SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 9
Downloaden Sie, um offline zu lesen
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๒ --
เริ่มการศึกษาในสหรัฐอเมริกา
เมื่อถึงเมืองบอสตัน ทรงเสด็จไปประทับสถานทูตสยามเมืองคลอสเตอร์เป็นเวลา ๑ เดือน ก่อนจะ
สมัคร เข้าเรียนหลักสูตรสาธารณสุข (Public Health) ในโรงเรียนสาธารณสุข (School of Health
Officer) ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีมติให้รับพระองค์เข้าเรียนในวันที่ ๒๗ กันยายน
พ.ศ. ๒๔๕๙ ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ในวันที่ ๒๐ กันยายน
พ.ศ. ๒๔๕๙ ความตอนหนึ่งว่า
"...หม่อมฉันมาถึงอะเมริกาด้วยความศุขสบายแล้ว หม่อมฉันขอให้เสดจลุงทรงช่วยอธิบายถึง
การเล่าเรียนของหม่อมฉันถวาย
สมเดจแม่ด้วย เพราะหม่อมฉันจะ
เขียนจะทูลเข้าไปก็จะอธิบายไม่ได้
ซึมทราบเหมือนเสดจลุงจะทูล
อธิบายได้เปนข้อละเอียด สมเดจ
แม่ก็คงอยากทรงทราบเป็นแน่
ในขั้นต้นนี้ พระยา
ประภาได้จัดการพูดกับพระยา
กัลยาให้จัดการ แลวันที่มาถึง
บอสตันวันแรก ก็ได้พบพระยา
กัลยาที่สถานี แลได้รับคําแนะนํา
ทันที
หม่อมฉันได้มีโทรเลข
มาถึงพระยากัลยาล่วงน่ามาแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงได้ลงมือสืบหาที่
เรียนไว้ให้เสรจได้ พระยากัลยาแนะนําให้เรียนที่ฮารวาร์ด เพราะที่นี่เขาสอนศุขาภิบาลอย่างใหม่ แลไม่
สู้จะสูงนักเหมือนยวนฮอบคินส์ ซึ่งเปนมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดสําหรับหมอ แต่ถ้าไปเรียนที่นั้นกลัวว่าจะ
แคบไป คือจะรู้แต่วิชาหมออย่างดี แต่จะไม่รู้การปกครอง เพราะฉนั้นจึงเห็นด้วยในการเข้าเรียน
โรงเรียนหมอของมหาวิทยาลัยฮารวาร์ดที่เมืองเคมบริช
ในชั้นต้นนี้ต้องเรียนวิชา Biology Physiology Chemistry Anatomy Statistics
Canalization Engineering แลวิชาสามัญต่างๆ เพื่อจะได้เข้าเรียนวิชาหมอที่โรงเรียนหมอ การเตรียม
นี้จะกินเวลาสักปีหนึ่ง เพราะในโรงเรียนหมอเขาจําเป็นที่จะต้องสอนเร็วมาก เพราะกําหนดเขามีไว้
เพียงสี่ปีเท่านั้น แต่เขาแนะนําให้เข้าทํางานในกรมศุขาภิบาลอะเมริกันอีกปีหนึ่ง รวมเปนหกปี แต่ใน
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๓ --
ระหว่างนี้เขามีการอยุดเรียนถึงปีละสี่เดือน เพราะฉะนั้นคงจะมีช่องที่จะเข้ามาเยี่ยมเมืองไทยเปนแน่
ในปลายปีที่หกหม่อมฉันคิดจะอาษาเขามาอยู่ที่เกาะฟิลิไปน์ซึ่งจะทําให้ใกล้เมืองไทยอีก
ส่วนการที่จะเรียนในโรงเรียนแพทย์เองนั้นดังนี้ การออกลูก การเลี้ยงแลประสมอาหารเด็ก
อ่อน การรักษาแลป้องกันโรคเด็ก โรคในเมืองร้อนต่างๆ ป้องกันแลห้ามโรคติดกัน การตรวจแลระวัง
รักษาอาหาร การระวังรักษาน้ําดื่มน้ําใช้ ที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยอาหาร หรือด้วยเครื่องดื่มเปนต้นว่า
Alcohol การป้องกันแลรักษา ที่ติดต่อกันชั่วคนสืบตระกูล เปนต้นว่าโรคฝีในท้อง หรือโรค Syphilis
การป้องกันแลเหตุของ Physical degeneration Hyginic Economy วิธีจัดการทําลายหรือใช้ของ
โสโครกเปนประโยชน์ การจัดการศุขาภิบาลของประเทศอะเมริกา แล Nourishment Chemistry
วิชาทุกอย่างสําคัญมาก แต่จะไม่มีเวลาที่จะเรียนได้อย่างละเอียด แต่ก็หวังอยู่บ้างว่าหากมีผู้ช่วยที่เปน
ผู้มีความรู้โดยเฉพาะในทุกทาง ก็คงจะช่วยเมืองไทยได้มาก
ตั้งแต่มาถึงเมืองอะเมริกาแล้วสบายขึ้นมาก ไม่ใช่แต่สบายกาย สบายใจด้วย เพราะคนที่นี้
เห่อมาก ที่มีเจ้านายมาเรียนที่เมืองเขา พวกหนังสือพิมพ์ก็มาขออินเตอรวิวใหญ่ แต่ยกให้เสียพอใจ
เปนนับว่าเป็นการเรียบร้อยได้ในทางนี้ ฝ่ายพวกครูที่ในมหาวิทยาลัยนั้นเลยเหนกิจของหม่อมฉันเป็น
กุศล เขาอนุโมทนาด้วยอย่างเต็มใจ แลตั้งใจจะช่วยทุกอย่าง ที่จริงในเมืองนี้ดูชอบคนไทยแลจีนมาก
แต่ไม่ชอบพวกญี่ปุ่น ยิ่งทางตะวันตกยิ่งแสดงให้เหนอย่างชัดมาก แลทางตะวันออกนี้เข้าข้างอังกฤษ
เกลียดเยอรมันทั้งนั้น
พระยากัลยาได้ช่วยอย่างแขงแรงมาก แลดูมีอํานาจมากในหมู่ครู เพราะไปขอให้จัดการ
อย่างไรดูได้หมด
การอยู่กินแพงมาก ทุกอย่างแพงกว่ากรุงเทพฯ สามเท่า แต่ก็ไม่น่าเสียดาย เพราะอยู่ไปก็
เหมือนได้วิชามากขึ้นทุกที การอยู่กันที่นี้เค่มงวดมาก ไม่มีการฉําแฉะเลย เพราะฉะนั้นมาอยู่เมืองนี้
เรียนไลฟ์ ดีที่สุด ....
ทรงพระประชวรด้วยโรคทัยฟอยด์
อย่างไรก็ตาม แค่ไม่ถึงสองสัปดาห์ถัดมาจากการเข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็ทรง
ประชวรไข้ทัยฟอยด์ ปวดพระนาภีเป็นกําลัง ทั้งยังทรงมีอาการปวดฝีที่พระชงด้านขวา ถึงขนาดต้องรับการ
ผ่าตัดที่โรงพยาบาลสติลแมน (Stillman Infirmary) ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๙ ดังปรากฏในหนังสือ
รายงานที่พระยาชนินทรภักดีส่งเข้าไปกราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวง
การต่างประเทศในวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ๓๐
ความว่า
๓๐
หลังจากที่ทรงเสด็จไปพักฟื้นพระวรกายหลังการผ่าตัดที่กรุงวอชิงตัน พระยาชนินทรภักดีได้มีหนังสือรายงานถึงพระ
อาการที่ดีขึ้นมากกราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ ๓๐
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๔ --
----------------------------------------------------------------------------------------------------
๔๘ Brattle Street
Cambridge Mass.
วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๙
ขอพระราชทานกราบทูล พระเจาบรมวงษเธอ กรมพระเทวะวงษวโรประการ ทราบใตฝาพระบาท
ตั้งแตสมเดจพระเจานองยาเธอ เจาฟากรมขุนสงขลานครินทร เสดจถึงประเทศอเมริกาแลว พระ
ยาประภากรวงษเชิญเสดจไปประทับเมืองคลอสเตอร ริมชายทะเล โดยเวลานั้นโรงเรียนยังไมถึงเวลาเปด
วันที่ ๑๓ กันยายน ถึงวันกําหนดเปดโรงเรียนฮารวาด (Harvard) วิทยาลัย จึงไดเสดจไป
ประทับยังสํานักที่จัดเตรียมไว ก็ทรงสําราญเปนปรกติตลอดมา
ครั้นวันที่ ๑๓ ตุลาคม มีเหตุไมทรงสบาย คือ เวลา ๑๑ ทุม ๓๐ นาที ตื่นบรรทมขึ้นโดยปวดพระ
นาพีเปนกําลัง แลอวกมีแตลมๆ ไมมีอะไรนอกจากเขละเหนียวๆ กับชวนอาเจียนเสมอๆ รับสั่งวาปวดที่
ทองนอยมากเปนกําลัง ทันใดนั้นจึงไปเชิญแพทย (Dr. W.S. Whittemore) มาตรวจพระอาการรักษา
ตอไป หมอวิตติมอรเหนอาการปวดมาก จึงไดฉีดยาถวายแกปวดในทันที ประมาณใน ๒๐ นาที ก็ทุเลา
ปวดแลบรรทมหลับไปไดจนถึง ๒ โมงเชา หมอไดมาตรวจพระอาการอีกก็ยังมีปวดอยูแตไมสูแรงนักพอทนได
แตยังจับไมไดวาเปนโดยเหตุใดไดถวายพระโอสถพอประทังปวดเปนพักๆ ตอมาอีก ๒ เวลา หมอวิตติมอร
จึงไดเชิญแพทยผูชํานาญ (specialist) อีกนายหนึ่งชื่อเคบอต (Dr. Hugh Cabot) มาเปน
