SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 216
Downloaden Sie, um offline zu lesen
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว)
ห้ามจำหน่าย
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
ผู้เทศน์ : พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว)
ผู้เรียบเรียง : สุวณีย์ ศรีโสภา
ผศ.ดร. สมสุดา ผู้พัฒน์
พิมพ์ครั้งที่ ๑
จำนวน ๑๓๐,๐๐๐ เล่ม
พุทธศักราช ๒๕๕๓
ISBN : 978-616-202-230-2
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ E-mail : ruambookdee@hotmail.com
ไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการพิมพ์แจกให้สถานศึกษา
ถ้าจะนำเนื้อหาไปพิมพ์แจกเป็นการกุศล หรือเพื่อการศึกษา
โดยไม่เป็นเชิงธุรกิจ อนุญาตให้พิมพ์ได้ โดยแจ้งให้ผู้เขียน
และเจ้าของลิขสิทธิ์รับทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
จัดพิมพ์โดย กลุ่มงานโรงเรียนอาชีวศึกษา
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว
๒๒๔๙ ถนนลาดพร้าว แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง
กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐
ที่ปรึกษาฝ่ายศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
โครงการพัฒนาคุณธรรมในสถานศึกษา
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต)
เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
พระธรรมกิตติเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี)
กรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าคณะภาค ๔-๕-๖-๗ (ธ)
ผู้ช่วยแม่กองธรรมสนามหลวง
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม
เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ. ๙)
เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี
เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี
พระราชวรนายก (สำรวม ปิยธมฺโม ป.ธ. ๖)
เจ้าคณะจังหวัดนครนายก
เจ้าอาวาสวัดอุดมธานี อ.เมือง จ.นครนายก
พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว)
รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
รองประธานมูลนิธิธรรมกาย
President of Dhammakaya International Society of North
America and Europe
รองหัวหน้าพระธรรมทูตสาย ๘
พระอธิการไมตรี ฐิตปญฺโญ
เจ้าอาวาสวัดทางสาย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
ประธานชมรมสถานีวิทยุเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
คำนำ
การศึกษานับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาคนซึ่งเป็นรากฐานของ
การพัฒนาประเทศการจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนา
กำลังคนในประเทศให้เจริญงอกงามได้โดยบุคคลที่ประกอบอาชีพครู
แต่จะหาครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริงเป็นไปได้ยาก จำเป็น
ต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนาและการร่วมมือกันหลายภาคส่วนเพื่อ
พัฒนาให้บุคคลมีความรู้ มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูอย่างแท้จริง
สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนได้ตระหนัก
และเข้าใจปัญหาเหล่านี้ จึงประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จัดทำหนังสือศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครูฉบับนี้ให้ครูได้ศึกษาและ
พัฒนาตนเอง เพื่อให้เข้าใจในหน้าที่ของครูและมีจิตสำนึกในความเป็นครู
อย่างแท้จริง สามารถนำไปประกอบการสั่งสอนนักเรียนให้มีพฤติกรรมตาม
ที่พึงประสงค์
สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ขอกราบ
ขอบพระคุณ พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว) ที่กรุณาเรียบเรียง
หนังสือศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.สมสุดา ผู้พัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ช่วยประสานงาน
การจัดทำหนังสือให้สำเร็จเรียบร้อย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครูเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร
โรงเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ในการนำไปพัฒนาความเป็นครู
อย่างมืออาชีพสืบไป
(นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ)
ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
คำปรารภ
ปัจจุบันนี้มีปัญหาที่ทำให้ผู้คนต่างประสบความทุกข์และความ
เดือดร้อนกันทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งเคยสงบร่มเย็น
มายาวนาน ผู้คนโดยทั่วไปต่างมองว่าต้นเหตุรากเหง้าแห่งปัญหาความ
เดือดร้อนทั้งปวงก็คือ ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง ดังนั้นผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องในการบริหารบ้านเมืองจึงพุ่งเป้าไปที่การแก้ปัญหาทั้งสองนี้
จริงอยู่เรื่องเศรษฐกิจและการเมืองเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้คนในสังคม
ต่างเดือดร้อนไปตามๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คนในระดับรากหญ้า
แต่ทว่าปัญหาทั้งสองนี้เป็นผลพวงสืบเนื่องมาจากปัญหารากเหง้าที่แท้จริง
อีกต่อหนึ่ง ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นว่าปัญหารากเหง้าที่แท้จริงก็คือ
ปัญหาอันเกิดจากกิเลสในจิตใจผู้คน ซึ่งนิยมเรียกกันว่าปัญหาศีลธรรม
ปัญหาศีลธรรมเกิดขึ้นก็เพราะรัฐจัดการศึกษาให้แก่ประชากร
โดยขาดดุลยภาพระหว่างความรู้ด้านวิชาการทางโลกและทางธรรม
เนื่องจากเน้นความสำคัญด้านศาสตร์หรือด้านวิชาการทางโลกจนมองข้าม
ความสำคัญด้านศีลธรรมไป ยังผลให้ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะมีการศึกษา
ระดับใด ต่างมีความคิดเห็นเป็นมิจฉาทิฐิ ประพฤติผิดศีล ผิดธรรม คือ
ทำชั่วทำบาปได้ทุกเรื่องเมื่อมีโอกาส
เพราะเหตุนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารบ้านเมืองจึงจำเป็น
จะต้องร่วมมือกันจัดการศึกษาให้ประชากรมีความรู้ด้านวิชาการทาง
โลกสมดุลกับทางธรรมอย่างรีบด่วน แทนที่จะมัวมะงุมมะงาหราอยู่กับ
การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองอยู่
นับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่งที่สำนักบริหารงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมการศึกษาเอกชนมีวิสัยทัศน์กว้างไกลรอบด้านสามารถเล็งเห็นว่า
การจัดการศึกษาที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาผู้คนในสังคมให้มีความ
เคารพ วินัย และอดทน สมบูรณ์พร้อมด้วยศีลธรรม คุณธรรม
และจริยธรรม ในระดับที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิจนเป็นนิสัยเท่านั้น
จึงจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและปัญหา
สิ่งแวดล้อมโลก ตลอดจนปัญหาอื่นๆ ได้สำเร็จ
คณะผู้จัดทำหวังอย่างยิ่งว่าหนังสือศาสตร์และศิลป์แห่งความ
เป็นครูเล่มนี้ จะสามารถสนองเจตนารมณ์ของสำนักบริหารงานคณะ-
กรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย
ได้อย่างแท้จริง
ท้ายที่สุดนี้คณะผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณพระเดชพระคุณ
พระภาวนาวิริยคุณ (พระเผด็จ ทตฺตชีโว) อย่างสูงสุด ที่กรุณาอนุญาต
ให้คณะผู้จัดทำนำพระธรรมเทศนาของท่านมาเรียบเรียงเป็นหนังสือ
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครูเล่มนี้
คณะผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณในความเมตตาของพระเดช
พระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) พระเดช
พระคุณพระธรรมกิตติเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) พระเดชพระคุณ
พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ.๙) พระเดชพระคุณพระราช-
วรนายก (สำรวม ปิยธมฺโม ป.ธ.๖) และพระเดชพระคุณพระอธิการไมตรี
ฐิตปญโญ ที่ให้ความเมตตาแก่คณะผู้จัดทำในการให้แนวทางการเรียบเรียง
ตลอดจนคำปรึกษาที่มีคุณค่ายิ่ง และที่สำคัญยิ่งคือ สำนักบริหารงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ดำเนินโครงการพัฒนา
คุณธรรมในสถานศึกษา ที่มองเห็นความสำคัญและมุ่งมั่น ผลักดัน
ให้งานการศึกษาของชาติไทยสร้างคนไทยให้มีคุณภาพทั้งด้านคุณธรรม
และความรู้
คณะผู้จัดทำ
กองวิชาการ อาศรมบัณฑิต
มีนาคม ๒๕๕๓
สารบัญ
หน้า
บทที่ ๑ ธรรมพื้นฐานแห่งความเป็นครู ๑
ความสำคัญของมนุษย์ ๑
องค์ประกอบของมนุษย์ ๒
๑. กาย ๒
๒. ใจ ๔
ศัตรูแท้จริงของมนุษย์ ๕
๑. กิเลสตระกูลโลภะ ๗
๒. กิเลสตระกูลโทสะ ๙
๓. กิเลสตระกูลโมหะ ๑๐
มิตรแท้จริงของมนุษย์ ๑๒
๑. บุญจากการให้ทาน ๑๔
๒. บุญจากการรักษาศีล ๑๖
๓. บุญจากการเจริญภาวนา ๑๘
การสู้รบระหว่างบุญ-บาป ๒๐
กฎแห่งกรรม ๒๑
ความหมายของกรรม ๒๑
เส้นทางในการสร้างกรรม ๒๒
ระดับการให้ผลของกรรม ๒๓
ระยะเวลาที่กรรมให้ผล ๒๔
หลักการตัดสินกรรมดี-กรรมชั่ว ๒๗
ลักษณะของครูแบ่งตามกรรม ๒๘
บทที่ ๒ การศึกษาที่แท้จริง ๓๐
ความจำเป็นในการจัดการศึกษา ๓๐
เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา ๓๕
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ความผิดพลาดในการจัดการศึกษาทั่วทั้งโลก ๔๑
มิตรเทียม ผลของการจัดการศึกษาที่ผิดพลาด ๔๓
การศึกษาที่สมบูรณ์ ๔๔
หลักในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองต่อทิศ ๖ ๕๓
มิตรแท้ผลของการจัดการศึกษาที่ถูกต้อง ๕๗
แม่พิมพ์ต้นแบบ ๕๙
คุณสมบัติแม่พิมพ์ของชาติ ๕๙
ความร่วมมือของครูประจำโลก ๓ ประเภท ๖๒
ความสำคัญของศาสตร์ และศิลป์ ๖๕
ความแตกต่างระหว่างศิลป์ของครูกับอาชีพอื่นๆ ๖๖
เส้นทางการพัฒนาครูดี ๖๗
ครูที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ ๖๘
บทที่ ๓ ธรรมแม่บทแห่งความเป็นครู ๗๑
อริยมรรคมีองค์ ๘ ๗๑
มรรคมีองค์ ๘ สำหรับครู ๗๖
หลักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ๘๔
กระบวนการฆ่ากิเลสของมรรคมีองค์ ๘ ๙๐
การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ สำหรับเด็กเล็ก ๙๑
ความทรงจำของเด็กอนุบาลอาจตราตรึงตลอดไป ๙๓
สิทธัตถะราชกุมารบรรลุปฐมฌาน ๙๔
จิตของวัยรุ่นเป็นสมาธิช้ากว่าเด็กเล็ก ๙๕
สัมมาทิฐิ ๑๐ แม่บทการสร้างกำลังใจในการทำความดี ๙๗
บทบาทของครูตามหลักสัมมาทิฐิ ๑๐ ๑๐๓
คุณค่าและความจำเป็นในการปลูกฝังสัมมาทิฐิ ๑๐ ๑๐๙
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ ๔ การศึกษาและการสอน ๑๑๔
ความหมายของการศึกษา ๑๑๔
วัตถุประสงค์ของการศึกษา ๑๑๖
ธรรมชาติการอยู่ร่วมกันในสังคมกับการปลูกฝังคุณธรรม ๑๑๗
ข้อควรระวังในการจัดการศึกษา ๑๒๒
การฝึกนิสัยให้รักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ๑๒๔
สถานที่ฝึกนิสัย ๑๒๕
หน้าที่หลักของ ๕ ห้องชีวิต ๑๒๕
องค์ประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดนิสัย๓ ๑๒๘
บทที่ ๕ บทฝึกนิสัย ๑๓๖
ความหมายของนิสัย ๑๓๖
ตัวอย่างนิสัยดี-ไม่ดี ๑๓๗
สรุปความสัมพันธ์ระหว่างนิสัยกับความรู้ ๑๓๘
ความยากในการแก้ไขนิสัย ๑๓๙
ข้อเตือนใจในการสร้างนิสัย ๑๔๐
พฤติกรรมที่กลายเป็นนิสัยของมนุษย์ ๑๔๓
การพัฒนานิสัยด้วย ๕ ห้องชีวิต ๑๔๔
๑. ห้องนอน (ห้องมหาสิริมงคล) ๑๔๔
๒. ห้องน้ำ (ห้องมหาพิจารณา) ๑๔๕
๓. ห้องอาหาร (ห้องมหาประมาณ) ๑๔๗
๔. ห้องแต่งตัว (ห้องมหาสติ) ๑๔๙
๕. ห้องทำงาน (ห้องมหาสมบัติ) ๑๕๑
กระบวนการเนรมิตนิสัยจาก ๕ ห้องชีวิต ในบุคคลทั่วไป ๑๕๓
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ศีลธรรมพื้นฐานที่ได้จาก ๕ ห้องชีวิต ๑๖๔
บูรณาการ ๕ ห้องชีวิตกับทิศเบื้องหน้า ๑๖๙
บทที่ ๖ กระบวนการเรียนการสอน ๑๗๑
วุฒิธรรม ๔ ๑๗๑
คุณสมบัติของครูดี ๑๗๓
หลักการฟังคำบรรยาย ๑๗๔
หลักการเจาะลึกคำสอน ๑๗๕
หลักการถ่ายทอดความรู้ความสามารถและความดี ๑๗๖
เทคนิคการฝึกตนตามวุฒิธรรม ๔ ๑๗๗
กระบวนการศึกษาตามหลักวุฒิธรรม ๔ ๑๗๘
บทที่ ๗ บทส่งท้าย ๑๘๑
เหตุปัจจัยให้ประสบความสำเร็จในทุกอาชีพ ๑๘๑
ครูผู้สมบูรณ์พร้อมด้วยศาสตร์และศิลป์ ๑๘๒
การถ่ายทอดความรู้ของพระบรมครู ๑๘๖
ครูพึงดำเนินรอยตามพระบรมครู ๑๘๗
มรรคมีองค์ ๘ คือหนทางอันเกษม ๑๘๘
แนวคิดสำหรับการฟื้นฟูการศึกษา ๑๙๑
ความสำเร็จของผู้ฟื้นฟูการศึกษา ๑๙๒
สรุป ๑๙๖
บรรณานุกรม ๑๙๙
สารบัญภาพ
หน้า
ภาพที่ ๑-๑ การสู้รบในใจระหว่างกรรมดี-กรรมชั่ว ๒๐
ภาพที่ ๑-๒ กาลเวลาที่ให้ผลของกรรมวาระหนึ่งๆ ๒๖
แบ่งเป็น ๓ ระยะ
ภาพที่ ๒-๑ ปัญหาทุกข์ประจำชีวิตของมนุษย์ ๓๒
ภาพที่ ๒-๒ กลุ่มคนในทิศทั้ง ๖ ๔๙
ภาพที่ ๒-๓ กรอบมาตรฐานศีลธรรมขั้นพื้นฐาน ๕๒
ภาพที่ ๒-๔ คุณสมบัติของครูดีที่โลกต้องการ ๖๐
ภาพที่ ๓-๑ หลักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ๘๔
ภาพที่ ๓-๒ การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ รอบแรก ๘๘
ภาพที่ ๓-๓ การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ อย่างต่อเนื่อง ๘๙
ภาพที่ ๓-๔ มรรคมีองค์ ๘ เพื่อการปลูกฝังนิสัยตามวัย ๙๗
ภาพที่ ๔-๑ การศึกษา ๑๑๔
ภาพที่ ๔-๒ การจัดการศึกษา ๑๑๕
ภาพที่ ๔-๓ มรรคมีองค์ ๘ เพื่อการศึกษาและพัฒนานิสัย ๑๑๘
ภาพที่ ๔-๔ หน้าที่หลักของ ๕ ห้องชีวิตในการปลูกฝังนิสัย ๑๒๖
ภาพที่ ๔-๕ องค์ประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียน ๑๓๔
เกิดนิสัย ๓
ภาพที่ ๔-๖ หลักการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์แบบ ๑๓๕
สารบัญภาพ (ต่อ)
หน้า
ภาพที่ ๕-๑ กำเนิดของนิสัย ๑๓๖
ภาพที่ ๕-๒ กำเนิดของนิสัยดี-ไม่ดี ๑๓๗
ภาพที่ ๕-๓ การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง ๑๓๙
นิสัยกับความรู้
ภาพที่ ๕-๔ สถานที่เกิดของนิสัย ๑๔๑
ภาพที่ ๕-๕ แม่บทในการฝึกนิสัย ๑๔๑
ภาพที่ ๕-๖ วัตถุประสงค์ของ ๕ ห้องชีวิต ๑๔๒
ภาพที่ ๕-๗ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างนิสัย ๑๔๒
ภาพที่ ๕-๘ การบูรณาการ ๕ ห้องชีวิตกับทิศเบื้องหน้า ๑๗๐
ภาพที่ ๖-๑ ลำดับวิธีการศึกษาด้วยวุฒิธรรม ๔ ๑๗๒
ภาพที่ ๖-๒ คุณสมบัติของครูดี ๑๗๓
ภาพที่ ๖-๓ หลักการฟังคำบรรยาย ๑๗๔
ภาพที่ ๖-๔ หลักการเจาะลึกคำสอน ๑๗๕
ภาพที่ ๖-๕ หลักการถ่ายทอดความรู้ความสามารถ ๑๗๖
และความดี
ภาพที่ ๖-๖ เทคนิคการฝึกตนตามวุฒิธรรม ๔ ๑๗๘
ภาพที่ ๖-๗ กระบวนการศึกษาตามหลักวุฒิธรรม ๔ ๑๗๙
สารบัญตาราง
ุ
หน้า
ตารางที่ ๑-๑ การสร้างกุศลกรรมและอกุศลกรรม ๒๓
จำแนกตามเส้นทางการสร้างกรรม
ตารางที่ ๑-๒ หลักการตัดสินกรรมดี-กรรมชั่ว ๒๗
ตารางที่ ๑-๓ ลักษณะของครูแบ่งตามกรรมที่ครูทำไว้ด้วยตนเอง ๒๘
ตารางที่ ๒-๑ หน้าที่ของบุคคลทั้ง ๖ กลุ่มที่พึงปฏิบัติต่อกัน ๕๐
ในแต่ละกลุ่่ม
ตารางที่ ๓-๑ การเปรียบเทียบมรรคมีองค์ ๘ ทั้ง ๒ ระดับ ๗๒
ตารางที่ ๓-๒ บทบาทของครูตามหลักสัมมาทิฐิ ๑๐ ๑๐๓
ตารางที่ ๗-๑ ความแตกต่างระหว่างศาสตร์และศิลป์ของครู ๑๘๕
กับอาชีพอื่นๆ
บทที่ ๑
ธรรมพื้นฐานแห่งความเป็นครู
ในฐานะที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายต่างมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้คน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนนักศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองของบรรดาศิษย์
ทั้งหลายกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือคณาจารย์ทั้งหลายต่างมีหน้าที่รับผิดชอบ
โดยตรงเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ของศิษย์ของตน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะ
ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อย่างถูกต้องลึกซึ้ง
พอสมควร เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิผลอย่าง
แท้จริง มิฉะนั้นถึงแม้จะทุ่มเทแรงกายแรงใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ
ปรารถนาดีต่อศิษย์เพียงใดก็อาจจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่สำคัญของมนุษย์มีดังนี้
ความสำคัญของมนุษย์
มนุษย์ แปลว่า ผู้มีใจสูง
หมายถึง - มีใจสูงกว่าสัตว์โลกชนิดอื่นๆ
- หากฝึกดีแล้ว ใจย่อมสูงส่งเกินกว่ากิเลส
ชั่วร้ายใดๆ จะครอบงำทำลายได้ สูงจนสามารถ
บรรลุถึงพระนิพพานได้
มนุษย์ มีใจสูงเพราะบำเพ็ญมนุษยธรรม คือรักษาศีล ๕ และ
กุศลกรรมบถ ๑๐ มาอย่างมั่นคงแล้วในอดีตชาติ
มนุษย์ มีใจใสสะอาดเป็นปกติ แม้ยังไม่หมดกิเลสก็สามารถ
