/ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 การเคลื่อนไหวของคน การเคลื่อนไหวเป็นคุณลักษณะหนึ่งของ สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอากัปกิริยาต่างๆ เช่น การกิน การนอน การวิ่ง ล้วนแล้วเป็นการ เคลื่อนไหว ที่เกิดจากระบบโครงกระดูกและ ระบบกล้ามเนื้อทั้งสิ้น ในเรื่องนี้เราจะมาดูในเรื่อง ของโครงกระดูกของคน ข้อต่อและกล้ามเนื้อที่ใช้ ในการเคลื่อนที่ของมนุษย์ การเคลื่อนไหวของคน การเคลื่อนไหวของคนอาศัยโครงสร้างสาคัญ ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ และเอ็น ซึ่งทา หน้าที่ประสานก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ ระบบโครงกระดูก ระบบกระดูกของมนุษย์ทาหน้าที่พยุงและป้องกันอวัยวะภายในของร่างกายตลอดจน เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อประกอบด้วยโครงกระดูกมากกว่า 200 ชิ้น
  • 17. ในทารกแรกเกิดจะมีกระดูกอ่อน 350 ชิ้น ซึ่งมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 150 ชิ้น กระดูกของทารก เหล่านี้ ไม่ได้หายไปไหน แต่กระดูกจะเชื่อมกันสมบูรณ์เมื่ออายุประมาณ 20-25 ปี ทาให้กระดูก เหลืออยู่ทั้ง หมด 206 ชิ้น เป็นกระดูกที่แข็งและอยู่อย่างถาวร กระดูกแข็งทั้งหมด 206 ชิ้นใน ร่างกายแบ่งเป็น 1. กระดูกแกนกลาง (axial skeleton) มีทั้งหมด 80 ชิ้น ประกอบด้วย กระดูกในร่างกายมนุษย์ เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 14. 1) กระดูกกะโหลกศีรษะ (skull) มี 29 ชิ้น เป็นกระดูกกะโหลกศีรษะ และกระดูกย่อย หลายชิ้นเชื่อมต่อกัน นอกจากนี้ยังรวมกระดูก ที่ใบหน้า และกระดูกขากรรไกร ภายใน กะโหลกศีรษะมีลักษณะคล้ายถุงบรรจุเนื้อ สมองเอาไว้ กะโหลกศีรษะทาหน้าที่ห่อหุ้ม และป้องกันมันสมองที่อยู่ภายใน 2) กระดูกสันหลัง (vertebra) มี 26 ชิ้น เป็น ส่วนหนึ่งของกระดูกแกนที่ช่วยค้าจุนและ รองรับน้าหนักของร่างกาย กระดูกสันหลังเป็น แนวกระดูกที่ทอดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็ก ๆ เป็นข้อ ๆ ติดกัน กระดูกแต่ละข้อเชื่อมต่อกันด้วย กล้ามเนื้อและเอ็น ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ ละข้อจะมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกกันว่า หมอนรองกระดูก (intervertebral disc) ทาหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เพื่อป้องกันการเสียดสี ถ้ากระดูกอ่อนนี้เสื่อม เราจะไม่สามารถบิดหรือเอี้ยว ภาพกระดูกแกน ปรับปรุงจาก http://www.teachpe.com/anatomy/skele ton_axial.php สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
  • 18. ภาพกระดูกซี่โครงกับกระดูกหน้าอกจาก http://diseasespictures.com/sternum-pain/ 3) กระดูกซี่โครง (rib) มีทั้งหมด 12 คู่ แต่ละคู่จะต่อกับด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วน ทรวงอก และด้านหน้าโค้งมาต่อเชื่อมกับกระดูก หน้าอกยกเว้นคู่ที่ 11 และ 12 จะมีขนาดสั้น ไม่ เชื่อมต่อกับกระดูกหน้าอกระหว่างกระดูกซี่โครง จะมีกล้ามเนื้อ 2 ชุดทางานหดและคลายตัว สลับกันแบบแอนทา-โกนนิซึม ได้แก่ กล้ามเนื้อ ยึดซี่โครงแถบนอกและกล้ามเนื้อยึดซี่โครงแถบใน ซึ่งการทางานของซี่โครงทั้ง 2 ชุดนี้จะทาให้ซี่โครง เคลื่อนขึ้นและลงในขณะหายใจ 4) กระดูกหน้าอก (sternum) อยู่ ทางด้านหน้าของช่วงอกเป็นที่ยึดของกระดูก ซี่โครงตั้งแต่คู่ที่ 1 ถึงคู่ที่10 กระดูกในร่างกายมนุษย์ (ต่อ) เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 15. 2. กระดูกรยางค์ (appendicular skeleton) ประกอบด้วยกระดูกทั้งหมด 126 ชิ้น ได้แก่กระดูกมือ แขนขา กระดูกเชิงกราน (pelvic girdle) กระดูกสะบัก (scapula) กระดูกไหปลาร้า (clavicle) ตลอดจนกระดูก ภาพกระดูกระยางค์จาก https://www.boundless.com/biology/textbooks/bound less-biology-textbook/the-musculoskeletal-system- 38/types-of-skeletal-systems-215/human-appendicular- skeleton-814-12055/ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
