SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 9
Downloaden Sie, um offline zu lesen
1
ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน ตอนที่ ๑๗ ปิงคิยปัญหา
ปัญหาเรื่อง ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
(๑๖) ปิงคิยปัญหา
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๖. ปิงคิยมาณวกปัญหา
ว่าด้วยปัญหาของปิงคิยมาณพ
[๑๑๒๗] (ปิงคิยมาณพทูลถามดังนี้ ) ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกาลัง ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง
นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้ เลย ขอพระองค์
จงตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้เถิด
[๑๑๒๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ) ชนทั้งหลายเห็นชนอื่นๆ เดือดร้อนอยู่เพราะ
รูปทั้งหลายแล้ว ยังประมาทเจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป
[๑๑๒๙] (ปิงคิยมาณพทูลถามดังนี้ ) ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้ องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑
เหล่านี้ รวมเป็น ๑๐ สิ่งใดๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง
มิได้มีเลย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้
แจ้งได้เถิด
[๑๑๓๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ) เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหา
ครอบงาจิต เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงาแล้ว ปิ งคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละ
ตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป
ปิงคิยมาณวกปัญหาที่ ๑๖ จบ
(พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล. อนึ่ง เมื่อจบเทศนา
ปิงคิยะได้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล. นัยว่า ปิงคิยะนั้นคิดในระหว่าง ๆ ว่า พาวรีพราหมณ์ผู้เป็นลุงของเราไม่ได้
2
ฟังเทศนาอันวิจิตรเฉียบแหลมอย่างนี้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการฟังของเรา เพราะความฟุ้งซ่านด้วยความ
เยื่อใยนั้น ปิงคิยะจึงไม่ได้บรรลุพระอรหัต. ส่วนชฎิล ๑,๐๐๐ ที่เป็นอันเตวาสิกของปิงคิยะนั้นได้บรรลุพระ
อรหัต ทั้งหมดทรงบาตรและจีวรสาเร็จด้วยฤทธิ์ได้เป็นเอหิภิกขุด้วยประการฉะนี้ .)
--------------------------------------------
ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปัญหาของปิงคิยมาณพ
(คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของนิทเทส)
[๘๙] (ท่านปิงคิยะทูลถาม ดังนี้ )
ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกาลัง
ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด
ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้ เลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
(๑) คาว่า ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ในคาว่า ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกาลัง ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง อธิบาย
ว่า ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว คือ สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก มีอายุได้ ๑๒๐ ปี นับแต่
เกิด
คาว่า ไม่มีกาลัง ได้แก่ อ่อนกาลัง มีกาลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย
คาว่า ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง ได้แก่ ผิวพรรณหมดงาม คือ ผิวพรรณปราศจากความงาม ผิวพรรณที่
เคยงามหมดไปแล้ว รัศมีแห่งผิวพรรณอันงดงามแต่ก่อนหายไปแล้ว ปรากฏอยู่แต่โทษ รวมความว่า ข้า
พระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกาลัง ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง
คาว่า ปิงคิยะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านปิงคิยะทูลถาม
ดังนี้
3
คาว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด อธิบายว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส คือ มืดมัว ฝ้าฟาง ไม่สดใส ข้า
พระองค์มองเห็นรูปไม่ชัดด้วยตาเช่นนั้น รวมความว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส
คาว่า หูฟังไม่ชัด อธิบายว่า โสตประสาทไม่แจ่มใส คือ หูตึง หูหนัก ไม่สดใส ข้าพระองค์ฟังเสียง
ไม่ชัด ด้วยโสตประสาทเช่นนั้น รวมความว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด
คาว่า ขอข้าพระองค์อย่า... เสียหาย ในคาว่า ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่าง
นี้ เลย อธิบายว่า ข้าพระองค์อย่าสูญเสีย ข้าพระองค์อย่าเสื่อมเสีย ข้าพระองค์อย่าเสียหาย
คาว่า เป็นคนหลง ได้แก่ เป็นคนหลง คือ ไปตามอวิชชา ไม่มีความรู้ ไม่มีปัญญาแจ่มกระจ่าง มี
ปัญญาทึบ
คาว่า ในระหว่าง อธิบายว่า ข้าพระองค์ไม่รู้ ไม่บรรลุ ไม่ทราบ ไม่ได้ ไม่ได้สัมผัส ไม่ได้ทาให้แจ้ง
