SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 22
Downloaden Sie, um offline zu lesen
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 1 
เอกสารประกอบการเรียน 
เรื่อง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ๔ ภาค 
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 
(Historical and Cultural Tourism) 
อ.ยุพิน อุ่นแก้ว
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 2 
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ๔ ภาค 
ความนา 
สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละท้องถิ่น มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม เพื่อ สนองความต้องการนั้นๆ รูปแบบของสิ่งก่อสร้างอาจจะพัฒนาไปจากรูปแบบเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับ การดาเนินชีวิตโดยใช้วัสดุก่อสร้างที่หามาได้ตามท้องถิ่นนั้นๆ การก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นการช่วยเหลือ กันในชุมชนจากบุคคลทุกเพศทุกวันทั้ง เด็ก ผู้หญิงคนหนุ่ม-สาว คาเฒ่า-คนแก่ อาจเป็นผู้มี ประสบการณ์ทางการก่อสร้างหรือไม่มีก็ได้ การทางานร่วมกันในชุมชนเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และเรื่องราวต่างๆ ของชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติตามพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยของชุมชน 
๑. ประวัติความเป็นมาสถาปัตยกรรมไทย 
๑.๑ ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม 
เรื่องราวประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรมไทยนับว่าเป็นยุคสมัยนอกประวัติศาสตร์เนื่องจากมี เรื่องราวและความเกี่ยวข้องกับแถบอาเซียตะวันออก ภายหลังไทยได้เข้าครอบครองดินแดนสุวรรณภูมิ ตามทฤษฎีที่กล่าวไว้ว่า ชนชาติไทยได้อพยพมาจากเทือกเขาอัลไตผ่านประเทศจีนปัจจุบันนี้ลงมาเป็น ๔สมัย สถาปัตยกรรมไทยมีหลักฐานเหลืออยู่ที่เก่าแก่ที่สุด คือ สมัยอาณาจักรสุโขทัยลงมาแต่ไม่ปรากฏ ว่าเหลือเค้าโครงอิทธิพลจีนเหลืออยู่ แสดให้เห็นว่าทั้งสองชนชาติไม่มีรากฐานวัฒนธรรมร่วมกัน อาจอ้าง ได้ว่าชนชาติไทยไม่อยู่ในดินแดนของจีนมาก่อน จึงมีผู้คนบางส่วนอ้างว่าชนชาติไทยเป็นชนท้องถิ่น สุวรรณภูมิตั้งแต่เริ่มต้นแต่จะมีข้อมูลบางส่วนที่แสดงให้เห็นว่าชนชาติไทยยังหลงเหลืออยู่ในประเทศจีน เป็นบางส่วนเนื่องจากอพยพลงมาไม่ทัน อิทธิพลที่ปรากฏเด่นชัดในเรื่องศิลปวัฒนธรรมของชนชาติไทย ในสุวรรณภูมิ ส่วนใหญ่รับมาจากวัฒนธรรมภารตะ (อินเดียเก่า) และได้มีการพัฒนาให้เหมาะกับท้องถิ่น และเชื้อชาติตามยุคสมัย โดยผ่านทางมอญ ศรีวิชัยและขอมกัมพูชา (คะแมร์) ส่วนที่ผ่านเข้ามาก็เป็น อิทธิพลทางพระพุทธศาสนา สิ่งที่มิสามารถบิดเอนได้ คือ สถาปัตยกรรมมีความเกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนา ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วแผ่นดินของสุวรรณภูมิล้วนเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมไทยทั้งที่ ปรับปรุงจากที่อื่นและในส่วนที่สร้างขึ้นมาใหม่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสถาปัตยศิลปะในดินแดนสุวรรณภูมิ (ไทย) ได้สร้างขึ้นมาเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิง เช่น วัดวาอารามทางพระพุทธศาสนาทั่วภูมิภาค ในประเทศไทย ดังนั้นสถาปัตยกรรมประเภทอื่นย่อมมีอยู่เป็นธรรมดาของมนุษย์ และนอกจากนี้ องค์ประกอบที่เป็นราฐานที่ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรมไทยมีรูปแบบใกล้เคียงกันเป็นเอกลักษณ์ของ สถาปัตยกรรมไทย ดังนี้ 
- ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ 
- ศาสนา 
- สภาพภูมิศาสตร์ 
- วัฒนธรรมและสังคม 
๑.๒ สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งได้เป็นยุคๆ ได้ดังนี้
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 3 
* ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) 
* ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘) 
* ยุคลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘) 
* ยุคเชียงแสน (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๓) 
* ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๐) 
* ยุคล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙ เรื่อยมา) 
* ยุคอู่ทอง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๐) 
* ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓) 
ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) จะปรากฏอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยแถบจังหวัด นครปฐม (ตั้งราชธานีอยู่ที่นครปฐม พ.ศ. ๑๐๐๐-๒๐๐๐) สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี ราชบุรี และจัง กระจายไปอยู่ทุกภาคประปรายทั่วประเทศไทย เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ สถาปัตยกรรมแบบทวาราวดีมักก่ออิฐและใช้สอดิน เช่น วัดพระเมรุ และเจดีย์จุลปะโทน วัดพระ ประโทน อาเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมบางแห่งมีการใช้ศิลาแลงบ้าง เช่น ก่อสร้างบริเวณฐาน สถูป การก่อสร้างเจดีย์ในสมัยทวาราวดีที่พบมีทั้งเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังคว่ามียอดแหลมอยู่ ด้านบน 
๑. สถูปเจดีย์ ในสมัยทวาราวดีที่พบอยู่มี ๔ รูปแบบ คือ 
๑.๑ ฐานกลม 
๑.๒ ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส 
๑.๓ ฐานแปดเหลี่ยม 
๑.๔ ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม 
๒. เสมา ในสมัยทวาราวดีที่พบอยู่มี ๓ รูปแบบ คือ 
๒.๑ เสมาแท่งสี่เหลี่ยมปลายแหลม 
๒.๒ เสมาแท่งแปดเหลี่ยมปลายแหลม 
๒.๓ ใบเสมาลักษณะเหมือนใบหอก 
การปักเสมาจะปักเป็นแปดทิศล้อมรอบบริเวณปริมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ และบางครั้งซ้อนกัน ๓ ชั้น เช่น เสมาที่พระพุทธบาทบัวบาน เสมาสมัยทวาราวดีพบมากที่สุดที่เมืองฟ้าแดดสงยาง (บ้านเสมา) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันใบเสมาของเมืองฟ้าแดดสูงยางถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น และที่วัดโพธิ์ชัยเสมาราม อาเภอ กมาลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 
ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘) พบในภาคใต้ เผยแพร่อาณาจักรมายังแหลมมาลายูของ ไทย ระหว่างปี พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๗๐๐ ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยไม่ทราบแน่ชัด ในประเทศไทยจะ พบร่องรอยการสร้างสถูปตามเมืองสาคัญ เช่น เมืองครหิ อาเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี เมืองตาพร ลิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 4 
คือ การสร้างสถูปทรงมณฑปให้มีฐานและเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนยอดเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม ส่วนฐานปากระฆังสร้างเป็นชั้นลดหลั่นกันไป มีเจดีย์ประดับมุมและซุ้มบันแถลงในแต่ละทิศ ตัวอย่างเช่น พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี 
ยุคลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘) พบบริเวณ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีรูปแบบคล้ายศิลปะขอม เช่น เทวาลัย ปราสาท พระปรางค์ต่างๆ นิยมใช้อิฐ หิน ทรายและศิลาแลง โดยใช้อิฐและหินทรายสาหรับสร้างเรือนปราสาทและใช้ศิลาแลงสร้างส่วนฐาน ต่อมาก็ สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง สถาปัตยกรรมที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่ เช่น ปรางค์วัดพระพายหลวง จังหวัด สุโขทัย และพระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี 
ยุคเชียงแสน (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๓) พลในภาคเหนือ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่สร้าง เพื่อเป็นศาสนสถาน อาณาจักรเชียงแสนได้รับเอาศิลปวัฒนธรรมมาจากดินแดนแห่งอื่นเข้าผสมผสาน ทั้งศิลปะสุโขทัย ศิลปะทวราวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะพม่า 
ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐) ศิลปะสุโขทัยเริ่มต้นประมาณปี พ.ศ. ๑๗๘๐ เมื่อพ่อขุนศรี อินทราทิตย์สถาปนากรุงสุโขทัย เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสุโขทัยจะออกแบบให้ก่อเกิดความศรัทธา ด้วยการสร้างรูปทรงอาคารในเชิงสัญลักษณ์ เช่น การออกแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือเจดีย์ทรงกลม และปั้นรูปช้างล้อมรอบฐานเจดีย์ เจดีย์แบบสุโขทัยแบ่งออกเป็น ๓ แบบคือ 
* เจดีย์แบบสุโขทัยแท้ หรือเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 
* เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา 
* เจดีย์แบบศรีวิชัย 
ยุคอู่ทอง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๐) เป็นศิลปะที่เกิดจากการรวมกันของศิลปะทวาราว ดี และอารยธรรมขอม ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมอู่ทอง เช่น พระปรางค์องค์ใหญ่ในวัดพระศรีรัตนมหา ธาตุ จังหวัดลพบุรี 
ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓) เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในยุคนี้ คือ การออกแบบให้ แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ร่ารวย สถาปัตยกรรมจึงมีขนาดและรูปร่างสูงใหญ่ตกแต่งด้วยการแกะสลัก ปิด ทอง โบสถ์วิหาร ในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่นิยมสร้างให้มีชายคายื่นออกมาจากหัวเสามากนัก ส่วนใหญ่มี บัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม และนิยมเจาะผนังอาคารให้เป็นลูกรางเล็กๆ แทนช่องหน้าต่าง ลักษณะเด่นของ การก่อสร้างโบสถ์วิหารอีกอย่าง คือ การปล่อยแสงให้สาดเข้ามาในอาคารมากขึ้น โดยจะออกแบบให้ แสงเข้ามาทางด้านหน้าและฉายลงยังพระประธาน 
สมัยอาณาจักรอยุธยาตอนปลาย รูปแบบสถาปัตยกรรมถือว่าอยู่ในจุดสูงสุด คือ เป็น สถาปัตยกรรมทีสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทุกประการ และมีความงดงานอ่อนช้อย ตามลักษณะแบบไทยๆ แต่การพัฒนาทางสถาปัตยกรรมต้องหยุดลงหลังกรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สาคัญในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านการปกครอง ด้าน สังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ฯลฯ
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 5 
สถาปัตยกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุง รัตนโกสินทร์ และมีพระราชประสงค์ที่จะทาให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรุงศรีอยุธยาแห่งที่สอง กล่าวคือ ได้มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สาคัญ โดยเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยารวมไปถึง สถาปัตยกรรมประเภทบ้านพักอาศัย เรือนไทยบางเรือนที่ยังคงเหลือจากการทาศึกสงครามกับพม่า ก็ ถูกถอดจากกรุงศรีอยุธยามาประกอบที่กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครกลายเป็นมหานครศูนย์กลาง แห่งหนึ่งที่รวบรวมเอาผู้คนหลายชาติวัฒนธรรมเข้ามารวมอยู่ด้วยกันไม่ว่าจะเป็น แขก (อินเดีย) ฝรั่ง (ชาติตะวันตก) และจีน ที่มีการซึมซับวัฒนธรรมอื่นมาทีละน้อย หลักฐานในยุคนั้นไม่ปรากฏเท่าไร เนื่องจากผุพังไปตามสภาพกาลเวลา แต่จะเห็นได้จากภาพตามจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ทีสร้างขึ้น ในสมัยนั้น รวมถึงรูปแบบบ้านพักอาศัยซึ่งมีตึกปูนแบบจีนอยู่ค่อนข้างมาก 
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยุคทองแห่งศิลปะจีน มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและ ใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม 
สมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น ดังเช่น วัดนิเวศธรรมประวัติในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศิลปะแบบกอทิก ต่อมาในยุคที่มีการล่าอาณานิคมพระมหากษัตริย์ของไทยก็ ทรงพระปรีชาสามารถเลือกหนทางการประรีประนอมไม่ให้เสียเอกราชไปโดยที่เราต้องปรับเปลี่ยน พฤติกรรมความเป็นอยู่ของตัวเอง สถาปัตยกรรมไทยในสมัยนั้นจึงมีหน้าตาเป็นแบบสถาปัตยกรรม ตะวันตกบ้านเรือนเปลี่ยนรูปแบบเป็นตึกก่ออิฐถือปูนมีการวางผังแบบสากลและตายตัว ไม่ใช้ Open Plan แบบเก่า มีการกั้นห้องเพื่อทากิจกรรมต่างๆ เช่น รับแขก รับประทานอาหาร และนั่งเล่น เป็นต้น 
สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพได้แบ่งประเภทของบ้านตามวัฒนธรรมออกเป็นสามแบบ คือ 
๑. แบบเดิม คือ แบบเรือนของผู้มีฐานะ (ระดับ) เดียวกัน คือทามาอย่างไรก็ทามาอย่างนั้นมิได้ คิดเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น วังเจ้าบ้านนายขุน 
๒. แบบผสม คือเอาตึกฝรั่ง หรือเก๋งจีนมาสร้างแทรกเข้าบ้าง เข้าใจว่าเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๔ และ ต่อมาจนต้นรัชกาลที่ ๕ ดังตัวอย่างที่มีเก๋ง และการแก้ไขตาหนักที่วังท่าพระ เป็นต้น 
๓. เปลี่ยนเป็นอย่างใหม่ คือ เลิกสร้างเรือนแบบไทยเดิมและเก๋งจีน คิดทาเป็นตึกฝรั่งที่เดียว เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ อย่างไรก็ตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมในสมัยนั้นก็คงเอกลักษณ์ไทยเอาไว้ บ้าง เช่น การนาสถาปัตยกรรมไทยเข้ามาผสมด้านหน้าของตึกไม่ว่าจะเป็น ลายฉลุไม้ หลังคาทรงจั่ว 
๑.๓ เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย 
เมื่อกล่าวถึงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยจะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมไทยนั้นมีรูปแบบลักษณะคงความ เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเก่น เมื่อพลเห็นอาคาร วัด โบสถ์ สิม เจดีย์สถูป ตึกรามบ้านช่อง ฯลฯ ก็จะสามารถ บอกได้ทันทีว่านี่ คือ สถาปัตยกรรมไทย เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยมีลักษณะที่เฉพาะและคง ความเป็นไทยมานานกว่า ๑,๐๐๐ ปี สถาปัตยกรรมไทยมีความคลี่คลายทางด้านศิลปะตามกาลเวลา แต่ จะไม่ทิ้งความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมและแตกต่างมากนัก ในอดีตสถาปัตยกรรมไทยมีรูปแบบเป็น
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 6 
สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสอย่างไร ปัจจุบันก็คงไว้เช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นเจดีย์ที่เคยมีรูปกลม แปด เหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมปัจจุบันก็ยังคงสร้างพระเจดีย์ตามรูปแบบทรงนั้น ปลายยอดของพระเจดีย์ยังคงมี ความเรียวแหลมทุกยุคทุกสมัย เป็นต้น 
๒. ประเภทของสถาปัตยกรรมไทย 
๑. เจดีย์ 
๒. อุโบสถ 
๓. หอพระไตรปิฎก 
๔. พระวิหาร 
๕. เรือนไทย 
เจดีย์ มี ๔ ประเภท คือ 
๑. พระธาตุเจดีย์ หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่บรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์ และจักรพรรดิ 
๒. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สังเวชนียสถานอันเป็นสถานที่สาคัญทางพระพุทธศาสนา หรือที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประทับ เช่น ที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน 
๓. ธรรมเจดีย์ หมายถึง คาถาแสดงพระอริยสัจ หรือคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก 
๔. อุเทสิกเจดีย์ คือ เจดีย์ที่สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศแด่พระพุทธเจ้า 
รูปแบบของเจดีย์ 
๑. เจดีย์ประธาน สร้างเป็นหลักของวัด มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์องค์อื่นภายในวัด 
๒. เจดีย์ประจาทิศ ระบุตาแหน่งของเจดีย์ว่าอยู่ประจามุมทั้งสี่ 
๓. เจดีย์ราย คือ เจดีย์ที่มีขนาดเล็กสร้างเรียงรายรอบบริเวณของเจดีย์ประธาน 
๔. เจดีย์ทรงปราสาท หมายถึง รูปแบบของเรือนที่มีหลายชั้นซ้อนกัน หรือที่มีหลังคาลาดชั้น ซ้อน จาแนกเป็น ๔ ประเภท คือ 
๔.๑ เจดีย์ทรงปราสาทแบบหริภุญชัย 
๔.๒ เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม 
๔.๓ เจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา 
๔.๔ เจดีย์ทรงปราสาทแบบสุโขทัย 
๕. เจดีย์ทรงปรางค์ คือ เจดีย์ที่มีทรงคล้ายดอกข้าวโพดมาจากรูปแบบของปราสาทขอม เช่น ปราสาทบายนในประเทศกัมพูชา ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 
๖. เจดีย์ทรงระฆัง คือ เจดีย์ที่มีองค์ระฆังเป็นลักษณะเด่น โดยมีแท่นฐานรองรับอยู่ส่วนล่าง เหนือทรงระฆังเป็นส่วนยอด มีบัลลังก์เป็นรูปสี่เหลี่ยม และทรงกรวยเป็นปล้องไฉนและปลี
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 7 
๗. เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม คือ เจดีย์ทรงนี้บางองค์ทากลีบบัวประดังทรงดอกบัวตูมนี้ด้วย ที่ เรียกชื่อเจดีย์โดยตัดคาว่ายอดออกเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ทรงทะนาน หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ก็มี 
๘. เจดีย์ทรงเครื่อง คือ เจดีย์ทรงเครื่องยังมักมีลายประดับที่เรียกว่า บัวคอเสื้อประดับอยู่ที่ ส่วนบนขององค์ระฆัง 
๙. เจดีย์ย่อมุม คือ เจดีย์ทรงระฆังสี่เหลี่ยมย่อมุม การที่เรียกเจดีย์ย่อมุมแสดงถึงลักษณะสาคัญ ที่แตกต่างจากเจดีย์ทรงระฆังกลม จานวนมุมที่ย่อก็มีระบุ เช่น เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ 
