SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 22
Downloaden Sie, um offline zu lesen
1สิงหาคม 2558 •
2
3 4
11
12 14
10
6 8
18 19
ก.วิทย์ฯ/สวทช. ร่วมกับ เชฟรอนประเทศไทย
สนับสนุนโครงการ “Enjoy Science: Let’s Print the World”
ก.วิทย์ฯ สวทช. จับมือเบทาโกรเปิดตัวนวัตกรรมอาหาร
“ไส้กรอกไขมันต่ำ�” ครั้งแรกของไทย
เอ็มเทค สวทช. ก.วิทย์ฯ จับมือภาคเอกชน
ส่งต่อผลงานวิจัยเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก
เปิดตัวหนังสือ ““๖๐ พรรษารัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” “ปังปอนด์ ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที”
หนังสือการ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำ�เนินเปิดงาน Asian Science Camp 2015
โครงการ EYH: ขยายขอบข่ายความรู้
สู่ความคิดวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 7
รมว.วท. นำ� 50 เอสเอ็มอีญี่ปุ่นบุกอุทยานฯ โชว์ศักยภาพ ผลงานวิจัยเนคเทคได้รับเกียรติ
ขึ้นหน้าปกวารสารนานาชาติ
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
บทสัมภาษณ์ Star
ทำ�งานวิจัยเพื่อมุ่งพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศ
ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง
ปฏิทินกิจกรรม Activity
ในเล่ม Insight
ข่าว News
บทความ Article
ผลิตภัณฑ์ไวรัส เอ็น พี วี
นวัตกรรมทางการเกษตรแบบยั่งยืน
ตัวช่วยคุมแมลงศัตรูพืช
15
2 nstda • สิงหาคม 2558
4 กรกฏาคม 2558 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย :
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ร่วมกับ บริษัท เซฟรอนประเทศไทยสำ�รวจและผลิต จำ�กัด ร่วมจัดกิจกรรมโครงการ“Enjoy Science: Let’s
Print the World” โดยมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ ซึ่งจะมีบทบาทสำ�คัญในอนาคต
ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการนำ�เทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วัน โดยมีเยาวชน
และประชาชนทั่วไปเป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งได้รับความสนใจจากเยาวชนและประชาชนส่งผลงานการออกแบบ
เข้ามาเป็นจำ�นวนมาก
นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า เทคโนโลยีการพิมพ์สาม
มิติ หรือ3DPrinting เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนามานานกว่า30 ปี นับตั้งแต่ช่วง
ปลายทศวรรษที่19 และมีการนำ�ไปใช้ประโยชน์แล้วอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการ
แพทย์ วิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้กำ�ลังได้รับความสนใจ
และแพร่หลายมากขึ้น ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำ�ให้เครื่องพิมพ์สามมิติ
มีประสิทธิภาพและเทคนิคการพิมพ์ที่ดียิ่งขึ้น สามารถพิมพ์ชิ้นงานต้นแบบที่มี
ความละเอียดและซับซ้อนได้มากขึ้น ใช้วัสดุพิมพ์ได้หลากหลายขึ้น ทำ�ให้การพิมพ์
วัสดุที่ต้องการมีความความรวดเร็วและแม่นยำ� โดยเฉพาะการสร้างโมเดลเสมือน
จริงหรือการขึ้นรูปชิ้นงาน ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อภาคอุตสาหกรรม หรือ
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
สนับสนุนโครงการ “Enjoy Science: Let’s Print the World”
สวทช./ก.วิทย์ฯ ร่วมกับ เชฟรอนประเทศไทย
แม้แต่วงการศิลปะและการออกแบบต่างๆ ในอนาคตยังมีแนวโน้มว่า เครื่องพิมพ์
สามมิติจะเข้าถึงผู้ใช้ระดับครัวเรือนมากขึ้น และทำ�ให้การพิมพ์สามมิติเข้ามามี
บทบาทและกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำ�วันของเราเช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์
ทั่วไปที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
​​โครงการนี้เป็นการประกวดความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ประโยชน์จาก
เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ แบ่งการประกวดเป็น 2 ประเภท คือ 1) ประเภท
นักเรียนนักศึกษาไม่เกินระดับปริญญาตรี และ 2) ประเภทบุคคลทั่วไป
การประกวดในรอบตัดสินจะมีขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม 2558 โดย
ผู้ชนะเลิศจากการประกวดทั้ง 2 ประเภท จะได้เข้าร่วมงาน Maker Faire Berlin
ที่ประเทศเยอรมนี ในเดือนตุลาคมนี้
3สิงหาคม 2558 •
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี จับมือ บริษัท ยูเรกา ดีไซน์ จำ�กัด (มหาชน) และบริษัท ยูเรกา
อะโกรแมชชีนเนอรี่ จำ�กัด ให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย เครื่องสีข้าวระดับชุมชน ผลิต
สู่เชิงพาณิชย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคการเกษตรของไทย
รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำ�นวยการเอ็มเทค กล่าวว่า ปัจจุบัน
เกษตรกรมีการรวมตัวกัน จัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชนเพื่อ
สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเริ่มมีการพัฒนาสินค้าของชุมชนขึ้น ซึ่งการ สี
ข้าวเพื่อจำ�หน่ายเป็นข้าวสารสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และเพิ่มช่อง
ทางการจัดจำ�หน่ายจากเดิมที่ต้องขายเป็นข้าวสารให้กับโรงสีข้าวเท่านั้น ทำ�ให้
เครื่องสีข้าวชนาดเล็กสำ�หรับชุมชนเริ่มเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีการผลิตข้าวเฉพาะทาง เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวเกษตร
อินทรีย์ เป็นต้น
“เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก” เป็นผลงานวิจัยที่เอ็มเทคได้ทำ�การพัฒนาขึ้น
โดยมีจุดเด่น คือ สามารถสีข้าวได้ทั้งข้าวกล้องและข้าวขาว มีกำ�ลังการผลิต
ประมาณ 150-200 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อชั่วโมง โดยได้ข้าวกล้องประมาณ  67
- 71 % ข้าวขาวประมาณ 55 - 60 %  เกษตรกรได้ข้าวหลังการสีที่มีคุณภาพและ
มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณเมล็ดข้าวหักที่น้อยลง ลดการสูญเสียเวลาในการปรับ
ตั้งเครื่องเมื่อเทียบกับเครื่องสีข้าวขนาดเล็กจากต่างประเทศ ปัจจุบัน ต้นแบบ
เครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำ�หรับชุมชนที่เอ็มเทคพัฒนา ได้มีการทดสอบและใช้งาน
ในชุมชนแล้ว 3 แห่ง คือ กลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ดอกคำ� ต.น้ำ�แพร่ อ.พร้าว  
จ.เชียงใหม่, สหกรณ์การเกษตรผักไห่ ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.อยุธยา และหมู่บ้าน
สามขา ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำ�ปาง
รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา กล่าวต่อว่า นับเป็นโอกาสอันดีที่ได้ร่วมมือ
กับ UREKA และบริษัท ยูเรกา อะโกรแมชชีนเนอรี่ จำ�กัด ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการ
สนับสนุนผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรภายในประเทศให้มีความ
เข้มแข็งและแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย UREKA
จะมีบทบาทสำ�คัญในการเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรสีข้าวเพื่อตอบสนองความต้องการ
ของภาคการเกษตรของไทยได้มีเครื่องจักรการเกษตรที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลด
ความเสี่ยงของเกษตรกรในกรณีที่ราคาผลผลิตตกต่ำ�กะทันหัน ทำ�ให้เกษตกรหรือ
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
ส่งต่อผลงานวิจัยเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก
ผลิตสู่เชิงพาณิชย์
เอ็มเทค สวทช. ก.วิทย์ฯ จับมือภาคเอกชน
วิสาหกิจชุมชนได้มีทางเลือกที่จะแปรรูปข้าวเปลือกเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวสาร และ
สามารถสีข้าวเพื่อไว้ใช้กินเองภายในครอบครัวหรือชุมชนได้
นายนรากร ราชพลสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูเรกา ดีไซน์
จำ�กัด(มหาชน)(UREKA) เปิดเผยว่า ล่าสุดบริษัทย่อย คือ “บริษัท ยูเรกา อะโกร
แมชชีนเนอรี่ จำ�กัด” ซึ่งดำ�เนินธุรกิจออกแบบและผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร
และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ได้ซื้อสิทธิบัตร “เครื่องสีข้าวชุมชน” ซึ่งเป็นงาน
วิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) และเชื่อมั่นว่าจะช่วยยก
ระดับการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้
เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตได้
อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรไทยและสามารถ
แข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยราคาเครื่องสีข้าวชุมชน อยู่ที่ประมาณ 300,000
บาท/เครื่อง
4 nstda • สิงหาคม 2558
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
ก.วิทย์ฯ สวทช. จับมือเบทาโกร
เปิดตัวนวัตกรรม “ไส้กรอกไขมันต่ำ�” ครั้งแรกของไทย
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความสำ�คัญใน
การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา มุ่งให้ความสำ�คัญกับนักวิจัยที่มีความเข้าใจ
และมองภาพรวมของการพัฒนาประเทศในการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ของ
ประเทศ เร่งรัดการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ของประเทศ พร้อมทั้งถ่ายทอดไปสู่เอกชนและอุตสาหกรรมในการปรับปรุงและ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตและส่งออก
สินค้าทางการเกษตรที่มีคุณภาพและปริมาณมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
โดยอุตสาหกรรมอาหารเป็น 1 ใน 10 ของอุตสาหกรรมที่ทำ�รายได้เข้าประเทศ
และมีแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวทช. จึง
ให้ความสำ�คัญและเล็งเห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ และ
ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์งานวิจัยที่ สวทช. มุ่งเน้นและให้ความสำ�คัญเป็นอย่างมาก
การทำ�งานร่วมกันของนักวิจัยเอ็มเทคและเบทาโกรจนได้ผลิตภัณฑ์ “ไส้กรอก
ไขมันต่ำ�” ยังสอดคล้องกับนโยบายของ สวทช. ที่ต้องการสนับสนุนการร่วมวิจัย
กับภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรมอาหาร
ดร.กฤษฎา สุชีวะ รองผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่ง
ชาติ (เอ็มเทค) กล่าวว่า “ไส้กรอกไขมันต่ำ�” พัฒนาขึ้นจากการแทนที่ไขมันสัตว์
ด้วยของผสมจากสารทดแทนไขมัน สารปรับสมบัติเชิงรีโอโลยีและตัวเพิ่มความ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ เบทาโกร เปิดตัวนวัตกรรมทางอาหาร “ไส้กรอก
ไขมันต่ำ�” ที่มีปริมาณไขมันน้อยกว่า 5% ขณะที่ไส้กรอกทั่วไปมีไขมันถึง 20-25% แต่ยังคงคุณภาพของ
รสชาติและเนื้อสัมผัสที่เหนียวนุ่มและเคี้ยวได้ง่าย ด้านเบทาโกรมั่นใจตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค
ถือเป็นครั้งแรกของไส้กรอกเพื่อสุขภาพของประเทศไทย พร้อมสานต่องานวิจัยและพัฒนาร่วมกับ สวทช.
