SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 36
Downloaden Sie, um offline zu lesen
ธรรมดา
ของตาเห็นธรรม

พระอาจารย์ปสันโน
ธรรมดา
ของตาเห็นธรรม

พิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการด้วยศรัทธาของญาติโยม
หากท่านไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหนังสือนี้แล้ว โปรดมอบให้กับผู้อื่นที่จะได้ใช้
จะเป็นบุญเป็นกุศลอย่างยิ่ง
Dhammaintrend ร่วมเผยแพร่และแบ่งปันเป็ นธรรมทาน
ธรรมดาของตาเห็นธรรม
แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับพระธรรมเทศนาภาษาอังกฤษ
แสดงโดย พระอาจารย์ปสันโน
ณ วัดอภัยคีรี รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ๒๕๕๕

พิมพ์​ จก​ป็น​ รรม​ าน
แ เ ธ ท
สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ตัดตอน หรือนำ�ไปพิมพ์จำ�หน่าย
​​
หากท่านใดประสงค์จะพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน โปรดติดต่อ
มูลนิธิปัญญาประทีป หรือ โรงเรียนทอสี
๑
​ ๐๒๓/๔๗ ซอยปรีดีพนมยงค์ ๔๑ สุขุมวิท ๗๑
เขตวัฒนา กทม. ๑๐๑๑๐
โทรศัพท์ ๐-๒๗๑๓-๓๖๗๔
www.thawsischool.com, www.panyaprateep.org
พ
​ ​ ท๑
​​ ิมพ์ครั้ง​ ี่​​ ​ ธันวาคม ๒๕๕๕	

จำ�นวน ๕,๐๐๐	 เล่ม

ขออนุโมทนาบุญ
ผู้แปลและเรียบเรียง ธมฺมาภินนฺโท ภิกฺขุ
ผูถายภาพปก พรรษา สุนาวี
้ ่
ศิลปกรรม ปริญญา ปฐวินทรานนท์
จ ทโ
​ ัด​ ำ�​ดย​มูลนิธิปัญญาประทีป
ด
​ ำ�เนินการพิมพ์ บริษัท คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำ�กัด
โทรศัพท์ ๐-๒๘๐๐-๒๒๙๒
ธรรมดา
ของตาเห็นธรรม
คำ�สอนของหลวงพ่อชา

เรื่องธรรมะกับธรรมชาติ
พรุงนี ้ อาตมาได้รบนิมนต์ไปอบรมกรรมฐาน
่
ั
หลักสูตร ๑ วัน ที่ศูนย์ฝึกสมาธิ Spirit Rock
่ ่
Meditation Center ในหัวข้อ “คำ�สอนทีเกียวกับ
ธรรมชาติ ข องหลวงพ่ อ ชา”  อาตมาได้ เ ตรี ย ม
ความพร้อมตลอดช่วงสองสามวันที่ผ่านมา ทำ�ให้
2

ได้ ข ลุ ก ตั ว เองอยู่ กั บ เรื่ อ งราวคำ � สอนของท่ า น 
คลุกคลีอยู่กับประวัติส่วนตัว พร้อมทั้งยังได้อ่าน 
และฟั ง เทศน์ ข องท่ า นอี ก หลายกั ณ ฑ์   อาตมา
รูสกซาบซึงกินใจในเนือหาเรืองราวเป็นอย่างมาก
้ ึ
้
้
่
สำ�หรับการเทศน์ประจำ�เย็นวันนี้  อาตมาก็ยัง
นึกไม่ออกว่าจะเทศน์เรื่องอะไร แต่ก็เข้าใจว่า
เรื่องที่จะเทศน์คงจะมีแรงบันดาลมาจากเรื่องที่
ได้ค้นคว้าทบทวนมา
อาตมามี เ รื่ อ งให้ ร ะลึ ก ถึ ง หลวงพ่ อ ชา
หลายเรื่อง อาตมาเห็นพ้องยอมรับท่านในทุกๆ
อย่าง อาตมาถือว่าเป็นลูกศิษย์ในยุคต้นๆ ของ
ท่าน อาตมาเองเป็นพระมาได้จนวันนี้ ก็เพราะ
ได้ รั บแรงบันดาลใจมาจากท่าน  ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องที่พูด ไม่ว่าจะเป็นทุกอย่างที่ได้เรียนรู้ และ
ไม่ว่าจะเป็นข้อประพฤติปฏิบัติที่ได้ฝึกฝนมาแล้ว
ก็ตาม  อาตมาจึงเป็นหนี้บุญคุณต่อหลวงพ่อชา
3

อย่างใหญ่หลวง ปฏิปทาและคำ�สอนของท่าน ยัง
เป็นแรงผลักดันให้กับอาตมาจนเท่าทุกวันนี้
คุ ณ สมบั ติ ใ นความเป็ น ครู บ าอาจารย์ ที่
โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อชาก็คือความ
สามารถของท่าน ในการใช้วิธีอธิบายและกระตุ้น
ให้กำ�ลังใจ  ให้คนทั่วไปเห็นว่าการปฏิบัติธรรม
เป็ น เรื่ อ งที่ ไ ม่ เ หลื อวิ สัย   วิ ธีท่ีว่า นี้เ กิ ด มาจาก
ความสามารถของหลวงพ่อ  ในการใช้การอุปมา
อุปไมย และการยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็น 
หนึ่งในเรื่องอุปมาอุปไมย  ที่หลวงพ่อได้เปรียบ
เทียบให้เห็นในเรื่องการปฏิบัติธรรม  คือ  เรื่อง
ของต้นมะพร้าว ต้นมะพร้าวดูดธาตุอาหารต่างๆ
จากพืนดิน โดยดูดทังธาตุอาหารทีดี และไม่ดี ทัง
้
้
่
้
ของสะอาด ทังของสกปรก ดูดซึมผ่านจากรากไป
้
จนถึงยอด หลังจากนันจึงผลิดอกออกผล เป็นลูก
้
มะพร้าวทีมน�หวาน และเนื้ออร่อย
่ ี ำ้
4

การปฏิบัติธรรมก็มีลักษณะเดียวกัน  คือ
ในฐานะที่ เ ป็ น ผู้ ป ฏิ บั ติ ธ รรม  เราซึ ม ซั บ เอา
ประสบการณ์ ต่ า งๆ  ที่ เ ราสั ม ผั ส   และการ
ติดต่อสื่อสารกับโลกในลักษณะต่างๆ  ที่เรารับ
รู้อยู่  แล้วเราก็ดึงเอาเรื่องเหล่านั้น  มาผ่านข้อ
ประพฤติปฏิบัติของเรา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ประสบการณ์ต่างๆ  เหล่านั้น  สามารถเปลี่ยน
ถ่ายไปเป็นสภาพที่มีความสงบ  ซึ่งจะส่งผลให้
เกิดอานิสงส์ใหญ่  ในแง่ของการรู้เห็นตามเป็น
จริง และการประจักษ์ชัด พร้อมทั้งเกิดเป็นความ
ผสานกันอย่างราบรื่นลงตัว  และความอยู่ผาสุก
จึงไม่เห็นต้องไปอาย หรือเป็นวิตกกังวลกับเรื่อง
อะไรต่อมิอะไรที่เราเผชิญอยู่  ไม่ว่าเราจะบรรลุ
ผลสำ�เร็จในการภาวนาหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าเราจะ
ได้รับเสียงสรรเสริญหรือคำ�นินทา  ได้ลาภหรือ
เสื่อมลาภก็ตาม
5

เราสามารถดึงเอาประสบการณ์ทุกอย่าง
มากลั่นกรองผ่านข้อประพฤติปฏิบัติของเรา ให้
แปรเปลียนสภาพไปในทางทีดได้ทงหมด อาตมา
่
่ ี ้ั
คิดว่าเรื่องนี้ เป็นการอุปมาอุปไมย ที่กระตุ้น
กำ�ลังใจได้อย่างดีเยี่ยมทีเดียว
อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ที่ ห ลวงพ่ อ ชาใช้ เ ป็ น อุ ป มา
อุปไมยของการปฏิบัติสมาธิภาวนา คือ เรื่องใบ
ของต้นไม้กับป่าไม้ ในความสงบเงียบท่ามกลาง
ั
ธรรมชาติ  ใบไม้ท้งป่าจะสงบนิ่งไม่ไหวติง  แต่หาก
้
เมือใดทีมลมพัดผ่านใบไม้กสนไหว ถูกพัดให้พลิว
่ ่ ี
็ ่ั
ไหวไปมา ฉันใดก็ฉันนั้น จิตใจของเรา อันได้แก่
เนือแท้ของจิตใจ หรือแก่นแท้แห่งจิตใจของเรานัน 
้
้
มีสภาวะที่สงบและมั่นคงอยู่เสมอ
หากแต่ว่าอารมณ์ทั้งหลายนั่นเอง  ที่เข้า
มาพั ด พาใจให้ ห วั่ น ไหว  คื อ พอลมพายุ ไ ด้ แ ก่
6

อารมณ์ทางใจ  ความยินดีพอใจ  ความคิดปรุง
แต่ง หรือความรู้สึกสุขทุกข์ พัดผ่านเข้ามา เรา
ก็ปล่อยให้ใจแปรสภาพไปตามอารมณ์อันหลาก
หลาย  และความยินดีพอใจต่างๆ  แทนที่เรา
จะตระหนักแค่ว่า  นั่นเป็นเพียงพายุคืออารมณ์
พายุแห่งความคิดปรุงแต่งและความรู้สึก  พายุ
คือเรื่องที่มาให้รับรู้ ธรรมชาติที่แท้จริงของจิตใจ
นั้น  คือ  ศักยภาพในการรู้  สภาวะดั้งเดิมของ
จิตใจ คือ ศักยภาพในการรู้สึกอยู่ในปัจจุบัน โดย
อาศัยศักยภาพที่แท้จริงของจิตนั้น  เราสามารถ
จะแยกแยะความต่างได้ว่า  พายุคืออารมณ์ก็
อย่างหนึ่ง จิตที่มีศักยภาพในการรู้และตื่นตัว
ก็อีกอย่างหนึ่ง  พร้อมทั้งเห็นได้ด้วยว่า  สภาวะ
ทั้งสองอย่างนั้นกำ�ลังปรากฏแยกกันอยู่
อารมณ์ทางใจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความ
ยินดีพอใจ  ความรู้สึกกระทบกระทั่งต่ออารมณ์
7

ที่เกิดขึ้น เรื่องปรุงแต่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง และ
ความคิดฟุ้งซ่านที่เราใส่เข้าไป  มีผลทำ�ให้มอง
จิตไม่เห็น ที่จริงแล้วก็คือ เรารู้ไม่เท่าทันสิ่งที่มา
กระทบสัมผัส หรือ แยกแยะความต่างระหว่าง
สองอย่างไม่ได้
ไม่ มี ใ ครที่ จ ะออกไปยื น ด้ า นนอก  แล้ ว
บังคับลมไม่ให้พัด  หรือไปรู้สึกหงุดหงิดรำ�คาญ
เพราะลมพั ด   มั น เป็ น แค่ ป รากฏการณ์ ต าม
ธรรมชาติ ข องมั น อยู่ อ ย่ า งนั้ น เอง  ในทำ � นอง
เดียวกัน  ที่เราจะทำ�ให้ใจของเราตั้งมั่น   สงบ
ระงับ โดยไม่ต้องไปกังวลวุ่นวาย กับอาการของ
จิตก็ได้ หรือ เราอาจจะถูกพัดหอบไปกับลมพายุ
อันแปรปรวน ที่พัดผ่านเข้ามาในจิตใจ ก็ให้มอง
ว่านั่นเป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
หลวงพ่ อ ชาท่ า นมี วิ ธี อั น ชาญฉลาดใน
การแนะนำ�ให้พวกเราสังเกตธรรมชาติและการ
8

ปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ ที่ชี้เข้าหา
ความจริ ง ของธรรมชาติ ล้ ว นๆ  ซึ่ ง เรามั ก จะ
ละเลยกันไปง่ายๆ  เรามีนิสัยที่มักถือกันว่า  สิ่ง
ต่างๆ  ควรจะมีแบบแผนอะไรเป็นพิเศษ  ควรจะ
เป็นไปตามแนวคิดอันเป็นอุดมคติ  และมีหลัก
การตามตำ�รับตำ�รารับรอง  แต่ส�หรับหลวงพ่อชา
ำ
ท่านสามารถมองเห็นนิสัย  และความเคยชินที่
ว่านั้นของมนุษย์ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง  อริยสัจ
ธรรมที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ทรงสอนเป็ น เรื่ อ งที่ เ กี่ ย ว
กับธรรมชาติ  ประสบการณ์รับรู้ทั้งหมดของเรา
เป็นกระบวนการในธรรมชาติ  แต่ทว่า  เรามอง
ข้ามความจริงนั้นไปเสีย แล้วก็ไปสร้างความทุกข์
สารพัดอย่าง และความหลงผิดขึ้นมาแทนที่
มีอยู่ครั้งหนึ่ง  ตอนนั้นอาตมานั่งอยู่กับ
หลวงพ่อชา  อาตมารับหน้าที่เป็นล่ามแปลให้
กั บ นั ก ข่ า วชาวสวี เ ดนคนหนึ่ ง   นั ก ข่ า วคนนั้ น
9

สัมภาษณ์ครูบาอาจารย์ที่สอนการปฏิบัติมาแล้ว
หลายคน  แล้วก็จะถามคำ�ถามเดียวกัน  เพื่อให้
ได้คำ�ตอบที่หลากหลาย  รวมไปถึงคำ�ถามที่ว่า
“ทำ�ไมจึงปฏิบัติ ปฏิบัติอย่างไร และปฏิบัติแล้ว
ได้อะไร”  สำ�หรับอาตมาถือว่า  การต้องเข้ามา
ทำ�หน้าที่เป็นล่าม เป็นเรื่องยุ่งยากลำ�บาก และ
สร้างภาระอุปสรรคให้ อาตมาจึงรู้สึกหงุดหงิดไม่
พอใจ โดยเฉพาะต่อพระจากกรุงเทพฯ ซึ่งนำ�นัก
ข่าวมาที่วัด ยิ่งไปกว่านั้น ตอนนั้น ที่อาตมาคิด
ก็คือว่า  นักข่าวช่างถามปัญหาที่ไม่เข้าท่าเอาซะ
เลย เหตุการณ์นี้กลับทำ�ให้เรื่องราวน่าสนใจต่าง
ไปจากธรรมดา  เนื่องจากไม่มีอะไรที่จะรอดหู
รอดตาของหลวงพ่อชาไปได้
พวกเรานั่ ง กั น อยู่ พ ร้ อ มหน้ า   แล้ ว ตอน
สนุกของเรื่องทั้งหมดก็ได้เริ่มเปิดฉากขึ้น  เมื่อ
นักข่าวเริ่มถามคำ�ถาม  อาตมาก็แปลคำ�ถามให้
10

ท่านฟัง แต่หลวงพ่อชากลับชวนคุยเรื่องอื่น แล้ว
ก็เป็นฝ่ายถามโน่นนั่นเสียเอง  ผ่านไปอีกสักพัก
หนึ่ง ท่านจึงหันมาถามอาตมาว่า “คำ�ถามว่ายัง
ไงนะ ว่าอีกทีซิ” อาตมาจำ�เป็นต้องแปลซ้ำ� แต่ละ
คำ�ถามอีกรอบ จากนั้นท่านก็คุยนอกเรื่องไปเสีย
อีก  ได้สักพักหนึ่งผ่านไป  ท่านจึงถามขึ้นมาว่า
“นักข่าวถามปัญหาไม่ใช่เหรอ เอาล่ะ คำ�ถามว่า
ยังไงบ้าง” อาตมาก็จำ�เป็นต้องแปลคำ�ถามซ้ำ�อีก
เช่นเคย แล้วก็ไม่ผิดคาด หลวงพ่อชาท่านก็วกไป
หาเรื่องอื่นอีก
กระทั่งจู่ๆ  ท่านก็ถามขึ้นมาว่า  “ใครมี
ดิ น สอกั บ กระดาษบ้ า งแถวนี้   ให้ ใ ครก็ ไ ด้ ช่ ว ย
เขียนคำ�ถามให้อาตมาหน่อย”  พอหาปากกากับ
กระดาษมาได้ อาตมาต้องแปลคำ�ถามอย่างช้าๆ
พอที่จะให้หลวงพ่อชาเขียนทัน  “เอานะทีนี้....
ทำ�ไมเราต้องปฏิบัติ ” หลวงพ่อเขียนลงไป “แล้ว
11

คำ�ถามที่สองล่ะ ว่าอีกครั้งซิ” “เรามีวิธีปฏิบัติกัน
อย่างไร” “อืมม ได้แล้ว” แล้วท่านก็เขียนคำ�ถาม
ที่ ส องลงไปเหมื อ นกั น  “แล้ ว คำ� ถามที่ ส ามล่ ะ
ถามว่ายังไง” หลวงพ่อค่อยๆ จดคำ�ถามลงไป
จากนั้น  ท่านก็มองไปที่นักข่าว  แล้วยิง
คำ�ถามไปอย่างฉะฉานว่า
“ทำ�ไมโยมต้องรับประทาน”
คำ�ถามของท่านเล่นเอานักข่าวคนนัน ถึงกับ
้
ตะลึงงันไปเลยทีเดียว แต่เขาก็ยังตอบท่านมาว่า
“เอ่อ.. ผมตอบไม่ถูกเหมือนกันครับ ท่าน”
“ไม่เอา... ทำ�ไมโยมจึงต้องรับประทาน”
หลวงพ่อชาถามย้ำ�อีกครั้งว่า
“อาตมาอยากได้คำ�ตอบว่า  ทำ�ไมโยมจึง
ต้องรับประทาน”
12

นักข่าวตอบท่านว่า “ที่ผมรับประทาน ก็
เพราะว่าผมรู้สึกหิวครับ”
หลวงพ่อชา จึงตอบสวนกลับไปว่า “ถูก
ต้อง ! นั่นแหละ... เป็นคำ�ตอบว่า ทำ�ไมพวกเรา
ต้องปฏิบัติธรรม พวกเราหิวต่อความสงบ หิวต่อ
ความจริง พวกเรารู้สึกเป็นทุกข์ ดังนั้น พวกเรา
จึงหิวความหลุดพ้นจากความทุกข์”
จากนั้ น   หลวงพ่ อ ได้ ส นทนาเรื่ อ งนั้ น
ต่อ  โดยขยายความต่อไปว่า  หากใครตระหนัก
ได้อย่างแท้จริงว่าตนกำ�ลังหิว เขาก็จะขวนขวาย
หาวิธีปฏิบัติที่ถูกจริตกับตัวเอง แล้วผลก็จะเป็น
เหมือนอย่างที่ว่ามา ก็คือ เมื่อเราหิว ก็หาอะไร
ที่จะรับประทานได้ และเรียนรู้วิธีปรุงอาหารเพื่อ
เอามาบำ�รุงเลี้ยงตัวเอง เราก็จะหายหิว อิ่มหนำ�
สำ�ราญ นั่นแหละเป็นจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติ
13

หลวงพ่ อ ชามี วิ ธี ป ระยุ กต์ คำ � สอนให้ เ ข้ า
กับอะไรต่างๆ  ได้อย่างฉับพลันทันที  โดยเป็น
เรื่องปกติธรรมดาตามธรรมชาติ  และเป็นการ
ปฏิบัติไปในตัวได้เลย  แทนที่จะอ้างเฉพาะหลัก
ทฤษฎี หรือยกเรื่องในคัมภีร์ขึ้นมากล่าว เหมือน
อย่างที่ท่านได้แกล้งเย้าแหย่อาตมา  ในตอนที่
ท่ า นใช้ วิ ธี นี้   หลวงพ่ อ มี ค วามชำ� นิ ชำ � นาญ  มี
ไหวพริบปราดเปรื่อง  ในการสอนลักษณะนั้น
มาก  รวมทั้งการสาธกหยิบยกเรื่องต่างๆ  ขึ้น
มาประกอบ หลวงพ่อชาใช้วิธีการได้หลากหลาย
เพื่อปลุกเร้าให้คนมีกำ �ลังใจปฏิบัติ  ท่านไม่ได้
จำ�กัดว่าต้องใช้เทคนิค หรือวิธีปฏิบัติในแบบของ
ท่าน  ท่านจะกระตุ้นให้คนตั้งใจปฏิบัติ  เพื่อให้
ได้รับผลของการปฏิบัติ  เวลาที่พูดถึงการเจริญ
ภาวนา  เทคนิคการทำ�สมาธิ  และแนวปฏิบัติ
หลวงพ่อจะเปิดใจกว้างมาก
14

ตอนทีพระอาจารย์สเมโธไปวัดหนองป่าพง
่
ุ
ครังแรก  ท่านเป็นชาวตะวันตกคนแรกทีหลวงพ่อ
้
่
ชาเคยเห็ น   หลวงพ่ อ ชาไม่ เ คยสอนใครที่ ไ หน
มาก่อน นอกจากประชาชนในท้องถิ่นเท่านั้น 
อาจารย์สุเมโธได้ฝึกปฏิบัติสมาธิที่สำ�นักปฏิบัติ
ธรรมแห่งหนึ่ง  ซึ่งเป็นที่ที่ท่านบวชเป็นสามเณร
อยู่ ๑ ปี ในตอนนั้น ท่านเพิ่งบวชเป็นพระ
ได้ ใ หม่ ๆ   สำ � นั ก แห่ ง นั้น เน้ น ให้ ป ฏิ บัติต ามวิ ธี
ของท่านมหาสีสยาดอ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติจาก
ประเทศพม่า โดยให้เดินจงกรม สลับกับนั่ง
สมาธิ พออาจารย์สเมโธปฏิบตแล้ว ท่านเห็นว่า
ุ
ั ิ
ใจมันเหียวแห้งไม่แช่มชืน จากนัน ท่านจึงทดลอง
่
่
้
ปฏิบัติตามแนวของพุทธศาสนานิกายเซน โดย
ฝึกจากหนังสือแปลเกี่ยวกับการฝึกสมาธิแบบ
เซนที่ท่านอาจารย์ซ่ือยุน (Hsu Yun) เผยแผ่วิธี
อยู่ที่ประเทศฮ่องกง สมัยนั้น ท่านอาจารย์ซื่อยุน
15

