SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 26
Downloaden Sie, um offline zu lesen
สื่อการสอน
เรื่อง...การวิเคราะหวิจารณงานศิลปะ
วิชา ศิลปะ (ทัศนศิลป์ )
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ปีการศึกษา 1/2559
โดย...นางสาวรัตติยา คําประชา
การวิเคราะหวิจารณงานศิลปะ
ความหมาย
การวิเคราะหงานศิลปะหมายถึง การพิจารณาแยกแยะศึกษาองค์รวมของงานศิลปะออกเป็นส่วนๆ ทีละประเด็น
ทั้งในด้านทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์ และความสัมพันธ์ต่างๆ ในด้านเทคนิคกรรมวิธีการแสดงออก เพื่อนําข้อมูลที่ได้มา
ประเมินผลงานศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านความงาม ทางด้านสาระ และทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร
การวิจารณงานศิลปะ หมายถึง การแสดงออกทางด้านความคิดเห็นต่อผลงานทางศิลปะที่ศิลปิน
สร้างสรรค์ขึ้นไว้โดยผู้วิจารณ์ให้ความคิดเห็นตามหลักเกณฑ์และหลักการของศิลปะ ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และสาระ
อื่นๆ ด้วยการติชมเพื่อให้ได้ข้อคิดนําไปปรับปรุงพัฒนาผลงานศิลปะ หรือใช้เป็นข้อมูลในการประเมินตัดสินผลงาน และ
เป็นการฝึกวิธีดู วิธีวิเคราะห์ คิดเปรียบเทียบให้เห็นคุณค่าในผลงานศิลปะชิ้นนั้น ๆ
คุณสมบัติของนักวิจารณ
1. ควรมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะทั้งศิลปะประจําชาติและศิลปะสากล
2. ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ
3. ควรมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ช่วยให้รู้แง่มุมของความงาม
4. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง และไม่คล้อยตามคนอื่น
5. กล้าที่จะแสดงออกทั้งที่เป็นไปตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกและประสบการณ์
ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ จัดเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
1. นิยมการเลียนแบบ (Imitationalism Theory) เป็นการเห็นความงามในธรรมชาติแล้วเลียนแบบไว้ให้เหมือนทั้งรูปร่าง
รูปทรง สีสัน ฯลฯ
2. นิยมสร้างรูปทรงที่สวยงาม (Formalism Theory) เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ให้สวยงามด้วยทัศนธาตุ (เส้น รูปร่าง
รูปทรง สี นํ้าหนัก พื้นผิว บริเวณว่าง) และเทคนิควิธีการต่างๆ
3. นิยมแสดงอารมณ์ (Emotional Theory) เป็นการสร้างงานให้ดูมีความรู้สึกต่างๆ ทั้งที่เป็นอารมณ์อันเนื่องมาจาก
เรื่องราวและอารมณ์ของศิลปินที่ถ่ายทอดลงไปในชิ้นงาน
4. นิยมแสดงจินตนาการ (Imagination Theory) เป็นงานที่แสดงภาพจินตนาการ แสดงความคิดฝันที่แตกต่างไปจาก
ธรรมชาติและสิ่งที่พบเห็นอยู่เป็นประจํา
แนวทางการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของงานศิลปะ
การวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะโดยทั่วไปจะพิจารณาจาก 3 ด้าน ได้แก่
1. ด้านความงาม เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านทักษะฝีมือ การใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ และการจัด
องค์ประกอบศิลป์ว่าผลงานชิ้นนี้แสดงออกทางความงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสมสวยงามและส่งผลต่อผู้ดูให้เกิดความ
ชื่นชมในสุนทรียภาพเพียงใด ลักษณะการแสดงออกทางความงามของศิลปะจะมีหลากหลายแตกต่างกันออกไปตาม
รูปแบบของยุคสมัย ผู้วิเคราะห์และประเมินคุณค่าจึงต้องศึกษาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจด้วย เช่น
ภาพแม่พระมาดอนนา พระเยซู และเซนต์จอห์น
(The Madonna and Child with The infant St. John)
เทคนิคสีนํ้ามันบนแผ่นไม้ผลงานของราฟาเอล (Raphael)แสดงรูปแบบความงามของภาพโดยใช้รูปคนเป็นจุดเด่น
มีความเวิ้งว้างของธรรมชาติเป็นฉากหลังแสดงความตื้นลึกใกล้ไกลโดยใช้แนวทางของทัศนียวิทยาและการจัด
องค์ประกอบภาพในแนวกรอบสามเหลี่ยมซึ่งเป็นลักษณะความงามในการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ศิลปินในสมัย
ฟื้นฟูศิลปวิทยานิยมทํากัน
ภาพองค์ประกอบศิลป์ (Composition)
เทคนิคสีนํ้ามันบนผ้าใบ (พ.ศ.2472)ผลงานของ พีต มอนดรีอัน (Piet Mondrian)เน้นการออกแบบโดยเส้นที่ตัดกันเป็นมุม
ฉากระหว่างเส้นนอนกับเส้นตั้งเกิดเป็นบริเวณว่างให้มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบสี่เหลี่ยมด้วยการใช้สีแดง เหลือง นํ้า
เงินที่สดใส รวมทั้งสีขาว ดํา และเทาในแบบนามธรรมที่ใช้เส้นเรขาคณิตเป็นหลัก
สรุปการวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะในด้านความงามจะตัดสินกันที่รูปแบบการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้
เกิดคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ หรือการเห็นคุณค่าทางความงามนั่นเอง
2. ด้านสาระ เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะแต่ละชิ้นว่ามีลักษณะส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
ตลอดจนจุดประสงค์ต่างๆ ทางจิตวิทยาว่าให้สาระอะไรกับผู้ชมบ้าง ซึ่งอาจเป็นสาระเกี่ยวกับธรรมชาติ สังคม ศาสนา
การเมือง ปัญญา ความคิด จินตนาการ และความฝัน เช่น
ภาพวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2351 (The Third of May 1808)
ผลงานของฟรันซิสโก โจเซ เด โกยา (Francisco Jose de Goya) จิตรกรชาวสเปน
แสดงคุณค่าด้านสาระให้เห็นถึงความเจ็บปวดจากการถูกยํ่ายีและเข้ายึดครองประเทศสเปนของทหารฝรั่งเศส ในสมัยนโป
เลียนที่มีการสังหารประชาชนผู้แสวงหาอิสรภาพอย่างเลือด็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่มีคุณธรรมในการปกครอง
บ้านเมือง
3. ด้านอารมณ์ความรู้สึก
เป็นการคิดวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกและสื่อความหมายได้อย่าง
ลึกซึ้งของวัสดุ ซึ่งเป็นผลของการใช้เทคนิคแสดงออกถึงความคิด พลัง ความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน เช่น
ภาพฝูงกาเหนือทุ่งข้าวสาลี (Wheatfield with Crows)
เทคนิคสีนํ้ามันบนผ้าใบผลงานของ ฟินเซนต์ฟาน ก็อก (Vincent Van Gogh)แสดงพลังความรู้สึกของศิลปินแทรกอยู่ใน
รอยฝีแปรงของเส้นสี ซึ่งบ่งบอกถึงความรู้สึกภายในได้อย่างชัดเจน เป็นภาพเขียนชิ้นสุดท้ายในชีวิตที่อาภัพและรันทดอง
ฟินเซนต์ฟาน ก็อก ซึ่งเขียนภาพนี้ขึ้นก่อนยิงตัวตาย
ประติมากรรมชื่อ ปิเอตา ( Pieta )
ผลงานของ มิเคลันเจโล (Michelongelo Buonarroti)
แสดงคุณค่าด้านความงามขององค์ประกอบศิลป์ที่จัดไว้ในแนวกรอบของรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่
นิยมกันมากในผลงาน ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา(Renaissance) นอกจากนั้นยังแสดงความงามของแนวเส้นโค้งของพระ
เศียรพระแม่มาเรียที่ก้มพระพักตร์ลงกับแนวเส้นโค้งของพระวรกายองค์พระเยซูที่นอนพาดอยู่บนตักอย่างงดงามกลมกลืน
ได้คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกเป็นอย่างดี ทําให้มองเห็นถึงความรู้สึกของแม่ผู้มีความรักความผูกพันต่อลูก รวมทั้งยังได้
คุณค่าสาระทางด้านศาสนาอีกด้วย
กระบวนการวิจารณ์งานศิลปะตามหลักการและวิธีการ
1. ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน
เป็นข้อมูลรายละเอียดสังเขปเกี่ยวกับประเภทของงาน ชื่อผลงาน ชื่อศิลปิน ขนาด วัสดุ เทคนิค วิธีการ สร้างเมื่อ
พ.ศ.ใด ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ไหน รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นแบบใด
2. ขั้นตอนการพรรณนาผลงาน
เป็นการบันทึกข้อมูลจากการมองเห็นภาพผลงานในขั้นต้นว่าเป็นภาพอะไร เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ภาพทิวทัศน์ ภาพ
หุ่นนิ่ง เป็นต้น มีเทคนิคในการสร้างสรรค์แบบใด
3. ขั้นวิเคราะห์
เป็นการดูลักษณะภาพรวมของผลงานว่าจัดอยู่ในประเภทใด พิจารณารูปแบบการถ่ายทอดเป็นแบบใด จําแนกทัศน
ธาตุและองค์ประกอบศิลป์ออกจากภาพรวมเป็นส่วนย่อยให้เห็นว้มีหลักการจัดภาพที่กลมกลืนหรือขัดแย้งอย่างไร
4. ขั้นตีความ
เป็นการค้นหาความหมายของผลงานว่า ศิลปินหรือผู้สร้างสรค์ต้องการสื่อให้ผู้ชมผลงานได้รับรู้เกี่ยวกับอะไร
เช่น สภาพปัญหาในชุมชน สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
5. ขั้นประเมินผล
เป็นการประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะชิ้นนั้นจากการพิจารณาทุกข้อในเบื้องต้น สรุปให้เห็นข้อดีและข้อด้อย
ในด้านเนื้อหาและเรื่องราว หลักทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทักษะ ฝีมือ และการถ่ายทอดความงาม เพื่อ
การพัฒนาหรือตัดสินผลงานชิ้นนั้น
ตัวอย่างการวิจารณ์งานศิลปะ
1. ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน
ประเภทงาน : จิตรกรรม
ชื่อผลงาน : <โมนาลิซา ( Mona Lisa )
ชื่อศิลปิน : เลโอนาร์โด ดา วินชี ( Leonado da Vinci ) ศิลปินชาวอิตาเลียน
ขนาดผลงาน : >77 x 53 ซม.
เทคนิค วัสดุ : สีนํ้ามันบนแผ่นไม้
ผลงานสร้างเมื่อปี : พ.ศ.2046 - 2049 ( ค.ศ.1503 - 1506 )
ปัจจุบันอยู่ที่ : พิพิธภัณฑ์ลูฟว์กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
รูปแบบการสร้างสรรค์ : เป็นงานศิลปะตะวันตก การถ่ายทอดรูปแบบเหมือนจริงตามลักษณะแบบอย่าง
ของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance )
2. ขั้นพรรณนาในผลงาน
เป็นภาพเขียนครึ่งตัว ( Portrait ) สุภาพสตรีผมยาวมีผ้าคลุม หวีผมแสกกลาง เสื้อคลุมด้วยสีดําเรียบ เห็นใบหน้าเกือบ
ตรง ลําตัวบิดเบี้ยวเล็กน้อย มือขวาวางควํ่าสัมผัสข้อมือซ้ายที่วงาราบอยู่บนที่วางแขนของเก้าอี้ เบื้องหลังเป็นภาพของ
ทิวทัศน์สงบเงียบ บรรยากาศเร้นลับ ชวนฝัน
ภาพส่วนขยายนัยน์ตาและรอยยิ้ม ของโมนาลิซา ที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่ต้องการค้นหาบางสิ่ง ซ่อนเลศนัย
และปริศนาให้ผู้ดู บังเกิดความรู้สึกและตั้งคําถามว่า โมนาลิซากําลังคิดอะไรอยู่
3. ขั้นวิเคราะห์
เป็นงานจิตรกรรมที่มีคุณค่าในการแสดงออกทั้งในด้านความงาม ด้านสาระ และด้านอารมณ์ความรู้สึก
ด้านความงาม เป็นภาพที่สร้างสรรค์โดยยึดทฤษฎีการเลียนแบบตามธรรมชาติ คือ การเลียนแบบความ งามตั้งแต่
รูปร่าง รูปทรง สีสัน และนํ้าหนักแสงเงา
เป็นภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของเลโอนาร์โด ดา วินชี ในการเขียนภาพผู้หญิง คือ นิยมเขียนคิ้วบางเลือนราง และมี
รอยยิ้มมุมปากที่คล้าย ๆ กันกับภาพอื่น ๆ ของเขา
เป็นภาพที่มีเอกลักษณ์ในการจัดภาพตามแบบอย่างของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) คือ มีบุคคลเป็น
ประธานของภาพและมีฉากหลังเป็นทิวทัศน์แสดงบรรยากาศตามจินตนาการ เพราะศิลปินในสมัยนั้นมีความเชื่อว่ามนุษย์
เป็นศูนญ์กลางของจักรวาล เป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ ยึดมั่นในเหตุผล คุณค่าของความเป็นมนุษย์อยู่ที่ความคิด ความรู้ และ
ความสามารถ
ด้านสาระ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายของคนชั้นสูงในสมัยนั้น ทั้งด้านเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และ
ความนิยมในการไว้ผมยาวหวีแสกกลางตามสมัยนิยม ในแฟชั่นแบบฟลอเรนไทน์ในอิตาลี นอกจากที่ปรากฏให้เห็นใน
ภาพโมนาลิซา ยังเห็นได้ในภาพอื่นๆ ของเขาอีก
นอกจากนี้ ภาพโมนาลิซายังเป็นภาพที่เลโอนาร์โด ดา วินชี ถ่ายทอดบุคลิกของตนเองแฝงไว้ในใบหน้าของโมนาลิ
ซา ซึ่งจะมีลักษณะเค้าโครงรูปหน้าที่คล้ายกัน
ด้านอารมณ์ความรู้สึก เป็นภาพที่แสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกภายในของโมนาลิซาที่แฝงอยู่ในท่าทาง
และสะท้อนให้เห็นได้จากนัยน์ตาและรอยยิ้มปริศนา รวมทั้งความรู้สึกที่รับรู้ได้จากบรรยากาศในม่านหมอกของฉากหลัง
การวิเคราะห์ทัศนธาตุ
เส้น แสดงการใช้เส้นโค้งและเส้นลักษณะอื่นๆ ได้สัมพันธ์กลมกลืนกัน ทั้งในส่วนของใบหน้า เส้น
ผม ผ้าคลุม รอยยับของผ้า นิ้วมือ แนวเส้นของทางเดิน และสายนํ้าลําธารของฉากหลัง
รูปร่าง รูปทรง แสดงรูปร่าง รูปทรง ลักษณะธรรมชาติของคน และทิวทัศน์ได้อย่างสวยงาม
สี แสดงภาพสีส่วนรวมเป็นโทนสีนํ้าตาลอมเขียวและดํา เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความ
หมาย สีนํ้าตาลหมายถึงธรรมชาติหรือโลก สีนํ้าตาลออกดําหมายถึงความสุขุม ความลึกลับซ่อน
เร้น และสีเขียวหมายถึงชีวิต ขนาด สัดส่วน แสดงขนาดของคนได้เหมาะสมกับขนาดภาพ
และแสดงสัดส่วนทางกายวิภาคได้ถูกต้อง งดงามตามธรรมชาติ
แสงเงา แสดงการใช้แสงเงาที่กลมกลืนเหมือนธรรมชาติ แสงเงาส่วนรวมของภาพมีนํ้าหนักเข้มมืด
บริเวณใบหน้าและมือให้แสงสว่างมาก และมีนํ้าหนักเงาอ่อน
บริเวณว่าง แสดงบริเวณว่างรอบตัวโมนาลิซาเป็นทิวทัศน์อยู่ฉากหลัง นอกจากจะทําพให้ภาพดูโปร่งตาไม่
ทึบตันเกินไป ยังทําให้ภาพมีระยะใกล้ไกล มีมิติตื้นลึก และเหมือนจริง
ลักษณะผิว แสดงการใช้ลักษณะผิวในส่วนของใบหน้าและมือด้วยการเกลี่ยสีให้นุ่มนาลสอดคล้อง สมวัย