  • 19. เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 16. ข้อต่อ (joint) ข้อต่อเป็นบริเวณที่กระดูก 2 ท่อนมาเชื่อมต่อกัน และเชื่อมโยงให้อวัยวะเคลื่อนไหวได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้ ตามลักษณะการเคลื่อนไหวได้ดังนี้ 2.1 ข้อต่อชนิดที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (synarthrosis) เป็นข้อต่อที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เป็น เส้นใย มีความแข็งแรงและต่อกันสนิท ได้แก่ ข้อต่อ ระหว่างกะโหลกศีรษะ เป็นแนวกระดูกประสาน ภาพข้อต่อชนิดไม่เคลื่อนไหว https://newsciencebiology.blogspot.com /2012/10/2012-structure-of-joint-and- various.html สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 2.2 ข้อต่อชนิดที่เคลื่อนไหวได้บ้าง (amphiarthrosis) เป็นข้อต่อที่ประกอบด้วยกระดูกอ่อน (fibrocartilage) อยู่ระหว่างปลายกระดูกทั้ง 2 ที่มา ต่อกันข้อต่อแบบนี้สามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง เรียกว่า ข้อต่อกระดูกอ่อน (cartilage joint) กระดูกอ่อน จัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษที่มีเมทริกซ์แข็งกว่า เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดอื่นๆได้แก่ ข้อต่อที่อยู่ระหว่าง กระดูกเชิงกรานตรงบริเวณหัวเหน่าเรียกว่า ข้อต่อ กระดูกเชิงกราน และข้อต่อระหว่างข้อต่อกระดูก สันหลังเรียกว่า ข้อต่อกระดูกสันหลัง ภาพข้อต่อชนิดเคลื่อนไหวได้บ้าง http://www.proprofs.com/flashcards/sto ry.php?title=anatomy-and-physiology- lab-2 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
  • 20. เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 17. ข้อต่อกระดูกสันหลังจะมี หมอนรองกระดูก เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเหนียวเป็นเหมือน หมอนที่มีส่วนของปลอกหมอนและไส้ของหมอนอยู่ภายใน อยู่ระหว่างกระดูกแข็งแต่ ละข้อ ดังนั้นจึงทาหน้าที่เชื่อมต่อกระดูกสันหลังส่วนแข็งแต่ละข้อระหว่างระดับคอ จนถึงระดับเอว การที่หมอนรองกระดูกเชื่อมต่อแทรกอยู่ระหว่างกระดูกแข็งแต่ละข้อ นั้น ทาให้การเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังทั้งหมดจึงมีลักษณะที่สมดุลและต่อเนื่อง คล้ายกระดูกงู มีลักษณะการเคลื่อนที่ที่มีการเคลื่อนไหวกันอย่างสมดุล หรือเรียกว่า Synchronization ธรรมชาติได้สร้างหมอนรองกระดูกให้มีความยืดหยุ่นและมีความ เหนียวคงทนเป็นอย่างดียิ่ง เอ็นเชื่อมกระดูก เป็นวิวัฒนาการที่เกิดมาควบคู่กันของกล้ามเนื้อและกระดูก คือ การเกิดเอ็น ต่างๆ เพื่อยึดกระดูกและกล้ามเนื้อทาให้การยึดเกาะเหนียวแน่น แข็งแรง สามารถ เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วมีประสิทธิภาพและช่วยป้องกันการสะเทือนได้ดี คือ 1. เอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก เรียกว่า เอ็นยึดกระดูก หรือ เทนดอน (tendon) 2. เอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก เรียกว่า เอ็นยึดข้อ หรือ ลิกกาเมนท์ (ligament) 3. เอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อน่องกับกระดูกส้นเท้า เรียกว่า เอ็นร้อยหวาย ภาพจาก http://www.vcha rkarn.com/lesson /1268 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
