SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 100
Downloaden Sie, um offline zu lesen
60 ปี ททท.
TAT
The Journey
A STORY BASED ON TRUE JOURNEY
1
60 ปีที่ผ่าน
กับ
งานที่ต้องสานต่อ
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
22
บรรณาธิการที่ปรึกษา
ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา
ธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด
ฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้
นพดล ภาคพรต รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ
ศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา
สมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านบริหาร
น้ําฝน บุณยะวัฒน์ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว
วินิจ รังผึ้ง ผู้อํานวยการฝ่ายบริการการตลาด
TAT The Journey
The Story Based on
True Journey
(60 ปี ททท.)
จัดทําโดย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
1600 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0 2250 5500
โทรสาร 0 2253 7450
www.tourismthailand.org
ออกแบบและผลิต
บริษัท อัญแปลน จํากัด
พิมพ์ที่
บริษัท ภาพพิมพ์ จํากัด
พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ 2563
ISBN 978-974-679-299-8
กองบรรณาธิการ
จ.ส.ท.กริช นนทฤทธิ์ ผู้อํานวยการกองวางแผนและผลิตสื่อ
ปริญญ์ พงษ์เจริญ หัวหน้างานวางแผนการผลิตและประเมินผล กองวางแผนและผลิตสื่อ
ณัฐดร หัสวาที หัวหน้างานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ กองกลยุทธ์การตลาด
ณัฏฐิรา อําพลพรรณ หัวหน้างานส่งเสริมการเรียนรู้ กองการเรียนรู้ด้านการตลาดท่องเที่ยว
ฉันทมน ชินวัฒน์ กองวางแผนและผลิตสื่อ
พรรณรศา ธีระวงศ์สกุล กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว
บัณฑิต อเนกพูนสินสุข กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว
สุจิตรา แย้มงามเหลือ กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว
บรรณาธิการ
ยุวดี นิรัตน์ตระกูล
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
33
00
01
02
03
04
06
05
07
4
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
จัดทัพ
ขับเคลื่อน
เตือนภัยวิกฤต
จับจริตความสุข
หลังเมฆฝนผ่านพ้นไป
เป็นทุกข์เรื่องตัวเลข
อนาคตสดใสรอเราอยู่
5
00
3.1
3.2
3.3
3.4
สารบัญ
จัดทัพ 10
ททท. กําเนิดและเติบโต
ภาครัฐผนึกกําลัง สร้างทัพท่องเที่ยวไทย
ภาคเอกชนท่องเที่ยวไทย จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน
สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย ผู้ผลิต และผู้สนับสนุนองค์ความรู้
ทัพท่องเที่ยวแห่งชาติ
ขับเคลื่อน 24
ใช้แผน นําทาง
ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติและกลุ่มจังหวัด
ขับเคลื่อนโดย ททท.
ความผิดพลาดและบทเรียนจากการขับเคลื่อน
เตือนภัยวิกฤต 40
วิกฤตที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
การรับมือวิกฤต
วิกฤตที่คาดว่าจะต้องเผชิญในอนาคต
UNWTO ข้อเสนอแนะด้านความเสี่ยงและวิกฤตในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
1.1
2.1
2.2
2.3
2.4
1.2
1.3
1.4
1.5
6
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
จับจริตความสุข 52
ความสุขจากการท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์
ความสุขจากการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
ความสุขจากการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
เป็นทุกข์เรื่องตัวเลข 64
ทุกข์ 1 นักท่องเที่ยวลด
ทุกข์ 2 นักท่องเที่ยวล้น
ทุกข์ 3 รายได้เป็นอันดับ 4 แต่ขีดความสามารถในการแข่งขันอันดับ 31
ทุกข์ 4 ประเทศไทยติดอันดับโลก
หลังเมฆฝนผ่านพ้นไป 72
การสรุปบทเรียน
การปรับตัว
การจัดการตน
อนาคตสดใสรอเราอยู่ 76
การออกแบบอนาคต (Designing Future)
การเข้าใจนักท่องเที่ยวอนาคต (Tomorrow Tourist)
อนาคตท่องเที่ยวไทย นับแต่นี้ไปไม่เหมือนเดิม
5.1
4.1
6.1
7.1
4.2
6.2
7.2
4.3
6.3
7.3
5.2
5.3
5.4
สารบัญ
7
00
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
88
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
9
การศึกษาข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยที่ผ่านมา
ตลอดระยะเวลา 60 ปี เท่ากับเป็นการมองย้อนไปหาต้นธารของช่วงชีวิตการทํางาน
ของกลุ่มบุคคลหลายกลุ่ม หลายรุ่น หลายอาชีพ ซึ่งล้วนเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันและกัน
ครอบคลุมถึงมิติความสัมพันธ์กับสภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
ความเชื่อมั่น และความศรัทธา โดยอาจรวมไปถึงการดําเนินการเกี่ยวกับอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวที่สอดแทรกอุดมการณ์ความรักชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์
ไว้อย่างแยบคาย
หนังสือเล่มนี้พยายามที่จะทบทวนถึงเส้นทางการดําเนินงานด้านการท่องเที่ยว
ของไทยอย่างกระชับ โดยจับประเด็นต่าง ๆ มาเรียบเรียงใหม่ อ้างอิงข้อมูลจาก
หลากหลายแหล่ง ทั้งข้อมูลในประเทศและต่างประเทศ ที่ปรากฏในช่วงเวลาของแต่ละ
ทศวรรษ เหตุการณ์สําคัญในระดับโลก และภูมิภาค ตลอดจนบุคคลสําคัญที่เกี่ยวข้อง
จัดทัพ ขับเคลื่อน เตือนภัยวิกฤต จับจริตความสุข เป็นทุกข์เรื่องตัวเลข
หลังเมฆฝนผ่านพ้นไป อนาคตสดใสรอเราอยู่
คือ 7 เรื่องที่นําเสนอในหนังสือเล่มนี้ โดยเทคนิคการวางเรื่องและการถ่ายทอดเนื้อหา
ในแต่ละเรื่อง แต่ละประเด็นเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน สามารถอ่านเฉพาะเรื่องเฉพาะหัวข้อ
ที่สนใจได้ ถูกออกแบบสําหรับผู้คนในยุคสมัยนี้
ความรู้และประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวเกี่ยวกับอดีตและปัจจุบัน ยิ่งมีมากยิ่งทําให้
เกิดความมั่นใจต่อการตัดสินใจเรื่องในอนาคตมากขึ้น ในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวต้องเผชิญกับความยากลําบากและปัญหา ย่อมเกิดการรวมตัวเพื่อลุกขึ้นสู้
โดยใช้สติปัญญา ความร่วมมือ ร่วมใจ ก่อให้เกิดความคิดใหม่ นวัตกรรมใหม่
เพื่อฝ่าภัยวิกฤตดังกล่าว
60 ปีที่ผ่าน กับงานที่ต้องสานต่อ
ปลดวางความสําเร็จเดิม เก็บไว้เป็นความภาคภูมิใจ
มุ่งมั่นสรรค์สร้างงานใหม่ นําพาท่องเที่ยวไทยสู่ความยั่งยืน
ยุทธศักดิ์ สุภสร
ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สารจากผู้ว่าการ
00
9
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
10
01
10
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
11
จัดทัพ
จัดทัพ
หากเราต้องการย้อนดูการเติบโตและความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่า
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับ
มอบหมายให้ดําเนินการในภารกิจนี้ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งหน่วยงาน
ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสถาบันการศึกษา
ปี พ.ศ. 2563 เป็นปีที่ ททท. ดําเนินการด้านการส่งเสริมและพัฒนา
การท่องเที่ยวมาเป็นปีที่ 60 หากพิจารณาจากจุดตั้งต้นจนถึงปัจจุบัน
เรื่องราวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนั้น มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับ
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสภาพสังคมทั้งในระดับโลกและ
ระดับภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
11
01
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
12
ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2503
ถ้าเราใช้ปี พ.ศ. 2503 เป็นหมุดหมายการเกิดขึ้นของหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว
ของประเทศไทย เราลองย้อนดูข้อมูลที่เกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2503 พบว่ามีเรื่องราวที่
น่าสนใจทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ดังนี้
ระดับโลก ในปี พ.ศ. 2468 (ค.ศ.1925) มีการจัดตั้งสมัชชาสหพันธ์องค์การส่งเสริม
การท่องเที่ยวนานาชาติ (International Union of Official Travel Organisations:
IUOTO) ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) เปลี่ยนชื่อเป็นองค์การท่องเที่ยวโลก
(World Tourism Organization: WTO) และเป็นองค์การท่องเที่ยวโลกแห่ง
สหประชาชาติ (UNWTO) ในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ภารกิจหลักครอบคลุม
เรื่องการให้ความร่วมมือด้านการพัฒนา การให้ความรู้ การศึกษาและฝึกอบรม
การดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการวางแผน การดําเนินงานด้านสถิติและ
การวิจัยตลาด การดําเนินการด้านคุณภาพในการให้บริการการท่องเที่ยวและการเป็น
ผู้ประสานงานและให้ข้อมูล
ระดับประเทศ ประเทศไทยเริ่มมีการจัดรูปหน่วยงานย่อยที่ดูแลรับผิดชอบด้าน
การท่องเที่ยวครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2467 โดยพระดําริของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน ในฐานะผู้บัญชาการกรมรถไฟ ท่านส่งเรื่องราวของ
ประเทศไทยไปเผยแพร่ที่สหรัฐอเมริกา และก่อตั้งแผนกโฆษณา ทําหน้าที่รับรอง
และให้ความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย
รวมทั้งโฆษณาเผยแพร่ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ
ต่อมามีการโอนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวไปสังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม
และงานส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เริ่มอย่างชัดเจนในปี พ.ศ. 2479 มีการนําเสนอ
โครงการและแผนบํารุงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อคณะรัฐมนตรี จํานวน 3 งาน คือ
งานโฆษณาชักชวนนักท่องเที่ยว งานรับรองนักท่องเที่ยว และงานบํารุงสถานที่
ท่องเที่ยวและที่พัก ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 มีการจัดตั้งสํานักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว
มีฐานะเทียบเท่ากอง ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมโฆษณาการ
ในสํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2493
ททท. กําเนิดและเติบโต1.1
13
จัดทัพ
ก่อตั้ง อ.ส.ท. และยกระดับเป็น ททท.
ปี พ.ศ. 2503 ในช่วงที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ก่อตั้งองค์กร
ที่รับผิดชอบเรื่อง “การท่องเที่ยว” โดยตรงเป็นครั้งแรก ชื่อ องค์การส่งเสริม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ท. ภาระหน้าที่ที่มุ่งเน้นในขณะนั้นคือ
การสร้างสรรค์กิจกรรมที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเดินทางท่องเที่ยว
ผู้อํานวยการคนแรกคือพลเอกเฉลิมชัยจารุวัสตร์สํานักงานตั้งอยู่ที่อาคารตรงข้าม
วัดเบญจมบพิตรฯ
ภารกิจของ อ.ส.ท. มุ่งเน้นเฉพาะงานด้านการส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์
จนทําให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ภาระงานที่เกี่ยวกับ
การพัฒนา การอนุรักษ์ และการจัดระเบียบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการการท่องเที่ยว
ซึ่งเป็นงานที่สําคัญ จึงจําเป็นต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบและกํากับดูแล
ในปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลจึงผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทยและจัดตั้งหน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยเป็นการ
ขยายภาระงานเดิมของ อ.ส.ท. ให้ครอบคลุมเรื่องการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว
การดูแลความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว และเปลี่ยนชื่อจากองค์การส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) เป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Tourism Authority of Thailand (TAT)
ในปี พ.ศ. 2503 พบว่า นอกจากรัฐบาลจะจัดตั้ง อ.ส.ท. แล้ว ยังจัดตั้งบริษัท
การบินไทย จํากัด โดยทําสัญญาร่วมทุนระหว่างบริษัทเดินอากาศไทยและสายการบิน
สแกนดิเนเวียน ทําการบินระหว่างประเทศ ซึ่งนับได้ว่า รัฐบาลให้ความสําคัญกับ
กิจการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเดินทางและการท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาองค์การท่องเที่ยวแห่งชาติในประเทศอื่น ๆ พบว่ามี
ช่วงเวลาการก่อตั้งองค์กรที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น องค์การส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวแห่งชาติเกาหลี (Korea National Tourism Organization: KNTO)
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2505 องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติญี่ปุ่น (Japan
National Tourism Organization: JNTO) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2507
01
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
14
ททท. กับการเติบโต
หากจัดแบ่งช่วงเวลาของการทํางานตามการจัดรูปองค์กร สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 ปี พ.ศ. 2503 ถึงปี พ.ศ. 2522 หน่วยงาน อ.ส.ท. มีหน้าที่หลักคือ
การส่งเสริมการตลาด และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของประเทศ
ช่วงที่ 2 ปี พ.ศ. 2522 ปรับรูปแบบองค์กรจาก อ.ส.ท. เป็น ททท. นอกจากจะทํา
หน้าที่ด้านการส่งเสริมการตลาดแล้วยังมีหน้าที่ด้านการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว
และกําหนดมาตรฐานการบริการ จนถึงปี พ.ศ. 2545 ที่รัฐบาลจัดตั้งกระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬา มีการถ่ายโอนภาระงานด้านการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว
และมาตรฐานการบริการจาก ททท. ไปยังกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ช่วงที่ 3 ปี พ.ศ. 2545 ถึงปัจจุบัน ททท. มีบทบาทหลักเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาด
และประชาสัมพันธ์ โดยประสานงานกับหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ขยายสํานักงาน จัดวางกําลัง
ปัจจุบัน ททท. มีสํานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร และ
ททท. สํานักงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้
ททท. สํานักงานในประเทศ45 สํานักงาน กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ11สํานักงาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 สํานักงาน ภาคกลาง 9 สํานักงาน ภาคตะวันออก
6 สํานักงาน และภาคใต้ 11 สํานักงาน สํานักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ
แห่งแรก คือ สํานักงานเชียงใหม่ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2511
ททท. สํานักงาน ต่างประเทศ 29 สํานักงาน กระจายอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
11 สํานักงาน ภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ 7 สํานักงาน ภูมิภาคยุโรป
แอฟริกา และตะวันออกกลาง 8 สํานักงาน และภูมิภาคอเมริกา 3 สํานักงาน
สํานักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งแรกในต่างประเทศ คือ สํานักงานนิวยอร์ก
จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2508
จริงจังกับวิกฤต
เมื่อสถานการณ์ในระดับโลก ภูมิภาค และประเทศ เริ่มเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบ
วิกฤตต่าง ๆ ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการเมือง การก่อการร้าย วิกฤตโรคระบาด
วิกฤตพิบัติภัยธรรมชาติ วิกฤตที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีทั้งตัววิกฤตเอง
และวิกฤตจากการสื่อสาร ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกับสถานการณ์นั้น ๆ
ในปี พ.ศ. 2550 ททท. จึงเปิดศูนย์ปฏิบัติการวางแผนการท่องเที่ยวและศูนย์
ปฏิบัติการในภาวะวิกฤต (ศวก.) โดยเป็นหน่วยงานย่อยที่เน้นเรื่องการสื่อสารเป็น
หลัก โดยร่วมดําเนินการกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
15
จัดทัพ
คิดการณ์ไกล ใฝ่อนุรักษ์
ในปี พ.ศ. 2535 สถานการณ์โลกให้ความสําคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม มีการประชุม
Earth Summit ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล และประกาศใช้แผนปฏิบัติการ 21
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Agenda 21 รวมทั้งการจัดทําเป้าหมายการพัฒนาแห่ง
สหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ในช่วงปี พ.ศ. 2543-2558
และเมื่อ MDGs สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2558 องค์การสหประชาชาติยังคงดําเนินการ
ต่อเนื่องโดยกําหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals:
SDGs) เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาของโลก ช่วงปี พ.ศ. 2558-2573
ในแนวคิดและทิศทางเกี่ยวกับการอนุรักษ์นั้น ททท. เล็งเห็นความสําคัญเช่นกัน
จึงได้ผลักดันงานที่ให้ความสําคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ โดยในช่วงปี พ.ศ. 2531-2537 ททท.
ดําเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการกําหนดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว
เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ และหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด
ก่อตั้งมูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2535 และในปี พ.ศ. 2541
ร่วมมือกับสมาคมโรงแรมไทย โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United
Nations Environment Programme: UNEP) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การประปานครหลวงและสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมก่อตั้งมูลนิธิใบไม้เขียว
เพื่อเผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมผู้ประกอบการในการพัฒนามาตรฐานการจัดการด้าน
สิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.greenleafthai.org)
นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นขีดความสามารถในการรองรับด้านการท่องเที่ยวแล้ว
ททท. ยังศึกษาเพื่อกําหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ (Ecotourism)
ในปี พ.ศ. 2540 และตั้งกองอนุรักษ์ เสนอคําขวัญ “พัฒนาคู่อนุรักษ์ พิทักษ์ท่องเที่ยว
ไทย” ในปีเดียวกัน (เมื่อมีการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในปี พ.ศ. 2545
ททท. ปรับโครงสร้างองค์กรทําให้ต้องยกเลิกกองอนุรักษ์)
กิจกรรมด้านการอนุรักษ์อื่น ๆ ที่ ททท. สร้างสรรค์และผลักดัน เช่น ปี พ.ศ. 2539
จัดทําโครงการรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards)
ปี พ.ศ. 2551 ผลักดันโครงการ 7 Greens ปี พ.ศ. 2553 จัดทําโครงการเที่ยวหัวใจใหม่
เมืองไทยยั่งยืน ปี พ.ศ. 2559 จัดทําโครงการ Village to the World เข้าร่วมโครงการ
Trash Hero และ Up Cycling the Oceans
ผลักดันสู่องค์กรสมรรถนะสูง TATIC/TAT Academy
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานในยุค Digital Transformation ททท. ให้ความสําคัญ
กับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วยองค์ความรู้ ข้อมูลที่ทันสมัยและเท่าทัน
พฤติกรรมนักท่องเที่ยว นักเดินทางที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ททท. เห็นความสําคัญ
ในเรื่องนี้จึงจัดตั้งหน่วยงานในลักษณะพิเศษ2หน่วยงานคือศูนย์วิจัยด้านตลาด
การท่องเที่ยว (TAT Intelligence Center: TATIC) จัดตั้งในปี พ.ศ. 2557 จัดตั้งศูนย์
พัฒนาวิชาการด้านตลาดการท่องเที่ยว (TAT Academy) ในปี พ.ศ. 2558
TAT
Intelligence
Center
01
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
16
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา บูรณาการภาพรวม
เมื่อพิจารณาองค์กรรัฐที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว นอกจาก ททท. แล้ว รัฐบาลไทยยังให้
ความสําคัญกับการพัฒนาและเติบโตก้าวหน้าของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยการ
ผลักดันองค์กรที่ดูแลและรับผิดชอบเรื่องการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ดังนี้
พ.ศ. 2545 รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ประกาศจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
มีอํานาจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การกีฬา
การศึกษาด้านกีฬาและนันทนาการ โดยแต่งตั้งนายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นคนแรก ปัจจุบันมีหน่วยงานในสังกัด
4 หน่วยหลัก คือ กรมพลศึกษา กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
และการกีฬาแห่งประเทศไทย
สํานักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
หรือ สสปน. บุกตลาดประชุม นิทรรศการ
สํานักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน)หรือ สสปน.ก่อตั้งขึ้น
ในปีพ.ศ.2545 (เดิมงานด้านการส่งเสริมการประชุมเป็นหน่วยงานระดับกองในททท.)
ทําหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรม MICE (Meetings, Incentive Travel, Conventionsand
Exhibitions)โดยอํานวยความสะดวกและพัฒนามาตรฐานการจัดงานให้สอดคล้องกับ
บทบาทของไทยที่มีความสําคัญมากขึ้นในฐานะเป็นประเทศที่สามารถเป็นที่จัด
การประชุมและนิทรรศการระดับนานาชาติได้อย่างมีศักยภาพ และมุ่งหวังที่จะให้ไทย
เป็นศูนย์กลางการจัดประชุมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการจัดนิทรรศการ
ระดับโลกในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มรายได้ของ
ประเทศไทย และสร้างศักยภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม MICE ในตลาดโลก
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) หรือ อพท.
พ.ศ. 2546 จัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) หรือ อพท.มีหน้าที่บริหารและพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิง
บูรณาการ เป็นองค์กรกลางทําหน้าที่กําหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ และ
ประสานงานกับท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่
ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวให้มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวใน
เชิงคุณภาพ ปัจจุบันดําเนินการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวตามที่คณะกรรมการนโยบาย
ท่องเที่ยวแห่งชาติกําหนด
1.2 ภาครัฐผนึกกําลัง สร้างทัพท่องเที่ยวไทย
17
จัดทัพ
หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ
นอกเหนือจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สสปน. อพท. และ ททท. แล้ว การพัฒนา
และส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจําเป็นต้องมีการบูรณาการการทํางานในทุกภาค
ส่วนหลัก ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระทรวงต่างๆเกือบทุกกระทรวงเช่นกระทรวงที่รับผิดชอบ
เกี่ยวกับสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง ไฟฟ้า ประปา
กระทรวงที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสุขอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรค เป็นต้น
ตัวอย่างองค์กรภาครัฐที่ดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
กระทรวงคมนาคม รับผิดชอบเกี่ยวกับความสะดวกและปลอดภัยด้านการเดินทางโดย
ในปี พ.ศ. 2548 เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และในปี พ.ศ. 2547
เปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ปี พ.ศ. 2553 เปิดให้บริการ
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link: ARL)
กระทรวงมหาดไทย มีขอบเขตความรับผิดชอบที่กว้างขวางเช่น เรื่องความปลอดภัย
การปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ตัวอย่าง
การดําเนินงานในปี พ.ศ. 2545 เริ่มโครงการหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (One
Tambon One Product: OTOP) ต่อมาในปี พ.ศ. 2561-2562 พัฒนาเป็นโครงการ
ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงสาธารณสุข ดําเนินการเรื่องการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทาง
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ดังนั้น การประสานงานและบูรณาการการทํางานที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องจําเป็น
และสําคัญอย่างยิ่ง
01
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
18
2506 ก่อตั้งสมาคมโรงแรมเพื่อนักทัศนาจรแห่งประเทศไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมโรงแรมไทย
(Thai Hotels Association: THA)
2511 ก่อตั้งสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว
(Association of Thai Travel Agents: ATTA)
2518 ก่อตั้งสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย
(Professional Tourist Guide Association of Thailand)
2540 ก่อตั้งสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย
(Thai Ecotourism and Adventure Travel Association: TEATA)
2542 ก่อตั้งสมาคมรถเช่าไทย
(Thai Car Rental Association)
2544 ก่อตั้งสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(Tourism Council of Thailand)
การผนึกกําลังขององค์กรภาคเอกชนในภาคบริการ คือ ส่วนสําคัญที่จะผลักดันให้
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก้าวหน้าอย่างมั่นคงและมีดุลยภาพ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
พบว่า มีองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยรวมตัวจัดตั้ง
เป็นรูปแบบสมาคมต่าง ๆ ดังนี้
นอกจากหน่วยงานภาคเอกชนข้างต้นแล้ว ยังมีภาคเอกชนอื่น ๆ ที่เริ่มมีบทบาท
สําคัญและโดดเด่น เช่น การรวมตัวของภาคเอกชนในธุรกิจสปา ศูนย์การค้า และ
ภาคธุรกิจบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ ละคร ดนตรี และกีฬา ล้วนมีส่วนในการสร้างสรรค์
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยทั้งสิ้น
1.3 ภาคเอกชนท่องเที่ยวไทย จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน
19
จัดทัพ
ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่
เปิดสอนวิชาการโรงแรม การท่องเที่ยว การบิน และการบริการอื่น ๆ จํานวนมากกว่า
100สถาบันกระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศที่สนับสนุนภาคการท่องเที่ยวและบริการ
ของไทย ซึ่งนอกจากสถาบันการศึกษาจะทําหน้าที่ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและ
ได้มาตรฐานแล้ว สถาบันการศึกษายังได้ผลิตงานวิจัย งานวิชาการจํานวนมากที่
ตอบโจทย์ความต้องการของท้องถิ่น และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างมูลค่า
เพิ่มให้กับอุตสาหกรรม
ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐด้านการวิจัย ที่มีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนา
การท่องเที่ยวไทย เช่น สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(สกสว.) สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยสมุนไพร กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลจากการวิจัย
สามารถนําไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ การแก้ไขปัญหาอุปสรรคในพื้นที่ และใช้ประกอบ
การตัดสินใจเชิงนโยบาย
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องบูรณาการในทุกภาคส่วน ดังนั้น
รัฐบาลจึงกําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2551
ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) โดยมีนายก
รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีผู้แทนกระทรวงผู้แทนภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ
เป็นกรรมการ โดยมีอํานาจหน้าที่ครอบคลุมเรื่องการจัดทํานโยบาย ยุทธศาสตร์
แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ การกําหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยว การรับรอง
มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว และการบริหารกองทุนท่องเที่ยว
1.4
1.5
สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย ผู้ผลิต และผู้สนับสนุนองค์ความรู้
ทัพท่องเที่ยวแห่งชาติ
01
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
20
เปิดสํานักงานส่งเสริม
การท่องเที่ยวในประเทศไทย
แห่งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่
บริษัทการบินกรุงเทพ
เปิดดําเนินการ
ภาคเอกชนก่อตั้ง
สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว
(Association of Thai
Travel Agents: ATTA)
ลําดับการจัดตั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
2400 2500 2510 2520
2467
2503
2511
2522
2468
2506
2518
2524
2528
2493
2479
2508
2519
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน
เผยแพร่เรื่องราวของประเทศไทย
ในสหรัฐอเมริกา และก่อตั้ง
แผนกโฆษณาทําหน้าที่รับรอง
และให้อํานวยความสะดวก
นักท่องเที่ยว รวมทั้งโฆษณา
เผยแพร่ประเทศไทย
สมัชชาสหพันธ์องค์การ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติ
(International Union of Official
Travel Organisations: IUOTO)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2546
เปลี่ยนชื่อเป็นองค์การ
ท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ
(World Tourism Organization:
UNWTO)
ประเทศไทยเริ่ม
“งานส่งเสริมการท่องเที่ยว”
โดยเสนอแผนงานหลัก
3 แผนงานต่อคณะรัฐมนตรี
ประกอบด้วยงานโฆษณา
ชักชวนนักท่องเที่ยว
งานรับรองนักท่องเที่ยว
และงานบํารุงสถานที่ท่องเที่ยว
LOGO
UNWTO
LOGO
อสท
LOGO
ATTA
จัดตั้งสํานักงานท่องเที่ยว
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวาง
ระเบียบราชการกรมโฆษณาการ
สํานักนายกรัฐมนตรี
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรีจัดตั้ง
“องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย” หรือ อ.ส.ท.
มีภารกิจในการเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์การเดินทาง
ท่องเที่ยว
ก่อตั้งบริษัท การบินไทย จํากัด
ภาคเอกชนรวมตัวก่อตั้ง
สมาคมโรงแรมเพื่อนักทัศนาจร
แห่งประเทศไทย ต่อมาในปี
พ.ศ. 2511 เปลี่ยนชื่อเป็น
สมาคมโรงแรมไทย (Thai
Hotels Association: THA)
เปิดสํานักงานส่งเสริม
การท่องเที่ยวไทย
ในต่างประเทศแห่งแรก
ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ททท. เปิดศูนย์ช่วยเหลือ
นักท่องเที่ยว
ภาคเอกชนรวมตัวตั้ง
สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ
แห่งประเทศไทย
(Professional Tourist Guides
Association of Thailand)
ททท. เปิดสถาบันฝึกอบรม
วิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว
(สรท.) ที่บางแสน
ดําเนินการเป็นระยะเวลา 22 ปี
และปิดสถาบันฯ ในปี พ.ศ. 2546
ภาคเอกชนรวมตัวก่อตั้ง
สมาคมส่งเสริมการประชุม
นานาชาติไทย
(Thailand Incentive and
Convention Association:
TICA)
ปฏิรูปองค์กรจาก
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.)
เป็นการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย (ททท.)
21
จัดทัพ
2530 2540 2550 2560
2540
2542
2550
2557
2558
2546
2541
2544
2545
2535
ททท. ก่อตั้งมูลนิธิพิทักษ์
สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2563
เปลี่ยนชื่อเป็น มูลนิธิเพื่อ
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ททท. ตั้งกองอนุรักษ์
และเสนอคําขวัญ
“พัฒนาคู่อนุรักษ์
พิทักษ์ท่องเที่ยวไทย”
ภาคเอกชนรวมตัวก่อตั้ง
สมาคมรถเช่าไทย
(Thai Car Rental Association)
ททท. ร่วมมือกับ 6 องค์กร
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จัดตั้งมูลนิธิใบไม้เขียว
ตั้งบริษัท Thailand
Long Stay Management
เพื่อส่งเสริมตลาดพํานัก
ระยะยาว
จัดตั้งสภาอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(Tourism Council of Thailand)
จัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยว
และกีฬา โดยมีนายสนธยา
คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
คนแรก
จัดตั้งสํานักงานส่งเสริม
การจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน)
(Thailand Convention &
Exhibition Bureau)
ททท. เปิดศูนย์ปฏิบัติการวางแผน
การท่องเที่ยวและศูนย์ปฏิบัติการ
ในภาวะวิกฤต (ศวก.)
ททท. เปิดศูนย์วิจัย
ด้านตลาดการท่องเที่ยว
(TAT Intelligence Center:
TATIC)
ททท. เปิดศูนย์พัฒนาวิชาการ
ด้านการตลาดการท่องเที่ยว
(TAT Academy)
จัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนา
พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
ททท.เปิดตัวบริษัทไทยแลนด์
พริวิเลจ คาร์ด จํากัด
ดําเนินการในโครงการ
บัตรเอกสิทธิ์พิเศษ
“ไทยแลนด์ อีลิท คาร์ด”
TAT
Intelligence
Center
01
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
22
22
23
จัดทัพ
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
24
02
24
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
25
จัดทัพ
ขับเคลื่อน
แม้จะมีความประสงค์อันแน่วแน่ที่จะใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนา
เศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อมและการธํารงไว้ซึ่งคุณค่าความเป็นไทย อันมี
หนึ่งเดียวในโลก แต่ถ้าการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวยังเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง ย่อมไม่อาจ
บรรลุความประสงค์อันยิ่งใหญ่นั้นได้
การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว คือ ขั้นตอนสําคัญในการขับเคลื่อนทิศทางการเติบโต
ด้านการท่องเที่ยวแต่การวางแผนจะไม่มีผลใดๆหากไม่มีการนําแผนไปสู่การปฏิบัติ
ที่เป็นจริง รวมทั้งการสร้างรูปแบบกลไกการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กับการท่องเที่ยว เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการในระดับต่าง ๆ แต่ถ้าไม่มีการทํางาน
ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม คณะกรรมการนั้น ๆ ก็จะมีเพียงรายงานการประชุมและมติ
ที่ประชุมเท่านั้น
ข้อสังเกตที่น่าสนใจและมีนัยสําคัญต่อการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา คือ การดํารงอยู่และแก้ไขไม่ได้ของปัญหาพื้นฐาน
ที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว เช่น ปัญหาขยะ น้ําเสีย การหลอกลวง
นักท่องเที่ยว ในขณะที่มีชุดของปัญหารูปแบบใหม่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาแรงงานต่างด้าว
ในภาคบริการ ปัญหาการให้บริการรูปแบบใหม่อันเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
สิ่งเหล่านี้ คือประเด็นท้าทายของการขับเคลื่อนท่องเที่ยวไทยในอนาคต
25
02
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
26
ตลอดระยะเวลา 60 ปี ของการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย พบว่า มีความพยายาม
ในการวางแผน และกําหนดทิศทางการเติบโตมาโดยตลอด พิจารณาจากสิ่งที่
ดําเนินการจริง ดังนี้
จากแผนพัฒนาการท่องเที่ยวฉบับแรก ถึงแผนปฏิบัติการด้าน
การตลาดประจําปี และแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับปัจจุบัน
พ.ศ. 2518 แผนพัฒนาการท่องเที่ยวฉบับแรกของประเทศไทย จัดทําขึ้นจากความ
ช่วยเหลือของ Institute of Tourism Development Consultants ประเทศเนเธอร์แลนด์
โดยร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสร็จสิ้นใน
ปี พ.ศ. 2519 โดยเป้าหมายของแผนคือ สร้างแนวทางในการรองรับการเติบโต
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และตอบสนองความต้องการของตลาด
แผนพัฒนาการท่องเที่ยวฉบับแรกได้ผนวกรวมไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) และนําไปสู่การจัดทําแผนแม่บท ควบคู่
ไปกับการศึกษาความเป็นไปได้ ในเมืองท่องเที่ยวหลักหลายเมือง เช่น พัทยา