แม้จะมีอายุถึง ๑๑๕ ปี แล้ว ก็ยังนำ�สอนการฝึก
สมาธิอยู่  อาจารย์ซื่อยุนมีแนวปฏิบัติที่แตกต่าง
จากวิธีของหลวงพ่อชาอย่างสิ้นเชิง ท่านใช้วิธีที่
เรียกว่า แนวปฏิบัติแบบฮั่วโทว (Hua-tou) หรือ
การตั้งคำ�ถาม ถามตัวเองว่า “ฉัน เป็น ใคร”
หรือคำ�ถามในลักษณะคล้ายๆ กันนี้ ซึ่งเป็นวิธี
พยายามกลับมาอยู่กับสภาวะ “รู้”
อาจารย์สุเมโธ ถามหลวงพ่อชาว่าท่านจะ
ใช้วิธีนี้ได้ไหม  และท่านจะใช้วิธีในแบบเฉพาะนี้
ปฏิบัติต่อไปได้ไหม หลวงพ่อชาถามถึงวิธีที่ท่าน
ปฏิบัติอยู่  ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติ  และถาม
วิธีที่ท่านนำ�มาประยุกต์ปฏิบัติ  จากนั้น  หลวง
พ่อชาตอบท่านว่า  “ได้สิ  ถ้าใช้วิธีนี้แล้ว  ได้ผล
ดี  ก็ปฏิบัติได้”  หลวงพ่อชาเป็น ผู้ที่เปิดใจกว้าง
ต่อแนวปฏิบัติที่หลากหลาย  และสนับสนุนให้ผู้
ปฏิบัติทดลองทำ�ดู
16

ท่านเปรียบเทียบการปฏิบัติว่า เหมือนกับ
การพิจารณาอาหารที่เรารับประทาน อาหารบาง
อย่างรับประทานแล้วก็ท้องเสีย อาหารบางอย่าง
ทำ�ให้แข็งแรงมีกำ�ลัง  อาหารบางอย่างก็ทำ�ให้
เฉื่อยชาอืดอาด  อาหารบางอย่างรสชาติอร่อย
แต่ไม่มีประโยชน์อะไรต่อเรา  อาหารบางอย่าง
รสชาติไม่อร่อย  แต่ช่วยบำ�รุงหล่อเลี้ยงร่างกาย
เราต้องพิจารณาเรื่องการปฏิบัติ  ที่มีวิธีการไม่
เหมือนกัน  มีเทคนิคและแนวทางปฏิบัติที่หลาก
หลาย ในทำ�นองเดียวกันกับการที่เราพิจารณา
ผลที่เกิดขึ้นจากอาหารที่เรารับประทาน คือ เรา
ต้องพิจารณาว่า อาหารรสชาติเป็นอย่างไร เกิด
ผลเป็นแบบไหน พร้อมทั้งรู้จักว่ามีประโยชน์และ
มีโทษอย่างไร
หลวงพ่อท่านเล็งเห็นว่า  มีทางเลือกและ
ช่องทางปฏิบัติอยู่อย่างหลากหลาย  ที่เราต้อง
17

เรียนรู้เอาว่า  จะมีวิธีปรับใช้ในการปฏิบัติให้ถูก
ต้องเหมาะสมได้อย่างไร การปฏิบัติไม่ใช่อย่างที่
พูดกันว่า “ตำ�รารับรองว่า วิธีนี้ใครเอาปฏิบัติก็ได้
ผล” แนวทางปฏิบัติของหลวงพ่อชา ไม่ใช่การยึด
เกาะอยู่แต่กับเรื่องของเคล็ดวิธี  กับเรื่องสมาธิ
หรือการฝึกปฏิบัติ  แล้วเอาเท้าแตะคันเร่งเดิน
หน้าเต็มสูบ มุ่งหน้าไปให้ถึงปลายทางเท่านั้น
การปฏิบัติธรรมไม่ใช่การวิ่งแข่งความเร็ว
แต่เป็นเหมือนการวิ่งมาราธอนมากกว่า ผู้ปฏิบัติ
ต้องรู้จักปรับจังหวะการก้าวเท้า  เพื่อวิ่งไปให้ได้
จนสุดระยะทาง จึงต้องประเมินให้เป็นว่า จะทำ�
อย่างไรจึงรักษาข้อประพฤติปฏิบัติเอาไว้ได้  จะ
ปฏิบัติให้ต่อเนื่องได้อย่างไร  จะมีความเพียรใน
การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร  การมีความ
เพียรให้ต่อเนื่อง ไม่ใช่การ “บังคับ และ หักโหม”
ทำ�ความเพียร  แต่เป็นการประคองความเพียร
18

ซึ่งก็ได้แก่ การเอาใส่ใจอยู่อย่างสม่ำ�เสมอ การ
สอดส่องพิจารณา  และการรู้จักปรับประสานนี่
ต่างหากเล่าที่เป็นเครื่องขัดเกลาความเคยชินที่
เป็นอนุสัย และกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งอวิชชา
และความหลงผิดได้อย่างแท้จริง  ความหนักแน่น
มั่ น คงและความต่ อ เนื่ อ งจะทำ � ให้ ก ารปฏิ บั ติ
คลี่ ค ลายและเผยให้ เ ห็ น ชั ด ถึ ง สิ่ ง ที่ เ ราจำ � เป็ น
ต้องปล่อยวาง  และสิ่งที่เราต้องอบรมให้มีขึ้น
ตรงนั้นเองที่เป็นจุดใหญ่ใจความของการปฏิบัติ
สาระสำ � คั ญ ซึ่ ง อยู่ ที่ ก ารปฏิ บั ติ อ ย่ า ง
ประสานสอดคล้ อ งกั บ ธรรมชาติ นี่ เ อง  เป็ น
เหตุ ผ ลว่ า ทำ � ไมหลวงพ่ อ ชา  จึ ง เน้ น เรื่ อ งหลั ก
จริ ย ธรรมความประพฤติ เ ป็ น อย่ า งมาก  สิ่ ง ที่
หลวงพ่อชามักจะเน้นย้ำ�ที่สุด ได้แก่ เรื่องความ
ประพฤติที่ถูกต้อง และความเข้าใจที่ถูกทาง หรือ
ศีล และ สัมมาทิฐิ เพราะสมาธิเกิดจากการมีศีล
19

และสัมมาทิฐินั่นเองเป็นรากฐาน แม้ปัญญาและ
การหยั่งรู้อย่างลึกซึ้งแจ่มแจ้ง ก็เจริญงอกงามขึ้น
มาจากรากฐานคือศีลและสัมมาทิฐิ และจากการ
ให้ความใส่ใจกับคุณธรรมเหล่านั้น  หลักความ
ประสานสอดคล้องกับหลักธรรมชาติ จึงเข้ามามี
ส่วนด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเคล็ดวิธี หรือ
การหักโหมปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟางเพียงชั่วครั้ง
ชั่วคราว  แต่เป็นความเข้าใจอย่างชัดเจนว่า  จะ
สร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติ  และ
สร้างรากฐานที่มั่นคงให้การปฏิบัติได้อย่างไร
หลวงพ่ อ ชาได้ แ สดงเป็ น แบบอย่ า งให้
เห็นในเรื่องนั้นด้วยตัวของท่านเอง  ทั้งในส่วน
ของการอุ ทิ ศ ตนเพื่ อ รั ก ษาพระวิ นั ย  และการ
ประพฤติดีปฏิบัติชอบ  ถึงแม้ว่าท่านจะเป็น ผู้
หมดจดไม่ด่างพร้อย  แต่ท่านก็ไม่ได้ทำ�เอาด้วย
การบังคับกดข่ม ไม่มีใครจะเห็นว่าท่านเป็นกังวล
20

เกี่ ยวกั บ การรั ก ษาพระวิ นั ย หรื อ ข้ อวั ต รปฏิ บั ติ
เลย ทุกๆ อย่างประสานกลมกลืนอยู่ภายในตัว
ท่านหมดแล้ว ปฏิปทาและความเป็นตัวท่าน บ่ง
ถึงความเป็นบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร
เช่ น เดี ย วกั บ ปั ญ ญาและไหวพริ บ ปฏิ ภ าณของ
ท่าน ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ท่านคิดเอาไว้ก่อน หรือตระ
เตรียมไว้ล่วงหน้า ท่านไม่ได้สักแต่ว่าท่องสิ่งที่จำ�
ไว้ได้ให้เราฟัง แต่คุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ ผุดขึ้น
จากความดำ�ริตรินึกที่ถูกต้อง จากความเข้าใจที่
เป็นสัมมาทิฐิ  หลวงพ่อท่านได้ลงมือพิจารณา
ไตร่ตรอง ฝึกหัดขัดเกลา ค้นคว้าตรวจสอบ
และอบรมเพาะบ่มคุณสมบัติเหล่านั้นมาตลอด
่
ระยะเวลาแห่งการปฏิบตของท่าน แล้วนันก็เป็น
ั ิ
สิงทีท่านกระตุ้นเตือนให้พวกเราทั้งหมด มีความ
่ ่
ตั้ ง ใจให้เวลาและพากเพียรพยายาม  มีความ
คงเส้นคงวาในการประพฤติปฏิบัติ  และฝึกฝน
21

อบรมอยู่อย่างนั้นให้ต่อเนื่อง
เหล่ า นี้ เ ป็ น เหตุ ผ ลส่ ว นหนึ่ ง   ว่ า ทำ � ไม
ท่านจึงไม่ยอมบวชให้ใครง่ายๆ  ในยุคของท่าน 
ไม่ ค่ อ ยมี ใ ครที่ จ ะสวนกระแสประเพณี บ วช
ชั่วคราว  และการอนุญาตให้บวชได้แต่โดยง่าย 
แต่ สำ � หรั บ หลวงพ่ อ ชาแล้ ว   ท่ า นต้ อ งให้ บ วช
เป็นปะขาว เป็นเวลา ๑ ปีเสียก่อน จากนั้นจึง
บวชเป็นสามเณรอีกหนึ่งปี   และแม้จะได้บวช
เป็นพระแล้ว ก็ต้องอาศัยอยู่กับท่านอีกถึง ๕ ปี
การที่ จ ะมี พ ระลู ก ศิ ษ ย์ กั บ พระอาจารย์   ที่ ใ ห้
ความสำ � คั ญ กั บ ภาระหน้ า ที่ ที่ พึ ง ปฏิ บั ติ ต่ อ กั น
ตามพระวินัยได้ถึงระดับนี้ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ค่อย
มีให้เห็นเช่นกันมักจะมีคนบ่นว่า  “ทำ�ไมต้องให้
ลำ�บากลำ�บนถึงขนาดนั้นด้วย  ทำ�ไมไม่บวชให้
เขาเร็วกว่านั้นหน่อย” หลวงพ่อชาตอบว่า “บวช
ง่าย  ก็สึกง่าย”  คือ  ถ้าหากคนบวชเป็นพระได้
22

ง่ายเกินไป ไม่นานหรอก ก็จะเตลิดหนีไปไหนต่อ
ไหนได้ง่ายเช่นกัน  แล้วถ้ามีแต่เที่ยวไปโน่นมานี่
ทำ�โน่นทำ�นี่หลายๆ อย่างมากเกินไป ก็จะไม่ได้
ประโยชน์อะไร ปฏิบัติไปก็ไม่ได้ผล
ผู้ ป ฏิ บั ติ จึ ง ต้ อ งตั้ ง จิ ต อุ ทิ ศ ตนให้ กั บ การ
ฝึ ก ฝน  เพื่อ อบรมข้ อ ปฏิ บัติใ ห้ ต่อ เนื่อ ง  และ
สม่ำ�เสมอ  การรักษาความมุ่งมั่นตั้งใจแบบนั้น
ไว้ให้ได้  เป็นสิ่งที่หลวงพ่อชาท่านพยายามย้ำ�อยู่
เสมอ  ผูทเ่ี อาใจใส่ไม่ทอดธุระในการปฏิบตเิ ท่านัน 
้
ั
้
จึงจะได้รับผลและเห็นอานิสงส์จากการปฏิบัติ
ดังที่ได้แสดงธรรมมาในช่วงเย็นนี้  ก็เห็น
ว่าคงจะพอสมควรแล้ว  ทั้งหมดนี้  ก็เป็นเรื่องที่
ค่อยๆ ทยอยออกมาจากคำ�สอนของหลวงพ่อชา
ในหลายที่หลายแห่ง เท่าที่อาตมาได้ค้นคว้าและ
จำ�ได้
23

