SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 104
Downloaden Sie, um offline zu lesen
บทที่ 4 การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
รายวิชาชีววิทยา 5 (ว30245)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ครูผู้สอน
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตาแหน่งครู คศ.1 เอกวิชาชีววิทยา
ประวัติการศึกษา :
พ.ศ. 2549 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกีรยตินิยมอันดับ 2) สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2551 ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ เอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. 2552 ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
พ.ศ. 2555 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เอกสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. 2558 ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินและการวิจัยทางการศึกษา
เอกวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
การเคลื่อนไหวของเซลล์ที่ตายแล้ว
imbibition
Hydronasty
thigmomorphogenesis
ฮอร์โมนพืชเป็นสารเคมีภายในพืชซึ่งเกี่ยวข้องกับการเจริญของพืชไม่เพียงแต่การเจริญของพืชทั้ง
ต้นเท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวข้องกับการเจริญของพืชแต่ละส่วนด้วย ในปัจจุบันทราบกันดีแล้วว่าฮอร์โมนพืชมี
ทั้งชนิดที่กระตุ้นการเจริญเติบโต และระงับการเจริญเติบโตฮอร์โมนพืชที่พบในปัจจุบันคือ
- ออกซิน (Auxin)
- จิบเบอเรลลิน (Gibberellins)
- ไซโตไคนิน(Cytokinins)
- กรดแอบซิสิค (Abscisic Acid) หรือ ABA
-เอทธิลีน (Ethylene) ซึ่งมีสภาพเป็นก๊าซ
ฮอร์โมนพืชสามารถเคลื่อนย้ายภายในต้นพืชได้และมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การ
เปลี่ยนแปลงทางคุณภาพและการพัฒนาของเนื้อเยื่อ และอวัยวะของพืชซึ่งได้รับฮอร์โมนนั้น ๆ ซึ่งมีผลต่อ
กระบวนการทางสรีรวิทยาที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง ดังนั้นในการศึกษาทางด้านฮอร์โมนจึงมักศึกษาในแง่ของ
แหล่งและกระบวนการสังเคราะห์ การเคลื่อนที่และเคลื่อนย้าย และปฏิกิริยาของฮอร์โมนที่มีต่อพืช
ในประเทศไทยการใช้ฮอร์โมนพืชมีวัตถุประสงค์ในทางการเกษตรเพื่อให้มีผลผลิต เพื่อเพิ่ม
ผลผลิตและคุณภาพ และเพื่อความสะดวกในการจัดการฟาร์ม
ฮอร์โมนพืช (Plant hormone)
ออกซิน (Auxin)
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับออกซินนั้นเกิดขึ้นจากงานของ Charles Darwin ซึ่งศึกษาเรื่อง Phototropism
ซึ่งพืชจะตอบสนองต่อการได้รับแสงเพียงด้านเดียวทาให้เกิดการโค้งเข้าหาแสง Darwin สรุปว่าเมื่อต้นกล้า
ได้รับแสงจะทาให้มี "อิทธิพล" (Influence) บางอย่างส่งผ่านจากส่วนยอดมายังส่วนล่างของโคลีออพ
ไทล์ ทาให้เกิดการโค้งงอเข้าหาแสง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาได้ศึกษาถึง "อิทธิพล" ดังกล่าว
ต่อมา Boysen-Jensen และ Paal ได้ศึกษาและแสดงให้เห็นว่า "อิทธิพล" ดังกล่าวนี้มีสภาพเป็น
สารเคมี ซึ่งในสภาพที่โคลีออพไทล์ได้รับแสงเท่ากันทั้งสองด้าน สารเคมีนี้จะเคลื่อนที่ลงสู่ส่วนล่างของโคลี
ออพไทล์ ในอัตราเท่ากันทุกด้านและทาหน้าที่เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต
ในปี ค.ศ. 1926 Went ได้ทางานทดลองและสามารถแยกสารชนิดนี้ออกจากโคลีออพไทล์ได้ โดยตัด
ส่วนยอดของโคลีออพไทล์ของข้าวโอ๊ตแล้ววางลงบนวุ้นจะทาให้สารเคมีที่กระตุ้นการเจริญเติบโตไหลลงสู่
วุ้น เมื่อนาวุ้นไปวางลงที่ด้านหนึ่งของโคลีออพไทล์ที่ไม่มียอดด้านใดด้านหนึ่งจะทาให้โคลีออพไทล์ดังกล่าวโค้ง
ได้ เขาสรุปว่าสารเคมีได้ซึมลงสู่วุ้นแล้วซึมจากวุ้นลงสู่ส่วนของโคลีออพไทล์ วิธีการดังกล่าวนอกจากเป็น
วิธีการแรกที่แยกสารเคมีชนิดนี้ได้แล้ว ยังเป็นวิธีการวัดปริมาณของฮอร์โมนได้ด้วย เป็นวิธีที่เรียกว่า Bioassay
สารเคมีดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า ออกซิน ซึ่งในปัจจุบันพบในพืชชั้นสูงทั่วๆ ไป และมีความสาคัญต่อ
การเจริญเติบโตของพืชสังเคราะห์ได้จากส่วนเนื้อเยื่อเจริญของลาต้น ปลายราก ใบอ่อน ดอกและผล และพบ
มากที่บริเวณเนื้อเยื่อเจริญ โคลีออพไทด์และคัพภะ รวมทั้งใบที่กาลังเจริญด้วย
การตอบสนองของพืชต่อออกซิน
1. การตอบสนองในระดับเซลล์ ออกซินทาให้เกิดการขยายตัวของเซลล์ เช่น ทาให้เกิดการขยายตัวของใบ ทาให้ผล
เจริญเติบโต เช่น กรณีของสตรอเบอรี่ ถ้าหากกาจัดแหล่งของออกซิน ซึ่งคือส่วนของเมล็ดที่อยู่ภายนอกของผล จะ
ทาให้เนื้อเยื่อของผลบริเวณที่ไม่มีเมล็ดรอบนอกไม่เจริญเติบโต ออกซินทาให้เกิดการแบ่งเซลล์ได้ในบาง
กรณี เช่น กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของแคมเบียมและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ เช่น กระตุ้นให้เกิด
ท่อน้าและท่ออาหาร กระตุ้นให้เกิดรากจากการปักชาพืช เช่น การใช้ IBA ในการเร่งรากของกิ่งชา แล้วยังกระตุ้นให้
เกิดแคลลัสในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่การตอบสนองในระดับเซลล์ที่เกิดเสมอคือ การขยายตัวของเซลล์
2. การตอบสนองของอวัยวะหรือพืชทั้งต้น
2.1 เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืชแบบ Phototropism Geotropism
2.2 การที่ตายอดข่มไม่ให้ตาข้างเจริญเติบโต
2.3 การติดผล เช่น กรณีของมะเขือเทศ ใช้ 4 CPA จะเร่งให้เกิดผลแบบ Pathenocarpic และในเงาะถ้าใช้ NAA
จะเร่งการเจริญของเกสรตัวผู้ทาให้สามารถผสมกับเกสรตัวเมียได้ ในดอกที่ได้รับ NAA เกสรตัวเมียจะไม่เจริญ
เพราะได้รับ NAA ที่มีความเข้มข้นสูงเกินไป แต่เกสรตัวผู้ยังเจริญได้ ทาให้การติดผลเกิดมากขึ้น
2.4 ป้องกันการร่วงของผลโดยออกซินจะยับยั้งไม่ให้เกิด Abcission layer ขึ้นมา เช่น การใช้ 2,4-D ป้องกันผลส้ม
ไม่ให้ร่วง หรือ NAA สามารถป้องกันการร่วงของผลมะม่วง
2.5 ป้องกันการร่วงของใบ
2.6 ในบางกรณีออกซินสามารถทาให้สัดส่วนของดอกตัวเมียและตัวผู้เปลี่ยนไปโดยออกซินจะกระตุ้นให้มีดอกตัวเมีย
มากขึ้น
Auxin ???
Auxin effect
Auxin ???
Auxin effect
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture)
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การนาเอาส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเนื้อเยื่อเซลล์ หรือเซลล์ไม่มี
ผนัง มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลิทรีย์ และ
