SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 30
Downloaden Sie, um offline zu lesen
บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันภัย
การประกันภัยเป็นวิธีการโอนความเสี่ยงภัยลักษณะหนึ่ง การประกันภัยเกิดขึ้นมาเป็นเวลา
ช้านานแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ทรัพย์สิน
ชีวิต ร่างกาย ใกล้เคียงกับความเป็นจริงจากภัยที่บุคคลไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ปัจจุบันลักษณะการ
ดารงชีวิตของบุคคลล้วนอยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการดารงชีวิตประจาวันหรือการ
ประกอบอาชีพ ซึ่งหากเกิดภัยอันตรายที่ไม่ได้คาดคิดและเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า ผลของภัยอันตราย
เหล่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อวิถีการดาเนินชีวิตประจาวัน ทรัพย์สิน หรือแม้กระทั่งชีวิตของบุคคลได้
การประกอบธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ย่อมเผชิญต่อภัยที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน และหากภัยนั้นมีระดับ
ไม่รุนแรง ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจสามารถแบกรับภาระไว้เองได้ แต่หากภัยมีระดับรุนแรง
ย่อมส่งผลต่อความมั่นคงของธุรกิจ รวมถึงขวัญและกาลังใจของพนักงานด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกใจ
ว่าเพราะเหตุใดการประกันภัยจึงได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจาวันของเรามากขึ้น ดังจะพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่มีการทาประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เพื่อความสะดวก รวดเร็วกรณีเจ็บป่วย หรือ
เสียชีวิต หรือแม้แต่การประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยทรัพย์สิน ฯลฯ เนื่องจากการประกันภัยเป็นวิธีการ
ถ่ายโอนความเสี่ยงภัยลักษณะหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย
ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลยังคงอยู่ในสภาพใกล้เคียงกับความเป็นจริง
จากภัยซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด
ความหมายของการประกันภัย
มีนักวิชาการจานวนมากได้ให้นิยามความหมายของคาว่า การประกันภัย โดยขอยกมากล่าว
เป็นตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
เอกราช หนูแก้ว (2548 : 365) ได้ให้ความหมายของการประกันภัย ว่าหมายถึง วิธีการเฉลี่ย
ความเสียหาย หรือกระจายความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นแก่บุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง เพื่อเป็นการบรรเทา
ความเดือดร้อนของผู้ประสบเคราะห์ภัยให้พ้นจากความเสียหาย วิธีการก็คือ สมาชิกทุกคนที่ประสงค์
จะเข้าร่วมโครงการจะต้องจ่ายเงินจานวนคนละเล็กคนละน้อยที่เรียกกันว่าเบี้ยประกันภัยให้กับ
กองทุนกลาง และเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งประสบเคราะห์ภัยก็จะได้รับชดใช้จากกองทุนกลางนั้น โดยมี
บริษัทประกันภัยทาหน้าที่เป็นคนกลางคอยเฉลี่ยความเสียหายให้
2
จารุพร ไวยนันท์ (2552 : 43) ได้ให้ความหมายของการประกันภัยว่าความหมายของการ
ประกันภัยอาจแบ่งได้เป็น 3 ความหมายกว้าง ๆ ดังนี้
1. การร่วมเฉลี่ยความเสี่ยง (Risk Sharing) การประกันภัย หมายถึง สถาบันทางเศรษฐกิจ
และสังคมที่ทาหน้าที่ในการลดภาวะความเสี่ยง (Reduces Risk) โดยการรวมบุคคลที่ต้องเผชิญลักษณะ
ของภัยที่มีลักษณะเหมือน (Homogeneous) หรือคล้ายกันมาร่วมกันเฉลี่ยความเสี่ยง (Risk Sharing)
ผ่านวิธีการประกันภัย โดยที่ภัยดังกล่าวจะต้องเป็นภัยที่สามารถคาดคะเนตามหลักคณิตศาสตร์ได้ล่วงหน้า
จากความหมายดังกล่าว จะเห็นว่า การประกันภัยมีผู้รับประกันทาหน้าที่เป็นคนกลางในการ
รวบรวมเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยจานวนมากมารวมไว้เป็นเงินกองกลาง และเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้นแก่ผู้เอาประกันภัยรายใด ผู้รับประกันจะนาเงินกองกลางนั้น จ่ายชดใช้ให้ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับ
ความเดือดร้อน ดังนั้น จึงเห็นว่าผู้รับประกันภัยมิใช่ผู้รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย แต่ผู้เอาประกันภัย
ด้วยกันเองเป็นผู้ร่วมบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยการร่วมเฉลี่ยความเสี่ยงภัยโดยมีผู้รับประกันภัย
ทาหน้าที่เป็นคนกลางในการรวบรวมและจัดสรรเงินดังกล่าว
2. เป็นสัญญาระหว่างผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัย การประกันภัย ระหว่างบุคคล
ทั้งสองฝ่าย จึงหมายถึง สัญญา (Contract) ระหว่างผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัย ตามกฎหมาย
ระหว่างฝ่ายหนึ่งสัญญาว่าจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน หากเกิดความเสียหายขึ้นกับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งเรียกว่าผู้เอาประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยสัญญาว่าจะจ่ายเงินจานวนหนึ่งซึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย”
เป็นค่าคุ้มครอง (Protection) ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้แก่ผู้รับประกันภัย
จากความหมายดังกล่าว การประกันภัยจึงเป็นสัญญาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือ
ผู้รับประกันภัย (Insurer) เป็นฝ่ายที่ตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือชดใช้เงินจานวนหนึ่งให้แก่
คู่สัญญาเมื่อเกิดภัยขึ้น ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้เอาประกันภัย (Insured) เป็นฝ่ายตกลงที่จะจ่ายค่าเบี้ย
ประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย เพื่อซื้อความคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
3. เป็นสถาบันการเงิน สถาบันประกันชีวิตถือเป็นสถาบันทางการเงิน (Financial
Institution) ประเภทหนึ่งที่ทาหน้าที่ระดมเงินออมระยะยาว (Long Term Saving) ในรูปของเบี้ย
ประกัน (Premium) โดยนาค่าเบี้ยประกันชีวิตหรือเบี้ยประกันภัยที่ได้รับล่วงหน้าไปลงทุนหาผลประโยชน์
ในตลาดเงินต่อไป
เมธา สุพงษ์ (2554 : 9) ได้ให้ความหมายของการประกันภัยไว้ว่า หมายถึง การที่บุคคลฝ่าย
หนึ่งทาหน้าที่เป็นหลักประกันแก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง โดยสัญญาว่าเขาจะไม่ต้องรับความเดือดร้อนจากภัย
ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียหรือเสียหายแก่ชีวิตหรือทรัพย์สินของเขา โดยฝ่ายผู้ให้
หลักประกันจะจ่ายเงินชดใช้ให้ตามจานวนและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้หรือาจทาให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
3
ไว้นั้นกลับสู่สภาพดี หรือใกล้เคียงของเดิม โดยผู้ให้หลักประกันจะได้รับเงินตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งตาม
จานวนที่ตกลงกันไว้
Crane (1984 : 9) ให้ความหมายของการประกันภัยไว้ว่า หมายถึง ระบบการจัดการความ
เสี่ยงภัยโดยรวบรวมความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งหลาย โดยค่าของความสูญเสียจะมาเฉลี่ยกันไปในระหว่าง
ผู้เข้าร่วมความเสี่ยงภัยทั้งหมด
Dorfman (1991 : 2) ให้ความหมายของการประกันภัยว่า หมายถึง เป็นการจัดการทาง
การเงิน ซึ่งจะแจกจ่ายค่าของความสูญเสียที่ไม่ได้คาดหวังไว้อีกครั้งหนึ่ง การประกันภัยจะเกี่ยวข้องกับ
การโอนความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาไว้กองทุน ซึ่งเงินกองทุนนี้จะเฉลี่ยให้กับสมาชิกคนใดคนหนึ่งที่
ประสบความสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น
คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจานวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัย
หากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคต ดังได้ระบุไว้ในสัญญาและในการนี้ บุคคลอีกคนหนึ่งตกลง จะส่ง
เงินซึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” (พรศิริ แสงสุวรรณ, 2549 )
จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การประกันภัย หมายถึง การสัญญาว่าถ้าภัย
เกิดขึ้นและมีความเสียหายเกิดขึ้นด้วยนั้น ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องเผชิญหรือรับภาระความเสียหาย
แต่เพียงผู้เดียว ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้ตามสัญญาประกันภัยที่ได้ทากันไว้
ตัวอย่าง นายกบ ทาประกันภัยรถยนต์ไว้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่ารถยนต์ของนายกบ จะไม่เกิด
อุบัติเหตุหรือเกิดความเสียหาย การทาประกันภัยรถยนต์ของนายกบ เป็นหลักประกันว่าหากรถยนต์ของ
นายกบ ประสบอุบัติเหตุเกิดความเสียหายตามเงื่อนไขที่ตกลงตามสัญญาประกันภัยเมื่อใด นายกบ
ไม่ต้องเป็นผู้รับภาระความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นแต่เพียงผู้เดียว ผู้รับประกันภัยจะเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย
ที่เกิดขึ้น
ความเป็นมาของการประกันภัย
สาหรับประวัติความเป็นมาของการประกันภัย สามารถอธิบายได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ประวัติ
ความเป็นมาของการประกันภัยของโลก และประวัติความเป็นมาของการประกันภัยในประเทศไทย
1. ประวัติความเป็นมาของการประกันภัยของโลก
ตามปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับโจเซฟและความอดอยากในประเทศอียิปต์ ซึ่งถือว่า
เป็นที่มีของการประกันภัยอันดับต้น ๆ เท่าที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เล่ากันว่าคืนวันหนึ่งฟาโรห์ทรง
4
พระสุบินว่า มีวัวอ้วนเจ็ดตัวกาลังถูกวัวผอมเจ็ดตัวกัดกิน โจเซฟทานายฝันว่าประเทศอียิปต์จะมีพืชพันธุ์
ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์เป็นเวลาเจ็ดปี และต่อจากนั้นจะเกิดความแห้งแล้ว ประชาชนจะอดอยากปาก
แห้งอีกเป็นเวลาเจ็ดปี ดังนั้นจึงได้ทูลเสนอต่อกษัตริย์ฟาโรห์ให้สะสมธัญญาหารในปีที่สมบูรณ์เอาไว้
สาหรับเลี้ยงประชาชนในปีที่ข้าวยากหมากแพง วิธีนี้เรียกได้ว่าเป็นหลักประกันภัยพื้นฐาน กล่าวคือ มีการ
เก็บออมตั้งแต่วันนี้เพื่อไว้ใช้ในอนาคตซึ่งหาความแน่นอนไม่ได้
ต่อมาเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเริ่มต้นจากการที่ชาวบาบิโลเนียน (Babylonian)
แห่งลุ่มแม่น้ายูเฟรติส ได้มีการพัฒนาการค้าและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเพื่อส่งไปขายยังต่างเมือง
ซึ่งอาศัยแรงงานจากทาสหรือบริวารในยุคนั้นเพื่อขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง
ซึ่งบรรดาทาสหรือบริวารเหล่านั้นจะต้องปฏิบัติงานตามคาสั่งของเจ้านายอย่างเคร่งครัด ต่อมาได้มีการ
มอบหมายให้บุคคลอื่นทาหน้าที่ในการขนส่งสินค้า หรือวัตถุดิบไปจาหน่ายยังต่างเมืองแทน และได้เรียก
บุคคลเหล่านี้ว่าพ่อค้าเร่ (Traveling Salesman) ดังนั้นเพื่อเป็นหลักประกันว่าพ่อค้าเร่จะไม่คดโกง
เจ้าของสินค้า พ่อค้าเร่จะต้องมอบทรัพย์สิน ภรรยา และบุตรไว้กับเจ้าของสินค้าเพื่อเป็นหลักประกันโดย
มีสัญญาว่า เมื่อเดินทางกลับจากการขายสินค้าแล้วพ่อค้าเร่จะต้องแบ่งกาไรให้กับเจ้าของสินค้าครึ่งหนึ่ง
หากพ่อค้าเร่หนีหรือถูกโจรปล้นเอาสินค้าไปหมด บรรดาทรัพย์สิน ภรรยา และบุตรของพ่อค้าเร่จะต้อง
ตกเป็นทาสของเจ้าของสินค้า และด้วยเงื่อนไขนี้เองทาให้บรรดาพ่อค้าเร่เกิดความไม่พอใจและไม่ยอมรับ
เงื่อนไข จนในที่สุดจึงต้องตกลงเงื่อนไขร่วมกันใหม่ว่า หากการสูญเสียสินค้าเกิดขึ้นโดยมิใช่ความผิดของ
พ่อค้าเร่หรือพ่อค้าเร่มิได้เพิกเฉยต่อการป้องกันรักษาสินค้าอย่างเต็มที่แล้ว ให้ถือว่าพ่อค้าเร่ไม่มีความผิด
เจ้าของสินค้าจะยึดเอาทรัพย์สิน ภรรยา และบุตรของพ่อค้าเร่ไม่ได้ ต่อมาข้อตกลงนี้จึงได้เป็นที่ยอมรับ
และใช้กันมาอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ค้าขายสมัยนั้น ซึ่งถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นการเริ่มต้นของการ
ประกันภัยในสมัยโบราณ
ยุคต่อมาชาวกรีกได้พัฒนาแนวความคิดของชาวบาบิโลเนียนมาประยุกต์ใช้กับกิจการ
เดินเรือของตน ซึ่งเรียกแนวคิดนี้ว่าสัญญาบอตตอมรี่ (Bottomry) เป็นสัญญาที่เจ้าของเรือ ผู้ต้องการ
จะส่งสินค้าไปขายยังอีกเมืองหนึ่งซึ่งอยู่ห่างไกลจาเป็นต้องกู้เงินจากนายทุนเงินกู้เพื่อนาเงินไปเป็นทุน
ในการค้าขาย เจ้าของเรือที่มีเรือเป็นของตนเองสามารถนาเอาเรือของตนมาเป็นหลักประกันเงินกู้ โดยมี
เงื่อนไขว่าถ้าเรือสินค้ากลับมาจากการขายสินค้าแล้วจะต้องชดใช้เงินที่กู้ไปทั้งหมด หากบิดพลิ้วนายทุน
เงินกู้จะยึดเรือนั้นเพื่อชดใช้หนี้เงินกู้ หากเรือสินค้าลาดังกล่าวประสบภัยระหว่างทางหรือไม่สามารถ
กลับมายังเมืองท่าต้นทางได้เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถมาเรียกร้องให้ชดใช้หนี้สินได้ กรณีผู้กู้ไม่ได้เป็นเจ้าของ
เรือมีแต่สินค้าที่ส่งไปขายหรือผู้ที่ต้องการจะซื้อสินค้ากลับมาผู้กู้จะเอาสินค้าเหล่านั้นเป็นหลักประกัน
สาหรับเงินกู้ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสัญญาเงินกู้ที่มีสินค้าเป็นประกันเรียกว่าสัญญาเรสปอนเดนเทีย
5
(Respondentia) จึงถือว่าการประกันภัยทางทะเลได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลานี้ ประกอบกับได้มีการจัดตั้ง
สถาบันการประกันภัยทางทะเลขึ้นในกรุงเอเธนส์ ในสมัยนั้นการประกันภัยมาจากระบบการค้าขายที่
ต้องส่งสินค้าจากเมืองหนึ่งไปขายยังเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปซึ่งทาให้เกิดความเสี่ยงภัยเป็นอันมาก
สินค้าอาจไปไม่ถึงปลายทางด้วยสาเหตุที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เหล่าพ่อค้าจึงจาเป็นต้อง
แสวงหาหลักประกัน (Guarantee) ไว้ชดเชยความเสียหายเมื่อเกิดภัยขึ้น การหาหลักประกันดังกล่าวแม้
จะไม่ใช้หลักเกณฑ์ของการประกันภัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ตาม แต่ก็ได้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีแนวความคิด
ที่จะหาทรัพย์สินอันหนึ่งอันใดมาชดเชยความเสียหาย (Indentified) ที่เกิดขึ้นกับตน แต่หลักประกันภัย
ที่แท้จริงคือการกระจายความเสี่ยงภัยจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นอีกหลายคน ถือเป็นการกระจาย
ความเสี่ยง
สาหรับแนวคิดการประกันภัยของพ่อค้าชาวจีนเริ่มขึ้น เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน
คริสตกาล โดยชาวจีนที่อาศัยแม่น้าแยงซีเกียงเป็นเส้นทางในการขนส่งสินค้าเพื่อไปขายยังเมืองท่าต่าง ๆ
และมีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เช่น ลมพายุ ฝนตกหนัก กระแสน้าที่ไหลเชี่ยว เป็นต้น พ่อค้าชาวจีน
เกรงว่าอาจเกิดความเสียหายขึ้นกับสินค้าระหว่างการขนส่งจึงได้นาสินค้าที่จะขนส่งเพื่อไปจาหน่ายแบ่ง
ลงเรือหลาย ๆ ลา ซึ่งมีความคิดว่าหากเรือลาใดประสบภัยพิบัติจมลง พ่อค้าก็ยังเหลือสินค้าในเรือลาอื่น
ส่งไปถึงปลายทางได้ วิธีการนี้ถือเป็นการกระจายโอกาสที่จะเกิดความเสียหายออกไป ต่อมาเมื่อ 200 ปี
ก่อนคริสตกาล ชาวโรมันใช้วิธีการลงทุนซื้อเรือเพื่อขนสินค้าไปขายยังเมืองท่าต่าง ๆ กล่าวคือ พ่อค้าชาวโรมัน
จะไม่ซื้อเรือทั้งลามาเป็นเจ้าของเพียงรายเดียว หากแต่จะชักชวนผู้อื่นมาร่วมลงทุน พ่อค้าแต่ละคน
จะเป็นเจ้าของเรือแต่ละลา หากเรือลาใดเสียหายไปก็ยังมีเรือลาอื่นเหลืออยู่ไม่สูญเสียทั้งหมด จึงไม่ทาให้
กิจการของเหล่าพ่อค้านั้นต้องหยุดชะงักหรือล้มละลาย หลักการเช่นนี้เป็นการกระจายความเสี่ยงภัย
ที่คล้ายกับการประกันภัยในปัจจุบัน
ประวัติการประกันภัยในทวีปยุโรป เมื่อประมาณ 2,000 ปี ที่ผ่านมาได้อาศัยทะเลเมดิเตอร์-
เรเนียนเป็นเส้นทางการค้าขายที่สาคัญที่สุดโดยเฉพาะประเทศริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านตะวันออก
ซึ่งนับว่าเป็นศูนย์กลางกิจการค้าของยุโรปในขณะนั้น พ่อค้าชาวยุโรปได้ส่งสินค้าไปขายยังต่างเมือง
โดยใช้การเดินทางทั้งทางบกและทางทะเล สาหรับการเดินทางติดต่อค้าขายทางทะเลมีค่าใช้จ่าย
น้อยกว่าทางบก เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางบกต้องอาศัยกาลังคนจานวนมากในการคุ้มกันทรัพย์สิน
และลาเลียงสินค้าไปเป็นกองคาราวาน จึงมีค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานในการเดินทางแต่ละเที่ยว
ค่อนข้างสูง การขนส่งทางทะเลถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายน้อยแต่ก็เต็มไปด้วยภัยพิบัตินานัปการ เช่น
ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากคลื่นลม พายุ ฟ้าผ่า และโจรสลัด เป็นต้น การขนส่งสินค้าทางเรือในสมัยนั้นยังใช้
เรือใบขนาดเล็กเป็นพาหนะซึ่งมีความเสี่ยงภัยสูง ดังนั้น จึงเรียกการขนส่งสินค้าทางเรือว่าเป็นการ
6
เสี่ยงภัยทางทะเล (Marine Adventure) เมื่อเกิดภัยขึ้นพ่อค้าที่ทาการค้าขายโดยวิธีการขนส่งสินค้า
ทางทะเลแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ด้วยสาเหตุแห่งการเสี่ยงภัยทางทะเลดังกล่าวจึงเกิดระบบการกู้ยืมเงิน
เพื่อจัดหาสินค้าและพาหนะสาหรับขนส่งสินค้าไปขายยังเมืองต่าง ๆ โดยใช้สินค้าหรือเรือที่เป็นพาหนะ
ในการขนส่งเป็นหลักประกันเงินกู้ หากเรือขนส่งสินค้าเดินทางกลับมาอย่างปลอดภัย นายทุนที่ให้กู้ยืมเงิน
ก็จะได้เงินกู้คืนพร้อมด้วยส่วนแบ่งที่เป็นผลกาไรของจานวนเงินกู้ กรณีที่เรือประสบภัยพิบัติสูญเสีย
ทั้งชีวิตของผู้กู้และสินค้า นายทุนเงินกู้ไม่สามารถเรียกร้องให้ชดใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าว
ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ชาวลอมบาร์ด (The Lombards) ประเทศอิตาลีได้อพยพมาตั้งถิ่น
ฐานในกรุงลอนดอนได้นาระบบเงินกู้ของชาวกรีกโบราณ ซึ่งมีตัวเรือและสินค้าเป็นหลักทรัพย์ในการ
ค้าประกันมาใช้ในการกู้เงินที่มีเรือเป็นหลักทรัพย์ค้าประกัน เรียกว่าสัญญาบอตตอมรี่ (Bottomry Bond)
และเรียกสัญญาเงินกู้ที่เอาสินค้ามาค้าประกันว่าสัญญาเรสปอนเดนเทีย (Respon-Dentia Bond)
กลุ่มพ่อค้าชาวลอมบาร์ดได้คิดระบบกระจายความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้าทางทะเล
โดยจะไม่ให้เงินกู้ในลักษณะการจัดหาเรือและซื้อสินค้า แต่จะจ่ายเงินให้เมื่อเกิดภัยพิบัติทางทะเล
แล้วทาให้เกิดความเสียหายกับตัวเรือและสินค้าที่ขนส่งกับเจ้าของเรือและสินค้า แทนวิธีการเรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมหรือเบี้ยประกันภัย (Premium) จากเจ้าของเรือหรือสินค้าซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยง
และเป็นจุดเริ่มต้นของการทาประกันภัยขนส่งทางทะเล ตามประวัติศาสตร์การประกันภัยขนส่งทางทะเล
มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว ในประเทศอังกฤษราวศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากในสมัยนั้นประเทศ
อังกฤษ มีการค้าขายทางทะเลมากกว่าประเทศอื่นใดทวีปในยุโรป ทาให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับการ
กระจายความเสี่ยงจากภัยทางทะเลมากขึ้น การประกันภัยทางเรือและสินค้าในกรุงลอนดอนจึงมีพ่อค้า
ผู้มีความประสงค์เข้ารับเสี่ยงภัย ในการเดินทางหรือขนส่งเพื่อหวังจะได้รับค่าธรรมเนียมตอบแทน กิจการค้า
หลายประเภทมีการติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้าซึ่งมีการพบปะพูดคุยในเรื่องของกิจการค้าภายในร้าน
กาแฟต่าง ๆ ในกรุงลอนดอนด้วยเหตุนี้เองธุรกิจประกันภัยจึงเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีการติดต่อเจรจา
เอาประกันภัยและรับประกันภัย บรรดาร้านกาแฟเหล่านั้นมีร้านกาแฟแห่งหนึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้าเทมส์
มีเจ้าของชื่อ นายเอ็ดเวิด ลอยด์ (Edward Lolyd) เป็นร้านกาแฟที่มีพ่อค้ามาพบปะและเจรจาการค้า
ในร้านกาแฟร้านนี้เป็นจานวนมาก ส่วนมากเป็นเจ้าของเรือและเจ้าของสินค้าที่ทาการขนส่งสินค้าโดยใช้
เรือเป็นพาหนะ รวมทั้งพ่อค้าอื่นที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับการเสี่ยงภัยทางทะเล เช่น เจ้าของเงินกู้
นายธนาคาร นายหน้าซื้อขายสินค้า ฯลฯ นายเอ็ดเวิด ลอยด์ ได้ช่วยเหลือและส่งเสริมพ่อค้าหรือผู้รับ
ประกันภัย (Underwriters) ลงลายมือชื่อลงบนส่วนล่างของสัญญาประกันภัยเพื่อให้สัญญาประกันภัย
เหล่านั้นมีผู้รับประกันภัยเสี่ยงภัยจนครบจานวนเงินเมื่อเอาประกันภัย นายเอ็ดเวิด ลอยด์ ได้จัดหาข่าว
เกี่ยวกับการเดินเรือ สถิติของเรือแต่ละลาและความสามารถของเรือรวมทั้งกัปตันและลูกเรือที่ได้ผ่าน
7
การผจญภัยในการเดินเรือตามเส้นทางต่าง ๆ มาเสนอพ่อค้าและผู้รับประกันภัยในปี ค.ศ.1696 นายเอ็ด
เวิด ลอยด์ ได้จัดพิมพ์ใบปลิวที่เรียกว่า Lloyd’s News ซึ่งต่อมาได้ถูกรัฐบาลอังกฤษสั่งห้ามตีพิมพ์
ช่วงเวลาต่อมาได้มีการออกหนังสือพิมพ์รายวันชื่อ Lloyd’s List ซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ถือว่าเป็น
หนังสือพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงลอนดอน และปัจจุบันก็ยังคงมีการตีพิมพ์เพื่อจาหน่าย ปี ค.ศ.1769
ร้านกาแฟของนายเอ็ดเวิด ลอยด์ ได้ย้ายมาตั้งที่ใหม่โดยใช้ชื่อว่า New Lloyd’s Coffee House ที่
Pope’s Head Alley ต่อมาปีค.ศ.1771 มีการก่อตั้งคณะกรรมการของนายลอยด์ขึ้นเพื่อบริหารธุรกิจ
ประกันภัย ในปี ค.ศ.1774 ได้ย้ายที่ทาการแห่งใหม่ Royal Exchange ในกรุงลอนดอน และได้ใช้ชื่อ
อย่างเป็นทางการว่า Lloyd’s Insurance การดาเนินธุรกิจเป็นไปตามกฎหมายซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบ
ของรัฐสภาอังกฤษ ปี ค.ศ.1871 Lloyd’s Insurance ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของธุรกิจประกันภัยบนถนน
Line Street มีสมาชิกรับประกันภัยในนามของลอยด์ประมาณ 18,500 คน การรับประกันภัยกระทา
โดยกลุ่มผู้รับประกันภัย (Syndicate) และกลุ่มผู้รับประกันภัยเหล่านี้เรียกว่า Underwriter ซึ่งมีสิทธิ
ลงลายมือชื่อรับประกันในนามของกลุ่มผู้รับประกันภัย โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้รับ
ประกันภัยทางทะเล (Marine) และกลุ่มรับประกันภัยอื่นนอกจากภัยทางทะเล (Non Marine) Lloyd’s
Insurance ถือว่าเป็นธุรกิจประกันภัยที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน
2. ประวัติความเป็นมาของการประกันภัยในประเทศไทย
สาหรับการประกันภัยเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้น
ประเทศไทยทาการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติจึงเริ่มมีการประกันภัยเกิดขึ้นบ้างแล้ว โดยเฉพาะการ
ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง แต่เป็นกรณีที่ชาวต่างชาติรับทาการประกันภัยเอง ต่อมาในสมัยกรุง
รัตนโกสินทร์ประมาณปี พ.ศ.2368 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้ทรง
สั่งซื้อเครื่องพิมพ์จากประเทศอังกฤษ และทรงเกรงว่าจะเกิดความเสียหายขึ้นระหว่างการขนส่ง จึงทรงมี
พระราชดารัสรับสั่งให้เอาประกันภัยเครื่องพิมพ์ดังกล่าวระหว่างการขนส่งในนามของพระองค์เอง แสดง
ว่าการประกันภัยนั้นเริ่มแผ่เข้ามาถึงประเทศไทยแล้ว และอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยรู้จักวิธีการ
ประกันภัยหรือการประกันภัยการขนส่งสินค้า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนการจะนับว่าการประกันภัย
เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยตรงนั้นเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 กล่าวคือ ชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งห้างค้าขาย
ในประเทศไทยมากขึ้น ห้างฝรั่งเศสเหล่านี้บางห้างเป็นตัวแทนของบริษัทประกันภัยต่างประเทศด้วย
เท่าที่ปรากฏมีดังนี้ (ปี พ.ศ.2399) ห้างบอเนียว เป็นตัวแทนของ Netherlands India Sea and Fire
Insurance Company รับประกันภัยทางทะเล และอัคคีภัยกับเป็นตัวแทนของ North China Insurance
Company ห้างสก๊อต เป็นตัวแทนของ Ocean Marine Insurance Company ปี พ.ศ.2401 ห้าง
8
บิกเกนแบ็ก เป็นตัวแทนของ Colonial Sea and Fire Insurance Company ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5
คณะทูตจากประเทศอังกฤษได้ขอพระบรมราชานุญาตให้ บริษัท อิ๊สเอเชียติก จากัด ซึ่งเป็นกิจการ
ประกันภัยของชาวอังกฤษ เข้ามาดาเนินกิจการรับประกันชีวิตของประชาชนชาวไทย และชาวต่างประเทศ
ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในฐานะตัวแทนของบริษัท เอควิตาเบิลประกันภัย แห่งกรุงลอนดอน
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชานุญาต โดยมีสมเด็จพระยาบรม
มหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ถือกรมธรรม์เป็นคนแรก หลังจากนั้นธุรกิจประกันชีวิตก็ไม่ประสบผลสาเร็จเพราะ
กรมธรรม์ต้องส่งมาจากประเทศอังกฤษ และคนไทยยังไม่มีความสนใจธุรกิจประกันชีวิตทาให้ธุรกิจต้อง
หยุดชะงักไปในปลายรัชกาลที่ 5 อย่างไรก็ตามในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น กิจการประกันภัยในด้านที่ไม่ใช่
ประกันชีวิตก็ยังคงดาเนินอยู่ ห้างของชาวต่างชาติที่ตั้งในประเทศไทยส่วนมากเป็นตัวแทนของบริษัท
รับประกันภัยจากต่างประเทศ และนอกจากการรับประกันภัยทางทะเลและอัคคีภัยแล้ว การประกันชีวิต
และการประกันภัยรถยนต์ก็เข้ามามีบทบาทในระยะเวลาต่อมา กฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวข้องกับการ
ประกันภัย ที่มีหลักฐานปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนคือบทบัญญัติเกี่ยวกับการประกันภัย พระราชบัญญัติ
ลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัท ร.ศ.130 (พ.ศ.2454) มาตรา 115 บัญญัติไว้ว่า “บริษัทเดินรถไฟ
รถราง บริษัทรับประกันต่าง ๆ บริษัททาการคลังเงินเหล่านี้ท่านห้ามมิให้ตั้งขึ้นนอกจากได้รับพระบรม
ราชานุญาต” ต่อมาในปี พ.ศ.2467 ได้มีการบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นมีบรรพ 3
ลักษณะ 20 เป็นเรื่องการประกันภัยรวมอยู่ด้วยเป็นการรับรู้ข้อตกลงในเรื่องประกันภัยว่าเป็นสัญญาที่
ผูกพันชอบด้วยกฎหมายและได้มีบทบัญญัติลักษณะห้างหุ้นส่วนบริษัท มาตรา 1014 ไว้ว่า ห้ามมิให้ตั้ง
ห้างหุ้นส่วนบริษัทเพื่อทาการประกันภัยขึ้นเว้นแต่จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ
ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเริ่มควบคุมการก่อตั้งบริษัทประกันภัยไม่ให้ตั้งโดยเสรี แต่ยังมิได้ควบคุมการดาเนิน
กิจการโดยตรง ชาวต่างประเทศในขณะนั้นได้ติดต่อขออนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยกับกระทรวง
พาณิชย์และคมนาคม แต่ทางกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมยังไม่พร้อมที่จะรับการจดทะเบียน
ประกอบธุรกิจประกันภัยในทันที เนื่องจากพบว่าการประกันภัยเป็นธุรกิจที่ต้องดาเนินโดยมีส่วนเกี่ยวพัน
ถึงสาธารณชนในด้านความผาสุก และความปลอดภัยของประชาชนจึงได้มีการกาหนดธุรกิจประกันภัยไว้
ในกฎหมายที่ว่าด้วยความผาสุกและปลอดภัยแห่งสาธารณชนทั้งจาเป็นต้องกาหนดระเบียบการปฏิบัติใน
การควบคุมธุรกิจให้มีมาตรฐานและปลอดภัยด้วยสาหรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ปี
พ.ศ.2467 ดังกล่าวข้างต้นได้ถูกยกเลิกและใช้บทบัญญัติบรรพ 3 ที่ได้ตรวจชาระใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน
2472 ซึ่งบรรพ 3 ที่ตรวจชาระใหม่ มีบทบัญญัติลักษณะ 20 ว่าด้วยการประกันภัยตั้งแต่มาตรา 861 ถึง
มาตรา 897 และมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
9
สาระสาคัญของการประกันภัย
การประกันภัย มีการจัดทาขึ้นในลักษณะของสัญญาประกันภัย เป็นการตกลงร่วมกันระหว่าง
ของบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) กับผู้เอาประกันภัย (ลูกค้า) โดยการออกเอกสาร
สัญญาซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้หากเกิดภัยอันตรายแก่คู่สัญญา เรียกว่า
ผู้เอาประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ชาระเงินจานวนหนึ่งให้แก่ผู้รับประกันภัยตามระยะเวลา
ที่ได้ตกลงร่วมกัน เงินที่ผู้เอาประกันภัยชาระแก่ผู้รับประกันภัย เรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” (Premium)
แสดงข้อตกลงของสัญญาให้ไว้เป็นหลักฐาน เอกสารสัญญาจะต้องมีเนื้อความที่มีการตกลงทาสัญญากันไว้
เอกสารนี้เรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย”
การประกันภัยในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การประกันชีวิต (Life
Insurance) และการประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) ในทางวิชาการมักจะแบ่งการประกันภัย
ออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ (ธานี วรภัทร์, 2548 : 33)
1. การประกันภัยบุคคล อาจได้แก่ การประกันชีวิต การประกันอุบัติเหตุ การประกันสุขภาพ
2. การประกันทรัพย์สิน อาจได้แก่ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
การประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
3. การประกันภัยความรับผิด หมายถึง ความรับผิดของบุคคลหนึ่งต่อบุคคลอื่นที่ได้รับความ
เสียหายจากผลการกระทาของตน อาจได้แก่ ความรับผิดต่อบุคคล ความรับผิดชอบของผู้ประกอบอาชีพ
เฉพาะ ความรับผิดของธุรกิจ
จากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น สามารถอธิบายเป็นแผนภูมิได้ดังต่อไปนี้
ภาพที่ 1.1 แผนภูมิการประกันภัย
ที่มา : ธานี วรภัทร์, 2548 : 33.
การประกันภัย
การประกันบุคคล การประกันทรัพย์สิน การประกันความรับผิด
-ประกันชีวิต
-ประกันอุบัติเหตุ
-ประกันสุขภาพ
-ประกันอัคคีภัย
-ประกันภัยทางทะเล
และขนส่ง
-ประกันภัยรถยนต์
-ประกันภัยเบ็ดเตล็ด
-ความรับผิดส่วนบุคคล
-ความรับผิดของผู้
ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ
-ความรับผิดจากการ
ประกอบธุรกิจ
10
ผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัย
เมื่อมีการตกลงทาประกันภัยแล้ว มีผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัยอยู่ 3 ฝ่าย ได้แก่
1. ผู้รับประกันภัย (Insurer) หมายถึง คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ
ชดใช้เงินจานวนหนึ่งให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งได้แก่ บริษัทประกันชีวิต ที่ได้รับ
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต รวมถึงสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ ที่ได้รับใบอนุญาต
ประกอบธุรกิจประกันชีวิตในราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม และบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย รวมถึงสาขาของ
บริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร
ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. ผู้เอาประกันภัย (Insured) หมายถึง คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับ
ประกันภัยจนกระทั่งครบกาหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาการประกัน ผู้เอาประกันภัยเป็นบุคคล
ธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
3. ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary) หมายถึง บุคคลผู้ถูกระบุไว้ในกรมธรรม์การประกันภัย
ให้เป็นผู้ได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือรับจานวนเงินชดใช้ให้ ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกับ
ผู้เอาประกันภัยหรือไม่ก็ได้ ผู้รับประโยชน์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย
เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ และผู้รับผลประโยชน์ได้แจ้ง
ความประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้รับประกันภัยว่าตนถือเอาประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันภัย
ฉบับนั้นแล้วจึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้
วัตถุประสงค์ของการประกันภัย
วัตถุประสงค์ของการประกันภัย คือ เพื่อแบ่งเบาความเสี่ยงจากบุคคล กลุ่มบุคคล หรือ
ทรัพย์สินนั้น ๆ ออกเป็นส่วน โดยร่วมกันชดเชย เมื่อมีความสูญเสีย หรือ เสียหายเกิดขึ้น โดยยึดหลัก
สุจริตเป็นสาคัญ และการทาประกันภัยมิใช่สัญญาเพื่อค้ากาไร
แบบประกันภัยมาตรฐาน แบ่งออกเป็น 2 สายหลัก ได้แก่ การประกันชีวิต (Life Assurance)
และการประกันวินาศภัย (Non Life Assurance) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (โสภาวรรณ นุ่มฤทธิ์, 2546)
1. วัตถุประสงค์ของการประกันวินาศภัย
การประกันวินาศภัยมีวัตถุประสงค์ มีดังนี้
11
1.1 เป็นการกระจายความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับทรัพย์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปสู่
คนกลางจานวนมากอย่างเป็นธรรม โดยที่มีบริษัทประกันภัยเป็นแกนกลาง ซึ่งอาศัยข้อมูลที่ได้จาก
การศึกษาค้นคว้าและทาเสนอแนะให้กับผู้เอาประกันภัย เพื่อปรับปรุงสภาวะความเสี่ยงภัยให้น้อยลง
เป็นการลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
1.2 ก่อให้เกิดสันติสุขแก่บุคคล เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมต้องการความมั่นคงแน่นอนในอนาคต
นั่นหมายความว่า ถ้ามีวิธีใดที่จะทาให้บรรเทาจากความกังวลต่อภัยที่อาจทาให้เกิดความเสียหายและ
สูญเสียในทรัพย์สินแล้ว ก็จะทาให้เกิดสันติสุขในใจได้
1.3 เป็นการระดมทุนในการพัฒนาธุรกิจและนาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในแง่
ธุรกิจ การประกันวินาศภัยมีส่วนสนับสนุนธุรกิจต่าง ๆ เช่น สถาบันการเงินเพื่อให้แน่ใจว่า หากเกิดวินาศ
ภัยขึ้นแก่ทรัพย์สินที่นามาจานองหรือจานา ค้าประกันเงินกู้ สถาบันการเงินเหล่านั้นจะได้เข้ากู้คืน