อุโบสถ ถือเป็นอาคารที่สาคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นศาสนสถานประเภทหนึ่งที่พระภิกษุใช้ เป็นศาสนสถานที่ทากิจกรรมเกี่ยวกับสังฆกรรมต่างๆ ได้แก่ ทาอุโบสถ อุปสมบทรับกฐิน เป็นต้น อุโบสถจะมีอยู่ตามวัดต่างๆ ทั่วไป เขตอันเป็นที่ตั้งของอุโบสถ หรือโบสถ์ เรียกว่า สีมา ซึ่งแปลว่า เขต แดนที่กาหนดขึ้นเพื่อการทาสังฆกรรม 
รูปแบบของอุโบสถ 
๑. มหาอุด คือ มหาอุดเป็นชื่อเรียกอุโบสถอีกแบบหนึ่งมีขนาดเล็ก แต่ก็พอที่จานวนภิกษุตาม พุทธบัญญัติเข้าไปทาสังฆกรรมได้ 
๒. แบบทรงโรงรูปทรงของอุโบสถแบบทรงโรงจะมีลักษณะความกว้างมากกว่าความสูง หลังคา จะไม่สูงจากพื้นมากนัก หลังคาจะมีทั้ง ๒ ซ้อนและ ๓ ซ้อน หลังคาตับล่างสุดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง 
๓. แบบมีมุขหน้า 
๔. แบบมีระเบียงรอบและมุขหน้ามุขหลัง 
๕. แบบมีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลังจะเป็นอุโบสถขนาดใหญ่ 
๖. แบบมีมุขเด็จด้านหน้า ด้านหลังและมุขลดด้านหลังชนิดมีเสาหินหน้าและหลัง 
๗. แบบมีมุขเด็จด้านหน้าหลังและพาไลด้านข้าง 
๘. แบบมีระเบียงรอบเฉลียงด้านหน้าด้านหลังและลานประทักษิณ 
๙. แบบจัตุรมุข 
๑๐. อุโบสถไม้ 
หอพระไตรปิฎก คือ อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาใบลาน หนังสือ หรือคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ จารึกพระธรรมคาสอนอันใช้เป็นหลักอ้างอิงในการศึกษาของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรใน พระพุทธศาสนา หอพระไตรปิฎกที่มีความงาม เช่น หอพระไตรปิฎกวัดสระเกศ วัดอัปสรสวรรค์ วัดอรุณ ราชวราราม วัดพิชยญาติการาม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 8 
พระวิหาร โดยทั่วไป หมายถึง อาคารอันเป็นอุเทสิกเจดีย์ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สาคัญของ วัด ซึ่งมักจะอยู่ในเขตพุทธาวาส พระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสาคัญ เช่น พระวิหารวัด มงคลบพิตร 
๓. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ๔ ภาค 
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หมายถึง สถาปัตยกรรมที่ถือกาเนิดขึ้นมาจากภูมิปัญญาของชุมชนที่ส่วน ใหญ่จะอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ อันเป็นชนบทห่างไกลความเจริญทางด้านวัตถุ ดังเช่น สถาปัตยกรรมพื้น ถิ่นของภาคอีสาน ภาคใต้ เป็นต้น อิทธิพลต่างๆ ที่หล่อหลอมให้ช่างหรือสถาปนิกพื้นบ้านแต่ละภูมิภาค เหล่านั้น ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละ ท้องถิ่น ซึ่งพอที่จะจาแนกอิทธิพลที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างได้ดังนี้ 
* อิทธิพลทางสภาพภูมิประเทศ 
* อิทธิพลทางเชื้อชาติ ชนเผ่า 
* อิทธิพลทางความเชื่อและศาสนา 
* อิทธิพลทางสภาพเศรษฐกิจ 
* อิทธิพลทางวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้าง 
* อิทธิพลเพื่อความอยู่รอดของชีวิต 
ถึงแม้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแต่ละที่จะมีความแตกต่างกันเช่นไร แต่มีจุดสาคัญจุดหนึ่งซึ่งเป็น จุดเด่นร่วมกัน คือ การสร้างที่มุ่งเน้นให้มีประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความงามซึ่งเป็นอุดมคติทั่วไปของ งานศิลปะพื้นบ้านทุกแขนง เช่น งานปั้น ทอ หล่อ ถัก จักสาน เป็นต้น ซึงเช่นเดียวกันกับงาน สถาปัตยกรรมที่การมุ่งเน้นเอาประโยชน์ใช้สอยมาเป็นหลักก่อนความงามนั้น จึงก่อให้เกิดงาน สถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกันแต่มีความแตกต่างที่เกิดขึ้นตามอิทธิพลที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างใน เบื้องต้น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ๔ ภาค ซึ่งได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ โดย ยกตัวอย่างของเรือนพื้นถิ่น ดังนี้ 
เรือนไทยภาคกลาง 
เรือน หมายถึง สิ่งปลูกสร้างสาหรับเป็นที่อยู่ เรือนไทยภาคกลาง หมายถึง เรือนที่ปลูกสร้างขึ้น โดยได้รับอิทธิพลจากภาคกลาง ลักษณะสร้างด้วยไม้เป็นส่วนใหญ่ หลังคาทรงสูง ฝาเรือนเป็นลักษณะ ฝาไม้ตกแต่งฝาด้านนอกเป็นลายแบบต่างๆ เช่น ฝาปะกนหรือฝาลูกฟัก ฝาสายบัว และฝาสารวจ เป็น ต้น ยกถอดประกอบกันได้ ชั้นเดียวใต้ถุนสูงมีชายคายื่นยาว ชานกว้าง มีจั่วสูงประดับด้วยปั้นลมที่ แหลมเรียว นิยมปลูกสร้างกันในภาคกลางโดยทั่วไป และนิยมปลูกกันริมแม่น้าลาคลอง เพราะเป็น เส้นทางคมนาคมหลักกล่าวกันว่า เรือนริมน้าสายหนึ่ง มักจะผิดแผกไปจากเรือนริมน้าอีกสายหนึ่ง เรือน ไทยภาคกลางมีลักษณะฐานใหญ่ ปลายสอบที่แปหัวเสา พบตามพื้นบ้านทั่วไป ชนบทและแถบชานเมือง สร้างด้วยวิธีการ “สับปาก” หรือเจ้าปากไม้ หรือต่อตัวไม้ ซึ่งจะทาเป็นเรือนให้ติดกันด้วยการเข้าลิ่มเข้า สลัก มิได้ใช้ประตู เรือประเภทนี้ได้รับการปลูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุพื้นถิ่นเป็นเรือนที่มีรูปแบบง่ายๆ ขนาด
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 9 
และสัดส่วนเหมาะสมกับสภาพพื้นถิ่นและสภาพภูมิอากาศจึงเป็นเรือนทีได้รับความนิยมแพร่หลายตาม พื้นบ้านในชนบททั่วไป เรือนชนิดนี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า เป็นเรือนพื้นฐานของสังคมไทย 
ตัวเรือนใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างว่า เรือนประธาน มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ยาว ๓ ช่วงเสาบ้าง ๕ ช่วงเสาบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของเรือน กั้นฝารอบด้นหนึ่งออก ไปสู่ระเบียงเรือน ซึ่งมีทั้งที่ต่อพื้นลดต่าลงและพื้นระดับเดียวกับพื้นในเรือนประธาน พื้นระเบียงแล่นยาว ตลอดด้านข้างเรือนประธาน พื้นส่วนหนึ่งของระเบียงจะกั้นเป็นครัวไฟกั้นฝาหุ้มหัวระเบียงและข้างหน้า ระเบียงไว้ครึ่งหนึ่ง ต่อจากหน้าระเบียงออกมาทาเป็นพื้นลดต่าลงแล่นไปตามยาว เรียกว่า ชาน หัวชาน ด้านใดด้านหนึ่งทาบันไดทอดไว้สาหรับขึ้นหรือลง เรือนประธานทาหลังคาคลุมทรงจั่ว ด้านหนึ่งต่อ หลังคาลาดลงปกคุมระเบียงเรียก พาไล ส่วนชานเปิดโล่งโถง สิ่งใดๆ ในทางช่างเรียกนั้น พวกช่างเรียก ไม่เหมือนกันก็มี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ ต่างภาษาต่างครู ซึ่งเรียกต่างกันแค่ชื่อเท่านั้นแต่องค์ประกอบของ เรือนเป็นเช่นเดิม 
ฤกษ์ปลูกเรือนในภาคกลาง 
บางครั้งความเชื่อในการปลูกเรือนของคนภาคกลางก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด แต่บาง จังหวัดก็เหมือนกันและบางจังหวัดก็มีการเพิ่มเติมแตกต่างกันไป สิ่งที่มีความเชื่อคล้ายๆ กัน ก็คือ 
ปลูกเรือนในเดือน ๕ ทุกข์เท่าฟ้ามาถึงตน เดือนนั้นมิเป็นผลจะเกิดพยาธิบีฑา 
ปลูกเรือนในเดือน ๖ สาเร็จยกมหึมา ข้าวของท่าจะมาสารพัด ทรัพย์มากเนืองนอง 
ปลูกเรือนในเดือน ๗ เสียเศร้าหมองศรี ทรัพย์สินอันตนครอง เสียทั้งของอันชอบใจ 
ปลูกเรือนในเดือน ๘ โจรร้ายแวดเวียนระไว สิ่งสินเท่าใดไว้บ่คง 
ปลูกเรือนในเดือน ๙ ยกศักดิ์เจ้าอยู่ยืนยง สิ่งสินเท่าใดไว้บ่คง 
ปลูกเรือนในเดือน ๑๐ เขาจะหยิบเอาความมาบีฑา เกิดทุกขาอัปราไม่เป็นผล 
ปลูกเรือนในเดือน ๑๑ หยิบเอาความเท็จมาใส่ตน เดือนนี้บ่เป็นผล จะเกิดพยาธิถึงตาย 
ปลูกเรือนในเดือน ๑๒ คลังเงินทองมากเหลือหลาย ข้าหญิงชายมาก เหลือหลายพ้นประมาณ 
ปลูกเรือนเดือนอ้าย มีข้าบริวารหลาย เพราะกะการในเดือนนี้นั้นจาเริญผล 
คติความเชื่อเกี่ยวกับเรือน 
เรือนไทยหรือเรือนไทยภาคกลางได้รับการปลูกสร้างขึ้นเนื่องด้วยคติความเชื่อต่างๆ อันถือเป็น ประเพณีเฉพาะเรื่องมีดังต่อไปนี้ 
- การปลูกเรือน ถือคติไม่ปลูกเรือนขวางตะวันคือว่าปลูกเรือนตามยาวไปตามตะวันขึ้นและ ตะวันตก เพื่อให้ได้รับลมเหนือและลมใต้ตลอดทั้งปี 
- เรือนทรงไทยถือว่าไม่ควรทาเรือนมีจานวนห้องเป็นจานวนคู่ แต่ควรทาให้มีจานวนห้องเป็น จานวนคี่
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 10 
- บันไดเรือนห้ามมิให้ทาขั้นบันไดเป็นจานวนคู่ให้ทาบันไดแต่ที่เป็นจานวนคี่ ทั้งนี้มีคติว่า “กระไดขั้นคู่กระไดผี กระไดขั้นคี่กระไดคน” 
- ประตู มีคติเป็นข้อห้ามไม่ให้ทาประตูเรือนครงกับประตูชานและประตูรั้ว 
- ห้ามมิให้ทาเรือนมรสามจั่วเรียงกัน เนื่องด้วยพ้องกันกับ “วิมานของเทวดา” 
- ห้ามปลูกเรือนคร่อมตอ เพราะจะทาให้ปลวกพามาขึ้นเรือน 
- ห้ามปลูกเรือนขวางคู ขวางคลอง จะทาให้เรือนชื้น 
- ห้ามปลูกเรือนใกล้วัด ไม่กวาดหลังคา 
- ห้ามปลูกประตูเรือน ๙ ประตู เพราะไปตรงกับทวารทั้งเก้า ท่านว่ารักษาทรัพย์ยาก 
- ห้ามพาดบันไดเรือนเป็นทางขึ้นลงทางทิศตะวันตกและตะวันออก 
เรือนล้านนา 
เรือนล้านนา หมายถึง เรือนพักอาศัยของชนที่มีเชื้อสาย “ไท” ในดินแดนแถบภาคเหนือของ ประเทศไทย อันประกอบด้วย ๙ จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลาพูน ลาปาง แพร่ น่าน ตาก และแม่ฮ่องสอน ที่แสดงถึงลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเฉพาะถิ่นของตน เรือนในจังหวัดเขต เหล่านี้ถือเป็นเรือนล้านนากลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้เพราะมีลักษณะพื้นฐานของวัฒนธรรมอยู่บนกรอบ โครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน แม้บางพื้นที่จะต่างสายพันธุ์ก็ตามลักษณะภูมิประเทศแถบนี้เต็มไปด้วยป่าและ ภูเขาสูง มีอากาศหนาวเย็น ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมทาไร่ทานาเป็นหลัก ลักษณะรูปแบบ ของบ้านเรือนจึงมีลักษณะที่เหมาะสม คือ โดยทั่วไปแล้วจะเป็นเรือนใต้ถุนสูง มีห้องมิดชิด มีชานกว้าง และตั้งร้านน้าไว้ด้านหนึ่งบ้านมีบริเวณกว้าง จะมียุ้งข้าวปลูกไว้ใกล้ๆ ตัวเรือน โดยทั่วไปของแบบอย่าง เรือนล้านนานั้นสามารถแยกออกเป็นประเภทๆ ได้แก่ ๒ ลักษณะ คือ 
ก. แยกตามชนิดของวัสดุ 
ข. แยกตามลักษณะการใช้สอยที่ว่างอาคาร 
ก. แยกตามชนิดของวัสดุ หมายถึง การใช้วัสดุก่อสร้างเป็นตัวกาหนดประเภทอาคาร ซึ่ง สามารถจาแนกแยกย่อยได้เป็นสองแบบ คือ 
๑. เรือนไม้บั่ว หรือเรือนเครื่องผูก คือ เรือนพักอาศัยขนาดเล็กที่สร้างขึ้นด้วยไม้ไผ่ทั้งโครงสร้าง อาคารและส่วนประกอบต่างๆ อาทิ พื้นฟาก ฝาขัดแตะ เป็นต้น โดยใช้วิธีการร้อยยึดองค์ประกอบ ดังกล่าวด้วยการฝังเดือยและรัดตอกหวายเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่จะพบเห็นในพื้นที่แถบชนบท 
๒. เรือนไม้จริง หรือเรือนเครื่องสับ คือ เรือนที่สร้างขึ้นด้วยไม้จริงทั้งหลัง นับแต่ฐานราก โครงสร้าง ตลอดจนองค์ประกอบต่างๆ โดยยึดโยงส่วนประกอบเหล่านั้นด้วยการบาก สับ สอด เกี่ยว ตามอย่างเทคนิคเครื่องไม้เข้าด้วยกัน เรือนประเภทนี้ถือเป็นเรือนถาวรทั่วไป 
ข. แยกตามลักษณะการใช้สอยที่ว่างอาคาร หมายถึง การใช้คุณลักษณะของการใช้สอยที่ ว่างอาคารเพื่อการอยู่อาศัยเป็นหลัก
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 11 
ลักษณะรูปทรงอาคาร เรือนล้านนา เป็นเรือนไม้ยกพื้น มีความสูงจากเดี่ยวล่างประมาณ ๒.๐๐-๒.๕๐ เมตร และเดี่ยวบนประมาณ ๓.๐๐-๓.๕๐ เมตร รูปทรงหลังคาจะทามุมประมาณ ๕๐-๕๖ องศา ซึ่งการทาเป็นเรือนยกใต้ถุนสูงมีหลังคาคลุมเช่นนี้ ดูเหมือนเป็นลักษณะร่วมทั่วไปของเรือนใน แถบภูมิภาคนี้ เรือนกาแล มีความโดเด่นที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ด้วยรูปลักษณะป้อมๆ มีฝาด้นข้าง ผายแบะออกมา ซึ่งทาให้ตัวเรือนดูใหญ่ขึ้น ลักษณะดังกล่าวถูกเน้นให้ชัดเจนขึ้นอีกด้วยระนาบหลังคา แผ่นใหญ่ผืนเดียวที่ทอดยาวคลุมลงมา นอกจากนี้จุดสาคัญอีกแห่งหนึ่งคือแผ่นไม้สองแผ่นที่เรียกกันว่า “การแล” คือ ส่วนปลายด้านบนป้านลมที่ยื่นเลยจากส่วนที่ทบกันออกไปในลักษณะการไขว้ไม้โดยที่ ส่วนนี้จะแกะสลักลวดลายสวยงาม ซึ่งด้วยตาแหน่งแล้วทาให้กาแลเป็นจุดเด่นสาคัญ ที่เข้าใจว่าเป็น รูปแบบเฉพาะของเรือนไทยภาคเหนือไป 
ความเชื่อในการปลูกเรือนของภาคเหนือ 
ชาวล้านนาจะมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ คือ เชื่อว่ามีส่วนบันดาลความสวัสดีและความวิบัติแก่ ลูกหลานที่จังคงมีชีวิตอยู่ หากคนรุ่นหลังที่มีชีวิตอยู่ไม่ปฏิบัติตามที่บรรพบุรุษได้วางเอาไว้ย่อมเกิดความ วิบัติก็จะถือว่าเป็นการผิดผี หรือเป็นการผิดจารีต “ฮีตฮ้อย” การแบ่งเนื้อที่พักอาศัยภายในเรือนถือว่ามี ความสาคัญต่อการนับถือผี ชาวล้านยาเชื่อว่ามี “ผีปู่ย่า” หรือบางครั้งเรียกว่า “ผีเรือน” สิงสถิตอยู่ ภายในบ้านเรือน ที่สิงสถิตของผีปู่ย่า คือ ศาล หรือที่เรียกกันว่า “หอผี” ตั้งอยู่ที่ดินด้านหัวนอน เครื่อง บูชา คือ ขันดอกไม้ธูปเทียน เชี่ยนหมาก น้าต้น (คนโทน้า) บ้านที่มีหอผีเรียกว่า “บ้านเกาะผี” (คือบ้าน ที่เป็นต้นตอของผีบรรพบุรุษในกลุ่มเครือญาติตระกูลเดียวกัน) คือเป็นบ้านของหญิงในตระกูลที่อายุ อาวุโสที่สุด ถ้าคนในตระกูลมีการแยกเรือนเป็นครอบครัวก็จะแบ่งผีเอาไปด้วย คือ เอาดอกไม้บูชาผีที่หอ ผีไปไว้ที่เรือนของตนนาไปสร้างทิ้งไว้ที่หัวนอนโดยที่ไม่ต้องทาการสร้างศาล ภายในห้องนอนใกล้กับเสา มงคล ภายในห้องนอนในโลกทัศน์ของชาวล้านนาถือว่าเป็นที่สิงสถิตของชาวปู่ย่าด้วย และถือว่าเป็น บริเวณสาหรับเครือญาติทีถือผีเดียวกัน เป็นบริเวณหวงห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกหรือคนนอกตระกูลที่ ไม่ใช่ผีเดียวกัน เขตหวงห้ามแบ่งโดยธรณีประตู ถ้าเกิดการล่วงล้าเข้าไปเกินเขต เจ้าของบ้านจะทาพิธี ในห้องนอน ผู้ที่แยกเรือนออกไปจากบ้านเก่าผีจะเป็นฝ่ายหญิงเพราะเป็นการสืบทอดทางฝ่ายหญิง ส่วน หิ้งพระที่เก็บเครื่องรางของขลังจะอยู่ที่ฝาเรือนด้านตะวันออกอันเป็นบริเวณส่วนนอกเนื่องจากเป็นสิ่งที่ ชาวล้านนาโดยทั่วไปเคารพบูชา ส่วนหิ้งผีปู่ย่าจะอยู่ในห้องนอน เนื่องจากเป็นคนในตระกูลเท่านั้นที่ เคารพบูชา
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 12 
เรือนไทยมุสลิม 
ในภาคใต้ของประเทศไทย สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศาสนาอิสลามที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการ สร้างบ้านเรือนให้คล้อยตามวิถีแบบผู้นับถืออิสลามอย่างแท้จริง ทั้งในรูปแบบการใช้พื้นที่ การอยู่อาศัย การประกอบกิจกรรมในการดาเนินชีวิต การประดับตกแต่งตัวเรือนให้ดูงดงาม 
ลักษณะเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมของเรือนไทยมุสลิม คือ การผลิตส่วนประกอบของเรือนก่อน แล้วจึงนาส่วนประกอบต่างๆ นั้นขึ้นประกอบกันเป็นเรือน ซึ่งพบว่า เมื่อแหงนดูส่วนต่างๆ ของโครง หลังคาของเรือนไทยมุสลิมจะได้เห็นหมายเลขและเครื่องหมายติดอยู่บนส่วนต่างๆ ของตัวเรือนและตัว เรือนสามรถแยกออกได้เป็นส่วนๆ เมื่อต้องการจะย้ายไปประกอบในพื้นที่อื่น เสาเรือนจะไม่ฝังลงดินแต่ จะเชื่อมยึดกับตอม่อหรือฐานเสา เพื่อป้องกันมดปลวก เนื่องจากสภาพอากาศของภูมิภาคที่มีความชื้น สูง มีหลังคาสูงชัน เพื่อระบายน้าฝนได้รวดเร็ว มีชายคากว้างมากเพื่อป้องกันฝนสาดรวมไปถึงชานที่ เชื่อมห้องต่างๆ ก็มีหลังคาคลุมด้วยเพื่อกันฝน ลักษณะอีกอย่างหนึ่ง คือ เรือนไทยมุสลิมจะแยกส่วนที่ อยู่อาศัย คือ แม่เรือนออกไปจากครัว ซึ่งเป็นที่ประกอบอาหาร โดยใช้เฉลียงเชื่อมต่อกัน เนื่องจากเชื่อ ว่าบริเวณแม่เรือนเป็นบริเวณที่สะอาด ส่วนบริเวณครัวสามารถทาสกปรกได้ 
ลักษณะเรือนทั่วไป มักจะเป็นเรือนแฝดและสามารถต่อขยายได้ ตามลักษณะของครอบครัว ขยาย โยที่ชานเชื่อมกัน โดยเชื่อว่าสามารถแบ่งแยกให้บรรดาลูกหลานที่จะแยกย้ายตัวเรือนไปประกอบ ใหม่ ณ บริเวณอื่นได้ ภาคใต้นิยมให้บุตรที่แต่งงานแล้วแยกย้ายออกไปอยู่บ้านหลังใหม่ สมัยก่อนจึงเห็น การย้ายบ้านทั้งหลัง โดยอาศัยการร่วมแรงลงแขกกันของคนในชุมชน 
การใช้พื้นที่ก็เป็นลักษณะหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบของเรือนโดยเฉพาะการกาหนดกิจกรรม ประเภทต่างๆ ในส่วนต่างๆ ของตัวเรือน โดยใช้การเพิ่ม หรือลดระดับชั้นเรือนเพื่อแยกกิจกรรมต่างๆ ออกจากกัน จึงทาให้เรือนไทยมุสลิมมีการเล่นระดับพื้นลดหลั่นกันไป เช่น พื้นบริเวณเฉลียงด้านบันได หน้าแล้วยกพื้นไปเป็นระเบียง จากพื้นระเบียงจะยกระดับไปเป็นพื้นตัวเรือนหลัก หรือแม่เรือน บริเวณนี้ จะเห็นได้ชัดว่าตัวเรือนหลักเป็นบริเวณส่วนตัวของเจ้าของบ้าน จากตัวเรือนหลักจะบดระดับไปเป็นพื้น ครัว จากพื้นครัวจะลดระดับเป็นพื้นฐานซักล้างซึ่งอยู่ติดกับบันไดหลัง การลดระดับพื้นจะเห็นได้ชัดว่ามี การแยกสัดส่วนจากกันในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ส่วนตัวหลังคานั้น พอจะแบ่งแยกได้เป็น ๔ ลักษณะ คือ หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคาบรานอร์ หลังคามนิลา บางตัวเรือน เมื่อสร้างตัวเรือนหลัก เสร็จแล้วยังต้องกาหนดพื้นที่ให้เป็นบริเวณที่จะใช้ทาพิธีละหมาด ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ต้องกระทาวันละ ๕ ครั้ง 
การกั้นห้องเพื่อเป็นสัดส่วนก็จะกั้นแต่เท่าที่จาเป็น จะนิยมพื้นที่โล่ง เพราะชาวไทยมุสลิมจะใช้ เรือนเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาตามคติความเชื่อของศาสนาอิสลาม และเนื่องจากทางภาคใต้มีอากาศ ร้อนและฝนตกชุก เรือนจึงไม่นิยมตีฝ้าเพดาน และมักจะเว้นช่องลมใต้หลังคาให้ลมกรรโชกอยู่ ตลอดเวลานอกจากนั้นยังใช้หน้าต่างซึ่งบานจะเปิดได้จรดพื้นมีลูกกรงนั้นไว้กันเด็กตก ทาให้รับลมได้ เมื่อนั่งอยู่บนพื้นเรือน การที่ตัวเรือนยกพื้นสูงพอลอดได้ เรือนไทยมุสลิมจึงสามารถใช้ใต้ถุนประกอบ กิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดารงชีวิต เช่น ทากรงนก สานเสื่อกระจูด หรืออาจจะใช้วางแคร่เพื่อ