และเหมือนจริง โดยเฉพาะมือขวาให้ความรู้สึกเหมือนมีเลือดเนื้อจริงๆ
การวิเคราะห์หลักองค์ประกอบศิลป์
เอกภาพ การจัดภาพโดยรวมมีความเป็นเอกภาพด้วยเส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงาที่สัมพันธ์กลมกลืน
กันทั้งรูปคนและธรรมชาติ ทําให้ทั้งภาพดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ดุลยภาพ แสดงภาพโมนาลิซาตรงแกนกลาง วางท่าอยู่ในแนวรูปสามเหลี่ยม จัดวางทิวทัศน์ไว้ในบริเวณ
ว่าง มัลักษณะของดุลยภาพแบบซ้ายขวาเท่ากัน ซึ่งให้ความรู้สึกสงบทางกายภาพ
จุดเด่น แสดงจัดเด่นอยู่บนใบหน้า มีดวงตาที่ให้ความรู้สึกเหมือนมองผู้ดูผลงานอยู่ตลอดเวลาและรอย
ยิ้มที่เป็นปริศนา
ความกลมกลืน แสดงการจัดภาพของส่วนประกอบต่างๆ ทางทัศนธาตุ ทั้งรูปแบบของเส้น รูปร่าง รูปทรง สี
ขนาด สัดส่วน แสงเงา บริเวณว่าง และพื้นผิวได้อย่างสัมพันธ์กลมกลืนกันทั้งเทคนิค วิธีการสร้าง
สรรค์ซึ่งสอดประสานกับอารมณ์ ความรู้สึกของภาพได้อย่างงดงาม
ความขัดแย้ง แสดงความขัดแย้งในด้านนํ้าหนัก สี แสงเงา ส่วนรวมของภาพมีความเข้มคลํ้า ต่างกับส่วนใบ
หน้าที่ใช้นํ้าหนักสี สงเงาอ่อนกว่า แต่มีผลดีคือช่วยส่งเสริมบริเวณส่วนใบหน้าให้มีความเจิด
จ้า เด่นชัด และงดงามยิ่งขึ้น
4. ขั้นตีความ
เป็นงานจิตรกรรมภาพเหมือน (Portrait) ที่มีชื่อเสียงมาก เป็นภาพของหญิงสาวในท่านั่ง แต่งกายตามสมัยนิยมใน
แฟชั่นแบบฟลอเรนไทน์ในอิตาลี เบื้องหลังเป็นภาพทิวทัศน์ภูเขาที่ดูนุ่มเบา แสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกบนใบหน้า
โดยเฉพาะแววตาและรอยยิ้มที่เป็นปริศนา ไม่สามารถจะบอกได้ว่าเธอกําลังยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ หรือเธอต้องการบอกอะไร
บางอย่างกันแน่ ผู้ที่ได้ชมภาพนี้จะเกิดจินตนาการในการสร้างความรู้สึกหรืออารมณ์เข้าไปในภาพด้วย
5. ขั้นประเมินผล
หลักทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
ศิลปินนําหลักทัศนธาตุและการจัดองค์ประกอบศิลป์มาใช้ให้เกิดความสัมพันธ์กันทั้งในส่วนประธานและส่วนรอง
ของภาพ ทําให้ผลงานมีเอกภาพ ดุลยภาพ จุดเด่น ความกลมกลืนและความขัดแย้งได้งดงามตามกรรมวิธีการจัด
องค์ประกอบศิลป์แบบศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
ทักษะฝีมือและการถ่ายทอดความงาม
จิตรกรมีทักษะและความสามารถในการเขียนภ่าพเหมือนจริง และพัฒนากรรมวิธีการแก้ปัญหาระยะตื้นลึกของ
ภาพโดยใช้เทคนิคภาพสีหม่น (Sfumato) ทําให้ฉากหลังดูนุ่มเบา และใช้โทนสีหนักกับตัวนางแบบ นอกจากนี้จิตรกรยัง
นําหลัก ทัศนมิติเชิงอากาศ (Aerial Perspective) มาใช้ในการแก้ปัญหาระยะตื้นลึก คือการทําให้ภาพดูเหมือนกับมองผ่าน
ปริมาณอากาศ สีของสิ่งที่อยู่ในระยะไกลดูจางลงเป็นลําดับ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในอากาศ สีและเส้นรอบนอก
ของสิ่งที่อยู่ระยะไกลในภาพทิวทัศน์จะมีความชัดเจนน้อยกว่าสิ่งที่อยู่ในระยะใกล้ทําให้ภาพดูมีระยะตื้นลึก ซึ่งปรากฏใน
ส่วนฉากหลังของโมนาลิซา จัดเป็นภาพที่แสดงระยะตื้นลึกและบรรยากาศยามหมอกลงจัดได้อย่างน่าชม
สื่อการสอน
เรื่อง...ศิลปะตะวันออก
วิชา ศิลปะ (ทัศนศิลป์ )
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ปีการศึกษา 1/2559
โดย...นางสาวรัตติยา คําประชา
ศิลปะตะวันออก
ได้แก่ ลักษณะของศิลปะที่แสดงคุณลักษณะเฉพาะอย่างของรูปแบบ ศิลปะจะแสดงออกทางอิทธิพลทาง
ภูมิอากาศขนบประเพณี รูปแบบของศิลปะตะวันออกจะเด่นชัดทางอิทธิพลทางศาสนา เช่น งานทางด้านจิตรกรรม
ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนประยุกต์ศิลป์ งานประณีตศิลป์และงานหัตถกรรม ซึ่งมีส่วนในการนําไปใช้
ประโยชน์ในชีวิตประจําวันของชาวตะวันออกตามพื้นเพเดิมของการดํารงชีวิต
ศิลปะไทย
ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนาน
มาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน
ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทําให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตร
อลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพ
โดยเฉพาะคนไทยและศิลปะไทยยังตัดเส้นด้วยสีดําและสีนํ้าตาลเท่านั้น
พญาครุฑ
กินรี
นกทันทิมา
ลักษณะของศิลปะไทย
ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความเป็นอยู่และการ
ดํารงชีวิตของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็น
ศาสนาประจําชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุธทศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจ
ของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา
ภาพไทย หรือ จิตกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตาม
อุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ
1. เขียนสีแบน ไม่คํานึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล
2. เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ
3. เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพตํ่ากว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ
4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่ว ภาพ โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้
กําแพงเมือง และเส้นสินเทาหรือ คชกริด เป็นต้น
5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศ สุขสว่างและมีคุณค่ามากขึ้น
ภาพลายไทย เป็นลายที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีธรรมชาติมาเป็นแรงดลบันดาลใจ โดยดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นลวดลายใหม่
อย่างสวยงาม เช่น ตาอ้อย ก้ามปู เปลวไฟ รวงข้าว และดอกบัว ฯลฯ ลายไทยเดิมทีเดียวเรียกกันว่า "กระหนก" หมายถึง
ลวดลาย เช่น กระหนกลาย กระหนกก้านขด ต่อมามีคําใช้ว่า "กนก" หมายถึง ทอง กนกปิดทอง กนกตู้ลายทอง แต่จะมีใช้
เมื่อใดยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ซึ่งคําเดิม "กระหนก" นี้เข้าใจเป็นคําแต่สมัยโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี โดยเรียก
ติดต่อกันจนเป็นคําเฉพาะ หมายถึงลวดลายก้านขด ลายก้านปู ลายก้างปลา ลายกระหนกเปลว เป็นต้น การเขียนลายไทย
ได้จัดแบ่งตามลักษณะที่จัดเป็นแม่บทใช้ในการเขียนภาพมี 4 ลาย ด้วยกัน คือลายกระหนก ลายนารี ลายกระบี่และลายค
ชะ เป็นต้น
ศิลปะอินเดีย
ศิลปะอินเดียแท้
สมัยที่ 1 ศิลปะอินเดียโบราณบางครั้งเรียกว่าศิลปะแบบสาญจีหรือแบบราชวงศ์โมริยะ และแบบสมัยพระเจ้าอโศก
มหาราชที่เรียกว่าตุงคะ ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 6 ศาสนสถานที่เหลือร่องรอยอยู่คือ สถูปรูปโอ
ควํ่า ตั้งอยู่บนฐานมีฉัตรปักเป็นยอด แต่เดิมสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่คงเป็นไม้เนื่องจากภาพสลักนูน ตํ่าหรือถํ้าที่ขุดเข้าไป
ในภูเขาเลียนแบบสถาปัตยกรรมแบบไม้เช่น ที่ถํ้าราชา เพทสา และการ์ลี สําหรับประติมากรรมที่เก่าแก่ที่สุดคงเป็นเสา
ของพระเจ้าอโศกมหาราชราวปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ทํา เป็นรูปสิงห์ตามแบบศิลปะในเอเชียไมเนอร์ บัวหัวเสารูประฆัง
ควํ่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะอิหร่าน ส่วน ประติมากรรมลอยตัวมีรูปร่างใหญ่และหนา เช่น รูปยักษ์ที่เมือง ประขัม ส่วน
ใหญ่ของงานประติมากรรมสมัยนี้ เป็นภาพสลักบนรั้วและประตูล้อมรอบสถูป ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาไม่สลัก
เป็นพระพุทธรูปหรือรูปมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ แต่ใช้สัญ ลักษณะแทน เช่น ปางเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็มี
ภาพของม้าเปล่าไม่มีคนขี่แต่มีฉากกั้น ซึ่งแสดงว่าพระ โพธิสัตว์ซึ่งจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปได้ประทับอยู่หลังม้า
ปาฎิหาริย์ทั้ง 4 ปาง คือ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐม เทศนาและปรินิพพาน ก็มีสัญลักษณะแทนคือ ดอกบัวแทนปางประสูติ ต้น
โพธิ์แทนปางตรัสรู้ ธรรมจักรแทน ปางปฐมเทศนาและพระสถูปแทนปางปรินิพพาน
มหาเจดีย์สาญจิสร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พุทธศตวรรษที่ 3) เป็นสถูปเจดีย์เก่าแก่ที่สุดของโลก
สมัยที่ 2
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 10 มีอิทธิพลภายนอกที่มีต่อศิลปะอินเดียคือ ศิลปคันธาร
ราฐ และศิลปะอินเดียเองคือ ศิลปะแบบมถุรา ทางเหนือและศิลปะแบบอมราวดีทางตะวันออกเฉียงใต้
1. ศิลปะคันธารราฐ เกิดขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความ
เจริญรุ่งเรืองขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 มีรูปแบบ ศิลปะกรีกและโรมัน แต่เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา
ศิลปะคันธารราฐ เป็นศิลปะยุคแรกประดิษฐพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์แต่มีลักษณะคล้ายกรีกและโรมัน ดังนี้พระ พุทธเจ้า
ในปางต่าง ๆ จึงประดิษฐเป็นรูปลักษณ์ของมนุษย์แต่อย่างไรก็ตามยังพบประติมากรรม อื่นที่ได้รับอิทธิพลศิลปะกรีกและ
โรมันอยู่มาก เช่น ประติมากรรมรูปชาวโกลกําลังตาย และท่อ ระบายนํ้าที่สลักเป็นรูปสัตว์พระพุทธรูปบนยอดเสาโคริน
เธียนเป็นต้น
2. ศิลปะมถุรา ศิลปะมถุรารุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-9 ประติมากรรมสลักด้วยศิลาทรายบางรูปได้รับอิทธิ พล
จากศิลปกรีกและโรมัน แต่ก็มีรูปแบบพระพุทธรูปแบบอินเดียเป็นครั้งแรก 3. ศิลปะอมราวดี เกิดขึ้นทางภาคตะวันออก
เฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6-7 ศิลปะสมัย นี้มีลักษณะอ่อนไหวแต่เน้นลักษณะตามอุดมคติ
พระพุทธรูปสมัยนี้มักทําห่มจีวรคลุมทั้งองค์ แต่ลักษณะพระ พักตร์ยังคล้ายแบบกรีกและโรมัน สถานที่สําคัญทีพบศิลปะ
แบบอมราวดี คือ เมือง อมราวดี
สมัยที่ 3
ศิลปะคุปตะ และหลังคุปตะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 เจริญรุ่งเรืองขึ้นทางภาคเหนือของประเทศ อินเดีย
พระพุทธรูปมีลักษณะแบบอินเดียแท้แต่กลับพบประติมากรรมสลักนูนสูงมากกว่าประติมากรรมลอย ตัว ศิลปะที่เด่นใน
สมัยนี้คือ จิตรกรรมฝาผนังที่ถํ้าอชันตา ส่วนศิลปะหลังคุปตะอยู่ในช่วงประมาณพุทธ ศตวรรษที่ 11-13 สถาปัตยกรรม
มีรูปร่างใหญ่ขึ้น สมัยนี้มีเทวสถานที่สําคัญ คือ เอลลูรา และเอเลฟันตะ สมัยนี้ เริ่มมีศาสนสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐ
สมัยที่ 4
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมาเป็นช่วงสมัยของศิลปะทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือศิลปทมิฬ
(Dravidian) แยกออกจากส่วนที่เหลือของอินเดีย
ศิลปะทมิฬหรือดราวิเดียน
ศิลปะแบบทมิฬแบบที่เก่าสุดมีประติมากรรมจากศิลา รูปสําริดและรูปสลักจาก ไม้ประติมากรรมสําริดที่รู้จัก
กันดีคือ รูปพระศิวนาฏราชฟ้อนรําอยู่ในวงเปลวไฟ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่หลัง คาสร้างเป็นหินซ้อนกันเป็นชั้นเช่น
สถาปัตยกรรมที่เป็นเทวสถานใหญ่ชื่อลิงคราชที่เมืองภูวเนศวร ศิลปะปาละ เสนะ ศิลปะทางพุทธศาสนาของอินเดีย
ภาคเหนือภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์ปาละ-เสนะ ใน แคว้นเบงคอลและพิหารระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-18 พุทธ
ศาสนาในสมัยปาละ คือ พุทศาสนาลัทธิตันตระซึ่ง กลายมาจากลัทธิมหายาน โดยผสมความเชื่อในลัทธิฮินดูเข้าไปปะปน
สถาปัตยกรรมที่สําคัญคือ มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นศูนย์กลางการสอนพุทธศาสนาลัทธิตันตระในแคว้นเบงคอล ส่วน
ประติมากรรมมี ทั้งภาพสลักจากศิลาและหล่อจากสําริดทั้งทางพุทธศาสนาและตามคติแบบฮินดู ประติมากรรมสลักจาก
ศิลาในสมัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ
1. ยุคแรกพุทธศตวรรรษที่ 14-15 มีพระโพธิสัตว์และ พระพุทธรูปทรงเครื่อง
2. ยุคสองพุทธศตวรรษที่ 16-17 พระพุทธรูปทรงเครื่องมากขึ้น สร้างตามคตินิยมลัทธิ ตันตระ
3. ยุคที่สามยุคราชวงศ์เสนะ พุทธศตวรรษที่ 18 นับถือศาสนาฮินดูจึงเป็นยุคของประติมากรรมแบบฮินดู ศิลปะแบบปา
ละ เสนะ ได้แพร่หลายไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ประเทศเนปาล ธิเบต ศรีลังกา ชวาทางภาคกลาง เกาะ สุมาตราในอินโดนีเซีย
พม่า และประเทศไทย
ศิลปะขอม
ศิลปะขอม ได้แก่ ศิลปะในประเทศกัมพูชาและดินแดนใกล้เคียง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ ศิลปะขอม
นับเป็นศิลปะอินเดีย ในระยะแรกมีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียมาก แต่ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นรูปแบบของ
ตัวเอง สถาปัตยกรรมขอมได้เจริญขึ้น โดยมีระเบียบและความงามชนิดที่ไม่เคยปรากฎในศิลปะอินเดียมา
ก่อน ลวดลายเครื่องประดับของขอมก็ได้แสดงถึงการตกแต่งอย่างมากมาย และไม่นิยมเน้นพื้นที่ให้ว่างเปล่า แต่ใน
