SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 23
บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบร่างพระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต
พ.ศ. ....
หลักการ
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิต
เหตุผล
โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติให้การจัดการศึกษา
ยึดหลักการที่สำาคัญประการหนึ่งคือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำาหรับ
ประชาชน ซึ่งเป็นการศึกษาที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การ
ศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนา
คุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ปรากฏว่า มีปัญหาต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงแก้ไขหลายประการ โดยเฉพาะ
คุณภาพการศึกษา ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ รวมทั้งการเพิ่ม
โอกาสทางการศึกษา หน่วยปฏิบัติยังไม่มีอิสระและความคล่องตัวในการ
บริหารและการจัดการศึกษาเท่าที่ควร การให้บริการการศึกษาแก่ผู้
ด้อยโอกาสยังไม่ทั่วถึง การศึกษาตลอดชีวิตขาดเนื้อหาและวิธีการที่
เหมาะสมที่จะทำาให้มีสัมฤทธิผลตามที่ควร ขาดการปรับปรุงกฎระเบียบ
ที่จะเอื้ออำานวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำาให้การศึกษา
ตลอดชีวิตยังไม่เป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ รวมทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมใน
การบริหารและจัดการศึกษา แม้ว่าจะมีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการ
ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นกลไกขับเคลื่อนหลักการ
และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติที่สำาคัญกลไก
หนึ่งก็ตาม เพื่อให้การศึกษาตลอดชีวิตเป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ
ทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่าง
ต่อเนื่องตลอดชีวิต เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการ
สร้างสรรค์ ระบบการศึกษาและเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการพัฒนา
ประเทศที่มีศักยภาพอย่างแท้จริงภายใต้หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือ
สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต จึงจำาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2
ร่าง
พระราชบัญญัติ
การศึกษาตลอดชีวิต
พ.ศ. ....
............................................
............................................
............................................
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิต
…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………
…………………………
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษา
ตลอดชีวิต พ.ศ. ....”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“การศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า การศึกษาที่จัดให้กับ
ประชาชน ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตาม
อัธยาศัย หรือการศึกษาที่ผสมผสานการศึกษาทั้งสามรูปแบบที่เหมาะสมกับ
บุคคล อายุ พื้นฐานการศึกษา อาชีพ ความสนใจ และสภาพแวดล้อม
ของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต
2
“การเรียนรู้ตลอดชีวิต” หมายความว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลง
และพัฒนาที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล อันเป็นผลมาจากการได้รับความรู้
ทักษะ หรือประสบการณ์จากการศึกษา หรือจากกิจกรรมในวิถีชีวิตที่
สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย
“ภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า บุคคล
ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กร
เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ หน่วยงานของรัฐ
และสถาบันสังคมอื่นที่จัดหรือมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
“การศึกษาในระบบ” หมายความว่า การศึกษาที่กำาหนดจุดมุ่ง
หมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและ
ประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำาเร็จการศึกษาที่แน่นอน
“การศึกษานอกระบบ” หมายความว่า การศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธี
การจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพ
ความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้น และมีวิธี
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการ
ศึกษา หรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้
“การศึกษาตามอัธยาศัย” หมายความว่า การเรียนรู้ในวิถีชีวิต
ประจำาวันของบุคคลที่เกิดขึ้นโดยไม่มีหลักสูตรหรือวิธีการเรียนรู้ที่แน่นอน
และบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างอิสระ ตามความสนใจ เวลา
ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของตนเอง
“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดสำานักงาน
การศึกษาตลอดชีวิต
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการศึกษาตลอด
ชีวิต
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอด
ชีวิต
“สำานักงาน” หมายความว่า สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต
“กระทรวง” หมายความว่า กระทรวงศึกษาธิการ
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราช
บัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพ
ระราชบัญญัตินี้ และมีอำานาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
3
หมวด ๑
การจัด การส่งเสริม และการสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต
____________________
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
____________________
มาตรา ๖ ให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการ
ศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ ยืดหยุ่น หลากหลาย สอดคล้องกับวิถีชีวิต
ความต้องการ และความแตกต่างของบุคคล เพื่อให้บุคคลมีโอกาสเรียนรู้
และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา ๗ การจัด การส่งเสริม และการสนับสนุนการศึกษา
ตลอดชีวิต ให้ดำาเนินการโดยไม่จำากัดเพศ อายุ พื้นฐานการศึกษา
อาชีพ และความสนใจของบุคคล โดยยึดหลักการ ดังต่อไปนี้
(๑)เพิ่มโอกาสทางการศึกษาของประชาชน
(๒) สนองความจำาเป็นและความต้องการในการเรียนรู้ของ
บุคคลและชุมชน
(๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาตลอดชีวิต
อย่างต่อเนื่อง
(๔)ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำาเนินงานการ
ศึกษาตลอดชีวิต
ส่วนที่ ๒
การจัดการศึกษาตลอดชีวิต
____________________
มาตรา ๘ การจัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้จัดในสถานศึกษา
สถานที่ของภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต หรือแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
การจัดการศึกษาตลอดชีวิตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตาม
แผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตที่คณะกรรมการกำาหนด
4
มาตรา ๙ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ต้อง
คำานึงถึง
(๑)ความเป็นเอกภาพด้านนโยบายและความหลากหลายในการ
ปฏิบัติ
(๒) การศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความถนัดและความ
สนใจของบุคคล
(๓) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต
ในการเสนอแนะกรอบนโยบายเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนากำาลังคนของ
ประเทศ รวมทั้งเสนอแนะการกำาหนดมาตรฐานการศึกษา
มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้ดำาเนินการเพื่อเป้า
หมายในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑)ผู้เรียนมีเจตคติ ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จำาเป็นสำาหรับใช้
เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