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 13 
พักผ่อน บางส่วนอาจจะกั้นไว้เก็บข้างของเครื่องมือเครื่องใช้ บางบ้านก็ทาเป็นคอกสัตว์ โดยไม่ต้องกลัว ขโมยในยามค่าคืน 
อาคารอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณบ้านก็เป็นเครื่องแสดงอาชีพของผู้อยู่อาศัย เช่น การสร้างยุ้งเก็บ ข้าวเปลือก ซึ่งมีลักษณะเป็นกระท่อม ไม่มีหน้าต่างยกพื้นสูง มุงกระเบื้องหรือสังกะสีส่วนฝาเป็นไม้ไผ่ สาน จะมีประตูเปิดปิดเพียงบานเดียว ซึ่งต่างจากการใช้ยุ้งขาวของภาคกลางกระท่อมเก็บข้าวเปลือกนี้ ชาวเมืองเรียกว่า “เรือนข้าวเปลือก” 
ความเชื่อเกี่ยวกับการปลูกเรือนภาคใต้ 
ความเชื่อเรื่องเสาภูมิ เสาภูมิเป็นเสาเอกของการปลูกเรือนเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเจ้าที่โดยมี การผูกผ้าสีขาวบริเวณท้องลอดสูงจากระดับดินพอประมาณ เมื่อเวลามีงานที่จะต้องทาพิธีกรรมเมื่อต้อง บูชาเจ้าก็จะจัดเครื่องบูชามาประกอบพิธียกเสาภูมิ เดิมจะต้องใช้สาวพรหมจารีและจะต้องดูฤกษ์ ก่อน ยกจะเลือกวันขึ้น ๑๓ ค่า เดือน ๖ ปัจจุบันเรือนอาศัยได้เปลี่ยนแปลงไปมีการปลูกเรือนติดดิน ดังนั้นเสา ภูมิเริ่มหายไป จึงมีศาลพระภูมิแบบที่พบเห็นโดยทั่วไปมาทดแทน 
ความเชื่อเรื่องวันมงคลและอัปมงคล ในการดาเนินวิถีชีวิต ความเชื่อดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับ การถือโชคลาง โดยเฉพาะเรื่องวันที่เป็นอัปมงคลซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี 
เฮือนอีสาน 
เฮือน เป็นภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง เรือนที่เป็นที่อยู่อาศัยของชาวอีสาน แต่ละครอบครัวจะปลูก เรือนให้มีเนื้อที่ใช้สอยให้มีขนาดพอเหมาะ โดยทั่วไปเป็นเรือนลักษณะระบบครอบครัวเดี่ยว (Single Family) กล่าวคือ เมื่อครอบครัวขายก็จะออกเรือนใหม่ หรือแยกเรือนไปสร้างหลังใหม่ในบริเวณใกล้ๆ เรือนของพ่อแม่ จากระบบวงจรครอบครัวดังกล่าว จึงทาให้การตั้งบ้านเรือนในหมู่บ้านหนึ่งๆ เกิดกลุ่ม หนาแน่น วางตัวเรือนด้านยาวตามตะวันยักเยื้องไปมา บริเวณที่ว่างรอบตัวเรือนแต่ละหลัง กาหนดให้ เป็นลานบ้านใช้เป็นทางสัญจรติดต่อถึงกันได้ตลอด ภายในคุ้มของหมู่บ้านหนึ่งๆ 
จากลักษณะสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่ค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง ตลอดจนการดารงชีวิตใน สายวัฒนธรรมไทย-ลาว เรือนอีสานจึงมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเรือนในภูมิภาคอื่นๆ ตรงที่เป็นเรือน ยกใต้ถุนสูง เพื่อให้ลมพัดผ่านและเกิดที่ว่างบริเวณใต้ถุน มีความร่มเย็นสนองประโยชน์ใช้สอยที่สาคัญ แก่ชาวอีสานหลายอย่าง เช่น ทาคอกโค กระบือ ใช้เก็บเครื่องมือการเกษตร ใช้เก็บเกวียนทาแคร่นั่ง พักผ่อนและรับแขกในเวลากลางวัน ตาแหน่งใกล้กับบริเวณทาหัตถกรรมพื้นบ้านและเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ตั้งที่ตาหูกทอผ้า จักสานและปั้นหม้อ และนอกจากนี้ในบริเวณบ้านบางครั้งบางครอบครัวจะมีการ สร้างเล้า หรือยุ้งเก็บข้าวไว้ไม่ห่างจากบริเวณตัวบ้านมากนัก เป็นต้น 
เรือนอีสานส่วนใหญ่จะมีลักษณะเปิดโล่งและโปร่งลม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ ตัว เรือนจะมีฝาปิดกั้นเฉพาะส่วนที่เป็นเรือนนอนและฝาด้านนอกบางส่วน เรือนพื้นถิ่นอีสานแยกตาม ประเภทและลักษณะใหญ่ได้ ๓ ลักษณะ ดังนี้
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 14 
๑. เฮือนแฝดมีเรือนโข่ง เป็นเรือนปลูกสร้างคู่กัน ๒ หลังระหว่างเรือนใหญ่ หรือเรือนนอน และ เรือนโข่ง (เรือนระเบียง) โดยหลังคาเรือน ๒ หลังมาจรดกันมีฮางริน (รางน้า) ไม้ ๒ แผ่น ยา (อุด) ด้วยขี้ ชีในการเชื่อมต่อระหว่างเรือนทั้งสอง เรือนโขงจะมีโครงสร้างของตนเองสามารถรื้อไปปลูกที่อื่นได้ใน กรณีที่สมาชิกในครัวเรือนต้องการเรือนเหย้า เรือนโขงภายในจะเปิดโล่งไม่กั้นห้อง จึงทาให้เกิดที่ว่างบริ เวณฮางรินกับเรือนโข่งที่สอนงประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งยังเป็นศูนย์กลางภายในที่เชื่อมต่อกับส่วนอื่น บนเรือน เช่น เรือนใหญ่ ครัว ชาน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จึงนับได้ว่าเป็นเรือนที่นิยมปลูกสร้างแบบ หนึ่งของเรือน พื้นถิ่นอีสาน และนอกจากนี้ยังมีเรือนที่สร้างในลักษณะคลายกัน แต่ต่างกันที่เป็นเรือน แฝด โดยโครงสร้างแตกต่างกันสร้างในลักษณะที่มีโครงสร้าง เสา พื้น และจั่วยึดต่อติดกันกับเรือนใหญ่ และมีระดับพื้นเท่ากันเรียกตามภาษาถิ่นว่า “เรือนแฝด” รูปร่างและประโยชน์ใช้สอยเหมือนเฮือนโข่ง ซึ่งจะพลไม่มากนัก 
๒. เฮือนเดี่ยวไม่มีเฮือนโข่ง เป็นเรือนขนาดเล็กกว่าเรือนแฝด ส่วนประกอบของเรือนมีเรือน ใหญ่ (เรือนนอน) เพียงหลังเดียวหน้าเรือนเป็นเฉลียงมีโครงสร้างหลังคาต่อจากเรือนใหญ่ ด้านหน้า เฉลียงเป็นชาน (ซาน) และฮ้านแอ่งน้า (ร้านโอ่งน้า) เรือนเดี่ยวมีบันไดขึ้นลงมาทางเดียว แต่อย่างไรก็ ตามพื้นถิ่นอีสานลักษณะนี้นิยมปลูกสร้างซึ่งจะพบมากเช่นเดี่ยวกันเรือนแฝดที่มีเรือนโข่ง 
๓. เฮือนชั่วคราว เป็นเรือนที่ปลูกสร้างขึ้นชั่วคราวของผู้ที่ออกเรือนใหม่ที่มีฐานะไม่มั่นคงพอ ก็ จะสร้างเป็นเรือนชั่วคราวอยู่ระยะหนึ่งใกล้กับเรือนพ่อแม่ เรือนชั่วคราวมี ๒ ลักษณะ กล่าวคือ ทา โครงสร้างลักษณะเกย (เพิง) ต่ออาคาร เช่น เกยต่อเล้าข้าว (เพิงต่อยุ้งข้าว) ชนิดที่เป็นตูบหรือกระต๊อบ เล็กๆ ปลูกสร้างจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ หญ้า ใบไม้ และวัสดุอื่นๆ เรือนชั่วคราวเป็นเรือน ขนาดเล็กจึงไม่แบ่งกั้นห้อง 
เรือนพื้นถิ่น ๔ ภาคเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทยซึ่งมีมากมาย หลากหลาย และในปัจจุบันกาลังสูญหายไปจากสังคม ซึ่งหากไม่มีการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เหล่านี้คงจะสาบสูญไปอย่างแน่นอน เฉกเช่นเดียวกับวัฒนธรรมประเพณีอื่นๆ ที่นับวันยิ่งลดน้อยถอย หายออกไปเช่นเดียวกัน 
การปลูกเรือนของไทยอีสาน 
ควรเลือกดูว่า วันเวลา เดือน ปี โสกหรือโฉลก ถ้าทาถูกจะดีเป็นมงคล ดังนี้ 
วันอาทิตย์ ท่านห้ามปลูก ความอุบาทว์จัญไร จะเกิด 
วันจันทร์ ท่านว่าปลูกได้จะมีลาภ ผ้าผ่อนท่อนสไบบังเกิดแก่เจ้าของบ้าน 
วันอังคาร ท่านห้ามปลูก จะเกิดอันตรายจากไฟ 
วันพุธ ท่านว่าดี มีลาภเป็นของขาวเหลือง 
วันพฤหัสบดี ท่านว่าดี จะสุขเถิดจะได้ลาภและความสุขพูนทวี 
วันศุกร์ ท่านว่า ห้ามปลูกจะมีทุกข์ และสุขเท่ากันแล 
วันเสาร์ที่ ท่านห้ามปลูกเด็ดขาด จะเกิดถ้อยความ มีคนเบียดเบียนและมีเรื่องเดือดร้อนใจ
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 15 
ปลูกเรือนเดือนอ้าย (เดือนเวียง) ทาการค้าขึ้น จะได้เป็นเศรษฐี เพราะกิจการค้า 
เดือนยี่ ดีมีสิริในการป้องกันศัตรูทั้งมวล 
เดือน ๓ ห้ามปลูกจะมีภัยศัตรูเบียดเบียน 
เดือน ๔ ปลูกดีจะมีลาภ จะมีความสุขกาย สบายใจ 
เดือน ๕ จะเกิดทุกข์ร้อนไม่สบายใจ 
เดือน ๖ ประเสริฐ จะส่งผลให้เงินทองไหลมาเทมา 
เดือน ๗ ท่านห้ามปลูก จะเป็นอันคายแก่ทรัพย์ที่หาไว้ได้แล้วจักถูกโจรลักหรือ 
ไฟไหม้ 
เดือน ๘ ท่านห้ามปลูกเรือน เช่นกัน เงินทองข้าวของที่เก็บไว้จะมีอยู่คงที่แล 
เดือน ๙ ท่านให้เร่งปลูก ถ้ารับราชการจะได้รับการปูนบาเหน็จ และถ้ามิได้รับ 
ราชการก็เจริญในการประกอบอาชีพ 
เดือน ๑๐ ท่านห้ามปลูกจะได้รับอันตรายจากโทษทัณฑ์อาญาแผ่นดิน และการ 
เจ็บไข้ได้ป่วย 
เดือน ๑๑ ท่านห้ามปลูก จะถูกคนหลอกลวงเอาของและสิ่งที่หวงแหน 
เดือน ๑๒ ท่านว่าเร่งปลูกจะได้เงินทอง ข้าวของ ช้างม้า ข้าทาสผู้ซื่อสัตย์แล 
๔. คาศัพท์เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย 
วัด Temple, monastery 
วัดหลวง Royal monastery 
วัดราษฎร์ Common monastery 
อุโบสถ Ubosot or bot, ordination hall, a place where Buddhist ordinations and rituals are performed, and monks gather to worship and meditate. The area is marked by eight boundary stones called sima. 
เสมา Sima, Boundary stones mark the sacred ground of the ordination hall. One sima marker is set at each of the four corners and one in the middle of each of the four sides. Under these sima markers, sima stones (luk nimit) are buried.
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 16 
วิหาร Viharn, vihara, assembly hall, a place where monks and the laymen gather to conduct merit-making rituals and where the principal Buddha image is enshrined.This building is not marked by boundary stones. 
เจดีย์ Chedis, stupas were originally used to enshrine relics of the Buddha. Later, they came to be used as repositories for relics of holy men, kings, etc. Nowadays, they may contain the ashes of deceased monks or laymen. 
ปรางค์ Prang is a stupa of corn-cop shape which originated from the khmer sanctuary tower. It has three niches and one entrance door reached by means of a very steep staircase. It contains Buddha images. 
มณฑป Mondop is a block-shaped building with a stepped pyramidal roof, built to house important objects such as a Buddha image, Buddha’s footprint, or Tripitaka, a collection of Buddhist scriptures. 
วิหารคด L - Shaped building at the corners of the religious area of a Buddhist monastery. 
หอระฆัง Bell tower, belfry 
หอไตร Ho trai, library 
ศาลาการเปรียญ Sala kan parien, preaching hall 
ศาลา Sala, open pavilion used for resting 
กุฏิ Kuti, monastic residence 
ระเบียง Gallery surrounding the assembly hall (vihara) or the ordination hall (ubosot) 
เครื่องบนของหลังคา Roof structure 
ส่วนประดับหลังคา Roof decoration 
หลังคาทรงจั่ว Gable Roof
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 17 
หลังคาชั้นเดียว Simple roof, single roof (of the common monastery) 
หลังคา ๒ ชั้น Double-tiered roof (of the royal monastery) 
หลังคาซ้อนหลายชั้น Multi-tiered roof 
หลังคาทรงจัตุรมุข Roof with four gable ends 
หน้าบัน Gable end, pediment ornamented with luxuriant floral motif and motifs of deities. 
ช่อฟ้า Cho fa, sky tassel, horn - like finial on the roof ridge, representing the fin on the back of a naga. 
ใบระกา Tooth – like ridges on the sloping edges of a gable, representing the fin on the back of a naga. 
หางหงส์ Small finials jutting out of the two side – corners of the gable, representing the heads of naga. 
เสา Pillar, column 
บัวหัวเสา Lotus capital 
คันทวย Eaves bracket 
เสานางเรียง Colonnade 
บานประตู Door panel 
บานหน้าต่าง Window panel 
เจดีย์ สถูปเจดีย์ Chedi, stupa, a reliquary tower enshrining relics of the Buddha, his disciples, or the ashes of important persons, religious or royal. It originated from the stupas of India and Sri Lanka. 
เจดีย์ทรงระฆัง Bell – shaped stupa 
เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา Ceylonese – style circular stupa 
เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง Square stupa with indented corners
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 18 
เจดีย์ทรงดอกบัวตูม Lotus – shaped stupa 
สาลาโถง Open pillared building or gazebo 
พลับพลาสาหรับพระราชพิธี Ceremonial pavilion 
พลับพลาโถงแบบจัตุรมุข Open pavilion with four porches 
ศาลาเปลื้องเครื่อง Disrobing pavilion 
พระที่นั่งที่ประทับ Hall of residence 
พระที่นั่งบนกาแพงวัง Open pavilion on the wall 
ท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการ Audience hall 
หลังคาชั้นลด Multi – tiered roof or saddle roof 
หลังคาชั้นลด ๔ ชั้น Four – tiered roof. (reserved only to halls used by the king) 
หลังคาชั้นลด ๒ ชั้น double – tiered roof 
ปีกนก ๒ ชั้น Two overlapping eaves 
เสานางเรียง Colonnade of square pillars 
อาคารก่ออิฐถือปูน Musonry building 
อาคารไม้ Building of wood, wooden building 
ผังอาคารรูปกากบาท Greek – cross floor plan 
เครื่องบนเครื่องยอด Superstructure 
หลังคาทรงปราสาท ๗ ชั้น Seven – tiered spire – like roof 
ยอดปราสาท Spire 
คอระฆัง Angular bell 
เหม Three tiers of elongated lotus petals
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 19 
บัวกลุ่ม Seven superimposed lotus flowers 
ป้องไฉน Circular disks 
ปลี หรือปลียอด Pli, Plantain – shaped pinnacle 
ลูกแก้ว Glass ball 
พุ่มข้าวบิณฑ์ Cone – shaped arrangement of flowers 
ครุฑรับไขรา Bracket supporting the base of the spire in a form of garuda holding its traditional enemy. 
หน้าบัน Pediment or gable 
หน้าบันจาหลักพระนารายณ์ Pediment depicting Visnu mounted on the garud 
ทรงสุบรรณ 
หน้าบันจาหลักสมเด็จพระ Pediment depicting Indra seated above an abode 
อมรินทราธิราชประทับเหนือ of three spires 
วิมานปราสาทสามยอด 
หน้าบันจาหลักพระมหามงกุฎ Pediment carrying a royal crown and the royal 
และพระราชลัญจกร insignia. 
ปั้นลม Bargeboard 
ช่อฟ้า Finial 
หางหงส์ Decorative roof – end having the form of a broad goose tail 
นาคเบือน Decorative roof – end having the form of a three – headed naga 
เรือนแก้ว Stucco casing of doors and windows 
เรือนแก้วทรงซุ้มบันแถลง Window or door casing of a miniature ornamental gable 
เรือนแก้วทรงซุ้มปราสาท Window or door casing of a spired hall
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 20 
ฐานสิงห์ Decorative base supporting the window frame which is in the shape of a low table with concave legs. 
บานประตูเขียนรูปเทวดายืนแท่น Door panel of the door depicting standing deva 
บานประตูจาหลักทวารบาล Door panel depicting guardian angels 
พระวิมาน Hall containing the royal bedchamber and a big sitting room. 
พระปรัศว์ซ้าย-ขวา The annexes on the left and the right that flank the inner audience hall 
หอพระ Chapel to house important Buddha images and sacred objects and the ashes of royal ancestors 
ท้องพระโรงใน Inner audience hall 
พระที่นั่ง Throne hall 
พระแท่นบัลลังก์ประดับมุก Throne of mother – of – pearl 
พระแท่นราชบรรจถรณ์ประดับมุก Bed of mother – of – pearl
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 21 
เอกสารอ้างอิง 
กรมศิลปากร. กองสถาปัตยกรรมและกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (๒๕๓๘) สถาปัตยกรรมไทย. 
กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง 
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (๒๕๕๑). คู่มืออบรมมัคคุเทศก์ เล่นที่ ๑ ภาคความรู้ทางวิชาการ. 
กรุงเทพฯ : กองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว 
__________. (๒๕๕๑). คู่มืออบรมมัคคุเทศก์ เล่มที่ ๕ ภาคความรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : 
กองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว 
เฉลิม รัตรทัศนีย. (๒๕๓๙). วิวัฒนาการศิลปะสถาปัตยกรรมไทยพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : สมาคม 
สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. 
โชติ กัลยาณมิตร. (๒๕๓๙). สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 
ไทยประกันชีวิต. (๒๕๕๒). บ้านเรือนไทยภาคอีสาน. [อ้างเมื่อ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๒], จาก 
http://th.wikipedia.org 
ธิดา สุทธิธรรม. (๒๕๔๒). สถาปัตยกรรมไทย. ขอนแก่น : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
นงนุช ไพรบูลยกิจ. (๒๕๔๒). เรือนไทยภาคเหนือ. [อ้างเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒], จาก 
http://th.wilipedia.org/wiki/ 
บ้านเรือนไทยภาคกลาง (๓). [อ้างเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒], จาก http://th.wikipedia.org 
บุญชู โรจนเสถียร. (๒๕๔๘). ตานานสถาปัตยกรรมไทย ๒ สถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ 
กรุงเทพฯ. 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โครงการวิชาบูรณาการหมวดศึกษาทั่วไป. (๒๕๔๕). ไทยศึกษา. พิมพ์ครั้ง 
ที่ ๓. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ลมูล จันทร์หอม. (๒๕๔๗) ประเพณีความเชื่อการปลูกเรือนในล้านนาและเรือนกาแล. พิมพ์ครั้งที่ 
๒. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง. 
___________. (๒๕๕๒). บ้านเรือนไทยภาคเหนือกาแล. [อ้างเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒], จาก 
http://th.wikipedia.org 
วิชิต คลังบุญครอง. (ม.ป.ป.). สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยชาวไทยอีสานและชาวไทยผู้ไทย. ขอนแก่น 
: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
วิชิต คลังบุญครอง และไพโรจน์ เพชรสังหาร. (๒๕๔๖). อีสานสถาปัตย์ ฉบับพิ เศษ : สถาปัตยกรรม 
อีสาน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

สารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมสารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมkand-2539
 
จิตตคหบดี
จิตตคหบดีจิตตคหบดี
จิตตคหบดีKrusupharat
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)Nattakorn Sunkdon
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์Padvee Academy
 
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทยKorawan Sangkakorn
 
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (T)
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (T)กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (T)
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (T)Thitaree Samphao
 
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญPongpob Srisaman
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วยบทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วยPloykarn Lamdual
 
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืชการแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืชLi Yu Ling
 
พันธะโคเวเลนต์ Covalent Bond
พันธะโคเวเลนต์ Covalent Bondพันธะโคเวเลนต์ Covalent Bond
พันธะโคเวเลนต์ Covalent BondSaipanya school
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปออสเตรเลีย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปออสเตรเลียความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปออสเตรเลีย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปออสเตรเลียsangkeetwittaya stourajini
 
บทเรียน ปฏิวัติวิทยาศาสตร์
บทเรียน  ปฏิวัติวิทยาศาสตร์บทเรียน  ปฏิวัติวิทยาศาสตร์
บทเรียน ปฏิวัติวิทยาศาสตร์dajung Sriphadungpond
 
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)sudoooooo
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริกตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริกThamonwan Theerabunchorn
 
บทที่ 12 การสังเคราะห์แสง
บทที่ 12  การสังเคราะห์แสงบทที่ 12  การสังเคราะห์แสง
บทที่ 12 การสังเคราะห์แสงPinutchaya Nakchumroon
 
1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.chickyshare
 
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสารคุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสารkrubuatoom
 

Was ist angesagt? (20)

สารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอมสารบัญโครงงานคอม
สารบัญโครงงานคอม
 
จิตตคหบดี
จิตตคหบดีจิตตคหบดี
จิตตคหบดี
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย
 
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (T)
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (T)กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (T)
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (T)
 
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วยบทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
 
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืชการแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำ และการลำเลียงสารในพืช
 
สงครามครูเสด
สงครามครูเสดสงครามครูเสด
สงครามครูเสด
 
พันธะโคเวเลนต์ Covalent Bond
พันธะโคเวเลนต์ Covalent Bondพันธะโคเวเลนต์ Covalent Bond
พันธะโคเวเลนต์ Covalent Bond
 
Ar 7-705-6327-1131-doc
Ar 7-705-6327-1131-docAr 7-705-6327-1131-doc
Ar 7-705-6327-1131-doc
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปออสเตรเลีย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปออสเตรเลียความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปออสเตรเลีย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปออสเตรเลีย
 
บทเรียน ปฏิวัติวิทยาศาสตร์
บทเรียน  ปฏิวัติวิทยาศาสตร์บทเรียน  ปฏิวัติวิทยาศาสตร์
บทเรียน ปฏิวัติวิทยาศาสตร์
 
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริกตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
 
Chapter 7 prototype
Chapter 7 prototypeChapter 7 prototype
Chapter 7 prototype
 
บทที่ 12 การสังเคราะห์แสง
บทที่ 12  การสังเคราะห์แสงบทที่ 12  การสังเคราะห์แสง
บทที่ 12 การสังเคราะห์แสง
 
1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.
 