ในปี พ.ศ. 2521 จังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2522 ติดตามมาด้วยจังหวัดเชียงใหม่
และอําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นต้น
นอกจากแผนพัฒนาการท่องเที่ยวที่ดําเนินการไว้แล้ว ททท. ยังได้ดําเนินการกําหนด
แผนปฏิบัติการด้านการตลาดประจําปี (Marketing Action Plan: MAP) ครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ
ททท. เพื่อหาแนวทางต่าง ๆ สําหรับการกําหนดกลยุทธ์ เป้าหมาย และกิจกรรมทาง
การตลาดที่บูรณาการและวัดผลได้ กิจกรรมการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านการตลาด
ประจําปีปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีการปรับชื่อแผนเป็นแผน
ปฏิบัติการประจําปีด้านการท่องเที่ยวของ ททท. (TAT Action Plan: TATAP) และ
ททท. ได้ใช้แผนปฏิบัติการนี้ในการขับเคลื่อนงานตามทิศทางที่ได้กําหนดไว้
เมื่อรัฐบาลจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในปี พ.ศ. 2545 จึงได้มีการโอน
ภาระงานการจัดทําแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจาก ททท. มายังกระทรวงการท่องเที่ยว
และกีฬา ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดทําแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติจํานวน 2 ฉบับ
ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2555-2559 และฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน
2.1 ใช้แผน นําทาง
27
ขับเคลื่อน
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ผ่านมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน
จะให้ความสําคัญกับการชี้นําของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-3 ในช่วงปี พ.ศ. 2504-2519
ไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากรัฐบาลในยุคนั้น
ยังให้ความสําคัญกับการส่งออกและการพัฒนาชนบท เน้นสินค้าเกษตรและชาวนา
ภาคการท่องเที่ยวและบริการได้รับการระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) เป็นครั้งแรก จากนั้นมีการผนวกภาคการ
ท่องเที่ยวและบริการไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับจนถึง
ฉบับปัจจุบันคือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565)
สาระสําคัญในภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่ง
ชาติแต่ละฉบับจะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ส่วนใหญ่แผนฯ เกือบทุกฉบับจะระบุเรื่องการเพิ่มรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศ
ทั้งการเพิ่มค่าใช้จ่ายและวันพักเฉลี่ย รวมทั้งการให้ความสําคัญกับเรื่องคุณภาพ
มาตรฐานของสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) ระบุเรื่องความร่วมมือกับต่างประเทศด้าน
การส่งเสริมการตลาด และฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) ระบุให้ไทยเป็นศูนย์กลาง
ทางการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยจุดเน้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ระบุเรื่องปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง ฉบับที่ 10 ระบุเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ
ประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เน้นหลักการเรื่องความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
การลดความเหลื่อมล้ํา กระจายรายได้ วิสัยทัศน์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2579 คือ
“ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพชั้นนําของโลกที่เติบโตอย่างมี
ดุลยภาพบนพื้นฐานความเป็นไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ
กระจายรายได้สู่ประชาชนทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน”
นอกจากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว
จะพบว่าเรื่องการท่องเที่ยวได้รับความสนใจและผนวกไว้ในยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนา
อื่นๆด้วยเช่นแผนพัฒนาจังหวัดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง
สุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) พ.ศ. 2559-2568 แผนยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่
ครัวโลก (พ.ศ. 2560-2564)
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
28
การให้ความสําคัญกับภาคการท่องเที่ยวและบริการ นอกจากจะพิจารณาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติแล้ว ทิศทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวที่ผ่านมา ยังเกิดจากการผลักดันผ่านคําแถลงนโยบายรัฐบาล
จากการวิเคราะห์คําแถลงนโยบายของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
พ.ศ. 2518 รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช คือรัฐบาลแรกที่บรรจุเรื่องการ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวในคําแถลงนโยบาย โดยระบุว่า “รัฐบาลนี้จะ
ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เจริญยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบ
ในประเทศ อุตสาหกรรมที่ส่งผลผลิตออกไปจําหน่ายยังต่างประเทศ
และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว”
พ.ศ. 2519 รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นรัฐบาลแรกที่เริ่มระบุเรื่องความ
ร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พ.ศ. 2526 รัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มระบุเรื่องการจัดทําแผนพัฒนา
การท่องเที่ยวอย่างมีระบบ และกฎหมายการจัดระเบียบธุรกิจเกี่ยวกับ
การท่องเที่ยว
พ.ศ. 2535 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐบาลแรกที่กําหนดให้ไทยเป็นศูนย์กลาง
ทางการท่องเที่ยวของภูมิภาค
พ.ศ. 2538 รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ระบุเรื่องพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มี
ความสมดุลกับปริมาณนักท่องเที่ยวและส่งเสริมค่านิยมให้คนไทย
ท่องเที่ยวในประเทศ
พ.ศ. 2540 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ระบุเรื่องการกระจายอํานาจการบริหารจัดการ
งบประมาณ การจัดสรรรายได้ รวมทั้งบุคลากรด้านการท่องเที่ยวไปสู่
ท้องถิ่น ควบคู่กับส่งเสริมบทบาทชุมชนและองค์กรเอกชนในการอนุรักษ์
บํารุงรักษา และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
พ.ศ. 2544 รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ระบุเรื่องการใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก
และเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบการท่องเที่ยว
พ.ศ. 2551 รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ระบุเรื่องการเพิ่มมูลค่าด้วยเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ และระบุเรื่องการควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยวและผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังระบุเรื่องการส่งเสริมกลุ่ม
นักท่องเที่ยวคุณภาพ กลุ่มครอบครัว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มดูแลสุขภาพ
กลุ่มประชุมและแสดงสินค้า
พ.ศ. 2551 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระบุเรื่องการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ด้านการท่องเที่ยว และการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ
ท่องเที่ยวทั้งหมดให้มีความทันสมัย
พ.ศ. 2554 รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้พิการ
และผู้สูงวัย
การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวผ่านนโยบายของรัฐบาล
29
ขับเคลื่อน
รัฐบาลเริ่มเห็นศักยภาพและผลประโยชน์อันเกิดจากความร่วมมือในการรวมกลุ่มประเทศ
รัฐบาลพยายามผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้
ระบุเรื่องความสมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทานด้านการท่องเที่ยว
และเริ่มส่งเสริมอย่างจริงจังให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศ
รัฐบาลผลักดันเมกะโปรเจกต์ที่หนุนเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยได้ เช่น
• โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น (Bangkok City of Fashion)
• โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก (Kitchen of the World)
• โครงการศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub)
• โครงการศูนย์กลางทางการบิน (Aviation Hub)
• โครงการเมืองหลวงทางการท่องเที่ยวแห่งเอเชีย (Tourism Capital of Asia)
หากเมกะโปรเจกต์เหล่านั้นสามารถผลักดันให้เป็นรูปธรรมชัดเจน ประเทศไทย
จะกลายเป็นจุดหมายปลายทางทางการท่องเที่ยวที่โดดเด่น มีศักยภาพ
มีการระบุเรื่อง
• การควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยว
• การเพิ่มมูลค่าด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์
• การระบุ Segmentation ของกลุ่มนักท่องเที่ยว
• การชี้ให้เห็นถึงความสําคัญและเร่งด่วนของการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับการท่องเที่ยวทั้งหมด
• การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยว
พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2535
พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2551
จากการวิเคราะห์คําแถลงนโยบายรัฐบาลด้านการท่องเที่ยว
มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ นโยบายท่องเที่ยวของแต่ละรัฐบาล
มีลักษณะการมองอนาคตที่น่าสนใจมาก เช่น
02
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
30
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.)
ด้วยเหตุที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานต่าง ๆ
มากมาย ดังนั้น การบูรณาการ การประสานงาน การจัดวางงบประมาณ จึงเป็นเรื่อง
สําคัญ รูปแบบการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศส่วนใหญ่จะออกแบบในรูป
ของการแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทํางาน เป็นต้น
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เป็นคณะกรรมการระดับนโยบาย
ที่สําคัญที่สุด แต่งตั้งในปี พ.ศ. 2551 เป็นคณะกรรมการที่มีนายกรัฐมนตรีเป็น
ประธาน และมีผู้แทนจากกระทรวงและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนหน่วยงาน
ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ มีหน้าที่จัดทําแผนพัฒนาการท่องเที่ยว
แห่งชาติ แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว และกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด
เนื่องจากแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติระบุไว้ใน พ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยว
แห่งชาติ พ.ศ. 2551 แก้ไขตาม พ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2562
มาตรา 17 เพื่อประโยชน์ในการรักษาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว หรือการบริหาร
พัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ
คณะกรรมการอาจกําหนดให้เขตพื้นที่ใดเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยว จึงได้มีการ
กําหนดให้พื้นที่ท่องเที่ยวเป็นลักษณะกลุ่มจังหวัดเพื่อให้เกิดการบูรณาการในการ
วางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยว มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยว
กลุ่มจังหวัดและทํางานสอดคล้องกับนโยบาย ท.ท.ช. และคณะกรรมการนโยบาย
ท่องเที่ยวจังหวัด
2.2 ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
และกลุ่มจังหวัด
31
ขับเคลื่อน
ททท. ในฐานะกองกําลังผลักดันงานด้านการส่งเสริมการตลาด
ททท.เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลักเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวตลอดจนการประกอบอาชีพของคนไทยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
รวมทั้งเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อชักจูงให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว
ปัจจุบันมีการจัดแบ่งโครงสร้างองค์กร โดยแบ่งตามภาระงานออกเป็น 8 ด้าน
1. ด้านนโยบายและแผน
2. ด้านสื่อสารการตลาด
3. ด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว
4. ด้านตลาดในประเทศ
5. ด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้
6. ด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา
7. ด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา
8. ด้านบริหาร
จากข้อมูลในรายงานประจําปี พ.ศ. 2560 ของ ททท. ในส่วนของอัตรากําลังจําแนก
ตามด้าน ระบุว่า ททท. มีบุคลากรปฏิบัติงาน จํานวน 1,017 คน ร้อยละ 31.76 สังกัด
หน่วยงานด้านตลาดในประเทศร้อยละ19.47สังกัดหน่วยงานด้านบริหารร้อยละ11.90
สังกัดหน่วยงานด้านสื่อสารการตลาด ร้อยละ 10.62 สังกัดหน่วยงานด้านนโยบาย
และแผน ร้อยละ 9.64 สังกัดหน่วยงานด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ร้อยละ 7.74
สังกัดหน่วยงานด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ ร้อยละ 5.51 สังกัดหน่วยงาน
ด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา และร้อยละ 3.63 สังกัด
หน่วยงานผู้ว่าการ
ตัวอย่างการดําเนินงานของ ททท.
อนุสาร อ.ส.ท.
คือนิตยสารที่มีรูปแบบเป็น Tourism Magazine รายเดือนฉบับแรกในประเทศไทย
เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน เนื้อหาในนิตยสารส่วนใหญ่มุ่งเน้นเกี่ยวกับ
การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมถึงที่พัก ร้านอาหาร
ร้านค้าของที่ระลึก ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ จุดเด่นของอนุสาร อ.ส.ท. คือ
ภาพถ่ายที่สวยงามและข้อมูลที่ครบถ้วนเจาะลึก
อนุสาร อ.ส.ท. ในช่วงแรกเน้นการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลการท่องเที่ยว ราคาถูกกว่า
วารสารทั่วไป เข้าถึงง่ายโดยเฉพาะนักเรียนและเยาวชนต่อมาเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ
ทั้งในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ ผู้อ่านสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในทุกช่องทาง
นอกจากนี้แล้ว อนุสาร อ.ส.ท. ยังได้จัดกิจกรรมพิเศษเป็นระยะ เช่น การอบรม
เกี่ยวกับถ่ายภาพ การอบรมเกี่ยวกับการเขียนสารคดีท่องเที่ยว เป็นต้น
2.3 ขับเคลื่อนโดย ททท.
(หมายเหตุ ในปี พ.ศ. 2562
ททท. ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร
โดยเพิ่มหน่วยงานด้านดิจิทัล
วิจัย และพัฒนา โดยเกลี่ยอัตรา
กําลังภายในองค์กร)
(หมายเหตุ ในปี พ.ศ. 2523
หนังสือสารคดีท่องเที่ยวของโลก คือ
Lonely Planet เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ
แหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย
เป็นครั้งแรก)
02
TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
32
ปีท่องเที่ยวไทย (Visit Thailand Year)
ททท. ขับเคลื่อนการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยผ่านแคมเปญ “ปีท่องเที่ยวไทย”
(Visit Thailand Year) 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2530
โดยในปี 2530 เป็นการประกาศปีท่องเที่ยวไทยเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาส
เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล
อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ถือเป็นการทําการตลาดที่ประสบความสําเร็จมาก
ครั้งหนึ่งของไทย ต่อมาหลายประเทศได้ใช้เป็นกรณีศึกษา และดําเนินการในลักษณะ
คล้ายกัน เช่น Visit Laos Year/Visit Myanmar Year
Amazing Thailand/Unseen Thailand และ Mascot น้องสุขใจ
แคมเปญการตลาด Amazing Thailand เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541-2542 เพื่อ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศ และเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสเฉลิม
พระชนมพรรษา 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาราช บรมนาถบพิตร ในขั้นแรกของการเตรียมการมุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือ
ในการส่งเสริมการตลาดดังที่เคยประสบความสําเร็จใน Visit Thailand Year
แต่เมื่อเกิดวิกฤตทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือ “วิกฤตต้มยํากุ้ง” ซึ่งกระทบ
หลายประเทศในเอเชีย ดังนั้น จึงปรับแผน Amazing Thailand ให้กลายเป็นเครื่องมือ
แก้วิกฤตท่องเที่ยว ประเทศไทยจึงเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ยังคงรักษาจํานวน
นักท่องเที่ยวให้คงตัวในปี พ.ศ. 2541 และมีอัตราเพิ่มขึ้นในปีถัดไป
แคมเปญ Amazing Thailand ใช้ต่อเนื่องมาถึงปี พ.ศ. 2547 โดยในปี พ.ศ. 2548
เปลี่ยนไปใช้แคมเปญ Thailand: Happiness on Earth ในปี พ.ศ. 2549 เปลี่ยนไปใช้
แคมเปญ Thailand Grand Invitation เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จ
พระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรครองราชย์เป็นปีที่60
จากนั้น ในปี พ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน กลับมาใช้แคมเปญ Amazing Thailand เหมือนเดิม
ปี พ.ศ. 2546 ททท. นําเสนอแคมเปญกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ คือ
Unseen Thailand รวมทั้งโครงการอื่น ๆ เช่น “เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน” ก่อให้เกิด
กระแสคนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในปี พ.ศ. 2547 ททท. สร้าง “น้องสุขใจ” ให้เป็นตัวแทนการเดินทางท่องเที่ยว พร้อม ๆ
กับการนําเสนอแคมเปญ “เที่ยวที่ไหน ไม่สุขใจเท่าบ้านเรา” “วันเดียวเที่ยวสนุก”
“วันธรรมดาที่ไม่ธรรมดา” และแคมเปญส่งเสริมให้คนไทยเที่ยวภูเก็ตเพื่อแก้วิกฤต
สึนามิ “สนุกทั้งเกาะ ลดทั้งเมือง”
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey
TAT The Journey