อยู่ในสภาพควบคุมอุณหภูมิ แสงและความชื้นเพื่อให้เซลล์
พืชที่นามาเพาะเลี้ยงนั้น ปราศจากเชื้อที่มารบกวนและ
ทาลายการเจริญเติบโตของพืช
การเลือกใช้สูตรอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตที่
เหมาะสม เช่น ฮอร์โมนพืช ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์
ของการเพาะเลี้ยงว่าต้องการให้ชิ้นส่วนนั้นเจริญไปเป็น
ส่วนใด เช่น ถ้าต้องการให้เจริญไป เป็นส่วนลาต้นก็สามาร
ทา การชักนา โดยใช้ฮอร์โมนพืชกลุ่ม Cytokinin
หากต้องการให้เกิดราก อาจใช้ฮอร์โมนกลุ่ม Auxin
หรืออาจจะใช้ฮอร์โมนหลายๆ ชนิดรวมกัน
จิบเบอเรลลิน (Gibberellins)
การค้นพบกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่ปัจจุบันเรียกว่าจิบเบอเรลลินนั้น เกิดประมาณ ปี 1920 เมื่อ
Kurosawa นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ศึกษาในต้นข้าวที่เป็นโรค Bakanae หรือโรคข้าวตัวผู้ ซึ่งเกิด
จากเชื้อรา Gibberella fujikuroi หรือ Fusarium moniliforme ซึ่งทาให้ต้นข้าวมีลักษณะสูง
กว่าต้นข้าวปกติ ทาให้ล้มง่าย จากการศึกษาพบว่า ถ้าเลี้ยงเชื้อราในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวแล้วกรอง
เอาเชื้อราออกไปเหลือแต่อาหารเลี้ยงเชื้อ เมื่อนาไปราดต้นข้าวจะทาให้ต้นข้าวเป็นโรคได้ จึงเป็นที่แน่
ชัดว่า เชื้อราชนิดนี้สามารถสร้างสารบางชนิดขึ้นในต้นพืชหรือในอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งกระตุ้นให้ต้นข้าว
เกิดการสูงผิดปกติได้ในปี 1939 ได้มีผู้ตั้งชื่อสารนี้ว่าจิบเบอเรลลิน การค้นพบจิบเบอเรลลิน เกิดขึ้น
ในช่วงเดียวกับที่พบออกซิน การศึกษาส่วนใหญ่จึงเน้นไปทางออกซิน ส่วนการศึกษาจิบเบอเรลลิน
ในช่วงแรกจะเป็นไปในแง่ของโรคพืช ในการศึกษาขั้นแรกค่อนข้างยากเพราะมักจะมีกรดฟิวซาริค
(Fusaric Acid) ปะปนอยู่ซึ่งเป็นสารระงับการเจริญเติบโต ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและ
ส่วนประกอบทางเคมีของจิบเบอเรลลินนั้นได้รับการศึกษาในปี 1954 โดยนักเคมีชาวอังกฤษซึ่ง
สามารถแยกสารบริสุทธิ์จากอาหารเลี้ยงเชื้อรา Gibberella fujikuroi และเรียกสารนี้ว่ากรดจิบเบอ
เรลลิค (Gibberellic Acid) GA เป็นฮอร์โมนที่พบในพืชชั้นสูงทุกชนิด นอกจากนั้นยังพบในเฟิร์น
สาหร่าย และเชื้อราบางชนิด แต่ไม่พบในแบคทีเรีย
บทบาทของจิบเบอเรลลินที่มีต่อพืช
1. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชทั้งต้น จิบเบอเรลลินมีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งสามารถกระตุ้น
การเจริญเติบโตของพืชทั้งต้นได้โดยทาให้เกิดการยืดตัวของเซลล์ ซึ่งผลนี้จะต่างจากออกซินซึ่ง
สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของชิ้นส่วนของพืชได้ พืชบางชนิดอาจจะไม่ตอบสนองต่อจิบเบอ
เรลลิน อาจจะเป็นเพราะว่าในพืชชนิดนั้นมีปริมาณจิบเบอเรลลินเพียงพอแล้ว จิบเบอเรลลินสามารถ
กระตุ้นการยืดยาวของช่อดอกไม้บางชนิดและทาให้ผลไม้มีรูปร่างยาวออกมา เช่น องุ่น และแอปเปิล
2. กระตุ้นการงอกของเมล็ดที่พักตัวและตาที่พักตัว ตาของพืชหลายชนิดที่เจริญอยู่ในเขต
อบอุ่นจะพักตัวในฤดูหนาว เมล็ดของพืชหลายชนิดมีพฤติกรรมเช่นนี้ด้วย ซึ่งการพักตัวจะลดลงจน
หมดไป เมื่อได้รับความเย็นเพียงพอ การพักตัวของเมล็ดและตา อันเนื่องมาจากต้องการอุณหภูมิ
ต่า วันยาว และต้องการแสงสีแดงจะหมดไปเมื่อได้รับจิบเบอเรลลิน
บทบาทของจิบเบอเรลลินที่มีต่อพืช
3. การแทงช่อดอก การออกดอกของพืชเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ และ
สภาพแวดล้อม จิบเบอเรลลินสามารถแทนความต้องการวันยาวในพืชบางชนิดได้ และยังสามารถ
ทดแทนความต้องการอุณหภูมิต่า (Vernalization) ในพืชพวกกะหล่าปลี และแครอท
4.จิบเบอเรลลิน สามารถกระตุ้นการเคลื่อนที่ของอาหารในเซลล์สะสมอาหาร หลังจากที่เมล็ด
งอกแล้ว เพราะรากและยอดที่ยังอ่อนตัวเริ่มใช้อาหาร เช่น ไขมัน แป้ง และโปรตีน จากเซลล์สะสม
อาหาร จิบเบอเรลลินจะกระตุ้นให้มีการย่อยสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็ก เช่น ซูโครสและ
กรดอะมิโน ซึ่งเกี่ยวพันกับการสังเคราะห์เอนไซม์หลายชนิดดังกล่าวข้างต้น
5. กระตุ้นให้เกิดผลแบบ Parthenocarpic ในพืชบางชนิด เปลี่ยนรูปร่างของใบพืชบางชนิด
เช่น English Ivy และทาให้พืชพัฒนาการเพื่อทนความเย็นได้
6. พืชที่มีดอกตัวผู้และตัวเมียแยกกันไม่ว่าจะต้นเดียวกัน หรือแยกต้นก็ตาม จิบเบอเรลลิน
สามารถเปลี่ยนเพศของดอกได้ จิบเบอเรลลินมักเร่งให้เกิดดอกตัวผู้ ส่วนออกซิน เอทธิลีน และไซโต
ไคนิน มักจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมีย ในแตงกวาดอกล่าง ๆ มักเป็นดอกตัวผู้ และดอกบนเป็นดอกตัวเมีย
การให้สารอีธีฟอนจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมียขึ้น
ไซโตไคนิน (Cytokinins)
การค้นพบฮอร์โมนในกลุ่มนี้เริ่มจากการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยในปี ค.ศ.
1920 Haberlandt ได้แสดงให้เห็นว่ามีสารชนิดหนึ่งเกิดอยู่ในเนื้อเยื่อพืชและกระตุ้นให้เนื้อเยื่อ
พาเรนไคมาในหัวมันฝรั่งกลับกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้ ซึ่งแสดงว่าสารชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้มี
การแบ่งเซลล์ ต่อมามีการพบว่าน้ามะพร้าวและเนื้อเยื่อของหัวแครอทมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการ
แบ่งเซลล์เช่นกัน
นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เช่น Skoog และ Steward ทาการทดลองในสหรัฐอเมริกา โดย
ศึกษาความต้องการสิ่งที่ใช้ในการเจริญเติบโตของกลุ่มก้อนของเซลล์ (Callus) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แบ่งตัว
อย่างรวดเร็ว แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพเกิดขึ้นของ pith จากยาสูบและรากของแค
รอท จากผลการทดลองนี้ทาให้รู้จักไซโตไคนินในระยะปี ค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชที่จาเป็น
ต่อการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของเนื้อเยื่อ ในปัจจุบันพบว่าไซโตไคนิน ยัง
เกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพ (Senescence) และการควบคุมการเจริญของตาข้างโดยตายอด
(Apical Dominance)
แม้ว่าไคเนติน BA และ PBA เป็นสารที่ไม่พบในต้นพืชแต่สารที่เกิดตามธรรมชาติและสาร
สังเคราะห์หลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนไคเนตินนั้น เรียกโดยทั่วๆ ไปว่า ไซโตไคนิน ซึ่งเป็นสารที่