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสารคุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
 

Ähnlich wie สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค

012 ancient chinese wooden architecture นิลลดา
012 ancient chinese wooden architecture นิลลดา012 ancient chinese wooden architecture นิลลดา
012 ancient chinese wooden architecture นิลลดาAniwat Suyata
 
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1Junior'z Pimmada Saelim
 
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)sungetbackers
 
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวงถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวงSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1  วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1 Junior'z Pimmada Saelim
 
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทย
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทยประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทย
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทยPatcha Jirasuwanpong
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์chakaew4524
 
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรม
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรมความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรม
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรมguestf6be25a
 
งานนำเสนอ3
งานนำเสนอ3งานนำเสนอ3
งานนำเสนอ3Pachari
 
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวันพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวันPachari
 
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวันพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวันPachari
 
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...ชัยวัฒน์ ปะสุนะ
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครPRINTT
 
พิพิธภัณฑ์ในบางกอก
พิพิธภัณฑ์ในบางกอกพิพิธภัณฑ์ในบางกอก
พิพิธภัณฑ์ในบางกอกTony Axe
 
โครงานเรื่องวัฒนธรรมแต่ละประเทศ
โครงานเรื่องวัฒนธรรมแต่ละประเทศโครงานเรื่องวัฒนธรรมแต่ละประเทศ
โครงานเรื่องวัฒนธรรมแต่ละประเทศchanaporn sornnuwat
 
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์Patcha Jirasuwanpong
 
พระราชวังเดิม
พระราชวังเดิมพระราชวังเดิม
พระราชวังเดิมPRINTT
 

Ähnlich wie สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค (20)

012 ancient chinese wooden architecture นิลลดา
012 ancient chinese wooden architecture นิลลดา012 ancient chinese wooden architecture นิลลดา
012 ancient chinese wooden architecture นิลลดา
 
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
 
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
 
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวงถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
 
วัด
วัดวัด
วัด
 
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1  วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
 
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทย
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทยประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทย
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทย
 
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์หัวข้อที่ ๒  หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หัวข้อที่ ๒ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรม
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรมความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรม
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรม
 
งานนำเสนอ3
งานนำเสนอ3งานนำเสนอ3
งานนำเสนอ3
 
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวันพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวันพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
 
พิพิธภัณฑ์ในบางกอก
พิพิธภัณฑ์ในบางกอกพิพิธภัณฑ์ในบางกอก
พิพิธภัณฑ์ในบางกอก
 
โครงานเรื่องวัฒนธรรมแต่ละประเทศ
โครงานเรื่องวัฒนธรรมแต่ละประเทศโครงานเรื่องวัฒนธรรมแต่ละประเทศ
โครงานเรื่องวัฒนธรรมแต่ละประเทศ
 
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษารายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
 
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
 
พระราชวังเดิม
พระราชวังเดิมพระราชวังเดิม
พระราชวังเดิม
 
ศ ลปะอ นเด_ย
ศ ลปะอ นเด_ยศ ลปะอ นเด_ย
ศ ลปะอ นเด_ย
 

Mehr von chickyshare

วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยchickyshare
 
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคchickyshare
 
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยchickyshare
 
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยรายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยchickyshare
 
มคอ.3 historical tourism
มคอ.3  historical tourismมคอ.3  historical tourism
มคอ.3 historical tourismchickyshare
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยวchickyshare
 
มคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guideมคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guidechickyshare
 
T business 3 {student}
T business 3 {student}T business 3 {student}
T business 3 {student}chickyshare
 
T business 2 {student}
T business 2 {student}T business 2 {student}
T business 2 {student}chickyshare
 
มคอ.3 tourism business
มคอ.3  tourism businessมคอ.3  tourism business
มคอ.3 tourism businesschickyshare
 

Mehr von chickyshare (18)

วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
 
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
 
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
 
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยรายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
 
T guide 7
T    guide 7T    guide 7
T guide 7
 
T guide 6
T  guide 6T  guide 6
T guide 6
 
T guide5
T guide5T guide5
T guide5
 
Asean market
Asean marketAsean market
Asean market
 
History 1
History 1History 1
History 1
 
มคอ.3 historical tourism
มคอ.3  historical tourismมคอ.3  historical tourism
มคอ.3 historical tourism
 
T guide2
T  guide2T  guide2
T guide2
 
3.นทท.
3.นทท.3.นทท.
3.นทท.
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว
 
T guide1
T guide1T guide1
T guide1
 
มคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guideมคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guide
 
T business 3 {student}
T business 3 {student}T business 3 {student}
T business 3 {student}
 
T business 2 {student}
T business 2 {student}T business 2 {student}
T business 2 {student}
 
มคอ.3 tourism business
มคอ.3  tourism businessมคอ.3  tourism business
มคอ.3 tourism business
 