Weitere ähnliche Inhalte

Ähnlich wie TAT The Journey

TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013Zabitan
 
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013Zabitan
 
TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016Zabitan
 
TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017Zabitan
 
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014Zabitan
 
eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555Zabitan
 
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือnattatira
 
เที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศเที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศSaran Yuwanna
 
15 clusters (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
15 clusters  (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา15 clusters  (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
15 clusters (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาSuthat Wannalert
 
eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554Zabitan
 
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยKorawan Sangkakorn
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการบทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการpraphol
 

Ähnlich wie TAT The Journey (16)

TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
 
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
 
ธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยว
 
TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016
 
TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017TAT Review Magazine 1/2017
TAT Review Magazine 1/2017
 
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
 
eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555eTAT journal 1/2555
eTAT journal 1/2555
 
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
เที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศเที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศ
 
15 clusters (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
15 clusters  (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา15 clusters  (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
15 clusters (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
 
eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554
 
V 304
V 304V 304
V 304
 
CBT in Chiang Mai & Lamphoon
CBT in Chiang Mai & LamphoonCBT in Chiang Mai & Lamphoon
CBT in Chiang Mai & Lamphoon
 
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการบทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
บทที่ ๓ ระบบการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการ
 

Mehr von Peerasak C.

เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVexเสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVexPeerasak C.
 
Blockchain for Government Services
Blockchain for Government ServicesBlockchain for Government Services
Blockchain for Government ServicesPeerasak C.
 
e-Conomy SEA 2020
e-Conomy SEA 2020e-Conomy SEA 2020
e-Conomy SEA 2020Peerasak C.
 
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...Peerasak C.
 
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาลPeerasak C.
 
FREELANCING IN AMERICA 2019
FREELANCING IN AMERICA 2019FREELANCING IN AMERICA 2019
FREELANCING IN AMERICA 2019Peerasak C.
 
How to start a business: Checklist and Canvas
How to start a business: Checklist and CanvasHow to start a business: Checklist and Canvas
How to start a business: Checklist and CanvasPeerasak C.
 
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture Performance
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture PerformanceThe Multiple Effects of Business Planning on New Venture Performance
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture PerformancePeerasak C.
 
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016Peerasak C.
 
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder Peerasak C.
 
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...Peerasak C.
 
e-Conomy SEA Report 2019
e-Conomy SEA Report 2019e-Conomy SEA Report 2019
e-Conomy SEA Report 2019Peerasak C.
 
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562Peerasak C.
 
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDC
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDCเจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDC
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDCPeerasak C.
 
RD Strategies & D2rive
RD Strategies & D2rive RD Strategies & D2rive
RD Strategies & D2rive Peerasak C.
 
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)Peerasak C.
 
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65K SME INSPIRED September 2019 Issue 65
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65Peerasak C.
 
หนังสือ BlockChain for Government Services
หนังสือ BlockChain for Government Servicesหนังสือ BlockChain for Government Services
หนังสือ BlockChain for Government ServicesPeerasak C.
 
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019Peerasak C.
 
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress Peerasak C.
 

Mehr von Peerasak C. (20)

เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVexเสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
เสวนาเจาะเกณฑ์ระดมทุนและการลงทุนกับ LiVex
 
Blockchain for Government Services
Blockchain for Government ServicesBlockchain for Government Services
Blockchain for Government Services
 
e-Conomy SEA 2020
e-Conomy SEA 2020e-Conomy SEA 2020
e-Conomy SEA 2020
 
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...
A Roadmap for CrossBorder Data Flows: Future-Proofing Readiness and Cooperati...
 
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล
๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล
 
FREELANCING IN AMERICA 2019
FREELANCING IN AMERICA 2019FREELANCING IN AMERICA 2019
FREELANCING IN AMERICA 2019
 
How to start a business: Checklist and Canvas
How to start a business: Checklist and CanvasHow to start a business: Checklist and Canvas
How to start a business: Checklist and Canvas
 
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture Performance
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture PerformanceThe Multiple Effects of Business Planning on New Venture Performance
The Multiple Effects of Business Planning on New Venture Performance
 
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016
Artificial Intelligence and Life in 2030. Standford U. Sep.2016
 
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder
Testing Business Ideas by David Bland & Alex Osterwalder
 
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...
Royal Virtues by Somdet Phra Buddhaghosajahn (P. A. Payutto) translated by Ja...
 
e-Conomy SEA Report 2019
e-Conomy SEA Report 2019e-Conomy SEA Report 2019
e-Conomy SEA Report 2019
 
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนตุลาคม 2562
 
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDC
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDCเจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDC
เจาะเทรนด์โลก 2020: Positive Power โดย TCDC
 
RD Strategies & D2rive
RD Strategies & D2rive RD Strategies & D2rive
RD Strategies & D2rive
 
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
คู่มือการใช้ระบบ Biz Portal ส าหรับผู้ยื่นคำขอ (Biz Portal User Manual)
 
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65K SME INSPIRED September 2019 Issue 65
K SME INSPIRED September 2019 Issue 65
 
หนังสือ BlockChain for Government Services
หนังสือ BlockChain for Government Servicesหนังสือ BlockChain for Government Services
หนังสือ BlockChain for Government Services
 
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019
General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019
 
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress
SMD FY 2019 President’s Budget Request to Congress
 