5สิงหาคม 2558 •
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
สามารถในการอุ้มน้ำ� ตลอดจนการปรับสัดส่วนขององค์ประกอบจากเนื้อสัตว์ และ
องค์ประกอบอื่นๆ ในสูตร รวมถึงการปรับสภาวะในกระบวนการผลิต และนำ�มา
ทดสอบคุณสมบัติทางเนื้อสัมผัสและประสาทสัมผัส ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยเอ็มเทคนำ�
ความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้าน “รีโอโลยี” ซึ่งเป็นการศึกษาพื้นฐานของการไหล
และการเสียรูปของวัสดุมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ
ให้มีคุณภาพเนื้อสัมผัสที่ดี จนเป็นผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่มีปริมาณไขมันน้อยกว่า
5% ถือได้ว่าเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของเอกชนและสามารถนำ�งานวิจัย
ไปสู่การใช้งานจริงได้สำ�เร็จ
คุณวสิษฐ แต้ไพสิษฐ์พงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่เครือเบทาโกร กล่าว
ถึงนโยบายและแนวทางการวิจัยและพัฒนาว่า เครือเบทาโกรตระหนักถึงความ
สำ�คัญของการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่เป็นเลิศ จึงได้จัดตั้ง
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเครือเบทาโกรขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของการวิจัยและพัฒนา
ด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านปศุสัตว์ ด้านอาหาร และด้านการพัฒนาการทดสอบ
เชื้อปนเปื้อนที่ก่อโรคในอาหาร เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค การทำ�วิจัยและ
พัฒนาเพื่อให้เกิดการแปรรูปอาหารที่มีผลผลิตสูง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
เบทาโกรได้สร้างเครือข่ายงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา ซึ่ง
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ “ไส้กรอกไขมันต่ำ�” นี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งความสำ�เร็จที่ได้
ร่วมกับ สวทช. นอกจากนี้ เบทาโกรยังได้สานต่อการวิจัยและพัฒนาโดยร่วมกับ
สวทช. ด้วยการสนับสนุนงบประมาณ 10 ล้านบาทเพื่อการศึกษาโครงสร้างและ
หน้าที่ของเนื้อสัตว์สำ�หรับการแปรรูปและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอีกด้วย 
น.สพ.รุจเวทย์ ทหารแกล้ว ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยและ
พัฒนาเครือเบทาโกร กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
“ไส้กรอกไขมันต่ำ�” ซึ่งมีคุณสมบัติทางโภชนาการที่ดี และถือเป็นครั้งแรกของ
ไส้กรอกเพื่อสุขภาพของประเทศไทย โดยปกติไส้กรอกทั่วไปจะมีไขมันอยู่ประมาณ
20% หรือให้พลังงานมากกว่า 250 kcal/100g ทำ�ให้ผู้ใส่ใจต่อสุขภาพเป็นพิเศษ
ลังเลที่จะรับประทาน จึงเป็นที่มาของความพยายามพัฒนาสินค้าในกลุ่มนี้ขึ้น
“ส่วนประกอบหลักของไส้กรอกไขมันต่ำ� คือ การนำ�ไฟเบอร์ หรือใยอาหารจาก
พืชมาใช้ทดแทนไขมันสัตว์ ซึ่งนอกจากทำ�ให้ปริมาณไขมันต่ำ�กว่าไส้กรอกทั่วไป
ถึง4 เท่าแล้ว ยังให้พลังงานที่ลดลงและคอเลสเตอรอลต่ำ�อีกด้วย นอกจากนี้ ยัง
ทำ�ให้ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ไต และหลอดเลือดต่ำ�ลงด้วย
เช่นกัน ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการทานไส้กรอกที่
อร่อยและไม่ต้องกังวลกับไขมันอีกต่อไป”
6 nstda • สิงหาคม 2558
เปิดตัวหนังสือเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
“๖๐ พรรษารัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์”
เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
7สิงหาคม 2558 •
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์- ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ กรรมการโครงการ
เทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม
ราชกุมารี กล่าวว่า “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็น
นักพัฒนาที่มีพระราชปณิธานแน่วแน่ ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
ทรงยึดหลักการที่ว่ารูปแบบและวิธีการในการพัฒนา ต้องเหมาะสมกับสภาพ
ภูมิศาสตร์เชื้อชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่น คติความเชื่อทางศาสนา และภูมิหลังทาง
เศรษฐกิจและสังคม ที่สำ�คัญคือ นักพัฒนาต้องมีความรัก ความห่วงใย ความ
รับผิดชอบ และความเคารพในเพื่อนมนุษย์ ทรงพระราชดำ�ริว่า ในการพัฒนา
เรื่องใดๆก็ตาม จำ�เป็นต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือเทคโนโลยีระดับสูง
“หนังสือ ๖๐ พรรษา รัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” เล่มนี้ ได้รวบรวม
โครงการในพระราชดำ�ริของพระองค์ท่าน ที่นำ�วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไป
พัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยมากมายหลายโครงการ
จึงอยากให้คนไทยได้อ่านหนังสือเล่มนี้”
หนังสือ ราคา 499 บาท รายได้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราช
กุศลตามพระราชอัธยาศัย วางแผงแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำ�ทุกแห่งทั่วประเทศ
นอกจากนี้ผู้ที่สนใจต้องการสั่งซื้อ “หนังสือ ๖๐ พรรษา รัตนราชสุดา วิทยา
ปริทรรศน์” ในเวอร์ชันอีบุ๊ก ซึ่งสามารถสั่งซื้อได้แล้ว โดยผ่านแอปของ Ookbee
และ AISBookstore จำ�หน่ายในราคาเล่มละ 120 บาท เท่านั้น  
ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กล่าวว่า “หนังสือเล่มนี้จะช่วยสร้าง
แรงบันดาลใจ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับคนไทย เนื่องจากได้สรุปรวม
โครงการตามพระราชดำ�ริ ที่สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ชาติ (สวทช.) ดำ�เนินการ ประสานงาน และมีส่วนร่วม ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก
คือ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการ
ศึกษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผู้ด้อยโอกาส ทุกโครงการ
เกิดขึ้นและมีผลการดำ�เนินงานอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากได้รับความร่วมมือจาก
พันธมิตรจำ�นวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน”
ด้าน ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ในฐานะบรรณาธิการ หนังสือ “๖๐ พรรษา
รัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” กล่าวว่า “ประโยชน์ของแต่ละโครงการที่รวบรวม
อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ถือได้ว่าเป็นองค์ความรู้อันมีค่ายิ่งต่อผู้อ่านและเยาวชนไทย
ซึ่งจะเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต หากหนังสือเล่มนี้
มีส่วนสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านเกิดฉันทะในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามและเป็น
ประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็ย่อมถือว่าผู้อ่านได้ดำ�เนินชีวิตตามแนวพระราชดำ�ริของสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพัฒนาคน ชุมชน และสังคม
โดยรวมด้วยเช่นกัน”
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม
ราชกุมารี โดย ฝ่ายเลขานุการโครงการฯ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดตัวหนังสือแห่งปี “๖๐ พรรษา รัตนราชสุดา วิทยา
ปริทรรศน์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลอง
พระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยเนื้อหาของหนังสือเป็นการรวบรวมโครงการทางด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีบทบาทต่อประชาชนชาวไทยที่ครบสมบูรณ์ จำ�หน่ายในราคา 499
บาท และในเวอร์ชันอีบุ๊กผ่านแอปของ Ookbee และ AISBookstore จำ�หน่ายในราคา 120 บาท
รายได้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
8 nstda • สิงหาคม 2558
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
“ปังปอนด์ ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที”
หนังสือการ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจ
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในฐานะฝ่ายเลขานุการโครงการฯ แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือการ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี “ปังปอนด์ ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ซึ่งเป็นการนำ�เสนอการดำ�เนิน
โครงการตามพระราชดำ�ริฯ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีบทบาทต่อประชาชนชาวไทยในรูปแบบ
หนังสือการ์ตูน ซึ่งการ์ตูนเล่มนี้เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งในชุดหนังสือและสื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ต่อเนื่องจาก
หนังสือ “๖๐ พรรษา รัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” โดยจัดจำ�หน่ายในราคา 25 บาท รายได้จากการ
จำ�หน่าย ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลฯ
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
9สิงหาคม 2558 •
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
กรุงเทพฯ 6 สิงหาคม 2558 - ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ รอง
ประธานกรรมการ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวถึงที่มาของการจัดทำ�หนังสือการ์ตูน
เล่มนี้ว่า “คณะกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จัดทำ�หนังสือการ์ตูน “ปังปอนด์
ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที” โดยเป็นส่วนหนึ่งของชุดหนังสือและสื่อเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ
5 รอบ 2 เมษายน 2558
หนังสือการ์ตูน “ปังปอนด์ ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที” เป็นหนังสือที่
ถ่ายทอดพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เล่าเรื่องผ่านตัวการ์ตูน “ปังปอนด์” โดยนำ�
เนื้อหาสาระที่สำ�คัญมาสรุปและสร้างสรรค์ให้อ่านง่ายในรูปแบบของการ์ตูน
ภายในเล่มมีจำ�นวนทั้งหมด 5 เรื่อง คือ เจ๋งสุดๆ นักวิทยาศาสตร์ไทยไปร่วม
งานที่เซิร์น, ท่องดินแดนขั้วโลกใต้ ผจญภัยในแอนตาร์กติกา, eDLTV เรียนด้วย
ตัวเองก็เก่งได้, น่าทึ่งอุปกรณ์ไฮเทคช่วยคนพิการทำ�งานได้ และโซลาร์เซลล์ แสง
สว่าง...นำ�ความรู้ ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีภาพการ์ตูนที่สนุก สีสันสดใส และปิดท้าย
ด้วยบทสรุปสาระน่ารู้ที่มีประโยชน์”
ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “คณะกรรมการ
โครงการ หวังว่าเด็กและเยาวชนที่ได้อ่านจะเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ไปกับตัวการ์ตูนปังปอนด์ พร้อมๆ กับการได้เรียนรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีที่สอดแทรกอยู่ตลอดเล่ม รวมทั้งจะเกิดความตระหนักและซาบซึ้งใน
พระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่
ทรงนำ�วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ เป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพ
ชีวิตของผู้ด้อยโอกาส อีกทั้งยังทรงสนับสนุนให้เยาวชนและนักวิทยาศาสตร์ไทย
ได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์จากสถาบันชั้นนำ�ของโลก ซึ่งจะเป็นการวาง
รากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
นอกจากนี้คณะกรรมการโครงการ ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่สนับสนุนการ
จัดทำ�ในครั้งนี้ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด(มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำ�กัด
(มหาชน), บริษัท ไทยคอนส์ แอนด์ บิลดิ้ง เมนูแฟ๊คเจอริ่ง จำ�กัด (มหาชน),
บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี(ประเทศไทย) จำ�กัด, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
จำ�กัด(มหาชน) และบริษัท เอสวีโอเอ จำ�กัด(มหาชน) รวมทั้งขอขอบคุณบริษัท
ไปรษณีย์ไทย จำ�กัด ที่จัดส่งหนังสือให้แก่โรงเรียนทั่วประเทศโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
และรายได้จากการจำ�หน่ายหนังสือเล่มนี้ จะนำ�ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จพระราชกุศลฯ”
หนังสือการ์ตูน “ปังปอนด์ ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที” ราคา25 บาท วาง
จำ�หน่ายแล้วที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และบุ๊คสไมล์ทั่วประเทศ ซึ่งสามารถสั่งซื้อ
จำ�นวนมากเพื่อบริจาคได้อีกด้วย โดยเล่มนี้เป็นหนึ่งในชุดเดียวกับหนังสือ “๖๐
พรรษา รัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” จำ�หน่ายในราคา 499 บาท วางแผงแล้ว
ที่ร้านหนังสือชั้นนำ� ทั้ง 2 เล่ม รายได้ทูลเกล้าถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลฯ
10 nstda • สิงหาคม 2558
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำ�เนินเปิดงาน
Asian Science Camp 2015
วันที่3 สิงหาคม2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินเปิดงาน ค่ายวิทยาศาสตร์เอเชียน(AsianScience
Camp2015) ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย คลองหลวง จ.ปทุมธานี และทรงแสดงปาฐกถาเรื่อง “YoungScientistsofAsia”พร้อมทรง
ฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง “IntroductiontoCosmology” จากProf.Dr.HitoshiMurayamaDirector,KavliInstituteforthePhysicsandMathematics
of the Universe (IPMU), University of Tokyo
ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2-8 สิงหาคม 2558 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
และบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร มีนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานประมาณ 300 คน จาก 28 ประเทศ ในแถบเอเชียแปซิฟิก
วัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ก็เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา
และเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนตลอดจนสังคมไทยตระหนักถึงความสำ�คัญและบทบาทของการศึกษา วิจัย ค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีต่อการพัฒนา
สังคมและประเทศ	 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/20395-asc2015
11สิงหาคม 2558 •
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
เมื่อพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ ภาพที่คนส่วนใหญ่คิดมักจะเป็นภาพนักวิทยาศาสตร์ชายมากกว่าหญิง แต่นักวิทยาศาสตร์หญิงเก่งๆ ก็มีอยู่จำ�นวน