ที่ปฤกษาชวยตรวจพระอาการ ก็ยังไมปรากฏแนวาจะเปนโดยเหตุใด จนวันที่ ๖ หมอเคบอตมาตรวจอีก
ทรงรับสั่งอาการที่ปวดวา รูสึกปวดที่ตรงกระดูกตอตนพระชงขวา กับปวดเสนตรงนาขาลงไปเชนปวดฝฤา
คลายๆ เปนฝ ในระหวาง ๖ วันหมอเคบอตมาตรวจสองครั้ง (โรคชนิดนี้เคยเปนหางๆ ไมสูชุมนัก) เมื่อ
โลหิตเดินไมไดแลวจึงทําใหปวด ถาทิ้งไวกวาจะหายนานวันมาก แมหายแลวก็จะกลับเปนอีก แลตรงที่เสน
พิการนั้น เนื้อก็เสียใชไมไดแลว ภายหลังจะบวมขึ้นฤาจะเกิดเปนฝ (abscess) ขึ้นก็เปนได และตาม
อาการที่ปวดอยูเดี๋ยวนี้ ก็แสดงวาจะตั้งตนเปนฝแลว ถาจะใหหายเรวก็ผาออกเสีย อาทิตยเดียวก็หายแลจะไม
เปนตอไปอีก
ตามพระอาการที่ประชวรนั้น ก็ปรากฏวาปวดมาก บางเวลาก็ลุกขึ้นไมได แตหากหมอถวายพระ
โอสถพอประทังอยูบาง จึงมีเวลาพักผอนได
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ซึ่งขอละไม่นํามาเสนอไว้ในที่นี้ เนื่องจากมิได้มีประเด็นสําคัญเช่น บันทึกจดหมายฉบับวันที่ ๓๐
ตุลาคม ๒๔๕๙
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๕ --
ในการที่จะผานี้หมอไดชี้แจงหารือพระยากัลยาณไมตรี แลทั้งไดกราบทูลชี้แจงทรงทราบตลอดดีแลว
รับสั่งวาพรอมแลวที่จะใหผา เพราะทนปวดมาหลายเวลาแลว ทั้งทรงพระวิตกถึงการขาดเวลาทรงเลาเรียนดวย
อยางยิ่ง จึงทําใหกระวนกระวายมาก
ขาพระพุทธเจาไดขอใหหมอสงรายงานความเหนของหมอในการประชวรครั้งนี้ ไดสอดเขามา
ทูลเกลาฯ ถวายในผนึกนี้แลว
ครั้นวันที่ ๒๒ เวลาบาย ๔ โมง หมอไดเชิญเสดจไปประทับที่สตลแมนอินเฟอรมรี (Stillman
infirmary) เปนโรงพยาบาลจําเพาะนักเรียนฮารวาดวิทยาลัย (ไมรับคนนอกที่ไมไดเปนนักเรียน)
รุงขึ้นวันที่ ๒๓ ตุลาคม เวลาเชาสามโมง หมอเคบอตพรอมดวยหมอวิตติมอร (หมอเคบอตเปนผูตัด
ผา เพราะเปนผูชํานาญการตัดผา) ตั้งแตตนลงมือจนตลอดการเยบบาดแผลเสรจ ทําสําเรจใน ๑๐ นาที
เทานั้น การไดเปนไปโดยสําเรจเรียบรอยอยางดีที่สุดทุกประการ พระยากัลยาณไมตรีไดเฝาอยูดวยตลอดเวลา
จนเสรจเรียบรอยแลว จึงไดทูลลากลับบาน
ตั้งแตวันที่ ๒๓ ถึงวันที่ ๒๙ ตุลาคม แผลที่ผาหายทรงพระดําเนินได แลหมอรับวาพนอันตรายแลว
แมแตตนมือก็ไมมีเหตุที่จะนาวิตกเลย แตเวลานี้หมอเห็นวาพึ่งทรงหายใหมๆ ยังไมมีพระกําลังพอจะทนความ
เลาเรียนได จะตั้งตนในเวลานี้ยังไมอนุญาตใหทรงกอน จึงไดหารือพระยากัลยาณไมตรีเหนพรอมกันวา ควร
เชิญเสดจไปเปลี่ยนอากาศสัก ๗ ฤา ๑๐ วันกอน พอใหบํารุงรางกายแลกําลังใหปรกติกอนแลวจึงเสดจกลับ
เขาทรงเลาเรียนตามเดิม แลหมอยังมีความเหนตอไปวา เมื่อทรงเปนไขทัยฟอยหนักมาแลวพึ่งหายเชนนี้ ยัง
ไมควรใหเลาเรียนมากนัก เพราะไขทัยฟอย กวาจะหายขาดเปนปรกติก็ตั้งป แลกําลังที่จะทําการหนักในการ
เลาเรียนนั้นอาจทําใหเสนประสาทพิกาลไปก็เปนได เพราะฉะนั้นจึงผอนไมใครบรรทุกหนักเรวนัก การที่จะ
ทรงเลาเรียนตอไปพระยากัลยาณดําริหการผอนปรนอยู
พระอาการประชวรนั้นนับไดวาทรงหายแลว มีอยูก็จะบํารุงใหทรงแขงแรงปรกติตามเดิมเทานั้น
กําหนดที่จะเชิญเสดจไปในตําบลใดตําบลหนึ่งนั้น หมอเปนผูแนะนําพรอมดวยพระยากัลยาณไมตรีแลจะได
เสดจในวันที่ ๒ เดือนพฤศจิกายนนานี้
ในการที่ทรงประชวรถึงแกตองผาตัดครั้งนี้ ซึ่งนาจะเหนวาเปนการสําคัญที่สุด แตความสามารถ
โดยมั่นใจของแพทยทั้งสองที่ไมมีความประมาทเลยเหนวาเปนของธรรมดายังไมเคยพลั้งพลาดเลย แลถาจะ
กราบทูลเขามากอนก็คงเปนเครื่องใหทรงพระวิตกเทานั้น แลหมอเคบอตผูนี้ก็มีชื่อเสียงมากวาเปนผูชํานาญการ
ตัดผา ตามพระยากัลยาณไมตรีไดทราบมา จึงตกลงเหนพรอมดวยหมอ แตที่ไมไดกราบทูลมาโดยทางโทร
เลขใหทรงทราบกอนนั้น พระอาญาไมพนเกลาฯ
ควรมิควรสุดแลวแตจะโปรดเกลาฯ
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๖ --
(ลงนาม) ขาพระพุทธเจา พระยาชนินทรภักดี
--------------------------------------------------------------
หลังจากผ่านการศึกษาด้านสาธารณสุขมาได้หนึ่งปี ก็ทรงสมัครเข้าเป็นนักศึกษาแพทย์ปีหนึ่งใน
วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๐ ดังปรากฏในบันทึกของ นายแพทย์ อี ซี คอร์ท ว่า “ในชั้นแรก ทรง
ศึกษาการชางสุขาภิบาล ที่มหาวิทยาลัยแมสสาซูเซต อินสติติวหออฟเทคโนโลยี (MIT) ตอมาจึงทรง
ศึกษาในมหาวิทยาลัยฮารวาด ในวิชาแพทย…” โดยทรงเช่าอพาร์ตเมนท์อยู่ที่เลขที่ ๑๑ ถนนสตอเร่ย์
เมืองแคมบริดจ์ มลรัฐแมสสาซูเซต โดยทรงระบุเพียงชื่อ Mr. Mahidol Songkla ซึ่งไม่แสดงฐานะตําแหน่ง
เจ้านายชั้นสูง อันแสดงให้เห็นว่าพระองค์ไม่ปรารถนาในสิทธิพิเศษใดๆ ที่เหนือไปกว่าสามัญชน โดยทรงให้
เหตุผลแก่สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงษ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศว่า "...หวังใจว่าจะไม่ผิด
แก่ความตั้งใจของเมืองสยาม ในการที่หม่อมฉันเรียกตัวว่า มิสเตอร์... จําได้ว่ากิงเอดเวอร์ด เมื่อเสด็จมาเมืองนี้ ก็
เรียกพระองค์ว่า Lord เท่านั้น..."
พระราชดําริมอบทุนการศึกษาต่างประเทศ
น้ําพระทัยที่ทรงเมตตากรุณาต่อบรรดาประชาราษฎร์ และไม่ทรงถือพระองค์ของสมเด็จพระบรม
ราชชนกนั้นปรากฏมาแต่ยังทรงพระเยาว์ ดังเคยทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนตามเสด็จบิณฑบาตสมเด็จ
เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธระหว่างทรงผนวช และเมื่อทรงมารับผิดชอบบริหารศิริราชพยาบาล ก็ทรงมุ่งที่จะ
ปรับปรุงแพทย์และโรงเรียนแพทย์ให้มีคุณภาพดี๓๑
ทรงพระราชทุนส่วนพระองค์จํานวนมากให้แก่นักเรียน
แพทย์ที่ประสงค์จะไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา๓๒
โดยในปีแรกนั้น (๒๔๖๐) มีนักเรียนทุน ๔ ท่าน เป็น
นักเรียนแพทย์ ๒ คน นักเรียนพยาบาล ๒ คน ได้แก่ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฎ (สมเด็จพระศรีนครินทราบ
รมราชชนนี) นายนิตย์ เปาเวทย์ (หลวงนิตย์เวชชวิศิษฐ์) นายลิ ศรีพยัตต์ (หลวงลิปิธรรมศรีพยัตต์) และ
นางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ (นางลิปิธรรมศรีพยัตต์) ๓๓
๓๑
ทรงเน้นเรื่องคุณภาพ และความเป็นเลิศทางวิชาการของอุดมศึกษา ไม่ทรงเห็นด้วยกับความคิดที่มีผู้เสนอว่าให้จัดการ
สอนแพทย์ระดับประกาศนียบัตร โดยให้เรียนน้อยกว่า ๔ ปี และให้รับนักเรียนมัธยมเข้าศึกษาโดยไม่ต้องผ่านการศึกษา
วิทยาศาสตร์พื้นฐานในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งยังทรงเห็นความสําคัญและความจําเป็นในการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยให้
เจริญก้าวหน้า
๓๒
ขบวนนักเรียนทุนสหรัฐอเมริกาชุดดังกล่าวมีมากถึงเกือบ ๒๐ คน เนื่องด้วยเป็นระยะเวลาของสงครามโลกครั้งที่ ๑
(พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๖๑) ไม่สะดวกที่จะส่งนักเรียนทุนไปเรียนในประเทศอังกฤษ หรือในยุโรป
๓๓