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค

  • 1. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 1 เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ๔ ภาค รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) อ.ยุพิน อุ่นแก้ว
  • 2. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 2 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ๔ ภาค ความนา สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละท้องถิ่น มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม เพื่อ สนองความต้องการนั้นๆ รูปแบบของสิ่งก่อสร้างอาจจะพัฒนาไปจากรูปแบบเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับ การดาเนินชีวิตโดยใช้วัสดุก่อสร้างที่หามาได้ตามท้องถิ่นนั้นๆ การก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นการช่วยเหลือ กันในชุมชนจากบุคคลทุกเพศทุกวันทั้ง เด็ก ผู้หญิงคนหนุ่ม-สาว คาเฒ่า-คนแก่ อาจเป็นผู้มี ประสบการณ์ทางการก่อสร้างหรือไม่มีก็ได้ การทางานร่วมกันในชุมชนเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และเรื่องราวต่างๆ ของชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติตามพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยของชุมชน ๑. ประวัติความเป็นมาสถาปัตยกรรมไทย ๑.๑ ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม เรื่องราวประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรมไทยนับว่าเป็นยุคสมัยนอกประวัติศาสตร์เนื่องจากมี เรื่องราวและความเกี่ยวข้องกับแถบอาเซียตะวันออก ภายหลังไทยได้เข้าครอบครองดินแดนสุวรรณภูมิ ตามทฤษฎีที่กล่าวไว้ว่า ชนชาติไทยได้อพยพมาจากเทือกเขาอัลไตผ่านประเทศจีนปัจจุบันนี้ลงมาเป็น ๔สมัย สถาปัตยกรรมไทยมีหลักฐานเหลืออยู่ที่เก่าแก่ที่สุด คือ สมัยอาณาจักรสุโขทัยลงมาแต่ไม่ปรากฏ ว่าเหลือเค้าโครงอิทธิพลจีนเหลืออยู่ แสดให้เห็นว่าทั้งสองชนชาติไม่มีรากฐานวัฒนธรรมร่วมกัน อาจอ้าง ได้ว่าชนชาติไทยไม่อยู่ในดินแดนของจีนมาก่อน จึงมีผู้คนบางส่วนอ้างว่าชนชาติไทยเป็นชนท้องถิ่น สุวรรณภูมิตั้งแต่เริ่มต้นแต่จะมีข้อมูลบางส่วนที่แสดงให้เห็นว่าชนชาติไทยยังหลงเหลืออยู่ในประเทศจีน เป็นบางส่วนเนื่องจากอพยพลงมาไม่ทัน อิทธิพลที่ปรากฏเด่นชัดในเรื่องศิลปวัฒนธรรมของชนชาติไทย ในสุวรรณภูมิ ส่วนใหญ่รับมาจากวัฒนธรรมภารตะ (อินเดียเก่า) และได้มีการพัฒนาให้เหมาะกับท้องถิ่น และเชื้อชาติตามยุคสมัย โดยผ่านทางมอญ ศรีวิชัยและขอมกัมพูชา (คะแมร์) ส่วนที่ผ่านเข้ามาก็เป็น อิทธิพลทางพระพุทธศาสนา สิ่งที่มิสามารถบิดเอนได้ คือ สถาปัตยกรรมมีความเกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนา ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วแผ่นดินของสุวรรณภูมิล้วนเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมไทยทั้งที่ ปรับปรุงจากที่อื่นและในส่วนที่สร้างขึ้นมาใหม่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสถาปัตยศิลปะในดินแดนสุวรรณภูมิ (ไทย) ได้สร้างขึ้นมาเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิง เช่น วัดวาอารามทางพระพุทธศาสนาทั่วภูมิภาค ในประเทศไทย ดังนั้นสถาปัตยกรรมประเภทอื่นย่อมมีอยู่เป็นธรรมดาของมนุษย์ และนอกจากนี้ องค์ประกอบที่เป็นราฐานที่ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรมไทยมีรูปแบบใกล้เคียงกันเป็นเอกลักษณ์ของ สถาปัตยกรรมไทย ดังนี้ - ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ - ศาสนา - สภาพภูมิศาสตร์ - วัฒนธรรมและสังคม ๑.๒ สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งได้เป็นยุคๆ ได้ดังนี้
  • 3. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 3 * ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) * ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘) * ยุคลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘) * ยุคเชียงแสน (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๓) * ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๐) * ยุคล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙ เรื่อยมา) * ยุคอู่ทอง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๐) * ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓) ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) จะปรากฏอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยแถบจังหวัด นครปฐม (ตั้งราชธานีอยู่ที่นครปฐม พ.ศ. ๑๐๐๐-๒๐๐๐) สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี ราชบุรี และจัง กระจายไปอยู่ทุกภาคประปรายทั่วประเทศไทย เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ สถาปัตยกรรมแบบทวาราวดีมักก่ออิฐและใช้สอดิน เช่น วัดพระเมรุ และเจดีย์จุลปะโทน วัดพระ ประโทน อาเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมบางแห่งมีการใช้ศิลาแลงบ้าง เช่น ก่อสร้างบริเวณฐาน สถูป การก่อสร้างเจดีย์ในสมัยทวาราวดีที่พบมีทั้งเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังคว่ามียอดแหลมอยู่ ด้านบน ๑. สถูปเจดีย์ ในสมัยทวาราวดีที่พบอยู่มี ๔ รูปแบบ คือ ๑.๑ ฐานกลม ๑.๒ ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๑.๓ ฐานแปดเหลี่ยม ๑.๔ ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ๒. เสมา ในสมัยทวาราวดีที่พบอยู่มี ๓ รูปแบบ คือ ๒.๑ เสมาแท่งสี่เหลี่ยมปลายแหลม ๒.๒ เสมาแท่งแปดเหลี่ยมปลายแหลม ๒.๓ ใบเสมาลักษณะเหมือนใบหอก การปักเสมาจะปักเป็นแปดทิศล้อมรอบบริเวณปริมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ และบางครั้งซ้อนกัน ๓ ชั้น เช่น เสมาที่พระพุทธบาทบัวบาน เสมาสมัยทวาราวดีพบมากที่สุดที่เมืองฟ้าแดดสงยาง (บ้านเสมา) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันใบเสมาของเมืองฟ้าแดดสูงยางถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น และที่วัดโพธิ์ชัยเสมาราม อาเภอ กมาลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘) พบในภาคใต้ เผยแพร่อาณาจักรมายังแหลมมาลายูของ ไทย ระหว่างปี พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๗๐๐ ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยไม่ทราบแน่ชัด ในประเทศไทยจะ พบร่องรอยการสร้างสถูปตามเมืองสาคัญ เช่น เมืองครหิ อาเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี เมืองตาพร ลิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย
  • 4. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 4 คือ การสร้างสถูปทรงมณฑปให้มีฐานและเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนยอดเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม ส่วนฐานปากระฆังสร้างเป็นชั้นลดหลั่นกันไป มีเจดีย์ประดับมุมและซุ้มบันแถลงในแต่ละทิศ ตัวอย่างเช่น พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี ยุคลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘) พบบริเวณ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีรูปแบบคล้ายศิลปะขอม เช่น เทวาลัย ปราสาท พระปรางค์ต่างๆ นิยมใช้อิฐ หิน ทรายและศิลาแลง โดยใช้อิฐและหินทรายสาหรับสร้างเรือนปราสาทและใช้ศิลาแลงสร้างส่วนฐาน ต่อมาก็ สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง สถาปัตยกรรมที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่ เช่น ปรางค์วัดพระพายหลวง จังหวัด สุโขทัย และพระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ยุคเชียงแสน (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๓) พลในภาคเหนือ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่สร้าง เพื่อเป็นศาสนสถาน อาณาจักรเชียงแสนได้รับเอาศิลปวัฒนธรรมมาจากดินแดนแห่งอื่นเข้าผสมผสาน ทั้งศิลปะสุโขทัย ศิลปะทวราวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะพม่า ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐) ศิลปะสุโขทัยเริ่มต้นประมาณปี พ.ศ. ๑๗๘๐ เมื่อพ่อขุนศรี อินทราทิตย์สถาปนากรุงสุโขทัย เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสุโขทัยจะออกแบบให้ก่อเกิดความศรัทธา ด้วยการสร้างรูปทรงอาคารในเชิงสัญลักษณ์ เช่น การออกแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือเจดีย์ทรงกลม และปั้นรูปช้างล้อมรอบฐานเจดีย์ เจดีย์แบบสุโขทัยแบ่งออกเป็น ๓ แบบคือ * เจดีย์แบบสุโขทัยแท้ หรือเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ * เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา * เจดีย์แบบศรีวิชัย ยุคอู่ทอง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๐) เป็นศิลปะที่เกิดจากการรวมกันของศิลปะทวาราว ดี และอารยธรรมขอม ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมอู่ทอง เช่น พระปรางค์องค์ใหญ่ในวัดพระศรีรัตนมหา ธาตุ จังหวัดลพบุรี ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓) เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในยุคนี้ คือ การออกแบบให้ แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ร่ารวย สถาปัตยกรรมจึงมีขนาดและรูปร่างสูงใหญ่ตกแต่งด้วยการแกะสลัก ปิด ทอง โบสถ์วิหาร ในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่นิยมสร้างให้มีชายคายื่นออกมาจากหัวเสามากนัก ส่วนใหญ่มี บัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม และนิยมเจาะผนังอาคารให้เป็นลูกรางเล็กๆ แทนช่องหน้าต่าง ลักษณะเด่นของ การก่อสร้างโบสถ์วิหารอีกอย่าง คือ การปล่อยแสงให้สาดเข้ามาในอาคารมากขึ้น โดยจะออกแบบให้ แสงเข้ามาทางด้านหน้าและฉายลงยังพระประธาน สมัยอาณาจักรอยุธยาตอนปลาย รูปแบบสถาปัตยกรรมถือว่าอยู่ในจุดสูงสุด คือ เป็น สถาปัตยกรรมทีสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทุกประการ และมีความงดงานอ่อนช้อย ตามลักษณะแบบไทยๆ แต่การพัฒนาทางสถาปัตยกรรมต้องหยุดลงหลังกรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สาคัญในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านการปกครอง ด้าน สังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ฯลฯ
  • 5. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 5 สถาปัตยกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุง รัตนโกสินทร์ และมีพระราชประสงค์ที่จะทาให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรุงศรีอยุธยาแห่งที่สอง กล่าวคือ ได้มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สาคัญ โดยเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยารวมไปถึง สถาปัตยกรรมประเภทบ้านพักอาศัย เรือนไทยบางเรือนที่ยังคงเหลือจากการทาศึกสงครามกับพม่า ก็ ถูกถอดจากกรุงศรีอยุธยามาประกอบที่กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครกลายเป็นมหานครศูนย์กลาง แห่งหนึ่งที่รวบรวมเอาผู้คนหลายชาติวัฒนธรรมเข้ามารวมอยู่ด้วยกันไม่ว่าจะเป็น แขก (อินเดีย) ฝรั่ง (ชาติตะวันตก) และจีน ที่มีการซึมซับวัฒนธรรมอื่นมาทีละน้อย หลักฐานในยุคนั้นไม่ปรากฏเท่าไร เนื่องจากผุพังไปตามสภาพกาลเวลา แต่จะเห็นได้จากภาพตามจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ทีสร้างขึ้น ในสมัยนั้น รวมถึงรูปแบบบ้านพักอาศัยซึ่งมีตึกปูนแบบจีนอยู่ค่อนข้างมาก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยุคทองแห่งศิลปะจีน มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและ ใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม สมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น ดังเช่น วัดนิเวศธรรมประวัติในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศิลปะแบบกอทิก ต่อมาในยุคที่มีการล่าอาณานิคมพระมหากษัตริย์ของไทยก็ ทรงพระปรีชาสามารถเลือกหนทางการประรีประนอมไม่ให้เสียเอกราชไปโดยที่เราต้องปรับเปลี่ยน พฤติกรรมความเป็นอยู่ของตัวเอง สถาปัตยกรรมไทยในสมัยนั้นจึงมีหน้าตาเป็นแบบสถาปัตยกรรม ตะวันตกบ้านเรือนเปลี่ยนรูปแบบเป็นตึกก่ออิฐถือปูนมีการวางผังแบบสากลและตายตัว ไม่ใช้ Open Plan แบบเก่า มีการกั้นห้องเพื่อทากิจกรรมต่างๆ เช่น รับแขก รับประทานอาหาร และนั่งเล่น เป็นต้น สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพได้แบ่งประเภทของบ้านตามวัฒนธรรมออกเป็นสามแบบ คือ ๑. แบบเดิม คือ แบบเรือนของผู้มีฐานะ (ระดับ) เดียวกัน คือทามาอย่างไรก็ทามาอย่างนั้นมิได้ คิดเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น วังเจ้าบ้านนายขุน ๒. แบบผสม คือเอาตึกฝรั่ง หรือเก๋งจีนมาสร้างแทรกเข้าบ้าง เข้าใจว่าเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๔ และ ต่อมาจนต้นรัชกาลที่ ๕ ดังตัวอย่างที่มีเก๋ง และการแก้ไขตาหนักที่วังท่าพระ เป็นต้น ๓. เปลี่ยนเป็นอย่างใหม่ คือ เลิกสร้างเรือนแบบไทยเดิมและเก๋งจีน คิดทาเป็นตึกฝรั่งที่เดียว เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ อย่างไรก็ตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมในสมัยนั้นก็คงเอกลักษณ์ไทยเอาไว้ บ้าง เช่น การนาสถาปัตยกรรมไทยเข้ามาผสมด้านหน้าของตึกไม่ว่าจะเป็น ลายฉลุไม้ หลังคาทรงจั่ว ๑.๓ เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย เมื่อกล่าวถึงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยจะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมไทยนั้นมีรูปแบบลักษณะคงความ เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเก่น เมื่อพลเห็นอาคาร วัด โบสถ์ สิม เจดีย์สถูป ตึกรามบ้านช่อง ฯลฯ ก็จะสามารถ บอกได้ทันทีว่านี่ คือ สถาปัตยกรรมไทย เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยมีลักษณะที่เฉพาะและคง ความเป็นไทยมานานกว่า ๑,๐๐๐ ปี สถาปัตยกรรมไทยมีความคลี่คลายทางด้านศิลปะตามกาลเวลา แต่ จะไม่ทิ้งความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมและแตกต่างมากนัก ในอดีตสถาปัตยกรรมไทยมีรูปแบบเป็น
  • 6. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 6 สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสอย่างไร ปัจจุบันก็คงไว้เช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นเจดีย์ที่เคยมีรูปกลม แปด เหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมปัจจุบันก็ยังคงสร้างพระเจดีย์ตามรูปแบบทรงนั้น ปลายยอดของพระเจดีย์ยังคงมี ความเรียวแหลมทุกยุคทุกสมัย เป็นต้น ๒. ประเภทของสถาปัตยกรรมไทย ๑. เจดีย์ ๒. อุโบสถ ๓. หอพระไตรปิฎก ๔. พระวิหาร ๕. เรือนไทย เจดีย์ มี ๔ ประเภท คือ ๑. พระธาตุเจดีย์ หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่บรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์ และจักรพรรดิ ๒. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สังเวชนียสถานอันเป็นสถานที่สาคัญทางพระพุทธศาสนา หรือที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประทับ เช่น ที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ๓. ธรรมเจดีย์ หมายถึง คาถาแสดงพระอริยสัจ หรือคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก ๔. อุเทสิกเจดีย์ คือ เจดีย์ที่สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศแด่พระพุทธเจ้า รูปแบบของเจดีย์ ๑. เจดีย์ประธาน สร้างเป็นหลักของวัด มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์องค์อื่นภายในวัด ๒. เจดีย์ประจาทิศ ระบุตาแหน่งของเจดีย์ว่าอยู่ประจามุมทั้งสี่ ๓. เจดีย์ราย คือ เจดีย์ที่มีขนาดเล็กสร้างเรียงรายรอบบริเวณของเจดีย์ประธาน ๔. เจดีย์ทรงปราสาท หมายถึง รูปแบบของเรือนที่มีหลายชั้นซ้อนกัน หรือที่มีหลังคาลาดชั้น ซ้อน จาแนกเป็น ๔ ประเภท คือ ๔.๑ เจดีย์ทรงปราสาทแบบหริภุญชัย ๔.๒ เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ๔.๓ เจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา ๔.๔ เจดีย์ทรงปราสาทแบบสุโขทัย ๕. เจดีย์ทรงปรางค์ คือ เจดีย์ที่มีทรงคล้ายดอกข้าวโพดมาจากรูปแบบของปราสาทขอม เช่น ปราสาทบายนในประเทศกัมพูชา ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ๖. เจดีย์ทรงระฆัง คือ เจดีย์ที่มีองค์ระฆังเป็นลักษณะเด่น โดยมีแท่นฐานรองรับอยู่ส่วนล่าง เหนือทรงระฆังเป็นส่วนยอด มีบัลลังก์เป็นรูปสี่เหลี่ยม และทรงกรวยเป็นปล้องไฉนและปลี
