SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 3
ก
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำานึก
สาธารณะในการอนุรักษ์คลองแสนแสบ โครงการต้นแบบ “คืน
คลองสวยใส ”ให้ชุมชนของเรา กรณีชุมชนเทพลีลา ดำาเนินการ
ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างจิตสำานึกสาธารณะ จิตต์รักษ์คลอง
แสนแสบ ของโครงการศึกษาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของ
ชุมชนริมคลองแสนแสบ ระยะที่ 3 การวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความเหมาะสมของกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์
ประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์และปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข้อ
เสนอแนะในการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำานึกสาธารณะในการ
อนุรักษ์คลองแสนแสบ ของโครงการต้นแบบ “คืนคลองสวยใส ให้
”ชุมชนของเรา กรณีชุมชนเทพลีลา อันนำาไปสู่การสร้างแบบ
จำาลอง Thepleela Model ในการรณรงค์เพื่อนำาไปประยุกต์ใช้
กับชุมชนอื่นต่อไป
งานวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
โดยการสำารวจจากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัย
เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก
กับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มในการวิจัย คือ กลุ่มโรงเรียนวัดเทพลีลา
และชุมชนเทพลีลา ที่ได้เข้าร่วมโครงการต้นแบบ
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มโรงเรียนวัดเทพลีลา กลยุทธ์การ
ประชาสัมพันธ์แบบสาระบันเทิง (Edutainment) ภายใต้ Theme
วิธีการง่าย ๆ ในการรักษาคลอง “ ”ไม่ทิ้งขยะลงคลองแสนแสบ มี
ความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เนื่องจากมีรูปแบบกิจกรรมที่
หลากหลาย สนุกสนาน สอดแทรกความรู้ง่าย ๆ ในการอนุรักษ์
คลองแสนแสบที่นักเรียนทำาได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังได้รับ
รางวัลจากเกมต่าง ๆ และได้มีส่วนร่วมในการทำานำ้าหมักชีวภาพ
ทำาให้เกิดความภาคภูมิใจ โดยกิจกรรมที่ได้รับความสนใจมาก
ที่สุด คือ กิจกรรม “ละครเร่ร่วมใจคืนความสวยใสให้คลองแสน
”แสบ รองลงมาคือ กิจกรรม “20 กันยา ”เริ่มรักษาคลองของเรา
(ในวันอนุรักษ์คูคลองแห่งชาติ) ตามลำาดับ ส่วนสื่อประชาสัมพันธ์
ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ ตัวนำาโชค (Mascot) น้องคลอง
ใส
ด้านประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์ พบว่า กระตุ้นให้เกิด
ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษาคลองแสนแสบ โดยการไม่ทิ้งขยะลง
คลอง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างทัศนคติและการตระหนักถึงการมี
ส่วนร่วมในการฟื้นฟูความสวยใสของคลองแสนแสบให้กลับมาอีก
ก
ครั้งโดยเริ่มต้นจากตนเอง และเกิดจิตสำานึกสาธารณะว่าการ
อนุรักษ์คลองแสนแสบเป็นหน้าที่ของทุกคนที่สามารถทำาได้ อัน
นำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการไม่ทิ้งขยะลงคลองแสน
แสบ
ส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะของกลุ่มโรงเรียนวัดเทพลีลา
พบว่า กิจกรรมควรปรับให้มีความแปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง เน้นยำ้า
ความรู้อย่างชัดเจน สอดแทรกประวัติของคลองแสนแสบและ
อันตรายจากคลองเน่าเสีย ซึ่งควรมีสื่อพิเศษและสื่อสมัยใหม่เป็น
ช่องทางในการประชาสัมพันธ์มากขึ้น ตลอดจนการสร้างเครือ
ข่ายในการรณรงค์กับภาครัฐและเอกชน
ด้านผลการวิจัยกับกลุ่มชุมชนเทพลีลา การใช้กลยุทธ์การ
ประชาสัมพันธ์การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ (Persuasive
Communication) ใน Theme “ขยะสร้างรายได้ : แยกให้เป็น
ขายได้เงิน ”ไม่ทิ้งลงคลอง และ Theme “สุขภาพสร้างได้ : รัก
ชีวิต ”รู้รักษ์คลองแสนแสบ ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์มีความ
เหมาะสมมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากใช้จุดจูงใจโดยใช้ความกลัว
การเร้าอารมณ์ในด้านสุขภาพอนามัย และการใช้จุดจูงใจโดยใช้
รางวัลในด้านการคัดแยกขยะ สร้างรายได้ ไม่ทิ้งลงคลอง ซึ่ง
ชุมชนมองว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก
อันตรายของนำ้าในคลองแสนแสบที่เน่าเสียอยู่แล้ว ส่วนกิจกรรม
รณรงค์ที่ได้รับความสนใจและมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ กิจกรรม “ล
อยกระทงร่วมสมัย ”ใส่ใจคลองแสนแสบ ซึ่งใช้วันสำาคัญและ
ประเพณีเป็นสื่อกลางในการรณรงค์อนุรักษ์คลองแสนแสบ
สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ในด้านสื่อประชาสัมพันธ์ที่ได้ผล
มากที่สุด คือ ผู้นำาชุมชน (สื่อบุคคล) ในการสื่อสารระหว่างบุคคล
ปากต่อปาก (Word of Mouth) ให้เข้าร่วมกิจกรรม และสื่อพิเศษ
ตัวนำาโชค (Mascot) น้องคลองใส สร้างการจดจำาในโครงการได้
เป็นอย่างดี
ประสิทธิผลของการประชาสัมพันธ์ในชุมชนเทพลีลา ต่อ
การนำาความรู้ความเข้าใจ จากประเด็นแนวคิด ขยะสร้าง
รายได้ และ สุขภาพสร้างได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการดูแลรักษาคลอง
แสนแสบ โดยการไม่ทิ้งขยะลงคลอง แล้วนำามาใช้ประโยชน์จาก
ขยะ สามารถคัดแยกเพื่อสร้างรายได้เสริม อีกทั้งการรับรู้ถึงปัญหา
สุขภาพที่มาจากพิษภัยของนำ้าเน่าเสีย และโรคร้ายที่มาจากขยะ
ในคลองแสนแสบ อันนำาไปสู่การเกิดทัศนคติ จิตสำานึก ในการมี
ส่วนร่วมต้องการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากครอบครัว
ก
ขยายสู่กลุ่มเพื่อนและชุมชน ซึ่งปัญหาต่างๆ ล้วนจะส่งผลโดยตรง
กลับมายังครอบครัวและชุมชนของตนเอง จึงเกิดพฤติกรรมที่
กวดขันดูแลรักษาความสะอาดแหล่งนำ้าใกล้บ้าน การทิ้งขยะให้
เป็นที่ และคัดแยกเพื่อสร้างรายได้ เพื่อป้องกันโรคภัยจากนำ้าเน่า
เสียของคลองแสนแสบ
ด้านข้อเสนอแนะในการรณรงค์ พบว่า รูปแบบการจัด
กิจกรรมจะต้องปรับให้เข้ากับช่วงวัยของกลุ่มชาวบ้านที่มีความ
หลากหลาย มีข้อจำากัดด้านเวลาในการเข้าร่วม ตลอดจนปัญหา
ด้านการศึกษา จึงควรใช้กิจกรรมที่สนุกสนาน เข้าใจง่าย มี
ความเป็นกันเองและสร้างสัมพันธภาพส่วนตัวในการดึงดูดให้เข้า
มามีส่วนร่วม การประชาสัมพันธ์เชิงรุกบอกเล่าปากต่อปากที่เข้า
ถึงชาวบ้านในชุมชน จะทำาให้เกิดพฤติกรรมการเข้าร่วมโครงการ
อย่างต่อเนื่องและได้ผล การสร้างความภูมิใจ ให้ได้ลงมือปฏิบัติ
จริงจะนำามาซึ่งความร่วมมือในการนำาไปประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง
ดังนั้น การรณรงค์สร้างจิตสำานึกในการอนุรักษ์คลองแสนแสบจึง
ควรใช้กิจกรรมเป็นหลัก โดยบูรณาการเข้ากับสื่อประชาสัมพันธ์
พื้นฐาน เช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ ป้ายรณรงค์ เป็นส่วนสนับสนุน
ร่วมกับการสร้างเครือข่ายในการรณรงค์แก้ปัญหาระดับนโยบาย
ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