นักเรียนทุนชุดแรกนี้ เป็นนักเรียนทุนภายใต้การอุปถัมภ์ของสมเด็จพระราชมารดา สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระ
บรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เนื่องจากสมเด็จฯ พระบรมราชชนกฯ ยังคง
ศึกษาวิชาแพทย์ปีที่ ๑ อยู่ในมหาวิทยลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงประสงค์มหาดเล็กมารับใช้ และจะให้เรียน
หนังสือด้วย ทรงแจ้งพระประสงค์มายังพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ฯ จึงเป็นที่มาของทุนการศึกษาที่จัด
ให้กับนักเรียนทุนทั้ง ๔ คน นี้
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๗ --
นักเรียนทุนสหรัฐฯ ชุดแรกของพระองค์ท่านนั้นต้องใช้เวลาเดินทางข้ามน้ําข้ามทะเลนานถึง ๔๔
วัน กว่าจะถึงเมืองเบิร์คเล่ย์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยท่านเจ้าคุณชนินทร์ภักดี๓๔
ได้จัดให้นักเรียนพยาบาลทั้ง
๒ คน พักอยู่กับครอบครัวอดัมเสน (Adamsen) เพื่อจะ
ได้เรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนอิมเมอร์สันก่อนเป็นเวลา
๑ ปี มีเพียงนักเรียนแพทย์ทั้งสองเท่านั้นที่โดยสารรถไฟ
ต่อไปจนถึงเมืองบอสตัน ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกทรง
อุตส่าห์เสด็จมารับนักเรียนทั้งสองด้วยพระองค์เอง ทรง
ดูแลเอาใจใส่นักเรียนของพระองค์อย่างใกล้ชิด โปรดให้
พักร่วมในอพาร์ทเม้นท์เดียวกันกับพระองค์ ทรงแนะนํา
วิธีการดําเนินชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีของ
ต่างประเทศ ทรงกําหนดให้นักเรียนไปดูพิพิธภัณฑ์แล้ว
จะต้องกลับมารายงานถวาย ๓๕
ทรงดํารงพระชีพด้วยความพอเพียง
ความไม่ถือองค์ของสมเด็จพระบรมราชชนก นั้นเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปในหมู่ลูกศิษย์และนักเรียน
ทุน สมัยทรงประทับอยู่ในประเทศเยอรมันนั้น เมื่อมีนักเรียนใหม่มาพบมักถวายคํานับแล้วก้มลงกราบตาม
ธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยทําอยู่ในสยาม ทรงกระโดดเข้าจับตัวไม่ยอมให้กราบพร้อมตรัสว่า “เราเลิกธรรมเนียมนี้
กันเสียที” ส่วนเวลาที่ทรงเสด็จมาประทับอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะทรงจ่ายตลาดเอง ในการ
พระราชทานเลี้ยงแก่บรรดานักเรียนนั้นก็โปรดที่จะเก็บล้างทําความสะอาดภาชนะเสวยของพระองค์เอง แม้
จะมีนักเรียนหลายคนแสดงความจํานงเข้าไปรับใช้จัดทําให้ก็เพียงรับสั่งสั้นๆ ว่า “ฉันทําเอง” บางครั้ง
กระทั่งถ้วยชามที่ต่างคนต่างกินแล้วทิ้ง ก็ทรงก้มพระพักตร์เก็บล้างจนสิ้นด้วยพระองค์เอง
พระจริยาวัตรที่ได้สอนให้เห็นด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เห็นจริงนั้น ทําให้มีผู้นําไปกล่าวขานกัน
ต่อว่าพระองค์ท่านไม่โปรดคนฉลาด แต่ไม่ซื่อ และไม่โปรดผู้ที่จะเข้ามาประจบประแจงพระองค์๓๖
เวลาที่
ทรงศึกษาก็ทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เองทุกอย่าง ไม่โปรดให้ผู้ใดมาอาสากระทําแทน หากพิจารณาจากสมุด
๓๔
ผู้ปกครองนักเรียนไทยในสหรัฐฯ
๓๕
มีเรื่องเล่าในเชิงขําขันว่า สมเด็จฯ พระบรมราชชนกทรงนําหม่อมเจ้าทองทูลถวาย ทองใหญ่ นักเรียนทุนส่วนพระองค์
เที่ยวชมเมืองนิวยอร์ก เมื่อกลับมาทรงไล่ภูมิว่าได้ไปเห็นอะไรมาบ้าง หม่อมเจ้าทองทูลถวาย ทองใหญ่ ตอบไม่ได้ ทรงไล่
ให้กลับไปตามทางเดิมที่ผ่านมา แล้วกลับมาทูลเล่าให้ถูกต้อง
๓๖
ดังคําบอกเล่าของ นพ. จํารัส ศิริสัมพันธ์ นักเรียนทุนพระราชทาน ถึงคราวเข้าเฝ้ารับเสด็จในวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.
๒๔๗๑ ว่าทรงตรัสถึงเหตุผลในการเลือกนักเรียนทุนว่า “ไม่ต้องการคนฉลาด แต่ต้องการคนขยันหมั่นเพียร คนฉลาดมักขี้เกียจ
ชอบเขียนแต่คําสั่ง” และ “คนไม่ฉลาดนั่นแหล่ะดี มั่นใจได้ว่าไม่โกง”
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๘ --
ทรงงานระหว่างการเรียน (lecture) ก็จะพบว่าทรงมีลายพระหัตถ์ที่สวยงามเรียบร้อย ทรงวาด
ภาพประกอบที่ทําให้ผู้สนใจศึกษาสามารถนําไปใช้ค้นคว้าเพิ่มเติมได้
ทรงให้ความสําคัญกับการรู้จักพอประมาณ ทรงอบรมนักเรียนทุนไม่ให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ทรงเตือนสติ
ว่า "เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียน หรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฎรเขาจ้างให้ฉัน
ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สําเร็จ เพื่อจะได้กลับไปทําประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและขอให้
ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป” และได้บําเพ็ญพระองค์ให้เห็นเป็นตัวอย่าง ดัง
หลวงนิตย์เวชชวิศิษฐ์ได้เล่าไว้ว่า
“พระองค์มิได้ถือพระองค์ว่าเป็นเจ้า คงเรียกพระองค์เองว่า มิสเตอร์มหิดล สงขลา ทรงซ่อมถุงพระบาท
และชักเงารองพระบาทเอง ทรงมีรถบูอิคตอนเดียว หลังคาปิดเปิดได้ เวลาสกปรก ทรงล้างรถด้วยพระองค์เอง ทั้ง
ทรงทําอาหารเช้าด้วยพระองค์เอง เวลาเย็นเสด็จกลับจากโรงเรียนแพทย์ถึงพระตําหนัก ๑๘.๐๐ น. ทุกวัน เสด็จ
ไปเสวยที่แคเฟตตอเรีย อาหารดี ราคาไม่แพง” และที่หลวงนิตย์เวชชวิศิษฐ์จําได้สนิทใจคือประโยคคําสอนที่ว่า
“เงินที่ใช้ให้แกออกมาเรียน ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของตามา ตาสี ตาสา เขาให้ฉัน ฉันจึงมีเงินมาให้พวกแกได้
เรียน เพราะฉะนั้น จงตั้งใจเรียนเพื่อกลับไปช่วยบ้านเมือง และจงประพฤติตัวอย่าให้เสียชื่อเสียง”
ทรงไม่โปรดผู้ที่ใช้จ่ายแต่งกายเกินฐานะ ถึงขนาดว่าบรรดานักเรียนไทยที่จะไปเข้าเฝ้าต้อง
ระมัดระวัง พยายามสวมชุดเก่าๆ เพื่อให้ทรงพอพระทัย บางครั้งก็ทรงทดสอบดูเหมือนกันว่าในบรรดา
นักเรียนทุนมีใครใช้จ่ายไปในทางฟุ่มเฟือยบ้าง โดยทรงตรัสขึ้นลอยๆ ว่า “เออ วันนี้หนังโรงไหนมีเรื่องสนุกบ้าง”
หากเป็นคนหน้าใหม่ไม่รู้ความนัย ก็จะเผลอตอบออกมาว่าที่นั้นดี ที่นี้ดี ก็จะทรงจับได้ ทรงกระทําทุกวิถี
เพื่อให้นักเรียนทุนได้ตระหนักถึงคุณค่าของเงินทุนพระราชทาน ด้วยทรงพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ
หากผู้ใดมีผู้ปกครองยังพอช่วยเหลือได้ก็จะประทานให้เพียงครึ่งเดียว ทรงเอาใจใส่ดูแลนักเรียนทุนอย่าง
ใกล้ชิด วางแผนการศึกษาให้กับนักเรียนทุนที่ทรงรับผิดชอบอย่างละเอียดเป็นรายคนไป
พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์นั้นมิได้มีแต่กับคน
ไทยเท่านั้น ทรงเผื่อแผ่ไปถึงชาวต่างชาติอย่างเช่น Mr.
Francisco Vella พระสหายชาวเม็กซิกันซึ่งเกิดขาดเงิน
ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ก็ทรงพระราชทานเงินให้เดือนละ ๑๐๐
เหรียญ จนกระทั่งสําเร็จการศึกษา น้ําพระทัยเมตตาที่มีต่อ
มนุษย์โดยทั่วไปนั้นเป็นผลมาจากการที่ทรงประหยัดกระเหม็ด