ธรรม ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของพระองค์แล้ว พึงทากาลกิริยาเสียในระหว่าง รวมความว่า ขอข้าพระองค์
อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้ เลย
คาว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม ในคาว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์
จะพึงรู้แจ้งได้ อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กาหนด เปิดเผย จาแนก ทาให้ง่าย
ประกาศพรหมจรรย์ ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ
และพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดาเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกธรรม
คาว่า ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ ได้แก่ ซึ่งข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทง
ตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทาให้แจ้ง รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม...ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
คาว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ อธิบายว่า ที่เป็นเครื่องละ คือ เป็นเครื่องเข้าไปสงบ
เป็นเครื่องสลัดทิ้ง เป็นเครื่องระงับชาติชราและมรณะ คือ อมตนิพพานในโลกนี้ เอง รวมความว่า ที่เป็น
เครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกาลัง
ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด
ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้ เลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
[๙๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ)
4
ชนทั้งหลายเห็นชนอื่นๆ เดือดร้อนอยู่
เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังประมาทเจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป
(๒) ว่าด้วยวิธีการลงโทษ
คาว่า เพราะรูปทั้งหลาย ในคาว่า เห็นชนอื่นๆ เดือดร้อนอยู่เพราะรูปทั้งหลาย ได้แก่ มหาภูตรูป
๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อธิบายว่า เหล่าสัตว์พากันลาบากเดือดร้อน คือ ยากลาบาก ถูกเขาฆ่าฟัน
เพราะรูปเป็นเหตุ เพราะรูปเป็นปัจจัย เพราะรูปเป็นการณ์ พระราชาทรงรับสั่งให้ลงอาญาด้วยประการ
ต่างๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้ง
มือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนัง
ศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ามัน
แล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลง
บ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทาให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้ว
เสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้ อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้ อออกเป็นแว่นๆ เหมือน
เหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้ อเอ็นออก เหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง
เสียบให้ติดดินแล้วจับเข่าหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้ อเหมือน
ตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ามันที่กาลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาว
ทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัดศีรษะบ้าง เหล่าสัตว์พากันลาบากเดือดร้อน คือ ยากลาบาก ถูกเขาฆ่าฟัน เพราะรูป
เป็นเหตุ เพราะรูปเป็นปัจจัย เพราะรูปเป็นการณ์ อย่างนี้ (ชนทั้งหลาย) เห็นคือ แลเห็น เทียบเคียง
พิจารณา ทาให้กระจ่าง ทาให้แจ่มแจ้งเหล่าสัตว์ผู้ลาบากเดือดร้อน คือ ยากลาบาก ถูกเขาฆ่าฟัน อย่างนี้
รวมความว่า เห็นชนอื่นๆ เดือดร้อนอยู่เพราะรูปทั้งหลาย
คาว่า ปิงคิยะ ในคาว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ เป็นคาที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
พราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคากล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิ
กาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ
คาว่า เจ็บปวด ในคาว่า ชนทั้งหลาย...ยังประมาท เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย อธิบายว่า ย่อม
เจ็บปวด คือ ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน เจ็บป่วย(ทุกข์กาย) ทุกข์ใจ คือ ย่อมเจ็บปวด ดิ้นรน
กระสับกระส่าย เดือดร้อน เจ็บป่วย ทุกข์ใจ ด้วยโรคตา ได้แก่ เจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน
5
เจ็บป่วย ทุกข์ใจ ด้วยโรคหู ฯลฯ ด้วยโรคกาย ฯลฯ ด้วยสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
รวมความว่า เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
อีกนัยหนึ่ง ชนทั้งหลาย เจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน เจ็บป่วย ทุกข์ใจ เพราะจักษุ
เสื่อมไป เสียไป ละไป แปรผันไป หายไป อันตรธานไป ฯลฯ เพราะโสตะ ฯลฯ เพราะฆานะ ฯลฯ เพราะ