สำ � หรั บ เย็ นวั น นี้   ก็ ข อฝากธรรมะเป็ น
ข้อคิดพิจารณาไว้แต่เพียงเท่านี้
24
25
พระอาจารย์ปสันโน
น เ 	​ ด​​ พ​ ี่​​​​ eed​​ erry​​
​ าม​ดิม​
รี แ ร (R P )
เ 	​	​ กรกฎาคม​​ ๔๙๒​​​ ระเทศ​ คนาดา​
​กิด​
๒๖​​
๒
ป
แ
ก ศ 	​ ญญา​ รี​​ าขา​ ระวัติศาสตร์​
​ าร​ ึกษา​
ปริ ต ส ป
​ ลัง​ าก​ บ​ าร​ ึกษา​ ด้​ดิน​ าง​ ป​ า​ ระสบการณ์
ห จ จ ก ศ ไ เ ท ไ หป
ชีวิตจาก​ ลายประเทศ จน​ ระทั่งปี ๒๕๑๖ ได้​ดิน​ าง​
ห
ก
เ ท
มา​ ระเทศไทย และ​กิด​ วาม​ นใจ​น​ าร​ ำ�​ มาธิ​ าวนา
ป
เ ค ส ใ ก ทส ภ
จึงได้​ป​ ึก​ ฏิบัติ​ ี่​ ัด​มิง​ าง จังหวัดเชียงใหม่ หลัง​ าก​ ั้น
​ ไ ฝ ป ทว เ ม
​
จ น
จึง​ ัดสิน​ จ​ข้า​ ู่​พศบรรพชิต โดย​ ุปสมบท ที่วัดเพลง
ต ใ เ สเ
อ
วิปัสสนา กรุงเทพมหานคร ในปี ๒๕๑๗
ต่อ​ า​ ่าน​ ด้ยิน​ ิตติศัพท์​ อง​ ลวง​ ่อ​ า สุภั​ ​ท​
มท ไ ก
ข ห พ ช
ทโ
แห่งวัด​ นอง​ ่า​ ง จังหวัด​ ุบลราชธานี ท่าน​ ึง​ดิน​ าง​ป​
ห ปพ
อ
จเ ท ไ
ฝากตัวเป็น​ ิษย์​ อง​ ลวง​ ่อ โดย​ด้​ ำ�นักที่​ ัด​ นอง​ ่าพง
​ ศ ข ห พ
ไ พ ​ว ห ป
และวัดสา​ า​ น ๆ ตาม​อกาส​ นสมควร จน​ ระทังปี ๒๕๒๕
​ ข อื่
โ
อั ​
ก ่​
ได้​ ับ​ อบ​ มาย​ ห้​ ฏิบัติ​ น้าที่​ นฐานะ​จ้า​ าวาส​ ัด​ ่า​
ร ม ห ใ ป ห ใ
เ อ
ว ป
นานาชาติ
ใน​ ณะ​ ปฏิบตภารกิจ ณ วัดปานานาชาติ ท่าน​ งได้​
ข ท​ ั ​
ี่
ิ
​่ ​
ยั ​
ช่วย​ ัด​ ั้งวัด​ าขา ได้แก่ วัด​ ่า​ จ้อ​ ก้อม บ้าน​ ุ่ง​ า​มือง
จ ต​ ส
ป ภู​ ม ​
ทนเ
ตำ�บล​ า​พธิ์​ ลาง อำ�เภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
นโ ก
ในปี ๒๕๓๒ และสำ�นักสงฆ์​ต่าดำ� ใน​ขต​หมือง​ต่าดำ�
เ
เ เ
เ
ตำ�บลวัง​ ะ​ ซะ อำ�เภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในปี
ก แ
๒๕๓๕
ปัจจุบันท่านดำ�รงตำ�แหน่งเจ้า​ าวาสวัดป่าอภัย​ ีรี
อ
ค
ซาน​ ​ าน​ ี​ ​ก สหรัฐอเมริกา ​ ั้งแต่ปี ๒๕๓๙ เป็นต้น​ า
ฟร ซ สโ
ต
ม
ทุกครังททาน​ดินทาง​ า​ ระเทศไทย​ าน​ ะ​ช้เวลา​ วน​ นึง​
​ ้ ​​่ เ ​ ม ป
ี่
ท่ จ ใ ​ ส่ ห ่
ใน​ าร​ บรมสั่ง​ อน​ าติโยม​ น​ าร​ ฏิบัติ​ รรม​ น​ าระ​
ก อ
ส ญ
ใ ก ป ธ ใ ว
ต่าง ๆ อย่าง​ ม่ำ�เสมอ​ ลอด​ า
ส
ต ม
มูลนิธิ​ ัญญา​ ระทีป
ป
ป
ค​ ​ ​ ​ป็นม​ ​
วามเ ​ า
​​	
มูล​ ธป​ ญา​ ระที​ จั​ ตั​ โดยคณะผูบริหารโรงเรียนทอสี
นิ ิ ญ ป ป ด ง
ั
้
้
ด้วยควา​ ร่ว​ ​ ​ ​ ​ กคณะค​ ู ผูปกครองและญาติโยมซึงเป็นลูกศิษย์​
ม มมอจา
ื
ร ​
้
่
พระอาจา​ ย์ช​ ​ าโ​ ก​ ะทรวง​ หาด​ทยอน​ า​ ให​ ดทะ​บี​ นเป็น
ร ยส ร ร
ม ไ
ุญ ต ้จ เ ย
นิติบ​ ค​ ​ ​ ​ ​ เป็นทางการ ​ลขที่​ ะ​บียน ​ ท. ​ ๔๐๕ ตั้งแต่วัน​ ี่
ุค ลอย่าง
เ ทเ
ก ๑
ท
๑ ​​ ษา​ น ​ ๕๕๑
เม ย ๒
​
วั
​​​
​ ตถุประ​ งค​
ส ์​
	
๑)	สนับส​ ุน​ ารพัฒ​ าสถา​ ัน​ ารศ​ ษาวิ​ ีพุทธที​ ​ ะบบ​
น ก
น
บ ก ึก ถ
่มีร
ไตรส​ ขา​ องพระ​ ุทธศา​ นาเป็น​ ลัก ​
ิก ข
พ
ส
ห
	
๒)	เผ​ แผ่หล​ ธรรม​ ำ�ส​ นผ่านการจัดการฝึกอบรมและ
ย
ัก
ค อ
ปฏิบัติธรรม และการเผยแผ่สื่อธรรมะรูปแบบต่าง ๆ โดยแจกเป็น
ธรรมทาน
	
๓)	เพิมพูนความ​ข้าใจ​น​รือง​ วาม​ มพันธ์ระหว่าง​ นุษย์ และ​
่ ​ เ ใ เ ่ ค สั
​
ม
สิง​ วดล้อม สนับสนุน​ าร​ ฒนา​ ​ งยืน​ ละ​ ง​สริม​ าร​ �เนิน​ วต​
่แ
ก พั ท่ย่ั แ ส่ เ ก ดำ ชี ิ
ี
ตาม​ ลัก​ รัชญา​ศรษฐกิจ​ อ​พียง
ห ป
เ
พ เ
่
่
	
๔)	ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอืน ๆ เพือดำ�เนินกิจการทีเป็น
่
สาธารณประโยชน์
​
ค ที่​
​ ณะ​ ปรึกษา​
​	
พระอาจารย์ชยสาโรเป็นองค์ประธานที่ปรึกษา โดยมีคณะ
ที่ปรึกษาเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ อาทิ ด้านนิเวศวิทยา
พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
วิทยาศาสตร์สุขภาพ การเงิน กฎหมาย การสื่อสาร การละคร
ดนตรี วัฒนธรรม ศิลปกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะกรรมการบริหาร
	
มูลนิธฯ ได้รบเกียรติจากรองศาสตราจารย์นายแพทย์ปรีดา
ิ
ั
ทัศนประดิษฐ เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร และมีคุณบุบผา
สวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์ ผู้อำ�นวยการโรงเรียนทอสีเป็น เลขาธิการฯ
​
ก ด ก
​ าร​ ำ�เนิน​ าร​
​	​ ลนิธิฯ เป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมปัญญาประทีปในรูป
• มู
แบบ โรงเรียนบ่มเพาะชีวตเพือดำ�เนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการศึกษา
ิ ่
วิถพทธ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ข้างต้น โรงเรียนนี้ตั้งอยู่
ี ุ
ที่บ้าน หนองน้อย อำ�เภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
​	​ ลนิธฯ ร่วมมือกับโรงเรียนทอสีในการผลิตและเผยแผ่สอ
• มู ิ
่ื
ธรรมะ แจกเป็นธรรมทาน โดยในส่วนของโรงเรียนทอสีฯได้ด�เนินการ
ำ
ต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕
พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน

www.thawsischool.com, www.panyaprateep.org

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555Carzanova
 
หลักกาลามสูตรกับการพัฒนาคุณภาพ
หลักกาลามสูตรกับการพัฒนาคุณภาพหลักกาลามสูตรกับการพัฒนาคุณภาพ
หลักกาลามสูตรกับการพัฒนาคุณภาพSuradet Sriangkoon
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
What buddhist should know 4
What buddhist should know 4What buddhist should know 4
What buddhist should know 4MI
 
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhammaScript พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhammablcdhamma
 

Was ist angesagt? (10)

รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
รวบรวมศรัทธาผ้าป่าสู้น้ำท่วม 15 เม.ย. 2555
 
หลักกาลามสูตรกับการพัฒนาคุณภาพ
หลักกาลามสูตรกับการพัฒนาคุณภาพหลักกาลามสูตรกับการพัฒนาคุณภาพ
หลักกาลามสูตรกับการพัฒนาคุณภาพ
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๓
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
 
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัวหนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
 
What buddhist should know 4
What buddhist should know 4What buddhist should know 4
What buddhist should know 4
 
Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010
 
คำนำทำ1
คำนำทำ1คำนำทำ1
คำนำทำ1
 
Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010
 
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhammaScript พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
Script พม.ดร.สมชาย ฐฺานวฑฺโฒ blc dhamma
 

Ähnlich wie ธรรมดาของตาเห็นธรรม

สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน Tongsamut vorasan
 
เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้Phairot Odthon
 
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555Carzanova
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญาTongsamut vorasan
 
งานนำเสนอ14
งานนำเสนอ14งานนำเสนอ14
งานนำเสนอ14Min Chatchadaporn
 
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้าwatpadongyai
 
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓dentyomaraj
 
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธีPanuwat Beforetwo
 
อุบายและวิธีการภาวนา
อุบายและวิธีการภาวนาอุบายและวิธีการภาวนา
อุบายและวิธีการภาวนาSongsarid Ruecha
 