กระแหม่กับการใช้จ่ายส่วนพระองค์เองเป็นอย่างมาก แม้ถุง
พระบาทขาดก็ทรงปะชุนเอง ทรงซักเสื้อผ้าด้วยพระองค์เอง
ทรงล้างทําความสะอาดรถยนต์บูอิคส่วนพระองค์ด้วยตนเอง โดย
เรื่องความประหยัดมัธยัสถ์ของพระองค์นั้นเป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไป แม้ในบันทึกของพระองค์เจ้าจุลจักร
พงษ์ผู้ทรงเกือบจะได้เสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๘ ของไทยก็ยังมีบันทึกไว้ว่า
“.......ยอมเปนที่ทราบกันอยูโดยมากแลว วาทูลหมอมอาแดงนั้นทรงเปนเจาฟาที่ร่ํารวยมั่งงคั่งมาก
ที่สุดพระองคหนึ่งในบรรดาเจาฟาดวยกัน แตทานทรงระมัดระวังกระเหม็ดกระแหมเปนที่สุดในการใชจาย
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๙ --
แทนที่จะเสด็จไปประทับโฮเต็ลชั้นเอก กลับประทับโฮเต็ลชั้นซอมซอที่สุดใกลๆ สถานทูต อันเปนทําเลที่ไม
หรูหราเสียเลยในกรุงลอนดอน การที่ทรงกระเหม็ดกระแหมเชนนั้นคือความเขาใจผิดในระหวางคนที่ไมรูจัก
ทานดี ไปคิดเสียวาทานเปนคนเหนียวจัด แตหาเปนเชนนั้นไม ทานตองการจะเก็บรายไดของทานไวเปน
สวนมากเพื่อทําการกุศลอยางมากมาย........”
การดํารงพระชนมชีพในสหรัฐอเมริกาของสมเด็จฯ พระบรมราชชนกเปรียบประหนึ่งร่มโพธิ์ใหญ่
ให้ร่มเงาแก่บรรดาสรรพชีวิตที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
เพราะนอกจากจะทรงเป็นธุระดูแลนักเรียนทุนส่วน
พระองค์แล้ว พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านยัง
เผื่อแผ่ไปยังนักเรียนทุนรัฐบาลจากกระทรวงต่างๆ
ตลอดจนกระทั่งบรรดานักเรียนทุนส่วนตัวที่บรรดา
ผู้ปกครองได้ฝากฝังไว้จํานวนประมาณ ๕๐ คน ซึ่งส่วน
ใหญ่มักจะไปเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย และเลือกศึกษาอยู่
ทางฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐฯ แถบบอสตัน
นิวยอร์ก ฟิลาเดลเฟีย และกรุงวอชิงตัน ฯลฯ ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศที่หนาวเย็น วัฒนธรรมและประเพณี
ของคนอเมริกัน ให้ผ่อนคลายจากความอ้างว้างที่ต้องห่างเหินจากบุพการีมายังถิ่นซึ่งมีวัฒนธรรมอันแตกต่าง
ไปจากเมืองไทยอย่างสิ้นเชิง๓๗
ทรงให้การอุปถัมภ์แม้กระทั่งการวางแผนการศึกษา ออกจดหมายรับรอง และแนะนําการเลือก
โรงเรียน มหาวิทยาลัย ให้แก่บรรดานักเรียนสยามเหล่านั้น อาทิเช่นลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ พระบรมราช
ชนก ลงวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๒ ถึงพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ (สุข เลขยานนท์) ๓๘
แสดงพระวินิจฉัย
๓๗
พจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ ๙ เล่าไว้ในหนังสือ “สารสินสวามิภักดิ์” ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับตระกูลสารสินของ
ตนว่าว่า คราวหนึ่ง สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงพานักเรียนไทยไปรับประทานอาหารมีชื่อในเคมบริดจ์ ทรงสั่งอาหารฝรั่ง
ที่เรียกว่า “Pressed duck” มาให้รับประทาน ... ตนเองคอยอยู่นานไม่เห็นมีเป็ดมาเสิร์ฟจึงพูดขึ้นกลางโต๊ะอาหารว่า “ไม่
เห็นมีเป็ดที่สั่งมาเลย” สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงพระสรวลและรับสั่งว่า “ก็ไอ้ที่แกกินหมดไปแล้วเมื่อตะกี้นี้ไง เขา
เรียกว่า pressed duck” ทําให้เด็กนักเรียนไทยที่ตามเสด็จฯ มีความรู้เรื่องอาหารฝรั่งที่ทําจากเป็ดอีกชนิดหนึ่ง ที่แตกต่างไป
จากเป็ดย่าง หรือเป็ดอบ
๓๘
สุข เลขยานนท์ (เดิมเข้าใจว่าจะใช้วิธีการสะกดชื่อว่า”สุด” ดังปรากฏในลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ พระบรมราชชนก)
กําลังศึกษาวิชากฎหมายอยู่ที่มหาวิทยาลัย Grinnel รัฐไอโอวา ในขณะนั้น เป็นญาติสนิทของพระยาสารสินสามิภักดิ์ซึ่ง
เดิมเคยเป็นที่คาดหมายของพระยาสารสินฯ ว่าจะให้ช่วยดูแลลูกชาย คือนายพจน์ สารสิน ระหว่างที่กําลังศึกษาอยู่ใน
สหรัฐอเมริกา ต่อมานายสุข เลขยานนท์ ได้รับราชการจนกระทั่งได้ราชทินนาม พระสุทธิอรรถนฤมนตร์ ดํารงตําแหน่ง
อธิบดีศาลแพ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๙
รัฐบาลคณะราษฎร์ฯ ได้ยื่นฟ้อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี ให้ชดใช้เงิน
จํานวนกว่า ๖ ล้านบาทให้แก่กระทรวงการคลัง โดยพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ อธิบดีศาลแพ่งขณะนั้นมีคําสั่งว่า “ไม่
อนุญาต” จึงถูกสั่งย้ายไปดํารงตําแหน่งในศาลฎีกา ก่อนจะถูกให้ออกจากราชการไม่กี่เดือนถัดมา จนกระทั่งสามารถกลับ
เข้ารับราชการได้อีกครั้งในอีก ๔ ปีถัดมา ในยุคสมัยของรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ และต่อมาได้เข้าดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีใน
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๓๐ --
เกี่ยวกับการเลือกสถานที่เรียนของนายพจน์ สารสิน บุตรชายของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (นายแพทย์
เทียนฮี้ สารสิน) ไว้ดังนี้
“...ดวยบัดนี้ นายพจน สารสิน มาถึงแลวและสบายดี เวลานี้อยูที่เคมบริดจ ฉันไมทราบวาจะ
จัดการอยางไร และไดยินวานายสุดเปนผูดูแล เพราะฉะนั้นจึงขอรายงานเรื่องเลานี้ นายพจน สารสิน
อายุ ๑๓ ป ตัวเล็กมาก แตแข็งแรง ตัวเขาเองอยากจะไป Military Academy เวลานี้อยูประมาณ
VII Grade มีเงินอยูที่ฉัน ๑,๐๐๐ เหรียญ และยังจะมีเติมอีกเพราะเงินคาเดินทางยังอยูที่อาจารยแพรงลิ
ปอีกบาง เพราะฉะนั้นสําหรับปนี้คงจะมีประมาณ ๑,๒๐๐ เหรียญ ฉันมีความเห็นวา ควรจะหาโรงเรียนให
เสียเร็วๆ จะไดไมเสียเวลามากตอไป
....แตเปนปญหาวาจะใหอยูที่ไหน ตามที่เขาใจกันวาเขาอยากใหอยูใกลนายสุด แตตัวนายพจน
เองนั้นวาอยูที่ไหนก็ได ถานายสุดจะอยู Grinnel นานตอไปแลว ก็ควรใหออกไปอยูทาง West
โรงเรียนทหารทาง South และ West ดีกวาทางนี้ ฉะนั้นก็เปน consideration อันหนึ่ง แต
อยางไรก็ดี ถานายสุดมีความเห็นอยางไร ก็ขอใหบอกมา คือ
๑. จะใหเขาโรงเรียนไหน
๒. นายสุดจะรับดูแลการเงินเองหรือจะใหใครดู นายพจนยังเปนเด็กนัก
๓. ใครจะเปนผูจัดการเรียนและรับผิดชอบ เด็จทัดเปน guardian คงจะตองเปนคนเดียวกับผู
เก็บเงิน
ระหวางนี้ ฉันก็จะใหนายพจนอยูที่นี่กอน เพราะเขาดูแลตัวเองไดเรียบรอย เงินเวลานี้อยูที่ฉัน แต
ฉันไมไดจัดการ banking เลย เพราะไมทราบวาจะตกลงกันอยางไร ฉันจะ advance credit
ของฉันไปกอนจนกวาจะแตกเงินของเขาไดเอง”
ยุคของรัฐบาล มรว. เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ และดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
ต่างประเทศในยุคของรัฐบาล นายควง อภัยวงศ์ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙

Weitere ähnliche Inhalte

Andere mochten auch

03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน
03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน
03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน
สุรพล ศรีบุญทรง
 
05 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับศิริราชไว้ในอุปถัมป์
05 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับศิริราชไว้ในอุปถัมป์05 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับศิริราชไว้ในอุปถัมป์
05 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับศิริราชไว้ในอุปถัมป์
สุรพล ศรีบุญทรง
 
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
สุรพล ศรีบุญทรง
 
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
สุรพล ศรีบุญทรง
 
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล
สุรพล ศรีบุญทรง
 
19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม
19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม
19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม
สุรพล ศรีบุญทรง
 
18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย
18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย
18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย
สุรพล ศรีบุญทรง
 
22 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงประชวรในครั้งอวสาน
22 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงประชวรในครั้งอวสาน22 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงประชวรในครั้งอวสาน
22 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงประชวรในครั้งอวสาน
สุรพล ศรีบุญทรง
 
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ
สุรพล ศรีบุญทรง
 

Andere mochten auch (13)

03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน
03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน
03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน
 
05 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับศิริราชไว้ในอุปถัมป์
05 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับศิริราชไว้ในอุปถัมป์05 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับศิริราชไว้ในอุปถัมป์
05 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับศิริราชไว้ในอุปถัมป์
 
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
 
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
 
12 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย
12 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย12 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย
12 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงรับตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย
 
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล
 
19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม
19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม
19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม
 
18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย
18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย
18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย
 
11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯ
11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯ11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯ
11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯ
 
16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...
16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...
16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...
 