ชิวหา ฯลฯ เพราะกาย ฯลฯ เพราะรูป ฯลฯ เพราะเสียง ฯลฯ เพราะกลิ่น ฯลฯ เพราะรส ฯลฯ เพราะ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ เพราะตระกูล ฯลฯ เพราะคณะ ฯลฯ เพราะอาวาส ฯลฯ เพราะลาภ ฯลฯ เพราะยศ ฯลฯ
เพราะสรรเสริญ ฯลฯ เพราะสุข ฯลฯ เพราะจีวร ฯลฯ เพราะบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเสนาสนะ ฯลฯ เพราะคิ
ลานปัจจัยเภสัชบริขารเสื่อมไป เสียไป ละไป แปรผันไป หายไป อันตรธานไป
คาว่า ชนทั้งหลาย ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์
ว่าด้วยความประมาท
คาว่า ยังประมาท อธิบายว่า ขอกล่าวถึงความประมาท ความปล่อยจิตไป หรือการเพิ่มพูนความ
ปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕ ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือการทาโดยไม่เคารพ การทาที่ไม่ให้ติดต่อ
การทาที่ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่
เจริญ ความไม่ทาให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาท ในการเจริญกุศลธรรม
ทั้งหลาย ชื่อว่าความประมาท ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ประมาทมีลักษณะเช่นว่า นี้ ตรัส
เรียกว่า ความประมาท ชนทั้งหลายผู้ประกอบด้วยความประมาทนี้ ชื่อว่าผู้ประมาท รวมความว่า ชน
ทั้งหลาย...ยังประมาท เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
คาว่า เพราะฉะนั้น ในคาว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า
เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น เธอเห็นโทษในรูปอย่าง
นี้ อยู่ รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
คาว่า จงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า เธอจงมีปกติทาโดยเคารพ ทาติดต่อ ฯลฯ ชื่อว่าไม่ประมาท
ในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
คาว่า รูป ในคาว่า ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔-
และรูปที่อาศัย
มหาภูตรูป ๔
คาว่า ละรูปเสียให้ได้ อธิบายว่า ละรูป คือ ละทิ้งรูป ละรูปให้หมด ทาให้รูปหมดสิ้นไป ให้รูปถึง
ความไม่มีอีก
คาว่า เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป อธิบายว่า รูปของเธอพึงดับเสียในภพนี้ แหละ ฉันใด ปฏิสนธิไม่พึง
บังเกิดในกามธาตุ รูปธาตุ หรืออรูปธาตุ กามภพ รูปภพ หรืออรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ หรือเนว
6
สัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ หรือปัญจโวการภพ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือ
วัฏฏะต่อไป ได้แก่ ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดขึ้น ไม่พึงบังเกิด ไม่พึงบังเกิดขึ้น คือ พึงดับ พึงเข้าไปสงบ พึงถึง
ความตั้งอยู่ไม่ได้ พึงระงับไปในภพนี้ เอง ฉันนั้น รวมความว่า ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า
ชนทั้งหลายเห็นชนอื่นๆ เดือดร้อนอยู่
เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังประมาทเจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป
[๙๑] (ท่านปิงคิยะทูลถามว่า)
ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้ องบน ๑
ทิศเบื้ องล่าง ๑ เหล่านี้ รวมเป็น ๑๐
สิ่งใดๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน
ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
(๓) คาว่า ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑ เหล่านี้ รวมเป็น ๑๐ ได้แก่ ทิศทั้ง ๑๐
คาว่า สิ่งใดๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย
อธิบายว่า สิ่งไรๆ คือ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน หรือ
ประโยชน์ในภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ที่ควร
แนะนา หรือประโยชน์ที่แนะนาแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือ
ประโยชน์อย่างยิ่ง ที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่
ปรากฏ หาไม่ได้ รวมความว่า สิ่งใดๆ ในโลก ที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้
แจ้ง มิได้มีเลย
คาว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ อธิบายว่า ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กาหนด เปิดเผย จาแนก ทาให้ง่าย ประกาศธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ
และปฏิปทาเครื่องดาเนินไปสู่นิพพาน
7
คาว่า ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ ได้แก่ ซึ่งข้าพระองค์พึงรู้ได้ พึงรู้ แจ่มแจ้ง พึงรู้เฉพาะ พึงแทง
ตลอด พึงบรรลุ พึงถูกต้อง พึงทาให้แจ้งได้ รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะ
พึงรู้แจ้งได้
คาว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ อธิบายว่า ที่อันเป็นเครื่องละ คือ เป็นเครื่องเข้าไป
สงบ เป็นเครื่องสลัดทิ้ง เป็นเครื่องระงับชาติชราและมรณะ คือ อมตนิพพานในโลกนี้ รวมความว่า ที่เป็น
เครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบน ๑
ทิศเบื้องล่าง ๑ เหล่านี้ รวมเป็น ๑๐
สิ่งใดๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน
ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
[๙๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ)
เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต
เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงาแล้ว
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป
(๔) คาว่า เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต อธิบายว่า คาว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา
สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คาว่า ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต ได้แก่ ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต คือ ผู้ไปตามตัณหา ผู้ไปตามอานาจ
ตัณหา ผู้ซ่านไปตามตัณหา ผู้จมอยู่ในตัณหา ผู้ถูกตัณหาครอบงา มีจิตถูกตัณหายึดครอง
คาว่า หมู่มนุษย์ เป็นชื่อเรียกสัตว์
คาว่า เพ่งพิจารณา ได้แก่ พิจารณา คือ แลเห็น มอง ดู เพ่งพินิจ พิจารณาดู รวมความว่า เธอจง
เพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต
คาว่า ปิงคิยะ ในคาว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ เป็นคาที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
พราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคากล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิ
กาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ
8
คาว่า เกิดความเร่าร้อน ในคาว่า เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงาแล้ว อธิบายว่า เกิดความเร่า
ร้อนเพราะชาติ เกิดความเร่าร้อนเพราะชรา เกิดความเร่าร้อนเพราะพยาธิ เกิดความเร่าร้อนเพราะมรณะ
เกิดความเร่าร้อนเพราะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส เกิดความเร่าร้อนเพราะทุกข์เนื่องจากการ
เกิดในนรก ฯลฯ เกิดความเร่าร้อนเพราะทุกข์คือทิฏฐิวิบัติ คือ เกิดความจัญไร เกิดอุปัทวะ(อันตราย) เกิด
อุปสรรค รวมความว่า เกิดความเร่าร้อน
คาว่า ถูกชราครอบงาแล้ว ได้แก่ ถูกชราถูกต้อง ครอบงา คือ กลุ้มรุม ตามประกอบ ไปตามชาติ
ชราติดตาม พยาธิครอบงา มรณะย่ายี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า
เกิดความเร่าร้อน ถูกชรา ครอบงาแล้ว
คาว่า เพราะฉะนั้น ในคาว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า
เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น เธอมองเห็นโทษแห่ง
ตัณหาอย่างนี้ รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น
คาว่า เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า เธอจงมีปกติทาโดยเคารพ ทาติดต่อ ฯลฯ ชื่อว่าไม่
ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
คาว่า ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป อธิบายว่า
คาว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คาว่า ละตัณหาเสียให้ได้ อธิบายว่า ละตัณหา คือ ละทิ้งตัณหา ละตัณหาให้หมด ทาตัณหาให้
หมดสิ้นไป ทาให้ตัณหาถึงความไม่มีอีก
คาว่า เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป อธิบายว่า รูปของเธอพึงดับในภพนี้ แหละ ฉันใด ปฏิสนธิภพไม่พึง
บังเกิดอีกในกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานา
สัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป
ได้แก่ ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดขึ้น ไม่พึงบังเกิด ไม่พึงบังเกิดขึ้น คือ ดับ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป
ในภพนี้ เอง รวมความว่า ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
ตอบว่า
เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต
เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงาแล้ว
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป
พร้อมกับการจบคาถา ธรรมจักษุไร้ธุลี ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ได้เกิดขึ้นแก่เหล่าเทวดาและมนุษย์หลายพัน ผู้มี
9
ฉันทะ ความพยายาม ความประสงค์ การอบรมบุญญาบารมีร่วมกันมากับพราหมณ์และพราหมณ์นั้นก็ได้
เกิดธรรมจักษุไร้ธุลีปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความ
ดับไปเป็นธรรมดา” หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่นน้า ผม และหนวด ของท่านก็หายไป พร้อมกับ
การได้ธรรมจักษุ ท่านได้เป็นภิกษุมีศีรษะโล้น นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร เพื่อการปฏิบัติ
เอื้อประโยชน์ จึงประคองอัญชลี นั่งลงนมัสการพระผู้มีพระภาคโดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ
ผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๖ จบ
-----------------------------------------------------