  • 21. ภาพข้อต่อชนิดที่เคลื่อนไหวได้มากแบบต่างๆ ปรับปรุงจาก https://sites.google.com/site/30882kkz/home/1-1 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 2.3 ข้อต่อชนิดที่เคลื่อนไหวได้มาก (diathrosis) เป็นข้อต่อที่มีช่องว่างอยู่ภายใน (synovial joint) และภายในมีแผ่นเยื่อที่ทาหน้าที่ สร้างของเหลวที่เรียกว่า น้าไขข้อ (synovial fluid) ข้อต่อชนิดที่มีการเคลื่อนไหวได้มาก ได้แก่ ข้อต่อบริเวณหัวเข่า ข้อต่อของนิ้วมือ เป็นต้น ซึ่งข้อต่อชนิดนี้สามารถแยกออกเป็นแบบ ต่าง ๆ ดังนี้ เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 18.
  • 22. เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 19. ได้แก่ ข้อต่อที่เข่า ข้อต่อที่ข้อศอกระหว่างปลาย กระดูกต้นแขนกับโคนกระดูก ulna ซึ่งเป็นข้อ ต่อที่เคลื่อนไหวได้มากกว่าชนิดแรกและ เคลื่อนไหวได้ในแนวเดียวคล้ายบานพับ 1. ข้อต่อแบบบานพับ (hinge joint) ภาพข้อต่อแบบบานพับ ปรับปรุงจาก https://www.exploringnature.org/db/view/1 565 และ http://cephalicvein.com/ 2016/07/hinge-joint/ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 2. ข้อต่อแบบสไลด์ (gliding joint) ข้อต่อแบบสไลด์ (gliding joint) ได้แก่ ข้อต่อ ของกระดูกข้อมือ ข้อเท้าและกระดูกสันหลัง เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้บ้างแต่ไม่มากนัก คล้ายกับงูเลื้อย ภาพข้อต่อแบบสไลด์ ปรับปรุงจาก http://www.teachpe.com/anatomy/joints.php และ https://www.studydroid.com/printerFriendlyViewP ack.php?packId=367022 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
  • 23. เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 20. 3. ข้อต่อแบบอานม้า saddle joint ข้อต่อแบบอานม้า ปลายกระดูกที่มาประกอบ เป็นข้อต่อแบบอานม้า จะเคลื่อนไปมาคล้าย ๆ กับการเคลื่อนไหวบนอานม้า พบได้ที่บริเวณฐาน นิ้วหัวแม่มือ ภาพข้อต่อแบบอานม้า จาก http://www.meritnation.com/ask- answer/question/is-ther-any-module-of-how- to-draw-a-saddle-joint-asked-to-me/body- movements/3326179 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 25594. ข้อต่อแบบเดือย pivot joint ข้อต่อแบบเดือย (pivot joint) ได้แก่ ข้อต่อของ axis และ atlas เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวทา ให้ศีรษะหมุนจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้ (หันซ้ายไปขวา หันขวาไปซ้ายได้) และข้อต่อ ระหว่างหัวของกระดูก radius กับปลายกระดูก ต้นแขน ภาพข้อต่อแบบเดือย จาก http://cephalicvein.com/2016/06/pivot-joint/ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 5. ข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้ากระดูก ball and socket joint ข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้า (ball and socket joint) ได้แก่ ข้อ ต่อระหว่างหัวของกระดูกต้นแขนกับกระดูกสะบัก และระหว่าง หัวของกระดูกต้นขากับกระดูกเชิงกราน ซึ่งเป็นข้อต่อที่มีการ เคลื่อนไหวได้หลายทิศทางและเคลื่อนที่ได้คล่องมาก เพราะ หัวของกระดูกต้นแขน ต้นขามีลักษณะกลมอยู่ภายในแอ่ง จึง หมุนได้สะดวก ภาพข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้ากระดูก จาก http://www.chw.org/ medical-care/rheumatology/ conditions/anatomy-of-a-joint/ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