Weitere ähnliche Inhalte

Mehr von นู๋หนึ่ง nooneung

องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศ
องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศองค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศ
องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศ
นู๋หนึ่ง nooneung
 
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่
นู๋หนึ่ง nooneung
 
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่
นู๋หนึ่ง nooneung
 

Mehr von นู๋หนึ่ง nooneung (20)

Pr 2559
Pr 2559Pr 2559
Pr 2559
 
Pf 2559
Pf 2559Pf 2559
Pf 2559
 
Md 2559
Md 2559Md 2559
Md 2559
 
Mca 2559
Mca 2559Mca 2559
Mca 2559
 
Fm 2559
Fm 2559Fm 2559
Fm 2559
 
Bc 2559
Bc 2559Bc 2559
Bc 2559
 
Ad 2559
Ad 2559Ad 2559
Ad 2559
 
สรุปผลการจัดการความรู้ ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ ประเด็นความรู้ : การผ...
สรุปผลการจัดการความรู้ ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์    ประเด็นความรู้ :  การผ...สรุปผลการจัดการความรู้ ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์    ประเด็นความรู้ :  การผ...
สรุปผลการจัดการความรู้ ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ ประเด็นความรู้ : การผ...
 
กรอบความรู้Km57 ด้านวิจัย
กรอบความรู้Km57 ด้านวิจัยกรอบความรู้Km57 ด้านวิจัย
กรอบความรู้Km57 ด้านวิจัย
 
กรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอน
กรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอนกรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอน
กรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอน
 
knowledge management 56
knowledge management 56knowledge management 56
knowledge management 56
 
Km56
Km56Km56
Km56
 
องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศ
องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศองค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศ
องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศ
 
ประกาศคณะนิเทศศาสตร์
ประกาศคณะนิเทศศาสตร์ประกาศคณะนิเทศศาสตร์
ประกาศคณะนิเทศศาสตร์
 
