SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 30
บทที่ ๘ การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้
ความหมายของการวัดผล การทดสอบ และการประเมินผล การวัดผลการ (Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ การทดสอบการศึกษา หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผล
ความหมายของการวัดผล การทดสอบ และการประเมินผล(ต่อ) บลูม (Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น ๓ลักษณะ      ๑.วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด (วัดด้านสมอง)      ๒.วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด    (วัดด้านจิตใจ)      ๓.วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (วัดด้านการปฏิบัติ)
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา 	๑. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน๒. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ๓. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ ๑   ๒  ๓
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา(ต่อ) ๔. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน๕. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต๖. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
หลักการวัดผลการศึกษา ๑. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด๒. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์๓. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู๔. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม๕. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล  ๑. การสังเกต (Observation)  	การสังเกต คือ การพิจารณาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อค้นหาความจริงบางประการ โดยอาศัยประสาท สัมผัสของผู้สังเกตโดยตรงรูปแบบของการสังเกต๑. การสังเกตโดยผู้สังเกตเข้าไปร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรม หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วม หรือคลุกคลีในหมู่ผู้ถูกสังเกต และอาจร่มทำกิจกรรมด้วยกัน๒. การสังเกตโดยผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปร่วมในเหตุการณ์ หมายถึง การสังเกตที่ผู้ถูกสังเกตอยู่ภายนอกวงของผู้ถูกสังเกต คือสังเกตในฐานะเป็นบุคคลภายนอก การสังเกตแบบ นี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด๒.๑การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้กำหนดหัวเรื่องเฉพาะเอาไว้๒.๒การสังเกตแบบมีโครงสร้าง หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตกำหนดเรื่องที่จะสังเกตเฉพาะเอาไว้
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๒. การสัมภาษณ์ (Interview)	การสัมภาษณ์ คือ การสนทนาหรือการพูดโต้ตอบกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาความรู้ ความจริง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้ารูปแบบของการสัมภาษณ์๑. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การสัมภาษณ์ที่ไม่ใช่แบบสัมภาษณ์ คือ ไม่จำเป็นต้องใช้ คำถามที่เหมือนกันหมดกับผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกคน๒. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง หมายถึง การสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นไว้แล้ว
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๓. แบบสอบถาม (Questionnaire)	แบบสอบถามเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีการที่สะดวก และสามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวางรูปแบบของแบบสอบถาม๑. แบบสอบถามชนิดปลายเปิด (Open-ended Form)แบบสอบถามชนิดนี้ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ตอบเขียนตอบอย่างอิสระด้วยความคิดของตนเอง แบบสอบถามชนิดนี้ตอบยากและเสียเวลาในการตอบมาก เพราะผู้ตอบจะต้องคิดวิเคราะห์อย่างกว้างขวาง
๒. แบบสอบถามปลายปิด (Closed - ended Form)แบบสอบถามชนิดนี้ประกอบ ด้วย ข้อคำถามและตัวเลือก (คำตอบ) ซึ่งตัวเลือกนี้สร้างขึ้นโดยคาดว่าผู้ตอบ สามารถเลือกตอบ ได้ตามความต้องการ แบบสอบถามชนิดปลายปิด แบ่งเป็น ๔แบบ๒.๑แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นการสร้างรายการของข้อคำถามที่เกี่ยวหรือสัมพันธ์กับคุณลักษณะของพฤติกรรม แต่ละรายการจะถูกประเมิน หรือชี้ให้ตอบในแง่ใดแง่หนึ่ง เช่น มี - ไม่มี จริง - ไม่จริง๒.๒มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในประเมินการปฏิบัติ กิจกรรม ทักษะต่าง ๆ มีระดับความเข้มให้พิจารณาตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไป เช่น เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง๒.๓แบบจัดอันดับ (Rank Order) มักจะให้ผู้ตอบจัดอันดับความสำคัญหรือคุณภาพ โดยให้ผู้ตอบเรียงลำกับตามความเข้มจากมากไปหาน้อย
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๔. การจัดอันดับ (Rank Order)เป็นเครื่องมือมือวัดผลให้นักเรียน หรือผู้ได้รับแบบสอบถามเป็นผู้ตอบ โดยการจัดอันดับความสำคัญหรือจัดอันดับคุณภาพ และใช้จัดอันดับของข้อมูลหรือผลงานต่าง ๆ ของนักเรียนแล้วจึงให้คะแนน ภายหลังเพื่อการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๕. การประเมินผลจากสภาพจริง (Authentic Assessment) 	หมายถึง กระบวนการสังเกต การบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่นักเรียนทำ การประเมินผลจากสภาพจริงจะเน้นให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหา เป็นผู้ค้นพบและผู้ผลิตความรู้ นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน
ความสำคัญของการประเมินผลจากสภาพจริง๑. การเรียนการสอนและการวัดประเมินผลจากสภาพจริง จะเอื้อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล๒. เป็นการเอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง๓. เป็นการเน้นให้นักเรียนได้สร้างงาน๔. เป็นการผสมผสานให้กิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผล๕. เป็นการลดภาระงานซ่อมเสริมของครู
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๖. การวัดผลภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)	การวัดผลภาคปฏิบัติ เป็นการวัดผลงานที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งกระบวนการและผลงาน ในสถานการณ์จริง หรือในสถานการณ์จำลอง สิ่งที่ควรคำนึงในการสอบวัดภาคปฏิบัติคือ	๑. ขั้นเตรียมงาน	๒. ขั้นปฏิบัติงาน	๓. เวลาที่ใช้ในการทำงาน	๔. ผลงาน
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๗. การประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolios) 	เป็นแนวทางการประเมินผลโดยการรวมข้อมูลที่ครูและผู้เรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดภาคเรียน ดังนั้นการวัดผลและประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานส่วนหนึ่ง จะเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ใสภาพการเรียนประจำวัน โดยกิจกรรมที่สอดแทรกเหล่านี้จะวัด เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตประจำวัน
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๘. แบบทดสอบ (Test) แบบทดสอบ หมายถึงชุดคำถามหรือกลุ่มงานใดๆที่สร้างขึ้นเพื่อชักนำให้ผู้ถูกทดสอบ  แสดงพฤติกรรม หรือปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาให้สามารถสังเกตได้
ประเภทของแบบทดสอบ สามารถแบ่งประเภทออกได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่จะใช้๘.๑ แบ่งตามพฤติกรรมหรือตามสมรรถภาพที่จะวัด แบ่งเป็น ๓                  ประเภท	๑. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) หมายถึง แบบทดสอบที่วัดสมรรถภาพสมองด้านต่าง ๆ ที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้ผ่านมาแล้วว่ามีอยู่เท่าใดแบบทดสอบแบ่งออกเป็น ๒ชนิด	     ๑.๑แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเฉพาะกลุ่มที่ครูสอน	     ๑.๒แบบทดสอบมาตรฐาน หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพต่าง ๆ ของนักเรียนที่ต่างกลุ่มกัน เช่น แบบทดสอบมาตรฐานระดับชาติ
๒. แบบทดสอบวัดความถนัด (Aptitude Test) หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดสมรรถภาพสมองของ ผู้เรียน	     ๒.๑แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดความถนัดทางด้านวิชาการต่าง ๆ เช่น ด้านภาษา	     ๒.๒แบบทดสอบวัดความถนัดเฉพาะ หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดความถนัดเฉพาะที่เกี่ยวกับงานอาชีพต่าง ๆ หรือความสามารถพิเศษ เช่น ความสามารถทางดนตรี	๓. แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพทางสังคม หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดบุคลิกภาพและการปรับตัวให้เข้ากับ สังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่วัด ได้ยาก ผลที่ได้ไม่คงที่แน่นอน	     ๓.๑แบบทดสอบวัดเจตคติที่มีต่อบุคคล สิ่งของ เรื่องราว	     ๓.๒แบบทดสอบวัดความสนใจที่มีต่ออาชีพ การศึกษา	     ๓.๓แบบทดสอบวัดการปรับตัว เช่น การปรับตัวเข้ากับเพื่อน ๆ
๘.๒ แบ่งตามลักษณะการตอบ	๑.แบบทดสอบภาคปฏิบัติ หมายถึง แบบทดสอบที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง เช่น การปรุงอาหาร	๒.แบบทดสอบข้อเขียน หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้การเขียนตอบ	๓.แบบทดสอบปากเปล่า หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้การพูดโต้ตอบแทนการเขียน ๘.๓ แบ่งตามเวลาที่กำหนดให้ตอบ	๑.แบบทดสอบที่จำกัดเวลาในการตอบ หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้เวลาน้อย	๒.แบบทดสอบที่ไม่จำกัดเวลาในการตอบ หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้เวลาตอบมาก
๘.๔แบ่งตามจำนวนผู้เข้าสอบ๑.แบบทดสอบเป็นรายบุคคล หมายถึง การสอบทีละคนมักเป็นการสอบภาคปฏิบัติ๒.แบบทดสอบเป็นชั้นหรือเป็นหมู่ หมายถึง การสอบทีละหลาย ๆ คน ๘.๕แบ่งตามสิ่งเร้าของการถาม5.1 แบบทดสอบทางภาษา หมายถึง แบบทดสอบที่ต้องอาศัยภาษาของสังคมนั้น ๆ เป็นหลัก ใช้กับผู้ที่อ่านออกเขียนได้5.2 แบบทดสอบที่ไม่ใช้ภาษา หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้รูปภาพ สัญลักษณ์หรือตัวเลข
๘.๖แบ่งตามลักษณะของการใช้ประโยชน์ 	๑.แบบทดสอบย่อย หมายถึง แบบทดสอบประจำบท หรือหน่วยการเรียน	๒.แบบทดสอบรวม หมายถึง แบบทดสอบสรุปรวมเนื้อหาที่เรียนผ่านมาตลอดภาคเรียน ๘.๗แบ่งตามเนื้อหาของข้อสอบในฉบับ	๑.แบบทดสอบอัตนัย หมายถึง แบบทดสอบที่มีเฉพาะคำถามนักเรียนต้องคิดหาคำตอบเอง	๒.แบบทดสอบปรนัย หมายถึง แบบทดสอบที่มีทั้งคำถามและคำตอบเฉพาะคงที่แน่นอน
การวิเคราะห์ข้อมูล 	การวิเคราะห์ข้อมูล  เป็นกระบวนการนำข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลได้ มาจัดระเบียบ แยกประเภท หรือใช้วิธีการทางสถิติ เพื่อตอบคำถามตามจุดมุ่งหมายของการประเมิน 	ลักษณะของข้อมูล ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่สนใจจะศึกษา ข้อมูลอาจแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้อมูลที่อยู่ในรูปของจำนวน ปริมาณ หรือ ตัวเลข ๒. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลที่ไม่อยู่ในรูปของจำนวนและตัวเลข 	ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูล   แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ  ๑.การวิเคราะห์โดยไม่ใช้วิธีการทางสถิติ ๒.การวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติ
การประเมินผลทางการศึกษา การประเมินผลทางการศึกษา ( Educational Evaluation ) หมายถึง กระบวนการในการตัดสินใจลงสรุปคุณลักษณะหรือพฤติกรรมของนักเรียนว่ามีคุณภาพดีระดับใดโดยอาศัยเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งในการเปรียบเทียบ  มีองค์ประกอบ ๓ ประการคือ 		๑. ผลการวัด( Measurement) ทำให้ทราบสภาพความจริงของสิ่งที่จะประเมินว่ามีปริมาณเท่าไร มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณา	๒. เกณฑ์การพิจารณา ( criteria) ในการที่จะตัดสินใจหรือลงสรุปสิ่งใดจะต้องมีมาตรฐานสำหรับสิ่งที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้จากการวัด	๓. การตัดสินใจ ( Decision ) เป็นการชี้ขาดหรือสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างผลการวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดว่าสอดคล้องกันหรือไม่ การตัดสินใจที่ดีต้องอาศัยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน กระทำอย่างยุติธรรม
ขอบข่ายของการประเมินผลทางการศึกษา การประเมินทางการศึกษาจะขอบข่ายกว้าง - แคบเพียงใดและครอบคลุมสิ่งใดบ้างนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจและการมองภาพของคำว่า การศึกษา ว่าประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง กล่าวคือ ถ้ามองภาพการศึกษาว่าเป็นการเรียนการสอนในห้องเรียนเพียงประการเดียว การประเมินการศึกษาก็จะประเมินเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่ถ้ามองภาพการศึกษากว้างไกลออกไปถึงองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียน การประเมินทางการศึกษาก็จะต้องคลอบคลุมไปถึงองค์ประกอบดังกล่าวด้วย	Input ได้แก่ ตัวนักเรียนทั้งในแง่ของระดับสติปัญญา ความสนใจสภาพแวดล้อมฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม	Process ได้แก่ การวางแผนการดำเนินการ การบริหาร ซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมการเรียนการสอน	Product หรือ Output ได้แก่ ผลที่ได้จากผลรวมของ input และ Process เช่นความรู้ความสามารถ สติปัญญา เจตคติ คุณธรรม ทักษะในด้านต่างๆ เป็นต้น
ความมุ่งหมายของการประเมินทางการศึกษา การประเมินทางการศึกษามีความหมายทางการประเมินทางการประเมินพอสรุปได้ ๓ ประการ๑. การประเมินเพื่อวินิจฉัย เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่อง ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน๒. การประเมินเพื่อปรับปรุง เป็นการปรับปรุงระหว่างการดำเนินงานโดยพิจารณาว่าจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ตรงกับความต้องการ และเป็นที่ยอมรับหรือไม่๓. การประเมินเพื่อตัดสินเพื่อลงสรุป เป็นประเมินการดำเนินงานว่าการดำเนินงานนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่
ความสำคัญของการประเมินทางการศึกษา 	๑. ช่วยชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานเหมาะสมเพียงใด๒. ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่๓. ช่วยกระตุ้นให้มีการเร่งรัด ปรับปรุง และการดำเนินงาน๔. ช่วยเห็นข้อบกพร่องในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนเป็นหลักในการปรับปรุงในการดำเนินงาน๕. ช่วยควบคุมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ๖. เป็นแนวทางในการกำหนดวิธีการในการดำเนินงานครั้งต่อไป
หลักการของการประเมินผลทางการศึกษา ๑. กำหนดสิ่งที่จะประเมินให้ชัดเจนและวัดได้ เป็นการกำหนดว่าจะตัดสินใจให้คุณค่า   ในเรื่องอะไร๒. วางแผนการประเมินให้รัดกุม ผู้ประเมินมีการวางแผนเก็บข้อมูล ที่เที่ยงตรงและเชื่อมั่นได้๓. เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินต้องสัมพันธ์กับสิ่งที่ต้องการวัดและจุดมุ่งหมายของการประเมิน๔. เลือกใช้เครื่องมือในการประเมินที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะประเมิน๕. ปราศจากความลำเอียง	สรุปการประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจด้วยความรอบคอบก่อนตัดสินใจ จะต้องประเมินด้วยความเที่ยงธรรมและมีคุณธรรมอย่างสูง
การกำหนดสิ่งที่จะประเมินเกี่ยวกับการเรียนการสอน 	๑.การประเมินก่อนการมีการเรียนการสอน 	๒.การประเมินขณะทำการเรียนการสอน 	๓.การประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน
การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ เป็นการวัดที่ต้องการทราบว่าบุคคลนั้นมีความสามารถถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่  การประเมินผลต้องนำคะแนนที่ได้จากผลงานไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้  การวัดผลใช้ในการวัดสมรรถภาพเป็นรายบุคคล  ถ้านักเรียนทำข้อสอบได้ถูกต้องถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ถือว่าได้เรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายแล้ว ข้อควรคำนึงการประเมินแบบอิงเกณฑ์ 	๑.วัตถุประสงค์การสอนต้องชัดเจน 	๒.ข้อสอบมีความเที่ยงตรงสูงและครอบคลุมวัตถุประสงค์การสอน 	๓.เกณฑ์ที่วัดต้องชัดเจน  มีหลักเกณฑ์ที่อ้างอย่างยุติธรรม
การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม เป็นการวัดเพื่อเปรียบเทียบคะแนนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น  คือจำแนกคะแนนสูงสุดจนต่ำสุดแล้วจึงนำคะแนนเหล่านั้นมาเปรียบเทียบเพื่อประเมินต่อไป  ข้อควรคำนึงการประเมินแบบอิงกลุ่ม 		๑.ข้อสอบต้องมีคุณภาพสูง  มีความเชื่อมั่นและเที่ยงตรง 		๒.ข้อสอบที่ใช้ต้องครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด	 	การประเมินจะต้องมีความยุติธรรม  ตามสภาพความเป็นจริงของผลการเรียน