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 13
สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 13สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 13
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 13Tongsamut vorasan
 

Ähnlich wie ธรรมดาของตาเห็นธรรม (20)

ทุกศาสนา
ทุกศาสนาทุกศาสนา
ทุกศาสนา
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
 
เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้เครียดได้ก็หายได้
เครียดได้ก็หายได้
 
Jitpontook
JitpontookJitpontook
Jitpontook
 
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
 
2555blessing
2555blessing2555blessing
2555blessing
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นโท (ปี 2549 - 2564).pdf
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
9 mantra
9 mantra9 mantra
9 mantra
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
 
งานนำเสนอ14
งานนำเสนอ14งานนำเสนอ14
งานนำเสนอ14
 
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
 
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓
 
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
1 บทนำ - 9 มนต์ เพื่อความก้าวหน้า โดย ท่าน ว. วชิรเมธี
 
อุบายและวิธีการภาวนา
อุบายและวิธีการภาวนาอุบายและวิธีการภาวนา
อุบายและวิธีการภาวนา
 
Immortality Thama.Pps
Immortality Thama.PpsImmortality Thama.Pps
Immortality Thama.Pps
 
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 13
สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 13สนอง วรอุไร   สนทนาภาษาธรรม เล่ม 13
สนอง วรอุไร สนทนาภาษาธรรม เล่ม 13
 

Mehr von ธรรมะอินเทรนด์ ธรรมะออนไลน์

Mehr von ธรรมะอินเทรนด์ ธรรมะออนไลน์ (11)

ปฎิบัติธรรมอย่างไรให้ได้ผล
ปฎิบัติธรรมอย่างไรให้ได้ผลปฎิบัติธรรมอย่างไรให้ได้ผล
ปฎิบัติธรรมอย่างไรให้ได้ผล
 
พุทธอุทาน
พุทธอุทานพุทธอุทาน
พุทธอุทาน
 
สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา
สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนาสถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา
สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา
 
กระแสพระนิพพาน
กระแสพระนิพพานกระแสพระนิพพาน
กระแสพระนิพพาน
 
คำพ่อ คำแม่
คำพ่อ คำแม่คำพ่อ คำแม่
คำพ่อ คำแม่
 
ตรงกันข้าม
ตรงกันข้ามตรงกันข้าม
ตรงกันข้าม
 
Goodstory
GoodstoryGoodstory
Goodstory
 
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ
มงคลชีวิต ๓๘ ประการมงคลชีวิต ๓๘ ประการ
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ
 
ถ้าเราทุกคนตระหนักว่าเราเป็นคนไทย
ถ้าเราทุกคนตระหนักว่าเราเป็นคนไทยถ้าเราทุกคนตระหนักว่าเราเป็นคนไทย
ถ้าเราทุกคนตระหนักว่าเราเป็นคนไทย
 
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์
 
บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่
บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่
บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่
 