ขณะเดียวกันองค์ประกอบของภาพโดยรวมก็ยังคงรักษาความได้สัดส่วนไว้เสมอ ประติมากรรมขอมได้แสดงให้เห็น
ถึงความแข็งกระด้างปนอํานาจชนิดหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันในประเทศอินเดีย และยังมีการสร้างภาพประติมากรรมให้มี
อารมณ์ยิ้มอยู่ด้วย ดังเช่นภาพประติมากรรมที่เมืองพระนคร (Angkor Thom) ในศิลปะแบบบายน อาจกล่าว
ได้ว่า ประติมากรรมขอมแสดงออกถึงความรู้สึกเร้นลับ ลึกซึ้งอย่างแท้จริง วิวัฒนาการของศิลปะขอมโดยเฉพาะ
สถาปัตยกรรมมีการสืบเนื่องติดต่อกันอย่างเห็นได้ชัดหลายสมัย ดังนี้
๑. สมัยพนมดา (Phnom Da) ๘. สมัยเกาะแกร์ (Koh Ker)
๒. สมัยสมโบร์ไพรกุก (Sambor Prie kuk) ๙. สมัยแปรรูป (Pre Rup)
๓. สมัยไพรกเมง (Prei Kmeng) ๑๐. สมัยบันทายสรี (Banteay Srei)
๔. สมัยกําพงพระ (Kampong Prah) ๑๑. สมัยคลัง (Khleang)
๕. สมัยกุเลน (Kulen) ๑๒. สมัยบาปวน (Baphuon)
๖. สมัยพระโค (Preah Ko) ๑๓. สมัยนครวัด (Angkor Wat)
๗. สมัยบาแค็ง (Bakheng) ๑๔. สมัยบายน (Bayon)
เพื่อให้เข้าใจศิลปะขอมได้ชัดเจนมากขึ้น จึงขอจําแนกรูปลักษณะภาพรวมของศิลปะขอมแต่ละประเภท โดยสังเขปดังนี้
๑. สถาปัตยกรรม ลักษณะสําคัญของศิลปะขอม คือ ความมีระเบียบและการแสดงอํานาจอย่างแข็ง
กระด้าง ลักษณะเช่นนี้เห้นได้ชัดจากการวางผังเมืองอย่างได้สัดส่วน อาทิ เมืองพระนครหรือราชธานีก่อนเมืองพระ
นคร คือเมืองหริหราลัย (Hariharalaya) สถาปัตยกรรมขอมในชั้นต้น คือ ศาสนสถานที่เรียกว่า “ปราสาท
ขอม” ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับศาสนสถานทางภาคเหนือของประเทศอินเดียมาก โดยทั่วไปจะสร้างด้วยอิฐตั้งอยู่โดด
ๆ แยกออกจากกัน แต่ต่อมาไม่นานการสร้างปราสาทเหล่านี้ก้ได้รวมกันเข้าเป็นหมู่และตั้งอยู่บนฐานอัน
เดียวกัน เช่น ปราสาทพระโค ปราสาทบันทายสรี เป็นต้น ต่อมาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา คือ
ตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ก็เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาขึ้นในกัมพูชาและทําให้เกิดสถาปัตยกรรมแบบใหม่
ขึ้นในศาสนสถานขอมขึ้นคือ ฐานทําเป็นชั้นแล้วสร้างปราสาทไว้ข้างบนนั้น ฐานแต่ละชั้นก็คือการจําลองเขาพระ
สุเมรุ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางของมนุษย์โลก ดังตัวอย่างปราสาทบากอง (Bakong) ปราสาทพนม
บาแค็ง (Phnom Bakheng) เป็นต้น ระยะต่อมาโครงสร้างสถาปัตยกรรมของขอมได้มีการพัฒนา
ส่วนประกอบของปาราสาทเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มระเบียงเข้ามาประกอบกับสองส่วนแรกที่เป็นปราสาทและฐานเป็น
ชั้น เช่น ปราสาทตาแก้ว (Takeo) ในสมัยคลังและปราสาทนครวัด ซึ่งปราสาทนครวัดนับเป็นศาสนสถานกลุ่ม
ที่สมบูรณ์และงดงามที่สุดในศิลปะขอม สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ระหว่าง พ. ศ. ๑๖๕๐ - พ. ศ.
๑๗๐๐ เป็นการพัฒนามาจากปราสาทตาแก้ว
๒. ประติมากรรม ภาพสลับนูนตํ่าของขอมในชั้นต้นสลับคล้ายของจริงตามธรรมชาติเหมือนกับภาพ
สลักในประเทศอินเดีย เช่น บรรดาทับหลังของปราสาทหลังกลางในศาสนสถานหมู่ใต้ที่สมโบร์ แต่ต่อมาก็มีลักษณะ
เปลี่ยนแปลงไป ดังเห็นได้จากปราสาทบากองในสมัยพระโค และที่ปราสาทกระวันในบริเวณเมืองพระนคร ภาพสลัก
แห่งนี้สลักเป็นรูปพระนารายณ์ และพระลักษณ์ มียืนอยู่เหนือผนังภายในศาสนสถาน แสดงความแข็งกระด้างช่น
เดียวกับประติมากรรมลอยตัวในขณะนั้น นอกจากนี้ยังพบภาพสลักบนหน้าบันของปราสาททายสรี ซึ่งเป็นภาพที่น่า
ประทับใจ เพราะสลักอย่างได้ระเบียบและเต็มไปด้วยความงดงามอ่อนช้อย เช่น ภาพสลักนางอัปสรติโลตตมาที่อยุ่ม่า
มกลางอสูรสองตน ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศษ และประมาณ พ.ศ.๑๖๕๐-
๑๗๐๐ ได้มีภาพสลักขนาดใหญ่ซึ่งแปลกประหลาดอย่างยิ่งที่ระเบียงปราสาทนครวัด เป็นสภาพสลักนูนตํ่าขนาด
ใหญ่ ๘ ภาพสลักอยู่บนระเบียงชั้นที่ ๑ ภาพเหล่านี้แสดงบุคคลจํานวนมาก ไม่ปล่อยพื้นที่ให้ว่างเปล่าและชอบ
แสดงจิตใจอย่างรุนแรง เช่น ภาพการสู้รบ ภาพนรก ภาพสวรรค์ ภาพเหล่านี้แม้ว่าจะแสดงจังหวะที่ค่อนข้างกะด้าง
แต่ก็ต่อเนื่องกันไป และแสดงให้เห็นถึงความนิยมในเส้นขนานขนาดใหญ่ตลอดจนการประกอบภาพอย่างมโหฬาร
ด้วย ต่อมาในสัมยบายนก็มีลักษณะใหม่เกิดขึ้นในภาพสลักนูนตํ่าของขอม คือ การนิยมแสดงภาพตามความ
จริง ภาพชีวิตประจําวันตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ภายหลังต้นพุทธศตวรรษ
ที่ ๑๒ คือ ตั้งแต่สมัยพนมดา ก็เริ่มประติมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่ ซึ่งมีลําตัวตรงง ขาแยกจากกัน และ
ล้อมรอบด้วยวงโค้งสําหรับยึด ประติมากรรมเหล่านี้โดยมากสลักเป็นรูปพระหริหระคือ พระนารายณ์และพระอิศวรผสม
กันเป็นองค์เดียว มีสัญลักษณ์ของเทพเจ้าทั้งสอง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาเอกภาพไว้ได้อย่างน่าสนใจ รูปพระ
หริหระที่งดงามมากองค์หนึ่งอยู่ที่พิพธภัณฑ์กีเมต์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คือ รูปพระหริหระแห่งมหา
ฤาษี (Maha Rosei) นอกจากนี้ ลวดลายเครื่องประดับในองค์ประกอบของ
“ทับหลัง” (ศิลาสลักแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่เหนือกรอบประตู) ก็ยังมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ รวมทั้งเสาประดับกรอบ
ประตู และเครื่องประดับรูปสัตว์ คือ นาค ซึ่งเป็นการคิดค้นของขอมที่น่าชมมาก ส่วนทับหลังที่มีรูปร่างสูงก็จะมี
ลวดลายเครื่องประดับมากขึ้น ทับหลังแบบนี้อาจตัดได้ว่าเป็นทับหลังที่มีความงดงามที่สุดในศิลปะขอแม้ว่าจะมีลวดลาย
เครื่องประดับอย่างมากมายและไม่นิยมพื้นที่ว่างเปล่า แต่ก็ยังคงรักษาความได้สัดส่วนไว้อย่างเคร่งครัด อาทิ ทับหลังที่
เมืองหริหารลัยสมัยพระโค เป็นต้น
ศิลปะจีน
นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าจีนมีประวัติแห่งการพัฒนาประเทศเป็น 4 ยุค คือ ยุคแรกเป็นยุคหิน ต่อมาคือยุคหยก
ยุคทองแดง และยุคสุดท้ายคือยุคเหล็ก สําหรับสมัยประวัติศาสตร์ของจีนมียุคสมัยของศิลปะที่สําคัญดังนี้
1. สมัยราชวงศ์ชาง ( Shang Dynasty ) ศิลปวัตถุที่เด่นที่สุดคือ เครื่อง
สําริด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะสําริดซึ่งมีทรวดทรงสวยงาม ใหญ่โต แข็งแรง หล่อด้วยฝีมือที่ยอดเยี่ยม อันแสดง
ให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคนิคในการหล่อสําริดที่เจริญกว่าเทคนิคการหล่อสําริดในเมโสโปเตเมีย ทั้งๆทีรู้จักวิธี
หล่อสําริดก่อนจีนเกือบพันปี เครื่องสําริดของจีนทําขึ้นโดยการหลอมโลหะที่มีส่วนผสมของทองแดง ดีบุก และ
ตะกั่ว ใช้ทําเป็นภาชนะใส่อาหาร เหล้า และนํ้า ใช้ทําเครื่องมือเครื่องใช้ใน
ชีวิตประจําวัน เช่น เสียม ขวาน มีด เป็นต้น ลวดลายที่ปรากฏบนสําริดเหล่านี้จะมีความวิจิตรสวยงามมาก มีทั้ง
ลายนูน และลายฝังลึกในเนื้อสําริด เช่น ลายเรขาคณิต ลายสายฟ้า ลายก้อนเมฆ และลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ของ
สัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายหน้ากากรูปสัตว์ที่เรียกว่า “ เถาเทียะ ” เห็นจมูก เขา และตาถลนอย่างชัดเจน ซึ่ง
เป็นสัญลักษณ์ที่พบเห็นในศิลปะจีนในสมัยต่อๆ มาอยู่เสมอ
นอกจากสําริดแล้ว เครื่องหยกประเภทต่างๆ ก็แสดงเห็นฝีมือทางศิลปะอันสูงส่งของสมัยราชวงศ์
ชาง หยกเป็นวัตถุที่นิยมนํามาแกะสลักเป็นรูปต่างๆ มากที่สุด โดยช่างในสมัยราชวงศ์ชางมีเทคนิคในการเจียระไน
และแกะสลักหยกให้เป็นรูปและลวดลายต่างๆ กัน เช่น เป็นใบมีด เป็นแท่ง เป็นแผ่นแบนๆ หัวลูกศร จี้ หรือรูป
สัตว์ต่างๆ สัญลักษณ์ที่นิยมกันมากคือ สัญลักษณ์ของสวรรค์ โลกและทิศสี่ทิศ นอกจากเครื่องหยกแล้วยังพบผลงาน
แกะสลักอื่นๆอีก เช่น งาช้าง เครื่องปั้นดินเผา หินอ่อน โดยแกะสลักเป็นรูปหัววัว เสือ ควาย นก และ
เต่า เป็นต้น
2. สมัยราชวงศ์โจว ( Chou Dynasty ) ความก้าวหน้าทางศิลปะของราชวงศ์ชาง ได้
สืบทอดต่อมาในสมัยราชวงศ์โจว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคการหล่อสําริด ความเป็นตัวของตัวเองของราชวงศ์โจวก็เริ่ม
ปรากฏชัดขึ้น เช่น มีการเน้นลวดลายประดับประดามากขึ้นและไม่เด่นนูนเหมือนสมัยราชวงศ์ชาง มีความซับซ้อน
มากขึ้น เช่น ลวดลายสัตว์เป็นรูปมังกรหลายตัวซ้อนกันและเกี้ยวกระหวัดไปมา ลวดลายละเอียดอ่อนช้อยมาก ใน
ด้านการแกะสลักเครื่องหยกฝีมือช่างสมัยราชวงศ์โจวจะยอดเยี่ยมกว่าสมัยราชวงศ์ชางมาก สามารถแกะสลักได้
สลับซับซ้อน ในสมัยราชวงศ์โจวยังพบว่ามีการพัฒนาในเรื่องเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นต้นแบบของเครื่อง
เคลือบจีน เพราะรู้จักกรรมวิธีในการเคลือบนํ้ายาเบื้องต้นและรู้จักเผาไฟด้วยอุณหภูมิสูง
3. สมัยราชวงศ์จิ๋น ( Chin Dynasty ) ในสมัยนี้มีสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดใน
ด้านความมโหฬาร คือ กําแพงเมืองจีน ( The Great Wall ) ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่ง
มหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลกที่มนุษย์สร้างขึ้น กําแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 6,700 – 10,000 กิโลเมตร
นอกจากนี้ก็ยังพบประติมากรรมดินเผาเป็นรูปทหารเท่าคนจริงฝังอยู่ในสุสานพระจักรพรรดิองศ์หนึ่ง
แห่งราชวงศ์จิ๋น คือ จักรพรรดิฉิน สื่อ หวง ตี่ ซึ่งพระองศ์ได้สร้างไว้ล่วงหน้าก่อนสวรรคต 30 ปี การขุดค้น
ได้กระทําไปแล้วบางส่วนในพื้นที่ประมาณ 12,600 ตารางเมตร และพบประติมากรรมดินเผารูปทหารและม้าศึก
จํานวนมากประมาณ 6,000 รูป รูปทรงของประติมากรรมมีขนาดใกล้เคียงกับคนจริงมาก คือมีความสูง
ประมาณ 6 ฟุต ปั้นด้วยดินเหนียวสีเทา จากนั้นก็นําไปเผาไฟเช่นเดียวกับการกรรมวิธีการสร้างเครื่องปั้นดินเผา
ทั่วไป
4. สมัยราชวงศ์ฮั่น ( Han Dynasty ) ความเป็นปึกแผ่นของประเทศได้ส่งผลสะท้อน
มายังศิลปกรรมให้เจริญก้าวหน้าไปด้วยรากฐานที่วางไว้ดีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชางเรื่อยมา ต่างได้รับการพัฒนาเต็มที่สมัย
ราชวงศ์ฮั่น และประติมากรรมเต็มรูปหรือแบบลอยตัวก็เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยนี้ มีการพัฒนาทางด้านการ
ออกแบบ กรรมวิธีการสร้างและมโนภาพในงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรมเขียนตัวอักษร ประติมากรรมหรืองาน
ศิลปหัตถกรรมทั่วไป ในส่วนของประติมากรรมมีการนําหินมาสลักให้เป็นทั้งรูปลอยตัวและรูปแบน มีเรื่องราวเกี่ยวกับ
เทพนิยายตามความเชื่อในลัทธิเต๋า ประติมากรรมรูปแบน มักเป็นแผ่นใช้การขีด วาด จารึกเป็นลายเส้นหรือไมก็ฉลุ
เป็นรูปต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการคิดประดิษฐ์กระดาษใช้แทนผ้าไหมและแผ่นหิน ศิลปะประยุคในสมัยนี้จะบรรลุถึงความ
งามชั้นสูงสุด โดยเฉพาะช่างทองรูปพรรณขึ้นชื่อในด้านความประณีต งดงาม ซึ่งมีการประดิษฐ์และออกแบบ
ลวดลายพัฒนาขึ้นกว่าเดิมมาก
5. สมัยราชวงศ์จิ้น ( Jin of Tsin Dynasty ) พระพุทธศาสนาได้นําความเชื่อใหม่
มาสู่จีน และได้เข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงศิลปกรรมที่ทํามาเป็นประเพณีแต่เดิม ที่เคยมีความนับถือลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า
เป็นหลักสําคัญ ให้พัฒนาไปสู่รูปแบบพุทธศิลป์แบบใหม่ๆ เช่น การสร้างรูปเคารพ ศาสนสถาน เป็นต้น โดยเฉ
พะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติจากอินเดียได้เข้ามามีส่วนสร้างงานด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะแรกพุทธศิลป์คงมี
รูปลักษณะแบบอินเดีย แต่ต่อมารูปแบบกรรมวิธีและเนื้อหาได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม และสอดคล้องกับ
การแสดงออกของศิลปะจีนเอง เช่น ที่ถํ้าตุนหวง ได้มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้ ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่
เก่าแก่ที่สุดของจีน มีลักษณะเป็นภาพทิวทัศน์ประกอบพุทธประวัติ และเป็นตัวอย่างอันดีของการผสมผสานเทคนิค
จิตรกรรมแบบเปอร์เซีย อินเดีย และจีนเข้ามาเป็นหนึ่งเดียว
6. สมัยราชวงศ์ถัง ( Tang Dynasty) สมัยนี้เป็นยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีนทุก
ประเภท โดยเฉพาะเครื่องเคลือบ ฝีมือของช่างในการผลิตเครื่องเคลือบมีคุณภาพสูงกว่าเครื่องเคลือบที่ผลิตจากแหล่ง
อื่นๆทั่วโลก เครื่องเคลือบที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ “ เครื่องเคลือบสามสี ” ( Thee - colour
wares ) มีลักษณะแข็งแรงและสง่างามจึงกลายเป็นลักษณะเฉพาะของเครื่องเคลือบในสมัยราชวงศ์ถัง ลักษณะเนื้อ
ดินละเอียด ขาวหม่น ในการเคลือบนํ้ายานั้น จะเว้นที่ส่วนล่างของฐานไว้เล็กน้อย เพื่อแสดงฝีมือการปั้นของ
ช่าง ทั้งนี้ ลวดลายที่ปรากฏ บางส่วนแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเปอร์เซียด้วย