  • 24. เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 21. กล้ามเนื้อยึดกระดูก ลักษณะรูปร่าง ทรงกระบอกยาว แถบลาย (striation) สีอ่อนสลับสีเข้ม นิวเคลียส แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส ระบบการทางาน อยู่ในอานาจจิตใจ (somatic system ) ตัวอย่าง เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อหัวใจ ลักษณะรูปร่าง ทรงกระบอกยาว มีปลาย แตกแขนง แถบลายสีอ่อน นิวเคลียส แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส ระบบการทางาน นอกเหนืออานาจจิตใจ (automatic system) ตัวอย่าง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบ ลักษณะรูปร่าง ลักษณะรูปร่าง ยาวหัวท้ายแหลม ไม่มีลาย พาดขวาง นิวเคลียส แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส ระบบการทางาน นอกเหนืออานาจจิตใจ (automatic system) ตัวอย่าง เช่น ผนังกระเพาะอาหาร ผนังลาไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา กล้ามเนื้อของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่ง ออกเป็น 3 ชนิดคือ กล้ามเนื้อยึด กระดูก กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อ เรียบ ภาพชนิดของกล้ามเนื้อปรับปรุงจาก http://musclemwit2241.blogspot.com/20 12/06/blog-post.html สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
  • 25. เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 22. การทางานของระบบกล้ามเนื้อยึดกระดูก (กระดูกลาย) การทางานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกเพื่อให้เกิด การเคลื่อนไหวนั้น กล้ามเนื้อยึดกระดูกจะ ทางานเป็นคู่แบบสภาวะตรงกันข้าม เรียกว่า แอนตาโกนิซึม (antagonism) ดังนั้นเมื่อ กล้ามเนื้อด้านหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกด้านหนึ่ง จะคลายตัว การหดตัวของกล้ามเนื้อทาให้เกิด แรงดึงให้กระดูกทั้งท่อนเคลื่อนไหวได้ด้วย เนื่องจากระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูกมีเอ็นยึด กระดูก (tendon) ยึดอยู่เอ็นยึดกระดูกเป็น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีความเหนียวแข็งแรงและ ทนทานต่อแรงดึงหรือการรองรับน้าหนัก กล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทาให้อวัยวะงอเข้า เรียกว่า กล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) ส่วน กล้ามเนื้อที่หดตัวแล้วทาให้อวัยวะเหยียด ออก เรียกว่า กล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ (extensor) เช่น การเคลื่อนไหวของแขนคน โครงสร้างของแขนคนประกอบด้วย กล้ามเนื้อไบเซพ (bicep) และกล้ามเนื้อ ไตรเซพ (tricep) เมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหดตัว กล้ามเนื้อไตรเซพคลายตัวทาให้แขนงอเข้า แต่ถ้ากล้ามเนื้อไตรเซพหดตัว กล้ามเนื้อ ไบเซพคลายตัวแขนจะเหยียดออก ดังนั้น กล้ามเนื้อไบเซพจึงป็นกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ กล้ามเนื้อไตรเซพจัดเป็นกล้ามเนื้อ เอ็กเทนเซอร์ ปรับปรุงภาพจาก http://www.wangchan.ac.th/ teacher_issue/t712/unit43.html สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 ภาพจาก http://www.pixell.club/bicep-and-tricep- muscles/ สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559