Weitere ähnliche Inhalte

Ähnlich wie ๑๖ ปิงคิยปัญหา.pdf

๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
maruay songtanin
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
Padvee Academy
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
Tongsamut vorasan
 
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tongsamut vorasan
 
4 อานาปานสติ anapanasati
4 อานาปานสติ anapanasati4 อานาปานสติ anapanasati
4 อานาปานสติ anapanasati
Tongsamut vorasan
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
Tongsamut vorasan
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
Tongsamut vorasan
 
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรหยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
Panda Jing
 
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
Tongsamut vorasan
 
บาลี 61 80
บาลี 61 80บาลี 61 80
บาลี 61 80
Rose Banioki
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
maruay songtanin
 

Ähnlich wie ๑๖ ปิงคิยปัญหา.pdf (20)

๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
 
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
 
๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf
๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf
๑๒ ภัทราวุธปัญหา.pdf
 
คำนำทำ1
คำนำทำ1คำนำทำ1
คำนำทำ1
 
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
 
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
 
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
 
มุตโตทัย
มุตโตทัยมุตโตทัย
มุตโตทัย
 
4 อานาปานสติ anapanasati
4 อานาปานสติ anapanasati4 อานาปานสติ anapanasati
4 อานาปานสติ anapanasati
 
๑๑ ชตุกัณณิปัญหา.pdf
๑๑ ชตุกัณณิปัญหา.pdf๑๑ ชตุกัณณิปัญหา.pdf
๑๑ ชตุกัณณิปัญหา.pdf
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
1กับ2pdf
1กับ2pdf1กับ2pdf
1กับ2pdf
 
คู่มือพุทธบริษัท
คู่มือพุทธบริษัทคู่มือพุทธบริษัท
คู่มือพุทธบริษัท
 
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทรหยั่งลงก้นมหาสมุทร
หยั่งลงก้นมหาสมุทร
 
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
 
บาลี 61 80
บาลี 61 80บาลี 61 80
บาลี 61 80
 
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
๐๐ ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน.pdf
 

Mehr von maruay songtanin

100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

Mehr von maruay songtanin (20)

100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
100 อสาตรูปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
099 ปโรสหัสสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
098 กูฏวาณิชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
097 นามสิทธิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
096 เตลปัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
095 มหาสุทัศนะชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
094 โลมหังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
093 วิสสาสโภชนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
092 มหาสารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
091 ลิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
090 อกตัญญุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
087 มังคลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
086 สีลวีมังสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
085 กิมปักกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
084 อัตถัสสทวารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
 
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
083 กาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
082 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
082 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...082 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
082 มิตตวินทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
081 สุราปานชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
080 ภีมเสนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