ไม่น้อยเช่นกัน ขณะนี้มีโครงการดีๆ ที่ให้การสนับสนุนและกระตุ้นให้เยาวชนหญิงมีความสนใจและสนุกไปกับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี
(ประเทศไทย) จำ�กัด จัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ในโครงการ EYH: ขยายขอบค่ายความรู้สู่ความคิดวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 7 (The Seventh Expanding
Your Horizons: EYH 2015) สำ�หรับน้องๆ นักเรียนหญิงมัธยมต้น เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นให้เยาวชนหญิงที่เข้าร่วมโครงการมีความสนใจและสนุกไปกับ
การเรียนรู้STEM(Science,Technology,EngineeringandMathematics) ภายใต้กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ ในปีนี้จัดวันที่15-16
สิงหาคม2558 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา ผู้สนใจ ดูรายละเอียดได้ที่www.fic.nectec.or.th/EYH2015 หรือfacebook:EYHThailand
โครงการ EYH: ขยายขอบข่ายความรู้
สู่ความคิดวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 7
กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อเยาวชนหญิง
12 nstda • สิงหาคม 2558
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
รมว.วท. นำ� 50 เอสเอ็มอีญี่ปุ่น
บุกอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
โชว์ศักยภาพห้องปฏิบัติการวิจัยมาตรฐานโลก
หวังขยายผลสู่การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาระดับบิ๊กดีล
6 สิงหาคม 2558 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงฯ นำ�สมาชิกองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร)
และผู้ประกอบการรายใหญ่และเอสเอ็มอีญี่ปุ่นกว่า 100 รายจาก 50 บริษัท เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ
วิจัยศูนย์วิเคราะห์ทดสอบและรับรองมาตรฐาน พร้อมบริการต่างๆ ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนการพัฒนา
นวัตกรรมในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
13สิงหาคม 2558 •
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
ดร.พิเชฐ กล่าวว่า สืบเนื่องจากการเดินทางเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีในเดือนที่ผ่านมา มีแผนให้หน่วย
งานภาครัฐสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย เพื่อรักษาฐานการผลิตและ
เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจในเมืองไทยให้มากยิ่งขึ้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้ร่วมกับเจโทรศึกษาวิเคราะห์
แนวทางการดำ�เนินธุรกิจของนักลงทุนชาวญี่ปุ่น พบว่า นักลงทุนรู้ดีถึงสิทธิประโยชน์จากบีโอไอ แต่ยังเข้าไม่ถึงข้อมูล
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนศักยภาพในการทดสอบและรับรองมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในประเทศ รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากรที่มีทักษะความชำ�นาญสูงโดยหน่วยงานภาครัฐ จึงเป็น
ที่มาของการจัดเยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้เกิดการรับรู้และสร้างความเชื่อมโยง
นำ�ไปสู่ความเชื่อมั่นในการดำ�เนินธุรกิจในประเทศไทย
ดร.ทวีศักดิ์ ได้กล่าวถึงการเยี่ยมชมในครั้งนี้ว่า ได้มีการแบ่งกลุ่มตามความสนใจ 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
1. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร- เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์ของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี
ชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC), บจก. UENO Science Tech Laboratory ผู้นำ�ด้านการผลิตสารให้ความหวานทดแทน
น้ำ�ตาล และศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร ศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเครือเบทาโกรในด้านเกษตร
และอาหาร
2. กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ - เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการยานยนต์ของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
(MTEC), ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) และโพลีพลาสติก อาเซียน เทคนิคคอล โซลูชั่น
เซ็นเตอร์ ศูนย์กลางให้การสนับสนุนวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกวิศวกรรม ผู้นำ�ตลาดโลกด้าน
พลาสติกในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
3. กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านชีววิทยาศาสตร์ - เยี่ยมชมศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC) คลังชีววัสดุ
พร้อมข้อมูลและเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ที่ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ, ห้องปฏิบัติการนำ�ส่งนาโน ศูนย์นาโน
เทคโนโลยีแห่งชาติ(NANOTEC) วิจัยและพัฒนาการลำ�เลียงและนำ�ส่งยาด้วยเทคโนโลยีนาโนในร่างกายมนุษย์ สัตว์
และพืช และบจก. ออสเตรียโนวา (ประเทศไทย) ผู้นำ�ด้านการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการห่อหุ้มเซลล์
ด้วยชีวภาพ เพื่อการปกป้อง แยก เก็บรักษาและนำ�ส่งเซลล์มีชีวิต
14 nstda • สิงหาคม 2558
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
ผลงานวิจัยเนคเทคได้รับเกียรติ
ขึ้นหน้าปกวารสารนานาชาติ
บทความวิชาการของเนคเทคได้รับคัดเลือกขึ้นปกวารสาร
ETRI Journal (Impact Factor 0.945) vol. 37, no. 4, Aug.
2015 บทความที่ขึ้นปกมีชื่อว่า “Efficient Key Management
Protocol for Secure RTMP Video Streaming Toward Trusted
QutumNetwork” โดยนักวิจัยเนคเทค3 ท่านที่สร้างสรรค์ผลงาน
ประกอบด้วย นางสาวมลธิดา ภัทรนันทกุล(ผู้เขียนหลัก) ดร.ชาลี
วรกุลพิพัฒน์ จากห้องปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอร์ (CSL) หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไร้สายข้อมูลความมั่นคง
และนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
(WISRU) และนายปรมินทร์ แสงวงษ์งาม จากห้องปฏิบัติการวิจัย
เทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PTL) หน่วยวิจัยอุปกรณ์และระบบอัจฉริยะ
(IDSRU)
บทความดังกล่าวนำ�เสนอการประยุกต์ใช้รหัสลับที่
รับประกันด้วยกฎทางฟิสิกส์ว่าด้วยทฤษฎีห้ามคัดลอกมาช่วยเพิ่ม
ความปลอดภัยบนระบบประชุมทางไกล เพื่อป้องกันการเข้าถึง
ข้อมูลที่สำ�คัญโดยผู้ไม่หวังดี
ส่วนรูปที่นำ�ขึ้นปกวารสารซึ่งได้รับคัดเลือกเพียงรูปเดียว
จาก 20 บทความในฉบับนั้น ได้อธิบายโครงสร้างของระบบที่
ประกอบด้วยสามระดับชั้น ได้แก่ QKD layer ทำ�หน้าที่สร้าง
รหัสลับ Key management layer ทำ�หน้าที่บริหารและจัดการ
รหัสลับ และApplicationlayer ที่ซึ่งระบบประชุมทางไกลได้ถูก
ติดตั้งอยู่ เมื่อมีการใช้งานระบบประชุมทางไกล ข้อมูลผู้ส่ง/ผู้รับ
จะถูกเข้ารหัสก่อนเสมอ วิธีการนี้ช่วยให้ข้อมูลที่สื่อสารกันระหว่าง
ผู้ส่งและผู้รับมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
อนึ่ง ETRI Journal เป็นวารสารวิชาการที่ติพิมพ์ผลงานวิจัยด้าน
Information Telecommunications และ Electronics เป็นหลัก โดย
หน่วยงานที่เป็นเจ้าของวารสารและเป็นผู้ตีพิมพ์คือ The Electronics and
Telecommunications Research Institute (ETRI) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยชั้นนำ�
ด้าน ICT ของประเทศเกาหลีใต้ ETRI ซึ่งก่อตั้งแต่ปี 1976 นั้น ปัจจุบันมี
พนักงานประมาณ2,000 คน และในจำ�นวนนี้ประมาณ1,800 คน เป็นนักวิจัย
(ข้อมูลจาก Wikipedia) https://etrij.etri.re.kr/etrij/journal/main.do
15สิงหาคม 2558 •
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
ผลิตภัณฑ์ไวรัส เอ็น พี วี
นวัตกรรมทางการเกษตรแบบยั่งยืน
นวัตกรรมในการใช้ไวรัสควบคุมตัวหนอนแมลงศัตรูพืช
ด้วยวิธีชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีกำ�จัดศัตรูพืช
กระแสสังคมปัจจุบันให้ความสำ�คัญกับคุณภาพชีวิตและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังเช่น
เกษตรอินทรีย์หรือการทำ�เกษตรกรรมที่ไม่ใช้สารเคมีในการกำ�จัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดสารพิษ
ตกค้างในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค เกษตรกร และ
มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้วิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์
ไวรัส เอ็น พี วี ขึ้นเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพ ทดแทนการใช้สารเคมีกำ�จัดศัตรูพืช ซึ่งพบ
ว่าใช้งานได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ
16 nstda • สิงหาคม 2558
NuclearPolyhedrosisVirus(NPV) หรือ เอ็น พี วี เป็นไวรัสที่ทำ�ให้เกิด
โรคกับตัวหนอนที่เป็นตัวอ่อนของแมลง จึงสามารถนำ�มาใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช
ทดแทนการใช้สารเคมีได้ และมีคุณสมบัติเด่นคือ ทำ�ลายเฉพาะศัตรูพืชเป้าหมาย
จึงไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์ในธรรมชาติ ปลอดภัยสำ�หรับมนุษย์ และ
สิ่งแวดล้อม โดยกลไกการเข้าทำ�ลายคือเมื่อตัวอ่อนของแมลงกินไวรัส เอ็น พี วี
ที่เกษตรกรฉีดพ่น ไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะอาหาร ส่งผลให้หนอนลดการกินอาหาร
ลง และเมื่ออนุภาคของไวรัสขยายพันธุ์ทวีจำ�นวนมากขึ้น ไวรัสจะแพร่กระจายเข้า
สู่ภายในลำ�ตัวของหนอน อาทิ เม็ดเลือด ไขมัน กล้ามเนื้อ ผนังลำ�ตัว จนหนอน
จะตายไปในที่สุด นอกจากนี้ซากหนอนที่ตายนี้จะเต็มไปด้วยผลึกของไวรัส เอ็น
พี วี ซึ่งสามารถระบาดไปสู่หนอนตัวอื่นๆ ในแปลงได้
ผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็น พี วี ตัวช่วยคุมแมลงศัตรูพืช
นายสัมฤทธิ์ เกียววงษ์ ผู้จัดการโรงงานต้นแบบผลิตไวรัส เอ็น พี วี เพื่อ
ควบคุมแมลงศัตรูพืช ไบโอเทค กล่าวว่า ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้ง
ในและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้ว่าประเทศคู่ค้า
ของไทยล้วนให้ความสำ�คัญกับการนำ�เข้าผลิตผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพและ
มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปราศจากสารพิษตกค้าง
“จุดเด่นของการใช้ผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็น พี วี คือการควบคุมศัตรูพืชเป้า
หมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยทั้งกับผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ใช้งาน
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็น พี วี ยังสามารถนำ�ไปใช้ได้กับพืชที่หลากหลาย
พืชดอก เช่น กล้วยไม้พันธุ์ต่างๆ ดาวเรือง เบญจมาศ กุหลาบ รวมถึงพืชผัก
และผลไม้ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง หอมแดง หอมหัวใหญ่ แตงโม มะเขือเทศ องุ่น พืช
ตระกูลกะหล่ำ�”
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
17สิงหาคม 2558 •
นางสาวณนิภา เลยะกุล ผู้จัดการวิจัยและพัฒนาไร่คุณธรรม อ.มวก
เหล็ก จ.สระบุรี กล่าวว่า การใช้สารเคมีกำ�จัดศัตรูพืชมีแนวโน้มต้องใช้ปริมาณ
มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะศัตรูพืชมีวิวัฒนาการที่ทนต่อสารเคมีมากขึ้น จึงหันมาใช้
ผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็น พี วี ซึ่งเป็นการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพ ทดแทนการ
ใช้สารเคมี ผลลัพธ์ที่ได้สามาถจำ�กัดหนอนที่เป็นศัตรูพืชภายใน 3-5 วัน และ
เนื่องจากซากหนอนที่ ตายนี้เต็มไปด้วยผลึกของไวรัส ซึ่งสามารถกระจายตัวไป
หนอนศัตรูพืชตัวอื่นๆ ในแปลงได้ มีผลให้หนอนจะลดลงอย่างมากในอาทิตย์ที่
2-3 และจะหมดไปในที่สุด
“ผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็น พี วี ให้ผลลัพธ์ที่เห็นผลจริง และเมื่อคำ�นวณต้นทุน
การใช้จ่ายพบว่าการใช้ไวรัสเอ็น พี วี มีค่าใช้จ่ายไม่ต่างกับการใช้สารเคมีมากนัก
สำ�หรับการจัดการหนอนในแปลงในระยะแรก แต่เมื่อคำ�นวณต้นทุนรวมตลอด
ระยะการปลูกจนเก็บผลผลิต พบว่าการผลิตภัณฑ์ไวรัส เอ็น พี วี ถูกกว่าการใช้
สารเคมี และสามารถลดต้นทุนแรงงานที่ใช้ในการฉีดพ่นสารเคมีได้อย่างมาก ที่
สำ�คัญคือสุขภาพของแรงงานที่ไม่ทรุดโทรม”
ผลิตภัณฑ์ไวรัส เอ็นพีวี มีให้เลือก 3 ขนาด คือขนาด 100, 200, 500
มิลลิลิตร โดยมีราคาขวดละ 270, 650 และ 1,100 บาทตามลำ�ดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์
ทั้งหมดผลิตจากโรงงานต้นแบบผลิต เอ็น พี วี เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช ณ
Module8 อาคารBiotecPilotPlant ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย มี
พื้นที่800 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องกักกันโรค ห้องเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ และห้อง
เลี้ยงขยาย รวม 10 ห้อง ขณะที่กระบวนการปลูกเชื้อหรือผลิตไวรัสได้ถูกดำ�เนิน
การแยกออกไป ณ บริเวณอาคาร Greenhouse โดยมีห้องปลูกเชื้อหนอน ห้อง
ผลิตและบรรจุผลิตภัณฑ์ดำ�เนินการอย่างเป็นขั้นตอน
ผู้สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์ติดต่อได้ที่ โรงงานต้นแบบผลิตไวรัส เอ็น พี วี
เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช
ศูนยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำ�นักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อุทยานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำ�บลคลองหนึ่ง อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120 โทรศัพท์ 02-564-6700 ต่อ 3712
ชมคลิปวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่https://www.youtube.com/watch?v=H83KvJSvgkc
เกษตรกรขานรับ ประสิทธิภาพ
ควบคู่ความปลอดภัย
ผลิตภัณฑ์ไวรัส เอ็น พี วี
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
18 nstda • สิงหาคม 2558
• วันที่ 18-20 สิงหาคม 2558 งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจาปี 2558 ภายใต้หัวข้อ “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วย
วิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่ง นวัตกรรม” ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมงานโดย งานส่งเสริม
และพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูง ฝ่ายพัฒนาบัณฑิตและนักวิจัย สวทช.