เมื่อมีผลร่วมกับออกซินแล้วจะเร่งให้เกิดการแบ่งเซลล์ในพืช
ผลของไซโตไคนิน
1. กระตุ้นให้เกิดการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพใน tissue culture โดยต้องใช้
ร่วมกับ Auxin ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนั้นหากให้ฮอร์โมน ไซโตไคนินมากกว่าออกซิน จะทาให้เนื้อเยื่อ
นั้นเจริญเป็น ตา ใบ และลาต้น แต่ถ้าหากสัดส่วนของออกซินมากขึ้นกว่าไซโตไคนินจะทาให้เนื้อเยื่อนั้น
สร้างรากขึ้นมา การ differentiate ของตาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจาก Callus จากส่วนของลาต้นนั้น
auxin จะระงับ และไซโตไคนินนั้นจะกระตุ้นการเกิด และต้องมีความสมดุลระหว่างไซโตไคนินและออก
ซินชิ้นเนื้อเยื่อจึงจะสร้างตาได้
2. ชะลอกระบวนการเสื่อมสลาย เช่น กรณีของใบที่เจริญเต็มที่แล้วถูกตัดออกจากต้น คลอโรฟิลล์
RNA และโปรตีนจะเริ่มสลายตัวเร็วกว่าใบที่ติดอยู่กับต้น แม้จะมีการให้อาหารกับใบเหล่านี้ก็ตาม ถ้า
หากเก็บใบเหล่านี้ไว้ในที่มืดการเสื่อมสลายยิ่งเกิดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามหากใบเหล่านี้เกิดรากขึ้นที่โคนใบ
หรือก้านใบ จะทาให้การเสื่อมสลายเกิดช้าลง เพราะไซโตไคนินผ่านขึ้นมาจากรากทางท่อน้า อย่างไรก็
ตามการให้ไซโตไคนินกับใบพืชเหล่านี้จะชะลอการเสื่อมสลายได้เหมือนกับรากเช่นกัน นอกจากนั้นไซโต
ไคนินยังทาให้มีการเคลื่อนย้ายอาหารจากส่วนอื่นมายังส่วนที่ได้รับไซโตไคนินได้ เช่น กรณีของใบอ่อนซึ่ง
มีไซโตไคนินมากกว่าใบแก่จะสามารถดึงอาหารจากใบแก่ได้
ผลของไซโตไคนิน
3. ทาให้ตาข้างแตกออกมาหรือกาจัดลักษณะ Apical Dominanceได้ การเพิ่มไซโตไคนิน
ให้กับตาข้างจะทาให้แตกออกมาเป็นใบได้ ทั้งนี้เพราะตาข้างจะดึงอาหารมาจากส่วนอื่นทาให้ตาข้าง
เจริญได้ เชื้อจุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างไซโตไคนินกระตุ้นให้พืชเกิดการแตกตาจานวนมากมี
ลักษณะผิดปกติ เช่น โรค Fascination นอกจากนั้นยังเร่งการแตกหน่อของพืช เช่น บอน และ
โกสน
4. ทาให้ใบเลี้ยงคลี่ขยายตัว กรณีเมล็ดของพืชใบเลี้ยงคู่งอกในความมืด ใบเลี้ยงจะเหลือง
และเล็ก เมื่อได้รับแสงจึงจะขยายตัวขึ้นมา ซึ่งเป็นการควบคุมของไฟโตโครม แต่ถ้าหากให้ไซโต
โคนินโดยการตัดใบเลี้ยงมาแช่ในไซโตไคนิน ใบเลี้ยงจะคลี่ขยายได้เช่นกัน ลักษณะดังกล่าวพบ
กับ แรดิช ผักสลัด และแตงกวา ออกซินและจิบเบอเรลลินจะไม่ให้ผลดังกล่าว
5. ทาให้เกิดการสร้างคลอโรพลาสต์มากขึ้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพอย่างหนึ่ง
เช่น เมื่อ Callus ได้รับแสงและไซโตไคนิน Callus จะกลายเป็นสีเขียว เพราะพลาสติคเปลี่ยนเป็น
คลอโรพลาสต์ได้ โดยการเกิดกรานาจะถูกกระตุ้นโดยไซโตไคนิน
6. ทาให้พืชทั้งต้นเจริญเติบโต
7. กระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด
กรดแอบซิสิค (Abscisic Acid) หรือ ABA
ในการศึกษาถึงการร่วงของใบ การพักตัวของตาและเมล็ดในช่วงปี ค.ศ. 1950-1960 นั้น ชี้ให้เห็นว่า
เป็นไปได้ว่ามีสารระงับการเจริญปรากฏอยู่ในต้นพืช โครงสร้างของสารเคมี ดังกล่าวถูกค้นพบในปี
1965 ในผล และใบของฝ้าย สารเคมีดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า กรดแอบซิสิค หรือ ABA และพบว่าเป็น
สารจาพวกเซสควิเทอร์พีนอยด์
ABA ถูกแยกออกจากพืชหลายชนิดทั้งแองจิโอสเปิร์มส์ จิมโนสเปิร์มส์ เฟินและมอส
(Angiosperms, Gymnosperms, Ferns และ Mosses)
การให้ ABA แก่ใบแก่หรือรากจะก่อให้เกิดการหยุดการเจริญเติบโตกับส่วนอื่น ๆ ของพืชได้ จึงแสดง
ให้เห็นว่า ABA เคลื่อนที่ได้ และจากการศึกษาพบว่าเคลื่อนที่ได้ในทุกทิศทางแต่ในราก ABA อาจจะ
เคลื่อนที่ในลักษณะเบสิพีตัล และโดยทั่ว ๆ ไป ABA อาจจะเคลื่อนที่ไปในท่อน้าและท่ออาหาร พบ ABA
มากที่ใบแก่ ผลแก่ และพืชที่ขาดน้า
ผลของ ABA ต่อพืช
1. ลดการคายน้าโดยกระตุ้นให้ปากใบปิด ซึ่งพืชตอบสนองได้ภายใน 1-15
นาที หลังจากได้รับ ABA ในพืชที่ขาดน้าจะมีปริมาณ ABA เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการลดการคาย
น้าของพืช
2. กระตุ้นให้เกิดการพักตัวของตา ซึ่งจะเกิดกับพืชเขตอบอุ่น พบว่าเมื่อให้ ABA
กับตาที่กาลังเจริญเติบโต จะทาให้ตาชะงักการเจริญเติบโตและเข้าสู่การพักตัวตามปกติ การให้ GA จะ
ลดผลของ ABA ที่ทาให้ตาพักตัวได้
3. การร่วงของใบและดอก เช่น ในฝ้าย ผลแก่ที่ร่วงเองจะมี ABA สูงมาก
4. เร่งกระบวนการเสื่อมสภาพของใบ
เอทธิลีน (Ethylene)
เป็นฮอร์โมนพืชซึ่งควบคุมการเจริญเติบโตในหลายแง่ เช่น การพัฒนา การเสื่อม
สลาย ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ ซึ่งเกิดเอทธิลีนขึ้นมา ผลของเอทธิลีนมีทั้งในแง่ที่เป็นประโยชน์หรือ
เป็นโทษต่อพืช เอทธิลีนเป็นฮอร์โมนที่มีสภาพเป็นก๊าซซึ่งรู้จักกันมานานแล้ว จากการบ่มผลไม้ ในปี
1934 ได้มีการพิสูจน์ให้เห็นว่าเอทธิลีนเป็นก๊าซที่สังเคราะห์ขึ้นโดยพืช และสามารถเร่งกระบวนการสุก
ได้ ต่อมาพบว่าการก่อกองไฟใกล้ ๆ สวนมะม่วงและสับปะรดจะกระตุ้นให้ออกดอกได้ ซึ่งสารที่ทาให้เกิด
การออกดอก คือ เอทธิลีนนั่นเอง เอทธิลีนเป็นฮอร์โมนพืชที่สาคัญในด้านหลังเก็บเกี่ยวด้วย
ต่อมาพบว่า ดอก เมล็ด ใบ และรากพืชสามารถสังเคราะห์เอทธิลีนได้ เช่น ใน เซ
เลอรี่ พันธุ์ซึ่งต้นขาวเอง (Self blanching) พบว่า เซเลอรี่สามารถสร้างเอทธิลีนมากาจัดสีเขียวที่ก้าน
ได้ นอกจากนั้นในปี 1935 ยังพบว่า การให้ออกซินกับพืชอาจจะกระตุ้นให้พืชสร้างเอทธิลีนได้ ซึ่งเป็น
คาอธิบายได้ชัดเจนสาหรับกรณีที่เมื่อให้ออกซินกับพืชแล้วพืช ตอบสนองเหมือนกับได้รับเอทธิลีน ออก
ซินกับเอทธิลีนนั้นเมื่อให้กับพืชมักจะให้ผลส่งเสริมกัน ส่วนของพืชที่พบเอทธิลีนมากคือ ใบแก่ ผลไม้
สุก และเนื้อเยื่อที่อยู่ภายใต้สภาพความเครียด (Stress)
ผลของเอทธิลีนต่อพืช
1. กระตุ้นให้ผลไม้สุก ดังนั้นอาจจะเรียกเอทธิลีนว่า Ripening hormone และใช้ในการบ่ม
ผลไม้ในทางการค้า
2. กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ เช่น กระตุ้นให้เกิด Abcission zone ขึ้น ทาให้ใบ
และกลีบดอกร่วงได้ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของราก และลาต้น รวมทั้งกระตุ้น
การออกดอกของพืช เช่น สับปะรด กระตุ้นให้เกิด Adventitious root
3. กระตุ้นให้พืชออกจากการพักตัว เช่น กรณีของมันฝรั่ง
4. กระตุ้นให้เกิดดอกตัวเมียมากขึ้นในพืช Dioecious
IAA ,IBA ,2,4-D ,NAA
GA
BA
ABA
“THE END”
THANK YOU FOR YOUR ATTENTION!