22 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงประชวรในครั้งอวสาน
22 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงประชวรในครั้งอวสาน22 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงประชวรในครั้งอวสาน
22 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงประชวรในครั้งอวสาน
 
บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก  บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ
 

Mehr von สุรพล ศรีบุญทรง

แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
สุรพล ศรีบุญทรง
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สุรพล ศรีบุญทรง
 

Mehr von สุรพล ศรีบุญทรง (20)

แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
 

06 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาที่ harvard

  • 1. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๒ -- เริ่มการศึกษาในสหรัฐอเมริกา เมื่อถึงเมืองบอสตัน ทรงเสด็จไปประทับสถานทูตสยามเมืองคลอสเตอร์เป็นเวลา ๑ เดือน ก่อนจะ สมัคร เข้าเรียนหลักสูตรสาธารณสุข (Public Health) ในโรงเรียนสาธารณสุข (School of Health Officer) ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีมติให้รับพระองค์เข้าเรียนในวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ในวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ความตอนหนึ่งว่า "...หม่อมฉันมาถึงอะเมริกาด้วยความศุขสบายแล้ว หม่อมฉันขอให้เสดจลุงทรงช่วยอธิบายถึง การเล่าเรียนของหม่อมฉันถวาย สมเดจแม่ด้วย เพราะหม่อมฉันจะ เขียนจะทูลเข้าไปก็จะอธิบายไม่ได้ ซึมทราบเหมือนเสดจลุงจะทูล อธิบายได้เปนข้อละเอียด สมเดจ แม่ก็คงอยากทรงทราบเป็นแน่ ในขั้นต้นนี้ พระยา ประภาได้จัดการพูดกับพระยา กัลยาให้จัดการ แลวันที่มาถึง บอสตันวันแรก ก็ได้พบพระยา กัลยาที่สถานี แลได้รับคําแนะนํา ทันที หม่อมฉันได้มีโทรเลข มาถึงพระยากัลยาล่วงน่ามาแล้ว เพราะฉะนั้นจึงได้ลงมือสืบหาที่ เรียนไว้ให้เสรจได้ พระยากัลยาแนะนําให้เรียนที่ฮารวาร์ด เพราะที่นี่เขาสอนศุขาภิบาลอย่างใหม่ แลไม่ สู้จะสูงนักเหมือนยวนฮอบคินส์ ซึ่งเปนมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดสําหรับหมอ แต่ถ้าไปเรียนที่นั้นกลัวว่าจะ แคบไป คือจะรู้แต่วิชาหมออย่างดี แต่จะไม่รู้การปกครอง เพราะฉนั้นจึงเห็นด้วยในการเข้าเรียน โรงเรียนหมอของมหาวิทยาลัยฮารวาร์ดที่เมืองเคมบริช ในชั้นต้นนี้ต้องเรียนวิชา Biology Physiology Chemistry Anatomy Statistics Canalization Engineering แลวิชาสามัญต่างๆ เพื่อจะได้เข้าเรียนวิชาหมอที่โรงเรียนหมอ การเตรียม นี้จะกินเวลาสักปีหนึ่ง เพราะในโรงเรียนหมอเขาจําเป็นที่จะต้องสอนเร็วมาก เพราะกําหนดเขามีไว้ เพียงสี่ปีเท่านั้น แต่เขาแนะนําให้เข้าทํางานในกรมศุขาภิบาลอะเมริกันอีกปีหนึ่ง รวมเปนหกปี แต่ใน
  • 2. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๓ -- ระหว่างนี้เขามีการอยุดเรียนถึงปีละสี่เดือน เพราะฉะนั้นคงจะมีช่องที่จะเข้ามาเยี่ยมเมืองไทยเปนแน่ ในปลายปีที่หกหม่อมฉันคิดจะอาษาเขามาอยู่ที่เกาะฟิลิไปน์ซึ่งจะทําให้ใกล้เมืองไทยอีก ส่วนการที่จะเรียนในโรงเรียนแพทย์เองนั้นดังนี้ การออกลูก การเลี้ยงแลประสมอาหารเด็ก อ่อน การรักษาแลป้องกันโรคเด็ก โรคในเมืองร้อนต่างๆ ป้องกันแลห้ามโรคติดกัน การตรวจแลระวัง รักษาอาหาร การระวังรักษาน้ําดื่มน้ําใช้ ที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยอาหาร หรือด้วยเครื่องดื่มเปนต้นว่า Alcohol การป้องกันแลรักษา ที่ติดต่อกันชั่วคนสืบตระกูล เปนต้นว่าโรคฝีในท้อง หรือโรค Syphilis การป้องกันแลเหตุของ Physical degeneration Hyginic Economy วิธีจัดการทําลายหรือใช้ของ โสโครกเปนประโยชน์ การจัดการศุขาภิบาลของประเทศอะเมริกา แล Nourishment Chemistry วิชาทุกอย่างสําคัญมาก แต่จะไม่มีเวลาที่จะเรียนได้อย่างละเอียด แต่ก็หวังอยู่บ้างว่าหากมีผู้ช่วยที่เปน ผู้มีความรู้โดยเฉพาะในทุกทาง ก็คงจะช่วยเมืองไทยได้มาก ตั้งแต่มาถึงเมืองอะเมริกาแล้วสบายขึ้นมาก ไม่ใช่แต่สบายกาย สบายใจด้วย เพราะคนที่นี้ เห่อมาก ที่มีเจ้านายมาเรียนที่เมืองเขา พวกหนังสือพิมพ์ก็มาขออินเตอรวิวใหญ่ แต่ยกให้เสียพอใจ เปนนับว่าเป็นการเรียบร้อยได้ในทางนี้ ฝ่ายพวกครูที่ในมหาวิทยาลัยนั้นเลยเหนกิจของหม่อมฉันเป็น กุศล เขาอนุโมทนาด้วยอย่างเต็มใจ แลตั้งใจจะช่วยทุกอย่าง ที่จริงในเมืองนี้ดูชอบคนไทยแลจีนมาก แต่ไม่ชอบพวกญี่ปุ่น ยิ่งทางตะวันตกยิ่งแสดงให้เหนอย่างชัดมาก แลทางตะวันออกนี้เข้าข้างอังกฤษ เกลียดเยอรมันทั้งนั้น พระยากัลยาได้ช่วยอย่างแขงแรงมาก แลดูมีอํานาจมากในหมู่ครู เพราะไปขอให้จัดการ อย่างไรดูได้หมด การอยู่กินแพงมาก ทุกอย่างแพงกว่ากรุงเทพฯ สามเท่า แต่ก็ไม่น่าเสียดาย เพราะอยู่ไปก็ เหมือนได้วิชามากขึ้นทุกที การอยู่กันที่นี้เค่มงวดมาก ไม่มีการฉําแฉะเลย เพราะฉะนั้นมาอยู่เมืองนี้ เรียนไลฟ์ ดีที่สุด .... ทรงพระประชวรด้วยโรคทัยฟอยด์ อย่างไรก็ตาม แค่ไม่ถึงสองสัปดาห์ถัดมาจากการเข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็ทรง ประชวรไข้ทัยฟอยด์ ปวดพระนาภีเป็นกําลัง ทั้งยังทรงมีอาการปวดฝีที่พระชงด้านขวา ถึงขนาดต้องรับการ ผ่าตัดที่โรงพยาบาลสติลแมน (Stillman Infirmary) ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๙ ดังปรากฏในหนังสือ รายงานที่พระยาชนินทรภักดีส่งเข้าไปกราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวง การต่างประเทศในวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ๓๐ ความว่า ๓๐ หลังจากที่ทรงเสด็จไปพักฟื้นพระวรกายหลังการผ่าตัดที่กรุงวอชิงตัน พระยาชนินทรภักดีได้มีหนังสือรายงานถึงพระ อาการที่ดีขึ้นมากกราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ ๓๐
  • 3. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๔ -- ---------------------------------------------------------------------------------------------------- ๔๘ Brattle Street Cambridge Mass. วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ขอพระราชทานกราบทูล พระเจาบรมวงษเธอ กรมพระเทวะวงษวโรประการ ทราบใตฝาพระบาท ตั้งแตสมเดจพระเจานองยาเธอ เจาฟากรมขุนสงขลานครินทร เสดจถึงประเทศอเมริกาแลว พระ ยาประภากรวงษเชิญเสดจไปประทับเมืองคลอสเตอร ริมชายทะเล โดยเวลานั้นโรงเรียนยังไมถึงเวลาเปด วันที่ ๑๓ กันยายน ถึงวันกําหนดเปดโรงเรียนฮารวาด (Harvard) วิทยาลัย จึงไดเสดจไป ประทับยังสํานักที่จัดเตรียมไว ก็ทรงสําราญเปนปรกติตลอดมา ครั้นวันที่ ๑๓ ตุลาคม มีเหตุไมทรงสบาย คือ เวลา ๑๑ ทุม ๓๐ นาที ตื่นบรรทมขึ้นโดยปวดพระ นาพีเปนกําลัง แลอวกมีแตลมๆ ไมมีอะไรนอกจากเขละเหนียวๆ กับชวนอาเจียนเสมอๆ รับสั่งวาปวดที่ ทองนอยมากเปนกําลัง ทันใดนั้นจึงไปเชิญแพทย (Dr. W.S. Whittemore) มาตรวจพระอาการรักษา ตอไป หมอวิตติมอรเหนอาการปวดมาก จึงไดฉีดยาถวายแกปวดในทันที ประมาณใน ๒๐ นาที ก็ทุเลา ปวดแลบรรทมหลับไปไดจนถึง ๒ โมงเชา หมอไดมาตรวจพระอาการอีกก็ยังมีปวดอยูแตไมสูแรงนักพอทนได แตยังจับไมไดวาเปนโดยเหตุใดไดถวายพระโอสถพอประทังปวดเปนพักๆ ตอมาอีก ๒ เวลา หมอวิตติมอร จึงไดเชิญแพทยผูชํานาญ (specialist) อีกนายหนึ่งชื่อเคบอต (Dr. Hugh Cabot) มาเปน ที่ปฤกษาชวยตรวจพระอาการ ก็ยังไมปรากฏแนวาจะเปนโดยเหตุใด จนวันที่ ๖ หมอเคบอตมาตรวจอีก ทรงรับสั่งอาการที่ปวดวา รูสึกปวดที่ตรงกระดูกตอตนพระชงขวา กับปวดเสนตรงนาขาลงไปเชนปวดฝฤา คลายๆ เปนฝ ในระหวาง ๖ วันหมอเคบอตมาตรวจสองครั้ง (โรคชนิดนี้เคยเปนหางๆ ไมสูชุมนัก) เมื่อ โลหิตเดินไมไดแลวจึงทําใหปวด ถาทิ้งไวกวาจะหายนานวันมาก แมหายแลวก็จะกลับเปนอีก แลตรงที่เสน พิการนั้น เนื้อก็เสียใชไมไดแลว ภายหลังจะบวมขึ้นฤาจะเกิดเปนฝ (abscess) ขึ้นก็เปนได และตาม อาการที่ปวดอยูเดี๋ยวนี้ ก็แสดงวาจะตั้งตนเปนฝแลว ถาจะใหหายเรวก็ผาออกเสีย อาทิตยเดียวก็หายแลจะไม เปนตอไปอีก ตามพระอาการที่ประชวรนั้น ก็ปรากฏวาปวดมาก บางเวลาก็ลุกขึ้นไมได แตหากหมอถวายพระ โอสถพอประทังอยูบาง จึงมีเวลาพักผอนได พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ซึ่งขอละไม่นํามาเสนอไว้ในที่นี้ เนื่องจากมิได้มีประเด็นสําคัญเช่น บันทึกจดหมายฉบับวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๔๕๙