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

2. ข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์ (มัธยมต้น)
2. ข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์ (มัธยมต้น)2. ข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์ (มัธยมต้น)
2. ข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์ (มัธยมต้น)Anawat Supappornchai
 
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ศิลปะ
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ศิลปะข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ศิลปะ
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ศิลปะSuriyawaranya Asatthasonthi
 
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3Jariya Jaiyot
 
บทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสารบทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสารPinutchaya Nakchumroon
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์สมศรี หอมเนียม
 
ข้อสอบวิชาศิลปะ ม.3 ฉบับที่ 1 พร้อมเฉลย
ข้อสอบวิชาศิลปะ ม.3 ฉบับที่ 1 พร้อมเฉลยข้อสอบวิชาศิลปะ ม.3 ฉบับที่ 1 พร้อมเฉลย
ข้อสอบวิชาศิลปะ ม.3 ฉบับที่ 1 พร้อมเฉลยKhunnawang Khunnawang
 
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4Tatthep Deesukon
 
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมdnavaroj
 
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการsupaporn2516mw
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพดโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพดพัน พัน
 
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)สำเร็จ นางสีคุณ
 
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม Terapong Piriyapan
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนKruthai Kidsdee
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีMilky' __
 
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงBoomCNC
 
ลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่ายลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่ายenksodsoon
 

Was ist angesagt? (20)

การสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลายการสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลาย
 
2. ข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์ (มัธยมต้น)
2. ข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์ (มัธยมต้น)2. ข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์ (มัธยมต้น)
2. ข้อสอบ o net วิทยาศาสตร์ (มัธยมต้น)
 
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ศิลปะ
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ศิลปะข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ศิลปะ
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ศิลปะ
 
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
แบบทดสอบดาราศาสตร์ ม.3
 
หน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญหน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญ
 
บทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสารบทที่ 1 การจำแนกสาร
บทที่ 1 การจำแนกสาร
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
 
ข้อสอบวิชาศิลปะ ม.3 ฉบับที่ 1 พร้อมเฉลย
ข้อสอบวิชาศิลปะ ม.3 ฉบับที่ 1 พร้อมเฉลยข้อสอบวิชาศิลปะ ม.3 ฉบับที่ 1 พร้อมเฉลย
ข้อสอบวิชาศิลปะ ม.3 ฉบับที่ 1 พร้อมเฉลย
 
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม4
 
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
 
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
 
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
ถอดความบทประพันธ์เรื่อง โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพดโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาเช็ดกระจกจากแป้งข้าวโพด
 
ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท (Nervous System)ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท (Nervous System)
 
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
 
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรี
 
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
 
ลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่ายลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่าย
 

Andere mochten auch

วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร7-ร 9
วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร7-ร 9วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร7-ร 9
วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร7-ร 9Pattharapong Sirisuwan
 
ทัศนศิลป์กับมนุษย์
ทัศนศิลป์กับมนุษย์ทัศนศิลป์กับมนุษย์
ทัศนศิลป์กับมนุษย์พัน พัน
 
ความหมาย ความเป็นมาของศิลปะและการสร้างสรรค์
ความหมาย ความเป็นมาของศิลปะและการสร้างสรรค์ความหมาย ความเป็นมาของศิลปะและการสร้างสรรค์
ความหมาย ความเป็นมาของศิลปะและการสร้างสรรค์sirikase
 
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-new
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-newติวสอบโอเน็ตม6 2557-new
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-newKittipun Udomseth
 

Andere mochten auch (6)

The criticism of art
The criticism of artThe criticism of art
The criticism of art
 
วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร7-ร 9
วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร7-ร 9วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร7-ร 9
วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร7-ร 9
 
Composition
CompositionComposition
Composition
 
ทัศนศิลป์กับมนุษย์
ทัศนศิลป์กับมนุษย์ทัศนศิลป์กับมนุษย์
ทัศนศิลป์กับมนุษย์
 
ความหมาย ความเป็นมาของศิลปะและการสร้างสรรค์
ความหมาย ความเป็นมาของศิลปะและการสร้างสรรค์ความหมาย ความเป็นมาของศิลปะและการสร้างสรรค์
ความหมาย ความเป็นมาของศิลปะและการสร้างสรรค์
 
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-new
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-newติวสอบโอเน็ตม6 2557-new
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-new
 

Ähnlich wie การวิจารย์งานศิลปะและศิลปะตะวันออก ครูรัตติยา คำประชา

สื่อการสอน59
สื่อการสอน59สื่อการสอน59
สื่อการสอน59Computer ITSWKJ
 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ2
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ2กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ2Yatphirun Phuangsuwan
 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศกลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศYatphirun Phuangsuwan
 
ความเข้าใจในศิลปะ
ความเข้าใจในศิลปะความเข้าใจในศิลปะ
ความเข้าใจในศิลปะkthananchai
 
สด 10ศิลปวิจาร
สด 10ศิลปวิจารสด 10ศิลปวิจาร
สด 10ศิลปวิจารyuyeepony
 
สื่อการสอนวิชา ศิลปศึกษา-ม.ปลาย
สื่อการสอนวิชา ศิลปศึกษา-ม.ปลายสื่อการสอนวิชา ศิลปศึกษา-ม.ปลาย
สื่อการสอนวิชา ศิลปศึกษา-ม.ปลายIntrayut Konsongchang
 
กำหนดการสอนศิลปะ
กำหนดการสอนศิลปะกำหนดการสอนศิลปะ
กำหนดการสอนศิลปะYatphirun Phuangsuwan
 
ความหมายของศิลปะและขอบข่ายงามศิลปะ
ความหมายของศิลปะและขอบข่ายงามศิลปะ ความหมายของศิลปะและขอบข่ายงามศิลปะ
ความหมายของศิลปะและขอบข่ายงามศิลปะ ครูหนุ่ม สอนศิลปะ
 
ตัวชี้วัดและสาระศิลปะ
ตัวชี้วัดและสาระศิลปะตัวชี้วัดและสาระศิลปะ
ตัวชี้วัดและสาระศิลปะพิพัฒน์ ตะภา
 
แนะนำรายวิชาศิลปะม.3
แนะนำรายวิชาศิลปะม.3แนะนำรายวิชาศิลปะม.3
แนะนำรายวิชาศิลปะม.3OohhoO1
 