1.4 เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการประกอบธุรกิจ ธุรกิจประกันวินาศภัยยังเสริมสร้างความมั่นใจ
ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจและขยายการลงทุน ทาให้เกิดเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
2. วัตถุประสงค์ของการประกันชีวิต
การประกันชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของการประกันภัย โดยผู้เอาประกันหรือผู้เอาประกันชีวิต
จะได้รับเงินจานวนหนึ่งหากมีภัยเกิดขึ้นกับชีวิตที่เอาประกันภัยหรือเพราะเจ็บไข้ได้ป่วยหรืออุบัติเหตุ
การประกันชีวิตมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มนุษย์สามารถดารงรักษาความต้องการของตนให้อยู่ตลอดกาล
โดยหากปราศจากภยันตรายที่จะมาเบียดเบียน มนุษย์คงจะมีอายุยืนยาว แต่ในสภาพความเป็นจริง
ตลอดเวลามนุษย์ต้องเผชิญต่อความเสี่ยงภัยหลายๆ รูปแบบ ซึ่งไม่สามารรถหลีกเลี่ยงให้พ้นหมดทุกอย่างได้
จึงทาให้อายุขัยของมนุษย์สั้นลง เกิดทุพพลภาพอันเป็นรากฐานที่ทาให้ฐานะทางเศรษฐกิจเสื่อมโทรมหรือ
หมดสิ้นอย่างถาวร
กรณีเสียชีวิตก่อนถึงเวลาอันสมควร ด้วยเหตุนี้เองมนุษย์จึงคิดวิธีการที่จะธารงรักษาความ
ต้องการ ให้มีมากที่สุดเท่าที่จะทาได้และวิธีการที่ดีที่สุดอันหนึ่ง คือ วิธีการประกันชีวิต ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า
วัตถุประสงค์ของการประกันชีวิตก็คือ การประกันการสูญเสียทางเศรษฐกิจของมนุษย์อันอาจจะเกิดขึ้น
จากภยันตรายของการมรณกรรมก่อนกาหนดความชราภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วยและอุบัติเหตุ
12
ประโยชน์ของการประกันภัย
ปัจจุบันการประกันภัยได้เข้ามามีบทบาทกับมนุษย์ทั้งในด้านการดารงชีวิตและการดาเนินธุรกิจ
ยังเป็นประโยชน์ให้ทั้งบุคคลและนิติบุคคลอย่างมาก โดยสามารถสรุปเป็นรายด้านได้ดังนี้ (เมธา สุพงษ์,
2554 : 10)
1. ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย
การประกันภัยมีประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.1 การประกันภัยเป็นการมุ่งให้ความคุ้มครองต่อบุคคล ครอบครัวและทรัพย์สินของผู้เอา
ประกันภัย เช่น กรณีการประกันชีวิต เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับ
เงินชดเชยเป็นเงินจานวนหนึ่ง ถ้าผู้เอาประกันภัยทาประกันอุบัติเหตุควบคู่ไปกับการประกันชีวิตด้วย
หากผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุจนทุพพลภาพถาวร ก็ได้รับเงินชดเชยจานวนหนึ่ง ซึ่งผู้รับประกันภัย
จะจ่ายให้สาหรับเป็นค่ารักษาพยาบาลและเป็นค่าเลี้ยงชีพ บรรเทาความเดือดร้อนจากภัยที่ได้รับ ทาให้
ไม่ต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น
1.2 เป็นการปลูกฝังให้เกิดการออมไปในตัว เนื่องจากต้องเก็บเงินจานวนหนึ่งไว้ชาระค่าเบี้ย
ประกันภัยให้ได้ตามจานวนที่ได้ตกลงไว้กับผู้รับประกันภัยและต้องชาระให้ทันภายในกาหนดเวลา การ
ออมทาให้มีเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ยามชรา
1.3 สามารถนาค่าเบี้ยประกันชีวิตไปลดหย่อนภาษีได้
2. ประโยชน์ต่อธุรกิจ
ประโยชน์ของการประกันภัยที่มีต่อภาคธุรกิจหรือผู้ประกอบธุรกิจ มีดังนี้
2.1 ก่อให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้น ไม่ว่าจะเกิด
กับทรัพย์สิน หรือชีวิตของเจ้าของกิจการ
2.2 เพิ่มประสิทธิภาพในการดาเนินธุรกิจ เนื่องจากในการดาเนินธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใหญ่
หรือเล็ก ธุรกิจย่อมดาเนินอยู่บนความเสี่ยง ผู้บริหารที่ดีควรตระหนักถึงความเสี่ยงในการดาเนินธุรกิจ
หากมีการกระจายความเสี่ยงไปให้ผู้รับประกันภัยช่วยรับภาระให้ ก็จะทาให้การตัดสินใจในการดาเนิน
ธุรกิจของผู้บริหารสามารถเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดาเนินงาน
2.3 เกิดเสถียรภาพด้านต้นทุนการผลิต นักธุรกิจที่กาลังเผชิญกับความเสี่ยงภัยย่อมต้องหา
วิธีการในการจัดการกับความเสี่ยงภัย โดยอาจใช้วิธีการโอนความเสียงภัยไปให้บริษัทประกันภัยโดยยอม
ชาระเบี้ยประกันภัยจานวนหนึ่ง ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้
13
2.4 ช่วยส่งเสริมธุรกิจบางประเภทให้เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
กับความเสี่ยงภัยมาก ๆ เช่น ธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจรับส่งสินค้า พาณิชย์นาวี เป็นต้น
3. ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
การประกันภัยมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
3.1 เป็นการระดมทุนเพื่อนามาใช้ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากผู้รับประกันภัย
จะได้รับเงินจานวนหนึ่งจากผู้เอาประกันภัย สาหรับสะสมไว้เป็นเงินชดเชยกรณีผู้เอาประกันภัยประสบภัย
อันตราย โดยผู้รับประกันภัยจะนาเงินเหล่านั้นไปลงทุนกับแหล่งเงินอื่น เพื่อให้ได้ดอกผลกลับคืนมา
วิธีดังกล่าวช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
3.2 ช่วยลดภาระแก่สังคมและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสงเคราะห์จากภาครัฐ
เนื่องจากการประกันภัยทาให้บุคคลมีความรับผิดชอบต่อตนเองในการออมเงิน และหากผู้เอาประกัน
ได้รับความเสียหายจากการประสบภัยอันตราย ผู้รับประกันจะเป็นผู้ดูแลค่ารักษาพยาบาลและค่าครอง
ชีพระหว่างการรักษาพยาบาล
3.3 เป็นการสร้างความมั่นคงในการดารงชีวิตของบุคคลและการดาเนินงานของภาคธุรกิจ
ด้วยปัจจัยเสี่ยง และคุณประโยชน์ของการประกันภัย ดังที่กล่าวมา พบว่าการนาการประกันภัยเข้ามาใช้
เป็นเครื่องมือการบริหารความเสี่ยงที่สาคัญในปัจจุบัน สิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง คือการทาประกันภัย
ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่บุคคล/ธุรกิจประสบ ตรวจสอบ ทบทวนการประกันภัยที่มีอยู่ รักษาระดับ
ความคุ้มครองให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้มีความคุ้มครองต่อเนื่องและเหมาะสมกับความเสี่ยงตาม
สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา
การจัดแบ่งประเภทและชนิดของการประกันภัย
การประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การประกันชีวิต
(Life Insurance) และการประกันวินาศภัย (Property Insurance) โดยธุรกิจการประกันภัยทั้ง 2 ประเภท
มีหลักเกณฑ์และมีการกากับดูแลภายใต้กฎหมายที่แตกต่างกัน การประกอบธุรกิจประกันชีวิตอยู่ภายใต้
การกากับดูแลของ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 สาหรับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย อยู่ภายใต้
การกากับดูแลของ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535
ราชบัณฑิตยสถาน (2554 : 123) ได้ระบุความหมายของ การประกันชีวิต (Life Insurance)
ไว้ว่า เป็นการประกันภัยที่การจ่ายเงินอาศัยการทรงชีพหรือการมรณะของบุคคลเป็นเหตุในการจ่าย
ดังนั้น สัญญาประกันชีวิตจึงเป็นสัญญาประกันภัยที่บริษัทรับประกันชีวิต ตกลงจะชดใช้เงินจานวนหนึ่ง
14
ให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้รับผลประโยชน์ เมื่อครบกาหนดสัญญาหากผู้เอาประกันชีวิตยังมีชีวิตอยู่
หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามที่กาหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตหรือชดใช้เงินให้แก่ทายาทหรือผู้รับประโยชน์
กรณีผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตาย
สาหรับ ความหมายของ การประกันวินาศภัย (Property Insurance) ในมุมมองด้านกฎหมาย
หมายถึง การประกันภัยเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ ที่สามารถประมาณมูลค่าเป็นเงินได้ รวมถึงความ
สูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย ดังนั้น สัญญาประกันวินาศภัยจึงเป็นสัญญาที่บริษัทผู้รับ
ประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเงินจานวนหนึ่งให้เพื่อความเสียหายที่สามารถประเมิน
มูลค่าเป็นเงินได้ เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นกับวัตถุที่เอาประกันภัยหรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามที่กาหนดไว้ใน
กรมธรรม์ประกันภัย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 869)
1. ประเภทของการประกันภัย
การประกันภัยมี 2 ประเภท คือ การประกันชีวิต (Life Insurance) และการประกันวินาศภัย
(Property Insurance) ซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียด ได้ดังต่อไปนี้
1.1 การประกันชีวิต (Life Insurance)
การประกันชีวิต เป็นแผนทางด้านการเงินของคนจานวนมากร่วมกันเฉลี่ยแบ่งเบา
ความเสียหายที่เพิ่มขึ้นแก่ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง สืบเนื่องมาจากการสูญเสียชีวิตของหัวหน้า
ครอบครัว ซึ่งมีอยู่จานวนน้อยและยังมีบุคคลอีกเป็นจานวนมากที่ไม่ถึงแก่ความตายก่อนวัยอันควรจะ
ได้รับประโยชน์ผลจากการสะสมเงินจานวนหนึ่งไว้ การประกันชีวิตเป็นวิธีการชดเชยความสูญเสียอัน
เนื่องมาจากผู้เอาประกันภัยประสบภัยอันตรายจนกระทั่งก่อให้เกิดความสูญเสียรายได้ของบุคคล/
ครอบครัว อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพของหัวหน้าครอบครัว โดยที่บุคคลในครอบครัว
จะได้รับการชดใช้เงินจานวนหนึ่ง การประกันชีวิตทาขึ้นในรูปของสัญญาที่องค์การและบุคคลร่วมกัน
จัดทาขึ้นเพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงภัย ในการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน เพื่อให้สามารถเผชิญกับภัยดังกล่าวได้
โดยผู้ประสบภัยไม่ต้องรับเคราะห์แต่เพียงผู้เดียว การประกันชีวิตในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ดังนี้ (เอกราช หนูแก้ว, 2548 : 372)
1.1.1 การประกันชีวิตแบบสามัญ (Ordinary Life Insurance) เป็นการประกันชีวิต
รายบุคคล มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระจายความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยที่มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไป
ให้ความคุ้มครองในจานวนเงินเอาประกันชีวิตตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป ทาให้การประกันภัยประเภทนี้
มีค่าเบี้ยประกันภัยสูงตามไปด้วย การประกันชีวิตประเภทสามัญแบ่งได้เป็น 4 แบบ ดังนี้
1.1.1.1 แบบชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตที่
15
ให้ความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาหนึ่งและได้กาหนดไว้ในกรมธรรม์ อาจจะเป็น 5 ปี 10 ปี 15 ปี หรือ
20 ปี ขึ้นอยู่กับแบบประกันชีวิต โดยผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินค่าชดเชยตามจานวนเงินเอา
ประกันภัยให้แก่ผู้รับผลประโยชน์กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กาหนดไว้ในสัญญา
ประกันชีวิต
1.1.1.2 แบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตที่ผู้รับ
ประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยตามจานวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับผลประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัย
เสียชีวิตโดยไม่คานึงว่าจะเสียชีวิตในช่วงระยะเวลาใด
1.1.1.3 แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Life Insurance) เป็นการประกัน
ชีวิตที่ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินตามจานวนเงินที่เอาประกันชีวิตให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ กรณีผู้เอา
ประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กาหนดไว้ หรือจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่มีชีวิต
อยู่ครบระยะเวลาที่กาหนดไว้
1.1.1.4 แบบเงินได้ประจา (Annuity Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตที่
ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินได้ประจา หรือเงินบานาญให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ผู้เอา
ประกันภัยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความชราภาพไปจนกระทั่งถึงวันที่
กาหนดไว้อาจเป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือตลอดอายุขัยของผู้เอาประกันภัย
1.1.2 การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance) เป็นการ
ประกันชีวิตรายบุคคลที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้มีรายได้น้อยซึ่งไม่สามารถซื้อประกันแบบอื่นได้ ดังนั้น
จานวนเงินที่เอาประกันภัยจะต่า และการชาระเบี้ยประกันภัยมีกาหนดเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ไม่
มีการตรวจสุขภาพของผู้เอาประกัน การประกันชีวิตประเภทนี้เหมาะสาหรับครอบครัวของพนักงาน
ระดับปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม
1.1.3 การประกันชีวิตประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตซึ่งกาหนด
ความคุ้มครองตนเองภายใต้สัญญากรมธรรม์ฉบับเดียว โดยทั่วไปจะกาหนดให้มีผู้เอาประกันภัยตั้งแต่
5 คนขึ้นไป ผู้ถือกรมธรรม์ประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นพนักงานที่ทางานภายในบริษัทหรือโรงงาน
อุตสาหกรรมเดียวกัน การชาระเบี้ยประกันชีวิต มีทั้งแบบที่นายจ้างเป็นผู้ชาระเบี้ยประกันชีวิตให้ หรือ
นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันชาระเบี้ย การประกันชีวิตประเภทนี้อาจมีการตรวจสุขภาพหรือไม่มีก็ได้
1.2 การประกันวินาศภัย (Property Insurance)
การประกันวินาศภัย หมายถึง การประกันความเสียหายใด ๆ อันพึงประเมินเป็นมูลค่าเงิน
ได้ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินหรือสินไหมทดแทน กรณีเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญา ซึ่งค่าสินไหมนั้น
16
จากัดไม่เกินความเสียหายที่แท้จริงภายในวงเงินที่ได้ เอาประกันภัยไว้ โดยทั่วไปการประกันวินาศภัย
แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.2.1 การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance) เป็นสัญญาที่คุ้มครองวินาศภัยอย่างแท้จริง
อันเกิดแก่ทรัพย์สินที่เอาประกัน ซึ่งเป็นวินาศภัยที่เกิดจาก
1.2.1.1 ไฟ (Fire) หมายถึง ไฟที่ลุกขึ้นมาเป็นเปลวไฟที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ใคร
เป็นเปลวไฟที่เกิดขึ้นแล้วทาลายทรัพย์สินต่าง ๆ ในทางทฤษฎีไฟจาแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) ไฟที่เป็นมิตร (Friendly Fire) หมายถึง ไฟที่มนุษย์ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์อย่าง
ใดอย่างหนึ่ง และลุกไหม้อยู่ในขอบเขตที่กาหนด หรือมีการควบคุมเป็นอย่างดี ตัวอย่างของไฟที่เป็นมิตร
ได้แก่ ไฟที่จุดเพื่อให้แสงสว่าง ไฟที่จุดเพื่อให้ความอบอุ่น ไฟฟ้าที่ใช้ในกิจกรรมภายในบ้านเรือน
สานักงาน
2) ไฟที่ไม่เป็นมิตร (Unfriendly Fire) หมายถึง ไฟที่เกิดขึ้นเองโดยเจตนา
ทุจริต หรือไฟที่เป็นมิตรแต่ลุกลามออกนอกขอบเขตที่ตั้งใจไว้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือ
สาธารณะ ความเสียหายชนิดนี้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อผู้เอาประกันภัย และไฟที่เกิดจาก
อุบัติเหตุ เช่น การจุดไฟเผาหญ้าแห้งแล้วทาให้เกิดเพลิงไหม้ตัวอาคารที่พักอาศัย กรณีเช่นนี้ผู้รับ
ประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อผู้เอาประกันภัยเช่นเดียวกัน
1.2.1.2 ฟ้าผ่า (Lightening) หมายถึง การเกิดภัยธรรมชาติจากฟ้าที่ผ่าลงมาแล้ว
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไม่ว่าจะโดยตรงหรือสืบเนื่องจากฟ้าผ่า และไม่ว่า
จะเกิดการลุกไหม้ของไฟหรือไม่ก็ตาม หากทรัพย์สินได้รับความเสียหายย่อมได้รับความคุ้มครองจาก
กรมธรรม์ประกันภัยทั้งสิ้น
1.2.1.3 การระเบิดของแก๊สหุงต้มหรือแก๊สที่ใช้สาหรับทาแสงสว่าง หมายถึง ไฟที่เกิด
จากการระเบิดของแก๊สที่ใช้งานอยู่ภายในครัวเรือน ที่มิใช่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของการผลิตแก๊ส
1.2.2 การประกันภัยรถยนต์ (Automobile Insurance) หมายถึง การประกันความ
สูญเสีย หรือความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ ได้แก่ ความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่
รถยนต์รวมถึงความสูญเสียหรือความเสียหายที่รถยนต์ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของ
บุคคลภายนอก บุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้นด้วย การประกันรถยนต์แบ่งออกตามประเภทการ
คุ้มครองภัยทางรถยนต์ได้ 2 ประเภท ได้แก่
1.2.2.1 การคุ้มครองรวม (Comprehensive Cover) หมายถึง การประกันภัยรถยนต์
โดยรวมความคุ้มครองทุกอย่างที่เกี่ยวกับความเสียหายของรถยนต์ที่เกิดจากอุบัติเหตุภายนอก รวมถึง
กรณี ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ถูกโจรกรรม เป็นต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น
บทที่1ความรู้เบื้องต้น