(๒) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีนิสัยรักการ
อ่าน ใฝ่เรียนรู้ ได้รับความรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความจำาเป็นใน
การยกระดับคุณภาพชีวิต มีความพร้อมในการดำาเนินชีวิตอย่างผสม
กลมกลืนกับสังคมที่ต้องใช้ความรู้อย่างรอบด้าน และสามารถนำาความรู้ที่
ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการเทียบโอนผลการเรียน เทียบโอนความรู้และ
ประสบการณ์ และเทียบระดับการศึกษาได้
(๓) บุคคลและชุมชนเกิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพ
สังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นสังคม
แห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งการสร้างสรรค์และการพัฒนาที่ยั่งยืน
มาตรา ๑๑ การจัดทำาแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ให้
คณะกรรมการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาและให้ความเห็นชอบ แล้ว
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต เมื่อได้ประกาศในราชกิจ
จานุเบกษาแล้ว ให้มีผลใช้บังคับแก่ส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษา
หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต
แผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตกำาหนดช่วงระยะเวลาของ
แผนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ส่วนที่ ๓
การส่งเสริมและการสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต
____________________
มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการจัด การส่งเสริม และการ
สนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต ให้ส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษา
5
หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต
ดำาเนินการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑)สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสิ่งอำานวยความสะดวก
เพื่อสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต
(๒) การช่วยเหลือด้านการเงินในรูปแบบของงบประมาณหรือ
การบริจาค เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต
(๓) การจัดการศึกษา การพัฒนาวิชาการและบุคลากร การใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต
(๔) สิทธิประโยชน์และการยกย่องประกาศเกียรติคุณตาม
ความเหมาะสมให้แก่ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต
(๕) การสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงได้ตามความเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียน
รู้ของชุมชน
(๖)ทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำาเนินการเพื่อให้บุคคลและ
ชุมชนได้เรียนรู้ตามความสนใจและความต้องการที่สอดคล้องกับความ
จำาเป็นของสังคม
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการส่งเสริมและสนับสนุนตาม
วรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการจัดและการพัฒนาการศึกษา
ตลอดชีวิต ให้ส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษา และหน่วยงานของรัฐที่
เกี่ยวข้องร่วมมือกับภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตดำาเนินการในเรื่อง
ต่อไปนี้
(๑)จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้
เรียนมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้อย่างสะดวกและทั่วถึง
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำาเนินงานของภาคีเครือข่ายการ
ศึกษาตลอดชีวิต ให้เกิดความร่วมมือและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอด
ชีวิตได้รับโอกาสในการจัดสรรทรัพยากรและเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่าง
ทั่วถึง
มาตรา ๑๔ การส่งเสริมและการสนับสนุนการศึกษาตลอด
ชีวิต ให้ดำาเนินการเพื่อเป้าหมายในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑)ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างต่อ
เนื่องตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาศักยภาพกำาลังคนและสังคม ที่ใช้ความรู้
6
ภูมิปัญญา คุณธรรม และจริยธรรมเป็นฐานในการพัฒนา ทั้งด้าน
เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และคุณภาพชีวิต
(๒) ภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตเกิดแรงจูงใจและมีความ
พร้อมในการมีส่วนร่วมเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษา
มาตรา ๑๕ ให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมและสนับสนุนการ
ศึกษาตลอดชีวิต โดยให้ความสำาคัญแก่ผู้เกี่ยวข้องตามบทบาทและหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑)ผู้เรียน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
เรียนรู้ และสามารถเลือกรับบริการได้หลากหลายตามความต้องการของ
ตนเอง
(๒) ผู้จัดมีการดำาเนินการที่หลากหลายตามศักยภาพเพื่อ
ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยบูรณาการความรู้ ปลูกฝัง
คุณธรรม และค่านิยมที่ดีงาม
(๓) ผู้ส่งเสริมและสนับสนุน ซึ่งเป็นผู้ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่
ผู้เรียนและผู้จัดมีการดำาเนินการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมและ
สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
หมวด ๒
คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต
____________________
มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการ
คณะกรรมการการอุดมศึกษาและเลขาธิการสภาการศึกษา และผู้ทรง
คุณวุฒิอีกจำานวนไม่เกินสิบสองคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ ให้
เลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตเป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจาก
บุคคลซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา
ตลอดชีวิต ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านการศึกษาสำาหรับผู้ด้อยโอกาส ด้าน
การศึกษาสำาหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านการศึกษาเอกชน ด้านการ
บริหารการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม ด้านธุรกิจและ
7
บริการ ด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และด้านการกีฬา
ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน
มาตรา ๑๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการ
ศึกษาตลอดชีวิตต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑)มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ตำ่ากว่าสามสิบปีบริบูรณ์
(๓) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญอัน
เป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
(๔)ไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม จรรยาบรรณ และ
การประกอบวิชาชีพ
(๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือน
ไร้ความสามารถ
(๖) ไม่เคยได้รับโทษจำาคุกโดยคำาพิพากษาถึงที่สุดให้จำาคุก
เพราะกระทำาความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำาหรับความผิดที่
ได้กระทำาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗) ไม่เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจาก
รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
มาตรา ๑๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษา
ตลอดชีวิตมีวาระการดำารงตำาแหน่งคราวละสี่ปี
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำาแหน่งก่อนวาระ
รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้
ดำารงตำาแหน่งแทนอยู่ในตำาแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
เมื่อครบกำาหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้ง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจาก
ตำาแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำาแหน่งเพื่อดำาเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำาแหน่งตามวาระ อาจได้รับ
การแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำารงตำาแหน่งติดต่อเกินสองวาระไม่ได้
นอกจากการพ้นจากตำาแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต พ้นจากตำาแหน่งเมื่อ
(๑)ตาย
(๒) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ
(๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗
(๔)ถูกถอดถอนโดยรัฐมนตรีตามมติของคณะกรรมการการศึกษา
ตลอดชีวิต ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำานวนกรรมการ
ทั้งหมด
8
มาตรา ๑๙ การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมา
ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์
ประชุม และให้มีการประชุมคณะกรรมการปีละไม่น้อยกว่าสี่ครั้ง
ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่
ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รอง
ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการหรือ
รองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้
กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการ
คนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้
ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการมีอำานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนการส่งเสริมการ
ศึกษาตลอดชีวิตที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(๒) กำาหนดแนวทางการดำาเนินงานตามนโยบายและ
แผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
(๓) กำากับมาตรฐานการจัดการศึกษาตลอดชีวิตตามพระ
ราชบัญญัตินี้
(๔)กำาหนดหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนการศึกษา
ตลอดชีวิต
(๕)แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบ
หมาย
(๖)ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่
บัญญัติให้เป็นอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่รัฐมนตรีมอบ
หมาย
มาตรา ๒๑ ให้มีคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดทุก
จังหวัด ดังต่อไปนี้
(๑)คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่า
ราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
เกษตรจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้แทน
กระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้แทน
นายกเทศมนตรี ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำาบล และผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำานวนเก้าคนเป็นกรรมการ และให้ผู้อำานวยการ
สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
9
(๒) คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร
ประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ ผู้แทน
กระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกระทรวง
มหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการใน
กรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำานวนเก้าคนเป็น
กรรมการ และให้ผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต
กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการ
คุณสมบัติ วิธีการได้มา วาระการดำารงตำาแหน่ง การพ้นจาก
ตำาแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาตลอด
ชีวิตทุกจังหวัด ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำาหนด
มาตรา ๒๒ คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดและ
คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร มีอำานาจหน้าที่ ดัง
ต่อไปนี้
(๑)พิจารณาและให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนการส่ง
เสริมการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดหรือแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอด
ชีวิตกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการ
ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
(๒) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานให้บุคคล ครอบครัว
ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กร
วิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กร
อื่นรวมตัวกันเป็นภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อเสริมสร้างความ
เข้มแข็งในการดำาเนินงานการศึกษาตลอดชีวิต
(๓) ประสานงานและร่วมมือในการพัฒนา ส่งเสริม
สนับสนุน และจัดการศึกษาตลอดชีวิตกับภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอด
ชีวิต
(๔)ส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต
จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการส่งเสริมการศึกษา
ตลอดชีวิตจังหวัดหรือแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
(๕)ติดตามและประเมินผลการดำาเนินการส่งเสริมการศึกษาตลอด
ชีวิตของสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด หรือสำานักงานการศึกษา
ตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
(๖)ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
10
มาตรา ๒๓ การประชุมของคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต
จังหวัด และคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร ให้นำา
ความในมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะ
หนึ่ง เรียกว่า “คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต” ที่
ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม
และสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต
จำานวนอนุกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์วิธีการได้มาของ
ประธานและอนุกรรมการ วาระการดำารงตำาแหน่งและการพ้นจาก
ตำาแหน่ง รวมทั้งอำานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายการ
ศึกษาตลอดชีวิต ให้เป็นไปตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง
หมวด ๓
สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต
____________________
มาตรา ๒๕ ให้จัดตั้งสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ใช้ชื่อย่อ
ว่า “สำานักงาน กศช.”” ขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ มีฐานะเป็นกรมตาม
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีเลขาธิการ
สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ
สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ศึกษาธิการ และให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการ
มาตรา ๒๖ ให้สำานักงานมีอำานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นหน่วยงานกลางในการดำาเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน
และประสานงานการศึกษาตลอดชีวิต และรับผิดชอบงานธุรการของคณะ
กรรมการ
(๒) จัดทำานโยบายและแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
(๓) จัดทำามาตรฐานการศึกษาตลอดชีวิตเสนอต่อคณะ
กรรมการ
(๔)ส่งเสริม สนับสนุน และดำาเนินการพัฒนาคุณภาพทาง
วิชาการ การวิจัย การพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมทางการศึกษา
บุคลากร และระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตลอดชีวิต
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการสร้างความร่วมมือและแลก
เปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับนานาประเทศ
(๕)ส่งเสริม สนับสนุน และดำาเนินการเทียบโอนผลการเรียน
การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับการศึกษา
11
(๖)บริหารจัดการสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา สถานี
วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา การใช้
ประโยชน์เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ห้องสมุด
ประชาชน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนชุมชน และแหล่งการเรียนรู้อื่น เพื่อ
ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ของประชาชน