๑๖ ปิงคิยปัญหา.pdf

  • 1. 1 ปัญหาของพราหมณ์ ๑๖ คน ตอนที่ ๑๗ ปิงคิยปัญหา ปัญหาเรื่อง ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (๑๖) ปิงคิยปัญหา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต ๑๖. ปิงคิยมาณวกปัญหา ว่าด้วยปัญหาของปิงคิยมาณพ [๑๑๒๗] (ปิงคิยมาณพทูลถามดังนี้ ) ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกาลัง ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้ เลย ขอพระองค์ จงตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้เถิด [๑๑๒๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ) ชนทั้งหลายเห็นชนอื่นๆ เดือดร้อนอยู่เพราะ รูปทั้งหลายแล้ว ยังประมาทเจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป [๑๑๒๙] (ปิงคิยมาณพทูลถามดังนี้ ) ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้ องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑ เหล่านี้ รวมเป็น ๑๐ สิ่งใดๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้ แจ้งได้เถิด [๑๑๓๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ) เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหา ครอบงาจิต เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงาแล้ว ปิ งคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละ ตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ปิงคิยมาณวกปัญหาที่ ๑๖ จบ (พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล. อนึ่ง เมื่อจบเทศนา ปิงคิยะได้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล. นัยว่า ปิงคิยะนั้นคิดในระหว่าง ๆ ว่า พาวรีพราหมณ์ผู้เป็นลุงของเราไม่ได้
  • 2. 2 ฟังเทศนาอันวิจิตรเฉียบแหลมอย่างนี้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการฟังของเรา เพราะความฟุ้งซ่านด้วยความ เยื่อใยนั้น ปิงคิยะจึงไม่ได้บรรลุพระอรหัต. ส่วนชฎิล ๑,๐๐๐ ที่เป็นอันเตวาสิกของปิงคิยะนั้นได้บรรลุพระ อรหัต ทั้งหมดทรงบาตรและจีวรสาเร็จด้วยฤทธิ์ได้เป็นเอหิภิกขุด้วยประการฉะนี้ .) -------------------------------------------- ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของปิงคิยมาณพ (คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของนิทเทส) [๘๙] (ท่านปิงคิยะทูลถาม ดังนี้ ) ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกาลัง ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้ เลย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา ในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ (๑) คาว่า ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ในคาว่า ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกาลัง ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง อธิบาย ว่า ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว คือ สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก มีอายุได้ ๑๒๐ ปี นับแต่ เกิด คาว่า ไม่มีกาลัง ได้แก่ อ่อนกาลัง มีกาลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย คาว่า ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง ได้แก่ ผิวพรรณหมดงาม คือ ผิวพรรณปราศจากความงาม ผิวพรรณที่ เคยงามหมดไปแล้ว รัศมีแห่งผิวพรรณอันงดงามแต่ก่อนหายไปแล้ว ปรากฏอยู่แต่โทษ รวมความว่า ข้า พระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกาลัง ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง คาว่า ปิงคิยะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านปิงคิยะทูลถาม ดังนี้
  • 3. 3 คาว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด อธิบายว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส คือ มืดมัว ฝ้าฟาง ไม่สดใส ข้า พระองค์มองเห็นรูปไม่ชัดด้วยตาเช่นนั้น รวมความว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส คาว่า หูฟังไม่ชัด อธิบายว่า โสตประสาทไม่แจ่มใส คือ หูตึง หูหนัก ไม่สดใส ข้าพระองค์ฟังเสียง ไม่ชัด ด้วยโสตประสาทเช่นนั้น รวมความว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด คาว่า ขอข้าพระองค์อย่า... เสียหาย ในคาว่า ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่าง นี้ เลย อธิบายว่า ข้าพระองค์อย่าสูญเสีย ข้าพระองค์อย่าเสื่อมเสีย ข้าพระองค์อย่าเสียหาย คาว่า เป็นคนหลง ได้แก่ เป็นคนหลง คือ ไปตามอวิชชา ไม่มีความรู้ ไม่มีปัญญาแจ่มกระจ่าง มี ปัญญาทึบ คาว่า ในระหว่าง อธิบายว่า ข้าพระองค์ไม่รู้ ไม่บรรลุ ไม่ทราบ ไม่ได้ ไม่ได้สัมผัส ไม่ได้ทาให้แจ้ง ธรรม ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของพระองค์แล้ว พึงทากาลกิริยาเสียในระหว่าง รวมความว่า ขอข้าพระองค์ อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้ เลย คาว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม ในคาว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์ จะพึงรู้แจ้งได้ อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กาหนด เปิดเผย จาแนก ทาให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์ ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดาเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า ขอพระองค์ โปรดตรัสบอกธรรม คาว่า ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ ได้แก่ ซึ่งข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทง ตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทาให้แจ้ง รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม...ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ คาว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ อธิบายว่า ที่เป็นเครื่องละ คือ เป็นเครื่องเข้าไปสงบ เป็นเครื่องสลัดทิ้ง เป็นเครื่องระงับชาติชราและมรณะ คือ อมตนิพพานในโลกนี้ เอง รวมความว่า ที่เป็น เครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกาลัง ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้ เลย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา ในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ [๙๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ)