  • 26. กล้ามเนื้อนับได้ว่าเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดและมีอยู่ถึงร้อยละ 40 ของน้าหนักตัว กล้ามเนื้อ ทั้งมัดประกอบด้วยหลายมัดเส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fascicle หรือ muscle fiber) และแต่ละ มัดย่อยประกอบด้วยเส้นใยเล็ก (fiber) ใยกล้ามเนื้อมีขนาดประมาณ 60 ไมครอน และมีความยาว ตั้งแต่ 2-10 เซนติเมตร แต่ละใยประกอบด้วยใยฝอย (fibrill) ซึ่งมีขนาดประมาณ 1 ไมครอน แต่ละใยฝอยประกอบด้วยไมโอฟิลาเมนท์ (myofilament) อันเป็นหน่วยเล็กที่สุดของกล้ามเนื้อที่ ทางาน ซึ่งประกอบด้วย แอ็คติน (actin) และไมโอซิน (myosin) แอ็คตินเป็นเส้นบาง ยาว 1 ไมครอน และหนา 50 อังสตรอม ส่วนไมโอซินยาว 1.5 ไมครอนและหนา 100 อังสตรอม ภาพและข้อมูล ปรับปรุงจาก http://www.mhhe.com/ biosci/genbio/raven6b/graphics/raven06b/other/raven06_50.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 ยูทูปเรื่องกล้ามเนื้อ www.youtube.com/watch?v= BNe2rHuVLE8 ไปเรียนรู้เรื่องกล้ามเนื้อกัน เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 23.
  • 27. แต่ละไมโอไฟบริลประกอบด้วยฟิลาเมนท์ (filament) ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ชนิดหนา (thick filament) และชนิดบาง (thin filament) Z line คือ ขอบโปรตีนบาง Actin บริเวณ I band คือ กึ่งกลางโปรตีน บาง Actin บริเวณ H line คือ กึ่งกลางโปรตีนหนา Myosin ใยกล้ามเนื้อหลายใยรวมกันเป็นมัด กล้ามเนื้อ การทางานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่ในอานาจจิตใจ บางครั้งจึงเรียกว่ากล้ามเนื้อในอานาจ จิตใจ (voluntary muscle) บางครั้งจึงใช้คุณสมบัติ ของกล้ามเนื้อลายทั้งหมดเรียกชื่อว่า กล้ามเนื้อ ลายในอานาจจิตใจ (voluntary striated skeletal muscle) เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 24. หน่วยปฏิบัติการเพื่อการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ ภาพและข้อมูลปรับปรุงจาก http://www.mhhe.com/biosci/genbio/raven6b/graphics/raven06b /other/raven06_50.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 ภาพและข้อมูลปรับปรุงจาก http://www.mhhe.com/biosci/genbio/raven6b/graphics/raven06b /other/raven06_50.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 การเคลื่อนที่ ของกล้ามเนื้อ เกิดขึ้นเมื่อ Actin เคลื่อน เข้าหา I band
  • 28. เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 25. กลไกการเคลื่อนตัวของกล้ามเนื้อ Myosin จะมีหัว Actin จะเป็นก้อนโปรตีน หัวของ Myosin จึงเกี่ยวให้ Actin เคลื่อนเข้ามาหา I band เรียกว่า Cross-bridge I band ที่หัวของ Myosin มี พลังงาน ADP + Pi อยู่นั่นเอง ภาพและข้อมูลปรับปรุงจาก http://www.mhhe.com/biosci/genbio/raven6 b/graphics/raven06b /other/raven06_50.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนตัวของกล้ามเนื้อ