(๗) ดำาเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมิน
ผลการดำาเนินงานการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตรายงานต่อคณะ
กรรมการ
(๘) ปฏิบัติงานอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
ที่บัญญัติให้เป็นอำานาจหน้าที่ของสำานักงาน หรือตามที่คณะกรรมการ
หรือรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๒๗ ให้มีสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดทุก
จังหวัด ดังต่อไปนี้
(๑)สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ใช้ชื่อย่อว่า “สำานักงาน
กศช. จังหวัด” เป็นหน่วยงานในสังกัดสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต และ
เป็นหน่วยงานการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา ทำาหน้าที่จัดทำานโยบายและแผนการส่งเสริมการ
ศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ตลอดจนเป็นหน่วยงานธุรการของคณะ
กรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด และมีอำานาจหน้าที่บริหาร
ประสาน และส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตภายในจังหวัด
(๒) สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร ใช้ชื่อ
ย่อว่า “สำานักงาน กศช.กทม.” เป็นหน่วยงานในสังกัดสำานักงานการ
ศึกษาตลอดชีวิต และเป็นหน่วยงานการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำาหน้าที่จัดทำานโยบาย
และแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานครตลอดจนเป็น
หน่วยงานธุรการของคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต
กรุงเทพมหานคร และมีอำานาจหน้าที่บริหาร ประสาน และส่งเสริมการ
จัดการศึกษาตลอดชีวิตภายในกรุงเทพมหานคร
ให้หน่วยงานการศึกษาตามวรรคหนึ่ง มีผู้อำานวยการสำานักงาน
การศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด หรือผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอด
ชีวิตกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ และ
มีฐานะเป็นผู้บริหารการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
ของหน่วยงานดังกล่าว ยกเว้นสถานศึกษาซึ่งมีลักษณะเฉพาะและมีความ
12
รับผิดชอบในการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรือมีพื้นที่การให้
บริการครอบคลุมหลายจังหวัด
มาตรา ๒๘ ให้สถานศึกษาทำาหน้าที่จัดการศึกษาตลอดชีวิต
หรือจัดร่วมกับภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ตามแผนการส่งเสริม
การศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดหรือแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
ให้สถานศึกษาซึ่งมีลักษณะเฉพาะและมีความรับผิดชอบในการ
ให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรือมีพื้นที่การให้บริการครอบคลุม
หลายจังหวัด เป็นสถานศึกษาขึ้นตรงต่อสำานักงาน
การจัดตั้ง ยุบ เลิก รวม การกำาหนดบทบาท อำานาจและหน้าที่
ของสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรี
ประกาศกำาหนด
มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งมีคณะกรรมการสถาน
ศึกษา
จำานวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของ
ประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำารงตำาแหน่ง และการพ้น
จากตำาแหน่ง รวมทั้งอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา ให้
เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำาหนด
มาตรา ๓๐ ให้สำานักงานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการ
ศึกษาตลอดชีวิตซึ่งเป็นระบบการประกันคุณภาพภายในสำาหรับสถาน
ศึกษาในสังกัดสำานักงาน
ให้สถานศึกษาดำาเนินการประกันคุณภาพภายในให้สอดคล้อง
กับระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายใน โดยได้รับความ
ร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตและ
สำานักงาน
ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายใน ให้เป็นไป
ตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๑ ให้รัฐมนตรีจัดทำาบัญชีรายชื่อสถานศึกษาตาม
มาตรา ๒๘ ที่มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษาตามที่
กำาหนดในพระราชบัญญัตินี้ และประกาศรายชื่อสถานศึกษาดังกล่าว
ในราชกิจจานุเบกษาภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติ
นี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าสถานศึกษาตามบัญชีรายชื่อที่รัฐมนตรีประกาศ
กำาหนดตามวรรคหนึ่งเป็นสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
13
บทเฉพาะกาล
____________________
มาตรา ๓๒ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ภาระ
ผูกพัน งบประมาณ รายได้และบุคลากรของสำานักงานส่งเสริมการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำานักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ มาเป็นของสำานักงานการศึกษา
ตลอดชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๓ ให้คณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสาน
ความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกฎหมาย
ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่
ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการการศึกษา
ตลอดชีวิต ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่ง
ตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่ง
ร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๔ ให้คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายตามกฎหมาย
ว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยซึ่ง
ดำารงตำาแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะ
อนุกรรมการภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ตามพระราชบัญญัตินี้
ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นใหม่ตามพ
ระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราช
บัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๕ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ใน
วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการการศึกษาตลอด
ชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่ง
ตั้งคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการการ
ศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานครขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้
ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๖ ให้เลขาธิการสำานักงานส่งเสริมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และรองเลขาธิการสำานักงานส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ใน
14
วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำานักงานการ
ศึกษาตลอดชีวิต และรองเลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต แล้ว
แต่กรณี ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งเลขาธิการสำานักงาน
การศึกษาตลอดชีวิต และรองเลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต
ขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๗ ให้ผู้อำานวยการสำานักงานส่งเสริมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด ผู้อำานวยการสำานักงานส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร รองผู้
อำานวยการสำานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยจังหวัด และรองผู้อำานวยการสำานักงานส่งเสริมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่
ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำานวยการสำานักงานการ
ศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต
กรุงเทพมหานคร รองผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต
จังหวัด และรองผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต
กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งผู้
อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ผู้อำานวยการสำานักงาน
การศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร รองผู้อำานวยการสำานักงานการ
ศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด และรองผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอด
ชีวิตกรุงเทพมหานคร ขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน
หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๘ ในระหว่างที่ยังมิได้ดำาเนินการให้มี อ.ก.ค.ศ. ของ
สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต กระทรวงศึกษาธิการ ให้ อ.ก.ค.ศ.
สำานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ
อ.ก.ค.ศ. สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต
มาตรา ๓๙ ในระหว่างที่ยังมิได้ดำาเนินการให้มี อ.ก.พ. ของ
สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ให้ อ.ก.พ. กระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติ
หน้าที่ในฐานะ อ.ก.พ. สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต
มาตรา ๔๐ ให้นำากฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศและคำา
สั่งเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ใช้
บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมาใช้บังคับโดยอนุโลม
จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศที่ออกตามพ
ระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้
บังคับ
15
........................................
............................................
บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำาคัญ
ของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต
พ.ศ. ....
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ
การศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร และได้จัดทำา
บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำาคัญของร่างพระราชบัญญัติ ตามมาตรา
๑๔๒ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้
๑. เหตุผลและความจำาเป็นในการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้
กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติให้การจัดการศึกษายึด
หลักการที่สำาคัญประการหนึ่งคือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำาหรับ
ประชาชน ซึ่งเป็นการศึกษาที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การ
ศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนา
คุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ปรากฏว่า มีปัญหาต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงแก้ไขหลายประการ โดย
เฉพาะคุณภาพการศึกษา ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ รวมทั้ง
การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา หน่วยปฏิบัติยังไม่มีอิสระและความคล่อง
ตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาเท่าที่ควร การให้บริการการ
ศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสยังไม่ทั่วถึง การศึกษาตลอดชีวิตขาดเนื้อหา
และวิธีการที่เหมาะสมที่จะทำาให้มีสัมฤทธิผลตามที่ควร ขาดการ
ปรับปรุงกฎระเบียบที่จะเอื้ออำานวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วย
ตนเอง ทำาให้การศึกษาตลอดชีวิตยังไม่เป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ
รวมทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา แม้ว่าจะมี
กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยเป็นกลไกขับเคลื่อนหลักการและเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า
ด้วยการศึกษาแห่งชาติที่สำาคัญกลไกหนึ่งก็ตาม เพื่อให้การศึกษา
ตลอดชีวิตเป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ ทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา
สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เกิดสังคมแห่งการ
เรียนรู้และสังคมแห่งการสร้างสรรค์ ระบบการศึกษาและเรียนรู้เป็นส่วน
หนึ่งของระบบการพัฒนาประเทศที่มีศักยภาพอย่างแท้จริงภายใต้หน่วยงาน
หลักที่รับผิดชอบคือ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต จึงจำาเป็นต้องตรา
พระราชบัญญัตินี้
๒. สาระสำาคัญของร่างพระราชบัญญัติ
2
(๑)ให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อให้การ
ศึกษาตลอดชีวิตเป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ ทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการ
ศึกษา สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เกิดสังคม
แห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการสร้างสรรค์ ระบบการศึกษาและเรียนรู้เป็น
ส่วนหนึ่งของระบบการพัฒนาประเทศที่มีศักยภาพอย่างแท้จริง
(๒) ให้กฎหมายนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ร่างมาตรา ๒)
(๓) กำาหนดให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้พระราช
บัญญัตินี้แทน (ร่างมาตรา ๓)
(๔)กำาหนดถึงคำานิยาม คำาว่า “การศึกษาตลอดชีวิต” “การ
เรียนรู้ตลอดชีวิต” “ภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต” “การศึกษาใน
ระบบ” “การศึกษานอกระบบ” “การศึกษาตามอัธยาศัย” “สถานศึกษา”
“คณะกรรมการ” “เลขาธิการ” “สำานักงาน” “กระทรวง” “รัฐมนตรี”
(ร่างมาตรา ๔)
(๕)กำาหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการ
ตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำานาจออกกฎกระทรวงและประกาศ (ร่าง
มาตรา ๕)
(๖)หมวด ๑ การจัด การส่งเสริม และการสนับสนุนการศึกษา
ตลอดชีวิต ส่วนที่ ๑ บททั่วไปกำาหนดให้ให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอ
กันในการรับการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ ยืดหยุ่น หลากหลาย
สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความต้องการ และความแตกต่างของบุคคล การจัด
การส่งเสริม และการสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต ให้ดำาเนินการ
โดยไม่จำากัดเพศ อายุ พื้นฐานการศึกษา อาชีพ และความสนใจของ
บุคคล โดยยึดหลักการ ๔ ประการ คือ (๑) เพิ่มโอกาสทางการศึกษา
ของประชาชน (๒) สนองความจำาเป็นและความต้องการในการเรียนรู้
ของบุคคลและชุมชน (๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง (๔) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการ
ดำาเนินงานการศึกษาตลอดชีวิต(ร่างมาตรา ๖ -๗)
(๗) ส่วนที่ ๒ การจัดการศึกษาตลอดชีวิต กำาหนดให้การ
จัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้จัดในสถานศึกษา สถานที่ของภาคีเครือข่าย
การศึกษาตลอดชีวิต หรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามแผนการส่งเสริมการ
ศึกษาตลอดชีวิตที่คณะกรรมการกำาหนด การจัดการศึกษาตลอดชีวิต
ต้องคำานึงถึงความเป็นเอกภาพด้านนโยบายและความหลากหลายในการ
ปฏิบัติการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของ
บุคคล การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตในการเสนอ
แนะกรอบนโยบายเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนากำาลังคนของประเทศ รวม
3
ทั้งเสนอแนะการกำาหนดมาตรฐานการศึกษา เป้าหมายการจัดการศึกษา
ตลอดชีวิตคือ (๑) ผู้เรียนมีเจตคติ ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จำาเป็น
สำาหรับใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต (๒) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีนิสัยรักการ
อ่าน ใฝ่เรียนรู้ ได้รับความรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความจำาเป็น
ในการยกระดับคุณภาพชีวิต มีความพร้อมในการดำาเนินชีวิตอย่างผสม
กลมกลืนกับสังคมที่ต้องใช้ความรู้อย่างรอบด้าน และสามารถนำาความ
รู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการเทียบโอนผลการเรียน เทียบโอนความรู้
และประสบการณ์ และเทียบระดับการศึกษาได้ (๓) บุคคลและชุมชนเกิด
การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม
และเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งการสร้างสรรค์
และการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดทำาแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
ให้คณะกรรมการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาและให้ความเห็นชอบ (ร่า
งมาตรา ๘ - ๑๑)
(๘) ส่วนที่ ๓ การส่งเสริมและการสนับสนุนการศึกษาตลอด
ชีวิตการส่งเสริม และการสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต ให้ส่วน
ราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายการศึกษา
ตลอดชีวิต ดำาเนินการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่อง (๑) สื่อและ
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสิ่งอำานวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนการ
ศึกษาตลอดชีวิต (๒) การช่วยเหลือด้านการเงินในรูปแบบของงบประมาณ
หรือการบริจาค เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต (๓) การจัดการศึกษา การ
พัฒนาวิชาการและบุคลากร การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อการศึกษา
ตลอดชีวิต (๔) สิทธิประโยชน์และการยกย่องประกาศเกียรติคุณตาม
ความเหมาะสมให้แก่ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต (๕)
การสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้บุคคล
สามารถเข้าถึงได้ตามความเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ของชุมชน
(๖) ทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำาเนินการเพื่อให้บุคคลและชุมชน
ได้เรียนรู้ตามความสนใจและความต้องการที่สอดคล้องกับความจำาเป็น
ของสังคม (ร่างมาตรา ๑๒)
(๙) กำาหนดให้ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐที่
เกี่ยวข้องร่วมมือกับภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตดำาเนินการใน
เรื่อง (๑) จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้
เรียนมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้อย่างสะดวกและทั่วถึง (๒) ส่งเสริมและ
สนับสนุนการดำาเนินงานของภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ให้เกิดความ
ร่วมมือและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคี
เครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตได้รับโอกาสในการจัดสรรทรัพยากร
และเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง (ร่างมาตรา ๑๓)
4
(๑๐) กำาหนดให้การส่งเสริมและการสนับสนุนการ
ศึกษาตลอดชีวิต ให้ดำาเนินการเพื่อเป้าหมายในเรื่อง (๑) ประชาชน
ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อ
พัฒนาศักยภาพกำาลังคนและสังคม ที่ใช้ความรู้ ภูมิปัญญา คุณธรรม
และจริยธรรมเป็นฐานในการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และคุณภาพชีวิต (๒) ภาคีเครือข่ายการศึกษา
ตลอดชีวิตเกิดแรงจูงใจและมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมเพื่อจัด
กิจกรรมการศึกษา (ร่างมาตรา ๑๔)
(๑๑) กำาหนดให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมและ
สนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต โดยให้ความสำาคัญแก่ผู้เกี่ยวข้องตาม
บทบาทและหน้าที่ (ร่างมาตรา ๑๕)
(๑๒) หมวด ๒ คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต
ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
กรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวง
แรงงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัด
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะ
กรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ
เลขาธิการสภาการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิอีกจำานวนไม่เกินสิบสองคน
ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ ให้เลขาธิการสำานักงานการศึกษา
ตลอดชีวิตเป็นกรรมการและเลขานุการ คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรง
คุณวุฒิ วาระการดำารงตำาแหน่งคราวละสี่ปีและการพ้นจากตำาแหน่งตาม
วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ การประชุมคณะกรรมการ องค์ประชุม
และให้มีการประชุมคณะกรรมการปีละไม่น้อยกว่าสี่ครั้ง (ร่างมาตรา ๑๖ -
๑๙)
(๑๓) กำาหนดถึงอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ให้มี
คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดทุกจังหวัด อำานาจหน้าที่ของ
คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดและคณะกรรมการการศึกษา
ตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร การประชุมของคณะกรรมการการศึกษา
ตลอดชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต
กรุงเทพมหานคร ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง
เรียกว่า “คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต” (ร่าง
มาตรา ๒๐ - ๒๔)
(๑๔) หมวด ๓ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต กำาหนด
ให้มีการจัดตั้งสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ใช้ชื่อย่อว่า ““สำานักงาน
กศช.”” ขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ มีฐานะเป็นกรม กำาหนดอำานาจหน้าที่
5
ของสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ให้มีสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต
จังหวัดทุกจังหวัด และมีสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร
และให้สถานศึกษาทำาหน้าที่จัดการศึกษาตลอดชีวิต หรือจัดร่วมกับภาคี
เครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ตามแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอด
ชีวิตจังหวัดหรือแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร
ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งมีคณะกรรมการสถานศึกษา ให้สำานักงานจัด
ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตลอดชีวิตซึ่งเป็นระบบการประกัน
คุณภาพภายในสำาหรับสถานศึกษาในสังกัดสำานักงาน ให้รัฐมนตรีจัดทำา
บัญชีรายชื่อสถานศึกษาตามมาตรา ๒๘ (ร่างมาตรา ๒๕ – ๓๑)
(๑๕) บทเฉพาะการ กำาหนดให้ให้โอนบรรดากิจการ
ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน งบประมาณ รายได้และบุคลากรของ
สำานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการมาเป็นของสำานักงานการ
ศึกษาตลอดชีวิต ให้คณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานความ
ร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยปฏิบัติหน้าที่คณะ
กรรมการการศึกษาตลอดชีวิต ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการ
ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ในวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย
การศึกษาตลอดชีวิต ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้
มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะ
กรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กรุงเทพมหานคร ซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการ
การศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่
กรณี ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการศึกษา
ตลอดชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต
กรุงเทพมหานครขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เลขาธิการสำานักงาน
ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และรอง
เลขาธิการสำานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติ
หน้าที่เลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต และรองเลขาธิการ
สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต แล้วแต่กรณี ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้
มีการแต่งตั้งเลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต และรอง
เลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้
Lifelong Learning : Thai Law - Draft