  • 4. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๕ -- ในการที่จะผานี้หมอไดชี้แจงหารือพระยากัลยาณไมตรี แลทั้งไดกราบทูลชี้แจงทรงทราบตลอดดีแลว รับสั่งวาพรอมแลวที่จะใหผา เพราะทนปวดมาหลายเวลาแลว ทั้งทรงพระวิตกถึงการขาดเวลาทรงเลาเรียนดวย อยางยิ่ง จึงทําใหกระวนกระวายมาก ขาพระพุทธเจาไดขอใหหมอสงรายงานความเหนของหมอในการประชวรครั้งนี้ ไดสอดเขามา ทูลเกลาฯ ถวายในผนึกนี้แลว ครั้นวันที่ ๒๒ เวลาบาย ๔ โมง หมอไดเชิญเสดจไปประทับที่สตลแมนอินเฟอรมรี (Stillman infirmary) เปนโรงพยาบาลจําเพาะนักเรียนฮารวาดวิทยาลัย (ไมรับคนนอกที่ไมไดเปนนักเรียน) รุงขึ้นวันที่ ๒๓ ตุลาคม เวลาเชาสามโมง หมอเคบอตพรอมดวยหมอวิตติมอร (หมอเคบอตเปนผูตัด ผา เพราะเปนผูชํานาญการตัดผา) ตั้งแตตนลงมือจนตลอดการเยบบาดแผลเสรจ ทําสําเรจใน ๑๐ นาที เทานั้น การไดเปนไปโดยสําเรจเรียบรอยอยางดีที่สุดทุกประการ พระยากัลยาณไมตรีไดเฝาอยูดวยตลอดเวลา จนเสรจเรียบรอยแลว จึงไดทูลลากลับบาน ตั้งแตวันที่ ๒๓ ถึงวันที่ ๒๙ ตุลาคม แผลที่ผาหายทรงพระดําเนินได แลหมอรับวาพนอันตรายแลว แมแตตนมือก็ไมมีเหตุที่จะนาวิตกเลย แตเวลานี้หมอเห็นวาพึ่งทรงหายใหมๆ ยังไมมีพระกําลังพอจะทนความ เลาเรียนได จะตั้งตนในเวลานี้ยังไมอนุญาตใหทรงกอน จึงไดหารือพระยากัลยาณไมตรีเหนพรอมกันวา ควร เชิญเสดจไปเปลี่ยนอากาศสัก ๗ ฤา ๑๐ วันกอน พอใหบํารุงรางกายแลกําลังใหปรกติกอนแลวจึงเสดจกลับ เขาทรงเลาเรียนตามเดิม แลหมอยังมีความเหนตอไปวา เมื่อทรงเปนไขทัยฟอยหนักมาแลวพึ่งหายเชนนี้ ยัง ไมควรใหเลาเรียนมากนัก เพราะไขทัยฟอย กวาจะหายขาดเปนปรกติก็ตั้งป แลกําลังที่จะทําการหนักในการ เลาเรียนนั้นอาจทําใหเสนประสาทพิกาลไปก็เปนได เพราะฉะนั้นจึงผอนไมใครบรรทุกหนักเรวนัก การที่จะ ทรงเลาเรียนตอไปพระยากัลยาณดําริหการผอนปรนอยู พระอาการประชวรนั้นนับไดวาทรงหายแลว มีอยูก็จะบํารุงใหทรงแขงแรงปรกติตามเดิมเทานั้น กําหนดที่จะเชิญเสดจไปในตําบลใดตําบลหนึ่งนั้น หมอเปนผูแนะนําพรอมดวยพระยากัลยาณไมตรีแลจะได เสดจในวันที่ ๒ เดือนพฤศจิกายนนานี้ ในการที่ทรงประชวรถึงแกตองผาตัดครั้งนี้ ซึ่งนาจะเหนวาเปนการสําคัญที่สุด แตความสามารถ โดยมั่นใจของแพทยทั้งสองที่ไมมีความประมาทเลยเหนวาเปนของธรรมดายังไมเคยพลั้งพลาดเลย แลถาจะ กราบทูลเขามากอนก็คงเปนเครื่องใหทรงพระวิตกเทานั้น แลหมอเคบอตผูนี้ก็มีชื่อเสียงมากวาเปนผูชํานาญการ ตัดผา ตามพระยากัลยาณไมตรีไดทราบมา จึงตกลงเหนพรอมดวยหมอ แตที่ไมไดกราบทูลมาโดยทางโทร เลขใหทรงทราบกอนนั้น พระอาญาไมพนเกลาฯ ควรมิควรสุดแลวแตจะโปรดเกลาฯ
  • 5. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๖ -- (ลงนาม) ขาพระพุทธเจา พระยาชนินทรภักดี -------------------------------------------------------------- หลังจากผ่านการศึกษาด้านสาธารณสุขมาได้หนึ่งปี ก็ทรงสมัครเข้าเป็นนักศึกษาแพทย์ปีหนึ่งใน วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๐ ดังปรากฏในบันทึกของ นายแพทย์ อี ซี คอร์ท ว่า “ในชั้นแรก ทรง ศึกษาการชางสุขาภิบาล ที่มหาวิทยาลัยแมสสาซูเซต อินสติติวหออฟเทคโนโลยี (MIT) ตอมาจึงทรง ศึกษาในมหาวิทยาลัยฮารวาด ในวิชาแพทย…” โดยทรงเช่าอพาร์ตเมนท์อยู่ที่เลขที่ ๑๑ ถนนสตอเร่ย์ เมืองแคมบริดจ์ มลรัฐแมสสาซูเซต โดยทรงระบุเพียงชื่อ Mr. Mahidol Songkla ซึ่งไม่แสดงฐานะตําแหน่ง เจ้านายชั้นสูง อันแสดงให้เห็นว่าพระองค์ไม่ปรารถนาในสิทธิพิเศษใดๆ ที่เหนือไปกว่าสามัญชน โดยทรงให้ เหตุผลแก่สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงษ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศว่า "...หวังใจว่าจะไม่ผิด แก่ความตั้งใจของเมืองสยาม ในการที่หม่อมฉันเรียกตัวว่า มิสเตอร์... จําได้ว่ากิงเอดเวอร์ด เมื่อเสด็จมาเมืองนี้ ก็ เรียกพระองค์ว่า Lord เท่านั้น..." พระราชดําริมอบทุนการศึกษาต่างประเทศ น้ําพระทัยที่ทรงเมตตากรุณาต่อบรรดาประชาราษฎร์ และไม่ทรงถือพระองค์ของสมเด็จพระบรม ราชชนกนั้นปรากฏมาแต่ยังทรงพระเยาว์ ดังเคยทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนตามเสด็จบิณฑบาตสมเด็จ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธระหว่างทรงผนวช และเมื่อทรงมารับผิดชอบบริหารศิริราชพยาบาล ก็ทรงมุ่งที่จะ ปรับปรุงแพทย์และโรงเรียนแพทย์ให้มีคุณภาพดี๓๑ ทรงพระราชทุนส่วนพระองค์จํานวนมากให้แก่นักเรียน แพทย์ที่ประสงค์จะไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา๓๒ โดยในปีแรกนั้น (๒๔๖๐) มีนักเรียนทุน ๔ ท่าน เป็น นักเรียนแพทย์ ๒ คน นักเรียนพยาบาล ๒ คน ได้แก่ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฎ (สมเด็จพระศรีนครินทราบ รมราชชนนี) นายนิตย์ เปาเวทย์ (หลวงนิตย์เวชชวิศิษฐ์) นายลิ ศรีพยัตต์ (หลวงลิปิธรรมศรีพยัตต์) และ นางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ (นางลิปิธรรมศรีพยัตต์) ๓๓ ๓๑ ทรงเน้นเรื่องคุณภาพ และความเป็นเลิศทางวิชาการของอุดมศึกษา ไม่ทรงเห็นด้วยกับความคิดที่มีผู้เสนอว่าให้จัดการ สอนแพทย์ระดับประกาศนียบัตร โดยให้เรียนน้อยกว่า ๔ ปี และให้รับนักเรียนมัธยมเข้าศึกษาโดยไม่ต้องผ่านการศึกษา วิทยาศาสตร์พื้นฐานในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งยังทรงเห็นความสําคัญและความจําเป็นในการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยให้ เจริญก้าวหน้า ๓๒ ขบวนนักเรียนทุนสหรัฐอเมริกาชุดดังกล่าวมีมากถึงเกือบ ๒๐ คน เนื่องด้วยเป็นระยะเวลาของสงครามโลกครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๖๑) ไม่สะดวกที่จะส่งนักเรียนทุนไปเรียนในประเทศอังกฤษ หรือในยุโรป ๓๓ นักเรียนทุนชุดแรกนี้ เป็นนักเรียนทุนภายใต้การอุปถัมภ์ของสมเด็จพระราชมารดา สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระ บรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เนื่องจากสมเด็จฯ พระบรมราชชนกฯ ยังคง ศึกษาวิชาแพทย์ปีที่ ๑ อยู่ในมหาวิทยลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงประสงค์มหาดเล็กมารับใช้ และจะให้เรียน หนังสือด้วย ทรงแจ้งพระประสงค์มายังพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ฯ จึงเป็นที่มาของทุนการศึกษาที่จัด ให้กับนักเรียนทุนทั้ง ๔ คน นี้
  • 6. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๗ -- นักเรียนทุนสหรัฐฯ ชุดแรกของพระองค์ท่านนั้นต้องใช้เวลาเดินทางข้ามน้ําข้ามทะเลนานถึง ๔๔ วัน กว่าจะถึงเมืองเบิร์คเล่ย์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยท่านเจ้าคุณชนินทร์ภักดี๓๔ ได้จัดให้นักเรียนพยาบาลทั้ง ๒ คน พักอยู่กับครอบครัวอดัมเสน (Adamsen) เพื่อจะ ได้เรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนอิมเมอร์สันก่อนเป็นเวลา ๑ ปี มีเพียงนักเรียนแพทย์ทั้งสองเท่านั้นที่โดยสารรถไฟ ต่อไปจนถึงเมืองบอสตัน ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกทรง อุตส่าห์เสด็จมารับนักเรียนทั้งสองด้วยพระองค์เอง ทรง ดูแลเอาใจใส่นักเรียนของพระองค์อย่างใกล้ชิด โปรดให้ พักร่วมในอพาร์ทเม้นท์เดียวกันกับพระองค์ ทรงแนะนํา วิธีการดําเนินชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีของ ต่างประเทศ ทรงกําหนดให้นักเรียนไปดูพิพิธภัณฑ์แล้ว จะต้องกลับมารายงานถวาย ๓๕ ทรงดํารงพระชีพด้วยความพอเพียง ความไม่ถือองค์ของสมเด็จพระบรมราชชนก นั้นเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปในหมู่ลูกศิษย์และนักเรียน ทุน สมัยทรงประทับอยู่ในประเทศเยอรมันนั้น เมื่อมีนักเรียนใหม่มาพบมักถวายคํานับแล้วก้มลงกราบตาม ธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยทําอยู่ในสยาม ทรงกระโดดเข้าจับตัวไม่ยอมให้กราบพร้อมตรัสว่า “เราเลิกธรรมเนียมนี้ กันเสียที” ส่วนเวลาที่ทรงเสด็จมาประทับอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะทรงจ่ายตลาดเอง ในการ พระราชทานเลี้ยงแก่บรรดานักเรียนนั้นก็โปรดที่จะเก็บล้างทําความสะอาดภาชนะเสวยของพระองค์เอง แม้ จะมีนักเรียนหลายคนแสดงความจํานงเข้าไปรับใช้จัดทําให้ก็เพียงรับสั่งสั้นๆ ว่า “ฉันทําเอง” บางครั้ง กระทั่งถ้วยชามที่ต่างคนต่างกินแล้วทิ้ง ก็ทรงก้มพระพักตร์เก็บล้างจนสิ้นด้วยพระองค์เอง พระจริยาวัตรที่ได้สอนให้เห็นด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เห็นจริงนั้น ทําให้มีผู้นําไปกล่าวขานกัน ต่อว่าพระองค์ท่านไม่โปรดคนฉลาด แต่ไม่ซื่อ และไม่โปรดผู้ที่จะเข้ามาประจบประแจงพระองค์๓๖ เวลาที่ ทรงศึกษาก็ทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เองทุกอย่าง ไม่โปรดให้ผู้ใดมาอาสากระทําแทน หากพิจารณาจากสมุด ๓๔ ผู้ปกครองนักเรียนไทยในสหรัฐฯ ๓๕ มีเรื่องเล่าในเชิงขําขันว่า สมเด็จฯ พระบรมราชชนกทรงนําหม่อมเจ้าทองทูลถวาย ทองใหญ่ นักเรียนทุนส่วนพระองค์ เที่ยวชมเมืองนิวยอร์ก เมื่อกลับมาทรงไล่ภูมิว่าได้ไปเห็นอะไรมาบ้าง หม่อมเจ้าทองทูลถวาย ทองใหญ่ ตอบไม่ได้ ทรงไล่ ให้กลับไปตามทางเดิมที่ผ่านมา แล้วกลับมาทูลเล่าให้ถูกต้อง ๓๖ ดังคําบอกเล่าของ นพ. จํารัส ศิริสัมพันธ์ นักเรียนทุนพระราชทาน ถึงคราวเข้าเฝ้ารับเสด็จในวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ว่าทรงตรัสถึงเหตุผลในการเลือกนักเรียนทุนว่า “ไม่ต้องการคนฉลาด แต่ต้องการคนขยันหมั่นเพียร คนฉลาดมักขี้เกียจ ชอบเขียนแต่คําสั่ง” และ “คนไม่ฉลาดนั่นแหล่ะดี มั่นใจได้ว่าไม่โกง”