  • 4. 4 ชนทั้งหลายเห็นชนอื่นๆ เดือดร้อนอยู่ เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังประมาทเจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป (๒) ว่าด้วยวิธีการลงโทษ คาว่า เพราะรูปทั้งหลาย ในคาว่า เห็นชนอื่นๆ เดือดร้อนอยู่เพราะรูปทั้งหลาย ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อธิบายว่า เหล่าสัตว์พากันลาบากเดือดร้อน คือ ยากลาบาก ถูกเขาฆ่าฟัน เพราะรูปเป็นเหตุ เพราะรูปเป็นปัจจัย เพราะรูปเป็นการณ์ พระราชาทรงรับสั่งให้ลงอาญาด้วยประการ ต่างๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้ง มือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนัง ศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ามัน แล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลง บ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทาให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้ว เสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้ อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้ อออกเป็นแว่นๆ เหมือน เหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้ อเอ็นออก เหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเข่าหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้ อเหมือน ตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ามันที่กาลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาว ทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัดศีรษะบ้าง เหล่าสัตว์พากันลาบากเดือดร้อน คือ ยากลาบาก ถูกเขาฆ่าฟัน เพราะรูป เป็นเหตุ เพราะรูปเป็นปัจจัย เพราะรูปเป็นการณ์ อย่างนี้ (ชนทั้งหลาย) เห็นคือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทาให้กระจ่าง ทาให้แจ่มแจ้งเหล่าสัตว์ผู้ลาบากเดือดร้อน คือ ยากลาบาก ถูกเขาฆ่าฟัน อย่างนี้ รวมความว่า เห็นชนอื่นๆ เดือดร้อนอยู่เพราะรูปทั้งหลาย คาว่า ปิงคิยะ ในคาว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ เป็นคาที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก พราหมณ์นั้นโดยชื่อ คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคากล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิ กาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ คาว่า เจ็บปวด ในคาว่า ชนทั้งหลาย...ยังประมาท เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย อธิบายว่า ย่อม เจ็บปวด คือ ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน เจ็บป่วย(ทุกข์กาย) ทุกข์ใจ คือ ย่อมเจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน เจ็บป่วย ทุกข์ใจ ด้วยโรคตา ได้แก่ เจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน
  • 5. 5 เจ็บป่วย ทุกข์ใจ ด้วยโรคหู ฯลฯ ด้วยโรคกาย ฯลฯ ด้วยสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน รวมความว่า เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย อีกนัยหนึ่ง ชนทั้งหลาย เจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน เจ็บป่วย ทุกข์ใจ เพราะจักษุ เสื่อมไป เสียไป ละไป แปรผันไป หายไป อันตรธานไป ฯลฯ เพราะโสตะ ฯลฯ เพราะฆานะ ฯลฯ เพราะ ชิวหา ฯลฯ เพราะกาย ฯลฯ เพราะรูป ฯลฯ เพราะเสียง ฯลฯ เพราะกลิ่น ฯลฯ เพราะรส ฯลฯ เพราะ โผฏฐัพพะ ฯลฯ เพราะตระกูล ฯลฯ เพราะคณะ ฯลฯ เพราะอาวาส ฯลฯ เพราะลาภ ฯลฯ เพราะยศ ฯลฯ เพราะสรรเสริญ ฯลฯ เพราะสุข ฯลฯ เพราะจีวร ฯลฯ เพราะบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเสนาสนะ ฯลฯ เพราะคิ ลานปัจจัยเภสัชบริขารเสื่อมไป เสียไป ละไป แปรผันไป หายไป อันตรธานไป คาว่า ชนทั้งหลาย ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา และมนุษย์ ว่าด้วยความประมาท คาว่า ยังประมาท อธิบายว่า ขอกล่าวถึงความประมาท ความปล่อยจิตไป หรือการเพิ่มพูนความ ปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕ ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือการทาโดยไม่เคารพ การทาที่ไม่ให้ติดต่อ การทาที่ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่ เจริญ ความไม่ทาให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาท ในการเจริญกุศลธรรม ทั้งหลาย ชื่อว่าความประมาท ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ประมาทมีลักษณะเช่นว่า นี้ ตรัส เรียกว่า ความประมาท ชนทั้งหลายผู้ประกอบด้วยความประมาทนี้ ชื่อว่าผู้ประมาท รวมความว่า ชน ทั้งหลาย...ยังประมาท เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย คาว่า เพราะฉะนั้น ในคาว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น เธอเห็นโทษในรูปอย่าง นี้ อยู่ รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท คาว่า จงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า เธอจงมีปกติทาโดยเคารพ ทาติดต่อ ฯลฯ ชื่อว่าไม่ประมาท ในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท คาว่า รูป ในคาว่า ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔- และรูปที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ คาว่า ละรูปเสียให้ได้ อธิบายว่า ละรูป คือ ละทิ้งรูป ละรูปให้หมด ทาให้รูปหมดสิ้นไป ให้รูปถึง ความไม่มีอีก คาว่า เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป อธิบายว่า รูปของเธอพึงดับเสียในภพนี้ แหละ ฉันใด ปฏิสนธิไม่พึง บังเกิดในกามธาตุ รูปธาตุ หรืออรูปธาตุ กามภพ รูปภพ หรืออรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ หรือเนว