  • 29. เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 26. ในสภาวะที่ Ca+ ต่า Cross-bridge จะไม่สามารถจับกับ Actin ได้ เพราะมี tropomyosin ขวางกันอยู่ (ภาพ a) เมื่อ Ca+ เพิ่มขึ้น จะไปจับโปรตีน tropomyosin ทาให้ Cross-bridge จับกับ Actin ได้ (ภาพ b) โดยที่ Ca+ หลั่งมาจาก sarcoplasmic reticulum, หรือ SR หลั่งโดย ผ่านการกระตุ้นของระบบประสาท ภาพและข้อมูลปรับปรุงจาก http://www.mhhe.com/biosci/genbio/raven6 b/graphics/raven06b /other/raven06_50.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 YouTube ระบบโครงกระดูกและข้อต่อ https://www.youtube.com/watch?v =JsdtukhzMbE&index=2&list=PLTE mdJNFmjRz_T5O- mGOzDfpzKzAgeA7I YouTube การหดคลายกล้ามเนื้อ https://www.youtube.com/watch?v=ZgpGzNAKK xI&list=PLTEmdJNFmjRz_T5O- mGOzDfpzKzAgeA7I&index=6 ครูจัดทา YouTube เทคนิคการทาความเข้าใจระบบ โครงกระดูกและการหดคลายของกล้ามเนื้อ นักเรียนสามารถทบทวนเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
  • 30. คาชี้แจง : ให้นักเรียนใส่ชื่อของกระดูกและระบุด้วยว่าเป็นกระดูกชนิดใด (กระดูกแกนหรือกระดูกรยางค์) จงอธิบายความหมายของคาต่อไปนี้ 1. กระดูกอ่อน(cartilage)................................................................................................................ 2. หมอนรองกระดูก.......................................................................................................................... 3. ข้อต่อ............................................................................................................................................ 4. เอ็นยึดข้อ..................................................................................................................................... 5. น้าไขข้อ ....................................................................................................................................... เสริมความรู้เรื่องการเคลื่อนที่ของคนแบบฝึกหัด เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 27.
  • 31. คาชี้แจง : ให้นักเรียนพิจารณาและตอบคาถามจากภาพที่กาหนดให้ 1. จงอธิบายชนิดของกล้ามเนื้อ 3. 2. 1 หมายเลข 1. คือกล้ามเนื้อชนิดใด ........................................................................................... ลักษณะรูปร่าง.................................................................... ........................................................................................... หมายเลข 2. คือกล้ามเนื้อชนิดใด ........................................................................................... ลักษณะรูปร่าง.................................................................... ........................................................................................... หมายเลข 3. คือกล้ามเนื้อชนิดใด ........................................................................................... ลักษณะรูปร่าง.................................................................... ........................................................................................... เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 28. 2. จงอธิบายกลไกการทางานของกล้ามเนื้อเมื่อ งอแขนหิ้วกระเป๋า