  • 7. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๘ -- ทรงงานระหว่างการเรียน (lecture) ก็จะพบว่าทรงมีลายพระหัตถ์ที่สวยงามเรียบร้อย ทรงวาด ภาพประกอบที่ทําให้ผู้สนใจศึกษาสามารถนําไปใช้ค้นคว้าเพิ่มเติมได้ ทรงให้ความสําคัญกับการรู้จักพอประมาณ ทรงอบรมนักเรียนทุนไม่ให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ทรงเตือนสติ ว่า "เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียน หรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฎรเขาจ้างให้ฉัน ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สําเร็จ เพื่อจะได้กลับไปทําประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและขอให้ ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป” และได้บําเพ็ญพระองค์ให้เห็นเป็นตัวอย่าง ดัง หลวงนิตย์เวชชวิศิษฐ์ได้เล่าไว้ว่า “พระองค์มิได้ถือพระองค์ว่าเป็นเจ้า คงเรียกพระองค์เองว่า มิสเตอร์มหิดล สงขลา ทรงซ่อมถุงพระบาท และชักเงารองพระบาทเอง ทรงมีรถบูอิคตอนเดียว หลังคาปิดเปิดได้ เวลาสกปรก ทรงล้างรถด้วยพระองค์เอง ทั้ง ทรงทําอาหารเช้าด้วยพระองค์เอง เวลาเย็นเสด็จกลับจากโรงเรียนแพทย์ถึงพระตําหนัก ๑๘.๐๐ น. ทุกวัน เสด็จ ไปเสวยที่แคเฟตตอเรีย อาหารดี ราคาไม่แพง” และที่หลวงนิตย์เวชชวิศิษฐ์จําได้สนิทใจคือประโยคคําสอนที่ว่า “เงินที่ใช้ให้แกออกมาเรียน ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของตามา ตาสี ตาสา เขาให้ฉัน ฉันจึงมีเงินมาให้พวกแกได้ เรียน เพราะฉะนั้น จงตั้งใจเรียนเพื่อกลับไปช่วยบ้านเมือง และจงประพฤติตัวอย่าให้เสียชื่อเสียง” ทรงไม่โปรดผู้ที่ใช้จ่ายแต่งกายเกินฐานะ ถึงขนาดว่าบรรดานักเรียนไทยที่จะไปเข้าเฝ้าต้อง ระมัดระวัง พยายามสวมชุดเก่าๆ เพื่อให้ทรงพอพระทัย บางครั้งก็ทรงทดสอบดูเหมือนกันว่าในบรรดา นักเรียนทุนมีใครใช้จ่ายไปในทางฟุ่มเฟือยบ้าง โดยทรงตรัสขึ้นลอยๆ ว่า “เออ วันนี้หนังโรงไหนมีเรื่องสนุกบ้าง” หากเป็นคนหน้าใหม่ไม่รู้ความนัย ก็จะเผลอตอบออกมาว่าที่นั้นดี ที่นี้ดี ก็จะทรงจับได้ ทรงกระทําทุกวิถี เพื่อให้นักเรียนทุนได้ตระหนักถึงคุณค่าของเงินทุนพระราชทาน ด้วยทรงพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ หากผู้ใดมีผู้ปกครองยังพอช่วยเหลือได้ก็จะประทานให้เพียงครึ่งเดียว ทรงเอาใจใส่ดูแลนักเรียนทุนอย่าง ใกล้ชิด วางแผนการศึกษาให้กับนักเรียนทุนที่ทรงรับผิดชอบอย่างละเอียดเป็นรายคนไป พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์นั้นมิได้มีแต่กับคน ไทยเท่านั้น ทรงเผื่อแผ่ไปถึงชาวต่างชาติอย่างเช่น Mr. Francisco Vella พระสหายชาวเม็กซิกันซึ่งเกิดขาดเงิน ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ก็ทรงพระราชทานเงินให้เดือนละ ๑๐๐ เหรียญ จนกระทั่งสําเร็จการศึกษา น้ําพระทัยเมตตาที่มีต่อ มนุษย์โดยทั่วไปนั้นเป็นผลมาจากการที่ทรงประหยัดกระเหม็ด กระแหม่กับการใช้จ่ายส่วนพระองค์เองเป็นอย่างมาก แม้ถุง พระบาทขาดก็ทรงปะชุนเอง ทรงซักเสื้อผ้าด้วยพระองค์เอง ทรงล้างทําความสะอาดรถยนต์บูอิคส่วนพระองค์ด้วยตนเอง โดย เรื่องความประหยัดมัธยัสถ์ของพระองค์นั้นเป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไป แม้ในบันทึกของพระองค์เจ้าจุลจักร พงษ์ผู้ทรงเกือบจะได้เสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๘ ของไทยก็ยังมีบันทึกไว้ว่า “.......ยอมเปนที่ทราบกันอยูโดยมากแลว วาทูลหมอมอาแดงนั้นทรงเปนเจาฟาที่ร่ํารวยมั่งงคั่งมาก ที่สุดพระองคหนึ่งในบรรดาเจาฟาดวยกัน แตทานทรงระมัดระวังกระเหม็ดกระแหมเปนที่สุดในการใชจาย
  • 8. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๒๙ -- แทนที่จะเสด็จไปประทับโฮเต็ลชั้นเอก กลับประทับโฮเต็ลชั้นซอมซอที่สุดใกลๆ สถานทูต อันเปนทําเลที่ไม หรูหราเสียเลยในกรุงลอนดอน การที่ทรงกระเหม็ดกระแหมเชนนั้นคือความเขาใจผิดในระหวางคนที่ไมรูจัก ทานดี ไปคิดเสียวาทานเปนคนเหนียวจัด แตหาเปนเชนนั้นไม ทานตองการจะเก็บรายไดของทานไวเปน สวนมากเพื่อทําการกุศลอยางมากมาย........” การดํารงพระชนมชีพในสหรัฐอเมริกาของสมเด็จฯ พระบรมราชชนกเปรียบประหนึ่งร่มโพธิ์ใหญ่ ให้ร่มเงาแก่บรรดาสรรพชีวิตที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เพราะนอกจากจะทรงเป็นธุระดูแลนักเรียนทุนส่วน พระองค์แล้ว พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านยัง เผื่อแผ่ไปยังนักเรียนทุนรัฐบาลจากกระทรวงต่างๆ ตลอดจนกระทั่งบรรดานักเรียนทุนส่วนตัวที่บรรดา ผู้ปกครองได้ฝากฝังไว้จํานวนประมาณ ๕๐ คน ซึ่งส่วน ใหญ่มักจะไปเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย และเลือกศึกษาอยู่ ทางฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐฯ แถบบอสตัน นิวยอร์ก ฟิลาเดลเฟีย และกรุงวอชิงตัน ฯลฯ ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศที่หนาวเย็น วัฒนธรรมและประเพณี ของคนอเมริกัน ให้ผ่อนคลายจากความอ้างว้างที่ต้องห่างเหินจากบุพการีมายังถิ่นซึ่งมีวัฒนธรรมอันแตกต่าง ไปจากเมืองไทยอย่างสิ้นเชิง๓๗ ทรงให้การอุปถัมภ์แม้กระทั่งการวางแผนการศึกษา ออกจดหมายรับรอง และแนะนําการเลือก โรงเรียน มหาวิทยาลัย ให้แก่บรรดานักเรียนสยามเหล่านั้น อาทิเช่นลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ พระบรมราช ชนก ลงวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๒ ถึงพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ (สุข เลขยานนท์) ๓๘ แสดงพระวินิจฉัย ๓๗ พจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ ๙ เล่าไว้ในหนังสือ “สารสินสวามิภักดิ์” ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับตระกูลสารสินของ ตนว่าว่า คราวหนึ่ง สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงพานักเรียนไทยไปรับประทานอาหารมีชื่อในเคมบริดจ์ ทรงสั่งอาหารฝรั่ง ที่เรียกว่า “Pressed duck” มาให้รับประทาน ... ตนเองคอยอยู่นานไม่เห็นมีเป็ดมาเสิร์ฟจึงพูดขึ้นกลางโต๊ะอาหารว่า “ไม่ เห็นมีเป็ดที่สั่งมาเลย” สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงพระสรวลและรับสั่งว่า “ก็ไอ้ที่แกกินหมดไปแล้วเมื่อตะกี้นี้ไง เขา เรียกว่า pressed duck” ทําให้เด็กนักเรียนไทยที่ตามเสด็จฯ มีความรู้เรื่องอาหารฝรั่งที่ทําจากเป็ดอีกชนิดหนึ่ง ที่แตกต่างไป จากเป็ดย่าง หรือเป็ดอบ ๓๘ สุข เลขยานนท์ (เดิมเข้าใจว่าจะใช้วิธีการสะกดชื่อว่า”สุด” ดังปรากฏในลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯ พระบรมราชชนก) กําลังศึกษาวิชากฎหมายอยู่ที่มหาวิทยาลัย Grinnel รัฐไอโอวา ในขณะนั้น เป็นญาติสนิทของพระยาสารสินสามิภักดิ์ซึ่ง เดิมเคยเป็นที่คาดหมายของพระยาสารสินฯ ว่าจะให้ช่วยดูแลลูกชาย คือนายพจน์ สารสิน ระหว่างที่กําลังศึกษาอยู่ใน สหรัฐอเมริกา ต่อมานายสุข เลขยานนท์ ได้รับราชการจนกระทั่งได้ราชทินนาม พระสุทธิอรรถนฤมนตร์ ดํารงตําแหน่ง อธิบดีศาลแพ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๙ รัฐบาลคณะราษฎร์ฯ ได้ยื่นฟ้อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี ให้ชดใช้เงิน จํานวนกว่า ๖ ล้านบาทให้แก่กระทรวงการคลัง โดยพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ อธิบดีศาลแพ่งขณะนั้นมีคําสั่งว่า “ไม่ อนุญาต” จึงถูกสั่งย้ายไปดํารงตําแหน่งในศาลฎีกา ก่อนจะถูกให้ออกจากราชการไม่กี่เดือนถัดมา จนกระทั่งสามารถกลับ เข้ารับราชการได้อีกครั้งในอีก ๔ ปีถัดมา ในยุคสมัยของรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ และต่อมาได้เข้าดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีใน
  • 9. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๓๐ -- เกี่ยวกับการเลือกสถานที่เรียนของนายพจน์ สารสิน บุตรชายของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (นายแพทย์ เทียนฮี้ สารสิน) ไว้ดังนี้ “...ดวยบัดนี้ นายพจน สารสิน มาถึงแลวและสบายดี เวลานี้อยูที่เคมบริดจ ฉันไมทราบวาจะ จัดการอยางไร และไดยินวานายสุดเปนผูดูแล เพราะฉะนั้นจึงขอรายงานเรื่องเลานี้ นายพจน สารสิน อายุ ๑๓ ป ตัวเล็กมาก แตแข็งแรง ตัวเขาเองอยากจะไป Military Academy เวลานี้อยูประมาณ VII Grade มีเงินอยูที่ฉัน ๑,๐๐๐ เหรียญ และยังจะมีเติมอีกเพราะเงินคาเดินทางยังอยูที่อาจารยแพรงลิ ปอีกบาง เพราะฉะนั้นสําหรับปนี้คงจะมีประมาณ ๑,๒๐๐ เหรียญ ฉันมีความเห็นวา ควรจะหาโรงเรียนให เสียเร็วๆ จะไดไมเสียเวลามากตอไป ....แตเปนปญหาวาจะใหอยูที่ไหน ตามที่เขาใจกันวาเขาอยากใหอยูใกลนายสุด แตตัวนายพจน เองนั้นวาอยูที่ไหนก็ได ถานายสุดจะอยู Grinnel นานตอไปแลว ก็ควรใหออกไปอยูทาง West โรงเรียนทหารทาง South และ West ดีกวาทางนี้ ฉะนั้นก็เปน consideration อันหนึ่ง แต อยางไรก็ดี ถานายสุดมีความเห็นอยางไร ก็ขอใหบอกมา คือ ๑. จะใหเขาโรงเรียนไหน ๒. นายสุดจะรับดูแลการเงินเองหรือจะใหใครดู นายพจนยังเปนเด็กนัก ๓. ใครจะเปนผูจัดการเรียนและรับผิดชอบ เด็จทัดเปน guardian คงจะตองเปนคนเดียวกับผู เก็บเงิน ระหวางนี้ ฉันก็จะใหนายพจนอยูที่นี่กอน เพราะเขาดูแลตัวเองไดเรียบรอย เงินเวลานี้อยูที่ฉัน แต ฉันไมไดจัดการ banking เลย เพราะไมทราบวาจะตกลงกันอยางไร ฉันจะ advance credit ของฉันไปกอนจนกวาจะแตกเงินของเขาไดเอง” ยุคของรัฐบาล มรว. เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ และดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ต่างประเทศในยุคของรัฐบาล นายควง อภัยวงศ์ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