ธรรมดาของตาเห็นธรรม

  • 2.
  • 4. ธรรมดาของตาเห็นธรรม แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับพระธรรมเทศนาภาษาอังกฤษ แสดงโดย พระอาจารย์ปสันโน ณ วัดอภัยคีรี รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ๒๕๕๕ พิมพ์​ จก​ป็น​ รรม​ าน แ เ ธ ท สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ตัดตอน หรือนำ�ไปพิมพ์จำ�หน่าย ​​ หากท่านใดประสงค์จะพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน โปรดติดต่อ มูลนิธิปัญญาประทีป หรือ โรงเรียนทอสี ๑ ​ ๐๒๓/๔๗ ซอยปรีดีพนมยงค์ ๔๑ สุขุมวิท ๗๑ เขตวัฒนา กทม. ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐-๒๗๑๓-๓๖๗๔ www.thawsischool.com, www.panyaprateep.org พ ​ ​ ท๑ ​​ ิมพ์ครั้ง​ ี่​​ ​ ธันวาคม ๒๕๕๕ จำ�นวน ๕,๐๐๐ เล่ม ขออนุโมทนาบุญ ผู้แปลและเรียบเรียง ธมฺมาภินนฺโท ภิกฺขุ ผูถายภาพปก พรรษา สุนาวี ้ ่ ศิลปกรรม ปริญญา ปฐวินทรานนท์ จ ทโ ​ ัด​ ำ�​ดย​มูลนิธิปัญญาประทีป ด ​ ำ�เนินการพิมพ์ บริษัท คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำ�กัด โทรศัพท์ ๐-๒๘๐๐-๒๒๙๒
  • 5. ธรรมดา ของตาเห็นธรรม คำ�สอนของหลวงพ่อชา เรื่องธรรมะกับธรรมชาติ พรุงนี ้ อาตมาได้รบนิมนต์ไปอบรมกรรมฐาน ่ ั หลักสูตร ๑ วัน ที่ศูนย์ฝึกสมาธิ Spirit Rock ่ ่ Meditation Center ในหัวข้อ “คำ�สอนทีเกียวกับ ธรรมชาติ ข องหลวงพ่ อ ชา”  อาตมาได้ เ ตรี ย ม ความพร้อมตลอดช่วงสองสามวันที่ผ่านมา ทำ�ให้
  • 6. 2 ได้ ข ลุ ก ตั ว เองอยู่ กั บ เรื่ อ งราวคำ � สอนของท่ า น  คลุกคลีอยู่กับประวัติส่วนตัว พร้อมทั้งยังได้อ่าน  และฟั ง เทศน์ ข องท่ า นอี ก หลายกั ณ ฑ์   อาตมา รูสกซาบซึงกินใจในเนือหาเรืองราวเป็นอย่างมาก ้ ึ ้ ้ ่ สำ�หรับการเทศน์ประจำ�เย็นวันนี้  อาตมาก็ยัง นึกไม่ออกว่าจะเทศน์เรื่องอะไร แต่ก็เข้าใจว่า เรื่องที่จะเทศน์คงจะมีแรงบันดาลมาจากเรื่องที่ ได้ค้นคว้าทบทวนมา อาตมามี เ รื่ อ งให้ ร ะลึ ก ถึ ง หลวงพ่ อ ชา หลายเรื่อง อาตมาเห็นพ้องยอมรับท่านในทุกๆ อย่าง อาตมาถือว่าเป็นลูกศิษย์ในยุคต้นๆ ของ ท่าน อาตมาเองเป็นพระมาได้จนวันนี้ ก็เพราะ ได้ รั บแรงบันดาลใจมาจากท่าน  ไม่ว่าจะเป็น เรื่องที่พูด ไม่ว่าจะเป็นทุกอย่างที่ได้เรียนรู้ และ ไม่ว่าจะเป็นข้อประพฤติปฏิบัติที่ได้ฝึกฝนมาแล้ว ก็ตาม  อาตมาจึงเป็นหนี้บุญคุณต่อหลวงพ่อชา
  • 7. 3 อย่างใหญ่หลวง ปฏิปทาและคำ�สอนของท่าน ยัง เป็นแรงผลักดันให้กับอาตมาจนเท่าทุกวันนี้ คุ ณ สมบั ติ ใ นความเป็ น ครู บ าอาจารย์ ที่ โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อชาก็คือความ สามารถของท่าน ในการใช้วิธีอธิบายและกระตุ้น ให้กำ�ลังใจ  ให้คนทั่วไปเห็นว่าการปฏิบัติธรรม เป็ น เรื่ อ งที่ ไ ม่ เ หลื อวิ สัย   วิ ธีท่ีว่า นี้เ กิ ด มาจาก ความสามารถของหลวงพ่อ  ในการใช้การอุปมา อุปไมย และการยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็น  หนึ่งในเรื่องอุปมาอุปไมย  ที่หลวงพ่อได้เปรียบ เทียบให้เห็นในเรื่องการปฏิบัติธรรม  คือ  เรื่อง ของต้นมะพร้าว ต้นมะพร้าวดูดธาตุอาหารต่างๆ จากพืนดิน โดยดูดทังธาตุอาหารทีดี และไม่ดี ทัง ้ ้ ่ ้ ของสะอาด ทังของสกปรก ดูดซึมผ่านจากรากไป ้ จนถึงยอด หลังจากนันจึงผลิดอกออกผล เป็นลูก ้ มะพร้าวทีมน�หวาน และเนื้ออร่อย ่ ี ำ้
  • 8. 4 การปฏิบัติธรรมก็มีลักษณะเดียวกัน  คือ ในฐานะที่ เ ป็ น ผู้ ป ฏิ บั ติ ธ รรม  เราซึ ม ซั บ เอา ประสบการณ์ ต่ า งๆ  ที่ เ ราสั ม ผั ส   และการ ติดต่อสื่อสารกับโลกในลักษณะต่างๆ  ที่เรารับ รู้อยู่  แล้วเราก็ดึงเอาเรื่องเหล่านั้น  มาผ่านข้อ ประพฤติปฏิบัติของเรา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ประสบการณ์ต่างๆ  เหล่านั้น  สามารถเปลี่ยน ถ่ายไปเป็นสภาพที่มีความสงบ  ซึ่งจะส่งผลให้ เกิดอานิสงส์ใหญ่  ในแง่ของการรู้เห็นตามเป็น จริง และการประจักษ์ชัด พร้อมทั้งเกิดเป็นความ ผสานกันอย่างราบรื่นลงตัว  และความอยู่ผาสุก จึงไม่เห็นต้องไปอาย หรือเป็นวิตกกังวลกับเรื่อง อะไรต่อมิอะไรที่เราเผชิญอยู่  ไม่ว่าเราจะบรรลุ ผลสำ�เร็จในการภาวนาหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าเราจะ ได้รับเสียงสรรเสริญหรือคำ�นินทา  ได้ลาภหรือ เสื่อมลาภก็ตาม
  • 9. 5 เราสามารถดึงเอาประสบการณ์ทุกอย่าง มากลั่นกรองผ่านข้อประพฤติปฏิบัติของเรา ให้ แปรเปลียนสภาพไปในทางทีดได้ทงหมด อาตมา ่ ่ ี ้ั คิดว่าเรื่องนี้ เป็นการอุปมาอุปไมย ที่กระตุ้น กำ�ลังใจได้อย่างดีเยี่ยมทีเดียว อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ที่ ห ลวงพ่ อ ชาใช้ เ ป็ น อุ ป มา อุปไมยของการปฏิบัติสมาธิภาวนา คือ เรื่องใบ ของต้นไม้กับป่าไม้ ในความสงบเงียบท่ามกลาง ั ธรรมชาติ  ใบไม้ท้งป่าจะสงบนิ่งไม่ไหวติง  แต่หาก ้ เมือใดทีมลมพัดผ่านใบไม้กสนไหว ถูกพัดให้พลิว ่ ่ ี ็ ่ั ไหวไปมา ฉันใดก็ฉันนั้น จิตใจของเรา อันได้แก่ เนือแท้ของจิตใจ หรือแก่นแท้แห่งจิตใจของเรานัน  ้ ้ มีสภาวะที่สงบและมั่นคงอยู่เสมอ หากแต่ว่าอารมณ์ทั้งหลายนั่นเอง  ที่เข้า มาพั ด พาใจให้ ห วั่ น ไหว  คื อ พอลมพายุ ไ ด้ แ ก่
  • 10. 6 อารมณ์ทางใจ  ความยินดีพอใจ  ความคิดปรุง แต่ง หรือความรู้สึกสุขทุกข์ พัดผ่านเข้ามา เรา ก็ปล่อยให้ใจแปรสภาพไปตามอารมณ์อันหลาก หลาย  และความยินดีพอใจต่างๆ  แทนที่เรา จะตระหนักแค่ว่า  นั่นเป็นเพียงพายุคืออารมณ์ พายุแห่งความคิดปรุงแต่งและความรู้สึก  พายุ คือเรื่องที่มาให้รับรู้ ธรรมชาติที่แท้จริงของจิตใจ นั้น  คือ  ศักยภาพในการรู้  สภาวะดั้งเดิมของ จิตใจ คือ ศักยภาพในการรู้สึกอยู่ในปัจจุบัน โดย อาศัยศักยภาพที่แท้จริงของจิตนั้น  เราสามารถ จะแยกแยะความต่างได้ว่า  พายุคืออารมณ์ก็ อย่างหนึ่ง จิตที่มีศักยภาพในการรู้และตื่นตัว ก็อีกอย่างหนึ่ง  พร้อมทั้งเห็นได้ด้วยว่า  สภาวะ ทั้งสองอย่างนั้นกำ�ลังปรากฏแยกกันอยู่ อารมณ์ทางใจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความ ยินดีพอใจ  ความรู้สึกกระทบกระทั่งต่ออารมณ์
  • 11. 7 ที่เกิดขึ้น เรื่องปรุงแต่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง และ ความคิดฟุ้งซ่านที่เราใส่เข้าไป  มีผลทำ�ให้มอง จิตไม่เห็น ที่จริงแล้วก็คือ เรารู้ไม่เท่าทันสิ่งที่มา กระทบสัมผัส หรือ แยกแยะความต่างระหว่าง สองอย่างไม่ได้ ไม่ มี ใ ครที่ จ ะออกไปยื น ด้ า นนอก  แล้ ว บังคับลมไม่ให้พัด  หรือไปรู้สึกหงุดหงิดรำ�คาญ เพราะลมพั ด   มั น เป็ น แค่ ป รากฏการณ์ ต าม ธรรมชาติ ข องมั น อยู่ อ ย่ า งนั้ น เอง  ในทำ � นอง เดียวกัน  ที่เราจะทำ�ให้ใจของเราตั้งมั่น   สงบ ระงับ โดยไม่ต้องไปกังวลวุ่นวาย กับอาการของ จิตก็ได้ หรือ เราอาจจะถูกพัดหอบไปกับลมพายุ อันแปรปรวน ที่พัดผ่านเข้ามาในจิตใจ ก็ให้มอง ว่านั่นเป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ หลวงพ่ อ ชาท่ า นมี วิ ธี อั น ชาญฉลาดใน การแนะนำ�ให้พวกเราสังเกตธรรมชาติและการ
  • 12. 8 ปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ ที่ชี้เข้าหา ความจริ ง ของธรรมชาติ ล้ ว นๆ  ซึ่ ง เรามั ก จะ ละเลยกันไปง่ายๆ  เรามีนิสัยที่มักถือกันว่า  สิ่ง ต่างๆ  ควรจะมีแบบแผนอะไรเป็นพิเศษ  ควรจะ เป็นไปตามแนวคิดอันเป็นอุดมคติ  และมีหลัก การตามตำ�รับตำ�รารับรอง  แต่ส�หรับหลวงพ่อชา ำ ท่านสามารถมองเห็นนิสัย  และความเคยชินที่ ว่านั้นของมนุษย์ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง  อริยสัจ ธรรมที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ทรงสอนเป็ น เรื่ อ งที่ เ กี่ ย ว กับธรรมชาติ  ประสบการณ์รับรู้ทั้งหมดของเรา เป็นกระบวนการในธรรมชาติ  แต่ทว่า  เรามอง ข้ามความจริงนั้นไปเสีย แล้วก็ไปสร้างความทุกข์ สารพัดอย่าง และความหลงผิดขึ้นมาแทนที่ มีอยู่ครั้งหนึ่ง  ตอนนั้นอาตมานั่งอยู่กับ หลวงพ่อชา  อาตมารับหน้าที่เป็นล่ามแปลให้ กั บ นั ก ข่ า วชาวสวี เ ดนคนหนึ่ ง   นั ก ข่ า วคนนั้ น
  • 13. 9 สัมภาษณ์ครูบาอาจารย์ที่สอนการปฏิบัติมาแล้ว หลายคน  แล้วก็จะถามคำ�ถามเดียวกัน  เพื่อให้ ได้คำ�ตอบที่หลากหลาย  รวมไปถึงคำ�ถามที่ว่า “ทำ�ไมจึงปฏิบัติ ปฏิบัติอย่างไร และปฏิบัติแล้ว ได้อะไร”  สำ�หรับอาตมาถือว่า  การต้องเข้ามา ทำ�หน้าที่เป็นล่าม เป็นเรื่องยุ่งยากลำ�บาก และ สร้างภาระอุปสรรคให้ อาตมาจึงรู้สึกหงุดหงิดไม่ พอใจ โดยเฉพาะต่อพระจากกรุงเทพฯ ซึ่งนำ�นัก ข่าวมาที่วัด ยิ่งไปกว่านั้น ตอนนั้น ที่อาตมาคิด ก็คือว่า  นักข่าวช่างถามปัญหาที่ไม่เข้าท่าเอาซะ เลย เหตุการณ์นี้กลับทำ�ให้เรื่องราวน่าสนใจต่าง ไปจากธรรมดา  เนื่องจากไม่มีอะไรที่จะรอดหู รอดตาของหลวงพ่อชาไปได้ พวกเรานั่ ง กั น อยู่ พ ร้ อ มหน้ า   แล้ ว ตอน สนุกของเรื่องทั้งหมดก็ได้เริ่มเปิดฉากขึ้น  เมื่อ นักข่าวเริ่มถามคำ�ถาม  อาตมาก็แปลคำ�ถามให้