9789740329640
97897403296409789740329640
9789740329640CUPress
 
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบppt
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบpptความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบppt
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบpptPreeda Chanlutin
 
เอกสารประกอบการสอน การจัดองค์ประกอบศิลป์ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก บทที่_2
เอกสารประกอบการสอน การจัดองค์ประกอบศิลป์ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก บทที่_2เอกสารประกอบการสอน การจัดองค์ประกอบศิลป์ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก บทที่_2
เอกสารประกอบการสอน การจัดองค์ประกอบศิลป์ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก บทที่_2mathawee wattana
 
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdf
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdfเรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdf
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdfpeter dontoom
 
องค์ประกอบศิลป์
องค์ประกอบศิลป์องค์ประกอบศิลป์
องค์ประกอบศิลป์peter dontoom
 
องค์ประกอบศิลป์
องค์ประกอบศิลป์องค์ประกอบศิลป์
องค์ประกอบศิลป์peter dontoom
 

Ähnlich wie การวิจารย์งานศิลปะและศิลปะตะวันออก ครูรัตติยา คำประชา (20)

สื่อการสอน59
สื่อการสอน59สื่อการสอน59
สื่อการสอน59
 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ2
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ2กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ2
 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศกลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ศ ๒๑๑๐๑ของพี่ทัศ
 
ความเข้าใจในศิลปะ
ความเข้าใจในศิลปะความเข้าใจในศิลปะ
ความเข้าใจในศิลปะ
 
กำหนดการสอน
กำหนดการสอนกำหนดการสอน
กำหนดการสอน
 
สด 10ศิลปวิจาร
สด 10ศิลปวิจารสด 10ศิลปวิจาร
สด 10ศิลปวิจาร
 
สื่อการสอนวิชา ศิลปศึกษา-ม.ปลาย
สื่อการสอนวิชา ศิลปศึกษา-ม.ปลายสื่อการสอนวิชา ศิลปศึกษา-ม.ปลาย
สื่อการสอนวิชา ศิลปศึกษา-ม.ปลาย
 
กำหนดการสอนศิลปะ
กำหนดการสอนศิลปะกำหนดการสอนศิลปะ
กำหนดการสอนศิลปะ
 
ความหมายของศิลปะและขอบข่ายงามศิลปะ
ความหมายของศิลปะและขอบข่ายงามศิลปะ ความหมายของศิลปะและขอบข่ายงามศิลปะ
ความหมายของศิลปะและขอบข่ายงามศิลปะ
 
ตัวชี้วัดและสาระศิลปะ
ตัวชี้วัดและสาระศิลปะตัวชี้วัดและสาระศิลปะ
ตัวชี้วัดและสาระศิลปะ
 
แนะนำรายวิชาศิลปะม.3
แนะนำรายวิชาศิลปะม.3แนะนำรายวิชาศิลปะม.3
แนะนำรายวิชาศิลปะม.3
 
9789740329640
97897403296409789740329640
9789740329640
 
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบppt
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบpptความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบppt
ความหมายศิลปะ ม.5. ลงเวบppt
 
เอกสารประกอบการสอน การจัดองค์ประกอบศิลป์ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก บทที่_2
เอกสารประกอบการสอน การจัดองค์ประกอบศิลป์ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก บทที่_2เอกสารประกอบการสอน การจัดองค์ประกอบศิลป์ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก บทที่_2
เอกสารประกอบการสอน การจัดองค์ประกอบศิลป์ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก บทที่_2
 
Content01
Content01Content01
Content01
 
Content01
Content01Content01
Content01
 
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdf
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdfเรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdf
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdf
 
Plan 04 (2)
Plan 04 (2)Plan 04 (2)
Plan 04 (2)
 
องค์ประกอบศิลป์
องค์ประกอบศิลป์องค์ประกอบศิลป์
องค์ประกอบศิลป์
 
องค์ประกอบศิลป์
องค์ประกอบศิลป์องค์ประกอบศิลป์
องค์ประกอบศิลป์
 

Mehr von kkrunuch

หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่มหัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่มkkrunuch
 
เอกสารโคมไฟ
เอกสารโคมไฟเอกสารโคมไฟ
เอกสารโคมไฟkkrunuch
 
สื่อการสอน Internet 2559
สื่อการสอน Internet  2559สื่อการสอน Internet  2559
สื่อการสอน Internet 2559kkrunuch
 
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคนใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคนkkrunuch
 
เซลล์กัลวานิก
เซลล์กัลวานิกเซลล์กัลวานิก
เซลล์กัลวานิกkkrunuch
 
ขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขนาดอะตอมและขนาดไอออนขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขนาดอะตอมและขนาดไอออนkkrunuch
 
กัมมันตรังสี
กัมมันตรังสีกัมมันตรังสี
กัมมันตรังสีkkrunuch
 
ส่วนประกอบของโปรแกรม Flie album
ส่วนประกอบของโปรแกรม Flie albumส่วนประกอบของโปรแกรม Flie album
ส่วนประกอบของโปรแกรม Flie albumkkrunuch
 
เรื่องสารรอบตัว ครูเจริญ มีเหมือน
เรื่องสารรอบตัว  ครูเจริญ  มีเหมือนเรื่องสารรอบตัว  ครูเจริญ  มีเหมือน
เรื่องสารรอบตัว ครูเจริญ มีเหมือนkkrunuch
 
Microbiology4.5
Microbiology4.5Microbiology4.5
Microbiology4.5kkrunuch
 
ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3
ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3
ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3kkrunuch
 

Mehr von kkrunuch (11)

หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่มหัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม
 
เอกสารโคมไฟ
เอกสารโคมไฟเอกสารโคมไฟ
เอกสารโคมไฟ
 
สื่อการสอน Internet 2559
สื่อการสอน Internet  2559สื่อการสอน Internet  2559
สื่อการสอน Internet 2559
 
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคนใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
 
เซลล์กัลวานิก
เซลล์กัลวานิกเซลล์กัลวานิก
เซลล์กัลวานิก
 
ขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขนาดอะตอมและขนาดไอออนขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขนาดอะตอมและขนาดไอออน
 
กัมมันตรังสี
กัมมันตรังสีกัมมันตรังสี
กัมมันตรังสี
 
ส่วนประกอบของโปรแกรม Flie album
ส่วนประกอบของโปรแกรม Flie albumส่วนประกอบของโปรแกรม Flie album
ส่วนประกอบของโปรแกรม Flie album
 
เรื่องสารรอบตัว ครูเจริญ มีเหมือน
เรื่องสารรอบตัว  ครูเจริญ  มีเหมือนเรื่องสารรอบตัว  ครูเจริญ  มีเหมือน
เรื่องสารรอบตัว ครูเจริญ มีเหมือน
 
Microbiology4.5
Microbiology4.5Microbiology4.5
Microbiology4.5
 
ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3
ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3
ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3
 