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่าการกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่าaon04937
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 
หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑rampasri
 
รายวิชา พัฒนา22
รายวิชา พัฒนา22รายวิชา พัฒนา22
รายวิชา พัฒนา22teerawut123
 
๓.คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนซอย ๒๖ สาย ๔ ซ้าย
๓.คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนซอย ๒๖ สาย ๔ ซ้าย๓.คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนซอย ๒๖ สาย ๔ ซ้าย
๓.คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนซอย ๒๖ สาย ๔ ซ้ายผอ.พีระยศ บุญเพ็ง
 
พรบ การศึกษาแห่งชาติ 2542 ย่อเสร็จแล้ว 7 ม ค 55
พรบ การศึกษาแห่งชาติ 2542 ย่อเสร็จแล้ว 7 ม ค 55พรบ การศึกษาแห่งชาติ 2542 ย่อเสร็จแล้ว 7 ม ค 55
พรบ การศึกษาแห่งชาติ 2542 ย่อเสร็จแล้ว 7 ม ค 55โทษฐาน ที่รู้จักกัน
 
เปรียบเทียบนโยบายของนายอภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์
เปรียบเทียบนโยบายของนายอภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์เปรียบเทียบนโยบายของนายอภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์
เปรียบเทียบนโยบายของนายอภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์Krusupharat
 
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานKatekyo Sama
 
บทความ สภาพปัญหาวิกฤตการณ์ การศึกษาไทย
บทความ สภาพปัญหาวิกฤตการณ์ การศึกษาไทยบทความ สภาพปัญหาวิกฤตการณ์ การศึกษาไทย
บทความ สภาพปัญหาวิกฤตการณ์ การศึกษาไทยณรงค์ พร้อมบัวป่า
 
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558pakpoom khangtomnium
 
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูน
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูนงานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูน
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูนจุลี สร้อยญานะ
 
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา Sireetorn Buanak
 

Was ist angesagt? (19)

บทที่ 2
บทที่ 2 บทที่ 2
บทที่ 2
 
การกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่าการกินอย่างมีคุณค่า
การกินอย่างมีคุณค่า
 
นโยบาย 4 ใหม่
นโยบาย 4 ใหม่นโยบาย 4 ใหม่
นโยบาย 4 ใหม่
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 
กฎหมายการศึกษา 6
กฎหมายการศึกษา 6กฎหมายการศึกษา 6
กฎหมายการศึกษา 6
 
หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑หลักสูตรส่วนที่ ๑
หลักสูตรส่วนที่ ๑
 
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
 
รายวิชา พัฒนา22
รายวิชา พัฒนา22รายวิชา พัฒนา22
รายวิชา พัฒนา22
 
๓.คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนซอย ๒๖ สาย ๔ ซ้าย
๓.คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนซอย ๒๖ สาย ๔ ซ้าย๓.คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนซอย ๒๖ สาย ๔ ซ้าย
๓.คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนซอย ๒๖ สาย ๔ ซ้าย
 
กรอบนโยบายรัฐบาล
กรอบนโยบายรัฐบาลกรอบนโยบายรัฐบาล
กรอบนโยบายรัฐบาล
 
School curiculum
School curiculumSchool curiculum
School curiculum
 
พรบ การศึกษาแห่งชาติ 2542 ย่อเสร็จแล้ว 7 ม ค 55
พรบ การศึกษาแห่งชาติ 2542 ย่อเสร็จแล้ว 7 ม ค 55พรบ การศึกษาแห่งชาติ 2542 ย่อเสร็จแล้ว 7 ม ค 55
พรบ การศึกษาแห่งชาติ 2542 ย่อเสร็จแล้ว 7 ม ค 55
 
เปรียบเทียบนโยบายของนายอภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์
เปรียบเทียบนโยบายของนายอภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์เปรียบเทียบนโยบายของนายอภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์
เปรียบเทียบนโยบายของนายอภิสิทธิ์กับยิ่งลักษณ์
 
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
 
บทความ สภาพปัญหาวิกฤตการณ์ การศึกษาไทย
บทความ สภาพปัญหาวิกฤตการณ์ การศึกษาไทยบทความ สภาพปัญหาวิกฤตการณ์ การศึกษาไทย
บทความ สภาพปัญหาวิกฤตการณ์ การศึกษาไทย
 
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2558
 
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูน
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูนงานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูน
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูน
 
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...
 
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา
เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา มุ่งยกระดับมาตรฐานการศึกษา
 

Andere mochten auch

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติมBoonlert Aroonpiboon
 
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
พรบ.การศึกษาแห่งชาติพรบ.การศึกษาแห่งชาติ
พรบ.การศึกษาแห่งชาติCapitano Oishi
 
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542Boonlert Aroonpiboon
 
บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"
บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"
บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"Mahidol University, Thailand
 
การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งปัญญา
การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งปัญญาการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งปัญญา
การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งปัญญาSinghar Kramer
 
3. พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ปรับ
3. พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546  ปรับ3. พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546  ปรับ
3. พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ปรับsomchay
 
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อ
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อพรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อ
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อโทษฐาน ที่รู้จักกัน
 
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)ปกรณ์กฤช ออนไลน์
 
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ประพันธ์ เวารัมย์
 
คู่มือดำเนินการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 2003
คู่มือดำเนินการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 2003คู่มือดำเนินการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 2003
คู่มือดำเนินการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 2003charinruarn
 
ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574
ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574
ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574Boonlert Aroonpiboon
 
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546ประพันธ์ เวารัมย์
 
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยานภดล รุ่งจรูญ
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้poms0077
 

Andere mochten auch (20)

Edu reform-draft
Edu reform-draftEdu reform-draft
Edu reform-draft
 
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติม
 
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
พรบ.การศึกษาแห่งชาติพรบ.การศึกษาแห่งชาติ
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
 
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
 
Thai Education Master Plan # 11
Thai Education Master Plan # 11Thai Education Master Plan # 11
Thai Education Master Plan # 11
 
บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"
บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"
บทความเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต"
 
Higher Education Plan # 11
Higher Education Plan # 11Higher Education Plan # 11
Higher Education Plan # 11
 
การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งปัญญา
การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งปัญญาการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งปัญญา
การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งปัญญา
 
3. พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ปรับ
3. พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546  ปรับ3. พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546  ปรับ
3. พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ปรับ
 