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชWichai Likitponrak
 
บท5เจริญสัตว์
บท5เจริญสัตว์บท5เจริญสัตว์
บท5เจริญสัตว์Wichai Likitponrak
 
บท4สืบพันธุ์สัตว์
บท4สืบพันธุ์สัตว์บท4สืบพันธุ์สัตว์
บท4สืบพันธุ์สัตว์Wichai Likitponrak
 
Lesson1 celldivision wichaitu62
Lesson1 celldivision wichaitu62Lesson1 celldivision wichaitu62
Lesson1 celldivision wichaitu62Wichai Likitponrak
 
บท2ระบบต่อมไร้ท่อ
บท2ระบบต่อมไร้ท่อบท2ระบบต่อมไร้ท่อ
บท2ระบบต่อมไร้ท่อWichai Likitponrak
 
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพ
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพ
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพWichai Likitponrak
 
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิตบท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิตWichai Likitponrak
 
บท5พฤติกรรมสัตว์
บท5พฤติกรรมสัตว์บท5พฤติกรรมสัตว์
บท5พฤติกรรมสัตว์Wichai Likitponrak
 
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62Wichai Likitponrak
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการWichai Likitponrak
 
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงบทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงWichai Likitponrak
 

Was ist angesagt? (20)

บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืช
 
1 ecosystem 2
1 ecosystem 21 ecosystem 2
1 ecosystem 2
 
บท5เจริญสัตว์
บท5เจริญสัตว์บท5เจริญสัตว์
บท5เจริญสัตว์
 
บท4สืบพันธุ์สัตว์
บท4สืบพันธุ์สัตว์บท4สืบพันธุ์สัตว์
บท4สืบพันธุ์สัตว์
 
Lesson1 celldivision wichaitu62
Lesson1 celldivision wichaitu62Lesson1 celldivision wichaitu62
Lesson1 celldivision wichaitu62
 
บท2ระบบต่อมไร้ท่อ
บท2ระบบต่อมไร้ท่อบท2ระบบต่อมไร้ท่อ
บท2ระบบต่อมไร้ท่อ
 
Lesson2 plantrepro wichaitu62
Lesson2 plantrepro wichaitu62Lesson2 plantrepro wichaitu62
Lesson2 plantrepro wichaitu62
 
Lesson2plantreproduction2561
Lesson2plantreproduction2561Lesson2plantreproduction2561
Lesson2plantreproduction2561
 
บท3เซลล์
บท3เซลล์บท3เซลล์
บท3เซลล์
 
Lesson1 celldivision2561
Lesson1 celldivision2561Lesson1 celldivision2561
Lesson1 celldivision2561
 
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพ
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพ
ติวสอบเตรียมความหลากหลายชีวภาพ
 
Lesson2 plantrepro
Lesson2 plantreproLesson2 plantrepro
Lesson2 plantrepro
 
Cellularres tu
Cellularres tuCellularres tu
Cellularres tu
 
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิตบท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต
บท1ธรรมชาติสิ่งมีชีวิต
 
บท5พฤติกรรมสัตว์
บท5พฤติกรรมสัตว์บท5พฤติกรรมสัตว์
บท5พฤติกรรมสัตว์
 
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62
Lessonplanunit5animalgrowth kr uwichai62
 
3 photosyn 1
3 photosyn 13 photosyn 1
3 photosyn 1
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
 
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงบทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
บทที่2กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
 
4 plantrespo plan
4 plantrespo plan4 plantrespo plan
4 plantrespo plan
 

Ähnlich wie Pp tbio5lessonplanthormone

การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1Wichai Likitponrak
 
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2Wichai Likitponrak
 
การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6Wichai Likitponrak
 
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1Wichai Likitponrak
 
Herbarium Presentation - G8 334 TU82
Herbarium Presentation - G8 334 TU82Herbarium Presentation - G8 334 TU82
Herbarium Presentation - G8 334 TU82Chav
 