เลือกคิด พูด ทำ เฉพาะแต่สิ่งที่ดีงามเป็นบุญกุศล เป็น
ประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้ หากได้รับการศึกษา
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
1
อย่างถูกวิธีตั้งแต่วัยเยาว์ ย่อมเป็นการสนับสนุนให้ประกอบ
คุณประโยชน์แก่ตนและเพื่อนร่วมโลกได้ไม่มีที่สิ้นสุด
มนุษย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๒ ส่วน คือ
๑. ร่างกาย หรือเรียกสั้นๆ ว่า กาย
๒. ใจ หรือบางครั้งเรียกว่า จิต๑
องค์ประกอบของมนุษย์
องค์ประกอบสำคัญของมนุษย์มีอยู่ ๒ ประการ คือกายและใจ
๑. กาย
กาย - ทั้งหญิงและชายต่างประกอบด้วยธาตุ ๔ ชนิด ได้แก่
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม มาประชุมกัน
อย่างได้สัดส่วนเหมาะสมแล้วเกิดเป็นเซลล์เล็กๆ กลุ่ม
เซลล์เล็กๆ เหล่านี้ประกอบกันเกิดเป็นอวัยวะต่างๆ
ทั้งภายนอกและภายใน ภายนอก เช่น ผม ขน เล็บ ฯลฯ
ภายใน เช่น ตับ ไต หัวใจ ฯลฯ
กาย - ประกอบขึ้นจากธาตุ ๔ ซึ่งยังไม่บริสุทธิ์ เซลล์แต่ละเซลล์
ในอวัยวะต่างๆ จึงอ่อนแอ มีอายุไม่นานก็แตกทำลาย
มีข้อมูลปรากฏว่าในเวลาเพียง ๑ นาทีมีการแตกทำลาย
ของเซลล์เก่าและการเกิดขึ้นของเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
2
____________________________________
๑ วิ.มหาวิ. ๒/๒๖๖, สัง.นิ. ๒๖/๒๙๒ (มมร.) คำว่า ใจ มาจากภาษาบาลีว่า มโน แปลเป็น
ภาษาไทยว่า ใจ และนิยมพูดกันโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังมีคำแทนที่ปรากฏในบาลีคือคำว่า
จิต หรือ วิญญาณ เช่น ธรรมชาติอันใดเป็นจิต ธรรมชาติอันนั้น ชื่อว่าใจ ธรรมชาติ
อันใดเป็นใจ ธรรมชาติอันนั้นชื่อว่า จิต
ประมาณ ๓๐๐ ล้านเซลล์อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่อยู่ใน
ครรภ์มารดา
กาย - เกิดขึ้นเองไม่ได้ แต่ต้องมีบิดาและมารดาเป็นผู้ให้กำเนิด
คือท่านทั้งสองให้ธาตุ ๔ เพื่อประกอบขึ้นเป็นเซลล์ใน
อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเราอย่างครบถ้วน จึงถือได้ว่า
บิดาและมารดาเป็นผู้ให้ทุนชีวิตแก่เรา
กาย - จะเจริญเติบโตขึ้นและดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ภายหลังคลอด
ก็ต่อเมื่อมีธาตุ ๔ จากภายนอก เช่น ข้าวปลาอาหาร
น้ำ อากาศและแสงแดด ฯลฯ เข้ามาหล่อเลี้ยงอย่าง
เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพตลอดเวลา
กาย - หากได้ธาตุ ๔ จากภายนอกที่มีคุณภาพไม่เหมาะสม
และมีปริมาณไม่พอเหมาะกับเพศและวัย จะทำให้เซลล์
ในอวัยวะต่างๆ อ่อนแออย่างรวดเร็ว ซึ่งจะยังผลให้อัตรา
การตายของเซลล์มีปริมาณสูงขึ้นอีก ในที่สุดก็จะกลาย
เป็นรังแห่งโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายไปโดยปริยาย
กาย - แม้จะได้รับการดูแลปกป้องรักษาเป็นอย่างดีเพียงใด
ก็ตาม แต่เพราะเหตุที่ธาตุ ๔ ทั้งที่ได้มาจากบิดามารดา
ตั้งแต่ถือกำเนิด และธาตุ ๔ จากภายนอกซึ่งแสวงหามา
หล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาไม่บริสุทธิ์พอ จึงต้องแตกสลาย
เป็นธรรมดา คือตายในที่สุด
กาย - ของมนุษย์ที่ไม่พิกลพิการ มีลักษณะพิเศษคือ
๑. กระดูกสันหลังตั้งฉากกับพื้นโลก ยามยืน-เดิน-นั่ง
จึงตั้งตรง คล่องแคล่วว่องไว
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
3
๒. ยามนอนก็นอนได้ราบทั้งหงาย คว่ำ ตะแคง จึง
พักผ่อนได้เต็มที่
๓. รูปร่าง ขนาด สัดส่วน อวัยวะเหมาะแก่การประกอบ
คุณงามความดีทุกรูปแบบ เพราะเกิดจากอำนาจบุญ
ที่สั่งสมมานับภพนับชาติไม่ถ้วน จึงไม่สมควรใช้
กายนี้ไปถล่มทลายทำความชั่ว แต่สมควรอย่างยิ่ง
ที่จะใช้ทำเฉพาะความดีให้สมกับที่ได้โอกาสครอบครอง
กายอันแสนประเสริฐนี้
กาย - หลังจากตายกลายเป็นศพแล้วก็จะถูกนำไปฝังหรือเผา
ธาตุทั้ง ๔ ที่ประกอบเป็นกายก็คืนกลับสู่สภาพเดิม คือ
ธาตุดินก็กลับทับถมจมดินไป ธาตุน้ำก็สลายกลายเป็นน้ำ
ธาตุไฟก็กลายเป็นไฟ ธาตุลมก็กลายเป็นลม แม้เชื้อโรค
ต่างๆ ในกายก็ต้องตายตามไปด้วย
๒. ใจ
ใจ - เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของมนุษย์
สถิตอยู่ภายในกายตั้งแต่ถือกำเนิด ทำให้กายมนุษย์ซึ่ง
ประกอบด้วยธาตุ ๔ มีชีวิตขึ้นมาได้
ใจ - เป็นธาตุละเอียดจึงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ
ไม่สามารถจับต้องได้ แต่เห็นได้ด้วยตาทิพย์
ใจ - เป็นธาตุรู้จึงทำให้เรารู้เรื่องราวต่างๆ ได้ เช่น รู้ธรรม
รู้หนังสือ รู้จักเพื่อน รู้จักดีและชั่ว รู้จักดีใจและเสียใจ รู้จัก
เหตุและผล ฯลฯ
ใจ - ทำงานร่วมกับประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
4
และกาย จึงทำให้เห็นรูปผ่านตา ฟังเสียงผ่านหู สูดดม
กลิ่นผ่านจมูก ลิ้มรสผ่านลิ้นและสัมผัสผ่านกายได้
ใจ - ปกติจะผ่องใส ไม่ขุ่นมัว และมีความสว่างภายใน๑
ทำให้บุคคลสามารถรู้เห็นสภาวการณ์ต่างๆ รอบตัวผ่าน
ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้อย่างถูกต้องชัดเจน จึงรักที่จะคิด
ดีๆ แล้วสั่งกายให้พูดและทำสิ่งดีๆ ตามมา
ใจ - หากถูกกิเลสเข้าครอบงำ ย่อมเศร้าหมอง ขุ่นมัว การรับรู้
ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ จึงผิดพลาดคลาดเคลื่อนไม่ตรง
ตามความเป็นจริง ก่อให้เกิดความคิดวิปริต จึงพูดร้าย
ทำร้ายได้ต่างๆ นานา ทำให้ผู้นั้นกลายเป็นคนชั่วคนร้าย
ไปทันที
ศัตรูแท้จริงของมนุษย์
ได้แก่ กิเลสที่แอบแฝงอยู่ในใจซึ่งมีอยู่ ๓ ตระกูลด้วยกัน
กิเลส - หรือกิเลสมารเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งสกปรกมาก
เปรอะเปื้อนมาก เหนียวแน่นมาก มีอำนาจในการ
ทำลายทำร้ายใจให้เดือดร้อนเป็นทุกข์ได้มากไม่มีสิ่งใด
มาเทียบเทียมได้ ขณะเดียวกันก็เป็นธาตุที่ละเอียดมาก
จึงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อแต่จะเห็นได้ด้วย
ตาธรรมหรือธรรมจักษุเท่านั้น
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
5
____________________________________
๑ ขุ.มหานิ.กามสุตตนิทเทศที่ ๑ ๖๕/๖๗ (มมร.) หมายถึง ภวังคจิต ที่อยู่ภายในกายตนขณะที่
ยังไม่ได้ขึ้นสู่วิถีการรับอารมณ์ จะมีธรรมชาติที่ประภัสสร สะอาด เพราะยังไม่ถูกอุปกิเลส
ครอบงำ
กิเลส - ฝังตัวเกาะติดอยู่ในใจมนุษย์ ตั้งแต่แรกถือกำเนิด
ในครรภ์มารดา เช่นเดียวกับเชื้อโรคทั้งหลายที่ฝังตัว
อยู่ในยีนและโครโมโซม เพื่อรอจังหวะทำความเจ็บป่วย
ให้ร่างกายขณะที่สุขภาพอ่อนแอฉันใด กิเลสก็จ้องหา
โอกาสครอบงำเราขณะที่ใจเผลอสติฉันนั้น
กิเลส - ที่แฝงอยู่ในใจของผู้ตายนั้นไม่ตายตามร่างกายไปด้วย๑
แต่ทำหน้าที่บังคับบัญชาให้กายละเอียดของผู้นั้นไป
เกิดใหม่ในภพภูมิที่พอเหมาะกับความเลวร้ายของเขา
หากได้โอกาสก็บังคับผู้นั้นให้คิดร้าย พูดร้าย ทำร้าย
ต่อไปอีก จึงต้องเป็นทุกข์และได้บาปต่อไปอีกชาติแล้ว
ชาติเล่า เช่นเดียวกับผู้คุม ย้ายนักโทษจากที่คุมขังหนึ่ง
ไปอีกที่คุมขังหนึ่งให้พอเหมาะกับความประพฤติของ
นักโทษนั้น หากนักโทษก่อเหตุร้ายอีกก็ลงโทษให้ยิ่งๆ
ขึ้นอีก
กิเลส - หากเข้าครอบงำใจได้เมื่อไร ก็ย้อม เคลือบ ห่อ หุ้มใจ
ให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว มืดมิด สกปรก มีสภาพไม่ต่างกับ
ถ้ำมืดที่ทั้งสกปรกทั้งอันตราย หรือเหมือนกับคนใส่
แว่นสีดำแถมเปื้อนโคลนเหนอะหนะอีกด้วย ทำให้เสีย
คุณภาพในการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ การได้
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
6
____________________________________
๑ กิเลสคืออวิชชา ทำให้เกิดสังขารคือเจตนากรรม ปรุงแต่งให้เป็นวิบากจิตไว้ เมื่อจุติคือตาย
จากภพเก่า ปฏิสนธิจิต (ปฏิสนธิวิญญาณ) ย่อมพาเอานามรูปไปปฏิสนธิในภพใหม่ และ
ก่อเกิดอายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามควรแก่ภูมินั้นๆ เป็นเหตุให้เกิดผัสสะ เวทนา
ให้ได้รับวิบาก (ปวัตติวิญญาณ) ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ตามควร
แก่กรรมในอดีต อันจะก่อให้เกิดกิเลสในภพใหม่คือตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุให้
ทำกรรม (กัมมภพ) ในภพใหม่ต่อไปไม่รู้จบ
เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ไม่ตรงตามความ
เป็นจริง แล้วบีบคั้นใจให้กล้าคิดร้าย พูดร้าย ทำร้าย
ตามการรับรู้ที่ผิดๆ บิดเบือนไปแล้วนั้น เป็นผลให้
ต้องได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนต่างๆ จากคนดี
จึงต้องกลายมาเป็นคนชั่วร้าย ตามความคิด คำพูดและ
การกระทำร้ายๆ นั้น หากเผลอสติปล่อยกิเลสเข้า
ครอบงำใจได้เมื่อไร ย่อมสร้างความสลับซับซ้อนเช่นนี้
ให้บังเกิดขึ้น ไม่ว่างเว้นแม้แต่วินาทีเดียวกับสัตว์โลก
ทุกชีวิต ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
กิเลส - จึงเป็นต้นเหตุหรือตัวการแท้จริงที่ทำให้เกิดความ
ทุกข์ ความชั่วร้าย ความบาปทุกชนิดในโลก โดย
มีสัตว์โลกแต่ละชีวิตเป็นหุ่นหรือนักโทษที่ถูกบังคับ
ให้ทำการต่างๆ ก่อนจะถูกประหารซ้ำให้ตายอย่าง
ทรมาน
กิเลส - แบ่งออกเป็น ๓ กองทัพ แต่ละกองทัพมีลักษณะเลวร้าย
โดยเฉพาะ แล้วร่วมกันกลุ้มรุมโจมตีใจให้เดือดร้อน
เป็นทุกข์ กองทัพเหล่านั้น ได้แก่
กองทัพที่ ๑ โลภะ ทำให้ใจอดอยากหิวโหยและไม่รู้จักพอ
กองทัพที่ ๒ โทสะ ทำให้ใจพลุ่งพล่าน เดือดดาล คิด
ทำร้าย
กองทัพที่ ๓ โมหะ ทำให้ใจมืดบอด ขาดเหตุผล มักง่าย
เอาแต่ใจตัว
๑. กิเลสตระกูลโลภะ
โลภะ - เป็นกิเลสประเภทที่บีบบังคับใจให้รู้สึกหิวโหยอยาก
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
7
ได้มากผิดปกติ ใจจึงดิ้นรนอยู่ไม่เป็นสุข ต้องคิดหา
ทางเอามาเป็นของตนในทางทุจริตต่างๆ เช่น คิดลัก
ขโมย โกง จี้ ปล้น ฯลฯ จนถึงคิดฆ่าคนตาย รวมเรียกว่า
ความโลภ
โลภะ - มีลักษณะยึดอารมณ์ไว้อย่างเหนียวแน่น คือเมื่อพอใจ
ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ใดซึ่งเป็น
อายตนะภายนอก ใจก็แล่นออกจากศูนย์กลางกายไป
ยึดติดอารมณ์นั้นค้างไว้ในใจ จากความอยากได้อย่าง
สามัญก็ขยายตัวออกกลายเป็นความอยากได้ที่เกินเหตุ
ซึ่งเป็นพิษยากจะสลัดทิ้งหรือแกะออกเหมือนลิงติดตัง
หรือติดกาวเหนียวๆ แล้วแกะไม่ออก จึงถูกนายพราน
จับตัวเอาไปทำอย่างไรก็ได้ตามชอบใจ
โลภะ - มีเหตุใกล้ชิดคือนิสัยไม่ดีเป็นต้นเหตุ กล่าวคือ มีความ
ชอบใจในธรรมฝ่ายต่ำที่ทำให้เกิดกิเลสเป็นเชื้ออยู่แล้ว
เช่น ความฟุ่มเฟือย ความเอาเปรียบ ความเห็นแก่ได้
ความอยากได้ อยากมี ฯลฯ
โลภะ - จึงเปรียบเสมือนชะลอมใส่น้ำไม่รู้จักเต็มมักก่อให้เกิด
ความเร่าร้อนคิดที่จะทำทุจริตต่างๆ เพื่อให้ได้สิ่งนั้นๆ
มาครอบครอง เรื่องใดที่ไม่เคยคิดจะพูดก็พูด ไม่เคย
คิดจะทำก็ทำ ที่เคยคิดบ้างแล้วก็กำเริบรุนแรงยิ่งขึ้น
การละโลภะ
๑. ด้วยการใช้สติยับยั้งไว้ก่อน อย่าลุแก่อำนาจความ
อยากนั้นๆ
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
8
๒. ด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาผลได้ผลเสียให้เกิด
หิริโอตตัปปะ
๓. ด้วยการบำเพ็ญธรรมที่ตรงข้ามกับโลภะ คือ บริจาค
ทานเป็นนิจ
๒. กิเลสตระกูลโทสะ
โทสะ - เป็นกิเลสประเภทที่บีบบังคับใจให้ร้อนรน หงุดหงิด
ขัดเคือง ชิงชังได้ง่ายผิดปกติ เป็นผลให้คิดอยาก
ทำลายล้างผลาญคนอื่น สิ่งอื่นให้ได้รับอันตราย
เสียหาย เช่น ทำให้เขาบาดเจ็บ อับอาย เสียหน้า
เสียทรัพย์ รวมเรียกว่า คิดประทุษร้ายหรือความโกรธ
ความคิดประทุษร้ายอันเนื่องมาจากความไม่พอใจ
ฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น ที่จัดว่าเป็นโทสะ เช่น ยิงนก
ฆ่าหนู เพราะโกรธที่มันลงมากินข้าวในนา แต่ถ้าคิด
ประทุษร้ายด้วยเหตุอื่น เช่น คิดยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์
เพราะเห็นว่าเป็นกีฬาสนุกๆ จัดว่าเป็น โมหะ
โทสะ - มีลักษณะดุร้ายเหมือนอสรพิษที่ถูกตีแล้วไม่ตาย คือ
เมื่อบุคคลเผลอสติ เกิดความมานะถือตัวว่า ตนเด่น
กว่าเขา ตนด้อยกว่าเขา หรือตนเสมอกับเขาก็ดี ครั้น
ถูกกระทบด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ใด
ซึ่งไม่น่าพอใจ ก็เกิดความคิดขัดเคือง หงุดหงิด หาก
ระงับไม่ได้ ก็จะขยายตัวเป็นเหตุให้เกิดความคิดชั่วถึง
กับทะเลาะวิวาท กลั่นแกล้ง ทำร้าย ฆ่ากัน อันเป็นเหตุ
ให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน เหมือนคนที่เป็นศัตรูได้
โอกาสล้างแค้นกันเร็วขึ้นฉะนั้น
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
9
โทสะ - เมื่อเกิดกับผู้ใดย่อมทำให้ผู้นั้นคิดทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง
แม้ตนเอง นับตั้งแต่ ๑) ทำลายระบบความคิด ๒) ทำลาย
สุขภาพร่างกายและจิตใจ ๓) ทำลายทรัพย์สิน ๔) ทำลาย
สังคม เข้าทำนองใครขอความดีก็ไม่ให้ ใครให้ก็ไม่รับ
ทั้งยังเอาไฟเผาความดีภายในตนอีกด้วย
โทสะ - จึงเปรียบเสมือนลูกระเบิดในใจ พอมันระเบิดก็ทำลาย
ตนเองเป็นอันดับแรก จากนั้นก็ทำลายทั้งคนและ
สิ่งของข้างเคียงต่อไป
การละโทสะ
๑. ด้วยการใช้สติยับยั้งไว้ก่อน
๒. ด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษ
๓. ด้วยการตั้งใจรักษาศีล ๕ ป้องกันไว้ก่อน
๔. ด้วยการบำเพ็ญธรรมที่ตรงข้ามกับโทสะ คือ แผ่เมตตา
เป็นนิจ
๓. กิเลสตระกูลโมหะ
โมหะ- เป็นกิเลสประเภทบีบบังคับใจให้งุนงง หลงใหล งมงาย
มัวเมา มืดบอด ขาดเหตุผล เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมปิดบัง
ใจของผู้นั้น ไม่ให้รู้ถึงความจริงของสิ่งที่ตนได้เห็น ได้ยิน
ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส แล้วคิดลุ่มหลงต่างๆ นานา
ด้วยความเขลาเบาปัญญา ทำให้ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ
ผิดชอบ ชั่วดี เช่น ลุ่มหลงในสุรา นารี พาชี กีฬาบัตร
เป็นต้น รวมเรียกว่า ความหลง
สำหรับความไม่รู้วิชาการต่างๆ ในทางโลก เช่น
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
10
ไม่รู้เรื่องคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การประกอบอาหาร
การตัดเย็บเสื้อผ้า การค้าขาย ฯลฯ ไม่จัดว่าเป็นโมหะ
เป็นเพียงความไม่รู้ทั่วไปเท่านั้น
โมหะ- มีลักษณะปกปิดสถานะจริงของอารมณ์ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส สัมผัสไว้อย่างแน่นหนา ทำให้ใจมืดมิดไม่พยายาม
ใช้ปัญญาพิจารณาในเรื่องนั้นๆ ให้ประจักษ์ถ่องแท้
แต่ทำตนเป็นปฏิปักษ์กับเหตุผล แม้มีความรู้ก็ไม่ชอบ
ใช้ความรู้ ไม่ชอบใช้ความคิด กลายเป็นคนดูเบา หูเบา
ฯลฯ ของมอมเมา เช่น สุรา เป็นโทษแท้ๆ กลับดูเบา
เห็นว่าเป็นคุณ ใช้สำหรับกระชับมิตร การพนันเป็นของ
ทำลายเศรษฐกิจแท้ๆ กลับดูเบาเห็นเป็นสิ่งที่กระตุ้น
เศรษฐกิจ ฯลฯ ในที่สุดก็กลายเป็นคนเจ้าอารมณ์
ไม่รู้จักผิด ชอบ ชั่ว ดี ไม่รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ
ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ มีสภาพเหมือนคนตาดีที่ตก
อยู่ในที่มืด กล่าวคือมีตาแต่ไม่พยายามมอง ตาก็หมด
สภาพกลายเป็นมองไม่เห็น หรือไม่ก็เห็นผิดๆ
โมหะ- มีเหตุใกล้ที่ทำให้เกิดโมหะ คือ ขาดการคิดอย่างเป็น
ระบบ๑
ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ๒
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
11
____________________________________
๑ ม.มู.อ.สัพพาสวสังวรสูตร ๑๗/๑๕๗ (มมร.) โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การทำไว้ในใจโดยถูก
อุบาย = การทำไว้ในใจโดยถูกทาง = การนึก = การน้อมนึก = การผูกใจ = การใฝ่ใจ = การ
ทำไว้ในใจโดยอนุโลมตามสภาวะเป็นจริง (สัจจะ) โดยความหมายขั้นพื้นฐานก็คือ ความคิด
สืบสาวหาเหตุผลอย่างเป็นขั้นตอน
๒ ที.ปา.อ.ทสุตตรสูตร ๑๖/๔๖๓ (มมร.) การคิดที่ประกอบด้วยโยนิโสมนสิการ เป็นการคิด
การพิจารณาที่ทำให้อกุศลเสื่อม กุศลเจริญ เป็นเหตุและเป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์
แห่งสัตว์ทั้งหลาย
โมหะ- จึงเปรียบเสมือนความมืดภายในใจ ความมืดนั้น
ทำให้ผู้ถูกครอบงำชอบเสี่ยง ชอบเดา เชื่อโชคลาง
เชื่อพรหมลิขิต ชอบทำความผิดทุกชนิด ตั้งแต่ทะเลาะ
วิวาทกัน ฆ่ากัน ทำสงครามกัน ไม่เว้นแม้การทำร้าย
หรือฆ่าพ่อแม่ของตนเอง
การละโมหะ
๑. ตั้งใจฟัง อ่าน เรียนธรรม เพื่อเพิ่มพูนสุตมยปัญญา
๒. ตั้งใจค้นคิด ทดลอง ทำวิจัยธรรม เพื่อเพิ่มพูนจินตามย-
ปัญญา
๓. ตั้งใจทำใจให้สงบ และเจริญสมาธิภาวนา เพื่อเพิ่มพูน
ภาวนามยปัญญา
หากเผลอสติปล่อยให้กิเลสเข้ายึดครองใจ ใจจะถูกบังคับให้