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Nat Thida
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Nat Thida
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Nat Thida
 
มโนทัศน์เบื้องต้นสู่การวัดผล
มโนทัศน์เบื้องต้นสู่การวัดผลมโนทัศน์เบื้องต้นสู่การวัดผล
มโนทัศน์เบื้องต้นสู่การวัดผลNU
 
สรุปการวัดประเมินผล
สรุปการวัดประเมินผลสรุปการวัดประเมินผล
สรุปการวัดประเมินผลTupPee Zhouyongfang
 
การวัด.docx
การวัด.docxการวัด.docx
การวัด.docxssuserdad9e8
 
๑ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษา
๑ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษา๑ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษา
๑ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษาNU
 
อาม1
อาม1อาม1
อาม1arm_2010
 
เบญ2
เบญ2เบญ2
เบญ2ben_za
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้สุเทพ สอนนิล
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลBB_FF
 
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้poms0077
 

Was ist angesagt? (17)

บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
มโนทัศน์เบื้องต้นสู่การวัดผล
มโนทัศน์เบื้องต้นสู่การวัดผลมโนทัศน์เบื้องต้นสู่การวัดผล
มโนทัศน์เบื้องต้นสู่การวัดผล
 
สรุปการวัดประเมินผล
สรุปการวัดประเมินผลสรุปการวัดประเมินผล
สรุปการวัดประเมินผล
 
บทความการออกแบบการสอน
บทความการออกแบบการสอนบทความการออกแบบการสอน
บทความการออกแบบการสอน
 
การวัด.docx
การวัด.docxการวัด.docx
การวัด.docx
 
๑ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษา
๑ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษา๑ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษา
๑ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดผลการศึกษา
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
 
อาม1
อาม1อาม1
อาม1
 
เบญ2
เบญ2เบญ2
เบญ2
 
ครู 3
ครู 3ครู 3
ครู 3
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
 
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
 

Andere mochten auch

บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7Phuntita
 
สรุป บทที่7
สรุป บทที่7สรุป บทที่7
สรุป บทที่7Phuntita
 

Andere mochten auch (9)

บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
สรุป บทที่7
สรุป บทที่7สรุป บทที่7
สรุป บทที่7
 
อังรพิมพ์
อังรพิมพ์อังรพิมพ์
อังรพิมพ์
 
งานนำเสนอ8
งานนำเสนอ8งานนำเสนอ8
งานนำเสนอ8
 
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ ๗ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 

Ähnlich wie งานนำเสนอ8

บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Nat Thida
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Nat Thida
 
งานบทที่ 8
งานบทที่ 8งานบทที่ 8
งานบทที่ 8hadesza
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลwisnun
 
ฟ้า1
ฟ้า1ฟ้า1
ฟ้า1fa_o
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8team00428
 
สรุปบทที่ 8
สรุปบทที่ 8สรุปบทที่ 8
สรุปบทที่ 8Tsheej Thoj
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Nat Thida
 
บทที่+8
บทที่+8บทที่+8
บทที่+8paynarumon
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลmaymymay
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลmaymymay
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลmaymymay
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1yuapawan
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1yuapawan
 
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้yuapawan
 
งานบทที่8
งานบทที่8งานบทที่8
งานบทที่8tum521120935
 
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ประเมินผลการศึกษา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ประเมินผลการศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ประเมินผลการศึกษา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ประเมินผลการศึกษาaumkpru45
 

Ähnlich wie งานนำเสนอ8 (20)

บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
งานบทที่ 8
งานบทที่ 8งานบทที่ 8
งานบทที่ 8
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
 
ฟ้า1
ฟ้า1ฟ้า1
ฟ้า1
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
สรุปบทที่ 8
สรุปบทที่ 8สรุปบทที่ 8
สรุปบทที่ 8
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
นาว1
นาว1นาว1
นาว1
 
บทที่+8
บทที่+8บทที่+8
บทที่+8
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
 
งานบทที่8
งานบทที่8งานบทที่8
งานบทที่8
 
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ประเมินผลการศึกษา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ประเมินผลการศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ประเมินผลการศึกษา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ประเมินผลการศึกษา
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 

งานนำเสนอ8

  • 2. ความหมายของการวัดผล การทดสอบ และการประเมินผล การวัดผลการ (Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ การทดสอบการศึกษา หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผล
  • 3. ความหมายของการวัดผล การทดสอบ และการประเมินผล(ต่อ) บลูม (Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น ๓ลักษณะ ๑.วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด (วัดด้านสมอง) ๒.วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด (วัดด้านจิตใจ) ๓.วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (วัดด้านการปฏิบัติ)
  • 4. จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา ๑. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน๒. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ๓. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ ๑ ๒ ๓
  • 5. จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา(ต่อ) ๔. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน๕. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต๖. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
  • 6. หลักการวัดผลการศึกษา ๑. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด๒. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์๓. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู๔. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม๕. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น
  • 7. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล ๑. การสังเกต (Observation) การสังเกต คือ การพิจารณาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อค้นหาความจริงบางประการ โดยอาศัยประสาท สัมผัสของผู้สังเกตโดยตรงรูปแบบของการสังเกต๑. การสังเกตโดยผู้สังเกตเข้าไปร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรม หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วม หรือคลุกคลีในหมู่ผู้ถูกสังเกต และอาจร่มทำกิจกรรมด้วยกัน๒. การสังเกตโดยผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปร่วมในเหตุการณ์ หมายถึง การสังเกตที่ผู้ถูกสังเกตอยู่ภายนอกวงของผู้ถูกสังเกต คือสังเกตในฐานะเป็นบุคคลภายนอก การสังเกตแบบ นี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด๒.๑การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้กำหนดหัวเรื่องเฉพาะเอาไว้๒.๒การสังเกตแบบมีโครงสร้าง หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตกำหนดเรื่องที่จะสังเกตเฉพาะเอาไว้
  • 8. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๒. การสัมภาษณ์ (Interview) การสัมภาษณ์ คือ การสนทนาหรือการพูดโต้ตอบกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาความรู้ ความจริง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้ารูปแบบของการสัมภาษณ์๑. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การสัมภาษณ์ที่ไม่ใช่แบบสัมภาษณ์ คือ ไม่จำเป็นต้องใช้ คำถามที่เหมือนกันหมดกับผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกคน๒. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง หมายถึง การสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นไว้แล้ว
  • 9. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๓. แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสอบถามเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีการที่สะดวก และสามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวางรูปแบบของแบบสอบถาม๑. แบบสอบถามชนิดปลายเปิด (Open-ended Form)แบบสอบถามชนิดนี้ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ตอบเขียนตอบอย่างอิสระด้วยความคิดของตนเอง แบบสอบถามชนิดนี้ตอบยากและเสียเวลาในการตอบมาก เพราะผู้ตอบจะต้องคิดวิเคราะห์อย่างกว้างขวาง
  • 10. ๒. แบบสอบถามปลายปิด (Closed - ended Form)แบบสอบถามชนิดนี้ประกอบ ด้วย ข้อคำถามและตัวเลือก (คำตอบ) ซึ่งตัวเลือกนี้สร้างขึ้นโดยคาดว่าผู้ตอบ สามารถเลือกตอบ ได้ตามความต้องการ แบบสอบถามชนิดปลายปิด แบ่งเป็น ๔แบบ๒.๑แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นการสร้างรายการของข้อคำถามที่เกี่ยวหรือสัมพันธ์กับคุณลักษณะของพฤติกรรม แต่ละรายการจะถูกประเมิน หรือชี้ให้ตอบในแง่ใดแง่หนึ่ง เช่น มี - ไม่มี จริง - ไม่จริง๒.๒มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในประเมินการปฏิบัติ กิจกรรม ทักษะต่าง ๆ มีระดับความเข้มให้พิจารณาตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไป เช่น เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง๒.๓แบบจัดอันดับ (Rank Order) มักจะให้ผู้ตอบจัดอันดับความสำคัญหรือคุณภาพ โดยให้ผู้ตอบเรียงลำกับตามความเข้มจากมากไปหาน้อย
  • 11. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๔. การจัดอันดับ (Rank Order)เป็นเครื่องมือมือวัดผลให้นักเรียน หรือผู้ได้รับแบบสอบถามเป็นผู้ตอบ โดยการจัดอันดับความสำคัญหรือจัดอันดับคุณภาพ และใช้จัดอันดับของข้อมูลหรือผลงานต่าง ๆ ของนักเรียนแล้วจึงให้คะแนน ภายหลังเพื่อการประเมิน
  • 12. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๕. การประเมินผลจากสภาพจริง (Authentic Assessment) หมายถึง กระบวนการสังเกต การบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่นักเรียนทำ การประเมินผลจากสภาพจริงจะเน้นให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหา เป็นผู้ค้นพบและผู้ผลิตความรู้ นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน
  • 13. ความสำคัญของการประเมินผลจากสภาพจริง๑. การเรียนการสอนและการวัดประเมินผลจากสภาพจริง จะเอื้อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล๒. เป็นการเอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง๓. เป็นการเน้นให้นักเรียนได้สร้างงาน๔. เป็นการผสมผสานให้กิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผล๕. เป็นการลดภาระงานซ่อมเสริมของครู
  • 14. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๖. การวัดผลภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) การวัดผลภาคปฏิบัติ เป็นการวัดผลงานที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งกระบวนการและผลงาน ในสถานการณ์จริง หรือในสถานการณ์จำลอง สิ่งที่ควรคำนึงในการสอบวัดภาคปฏิบัติคือ ๑. ขั้นเตรียมงาน ๒. ขั้นปฏิบัติงาน ๓. เวลาที่ใช้ในการทำงาน ๔. ผลงาน
  • 15. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๗. การประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolios) เป็นแนวทางการประเมินผลโดยการรวมข้อมูลที่ครูและผู้เรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดภาคเรียน ดังนั้นการวัดผลและประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานส่วนหนึ่ง จะเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ใสภาพการเรียนประจำวัน โดยกิจกรรมที่สอดแทรกเหล่านี้จะวัด เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตประจำวัน
  • 16. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล(ต่อ) ๘. แบบทดสอบ (Test) แบบทดสอบ หมายถึงชุดคำถามหรือกลุ่มงานใดๆที่สร้างขึ้นเพื่อชักนำให้ผู้ถูกทดสอบ แสดงพฤติกรรม หรือปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาให้สามารถสังเกตได้
  • 17. ประเภทของแบบทดสอบ สามารถแบ่งประเภทออกได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่จะใช้๘.๑ แบ่งตามพฤติกรรมหรือตามสมรรถภาพที่จะวัด แบ่งเป็น ๓ ประเภท ๑. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) หมายถึง แบบทดสอบที่วัดสมรรถภาพสมองด้านต่าง ๆ ที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้ผ่านมาแล้วว่ามีอยู่เท่าใดแบบทดสอบแบ่งออกเป็น ๒ชนิด ๑.๑แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเฉพาะกลุ่มที่ครูสอน ๑.๒แบบทดสอบมาตรฐาน หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดผลสัมฤทธิ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพต่าง ๆ ของนักเรียนที่ต่างกลุ่มกัน เช่น แบบทดสอบมาตรฐานระดับชาติ
  • 18. ๒. แบบทดสอบวัดความถนัด (Aptitude Test) หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดสมรรถภาพสมองของ ผู้เรียน ๒.๑แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดความถนัดทางด้านวิชาการต่าง ๆ เช่น ด้านภาษา ๒.๒แบบทดสอบวัดความถนัดเฉพาะ หมายถึง แบบทดสอบที่มุ่งวัดความถนัดเฉพาะที่เกี่ยวกับงานอาชีพต่าง ๆ หรือความสามารถพิเศษ เช่น ความสามารถทางดนตรี ๓. แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพทางสังคม หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดบุคลิกภาพและการปรับตัวให้เข้ากับ สังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่วัด ได้ยาก ผลที่ได้ไม่คงที่แน่นอน ๓.๑แบบทดสอบวัดเจตคติที่มีต่อบุคคล สิ่งของ เรื่องราว ๓.๒แบบทดสอบวัดความสนใจที่มีต่ออาชีพ การศึกษา ๓.๓แบบทดสอบวัดการปรับตัว เช่น การปรับตัวเข้ากับเพื่อน ๆ
  • 19. ๘.๒ แบ่งตามลักษณะการตอบ ๑.แบบทดสอบภาคปฏิบัติ หมายถึง แบบทดสอบที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง เช่น การปรุงอาหาร ๒.แบบทดสอบข้อเขียน หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้การเขียนตอบ ๓.แบบทดสอบปากเปล่า หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้การพูดโต้ตอบแทนการเขียน ๘.๓ แบ่งตามเวลาที่กำหนดให้ตอบ ๑.แบบทดสอบที่จำกัดเวลาในการตอบ หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้เวลาน้อย ๒.แบบทดสอบที่ไม่จำกัดเวลาในการตอบ หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้เวลาตอบมาก
  • 20. ๘.๔แบ่งตามจำนวนผู้เข้าสอบ๑.แบบทดสอบเป็นรายบุคคล หมายถึง การสอบทีละคนมักเป็นการสอบภาคปฏิบัติ๒.แบบทดสอบเป็นชั้นหรือเป็นหมู่ หมายถึง การสอบทีละหลาย ๆ คน ๘.๕แบ่งตามสิ่งเร้าของการถาม5.1 แบบทดสอบทางภาษา หมายถึง แบบทดสอบที่ต้องอาศัยภาษาของสังคมนั้น ๆ เป็นหลัก ใช้กับผู้ที่อ่านออกเขียนได้5.2 แบบทดสอบที่ไม่ใช้ภาษา หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้รูปภาพ สัญลักษณ์หรือตัวเลข
  • 21. ๘.๖แบ่งตามลักษณะของการใช้ประโยชน์ ๑.แบบทดสอบย่อย หมายถึง แบบทดสอบประจำบท หรือหน่วยการเรียน ๒.แบบทดสอบรวม หมายถึง แบบทดสอบสรุปรวมเนื้อหาที่เรียนผ่านมาตลอดภาคเรียน ๘.๗แบ่งตามเนื้อหาของข้อสอบในฉบับ ๑.แบบทดสอบอัตนัย หมายถึง แบบทดสอบที่มีเฉพาะคำถามนักเรียนต้องคิดหาคำตอบเอง ๒.แบบทดสอบปรนัย หมายถึง แบบทดสอบที่มีทั้งคำถามและคำตอบเฉพาะคงที่แน่นอน
  • 22. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นกระบวนการนำข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลได้ มาจัดระเบียบ แยกประเภท หรือใช้วิธีการทางสถิติ เพื่อตอบคำถามตามจุดมุ่งหมายของการประเมิน ลักษณะของข้อมูล ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่สนใจจะศึกษา ข้อมูลอาจแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้อมูลที่อยู่ในรูปของจำนวน ปริมาณ หรือ ตัวเลข ๒. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลที่ไม่อยู่ในรูปของจำนวนและตัวเลข ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.การวิเคราะห์โดยไม่ใช้วิธีการทางสถิติ ๒.การวิเคราะห์โดยใช้วิธีการทางสถิติ