TAT The Journey

  • 1. 60 ปี ททท. TAT The Journey A STORY BASED ON TRUE JOURNEY
  • 3. TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney 22 บรรณาธิการที่ปรึกษา ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา ธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ นพดล ภาคพรต รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา สมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านบริหาร น้ําฝน บุณยะวัฒน์ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว วินิจ รังผึ้ง ผู้อํานวยการฝ่ายบริการการตลาด TAT The Journey The Story Based on True Journey (60 ปี ททท.) จัดทําโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) 1600 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2250 5500 โทรสาร 0 2253 7450 www.tourismthailand.org ออกแบบและผลิต บริษัท อัญแปลน จํากัด พิมพ์ที่ บริษัท ภาพพิมพ์ จํากัด พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ 2563 ISBN 978-974-679-299-8 กองบรรณาธิการ จ.ส.ท.กริช นนทฤทธิ์ ผู้อํานวยการกองวางแผนและผลิตสื่อ ปริญญ์ พงษ์เจริญ หัวหน้างานวางแผนการผลิตและประเมินผล กองวางแผนและผลิตสื่อ ณัฐดร หัสวาที หัวหน้างานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ กองกลยุทธ์การตลาด ณัฏฐิรา อําพลพรรณ หัวหน้างานส่งเสริมการเรียนรู้ กองการเรียนรู้ด้านการตลาดท่องเที่ยว ฉันทมน ชินวัฒน์ กองวางแผนและผลิตสื่อ พรรณรศา ธีระวงศ์สกุล กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว บัณฑิต อเนกพูนสินสุข กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว สุจิตรา แย้มงามเหลือ กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว บรรณาธิการ ยุวดี นิรัตน์ตระกูล TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
  • 7. 3.1 3.2 3.3 3.4 สารบัญ จัดทัพ 10 ททท. กําเนิดและเติบโต ภาครัฐผนึกกําลัง สร้างทัพท่องเที่ยวไทย ภาคเอกชนท่องเที่ยวไทย จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย ผู้ผลิต และผู้สนับสนุนองค์ความรู้ ทัพท่องเที่ยวแห่งชาติ ขับเคลื่อน 24 ใช้แผน นําทาง ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติและกลุ่มจังหวัด ขับเคลื่อนโดย ททท. ความผิดพลาดและบทเรียนจากการขับเคลื่อน เตือนภัยวิกฤต 40 วิกฤตที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย การรับมือวิกฤต วิกฤตที่คาดว่าจะต้องเผชิญในอนาคต UNWTO ข้อเสนอแนะด้านความเสี่ยงและวิกฤตในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 1.1 2.1 2.2 2.3 2.4 1.2 1.3 1.4 1.5 6 TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney
  • 8. จับจริตความสุข 52 ความสุขจากการท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ ความสุขจากการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ความสุขจากการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เป็นทุกข์เรื่องตัวเลข 64 ทุกข์ 1 นักท่องเที่ยวลด ทุกข์ 2 นักท่องเที่ยวล้น ทุกข์ 3 รายได้เป็นอันดับ 4 แต่ขีดความสามารถในการแข่งขันอันดับ 31 ทุกข์ 4 ประเทศไทยติดอันดับโลก หลังเมฆฝนผ่านพ้นไป 72 การสรุปบทเรียน การปรับตัว การจัดการตน อนาคตสดใสรอเราอยู่ 76 การออกแบบอนาคต (Designing Future) การเข้าใจนักท่องเที่ยวอนาคต (Tomorrow Tourist) อนาคตท่องเที่ยวไทย นับแต่นี้ไปไม่เหมือนเดิม 5.1 4.1 6.1 7.1 4.2 6.2 7.2 4.3 6.3 7.3 5.2 5.3 5.4 สารบัญ 7 00
  • 10. 9 การศึกษาข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลา 60 ปี เท่ากับเป็นการมองย้อนไปหาต้นธารของช่วงชีวิตการทํางาน ของกลุ่มบุคคลหลายกลุ่ม หลายรุ่น หลายอาชีพ ซึ่งล้วนเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันและกัน ครอบคลุมถึงมิติความสัมพันธ์กับสภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ความเชื่อมั่น และความศรัทธา โดยอาจรวมไปถึงการดําเนินการเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวที่สอดแทรกอุดมการณ์ความรักชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ไว้อย่างแยบคาย หนังสือเล่มนี้พยายามที่จะทบทวนถึงเส้นทางการดําเนินงานด้านการท่องเที่ยว ของไทยอย่างกระชับ โดยจับประเด็นต่าง ๆ มาเรียบเรียงใหม่ อ้างอิงข้อมูลจาก หลากหลายแหล่ง ทั้งข้อมูลในประเทศและต่างประเทศ ที่ปรากฏในช่วงเวลาของแต่ละ ทศวรรษ เหตุการณ์สําคัญในระดับโลก และภูมิภาค ตลอดจนบุคคลสําคัญที่เกี่ยวข้อง จัดทัพ ขับเคลื่อน เตือนภัยวิกฤต จับจริตความสุข เป็นทุกข์เรื่องตัวเลข หลังเมฆฝนผ่านพ้นไป อนาคตสดใสรอเราอยู่ คือ 7 เรื่องที่นําเสนอในหนังสือเล่มนี้ โดยเทคนิคการวางเรื่องและการถ่ายทอดเนื้อหา ในแต่ละเรื่อง แต่ละประเด็นเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน สามารถอ่านเฉพาะเรื่องเฉพาะหัวข้อ ที่สนใจได้ ถูกออกแบบสําหรับผู้คนในยุคสมัยนี้ ความรู้และประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวเกี่ยวกับอดีตและปัจจุบัน ยิ่งมีมากยิ่งทําให้ เกิดความมั่นใจต่อการตัดสินใจเรื่องในอนาคตมากขึ้น ในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวต้องเผชิญกับความยากลําบากและปัญหา ย่อมเกิดการรวมตัวเพื่อลุกขึ้นสู้ โดยใช้สติปัญญา ความร่วมมือ ร่วมใจ ก่อให้เกิดความคิดใหม่ นวัตกรรมใหม่ เพื่อฝ่าภัยวิกฤตดังกล่าว 60 ปีที่ผ่าน กับงานที่ต้องสานต่อ ปลดวางความสําเร็จเดิม เก็บไว้เป็นความภาคภูมิใจ มุ่งมั่นสรรค์สร้างงานใหม่ นําพาท่องเที่ยวไทยสู่ความยั่งยืน ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สารจากผู้ว่าการ 00 9
  • 12. 11 จัดทัพ จัดทัพ หากเราต้องการย้อนดูการเติบโตและความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับ มอบหมายให้ดําเนินการในภารกิจนี้ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสถาบันการศึกษา ปี พ.ศ. 2563 เป็นปีที่ ททท. ดําเนินการด้านการส่งเสริมและพัฒนา การท่องเที่ยวมาเป็นปีที่ 60 หากพิจารณาจากจุดตั้งต้นจนถึงปัจจุบัน เรื่องราวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนั้น มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสภาพสังคมทั้งในระดับโลกและ ระดับภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 11 01
  • 13. TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney 12 ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2503 ถ้าเราใช้ปี พ.ศ. 2503 เป็นหมุดหมายการเกิดขึ้นของหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ของประเทศไทย เราลองย้อนดูข้อมูลที่เกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2503 พบว่ามีเรื่องราวที่ น่าสนใจทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ดังนี้ ระดับโลก ในปี พ.ศ. 2468 (ค.ศ.1925) มีการจัดตั้งสมัชชาสหพันธ์องค์การส่งเสริม การท่องเที่ยวนานาชาติ (International Union of Official Travel Organisations: IUOTO) ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) เปลี่ยนชื่อเป็นองค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization: WTO) และเป็นองค์การท่องเที่ยวโลกแห่ง สหประชาชาติ (UNWTO) ในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ภารกิจหลักครอบคลุม เรื่องการให้ความร่วมมือด้านการพัฒนา การให้ความรู้ การศึกษาและฝึกอบรม การดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการวางแผน การดําเนินงานด้านสถิติและ การวิจัยตลาด การดําเนินการด้านคุณภาพในการให้บริการการท่องเที่ยวและการเป็น ผู้ประสานงานและให้ข้อมูล ระดับประเทศ ประเทศไทยเริ่มมีการจัดรูปหน่วยงานย่อยที่ดูแลรับผิดชอบด้าน การท่องเที่ยวครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2467 โดยพระดําริของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน ในฐานะผู้บัญชาการกรมรถไฟ ท่านส่งเรื่องราวของ ประเทศไทยไปเผยแพร่ที่สหรัฐอเมริกา และก่อตั้งแผนกโฆษณา ทําหน้าที่รับรอง และให้ความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมทั้งโฆษณาเผยแพร่ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ ต่อมามีการโอนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวไปสังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และงานส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เริ่มอย่างชัดเจนในปี พ.ศ. 2479 มีการนําเสนอ โครงการและแผนบํารุงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อคณะรัฐมนตรี จํานวน 3 งาน คือ งานโฆษณาชักชวนนักท่องเที่ยว งานรับรองนักท่องเที่ยว และงานบํารุงสถานที่ ท่องเที่ยวและที่พัก ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 มีการจัดตั้งสํานักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว มีฐานะเทียบเท่ากอง ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมโฆษณาการ ในสํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2493 ททท. กําเนิดและเติบโต1.1
  • 14. 13 จัดทัพ ก่อตั้ง อ.ส.ท. และยกระดับเป็น ททท. ปี พ.ศ. 2503 ในช่วงที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ก่อตั้งองค์กร ที่รับผิดชอบเรื่อง “การท่องเที่ยว” โดยตรงเป็นครั้งแรก ชื่อ องค์การส่งเสริม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ท. ภาระหน้าที่ที่มุ่งเน้นในขณะนั้นคือ การสร้างสรรค์กิจกรรมที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเดินทางท่องเที่ยว ผู้อํานวยการคนแรกคือพลเอกเฉลิมชัยจารุวัสตร์สํานักงานตั้งอยู่ที่อาคารตรงข้าม วัดเบญจมบพิตรฯ ภารกิจของ อ.ส.ท. มุ่งเน้นเฉพาะงานด้านการส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ จนทําให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ภาระงานที่เกี่ยวกับ การพัฒนา การอนุรักษ์ และการจัดระเบียบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นงานที่สําคัญ จึงจําเป็นต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบและกํากับดูแล ในปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลจึงผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทยและจัดตั้งหน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยเป็นการ ขยายภาระงานเดิมของ อ.ส.ท. ให้ครอบคลุมเรื่องการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว การดูแลความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว และเปลี่ยนชื่อจากองค์การส่งเสริมการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) เป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Tourism Authority of Thailand (TAT) ในปี พ.ศ. 2503 พบว่า นอกจากรัฐบาลจะจัดตั้ง อ.ส.ท. แล้ว ยังจัดตั้งบริษัท การบินไทย จํากัด โดยทําสัญญาร่วมทุนระหว่างบริษัทเดินอากาศไทยและสายการบิน สแกนดิเนเวียน ทําการบินระหว่างประเทศ ซึ่งนับได้ว่า รัฐบาลให้ความสําคัญกับ กิจการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเดินทางและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาองค์การท่องเที่ยวแห่งชาติในประเทศอื่น ๆ พบว่ามี ช่วงเวลาการก่อตั้งองค์กรที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น องค์การส่งเสริมการ ท่องเที่ยวแห่งชาติเกาหลี (Korea National Tourism Organization: KNTO) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2505 องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติญี่ปุ่น (Japan National Tourism Organization: JNTO) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2507 01
  • 15. TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney 14 ททท. กับการเติบโต หากจัดแบ่งช่วงเวลาของการทํางานตามการจัดรูปองค์กร สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ปี พ.ศ. 2503 ถึงปี พ.ศ. 2522 หน่วยงาน อ.ส.ท. มีหน้าที่หลักคือ การส่งเสริมการตลาด และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของประเทศ ช่วงที่ 2 ปี พ.ศ. 2522 ปรับรูปแบบองค์กรจาก อ.ส.ท. เป็น ททท. นอกจากจะทํา หน้าที่ด้านการส่งเสริมการตลาดแล้วยังมีหน้าที่ด้านการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว และกําหนดมาตรฐานการบริการ จนถึงปี พ.ศ. 2545 ที่รัฐบาลจัดตั้งกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา มีการถ่ายโอนภาระงานด้านการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว และมาตรฐานการบริการจาก ททท. ไปยังกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ช่วงที่ 3 ปี พ.ศ. 2545 ถึงปัจจุบัน ททท. มีบทบาทหลักเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาด และประชาสัมพันธ์ โดยประสานงานกับหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขยายสํานักงาน จัดวางกําลัง ปัจจุบัน ททท. มีสํานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร และ ททท. สํานักงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้ ททท. สํานักงานในประเทศ45 สํานักงาน กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ11สํานักงาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 สํานักงาน ภาคกลาง 9 สํานักงาน ภาคตะวันออก 6 สํานักงาน และภาคใต้ 11 สํานักงาน สํานักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ แห่งแรก คือ สํานักงานเชียงใหม่ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2511 ททท. สํานักงาน ต่างประเทศ 29 สํานักงาน กระจายอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก 11 สํานักงาน ภูมิภาคอาเซียน เอเชียใต้ และแปซิฟิกใต้ 7 สํานักงาน ภูมิภาคยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง 8 สํานักงาน และภูมิภาคอเมริกา 3 สํานักงาน สํานักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งแรกในต่างประเทศ คือ สํานักงานนิวยอร์ก จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2508 จริงจังกับวิกฤต เมื่อสถานการณ์ในระดับโลก ภูมิภาค และประเทศ เริ่มเผชิญกับภัยคุกคามในรูปแบบ วิกฤตต่าง ๆ ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการเมือง การก่อการร้าย วิกฤตโรคระบาด วิกฤตพิบัติภัยธรรมชาติ วิกฤตที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีทั้งตัววิกฤตเอง และวิกฤตจากการสื่อสาร ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกับสถานการณ์นั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2550 ททท. จึงเปิดศูนย์ปฏิบัติการวางแผนการท่องเที่ยวและศูนย์ ปฏิบัติการในภาวะวิกฤต (ศวก.) โดยเป็นหน่วยงานย่อยที่เน้นเรื่องการสื่อสารเป็น หลัก โดยร่วมดําเนินการกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
  • 16. 15 จัดทัพ คิดการณ์ไกล ใฝ่อนุรักษ์ ในปี พ.ศ. 2535 สถานการณ์โลกให้ความสําคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม มีการประชุม Earth Summit ที่เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล และประกาศใช้แผนปฏิบัติการ 21 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Agenda 21 รวมทั้งการจัดทําเป้าหมายการพัฒนาแห่ง สหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ในช่วงปี พ.ศ. 2543-2558 และเมื่อ MDGs สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2558 องค์การสหประชาชาติยังคงดําเนินการ ต่อเนื่องโดยกําหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาของโลก ช่วงปี พ.ศ. 2558-2573 ในแนวคิดและทิศทางเกี่ยวกับการอนุรักษ์นั้น ททท. เล็งเห็นความสําคัญเช่นกัน จึงได้ผลักดันงานที่ให้ความสําคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ โดยในช่วงปี พ.ศ. 2531-2537 ททท. ดําเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการกําหนดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ และหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด ก่อตั้งมูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2535 และในปี พ.ศ. 2541 ร่วมมือกับสมาคมโรงแรมไทย โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปานครหลวงและสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมก่อตั้งมูลนิธิใบไม้เขียว เพื่อเผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมผู้ประกอบการในการพัฒนามาตรฐานการจัดการด้าน สิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.greenleafthai.org) นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นขีดความสามารถในการรองรับด้านการท่องเที่ยวแล้ว ททท. ยังศึกษาเพื่อกําหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ (Ecotourism) ในปี พ.ศ. 2540 และตั้งกองอนุรักษ์ เสนอคําขวัญ “พัฒนาคู่อนุรักษ์ พิทักษ์ท่องเที่ยว ไทย” ในปีเดียวกัน (เมื่อมีการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในปี พ.ศ. 2545 ททท. ปรับโครงสร้างองค์กรทําให้ต้องยกเลิกกองอนุรักษ์) กิจกรรมด้านการอนุรักษ์อื่น ๆ ที่ ททท. สร้างสรรค์และผลักดัน เช่น ปี พ.ศ. 2539 จัดทําโครงการรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ปี พ.ศ. 2551 ผลักดันโครงการ 7 Greens ปี พ.ศ. 2553 จัดทําโครงการเที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน ปี พ.ศ. 2559 จัดทําโครงการ Village to the World เข้าร่วมโครงการ Trash Hero และ Up Cycling the Oceans ผลักดันสู่องค์กรสมรรถนะสูง TATIC/TAT Academy เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานในยุค Digital Transformation ททท. ให้ความสําคัญ กับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วยองค์ความรู้ ข้อมูลที่ทันสมัยและเท่าทัน พฤติกรรมนักท่องเที่ยว นักเดินทางที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ททท. เห็นความสําคัญ ในเรื่องนี้จึงจัดตั้งหน่วยงานในลักษณะพิเศษ2หน่วยงานคือศูนย์วิจัยด้านตลาด การท่องเที่ยว (TAT Intelligence Center: TATIC) จัดตั้งในปี พ.ศ. 2557 จัดตั้งศูนย์ พัฒนาวิชาการด้านตลาดการท่องเที่ยว (TAT Academy) ในปี พ.ศ. 2558 TAT Intelligence Center 01