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซินการศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซินRusPateepawanit
 
การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1Wichai Likitponrak
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์0636830815
 
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชบทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชWichai Likitponrak
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์paifahnutya
 
16.ฮอร์โมนพืช
16.ฮอร์โมนพืช16.ฮอร์โมนพืช
16.ฮอร์โมนพืชWichai Likitponrak
 
38 155 brochure
38 155 brochure38 155 brochure
38 155 brochurePat Msk
 
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน ISการศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน ISRusPateepawanit
 

Ähnlich wie Pp tbio5lessonplanthormone (20)

การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4ศิลป์เทอม1
 
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
การแนะนำบทเรียนม.4เทอม2
 
การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6การแนะนำบทเรียน ม6
การแนะนำบทเรียน ม6
 
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
การแนะนำบทเรียน ม4วิทย์เทอม1
 
Herbarium Presentation - G8 334 TU82
Herbarium Presentation - G8 334 TU82Herbarium Presentation - G8 334 TU82
Herbarium Presentation - G8 334 TU82
 
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซินการศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน
 
การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1การแนะนำบทเรียน ม5-1
การแนะนำบทเรียน ม5-1
 
Lesson5animalgrowth
Lesson5animalgrowthLesson5animalgrowth
Lesson5animalgrowth
 
M6 144 60_9
M6 144 60_9M6 144 60_9
M6 144 60_9
 
M6 126 60_3
M6 126 60_3M6 126 60_3
M6 126 60_3
 
Flora improvement
Flora improvementFlora improvement
Flora improvement
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืชบทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
บทที่4ตอบสนองและฮอร์โมนพืช
 
M6 143 60_8
M6 143 60_8M6 143 60_8
M6 143 60_8
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 
16.ฮอร์โมนพืช
16.ฮอร์โมนพืช16.ฮอร์โมนพืช
16.ฮอร์โมนพืช
 
38 155 brochure
38 155 brochure38 155 brochure
38 155 brochure
 
Herbarium Group2 Room825
Herbarium Group2 Room825Herbarium Group2 Room825
Herbarium Group2 Room825
 
Lessonplan 5animalgrowth
Lessonplan 5animalgrowthLessonplan 5animalgrowth
Lessonplan 5animalgrowth
 
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน ISการศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
 

Mehr von Wichai Likitponrak

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfWichai Likitponrak
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64Wichai Likitponrak
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564Wichai Likitponrak
 