การวิจารย์งานศิลปะและศิลปะตะวันออก ครูรัตติยา คำประชา

  • 1. สื่อการสอน เรื่อง...การวิเคราะหวิจารณงานศิลปะ วิชา ศิลปะ (ทัศนศิลป์ ) ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ปีการศึกษา 1/2559 โดย...นางสาวรัตติยา คําประชา
  • 2. การวิเคราะหวิจารณงานศิลปะ ความหมาย การวิเคราะหงานศิลปะหมายถึง การพิจารณาแยกแยะศึกษาองค์รวมของงานศิลปะออกเป็นส่วนๆ ทีละประเด็น ทั้งในด้านทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์ และความสัมพันธ์ต่างๆ ในด้านเทคนิคกรรมวิธีการแสดงออก เพื่อนําข้อมูลที่ได้มา ประเมินผลงานศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านความงาม ทางด้านสาระ และทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร การวิจารณงานศิลปะ หมายถึง การแสดงออกทางด้านความคิดเห็นต่อผลงานทางศิลปะที่ศิลปิน สร้างสรรค์ขึ้นไว้โดยผู้วิจารณ์ให้ความคิดเห็นตามหลักเกณฑ์และหลักการของศิลปะ ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และสาระ อื่นๆ ด้วยการติชมเพื่อให้ได้ข้อคิดนําไปปรับปรุงพัฒนาผลงานศิลปะ หรือใช้เป็นข้อมูลในการประเมินตัดสินผลงาน และ เป็นการฝึกวิธีดู วิธีวิเคราะห์ คิดเปรียบเทียบให้เห็นคุณค่าในผลงานศิลปะชิ้นนั้น ๆ คุณสมบัติของนักวิจารณ 1. ควรมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะทั้งศิลปะประจําชาติและศิลปะสากล 2. ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ 3. ควรมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ช่วยให้รู้แง่มุมของความงาม 4. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง และไม่คล้อยตามคนอื่น 5. กล้าที่จะแสดงออกทั้งที่เป็นไปตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกและประสบการณ์ ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ จัดเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้ 1. นิยมการเลียนแบบ (Imitationalism Theory) เป็นการเห็นความงามในธรรมชาติแล้วเลียนแบบไว้ให้เหมือนทั้งรูปร่าง รูปทรง สีสัน ฯลฯ 2. นิยมสร้างรูปทรงที่สวยงาม (Formalism Theory) เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ให้สวยงามด้วยทัศนธาตุ (เส้น รูปร่าง รูปทรง สี นํ้าหนัก พื้นผิว บริเวณว่าง) และเทคนิควิธีการต่างๆ 3. นิยมแสดงอารมณ์ (Emotional Theory) เป็นการสร้างงานให้ดูมีความรู้สึกต่างๆ ทั้งที่เป็นอารมณ์อันเนื่องมาจาก เรื่องราวและอารมณ์ของศิลปินที่ถ่ายทอดลงไปในชิ้นงาน 4. นิยมแสดงจินตนาการ (Imagination Theory) เป็นงานที่แสดงภาพจินตนาการ แสดงความคิดฝันที่แตกต่างไปจาก ธรรมชาติและสิ่งที่พบเห็นอยู่เป็นประจํา แนวทางการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของงานศิลปะ การวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะโดยทั่วไปจะพิจารณาจาก 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความงาม เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านทักษะฝีมือ การใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ และการจัด องค์ประกอบศิลป์ว่าผลงานชิ้นนี้แสดงออกทางความงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสมสวยงามและส่งผลต่อผู้ดูให้เกิดความ
  • 3. ชื่นชมในสุนทรียภาพเพียงใด ลักษณะการแสดงออกทางความงามของศิลปะจะมีหลากหลายแตกต่างกันออกไปตาม รูปแบบของยุคสมัย ผู้วิเคราะห์และประเมินคุณค่าจึงต้องศึกษาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจด้วย เช่น ภาพแม่พระมาดอนนา พระเยซู และเซนต์จอห์น (The Madonna and Child with The infant St. John) เทคนิคสีนํ้ามันบนแผ่นไม้ผลงานของราฟาเอล (Raphael)แสดงรูปแบบความงามของภาพโดยใช้รูปคนเป็นจุดเด่น มีความเวิ้งว้างของธรรมชาติเป็นฉากหลังแสดงความตื้นลึกใกล้ไกลโดยใช้แนวทางของทัศนียวิทยาและการจัด องค์ประกอบภาพในแนวกรอบสามเหลี่ยมซึ่งเป็นลักษณะความงามในการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ศิลปินในสมัย ฟื้นฟูศิลปวิทยานิยมทํากัน
  • 4. ภาพองค์ประกอบศิลป์ (Composition) เทคนิคสีนํ้ามันบนผ้าใบ (พ.ศ.2472)ผลงานของ พีต มอนดรีอัน (Piet Mondrian)เน้นการออกแบบโดยเส้นที่ตัดกันเป็นมุม ฉากระหว่างเส้นนอนกับเส้นตั้งเกิดเป็นบริเวณว่างให้มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบสี่เหลี่ยมด้วยการใช้สีแดง เหลือง นํ้า เงินที่สดใส รวมทั้งสีขาว ดํา และเทาในแบบนามธรรมที่ใช้เส้นเรขาคณิตเป็นหลัก สรุปการวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะในด้านความงามจะตัดสินกันที่รูปแบบการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้ เกิดคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ หรือการเห็นคุณค่าทางความงามนั่นเอง 2. ด้านสาระ เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะแต่ละชิ้นว่ามีลักษณะส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนจุดประสงค์ต่างๆ ทางจิตวิทยาว่าให้สาระอะไรกับผู้ชมบ้าง ซึ่งอาจเป็นสาระเกี่ยวกับธรรมชาติ สังคม ศาสนา การเมือง ปัญญา ความคิด จินตนาการ และความฝัน เช่น
  • 5. ภาพวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2351 (The Third of May 1808) ผลงานของฟรันซิสโก โจเซ เด โกยา (Francisco Jose de Goya) จิตรกรชาวสเปน แสดงคุณค่าด้านสาระให้เห็นถึงความเจ็บปวดจากการถูกยํ่ายีและเข้ายึดครองประเทศสเปนของทหารฝรั่งเศส ในสมัยนโป เลียนที่มีการสังหารประชาชนผู้แสวงหาอิสรภาพอย่างเลือด็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่มีคุณธรรมในการปกครอง บ้านเมือง 3. ด้านอารมณ์ความรู้สึก เป็นการคิดวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกและสื่อความหมายได้อย่าง ลึกซึ้งของวัสดุ ซึ่งเป็นผลของการใช้เทคนิคแสดงออกถึงความคิด พลัง ความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน เช่น
  • 6. ภาพฝูงกาเหนือทุ่งข้าวสาลี (Wheatfield with Crows) เทคนิคสีนํ้ามันบนผ้าใบผลงานของ ฟินเซนต์ฟาน ก็อก (Vincent Van Gogh)แสดงพลังความรู้สึกของศิลปินแทรกอยู่ใน รอยฝีแปรงของเส้นสี ซึ่งบ่งบอกถึงความรู้สึกภายในได้อย่างชัดเจน เป็นภาพเขียนชิ้นสุดท้ายในชีวิตที่อาภัพและรันทดอง
  • 7. ฟินเซนต์ฟาน ก็อก ซึ่งเขียนภาพนี้ขึ้นก่อนยิงตัวตาย ประติมากรรมชื่อ ปิเอตา ( Pieta ) ผลงานของ มิเคลันเจโล (Michelongelo Buonarroti) แสดงคุณค่าด้านความงามขององค์ประกอบศิลป์ที่จัดไว้ในแนวกรอบของรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ นิยมกันมากในผลงาน ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา(Renaissance) นอกจากนั้นยังแสดงความงามของแนวเส้นโค้งของพระ เศียรพระแม่มาเรียที่ก้มพระพักตร์ลงกับแนวเส้นโค้งของพระวรกายองค์พระเยซูที่นอนพาดอยู่บนตักอย่างงดงามกลมกลืน ได้คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกเป็นอย่างดี ทําให้มองเห็นถึงความรู้สึกของแม่ผู้มีความรักความผูกพันต่อลูก รวมทั้งยังได้ คุณค่าสาระทางด้านศาสนาอีกด้วย
  • 8. กระบวนการวิจารณ์งานศิลปะตามหลักการและวิธีการ 1. ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน เป็นข้อมูลรายละเอียดสังเขปเกี่ยวกับประเภทของงาน ชื่อผลงาน ชื่อศิลปิน ขนาด วัสดุ เทคนิค วิธีการ สร้างเมื่อ พ.ศ.ใด ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ไหน รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นแบบใด 2. ขั้นตอนการพรรณนาผลงาน เป็นการบันทึกข้อมูลจากการมองเห็นภาพผลงานในขั้นต้นว่าเป็นภาพอะไร เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ภาพทิวทัศน์ ภาพ หุ่นนิ่ง เป็นต้น มีเทคนิคในการสร้างสรรค์แบบใด 3. ขั้นวิเคราะห์ เป็นการดูลักษณะภาพรวมของผลงานว่าจัดอยู่ในประเภทใด พิจารณารูปแบบการถ่ายทอดเป็นแบบใด จําแนกทัศน ธาตุและองค์ประกอบศิลป์ออกจากภาพรวมเป็นส่วนย่อยให้เห็นว้มีหลักการจัดภาพที่กลมกลืนหรือขัดแย้งอย่างไร 4. ขั้นตีความ เป็นการค้นหาความหมายของผลงานว่า ศิลปินหรือผู้สร้างสรค์ต้องการสื่อให้ผู้ชมผลงานได้รับรู้เกี่ยวกับอะไร เช่น สภาพปัญหาในชุมชน สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น 5. ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะชิ้นนั้นจากการพิจารณาทุกข้อในเบื้องต้น สรุปให้เห็นข้อดีและข้อด้อย ในด้านเนื้อหาและเรื่องราว หลักทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทักษะ ฝีมือ และการถ่ายทอดความงาม เพื่อ การพัฒนาหรือตัดสินผลงานชิ้นนั้น ตัวอย่างการวิจารณ์งานศิลปะ
  • 9. 1. ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน ประเภทงาน : จิตรกรรม ชื่อผลงาน : <โมนาลิซา ( Mona Lisa ) ชื่อศิลปิน : เลโอนาร์โด ดา วินชี ( Leonado da Vinci ) ศิลปินชาวอิตาเลียน ขนาดผลงาน : >77 x 53 ซม. เทคนิค วัสดุ : สีนํ้ามันบนแผ่นไม้ ผลงานสร้างเมื่อปี : พ.ศ.2046 - 2049 ( ค.ศ.1503 - 1506 ) ปัจจุบันอยู่ที่ : พิพิธภัณฑ์ลูฟว์กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รูปแบบการสร้างสรรค์ : เป็นงานศิลปะตะวันตก การถ่ายทอดรูปแบบเหมือนจริงตามลักษณะแบบอย่าง ของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance )
  • 10. 2. ขั้นพรรณนาในผลงาน เป็นภาพเขียนครึ่งตัว ( Portrait ) สุภาพสตรีผมยาวมีผ้าคลุม หวีผมแสกกลาง เสื้อคลุมด้วยสีดําเรียบ เห็นใบหน้าเกือบ ตรง ลําตัวบิดเบี้ยวเล็กน้อย มือขวาวางควํ่าสัมผัสข้อมือซ้ายที่วงาราบอยู่บนที่วางแขนของเก้าอี้ เบื้องหลังเป็นภาพของ ทิวทัศน์สงบเงียบ บรรยากาศเร้นลับ ชวนฝัน ภาพส่วนขยายนัยน์ตาและรอยยิ้ม ของโมนาลิซา ที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่ต้องการค้นหาบางสิ่ง ซ่อนเลศนัย และปริศนาให้ผู้ดู บังเกิดความรู้สึกและตั้งคําถามว่า โมนาลิซากําลังคิดอะไรอยู่ 3. ขั้นวิเคราะห์ เป็นงานจิตรกรรมที่มีคุณค่าในการแสดงออกทั้งในด้านความงาม ด้านสาระ และด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านความงาม เป็นภาพที่สร้างสรรค์โดยยึดทฤษฎีการเลียนแบบตามธรรมชาติ คือ การเลียนแบบความ งามตั้งแต่ รูปร่าง รูปทรง สีสัน และนํ้าหนักแสงเงา เป็นภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของเลโอนาร์โด ดา วินชี ในการเขียนภาพผู้หญิง คือ นิยมเขียนคิ้วบางเลือนราง และมี รอยยิ้มมุมปากที่คล้าย ๆ กันกับภาพอื่น ๆ ของเขา เป็นภาพที่มีเอกลักษณ์ในการจัดภาพตามแบบอย่างของศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) คือ มีบุคคลเป็น ประธานของภาพและมีฉากหลังเป็นทิวทัศน์แสดงบรรยากาศตามจินตนาการ เพราะศิลปินในสมัยนั้นมีความเชื่อว่ามนุษย์ เป็นศูนญ์กลางของจักรวาล เป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ ยึดมั่นในเหตุผล คุณค่าของความเป็นมนุษย์อยู่ที่ความคิด ความรู้ และ ความสามารถ ด้านสาระ เป็นภาพที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายของคนชั้นสูงในสมัยนั้น ทั้งด้านเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และ ความนิยมในการไว้ผมยาวหวีแสกกลางตามสมัยนิยม ในแฟชั่นแบบฟลอเรนไทน์ในอิตาลี นอกจากที่ปรากฏให้เห็นใน ภาพโมนาลิซา ยังเห็นได้ในภาพอื่นๆ ของเขาอีก
  • 11. นอกจากนี้ ภาพโมนาลิซายังเป็นภาพที่เลโอนาร์โด ดา วินชี ถ่ายทอดบุคลิกของตนเองแฝงไว้ในใบหน้าของโมนาลิ ซา ซึ่งจะมีลักษณะเค้าโครงรูปหน้าที่คล้ายกัน ด้านอารมณ์ความรู้สึก เป็นภาพที่แสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกภายในของโมนาลิซาที่แฝงอยู่ในท่าทาง และสะท้อนให้เห็นได้จากนัยน์ตาและรอยยิ้มปริศนา รวมทั้งความรู้สึกที่รับรู้ได้จากบรรยากาศในม่านหมอกของฉากหลัง การวิเคราะห์ทัศนธาตุ เส้น แสดงการใช้เส้นโค้งและเส้นลักษณะอื่นๆ ได้สัมพันธ์กลมกลืนกัน ทั้งในส่วนของใบหน้า เส้น ผม ผ้าคลุม รอยยับของผ้า นิ้วมือ แนวเส้นของทางเดิน และสายนํ้าลําธารของฉากหลัง รูปร่าง รูปทรง แสดงรูปร่าง รูปทรง ลักษณะธรรมชาติของคน และทิวทัศน์ได้อย่างสวยงาม สี แสดงภาพสีส่วนรวมเป็นโทนสีนํ้าตาลอมเขียวและดํา เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความ หมาย สีนํ้าตาลหมายถึงธรรมชาติหรือโลก สีนํ้าตาลออกดําหมายถึงความสุขุม ความลึกลับซ่อน เร้น และสีเขียวหมายถึงชีวิต ขนาด สัดส่วน แสดงขนาดของคนได้เหมาะสมกับขนาดภาพ และแสดงสัดส่วนทางกายวิภาคได้ถูกต้อง งดงามตามธรรมชาติ แสงเงา แสดงการใช้แสงเงาที่กลมกลืนเหมือนธรรมชาติ แสงเงาส่วนรวมของภาพมีนํ้าหนักเข้มมืด บริเวณใบหน้าและมือให้แสงสว่างมาก และมีนํ้าหนักเงาอ่อน บริเวณว่าง แสดงบริเวณว่างรอบตัวโมนาลิซาเป็นทิวทัศน์อยู่ฉากหลัง นอกจากจะทําพให้ภาพดูโปร่งตาไม่ ทึบตันเกินไป ยังทําให้ภาพมีระยะใกล้ไกล มีมิติตื้นลึก และเหมือนจริง ลักษณะผิว แสดงการใช้ลักษณะผิวในส่วนของใบหน้าและมือด้วยการเกลี่ยสีให้นุ่มนาลสอดคล้อง สมวัย และเหมือนจริง โดยเฉพาะมือขวาให้ความรู้สึกเหมือนมีเลือดเนื้อจริงๆ การวิเคราะห์หลักองค์ประกอบศิลป์ เอกภาพ การจัดภาพโดยรวมมีความเป็นเอกภาพด้วยเส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงาที่สัมพันธ์กลมกลืน กันทั้งรูปคนและธรรมชาติ ทําให้ทั้งภาพดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดุลยภาพ แสดงภาพโมนาลิซาตรงแกนกลาง วางท่าอยู่ในแนวรูปสามเหลี่ยม จัดวางทิวทัศน์ไว้ในบริเวณ ว่าง มัลักษณะของดุลยภาพแบบซ้ายขวาเท่ากัน ซึ่งให้ความรู้สึกสงบทางกายภาพ จุดเด่น แสดงจัดเด่นอยู่บนใบหน้า มีดวงตาที่ให้ความรู้สึกเหมือนมองผู้ดูผลงานอยู่ตลอดเวลาและรอย ยิ้มที่เป็นปริศนา ความกลมกลืน แสดงการจัดภาพของส่วนประกอบต่างๆ ทางทัศนธาตุ ทั้งรูปแบบของเส้น รูปร่าง รูปทรง สี ขนาด สัดส่วน แสงเงา บริเวณว่าง และพื้นผิวได้อย่างสัมพันธ์กลมกลืนกันทั้งเทคนิค วิธีการสร้าง สรรค์ซึ่งสอดประสานกับอารมณ์ ความรู้สึกของภาพได้อย่างงดงาม ความขัดแย้ง แสดงความขัดแย้งในด้านนํ้าหนัก สี แสงเงา ส่วนรวมของภาพมีความเข้มคลํ้า ต่างกับส่วนใบ หน้าที่ใช้นํ้าหนักสี สงเงาอ่อนกว่า แต่มีผลดีคือช่วยส่งเสริมบริเวณส่วนใบหน้าให้มีความเจิด จ้า เด่นชัด และงดงามยิ่งขึ้น