  • 32. เสริมความรู้เรื่องการเคลื่อนที่ของคน จงอธิบายความหมายของคาต่อไปนี้ 1. กระดูกอ่อน (cartilage) กระดูกอ่อนจัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษที่มีเมทริกซ์แข็งกว่า เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดอื่นๆ 2. หมอนรองกระดูก เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเหนียวเป็นเหมือนหมอนที่มีส่วนของปลอกหมอนและ ไส้ของหมอนอยู่ภายใน อยู่ระหว่างกระดูกแข็งแต่ละข้อ ดังนั้นจึงทาหน้าที่เชื่อมต่อกระดูกสันหลัง ส่วนแข็งแต่ละข้อระหว่างระดับคอจนถึงระดับเอว 3. ข้อต่อ จุดหรือบริเวณที่กระดูกตั้งแต่ 2 หรือมากกว่า 2 ชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน ซึ่งมีทั้งข้อต่อชนิดที่ เคลื่อนไหวไม่ได้ (immovable joint) และข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ (movable joint) 4. เอ็นยึดข้อ เอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก 5. น้าไขข้อ เป็นของเหลวที่เรียกว่าน้าไขข้อ (synovial fluid) อยู่ระหว่างกระดูกอ่อนกระดูกอ่อน มีลักษณะเหนียวสั้นและยืดหยุ่นได้ กระดูกอ่อนได้อาหารจากน้าไขข้อ ทั้งกระดูกอ่อนและน้าไขข้อ จะช่วยลดการเสียดสีของ กะโหลกศีรษะ กระดูกแกน กระดูกอก กระดูกแกน กระดูกซีโครง กระดูกแกน กระดูกเชิงกราน กระดูกรยางค์ กระดูกแขน กระดูกรยางค์ กระดูกสันหลัง กระดูกแกน กระดูกขา กระดูกรยางค์ เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 29. เฉลย แบบฝึกหัด
  • 33. หมายเลข 1. คือกล้ามเนื้อชนิดใด....กล้ามเนื้อยึดกระดู ลักษณะรูปร่าง..ทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์ มีหลายนิวเคลียส.แถบลายสีอ่อนสลับสีเข้ม หมายเลข 2. คือกล้ามเนื้อชนิดใด........ กล้ามเนื้อหัวใจ.................ลักษณะรูปร่าง.. ทรงกระบอกยาว มีปลายแตกแขนง แต่ละเซลล์มี หลายนิวเคลียส.แถบลายสีอ่อนสลับสีเข้ม หมายเลข 3 คือกล้ามเนื้อชนิดใด............กล้ามเนื้อเรียบ.......... ลักษณะรูปร่าง ยาวหัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 30. 2. จงอธิบายกลไกการทางานของกล้ามเนื้อเมื่อ งอแขนหิ้วกระเป๋า เมื่องอแขน เกิดจากกล้ามเนื้อไบเซพหดตัว กล้ามเนื้อไตรเซพคลายตัวกล้ามเนื้อที่หดตัว แล้วทาให้อวัยวะงอเข้าเรียกว่า กล้ามเนื้อ เฟล็กเซอร์ (flexor) (ส่วนกล้ามเนื้อที่หดตัว แล้วทาให้อวัยวะเหยียดออก เรียกว่า กล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ (extensor))
  • 34. คาชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้มีข้อสอบ 10 ข้อ ใช้เวลา 10 นาที 2. จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด แล้วเขียน  ลงในกระดาษคาตอบ 1. ข้อใดคือกระดูกระยางค์เมื่อแบ่งตามตาแหน่งที่อยู่ 1. กระดูกอก 2. กระดูกซี่โครง 3. กระดูกเชิงกราน 4. กระดูกกะโหลกศีรษะ 2. ข้อใดคือลักษณะเซลล์ของกล้ามเนื้อลาย 1. หัวท้ายแหลม 2. ไม่มีแถบลายพาดขวาง 3. แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส 4. ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง 3. กระดูกมี........ชิ้น ประกอบด้วย กระดูกระยางค์.........ชิ้นและส่วนที่เหลือคือ กระดูกแกนจงเติมให้สมบูรณ์ เรียงตามลาดับ 1. 206ชิ้น และ 80 ชิ้น 2. 206ชิ้น และ 126 ชิ้น 3. 216ชิ้น และ 80 ชิ้น 4. 216ชิ้น และ 136 ชิ้น 4. หมอนรองกระดูกคือข้อใดและทาหน้าที่อย่างไร 1. เอ็นยึดข้อ แผ่นเชื่อมกระดูกสันหลัง 2. เอ็นยึดข้อ รองและเชื่อมกระดูกสันหลัง 3. กระดูกอ่อน แผ่นเชื่อมกระดูกสันหลัง 4. กระดูกอ่อน รองและเชื่อมกระดูกสันหลัง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการเคลื่อนที่ของคน แบบทดสอบ หลังเรียน เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 31.