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...
แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...
แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...Totsaporn Inthanin
 
กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์สภาพโรงเรียนด้วยเทคนิคSwot
กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์สภาพโรงเรียนด้วยเทคนิคSwotกรณีตัวอย่างการวิเคราะห์สภาพโรงเรียนด้วยเทคนิคSwot
กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์สภาพโรงเรียนด้วยเทคนิคSwotWeerachai Jansook
 
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55Decode Ac
 
แนวคิดสำคัญของนักปรัชญาอัตถิภาวนิยม Soren kierkegaard
แนวคิดสำคัญของนักปรัชญาอัตถิภาวนิยม Soren kierkegaardแนวคิดสำคัญของนักปรัชญาอัตถิภาวนิยม Soren kierkegaard
แนวคิดสำคัญของนักปรัชญาอัตถิภาวนิยม Soren kierkegaardPadvee Academy
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1Tee Prom
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานAjBenny Pong
 
มูลค่าเงินตามเวลา
มูลค่าเงินตามเวลามูลค่าเงินตามเวลา
มูลค่าเงินตามเวลาtumetr1
 
1กำหนดการสอนพรพนาวิทย์เพิ่มเติม 1 57 พ.ค
1กำหนดการสอนพรพนาวิทย์เพิ่มเติม 1 57  พ.ค1กำหนดการสอนพรพนาวิทย์เพิ่มเติม 1 57  พ.ค
1กำหนดการสอนพรพนาวิทย์เพิ่มเติม 1 57 พ.คkrupornpana55
 
พฤติกรรมนิยม
พฤติกรรมนิยมพฤติกรรมนิยม
พฤติกรรมนิยมEye E'mon Rattanasiha
 
การสะท้อนของแสง
การสะท้อนของแสงการสะท้อนของแสง
การสะท้อนของแสงPonpirun Homsuwan
 
Motivation (แรงจูงใจ) ch.7 สำหรับนิสิตวิชาพฤติกรรมผู้บริโภค
Motivation (แรงจูงใจ) ch.7 สำหรับนิสิตวิชาพฤติกรรมผู้บริโภคMotivation (แรงจูงใจ) ch.7 สำหรับนิสิตวิชาพฤติกรรมผู้บริโภค
Motivation (แรงจูงใจ) ch.7 สำหรับนิสิตวิชาพฤติกรรมผู้บริโภคMahasarakham Business School, Mahasarakham University
 
โครงสร้างตลาด
โครงสร้างตลาดโครงสร้างตลาด
โครงสร้างตลาดtumetr1
 
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖Makiya Khompong
 
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1KruKaiNui
 

Was ist angesagt? (20)

Km cream
Km creamKm cream
Km cream
 
ทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบ
 
แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...
แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...
แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึ...
 
กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์สภาพโรงเรียนด้วยเทคนิคSwot
กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์สภาพโรงเรียนด้วยเทคนิคSwotกรณีตัวอย่างการวิเคราะห์สภาพโรงเรียนด้วยเทคนิคSwot
กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์สภาพโรงเรียนด้วยเทคนิคSwot
 
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
 
Collaborative learning
Collaborative learningCollaborative learning
Collaborative learning
 
แนวคิดสำคัญของนักปรัชญาอัตถิภาวนิยม Soren kierkegaard
แนวคิดสำคัญของนักปรัชญาอัตถิภาวนิยม Soren kierkegaardแนวคิดสำคัญของนักปรัชญาอัตถิภาวนิยม Soren kierkegaard
แนวคิดสำคัญของนักปรัชญาอัตถิภาวนิยม Soren kierkegaard
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
Strategy and Competitive Advantage (ch.6)
Strategy and Competitive Advantage (ch.6)Strategy and Competitive Advantage (ch.6)
Strategy and Competitive Advantage (ch.6)
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงาน
 
มูลค่าเงินตามเวลา
มูลค่าเงินตามเวลามูลค่าเงินตามเวลา
มูลค่าเงินตามเวลา
 
1กำหนดการสอนพรพนาวิทย์เพิ่มเติม 1 57 พ.ค
1กำหนดการสอนพรพนาวิทย์เพิ่มเติม 1 57  พ.ค1กำหนดการสอนพรพนาวิทย์เพิ่มเติม 1 57  พ.ค
1กำหนดการสอนพรพนาวิทย์เพิ่มเติม 1 57 พ.ค
 
พฤติกรรมนิยม
พฤติกรรมนิยมพฤติกรรมนิยม
พฤติกรรมนิยม
 
การสะท้อนของแสง
การสะท้อนของแสงการสะท้อนของแสง
การสะท้อนของแสง
 
Motivation (แรงจูงใจ) ch.7 สำหรับนิสิตวิชาพฤติกรรมผู้บริโภค
Motivation (แรงจูงใจ) ch.7 สำหรับนิสิตวิชาพฤติกรรมผู้บริโภคMotivation (แรงจูงใจ) ch.7 สำหรับนิสิตวิชาพฤติกรรมผู้บริโภค
Motivation (แรงจูงใจ) ch.7 สำหรับนิสิตวิชาพฤติกรรมผู้บริโภค
 
โครงสร้างตลาด
โครงสร้างตลาดโครงสร้างตลาด
โครงสร้างตลาด
 
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖
แนวข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์ ม.๖
 
Se Ed Book Slide
Se Ed Book SlideSe Ed Book Slide
Se Ed Book Slide
 
วิชาต้นทุน บทที่ 2 ต้นทุนและงบ 1
วิชาต้นทุน บทที่ 2 ต้นทุนและงบ 1วิชาต้นทุน บทที่ 2 ต้นทุนและงบ 1
วิชาต้นทุน บทที่ 2 ต้นทุนและงบ 1
 
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
 

Andere mochten auch

บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐานบทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐานRungnapa Rungnapa
 
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง Rungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 การจัดการประกันภัย
บทที่ 1 การจัดการประกันภัยบทที่ 1 การจัดการประกันภัย
บทที่ 1 การจัดการประกันภัยRungnapa Rungnapa
 
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัดBuilding construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัดRungnapa Rungnapa
 
Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลRungnapa Rungnapa
 
Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาRungnapa Rungnapa
 
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงSuradet Sriangkoon
 
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่งบทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่งchakaew4524
 

Andere mochten auch (14)

บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐานบทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
บทที่ 3 แนวความคิดพื้นฐาน
 
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
 
บทที่ 1 การจัดการประกันภัย
บทที่ 1 การจัดการประกันภัยบทที่ 1 การจัดการประกันภัย
บทที่ 1 การจัดการประกันภัย
 
Ch10
Ch10Ch10
Ch10
 
Ch9
Ch9Ch9
Ch9
 
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัดBuilding construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
Building construction 5หลังคา แบบฝึกหัด
 
Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคา
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
 
Slide3
Slide3Slide3
Slide3
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
 
Building construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคาBuilding construction 5หลังคา
Building construction 5หลังคา
 
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
 
บทที่1 บทนำ
บทที่1 บทนำบทที่1 บทนำ
บทที่1 บทนำ
 
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่งบทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
บทที่ 8 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
 

Mehr von Rungnapa Rungnapa

บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2Rungnapa Rungnapa
 
บทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาลบทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาลRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดีบทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดีRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityบทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปบทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 10 การบริหารโครงการ
บทที่ 10 การบริหารโครงการบทที่ 10 การบริหารโครงการ
บทที่ 10 การบริหารโครงการRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตบทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลังบทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลังRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชนบทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชนRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิต
บทที่  6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิตบทที่  6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิต
บทที่ 6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิตRungnapa Rungnapa
 
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้ง
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้งบทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้ง
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้งRungnapa Rungnapa
 

Mehr von Rungnapa Rungnapa (19)

Ch8
Ch8Ch8
Ch8
 
Ch7
Ch7Ch7
Ch7
 
Ch5
Ch5Ch5
Ch5
 
Ch6 new
Ch6 newCh6 new
Ch6 new
 
Ch1 3
Ch1 3Ch1 3
Ch1 3
 
Ch1 3
Ch1 3Ch1 3
Ch1 3
 
บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2บทที่ 5 good corporate governance2
บทที่ 5 good corporate governance2
 
บทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาลบทที่ 4 บรรษัทภิบาล
บทที่ 4 บรรษัทภิบาล
 
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดีบทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
บทที่ 3 แนวปฏิบัติที่ดี
 
บทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibilityบทที่ 2 corporate social responsibility
บทที่ 2 corporate social responsibility
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปบทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไป
 
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูลบทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
บทที่ 1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับฐานข้อมูล
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 10 การบริหารโครงการ
บทที่ 10 การบริหารโครงการบทที่ 10 การบริหารโครงการ
บทที่ 10 การบริหารโครงการ
 
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตบทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
 
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลังบทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 8 การจัดการสินค้าคงคลัง
 
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชนบทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
บทที่ 7 การจัดการซัพพลายเชน
 
บทที่ 6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิต
บทที่  6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิตบทที่  6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิต
บทที่ 6 การออกแบบงาน มาตรฐานแรงงาน และเทคโนโลยีการผลิต
 
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้ง
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้งบทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้ง
บทที่ 5 การเลือกทำเลที่ตั้ง
 