คิดร้ายๆ แล้วพูดและทำแต่เรื่องร้ายๆ ตามแต่กิเลสจะชักนำ ผู้นั้น
ย่อมได้บาป ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ทำให้เป็นคนไร้ความสุข
ฉะนั้น ผู้ที่หวังความสุขความเจริญจำเป็นต้องกำจัดกิเลสเสียแต่ต้น
แต่กิเลสไม่สามารถใช้น้ำล้างได้ ใช้ไฟเผาก็ไม่ได้ มีบุญเท่านั้นที่
สามารถกำจัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิง
มิตรแท้จริงของมนุษย์
ได้แก่ บุญซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นด้วยตนเอง
บุญ - เป็นพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งบริสุทธิ์มาก เพราะไม่ว่า
ปริมาณจะมาก น้อยหรือปานกลาง นอกจากไม่มีโทษ
ใดๆ แล้ว ยังนำแต่ความสุขความเจริญ ความสมหวังใน
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
12
สิ่งที่ดีงามทั้งหลายมาให้ผู้มีบุญนั้น ทั้งในชีวิตนี้และชีวิต
ในโลกเบื้องหน้า เช่น ทำให้อายุยืน สุขภาพพลานามัย
แข็งแรง ผิวพรรณงาม มีศักดามาก มีทรัพย์สมบัติมาก
เกิดในตระกูลสูง และมีปัญญามาก ฯลฯ
บุญ๑
- เป็นพลังงานซึ่งมีอานุภาพมาก เพราะเป็นสิ่งเดียว
ที่มีฤทธิ์ฆ่ากิเลสทุกชนิดได้ จึงสามารถชำระจิตสันดาน
ที่เศร้าหมองตลอดจนความเห็นผิดความคิดชั่วร้ายทั้งหลาย
ให้หมดสิ้นไปจากใจ ทำให้ใจกลับมาบริสุทธิ์ผ่องใสได้
เป็นอัศจรรย์
บุญ - ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อของมนุษย์แต่เห็นได้ด้วย
ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ) ตาธรรม (ธรรมจักษุ) และรู้ได้
ด้วยอาการที่ปรากฏ เช่น รู้สึกเป็นสุขสดชื่น หน้าตา
ผ่องใส มีกำลังใจทำความดี มีความสำรวมระวัง ฯลฯ
เช่นเดียวกับที่รู้ว่ามีพลังงานไฟฟ้าด้วยอาการที่ทำให้
หลอดไฟสว่าง เตารีดร้อน พัดลมหมุน กล้ามเนื้อ
กระตุก ฯลฯ
บุญ - มีคุณสมบัติวิเศษมากมาย เช่น
๑. เป็นของเฉพาะตน จึงต้องทำด้วยตัวเอง
๒. ติดตามตนเองไปได้ทุกฝีก้าว แม้ตายไปเกิดในภพใหม่
ก็ยังติดตามไปได้
๓. ใครแย่งใครลักไปก็ไม่ได้
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
13
____________________________________
๑ ขุ.อิติ. ๔๕/๑๕๐ (มมร.) ชื่อว่า บุญ เพราะให้เกิดผลน่าบูชา และเพราะชำระสันดานของตน
ให้หมดจด
๔. เป็นเครื่องป้องกันภัยในวัฏสงสาร เช่น ไม่ให้ตกนรก
ก็ได้
๕. สามารถส่งไปได้ไกลๆ แม้ข้ามโลก ข้ามจักรวาลก็ไปได้
๖. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ นิพพานสมบัติก็ได้
ฯลฯ
บุญ - ทั้งน้อยและใหญ่ล้วนเกิดที่ใจของผู้ทำบุญเท่านั้น โดย
ย่อเราสามารถทำบุญได้ ๓ วิธีด้วยกัน คือ
๑. ทาน คือ การให้สิ่งของที่ควรแก่ผู้ที่ควรให้
๒. ศีล คือ การควบคุมกาย วาจา ให้เรียบร้อยด้วยการ
ไม่ทำผิดและพูดผิด
๓. ภาวนา คือการทำใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น
๑. บุญจากการให้ทาน
ทาน - แปลว่า การให้ ถ้าให้เพื่อมุ่งฟอกกิเลสในใจของผู้ให้
เช่น ถวายพระสงฆ์ เรานิยมเรียกว่า ทำบุญ ถ้าให้เพื่อ
มุ่งสงเคราะห์ผู้รับ เช่น ให้สิ่งของแก่คนยากจน คนทั่วไป
เรียกว่า ทำทาน
ทาน - เป็นการให้สิ่งของที่ควรแก่ผู้ที่ควรให้ สิ่งของที่ควรให้
เรียกว่าทานวัตถุ หรือไทยทาน หรือไทยธรรม มี ๑๐
อย่างคือ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ มาลัย
และดอกไม้ ของหอม (ธูปเทียน) เครื่องลูบไล้ (สบู่ เป็นต้น)
ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป (ไฟฟ้า) ทานวัตถุเหล่านี้
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
14
มีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษภัยแก่ผู้รับจึงมีอานิสงส์มาก
โดยทั่วไปเรียกผู้ให้ทานวัตถุว่า ทานบดี
ทาน - ทำให้เกิดบุญได้ เพราะในทันทีที่ใจได้สติ เกิดกำลังมาก
พอถึงกับสละทานวัตถุได้๑
ใจก็กลับเข้ามาบรรจบกับ
ธรรม ซึ่งเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในของตนเอง จึง
เกิดเป็นดวงบุญสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติ ณ ศูนย์กลางใจ
เช่นเดียวกับไฟฟ้าขั้วบวกกับขั้วลบที่มาบรรจบกันย่อมเกิด
ประกายสว่างขึ้นฉะนั้น และบุญที่เกิดขึ้นนี้ก็ทำหน้าที่
ฆ่าโลภะกิเลสทันทีเหมือนแสงสว่างของดวงอาทิตย์
หรือดวงประทีป เมื่อปรากฏขึ้น ย่อมฆ่าความมืดให้
หมดไปฉะนั้น
ทาน - จะบังเกิดผลเป็นบุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
๑. วัตถุ คือของที่จะให้ต้องเป็นของที่ตนได้มาโดยสุจริต
๒. เจตนา คือความตั้งใจในการให้ว่ามุ่งชำระกิเลสหรือ
ปรับปรุงจิตให้สะอาดเป็นหลัก
๓. บุคคล คือผู้ให้ต้องบริสุทธิ์ มีศีล ๕ เป็นอย่างน้อย
ส่วนผู้รับก็ยิ่งต้องมีศีลบริสุทธิ์ตามเพศภาวะของตน
ทาน - มีผลแก่ผู้ให้โดยตรงคือ ฆ่าความตระหนี่ ความโลภ
ความเห็นแก่ตัว และทำให้ทานบดีนั้นกลายเป็นคน
โอบอ้อมอารีตามไปด้วย
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
15
____________________________________
๑ ขุ.จริยา.อ. ๗๔/๕๗๘ (มมร.) ทานบารมี มีการบริจาคเป็นลักษณะ มีการกำจัดความโลภ
ในไทยธรรมเป็นรส (หน้าที่)
ทาน - มีผลน่าชื่นใจหรืออานิสงส์ทั้งโลกนี้ โลกหน้าต่อไปอีก
แก่ทานบดี ๗ ประการคือ
๑. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมอนุเคราะห์
ทานบดีก่อนคนทั้งหลาย
๒. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมเข้าไปหา
ทานบดีก่อนคนทั้งหลาย
๓. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมรับทานของ
ทานบดีก่อนของคนทั้งหลาย
๔. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมแสดงธรรม
แก่ทานบดีก่อนคนทั้งหลาย
๕. กิตติศัพท์อันงามของทานบดีย่อมฟุ้งกระจาย
๖. ทานบดีเข้าไปในบริษัทใดๆย่อมแกล้วกล้าไม่เก้อเขิน
๗. ทานบดีตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์
๒. บุญจากการรักษาศีล
ศีล - แปลว่า ปกติ สงบเย็น ในทางปฏิบัติ หมายถึง การงดเว้น
จากการประพฤติผิดทางกายและวาจา การควบคุมกาย
วาจาให้เรียบร้อย งดงามปราศจากความมัวหมองเป็น
ปกติ รวมแล้ว คือการไม่ทำผิดและไม่พูดผิด
ศีล - ระดับต้น คือ ศีล ๕ ของคนทั่วไป
ระดับกลาง คือ ศีล ๘ ของอุบาสก อุบาสิกา และศีล ๑๐
ของสามเณร
ระดับสูง คือศีล ๒๒๗ ของพระภิกษุ และศีล ๓๑๑ ของ
ภิกษุณี
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
16
ศีล - เมื่อรักษาได้ย่อมเกิดบุญ เพราะในทันทีที่หักห้ามใจได้
ย่อมตระหนักแก่ใจตนว่า บุคคลและสิ่งของภายนอก
ไม่สำคัญเท่าความดี ใจจึงได้สติ เกิดกำลังใจ ควบคุม
การพูด การทำ ไม่ให้วิปริตผิดปกติธรรมดา ใจก็กลับ
เข้ามาบรรจบกับธรรม ซึ่งเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในตน
เกิดเป็นดวงบุญสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติ ณ ศูนย์กลางใจ
ทันทีที่บุญนี้เกิดขึ้น ก็จะทำหน้าที่ฆ่าโทสะกิเลส เหมือน
แสงสว่างของดวงอาทิตย์หรือดวงประทีป เมื่อปรากฏขึ้น
ย่อมฆ่าความมืดให้หมดไปฉะนั้น
ศีล - เป็นเหตุให้คนอยู่ร่วมกันเป็นปกติ ไม่เบียดเบียนกัน
ไม่ฆ่ากัน ไม่ลักขโมยของกันและกัน ส่งผลเป็นความสงบ
แก่ผู้รักษา และทำหน้าที่ควบคุมพลโลกให้เรียบร้อย จึง
เป็นทางมาแห่งความสงบสุข
ศีล - มีผลแก่ผู้รักษาโดยตรงคือ ทำให้เป็นคนมีกายและวาจา
บริสุทธิ์สะอาด เป็นการตัดเวรตัดภัย ควบคุมกำกับโทสะ
ไว้ไม่ให้มีโอกาสกำเริบได้
ศีล - มีผลน่าชื่นใจ และมีอานิสงส์ต่อไปอีกทั้งโลกนี้และโลก
หน้าแก่ผู้รักษาศีล คือ
๑. ย่อมมีโภคทรัพย์มาก
๒. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๓. เข้าไปในบริษัทใดๆ ย่อมแกล้วกล้าไม่เก้อเขิน
๔. ย่อมไม่หลงลืมสติตาย
๕. ตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
17
๓. บุญจากการเจริญภาวนา
ภาวนา - แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มี ให้เป็นขึ้น
หมายถึง การทำใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น
ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านผู้รู้กำหนดไว้
ซึ่งเรียกชื่อต่างๆ กันไป เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน
การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตตภาวนา
การบริหารจิต ฯลฯ
ภาวนา - ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ
๑. สมถภาวนา การอบรมใจให้สงบ เรียกว่า สมถ-
กรรมฐาน หรือจิตตภาวนา หรือสมาธิภาวนา
ก็ได้
๒. วิปัสสนาภาวนา การอบรมใจให้เกิดปัญญา เรียกว่า
วิปัสสนากรรมฐาน หรือ ปัญญาภาวนา ก็ได้
เป็นขั้นตอนต่อจากสมาธิของผู้ที่เข้าถึงธรรมกายแล้ว
ภาวนา - เมื่ออบรมอย่างจริงจังย่อมเกิดบุญขึ้นอย่างมากมาย
เพราะเป็นการอบรมใจให้กลับมาสงบหยุดนิ่ง ณ
ศูนย์กลางกายอย่างต่อเนื่องจริงจัง ใจจึงมีสติกำกับ
อย่างต่อเนื่องและมีกำลังมากพอที่จะประคับประคอง
ใจให้เข้าถึง เข้าไปอยู่และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรม
ครั้งละนานๆ เป็นชั่วโมงๆ เป็นวันๆ เสมือนนำไข่แดง
คือใจ สอดเข้าไปไว้ในไข่ขาวคือธรรม ซึ่งเป็นธรรมชาติ
บริสุทธิ์ภายในตน เกิดเป็นดวงบุญสว่างไสวต่อเนื่อง
กันโดยอัตโนมัติ ณ ศูนย์กลางใจ เช่นเดียวกับไฟฟ้า
ขั้วบวกกับขั้วลบหากมาบรรจบกันก็เกิดประกาย
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
18
สว่างขึ้นฉะนั้น เนื่องจากใจเข้าไปอยู่กลางดวงธรรม
อย่างต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมงเป็นวันๆสำหรับผู้เจริญ
สมถภาวนา และเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี สำหรับ
ผู้เจริญวิปัสสนาอันเนื่องจากเข้าถึงธรรมกายแล้ว
บุญอันมหาศาลเหล่านี้เองจะทำหน้าที่กำจัดโมหะ
กิเลส ซึ่งเป็นกิเลสที่ร้ายแรงที่สุดตลอดจนกิเลส
ต่างๆ ทุกชนิดอย่างไม่ลดละ
ภาวนา - การจะบังเกิดบุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถ
ในการทำใจให้หยุดนิ่งสนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ
ธรรมได้นานเท่าใด หากนิ่งสนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียว
ได้ถาวรตลอดไป กิเลสทุกชนิดย่อมถูกกำจัดจน
หมดสิ้นไปด้วย ใจผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพานเสวย
แต่บรมสุขตลอดไป ท่านผู้นั้นจึงได้ชื่อว่า พระอรหันต์
ภาวนา - จึงไม่ใช่งานของคนแก่ แต่เป็นงานของทุกๆ คนที่
ต้องการปัญญา ความพ้นทุกข์ และความสุขสงบ
อย่างถาวรแท้จริง
การทำบุญทุกชนิดไม่ว่าน้อยหรือใหญ่ ล้วนเป็นการต่อต้าน
ทำลาย กำจัดกิเลสด้วยกันทั้งนั้น เมื่อฝ่ายบาปจัดทัพกิเลสมารุกราน
โจมตีใจถึง ๓ ทัพ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ชาวโลกจัด
กองทัพธรรมขึ้น ๓ ทัพ เพื่อต่อต้าน ทำลายล้างผลาญกิเลสให้สิ้นซาก
โดยกำหนดให้กองทัพทานทำลายล้างโลภะ กองทัพศีลทำลายล้าง
โทสะ กองทัพภาวนาทำลายล้างโมหะ โดยมีพื้นที่ในใจของตนเอง
เป็นสนามรบ
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
19
ทาน กำจัด เห็นแก่ได้ โลภะ
ผลิตบุญ ผลิตบาปกองทัพ
ศีล กำจัด พลุ่งพล่าน โทสะ
กองทัพ
ธรรม กิเลส
ภาวนา กำจัด งมงาย โมหะ
กรรมดี กรรมชั่ว
กองทัพธรรม
บุญ บาป กองทัพกิเลส
ภาพที่ ๑-๑ การสู้รบในใจระหว่างกรรมดี-กรรมชั่ว
การสู้รบระหว่างบุญ-บาป
บุญที่เราทำอุปมาเหมือนความสว่างที่สามารถฆ่ากิเลส ซึ่งอุปมา
เหมือนความมืดที่ปกคลุมจิตใจของคนเรา
บุญอันเกิดจากการทำทานนั้น อุปมาเหมือนความสว่างจากเทียน
บุญอันเกิดจากการรักษาศีลนั้น อุปมาเหมือนความสว่างจาก
หลอดไฟฟ้า
บุญอันเกิดจากการทำภาวนานั้น อุปมาเหมือนความสว่างจาก
ดวงอาทิตย์
ดังนั้นผู้ไม่ประมาทจึงต้องหมั่นทำให้แหล่งแห่งความสว่างเหล่านี้
โชติช่วงอยู่เสมอทั้งต้องคอยระมัดระวังมิให้ความสว่างเหล่านี้สูญสลายไป
เพราะหากความสว่างหมดไปเมื่อใด ความมืดก็ย้อนกลับเข้าปกคลุมทันที
เมื่อนั้น นั่นคือกิเลสได้โอกาสออกฤทธิ์บงการคนเราให้ทำบาปทำชั่ว
ได้อีก
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
20
กฎแห่งกรรม
มนุษย์ทั้งหญิงและชายต่างต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกนี้ ไม่มี
ใครหนีรอดจากวงจรนี้ไปได้ หากใครทำบุญหรือทำกรรมดี ครั้นละโลก
ย่อมไปเกิดในสุคติภูมิ คือเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง
ครั้นได้เสวยสุขในสวรรค์ตามสมควรแก่กรรมดีแล้ว ก็กลับมาเกิดเป็น
มนุษย์อีก ในทางตรงข้าม หากประมาทพลาดพลั้งไปทำกรรมชั่วก็ต้อง
ไปเกิดในทุคติภูมิ คือไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง สัตว์นรกบ้าง เปรต
หรืออสุรกายบ้างกว่าจะได้โอกาสกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกก็นานแสนนาน
สภาพของสัตว์โลกที่ต่างเวียนว่ายตายเกิดให้ต้องเป็นทุกข์อย่าง
ไม่รู้จบ ในสภาพเป็นมนุษย์บ้าง สัตว์ดิรัจฉานบ้าง สัตว์นรกบ้าง เทวดาบ้าง
พรหมบ้าง ฯลฯ เช่นนี้ จึงไม่ต่างกับนักโทษที่ถูกทรมานอยู่ในคุกคือ
โลก โดยที่นักโทษเหล่านั้นไม่เคยทราบเลยว่า ตนล้วนตกอยู่ภายใต้
“กฎแห่งกรรม”
กรรม แปลว่า การกระทำ เป็นคำกลางๆ หมายถึง การกระทำดี
ก็ได้ หรือการกระทำชั่วก็ได้
กรรมดี คือ การกระทำโดยไม่มีความโลภ ไม่มีความโกรธ
ไม่มีความหลงเป็นเหตุ เรียกว่า กุศลกรรม
กรรมชั่ว คือ การกระทำโดยมีความโลภ มีความโกรธ มี
ความหลงเป็นเหตุ เรียกว่า อกุศลกรรม
ความหมายของกรรม
๑. กรรม คือ การกระทำที่เกิดมาจากเจตนา (ความตั้งใจ ความ
จงใจ) ถ้าทำด้วยเจตนาดีปราศจากความโลภ ความโกรธ และความหลง
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
21
ก็เป็นกรรมดี ถ้าทำด้วยเจตนาชั่วโดยมีความโลภ ความโกรธ และ
ความหลงเป็นเหตุก็เป็นกรรมชั่ว
๒. กรรมเป็นการกระทำของคนที่ยังมีกิเลส การกระทำของ
พระอรหันต์ไม่จัดว่าเป็นกรรม เพราะท่านหมดกิเลสแล้ว การคิด การพูด
การทำทุกลมหายใจของท่านมีแต่ความบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรแอบแฝงจึง
พ้นไปจากกฎแห่งกรรม
๓. กรรม คือ การกระทำที่ยังจะต้องมีการให้ผลต่อไปอีก โดย
มีกฎตายตัวชัดเจนว่า ใครทำกรรมดีผู้นั้นย่อมได้รับผลดีคือความสุข
ใครทำกรรมชั่วผู้นั้นย่อมได้รับผลชั่วคือความทุกข์ในรูปแบบต่างๆโดยย่อ
ก็คือ ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว กฎนี้เป็นกฎคู่โลกและพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้ค้นพบในวันตรัสรู้แล้วทรงนำมาเปิดเผยแก่ชาวโลก
เส้นทางในการสร้างกรรม
คนเราไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ หญิงหรือชาย สามารถสร้างกรรมทั้ง
ดีและไม่ดีได้ ๓ ทางด้วยกันคือ
กรรมทางกาย เรียกว่า กายกรรม
กรรมทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม
กรรมทางใจ เรียกว่า มโนกรรม
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
22
ตารางที่ ๑-๑ การสร้างกุศลกรรมและอกุศลกรรมจำแนกตามเส้นทาง
การสร้างกรรม
เส้นทางสร้างกรรม
กุศลกรรมบถ อกุศลกรรมบถ
ทางแห่งความดี ทางแห่งความชั่ว
๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑. การจงใจทำลายชีวิตผู้อื่น
ที่ยังมีชีวิต ๒. การจงใจลักขโมยของผู้อื่น
กรรมทางกาย ๒. งดเว้นจากการลักขโมย ๓. การจงใจประพฤติผิด
กายกรรม ของผู้อื่น ในกาม
๓. งดเว้นจากการประพฤติ
ผิดในกาม
๑. งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑. การจงใจพูดเท็จ
กรรมทางวาจา
๒. งดเว้นจากการพูด ๒. การจงใจพูดส่อเสียด
วจีกรรม
ส่อเสียด ๓. การจงใจพูดคำหยาบ
๓. งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๔. การจงใจพูดเพ้อเจ้อ
๔. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๑. ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ ๑. คิดเพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของผู้อื่น สิ่งของของผู้อื่น
กรรมทางใจ ๒. ไม่คิดปองร้ายเบียดเบียน ๒. คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น
มโนกรรม ผู้อื่น ๓. คิดผิดเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฐิ
๓. คิดถูกเห็นถูก เป็น
สัมมาทิฐิ
ระดับการให้ผลของกรรม
กรรมที่ทำแล้วไม่ว่าดีหรือไม่ดีไม่ได้สิ้นสุดที่การกระทำเท่านั้น
แต่มีวิบากคือผลเกิดขึ้นกับผู้ทำกรรมนั้นด้วย ผลของกรรมมี ๒ ระดับ
ชั้นด้วยกัน คือ
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
23
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์
PomPam Comsci
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
Tongsamut vorasan
 