  • 17. TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney 16 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา บูรณาการภาพรวม เมื่อพิจารณาองค์กรรัฐที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว นอกจาก ททท. แล้ว รัฐบาลไทยยังให้ ความสําคัญกับการพัฒนาและเติบโตก้าวหน้าของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยการ ผลักดันองค์กรที่ดูแลและรับผิดชอบเรื่องการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ดังนี้ พ.ศ. 2545 รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ประกาศจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอํานาจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬาและนันทนาการ โดยแต่งตั้งนายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นคนแรก ปัจจุบันมีหน่วยงานในสังกัด 4 หน่วยหลัก คือ กรมพลศึกษา กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และการกีฬาแห่งประเทศไทย สํานักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. บุกตลาดประชุม นิทรรศการ สํานักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน)หรือ สสปน.ก่อตั้งขึ้น ในปีพ.ศ.2545 (เดิมงานด้านการส่งเสริมการประชุมเป็นหน่วยงานระดับกองในททท.) ทําหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรม MICE (Meetings, Incentive Travel, Conventionsand Exhibitions)โดยอํานวยความสะดวกและพัฒนามาตรฐานการจัดงานให้สอดคล้องกับ บทบาทของไทยที่มีความสําคัญมากขึ้นในฐานะเป็นประเทศที่สามารถเป็นที่จัด การประชุมและนิทรรศการระดับนานาชาติได้อย่างมีศักยภาพ และมุ่งหวังที่จะให้ไทย เป็นศูนย์กลางการจัดประชุมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและการจัดนิทรรศการ ระดับโลกในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มรายได้ของ ประเทศไทย และสร้างศักยภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม MICE ในตลาดโลก องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. พ.ศ. 2546 จัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.มีหน้าที่บริหารและพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิง บูรณาการ เป็นองค์กรกลางทําหน้าที่กําหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ และ ประสานงานกับท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวให้มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวใน เชิงคุณภาพ ปัจจุบันดําเนินการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวตามที่คณะกรรมการนโยบาย ท่องเที่ยวแห่งชาติกําหนด 1.2 ภาครัฐผนึกกําลัง สร้างทัพท่องเที่ยวไทย
  • 18. 17 จัดทัพ หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ นอกเหนือจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สสปน. อพท. และ ททท. แล้ว การพัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจําเป็นต้องมีการบูรณาการการทํางานในทุกภาค ส่วนหลัก ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระทรวงต่างๆเกือบทุกกระทรวงเช่นกระทรวงที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง ไฟฟ้า ประปา กระทรวงที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสุขอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรค เป็นต้น ตัวอย่างองค์กรภาครัฐที่ดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กระทรวงคมนาคม รับผิดชอบเกี่ยวกับความสะดวกและปลอดภัยด้านการเดินทางโดย ในปี พ.ศ. 2548 เปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และในปี พ.ศ. 2547 เปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ปี พ.ศ. 2553 เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link: ARL) กระทรวงมหาดไทย มีขอบเขตความรับผิดชอบที่กว้างขวางเช่น เรื่องความปลอดภัย การปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ตัวอย่าง การดําเนินงานในปี พ.ศ. 2545 เริ่มโครงการหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product: OTOP) ต่อมาในปี พ.ศ. 2561-2562 พัฒนาเป็นโครงการ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข ดําเนินการเรื่องการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทาง การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดังนั้น การประสานงานและบูรณาการการทํางานที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องจําเป็น และสําคัญอย่างยิ่ง 01
  • 19. TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney 18 2506 ก่อตั้งสมาคมโรงแรมเพื่อนักทัศนาจรแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมโรงแรมไทย (Thai Hotels Association: THA) 2511 ก่อตั้งสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents: ATTA) 2518 ก่อตั้งสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย (Professional Tourist Guide Association of Thailand) 2540 ก่อตั้งสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (Thai Ecotourism and Adventure Travel Association: TEATA) 2542 ก่อตั้งสมาคมรถเช่าไทย (Thai Car Rental Association) 2544 ก่อตั้งสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (Tourism Council of Thailand) การผนึกกําลังขององค์กรภาคเอกชนในภาคบริการ คือ ส่วนสําคัญที่จะผลักดันให้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก้าวหน้าอย่างมั่นคงและมีดุลยภาพ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยรวมตัวจัดตั้ง เป็นรูปแบบสมาคมต่าง ๆ ดังนี้ นอกจากหน่วยงานภาคเอกชนข้างต้นแล้ว ยังมีภาคเอกชนอื่น ๆ ที่เริ่มมีบทบาท สําคัญและโดดเด่น เช่น การรวมตัวของภาคเอกชนในธุรกิจสปา ศูนย์การค้า และ ภาคธุรกิจบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ ละคร ดนตรี และกีฬา ล้วนมีส่วนในการสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยทั้งสิ้น 1.3 ภาคเอกชนท่องเที่ยวไทย จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน
  • 20. 19 จัดทัพ ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ เปิดสอนวิชาการโรงแรม การท่องเที่ยว การบิน และการบริการอื่น ๆ จํานวนมากกว่า 100สถาบันกระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศที่สนับสนุนภาคการท่องเที่ยวและบริการ ของไทย ซึ่งนอกจากสถาบันการศึกษาจะทําหน้าที่ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและ ได้มาตรฐานแล้ว สถาบันการศึกษายังได้ผลิตงานวิจัย งานวิชาการจํานวนมากที่ ตอบโจทย์ความต้องการของท้องถิ่น และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับอุตสาหกรรม ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐด้านการวิจัย ที่มีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนา การท่องเที่ยวไทย เช่น สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยสมุนไพร กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลจากการวิจัย สามารถนําไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ การแก้ไขปัญหาอุปสรรคในพื้นที่ และใช้ประกอบ การตัดสินใจเชิงนโยบาย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องบูรณาการในทุกภาคส่วน ดังนั้น รัฐบาลจึงกําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) โดยมีนายก รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีผู้แทนกระทรวงผู้แทนภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ โดยมีอํานาจหน้าที่ครอบคลุมเรื่องการจัดทํานโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ การกําหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยว การรับรอง มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว และการบริหารกองทุนท่องเที่ยว 1.4 1.5 สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย ผู้ผลิต และผู้สนับสนุนองค์ความรู้ ทัพท่องเที่ยวแห่งชาติ 01
  • 21. TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney 20 เปิดสํานักงานส่งเสริม การท่องเที่ยวในประเทศไทย แห่งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ บริษัทการบินกรุงเทพ เปิดดําเนินการ ภาคเอกชนก่อตั้ง สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents: ATTA) ลําดับการจัดตั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย 2400 2500 2510 2520 2467 2503 2511 2522 2468 2506 2518 2524 2528 2493 2479 2508 2519 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน เผยแพร่เรื่องราวของประเทศไทย ในสหรัฐอเมริกา และก่อตั้ง แผนกโฆษณาทําหน้าที่รับรอง และให้อํานวยความสะดวก นักท่องเที่ยว รวมทั้งโฆษณา เผยแพร่ประเทศไทย สมัชชาสหพันธ์องค์การ ส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติ (International Union of Official Travel Organisations: IUOTO) ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 เปลี่ยนชื่อเป็นองค์การ ท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (World Tourism Organization: UNWTO) ประเทศไทยเริ่ม “งานส่งเสริมการท่องเที่ยว” โดยเสนอแผนงานหลัก 3 แผนงานต่อคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยงานโฆษณา ชักชวนนักท่องเที่ยว งานรับรองนักท่องเที่ยว และงานบํารุงสถานที่ท่องเที่ยว LOGO UNWTO LOGO อสท LOGO ATTA จัดตั้งสํานักงานท่องเที่ยว ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวาง ระเบียบราชการกรมโฆษณาการ สํานักนายกรัฐมนตรี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีจัดตั้ง “องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย” หรือ อ.ส.ท. มีภารกิจในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การเดินทาง ท่องเที่ยว ก่อตั้งบริษัท การบินไทย จํากัด ภาคเอกชนรวมตัวก่อตั้ง สมาคมโรงแรมเพื่อนักทัศนาจร แห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมโรงแรมไทย (Thai Hotels Association: THA) เปิดสํานักงานส่งเสริม การท่องเที่ยวไทย ในต่างประเทศแห่งแรก ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ททท. เปิดศูนย์ช่วยเหลือ นักท่องเที่ยว ภาคเอกชนรวมตัวตั้ง สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ แห่งประเทศไทย (Professional Tourist Guides Association of Thailand) ททท. เปิดสถาบันฝึกอบรม วิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว (สรท.) ที่บางแสน ดําเนินการเป็นระยะเวลา 22 ปี และปิดสถาบันฯ ในปี พ.ศ. 2546 ภาคเอกชนรวมตัวก่อตั้ง สมาคมส่งเสริมการประชุม นานาชาติไทย (Thailand Incentive and Convention Association: TICA) ปฏิรูปองค์กรจาก องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) เป็นการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.)
  • 22. 21 จัดทัพ 2530 2540 2550 2560 2540 2542 2550 2557 2558 2546 2541 2544 2545 2535 ททท. ก่อตั้งมูลนิธิพิทักษ์ สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 เปลี่ยนชื่อเป็น มูลนิธิเพื่อ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ททท. ตั้งกองอนุรักษ์ และเสนอคําขวัญ “พัฒนาคู่อนุรักษ์ พิทักษ์ท่องเที่ยวไทย” ภาคเอกชนรวมตัวก่อตั้ง สมาคมรถเช่าไทย (Thai Car Rental Association) ททท. ร่วมมือกับ 6 องค์กร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดตั้งมูลนิธิใบไม้เขียว ตั้งบริษัท Thailand Long Stay Management เพื่อส่งเสริมตลาดพํานัก ระยะยาว จัดตั้งสภาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (Tourism Council of Thailand) จัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา โดยมีนายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คนแรก จัดตั้งสํานักงานส่งเสริม การจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (Thailand Convention & Exhibition Bureau) ททท. เปิดศูนย์ปฏิบัติการวางแผน การท่องเที่ยวและศูนย์ปฏิบัติการ ในภาวะวิกฤต (ศวก.) ททท. เปิดศูนย์วิจัย ด้านตลาดการท่องเที่ยว (TAT Intelligence Center: TATIC) ททท. เปิดศูนย์พัฒนาวิชาการ ด้านการตลาดการท่องเที่ยว (TAT Academy) จัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนา พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ททท.เปิดตัวบริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จํากัด ดําเนินการในโครงการ บัตรเอกสิทธิ์พิเศษ “ไทยแลนด์ อีลิท คาร์ด” TAT Intelligence Center 01
  • 26. 25 จัดทัพ ขับเคลื่อน แม้จะมีความประสงค์อันแน่วแน่ที่จะใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนา เศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อมและการธํารงไว้ซึ่งคุณค่าความเป็นไทย อันมี หนึ่งเดียวในโลก แต่ถ้าการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวยังเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง ย่อมไม่อาจ บรรลุความประสงค์อันยิ่งใหญ่นั้นได้ การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว คือ ขั้นตอนสําคัญในการขับเคลื่อนทิศทางการเติบโต ด้านการท่องเที่ยวแต่การวางแผนจะไม่มีผลใดๆหากไม่มีการนําแผนไปสู่การปฏิบัติ ที่เป็นจริง รวมทั้งการสร้างรูปแบบกลไกการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยว เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการในระดับต่าง ๆ แต่ถ้าไม่มีการทํางาน ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม คณะกรรมการนั้น ๆ ก็จะมีเพียงรายงานการประชุมและมติ ที่ประชุมเท่านั้น ข้อสังเกตที่น่าสนใจและมีนัยสําคัญต่อการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา คือ การดํารงอยู่และแก้ไขไม่ได้ของปัญหาพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว เช่น ปัญหาขยะ น้ําเสีย การหลอกลวง นักท่องเที่ยว ในขณะที่มีชุดของปัญหารูปแบบใหม่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาแรงงานต่างด้าว ในภาคบริการ ปัญหาการให้บริการรูปแบบใหม่อันเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้ คือประเด็นท้าทายของการขับเคลื่อนท่องเที่ยวไทยในอนาคต 25 02
  • 27. TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney 26 ตลอดระยะเวลา 60 ปี ของการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย พบว่า มีความพยายาม ในการวางแผน และกําหนดทิศทางการเติบโตมาโดยตลอด พิจารณาจากสิ่งที่ ดําเนินการจริง ดังนี้ จากแผนพัฒนาการท่องเที่ยวฉบับแรก ถึงแผนปฏิบัติการด้าน การตลาดประจําปี และแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2518 แผนพัฒนาการท่องเที่ยวฉบับแรกของประเทศไทย จัดทําขึ้นจากความ ช่วยเหลือของ Institute of Tourism Development Consultants ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสร็จสิ้นใน ปี พ.ศ. 2519 โดยเป้าหมายของแผนคือ สร้างแนวทางในการรองรับการเติบโต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และตอบสนองความต้องการของตลาด แผนพัฒนาการท่องเที่ยวฉบับแรกได้ผนวกรวมไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) และนําไปสู่การจัดทําแผนแม่บท ควบคู่ ไปกับการศึกษาความเป็นไปได้ ในเมืองท่องเที่ยวหลักหลายเมือง เช่น พัทยา ในปี พ.ศ. 2521 จังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2522 ติดตามมาด้วยจังหวัดเชียงใหม่ และอําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นต้น นอกจากแผนพัฒนาการท่องเที่ยวที่ดําเนินการไว้แล้ว ททท. ยังได้ดําเนินการกําหนด แผนปฏิบัติการด้านการตลาดประจําปี (Marketing Action Plan: MAP) ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ ททท. เพื่อหาแนวทางต่าง ๆ สําหรับการกําหนดกลยุทธ์ เป้าหมาย และกิจกรรมทาง การตลาดที่บูรณาการและวัดผลได้ กิจกรรมการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านการตลาด ประจําปีปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีการปรับชื่อแผนเป็นแผน ปฏิบัติการประจําปีด้านการท่องเที่ยวของ ททท. (TAT Action Plan: TATAP) และ ททท. ได้ใช้แผนปฏิบัติการนี้ในการขับเคลื่อนงานตามทิศทางที่ได้กําหนดไว้ เมื่อรัฐบาลจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในปี พ.ศ. 2545 จึงได้มีการโอน ภาระงานการจัดทําแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจาก ททท. มายังกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดทําแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติจํานวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2555-2559 และฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน 2.1 ใช้แผน นําทาง