  • 14. 10 ท่านฟัง แต่หลวงพ่อชากลับชวนคุยเรื่องอื่น แล้ว ก็เป็นฝ่ายถามโน่นนั่นเสียเอง  ผ่านไปอีกสักพัก หนึ่ง ท่านจึงหันมาถามอาตมาว่า “คำ�ถามว่ายัง ไงนะ ว่าอีกทีซิ” อาตมาจำ�เป็นต้องแปลซ้ำ� แต่ละ คำ�ถามอีกรอบ จากนั้นท่านก็คุยนอกเรื่องไปเสีย อีก  ได้สักพักหนึ่งผ่านไป  ท่านจึงถามขึ้นมาว่า “นักข่าวถามปัญหาไม่ใช่เหรอ เอาล่ะ คำ�ถามว่า ยังไงบ้าง” อาตมาก็จำ�เป็นต้องแปลคำ�ถามซ้ำ�อีก เช่นเคย แล้วก็ไม่ผิดคาด หลวงพ่อชาท่านก็วกไป หาเรื่องอื่นอีก กระทั่งจู่ๆ  ท่านก็ถามขึ้นมาว่า  “ใครมี ดิ น สอกั บ กระดาษบ้ า งแถวนี้   ให้ ใ ครก็ ไ ด้ ช่ ว ย เขียนคำ�ถามให้อาตมาหน่อย”  พอหาปากกากับ กระดาษมาได้ อาตมาต้องแปลคำ�ถามอย่างช้าๆ พอที่จะให้หลวงพ่อชาเขียนทัน  “เอานะทีนี้.... ทำ�ไมเราต้องปฏิบัติ ” หลวงพ่อเขียนลงไป “แล้ว
  • 15. 11 คำ�ถามที่สองล่ะ ว่าอีกครั้งซิ” “เรามีวิธีปฏิบัติกัน อย่างไร” “อืมม ได้แล้ว” แล้วท่านก็เขียนคำ�ถาม ที่ ส องลงไปเหมื อ นกั น  “แล้ ว คำ� ถามที่ ส ามล่ ะ ถามว่ายังไง” หลวงพ่อค่อยๆ จดคำ�ถามลงไป จากนั้น  ท่านก็มองไปที่นักข่าว  แล้วยิง คำ�ถามไปอย่างฉะฉานว่า “ทำ�ไมโยมต้องรับประทาน” คำ�ถามของท่านเล่นเอานักข่าวคนนัน ถึงกับ ้ ตะลึงงันไปเลยทีเดียว แต่เขาก็ยังตอบท่านมาว่า “เอ่อ.. ผมตอบไม่ถูกเหมือนกันครับ ท่าน” “ไม่เอา... ทำ�ไมโยมจึงต้องรับประทาน” หลวงพ่อชาถามย้ำ�อีกครั้งว่า “อาตมาอยากได้คำ�ตอบว่า  ทำ�ไมโยมจึง ต้องรับประทาน”
  • 16. 12 นักข่าวตอบท่านว่า “ที่ผมรับประทาน ก็ เพราะว่าผมรู้สึกหิวครับ” หลวงพ่อชา จึงตอบสวนกลับไปว่า “ถูก ต้อง ! นั่นแหละ... เป็นคำ�ตอบว่า ทำ�ไมพวกเรา ต้องปฏิบัติธรรม พวกเราหิวต่อความสงบ หิวต่อ ความจริง พวกเรารู้สึกเป็นทุกข์ ดังนั้น พวกเรา จึงหิวความหลุดพ้นจากความทุกข์” จากนั้ น   หลวงพ่ อ ได้ ส นทนาเรื่ อ งนั้ น ต่อ  โดยขยายความต่อไปว่า  หากใครตระหนัก ได้อย่างแท้จริงว่าตนกำ�ลังหิว เขาก็จะขวนขวาย หาวิธีปฏิบัติที่ถูกจริตกับตัวเอง แล้วผลก็จะเป็น เหมือนอย่างที่ว่ามา ก็คือ เมื่อเราหิว ก็หาอะไร ที่จะรับประทานได้ และเรียนรู้วิธีปรุงอาหารเพื่อ เอามาบำ�รุงเลี้ยงตัวเอง เราก็จะหายหิว อิ่มหนำ� สำ�ราญ นั่นแหละเป็นจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติ
  • 17. 13 หลวงพ่ อ ชามี วิ ธี ป ระยุ กต์ คำ � สอนให้ เ ข้ า กับอะไรต่างๆ  ได้อย่างฉับพลันทันที  โดยเป็น เรื่องปกติธรรมดาตามธรรมชาติ  และเป็นการ ปฏิบัติไปในตัวได้เลย  แทนที่จะอ้างเฉพาะหลัก ทฤษฎี หรือยกเรื่องในคัมภีร์ขึ้นมากล่าว เหมือน อย่างที่ท่านได้แกล้งเย้าแหย่อาตมา  ในตอนที่ ท่ า นใช้ วิ ธี นี้   หลวงพ่ อ มี ค วามชำ� นิ ชำ � นาญ  มี ไหวพริบปราดเปรื่อง  ในการสอนลักษณะนั้น มาก  รวมทั้งการสาธกหยิบยกเรื่องต่างๆ  ขึ้น มาประกอบ หลวงพ่อชาใช้วิธีการได้หลากหลาย เพื่อปลุกเร้าให้คนมีกำ �ลังใจปฏิบัติ  ท่านไม่ได้ จำ�กัดว่าต้องใช้เทคนิค หรือวิธีปฏิบัติในแบบของ ท่าน  ท่านจะกระตุ้นให้คนตั้งใจปฏิบัติ  เพื่อให้ ได้รับผลของการปฏิบัติ  เวลาที่พูดถึงการเจริญ ภาวนา  เทคนิคการทำ�สมาธิ  และแนวปฏิบัติ หลวงพ่อจะเปิดใจกว้างมาก
  • 18. 14 ตอนทีพระอาจารย์สเมโธไปวัดหนองป่าพง ่ ุ ครังแรก  ท่านเป็นชาวตะวันตกคนแรกทีหลวงพ่อ ้ ่ ชาเคยเห็ น   หลวงพ่ อ ชาไม่ เ คยสอนใครที่ ไ หน มาก่อน นอกจากประชาชนในท้องถิ่นเท่านั้น  อาจารย์สุเมโธได้ฝึกปฏิบัติสมาธิที่สำ�นักปฏิบัติ ธรรมแห่งหนึ่ง  ซึ่งเป็นที่ที่ท่านบวชเป็นสามเณร อยู่ ๑ ปี ในตอนนั้น ท่านเพิ่งบวชเป็นพระ ได้ ใ หม่ ๆ   สำ � นั ก แห่ ง นั้น เน้ น ให้ ป ฏิ บัติต ามวิ ธี ของท่านมหาสีสยาดอ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติจาก ประเทศพม่า โดยให้เดินจงกรม สลับกับนั่ง สมาธิ พออาจารย์สเมโธปฏิบตแล้ว ท่านเห็นว่า ุ ั ิ ใจมันเหียวแห้งไม่แช่มชืน จากนัน ท่านจึงทดลอง ่ ่ ้ ปฏิบัติตามแนวของพุทธศาสนานิกายเซน โดย ฝึกจากหนังสือแปลเกี่ยวกับการฝึกสมาธิแบบ เซนที่ท่านอาจารย์ซ่ือยุน (Hsu Yun) เผยแผ่วิธี อยู่ที่ประเทศฮ่องกง สมัยนั้น ท่านอาจารย์ซื่อยุน
  • 19. 15 แม้จะมีอายุถึง ๑๑๕ ปี แล้ว ก็ยังนำ�สอนการฝึก สมาธิอยู่  อาจารย์ซื่อยุนมีแนวปฏิบัติที่แตกต่าง จากวิธีของหลวงพ่อชาอย่างสิ้นเชิง ท่านใช้วิธีที่ เรียกว่า แนวปฏิบัติแบบฮั่วโทว (Hua-tou) หรือ การตั้งคำ�ถาม ถามตัวเองว่า “ฉัน เป็น ใคร” หรือคำ�ถามในลักษณะคล้ายๆ กันนี้ ซึ่งเป็นวิธี พยายามกลับมาอยู่กับสภาวะ “รู้” อาจารย์สุเมโธ ถามหลวงพ่อชาว่าท่านจะ ใช้วิธีนี้ได้ไหม  และท่านจะใช้วิธีในแบบเฉพาะนี้ ปฏิบัติต่อไปได้ไหม หลวงพ่อชาถามถึงวิธีที่ท่าน ปฏิบัติอยู่  ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติ  และถาม วิธีที่ท่านนำ�มาประยุกต์ปฏิบัติ  จากนั้น  หลวง พ่อชาตอบท่านว่า  “ได้สิ  ถ้าใช้วิธีนี้แล้ว  ได้ผล ดี  ก็ปฏิบัติได้”  หลวงพ่อชาเป็น ผู้ที่เปิดใจกว้าง ต่อแนวปฏิบัติที่หลากหลาย  และสนับสนุนให้ผู้ ปฏิบัติทดลองทำ�ดู
  • 20. 16 ท่านเปรียบเทียบการปฏิบัติว่า เหมือนกับ การพิจารณาอาหารที่เรารับประทาน อาหารบาง อย่างรับประทานแล้วก็ท้องเสีย อาหารบางอย่าง ทำ�ให้แข็งแรงมีกำ�ลัง  อาหารบางอย่างก็ทำ�ให้ เฉื่อยชาอืดอาด  อาหารบางอย่างรสชาติอร่อย แต่ไม่มีประโยชน์อะไรต่อเรา  อาหารบางอย่าง รสชาติไม่อร่อย  แต่ช่วยบำ�รุงหล่อเลี้ยงร่างกาย เราต้องพิจารณาเรื่องการปฏิบัติ  ที่มีวิธีการไม่ เหมือนกัน  มีเทคนิคและแนวทางปฏิบัติที่หลาก หลาย ในทำ�นองเดียวกันกับการที่เราพิจารณา ผลที่เกิดขึ้นจากอาหารที่เรารับประทาน คือ เรา ต้องพิจารณาว่า อาหารรสชาติเป็นอย่างไร เกิด ผลเป็นแบบไหน พร้อมทั้งรู้จักว่ามีประโยชน์และ มีโทษอย่างไร หลวงพ่อท่านเล็งเห็นว่า  มีทางเลือกและ ช่องทางปฏิบัติอยู่อย่างหลากหลาย  ที่เราต้อง
  • 21. 17 เรียนรู้เอาว่า  จะมีวิธีปรับใช้ในการปฏิบัติให้ถูก ต้องเหมาะสมได้อย่างไร การปฏิบัติไม่ใช่อย่างที่ พูดกันว่า “ตำ�รารับรองว่า วิธีนี้ใครเอาปฏิบัติก็ได้ ผล” แนวทางปฏิบัติของหลวงพ่อชา ไม่ใช่การยึด เกาะอยู่แต่กับเรื่องของเคล็ดวิธี  กับเรื่องสมาธิ หรือการฝึกปฏิบัติ  แล้วเอาเท้าแตะคันเร่งเดิน หน้าเต็มสูบ มุ่งหน้าไปให้ถึงปลายทางเท่านั้น การปฏิบัติธรรมไม่ใช่การวิ่งแข่งความเร็ว แต่เป็นเหมือนการวิ่งมาราธอนมากกว่า ผู้ปฏิบัติ ต้องรู้จักปรับจังหวะการก้าวเท้า  เพื่อวิ่งไปให้ได้ จนสุดระยะทาง จึงต้องประเมินให้เป็นว่า จะทำ� อย่างไรจึงรักษาข้อประพฤติปฏิบัติเอาไว้ได้  จะ ปฏิบัติให้ต่อเนื่องได้อย่างไร  จะมีความเพียรใน การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร  การมีความ เพียรให้ต่อเนื่อง ไม่ใช่การ “บังคับ และ หักโหม” ทำ�ความเพียร  แต่เป็นการประคองความเพียร
  • 22. 18 ซึ่งก็ได้แก่ การเอาใส่ใจอยู่อย่างสม่ำ�เสมอ การ สอดส่องพิจารณา  และการรู้จักปรับประสานนี่ ต่างหากเล่าที่เป็นเครื่องขัดเกลาความเคยชินที่ เป็นอนุสัย และกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งอวิชชา และความหลงผิดได้อย่างแท้จริง  ความหนักแน่น มั่ น คงและความต่ อ เนื่ อ งจะทำ � ให้ ก ารปฏิ บั ติ คลี่ ค ลายและเผยให้ เ ห็ น ชั ด ถึ ง สิ่ ง ที่ เ ราจำ � เป็ น ต้องปล่อยวาง  และสิ่งที่เราต้องอบรมให้มีขึ้น ตรงนั้นเองที่เป็นจุดใหญ่ใจความของการปฏิบัติ สาระสำ � คั ญ ซึ่ ง อยู่ ที่ ก ารปฏิ บั ติ อ ย่ า ง ประสานสอดคล้ อ งกั บ ธรรมชาติ นี่ เ อง  เป็ น เหตุ ผ ลว่ า ทำ � ไมหลวงพ่ อ ชา  จึ ง เน้ น เรื่ อ งหลั ก จริ ย ธรรมความประพฤติ เ ป็ น อย่ า งมาก  สิ่ ง ที่ หลวงพ่อชามักจะเน้นย้ำ�ที่สุด ได้แก่ เรื่องความ ประพฤติที่ถูกต้อง และความเข้าใจที่ถูกทาง หรือ ศีล และ สัมมาทิฐิ เพราะสมาธิเกิดจากการมีศีล