• เปิดรับสมัครนักศึกษาและครูฟิสิกส์เข้าร่วมกิจกรรมภาคฤดูร้อนเดซี และเซิร์น
1. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี เปิดรับสมัครนิสิต/นักศึกษา ในสาขาฟิสิกส์ เข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทย
ประจำ�ปี 2559 เพื่อไปเข้าร่วมกิจกรรม DESY Summer Student Programme 2016 ณ สถาบันเดซี เมืองฮัมบวร์กหรือเมืองซอยเธน
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 2559 (เปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2558)
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ http://nstda.or.th/desy/
2. โครงการนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น ประจาปี 2559 เปิดรับสมัครครู/อาจารย์ ที่สอนวิชาฟิสิกส์ระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลายและสอนอยู่ในประเทศไทย และรับสมัครนิสิต/นักศึกษา สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์/
วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์/วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทยประจำ�ปี 2559
เพื่อไปเข้าร่วมกิจกรรมภาคฤดูร้อน ณ สถาบันเซิร์น เมืองเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ในช่วงประมาณเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม
2559 (เปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2558) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ http://thaicern.slri.or.th
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
19สิงหาคม 2558 •
ทำ�งานวิจัยเพื่อมุ่งพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศ
ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง
ห้องปฏิบัติการนาโนโมเลกุลเป้าหมาย หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยี
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)
โดยบทบาทของนักวิทยาศาสตร์ การที่ได้ทำ�งานวิจัยที่ตัวเองรักและสนใจ
ถือเป็นความภูมิใจและความสุขใจอย่างยิ่ง แต่การหาทุนเพื่อมาทำ�วิจัยนั้นก็ไม่ใช่
เรื่องง่ายเลย ในการจะโน้มน้าวหรือนำ�เสนอโครงการเพื่อให้หน่วยงานที่ให้ทุนได้
เห็นความสำ�คัญของงานวิจัยนั้น
บุคคลในคอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษฉบับนี้ จะพาผู้อ่านไปรู้จักกับนักวิจัย
สาวสวยกันค่ะ เธอจบดอกเตอร์จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ผู้
ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสมาคม The Royal Society of Chemistry ประเทศอังกฤษ
ถึง 2 ปีซ้อน และงานวิจัยในปัจจุบันก็เป็นงานด้านสาธารณสุขเพื่อช่วยเหลือคน
ไทยทั้งประเทศ แขกรับเชิญของเราในฉบับนี้ก็คือ ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง นักวิจัย
จากห้องปฏิบัติการนาโนโมเลกุลเป้าหมาย หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโน
เทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (สวทช.) ค่ะ
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
ถาม : ขอทราบถึงความเป็นมาที่ได้มาทำ�งานที่ สวทช.ค่ะ
ตอบ : หลังจากที่เรียนจบระดับปริญญาตรีแล้ว ก็มาเริ่มงานเป็นผู้ช่วยวิจัยที่
ไบโอเทค สวทช. ค่ะ ทำ�อยู่ประมาณ 5 ปี ต่อมาในช่วงที่นาโนเทคกำ�ลังก่อตั้ง
ตัวเองสนใจที่จะทำ�งานด้านนาโน เลยลองไปสมัครทุน กพ. ซึ่งเป็นทุนของ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามความต้องการของนาโนเทค ซึ่งก็เป็น
รุ่นที่ 2 ที่ได้รับทุนค่ะ สาขาที่เดือนไปเรียนก็คือ Nano Medicines หรือ นาโน
เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ ก็ได้ลาศึกษาต่อโดยคงสถานะความเป็นพนักงาน
อยู่ และก่อนไปเรียนก็มีโอกาสได้โอนย้ายไปสังกัดนาโนเทคค่ะ
ที่ตัดสินใจสอบทุนนี้ก็เพราะตอนนั้นนาโนเทคโนโลยีกำ�ลังบูมมาก เลย
อยากมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนาโนเทคโนโลยีมากขึ้น จากเดิมมีความรู้
ทางด้าน Medical เพราะจบมาทางด้านเทคนิคการแพทย์ และ Biochemistry
ค่ะ ถ้าต่อยอดด้านนาโนเทคโนโลยีก็น่าจะมีประโยชน์ และสาขาที่เปิดรับก็เป็น
เรื่อง Nano Medicines ซึ่งตรงกับที่เราอยากรู้พอดี เดือนมีโอกาสได้ไปเรียนต่อ
ระดับปริญญาโท - เอก ที่ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
ค่ะ สิ่งที่ได้เรียนมาก็เกี่ยวกับการใช้ Nanopore Technology ในการหาลำ�ดับ
ของ DNA เรียนอยู่ประมาณ 4 ปีก็จบปริญญาเอก หลังจากนั้นก็มีโอกาสได้ไป
ทำ� Postdoctoral ต่อที่มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน เมื่อจบก็กลับ
มาทำ�งานที่นาโนเทคเมื่อสามปีที่แล้วค่ะ
สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
20 nstda • สิงหาคม 2558
Spin Out Company
เป็นการจัดการนำ�งาน
วิจัยพัฒนาไปจัดตั้ง
ในรูปแบบของบริษัท
เพื่อดำ�เนินการเชิงพาณิชย์
ถาม : ชีวิตที่อังกฤษเป็นอย่างไรบ้างคะ
ตอบ : ตอนไปอยู่ที่อังกฤษใหม่ๆ ก็ต้องปรับตัวเยอะเหมือนกัน เนื่องจากภาษา
ซึ่งตอนแรกเราคิดว่าเราเข้าใจภาษาอังกฤษนะ แต่พอเจอคนเจ้าของภาษาจริงๆ
กลายเป็นว่าเราสื่อสารได้ไม่ค่อยดีนัก ก็ต้องปรับตัวอยู่เป็นปี กว่าจะเข้าใจทั้งภาษา
และวัฒนธรรมของเขาบ้าง เรื่องการเรียนก็โชคดีที่ได้ไปอยู่ในแล็บที่ค่อนข้างใหญ่
ของภาควิชา Chemical Biology ซึ่งในแล็บนี้มีนักศึกษาอยู่แค่ 2 คนเท่านั้นเอง
ค่ะ นอกนั้นคนในแล็บเป็น Postdoctoral ทั้งหมดเลย จำ�นวน 11 คน แต่ถือว่า
เป็นโชคดีนะคะที่ได้มาอยู่แล็บนี้ เพราะเหมือนมีครูหลายคนมาก เราสามารถถาม
และขอให้พี่ในแล็บช่วยสอนในเรื่องที่อยากรู้ได้โดยไม่รู้สึกอายเลย โดยในแล็บมีทั้ง
วิศวกร นักเคมี นักฟิสิกส์ หลายๆ สาขา ทำ�ให้เราได้เรียนรู้ในหลายๆ ศาสตร์ด้วย
ทางอาจารย์ที่ปรึกษาก็เป็นนักวิจัยรุ่นแรกๆ ที่ทำ� Spin Out Company เป็นการ
จัดการนำ�งานวิจัยพัฒนาของเขาไปจัดตั้งในรูปแบบของบริษัทเพื่อดำ�เนินการเชิง
พาณิชย์ ทำ�ให้เราได้เรียนรู้อีกว่างานวิจัยในมหาวิทยาลัยเนี่ย มันสามารถจะจัด
ตั้งออกมาเป็นบริษัท และสามารถระดมทุนเพื่อมาทำ�งานวิจัยของบริษัทได้อีกด้วย
เป็นครั้งแรกที่ได้รู้จักคำ�ว่า Spin Out Company ชีวิตในออกฟอร์ดถือว่ามีความ
สุขมากค่ะ ได้ทำ�งานวิจัย ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันในแล็บโดยไม่มีการหวงกัน ซึ่ง
ในแล็บนั้นจะค่อนข้างคล่องตัวมาก มีการสังสรรค์กันสัปดาห์ละสองสามครั้ง ทั้ง
ในแล็บ ในมหาวิทยาลัย และSpinOutCompany ด้วย นอกจากนี้ยังมีJournal
Club ที่นำ�ความรู้ใหม่ๆ มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ตลอดเวลาที่อยู่ที่นั่นรู้สึกว่า
ตัวเองมีพื้นความรู้ที่ค่อนข้างแน่นเลยทีเดียวล่ะ แต่ก็มีข้อเสียนิดนึง คือเรารู้สึกว่า
ถูกจำ�กัดให้อยู่ในฐานะนักศึกษา ทำ�ให้ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ด้านการบริหารจัดการ
งานวิจัย ก็เลยขออนุญาตทางนาโนเทคทำ� Postdoctoral ต่อ ตามที่บอกไปค่ะ
Postdoctoral ได้ทำ�ที่มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ เขาก็ให้เราบริหารงาน
วิจัยเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และก็ให้เรามีส่วนเป็นCo-advisor ให้นักศึกษาปริญญา
เอก และปริญญาโทด้วย มันเป็นอีกบทบาทหนึ่ง เหมือนเราได้เป็นครูที่ต้องดูแล
นักเรียนในสังกัดของเรา รู้สึกว่าตัวเองได้อะไรอีกแบบหนึ่งที่อิมพีเรียล คอลเลจ
และได้เรียนรู้การทำ�งานวิจัยที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนจำ�นวนมาก เพราะ
Nstda Newsletter ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2558

Weitere ähnliche Inhalte

Ähnlich wie Nstda Newsletter ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2558

E news-aimi-july 2017.final
E news-aimi-july 2017.finalE news-aimi-july 2017.final
E news-aimi-july 2017.finalnok Piyaporn
 
เรื่องเล่าข่าว สท. ประจำเดือนมิถุนายน 2560
เรื่องเล่าข่าว สท. ประจำเดือนมิถุนายน 2560เรื่องเล่าข่าว สท. ประจำเดือนมิถุนายน 2560
เรื่องเล่าข่าว สท. ประจำเดือนมิถุนายน 2560nok Piyaporn
 
ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยsomporn Isvilanonda
 

Ähnlich wie Nstda Newsletter ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2558 (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
 
1 สิ่งประดิษฐ์ ปลูก
1 สิ่งประดิษฐ์  ปลูก1 สิ่งประดิษฐ์  ปลูก
1 สิ่งประดิษฐ์ ปลูก
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2561
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
E news-aimi-july 2017.final
E news-aimi-july 2017.finalE news-aimi-july 2017.final
E news-aimi-july 2017.final
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
เรื่องเล่าข่าว สท. ประจำเดือนมิถุนายน 2560
เรื่องเล่าข่าว สท. ประจำเดือนมิถุนายน 2560เรื่องเล่าข่าว สท. ประจำเดือนมิถุนายน 2560
เรื่องเล่าข่าว สท. ประจำเดือนมิถุนายน 2560
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
 
ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
 

Mehr von National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

Mehr von National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
 
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
 

Nstda Newsletter ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2558