บทที่1ความรู้เบื้องต้น

  • 1. บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันภัย การประกันภัยเป็นวิธีการโอนความเสี่ยงภัยลักษณะหนึ่ง การประกันภัยเกิดขึ้นมาเป็นเวลา ช้านานแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ทรัพย์สิน ชีวิต ร่างกาย ใกล้เคียงกับความเป็นจริงจากภัยที่บุคคลไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ปัจจุบันลักษณะการ ดารงชีวิตของบุคคลล้วนอยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการดารงชีวิตประจาวันหรือการ ประกอบอาชีพ ซึ่งหากเกิดภัยอันตรายที่ไม่ได้คาดคิดและเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า ผลของภัยอันตราย เหล่านั้นอาจส่งผลกระทบต่อวิถีการดาเนินชีวิตประจาวัน ทรัพย์สิน หรือแม้กระทั่งชีวิตของบุคคลได้ การประกอบธุรกิจก็เช่นเดียวกัน ย่อมเผชิญต่อภัยที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน และหากภัยนั้นมีระดับ ไม่รุนแรง ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจสามารถแบกรับภาระไว้เองได้ แต่หากภัยมีระดับรุนแรง ย่อมส่งผลต่อความมั่นคงของธุรกิจ รวมถึงขวัญและกาลังใจของพนักงานด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกใจ ว่าเพราะเหตุใดการประกันภัยจึงได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจาวันของเรามากขึ้น ดังจะพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการทาประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เพื่อความสะดวก รวดเร็วกรณีเจ็บป่วย หรือ เสียชีวิต หรือแม้แต่การประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยทรัพย์สิน ฯลฯ เนื่องจากการประกันภัยเป็นวิธีการ ถ่ายโอนความเสี่ยงภัยลักษณะหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลยังคงอยู่ในสภาพใกล้เคียงกับความเป็นจริง จากภัยซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ความหมายของการประกันภัย มีนักวิชาการจานวนมากได้ให้นิยามความหมายของคาว่า การประกันภัย โดยขอยกมากล่าว เป็นตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ เอกราช หนูแก้ว (2548 : 365) ได้ให้ความหมายของการประกันภัย ว่าหมายถึง วิธีการเฉลี่ย ความเสียหาย หรือกระจายความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นแก่บุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง เพื่อเป็นการบรรเทา ความเดือดร้อนของผู้ประสบเคราะห์ภัยให้พ้นจากความเสียหาย วิธีการก็คือ สมาชิกทุกคนที่ประสงค์ จะเข้าร่วมโครงการจะต้องจ่ายเงินจานวนคนละเล็กคนละน้อยที่เรียกกันว่าเบี้ยประกันภัยให้กับ กองทุนกลาง และเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งประสบเคราะห์ภัยก็จะได้รับชดใช้จากกองทุนกลางนั้น โดยมี บริษัทประกันภัยทาหน้าที่เป็นคนกลางคอยเฉลี่ยความเสียหายให้
  • 2. 2 จารุพร ไวยนันท์ (2552 : 43) ได้ให้ความหมายของการประกันภัยว่าความหมายของการ ประกันภัยอาจแบ่งได้เป็น 3 ความหมายกว้าง ๆ ดังนี้ 1. การร่วมเฉลี่ยความเสี่ยง (Risk Sharing) การประกันภัย หมายถึง สถาบันทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ทาหน้าที่ในการลดภาวะความเสี่ยง (Reduces Risk) โดยการรวมบุคคลที่ต้องเผชิญลักษณะ ของภัยที่มีลักษณะเหมือน (Homogeneous) หรือคล้ายกันมาร่วมกันเฉลี่ยความเสี่ยง (Risk Sharing) ผ่านวิธีการประกันภัย โดยที่ภัยดังกล่าวจะต้องเป็นภัยที่สามารถคาดคะเนตามหลักคณิตศาสตร์ได้ล่วงหน้า จากความหมายดังกล่าว จะเห็นว่า การประกันภัยมีผู้รับประกันทาหน้าที่เป็นคนกลางในการ รวบรวมเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยจานวนมากมารวมไว้เป็นเงินกองกลาง และเมื่อเกิดความ เสียหายขึ้นแก่ผู้เอาประกันภัยรายใด ผู้รับประกันจะนาเงินกองกลางนั้น จ่ายชดใช้ให้ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับ ความเดือดร้อน ดังนั้น จึงเห็นว่าผู้รับประกันภัยมิใช่ผู้รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย แต่ผู้เอาประกันภัย ด้วยกันเองเป็นผู้ร่วมบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยการร่วมเฉลี่ยความเสี่ยงภัยโดยมีผู้รับประกันภัย ทาหน้าที่เป็นคนกลางในการรวบรวมและจัดสรรเงินดังกล่าว 2. เป็นสัญญาระหว่างผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัย การประกันภัย ระหว่างบุคคล ทั้งสองฝ่าย จึงหมายถึง สัญญา (Contract) ระหว่างผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัย ตามกฎหมาย ระหว่างฝ่ายหนึ่งสัญญาว่าจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน หากเกิดความเสียหายขึ้นกับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าผู้เอาประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยสัญญาว่าจะจ่ายเงินจานวนหนึ่งซึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” เป็นค่าคุ้มครอง (Protection) ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้แก่ผู้รับประกันภัย จากความหมายดังกล่าว การประกันภัยจึงเป็นสัญญาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือ ผู้รับประกันภัย (Insurer) เป็นฝ่ายที่ตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือชดใช้เงินจานวนหนึ่งให้แก่ คู่สัญญาเมื่อเกิดภัยขึ้น ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้เอาประกันภัย (Insured) เป็นฝ่ายตกลงที่จะจ่ายค่าเบี้ย ประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย เพื่อซื้อความคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น 3. เป็นสถาบันการเงิน สถาบันประกันชีวิตถือเป็นสถาบันทางการเงิน (Financial Institution) ประเภทหนึ่งที่ทาหน้าที่ระดมเงินออมระยะยาว (Long Term Saving) ในรูปของเบี้ย ประกัน (Premium) โดยนาค่าเบี้ยประกันชีวิตหรือเบี้ยประกันภัยที่ได้รับล่วงหน้าไปลงทุนหาผลประโยชน์ ในตลาดเงินต่อไป เมธา สุพงษ์ (2554 : 9) ได้ให้ความหมายของการประกันภัยไว้ว่า หมายถึง การที่บุคคลฝ่าย หนึ่งทาหน้าที่เป็นหลักประกันแก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง โดยสัญญาว่าเขาจะไม่ต้องรับความเดือดร้อนจากภัย ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียหรือเสียหายแก่ชีวิตหรือทรัพย์สินของเขา โดยฝ่ายผู้ให้ หลักประกันจะจ่ายเงินชดใช้ให้ตามจานวนและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้หรือาจทาให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
  • 3. 3 ไว้นั้นกลับสู่สภาพดี หรือใกล้เคียงของเดิม โดยผู้ให้หลักประกันจะได้รับเงินตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งตาม จานวนที่ตกลงกันไว้ Crane (1984 : 9) ให้ความหมายของการประกันภัยไว้ว่า หมายถึง ระบบการจัดการความ เสี่ยงภัยโดยรวบรวมความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งหลาย โดยค่าของความสูญเสียจะมาเฉลี่ยกันไปในระหว่าง ผู้เข้าร่วมความเสี่ยงภัยทั้งหมด Dorfman (1991 : 2) ให้ความหมายของการประกันภัยว่า หมายถึง เป็นการจัดการทาง การเงิน ซึ่งจะแจกจ่ายค่าของความสูญเสียที่ไม่ได้คาดหวังไว้อีกครั้งหนึ่ง การประกันภัยจะเกี่ยวข้องกับ การโอนความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาไว้กองทุน ซึ่งเงินกองทุนนี้จะเฉลี่ยให้กับสมาชิกคนใดคนหนึ่งที่ ประสบความสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจานวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัย หากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคต ดังได้ระบุไว้ในสัญญาและในการนี้ บุคคลอีกคนหนึ่งตกลง จะส่ง เงินซึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” (พรศิริ แสงสุวรรณ, 2549 ) จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การประกันภัย หมายถึง การสัญญาว่าถ้าภัย เกิดขึ้นและมีความเสียหายเกิดขึ้นด้วยนั้น ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องเผชิญหรือรับภาระความเสียหาย แต่เพียงผู้เดียว ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้ตามสัญญาประกันภัยที่ได้ทากันไว้ ตัวอย่าง นายกบ ทาประกันภัยรถยนต์ไว้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่ารถยนต์ของนายกบ จะไม่เกิด อุบัติเหตุหรือเกิดความเสียหาย การทาประกันภัยรถยนต์ของนายกบ เป็นหลักประกันว่าหากรถยนต์ของ นายกบ ประสบอุบัติเหตุเกิดความเสียหายตามเงื่อนไขที่ตกลงตามสัญญาประกันภัยเมื่อใด นายกบ ไม่ต้องเป็นผู้รับภาระความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นแต่เพียงผู้เดียว ผู้รับประกันภัยจะเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้น ความเป็นมาของการประกันภัย สาหรับประวัติความเป็นมาของการประกันภัย สามารถอธิบายได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ประวัติ ความเป็นมาของการประกันภัยของโลก และประวัติความเป็นมาของการประกันภัยในประเทศไทย 1. ประวัติความเป็นมาของการประกันภัยของโลก ตามปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับโจเซฟและความอดอยากในประเทศอียิปต์ ซึ่งถือว่า เป็นที่มีของการประกันภัยอันดับต้น ๆ เท่าที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เล่ากันว่าคืนวันหนึ่งฟาโรห์ทรง
  • 4. 4 พระสุบินว่า มีวัวอ้วนเจ็ดตัวกาลังถูกวัวผอมเจ็ดตัวกัดกิน โจเซฟทานายฝันว่าประเทศอียิปต์จะมีพืชพันธุ์ ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์เป็นเวลาเจ็ดปี และต่อจากนั้นจะเกิดความแห้งแล้ว ประชาชนจะอดอยากปาก แห้งอีกเป็นเวลาเจ็ดปี ดังนั้นจึงได้ทูลเสนอต่อกษัตริย์ฟาโรห์ให้สะสมธัญญาหารในปีที่สมบูรณ์เอาไว้ สาหรับเลี้ยงประชาชนในปีที่ข้าวยากหมากแพง วิธีนี้เรียกได้ว่าเป็นหลักประกันภัยพื้นฐาน กล่าวคือ มีการ เก็บออมตั้งแต่วันนี้เพื่อไว้ใช้ในอนาคตซึ่งหาความแน่นอนไม่ได้ ต่อมาเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเริ่มต้นจากการที่ชาวบาบิโลเนียน (Babylonian) แห่งลุ่มแม่น้ายูเฟรติส ได้มีการพัฒนาการค้าและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเพื่อส่งไปขายยังต่างเมือง ซึ่งอาศัยแรงงานจากทาสหรือบริวารในยุคนั้นเพื่อขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง ซึ่งบรรดาทาสหรือบริวารเหล่านั้นจะต้องปฏิบัติงานตามคาสั่งของเจ้านายอย่างเคร่งครัด ต่อมาได้มีการ มอบหมายให้บุคคลอื่นทาหน้าที่ในการขนส่งสินค้า หรือวัตถุดิบไปจาหน่ายยังต่างเมืองแทน และได้เรียก บุคคลเหล่านี้ว่าพ่อค้าเร่ (Traveling Salesman) ดังนั้นเพื่อเป็นหลักประกันว่าพ่อค้าเร่จะไม่คดโกง เจ้าของสินค้า พ่อค้าเร่จะต้องมอบทรัพย์สิน ภรรยา และบุตรไว้กับเจ้าของสินค้าเพื่อเป็นหลักประกันโดย มีสัญญาว่า เมื่อเดินทางกลับจากการขายสินค้าแล้วพ่อค้าเร่จะต้องแบ่งกาไรให้กับเจ้าของสินค้าครึ่งหนึ่ง หากพ่อค้าเร่หนีหรือถูกโจรปล้นเอาสินค้าไปหมด บรรดาทรัพย์สิน ภรรยา และบุตรของพ่อค้าเร่จะต้อง ตกเป็นทาสของเจ้าของสินค้า และด้วยเงื่อนไขนี้เองทาให้บรรดาพ่อค้าเร่เกิดความไม่พอใจและไม่ยอมรับ เงื่อนไข จนในที่สุดจึงต้องตกลงเงื่อนไขร่วมกันใหม่ว่า หากการสูญเสียสินค้าเกิดขึ้นโดยมิใช่ความผิดของ พ่อค้าเร่หรือพ่อค้าเร่มิได้เพิกเฉยต่อการป้องกันรักษาสินค้าอย่างเต็มที่แล้ว ให้ถือว่าพ่อค้าเร่ไม่มีความผิด เจ้าของสินค้าจะยึดเอาทรัพย์สิน ภรรยา และบุตรของพ่อค้าเร่ไม่ได้ ต่อมาข้อตกลงนี้จึงได้เป็นที่ยอมรับ และใช้กันมาอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ค้าขายสมัยนั้น ซึ่งถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นการเริ่มต้นของการ ประกันภัยในสมัยโบราณ ยุคต่อมาชาวกรีกได้พัฒนาแนวความคิดของชาวบาบิโลเนียนมาประยุกต์ใช้กับกิจการ เดินเรือของตน ซึ่งเรียกแนวคิดนี้ว่าสัญญาบอตตอมรี่ (Bottomry) เป็นสัญญาที่เจ้าของเรือ ผู้ต้องการ จะส่งสินค้าไปขายยังอีกเมืองหนึ่งซึ่งอยู่ห่างไกลจาเป็นต้องกู้เงินจากนายทุนเงินกู้เพื่อนาเงินไปเป็นทุน ในการค้าขาย เจ้าของเรือที่มีเรือเป็นของตนเองสามารถนาเอาเรือของตนมาเป็นหลักประกันเงินกู้ โดยมี เงื่อนไขว่าถ้าเรือสินค้ากลับมาจากการขายสินค้าแล้วจะต้องชดใช้เงินที่กู้ไปทั้งหมด หากบิดพลิ้วนายทุน เงินกู้จะยึดเรือนั้นเพื่อชดใช้หนี้เงินกู้ หากเรือสินค้าลาดังกล่าวประสบภัยระหว่างทางหรือไม่สามารถ กลับมายังเมืองท่าต้นทางได้เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถมาเรียกร้องให้ชดใช้หนี้สินได้ กรณีผู้กู้ไม่ได้เป็นเจ้าของ เรือมีแต่สินค้าที่ส่งไปขายหรือผู้ที่ต้องการจะซื้อสินค้ากลับมาผู้กู้จะเอาสินค้าเหล่านั้นเป็นหลักประกัน สาหรับเงินกู้ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสัญญาเงินกู้ที่มีสินค้าเป็นประกันเรียกว่าสัญญาเรสปอนเดนเทีย
  • 5. 5 (Respondentia) จึงถือว่าการประกันภัยทางทะเลได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลานี้ ประกอบกับได้มีการจัดตั้ง สถาบันการประกันภัยทางทะเลขึ้นในกรุงเอเธนส์ ในสมัยนั้นการประกันภัยมาจากระบบการค้าขายที่ ต้องส่งสินค้าจากเมืองหนึ่งไปขายยังเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปซึ่งทาให้เกิดความเสี่ยงภัยเป็นอันมาก สินค้าอาจไปไม่ถึงปลายทางด้วยสาเหตุที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เหล่าพ่อค้าจึงจาเป็นต้อง แสวงหาหลักประกัน (Guarantee) ไว้ชดเชยความเสียหายเมื่อเกิดภัยขึ้น การหาหลักประกันดังกล่าวแม้ จะไม่ใช้หลักเกณฑ์ของการประกันภัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ตาม แต่ก็ได้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีแนวความคิด ที่จะหาทรัพย์สินอันหนึ่งอันใดมาชดเชยความเสียหาย (Indentified) ที่เกิดขึ้นกับตน แต่หลักประกันภัย ที่แท้จริงคือการกระจายความเสี่ยงภัยจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นอีกหลายคน ถือเป็นการกระจาย ความเสี่ยง สาหรับแนวคิดการประกันภัยของพ่อค้าชาวจีนเริ่มขึ้น เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน คริสตกาล โดยชาวจีนที่อาศัยแม่น้าแยงซีเกียงเป็นเส้นทางในการขนส่งสินค้าเพื่อไปขายยังเมืองท่าต่าง ๆ และมีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เช่น ลมพายุ ฝนตกหนัก กระแสน้าที่ไหลเชี่ยว เป็นต้น พ่อค้าชาวจีน เกรงว่าอาจเกิดความเสียหายขึ้นกับสินค้าระหว่างการขนส่งจึงได้นาสินค้าที่จะขนส่งเพื่อไปจาหน่ายแบ่ง ลงเรือหลาย ๆ ลา ซึ่งมีความคิดว่าหากเรือลาใดประสบภัยพิบัติจมลง พ่อค้าก็ยังเหลือสินค้าในเรือลาอื่น ส่งไปถึงปลายทางได้ วิธีการนี้ถือเป็นการกระจายโอกาสที่จะเกิดความเสียหายออกไป ต่อมาเมื่อ 200 ปี ก่อนคริสตกาล ชาวโรมันใช้วิธีการลงทุนซื้อเรือเพื่อขนสินค้าไปขายยังเมืองท่าต่าง ๆ กล่าวคือ พ่อค้าชาวโรมัน จะไม่ซื้อเรือทั้งลามาเป็นเจ้าของเพียงรายเดียว หากแต่จะชักชวนผู้อื่นมาร่วมลงทุน พ่อค้าแต่ละคน จะเป็นเจ้าของเรือแต่ละลา หากเรือลาใดเสียหายไปก็ยังมีเรือลาอื่นเหลืออยู่ไม่สูญเสียทั้งหมด จึงไม่ทาให้ กิจการของเหล่าพ่อค้านั้นต้องหยุดชะงักหรือล้มละลาย หลักการเช่นนี้เป็นการกระจายความเสี่ยงภัย ที่คล้ายกับการประกันภัยในปัจจุบัน ประวัติการประกันภัยในทวีปยุโรป เมื่อประมาณ 2,000 ปี ที่ผ่านมาได้อาศัยทะเลเมดิเตอร์- เรเนียนเป็นเส้นทางการค้าขายที่สาคัญที่สุดโดยเฉพาะประเทศริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านตะวันออก ซึ่งนับว่าเป็นศูนย์กลางกิจการค้าของยุโรปในขณะนั้น พ่อค้าชาวยุโรปได้ส่งสินค้าไปขายยังต่างเมือง โดยใช้การเดินทางทั้งทางบกและทางทะเล สาหรับการเดินทางติดต่อค้าขายทางทะเลมีค่าใช้จ่าย น้อยกว่าทางบก เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางบกต้องอาศัยกาลังคนจานวนมากในการคุ้มกันทรัพย์สิน และลาเลียงสินค้าไปเป็นกองคาราวาน จึงมีค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานในการเดินทางแต่ละเที่ยว ค่อนข้างสูง การขนส่งทางทะเลถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายน้อยแต่ก็เต็มไปด้วยภัยพิบัตินานัปการ เช่น ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากคลื่นลม พายุ ฟ้าผ่า และโจรสลัด เป็นต้น การขนส่งสินค้าทางเรือในสมัยนั้นยังใช้ เรือใบขนาดเล็กเป็นพาหนะซึ่งมีความเสี่ยงภัยสูง ดังนั้น จึงเรียกการขนส่งสินค้าทางเรือว่าเป็นการ