  • 35. 5. ข้อต่อชนิดประกบสวมกันทาให้บิด ซ้ายขวา ลงล่าง ขึ้นบนได้ เป็นข้อต่อชนิดใดอยู่บริเวณใด 1. Saddle นิ้วมือ 2. Saddle ต้นคอ 3. Pivot นิ้วมือ 4. Pivot ต้นคอ 6. ข้อต่อระหว่างกระดูกสะบักกับกระดูกต้นแขนต่อกันแบบใด 1. สไลด์ 2. บานพับ 3. ไม่เคลื่อนที่ 4. ลูกบอลและเบ้า 7. การหดตัวของกล้ามเนื้อลายเกิดจากข้อใด 1. แอกตินเลื่อนตัวเข้าหากัน 2. ไมโอซินเลื่อนตัวเข้าหากัน 3. ไมโอซินเลื่อนตัวเข้าหาแอกทิน 4. แอกทินกับไมโอซินเลื่อตัวเข้าหากัน 8. ข้อใดถูกต้อง 1. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกล้ามเนื้อ 2. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก 3. ลิกาเมนต์และเท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูกเหมือนกัน 4. ลิกาเมนต์เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก เท็นดอนเป็นเอ็นยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก 32. 9.จากแผนภาพแสดงถึงกล้ามเนื้อ 4 มัด ของขาคน กล้ามเนื้อคู่ใดหดตัวในเวลาเดียวกันเพื่อยกและเหยียดขา 1. A และ B 2. A และ D 3. C และ D 4. C และ B เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
  • 36. 10. กล้ามเนื้อของสัตว์ชั้นสูงและคนอาจจะแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือกล้ามเนื้อลายชนิด กล้ามเนื้อยึดกระดูก กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งโดยปกติแล้วมีการ ทางานที่ ควบคุมโดยระบบประสาทดังนี้ 1. การทางานของกล้ามเนื้อเรียบอยู่ภายใต้อานาจการควบคุมของจิตใจ 2. การทางานของกล้ามเนื้อหัวใจไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของอานาจจิตใจ 3. การทางานของกล้ามเนื้อทั้ง 3 ชนิดอยู่ภายใต้การควบคุมของอานาจจิตใจ 4. การทางานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของอานาจจิตใจ เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 33.
  • 37. ก่อนเรียน หลังเรียน 1. 3 1. 3 2. 3 2. 3 3. 2 3. 2 4. 4 4. 4 5. 4 5. 4 6. 4 6. 4 7. 1 7. 1 8. 2 8. 2 9. 1 9. 1 10.1 10.1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการเคลื่อนที่ของคน เฉลย แบบทดสอบ เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 34.
  • 38. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2545. กระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2551. กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2551. พิมพันธ์ เดชะคุปต์และคณะ. ชุดกิจกรรมพัฒนาความคิดเสริมสร้างสมรรถนะสาคัญและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน วิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 2. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จากัด, 2558. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค, 2554. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค, 2554. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. ใบงานที่ 1 เรื่อง การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตชั้นต่า. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2559. http://km.nmrtup.ac.th/files/12051811112536455_12072220203827.pdf Reece, J. B., & Campbell, N. A. Campbell biology. (11th ed.). Boston: Benjamin Cummings Pearson, 2011. บรรณานุกรม เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน 35.