  • 7. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 7 ๗. เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม คือ เจดีย์ทรงนี้บางองค์ทากลีบบัวประดังทรงดอกบัวตูมนี้ด้วย ที่ เรียกชื่อเจดีย์โดยตัดคาว่ายอดออกเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ทรงทะนาน หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ก็มี ๘. เจดีย์ทรงเครื่อง คือ เจดีย์ทรงเครื่องยังมักมีลายประดับที่เรียกว่า บัวคอเสื้อประดับอยู่ที่ ส่วนบนขององค์ระฆัง ๙. เจดีย์ย่อมุม คือ เจดีย์ทรงระฆังสี่เหลี่ยมย่อมุม การที่เรียกเจดีย์ย่อมุมแสดงถึงลักษณะสาคัญ ที่แตกต่างจากเจดีย์ทรงระฆังกลม จานวนมุมที่ย่อก็มีระบุ เช่น เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง เจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ อุโบสถ ถือเป็นอาคารที่สาคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นศาสนสถานประเภทหนึ่งที่พระภิกษุใช้ เป็นศาสนสถานที่ทากิจกรรมเกี่ยวกับสังฆกรรมต่างๆ ได้แก่ ทาอุโบสถ อุปสมบทรับกฐิน เป็นต้น อุโบสถจะมีอยู่ตามวัดต่างๆ ทั่วไป เขตอันเป็นที่ตั้งของอุโบสถ หรือโบสถ์ เรียกว่า สีมา ซึ่งแปลว่า เขต แดนที่กาหนดขึ้นเพื่อการทาสังฆกรรม รูปแบบของอุโบสถ ๑. มหาอุด คือ มหาอุดเป็นชื่อเรียกอุโบสถอีกแบบหนึ่งมีขนาดเล็ก แต่ก็พอที่จานวนภิกษุตาม พุทธบัญญัติเข้าไปทาสังฆกรรมได้ ๒. แบบทรงโรงรูปทรงของอุโบสถแบบทรงโรงจะมีลักษณะความกว้างมากกว่าความสูง หลังคา จะไม่สูงจากพื้นมากนัก หลังคาจะมีทั้ง ๒ ซ้อนและ ๓ ซ้อน หลังคาตับล่างสุดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ๓. แบบมีมุขหน้า ๔. แบบมีระเบียงรอบและมุขหน้ามุขหลัง ๕. แบบมีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลังจะเป็นอุโบสถขนาดใหญ่ ๖. แบบมีมุขเด็จด้านหน้า ด้านหลังและมุขลดด้านหลังชนิดมีเสาหินหน้าและหลัง ๗. แบบมีมุขเด็จด้านหน้าหลังและพาไลด้านข้าง ๘. แบบมีระเบียงรอบเฉลียงด้านหน้าด้านหลังและลานประทักษิณ ๙. แบบจัตุรมุข ๑๐. อุโบสถไม้ หอพระไตรปิฎก คือ อาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาใบลาน หนังสือ หรือคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ จารึกพระธรรมคาสอนอันใช้เป็นหลักอ้างอิงในการศึกษาของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรใน พระพุทธศาสนา หอพระไตรปิฎกที่มีความงาม เช่น หอพระไตรปิฎกวัดสระเกศ วัดอัปสรสวรรค์ วัดอรุณ ราชวราราม วัดพิชยญาติการาม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น
  • 8. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 8 พระวิหาร โดยทั่วไป หมายถึง อาคารอันเป็นอุเทสิกเจดีย์ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สาคัญของ วัด ซึ่งมักจะอยู่ในเขตพุทธาวาส พระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสาคัญ เช่น พระวิหารวัด มงคลบพิตร ๓. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ๔ ภาค สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หมายถึง สถาปัตยกรรมที่ถือกาเนิดขึ้นมาจากภูมิปัญญาของชุมชนที่ส่วน ใหญ่จะอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ อันเป็นชนบทห่างไกลความเจริญทางด้านวัตถุ ดังเช่น สถาปัตยกรรมพื้น ถิ่นของภาคอีสาน ภาคใต้ เป็นต้น อิทธิพลต่างๆ ที่หล่อหลอมให้ช่างหรือสถาปนิกพื้นบ้านแต่ละภูมิภาค เหล่านั้น ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละ ท้องถิ่น ซึ่งพอที่จะจาแนกอิทธิพลที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างได้ดังนี้ * อิทธิพลทางสภาพภูมิประเทศ * อิทธิพลทางเชื้อชาติ ชนเผ่า * อิทธิพลทางความเชื่อและศาสนา * อิทธิพลทางสภาพเศรษฐกิจ * อิทธิพลทางวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้าง * อิทธิพลเพื่อความอยู่รอดของชีวิต ถึงแม้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแต่ละที่จะมีความแตกต่างกันเช่นไร แต่มีจุดสาคัญจุดหนึ่งซึ่งเป็น จุดเด่นร่วมกัน คือ การสร้างที่มุ่งเน้นให้มีประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความงามซึ่งเป็นอุดมคติทั่วไปของ งานศิลปะพื้นบ้านทุกแขนง เช่น งานปั้น ทอ หล่อ ถัก จักสาน เป็นต้น ซึงเช่นเดียวกันกับงาน สถาปัตยกรรมที่การมุ่งเน้นเอาประโยชน์ใช้สอยมาเป็นหลักก่อนความงามนั้น จึงก่อให้เกิดงาน สถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกันแต่มีความแตกต่างที่เกิดขึ้นตามอิทธิพลที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างใน เบื้องต้น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ๔ ภาค ซึ่งได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ โดย ยกตัวอย่างของเรือนพื้นถิ่น ดังนี้ เรือนไทยภาคกลาง เรือน หมายถึง สิ่งปลูกสร้างสาหรับเป็นที่อยู่ เรือนไทยภาคกลาง หมายถึง เรือนที่ปลูกสร้างขึ้น โดยได้รับอิทธิพลจากภาคกลาง ลักษณะสร้างด้วยไม้เป็นส่วนใหญ่ หลังคาทรงสูง ฝาเรือนเป็นลักษณะ ฝาไม้ตกแต่งฝาด้านนอกเป็นลายแบบต่างๆ เช่น ฝาปะกนหรือฝาลูกฟัก ฝาสายบัว และฝาสารวจ เป็น ต้น ยกถอดประกอบกันได้ ชั้นเดียวใต้ถุนสูงมีชายคายื่นยาว ชานกว้าง มีจั่วสูงประดับด้วยปั้นลมที่ แหลมเรียว นิยมปลูกสร้างกันในภาคกลางโดยทั่วไป และนิยมปลูกกันริมแม่น้าลาคลอง เพราะเป็น เส้นทางคมนาคมหลักกล่าวกันว่า เรือนริมน้าสายหนึ่ง มักจะผิดแผกไปจากเรือนริมน้าอีกสายหนึ่ง เรือน ไทยภาคกลางมีลักษณะฐานใหญ่ ปลายสอบที่แปหัวเสา พบตามพื้นบ้านทั่วไป ชนบทและแถบชานเมือง สร้างด้วยวิธีการ “สับปาก” หรือเจ้าปากไม้ หรือต่อตัวไม้ ซึ่งจะทาเป็นเรือนให้ติดกันด้วยการเข้าลิ่มเข้า สลัก มิได้ใช้ประตู เรือประเภทนี้ได้รับการปลูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุพื้นถิ่นเป็นเรือนที่มีรูปแบบง่ายๆ ขนาด
  • 9. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 9 และสัดส่วนเหมาะสมกับสภาพพื้นถิ่นและสภาพภูมิอากาศจึงเป็นเรือนทีได้รับความนิยมแพร่หลายตาม พื้นบ้านในชนบททั่วไป เรือนชนิดนี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า เป็นเรือนพื้นฐานของสังคมไทย ตัวเรือนใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างว่า เรือนประธาน มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ยาว ๓ ช่วงเสาบ้าง ๕ ช่วงเสาบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของเรือน กั้นฝารอบด้นหนึ่งออก ไปสู่ระเบียงเรือน ซึ่งมีทั้งที่ต่อพื้นลดต่าลงและพื้นระดับเดียวกับพื้นในเรือนประธาน พื้นระเบียงแล่นยาว ตลอดด้านข้างเรือนประธาน พื้นส่วนหนึ่งของระเบียงจะกั้นเป็นครัวไฟกั้นฝาหุ้มหัวระเบียงและข้างหน้า ระเบียงไว้ครึ่งหนึ่ง ต่อจากหน้าระเบียงออกมาทาเป็นพื้นลดต่าลงแล่นไปตามยาว เรียกว่า ชาน หัวชาน ด้านใดด้านหนึ่งทาบันไดทอดไว้สาหรับขึ้นหรือลง เรือนประธานทาหลังคาคลุมทรงจั่ว ด้านหนึ่งต่อ หลังคาลาดลงปกคุมระเบียงเรียก พาไล ส่วนชานเปิดโล่งโถง สิ่งใดๆ ในทางช่างเรียกนั้น พวกช่างเรียก ไม่เหมือนกันก็มี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ ต่างภาษาต่างครู ซึ่งเรียกต่างกันแค่ชื่อเท่านั้นแต่องค์ประกอบของ เรือนเป็นเช่นเดิม ฤกษ์ปลูกเรือนในภาคกลาง บางครั้งความเชื่อในการปลูกเรือนของคนภาคกลางก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละจังหวัด แต่บาง จังหวัดก็เหมือนกันและบางจังหวัดก็มีการเพิ่มเติมแตกต่างกันไป สิ่งที่มีความเชื่อคล้ายๆ กัน ก็คือ ปลูกเรือนในเดือน ๕ ทุกข์เท่าฟ้ามาถึงตน เดือนนั้นมิเป็นผลจะเกิดพยาธิบีฑา ปลูกเรือนในเดือน ๖ สาเร็จยกมหึมา ข้าวของท่าจะมาสารพัด ทรัพย์มากเนืองนอง ปลูกเรือนในเดือน ๗ เสียเศร้าหมองศรี ทรัพย์สินอันตนครอง เสียทั้งของอันชอบใจ ปลูกเรือนในเดือน ๘ โจรร้ายแวดเวียนระไว สิ่งสินเท่าใดไว้บ่คง ปลูกเรือนในเดือน ๙ ยกศักดิ์เจ้าอยู่ยืนยง สิ่งสินเท่าใดไว้บ่คง ปลูกเรือนในเดือน ๑๐ เขาจะหยิบเอาความมาบีฑา เกิดทุกขาอัปราไม่เป็นผล ปลูกเรือนในเดือน ๑๑ หยิบเอาความเท็จมาใส่ตน เดือนนี้บ่เป็นผล จะเกิดพยาธิถึงตาย ปลูกเรือนในเดือน ๑๒ คลังเงินทองมากเหลือหลาย ข้าหญิงชายมาก เหลือหลายพ้นประมาณ ปลูกเรือนเดือนอ้าย มีข้าบริวารหลาย เพราะกะการในเดือนนี้นั้นจาเริญผล คติความเชื่อเกี่ยวกับเรือน เรือนไทยหรือเรือนไทยภาคกลางได้รับการปลูกสร้างขึ้นเนื่องด้วยคติความเชื่อต่างๆ อันถือเป็น ประเพณีเฉพาะเรื่องมีดังต่อไปนี้ - การปลูกเรือน ถือคติไม่ปลูกเรือนขวางตะวันคือว่าปลูกเรือนตามยาวไปตามตะวันขึ้นและ ตะวันตก เพื่อให้ได้รับลมเหนือและลมใต้ตลอดทั้งปี - เรือนทรงไทยถือว่าไม่ควรทาเรือนมีจานวนห้องเป็นจานวนคู่ แต่ควรทาให้มีจานวนห้องเป็น จานวนคี่
  • 10. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 10 - บันไดเรือนห้ามมิให้ทาขั้นบันไดเป็นจานวนคู่ให้ทาบันไดแต่ที่เป็นจานวนคี่ ทั้งนี้มีคติว่า “กระไดขั้นคู่กระไดผี กระไดขั้นคี่กระไดคน” - ประตู มีคติเป็นข้อห้ามไม่ให้ทาประตูเรือนครงกับประตูชานและประตูรั้ว - ห้ามมิให้ทาเรือนมรสามจั่วเรียงกัน เนื่องด้วยพ้องกันกับ “วิมานของเทวดา” - ห้ามปลูกเรือนคร่อมตอ เพราะจะทาให้ปลวกพามาขึ้นเรือน - ห้ามปลูกเรือนขวางคู ขวางคลอง จะทาให้เรือนชื้น - ห้ามปลูกเรือนใกล้วัด ไม่กวาดหลังคา - ห้ามปลูกประตูเรือน ๙ ประตู เพราะไปตรงกับทวารทั้งเก้า ท่านว่ารักษาทรัพย์ยาก - ห้ามพาดบันไดเรือนเป็นทางขึ้นลงทางทิศตะวันตกและตะวันออก เรือนล้านนา เรือนล้านนา หมายถึง เรือนพักอาศัยของชนที่มีเชื้อสาย “ไท” ในดินแดนแถบภาคเหนือของ ประเทศไทย อันประกอบด้วย ๙ จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลาพูน ลาปาง แพร่ น่าน ตาก และแม่ฮ่องสอน ที่แสดงถึงลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเฉพาะถิ่นของตน เรือนในจังหวัดเขต เหล่านี้ถือเป็นเรือนล้านนากลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้เพราะมีลักษณะพื้นฐานของวัฒนธรรมอยู่บนกรอบ โครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน แม้บางพื้นที่จะต่างสายพันธุ์ก็ตามลักษณะภูมิประเทศแถบนี้เต็มไปด้วยป่าและ ภูเขาสูง มีอากาศหนาวเย็น ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมทาไร่ทานาเป็นหลัก ลักษณะรูปแบบ ของบ้านเรือนจึงมีลักษณะที่เหมาะสม คือ โดยทั่วไปแล้วจะเป็นเรือนใต้ถุนสูง มีห้องมิดชิด มีชานกว้าง และตั้งร้านน้าไว้ด้านหนึ่งบ้านมีบริเวณกว้าง จะมียุ้งข้าวปลูกไว้ใกล้ๆ ตัวเรือน โดยทั่วไปของแบบอย่าง เรือนล้านนานั้นสามารถแยกออกเป็นประเภทๆ ได้แก่ ๒ ลักษณะ คือ ก. แยกตามชนิดของวัสดุ ข. แยกตามลักษณะการใช้สอยที่ว่างอาคาร ก. แยกตามชนิดของวัสดุ หมายถึง การใช้วัสดุก่อสร้างเป็นตัวกาหนดประเภทอาคาร ซึ่ง สามารถจาแนกแยกย่อยได้เป็นสองแบบ คือ ๑. เรือนไม้บั่ว หรือเรือนเครื่องผูก คือ เรือนพักอาศัยขนาดเล็กที่สร้างขึ้นด้วยไม้ไผ่ทั้งโครงสร้าง อาคารและส่วนประกอบต่างๆ อาทิ พื้นฟาก ฝาขัดแตะ เป็นต้น โดยใช้วิธีการร้อยยึดองค์ประกอบ ดังกล่าวด้วยการฝังเดือยและรัดตอกหวายเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่จะพบเห็นในพื้นที่แถบชนบท ๒. เรือนไม้จริง หรือเรือนเครื่องสับ คือ เรือนที่สร้างขึ้นด้วยไม้จริงทั้งหลัง นับแต่ฐานราก โครงสร้าง ตลอดจนองค์ประกอบต่างๆ โดยยึดโยงส่วนประกอบเหล่านั้นด้วยการบาก สับ สอด เกี่ยว ตามอย่างเทคนิคเครื่องไม้เข้าด้วยกัน เรือนประเภทนี้ถือเป็นเรือนถาวรทั่วไป ข. แยกตามลักษณะการใช้สอยที่ว่างอาคาร หมายถึง การใช้คุณลักษณะของการใช้สอยที่ ว่างอาคารเพื่อการอยู่อาศัยเป็นหลัก
  • 11. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 11 ลักษณะรูปทรงอาคาร เรือนล้านนา เป็นเรือนไม้ยกพื้น มีความสูงจากเดี่ยวล่างประมาณ ๒.๐๐-๒.๕๐ เมตร และเดี่ยวบนประมาณ ๓.๐๐-๓.๕๐ เมตร รูปทรงหลังคาจะทามุมประมาณ ๕๐-๕๖ องศา ซึ่งการทาเป็นเรือนยกใต้ถุนสูงมีหลังคาคลุมเช่นนี้ ดูเหมือนเป็นลักษณะร่วมทั่วไปของเรือนใน แถบภูมิภาคนี้ เรือนกาแล มีความโดเด่นที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ด้วยรูปลักษณะป้อมๆ มีฝาด้นข้าง ผายแบะออกมา ซึ่งทาให้ตัวเรือนดูใหญ่ขึ้น ลักษณะดังกล่าวถูกเน้นให้ชัดเจนขึ้นอีกด้วยระนาบหลังคา แผ่นใหญ่ผืนเดียวที่ทอดยาวคลุมลงมา นอกจากนี้จุดสาคัญอีกแห่งหนึ่งคือแผ่นไม้สองแผ่นที่เรียกกันว่า “การแล” คือ ส่วนปลายด้านบนป้านลมที่ยื่นเลยจากส่วนที่ทบกันออกไปในลักษณะการไขว้ไม้โดยที่ ส่วนนี้จะแกะสลักลวดลายสวยงาม ซึ่งด้วยตาแหน่งแล้วทาให้กาแลเป็นจุดเด่นสาคัญ ที่เข้าใจว่าเป็น รูปแบบเฉพาะของเรือนไทยภาคเหนือไป ความเชื่อในการปลูกเรือนของภาคเหนือ ชาวล้านนาจะมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ คือ เชื่อว่ามีส่วนบันดาลความสวัสดีและความวิบัติแก่ ลูกหลานที่จังคงมีชีวิตอยู่ หากคนรุ่นหลังที่มีชีวิตอยู่ไม่ปฏิบัติตามที่บรรพบุรุษได้วางเอาไว้ย่อมเกิดความ วิบัติก็จะถือว่าเป็นการผิดผี หรือเป็นการผิดจารีต “ฮีตฮ้อย” การแบ่งเนื้อที่พักอาศัยภายในเรือนถือว่ามี ความสาคัญต่อการนับถือผี ชาวล้านยาเชื่อว่ามี “ผีปู่ย่า” หรือบางครั้งเรียกว่า “ผีเรือน” สิงสถิตอยู่ ภายในบ้านเรือน ที่สิงสถิตของผีปู่ย่า คือ ศาล หรือที่เรียกกันว่า “หอผี” ตั้งอยู่ที่ดินด้านหัวนอน เครื่อง บูชา คือ ขันดอกไม้ธูปเทียน เชี่ยนหมาก น้าต้น (คนโทน้า) บ้านที่มีหอผีเรียกว่า “บ้านเกาะผี” (คือบ้าน ที่เป็นต้นตอของผีบรรพบุรุษในกลุ่มเครือญาติตระกูลเดียวกัน) คือเป็นบ้านของหญิงในตระกูลที่อายุ อาวุโสที่สุด ถ้าคนในตระกูลมีการแยกเรือนเป็นครอบครัวก็จะแบ่งผีเอาไปด้วย คือ เอาดอกไม้บูชาผีที่หอ ผีไปไว้ที่เรือนของตนนาไปสร้างทิ้งไว้ที่หัวนอนโดยที่ไม่ต้องทาการสร้างศาล ภายในห้องนอนใกล้กับเสา มงคล ภายในห้องนอนในโลกทัศน์ของชาวล้านนาถือว่าเป็นที่สิงสถิตของชาวปู่ย่าด้วย และถือว่าเป็น บริเวณสาหรับเครือญาติทีถือผีเดียวกัน เป็นบริเวณหวงห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกหรือคนนอกตระกูลที่ ไม่ใช่ผีเดียวกัน เขตหวงห้ามแบ่งโดยธรณีประตู ถ้าเกิดการล่วงล้าเข้าไปเกินเขต เจ้าของบ้านจะทาพิธี ในห้องนอน ผู้ที่แยกเรือนออกไปจากบ้านเก่าผีจะเป็นฝ่ายหญิงเพราะเป็นการสืบทอดทางฝ่ายหญิง ส่วน หิ้งพระที่เก็บเครื่องรางของขลังจะอยู่ที่ฝาเรือนด้านตะวันออกอันเป็นบริเวณส่วนนอกเนื่องจากเป็นสิ่งที่ ชาวล้านนาโดยทั่วไปเคารพบูชา ส่วนหิ้งผีปู่ย่าจะอยู่ในห้องนอน เนื่องจากเป็นคนในตระกูลเท่านั้นที่ เคารพบูชา
  • 12. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 12 เรือนไทยมุสลิม ในภาคใต้ของประเทศไทย สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศาสนาอิสลามที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการ สร้างบ้านเรือนให้คล้อยตามวิถีแบบผู้นับถืออิสลามอย่างแท้จริง ทั้งในรูปแบบการใช้พื้นที่ การอยู่อาศัย การประกอบกิจกรรมในการดาเนินชีวิต การประดับตกแต่งตัวเรือนให้ดูงดงาม ลักษณะเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมของเรือนไทยมุสลิม คือ การผลิตส่วนประกอบของเรือนก่อน แล้วจึงนาส่วนประกอบต่างๆ นั้นขึ้นประกอบกันเป็นเรือน ซึ่งพบว่า เมื่อแหงนดูส่วนต่างๆ ของโครง หลังคาของเรือนไทยมุสลิมจะได้เห็นหมายเลขและเครื่องหมายติดอยู่บนส่วนต่างๆ ของตัวเรือนและตัว เรือนสามรถแยกออกได้เป็นส่วนๆ เมื่อต้องการจะย้ายไปประกอบในพื้นที่อื่น เสาเรือนจะไม่ฝังลงดินแต่ จะเชื่อมยึดกับตอม่อหรือฐานเสา เพื่อป้องกันมดปลวก เนื่องจากสภาพอากาศของภูมิภาคที่มีความชื้น สูง มีหลังคาสูงชัน เพื่อระบายน้าฝนได้รวดเร็ว มีชายคากว้างมากเพื่อป้องกันฝนสาดรวมไปถึงชานที่ เชื่อมห้องต่างๆ ก็มีหลังคาคลุมด้วยเพื่อกันฝน ลักษณะอีกอย่างหนึ่ง คือ เรือนไทยมุสลิมจะแยกส่วนที่ อยู่อาศัย คือ แม่เรือนออกไปจากครัว ซึ่งเป็นที่ประกอบอาหาร โดยใช้เฉลียงเชื่อมต่อกัน เนื่องจากเชื่อ ว่าบริเวณแม่เรือนเป็นบริเวณที่สะอาด ส่วนบริเวณครัวสามารถทาสกปรกได้ ลักษณะเรือนทั่วไป มักจะเป็นเรือนแฝดและสามารถต่อขยายได้ ตามลักษณะของครอบครัว ขยาย โยที่ชานเชื่อมกัน โดยเชื่อว่าสามารถแบ่งแยกให้บรรดาลูกหลานที่จะแยกย้ายตัวเรือนไปประกอบ ใหม่ ณ บริเวณอื่นได้ ภาคใต้นิยมให้บุตรที่แต่งงานแล้วแยกย้ายออกไปอยู่บ้านหลังใหม่ สมัยก่อนจึงเห็น การย้ายบ้านทั้งหลัง โดยอาศัยการร่วมแรงลงแขกกันของคนในชุมชน การใช้พื้นที่ก็เป็นลักษณะหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบของเรือนโดยเฉพาะการกาหนดกิจกรรม ประเภทต่างๆ ในส่วนต่างๆ ของตัวเรือน โดยใช้การเพิ่ม หรือลดระดับชั้นเรือนเพื่อแยกกิจกรรมต่างๆ ออกจากกัน จึงทาให้เรือนไทยมุสลิมมีการเล่นระดับพื้นลดหลั่นกันไป เช่น พื้นบริเวณเฉลียงด้านบันได หน้าแล้วยกพื้นไปเป็นระเบียง จากพื้นระเบียงจะยกระดับไปเป็นพื้นตัวเรือนหลัก หรือแม่เรือน บริเวณนี้ จะเห็นได้ชัดว่าตัวเรือนหลักเป็นบริเวณส่วนตัวของเจ้าของบ้าน จากตัวเรือนหลักจะบดระดับไปเป็นพื้น ครัว จากพื้นครัวจะลดระดับเป็นพื้นฐานซักล้างซึ่งอยู่ติดกับบันไดหลัง การลดระดับพื้นจะเห็นได้ชัดว่ามี การแยกสัดส่วนจากกันในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ส่วนตัวหลังคานั้น พอจะแบ่งแยกได้เป็น ๔ ลักษณะ คือ หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคาบรานอร์ หลังคามนิลา บางตัวเรือน เมื่อสร้างตัวเรือนหลัก เสร็จแล้วยังต้องกาหนดพื้นที่ให้เป็นบริเวณที่จะใช้ทาพิธีละหมาด ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ต้องกระทาวันละ ๕ ครั้ง การกั้นห้องเพื่อเป็นสัดส่วนก็จะกั้นแต่เท่าที่จาเป็น จะนิยมพื้นที่โล่ง เพราะชาวไทยมุสลิมจะใช้ เรือนเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาตามคติความเชื่อของศาสนาอิสลาม และเนื่องจากทางภาคใต้มีอากาศ ร้อนและฝนตกชุก เรือนจึงไม่นิยมตีฝ้าเพดาน และมักจะเว้นช่องลมใต้หลังคาให้ลมกรรโชกอยู่ ตลอดเวลานอกจากนั้นยังใช้หน้าต่างซึ่งบานจะเปิดได้จรดพื้นมีลูกกรงนั้นไว้กันเด็กตก ทาให้รับลมได้ เมื่อนั่งอยู่บนพื้นเรือน การที่ตัวเรือนยกพื้นสูงพอลอดได้ เรือนไทยมุสลิมจึงสามารถใช้ใต้ถุนประกอบ กิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดารงชีวิต เช่น ทากรงนก สานเสื่อกระจูด หรืออาจจะใช้วางแคร่เพื่อ