Mehr von Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

Pp tbio5lessonplanthormone

  • 1. บทที่ 4 การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช รายวิชาชีววิทยา 5 (ว30245) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครู คศ.1 สาขาวิชาชีววิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • 2. ครูผู้สอน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตาแหน่งครู คศ.1 เอกวิชาชีววิทยา ประวัติการศึกษา : พ.ศ. 2549 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกีรยตินิยมอันดับ 2) สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2551 ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ เอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2552 ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต พ.ศ. 2555 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เอกสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2558 ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินและการวิจัยทางการศึกษา เอกวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
  • 3.
  • 4.
  • 5.
  • 6.
  • 7.
  • 8.
  • 9.
  • 10.
  • 11.
  • 12.
  • 14.
  • 15.
  • 16.
  • 17.
  • 18.
  • 19.
  • 20.
  • 21.
  • 22.
  • 23.
  • 24.
  • 25.
  • 26.
  • 27.
  • 28.
  • 29.
  • 30.
  • 31.
  • 32.
  • 33.
  • 34.
  • 37.
  • 38.
  • 39.
  • 40.
  • 41.
  • 42.
  • 43.
  • 44.
  • 45.
  • 46.
  • 47.
  • 48.
  • 49.
  • 50.
  • 51.
  • 52.
  • 53.
  • 54.
  • 55. ฮอร์โมนพืชเป็นสารเคมีภายในพืชซึ่งเกี่ยวข้องกับการเจริญของพืชไม่เพียงแต่การเจริญของพืชทั้ง ต้นเท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวข้องกับการเจริญของพืชแต่ละส่วนด้วย ในปัจจุบันทราบกันดีแล้วว่าฮอร์โมนพืชมี ทั้งชนิดที่กระตุ้นการเจริญเติบโต และระงับการเจริญเติบโตฮอร์โมนพืชที่พบในปัจจุบันคือ - ออกซิน (Auxin) - จิบเบอเรลลิน (Gibberellins) - ไซโตไคนิน(Cytokinins) - กรดแอบซิสิค (Abscisic Acid) หรือ ABA -เอทธิลีน (Ethylene) ซึ่งมีสภาพเป็นก๊าซ ฮอร์โมนพืชสามารถเคลื่อนย้ายภายในต้นพืชได้และมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การ เปลี่ยนแปลงทางคุณภาพและการพัฒนาของเนื้อเยื่อ และอวัยวะของพืชซึ่งได้รับฮอร์โมนนั้น ๆ ซึ่งมีผลต่อ กระบวนการทางสรีรวิทยาที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง ดังนั้นในการศึกษาทางด้านฮอร์โมนจึงมักศึกษาในแง่ของ แหล่งและกระบวนการสังเคราะห์ การเคลื่อนที่และเคลื่อนย้าย และปฏิกิริยาของฮอร์โมนที่มีต่อพืช ในประเทศไทยการใช้ฮอร์โมนพืชมีวัตถุประสงค์ในทางการเกษตรเพื่อให้มีผลผลิต เพื่อเพิ่ม ผลผลิตและคุณภาพ และเพื่อความสะดวกในการจัดการฟาร์ม ฮอร์โมนพืช (Plant hormone)
  • 56. ออกซิน (Auxin) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับออกซินนั้นเกิดขึ้นจากงานของ Charles Darwin ซึ่งศึกษาเรื่อง Phototropism ซึ่งพืชจะตอบสนองต่อการได้รับแสงเพียงด้านเดียวทาให้เกิดการโค้งเข้าหาแสง Darwin สรุปว่าเมื่อต้นกล้า ได้รับแสงจะทาให้มี "อิทธิพล" (Influence) บางอย่างส่งผ่านจากส่วนยอดมายังส่วนล่างของโคลีออพ ไทล์ ทาให้เกิดการโค้งงอเข้าหาแสง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาได้ศึกษาถึง "อิทธิพล" ดังกล่าว ต่อมา Boysen-Jensen และ Paal ได้ศึกษาและแสดงให้เห็นว่า "อิทธิพล" ดังกล่าวนี้มีสภาพเป็น สารเคมี ซึ่งในสภาพที่โคลีออพไทล์ได้รับแสงเท่ากันทั้งสองด้าน สารเคมีนี้จะเคลื่อนที่ลงสู่ส่วนล่างของโคลี ออพไทล์ ในอัตราเท่ากันทุกด้านและทาหน้าที่เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต ในปี ค.ศ. 1926 Went ได้ทางานทดลองและสามารถแยกสารชนิดนี้ออกจากโคลีออพไทล์ได้ โดยตัด ส่วนยอดของโคลีออพไทล์ของข้าวโอ๊ตแล้ววางลงบนวุ้นจะทาให้สารเคมีที่กระตุ้นการเจริญเติบโตไหลลงสู่ วุ้น เมื่อนาวุ้นไปวางลงที่ด้านหนึ่งของโคลีออพไทล์ที่ไม่มียอดด้านใดด้านหนึ่งจะทาให้โคลีออพไทล์ดังกล่าวโค้ง ได้ เขาสรุปว่าสารเคมีได้ซึมลงสู่วุ้นแล้วซึมจากวุ้นลงสู่ส่วนของโคลีออพไทล์ วิธีการดังกล่าวนอกจากเป็น วิธีการแรกที่แยกสารเคมีชนิดนี้ได้แล้ว ยังเป็นวิธีการวัดปริมาณของฮอร์โมนได้ด้วย เป็นวิธีที่เรียกว่า Bioassay สารเคมีดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า ออกซิน ซึ่งในปัจจุบันพบในพืชชั้นสูงทั่วๆ ไป และมีความสาคัญต่อ การเจริญเติบโตของพืชสังเคราะห์ได้จากส่วนเนื้อเยื่อเจริญของลาต้น ปลายราก ใบอ่อน ดอกและผล และพบ มากที่บริเวณเนื้อเยื่อเจริญ โคลีออพไทด์และคัพภะ รวมทั้งใบที่กาลังเจริญด้วย
  • 57. การตอบสนองของพืชต่อออกซิน 1. การตอบสนองในระดับเซลล์ ออกซินทาให้เกิดการขยายตัวของเซลล์ เช่น ทาให้เกิดการขยายตัวของใบ ทาให้ผล เจริญเติบโต เช่น กรณีของสตรอเบอรี่ ถ้าหากกาจัดแหล่งของออกซิน ซึ่งคือส่วนของเมล็ดที่อยู่ภายนอกของผล จะ ทาให้เนื้อเยื่อของผลบริเวณที่ไม่มีเมล็ดรอบนอกไม่เจริญเติบโต ออกซินทาให้เกิดการแบ่งเซลล์ได้ในบาง กรณี เช่น กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของแคมเบียมและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ เช่น กระตุ้นให้เกิด ท่อน้าและท่ออาหาร กระตุ้นให้เกิดรากจากการปักชาพืช เช่น การใช้ IBA ในการเร่งรากของกิ่งชา แล้วยังกระตุ้นให้ เกิดแคลลัสในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่การตอบสนองในระดับเซลล์ที่เกิดเสมอคือ การขยายตัวของเซลล์ 2. การตอบสนองของอวัยวะหรือพืชทั้งต้น 2.1 เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืชแบบ Phototropism Geotropism 2.2 การที่ตายอดข่มไม่ให้ตาข้างเจริญเติบโต 2.3 การติดผล เช่น กรณีของมะเขือเทศ ใช้ 4 CPA จะเร่งให้เกิดผลแบบ Pathenocarpic และในเงาะถ้าใช้ NAA จะเร่งการเจริญของเกสรตัวผู้ทาให้สามารถผสมกับเกสรตัวเมียได้ ในดอกที่ได้รับ NAA เกสรตัวเมียจะไม่เจริญ เพราะได้รับ NAA ที่มีความเข้มข้นสูงเกินไป แต่เกสรตัวผู้ยังเจริญได้ ทาให้การติดผลเกิดมากขึ้น 2.4 ป้องกันการร่วงของผลโดยออกซินจะยับยั้งไม่ให้เกิด Abcission layer ขึ้นมา เช่น การใช้ 2,4-D ป้องกันผลส้ม ไม่ให้ร่วง หรือ NAA สามารถป้องกันการร่วงของผลมะม่วง 2.5 ป้องกันการร่วงของใบ 2.6 ในบางกรณีออกซินสามารถทาให้สัดส่วนของดอกตัวเมียและตัวผู้เปลี่ยนไปโดยออกซินจะกระตุ้นให้มีดอกตัวเมีย มากขึ้น
  • 59.
  • 60.