  • 12. 4. ขั้นตีความ เป็นงานจิตรกรรมภาพเหมือน (Portrait) ที่มีชื่อเสียงมาก เป็นภาพของหญิงสาวในท่านั่ง แต่งกายตามสมัยนิยมใน แฟชั่นแบบฟลอเรนไทน์ในอิตาลี เบื้องหลังเป็นภาพทิวทัศน์ภูเขาที่ดูนุ่มเบา แสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกบนใบหน้า โดยเฉพาะแววตาและรอยยิ้มที่เป็นปริศนา ไม่สามารถจะบอกได้ว่าเธอกําลังยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ หรือเธอต้องการบอกอะไร บางอย่างกันแน่ ผู้ที่ได้ชมภาพนี้จะเกิดจินตนาการในการสร้างความรู้สึกหรืออารมณ์เข้าไปในภาพด้วย 5. ขั้นประเมินผล หลักทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ศิลปินนําหลักทัศนธาตุและการจัดองค์ประกอบศิลป์มาใช้ให้เกิดความสัมพันธ์กันทั้งในส่วนประธานและส่วนรอง ของภาพ ทําให้ผลงานมีเอกภาพ ดุลยภาพ จุดเด่น ความกลมกลืนและความขัดแย้งได้งดงามตามกรรมวิธีการจัด องค์ประกอบศิลป์แบบศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ทักษะฝีมือและการถ่ายทอดความงาม จิตรกรมีทักษะและความสามารถในการเขียนภ่าพเหมือนจริง และพัฒนากรรมวิธีการแก้ปัญหาระยะตื้นลึกของ ภาพโดยใช้เทคนิคภาพสีหม่น (Sfumato) ทําให้ฉากหลังดูนุ่มเบา และใช้โทนสีหนักกับตัวนางแบบ นอกจากนี้จิตรกรยัง นําหลัก ทัศนมิติเชิงอากาศ (Aerial Perspective) มาใช้ในการแก้ปัญหาระยะตื้นลึก คือการทําให้ภาพดูเหมือนกับมองผ่าน ปริมาณอากาศ สีของสิ่งที่อยู่ในระยะไกลดูจางลงเป็นลําดับ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในอากาศ สีและเส้นรอบนอก ของสิ่งที่อยู่ระยะไกลในภาพทิวทัศน์จะมีความชัดเจนน้อยกว่าสิ่งที่อยู่ในระยะใกล้ทําให้ภาพดูมีระยะตื้นลึก ซึ่งปรากฏใน ส่วนฉากหลังของโมนาลิซา จัดเป็นภาพที่แสดงระยะตื้นลึกและบรรยากาศยามหมอกลงจัดได้อย่างน่าชม
  • 13. สื่อการสอน เรื่อง...ศิลปะตะวันออก วิชา ศิลปะ (ทัศนศิลป์ ) ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ปีการศึกษา 1/2559 โดย...นางสาวรัตติยา คําประชา
  • 14. ศิลปะตะวันออก ได้แก่ ลักษณะของศิลปะที่แสดงคุณลักษณะเฉพาะอย่างของรูปแบบ ศิลปะจะแสดงออกทางอิทธิพลทาง ภูมิอากาศขนบประเพณี รูปแบบของศิลปะตะวันออกจะเด่นชัดทางอิทธิพลทางศาสนา เช่น งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนประยุกต์ศิลป์ งานประณีตศิลป์และงานหัตถกรรม ซึ่งมีส่วนในการนําไปใช้ ประโยชน์ในชีวิตประจําวันของชาวตะวันออกตามพื้นเพเดิมของการดํารงชีวิต ศิลปะไทย ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนาน มาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทําให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตร อลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพ โดยเฉพาะคนไทยและศิลปะไทยยังตัดเส้นด้วยสีดําและสีนํ้าตาลเท่านั้น พญาครุฑ
  • 15. กินรี นกทันทิมา ลักษณะของศิลปะไทย ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความเป็นอยู่และการ ดํารงชีวิตของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็น ศาสนาประจําชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุธทศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจ ของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา ภาพไทย หรือ จิตกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตาม อุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ
  • 16. 1. เขียนสีแบน ไม่คํานึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล 2. เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ 3. เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพตํ่ากว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ
  • 17. 4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่ว ภาพ โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กําแพงเมือง และเส้นสินเทาหรือ คชกริด เป็นต้น 5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศ สุขสว่างและมีคุณค่ามากขึ้น ภาพลายไทย เป็นลายที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีธรรมชาติมาเป็นแรงดลบันดาลใจ โดยดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นลวดลายใหม่ อย่างสวยงาม เช่น ตาอ้อย ก้ามปู เปลวไฟ รวงข้าว และดอกบัว ฯลฯ ลายไทยเดิมทีเดียวเรียกกันว่า "กระหนก" หมายถึง
  • 18. ลวดลาย เช่น กระหนกลาย กระหนกก้านขด ต่อมามีคําใช้ว่า "กนก" หมายถึง ทอง กนกปิดทอง กนกตู้ลายทอง แต่จะมีใช้ เมื่อใดยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ซึ่งคําเดิม "กระหนก" นี้เข้าใจเป็นคําแต่สมัยโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี โดยเรียก ติดต่อกันจนเป็นคําเฉพาะ หมายถึงลวดลายก้านขด ลายก้านปู ลายก้างปลา ลายกระหนกเปลว เป็นต้น การเขียนลายไทย ได้จัดแบ่งตามลักษณะที่จัดเป็นแม่บทใช้ในการเขียนภาพมี 4 ลาย ด้วยกัน คือลายกระหนก ลายนารี ลายกระบี่และลายค ชะ เป็นต้น ศิลปะอินเดีย ศิลปะอินเดียแท้ สมัยที่ 1 ศิลปะอินเดียโบราณบางครั้งเรียกว่าศิลปะแบบสาญจีหรือแบบราชวงศ์โมริยะ และแบบสมัยพระเจ้าอโศก มหาราชที่เรียกว่าตุงคะ ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 6 ศาสนสถานที่เหลือร่องรอยอยู่คือ สถูปรูปโอ ควํ่า ตั้งอยู่บนฐานมีฉัตรปักเป็นยอด แต่เดิมสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่คงเป็นไม้เนื่องจากภาพสลักนูน ตํ่าหรือถํ้าที่ขุดเข้าไป ในภูเขาเลียนแบบสถาปัตยกรรมแบบไม้เช่น ที่ถํ้าราชา เพทสา และการ์ลี สําหรับประติมากรรมที่เก่าแก่ที่สุดคงเป็นเสา ของพระเจ้าอโศกมหาราชราวปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ทํา เป็นรูปสิงห์ตามแบบศิลปะในเอเชียไมเนอร์ บัวหัวเสารูประฆัง ควํ่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะอิหร่าน ส่วน ประติมากรรมลอยตัวมีรูปร่างใหญ่และหนา เช่น รูปยักษ์ที่เมือง ประขัม ส่วน ใหญ่ของงานประติมากรรมสมัยนี้ เป็นภาพสลักบนรั้วและประตูล้อมรอบสถูป ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาไม่สลัก เป็นพระพุทธรูปหรือรูปมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ แต่ใช้สัญ ลักษณะแทน เช่น ปางเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็มี ภาพของม้าเปล่าไม่มีคนขี่แต่มีฉากกั้น ซึ่งแสดงว่าพระ โพธิสัตว์ซึ่งจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปได้ประทับอยู่หลังม้า ปาฎิหาริย์ทั้ง 4 ปาง คือ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐม เทศนาและปรินิพพาน ก็มีสัญลักษณะแทนคือ ดอกบัวแทนปางประสูติ ต้น โพธิ์แทนปางตรัสรู้ ธรรมจักรแทน ปางปฐมเทศนาและพระสถูปแทนปางปรินิพพาน มหาเจดีย์สาญจิสร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พุทธศตวรรษที่ 3) เป็นสถูปเจดีย์เก่าแก่ที่สุดของโลก สมัยที่ 2 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 10 มีอิทธิพลภายนอกที่มีต่อศิลปะอินเดียคือ ศิลปคันธาร ราฐ และศิลปะอินเดียเองคือ ศิลปะแบบมถุรา ทางเหนือและศิลปะแบบอมราวดีทางตะวันออกเฉียงใต้
  • 19. 1. ศิลปะคันธารราฐ เกิดขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความ เจริญรุ่งเรืองขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 7 มีรูปแบบ ศิลปะกรีกและโรมัน แต่เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ศิลปะคันธารราฐ เป็นศิลปะยุคแรกประดิษฐพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์แต่มีลักษณะคล้ายกรีกและโรมัน ดังนี้พระ พุทธเจ้า ในปางต่าง ๆ จึงประดิษฐเป็นรูปลักษณ์ของมนุษย์แต่อย่างไรก็ตามยังพบประติมากรรม อื่นที่ได้รับอิทธิพลศิลปะกรีกและ โรมันอยู่มาก เช่น ประติมากรรมรูปชาวโกลกําลังตาย และท่อ ระบายนํ้าที่สลักเป็นรูปสัตว์พระพุทธรูปบนยอดเสาโคริน เธียนเป็นต้น 2. ศิลปะมถุรา ศิลปะมถุรารุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-9 ประติมากรรมสลักด้วยศิลาทรายบางรูปได้รับอิทธิ พล จากศิลปกรีกและโรมัน แต่ก็มีรูปแบบพระพุทธรูปแบบอินเดียเป็นครั้งแรก 3. ศิลปะอมราวดี เกิดขึ้นทางภาคตะวันออก เฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6-7 ศิลปะสมัย นี้มีลักษณะอ่อนไหวแต่เน้นลักษณะตามอุดมคติ พระพุทธรูปสมัยนี้มักทําห่มจีวรคลุมทั้งองค์ แต่ลักษณะพระ พักตร์ยังคล้ายแบบกรีกและโรมัน สถานที่สําคัญทีพบศิลปะ แบบอมราวดี คือ เมือง อมราวดี
  • 20. สมัยที่ 3 ศิลปะคุปตะ และหลังคุปตะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 เจริญรุ่งเรืองขึ้นทางภาคเหนือของประเทศ อินเดีย พระพุทธรูปมีลักษณะแบบอินเดียแท้แต่กลับพบประติมากรรมสลักนูนสูงมากกว่าประติมากรรมลอย ตัว ศิลปะที่เด่นใน สมัยนี้คือ จิตรกรรมฝาผนังที่ถํ้าอชันตา ส่วนศิลปะหลังคุปตะอยู่ในช่วงประมาณพุทธ ศตวรรษที่ 11-13 สถาปัตยกรรม มีรูปร่างใหญ่ขึ้น สมัยนี้มีเทวสถานที่สําคัญ คือ เอลลูรา และเอเลฟันตะ สมัยนี้ เริ่มมีศาสนสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐ สมัยที่ 4 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมาเป็นช่วงสมัยของศิลปะทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือศิลปทมิฬ (Dravidian) แยกออกจากส่วนที่เหลือของอินเดีย ศิลปะทมิฬหรือดราวิเดียน ศิลปะแบบทมิฬแบบที่เก่าสุดมีประติมากรรมจากศิลา รูปสําริดและรูปสลักจาก ไม้ประติมากรรมสําริดที่รู้จัก กันดีคือ รูปพระศิวนาฏราชฟ้อนรําอยู่ในวงเปลวไฟ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่หลัง คาสร้างเป็นหินซ้อนกันเป็นชั้นเช่น สถาปัตยกรรมที่เป็นเทวสถานใหญ่ชื่อลิงคราชที่เมืองภูวเนศวร ศิลปะปาละ เสนะ ศิลปะทางพุทธศาสนาของอินเดีย ภาคเหนือภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์ปาละ-เสนะ ใน แคว้นเบงคอลและพิหารระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-18 พุทธ ศาสนาในสมัยปาละ คือ พุทศาสนาลัทธิตันตระซึ่ง กลายมาจากลัทธิมหายาน โดยผสมความเชื่อในลัทธิฮินดูเข้าไปปะปน สถาปัตยกรรมที่สําคัญคือ มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นศูนย์กลางการสอนพุทธศาสนาลัทธิตันตระในแคว้นเบงคอล ส่วน ประติมากรรมมี ทั้งภาพสลักจากศิลาและหล่อจากสําริดทั้งทางพุทธศาสนาและตามคติแบบฮินดู ประติมากรรมสลักจาก ศิลาในสมัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ 1. ยุคแรกพุทธศตวรรรษที่ 14-15 มีพระโพธิสัตว์และ พระพุทธรูปทรงเครื่อง
  • 21. 2. ยุคสองพุทธศตวรรษที่ 16-17 พระพุทธรูปทรงเครื่องมากขึ้น สร้างตามคตินิยมลัทธิ ตันตระ 3. ยุคที่สามยุคราชวงศ์เสนะ พุทธศตวรรษที่ 18 นับถือศาสนาฮินดูจึงเป็นยุคของประติมากรรมแบบฮินดู ศิลปะแบบปา ละ เสนะ ได้แพร่หลายไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ประเทศเนปาล ธิเบต ศรีลังกา ชวาทางภาคกลาง เกาะ สุมาตราในอินโดนีเซีย พม่า และประเทศไทย