  • 28. 27 ขับเคลื่อน จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ผ่านมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน จะให้ความสําคัญกับการชี้นําของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-3 ในช่วงปี พ.ศ. 2504-2519 ไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากรัฐบาลในยุคนั้น ยังให้ความสําคัญกับการส่งออกและการพัฒนาชนบท เน้นสินค้าเกษตรและชาวนา ภาคการท่องเที่ยวและบริการได้รับการระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) เป็นครั้งแรก จากนั้นมีการผนวกภาคการ ท่องเที่ยวและบริการไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับจนถึง ฉบับปัจจุบันคือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565) สาระสําคัญในภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่ง ชาติแต่ละฉบับจะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่แผนฯ เกือบทุกฉบับจะระบุเรื่องการเพิ่มรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศ ทั้งการเพิ่มค่าใช้จ่ายและวันพักเฉลี่ย รวมทั้งการให้ความสําคัญกับเรื่องคุณภาพ มาตรฐานของสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) ระบุเรื่องความร่วมมือกับต่างประเทศด้าน การส่งเสริมการตลาด และฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) ระบุให้ไทยเป็นศูนย์กลาง ทางการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยจุดเน้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ระบุเรื่องปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ฉบับที่ 10 ระบุเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เน้นหลักการเรื่องความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ํา กระจายรายได้ วิสัยทัศน์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2579 คือ “ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพชั้นนําของโลกที่เติบโตอย่างมี ดุลยภาพบนพื้นฐานความเป็นไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ กระจายรายได้สู่ประชาชนทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน” นอกจากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว จะพบว่าเรื่องการท่องเที่ยวได้รับความสนใจและผนวกไว้ในยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนา อื่นๆด้วยเช่นแผนพัฒนาจังหวัดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง สุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) พ.ศ. 2559-2568 แผนยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่ ครัวโลก (พ.ศ. 2560-2564)
  • 29. TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney 28 การให้ความสําคัญกับภาคการท่องเที่ยวและบริการ นอกจากจะพิจารณาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติแล้ว ทิศทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวที่ผ่านมา ยังเกิดจากการผลักดันผ่านคําแถลงนโยบายรัฐบาล จากการวิเคราะห์คําแถลงนโยบายของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ พ.ศ. 2518 รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช คือรัฐบาลแรกที่บรรจุเรื่องการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในคําแถลงนโยบาย โดยระบุว่า “รัฐบาลนี้จะ ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เจริญยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบ ในประเทศ อุตสาหกรรมที่ส่งผลผลิตออกไปจําหน่ายยังต่างประเทศ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว” พ.ศ. 2519 รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นรัฐบาลแรกที่เริ่มระบุเรื่องความ ร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2526 รัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มระบุเรื่องการจัดทําแผนพัฒนา การท่องเที่ยวอย่างมีระบบ และกฎหมายการจัดระเบียบธุรกิจเกี่ยวกับ การท่องเที่ยว พ.ศ. 2535 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐบาลแรกที่กําหนดให้ไทยเป็นศูนย์กลาง ทางการท่องเที่ยวของภูมิภาค พ.ศ. 2538 รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ระบุเรื่องพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มี ความสมดุลกับปริมาณนักท่องเที่ยวและส่งเสริมค่านิยมให้คนไทย ท่องเที่ยวในประเทศ พ.ศ. 2540 รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ระบุเรื่องการกระจายอํานาจการบริหารจัดการ งบประมาณ การจัดสรรรายได้ รวมทั้งบุคลากรด้านการท่องเที่ยวไปสู่ ท้องถิ่น ควบคู่กับส่งเสริมบทบาทชุมชนและองค์กรเอกชนในการอนุรักษ์ บํารุงรักษา และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พ.ศ. 2544 รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ระบุเรื่องการใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก และเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบการท่องเที่ยว พ.ศ. 2551 รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ระบุเรื่องการเพิ่มมูลค่าด้วยเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ และระบุเรื่องการควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยวและผลกระทบ สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังระบุเรื่องการส่งเสริมกลุ่ม นักท่องเที่ยวคุณภาพ กลุ่มครอบครัว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มดูแลสุขภาพ กลุ่มประชุมและแสดงสินค้า พ.ศ. 2551 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระบุเรื่องการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ด้านการท่องเที่ยว และการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ ท่องเที่ยวทั้งหมดให้มีความทันสมัย พ.ศ. 2554 รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ความสําคัญกับกลุ่มผู้พิการ และผู้สูงวัย การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวผ่านนโยบายของรัฐบาล
  • 30. 29 ขับเคลื่อน รัฐบาลเริ่มเห็นศักยภาพและผลประโยชน์อันเกิดจากความร่วมมือในการรวมกลุ่มประเทศ รัฐบาลพยายามผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ ระบุเรื่องความสมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทานด้านการท่องเที่ยว และเริ่มส่งเสริมอย่างจริงจังให้คนไทยท่องเที่ยวภายในประเทศ รัฐบาลผลักดันเมกะโปรเจกต์ที่หนุนเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยได้ เช่น • โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น (Bangkok City of Fashion) • โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก (Kitchen of the World) • โครงการศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) • โครงการศูนย์กลางทางการบิน (Aviation Hub) • โครงการเมืองหลวงทางการท่องเที่ยวแห่งเอเชีย (Tourism Capital of Asia) หากเมกะโปรเจกต์เหล่านั้นสามารถผลักดันให้เป็นรูปธรรมชัดเจน ประเทศไทย จะกลายเป็นจุดหมายปลายทางทางการท่องเที่ยวที่โดดเด่น มีศักยภาพ มีการระบุเรื่อง • การควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยว • การเพิ่มมูลค่าด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ • การระบุ Segmentation ของกลุ่มนักท่องเที่ยว • การชี้ให้เห็นถึงความสําคัญและเร่งด่วนของการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยวทั้งหมด • การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยว พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2551 จากการวิเคราะห์คําแถลงนโยบายรัฐบาลด้านการท่องเที่ยว มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ นโยบายท่องเที่ยวของแต่ละรัฐบาล มีลักษณะการมองอนาคตที่น่าสนใจมาก เช่น 02
  • 31. TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney 30 คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ด้วยเหตุที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น การบูรณาการ การประสานงาน การจัดวางงบประมาณ จึงเป็นเรื่อง สําคัญ รูปแบบการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศส่วนใหญ่จะออกแบบในรูป ของการแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทํางาน เป็นต้น คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เป็นคณะกรรมการระดับนโยบาย ที่สําคัญที่สุด แต่งตั้งในปี พ.ศ. 2551 เป็นคณะกรรมการที่มีนายกรัฐมนตรีเป็น ประธาน และมีผู้แทนจากกระทรวงและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนหน่วยงาน ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ มีหน้าที่จัดทําแผนพัฒนาการท่องเที่ยว แห่งชาติ แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว และกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด เนื่องจากแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติระบุไว้ใน พ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยว แห่งชาติ พ.ศ. 2551 แก้ไขตาม พ.ร.บ. นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 17 เพื่อประโยชน์ในการรักษาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว หรือการบริหาร พัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ คณะกรรมการอาจกําหนดให้เขตพื้นที่ใดเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยว จึงได้มีการ กําหนดให้พื้นที่ท่องเที่ยวเป็นลักษณะกลุ่มจังหวัดเพื่อให้เกิดการบูรณาการในการ วางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยว มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดและทํางานสอดคล้องกับนโยบาย ท.ท.ช. และคณะกรรมการนโยบาย ท่องเที่ยวจังหวัด 2.2 ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ และกลุ่มจังหวัด
  • 32. 31 ขับเคลื่อน ททท. ในฐานะกองกําลังผลักดันงานด้านการส่งเสริมการตลาด ททท.เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลักเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวตลอดจนการประกอบอาชีพของคนไทยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมทั้งเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อชักจูงให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว ปัจจุบันมีการจัดแบ่งโครงสร้างองค์กร โดยแบ่งตามภาระงานออกเป็น 8 ด้าน 1. ด้านนโยบายและแผน 2. ด้านสื่อสารการตลาด 3. ด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว 4. ด้านตลาดในประเทศ 5. ด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ 6. ด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา 7. ด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา 8. ด้านบริหาร จากข้อมูลในรายงานประจําปี พ.ศ. 2560 ของ ททท. ในส่วนของอัตรากําลังจําแนก ตามด้าน ระบุว่า ททท. มีบุคลากรปฏิบัติงาน จํานวน 1,017 คน ร้อยละ 31.76 สังกัด หน่วยงานด้านตลาดในประเทศร้อยละ19.47สังกัดหน่วยงานด้านบริหารร้อยละ11.90 สังกัดหน่วยงานด้านสื่อสารการตลาด ร้อยละ 10.62 สังกัดหน่วยงานด้านนโยบาย และแผน ร้อยละ 9.64 สังกัดหน่วยงานด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ร้อยละ 7.74 สังกัดหน่วยงานด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ ร้อยละ 5.51 สังกัดหน่วยงาน ด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา และร้อยละ 3.63 สังกัด หน่วยงานผู้ว่าการ ตัวอย่างการดําเนินงานของ ททท. อนุสาร อ.ส.ท. คือนิตยสารที่มีรูปแบบเป็น Tourism Magazine รายเดือนฉบับแรกในประเทศไทย เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน เนื้อหาในนิตยสารส่วนใหญ่มุ่งเน้นเกี่ยวกับ การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมถึงที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้าของที่ระลึก ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ จุดเด่นของอนุสาร อ.ส.ท. คือ ภาพถ่ายที่สวยงามและข้อมูลที่ครบถ้วนเจาะลึก อนุสาร อ.ส.ท. ในช่วงแรกเน้นการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลการท่องเที่ยว ราคาถูกกว่า วารสารทั่วไป เข้าถึงง่ายโดยเฉพาะนักเรียนและเยาวชนต่อมาเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ ผู้อ่านสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในทุกช่องทาง นอกจากนี้แล้ว อนุสาร อ.ส.ท. ยังได้จัดกิจกรรมพิเศษเป็นระยะ เช่น การอบรม เกี่ยวกับถ่ายภาพ การอบรมเกี่ยวกับการเขียนสารคดีท่องเที่ยว เป็นต้น 2.3 ขับเคลื่อนโดย ททท. (หมายเหตุ ในปี พ.ศ. 2562 ททท. ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร โดยเพิ่มหน่วยงานด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา โดยเกลี่ยอัตรา กําลังภายในองค์กร) (หมายเหตุ ในปี พ.ศ. 2523 หนังสือสารคดีท่องเที่ยวของโลก คือ Lonely Planet เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย เป็นครั้งแรก) 02
  • 33. TATTheJourneyAStoryBasedonTrueJourney 32 ปีท่องเที่ยวไทย (Visit Thailand Year) ททท. ขับเคลื่อนการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยผ่านแคมเปญ “ปีท่องเที่ยวไทย” (Visit Thailand Year) 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2530 โดยในปี 2530 เป็นการประกาศปีท่องเที่ยวไทยเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ถือเป็นการทําการตลาดที่ประสบความสําเร็จมาก ครั้งหนึ่งของไทย ต่อมาหลายประเทศได้ใช้เป็นกรณีศึกษา และดําเนินการในลักษณะ คล้ายกัน เช่น Visit Laos Year/Visit Myanmar Year Amazing Thailand/Unseen Thailand และ Mascot น้องสุขใจ แคมเปญการตลาด Amazing Thailand เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541-2542 เพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศ และเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสเฉลิม พระชนมพรรษา 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร ในขั้นแรกของการเตรียมการมุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือ ในการส่งเสริมการตลาดดังที่เคยประสบความสําเร็จใน Visit Thailand Year แต่เมื่อเกิดวิกฤตทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือ “วิกฤตต้มยํากุ้ง” ซึ่งกระทบ หลายประเทศในเอเชีย ดังนั้น จึงปรับแผน Amazing Thailand ให้กลายเป็นเครื่องมือ แก้วิกฤตท่องเที่ยว ประเทศไทยจึงเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ยังคงรักษาจํานวน นักท่องเที่ยวให้คงตัวในปี พ.ศ. 2541 และมีอัตราเพิ่มขึ้นในปีถัดไป แคมเปญ Amazing Thailand ใช้ต่อเนื่องมาถึงปี พ.ศ. 2547 โดยในปี พ.ศ. 2548 เปลี่ยนไปใช้แคมเปญ Thailand: Happiness on Earth ในปี พ.ศ. 2549 เปลี่ยนไปใช้ แคมเปญ Thailand Grand Invitation เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรครองราชย์เป็นปีที่60 จากนั้น ในปี พ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน กลับมาใช้แคมเปญ Amazing Thailand เหมือนเดิม ปี พ.ศ. 2546 ททท. นําเสนอแคมเปญกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ คือ Unseen Thailand รวมทั้งโครงการอื่น ๆ เช่น “เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน” ก่อให้เกิด กระแสคนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี พ.ศ. 2547 ททท. สร้าง “น้องสุขใจ” ให้เป็นตัวแทนการเดินทางท่องเที่ยว พร้อม ๆ กับการนําเสนอแคมเปญ “เที่ยวที่ไหน ไม่สุขใจเท่าบ้านเรา” “วันเดียวเที่ยวสนุก” “วันธรรมดาที่ไม่ธรรมดา” และแคมเปญส่งเสริมให้คนไทยเที่ยวภูเก็ตเพื่อแก้วิกฤต สึนามิ “สนุกทั้งเกาะ ลดทั้งเมือง”