  • 13. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 13 พักผ่อน บางส่วนอาจจะกั้นไว้เก็บข้างของเครื่องมือเครื่องใช้ บางบ้านก็ทาเป็นคอกสัตว์ โดยไม่ต้องกลัว ขโมยในยามค่าคืน อาคารอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณบ้านก็เป็นเครื่องแสดงอาชีพของผู้อยู่อาศัย เช่น การสร้างยุ้งเก็บ ข้าวเปลือก ซึ่งมีลักษณะเป็นกระท่อม ไม่มีหน้าต่างยกพื้นสูง มุงกระเบื้องหรือสังกะสีส่วนฝาเป็นไม้ไผ่ สาน จะมีประตูเปิดปิดเพียงบานเดียว ซึ่งต่างจากการใช้ยุ้งขาวของภาคกลางกระท่อมเก็บข้าวเปลือกนี้ ชาวเมืองเรียกว่า “เรือนข้าวเปลือก” ความเชื่อเกี่ยวกับการปลูกเรือนภาคใต้ ความเชื่อเรื่องเสาภูมิ เสาภูมิเป็นเสาเอกของการปลูกเรือนเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเจ้าที่โดยมี การผูกผ้าสีขาวบริเวณท้องลอดสูงจากระดับดินพอประมาณ เมื่อเวลามีงานที่จะต้องทาพิธีกรรมเมื่อต้อง บูชาเจ้าก็จะจัดเครื่องบูชามาประกอบพิธียกเสาภูมิ เดิมจะต้องใช้สาวพรหมจารีและจะต้องดูฤกษ์ ก่อน ยกจะเลือกวันขึ้น ๑๓ ค่า เดือน ๖ ปัจจุบันเรือนอาศัยได้เปลี่ยนแปลงไปมีการปลูกเรือนติดดิน ดังนั้นเสา ภูมิเริ่มหายไป จึงมีศาลพระภูมิแบบที่พบเห็นโดยทั่วไปมาทดแทน ความเชื่อเรื่องวันมงคลและอัปมงคล ในการดาเนินวิถีชีวิต ความเชื่อดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับ การถือโชคลาง โดยเฉพาะเรื่องวันที่เป็นอัปมงคลซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี เฮือนอีสาน เฮือน เป็นภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง เรือนที่เป็นที่อยู่อาศัยของชาวอีสาน แต่ละครอบครัวจะปลูก เรือนให้มีเนื้อที่ใช้สอยให้มีขนาดพอเหมาะ โดยทั่วไปเป็นเรือนลักษณะระบบครอบครัวเดี่ยว (Single Family) กล่าวคือ เมื่อครอบครัวขายก็จะออกเรือนใหม่ หรือแยกเรือนไปสร้างหลังใหม่ในบริเวณใกล้ๆ เรือนของพ่อแม่ จากระบบวงจรครอบครัวดังกล่าว จึงทาให้การตั้งบ้านเรือนในหมู่บ้านหนึ่งๆ เกิดกลุ่ม หนาแน่น วางตัวเรือนด้านยาวตามตะวันยักเยื้องไปมา บริเวณที่ว่างรอบตัวเรือนแต่ละหลัง กาหนดให้ เป็นลานบ้านใช้เป็นทางสัญจรติดต่อถึงกันได้ตลอด ภายในคุ้มของหมู่บ้านหนึ่งๆ จากลักษณะสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่ค่อนข้างร้อนและแห้งแล้ง ตลอดจนการดารงชีวิตใน สายวัฒนธรรมไทย-ลาว เรือนอีสานจึงมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเรือนในภูมิภาคอื่นๆ ตรงที่เป็นเรือน ยกใต้ถุนสูง เพื่อให้ลมพัดผ่านและเกิดที่ว่างบริเวณใต้ถุน มีความร่มเย็นสนองประโยชน์ใช้สอยที่สาคัญ แก่ชาวอีสานหลายอย่าง เช่น ทาคอกโค กระบือ ใช้เก็บเครื่องมือการเกษตร ใช้เก็บเกวียนทาแคร่นั่ง พักผ่อนและรับแขกในเวลากลางวัน ตาแหน่งใกล้กับบริเวณทาหัตถกรรมพื้นบ้านและเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ตั้งที่ตาหูกทอผ้า จักสานและปั้นหม้อ และนอกจากนี้ในบริเวณบ้านบางครั้งบางครอบครัวจะมีการ สร้างเล้า หรือยุ้งเก็บข้าวไว้ไม่ห่างจากบริเวณตัวบ้านมากนัก เป็นต้น เรือนอีสานส่วนใหญ่จะมีลักษณะเปิดโล่งและโปร่งลม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ ตัว เรือนจะมีฝาปิดกั้นเฉพาะส่วนที่เป็นเรือนนอนและฝาด้านนอกบางส่วน เรือนพื้นถิ่นอีสานแยกตาม ประเภทและลักษณะใหญ่ได้ ๓ ลักษณะ ดังนี้
  • 14. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 14 ๑. เฮือนแฝดมีเรือนโข่ง เป็นเรือนปลูกสร้างคู่กัน ๒ หลังระหว่างเรือนใหญ่ หรือเรือนนอน และ เรือนโข่ง (เรือนระเบียง) โดยหลังคาเรือน ๒ หลังมาจรดกันมีฮางริน (รางน้า) ไม้ ๒ แผ่น ยา (อุด) ด้วยขี้ ชีในการเชื่อมต่อระหว่างเรือนทั้งสอง เรือนโขงจะมีโครงสร้างของตนเองสามารถรื้อไปปลูกที่อื่นได้ใน กรณีที่สมาชิกในครัวเรือนต้องการเรือนเหย้า เรือนโขงภายในจะเปิดโล่งไม่กั้นห้อง จึงทาให้เกิดที่ว่างบริ เวณฮางรินกับเรือนโข่งที่สอนงประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งยังเป็นศูนย์กลางภายในที่เชื่อมต่อกับส่วนอื่น บนเรือน เช่น เรือนใหญ่ ครัว ชาน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จึงนับได้ว่าเป็นเรือนที่นิยมปลูกสร้างแบบ หนึ่งของเรือน พื้นถิ่นอีสาน และนอกจากนี้ยังมีเรือนที่สร้างในลักษณะคลายกัน แต่ต่างกันที่เป็นเรือน แฝด โดยโครงสร้างแตกต่างกันสร้างในลักษณะที่มีโครงสร้าง เสา พื้น และจั่วยึดต่อติดกันกับเรือนใหญ่ และมีระดับพื้นเท่ากันเรียกตามภาษาถิ่นว่า “เรือนแฝด” รูปร่างและประโยชน์ใช้สอยเหมือนเฮือนโข่ง ซึ่งจะพลไม่มากนัก ๒. เฮือนเดี่ยวไม่มีเฮือนโข่ง เป็นเรือนขนาดเล็กกว่าเรือนแฝด ส่วนประกอบของเรือนมีเรือน ใหญ่ (เรือนนอน) เพียงหลังเดียวหน้าเรือนเป็นเฉลียงมีโครงสร้างหลังคาต่อจากเรือนใหญ่ ด้านหน้า เฉลียงเป็นชาน (ซาน) และฮ้านแอ่งน้า (ร้านโอ่งน้า) เรือนเดี่ยวมีบันไดขึ้นลงมาทางเดียว แต่อย่างไรก็ ตามพื้นถิ่นอีสานลักษณะนี้นิยมปลูกสร้างซึ่งจะพบมากเช่นเดี่ยวกันเรือนแฝดที่มีเรือนโข่ง ๓. เฮือนชั่วคราว เป็นเรือนที่ปลูกสร้างขึ้นชั่วคราวของผู้ที่ออกเรือนใหม่ที่มีฐานะไม่มั่นคงพอ ก็ จะสร้างเป็นเรือนชั่วคราวอยู่ระยะหนึ่งใกล้กับเรือนพ่อแม่ เรือนชั่วคราวมี ๒ ลักษณะ กล่าวคือ ทา โครงสร้างลักษณะเกย (เพิง) ต่ออาคาร เช่น เกยต่อเล้าข้าว (เพิงต่อยุ้งข้าว) ชนิดที่เป็นตูบหรือกระต๊อบ เล็กๆ ปลูกสร้างจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ หญ้า ใบไม้ และวัสดุอื่นๆ เรือนชั่วคราวเป็นเรือน ขนาดเล็กจึงไม่แบ่งกั้นห้อง เรือนพื้นถิ่น ๔ ภาคเป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทยซึ่งมีมากมาย หลากหลาย และในปัจจุบันกาลังสูญหายไปจากสังคม ซึ่งหากไม่มีการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เหล่านี้คงจะสาบสูญไปอย่างแน่นอน เฉกเช่นเดียวกับวัฒนธรรมประเพณีอื่นๆ ที่นับวันยิ่งลดน้อยถอย หายออกไปเช่นเดียวกัน การปลูกเรือนของไทยอีสาน ควรเลือกดูว่า วันเวลา เดือน ปี โสกหรือโฉลก ถ้าทาถูกจะดีเป็นมงคล ดังนี้ วันอาทิตย์ ท่านห้ามปลูก ความอุบาทว์จัญไร จะเกิด วันจันทร์ ท่านว่าปลูกได้จะมีลาภ ผ้าผ่อนท่อนสไบบังเกิดแก่เจ้าของบ้าน วันอังคาร ท่านห้ามปลูก จะเกิดอันตรายจากไฟ วันพุธ ท่านว่าดี มีลาภเป็นของขาวเหลือง วันพฤหัสบดี ท่านว่าดี จะสุขเถิดจะได้ลาภและความสุขพูนทวี วันศุกร์ ท่านว่า ห้ามปลูกจะมีทุกข์ และสุขเท่ากันแล วันเสาร์ที่ ท่านห้ามปลูกเด็ดขาด จะเกิดถ้อยความ มีคนเบียดเบียนและมีเรื่องเดือดร้อนใจ
  • 15. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 15 ปลูกเรือนเดือนอ้าย (เดือนเวียง) ทาการค้าขึ้น จะได้เป็นเศรษฐี เพราะกิจการค้า เดือนยี่ ดีมีสิริในการป้องกันศัตรูทั้งมวล เดือน ๓ ห้ามปลูกจะมีภัยศัตรูเบียดเบียน เดือน ๔ ปลูกดีจะมีลาภ จะมีความสุขกาย สบายใจ เดือน ๕ จะเกิดทุกข์ร้อนไม่สบายใจ เดือน ๖ ประเสริฐ จะส่งผลให้เงินทองไหลมาเทมา เดือน ๗ ท่านห้ามปลูก จะเป็นอันคายแก่ทรัพย์ที่หาไว้ได้แล้วจักถูกโจรลักหรือ ไฟไหม้ เดือน ๘ ท่านห้ามปลูกเรือน เช่นกัน เงินทองข้าวของที่เก็บไว้จะมีอยู่คงที่แล เดือน ๙ ท่านให้เร่งปลูก ถ้ารับราชการจะได้รับการปูนบาเหน็จ และถ้ามิได้รับ ราชการก็เจริญในการประกอบอาชีพ เดือน ๑๐ ท่านห้ามปลูกจะได้รับอันตรายจากโทษทัณฑ์อาญาแผ่นดิน และการ เจ็บไข้ได้ป่วย เดือน ๑๑ ท่านห้ามปลูก จะถูกคนหลอกลวงเอาของและสิ่งที่หวงแหน เดือน ๑๒ ท่านว่าเร่งปลูกจะได้เงินทอง ข้าวของ ช้างม้า ข้าทาสผู้ซื่อสัตย์แล ๔. คาศัพท์เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย วัด Temple, monastery วัดหลวง Royal monastery วัดราษฎร์ Common monastery อุโบสถ Ubosot or bot, ordination hall, a place where Buddhist ordinations and rituals are performed, and monks gather to worship and meditate. The area is marked by eight boundary stones called sima. เสมา Sima, Boundary stones mark the sacred ground of the ordination hall. One sima marker is set at each of the four corners and one in the middle of each of the four sides. Under these sima markers, sima stones (luk nimit) are buried.
  • 16. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 16 วิหาร Viharn, vihara, assembly hall, a place where monks and the laymen gather to conduct merit-making rituals and where the principal Buddha image is enshrined.This building is not marked by boundary stones. เจดีย์ Chedis, stupas were originally used to enshrine relics of the Buddha. Later, they came to be used as repositories for relics of holy men, kings, etc. Nowadays, they may contain the ashes of deceased monks or laymen. ปรางค์ Prang is a stupa of corn-cop shape which originated from the khmer sanctuary tower. It has three niches and one entrance door reached by means of a very steep staircase. It contains Buddha images. มณฑป Mondop is a block-shaped building with a stepped pyramidal roof, built to house important objects such as a Buddha image, Buddha’s footprint, or Tripitaka, a collection of Buddhist scriptures. วิหารคด L - Shaped building at the corners of the religious area of a Buddhist monastery. หอระฆัง Bell tower, belfry หอไตร Ho trai, library ศาลาการเปรียญ Sala kan parien, preaching hall ศาลา Sala, open pavilion used for resting กุฏิ Kuti, monastic residence ระเบียง Gallery surrounding the assembly hall (vihara) or the ordination hall (ubosot) เครื่องบนของหลังคา Roof structure ส่วนประดับหลังคา Roof decoration หลังคาทรงจั่ว Gable Roof
  • 17. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 17 หลังคาชั้นเดียว Simple roof, single roof (of the common monastery) หลังคา ๒ ชั้น Double-tiered roof (of the royal monastery) หลังคาซ้อนหลายชั้น Multi-tiered roof หลังคาทรงจัตุรมุข Roof with four gable ends หน้าบัน Gable end, pediment ornamented with luxuriant floral motif and motifs of deities. ช่อฟ้า Cho fa, sky tassel, horn - like finial on the roof ridge, representing the fin on the back of a naga. ใบระกา Tooth – like ridges on the sloping edges of a gable, representing the fin on the back of a naga. หางหงส์ Small finials jutting out of the two side – corners of the gable, representing the heads of naga. เสา Pillar, column บัวหัวเสา Lotus capital คันทวย Eaves bracket เสานางเรียง Colonnade บานประตู Door panel บานหน้าต่าง Window panel เจดีย์ สถูปเจดีย์ Chedi, stupa, a reliquary tower enshrining relics of the Buddha, his disciples, or the ashes of important persons, religious or royal. It originated from the stupas of India and Sri Lanka. เจดีย์ทรงระฆัง Bell – shaped stupa เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา Ceylonese – style circular stupa เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง Square stupa with indented corners
  • 18. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 18 เจดีย์ทรงดอกบัวตูม Lotus – shaped stupa สาลาโถง Open pillared building or gazebo พลับพลาสาหรับพระราชพิธี Ceremonial pavilion พลับพลาโถงแบบจัตุรมุข Open pavilion with four porches ศาลาเปลื้องเครื่อง Disrobing pavilion พระที่นั่งที่ประทับ Hall of residence พระที่นั่งบนกาแพงวัง Open pavilion on the wall ท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการ Audience hall หลังคาชั้นลด Multi – tiered roof or saddle roof หลังคาชั้นลด ๔ ชั้น Four – tiered roof. (reserved only to halls used by the king) หลังคาชั้นลด ๒ ชั้น double – tiered roof ปีกนก ๒ ชั้น Two overlapping eaves เสานางเรียง Colonnade of square pillars อาคารก่ออิฐถือปูน Musonry building อาคารไม้ Building of wood, wooden building ผังอาคารรูปกากบาท Greek – cross floor plan เครื่องบนเครื่องยอด Superstructure หลังคาทรงปราสาท ๗ ชั้น Seven – tiered spire – like roof ยอดปราสาท Spire คอระฆัง Angular bell เหม Three tiers of elongated lotus petals
  • 19. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 19 บัวกลุ่ม Seven superimposed lotus flowers ป้องไฉน Circular disks ปลี หรือปลียอด Pli, Plantain – shaped pinnacle ลูกแก้ว Glass ball พุ่มข้าวบิณฑ์ Cone – shaped arrangement of flowers ครุฑรับไขรา Bracket supporting the base of the spire in a form of garuda holding its traditional enemy. หน้าบัน Pediment or gable หน้าบันจาหลักพระนารายณ์ Pediment depicting Visnu mounted on the garud ทรงสุบรรณ หน้าบันจาหลักสมเด็จพระ Pediment depicting Indra seated above an abode อมรินทราธิราชประทับเหนือ of three spires วิมานปราสาทสามยอด หน้าบันจาหลักพระมหามงกุฎ Pediment carrying a royal crown and the royal และพระราชลัญจกร insignia. ปั้นลม Bargeboard ช่อฟ้า Finial หางหงส์ Decorative roof – end having the form of a broad goose tail นาคเบือน Decorative roof – end having the form of a three – headed naga เรือนแก้ว Stucco casing of doors and windows เรือนแก้วทรงซุ้มบันแถลง Window or door casing of a miniature ornamental gable เรือนแก้วทรงซุ้มปราสาท Window or door casing of a spired hall
  • 20. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 20 ฐานสิงห์ Decorative base supporting the window frame which is in the shape of a low table with concave legs. บานประตูเขียนรูปเทวดายืนแท่น Door panel of the door depicting standing deva บานประตูจาหลักทวารบาล Door panel depicting guardian angels พระวิมาน Hall containing the royal bedchamber and a big sitting room. พระปรัศว์ซ้าย-ขวา The annexes on the left and the right that flank the inner audience hall หอพระ Chapel to house important Buddha images and sacred objects and the ashes of royal ancestors ท้องพระโรงใน Inner audience hall พระที่นั่ง Throne hall พระแท่นบัลลังก์ประดับมุก Throne of mother – of – pearl พระแท่นราชบรรจถรณ์ประดับมุก Bed of mother – of – pearl
  • 21. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 21 เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. กองสถาปัตยกรรมและกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (๒๕๓๘) สถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (๒๕๕๑). คู่มืออบรมมัคคุเทศก์ เล่นที่ ๑ ภาคความรู้ทางวิชาการ. กรุงเทพฯ : กองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว __________. (๒๕๕๑). คู่มืออบรมมัคคุเทศก์ เล่มที่ ๕ ภาคความรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : กองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว เฉลิม รัตรทัศนีย. (๒๕๓๙). วิวัฒนาการศิลปะสถาปัตยกรรมไทยพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : สมาคม สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. โชติ กัลยาณมิตร. (๒๕๓๙). สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ไทยประกันชีวิต. (๒๕๕๒). บ้านเรือนไทยภาคอีสาน. [อ้างเมื่อ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๒], จาก http://th.wikipedia.org ธิดา สุทธิธรรม. (๒๕๔๒). สถาปัตยกรรมไทย. ขอนแก่น : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นงนุช ไพรบูลยกิจ. (๒๕๔๒). เรือนไทยภาคเหนือ. [อ้างเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒], จาก http://th.wilipedia.org/wiki/ บ้านเรือนไทยภาคกลาง (๓). [อ้างเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒], จาก http://th.wikipedia.org บุญชู โรจนเสถียร. (๒๕๔๘). ตานานสถาปัตยกรรมไทย ๒ สถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โครงการวิชาบูรณาการหมวดศึกษาทั่วไป. (๒๕๔๕). ไทยศึกษา. พิมพ์ครั้ง ที่ ๓. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลมูล จันทร์หอม. (๒๕๔๗) ประเพณีความเชื่อการปลูกเรือนในล้านนาและเรือนกาแล. พิมพ์ครั้งที่ ๒. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง. ___________. (๒๕๕๒). บ้านเรือนไทยภาคเหนือกาแล. [อ้างเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒], จาก http://th.wikipedia.org วิชิต คลังบุญครอง. (ม.ป.ป.). สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยชาวไทยอีสานและชาวไทยผู้ไทย. ขอนแก่น : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิชิต คลังบุญครอง และไพโรจน์ เพชรสังหาร. (๒๕๔๖). อีสานสถาปัตย์ ฉบับพิ เศษ : สถาปัตยกรรม อีสาน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.