  • 1. 1สิงหาคม 2558 • 2 3 4 11 12 14 10 6 8 18 19 ก.วิทย์ฯ/สวทช. ร่วมกับ เชฟรอนประเทศไทย สนับสนุนโครงการ “Enjoy Science: Let’s Print the World” ก.วิทย์ฯ สวทช. จับมือเบทาโกรเปิดตัวนวัตกรรมอาหาร “ไส้กรอกไขมันต่ำ�” ครั้งแรกของไทย เอ็มเทค สวทช. ก.วิทย์ฯ จับมือภาคเอกชน ส่งต่อผลงานวิจัยเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก เปิดตัวหนังสือ ““๖๐ พรรษารัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” “ปังปอนด์ ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที” หนังสือการ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินเปิดงาน Asian Science Camp 2015 โครงการ EYH: ขยายขอบข่ายความรู้ สู่ความคิดวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 7 รมว.วท. นำ� 50 เอสเอ็มอีญี่ปุ่นบุกอุทยานฯ โชว์ศักยภาพ ผลงานวิจัยเนคเทคได้รับเกียรติ ขึ้นหน้าปกวารสารนานาชาติ สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 บทสัมภาษณ์ Star ทำ�งานวิจัยเพื่อมุ่งพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศ ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง ปฏิทินกิจกรรม Activity ในเล่ม Insight ข่าว News บทความ Article ผลิตภัณฑ์ไวรัส เอ็น พี วี นวัตกรรมทางการเกษตรแบบยั่งยืน ตัวช่วยคุมแมลงศัตรูพืช 15
  • 2. 2 nstda • สิงหาคม 2558 4 กรกฏาคม 2558 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ บริษัท เซฟรอนประเทศไทยสำ�รวจและผลิต จำ�กัด ร่วมจัดกิจกรรมโครงการ“Enjoy Science: Let’s Print the World” โดยมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ ซึ่งจะมีบทบาทสำ�คัญในอนาคต ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการนำ�เทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วัน โดยมีเยาวชน และประชาชนทั่วไปเป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งได้รับความสนใจจากเยาวชนและประชาชนส่งผลงานการออกแบบ เข้ามาเป็นจำ�นวนมาก นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า เทคโนโลยีการพิมพ์สาม มิติ หรือ3DPrinting เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนามานานกว่า30 ปี นับตั้งแต่ช่วง ปลายทศวรรษที่19 และมีการนำ�ไปใช้ประโยชน์แล้วอย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการ แพทย์ วิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้กำ�ลังได้รับความสนใจ และแพร่หลายมากขึ้น ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำ�ให้เครื่องพิมพ์สามมิติ มีประสิทธิภาพและเทคนิคการพิมพ์ที่ดียิ่งขึ้น สามารถพิมพ์ชิ้นงานต้นแบบที่มี ความละเอียดและซับซ้อนได้มากขึ้น ใช้วัสดุพิมพ์ได้หลากหลายขึ้น ทำ�ให้การพิมพ์ วัสดุที่ต้องการมีความความรวดเร็วและแม่นยำ� โดยเฉพาะการสร้างโมเดลเสมือน จริงหรือการขึ้นรูปชิ้นงาน ซึ่งนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อภาคอุตสาหกรรม หรือ สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 สนับสนุนโครงการ “Enjoy Science: Let’s Print the World” สวทช./ก.วิทย์ฯ ร่วมกับ เชฟรอนประเทศไทย แม้แต่วงการศิลปะและการออกแบบต่างๆ ในอนาคตยังมีแนวโน้มว่า เครื่องพิมพ์ สามมิติจะเข้าถึงผู้ใช้ระดับครัวเรือนมากขึ้น และทำ�ให้การพิมพ์สามมิติเข้ามามี บทบาทและกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำ�วันของเราเช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์ ทั่วไปที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ​​โครงการนี้เป็นการประกวดความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ แบ่งการประกวดเป็น 2 ประเภท คือ 1) ประเภท นักเรียนนักศึกษาไม่เกินระดับปริญญาตรี และ 2) ประเภทบุคคลทั่วไป การประกวดในรอบตัดสินจะมีขึ้นในวันที่ 17 สิงหาคม 2558 โดย ผู้ชนะเลิศจากการประกวดทั้ง 2 ประเภท จะได้เข้าร่วมงาน Maker Faire Berlin ที่ประเทศเยอรมนี ในเดือนตุลาคมนี้
  • 3. 3สิงหาคม 2558 • ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จับมือ บริษัท ยูเรกา ดีไซน์ จำ�กัด (มหาชน) และบริษัท ยูเรกา อะโกรแมชชีนเนอรี่ จำ�กัด ให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย เครื่องสีข้าวระดับชุมชน ผลิต สู่เชิงพาณิชย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคการเกษตรของไทย รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำ�นวยการเอ็มเทค กล่าวว่า ปัจจุบัน เกษตรกรมีการรวมตัวกัน จัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชนเพื่อ สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเริ่มมีการพัฒนาสินค้าของชุมชนขึ้น ซึ่งการ สี ข้าวเพื่อจำ�หน่ายเป็นข้าวสารสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และเพิ่มช่อง ทางการจัดจำ�หน่ายจากเดิมที่ต้องขายเป็นข้าวสารให้กับโรงสีข้าวเท่านั้น ทำ�ให้ เครื่องสีข้าวชนาดเล็กสำ�หรับชุมชนเริ่มเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดย เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีการผลิตข้าวเฉพาะทาง เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวเกษตร อินทรีย์ เป็นต้น “เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก” เป็นผลงานวิจัยที่เอ็มเทคได้ทำ�การพัฒนาขึ้น โดยมีจุดเด่น คือ สามารถสีข้าวได้ทั้งข้าวกล้องและข้าวขาว มีกำ�ลังการผลิต ประมาณ 150-200 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อชั่วโมง โดยได้ข้าวกล้องประมาณ  67 - 71 % ข้าวขาวประมาณ 55 - 60 %  เกษตรกรได้ข้าวหลังการสีที่มีคุณภาพและ มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณเมล็ดข้าวหักที่น้อยลง ลดการสูญเสียเวลาในการปรับ ตั้งเครื่องเมื่อเทียบกับเครื่องสีข้าวขนาดเล็กจากต่างประเทศ ปัจจุบัน ต้นแบบ เครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำ�หรับชุมชนที่เอ็มเทคพัฒนา ได้มีการทดสอบและใช้งาน ในชุมชนแล้ว 3 แห่ง คือ กลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ดอกคำ� ต.น้ำ�แพร่ อ.พร้าว   จ.เชียงใหม่, สหกรณ์การเกษตรผักไห่ ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.อยุธยา และหมู่บ้าน สามขา ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำ�ปาง รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา กล่าวต่อว่า นับเป็นโอกาสอันดีที่ได้ร่วมมือ กับ UREKA และบริษัท ยูเรกา อะโกรแมชชีนเนอรี่ จำ�กัด ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการ สนับสนุนผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรภายในประเทศให้มีความ เข้มแข็งและแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย UREKA จะมีบทบาทสำ�คัญในการเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรสีข้าวเพื่อตอบสนองความต้องการ ของภาคการเกษตรของไทยได้มีเครื่องจักรการเกษตรที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลด ความเสี่ยงของเกษตรกรในกรณีที่ราคาผลผลิตตกต่ำ�กะทันหัน ทำ�ให้เกษตกรหรือ สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 ส่งต่อผลงานวิจัยเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก ผลิตสู่เชิงพาณิชย์ เอ็มเทค สวทช. ก.วิทย์ฯ จับมือภาคเอกชน วิสาหกิจชุมชนได้มีทางเลือกที่จะแปรรูปข้าวเปลือกเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวสาร และ สามารถสีข้าวเพื่อไว้ใช้กินเองภายในครอบครัวหรือชุมชนได้ นายนรากร ราชพลสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูเรกา ดีไซน์ จำ�กัด(มหาชน)(UREKA) เปิดเผยว่า ล่าสุดบริษัทย่อย คือ “บริษัท ยูเรกา อะโกร แมชชีนเนอรี่ จำ�กัด” ซึ่งดำ�เนินธุรกิจออกแบบและผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ได้ซื้อสิทธิบัตร “เครื่องสีข้าวชุมชน” ซึ่งเป็นงาน วิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) และเชื่อมั่นว่าจะช่วยยก ระดับการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้ เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตได้ อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรไทยและสามารถ แข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยราคาเครื่องสีข้าวชุมชน อยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท/เครื่อง
  • 4. 4 nstda • สิงหาคม 2558 สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 ก.วิทย์ฯ สวทช. จับมือเบทาโกร เปิดตัวนวัตกรรม “ไส้กรอกไขมันต่ำ�” ครั้งแรกของไทย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความสำ�คัญใน การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา มุ่งให้ความสำ�คัญกับนักวิจัยที่มีความเข้าใจ และมองภาพรวมของการพัฒนาประเทศในการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ของ ประเทศ เร่งรัดการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ของประเทศ พร้อมทั้งถ่ายทอดไปสู่เอกชนและอุตสาหกรรมในการปรับปรุงและ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตและส่งออก สินค้าทางการเกษตรที่มีคุณภาพและปริมาณมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยอุตสาหกรรมอาหารเป็น 1 ใน 10 ของอุตสาหกรรมที่ทำ�รายได้เข้าประเทศ และมีแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวทช. จึง ให้ความสำ�คัญและเล็งเห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ และ ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์งานวิจัยที่ สวทช. มุ่งเน้นและให้ความสำ�คัญเป็นอย่างมาก การทำ�งานร่วมกันของนักวิจัยเอ็มเทคและเบทาโกรจนได้ผลิตภัณฑ์ “ไส้กรอก ไขมันต่ำ�” ยังสอดคล้องกับนโยบายของ สวทช. ที่ต้องการสนับสนุนการร่วมวิจัย กับภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรมอาหาร ดร.กฤษฎา สุชีวะ รองผู้อำ�นวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่ง ชาติ (เอ็มเทค) กล่าวว่า “ไส้กรอกไขมันต่ำ�” พัฒนาขึ้นจากการแทนที่ไขมันสัตว์ ด้วยของผสมจากสารทดแทนไขมัน สารปรับสมบัติเชิงรีโอโลยีและตัวเพิ่มความ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ เบทาโกร เปิดตัวนวัตกรรมทางอาหาร “ไส้กรอก ไขมันต่ำ�” ที่มีปริมาณไขมันน้อยกว่า 5% ขณะที่ไส้กรอกทั่วไปมีไขมันถึง 20-25% แต่ยังคงคุณภาพของ รสชาติและเนื้อสัมผัสที่เหนียวนุ่มและเคี้ยวได้ง่าย ด้านเบทาโกรมั่นใจตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค ถือเป็นครั้งแรกของไส้กรอกเพื่อสุขภาพของประเทศไทย พร้อมสานต่องานวิจัยและพัฒนาร่วมกับ สวทช.