จรรยาบรรณนักวิจัย
จรรยาบรรณนักวิจัยจรรยาบรรณนักวิจัย
จรรยาบรรณนักวิจัย
 
หลักสูตรMca
หลักสูตรMcaหลักสูตรMca
หลักสูตรMca
 
ประกาศที่ 2 2556
ประกาศที่ 2 2556ประกาศที่ 2 2556
ประกาศที่ 2 2556
 
Pf
PfPf
Pf
 
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่
 
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่
 

บทคัดย่อกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ฯ

  • 1. ก บทคัดย่อ การวิจัย เรื่อง กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำานึก สาธารณะในการอนุรักษ์คลองแสนแสบ โครงการต้นแบบ “คืน คลองสวยใส ”ให้ชุมชนของเรา กรณีชุมชนเทพลีลา ดำาเนินการ ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างจิตสำานึกสาธารณะ จิตต์รักษ์คลอง แสนแสบ ของโครงการศึกษาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของ ชุมชนริมคลองแสนแสบ ระยะที่ 3 การวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเหมาะสมของกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ ประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์และปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข้อ เสนอแนะในการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำานึกสาธารณะในการ อนุรักษ์คลองแสนแสบ ของโครงการต้นแบบ “คืนคลองสวยใส ให้ ”ชุมชนของเรา กรณีชุมชนเทพลีลา อันนำาไปสู่การสร้างแบบ จำาลอง Thepleela Model ในการรณรงค์เพื่อนำาไปประยุกต์ใช้ กับชุมชนอื่นต่อไป งานวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการสำารวจจากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มในการวิจัย คือ กลุ่มโรงเรียนวัดเทพลีลา และชุมชนเทพลีลา ที่ได้เข้าร่วมโครงการต้นแบบ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มโรงเรียนวัดเทพลีลา กลยุทธ์การ ประชาสัมพันธ์แบบสาระบันเทิง (Edutainment) ภายใต้ Theme วิธีการง่าย ๆ ในการรักษาคลอง “ ”ไม่ทิ้งขยะลงคลองแสนแสบ มี ความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เนื่องจากมีรูปแบบกิจกรรมที่ หลากหลาย สนุกสนาน สอดแทรกความรู้ง่าย ๆ ในการอนุรักษ์ คลองแสนแสบที่นักเรียนทำาได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังได้รับ รางวัลจากเกมต่าง ๆ และได้มีส่วนร่วมในการทำานำ้าหมักชีวภาพ ทำาให้เกิดความภาคภูมิใจ โดยกิจกรรมที่ได้รับความสนใจมาก ที่สุด คือ กิจกรรม “ละครเร่ร่วมใจคืนความสวยใสให้คลองแสน ”แสบ รองลงมาคือ กิจกรรม “20 กันยา ”เริ่มรักษาคลองของเรา (ในวันอนุรักษ์คูคลองแห่งชาติ) ตามลำาดับ ส่วนสื่อประชาสัมพันธ์ ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ ตัวนำาโชค (Mascot) น้องคลอง ใส ด้านประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์ พบว่า กระตุ้นให้เกิด ความรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษาคลองแสนแสบ โดยการไม่ทิ้งขยะลง คลอง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างทัศนคติและการตระหนักถึงการมี ส่วนร่วมในการฟื้นฟูความสวยใสของคลองแสนแสบให้กลับมาอีก