  • 23. 19 และสัมมาทิฐินั่นเองเป็นรากฐาน แม้ปัญญาและ การหยั่งรู้อย่างลึกซึ้งแจ่มแจ้ง ก็เจริญงอกงามขึ้น มาจากรากฐานคือศีลและสัมมาทิฐิ และจากการ ให้ความใส่ใจกับคุณธรรมเหล่านั้น  หลักความ ประสานสอดคล้องกับหลักธรรมชาติ จึงเข้ามามี ส่วนด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเคล็ดวิธี หรือ การหักโหมปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟางเพียงชั่วครั้ง ชั่วคราว  แต่เป็นความเข้าใจอย่างชัดเจนว่า  จะ สร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติ  และ สร้างรากฐานที่มั่นคงให้การปฏิบัติได้อย่างไร หลวงพ่ อ ชาได้ แ สดงเป็ น แบบอย่ า งให้ เห็นในเรื่องนั้นด้วยตัวของท่านเอง  ทั้งในส่วน ของการอุ ทิ ศ ตนเพื่ อ รั ก ษาพระวิ นั ย  และการ ประพฤติดีปฏิบัติชอบ  ถึงแม้ว่าท่านจะเป็น ผู้ หมดจดไม่ด่างพร้อย  แต่ท่านก็ไม่ได้ทำ�เอาด้วย การบังคับกดข่ม ไม่มีใครจะเห็นว่าท่านเป็นกังวล
  • 24. 20 เกี่ ยวกั บ การรั ก ษาพระวิ นั ย หรื อ ข้ อวั ต รปฏิ บั ติ เลย ทุกๆ อย่างประสานกลมกลืนอยู่ภายในตัว ท่านหมดแล้ว ปฏิปทาและความเป็นตัวท่าน บ่ง ถึงความเป็นบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร เช่ น เดี ย วกั บ ปั ญ ญาและไหวพริ บ ปฏิ ภ าณของ ท่าน ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ท่านคิดเอาไว้ก่อน หรือตระ เตรียมไว้ล่วงหน้า ท่านไม่ได้สักแต่ว่าท่องสิ่งที่จำ� ไว้ได้ให้เราฟัง แต่คุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้ ผุดขึ้น จากความดำ�ริตรินึกที่ถูกต้อง จากความเข้าใจที่ เป็นสัมมาทิฐิ  หลวงพ่อท่านได้ลงมือพิจารณา ไตร่ตรอง ฝึกหัดขัดเกลา ค้นคว้าตรวจสอบ และอบรมเพาะบ่มคุณสมบัติเหล่านั้นมาตลอด ่ ระยะเวลาแห่งการปฏิบตของท่าน แล้วนันก็เป็น ั ิ สิงทีท่านกระตุ้นเตือนให้พวกเราทั้งหมด มีความ ่ ่ ตั้ ง ใจให้เวลาและพากเพียรพยายาม  มีความ คงเส้นคงวาในการประพฤติปฏิบัติ  และฝึกฝน
  • 25. 21 อบรมอยู่อย่างนั้นให้ต่อเนื่อง เหล่ า นี้ เ ป็ น เหตุ ผ ลส่ ว นหนึ่ ง   ว่ า ทำ � ไม ท่านจึงไม่ยอมบวชให้ใครง่ายๆ  ในยุคของท่าน  ไม่ ค่ อ ยมี ใ ครที่ จ ะสวนกระแสประเพณี บ วช ชั่วคราว  และการอนุญาตให้บวชได้แต่โดยง่าย  แต่ สำ � หรั บ หลวงพ่ อ ชาแล้ ว   ท่ า นต้ อ งให้ บ วช เป็นปะขาว เป็นเวลา ๑ ปีเสียก่อน จากนั้นจึง บวชเป็นสามเณรอีกหนึ่งปี   และแม้จะได้บวช เป็นพระแล้ว ก็ต้องอาศัยอยู่กับท่านอีกถึง ๕ ปี การที่ จ ะมี พ ระลู ก ศิ ษ ย์ กั บ พระอาจารย์   ที่ ใ ห้ ความสำ � คั ญ กั บ ภาระหน้ า ที่ ที่ พึ ง ปฏิ บั ติ ต่ อ กั น ตามพระวินัยได้ถึงระดับนี้ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ค่อย มีให้เห็นเช่นกันมักจะมีคนบ่นว่า  “ทำ�ไมต้องให้ ลำ�บากลำ�บนถึงขนาดนั้นด้วย  ทำ�ไมไม่บวชให้ เขาเร็วกว่านั้นหน่อย” หลวงพ่อชาตอบว่า “บวช ง่าย  ก็สึกง่าย”  คือ  ถ้าหากคนบวชเป็นพระได้
  • 26. 22 ง่ายเกินไป ไม่นานหรอก ก็จะเตลิดหนีไปไหนต่อ ไหนได้ง่ายเช่นกัน  แล้วถ้ามีแต่เที่ยวไปโน่นมานี่ ทำ�โน่นทำ�นี่หลายๆ อย่างมากเกินไป ก็จะไม่ได้ ประโยชน์อะไร ปฏิบัติไปก็ไม่ได้ผล ผู้ ป ฏิ บั ติ จึ ง ต้ อ งตั้ ง จิ ต อุ ทิ ศ ตนให้ กั บ การ ฝึ ก ฝน  เพื่อ อบรมข้ อ ปฏิ บัติใ ห้ ต่อ เนื่อ ง  และ สม่ำ�เสมอ  การรักษาความมุ่งมั่นตั้งใจแบบนั้น ไว้ให้ได้  เป็นสิ่งที่หลวงพ่อชาท่านพยายามย้ำ�อยู่ เสมอ  ผูทเ่ี อาใจใส่ไม่ทอดธุระในการปฏิบตเิ ท่านัน  ้ ั ้ จึงจะได้รับผลและเห็นอานิสงส์จากการปฏิบัติ ดังที่ได้แสดงธรรมมาในช่วงเย็นนี้  ก็เห็น ว่าคงจะพอสมควรแล้ว  ทั้งหมดนี้  ก็เป็นเรื่องที่ ค่อยๆ ทยอยออกมาจากคำ�สอนของหลวงพ่อชา ในหลายที่หลายแห่ง เท่าที่อาตมาได้ค้นคว้าและ จำ�ได้
  • 27. 23 สำ � หรั บ เย็ นวั น นี้   ก็ ข อฝากธรรมะเป็ น ข้อคิดพิจารณาไว้แต่เพียงเท่านี้
  • 28. 24
  • 29. 25
  • 30. พระอาจารย์ปสันโน น เ ​ ด​​ พ​ ี่​​​​ eed​​ erry​​ ​ าม​ดิม​ รี แ ร (R P ) เ ​ ​ กรกฎาคม​​ ๔๙๒​​​ ระเทศ​ คนาดา​ ​กิด​ ๒๖​​ ๒ ป แ ก ศ ​ ญญา​ รี​​ าขา​ ระวัติศาสตร์​ ​ าร​ ึกษา​ ปริ ต ส ป ​ ลัง​ าก​ บ​ าร​ ึกษา​ ด้​ดิน​ าง​ ป​ า​ ระสบการณ์ ห จ จ ก ศ ไ เ ท ไ หป ชีวิตจาก​ ลายประเทศ จน​ ระทั่งปี ๒๕๑๖ ได้​ดิน​ าง​ ห ก เ ท มา​ ระเทศไทย และ​กิด​ วาม​ นใจ​น​ าร​ ำ�​ มาธิ​ าวนา ป เ ค ส ใ ก ทส ภ จึงได้​ป​ ึก​ ฏิบัติ​ ี่​ ัด​มิง​ าง จังหวัดเชียงใหม่ หลัง​ าก​ ั้น ​ ไ ฝ ป ทว เ ม ​ จ น จึง​ ัดสิน​ จ​ข้า​ ู่​พศบรรพชิต โดย​ ุปสมบท ที่วัดเพลง ต ใ เ สเ อ วิปัสสนา กรุงเทพมหานคร ในปี ๒๕๑๗ ต่อ​ า​ ่าน​ ด้ยิน​ ิตติศัพท์​ อง​ ลวง​ ่อ​ า สุภั​ ​ท​ มท ไ ก ข ห พ ช ทโ แห่งวัด​ นอง​ ่า​ ง จังหวัด​ ุบลราชธานี ท่าน​ ึง​ดิน​ าง​ป​ ห ปพ อ จเ ท ไ ฝากตัวเป็น​ ิษย์​ อง​ ลวง​ ่อ โดย​ด้​ ำ�นักที่​ ัด​ นอง​ ่าพง ​ ศ ข ห พ ไ พ ​ว ห ป และวัดสา​ า​ น ๆ ตาม​อกาส​ นสมควร จน​ ระทังปี ๒๕๒๕ ​ ข อื่ โ อั ​ ก ่​
  • 31. ได้​ ับ​ อบ​ มาย​ ห้​ ฏิบัติ​ น้าที่​ นฐานะ​จ้า​ าวาส​ ัด​ ่า​ ร ม ห ใ ป ห ใ เ อ ว ป นานาชาติ ใน​ ณะ​ ปฏิบตภารกิจ ณ วัดปานานาชาติ ท่าน​ งได้​ ข ท​ ั ​ ี่ ิ ​่ ​ ยั ​ ช่วย​ ัด​ ั้งวัด​ าขา ได้แก่ วัด​ ่า​ จ้อ​ ก้อม บ้าน​ ุ่ง​ า​มือง จ ต​ ส ป ภู​ ม ​ ทนเ ตำ�บล​ า​พธิ์​ ลาง อำ�เภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี นโ ก ในปี ๒๕๓๒ และสำ�นักสงฆ์​ต่าดำ� ใน​ขต​หมือง​ต่าดำ� เ เ เ เ ตำ�บลวัง​ ะ​ ซะ อำ�เภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในปี ก แ ๒๕๓๕ ปัจจุบันท่านดำ�รงตำ�แหน่งเจ้า​ าวาสวัดป่าอภัย​ ีรี อ ค ซาน​ ​ าน​ ี​ ​ก สหรัฐอเมริกา ​ ั้งแต่ปี ๒๕๓๙ เป็นต้น​ า ฟร ซ สโ ต ม ทุกครังททาน​ดินทาง​ า​ ระเทศไทย​ าน​ ะ​ช้เวลา​ วน​ นึง​ ​ ้ ​​่ เ ​ ม ป ี่ ท่ จ ใ ​ ส่ ห ่ ใน​ าร​ บรมสั่ง​ อน​ าติโยม​ น​ าร​ ฏิบัติ​ รรม​ น​ าระ​ ก อ ส ญ ใ ก ป ธ ใ ว ต่าง ๆ อย่าง​ ม่ำ�เสมอ​ ลอด​ า ส ต ม
  • 32. มูลนิธิ​ ัญญา​ ระทีป ป ป ค​ ​ ​ ​ป็นม​ ​ วามเ ​ า ​​ มูล​ ธป​ ญา​ ระที​ จั​ ตั​ โดยคณะผูบริหารโรงเรียนทอสี นิ ิ ญ ป ป ด ง ั ้ ้ ด้วยควา​ ร่ว​ ​ ​ ​ ​ กคณะค​ ู ผูปกครองและญาติโยมซึงเป็นลูกศิษย์​ ม มมอจา ื ร ​ ้ ่ พระอาจา​ ย์ช​ ​ าโ​ ก​ ะทรวง​ หาด​ทยอน​ า​ ให​ ดทะ​บี​ นเป็น ร ยส ร ร ม ไ ุญ ต ้จ เ ย นิติบ​ ค​ ​ ​ ​ ​ เป็นทางการ ​ลขที่​ ะ​บียน ​ ท. ​ ๔๐๕ ตั้งแต่วัน​ ี่ ุค ลอย่าง เ ทเ ก ๑ ท ๑ ​​ ษา​ น ​ ๕๕๑ เม ย ๒ ​ วั ​​​ ​ ตถุประ​ งค​ ส ์​ ๑) สนับส​ ุน​ ารพัฒ​ าสถา​ ัน​ ารศ​ ษาวิ​ ีพุทธที​ ​ ะบบ​ น ก น บ ก ึก ถ ่มีร ไตรส​ ขา​ องพระ​ ุทธศา​ นาเป็น​ ลัก ​ ิก ข พ ส ห ๒) เผ​ แผ่หล​ ธรรม​ ำ�ส​ นผ่านการจัดการฝึกอบรมและ ย ัก ค อ ปฏิบัติธรรม และการเผยแผ่สื่อธรรมะรูปแบบต่าง ๆ โดยแจกเป็น ธรรมทาน ๓) เพิมพูนความ​ข้าใจ​น​รือง​ วาม​ มพันธ์ระหว่าง​ นุษย์ และ​ ่ ​ เ ใ เ ่ ค สั ​ ม สิง​ วดล้อม สนับสนุน​ าร​ ฒนา​ ​ งยืน​ ละ​ ง​สริม​ าร​ �เนิน​ วต​ ่แ ก พั ท่ย่ั แ ส่ เ ก ดำ ชี ิ ี ตาม​ ลัก​ รัชญา​ศรษฐกิจ​ อ​พียง ห ป เ พ เ ่ ่ ๔) ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอืน ๆ เพือดำ�เนินกิจการทีเป็น ่ สาธารณประโยชน์ ​
  • 33. ค ที่​ ​ ณะ​ ปรึกษา​ ​ พระอาจารย์ชยสาโรเป็นองค์ประธานที่ปรึกษา โดยมีคณะ ที่ปรึกษาเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ อาทิ ด้านนิเวศวิทยา พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์สุขภาพ การเงิน กฎหมาย การสื่อสาร การละคร ดนตรี วัฒนธรรม ศิลปกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะกรรมการบริหาร มูลนิธฯ ได้รบเกียรติจากรองศาสตราจารย์นายแพทย์ปรีดา ิ ั ทัศนประดิษฐ เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร และมีคุณบุบผา สวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์ ผู้อำ�นวยการโรงเรียนทอสีเป็น เลขาธิการฯ ​ ก ด ก ​ าร​ ำ�เนิน​ าร​ ​ ​ ลนิธิฯ เป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมปัญญาประทีปในรูป • มู แบบ โรงเรียนบ่มเพาะชีวตเพือดำ�เนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการศึกษา ิ ่ วิถพทธ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ข้างต้น โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ ี ุ ที่บ้าน หนองน้อย อำ�เภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ​ ​ ลนิธฯ ร่วมมือกับโรงเรียนทอสีในการผลิตและเผยแผ่สอ • มู ิ ่ื ธรรมะ แจกเป็นธรรมทาน โดยในส่วนของโรงเรียนทอสีฯได้ด�เนินการ ำ ต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕
  • 34.
  • 35.