  • 5. 5สิงหาคม 2558 • สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 สามารถในการอุ้มน้ำ� ตลอดจนการปรับสัดส่วนขององค์ประกอบจากเนื้อสัตว์ และ องค์ประกอบอื่นๆ ในสูตร รวมถึงการปรับสภาวะในกระบวนการผลิต และนำ�มา ทดสอบคุณสมบัติทางเนื้อสัมผัสและประสาทสัมผัส ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยเอ็มเทคนำ� ความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้าน “รีโอโลยี” ซึ่งเป็นการศึกษาพื้นฐานของการไหล และการเสียรูปของวัสดุมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ให้มีคุณภาพเนื้อสัมผัสที่ดี จนเป็นผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่มีปริมาณไขมันน้อยกว่า 5% ถือได้ว่าเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของเอกชนและสามารถนำ�งานวิจัย ไปสู่การใช้งานจริงได้สำ�เร็จ คุณวสิษฐ แต้ไพสิษฐ์พงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่เครือเบทาโกร กล่าว ถึงนโยบายและแนวทางการวิจัยและพัฒนาว่า เครือเบทาโกรตระหนักถึงความ สำ�คัญของการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่เป็นเลิศ จึงได้จัดตั้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาเครือเบทาโกรขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของการวิจัยและพัฒนา ด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านปศุสัตว์ ด้านอาหาร และด้านการพัฒนาการทดสอบ เชื้อปนเปื้อนที่ก่อโรคในอาหาร เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค การทำ�วิจัยและ พัฒนาเพื่อให้เกิดการแปรรูปอาหารที่มีผลผลิตสูง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เบทาโกรได้สร้างเครือข่ายงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา ซึ่ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ “ไส้กรอกไขมันต่ำ�” นี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งความสำ�เร็จที่ได้ ร่วมกับ สวทช. นอกจากนี้ เบทาโกรยังได้สานต่อการวิจัยและพัฒนาโดยร่วมกับ สวทช. ด้วยการสนับสนุนงบประมาณ 10 ล้านบาทเพื่อการศึกษาโครงสร้างและ หน้าที่ของเนื้อสัตว์สำ�หรับการแปรรูปและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอีกด้วย  น.สพ.รุจเวทย์ ทหารแกล้ว ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยและ พัฒนาเครือเบทาโกร กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ “ไส้กรอกไขมันต่ำ�” ซึ่งมีคุณสมบัติทางโภชนาการที่ดี และถือเป็นครั้งแรกของ ไส้กรอกเพื่อสุขภาพของประเทศไทย โดยปกติไส้กรอกทั่วไปจะมีไขมันอยู่ประมาณ 20% หรือให้พลังงานมากกว่า 250 kcal/100g ทำ�ให้ผู้ใส่ใจต่อสุขภาพเป็นพิเศษ ลังเลที่จะรับประทาน จึงเป็นที่มาของความพยายามพัฒนาสินค้าในกลุ่มนี้ขึ้น “ส่วนประกอบหลักของไส้กรอกไขมันต่ำ� คือ การนำ�ไฟเบอร์ หรือใยอาหารจาก พืชมาใช้ทดแทนไขมันสัตว์ ซึ่งนอกจากทำ�ให้ปริมาณไขมันต่ำ�กว่าไส้กรอกทั่วไป ถึง4 เท่าแล้ว ยังให้พลังงานที่ลดลงและคอเลสเตอรอลต่ำ�อีกด้วย นอกจากนี้ ยัง ทำ�ให้ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ไต และหลอดเลือดต่ำ�ลงด้วย เช่นกัน ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการทานไส้กรอกที่ อร่อยและไม่ต้องกังวลกับไขมันอีกต่อไป”
  • 6. 6 nstda • สิงหาคม 2558 เปิดตัวหนังสือเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี “๖๐ พรรษารัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
  • 7. 7สิงหาคม 2558 • สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์- ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ กรรมการโครงการ เทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม ราชกุมารี กล่าวว่า “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็น นักพัฒนาที่มีพระราชปณิธานแน่วแน่ ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทรงยึดหลักการที่ว่ารูปแบบและวิธีการในการพัฒนา ต้องเหมาะสมกับสภาพ ภูมิศาสตร์เชื้อชาติ วัฒนธรรมท้องถิ่น คติความเชื่อทางศาสนา และภูมิหลังทาง เศรษฐกิจและสังคม ที่สำ�คัญคือ นักพัฒนาต้องมีความรัก ความห่วงใย ความ รับผิดชอบ และความเคารพในเพื่อนมนุษย์ ทรงพระราชดำ�ริว่า ในการพัฒนา เรื่องใดๆก็ตาม จำ�เป็นต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือเทคโนโลยีระดับสูง “หนังสือ ๖๐ พรรษา รัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” เล่มนี้ ได้รวบรวม โครงการในพระราชดำ�ริของพระองค์ท่าน ที่นำ�วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไป พัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยมากมายหลายโครงการ จึงอยากให้คนไทยได้อ่านหนังสือเล่มนี้” หนังสือ ราคา 499 บาท รายได้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราช กุศลตามพระราชอัธยาศัย วางแผงแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำ�ทุกแห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ผู้ที่สนใจต้องการสั่งซื้อ “หนังสือ ๖๐ พรรษา รัตนราชสุดา วิทยา ปริทรรศน์” ในเวอร์ชันอีบุ๊ก ซึ่งสามารถสั่งซื้อได้แล้ว โดยผ่านแอปของ Ookbee และ AISBookstore จำ�หน่ายในราคาเล่มละ 120 บาท เท่านั้น   ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กล่าวว่า “หนังสือเล่มนี้จะช่วยสร้าง แรงบันดาลใจ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับคนไทย เนื่องจากได้สรุปรวม โครงการตามพระราชดำ�ริ ที่สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ชาติ (สวทช.) ดำ�เนินการ ประสานงาน และมีส่วนร่วม ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการ ศึกษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผู้ด้อยโอกาส ทุกโครงการ เกิดขึ้นและมีผลการดำ�เนินงานอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากได้รับความร่วมมือจาก พันธมิตรจำ�นวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน” ด้าน ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ในฐานะบรรณาธิการ หนังสือ “๖๐ พรรษา รัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” กล่าวว่า “ประโยชน์ของแต่ละโครงการที่รวบรวม อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ถือได้ว่าเป็นองค์ความรู้อันมีค่ายิ่งต่อผู้อ่านและเยาวชนไทย ซึ่งจะเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต หากหนังสือเล่มนี้ มีส่วนสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านเกิดฉันทะในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามและเป็น ประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็ย่อมถือว่าผู้อ่านได้ดำ�เนินชีวิตตามแนวพระราชดำ�ริของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพัฒนาคน ชุมชน และสังคม โดยรวมด้วยเช่นกัน” โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม ราชกุมารี โดย ฝ่ายเลขานุการโครงการฯ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดตัวหนังสือแห่งปี “๖๐ พรรษา รัตนราชสุดา วิทยา ปริทรรศน์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลอง พระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยเนื้อหาของหนังสือเป็นการรวบรวมโครงการทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีบทบาทต่อประชาชนชาวไทยที่ครบสมบูรณ์ จำ�หน่ายในราคา 499 บาท และในเวอร์ชันอีบุ๊กผ่านแอปของ Ookbee และ AISBookstore จำ�หน่ายในราคา 120 บาท รายได้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
  • 8. 8 nstda • สิงหาคม 2558 สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 “ปังปอนด์ ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที” หนังสือการ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะฝ่ายเลขานุการโครงการฯ แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือการ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี “ปังปอนด์ ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ซึ่งเป็นการนำ�เสนอการดำ�เนิน โครงการตามพระราชดำ�ริฯ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีบทบาทต่อประชาชนชาวไทยในรูปแบบ หนังสือการ์ตูน ซึ่งการ์ตูนเล่มนี้เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งในชุดหนังสือและสื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ต่อเนื่องจาก หนังสือ “๖๐ พรรษา รัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” โดยจัดจำ�หน่ายในราคา 25 บาท รายได้จากการ จำ�หน่าย ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลฯ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
  • 9. 9สิงหาคม 2558 • สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 กรุงเทพฯ 6 สิงหาคม 2558 - ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ รอง ประธานกรรมการ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวถึงที่มาของการจัดทำ�หนังสือการ์ตูน เล่มนี้ว่า “คณะกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จัดทำ�หนังสือการ์ตูน “ปังปอนด์ ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที” โดยเป็นส่วนหนึ่งของชุดหนังสือและสื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 หนังสือการ์ตูน “ปังปอนด์ ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที” เป็นหนังสือที่ ถ่ายทอดพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เล่าเรื่องผ่านตัวการ์ตูน “ปังปอนด์” โดยนำ� เนื้อหาสาระที่สำ�คัญมาสรุปและสร้างสรรค์ให้อ่านง่ายในรูปแบบของการ์ตูน ภายในเล่มมีจำ�นวนทั้งหมด 5 เรื่อง คือ เจ๋งสุดๆ นักวิทยาศาสตร์ไทยไปร่วม งานที่เซิร์น, ท่องดินแดนขั้วโลกใต้ ผจญภัยในแอนตาร์กติกา, eDLTV เรียนด้วย ตัวเองก็เก่งได้, น่าทึ่งอุปกรณ์ไฮเทคช่วยคนพิการทำ�งานได้ และโซลาร์เซลล์ แสง สว่าง...นำ�ความรู้ ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีภาพการ์ตูนที่สนุก สีสันสดใส และปิดท้าย ด้วยบทสรุปสาระน่ารู้ที่มีประโยชน์” ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “คณะกรรมการ โครงการ หวังว่าเด็กและเยาวชนที่ได้อ่านจะเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไปกับตัวการ์ตูนปังปอนด์ พร้อมๆ กับการได้เรียนรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีที่สอดแทรกอยู่ตลอดเล่ม รวมทั้งจะเกิดความตระหนักและซาบซึ้งใน พระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ ทรงนำ�วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ เป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพ ชีวิตของผู้ด้อยโอกาส อีกทั้งยังทรงสนับสนุนให้เยาวชนและนักวิทยาศาสตร์ไทย ได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์จากสถาบันชั้นนำ�ของโลก ซึ่งจะเป็นการวาง รากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้คณะกรรมการโครงการ ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่สนับสนุนการ จัดทำ�ในครั้งนี้ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด(มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำ�กัด (มหาชน), บริษัท ไทยคอนส์ แอนด์ บิลดิ้ง เมนูแฟ๊คเจอริ่ง จำ�กัด (มหาชน), บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี(ประเทศไทย) จำ�กัด, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำ�กัด(มหาชน) และบริษัท เอสวีโอเอ จำ�กัด(มหาชน) รวมทั้งขอขอบคุณบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำ�กัด ที่จัดส่งหนังสือให้แก่โรงเรียนทั่วประเทศโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และรายได้จากการจำ�หน่ายหนังสือเล่มนี้ จะนำ�ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จพระราชกุศลฯ” หนังสือการ์ตูน “ปังปอนด์ ตะลุยโลกวิทย์ พิชิตไอที” ราคา25 บาท วาง จำ�หน่ายแล้วที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และบุ๊คสไมล์ทั่วประเทศ ซึ่งสามารถสั่งซื้อ จำ�นวนมากเพื่อบริจาคได้อีกด้วย โดยเล่มนี้เป็นหนึ่งในชุดเดียวกับหนังสือ “๖๐ พรรษา รัตนราชสุดา วิทยาปริทรรศน์” จำ�หน่ายในราคา 499 บาท วางแผงแล้ว ที่ร้านหนังสือชั้นนำ� ทั้ง 2 เล่ม รายได้ทูลเกล้าถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลฯ
  • 10. 10 nstda • สิงหาคม 2558 สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินเปิดงาน Asian Science Camp 2015 วันที่3 สิงหาคม2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินเปิดงาน ค่ายวิทยาศาสตร์เอเชียน(AsianScience Camp2015) ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย คลองหลวง จ.ปทุมธานี และทรงแสดงปาฐกถาเรื่อง “YoungScientistsofAsia”พร้อมทรง ฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง “IntroductiontoCosmology” จากProf.Dr.HitoshiMurayamaDirector,KavliInstituteforthePhysicsandMathematics of the Universe (IPMU), University of Tokyo ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2-8 สิงหาคม 2558 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร มีนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานประมาณ 300 คน จาก 28 ประเทศ ในแถบเอเชียแปซิฟิก วัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ก็เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา และเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนตลอดจนสังคมไทยตระหนักถึงความสำ�คัญและบทบาทของการศึกษา วิจัย ค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีต่อการพัฒนา สังคมและประเทศ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/news/20395-asc2015
  • 11. 11สิงหาคม 2558 • สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 เมื่อพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ ภาพที่คนส่วนใหญ่คิดมักจะเป็นภาพนักวิทยาศาสตร์ชายมากกว่าหญิง แต่นักวิทยาศาสตร์หญิงเก่งๆ ก็มีอยู่จำ�นวน ไม่น้อยเช่นกัน ขณะนี้มีโครงการดีๆ ที่ให้การสนับสนุนและกระตุ้นให้เยาวชนหญิงมีความสนใจและสนุกไปกับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำ�กัด จัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ในโครงการ EYH: ขยายขอบค่ายความรู้สู่ความคิดวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 7 (The Seventh Expanding Your Horizons: EYH 2015) สำ�หรับน้องๆ นักเรียนหญิงมัธยมต้น เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นให้เยาวชนหญิงที่เข้าร่วมโครงการมีความสนใจและสนุกไปกับ การเรียนรู้STEM(Science,Technology,EngineeringandMathematics) ภายใต้กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ ในปีนี้จัดวันที่15-16 สิงหาคม2558 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา ผู้สนใจ ดูรายละเอียดได้ที่www.fic.nectec.or.th/EYH2015 หรือfacebook:EYHThailand โครงการ EYH: ขยายขอบข่ายความรู้ สู่ความคิดวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 7 กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อเยาวชนหญิง
  • 12. 12 nstda • สิงหาคม 2558 สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 รมว.วท. นำ� 50 เอสเอ็มอีญี่ปุ่น บุกอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โชว์ศักยภาพห้องปฏิบัติการวิจัยมาตรฐานโลก หวังขยายผลสู่การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาระดับบิ๊กดีล 6 สิงหาคม 2558 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงฯ นำ�สมาชิกองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) และผู้ประกอบการรายใหญ่และเอสเอ็มอีญี่ปุ่นกว่า 100 รายจาก 50 บริษัท เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ วิจัยศูนย์วิเคราะห์ทดสอบและรับรองมาตรฐาน พร้อมบริการต่างๆ ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนการพัฒนา นวัตกรรมในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
  • 13. 13สิงหาคม 2558 • สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 ดร.พิเชฐ กล่าวว่า สืบเนื่องจากการเดินทางเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีในเดือนที่ผ่านมา มีแผนให้หน่วย งานภาครัฐสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย เพื่อรักษาฐานการผลิตและ เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจในเมืองไทยให้มากยิ่งขึ้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้ร่วมกับเจโทรศึกษาวิเคราะห์ แนวทางการดำ�เนินธุรกิจของนักลงทุนชาวญี่ปุ่น พบว่า นักลงทุนรู้ดีถึงสิทธิประโยชน์จากบีโอไอ แต่ยังเข้าไม่ถึงข้อมูล ด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนศักยภาพในการทดสอบและรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในประเทศ รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากรที่มีทักษะความชำ�นาญสูงโดยหน่วยงานภาครัฐ จึงเป็น ที่มาของการจัดเยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้เกิดการรับรู้และสร้างความเชื่อมโยง นำ�ไปสู่ความเชื่อมั่นในการดำ�เนินธุรกิจในประเทศไทย ดร.ทวีศักดิ์ ได้กล่าวถึงการเยี่ยมชมในครั้งนี้ว่า ได้มีการแบ่งกลุ่มตามความสนใจ 3 กลุ่มด้วยกัน คือ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร- เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมอาหารและอาหารสัตว์ของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC), บจก. UENO Science Tech Laboratory ผู้นำ�ด้านการผลิตสารให้ความหวานทดแทน น้ำ�ตาล และศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร ศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเครือเบทาโกรในด้านเกษตร และอาหาร 2. กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ - เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการยานยนต์ของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC), ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) และโพลีพลาสติก อาเซียน เทคนิคคอล โซลูชั่น เซ็นเตอร์ ศูนย์กลางให้การสนับสนุนวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกวิศวกรรม ผู้นำ�ตลาดโลกด้าน พลาสติกในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 3. กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านชีววิทยาศาสตร์ - เยี่ยมชมศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC) คลังชีววัสดุ พร้อมข้อมูลและเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ที่ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ, ห้องปฏิบัติการนำ�ส่งนาโน ศูนย์นาโน เทคโนโลยีแห่งชาติ(NANOTEC) วิจัยและพัฒนาการลำ�เลียงและนำ�ส่งยาด้วยเทคโนโลยีนาโนในร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืช และบจก. ออสเตรียโนวา (ประเทศไทย) ผู้นำ�ด้านการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการห่อหุ้มเซลล์ ด้วยชีวภาพ เพื่อการปกป้อง แยก เก็บรักษาและนำ�ส่งเซลล์มีชีวิต
  • 14. 14 nstda • สิงหาคม 2558 สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 ผลงานวิจัยเนคเทคได้รับเกียรติ ขึ้นหน้าปกวารสารนานาชาติ บทความวิชาการของเนคเทคได้รับคัดเลือกขึ้นปกวารสาร ETRI Journal (Impact Factor 0.945) vol. 37, no. 4, Aug. 2015 บทความที่ขึ้นปกมีชื่อว่า “Efficient Key Management Protocol for Secure RTMP Video Streaming Toward Trusted QutumNetwork” โดยนักวิจัยเนคเทค3 ท่านที่สร้างสรรค์ผลงาน ประกอบด้วย นางสาวมลธิดา ภัทรนันทกุล(ผู้เขียนหลัก) ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ จากห้องปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ (CSL) หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไร้สายข้อมูลความมั่นคง และนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (WISRU) และนายปรมินทร์ แสงวงษ์งาม จากห้องปฏิบัติการวิจัย เทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PTL) หน่วยวิจัยอุปกรณ์และระบบอัจฉริยะ (IDSRU) บทความดังกล่าวนำ�เสนอการประยุกต์ใช้รหัสลับที่ รับประกันด้วยกฎทางฟิสิกส์ว่าด้วยทฤษฎีห้ามคัดลอกมาช่วยเพิ่ม ความปลอดภัยบนระบบประชุมทางไกล เพื่อป้องกันการเข้าถึง ข้อมูลที่สำ�คัญโดยผู้ไม่หวังดี ส่วนรูปที่นำ�ขึ้นปกวารสารซึ่งได้รับคัดเลือกเพียงรูปเดียว จาก 20 บทความในฉบับนั้น ได้อธิบายโครงสร้างของระบบที่ ประกอบด้วยสามระดับชั้น ได้แก่ QKD layer ทำ�หน้าที่สร้าง รหัสลับ Key management layer ทำ�หน้าที่บริหารและจัดการ รหัสลับ และApplicationlayer ที่ซึ่งระบบประชุมทางไกลได้ถูก ติดตั้งอยู่ เมื่อมีการใช้งานระบบประชุมทางไกล ข้อมูลผู้ส่ง/ผู้รับ จะถูกเข้ารหัสก่อนเสมอ วิธีการนี้ช่วยให้ข้อมูลที่สื่อสารกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อนึ่ง ETRI Journal เป็นวารสารวิชาการที่ติพิมพ์ผลงานวิจัยด้าน Information Telecommunications และ Electronics เป็นหลัก โดย หน่วยงานที่เป็นเจ้าของวารสารและเป็นผู้ตีพิมพ์คือ The Electronics and Telecommunications Research Institute (ETRI) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยชั้นนำ� ด้าน ICT ของประเทศเกาหลีใต้ ETRI ซึ่งก่อตั้งแต่ปี 1976 นั้น ปัจจุบันมี พนักงานประมาณ2,000 คน และในจำ�นวนนี้ประมาณ1,800 คน เป็นนักวิจัย (ข้อมูลจาก Wikipedia) https://etrij.etri.re.kr/etrij/journal/main.do
  • 15. 15สิงหาคม 2558 • สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 ผลิตภัณฑ์ไวรัส เอ็น พี วี นวัตกรรมทางการเกษตรแบบยั่งยืน นวัตกรรมในการใช้ไวรัสควบคุมตัวหนอนแมลงศัตรูพืช ด้วยวิธีชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีกำ�จัดศัตรูพืช กระแสสังคมปัจจุบันให้ความสำ�คัญกับคุณภาพชีวิตและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังเช่น เกษตรอินทรีย์หรือการทำ�เกษตรกรรมที่ไม่ใช้สารเคมีในการกำ�จัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดสารพิษ ตกค้างในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค เกษตรกร และ มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้วิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ไวรัส เอ็น พี วี ขึ้นเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพ ทดแทนการใช้สารเคมีกำ�จัดศัตรูพืช ซึ่งพบ ว่าใช้งานได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ
  • 16. 16 nstda • สิงหาคม 2558 NuclearPolyhedrosisVirus(NPV) หรือ เอ็น พี วี เป็นไวรัสที่ทำ�ให้เกิด โรคกับตัวหนอนที่เป็นตัวอ่อนของแมลง จึงสามารถนำ�มาใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมีได้ และมีคุณสมบัติเด่นคือ ทำ�ลายเฉพาะศัตรูพืชเป้าหมาย จึงไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์ในธรรมชาติ ปลอดภัยสำ�หรับมนุษย์ และ สิ่งแวดล้อม โดยกลไกการเข้าทำ�ลายคือเมื่อตัวอ่อนของแมลงกินไวรัส เอ็น พี วี ที่เกษตรกรฉีดพ่น ไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะอาหาร ส่งผลให้หนอนลดการกินอาหาร ลง และเมื่ออนุภาคของไวรัสขยายพันธุ์ทวีจำ�นวนมากขึ้น ไวรัสจะแพร่กระจายเข้า สู่ภายในลำ�ตัวของหนอน อาทิ เม็ดเลือด ไขมัน กล้ามเนื้อ ผนังลำ�ตัว จนหนอน จะตายไปในที่สุด นอกจากนี้ซากหนอนที่ตายนี้จะเต็มไปด้วยผลึกของไวรัส เอ็น พี วี ซึ่งสามารถระบาดไปสู่หนอนตัวอื่นๆ ในแปลงได้ ผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็น พี วี ตัวช่วยคุมแมลงศัตรูพืช นายสัมฤทธิ์ เกียววงษ์ ผู้จัดการโรงงานต้นแบบผลิตไวรัส เอ็น พี วี เพื่อ ควบคุมแมลงศัตรูพืช ไบโอเทค กล่าวว่า ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้ง ในและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้ว่าประเทศคู่ค้า ของไทยล้วนให้ความสำ�คัญกับการนำ�เข้าผลิตผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพและ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปราศจากสารพิษตกค้าง “จุดเด่นของการใช้ผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็น พี วี คือการควบคุมศัตรูพืชเป้า หมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยทั้งกับผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ใช้งาน นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็น พี วี ยังสามารถนำ�ไปใช้ได้กับพืชที่หลากหลาย พืชดอก เช่น กล้วยไม้พันธุ์ต่างๆ ดาวเรือง เบญจมาศ กุหลาบ รวมถึงพืชผัก และผลไม้ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง หอมแดง หอมหัวใหญ่ แตงโม มะเขือเทศ องุ่น พืช ตระกูลกะหล่ำ�” สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
  • 17. 17สิงหาคม 2558 • นางสาวณนิภา เลยะกุล ผู้จัดการวิจัยและพัฒนาไร่คุณธรรม อ.มวก เหล็ก จ.สระบุรี กล่าวว่า การใช้สารเคมีกำ�จัดศัตรูพืชมีแนวโน้มต้องใช้ปริมาณ มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะศัตรูพืชมีวิวัฒนาการที่ทนต่อสารเคมีมากขึ้น จึงหันมาใช้ ผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็น พี วี ซึ่งเป็นการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพ ทดแทนการ ใช้สารเคมี ผลลัพธ์ที่ได้สามาถจำ�กัดหนอนที่เป็นศัตรูพืชภายใน 3-5 วัน และ เนื่องจากซากหนอนที่ ตายนี้เต็มไปด้วยผลึกของไวรัส ซึ่งสามารถกระจายตัวไป หนอนศัตรูพืชตัวอื่นๆ ในแปลงได้ มีผลให้หนอนจะลดลงอย่างมากในอาทิตย์ที่ 2-3 และจะหมดไปในที่สุด “ผลิตภัณฑ์ไวรัสเอ็น พี วี ให้ผลลัพธ์ที่เห็นผลจริง และเมื่อคำ�นวณต้นทุน การใช้จ่ายพบว่าการใช้ไวรัสเอ็น พี วี มีค่าใช้จ่ายไม่ต่างกับการใช้สารเคมีมากนัก สำ�หรับการจัดการหนอนในแปลงในระยะแรก แต่เมื่อคำ�นวณต้นทุนรวมตลอด ระยะการปลูกจนเก็บผลผลิต พบว่าการผลิตภัณฑ์ไวรัส เอ็น พี วี ถูกกว่าการใช้ สารเคมี และสามารถลดต้นทุนแรงงานที่ใช้ในการฉีดพ่นสารเคมีได้อย่างมาก ที่ สำ�คัญคือสุขภาพของแรงงานที่ไม่ทรุดโทรม” ผลิตภัณฑ์ไวรัส เอ็นพีวี มีให้เลือก 3 ขนาด คือขนาด 100, 200, 500 มิลลิลิตร โดยมีราคาขวดละ 270, 650 และ 1,100 บาทตามลำ�ดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดผลิตจากโรงงานต้นแบบผลิต เอ็น พี วี เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช ณ Module8 อาคารBiotecPilotPlant ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย มี พื้นที่800 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องกักกันโรค ห้องเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ และห้อง เลี้ยงขยาย รวม 10 ห้อง ขณะที่กระบวนการปลูกเชื้อหรือผลิตไวรัสได้ถูกดำ�เนิน การแยกออกไป ณ บริเวณอาคาร Greenhouse โดยมีห้องปลูกเชื้อหนอน ห้อง ผลิตและบรรจุผลิตภัณฑ์ดำ�เนินการอย่างเป็นขั้นตอน ผู้สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์ติดต่อได้ที่ โรงงานต้นแบบผลิตไวรัส เอ็น พี วี เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช ศูนยพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำ�นักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำ�บลคลองหนึ่ง อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 02-564-6700 ต่อ 3712 ชมคลิปวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่https://www.youtube.com/watch?v=H83KvJSvgkc เกษตรกรขานรับ ประสิทธิภาพ ควบคู่ความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ไวรัส เอ็น พี วี สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
  • 18. 18 nstda • สิงหาคม 2558 • วันที่ 18-20 สิงหาคม 2558 งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจาปี 2558 ภายใต้หัวข้อ “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วย วิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่ง นวัตกรรม” ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมงานโดย งานส่งเสริม และพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูง ฝ่ายพัฒนาบัณฑิตและนักวิจัย สวทช. • เปิดรับสมัครนักศึกษาและครูฟิสิกส์เข้าร่วมกิจกรรมภาคฤดูร้อนเดซี และเซิร์น 1. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี เปิดรับสมัครนิสิต/นักศึกษา ในสาขาฟิสิกส์ เข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทย ประจำ�ปี 2559 เพื่อไปเข้าร่วมกิจกรรม DESY Summer Student Programme 2016 ณ สถาบันเดซี เมืองฮัมบวร์กหรือเมืองซอยเธน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 2559 (เปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2558) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ http://nstda.or.th/desy/ 2. โครงการนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ภาคฤดูร้อนเซิร์น ประจาปี 2559 เปิดรับสมัครครู/อาจารย์ ที่สอนวิชาฟิสิกส์ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายและสอนอยู่ในประเทศไทย และรับสมัครนิสิต/นักศึกษา สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์/ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์/วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทยประจำ�ปี 2559 เพื่อไปเข้าร่วมกิจกรรมภาคฤดูร้อน ณ สถาบันเซิร์น เมืองเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ในช่วงประมาณเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม 2559 (เปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2558) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ http://thaicern.slri.or.th สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5
  • 19. 19สิงหาคม 2558 • ทำ�งานวิจัยเพื่อมุ่งพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศ ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง ห้องปฏิบัติการนาโนโมเลกุลเป้าหมาย หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) โดยบทบาทของนักวิทยาศาสตร์ การที่ได้ทำ�งานวิจัยที่ตัวเองรักและสนใจ ถือเป็นความภูมิใจและความสุขใจอย่างยิ่ง แต่การหาทุนเพื่อมาทำ�วิจัยนั้นก็ไม่ใช่ เรื่องง่ายเลย ในการจะโน้มน้าวหรือนำ�เสนอโครงการเพื่อให้หน่วยงานที่ให้ทุนได้ เห็นความสำ�คัญของงานวิจัยนั้น บุคคลในคอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษฉบับนี้ จะพาผู้อ่านไปรู้จักกับนักวิจัย สาวสวยกันค่ะ เธอจบดอกเตอร์จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ผู้ ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสมาคม The Royal Society of Chemistry ประเทศอังกฤษ ถึง 2 ปีซ้อน และงานวิจัยในปัจจุบันก็เป็นงานด้านสาธารณสุขเพื่อช่วยเหลือคน ไทยทั้งประเทศ แขกรับเชิญของเราในฉบับนี้ก็คือ ดร.เดือนเพ็ญ จาปรุง นักวิจัย จากห้องปฏิบัติการนาโนโมเลกุลเป้าหมาย หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโน เทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) ค่ะ สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 ถาม : ขอทราบถึงความเป็นมาที่ได้มาทำ�งานที่ สวทช.ค่ะ ตอบ : หลังจากที่เรียนจบระดับปริญญาตรีแล้ว ก็มาเริ่มงานเป็นผู้ช่วยวิจัยที่ ไบโอเทค สวทช. ค่ะ ทำ�อยู่ประมาณ 5 ปี ต่อมาในช่วงที่นาโนเทคกำ�ลังก่อตั้ง ตัวเองสนใจที่จะทำ�งานด้านนาโน เลยลองไปสมัครทุน กพ. ซึ่งเป็นทุนของ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามความต้องการของนาโนเทค ซึ่งก็เป็น รุ่นที่ 2 ที่ได้รับทุนค่ะ สาขาที่เดือนไปเรียนก็คือ Nano Medicines หรือ นาโน เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ ก็ได้ลาศึกษาต่อโดยคงสถานะความเป็นพนักงาน อยู่ และก่อนไปเรียนก็มีโอกาสได้โอนย้ายไปสังกัดนาโนเทคค่ะ ที่ตัดสินใจสอบทุนนี้ก็เพราะตอนนั้นนาโนเทคโนโลยีกำ�ลังบูมมาก เลย อยากมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนาโนเทคโนโลยีมากขึ้น จากเดิมมีความรู้ ทางด้าน Medical เพราะจบมาทางด้านเทคนิคการแพทย์ และ Biochemistry ค่ะ ถ้าต่อยอดด้านนาโนเทคโนโลยีก็น่าจะมีประโยชน์ และสาขาที่เปิดรับก็เป็น เรื่อง Nano Medicines ซึ่งตรงกับที่เราอยากรู้พอดี เดือนมีโอกาสได้ไปเรียนต่อ ระดับปริญญาโท - เอก ที่ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ค่ะ สิ่งที่ได้เรียนมาก็เกี่ยวกับการใช้ Nanopore Technology ในการหาลำ�ดับ ของ DNA เรียนอยู่ประมาณ 4 ปีก็จบปริญญาเอก หลังจากนั้นก็มีโอกาสได้ไป ทำ� Postdoctoral ต่อที่มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน เมื่อจบก็กลับ มาทำ�งานที่นาโนเทคเมื่อสามปีที่แล้วค่ะ
  • 20. สิงหาคม 2558 ฉบับที่ 5 20 nstda • สิงหาคม 2558 Spin Out Company เป็นการจัดการนำ�งาน วิจัยพัฒนาไปจัดตั้ง ในรูปแบบของบริษัท เพื่อดำ�เนินการเชิงพาณิชย์ ถาม : ชีวิตที่อังกฤษเป็นอย่างไรบ้างคะ ตอบ : ตอนไปอยู่ที่อังกฤษใหม่ๆ ก็ต้องปรับตัวเยอะเหมือนกัน เนื่องจากภาษา ซึ่งตอนแรกเราคิดว่าเราเข้าใจภาษาอังกฤษนะ แต่พอเจอคนเจ้าของภาษาจริงๆ กลายเป็นว่าเราสื่อสารได้ไม่ค่อยดีนัก ก็ต้องปรับตัวอยู่เป็นปี กว่าจะเข้าใจทั้งภาษา และวัฒนธรรมของเขาบ้าง เรื่องการเรียนก็โชคดีที่ได้ไปอยู่ในแล็บที่ค่อนข้างใหญ่ ของภาควิชา Chemical Biology ซึ่งในแล็บนี้มีนักศึกษาอยู่แค่ 2 คนเท่านั้นเอง ค่ะ นอกนั้นคนในแล็บเป็น Postdoctoral ทั้งหมดเลย จำ�นวน 11 คน แต่ถือว่า เป็นโชคดีนะคะที่ได้มาอยู่แล็บนี้ เพราะเหมือนมีครูหลายคนมาก เราสามารถถาม และขอให้พี่ในแล็บช่วยสอนในเรื่องที่อยากรู้ได้โดยไม่รู้สึกอายเลย โดยในแล็บมีทั้ง วิศวกร นักเคมี นักฟิสิกส์ หลายๆ สาขา ทำ�ให้เราได้เรียนรู้ในหลายๆ ศาสตร์ด้วย ทางอาจารย์ที่ปรึกษาก็เป็นนักวิจัยรุ่นแรกๆ ที่ทำ� Spin Out Company เป็นการ จัดการนำ�งานวิจัยพัฒนาของเขาไปจัดตั้งในรูปแบบของบริษัทเพื่อดำ�เนินการเชิง พาณิชย์ ทำ�ให้เราได้เรียนรู้อีกว่างานวิจัยในมหาวิทยาลัยเนี่ย มันสามารถจะจัด ตั้งออกมาเป็นบริษัท และสามารถระดมทุนเพื่อมาทำ�งานวิจัยของบริษัทได้อีกด้วย เป็นครั้งแรกที่ได้รู้จักคำ�ว่า Spin Out Company ชีวิตในออกฟอร์ดถือว่ามีความ สุขมากค่ะ ได้ทำ�งานวิจัย ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันในแล็บโดยไม่มีการหวงกัน ซึ่ง ในแล็บนั้นจะค่อนข้างคล่องตัวมาก มีการสังสรรค์กันสัปดาห์ละสองสามครั้ง ทั้ง ในแล็บ ในมหาวิทยาลัย และSpinOutCompany ด้วย นอกจากนี้ยังมีJournal Club ที่นำ�ความรู้ใหม่ๆ มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ตลอดเวลาที่อยู่ที่นั่นรู้สึกว่า ตัวเองมีพื้นความรู้ที่ค่อนข้างแน่นเลยทีเดียวล่ะ แต่ก็มีข้อเสียนิดนึง คือเรารู้สึกว่า ถูกจำ�กัดให้อยู่ในฐานะนักศึกษา ทำ�ให้ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ด้านการบริหารจัดการ งานวิจัย ก็เลยขออนุญาตทางนาโนเทคทำ� Postdoctoral ต่อ ตามที่บอกไปค่ะ Postdoctoral ได้ทำ�ที่มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ เขาก็ให้เราบริหารงาน วิจัยเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี และก็ให้เรามีส่วนเป็นCo-advisor ให้นักศึกษาปริญญา เอก และปริญญาโทด้วย มันเป็นอีกบทบาทหนึ่ง เหมือนเราได้เป็นครูที่ต้องดูแล นักเรียนในสังกัดของเรา รู้สึกว่าตัวเองได้อะไรอีกแบบหนึ่งที่อิมพีเรียล คอลเลจ และได้เรียนรู้การทำ�งานวิจัยที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนจำ�นวนมาก เพราะ