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้านครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
krupornpana55
 

Was ist angesagt? (20)

คู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากรคู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากร
 
คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์คำกลอนสอนศิษย์
คำกลอนสอนศิษย์
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
 
บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู5
บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู5บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู5
บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู5
 
รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2
รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2
รวมบทกลอนสำหรับงานค่าย2
 
กลอนเทียนปัญญา
กลอนเทียนปัญญากลอนเทียนปัญญา
กลอนเทียนปัญญา
 
รายการขอขมาบูชาครู
รายการขอขมาบูชาครูรายการขอขมาบูชาครู
รายการขอขมาบูชาครู
 
บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู4
บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู4บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู4
บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู4
 
คำคมคารมธรรม
คำคมคารมธรรมคำคมคารมธรรม
คำคมคารมธรรม
 
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
คำขอขมาพระอาจารย์และครูอาจารย์
 
บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู2
บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู2บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู2
บทบรรยายรายการขอขมาบูชาครู2
 
บทกลอนแด่แม่
บทกลอนแด่แม่บทกลอนแด่แม่
บทกลอนแด่แม่
 
บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่5
บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่5บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่5
บทยรรยายแสงเทียนแด่แม่5
 
พิธีจุดเทียนแด่แม่ร่วมกับจุดเทียนปัญญา
พิธีจุดเทียนแด่แม่ร่วมกับจุดเทียนปัญญาพิธีจุดเทียนแด่แม่ร่วมกับจุดเทียนปัญญา
พิธีจุดเทียนแด่แม่ร่วมกับจุดเทียนปัญญา
 
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้านครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
 
ครูมิใช่ช่างปั้นอันวิจิตร
ครูมิใช่ช่างปั้นอันวิจิตรครูมิใช่ช่างปั้นอันวิจิตร
ครูมิใช่ช่างปั้นอันวิจิตร
 
590819 shi27
590819 shi27590819 shi27
590819 shi27
 
มาลาบูชาครู
มาลาบูชาครูมาลาบูชาครู
มาลาบูชาครู
 
พิธีปิดค่ายจริยธรรม
พิธีปิดค่ายจริยธรรมพิธีปิดค่ายจริยธรรม
พิธีปิดค่ายจริยธรรม
 
พิธีไหว้ครู
พิธีไหว้ครูพิธีไหว้ครู
พิธีไหว้ครู
 

Andere mochten auch

การสร้างApps
การสร้างAppsการสร้างApps
การสร้างApps
vorravan
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6
แบบทดสอบ  ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6แบบทดสอบ  ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6
แบบทดสอบ ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6
teerachon
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถม
wangasom
 
ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7
Nongkran Jarurnphong
 
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
Nongkran Jarurnphong
 
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
Nongkran Jarurnphong
 
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
Nongkran Jarurnphong
 

Andere mochten auch (14)

สังคม
สังคมสังคม
สังคม
 
บุคลากร
บุคลากรบุคลากร
บุคลากร
 
การสร้างApps
การสร้างAppsการสร้างApps
การสร้างApps
 
05.คู่มือการอบรมผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาโครงการขยายผลการศึกษาทางไก...
05.คู่มือการอบรมผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาโครงการขยายผลการศึกษาทางไก...05.คู่มือการอบรมผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาโครงการขยายผลการศึกษาทางไก...
05.คู่มือการอบรมผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาโครงการขยายผลการศึกษาทางไก...
 
แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรอบรู้วิชาชีพครู 100 ข้อ(สอบครูดอทคอมติวสอบครูผู้ช่วย)
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6
แบบทดสอบ  ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6แบบทดสอบ  ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6
แบบทดสอบ ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถม
 
กลุ่มที่ ๑
กลุ่มที่ ๑กลุ่มที่ ๑
กลุ่มที่ ๑
 
กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่ ๒กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่ ๒
 
ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7
 
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
 
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
 
Flickr
FlickrFlickr
Flickr
 
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
 

Ähnlich wie หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู

การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วน
การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วนการพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วน
การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วน
neungzaba
 
สารสนเทศ 2556
สารสนเทศ 2556สารสนเทศ 2556
สารสนเทศ 2556
oraneehussem
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ1
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ1บทนมัสการมาตาปิตุคุณ1
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ1
Mameaw Pawa
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
dentyomaraj
 
เล่าสู่กันฟัง
เล่าสู่กันฟังเล่าสู่กันฟัง
เล่าสู่กันฟัง
Ict Krutao
 
โทรทัศน์ครูเพื่อครูมืออาชีพ
โทรทัศน์ครูเพื่อครูมืออาชีพโทรทัศน์ครูเพื่อครูมืออาชีพ
โทรทัศน์ครูเพื่อครูมืออาชีพ
Kobwit Piriyawat
 

Ähnlich wie หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู (20)

ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครูศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู
 
ความหมายของครู
ความหมายของครูความหมายของครู
ความหมายของครู
 
โรงเรียนสีวลีคลองหลวง
โรงเรียนสีวลีคลองหลวงโรงเรียนสีวลีคลองหลวง
โรงเรียนสีวลีคลองหลวง
 
กลอนครูและคำคม
กลอนครูและคำคมกลอนครูและคำคม
กลอนครูและคำคม
 
การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วน
การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วนการพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วน
การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วน
 
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมคู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
 
Create learning21sd-2
Create learning21sd-2Create learning21sd-2
Create learning21sd-2
 
สารสนเทศ 2556
สารสนเทศ 2556สารสนเทศ 2556
สารสนเทศ 2556
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
 
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
 
รอบรั้ววนาหลวง ฉบับที่ 4
รอบรั้ววนาหลวง ฉบับที่ 4รอบรั้ววนาหลวง ฉบับที่ 4
รอบรั้ววนาหลวง ฉบับที่ 4
 
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ1
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ1บทนมัสการมาตาปิตุคุณ1
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ1
 
Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
 
เล่าสู่กันฟัง
เล่าสู่กันฟังเล่าสู่กันฟัง
เล่าสู่กันฟัง
 
โทรทัศน์ครูเพื่อครูมืออาชีพ
โทรทัศน์ครูเพื่อครูมืออาชีพโทรทัศน์ครูเพื่อครูมืออาชีพ
โทรทัศน์ครูเพื่อครูมืออาชีพ
 