  • 6. 6 สัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ หรือปัญจโวการภพ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือ วัฏฏะต่อไป ได้แก่ ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดขึ้น ไม่พึงบังเกิด ไม่พึงบังเกิดขึ้น คือ พึงดับ พึงเข้าไปสงบ พึงถึง ความตั้งอยู่ไม่ได้ พึงระงับไปในภพนี้ เอง ฉันนั้น รวมความว่า ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ชนทั้งหลายเห็นชนอื่นๆ เดือดร้อนอยู่ เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังประมาทเจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป [๙๑] (ท่านปิงคิยะทูลถามว่า) ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้ องบน ๑ ทิศเบื้ องล่าง ๑ เหล่านี้ รวมเป็น ๑๐ สิ่งใดๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา ในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ (๓) คาว่า ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑ เหล่านี้ รวมเป็น ๑๐ ได้แก่ ทิศทั้ง ๑๐ คาว่า สิ่งใดๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย อธิบายว่า สิ่งไรๆ คือ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน หรือ ประโยชน์ในภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ที่ควร แนะนา หรือประโยชน์ที่แนะนาแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือ ประโยชน์อย่างยิ่ง ที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ ปรากฏ หาไม่ได้ รวมความว่า สิ่งใดๆ ในโลก ที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้ แจ้ง มิได้มีเลย คาว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ อธิบายว่า ขอพระองค์โปรด ตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กาหนด เปิดเผย จาแนก ทาให้ง่าย ประกาศธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ และปฏิปทาเครื่องดาเนินไปสู่นิพพาน
  • 7. 7 คาว่า ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ ได้แก่ ซึ่งข้าพระองค์พึงรู้ได้ พึงรู้ แจ่มแจ้ง พึงรู้เฉพาะ พึงแทง ตลอด พึงบรรลุ พึงถูกต้อง พึงทาให้แจ้งได้ รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะ พึงรู้แจ้งได้ คาว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ อธิบายว่า ที่อันเป็นเครื่องละ คือ เป็นเครื่องเข้าไป สงบ เป็นเครื่องสลัดทิ้ง เป็นเครื่องระงับชาติชราและมรณะ คือ อมตนิพพานในโลกนี้ รวมความว่า ที่เป็น เครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑ เหล่านี้ รวมเป็น ๑๐ สิ่งใดๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา ในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ [๙๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ) เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงาแล้ว ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป (๔) คาว่า เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต อธิบายว่า คาว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คาว่า ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต ได้แก่ ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต คือ ผู้ไปตามตัณหา ผู้ไปตามอานาจ ตัณหา ผู้ซ่านไปตามตัณหา ผู้จมอยู่ในตัณหา ผู้ถูกตัณหาครอบงา มีจิตถูกตัณหายึดครอง คาว่า หมู่มนุษย์ เป็นชื่อเรียกสัตว์ คาว่า เพ่งพิจารณา ได้แก่ พิจารณา คือ แลเห็น มอง ดู เพ่งพินิจ พิจารณาดู รวมความว่า เธอจง เพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต คาว่า ปิงคิยะ ในคาว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ เป็นคาที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก พราหมณ์นั้นโดยชื่อ คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคากล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คาว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิ กาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ
  • 8. 8 คาว่า เกิดความเร่าร้อน ในคาว่า เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงาแล้ว อธิบายว่า เกิดความเร่า ร้อนเพราะชาติ เกิดความเร่าร้อนเพราะชรา เกิดความเร่าร้อนเพราะพยาธิ เกิดความเร่าร้อนเพราะมรณะ เกิดความเร่าร้อนเพราะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส เกิดความเร่าร้อนเพราะทุกข์เนื่องจากการ เกิดในนรก ฯลฯ เกิดความเร่าร้อนเพราะทุกข์คือทิฏฐิวิบัติ คือ เกิดความจัญไร เกิดอุปัทวะ(อันตราย) เกิด อุปสรรค รวมความว่า เกิดความเร่าร้อน คาว่า ถูกชราครอบงาแล้ว ได้แก่ ถูกชราถูกต้อง ครอบงา คือ กลุ้มรุม ตามประกอบ ไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงา มรณะย่ายี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า เกิดความเร่าร้อน ถูกชรา ครอบงาแล้ว คาว่า เพราะฉะนั้น ในคาว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น เธอมองเห็นโทษแห่ง ตัณหาอย่างนี้ รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น คาว่า เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า เธอจงมีปกติทาโดยเคารพ ทาติดต่อ ฯลฯ ชื่อว่าไม่ ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท คาว่า ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป อธิบายว่า คาว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คาว่า ละตัณหาเสียให้ได้ อธิบายว่า ละตัณหา คือ ละทิ้งตัณหา ละตัณหาให้หมด ทาตัณหาให้ หมดสิ้นไป ทาให้ตัณหาถึงความไม่มีอีก คาว่า เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป อธิบายว่า รูปของเธอพึงดับในภพนี้ แหละ ฉันใด ปฏิสนธิภพไม่พึง บังเกิดอีกในกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานา สัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป ได้แก่ ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดขึ้น ไม่พึงบังเกิด ไม่พึงบังเกิดขึ้น คือ ดับ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ในภพนี้ เอง รวมความว่า ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัส ตอบว่า เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ ผู้ถูกตัณหาครอบงาจิต เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงาแล้ว ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป พร้อมกับการจบคาถา ธรรมจักษุไร้ธุลี ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ได้เกิดขึ้นแก่เหล่าเทวดาและมนุษย์หลายพัน ผู้มี
  • 9. 9 ฉันทะ ความพยายาม ความประสงค์ การอบรมบุญญาบารมีร่วมกันมากับพราหมณ์และพราหมณ์นั้นก็ได้ เกิดธรรมจักษุไร้ธุลีปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความ ดับไปเป็นธรรมดา” หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่นน้า ผม และหนวด ของท่านก็หายไป พร้อมกับ การได้ธรรมจักษุ ท่านได้เป็นภิกษุมีศีรษะโล้น นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร เพื่อการปฏิบัติ เอื้อประโยชน์ จึงประคองอัญชลี นั่งลงนมัสการพระผู้มีพระภาคโดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ ผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก” ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๖ จบ -----------------------------------------------------