  • 64. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การนาเอาส่วนใดส่วนหนึ่ง ของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเนื้อเยื่อเซลล์ หรือเซลล์ไม่มี ผนัง มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลิทรีย์ และ อยู่ในสภาพควบคุมอุณหภูมิ แสงและความชื้นเพื่อให้เซลล์ พืชที่นามาเพาะเลี้ยงนั้น ปราศจากเชื้อที่มารบกวนและ ทาลายการเจริญเติบโตของพืช การเลือกใช้สูตรอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตที่ เหมาะสม เช่น ฮอร์โมนพืช ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ ของการเพาะเลี้ยงว่าต้องการให้ชิ้นส่วนนั้นเจริญไปเป็น ส่วนใด เช่น ถ้าต้องการให้เจริญไป เป็นส่วนลาต้นก็สามาร ทา การชักนา โดยใช้ฮอร์โมนพืชกลุ่ม Cytokinin หากต้องการให้เกิดราก อาจใช้ฮอร์โมนกลุ่ม Auxin หรืออาจจะใช้ฮอร์โมนหลายๆ ชนิดรวมกัน
  • 65.
  • 66.
  • 67.
  • 68.
  • 69.
  • 70.
  • 71. จิบเบอเรลลิน (Gibberellins) การค้นพบกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่ปัจจุบันเรียกว่าจิบเบอเรลลินนั้น เกิดประมาณ ปี 1920 เมื่อ Kurosawa นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ศึกษาในต้นข้าวที่เป็นโรค Bakanae หรือโรคข้าวตัวผู้ ซึ่งเกิด จากเชื้อรา Gibberella fujikuroi หรือ Fusarium moniliforme ซึ่งทาให้ต้นข้าวมีลักษณะสูง กว่าต้นข้าวปกติ ทาให้ล้มง่าย จากการศึกษาพบว่า ถ้าเลี้ยงเชื้อราในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวแล้วกรอง เอาเชื้อราออกไปเหลือแต่อาหารเลี้ยงเชื้อ เมื่อนาไปราดต้นข้าวจะทาให้ต้นข้าวเป็นโรคได้ จึงเป็นที่แน่ ชัดว่า เชื้อราชนิดนี้สามารถสร้างสารบางชนิดขึ้นในต้นพืชหรือในอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งกระตุ้นให้ต้นข้าว เกิดการสูงผิดปกติได้ในปี 1939 ได้มีผู้ตั้งชื่อสารนี้ว่าจิบเบอเรลลิน การค้นพบจิบเบอเรลลิน เกิดขึ้น ในช่วงเดียวกับที่พบออกซิน การศึกษาส่วนใหญ่จึงเน้นไปทางออกซิน ส่วนการศึกษาจิบเบอเรลลิน ในช่วงแรกจะเป็นไปในแง่ของโรคพืช ในการศึกษาขั้นแรกค่อนข้างยากเพราะมักจะมีกรดฟิวซาริค (Fusaric Acid) ปะปนอยู่ซึ่งเป็นสารระงับการเจริญเติบโต ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและ ส่วนประกอบทางเคมีของจิบเบอเรลลินนั้นได้รับการศึกษาในปี 1954 โดยนักเคมีชาวอังกฤษซึ่ง สามารถแยกสารบริสุทธิ์จากอาหารเลี้ยงเชื้อรา Gibberella fujikuroi และเรียกสารนี้ว่ากรดจิบเบอ เรลลิค (Gibberellic Acid) GA เป็นฮอร์โมนที่พบในพืชชั้นสูงทุกชนิด นอกจากนั้นยังพบในเฟิร์น สาหร่าย และเชื้อราบางชนิด แต่ไม่พบในแบคทีเรีย
  • 72. บทบาทของจิบเบอเรลลินที่มีต่อพืช 1. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชทั้งต้น จิบเบอเรลลินมีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งสามารถกระตุ้น การเจริญเติบโตของพืชทั้งต้นได้โดยทาให้เกิดการยืดตัวของเซลล์ ซึ่งผลนี้จะต่างจากออกซินซึ่ง สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของชิ้นส่วนของพืชได้ พืชบางชนิดอาจจะไม่ตอบสนองต่อจิบเบอ เรลลิน อาจจะเป็นเพราะว่าในพืชชนิดนั้นมีปริมาณจิบเบอเรลลินเพียงพอแล้ว จิบเบอเรลลินสามารถ กระตุ้นการยืดยาวของช่อดอกไม้บางชนิดและทาให้ผลไม้มีรูปร่างยาวออกมา เช่น องุ่น และแอปเปิล 2. กระตุ้นการงอกของเมล็ดที่พักตัวและตาที่พักตัว ตาของพืชหลายชนิดที่เจริญอยู่ในเขต อบอุ่นจะพักตัวในฤดูหนาว เมล็ดของพืชหลายชนิดมีพฤติกรรมเช่นนี้ด้วย ซึ่งการพักตัวจะลดลงจน หมดไป เมื่อได้รับความเย็นเพียงพอ การพักตัวของเมล็ดและตา อันเนื่องมาจากต้องการอุณหภูมิ ต่า วันยาว และต้องการแสงสีแดงจะหมดไปเมื่อได้รับจิบเบอเรลลิน
  • 73.
  • 74. บทบาทของจิบเบอเรลลินที่มีต่อพืช 3. การแทงช่อดอก การออกดอกของพืชเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ และ สภาพแวดล้อม จิบเบอเรลลินสามารถแทนความต้องการวันยาวในพืชบางชนิดได้ และยังสามารถ ทดแทนความต้องการอุณหภูมิต่า (Vernalization) ในพืชพวกกะหล่าปลี และแครอท 4.จิบเบอเรลลิน สามารถกระตุ้นการเคลื่อนที่ของอาหารในเซลล์สะสมอาหาร หลังจากที่เมล็ด งอกแล้ว เพราะรากและยอดที่ยังอ่อนตัวเริ่มใช้อาหาร เช่น ไขมัน แป้ง และโปรตีน จากเซลล์สะสม อาหาร จิบเบอเรลลินจะกระตุ้นให้มีการย่อยสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็ก เช่น ซูโครสและ กรดอะมิโน ซึ่งเกี่ยวพันกับการสังเคราะห์เอนไซม์หลายชนิดดังกล่าวข้างต้น 5. กระตุ้นให้เกิดผลแบบ Parthenocarpic ในพืชบางชนิด เปลี่ยนรูปร่างของใบพืชบางชนิด เช่น English Ivy และทาให้พืชพัฒนาการเพื่อทนความเย็นได้ 6. พืชที่มีดอกตัวผู้และตัวเมียแยกกันไม่ว่าจะต้นเดียวกัน หรือแยกต้นก็ตาม จิบเบอเรลลิน สามารถเปลี่ยนเพศของดอกได้ จิบเบอเรลลินมักเร่งให้เกิดดอกตัวผู้ ส่วนออกซิน เอทธิลีน และไซโต ไคนิน มักจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมีย ในแตงกวาดอกล่าง ๆ มักเป็นดอกตัวผู้ และดอกบนเป็นดอกตัวเมีย การให้สารอีธีฟอนจะเร่งให้เกิดดอกตัวเมียขึ้น
  • 75.
  • 76.
  • 77.
  • 78. ไซโตไคนิน (Cytokinins) การค้นพบฮอร์โมนในกลุ่มนี้เริ่มจากการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยในปี ค.ศ. 1920 Haberlandt ได้แสดงให้เห็นว่ามีสารชนิดหนึ่งเกิดอยู่ในเนื้อเยื่อพืชและกระตุ้นให้เนื้อเยื่อ พาเรนไคมาในหัวมันฝรั่งกลับกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้ ซึ่งแสดงว่าสารชนิดนี้สามารถกระตุ้นให้มี การแบ่งเซลล์ ต่อมามีการพบว่าน้ามะพร้าวและเนื้อเยื่อของหัวแครอทมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการ แบ่งเซลล์เช่นกัน นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เช่น Skoog และ Steward ทาการทดลองในสหรัฐอเมริกา โดย ศึกษาความต้องการสิ่งที่ใช้ในการเจริญเติบโตของกลุ่มก้อนของเซลล์ (Callus) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แบ่งตัว อย่างรวดเร็ว แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพเกิดขึ้นของ pith จากยาสูบและรากของแค รอท จากผลการทดลองนี้ทาให้รู้จักไซโตไคนินในระยะปี ค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืชที่จาเป็น ต่อการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของเนื้อเยื่อ ในปัจจุบันพบว่าไซโตไคนิน ยัง เกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพ (Senescence) และการควบคุมการเจริญของตาข้างโดยตายอด (Apical Dominance) แม้ว่าไคเนติน BA และ PBA เป็นสารที่ไม่พบในต้นพืชแต่สารที่เกิดตามธรรมชาติและสาร สังเคราะห์หลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนไคเนตินนั้น เรียกโดยทั่วๆ ไปว่า ไซโตไคนิน ซึ่งเป็นสารที่ เมื่อมีผลร่วมกับออกซินแล้วจะเร่งให้เกิดการแบ่งเซลล์ในพืช