หนังสือ:ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู

  • 2. ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู ผู้เทศน์ : พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว) ผู้เรียบเรียง : สุวณีย์ ศรีโสภา ผศ.ดร. สมสุดา ผู้พัฒน์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำนวน ๑๓๐,๐๐๐ เล่ม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ISBN : 978-616-202-230-2 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ E-mail : ruambookdee@hotmail.com ไม่สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการพิมพ์แจกให้สถานศึกษา ถ้าจะนำเนื้อหาไปพิมพ์แจกเป็นการกุศล หรือเพื่อการศึกษา โดยไม่เป็นเชิงธุรกิจ อนุญาตให้พิมพ์ได้ โดยแจ้งให้ผู้เขียน และเจ้าของลิขสิทธิ์รับทราบเป็นลายลักษณ์อักษร จัดพิมพ์โดย กลุ่มงานโรงเรียนอาชีวศึกษา พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว ๒๒๔๙ ถนนลาดพร้าว แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐
  • 3. ที่ปรึกษาฝ่ายศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม โครงการพัฒนาคุณธรรมในสถานศึกษา พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร พระธรรมกิตติเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๔-๕-๖-๗ (ธ) ผู้ช่วยแม่กองธรรมสนามหลวง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ. ๙) เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี พระราชวรนายก (สำรวม ปิยธมฺโม ป.ธ. ๖) เจ้าคณะจังหวัดนครนายก เจ้าอาวาสวัดอุดมธานี อ.เมือง จ.นครนายก พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว) รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี รองประธานมูลนิธิธรรมกาย President of Dhammakaya International Society of North America and Europe รองหัวหน้าพระธรรมทูตสาย ๘ พระอธิการไมตรี ฐิตปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดทางสาย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ประธานชมรมสถานีวิทยุเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  • 4.
  • 5. คำนำ การศึกษานับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาคนซึ่งเป็นรากฐานของ การพัฒนาประเทศการจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนา กำลังคนในประเทศให้เจริญงอกงามได้โดยบุคคลที่ประกอบอาชีพครู แต่จะหาครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูอย่างแท้จริงเป็นไปได้ยาก จำเป็น ต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนาและการร่วมมือกันหลายภาคส่วนเพื่อ พัฒนาให้บุคคลมีความรู้ มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูอย่างแท้จริง สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนได้ตระหนัก และเข้าใจปัญหาเหล่านี้ จึงประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำหนังสือศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครูฉบับนี้ให้ครูได้ศึกษาและ พัฒนาตนเอง เพื่อให้เข้าใจในหน้าที่ของครูและมีจิตสำนึกในความเป็นครู อย่างแท้จริง สามารถนำไปประกอบการสั่งสอนนักเรียนให้มีพฤติกรรมตาม ที่พึงประสงค์ สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ขอกราบ ขอบพระคุณ พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว) ที่กรุณาเรียบเรียง หนังสือศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมสุดา ผู้พัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ช่วยประสานงาน การจัดทำหนังสือให้สำเร็จเรียบร้อย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครูเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร โรงเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ในการนำไปพัฒนาความเป็นครู อย่างมืออาชีพสืบไป (นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ) ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  • 6. คำปรารภ ปัจจุบันนี้มีปัญหาที่ทำให้ผู้คนต่างประสบความทุกข์และความ เดือดร้อนกันทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งเคยสงบร่มเย็น มายาวนาน ผู้คนโดยทั่วไปต่างมองว่าต้นเหตุรากเหง้าแห่งปัญหาความ เดือดร้อนทั้งปวงก็คือ ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง ดังนั้นผู้มีส่วน เกี่ยวข้องในการบริหารบ้านเมืองจึงพุ่งเป้าไปที่การแก้ปัญหาทั้งสองนี้ จริงอยู่เรื่องเศรษฐกิจและการเมืองเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้คนในสังคม ต่างเดือดร้อนไปตามๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คนในระดับรากหญ้า แต่ทว่าปัญหาทั้งสองนี้เป็นผลพวงสืบเนื่องมาจากปัญหารากเหง้าที่แท้จริง อีกต่อหนึ่ง ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นว่าปัญหารากเหง้าที่แท้จริงก็คือ ปัญหาอันเกิดจากกิเลสในจิตใจผู้คน ซึ่งนิยมเรียกกันว่าปัญหาศีลธรรม ปัญหาศีลธรรมเกิดขึ้นก็เพราะรัฐจัดการศึกษาให้แก่ประชากร โดยขาดดุลยภาพระหว่างความรู้ด้านวิชาการทางโลกและทางธรรม เนื่องจากเน้นความสำคัญด้านศาสตร์หรือด้านวิชาการทางโลกจนมองข้าม ความสำคัญด้านศีลธรรมไป ยังผลให้ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะมีการศึกษา ระดับใด ต่างมีความคิดเห็นเป็นมิจฉาทิฐิ ประพฤติผิดศีล ผิดธรรม คือ ทำชั่วทำบาปได้ทุกเรื่องเมื่อมีโอกาส เพราะเหตุนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารบ้านเมืองจึงจำเป็น จะต้องร่วมมือกันจัดการศึกษาให้ประชากรมีความรู้ด้านวิชาการทาง โลกสมดุลกับทางธรรมอย่างรีบด่วน แทนที่จะมัวมะงุมมะงาหราอยู่กับ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองอยู่ นับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่งที่สำนักบริหารงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชนมีวิสัยทัศน์กว้างไกลรอบด้านสามารถเล็งเห็นว่า การจัดการศึกษาที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาผู้คนในสังคมให้มีความ เคารพ วินัย และอดทน สมบูรณ์พร้อมด้วยศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ในระดับที่ตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิจนเป็นนิสัยเท่านั้น
  • 7. จึงจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและปัญหา สิ่งแวดล้อมโลก ตลอดจนปัญหาอื่นๆ ได้สำเร็จ คณะผู้จัดทำหวังอย่างยิ่งว่าหนังสือศาสตร์และศิลป์แห่งความ เป็นครูเล่มนี้ จะสามารถสนองเจตนารมณ์ของสำนักบริหารงานคณะ- กรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย ได้อย่างแท้จริง ท้ายที่สุดนี้คณะผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณพระเดชพระคุณ พระภาวนาวิริยคุณ (พระเผด็จ ทตฺตชีโว) อย่างสูงสุด ที่กรุณาอนุญาต ให้คณะผู้จัดทำนำพระธรรมเทศนาของท่านมาเรียบเรียงเป็นหนังสือ ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครูเล่มนี้ คณะผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณในความเมตตาของพระเดช พระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) พระเดช พระคุณพระธรรมกิตติเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) พระเดชพระคุณ พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ.๙) พระเดชพระคุณพระราช- วรนายก (สำรวม ปิยธมฺโม ป.ธ.๖) และพระเดชพระคุณพระอธิการไมตรี ฐิตปญโญ ที่ให้ความเมตตาแก่คณะผู้จัดทำในการให้แนวทางการเรียบเรียง ตลอดจนคำปรึกษาที่มีคุณค่ายิ่ง และที่สำคัญยิ่งคือ สำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ดำเนินโครงการพัฒนา คุณธรรมในสถานศึกษา ที่มองเห็นความสำคัญและมุ่งมั่น ผลักดัน ให้งานการศึกษาของชาติไทยสร้างคนไทยให้มีคุณภาพทั้งด้านคุณธรรม และความรู้ คณะผู้จัดทำ กองวิชาการ อาศรมบัณฑิต มีนาคม ๒๕๕๓
  • 8. สารบัญ หน้า บทที่ ๑ ธรรมพื้นฐานแห่งความเป็นครู ๑ ความสำคัญของมนุษย์ ๑ องค์ประกอบของมนุษย์ ๒ ๑. กาย ๒ ๒. ใจ ๔ ศัตรูแท้จริงของมนุษย์ ๕ ๑. กิเลสตระกูลโลภะ ๗ ๒. กิเลสตระกูลโทสะ ๙ ๓. กิเลสตระกูลโมหะ ๑๐ มิตรแท้จริงของมนุษย์ ๑๒ ๑. บุญจากการให้ทาน ๑๔ ๒. บุญจากการรักษาศีล ๑๖ ๓. บุญจากการเจริญภาวนา ๑๘ การสู้รบระหว่างบุญ-บาป ๒๐ กฎแห่งกรรม ๒๑ ความหมายของกรรม ๒๑ เส้นทางในการสร้างกรรม ๒๒ ระดับการให้ผลของกรรม ๒๓ ระยะเวลาที่กรรมให้ผล ๒๔ หลักการตัดสินกรรมดี-กรรมชั่ว ๒๗ ลักษณะของครูแบ่งตามกรรม ๒๘ บทที่ ๒ การศึกษาที่แท้จริง ๓๐ ความจำเป็นในการจัดการศึกษา ๓๐ เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา ๓๕
  • 9. สารบัญ (ต่อ) หน้า ความผิดพลาดในการจัดการศึกษาทั่วทั้งโลก ๔๑ มิตรเทียม ผลของการจัดการศึกษาที่ผิดพลาด ๔๓ การศึกษาที่สมบูรณ์ ๔๔ หลักในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองต่อทิศ ๖ ๕๓ มิตรแท้ผลของการจัดการศึกษาที่ถูกต้อง ๕๗ แม่พิมพ์ต้นแบบ ๕๙ คุณสมบัติแม่พิมพ์ของชาติ ๕๙ ความร่วมมือของครูประจำโลก ๓ ประเภท ๖๒ ความสำคัญของศาสตร์ และศิลป์ ๖๕ ความแตกต่างระหว่างศิลป์ของครูกับอาชีพอื่นๆ ๖๖ เส้นทางการพัฒนาครูดี ๖๗ ครูที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ ๖๘ บทที่ ๓ ธรรมแม่บทแห่งความเป็นครู ๗๑ อริยมรรคมีองค์ ๘ ๗๑ มรรคมีองค์ ๘ สำหรับครู ๗๖ หลักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ๘๔ กระบวนการฆ่ากิเลสของมรรคมีองค์ ๘ ๙๐ การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ สำหรับเด็กเล็ก ๙๑ ความทรงจำของเด็กอนุบาลอาจตราตรึงตลอดไป ๙๓ สิทธัตถะราชกุมารบรรลุปฐมฌาน ๙๔ จิตของวัยรุ่นเป็นสมาธิช้ากว่าเด็กเล็ก ๙๕ สัมมาทิฐิ ๑๐ แม่บทการสร้างกำลังใจในการทำความดี ๙๗ บทบาทของครูตามหลักสัมมาทิฐิ ๑๐ ๑๐๓ คุณค่าและความจำเป็นในการปลูกฝังสัมมาทิฐิ ๑๐ ๑๐๙
  • 10. สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ ๔ การศึกษาและการสอน ๑๑๔ ความหมายของการศึกษา ๑๑๔ วัตถุประสงค์ของการศึกษา ๑๑๖ ธรรมชาติการอยู่ร่วมกันในสังคมกับการปลูกฝังคุณธรรม ๑๑๗ ข้อควรระวังในการจัดการศึกษา ๑๒๒ การฝึกนิสัยให้รักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ๑๒๔ สถานที่ฝึกนิสัย ๑๒๕ หน้าที่หลักของ ๕ ห้องชีวิต ๑๒๕ องค์ประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดนิสัย๓ ๑๒๘ บทที่ ๕ บทฝึกนิสัย ๑๓๖ ความหมายของนิสัย ๑๓๖ ตัวอย่างนิสัยดี-ไม่ดี ๑๓๗ สรุปความสัมพันธ์ระหว่างนิสัยกับความรู้ ๑๓๘ ความยากในการแก้ไขนิสัย ๑๓๙ ข้อเตือนใจในการสร้างนิสัย ๑๔๐ พฤติกรรมที่กลายเป็นนิสัยของมนุษย์ ๑๔๓ การพัฒนานิสัยด้วย ๕ ห้องชีวิต ๑๔๔ ๑. ห้องนอน (ห้องมหาสิริมงคล) ๑๔๔ ๒. ห้องน้ำ (ห้องมหาพิจารณา) ๑๔๕ ๓. ห้องอาหาร (ห้องมหาประมาณ) ๑๔๗ ๔. ห้องแต่งตัว (ห้องมหาสติ) ๑๔๙ ๕. ห้องทำงาน (ห้องมหาสมบัติ) ๑๕๑ กระบวนการเนรมิตนิสัยจาก ๕ ห้องชีวิต ในบุคคลทั่วไป ๑๕๓
  • 11. สารบัญ (ต่อ) หน้า ศีลธรรมพื้นฐานที่ได้จาก ๕ ห้องชีวิต ๑๖๔ บูรณาการ ๕ ห้องชีวิตกับทิศเบื้องหน้า ๑๖๙ บทที่ ๖ กระบวนการเรียนการสอน ๑๗๑ วุฒิธรรม ๔ ๑๗๑ คุณสมบัติของครูดี ๑๗๓ หลักการฟังคำบรรยาย ๑๗๔ หลักการเจาะลึกคำสอน ๑๗๕ หลักการถ่ายทอดความรู้ความสามารถและความดี ๑๗๖ เทคนิคการฝึกตนตามวุฒิธรรม ๔ ๑๗๗ กระบวนการศึกษาตามหลักวุฒิธรรม ๔ ๑๗๘ บทที่ ๗ บทส่งท้าย ๑๘๑ เหตุปัจจัยให้ประสบความสำเร็จในทุกอาชีพ ๑๘๑ ครูผู้สมบูรณ์พร้อมด้วยศาสตร์และศิลป์ ๑๘๒ การถ่ายทอดความรู้ของพระบรมครู ๑๘๖ ครูพึงดำเนินรอยตามพระบรมครู ๑๘๗ มรรคมีองค์ ๘ คือหนทางอันเกษม ๑๘๘ แนวคิดสำหรับการฟื้นฟูการศึกษา ๑๙๑ ความสำเร็จของผู้ฟื้นฟูการศึกษา ๑๙๒ สรุป ๑๙๖ บรรณานุกรม ๑๙๙
  • 12. สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ ๑-๑ การสู้รบในใจระหว่างกรรมดี-กรรมชั่ว ๒๐ ภาพที่ ๑-๒ กาลเวลาที่ให้ผลของกรรมวาระหนึ่งๆ ๒๖ แบ่งเป็น ๓ ระยะ ภาพที่ ๒-๑ ปัญหาทุกข์ประจำชีวิตของมนุษย์ ๓๒ ภาพที่ ๒-๒ กลุ่มคนในทิศทั้ง ๖ ๔๙ ภาพที่ ๒-๓ กรอบมาตรฐานศีลธรรมขั้นพื้นฐาน ๕๒ ภาพที่ ๒-๔ คุณสมบัติของครูดีที่โลกต้องการ ๖๐ ภาพที่ ๓-๑ หลักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ๘๔ ภาพที่ ๓-๒ การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ รอบแรก ๘๘ ภาพที่ ๓-๓ การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ อย่างต่อเนื่อง ๘๙ ภาพที่ ๓-๔ มรรคมีองค์ ๘ เพื่อการปลูกฝังนิสัยตามวัย ๙๗ ภาพที่ ๔-๑ การศึกษา ๑๑๔ ภาพที่ ๔-๒ การจัดการศึกษา ๑๑๕ ภาพที่ ๔-๓ มรรคมีองค์ ๘ เพื่อการศึกษาและพัฒนานิสัย ๑๑๘ ภาพที่ ๔-๔ หน้าที่หลักของ ๕ ห้องชีวิตในการปลูกฝังนิสัย ๑๒๖ ภาพที่ ๔-๕ องค์ประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียน ๑๓๔ เกิดนิสัย ๓ ภาพที่ ๔-๖ หลักการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์แบบ ๑๓๕
  • 13. สารบัญภาพ (ต่อ) หน้า ภาพที่ ๕-๑ กำเนิดของนิสัย ๑๓๖ ภาพที่ ๕-๒ กำเนิดของนิสัยดี-ไม่ดี ๑๓๗ ภาพที่ ๕-๓ การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง ๑๓๙ นิสัยกับความรู้ ภาพที่ ๕-๔ สถานที่เกิดของนิสัย ๑๔๑ ภาพที่ ๕-๕ แม่บทในการฝึกนิสัย ๑๔๑ ภาพที่ ๕-๖ วัตถุประสงค์ของ ๕ ห้องชีวิต ๑๔๒ ภาพที่ ๕-๗ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างนิสัย ๑๔๒ ภาพที่ ๕-๘ การบูรณาการ ๕ ห้องชีวิตกับทิศเบื้องหน้า ๑๗๐ ภาพที่ ๖-๑ ลำดับวิธีการศึกษาด้วยวุฒิธรรม ๔ ๑๗๒ ภาพที่ ๖-๒ คุณสมบัติของครูดี ๑๗๓ ภาพที่ ๖-๓ หลักการฟังคำบรรยาย ๑๗๔ ภาพที่ ๖-๔ หลักการเจาะลึกคำสอน ๑๗๕ ภาพที่ ๖-๕ หลักการถ่ายทอดความรู้ความสามารถ ๑๗๖ และความดี ภาพที่ ๖-๖ เทคนิคการฝึกตนตามวุฒิธรรม ๔ ๑๗๘ ภาพที่ ๖-๗ กระบวนการศึกษาตามหลักวุฒิธรรม ๔ ๑๗๙
  • 14. สารบัญตาราง ุ หน้า ตารางที่ ๑-๑ การสร้างกุศลกรรมและอกุศลกรรม ๒๓ จำแนกตามเส้นทางการสร้างกรรม ตารางที่ ๑-๒ หลักการตัดสินกรรมดี-กรรมชั่ว ๒๗ ตารางที่ ๑-๓ ลักษณะของครูแบ่งตามกรรมที่ครูทำไว้ด้วยตนเอง ๒๘ ตารางที่ ๒-๑ หน้าที่ของบุคคลทั้ง ๖ กลุ่มที่พึงปฏิบัติต่อกัน ๕๐ ในแต่ละกลุ่่ม ตารางที่ ๓-๑ การเปรียบเทียบมรรคมีองค์ ๘ ทั้ง ๒ ระดับ ๗๒ ตารางที่ ๓-๒ บทบาทของครูตามหลักสัมมาทิฐิ ๑๐ ๑๐๓ ตารางที่ ๗-๑ ความแตกต่างระหว่างศาสตร์และศิลป์ของครู ๑๘๕ กับอาชีพอื่นๆ
  • 15. บทที่ ๑ ธรรมพื้นฐานแห่งความเป็นครู ในฐานะที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายต่างมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนนักศึกษา ตลอดจนผู้ปกครองของบรรดาศิษย์ ทั้งหลายกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือคณาจารย์ทั้งหลายต่างมีหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรงเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ของศิษย์ของตน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะ ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อย่างถูกต้องลึกซึ้ง พอสมควร เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิผลอย่าง แท้จริง มิฉะนั้นถึงแม้จะทุ่มเทแรงกายแรงใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ ปรารถนาดีต่อศิษย์เพียงใดก็อาจจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่สำคัญของมนุษย์มีดังนี้ ความสำคัญของมนุษย์ มนุษย์ แปลว่า ผู้มีใจสูง หมายถึง - มีใจสูงกว่าสัตว์โลกชนิดอื่นๆ - หากฝึกดีแล้ว ใจย่อมสูงส่งเกินกว่ากิเลส ชั่วร้ายใดๆ จะครอบงำทำลายได้ สูงจนสามารถ บรรลุถึงพระนิพพานได้ มนุษย์ มีใจสูงเพราะบำเพ็ญมนุษยธรรม คือรักษาศีล ๕ และ กุศลกรรมบถ ๑๐ มาอย่างมั่นคงแล้วในอดีตชาติ มนุษย์ มีใจใสสะอาดเป็นปกติ แม้ยังไม่หมดกิเลสก็สามารถ เลือกคิด พูด ทำ เฉพาะแต่สิ่งที่ดีงามเป็นบุญกุศล เป็น ประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้ หากได้รับการศึกษา ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 1