  • 6. 6 เสี่ยงภัยทางทะเล (Marine Adventure) เมื่อเกิดภัยขึ้นพ่อค้าที่ทาการค้าขายโดยวิธีการขนส่งสินค้า ทางทะเลแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ด้วยสาเหตุแห่งการเสี่ยงภัยทางทะเลดังกล่าวจึงเกิดระบบการกู้ยืมเงิน เพื่อจัดหาสินค้าและพาหนะสาหรับขนส่งสินค้าไปขายยังเมืองต่าง ๆ โดยใช้สินค้าหรือเรือที่เป็นพาหนะ ในการขนส่งเป็นหลักประกันเงินกู้ หากเรือขนส่งสินค้าเดินทางกลับมาอย่างปลอดภัย นายทุนที่ให้กู้ยืมเงิน ก็จะได้เงินกู้คืนพร้อมด้วยส่วนแบ่งที่เป็นผลกาไรของจานวนเงินกู้ กรณีที่เรือประสบภัยพิบัติสูญเสีย ทั้งชีวิตของผู้กู้และสินค้า นายทุนเงินกู้ไม่สามารถเรียกร้องให้ชดใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าว ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ชาวลอมบาร์ด (The Lombards) ประเทศอิตาลีได้อพยพมาตั้งถิ่น ฐานในกรุงลอนดอนได้นาระบบเงินกู้ของชาวกรีกโบราณ ซึ่งมีตัวเรือและสินค้าเป็นหลักทรัพย์ในการ ค้าประกันมาใช้ในการกู้เงินที่มีเรือเป็นหลักทรัพย์ค้าประกัน เรียกว่าสัญญาบอตตอมรี่ (Bottomry Bond) และเรียกสัญญาเงินกู้ที่เอาสินค้ามาค้าประกันว่าสัญญาเรสปอนเดนเทีย (Respon-Dentia Bond) กลุ่มพ่อค้าชาวลอมบาร์ดได้คิดระบบกระจายความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้าทางทะเล โดยจะไม่ให้เงินกู้ในลักษณะการจัดหาเรือและซื้อสินค้า แต่จะจ่ายเงินให้เมื่อเกิดภัยพิบัติทางทะเล แล้วทาให้เกิดความเสียหายกับตัวเรือและสินค้าที่ขนส่งกับเจ้าของเรือและสินค้า แทนวิธีการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมหรือเบี้ยประกันภัย (Premium) จากเจ้าของเรือหรือสินค้าซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยง และเป็นจุดเริ่มต้นของการทาประกันภัยขนส่งทางทะเล ตามประวัติศาสตร์การประกันภัยขนส่งทางทะเล มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว ในประเทศอังกฤษราวศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากในสมัยนั้นประเทศ อังกฤษ มีการค้าขายทางทะเลมากกว่าประเทศอื่นใดทวีปในยุโรป ทาให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับการ กระจายความเสี่ยงจากภัยทางทะเลมากขึ้น การประกันภัยทางเรือและสินค้าในกรุงลอนดอนจึงมีพ่อค้า ผู้มีความประสงค์เข้ารับเสี่ยงภัย ในการเดินทางหรือขนส่งเพื่อหวังจะได้รับค่าธรรมเนียมตอบแทน กิจการค้า หลายประเภทมีการติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้าซึ่งมีการพบปะพูดคุยในเรื่องของกิจการค้าภายในร้าน กาแฟต่าง ๆ ในกรุงลอนดอนด้วยเหตุนี้เองธุรกิจประกันภัยจึงเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีการติดต่อเจรจา เอาประกันภัยและรับประกันภัย บรรดาร้านกาแฟเหล่านั้นมีร้านกาแฟแห่งหนึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้าเทมส์ มีเจ้าของชื่อ นายเอ็ดเวิด ลอยด์ (Edward Lolyd) เป็นร้านกาแฟที่มีพ่อค้ามาพบปะและเจรจาการค้า ในร้านกาแฟร้านนี้เป็นจานวนมาก ส่วนมากเป็นเจ้าของเรือและเจ้าของสินค้าที่ทาการขนส่งสินค้าโดยใช้ เรือเป็นพาหนะ รวมทั้งพ่อค้าอื่นที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับการเสี่ยงภัยทางทะเล เช่น เจ้าของเงินกู้ นายธนาคาร นายหน้าซื้อขายสินค้า ฯลฯ นายเอ็ดเวิด ลอยด์ ได้ช่วยเหลือและส่งเสริมพ่อค้าหรือผู้รับ ประกันภัย (Underwriters) ลงลายมือชื่อลงบนส่วนล่างของสัญญาประกันภัยเพื่อให้สัญญาประกันภัย เหล่านั้นมีผู้รับประกันภัยเสี่ยงภัยจนครบจานวนเงินเมื่อเอาประกันภัย นายเอ็ดเวิด ลอยด์ ได้จัดหาข่าว เกี่ยวกับการเดินเรือ สถิติของเรือแต่ละลาและความสามารถของเรือรวมทั้งกัปตันและลูกเรือที่ได้ผ่าน
  • 7. 7 การผจญภัยในการเดินเรือตามเส้นทางต่าง ๆ มาเสนอพ่อค้าและผู้รับประกันภัยในปี ค.ศ.1696 นายเอ็ด เวิด ลอยด์ ได้จัดพิมพ์ใบปลิวที่เรียกว่า Lloyd’s News ซึ่งต่อมาได้ถูกรัฐบาลอังกฤษสั่งห้ามตีพิมพ์ ช่วงเวลาต่อมาได้มีการออกหนังสือพิมพ์รายวันชื่อ Lloyd’s List ซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ถือว่าเป็น หนังสือพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงลอนดอน และปัจจุบันก็ยังคงมีการตีพิมพ์เพื่อจาหน่าย ปี ค.ศ.1769 ร้านกาแฟของนายเอ็ดเวิด ลอยด์ ได้ย้ายมาตั้งที่ใหม่โดยใช้ชื่อว่า New Lloyd’s Coffee House ที่ Pope’s Head Alley ต่อมาปีค.ศ.1771 มีการก่อตั้งคณะกรรมการของนายลอยด์ขึ้นเพื่อบริหารธุรกิจ ประกันภัย ในปี ค.ศ.1774 ได้ย้ายที่ทาการแห่งใหม่ Royal Exchange ในกรุงลอนดอน และได้ใช้ชื่อ อย่างเป็นทางการว่า Lloyd’s Insurance การดาเนินธุรกิจเป็นไปตามกฎหมายซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบ ของรัฐสภาอังกฤษ ปี ค.ศ.1871 Lloyd’s Insurance ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของธุรกิจประกันภัยบนถนน Line Street มีสมาชิกรับประกันภัยในนามของลอยด์ประมาณ 18,500 คน การรับประกันภัยกระทา โดยกลุ่มผู้รับประกันภัย (Syndicate) และกลุ่มผู้รับประกันภัยเหล่านี้เรียกว่า Underwriter ซึ่งมีสิทธิ ลงลายมือชื่อรับประกันในนามของกลุ่มผู้รับประกันภัย โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้รับ ประกันภัยทางทะเล (Marine) และกลุ่มรับประกันภัยอื่นนอกจากภัยทางทะเล (Non Marine) Lloyd’s Insurance ถือว่าเป็นธุรกิจประกันภัยที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน 2. ประวัติความเป็นมาของการประกันภัยในประเทศไทย สาหรับการประกันภัยเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ขณะนั้น ประเทศไทยทาการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติจึงเริ่มมีการประกันภัยเกิดขึ้นบ้างแล้ว โดยเฉพาะการ ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง แต่เป็นกรณีที่ชาวต่างชาติรับทาการประกันภัยเอง ต่อมาในสมัยกรุง รัตนโกสินทร์ประมาณปี พ.ศ.2368 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้ทรง สั่งซื้อเครื่องพิมพ์จากประเทศอังกฤษ และทรงเกรงว่าจะเกิดความเสียหายขึ้นระหว่างการขนส่ง จึงทรงมี พระราชดารัสรับสั่งให้เอาประกันภัยเครื่องพิมพ์ดังกล่าวระหว่างการขนส่งในนามของพระองค์เอง แสดง ว่าการประกันภัยนั้นเริ่มแผ่เข้ามาถึงประเทศไทยแล้ว และอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยรู้จักวิธีการ ประกันภัยหรือการประกันภัยการขนส่งสินค้า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนการจะนับว่าการประกันภัย เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยตรงนั้นเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 กล่าวคือ ชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งห้างค้าขาย ในประเทศไทยมากขึ้น ห้างฝรั่งเศสเหล่านี้บางห้างเป็นตัวแทนของบริษัทประกันภัยต่างประเทศด้วย เท่าที่ปรากฏมีดังนี้ (ปี พ.ศ.2399) ห้างบอเนียว เป็นตัวแทนของ Netherlands India Sea and Fire Insurance Company รับประกันภัยทางทะเล และอัคคีภัยกับเป็นตัวแทนของ North China Insurance Company ห้างสก๊อต เป็นตัวแทนของ Ocean Marine Insurance Company ปี พ.ศ.2401 ห้าง
  • 8. 8 บิกเกนแบ็ก เป็นตัวแทนของ Colonial Sea and Fire Insurance Company ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 คณะทูตจากประเทศอังกฤษได้ขอพระบรมราชานุญาตให้ บริษัท อิ๊สเอเชียติก จากัด ซึ่งเป็นกิจการ ประกันภัยของชาวอังกฤษ เข้ามาดาเนินกิจการรับประกันชีวิตของประชาชนชาวไทย และชาวต่างประเทศ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในฐานะตัวแทนของบริษัท เอควิตาเบิลประกันภัย แห่งกรุงลอนดอน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชานุญาต โดยมีสมเด็จพระยาบรม มหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ถือกรมธรรม์เป็นคนแรก หลังจากนั้นธุรกิจประกันชีวิตก็ไม่ประสบผลสาเร็จเพราะ กรมธรรม์ต้องส่งมาจากประเทศอังกฤษ และคนไทยยังไม่มีความสนใจธุรกิจประกันชีวิตทาให้ธุรกิจต้อง หยุดชะงักไปในปลายรัชกาลที่ 5 อย่างไรก็ตามในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น กิจการประกันภัยในด้านที่ไม่ใช่ ประกันชีวิตก็ยังคงดาเนินอยู่ ห้างของชาวต่างชาติที่ตั้งในประเทศไทยส่วนมากเป็นตัวแทนของบริษัท รับประกันภัยจากต่างประเทศ และนอกจากการรับประกันภัยทางทะเลและอัคคีภัยแล้ว การประกันชีวิต และการประกันภัยรถยนต์ก็เข้ามามีบทบาทในระยะเวลาต่อมา กฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวข้องกับการ ประกันภัย ที่มีหลักฐานปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนคือบทบัญญัติเกี่ยวกับการประกันภัย พระราชบัญญัติ ลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัท ร.ศ.130 (พ.ศ.2454) มาตรา 115 บัญญัติไว้ว่า “บริษัทเดินรถไฟ รถราง บริษัทรับประกันต่าง ๆ บริษัททาการคลังเงินเหล่านี้ท่านห้ามมิให้ตั้งขึ้นนอกจากได้รับพระบรม ราชานุญาต” ต่อมาในปี พ.ศ.2467 ได้มีการบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นมีบรรพ 3 ลักษณะ 20 เป็นเรื่องการประกันภัยรวมอยู่ด้วยเป็นการรับรู้ข้อตกลงในเรื่องประกันภัยว่าเป็นสัญญาที่ ผูกพันชอบด้วยกฎหมายและได้มีบทบัญญัติลักษณะห้างหุ้นส่วนบริษัท มาตรา 1014 ไว้ว่า ห้ามมิให้ตั้ง ห้างหุ้นส่วนบริษัทเพื่อทาการประกันภัยขึ้นเว้นแต่จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเริ่มควบคุมการก่อตั้งบริษัทประกันภัยไม่ให้ตั้งโดยเสรี แต่ยังมิได้ควบคุมการดาเนิน กิจการโดยตรง ชาวต่างประเทศในขณะนั้นได้ติดต่อขออนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยกับกระทรวง พาณิชย์และคมนาคม แต่ทางกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมยังไม่พร้อมที่จะรับการจดทะเบียน ประกอบธุรกิจประกันภัยในทันที เนื่องจากพบว่าการประกันภัยเป็นธุรกิจที่ต้องดาเนินโดยมีส่วนเกี่ยวพัน ถึงสาธารณชนในด้านความผาสุก และความปลอดภัยของประชาชนจึงได้มีการกาหนดธุรกิจประกันภัยไว้ ในกฎหมายที่ว่าด้วยความผาสุกและปลอดภัยแห่งสาธารณชนทั้งจาเป็นต้องกาหนดระเบียบการปฏิบัติใน การควบคุมธุรกิจให้มีมาตรฐานและปลอดภัยด้วยสาหรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ปี พ.ศ.2467 ดังกล่าวข้างต้นได้ถูกยกเลิกและใช้บทบัญญัติบรรพ 3 ที่ได้ตรวจชาระใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2472 ซึ่งบรรพ 3 ที่ตรวจชาระใหม่ มีบทบัญญัติลักษณะ 20 ว่าด้วยการประกันภัยตั้งแต่มาตรา 861 ถึง มาตรา 897 และมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
  • 9. 9 สาระสาคัญของการประกันภัย การประกันภัย มีการจัดทาขึ้นในลักษณะของสัญญาประกันภัย เป็นการตกลงร่วมกันระหว่าง ของบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) กับผู้เอาประกันภัย (ลูกค้า) โดยการออกเอกสาร สัญญาซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้หากเกิดภัยอันตรายแก่คู่สัญญา เรียกว่า ผู้เอาประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ชาระเงินจานวนหนึ่งให้แก่ผู้รับประกันภัยตามระยะเวลา ที่ได้ตกลงร่วมกัน เงินที่ผู้เอาประกันภัยชาระแก่ผู้รับประกันภัย เรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” (Premium) แสดงข้อตกลงของสัญญาให้ไว้เป็นหลักฐาน เอกสารสัญญาจะต้องมีเนื้อความที่มีการตกลงทาสัญญากันไว้ เอกสารนี้เรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” การประกันภัยในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การประกันชีวิต (Life Insurance) และการประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) ในทางวิชาการมักจะแบ่งการประกันภัย ออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ (ธานี วรภัทร์, 2548 : 33) 1. การประกันภัยบุคคล อาจได้แก่ การประกันชีวิต การประกันอุบัติเหตุ การประกันสุขภาพ 2. การประกันทรัพย์สิน อาจได้แก่ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง การประกันภัยรถยนต์ การประกันภัยเบ็ดเตล็ด 3. การประกันภัยความรับผิด หมายถึง ความรับผิดของบุคคลหนึ่งต่อบุคคลอื่นที่ได้รับความ เสียหายจากผลการกระทาของตน อาจได้แก่ ความรับผิดต่อบุคคล ความรับผิดชอบของผู้ประกอบอาชีพ เฉพาะ ความรับผิดของธุรกิจ จากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น สามารถอธิบายเป็นแผนภูมิได้ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 1.1 แผนภูมิการประกันภัย ที่มา : ธานี วรภัทร์, 2548 : 33. การประกันภัย การประกันบุคคล การประกันทรัพย์สิน การประกันความรับผิด -ประกันชีวิต -ประกันอุบัติเหตุ -ประกันสุขภาพ -ประกันอัคคีภัย -ประกันภัยทางทะเล และขนส่ง -ประกันภัยรถยนต์ -ประกันภัยเบ็ดเตล็ด -ความรับผิดส่วนบุคคล -ความรับผิดของผู้ ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ -ความรับผิดจากการ ประกอบธุรกิจ
  • 10. 10 ผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัย เมื่อมีการตกลงทาประกันภัยแล้ว มีผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัยอยู่ 3 ฝ่าย ได้แก่ 1. ผู้รับประกันภัย (Insurer) หมายถึง คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ ชดใช้เงินจานวนหนึ่งให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งได้แก่ บริษัทประกันชีวิต ที่ได้รับ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต รวมถึงสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ ที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจประกันชีวิตในราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 และที่แก้ไข เพิ่มเติม และบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย รวมถึงสาขาของ บริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. ผู้เอาประกันภัย (Insured) หมายถึง คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับ ประกันภัยจนกระทั่งครบกาหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาการประกัน ผู้เอาประกันภัยเป็นบุคคล ธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ 3. ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary) หมายถึง บุคคลผู้ถูกระบุไว้ในกรมธรรม์การประกันภัย ให้เป็นผู้ได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือรับจานวนเงินชดใช้ให้ ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกับ ผู้เอาประกันภัยหรือไม่ก็ได้ ผู้รับประโยชน์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ และผู้รับผลประโยชน์ได้แจ้ง ความประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้รับประกันภัยว่าตนถือเอาประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันภัย ฉบับนั้นแล้วจึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ วัตถุประสงค์ของการประกันภัย วัตถุประสงค์ของการประกันภัย คือ เพื่อแบ่งเบาความเสี่ยงจากบุคคล กลุ่มบุคคล หรือ ทรัพย์สินนั้น ๆ ออกเป็นส่วน โดยร่วมกันชดเชย เมื่อมีความสูญเสีย หรือ เสียหายเกิดขึ้น โดยยึดหลัก สุจริตเป็นสาคัญ และการทาประกันภัยมิใช่สัญญาเพื่อค้ากาไร แบบประกันภัยมาตรฐาน แบ่งออกเป็น 2 สายหลัก ได้แก่ การประกันชีวิต (Life Assurance) และการประกันวินาศภัย (Non Life Assurance) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (โสภาวรรณ นุ่มฤทธิ์, 2546) 1. วัตถุประสงค์ของการประกันวินาศภัย การประกันวินาศภัยมีวัตถุประสงค์ มีดังนี้