  • 2. ก ครั้งโดยเริ่มต้นจากตนเอง และเกิดจิตสำานึกสาธารณะว่าการ อนุรักษ์คลองแสนแสบเป็นหน้าที่ของทุกคนที่สามารถทำาได้ อัน นำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการไม่ทิ้งขยะลงคลองแสน แสบ ส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะของกลุ่มโรงเรียนวัดเทพลีลา พบว่า กิจกรรมควรปรับให้มีความแปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง เน้นยำ้า ความรู้อย่างชัดเจน สอดแทรกประวัติของคลองแสนแสบและ อันตรายจากคลองเน่าเสีย ซึ่งควรมีสื่อพิเศษและสื่อสมัยใหม่เป็น ช่องทางในการประชาสัมพันธ์มากขึ้น ตลอดจนการสร้างเครือ ข่ายในการรณรงค์กับภาครัฐและเอกชน ด้านผลการวิจัยกับกลุ่มชุมชนเทพลีลา การใช้กลยุทธ์การ ประชาสัมพันธ์การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ (Persuasive Communication) ใน Theme “ขยะสร้างรายได้ : แยกให้เป็น ขายได้เงิน ”ไม่ทิ้งลงคลอง และ Theme “สุขภาพสร้างได้ : รัก ชีวิต ”รู้รักษ์คลองแสนแสบ ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์มีความ เหมาะสมมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากใช้จุดจูงใจโดยใช้ความกลัว การเร้าอารมณ์ในด้านสุขภาพอนามัย และการใช้จุดจูงใจโดยใช้ รางวัลในด้านการคัดแยกขยะ สร้างรายได้ ไม่ทิ้งลงคลอง ซึ่ง ชุมชนมองว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก อันตรายของนำ้าในคลองแสนแสบที่เน่าเสียอยู่แล้ว ส่วนกิจกรรม รณรงค์ที่ได้รับความสนใจและมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ กิจกรรม “ล อยกระทงร่วมสมัย ”ใส่ใจคลองแสนแสบ ซึ่งใช้วันสำาคัญและ ประเพณีเป็นสื่อกลางในการรณรงค์อนุรักษ์คลองแสนแสบ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ในด้านสื่อประชาสัมพันธ์ที่ได้ผล มากที่สุด คือ ผู้นำาชุมชน (สื่อบุคคล) ในการสื่อสารระหว่างบุคคล ปากต่อปาก (Word of Mouth) ให้เข้าร่วมกิจกรรม และสื่อพิเศษ ตัวนำาโชค (Mascot) น้องคลองใส สร้างการจดจำาในโครงการได้ เป็นอย่างดี ประสิทธิผลของการประชาสัมพันธ์ในชุมชนเทพลีลา ต่อ การนำาความรู้ความเข้าใจ จากประเด็นแนวคิด ขยะสร้าง รายได้ และ สุขภาพสร้างได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการดูแลรักษาคลอง แสนแสบ โดยการไม่ทิ้งขยะลงคลอง แล้วนำามาใช้ประโยชน์จาก ขยะ สามารถคัดแยกเพื่อสร้างรายได้เสริม อีกทั้งการรับรู้ถึงปัญหา สุขภาพที่มาจากพิษภัยของนำ้าเน่าเสีย และโรคร้ายที่มาจากขยะ ในคลองแสนแสบ อันนำาไปสู่การเกิดทัศนคติ จิตสำานึก ในการมี ส่วนร่วมต้องการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากครอบครัว
  • 3. ก ขยายสู่กลุ่มเพื่อนและชุมชน ซึ่งปัญหาต่างๆ ล้วนจะส่งผลโดยตรง กลับมายังครอบครัวและชุมชนของตนเอง จึงเกิดพฤติกรรมที่ กวดขันดูแลรักษาความสะอาดแหล่งนำ้าใกล้บ้าน การทิ้งขยะให้ เป็นที่ และคัดแยกเพื่อสร้างรายได้ เพื่อป้องกันโรคภัยจากนำ้าเน่า เสียของคลองแสนแสบ ด้านข้อเสนอแนะในการรณรงค์ พบว่า รูปแบบการจัด กิจกรรมจะต้องปรับให้เข้ากับช่วงวัยของกลุ่มชาวบ้านที่มีความ หลากหลาย มีข้อจำากัดด้านเวลาในการเข้าร่วม ตลอดจนปัญหา ด้านการศึกษา จึงควรใช้กิจกรรมที่สนุกสนาน เข้าใจง่าย มี ความเป็นกันเองและสร้างสัมพันธภาพส่วนตัวในการดึงดูดให้เข้า มามีส่วนร่วม การประชาสัมพันธ์เชิงรุกบอกเล่าปากต่อปากที่เข้า ถึงชาวบ้านในชุมชน จะทำาให้เกิดพฤติกรรมการเข้าร่วมโครงการ อย่างต่อเนื่องและได้ผล การสร้างความภูมิใจ ให้ได้ลงมือปฏิบัติ จริงจะนำามาซึ่งความร่วมมือในการนำาไปประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง ดังนั้น การรณรงค์สร้างจิตสำานึกในการอนุรักษ์คลองแสนแสบจึง ควรใช้กิจกรรมเป็นหลัก โดยบูรณาการเข้ากับสื่อประชาสัมพันธ์ พื้นฐาน เช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ ป้ายรณรงค์ เป็นส่วนสนับสนุน ร่วมกับการสร้างเครือข่ายในการรณรงค์แก้ปัญหาระดับนโยบาย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน