SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 2
Downloaden Sie, um offline zu lesen
086 eENTERPRISE
AGILE ENTERPRISE
เมื่อกล่าวถึงเรื่องความสามารถหรือความฉลาด
แล้ว หลายคนคงนึกถึงการวัดไอคิว หรือ Intel-
ligenceQuotientแต่ในการท�ำงานทุกวันนี้เรา
กลับพบว่า คนท�ำงานไอคิวสูง ไม่ได้รับประกัน
ว่า ผลงานของทีมจะออกมาดีอย่างที่คิดเสมอ
ไป เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงมีค�ำถามต่อไปว่าอะไร
คือตัวบ่งชี้ถึงความส�ำเร็จและผลงานที่มี
ประสิทธิภาพของทีม
ปัจจุบันนักสังคมศาสตร์ต่างก็ตั้งค�ำถามเรื่อง
เดียวกันนี้ มีงานวิจัยหลายต่อหลายชิ้น ศึกษา
ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการท�ำงานของ
ทีม เชื่อหรือไม่ว่า งานวิจัยเหล่านี้ชี้ชัดว่า ไอคิว
หรือความฉลาดของสมาชิกในทีมไม่ได้มีผลกับ
ประสิทธิภาพการท�ำงานของทีมเท่าใดนัก แต่
ผลการวิจัยกลับชี้ให้เห็นถึงปัจจัยในการท�ำงาน
ที่แตกต่างกันออกไป
ตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่สถาบันเทคโน-
โลยีแมสซาชูเซ็ตส์ที่เกิดจากเหล่านักวิจัยสงสัย
ว่าจะวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของทีม
ได้หรือไม่ พวกเขาท�ำการทดลองอย่างละเอียด
โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มละ 2-5 คน โดย
ให้แก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบทั้งแบบเกมลับ
สมองประลองปัญญา หรือข้อสอบเชาว์ (IQ
Test) หรือแม้แต่การแก้ปัญหาจริยธรรมแบบ
ทวิบถที่ไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้ชัดเจน
(Moral Dilemmas) หรือจะเป็นการเล่น
หมากฮอสผลปรากฏว่านักวิจัยสามารถระบุถึง
ปัจจัยที่สามารถท�ำนายประสิทธิภาพในการแก้
ปัญหาของทีมได้ โดยพบว่ามีตัวชี้วัด 3 ด้านที่
ส่งผลมากกว่าตัวชี้วัดอื่นๆ ดังนี้
ตัวชี้วัดที่ 1 วัดจากคะแนนในการท�ำการ
ทดสอบที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า“การอ่านใจผ่าน
ดวงตา” (Reading the Mind in the Eyes) ใน
การทดสอบนี้นักวิจัยจะฉายภาพเฉพาะดวงตา
แล้วให้ผู้ทดสอบเดาว่าเจ้าของดวงตานั้นก�ำลัง
รู้สึกอย่างไร เช่น สนุก ตื่นเต้น เบื่อ หรือร�ำคาญ
ทีมที่มีคะแนนของการทดสอบนี้สูงจะมีประสิทธิ
ภาพในการแก้ปัญหาของทีมได้สูง
ตัวชี้วัดที่ 2 วัดได้จากจ�ำนวนสมาชิกในทีมที่
ผูกขาดการสนทนาภายในทีม ซึ่งได้จากการวัด
ปริมาณการสนทนาของสมาชิกแต่ละคนในทีม
นักวิจัยพบว่าทีมที่มีจ�ำนวนสมาชิกที่ผูกขาดการ
สนทนาในทีมน้อยหรืออีกนัยหนึ่งคือสมาชิกใน
ทีมมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันมาก จะมี
ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของทีมได้สูง
ตัวชี้วัดตัวที่ 3เป็นตัวชี้วัดที่อาจจะท�ำให้หลาย
คนประหลาดใจนั่นคือจ�ำนวนของสมาชิกในทีม
ที่เป็นผู้หญิง ทีมที่มีสัดส่วนจ�ำนวนผู้หญิง
มากกว่าจะมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้
สูงกว่า ทั้งนี้ผู้หญิงนั้นได้ชื่อว่ามีความสามารถ
ในการรับรู้ทางสังคมได้ดีกว่าผู้ชายมาแต่
ไหนแต่ไร และความสามารถในการรับรู้ทาง
สังคมนั่นเอง ที่ท�ำให้ทีมที่มีผู้หญิงมากกว่ามี
ประสิทธิภาพมากกว่า
นักวิจัยเรียกตัวชี้วัดทั้ง 3 นี้รวมกันว่า แฟค-
เตอร์ซี (Factor C) ซึ่งมีที่มาจาก Collective
Intelligence หรือความฉลาดองค์รวม ซึ่งนัก
วิจัยคาดหวังว่าในอนาคตเราจะสามารถพัฒนา
แฟคเตอร์ซีให้เป็นตัวชี้วัดความฉลาดองค์รวม
ของทีมได้เหมือนกับที่เราใช้IQในการวัดความ
โค้ชกร & โค้ชปอม
จาก Lean In Consulting (coach@lean-in.co)
ผู้เชี่ยวชาญในการสร้าง Business Agility ให้กับองค์กร
ทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร
ความลับของการสร้างทีม
ให้มีประสิทธิภาพ
Agile_312.indd 86 2/4/58 BE 11:20 AM
087
ฉลาดรายบุคคล ณ จุดนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า
ตัวชี้วัดเหล่านี้เกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพของ
ทีมอย่างไร แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดและเป็นปัจจัย
ที่ส�ำคัญที่สุดคงจะเป็นความสามารถที่สมาชิก
แต่ละคนจะร่วมมือกันได้
เรื่องความเก่งของตัวบุคคลที่ไม่มีผลมากนักกับ
ความเก่งของทีมอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ตัวอย่าง
เช่นในวงการกีฬาเราอาจจะเคยได้ยินว่าในช่วง
แรกของชีวิตนักบาสเก็ตบอลอาชีพ “ไมเคิล
จอร์แดน” นั้น เขาเป็นนักกีฬาที่มีทักษะและ
ความสามารถเฉพาะตัวสูงมาก แต่เขาก็ไม่เคย
น�ำทีมคว้าแชมป์ได้เลย ซึ่งต่างกับ “แมจิค
จอห์นสัน” ที่เป็นนักบาสเก็ตบอลที่เก่งและยัง
สามารถท�ำให้เพื่อนร่วมทีม เปลี่ยนจากผู้เล่น
ธรรมดาให้กลายเป็นระดับดาราได้ แต่ในการ
ท�ำงานเป็นทีมในองค์กรนั้น เรื่องนี้ยังไม่เป็นที่
เข้าใจหรือรับรู้กันมากนัก ผู้บริหารหลายคนยัง
มีความเชื่อในทางตรงกันข้ามด้วยซ�้ำว่า การมี
สมาชิกร่วมทีมที่เก่งย่อมต้องส่งผลให้ทีมนั้น
ท�ำงานได้มีประสิทธิภาพดี
หลายๆ คนที่คลุกคลีอยู่ในวงการ
พัฒนาซอฟต์แวร์มานาน คงจะ
ทราบดีถึงปัญหาต่างๆ ในการ
พัฒนาซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นความ
ล�ำบากในการบริหารงบประมาณ
การควบคุมคุณภาพการผลิต หรือ
การพัฒนาบุคลากร จนเคยมีคน
กล่าวว่าอุตสาหกรรมการพัฒนา
ซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความ
เสี่ยงในการล้มเหลวมากที่สุดอุตสาหกรรมหนึ่ง
แต่อาจจะมีคนไม่มากนักที่จะตระหนักว่า
ปัญหาส่วนใหญ่นั้นเป็นปัญหาของคนมากกว่า
ปัญหาด้านเทคนิคในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้มี
องค์ความรู้หนึ่งซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาต่างๆที่
กล่าวมาของการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยให้ความ
ส�ำคัญกับการท�ำงานเป็นทีมและความฉลาด
องค์รวมเป็นอย่างมากองค์ความรู้นั้นเป็นที่รู้จัก
กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันในแนวทางของอไจล์
(Agile)
ในปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอทีที่ใช้องค์
ความรู้ด้านอไจล์มาพัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มี
ความฉลาดองค์รวมจนประสบความส�ำเร็จทางธุรกิจ
หลายบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook หรือ
Appleแต่เมื่อหันมามองการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
หรือการคัดเลือกคนเข้าท�ำงานในบ้านเราจะเห็นว่า
เรายังให้ความส�ำคัญกับความฉลาดส่วนบุคคลอยู่
ค่อนข้างมาก และจะหาองค์กรที่ให้ความส�ำคัญกับ
การท�ำงานเป็นทีมจริงๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
การให้ความส�ำคัญกับความฉลาดส่วนบุคคลเป็นสิ่ง
ที่ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไปแล้วในยุคที่ธุรกิจมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต้องอาศัยการท�ำงาน
เป็นทีมเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งทุกทิศทางถึงเวลาแล้วหรือ
ยังที่เราจะให้ความส�ำคัญกับความสามารถในการ
ท�ำงานเป็นทีมมากกว่าความสามารถส่วนบุคคล
การน�ำองค์ความรู้ด้านอไจล์มาปรับใช้กับการพัฒนา
ซอฟต์แวร์ในองค์กร ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยปรับปรุง
การท�ำงานเป็นทีมขององค์กร เพราะเทคนิคต่างๆ
ของอไจล์ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การเขียนโค้ด
การทดสอบ หรือการปรับปรุงการท�ำงาน ล้วนแล้ว
แต่เป็นเทคนิคที่มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดจาก
การท�ำงานเป็นทีมทั้งสิ้น
ในยุคโลกเศรษฐกิจดิจิตอลที่การเปลี่ยนแปลงเกิด
ขึ้นตลอดทุกวินาทีนี้เราต่างก็ทราบกันดีว่าสิ่งส�ำคัญ
ที่สุดในการที่จะท�ำให้ธุรกิจประสบความส�ำเร็จก็คือ
ความคล่องตัวในการปรับทิศทางธุรกิจ (Business
Agility) บทความในคอลัมน์ Agile Enterprise จะ
ได้น�ำเสนอแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการน�ำอไจล์มา
ใช้เพื่อช่วยปรับปรุงศักยภาพขององค์กรให้สามารถ
ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันใน
ตลาดโลกได้อย่างทัดเทียม หากมีข้อคิดเห็นหรือ
ติชมประการใด เขียนมาคุยกับเราได้ที่ coach@
lean-in.co
อ้างอิง
https://hbr.org/2014/12/great-teams-need-
social-intelligence-equal-participation-and-
more-women
https://hbr.org/2011/06/defend-your-
research-what-makes-a-team-smarter-
more-women/ar/1
https://hbr.org/product/wiser-getting-
beyond-groupthink-to-make-groups-
smarter/2299E-KND-ENG
Agile_312.indd 87 2/4/58 BE 11:20 AM

Weitere ähnliche Inhalte

Andere mochten auch

11. Huccet I Imaniye
11. Huccet I  Imaniye11. Huccet I  Imaniye
11. Huccet I Imaniye
Ahmet Türkan
 

Andere mochten auch (18)

2011 business process management
2011 business process management2011 business process management
2011 business process management
 
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
 
11. Huccet I Imaniye
11. Huccet I  Imaniye11. Huccet I  Imaniye
11. Huccet I Imaniye
 
How To Make Dev Ops Work @ Netlight Edge X Berlin
How To Make Dev Ops Work @ Netlight Edge X BerlinHow To Make Dev Ops Work @ Netlight Edge X Berlin
How To Make Dev Ops Work @ Netlight Edge X Berlin
 
DevOps in the Amazon Cloud – Learn from the pioneersNetflix suro
DevOps in the Amazon Cloud – Learn from the pioneersNetflix suroDevOps in the Amazon Cloud – Learn from the pioneersNetflix suro
DevOps in the Amazon Cloud – Learn from the pioneersNetflix suro
 
906702 Enhancing Business Processes Using Enterprise Information Systems
906702 Enhancing Business Processes Using Enterprise Information Systems906702 Enhancing Business Processes Using Enterprise Information Systems
906702 Enhancing Business Processes Using Enterprise Information Systems
 
Path to continuous delivery
Path to continuous deliveryPath to continuous delivery
Path to continuous delivery
 
IT_FOR_BUSINESS_30NOV15
IT_FOR_BUSINESS_30NOV15IT_FOR_BUSINESS_30NOV15
IT_FOR_BUSINESS_30NOV15
 
การรายงานความเสี่ยงที่สร้างความปลอดภัยและยั่งยืน Suradet sriangkoon
การรายงานความเสี่ยงที่สร้างความปลอดภัยและยั่งยืน   Suradet sriangkoonการรายงานความเสี่ยงที่สร้างความปลอดภัยและยั่งยืน   Suradet sriangkoon
การรายงานความเสี่ยงที่สร้างความปลอดภัยและยั่งยืน Suradet sriangkoon
 
DIY Agile Training with Agile Game
DIY Agile Training with Agile GameDIY Agile Training with Agile Game
DIY Agile Training with Agile Game
 
From quality management to performance excellence
From quality management to performance excellenceFrom quality management to performance excellence
From quality management to performance excellence
 
Dev ops
Dev opsDev ops
Dev ops
 
อไจล์คืออัลไล Agile Introduction @Mahidol ICT
อไจล์คืออัลไล Agile Introduction @Mahidol ICTอไจล์คืออัลไล Agile Introduction @Mahidol ICT
อไจล์คืออัลไล Agile Introduction @Mahidol ICT
 
โครงการ Safety day 2014
โครงการ Safety day 2014โครงการ Safety day 2014
โครงการ Safety day 2014
 
Risk based thinking in iso 90012015
Risk based thinking in iso 90012015Risk based thinking in iso 90012015
Risk based thinking in iso 90012015
 
The Rise of the Container: The Dev/Ops Technology That Accelerates Ops/Dev
The Rise of the Container:  The Dev/Ops Technology That Accelerates Ops/DevThe Rise of the Container:  The Dev/Ops Technology That Accelerates Ops/Dev
The Rise of the Container: The Dev/Ops Technology That Accelerates Ops/Dev
 
เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม Part i
เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม Part iเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม Part i
เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม Part i
 
Introduction to ci with jenkins
Introduction to ci with jenkinsIntroduction to ci with jenkins
Introduction to ci with jenkins
 

ความลับของการสร้างทีมให้มีประสิทธิภาพ

  • 1. 086 eENTERPRISE AGILE ENTERPRISE เมื่อกล่าวถึงเรื่องความสามารถหรือความฉลาด แล้ว หลายคนคงนึกถึงการวัดไอคิว หรือ Intel- ligenceQuotientแต่ในการท�ำงานทุกวันนี้เรา กลับพบว่า คนท�ำงานไอคิวสูง ไม่ได้รับประกัน ว่า ผลงานของทีมจะออกมาดีอย่างที่คิดเสมอ ไป เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงมีค�ำถามต่อไปว่าอะไร คือตัวบ่งชี้ถึงความส�ำเร็จและผลงานที่มี ประสิทธิภาพของทีม ปัจจุบันนักสังคมศาสตร์ต่างก็ตั้งค�ำถามเรื่อง เดียวกันนี้ มีงานวิจัยหลายต่อหลายชิ้น ศึกษา ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการท�ำงานของ ทีม เชื่อหรือไม่ว่า งานวิจัยเหล่านี้ชี้ชัดว่า ไอคิว หรือความฉลาดของสมาชิกในทีมไม่ได้มีผลกับ ประสิทธิภาพการท�ำงานของทีมเท่าใดนัก แต่ ผลการวิจัยกลับชี้ให้เห็นถึงปัจจัยในการท�ำงาน ที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่สถาบันเทคโน- โลยีแมสซาชูเซ็ตส์ที่เกิดจากเหล่านักวิจัยสงสัย ว่าจะวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของทีม ได้หรือไม่ พวกเขาท�ำการทดลองอย่างละเอียด โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มละ 2-5 คน โดย ให้แก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบทั้งแบบเกมลับ สมองประลองปัญญา หรือข้อสอบเชาว์ (IQ Test) หรือแม้แต่การแก้ปัญหาจริยธรรมแบบ ทวิบถที่ไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้ชัดเจน (Moral Dilemmas) หรือจะเป็นการเล่น หมากฮอสผลปรากฏว่านักวิจัยสามารถระบุถึง ปัจจัยที่สามารถท�ำนายประสิทธิภาพในการแก้ ปัญหาของทีมได้ โดยพบว่ามีตัวชี้วัด 3 ด้านที่ ส่งผลมากกว่าตัวชี้วัดอื่นๆ ดังนี้ ตัวชี้วัดที่ 1 วัดจากคะแนนในการท�ำการ ทดสอบที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า“การอ่านใจผ่าน ดวงตา” (Reading the Mind in the Eyes) ใน การทดสอบนี้นักวิจัยจะฉายภาพเฉพาะดวงตา แล้วให้ผู้ทดสอบเดาว่าเจ้าของดวงตานั้นก�ำลัง รู้สึกอย่างไร เช่น สนุก ตื่นเต้น เบื่อ หรือร�ำคาญ ทีมที่มีคะแนนของการทดสอบนี้สูงจะมีประสิทธิ ภาพในการแก้ปัญหาของทีมได้สูง ตัวชี้วัดที่ 2 วัดได้จากจ�ำนวนสมาชิกในทีมที่ ผูกขาดการสนทนาภายในทีม ซึ่งได้จากการวัด ปริมาณการสนทนาของสมาชิกแต่ละคนในทีม นักวิจัยพบว่าทีมที่มีจ�ำนวนสมาชิกที่ผูกขาดการ สนทนาในทีมน้อยหรืออีกนัยหนึ่งคือสมาชิกใน ทีมมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันมาก จะมี ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของทีมได้สูง ตัวชี้วัดตัวที่ 3เป็นตัวชี้วัดที่อาจจะท�ำให้หลาย คนประหลาดใจนั่นคือจ�ำนวนของสมาชิกในทีม ที่เป็นผู้หญิง ทีมที่มีสัดส่วนจ�ำนวนผู้หญิง มากกว่าจะมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้ สูงกว่า ทั้งนี้ผู้หญิงนั้นได้ชื่อว่ามีความสามารถ ในการรับรู้ทางสังคมได้ดีกว่าผู้ชายมาแต่ ไหนแต่ไร และความสามารถในการรับรู้ทาง สังคมนั่นเอง ที่ท�ำให้ทีมที่มีผู้หญิงมากกว่ามี ประสิทธิภาพมากกว่า นักวิจัยเรียกตัวชี้วัดทั้ง 3 นี้รวมกันว่า แฟค- เตอร์ซี (Factor C) ซึ่งมีที่มาจาก Collective Intelligence หรือความฉลาดองค์รวม ซึ่งนัก วิจัยคาดหวังว่าในอนาคตเราจะสามารถพัฒนา แฟคเตอร์ซีให้เป็นตัวชี้วัดความฉลาดองค์รวม ของทีมได้เหมือนกับที่เราใช้IQในการวัดความ โค้ชกร & โค้ชปอม จาก Lean In Consulting (coach@lean-in.co) ผู้เชี่ยวชาญในการสร้าง Business Agility ให้กับองค์กร ทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร ความลับของการสร้างทีม ให้มีประสิทธิภาพ Agile_312.indd 86 2/4/58 BE 11:20 AM
  • 2. 087 ฉลาดรายบุคคล ณ จุดนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ตัวชี้วัดเหล่านี้เกี่ยวเนื่องกับประสิทธิภาพของ ทีมอย่างไร แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดและเป็นปัจจัย ที่ส�ำคัญที่สุดคงจะเป็นความสามารถที่สมาชิก แต่ละคนจะร่วมมือกันได้ เรื่องความเก่งของตัวบุคคลที่ไม่มีผลมากนักกับ ความเก่งของทีมอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ตัวอย่าง เช่นในวงการกีฬาเราอาจจะเคยได้ยินว่าในช่วง แรกของชีวิตนักบาสเก็ตบอลอาชีพ “ไมเคิล จอร์แดน” นั้น เขาเป็นนักกีฬาที่มีทักษะและ ความสามารถเฉพาะตัวสูงมาก แต่เขาก็ไม่เคย น�ำทีมคว้าแชมป์ได้เลย ซึ่งต่างกับ “แมจิค จอห์นสัน” ที่เป็นนักบาสเก็ตบอลที่เก่งและยัง สามารถท�ำให้เพื่อนร่วมทีม เปลี่ยนจากผู้เล่น ธรรมดาให้กลายเป็นระดับดาราได้ แต่ในการ ท�ำงานเป็นทีมในองค์กรนั้น เรื่องนี้ยังไม่เป็นที่ เข้าใจหรือรับรู้กันมากนัก ผู้บริหารหลายคนยัง มีความเชื่อในทางตรงกันข้ามด้วยซ�้ำว่า การมี สมาชิกร่วมทีมที่เก่งย่อมต้องส่งผลให้ทีมนั้น ท�ำงานได้มีประสิทธิภาพดี หลายๆ คนที่คลุกคลีอยู่ในวงการ พัฒนาซอฟต์แวร์มานาน คงจะ ทราบดีถึงปัญหาต่างๆ ในการ พัฒนาซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นความ ล�ำบากในการบริหารงบประมาณ การควบคุมคุณภาพการผลิต หรือ การพัฒนาบุคลากร จนเคยมีคน กล่าวว่าอุตสาหกรรมการพัฒนา ซอฟต์แวร์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความ เสี่ยงในการล้มเหลวมากที่สุดอุตสาหกรรมหนึ่ง แต่อาจจะมีคนไม่มากนักที่จะตระหนักว่า ปัญหาส่วนใหญ่นั้นเป็นปัญหาของคนมากกว่า ปัญหาด้านเทคนิคในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้มี องค์ความรู้หนึ่งซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาต่างๆที่ กล่าวมาของการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยให้ความ ส�ำคัญกับการท�ำงานเป็นทีมและความฉลาด องค์รวมเป็นอย่างมากองค์ความรู้นั้นเป็นที่รู้จัก กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันในแนวทางของอไจล์ (Agile) ในปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอทีที่ใช้องค์ ความรู้ด้านอไจล์มาพัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มี ความฉลาดองค์รวมจนประสบความส�ำเร็จทางธุรกิจ หลายบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook หรือ Appleแต่เมื่อหันมามองการพัฒนาทรัพยากรบุคคล หรือการคัดเลือกคนเข้าท�ำงานในบ้านเราจะเห็นว่า เรายังให้ความส�ำคัญกับความฉลาดส่วนบุคคลอยู่ ค่อนข้างมาก และจะหาองค์กรที่ให้ความส�ำคัญกับ การท�ำงานเป็นทีมจริงๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย การให้ความส�ำคัญกับความฉลาดส่วนบุคคลเป็นสิ่ง ที่ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไปแล้วในยุคที่ธุรกิจมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต้องอาศัยการท�ำงาน เป็นทีมเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งทุกทิศทางถึงเวลาแล้วหรือ ยังที่เราจะให้ความส�ำคัญกับความสามารถในการ ท�ำงานเป็นทีมมากกว่าความสามารถส่วนบุคคล การน�ำองค์ความรู้ด้านอไจล์มาปรับใช้กับการพัฒนา ซอฟต์แวร์ในองค์กร ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยปรับปรุง การท�ำงานเป็นทีมขององค์กร เพราะเทคนิคต่างๆ ของอไจล์ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การเขียนโค้ด การทดสอบ หรือการปรับปรุงการท�ำงาน ล้วนแล้ว แต่เป็นเทคนิคที่มุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดจาก การท�ำงานเป็นทีมทั้งสิ้น ในยุคโลกเศรษฐกิจดิจิตอลที่การเปลี่ยนแปลงเกิด ขึ้นตลอดทุกวินาทีนี้เราต่างก็ทราบกันดีว่าสิ่งส�ำคัญ ที่สุดในการที่จะท�ำให้ธุรกิจประสบความส�ำเร็จก็คือ ความคล่องตัวในการปรับทิศทางธุรกิจ (Business Agility) บทความในคอลัมน์ Agile Enterprise จะ ได้น�ำเสนอแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการน�ำอไจล์มา ใช้เพื่อช่วยปรับปรุงศักยภาพขององค์กรให้สามารถ ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันใน ตลาดโลกได้อย่างทัดเทียม หากมีข้อคิดเห็นหรือ ติชมประการใด เขียนมาคุยกับเราได้ที่ coach@ lean-in.co อ้างอิง https://hbr.org/2014/12/great-teams-need- social-intelligence-equal-participation-and- more-women https://hbr.org/2011/06/defend-your- research-what-makes-a-team-smarter- more-women/ar/1 https://hbr.org/product/wiser-getting- beyond-groupthink-to-make-groups- smarter/2299E-KND-ENG Agile_312.indd 87 2/4/58 BE 11:20 AM