  • 11. 11 1.1 เป็นการกระจายความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับทรัพย์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปสู่ คนกลางจานวนมากอย่างเป็นธรรม โดยที่มีบริษัทประกันภัยเป็นแกนกลาง ซึ่งอาศัยข้อมูลที่ได้จาก การศึกษาค้นคว้าและทาเสนอแนะให้กับผู้เอาประกันภัย เพื่อปรับปรุงสภาวะความเสี่ยงภัยให้น้อยลง เป็นการลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น 1.2 ก่อให้เกิดสันติสุขแก่บุคคล เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมต้องการความมั่นคงแน่นอนในอนาคต นั่นหมายความว่า ถ้ามีวิธีใดที่จะทาให้บรรเทาจากความกังวลต่อภัยที่อาจทาให้เกิดความเสียหายและ สูญเสียในทรัพย์สินแล้ว ก็จะทาให้เกิดสันติสุขในใจได้ 1.3 เป็นการระดมทุนในการพัฒนาธุรกิจและนาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในแง่ ธุรกิจ การประกันวินาศภัยมีส่วนสนับสนุนธุรกิจต่าง ๆ เช่น สถาบันการเงินเพื่อให้แน่ใจว่า หากเกิดวินาศ ภัยขึ้นแก่ทรัพย์สินที่นามาจานองหรือจานา ค้าประกันเงินกู้ สถาบันการเงินเหล่านั้นจะได้เข้ากู้คืน 1.4 เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการประกอบธุรกิจ ธุรกิจประกันวินาศภัยยังเสริมสร้างความมั่นใจ ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจและขยายการลงทุน ทาให้เกิดเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม 2. วัตถุประสงค์ของการประกันชีวิต การประกันชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของการประกันภัย โดยผู้เอาประกันหรือผู้เอาประกันชีวิต จะได้รับเงินจานวนหนึ่งหากมีภัยเกิดขึ้นกับชีวิตที่เอาประกันภัยหรือเพราะเจ็บไข้ได้ป่วยหรืออุบัติเหตุ การประกันชีวิตมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มนุษย์สามารถดารงรักษาความต้องการของตนให้อยู่ตลอดกาล โดยหากปราศจากภยันตรายที่จะมาเบียดเบียน มนุษย์คงจะมีอายุยืนยาว แต่ในสภาพความเป็นจริง ตลอดเวลามนุษย์ต้องเผชิญต่อความเสี่ยงภัยหลายๆ รูปแบบ ซึ่งไม่สามารรถหลีกเลี่ยงให้พ้นหมดทุกอย่างได้ จึงทาให้อายุขัยของมนุษย์สั้นลง เกิดทุพพลภาพอันเป็นรากฐานที่ทาให้ฐานะทางเศรษฐกิจเสื่อมโทรมหรือ หมดสิ้นอย่างถาวร กรณีเสียชีวิตก่อนถึงเวลาอันสมควร ด้วยเหตุนี้เองมนุษย์จึงคิดวิธีการที่จะธารงรักษาความ ต้องการ ให้มีมากที่สุดเท่าที่จะทาได้และวิธีการที่ดีที่สุดอันหนึ่ง คือ วิธีการประกันชีวิต ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์ของการประกันชีวิตก็คือ การประกันการสูญเสียทางเศรษฐกิจของมนุษย์อันอาจจะเกิดขึ้น จากภยันตรายของการมรณกรรมก่อนกาหนดความชราภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วยและอุบัติเหตุ
  • 12. 12 ประโยชน์ของการประกันภัย ปัจจุบันการประกันภัยได้เข้ามามีบทบาทกับมนุษย์ทั้งในด้านการดารงชีวิตและการดาเนินธุรกิจ ยังเป็นประโยชน์ให้ทั้งบุคคลและนิติบุคคลอย่างมาก โดยสามารถสรุปเป็นรายด้านได้ดังนี้ (เมธา สุพงษ์, 2554 : 10) 1. ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย การประกันภัยมีประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1.1 การประกันภัยเป็นการมุ่งให้ความคุ้มครองต่อบุคคล ครอบครัวและทรัพย์สินของผู้เอา ประกันภัย เช่น กรณีการประกันชีวิต เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับ เงินชดเชยเป็นเงินจานวนหนึ่ง ถ้าผู้เอาประกันภัยทาประกันอุบัติเหตุควบคู่ไปกับการประกันชีวิตด้วย หากผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุจนทุพพลภาพถาวร ก็ได้รับเงินชดเชยจานวนหนึ่ง ซึ่งผู้รับประกันภัย จะจ่ายให้สาหรับเป็นค่ารักษาพยาบาลและเป็นค่าเลี้ยงชีพ บรรเทาความเดือดร้อนจากภัยที่ได้รับ ทาให้ ไม่ต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น 1.2 เป็นการปลูกฝังให้เกิดการออมไปในตัว เนื่องจากต้องเก็บเงินจานวนหนึ่งไว้ชาระค่าเบี้ย ประกันภัยให้ได้ตามจานวนที่ได้ตกลงไว้กับผู้รับประกันภัยและต้องชาระให้ทันภายในกาหนดเวลา การ ออมทาให้มีเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ยามชรา 1.3 สามารถนาค่าเบี้ยประกันชีวิตไปลดหย่อนภาษีได้ 2. ประโยชน์ต่อธุรกิจ ประโยชน์ของการประกันภัยที่มีต่อภาคธุรกิจหรือผู้ประกอบธุรกิจ มีดังนี้ 2.1 ก่อให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้น ไม่ว่าจะเกิด กับทรัพย์สิน หรือชีวิตของเจ้าของกิจการ 2.2 เพิ่มประสิทธิภาพในการดาเนินธุรกิจ เนื่องจากในการดาเนินธุรกิจไม่ว่าจะขนาดใหญ่ หรือเล็ก ธุรกิจย่อมดาเนินอยู่บนความเสี่ยง ผู้บริหารที่ดีควรตระหนักถึงความเสี่ยงในการดาเนินธุรกิจ หากมีการกระจายความเสี่ยงไปให้ผู้รับประกันภัยช่วยรับภาระให้ ก็จะทาให้การตัดสินใจในการดาเนิน ธุรกิจของผู้บริหารสามารถเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดาเนินงาน 2.3 เกิดเสถียรภาพด้านต้นทุนการผลิต นักธุรกิจที่กาลังเผชิญกับความเสี่ยงภัยย่อมต้องหา วิธีการในการจัดการกับความเสี่ยงภัย โดยอาจใช้วิธีการโอนความเสียงภัยไปให้บริษัทประกันภัยโดยยอม ชาระเบี้ยประกันภัยจานวนหนึ่ง ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้
  • 13. 13 2.4 ช่วยส่งเสริมธุรกิจบางประเภทให้เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับความเสี่ยงภัยมาก ๆ เช่น ธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจรับส่งสินค้า พาณิชย์นาวี เป็นต้น 3. ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม การประกันภัยมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ 3.1 เป็นการระดมทุนเพื่อนามาใช้ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากผู้รับประกันภัย จะได้รับเงินจานวนหนึ่งจากผู้เอาประกันภัย สาหรับสะสมไว้เป็นเงินชดเชยกรณีผู้เอาประกันภัยประสบภัย อันตราย โดยผู้รับประกันภัยจะนาเงินเหล่านั้นไปลงทุนกับแหล่งเงินอื่น เพื่อให้ได้ดอกผลกลับคืนมา วิธีดังกล่าวช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ 3.2 ช่วยลดภาระแก่สังคมและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสงเคราะห์จากภาครัฐ เนื่องจากการประกันภัยทาให้บุคคลมีความรับผิดชอบต่อตนเองในการออมเงิน และหากผู้เอาประกัน ได้รับความเสียหายจากการประสบภัยอันตราย ผู้รับประกันจะเป็นผู้ดูแลค่ารักษาพยาบาลและค่าครอง ชีพระหว่างการรักษาพยาบาล 3.3 เป็นการสร้างความมั่นคงในการดารงชีวิตของบุคคลและการดาเนินงานของภาคธุรกิจ ด้วยปัจจัยเสี่ยง และคุณประโยชน์ของการประกันภัย ดังที่กล่าวมา พบว่าการนาการประกันภัยเข้ามาใช้ เป็นเครื่องมือการบริหารความเสี่ยงที่สาคัญในปัจจุบัน สิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง คือการทาประกันภัย ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่บุคคล/ธุรกิจประสบ ตรวจสอบ ทบทวนการประกันภัยที่มีอยู่ รักษาระดับ ความคุ้มครองให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้มีความคุ้มครองต่อเนื่องและเหมาะสมกับความเสี่ยงตาม สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา การจัดแบ่งประเภทและชนิดของการประกันภัย การประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การประกันชีวิต (Life Insurance) และการประกันวินาศภัย (Property Insurance) โดยธุรกิจการประกันภัยทั้ง 2 ประเภท มีหลักเกณฑ์และมีการกากับดูแลภายใต้กฎหมายที่แตกต่างกัน การประกอบธุรกิจประกันชีวิตอยู่ภายใต้ การกากับดูแลของ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 สาหรับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย อยู่ภายใต้ การกากับดูแลของ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ราชบัณฑิตยสถาน (2554 : 123) ได้ระบุความหมายของ การประกันชีวิต (Life Insurance) ไว้ว่า เป็นการประกันภัยที่การจ่ายเงินอาศัยการทรงชีพหรือการมรณะของบุคคลเป็นเหตุในการจ่าย ดังนั้น สัญญาประกันชีวิตจึงเป็นสัญญาประกันภัยที่บริษัทรับประกันชีวิต ตกลงจะชดใช้เงินจานวนหนึ่ง
  • 14. 14 ให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้รับผลประโยชน์ เมื่อครบกาหนดสัญญาหากผู้เอาประกันชีวิตยังมีชีวิตอยู่ หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามที่กาหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตหรือชดใช้เงินให้แก่ทายาทหรือผู้รับประโยชน์ กรณีผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตาย สาหรับ ความหมายของ การประกันวินาศภัย (Property Insurance) ในมุมมองด้านกฎหมาย หมายถึง การประกันภัยเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ ที่สามารถประมาณมูลค่าเป็นเงินได้ รวมถึงความ สูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย ดังนั้น สัญญาประกันวินาศภัยจึงเป็นสัญญาที่บริษัทผู้รับ ประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเงินจานวนหนึ่งให้เพื่อความเสียหายที่สามารถประเมิน มูลค่าเป็นเงินได้ เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นกับวัตถุที่เอาประกันภัยหรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามที่กาหนดไว้ใน กรมธรรม์ประกันภัย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 869) 1. ประเภทของการประกันภัย การประกันภัยมี 2 ประเภท คือ การประกันชีวิต (Life Insurance) และการประกันวินาศภัย (Property Insurance) ซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียด ได้ดังต่อไปนี้ 1.1 การประกันชีวิต (Life Insurance) การประกันชีวิต เป็นแผนทางด้านการเงินของคนจานวนมากร่วมกันเฉลี่ยแบ่งเบา ความเสียหายที่เพิ่มขึ้นแก่ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง สืบเนื่องมาจากการสูญเสียชีวิตของหัวหน้า ครอบครัว ซึ่งมีอยู่จานวนน้อยและยังมีบุคคลอีกเป็นจานวนมากที่ไม่ถึงแก่ความตายก่อนวัยอันควรจะ ได้รับประโยชน์ผลจากการสะสมเงินจานวนหนึ่งไว้ การประกันชีวิตเป็นวิธีการชดเชยความสูญเสียอัน เนื่องมาจากผู้เอาประกันภัยประสบภัยอันตรายจนกระทั่งก่อให้เกิดความสูญเสียรายได้ของบุคคล/ ครอบครัว อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพของหัวหน้าครอบครัว โดยที่บุคคลในครอบครัว จะได้รับการชดใช้เงินจานวนหนึ่ง การประกันชีวิตทาขึ้นในรูปของสัญญาที่องค์การและบุคคลร่วมกัน จัดทาขึ้นเพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงภัย ในการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน เพื่อให้สามารถเผชิญกับภัยดังกล่าวได้ โดยผู้ประสบภัยไม่ต้องรับเคราะห์แต่เพียงผู้เดียว การประกันชีวิตในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ (เอกราช หนูแก้ว, 2548 : 372) 1.1.1 การประกันชีวิตแบบสามัญ (Ordinary Life Insurance) เป็นการประกันชีวิต รายบุคคล มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระจายความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยที่มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไป ให้ความคุ้มครองในจานวนเงินเอาประกันชีวิตตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป ทาให้การประกันภัยประเภทนี้ มีค่าเบี้ยประกันภัยสูงตามไปด้วย การประกันชีวิตประเภทสามัญแบ่งได้เป็น 4 แบบ ดังนี้ 1.1.1.1 แบบชั่วระยะเวลา (Term Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตที่
  • 15. 15 ให้ความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาหนึ่งและได้กาหนดไว้ในกรมธรรม์ อาจจะเป็น 5 ปี 10 ปี 15 ปี หรือ 20 ปี ขึ้นอยู่กับแบบประกันชีวิต โดยผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินค่าชดเชยตามจานวนเงินเอา ประกันภัยให้แก่ผู้รับผลประโยชน์กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กาหนดไว้ในสัญญา ประกันชีวิต 1.1.1.2 แบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตที่ผู้รับ ประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยตามจานวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับผลประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัย เสียชีวิตโดยไม่คานึงว่าจะเสียชีวิตในช่วงระยะเวลาใด 1.1.1.3 แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Life Insurance) เป็นการประกัน ชีวิตที่ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินตามจานวนเงินที่เอาประกันชีวิตให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ กรณีผู้เอา ประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กาหนดไว้ หรือจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่มีชีวิต อยู่ครบระยะเวลาที่กาหนดไว้ 1.1.1.4 แบบเงินได้ประจา (Annuity Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตที่ ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินได้ประจา หรือเงินบานาญให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ผู้เอา ประกันภัยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความชราภาพไปจนกระทั่งถึงวันที่ กาหนดไว้อาจเป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือตลอดอายุขัยของผู้เอาประกันภัย 1.1.2 การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม (Industrial Life Insurance) เป็นการ ประกันชีวิตรายบุคคลที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้มีรายได้น้อยซึ่งไม่สามารถซื้อประกันแบบอื่นได้ ดังนั้น จานวนเงินที่เอาประกันภัยจะต่า และการชาระเบี้ยประกันภัยมีกาหนดเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ไม่ มีการตรวจสุขภาพของผู้เอาประกัน การประกันชีวิตประเภทนี้เหมาะสาหรับครอบครัวของพนักงาน ระดับปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม 1.1.3 การประกันชีวิตประเภทกลุ่ม (Group Life Insurance) เป็นการประกันชีวิตซึ่งกาหนด ความคุ้มครองตนเองภายใต้สัญญากรมธรรม์ฉบับเดียว โดยทั่วไปจะกาหนดให้มีผู้เอาประกันภัยตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ผู้ถือกรมธรรม์ประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นพนักงานที่ทางานภายในบริษัทหรือโรงงาน อุตสาหกรรมเดียวกัน การชาระเบี้ยประกันชีวิต มีทั้งแบบที่นายจ้างเป็นผู้ชาระเบี้ยประกันชีวิตให้ หรือ นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันชาระเบี้ย การประกันชีวิตประเภทนี้อาจมีการตรวจสุขภาพหรือไม่มีก็ได้ 1.2 การประกันวินาศภัย (Property Insurance) การประกันวินาศภัย หมายถึง การประกันความเสียหายใด ๆ อันพึงประเมินเป็นมูลค่าเงิน ได้ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินหรือสินไหมทดแทน กรณีเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญา ซึ่งค่าสินไหมนั้น
  • 16. 16 จากัดไม่เกินความเสียหายที่แท้จริงภายในวงเงินที่ได้ เอาประกันภัยไว้ โดยทั่วไปการประกันวินาศภัย แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1.2.1 การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance) เป็นสัญญาที่คุ้มครองวินาศภัยอย่างแท้จริง อันเกิดแก่ทรัพย์สินที่เอาประกัน ซึ่งเป็นวินาศภัยที่เกิดจาก 1.2.1.1 ไฟ (Fire) หมายถึง ไฟที่ลุกขึ้นมาเป็นเปลวไฟที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ใคร เป็นเปลวไฟที่เกิดขึ้นแล้วทาลายทรัพย์สินต่าง ๆ ในทางทฤษฎีไฟจาแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ไฟที่เป็นมิตร (Friendly Fire) หมายถึง ไฟที่มนุษย์ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์อย่าง ใดอย่างหนึ่ง และลุกไหม้อยู่ในขอบเขตที่กาหนด หรือมีการควบคุมเป็นอย่างดี ตัวอย่างของไฟที่เป็นมิตร ได้แก่ ไฟที่จุดเพื่อให้แสงสว่าง ไฟที่จุดเพื่อให้ความอบอุ่น ไฟฟ้าที่ใช้ในกิจกรรมภายในบ้านเรือน สานักงาน 2) ไฟที่ไม่เป็นมิตร (Unfriendly Fire) หมายถึง ไฟที่เกิดขึ้นเองโดยเจตนา ทุจริต หรือไฟที่เป็นมิตรแต่ลุกลามออกนอกขอบเขตที่ตั้งใจไว้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือ สาธารณะ ความเสียหายชนิดนี้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อผู้เอาประกันภัย และไฟที่เกิดจาก อุบัติเหตุ เช่น การจุดไฟเผาหญ้าแห้งแล้วทาให้เกิดเพลิงไหม้ตัวอาคารที่พักอาศัย กรณีเช่นนี้ผู้รับ ประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อผู้เอาประกันภัยเช่นเดียวกัน 1.2.1.2 ฟ้าผ่า (Lightening) หมายถึง การเกิดภัยธรรมชาติจากฟ้าที่ผ่าลงมาแล้ว ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไม่ว่าจะโดยตรงหรือสืบเนื่องจากฟ้าผ่า และไม่ว่า จะเกิดการลุกไหม้ของไฟหรือไม่ก็ตาม หากทรัพย์สินได้รับความเสียหายย่อมได้รับความคุ้มครองจาก กรมธรรม์ประกันภัยทั้งสิ้น 1.2.1.3 การระเบิดของแก๊สหุงต้มหรือแก๊สที่ใช้สาหรับทาแสงสว่าง หมายถึง ไฟที่เกิด จากการระเบิดของแก๊สที่ใช้งานอยู่ภายในครัวเรือน ที่มิใช่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของการผลิตแก๊ส 1.2.2 การประกันภัยรถยนต์ (Automobile Insurance) หมายถึง การประกันความ สูญเสีย หรือความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ ได้แก่ ความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ รถยนต์รวมถึงความสูญเสียหรือความเสียหายที่รถยนต์ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของ บุคคลภายนอก บุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้นด้วย การประกันรถยนต์แบ่งออกตามประเภทการ คุ้มครองภัยทางรถยนต์ได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1.2.2.1 การคุ้มครองรวม (Comprehensive Cover) หมายถึง การประกันภัยรถยนต์ โดยรวมความคุ้มครองทุกอย่างที่เกี่ยวกับความเสียหายของรถยนต์ที่เกิดจากอุบัติเหตุภายนอก รวมถึง กรณี ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ถูกโจรกรรม เป็นต้น