  • 79. ผลของไซโตไคนิน 1. กระตุ้นให้เกิดการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพใน tissue culture โดยต้องใช้ ร่วมกับ Auxin ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนั้นหากให้ฮอร์โมน ไซโตไคนินมากกว่าออกซิน จะทาให้เนื้อเยื่อ นั้นเจริญเป็น ตา ใบ และลาต้น แต่ถ้าหากสัดส่วนของออกซินมากขึ้นกว่าไซโตไคนินจะทาให้เนื้อเยื่อนั้น สร้างรากขึ้นมา การ differentiate ของตาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจาก Callus จากส่วนของลาต้นนั้น auxin จะระงับ และไซโตไคนินนั้นจะกระตุ้นการเกิด และต้องมีความสมดุลระหว่างไซโตไคนินและออก ซินชิ้นเนื้อเยื่อจึงจะสร้างตาได้ 2. ชะลอกระบวนการเสื่อมสลาย เช่น กรณีของใบที่เจริญเต็มที่แล้วถูกตัดออกจากต้น คลอโรฟิลล์ RNA และโปรตีนจะเริ่มสลายตัวเร็วกว่าใบที่ติดอยู่กับต้น แม้จะมีการให้อาหารกับใบเหล่านี้ก็ตาม ถ้า หากเก็บใบเหล่านี้ไว้ในที่มืดการเสื่อมสลายยิ่งเกิดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามหากใบเหล่านี้เกิดรากขึ้นที่โคนใบ หรือก้านใบ จะทาให้การเสื่อมสลายเกิดช้าลง เพราะไซโตไคนินผ่านขึ้นมาจากรากทางท่อน้า อย่างไรก็ ตามการให้ไซโตไคนินกับใบพืชเหล่านี้จะชะลอการเสื่อมสลายได้เหมือนกับรากเช่นกัน นอกจากนั้นไซโต ไคนินยังทาให้มีการเคลื่อนย้ายอาหารจากส่วนอื่นมายังส่วนที่ได้รับไซโตไคนินได้ เช่น กรณีของใบอ่อนซึ่ง มีไซโตไคนินมากกว่าใบแก่จะสามารถดึงอาหารจากใบแก่ได้
  • 80. ผลของไซโตไคนิน 3. ทาให้ตาข้างแตกออกมาหรือกาจัดลักษณะ Apical Dominanceได้ การเพิ่มไซโตไคนิน ให้กับตาข้างจะทาให้แตกออกมาเป็นใบได้ ทั้งนี้เพราะตาข้างจะดึงอาหารมาจากส่วนอื่นทาให้ตาข้าง เจริญได้ เชื้อจุลินทรีย์บางชนิดสามารถสร้างไซโตไคนินกระตุ้นให้พืชเกิดการแตกตาจานวนมากมี ลักษณะผิดปกติ เช่น โรค Fascination นอกจากนั้นยังเร่งการแตกหน่อของพืช เช่น บอน และ โกสน 4. ทาให้ใบเลี้ยงคลี่ขยายตัว กรณีเมล็ดของพืชใบเลี้ยงคู่งอกในความมืด ใบเลี้ยงจะเหลือง และเล็ก เมื่อได้รับแสงจึงจะขยายตัวขึ้นมา ซึ่งเป็นการควบคุมของไฟโตโครม แต่ถ้าหากให้ไซโต โคนินโดยการตัดใบเลี้ยงมาแช่ในไซโตไคนิน ใบเลี้ยงจะคลี่ขยายได้เช่นกัน ลักษณะดังกล่าวพบ กับ แรดิช ผักสลัด และแตงกวา ออกซินและจิบเบอเรลลินจะไม่ให้ผลดังกล่าว 5. ทาให้เกิดการสร้างคลอโรพลาสต์มากขึ้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพอย่างหนึ่ง เช่น เมื่อ Callus ได้รับแสงและไซโตไคนิน Callus จะกลายเป็นสีเขียว เพราะพลาสติคเปลี่ยนเป็น คลอโรพลาสต์ได้ โดยการเกิดกรานาจะถูกกระตุ้นโดยไซโตไคนิน 6. ทาให้พืชทั้งต้นเจริญเติบโต 7. กระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด
  • 81.
  • 82. กรดแอบซิสิค (Abscisic Acid) หรือ ABA ในการศึกษาถึงการร่วงของใบ การพักตัวของตาและเมล็ดในช่วงปี ค.ศ. 1950-1960 นั้น ชี้ให้เห็นว่า เป็นไปได้ว่ามีสารระงับการเจริญปรากฏอยู่ในต้นพืช โครงสร้างของสารเคมี ดังกล่าวถูกค้นพบในปี 1965 ในผล และใบของฝ้าย สารเคมีดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า กรดแอบซิสิค หรือ ABA และพบว่าเป็น สารจาพวกเซสควิเทอร์พีนอยด์ ABA ถูกแยกออกจากพืชหลายชนิดทั้งแองจิโอสเปิร์มส์ จิมโนสเปิร์มส์ เฟินและมอส (Angiosperms, Gymnosperms, Ferns และ Mosses) การให้ ABA แก่ใบแก่หรือรากจะก่อให้เกิดการหยุดการเจริญเติบโตกับส่วนอื่น ๆ ของพืชได้ จึงแสดง ให้เห็นว่า ABA เคลื่อนที่ได้ และจากการศึกษาพบว่าเคลื่อนที่ได้ในทุกทิศทางแต่ในราก ABA อาจจะ เคลื่อนที่ในลักษณะเบสิพีตัล และโดยทั่ว ๆ ไป ABA อาจจะเคลื่อนที่ไปในท่อน้าและท่ออาหาร พบ ABA มากที่ใบแก่ ผลแก่ และพืชที่ขาดน้า
  • 83.
  • 84. ผลของ ABA ต่อพืช 1. ลดการคายน้าโดยกระตุ้นให้ปากใบปิด ซึ่งพืชตอบสนองได้ภายใน 1-15 นาที หลังจากได้รับ ABA ในพืชที่ขาดน้าจะมีปริมาณ ABA เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการลดการคาย น้าของพืช 2. กระตุ้นให้เกิดการพักตัวของตา ซึ่งจะเกิดกับพืชเขตอบอุ่น พบว่าเมื่อให้ ABA กับตาที่กาลังเจริญเติบโต จะทาให้ตาชะงักการเจริญเติบโตและเข้าสู่การพักตัวตามปกติ การให้ GA จะ ลดผลของ ABA ที่ทาให้ตาพักตัวได้ 3. การร่วงของใบและดอก เช่น ในฝ้าย ผลแก่ที่ร่วงเองจะมี ABA สูงมาก 4. เร่งกระบวนการเสื่อมสภาพของใบ
  • 85.
  • 86.
  • 87.
  • 88. เอทธิลีน (Ethylene) เป็นฮอร์โมนพืชซึ่งควบคุมการเจริญเติบโตในหลายแง่ เช่น การพัฒนา การเสื่อม สลาย ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ ซึ่งเกิดเอทธิลีนขึ้นมา ผลของเอทธิลีนมีทั้งในแง่ที่เป็นประโยชน์หรือ เป็นโทษต่อพืช เอทธิลีนเป็นฮอร์โมนที่มีสภาพเป็นก๊าซซึ่งรู้จักกันมานานแล้ว จากการบ่มผลไม้ ในปี 1934 ได้มีการพิสูจน์ให้เห็นว่าเอทธิลีนเป็นก๊าซที่สังเคราะห์ขึ้นโดยพืช และสามารถเร่งกระบวนการสุก ได้ ต่อมาพบว่าการก่อกองไฟใกล้ ๆ สวนมะม่วงและสับปะรดจะกระตุ้นให้ออกดอกได้ ซึ่งสารที่ทาให้เกิด การออกดอก คือ เอทธิลีนนั่นเอง เอทธิลีนเป็นฮอร์โมนพืชที่สาคัญในด้านหลังเก็บเกี่ยวด้วย ต่อมาพบว่า ดอก เมล็ด ใบ และรากพืชสามารถสังเคราะห์เอทธิลีนได้ เช่น ใน เซ เลอรี่ พันธุ์ซึ่งต้นขาวเอง (Self blanching) พบว่า เซเลอรี่สามารถสร้างเอทธิลีนมากาจัดสีเขียวที่ก้าน ได้ นอกจากนั้นในปี 1935 ยังพบว่า การให้ออกซินกับพืชอาจจะกระตุ้นให้พืชสร้างเอทธิลีนได้ ซึ่งเป็น คาอธิบายได้ชัดเจนสาหรับกรณีที่เมื่อให้ออกซินกับพืชแล้วพืช ตอบสนองเหมือนกับได้รับเอทธิลีน ออก ซินกับเอทธิลีนนั้นเมื่อให้กับพืชมักจะให้ผลส่งเสริมกัน ส่วนของพืชที่พบเอทธิลีนมากคือ ใบแก่ ผลไม้ สุก และเนื้อเยื่อที่อยู่ภายใต้สภาพความเครียด (Stress)
  • 89. ผลของเอทธิลีนต่อพืช 1. กระตุ้นให้ผลไม้สุก ดังนั้นอาจจะเรียกเอทธิลีนว่า Ripening hormone และใช้ในการบ่ม ผลไม้ในทางการค้า 2. กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ เช่น กระตุ้นให้เกิด Abcission zone ขึ้น ทาให้ใบ และกลีบดอกร่วงได้ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของราก และลาต้น รวมทั้งกระตุ้น การออกดอกของพืช เช่น สับปะรด กระตุ้นให้เกิด Adventitious root 3. กระตุ้นให้พืชออกจากการพักตัว เช่น กรณีของมันฝรั่ง 4. กระตุ้นให้เกิดดอกตัวเมียมากขึ้นในพืช Dioecious
  • 90.
  • 91.
  • 92.
  • 93.
  • 94.
  • 95.
  • 96. IAA ,IBA ,2,4-D ,NAA GA BA
  • 97. ABA
  • 98.
  • 99.
  • 100.
  • 101.
  • 102.
  • 103.
  • 104. “THE END” THANK YOU FOR YOUR ATTENTION!