  • 22. ศิลปะขอม ศิลปะขอม ได้แก่ ศิลปะในประเทศกัมพูชาและดินแดนใกล้เคียง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ ศิลปะขอม นับเป็นศิลปะอินเดีย ในระยะแรกมีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียมาก แต่ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นรูปแบบของ ตัวเอง สถาปัตยกรรมขอมได้เจริญขึ้น โดยมีระเบียบและความงามชนิดที่ไม่เคยปรากฎในศิลปะอินเดียมา ก่อน ลวดลายเครื่องประดับของขอมก็ได้แสดงถึงการตกแต่งอย่างมากมาย และไม่นิยมเน้นพื้นที่ให้ว่างเปล่า แต่ใน ขณะเดียวกันองค์ประกอบของภาพโดยรวมก็ยังคงรักษาความได้สัดส่วนไว้เสมอ ประติมากรรมขอมได้แสดงให้เห็น ถึงความแข็งกระด้างปนอํานาจชนิดหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักกันในประเทศอินเดีย และยังมีการสร้างภาพประติมากรรมให้มี อารมณ์ยิ้มอยู่ด้วย ดังเช่นภาพประติมากรรมที่เมืองพระนคร (Angkor Thom) ในศิลปะแบบบายน อาจกล่าว ได้ว่า ประติมากรรมขอมแสดงออกถึงความรู้สึกเร้นลับ ลึกซึ้งอย่างแท้จริง วิวัฒนาการของศิลปะขอมโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมมีการสืบเนื่องติดต่อกันอย่างเห็นได้ชัดหลายสมัย ดังนี้ ๑. สมัยพนมดา (Phnom Da) ๘. สมัยเกาะแกร์ (Koh Ker) ๒. สมัยสมโบร์ไพรกุก (Sambor Prie kuk) ๙. สมัยแปรรูป (Pre Rup) ๓. สมัยไพรกเมง (Prei Kmeng) ๑๐. สมัยบันทายสรี (Banteay Srei) ๔. สมัยกําพงพระ (Kampong Prah) ๑๑. สมัยคลัง (Khleang) ๕. สมัยกุเลน (Kulen) ๑๒. สมัยบาปวน (Baphuon) ๖. สมัยพระโค (Preah Ko) ๑๓. สมัยนครวัด (Angkor Wat) ๗. สมัยบาแค็ง (Bakheng) ๑๔. สมัยบายน (Bayon)
  • 23. เพื่อให้เข้าใจศิลปะขอมได้ชัดเจนมากขึ้น จึงขอจําแนกรูปลักษณะภาพรวมของศิลปะขอมแต่ละประเภท โดยสังเขปดังนี้ ๑. สถาปัตยกรรม ลักษณะสําคัญของศิลปะขอม คือ ความมีระเบียบและการแสดงอํานาจอย่างแข็ง กระด้าง ลักษณะเช่นนี้เห้นได้ชัดจากการวางผังเมืองอย่างได้สัดส่วน อาทิ เมืองพระนครหรือราชธานีก่อนเมืองพระ นคร คือเมืองหริหราลัย (Hariharalaya) สถาปัตยกรรมขอมในชั้นต้น คือ ศาสนสถานที่เรียกว่า “ปราสาท ขอม” ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับศาสนสถานทางภาคเหนือของประเทศอินเดียมาก โดยทั่วไปจะสร้างด้วยอิฐตั้งอยู่โดด ๆ แยกออกจากกัน แต่ต่อมาไม่นานการสร้างปราสาทเหล่านี้ก้ได้รวมกันเข้าเป็นหมู่และตั้งอยู่บนฐานอัน เดียวกัน เช่น ปราสาทพระโค ปราสาทบันทายสรี เป็นต้น ต่อมาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา คือ ตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ก็เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาขึ้นในกัมพูชาและทําให้เกิดสถาปัตยกรรมแบบใหม่ ขึ้นในศาสนสถานขอมขึ้นคือ ฐานทําเป็นชั้นแล้วสร้างปราสาทไว้ข้างบนนั้น ฐานแต่ละชั้นก็คือการจําลองเขาพระ สุเมรุ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางของมนุษย์โลก ดังตัวอย่างปราสาทบากอง (Bakong) ปราสาทพนม บาแค็ง (Phnom Bakheng) เป็นต้น ระยะต่อมาโครงสร้างสถาปัตยกรรมของขอมได้มีการพัฒนา ส่วนประกอบของปาราสาทเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มระเบียงเข้ามาประกอบกับสองส่วนแรกที่เป็นปราสาทและฐานเป็น ชั้น เช่น ปราสาทตาแก้ว (Takeo) ในสมัยคลังและปราสาทนครวัด ซึ่งปราสาทนครวัดนับเป็นศาสนสถานกลุ่ม ที่สมบูรณ์และงดงามที่สุดในศิลปะขอม สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ระหว่าง พ. ศ. ๑๖๕๐ - พ. ศ. ๑๗๐๐ เป็นการพัฒนามาจากปราสาทตาแก้ว ๒. ประติมากรรม ภาพสลับนูนตํ่าของขอมในชั้นต้นสลับคล้ายของจริงตามธรรมชาติเหมือนกับภาพ สลักในประเทศอินเดีย เช่น บรรดาทับหลังของปราสาทหลังกลางในศาสนสถานหมู่ใต้ที่สมโบร์ แต่ต่อมาก็มีลักษณะ เปลี่ยนแปลงไป ดังเห็นได้จากปราสาทบากองในสมัยพระโค และที่ปราสาทกระวันในบริเวณเมืองพระนคร ภาพสลัก แห่งนี้สลักเป็นรูปพระนารายณ์ และพระลักษณ์ มียืนอยู่เหนือผนังภายในศาสนสถาน แสดงความแข็งกระด้างช่น เดียวกับประติมากรรมลอยตัวในขณะนั้น นอกจากนี้ยังพบภาพสลักบนหน้าบันของปราสาททายสรี ซึ่งเป็นภาพที่น่า ประทับใจ เพราะสลักอย่างได้ระเบียบและเต็มไปด้วยความงดงามอ่อนช้อย เช่น ภาพสลักนางอัปสรติโลตตมาที่อยุ่ม่า มกลางอสูรสองตน ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศษ และประมาณ พ.ศ.๑๖๕๐- ๑๗๐๐ ได้มีภาพสลักขนาดใหญ่ซึ่งแปลกประหลาดอย่างยิ่งที่ระเบียงปราสาทนครวัด เป็นสภาพสลักนูนตํ่าขนาด ใหญ่ ๘ ภาพสลักอยู่บนระเบียงชั้นที่ ๑ ภาพเหล่านี้แสดงบุคคลจํานวนมาก ไม่ปล่อยพื้นที่ให้ว่างเปล่าและชอบ แสดงจิตใจอย่างรุนแรง เช่น ภาพการสู้รบ ภาพนรก ภาพสวรรค์ ภาพเหล่านี้แม้ว่าจะแสดงจังหวะที่ค่อนข้างกะด้าง แต่ก็ต่อเนื่องกันไป และแสดงให้เห็นถึงความนิยมในเส้นขนานขนาดใหญ่ตลอดจนการประกอบภาพอย่างมโหฬาร ด้วย ต่อมาในสัมยบายนก็มีลักษณะใหม่เกิดขึ้นในภาพสลักนูนตํ่าของขอม คือ การนิยมแสดงภาพตามความ จริง ภาพชีวิตประจําวันตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ภายหลังต้นพุทธศตวรรษ ที่ ๑๒ คือ ตั้งแต่สมัยพนมดา ก็เริ่มประติมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่ ซึ่งมีลําตัวตรงง ขาแยกจากกัน และ ล้อมรอบด้วยวงโค้งสําหรับยึด ประติมากรรมเหล่านี้โดยมากสลักเป็นรูปพระหริหระคือ พระนารายณ์และพระอิศวรผสม กันเป็นองค์เดียว มีสัญลักษณ์ของเทพเจ้าทั้งสอง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาเอกภาพไว้ได้อย่างน่าสนใจ รูปพระ หริหระที่งดงามมากองค์หนึ่งอยู่ที่พิพธภัณฑ์กีเมต์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คือ รูปพระหริหระแห่งมหา ฤาษี (Maha Rosei) นอกจากนี้ ลวดลายเครื่องประดับในองค์ประกอบของ “ทับหลัง” (ศิลาสลักแผ่นสี่เหลี่ยมอยู่เหนือกรอบประตู) ก็ยังมีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ รวมทั้งเสาประดับกรอบ ประตู และเครื่องประดับรูปสัตว์ คือ นาค ซึ่งเป็นการคิดค้นของขอมที่น่าชมมาก ส่วนทับหลังที่มีรูปร่างสูงก็จะมี
  • 24. ลวดลายเครื่องประดับมากขึ้น ทับหลังแบบนี้อาจตัดได้ว่าเป็นทับหลังที่มีความงดงามที่สุดในศิลปะขอแม้ว่าจะมีลวดลาย เครื่องประดับอย่างมากมายและไม่นิยมพื้นที่ว่างเปล่า แต่ก็ยังคงรักษาความได้สัดส่วนไว้อย่างเคร่งครัด อาทิ ทับหลังที่ เมืองหริหารลัยสมัยพระโค เป็นต้น ศิลปะจีน นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าจีนมีประวัติแห่งการพัฒนาประเทศเป็น 4 ยุค คือ ยุคแรกเป็นยุคหิน ต่อมาคือยุคหยก ยุคทองแดง และยุคสุดท้ายคือยุคเหล็ก สําหรับสมัยประวัติศาสตร์ของจีนมียุคสมัยของศิลปะที่สําคัญดังนี้ 1. สมัยราชวงศ์ชาง ( Shang Dynasty ) ศิลปวัตถุที่เด่นที่สุดคือ เครื่อง สําริด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะสําริดซึ่งมีทรวดทรงสวยงาม ใหญ่โต แข็งแรง หล่อด้วยฝีมือที่ยอดเยี่ยม อันแสดง ให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคนิคในการหล่อสําริดที่เจริญกว่าเทคนิคการหล่อสําริดในเมโสโปเตเมีย ทั้งๆทีรู้จักวิธี หล่อสําริดก่อนจีนเกือบพันปี เครื่องสําริดของจีนทําขึ้นโดยการหลอมโลหะที่มีส่วนผสมของทองแดง ดีบุก และ ตะกั่ว ใช้ทําเป็นภาชนะใส่อาหาร เหล้า และนํ้า ใช้ทําเครื่องมือเครื่องใช้ใน ชีวิตประจําวัน เช่น เสียม ขวาน มีด เป็นต้น ลวดลายที่ปรากฏบนสําริดเหล่านี้จะมีความวิจิตรสวยงามมาก มีทั้ง ลายนูน และลายฝังลึกในเนื้อสําริด เช่น ลายเรขาคณิต ลายสายฟ้า ลายก้อนเมฆ และลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ของ สัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายหน้ากากรูปสัตว์ที่เรียกว่า “ เถาเทียะ ” เห็นจมูก เขา และตาถลนอย่างชัดเจน ซึ่ง เป็นสัญลักษณ์ที่พบเห็นในศิลปะจีนในสมัยต่อๆ มาอยู่เสมอ นอกจากสําริดแล้ว เครื่องหยกประเภทต่างๆ ก็แสดงเห็นฝีมือทางศิลปะอันสูงส่งของสมัยราชวงศ์ ชาง หยกเป็นวัตถุที่นิยมนํามาแกะสลักเป็นรูปต่างๆ มากที่สุด โดยช่างในสมัยราชวงศ์ชางมีเทคนิคในการเจียระไน และแกะสลักหยกให้เป็นรูปและลวดลายต่างๆ กัน เช่น เป็นใบมีด เป็นแท่ง เป็นแผ่นแบนๆ หัวลูกศร จี้ หรือรูป สัตว์ต่างๆ สัญลักษณ์ที่นิยมกันมากคือ สัญลักษณ์ของสวรรค์ โลกและทิศสี่ทิศ นอกจากเครื่องหยกแล้วยังพบผลงาน แกะสลักอื่นๆอีก เช่น งาช้าง เครื่องปั้นดินเผา หินอ่อน โดยแกะสลักเป็นรูปหัววัว เสือ ควาย นก และ เต่า เป็นต้น 2. สมัยราชวงศ์โจว ( Chou Dynasty ) ความก้าวหน้าทางศิลปะของราชวงศ์ชาง ได้ สืบทอดต่อมาในสมัยราชวงศ์โจว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคการหล่อสําริด ความเป็นตัวของตัวเองของราชวงศ์โจวก็เริ่ม ปรากฏชัดขึ้น เช่น มีการเน้นลวดลายประดับประดามากขึ้นและไม่เด่นนูนเหมือนสมัยราชวงศ์ชาง มีความซับซ้อน มากขึ้น เช่น ลวดลายสัตว์เป็นรูปมังกรหลายตัวซ้อนกันและเกี้ยวกระหวัดไปมา ลวดลายละเอียดอ่อนช้อยมาก ใน
  • 25. ด้านการแกะสลักเครื่องหยกฝีมือช่างสมัยราชวงศ์โจวจะยอดเยี่ยมกว่าสมัยราชวงศ์ชางมาก สามารถแกะสลักได้ สลับซับซ้อน ในสมัยราชวงศ์โจวยังพบว่ามีการพัฒนาในเรื่องเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นต้นแบบของเครื่อง เคลือบจีน เพราะรู้จักกรรมวิธีในการเคลือบนํ้ายาเบื้องต้นและรู้จักเผาไฟด้วยอุณหภูมิสูง 3. สมัยราชวงศ์จิ๋น ( Chin Dynasty ) ในสมัยนี้มีสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดใน ด้านความมโหฬาร คือ กําแพงเมืองจีน ( The Great Wall ) ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่ง มหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลกที่มนุษย์สร้างขึ้น กําแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 6,700 – 10,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ก็ยังพบประติมากรรมดินเผาเป็นรูปทหารเท่าคนจริงฝังอยู่ในสุสานพระจักรพรรดิองศ์หนึ่ง แห่งราชวงศ์จิ๋น คือ จักรพรรดิฉิน สื่อ หวง ตี่ ซึ่งพระองศ์ได้สร้างไว้ล่วงหน้าก่อนสวรรคต 30 ปี การขุดค้น ได้กระทําไปแล้วบางส่วนในพื้นที่ประมาณ 12,600 ตารางเมตร และพบประติมากรรมดินเผารูปทหารและม้าศึก จํานวนมากประมาณ 6,000 รูป รูปทรงของประติมากรรมมีขนาดใกล้เคียงกับคนจริงมาก คือมีความสูง ประมาณ 6 ฟุต ปั้นด้วยดินเหนียวสีเทา จากนั้นก็นําไปเผาไฟเช่นเดียวกับการกรรมวิธีการสร้างเครื่องปั้นดินเผา ทั่วไป 4. สมัยราชวงศ์ฮั่น ( Han Dynasty ) ความเป็นปึกแผ่นของประเทศได้ส่งผลสะท้อน มายังศิลปกรรมให้เจริญก้าวหน้าไปด้วยรากฐานที่วางไว้ดีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชางเรื่อยมา ต่างได้รับการพัฒนาเต็มที่สมัย ราชวงศ์ฮั่น และประติมากรรมเต็มรูปหรือแบบลอยตัวก็เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยนี้ มีการพัฒนาทางด้านการ ออกแบบ กรรมวิธีการสร้างและมโนภาพในงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรมเขียนตัวอักษร ประติมากรรมหรืองาน ศิลปหัตถกรรมทั่วไป ในส่วนของประติมากรรมมีการนําหินมาสลักให้เป็นทั้งรูปลอยตัวและรูปแบน มีเรื่องราวเกี่ยวกับ เทพนิยายตามความเชื่อในลัทธิเต๋า ประติมากรรมรูปแบน มักเป็นแผ่นใช้การขีด วาด จารึกเป็นลายเส้นหรือไมก็ฉลุ เป็นรูปต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการคิดประดิษฐ์กระดาษใช้แทนผ้าไหมและแผ่นหิน ศิลปะประยุคในสมัยนี้จะบรรลุถึงความ งามชั้นสูงสุด โดยเฉพาะช่างทองรูปพรรณขึ้นชื่อในด้านความประณีต งดงาม ซึ่งมีการประดิษฐ์และออกแบบ ลวดลายพัฒนาขึ้นกว่าเดิมมาก 5. สมัยราชวงศ์จิ้น ( Jin of Tsin Dynasty ) พระพุทธศาสนาได้นําความเชื่อใหม่ มาสู่จีน และได้เข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงศิลปกรรมที่ทํามาเป็นประเพณีแต่เดิม ที่เคยมีความนับถือลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า เป็นหลักสําคัญ ให้พัฒนาไปสู่รูปแบบพุทธศิลป์แบบใหม่ๆ เช่น การสร้างรูปเคารพ ศาสนสถาน เป็นต้น โดยเฉ พะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติจากอินเดียได้เข้ามามีส่วนสร้างงานด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะแรกพุทธศิลป์คงมี รูปลักษณะแบบอินเดีย แต่ต่อมารูปแบบกรรมวิธีและเนื้อหาได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม และสอดคล้องกับ การแสดงออกของศิลปะจีนเอง เช่น ที่ถํ้าตุนหวง ได้มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้ ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ เก่าแก่ที่สุดของจีน มีลักษณะเป็นภาพทิวทัศน์ประกอบพุทธประวัติ และเป็นตัวอย่างอันดีของการผสมผสานเทคนิค จิตรกรรมแบบเปอร์เซีย อินเดีย และจีนเข้ามาเป็นหนึ่งเดียว 6. สมัยราชวงศ์ถัง ( Tang Dynasty) สมัยนี้เป็นยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีนทุก ประเภท โดยเฉพาะเครื่องเคลือบ ฝีมือของช่างในการผลิตเครื่องเคลือบมีคุณภาพสูงกว่าเครื่องเคลือบที่ผลิตจากแหล่ง อื่นๆทั่วโลก เครื่องเคลือบที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ “ เครื่องเคลือบสามสี ” ( Thee - colour wares ) มีลักษณะแข็งแรงและสง่างามจึงกลายเป็นลักษณะเฉพาะของเครื่องเคลือบในสมัยราชวงศ์ถัง ลักษณะเนื้อ
  • 26. ดินละเอียด ขาวหม่น ในการเคลือบนํ้ายานั้น จะเว้นที่ส่วนล่างของฐานไว้เล็กน้อย เพื่อแสดงฝีมือการปั้นของ ช่าง ทั้งนี้ ลวดลายที่ปรากฏ บางส่วนแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเปอร์เซียด้วย