  • 16. อย่างถูกวิธีตั้งแต่วัยเยาว์ ย่อมเป็นการสนับสนุนให้ประกอบ คุณประโยชน์แก่ตนและเพื่อนร่วมโลกได้ไม่มีที่สิ้นสุด มนุษย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๒ ส่วน คือ ๑. ร่างกาย หรือเรียกสั้นๆ ว่า กาย ๒. ใจ หรือบางครั้งเรียกว่า จิต๑ องค์ประกอบของมนุษย์ องค์ประกอบสำคัญของมนุษย์มีอยู่ ๒ ประการ คือกายและใจ ๑. กาย กาย - ทั้งหญิงและชายต่างประกอบด้วยธาตุ ๔ ชนิด ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม มาประชุมกัน อย่างได้สัดส่วนเหมาะสมแล้วเกิดเป็นเซลล์เล็กๆ กลุ่ม เซลล์เล็กๆ เหล่านี้ประกอบกันเกิดเป็นอวัยวะต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน ภายนอก เช่น ผม ขน เล็บ ฯลฯ ภายใน เช่น ตับ ไต หัวใจ ฯลฯ กาย - ประกอบขึ้นจากธาตุ ๔ ซึ่งยังไม่บริสุทธิ์ เซลล์แต่ละเซลล์ ในอวัยวะต่างๆ จึงอ่อนแอ มีอายุไม่นานก็แตกทำลาย มีข้อมูลปรากฏว่าในเวลาเพียง ๑ นาทีมีการแตกทำลาย ของเซลล์เก่าและการเกิดขึ้นของเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 2 ____________________________________ ๑ วิ.มหาวิ. ๒/๒๖๖, สัง.นิ. ๒๖/๒๙๒ (มมร.) คำว่า ใจ มาจากภาษาบาลีว่า มโน แปลเป็น ภาษาไทยว่า ใจ และนิยมพูดกันโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังมีคำแทนที่ปรากฏในบาลีคือคำว่า จิต หรือ วิญญาณ เช่น ธรรมชาติอันใดเป็นจิต ธรรมชาติอันนั้น ชื่อว่าใจ ธรรมชาติ อันใดเป็นใจ ธรรมชาติอันนั้นชื่อว่า จิต
  • 17. ประมาณ ๓๐๐ ล้านเซลล์อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์มารดา กาย - เกิดขึ้นเองไม่ได้ แต่ต้องมีบิดาและมารดาเป็นผู้ให้กำเนิด คือท่านทั้งสองให้ธาตุ ๔ เพื่อประกอบขึ้นเป็นเซลล์ใน อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเราอย่างครบถ้วน จึงถือได้ว่า บิดาและมารดาเป็นผู้ให้ทุนชีวิตแก่เรา กาย - จะเจริญเติบโตขึ้นและดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ภายหลังคลอด ก็ต่อเมื่อมีธาตุ ๔ จากภายนอก เช่น ข้าวปลาอาหาร น้ำ อากาศและแสงแดด ฯลฯ เข้ามาหล่อเลี้ยงอย่าง เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพตลอดเวลา กาย - หากได้ธาตุ ๔ จากภายนอกที่มีคุณภาพไม่เหมาะสม และมีปริมาณไม่พอเหมาะกับเพศและวัย จะทำให้เซลล์ ในอวัยวะต่างๆ อ่อนแออย่างรวดเร็ว ซึ่งจะยังผลให้อัตรา การตายของเซลล์มีปริมาณสูงขึ้นอีก ในที่สุดก็จะกลาย เป็นรังแห่งโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายไปโดยปริยาย กาย - แม้จะได้รับการดูแลปกป้องรักษาเป็นอย่างดีเพียงใด ก็ตาม แต่เพราะเหตุที่ธาตุ ๔ ทั้งที่ได้มาจากบิดามารดา ตั้งแต่ถือกำเนิด และธาตุ ๔ จากภายนอกซึ่งแสวงหามา หล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาไม่บริสุทธิ์พอ จึงต้องแตกสลาย เป็นธรรมดา คือตายในที่สุด กาย - ของมนุษย์ที่ไม่พิกลพิการ มีลักษณะพิเศษคือ ๑. กระดูกสันหลังตั้งฉากกับพื้นโลก ยามยืน-เดิน-นั่ง จึงตั้งตรง คล่องแคล่วว่องไว ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 3
  • 18. ๒. ยามนอนก็นอนได้ราบทั้งหงาย คว่ำ ตะแคง จึง พักผ่อนได้เต็มที่ ๓. รูปร่าง ขนาด สัดส่วน อวัยวะเหมาะแก่การประกอบ คุณงามความดีทุกรูปแบบ เพราะเกิดจากอำนาจบุญ ที่สั่งสมมานับภพนับชาติไม่ถ้วน จึงไม่สมควรใช้ กายนี้ไปถล่มทลายทำความชั่ว แต่สมควรอย่างยิ่ง ที่จะใช้ทำเฉพาะความดีให้สมกับที่ได้โอกาสครอบครอง กายอันแสนประเสริฐนี้ กาย - หลังจากตายกลายเป็นศพแล้วก็จะถูกนำไปฝังหรือเผา ธาตุทั้ง ๔ ที่ประกอบเป็นกายก็คืนกลับสู่สภาพเดิม คือ ธาตุดินก็กลับทับถมจมดินไป ธาตุน้ำก็สลายกลายเป็นน้ำ ธาตุไฟก็กลายเป็นไฟ ธาตุลมก็กลายเป็นลม แม้เชื้อโรค ต่างๆ ในกายก็ต้องตายตามไปด้วย ๒. ใจ ใจ - เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของมนุษย์ สถิตอยู่ภายในกายตั้งแต่ถือกำเนิด ทำให้กายมนุษย์ซึ่ง ประกอบด้วยธาตุ ๔ มีชีวิตขึ้นมาได้ ใจ - เป็นธาตุละเอียดจึงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ ไม่สามารถจับต้องได้ แต่เห็นได้ด้วยตาทิพย์ ใจ - เป็นธาตุรู้จึงทำให้เรารู้เรื่องราวต่างๆ ได้ เช่น รู้ธรรม รู้หนังสือ รู้จักเพื่อน รู้จักดีและชั่ว รู้จักดีใจและเสียใจ รู้จัก เหตุและผล ฯลฯ ใจ - ทำงานร่วมกับประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 4
  • 19. และกาย จึงทำให้เห็นรูปผ่านตา ฟังเสียงผ่านหู สูดดม กลิ่นผ่านจมูก ลิ้มรสผ่านลิ้นและสัมผัสผ่านกายได้ ใจ - ปกติจะผ่องใส ไม่ขุ่นมัว และมีความสว่างภายใน๑ ทำให้บุคคลสามารถรู้เห็นสภาวการณ์ต่างๆ รอบตัวผ่าน ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ได้อย่างถูกต้องชัดเจน จึงรักที่จะคิด ดีๆ แล้วสั่งกายให้พูดและทำสิ่งดีๆ ตามมา ใจ - หากถูกกิเลสเข้าครอบงำ ย่อมเศร้าหมอง ขุ่นมัว การรับรู้ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ จึงผิดพลาดคลาดเคลื่อนไม่ตรง ตามความเป็นจริง ก่อให้เกิดความคิดวิปริต จึงพูดร้าย ทำร้ายได้ต่างๆ นานา ทำให้ผู้นั้นกลายเป็นคนชั่วคนร้าย ไปทันที ศัตรูแท้จริงของมนุษย์ ได้แก่ กิเลสที่แอบแฝงอยู่ในใจซึ่งมีอยู่ ๓ ตระกูลด้วยกัน กิเลส - หรือกิเลสมารเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งสกปรกมาก เปรอะเปื้อนมาก เหนียวแน่นมาก มีอำนาจในการ ทำลายทำร้ายใจให้เดือดร้อนเป็นทุกข์ได้มากไม่มีสิ่งใด มาเทียบเทียมได้ ขณะเดียวกันก็เป็นธาตุที่ละเอียดมาก จึงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อแต่จะเห็นได้ด้วย ตาธรรมหรือธรรมจักษุเท่านั้น ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 5 ____________________________________ ๑ ขุ.มหานิ.กามสุตตนิทเทศที่ ๑ ๖๕/๖๗ (มมร.) หมายถึง ภวังคจิต ที่อยู่ภายในกายตนขณะที่ ยังไม่ได้ขึ้นสู่วิถีการรับอารมณ์ จะมีธรรมชาติที่ประภัสสร สะอาด เพราะยังไม่ถูกอุปกิเลส ครอบงำ
  • 20. กิเลส - ฝังตัวเกาะติดอยู่ในใจมนุษย์ ตั้งแต่แรกถือกำเนิด ในครรภ์มารดา เช่นเดียวกับเชื้อโรคทั้งหลายที่ฝังตัว อยู่ในยีนและโครโมโซม เพื่อรอจังหวะทำความเจ็บป่วย ให้ร่างกายขณะที่สุขภาพอ่อนแอฉันใด กิเลสก็จ้องหา โอกาสครอบงำเราขณะที่ใจเผลอสติฉันนั้น กิเลส - ที่แฝงอยู่ในใจของผู้ตายนั้นไม่ตายตามร่างกายไปด้วย๑ แต่ทำหน้าที่บังคับบัญชาให้กายละเอียดของผู้นั้นไป เกิดใหม่ในภพภูมิที่พอเหมาะกับความเลวร้ายของเขา หากได้โอกาสก็บังคับผู้นั้นให้คิดร้าย พูดร้าย ทำร้าย ต่อไปอีก จึงต้องเป็นทุกข์และได้บาปต่อไปอีกชาติแล้ว ชาติเล่า เช่นเดียวกับผู้คุม ย้ายนักโทษจากที่คุมขังหนึ่ง ไปอีกที่คุมขังหนึ่งให้พอเหมาะกับความประพฤติของ นักโทษนั้น หากนักโทษก่อเหตุร้ายอีกก็ลงโทษให้ยิ่งๆ ขึ้นอีก กิเลส - หากเข้าครอบงำใจได้เมื่อไร ก็ย้อม เคลือบ ห่อ หุ้มใจ ให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว มืดมิด สกปรก มีสภาพไม่ต่างกับ ถ้ำมืดที่ทั้งสกปรกทั้งอันตราย หรือเหมือนกับคนใส่ แว่นสีดำแถมเปื้อนโคลนเหนอะหนะอีกด้วย ทำให้เสีย คุณภาพในการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ การได้ ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 6 ____________________________________ ๑ กิเลสคืออวิชชา ทำให้เกิดสังขารคือเจตนากรรม ปรุงแต่งให้เป็นวิบากจิตไว้ เมื่อจุติคือตาย จากภพเก่า ปฏิสนธิจิต (ปฏิสนธิวิญญาณ) ย่อมพาเอานามรูปไปปฏิสนธิในภพใหม่ และ ก่อเกิดอายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามควรแก่ภูมินั้นๆ เป็นเหตุให้เกิดผัสสะ เวทนา ให้ได้รับวิบาก (ปวัตติวิญญาณ) ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ตามควร แก่กรรมในอดีต อันจะก่อให้เกิดกิเลสในภพใหม่คือตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุให้ ทำกรรม (กัมมภพ) ในภพใหม่ต่อไปไม่รู้จบ
  • 21. เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ไม่ตรงตามความ เป็นจริง แล้วบีบคั้นใจให้กล้าคิดร้าย พูดร้าย ทำร้าย ตามการรับรู้ที่ผิดๆ บิดเบือนไปแล้วนั้น เป็นผลให้ ต้องได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนต่างๆ จากคนดี จึงต้องกลายมาเป็นคนชั่วร้าย ตามความคิด คำพูดและ การกระทำร้ายๆ นั้น หากเผลอสติปล่อยกิเลสเข้า ครอบงำใจได้เมื่อไร ย่อมสร้างความสลับซับซ้อนเช่นนี้ ให้บังเกิดขึ้น ไม่ว่างเว้นแม้แต่วินาทีเดียวกับสัตว์โลก ทุกชีวิต ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กิเลส - จึงเป็นต้นเหตุหรือตัวการแท้จริงที่ทำให้เกิดความ ทุกข์ ความชั่วร้าย ความบาปทุกชนิดในโลก โดย มีสัตว์โลกแต่ละชีวิตเป็นหุ่นหรือนักโทษที่ถูกบังคับ ให้ทำการต่างๆ ก่อนจะถูกประหารซ้ำให้ตายอย่าง ทรมาน กิเลส - แบ่งออกเป็น ๓ กองทัพ แต่ละกองทัพมีลักษณะเลวร้าย โดยเฉพาะ แล้วร่วมกันกลุ้มรุมโจมตีใจให้เดือดร้อน เป็นทุกข์ กองทัพเหล่านั้น ได้แก่ กองทัพที่ ๑ โลภะ ทำให้ใจอดอยากหิวโหยและไม่รู้จักพอ กองทัพที่ ๒ โทสะ ทำให้ใจพลุ่งพล่าน เดือดดาล คิด ทำร้าย กองทัพที่ ๓ โมหะ ทำให้ใจมืดบอด ขาดเหตุผล มักง่าย เอาแต่ใจตัว ๑. กิเลสตระกูลโลภะ โลภะ - เป็นกิเลสประเภทที่บีบบังคับใจให้รู้สึกหิวโหยอยาก ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 7
  • 22. ได้มากผิดปกติ ใจจึงดิ้นรนอยู่ไม่เป็นสุข ต้องคิดหา ทางเอามาเป็นของตนในทางทุจริตต่างๆ เช่น คิดลัก ขโมย โกง จี้ ปล้น ฯลฯ จนถึงคิดฆ่าคนตาย รวมเรียกว่า ความโลภ โลภะ - มีลักษณะยึดอารมณ์ไว้อย่างเหนียวแน่น คือเมื่อพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ใดซึ่งเป็น อายตนะภายนอก ใจก็แล่นออกจากศูนย์กลางกายไป ยึดติดอารมณ์นั้นค้างไว้ในใจ จากความอยากได้อย่าง สามัญก็ขยายตัวออกกลายเป็นความอยากได้ที่เกินเหตุ ซึ่งเป็นพิษยากจะสลัดทิ้งหรือแกะออกเหมือนลิงติดตัง หรือติดกาวเหนียวๆ แล้วแกะไม่ออก จึงถูกนายพราน จับตัวเอาไปทำอย่างไรก็ได้ตามชอบใจ โลภะ - มีเหตุใกล้ชิดคือนิสัยไม่ดีเป็นต้นเหตุ กล่าวคือ มีความ ชอบใจในธรรมฝ่ายต่ำที่ทำให้เกิดกิเลสเป็นเชื้ออยู่แล้ว เช่น ความฟุ่มเฟือย ความเอาเปรียบ ความเห็นแก่ได้ ความอยากได้ อยากมี ฯลฯ โลภะ - จึงเปรียบเสมือนชะลอมใส่น้ำไม่รู้จักเต็มมักก่อให้เกิด ความเร่าร้อนคิดที่จะทำทุจริตต่างๆ เพื่อให้ได้สิ่งนั้นๆ มาครอบครอง เรื่องใดที่ไม่เคยคิดจะพูดก็พูด ไม่เคย คิดจะทำก็ทำ ที่เคยคิดบ้างแล้วก็กำเริบรุนแรงยิ่งขึ้น การละโลภะ ๑. ด้วยการใช้สติยับยั้งไว้ก่อน อย่าลุแก่อำนาจความ อยากนั้นๆ ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 8
  • 23. ๒. ด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาผลได้ผลเสียให้เกิด หิริโอตตัปปะ ๓. ด้วยการบำเพ็ญธรรมที่ตรงข้ามกับโลภะ คือ บริจาค ทานเป็นนิจ ๒. กิเลสตระกูลโทสะ โทสะ - เป็นกิเลสประเภทที่บีบบังคับใจให้ร้อนรน หงุดหงิด ขัดเคือง ชิงชังได้ง่ายผิดปกติ เป็นผลให้คิดอยาก ทำลายล้างผลาญคนอื่น สิ่งอื่นให้ได้รับอันตราย เสียหาย เช่น ทำให้เขาบาดเจ็บ อับอาย เสียหน้า เสียทรัพย์ รวมเรียกว่า คิดประทุษร้ายหรือความโกรธ ความคิดประทุษร้ายอันเนื่องมาจากความไม่พอใจ ฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น ที่จัดว่าเป็นโทสะ เช่น ยิงนก ฆ่าหนู เพราะโกรธที่มันลงมากินข้าวในนา แต่ถ้าคิด ประทุษร้ายด้วยเหตุอื่น เช่น คิดยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์ เพราะเห็นว่าเป็นกีฬาสนุกๆ จัดว่าเป็น โมหะ โทสะ - มีลักษณะดุร้ายเหมือนอสรพิษที่ถูกตีแล้วไม่ตาย คือ เมื่อบุคคลเผลอสติ เกิดความมานะถือตัวว่า ตนเด่น กว่าเขา ตนด้อยกว่าเขา หรือตนเสมอกับเขาก็ดี ครั้น ถูกกระทบด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ใด ซึ่งไม่น่าพอใจ ก็เกิดความคิดขัดเคือง หงุดหงิด หาก ระงับไม่ได้ ก็จะขยายตัวเป็นเหตุให้เกิดความคิดชั่วถึง กับทะเลาะวิวาท กลั่นแกล้ง ทำร้าย ฆ่ากัน อันเป็นเหตุ ให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน เหมือนคนที่เป็นศัตรูได้ โอกาสล้างแค้นกันเร็วขึ้นฉะนั้น ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 9
  • 24. โทสะ - เมื่อเกิดกับผู้ใดย่อมทำให้ผู้นั้นคิดทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง แม้ตนเอง นับตั้งแต่ ๑) ทำลายระบบความคิด ๒) ทำลาย สุขภาพร่างกายและจิตใจ ๓) ทำลายทรัพย์สิน ๔) ทำลาย สังคม เข้าทำนองใครขอความดีก็ไม่ให้ ใครให้ก็ไม่รับ ทั้งยังเอาไฟเผาความดีภายในตนอีกด้วย โทสะ - จึงเปรียบเสมือนลูกระเบิดในใจ พอมันระเบิดก็ทำลาย ตนเองเป็นอันดับแรก จากนั้นก็ทำลายทั้งคนและ สิ่งของข้างเคียงต่อไป การละโทสะ ๑. ด้วยการใช้สติยับยั้งไว้ก่อน ๒. ด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษ ๓. ด้วยการตั้งใจรักษาศีล ๕ ป้องกันไว้ก่อน ๔. ด้วยการบำเพ็ญธรรมที่ตรงข้ามกับโทสะ คือ แผ่เมตตา เป็นนิจ ๓. กิเลสตระกูลโมหะ โมหะ- เป็นกิเลสประเภทบีบบังคับใจให้งุนงง หลงใหล งมงาย มัวเมา มืดบอด ขาดเหตุผล เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมปิดบัง ใจของผู้นั้น ไม่ให้รู้ถึงความจริงของสิ่งที่ตนได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส แล้วคิดลุ่มหลงต่างๆ นานา ด้วยความเขลาเบาปัญญา ทำให้ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ผิดชอบ ชั่วดี เช่น ลุ่มหลงในสุรา นารี พาชี กีฬาบัตร เป็นต้น รวมเรียกว่า ความหลง สำหรับความไม่รู้วิชาการต่างๆ ในทางโลก เช่น ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 10
  • 25. ไม่รู้เรื่องคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การประกอบอาหาร การตัดเย็บเสื้อผ้า การค้าขาย ฯลฯ ไม่จัดว่าเป็นโมหะ เป็นเพียงความไม่รู้ทั่วไปเท่านั้น โมหะ- มีลักษณะปกปิดสถานะจริงของอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสไว้อย่างแน่นหนา ทำให้ใจมืดมิดไม่พยายาม ใช้ปัญญาพิจารณาในเรื่องนั้นๆ ให้ประจักษ์ถ่องแท้ แต่ทำตนเป็นปฏิปักษ์กับเหตุผล แม้มีความรู้ก็ไม่ชอบ ใช้ความรู้ ไม่ชอบใช้ความคิด กลายเป็นคนดูเบา หูเบา ฯลฯ ของมอมเมา เช่น สุรา เป็นโทษแท้ๆ กลับดูเบา เห็นว่าเป็นคุณ ใช้สำหรับกระชับมิตร การพนันเป็นของ ทำลายเศรษฐกิจแท้ๆ กลับดูเบาเห็นเป็นสิ่งที่กระตุ้น เศรษฐกิจ ฯลฯ ในที่สุดก็กลายเป็นคนเจ้าอารมณ์ ไม่รู้จักผิด ชอบ ชั่ว ดี ไม่รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ มีสภาพเหมือนคนตาดีที่ตก อยู่ในที่มืด กล่าวคือมีตาแต่ไม่พยายามมอง ตาก็หมด สภาพกลายเป็นมองไม่เห็น หรือไม่ก็เห็นผิดๆ โมหะ- มีเหตุใกล้ที่ทำให้เกิดโมหะ คือ ขาดการคิดอย่างเป็น ระบบ๑ ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ๒ ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 11 ____________________________________ ๑ ม.มู.อ.สัพพาสวสังวรสูตร ๑๗/๑๕๗ (มมร.) โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การทำไว้ในใจโดยถูก อุบาย = การทำไว้ในใจโดยถูกทาง = การนึก = การน้อมนึก = การผูกใจ = การใฝ่ใจ = การ ทำไว้ในใจโดยอนุโลมตามสภาวะเป็นจริง (สัจจะ) โดยความหมายขั้นพื้นฐานก็คือ ความคิด สืบสาวหาเหตุผลอย่างเป็นขั้นตอน ๒ ที.ปา.อ.ทสุตตรสูตร ๑๖/๔๖๓ (มมร.) การคิดที่ประกอบด้วยโยนิโสมนสิการ เป็นการคิด การพิจารณาที่ทำให้อกุศลเสื่อม กุศลเจริญ เป็นเหตุและเป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์ แห่งสัตว์ทั้งหลาย