  • 23. การประเมินผลทางการศึกษา การประเมินผลทางการศึกษา ( Educational Evaluation ) หมายถึง กระบวนการในการตัดสินใจลงสรุปคุณลักษณะหรือพฤติกรรมของนักเรียนว่ามีคุณภาพดีระดับใดโดยอาศัยเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งในการเปรียบเทียบ มีองค์ประกอบ ๓ ประการคือ ๑. ผลการวัด( Measurement) ทำให้ทราบสภาพความจริงของสิ่งที่จะประเมินว่ามีปริมาณเท่าไร มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณา ๒. เกณฑ์การพิจารณา ( criteria) ในการที่จะตัดสินใจหรือลงสรุปสิ่งใดจะต้องมีมาตรฐานสำหรับสิ่งที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้จากการวัด ๓. การตัดสินใจ ( Decision ) เป็นการชี้ขาดหรือสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างผลการวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดว่าสอดคล้องกันหรือไม่ การตัดสินใจที่ดีต้องอาศัยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน กระทำอย่างยุติธรรม
  • 24. ขอบข่ายของการประเมินผลทางการศึกษา การประเมินทางการศึกษาจะขอบข่ายกว้าง - แคบเพียงใดและครอบคลุมสิ่งใดบ้างนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจและการมองภาพของคำว่า การศึกษา ว่าประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง กล่าวคือ ถ้ามองภาพการศึกษาว่าเป็นการเรียนการสอนในห้องเรียนเพียงประการเดียว การประเมินการศึกษาก็จะประเมินเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่ถ้ามองภาพการศึกษากว้างไกลออกไปถึงองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียน การประเมินทางการศึกษาก็จะต้องคลอบคลุมไปถึงองค์ประกอบดังกล่าวด้วย Input ได้แก่ ตัวนักเรียนทั้งในแง่ของระดับสติปัญญา ความสนใจสภาพแวดล้อมฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม Process ได้แก่ การวางแผนการดำเนินการ การบริหาร ซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมการเรียนการสอน Product หรือ Output ได้แก่ ผลที่ได้จากผลรวมของ input และ Process เช่นความรู้ความสามารถ สติปัญญา เจตคติ คุณธรรม ทักษะในด้านต่างๆ เป็นต้น
  • 25. ความมุ่งหมายของการประเมินทางการศึกษา การประเมินทางการศึกษามีความหมายทางการประเมินทางการประเมินพอสรุปได้ ๓ ประการ๑. การประเมินเพื่อวินิจฉัย เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่อง ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน๒. การประเมินเพื่อปรับปรุง เป็นการปรับปรุงระหว่างการดำเนินงานโดยพิจารณาว่าจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ตรงกับความต้องการ และเป็นที่ยอมรับหรือไม่๓. การประเมินเพื่อตัดสินเพื่อลงสรุป เป็นประเมินการดำเนินงานว่าการดำเนินงานนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่
  • 26. ความสำคัญของการประเมินทางการศึกษา ๑. ช่วยชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานเหมาะสมเพียงใด๒. ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่๓. ช่วยกระตุ้นให้มีการเร่งรัด ปรับปรุง และการดำเนินงาน๔. ช่วยเห็นข้อบกพร่องในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนเป็นหลักในการปรับปรุงในการดำเนินงาน๕. ช่วยควบคุมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ๖. เป็นแนวทางในการกำหนดวิธีการในการดำเนินงานครั้งต่อไป
  • 27. หลักการของการประเมินผลทางการศึกษา ๑. กำหนดสิ่งที่จะประเมินให้ชัดเจนและวัดได้ เป็นการกำหนดว่าจะตัดสินใจให้คุณค่า ในเรื่องอะไร๒. วางแผนการประเมินให้รัดกุม ผู้ประเมินมีการวางแผนเก็บข้อมูล ที่เที่ยงตรงและเชื่อมั่นได้๓. เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินต้องสัมพันธ์กับสิ่งที่ต้องการวัดและจุดมุ่งหมายของการประเมิน๔. เลือกใช้เครื่องมือในการประเมินที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะประเมิน๕. ปราศจากความลำเอียง สรุปการประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจด้วยความรอบคอบก่อนตัดสินใจ จะต้องประเมินด้วยความเที่ยงธรรมและมีคุณธรรมอย่างสูง
  • 29. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ เป็นการวัดที่ต้องการทราบว่าบุคคลนั้นมีความสามารถถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ การประเมินผลต้องนำคะแนนที่ได้จากผลงานไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การวัดผลใช้ในการวัดสมรรถภาพเป็นรายบุคคล ถ้านักเรียนทำข้อสอบได้ถูกต้องถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ถือว่าได้เรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายแล้ว ข้อควรคำนึงการประเมินแบบอิงเกณฑ์ ๑.วัตถุประสงค์การสอนต้องชัดเจน ๒.ข้อสอบมีความเที่ยงตรงสูงและครอบคลุมวัตถุประสงค์การสอน ๓.เกณฑ์ที่วัดต้องชัดเจน มีหลักเกณฑ์ที่อ้างอย่างยุติธรรม
  • 30. การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม เป็นการวัดเพื่อเปรียบเทียบคะแนนของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น คือจำแนกคะแนนสูงสุดจนต่ำสุดแล้วจึงนำคะแนนเหล่านั้นมาเปรียบเทียบเพื่อประเมินต่อไป ข้อควรคำนึงการประเมินแบบอิงกลุ่ม ๑.ข้อสอบต้องมีคุณภาพสูง มีความเชื่อมั่นและเที่ยงตรง ๒.ข้อสอบที่ใช้ต้องครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด การประเมินจะต้องมีความยุติธรรม ตามสภาพความเป็นจริงของผลการเรียน