  • 26. โมหะ- จึงเปรียบเสมือนความมืดภายในใจ ความมืดนั้น ทำให้ผู้ถูกครอบงำชอบเสี่ยง ชอบเดา เชื่อโชคลาง เชื่อพรหมลิขิต ชอบทำความผิดทุกชนิด ตั้งแต่ทะเลาะ วิวาทกัน ฆ่ากัน ทำสงครามกัน ไม่เว้นแม้การทำร้าย หรือฆ่าพ่อแม่ของตนเอง การละโมหะ ๑. ตั้งใจฟัง อ่าน เรียนธรรม เพื่อเพิ่มพูนสุตมยปัญญา ๒. ตั้งใจค้นคิด ทดลอง ทำวิจัยธรรม เพื่อเพิ่มพูนจินตามย- ปัญญา ๓. ตั้งใจทำใจให้สงบ และเจริญสมาธิภาวนา เพื่อเพิ่มพูน ภาวนามยปัญญา หากเผลอสติปล่อยให้กิเลสเข้ายึดครองใจ ใจจะถูกบังคับให้ คิดร้ายๆ แล้วพูดและทำแต่เรื่องร้ายๆ ตามแต่กิเลสจะชักนำ ผู้นั้น ย่อมได้บาป ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ทำให้เป็นคนไร้ความสุข ฉะนั้น ผู้ที่หวังความสุขความเจริญจำเป็นต้องกำจัดกิเลสเสียแต่ต้น แต่กิเลสไม่สามารถใช้น้ำล้างได้ ใช้ไฟเผาก็ไม่ได้ มีบุญเท่านั้นที่ สามารถกำจัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิง มิตรแท้จริงของมนุษย์ ได้แก่ บุญซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นด้วยตนเอง บุญ - เป็นพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งบริสุทธิ์มาก เพราะไม่ว่า ปริมาณจะมาก น้อยหรือปานกลาง นอกจากไม่มีโทษ ใดๆ แล้ว ยังนำแต่ความสุขความเจริญ ความสมหวังใน ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 12
  • 27. สิ่งที่ดีงามทั้งหลายมาให้ผู้มีบุญนั้น ทั้งในชีวิตนี้และชีวิต ในโลกเบื้องหน้า เช่น ทำให้อายุยืน สุขภาพพลานามัย แข็งแรง ผิวพรรณงาม มีศักดามาก มีทรัพย์สมบัติมาก เกิดในตระกูลสูง และมีปัญญามาก ฯลฯ บุญ๑ - เป็นพลังงานซึ่งมีอานุภาพมาก เพราะเป็นสิ่งเดียว ที่มีฤทธิ์ฆ่ากิเลสทุกชนิดได้ จึงสามารถชำระจิตสันดาน ที่เศร้าหมองตลอดจนความเห็นผิดความคิดชั่วร้ายทั้งหลาย ให้หมดสิ้นไปจากใจ ทำให้ใจกลับมาบริสุทธิ์ผ่องใสได้ เป็นอัศจรรย์ บุญ - ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อของมนุษย์แต่เห็นได้ด้วย ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ) ตาธรรม (ธรรมจักษุ) และรู้ได้ ด้วยอาการที่ปรากฏ เช่น รู้สึกเป็นสุขสดชื่น หน้าตา ผ่องใส มีกำลังใจทำความดี มีความสำรวมระวัง ฯลฯ เช่นเดียวกับที่รู้ว่ามีพลังงานไฟฟ้าด้วยอาการที่ทำให้ หลอดไฟสว่าง เตารีดร้อน พัดลมหมุน กล้ามเนื้อ กระตุก ฯลฯ บุญ - มีคุณสมบัติวิเศษมากมาย เช่น ๑. เป็นของเฉพาะตน จึงต้องทำด้วยตัวเอง ๒. ติดตามตนเองไปได้ทุกฝีก้าว แม้ตายไปเกิดในภพใหม่ ก็ยังติดตามไปได้ ๓. ใครแย่งใครลักไปก็ไม่ได้ ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 13 ____________________________________ ๑ ขุ.อิติ. ๔๕/๑๕๐ (มมร.) ชื่อว่า บุญ เพราะให้เกิดผลน่าบูชา และเพราะชำระสันดานของตน ให้หมดจด
  • 28. ๔. เป็นเครื่องป้องกันภัยในวัฏสงสาร เช่น ไม่ให้ตกนรก ก็ได้ ๕. สามารถส่งไปได้ไกลๆ แม้ข้ามโลก ข้ามจักรวาลก็ไปได้ ๖. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ นิพพานสมบัติก็ได้ ฯลฯ บุญ - ทั้งน้อยและใหญ่ล้วนเกิดที่ใจของผู้ทำบุญเท่านั้น โดย ย่อเราสามารถทำบุญได้ ๓ วิธีด้วยกัน คือ ๑. ทาน คือ การให้สิ่งของที่ควรแก่ผู้ที่ควรให้ ๒. ศีล คือ การควบคุมกาย วาจา ให้เรียบร้อยด้วยการ ไม่ทำผิดและพูดผิด ๓. ภาวนา คือการทำใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ๑. บุญจากการให้ทาน ทาน - แปลว่า การให้ ถ้าให้เพื่อมุ่งฟอกกิเลสในใจของผู้ให้ เช่น ถวายพระสงฆ์ เรานิยมเรียกว่า ทำบุญ ถ้าให้เพื่อ มุ่งสงเคราะห์ผู้รับ เช่น ให้สิ่งของแก่คนยากจน คนทั่วไป เรียกว่า ทำทาน ทาน - เป็นการให้สิ่งของที่ควรแก่ผู้ที่ควรให้ สิ่งของที่ควรให้ เรียกว่าทานวัตถุ หรือไทยทาน หรือไทยธรรม มี ๑๐ อย่างคือ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ มาลัย และดอกไม้ ของหอม (ธูปเทียน) เครื่องลูบไล้ (สบู่ เป็นต้น) ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป (ไฟฟ้า) ทานวัตถุเหล่านี้ ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 14
  • 29. มีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษภัยแก่ผู้รับจึงมีอานิสงส์มาก โดยทั่วไปเรียกผู้ให้ทานวัตถุว่า ทานบดี ทาน - ทำให้เกิดบุญได้ เพราะในทันทีที่ใจได้สติ เกิดกำลังมาก พอถึงกับสละทานวัตถุได้๑ ใจก็กลับเข้ามาบรรจบกับ ธรรม ซึ่งเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในของตนเอง จึง เกิดเป็นดวงบุญสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติ ณ ศูนย์กลางใจ เช่นเดียวกับไฟฟ้าขั้วบวกกับขั้วลบที่มาบรรจบกันย่อมเกิด ประกายสว่างขึ้นฉะนั้น และบุญที่เกิดขึ้นนี้ก็ทำหน้าที่ ฆ่าโลภะกิเลสทันทีเหมือนแสงสว่างของดวงอาทิตย์ หรือดวงประทีป เมื่อปรากฏขึ้น ย่อมฆ่าความมืดให้ หมดไปฉะนั้น ทาน - จะบังเกิดผลเป็นบุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ๑. วัตถุ คือของที่จะให้ต้องเป็นของที่ตนได้มาโดยสุจริต ๒. เจตนา คือความตั้งใจในการให้ว่ามุ่งชำระกิเลสหรือ ปรับปรุงจิตให้สะอาดเป็นหลัก ๓. บุคคล คือผู้ให้ต้องบริสุทธิ์ มีศีล ๕ เป็นอย่างน้อย ส่วนผู้รับก็ยิ่งต้องมีศีลบริสุทธิ์ตามเพศภาวะของตน ทาน - มีผลแก่ผู้ให้โดยตรงคือ ฆ่าความตระหนี่ ความโลภ ความเห็นแก่ตัว และทำให้ทานบดีนั้นกลายเป็นคน โอบอ้อมอารีตามไปด้วย ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 15 ____________________________________ ๑ ขุ.จริยา.อ. ๗๔/๕๗๘ (มมร.) ทานบารมี มีการบริจาคเป็นลักษณะ มีการกำจัดความโลภ ในไทยธรรมเป็นรส (หน้าที่)
  • 30. ทาน - มีผลน่าชื่นใจหรืออานิสงส์ทั้งโลกนี้ โลกหน้าต่อไปอีก แก่ทานบดี ๗ ประการคือ ๑. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมอนุเคราะห์ ทานบดีก่อนคนทั้งหลาย ๒. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมเข้าไปหา ทานบดีก่อนคนทั้งหลาย ๓. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมรับทานของ ทานบดีก่อนของคนทั้งหลาย ๔. พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้โอกาสย่อมแสดงธรรม แก่ทานบดีก่อนคนทั้งหลาย ๕. กิตติศัพท์อันงามของทานบดีย่อมฟุ้งกระจาย ๖. ทานบดีเข้าไปในบริษัทใดๆย่อมแกล้วกล้าไม่เก้อเขิน ๗. ทานบดีตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์ ๒. บุญจากการรักษาศีล ศีล - แปลว่า ปกติ สงบเย็น ในทางปฏิบัติ หมายถึง การงดเว้น จากการประพฤติผิดทางกายและวาจา การควบคุมกาย วาจาให้เรียบร้อย งดงามปราศจากความมัวหมองเป็น ปกติ รวมแล้ว คือการไม่ทำผิดและไม่พูดผิด ศีล - ระดับต้น คือ ศีล ๕ ของคนทั่วไป ระดับกลาง คือ ศีล ๘ ของอุบาสก อุบาสิกา และศีล ๑๐ ของสามเณร ระดับสูง คือศีล ๒๒๗ ของพระภิกษุ และศีล ๓๑๑ ของ ภิกษุณี ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 16
  • 31. ศีล - เมื่อรักษาได้ย่อมเกิดบุญ เพราะในทันทีที่หักห้ามใจได้ ย่อมตระหนักแก่ใจตนว่า บุคคลและสิ่งของภายนอก ไม่สำคัญเท่าความดี ใจจึงได้สติ เกิดกำลังใจ ควบคุม การพูด การทำ ไม่ให้วิปริตผิดปกติธรรมดา ใจก็กลับ เข้ามาบรรจบกับธรรม ซึ่งเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ภายในตน เกิดเป็นดวงบุญสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติ ณ ศูนย์กลางใจ ทันทีที่บุญนี้เกิดขึ้น ก็จะทำหน้าที่ฆ่าโทสะกิเลส เหมือน แสงสว่างของดวงอาทิตย์หรือดวงประทีป เมื่อปรากฏขึ้น ย่อมฆ่าความมืดให้หมดไปฉะนั้น ศีล - เป็นเหตุให้คนอยู่ร่วมกันเป็นปกติ ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ฆ่ากัน ไม่ลักขโมยของกันและกัน ส่งผลเป็นความสงบ แก่ผู้รักษา และทำหน้าที่ควบคุมพลโลกให้เรียบร้อย จึง เป็นทางมาแห่งความสงบสุข ศีล - มีผลแก่ผู้รักษาโดยตรงคือ ทำให้เป็นคนมีกายและวาจา บริสุทธิ์สะอาด เป็นการตัดเวรตัดภัย ควบคุมกำกับโทสะ ไว้ไม่ให้มีโอกาสกำเริบได้ ศีล - มีผลน่าชื่นใจ และมีอานิสงส์ต่อไปอีกทั้งโลกนี้และโลก หน้าแก่ผู้รักษาศีล คือ ๑. ย่อมมีโภคทรัพย์มาก ๒. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป ๓. เข้าไปในบริษัทใดๆ ย่อมแกล้วกล้าไม่เก้อเขิน ๔. ย่อมไม่หลงลืมสติตาย ๕. ตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์ ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 17
  • 32. ๓. บุญจากการเจริญภาวนา ภาวนา - แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มี ให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านผู้รู้กำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อต่างๆ กันไป เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตตภาวนา การบริหารจิต ฯลฯ ภาวนา - ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ ๑. สมถภาวนา การอบรมใจให้สงบ เรียกว่า สมถ- กรรมฐาน หรือจิตตภาวนา หรือสมาธิภาวนา ก็ได้ ๒. วิปัสสนาภาวนา การอบรมใจให้เกิดปัญญา เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน หรือ ปัญญาภาวนา ก็ได้ เป็นขั้นตอนต่อจากสมาธิของผู้ที่เข้าถึงธรรมกายแล้ว ภาวนา - เมื่ออบรมอย่างจริงจังย่อมเกิดบุญขึ้นอย่างมากมาย เพราะเป็นการอบรมใจให้กลับมาสงบหยุดนิ่ง ณ ศูนย์กลางกายอย่างต่อเนื่องจริงจัง ใจจึงมีสติกำกับ อย่างต่อเนื่องและมีกำลังมากพอที่จะประคับประคอง ใจให้เข้าถึง เข้าไปอยู่และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรม ครั้งละนานๆ เป็นชั่วโมงๆ เป็นวันๆ เสมือนนำไข่แดง คือใจ สอดเข้าไปไว้ในไข่ขาวคือธรรม ซึ่งเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ภายในตน เกิดเป็นดวงบุญสว่างไสวต่อเนื่อง กันโดยอัตโนมัติ ณ ศูนย์กลางใจ เช่นเดียวกับไฟฟ้า ขั้วบวกกับขั้วลบหากมาบรรจบกันก็เกิดประกาย ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 18
  • 33. สว่างขึ้นฉะนั้น เนื่องจากใจเข้าไปอยู่กลางดวงธรรม อย่างต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมงเป็นวันๆสำหรับผู้เจริญ สมถภาวนา และเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี สำหรับ ผู้เจริญวิปัสสนาอันเนื่องจากเข้าถึงธรรมกายแล้ว บุญอันมหาศาลเหล่านี้เองจะทำหน้าที่กำจัดโมหะ กิเลส ซึ่งเป็นกิเลสที่ร้ายแรงที่สุดตลอดจนกิเลส ต่างๆ ทุกชนิดอย่างไม่ลดละ ภาวนา - การจะบังเกิดบุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการทำใจให้หยุดนิ่งสนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ ธรรมได้นานเท่าใด หากนิ่งสนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียว ได้ถาวรตลอดไป กิเลสทุกชนิดย่อมถูกกำจัดจน หมดสิ้นไปด้วย ใจผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพานเสวย แต่บรมสุขตลอดไป ท่านผู้นั้นจึงได้ชื่อว่า พระอรหันต์ ภาวนา - จึงไม่ใช่งานของคนแก่ แต่เป็นงานของทุกๆ คนที่ ต้องการปัญญา ความพ้นทุกข์ และความสุขสงบ อย่างถาวรแท้จริง การทำบุญทุกชนิดไม่ว่าน้อยหรือใหญ่ ล้วนเป็นการต่อต้าน ทำลาย กำจัดกิเลสด้วยกันทั้งนั้น เมื่อฝ่ายบาปจัดทัพกิเลสมารุกราน โจมตีใจถึง ๓ ทัพ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ชาวโลกจัด กองทัพธรรมขึ้น ๓ ทัพ เพื่อต่อต้าน ทำลายล้างผลาญกิเลสให้สิ้นซาก โดยกำหนดให้กองทัพทานทำลายล้างโลภะ กองทัพศีลทำลายล้าง โทสะ กองทัพภาวนาทำลายล้างโมหะ โดยมีพื้นที่ในใจของตนเอง เป็นสนามรบ ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 19
  • 34. ทาน กำจัด เห็นแก่ได้ โลภะ ผลิตบุญ ผลิตบาปกองทัพ ศีล กำจัด พลุ่งพล่าน โทสะ กองทัพ ธรรม กิเลส ภาวนา กำจัด งมงาย โมหะ กรรมดี กรรมชั่ว กองทัพธรรม บุญ บาป กองทัพกิเลส ภาพที่ ๑-๑ การสู้รบในใจระหว่างกรรมดี-กรรมชั่ว การสู้รบระหว่างบุญ-บาป บุญที่เราทำอุปมาเหมือนความสว่างที่สามารถฆ่ากิเลส ซึ่งอุปมา เหมือนความมืดที่ปกคลุมจิตใจของคนเรา บุญอันเกิดจากการทำทานนั้น อุปมาเหมือนความสว่างจากเทียน บุญอันเกิดจากการรักษาศีลนั้น อุปมาเหมือนความสว่างจาก หลอดไฟฟ้า บุญอันเกิดจากการทำภาวนานั้น อุปมาเหมือนความสว่างจาก ดวงอาทิตย์ ดังนั้นผู้ไม่ประมาทจึงต้องหมั่นทำให้แหล่งแห่งความสว่างเหล่านี้ โชติช่วงอยู่เสมอทั้งต้องคอยระมัดระวังมิให้ความสว่างเหล่านี้สูญสลายไป เพราะหากความสว่างหมดไปเมื่อใด ความมืดก็ย้อนกลับเข้าปกคลุมทันที เมื่อนั้น นั่นคือกิเลสได้โอกาสออกฤทธิ์บงการคนเราให้ทำบาปทำชั่ว ได้อีก ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 20
  • 35. กฎแห่งกรรม มนุษย์ทั้งหญิงและชายต่างต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกนี้ ไม่มี ใครหนีรอดจากวงจรนี้ไปได้ หากใครทำบุญหรือทำกรรมดี ครั้นละโลก ย่อมไปเกิดในสุคติภูมิ คือเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง ครั้นได้เสวยสุขในสวรรค์ตามสมควรแก่กรรมดีแล้ว ก็กลับมาเกิดเป็น มนุษย์อีก ในทางตรงข้าม หากประมาทพลาดพลั้งไปทำกรรมชั่วก็ต้อง ไปเกิดในทุคติภูมิ คือไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง สัตว์นรกบ้าง เปรต หรืออสุรกายบ้างกว่าจะได้โอกาสกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกก็นานแสนนาน สภาพของสัตว์โลกที่ต่างเวียนว่ายตายเกิดให้ต้องเป็นทุกข์อย่าง ไม่รู้จบ ในสภาพเป็นมนุษย์บ้าง สัตว์ดิรัจฉานบ้าง สัตว์นรกบ้าง เทวดาบ้าง พรหมบ้าง ฯลฯ เช่นนี้ จึงไม่ต่างกับนักโทษที่ถูกทรมานอยู่ในคุกคือ โลก โดยที่นักโทษเหล่านั้นไม่เคยทราบเลยว่า ตนล้วนตกอยู่ภายใต้ “กฎแห่งกรรม” กรรม แปลว่า การกระทำ เป็นคำกลางๆ หมายถึง การกระทำดี ก็ได้ หรือการกระทำชั่วก็ได้ กรรมดี คือ การกระทำโดยไม่มีความโลภ ไม่มีความโกรธ ไม่มีความหลงเป็นเหตุ เรียกว่า กุศลกรรม กรรมชั่ว คือ การกระทำโดยมีความโลภ มีความโกรธ มี ความหลงเป็นเหตุ เรียกว่า อกุศลกรรม ความหมายของกรรม ๑. กรรม คือ การกระทำที่เกิดมาจากเจตนา (ความตั้งใจ ความ จงใจ) ถ้าทำด้วยเจตนาดีปราศจากความโลภ ความโกรธ และความหลง ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 21
  • 36. ก็เป็นกรรมดี ถ้าทำด้วยเจตนาชั่วโดยมีความโลภ ความโกรธ และ ความหลงเป็นเหตุก็เป็นกรรมชั่ว ๒. กรรมเป็นการกระทำของคนที่ยังมีกิเลส การกระทำของ พระอรหันต์ไม่จัดว่าเป็นกรรม เพราะท่านหมดกิเลสแล้ว การคิด การพูด การทำทุกลมหายใจของท่านมีแต่ความบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรแอบแฝงจึง พ้นไปจากกฎแห่งกรรม ๓. กรรม คือ การกระทำที่ยังจะต้องมีการให้ผลต่อไปอีก โดย มีกฎตายตัวชัดเจนว่า ใครทำกรรมดีผู้นั้นย่อมได้รับผลดีคือความสุข ใครทำกรรมชั่วผู้นั้นย่อมได้รับผลชั่วคือความทุกข์ในรูปแบบต่างๆโดยย่อ ก็คือ ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว กฎนี้เป็นกฎคู่โลกและพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้ค้นพบในวันตรัสรู้แล้วทรงนำมาเปิดเผยแก่ชาวโลก เส้นทางในการสร้างกรรม คนเราไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ หญิงหรือชาย สามารถสร้างกรรมทั้ง ดีและไม่ดีได้ ๓ ทางด้วยกันคือ กรรมทางกาย เรียกว่า กายกรรม กรรมทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม กรรมทางใจ เรียกว่า มโนกรรม ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 22
  • 37. ตารางที่ ๑-๑ การสร้างกุศลกรรมและอกุศลกรรมจำแนกตามเส้นทาง การสร้างกรรม เส้นทางสร้างกรรม กุศลกรรมบถ อกุศลกรรมบถ ทางแห่งความดี ทางแห่งความชั่ว ๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑. การจงใจทำลายชีวิตผู้อื่น ที่ยังมีชีวิต ๒. การจงใจลักขโมยของผู้อื่น กรรมทางกาย ๒. งดเว้นจากการลักขโมย ๓. การจงใจประพฤติผิด กายกรรม ของผู้อื่น ในกาม ๓. งดเว้นจากการประพฤติ ผิดในกาม ๑. งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑. การจงใจพูดเท็จ กรรมทางวาจา ๒. งดเว้นจากการพูด ๒. การจงใจพูดส่อเสียด วจีกรรม ส่อเสียด ๓. การจงใจพูดคำหยาบ ๓. งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๔. การจงใจพูดเพ้อเจ้อ ๔. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑. ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ ๑. คิดเพ่งเล็งอยากได้ สิ่งของของผู้อื่น สิ่งของของผู้อื่น กรรมทางใจ ๒. ไม่คิดปองร้ายเบียดเบียน ๒. คิดปองร้ายเบียดเบียนผู้อื่น มโนกรรม ผู้อื่น ๓. คิดผิดเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฐิ ๓. คิดถูกเห็นถูก เป็น สัมมาทิฐิ ระดับการให้ผลของกรรม กรรมที่ทำแล้วไม่ว่าดีหรือไม่ดีไม่ได้สิ้นสุดที่การกระทำเท่านั้น แต่มีวิบากคือผลเกิดขึ้นกับผู้ทำกรรมนั้นด้วย ผลของกรรมมี ๒ ระดับ ชั้นด้วยกัน คือ ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู 23