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อ
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อพรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อ
พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547 ย่อ
 
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
 
Copyright : Digital Media
Copyright : Digital MediaCopyright : Digital Media
Copyright : Digital Media
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
 
คู่มือดำเนินการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 2003
คู่มือดำเนินการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 2003คู่มือดำเนินการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 2003
คู่มือดำเนินการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 2003
 
ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574
ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574
ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574
 
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
 
Copyright Act Law : 2558 # 2
Copyright Act Law : 2558 # 2Copyright Act Law : 2558 # 2
Copyright Act Law : 2558 # 2
 
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกุยบุรีวิทยา
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 

Ähnlich wie Lifelong Learning : Thai Law - Draft

แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพปกรณ์กฤช ออนไลน์
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 
Original edu 1
Original edu 1Original edu 1
Original edu 1pui003
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1khuwawa
 
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Br
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Brการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Br
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน BrProud N. Boonrak
 
งานนำเสนอ1 ทดลอง
งานนำเสนอ1 ทดลองงานนำเสนอ1 ทดลอง
งานนำเสนอ1 ทดลองThaveewat Ingrad
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1kanwan0429
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1kanwan0429
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1nattawad147
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1benty2443
 
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ป.1 ป.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ป.1 ป.3กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ป.1 ป.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ป.1 ป.3ทศพล พรหมภักดี
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1nattawad147
 

Ähnlich wie Lifelong Learning : Thai Law - Draft (20)

แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 
Original edu 1
Original edu 1Original edu 1
Original edu 1
 
W 2
W 2W 2
W 2
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
 
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Br
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Brการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Br
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน Br
 
งานนำเสนอ1 ทดลอง
งานนำเสนอ1 ทดลองงานนำเสนอ1 ทดลอง
งานนำเสนอ1 ทดลอง
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ป.1 ป.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ป.1 ป.3กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ป.1 ป.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ป.1 ป.3
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 

Mehr von Boonlert Aroonpiboon (20)

Excel quiz
Excel quizExcel quiz
Excel quiz
 
Scival for Research Performance
Scival for Research PerformanceScival for Research Performance
Scival for Research Performance
 
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-420190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
 
20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup
 
20190220 open-library
20190220 open-library20190220 open-library
20190220 open-library
 
20190220 digital-archives
20190220 digital-archives20190220 digital-archives
20190220 digital-archives
 
OER KKU Library
OER KKU LibraryOER KKU Library
OER KKU Library
 
Museum digital-code
Museum digital-codeMuseum digital-code
Museum digital-code
 
OER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success StoryOER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success Story
 
LAM Code of conduct
LAM Code of conductLAM Code of conduct
LAM Code of conduct
 
RLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOCRLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOC
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
digital law for GLAM
digital law for GLAMdigital law for GLAM
digital law for GLAM
 
20180919 digital-collections
20180919 digital-collections20180919 digital-collections
20180919 digital-collections
 
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
 
20180828 digital-archives
20180828 digital-archives20180828 digital-archives
20180828 digital-archives
 
Local Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How toLocal Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How to
 
201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup
 
201403 etda-library
201403 etda-library201403 etda-library
201403 etda-library
 

Lifelong Learning : Thai Law - Draft

  • 1. บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. .... หลักการ ให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิต เหตุผล โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติให้การจัดการศึกษา ยึดหลักการที่สำาคัญประการหนึ่งคือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำาหรับ ประชาชน ซึ่งเป็นการศึกษาที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การ ศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนา คุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีปัญหาต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงแก้ไขหลายประการ โดยเฉพาะ คุณภาพการศึกษา ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ รวมทั้งการเพิ่ม โอกาสทางการศึกษา หน่วยปฏิบัติยังไม่มีอิสระและความคล่องตัวในการ บริหารและการจัดการศึกษาเท่าที่ควร การให้บริการการศึกษาแก่ผู้ ด้อยโอกาสยังไม่ทั่วถึง การศึกษาตลอดชีวิตขาดเนื้อหาและวิธีการที่ เหมาะสมที่จะทำาให้มีสัมฤทธิผลตามที่ควร ขาดการปรับปรุงกฎระเบียบ ที่จะเอื้ออำานวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำาให้การศึกษา ตลอดชีวิตยังไม่เป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ รวมทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมใน การบริหารและจัดการศึกษา แม้ว่าจะมีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการ ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นกลไกขับเคลื่อนหลักการ และเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติที่สำาคัญกลไก หนึ่งก็ตาม เพื่อให้การศึกษาตลอดชีวิตเป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ ทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการ สร้างสรรค์ ระบบการศึกษาและเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการพัฒนา ประเทศที่มีศักยภาพอย่างแท้จริงภายใต้หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต จึงจำาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
  • 2. 2
  • 3. ร่าง พระราชบัญญัติ การศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. .... ............................................ ............................................ ............................................ ………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………… ………………………… โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิต ………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………… ………………………… มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษา ตลอดชีวิต พ.ศ. ....” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “การศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า การศึกษาที่จัดให้กับ ประชาชน ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตาม อัธยาศัย หรือการศึกษาที่ผสมผสานการศึกษาทั้งสามรูปแบบที่เหมาะสมกับ บุคคล อายุ พื้นฐานการศึกษา อาชีพ ความสนใจ และสภาพแวดล้อม ของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
  • 4. 2 “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” หมายความว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล อันเป็นผลมาจากการได้รับความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์จากการศึกษา หรือจากกิจกรรมในวิถีชีวิตที่ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย “ภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กร เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ หน่วยงานของรัฐ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดหรือมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต “การศึกษาในระบบ” หมายความว่า การศึกษาที่กำาหนดจุดมุ่ง หมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและ ประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำาเร็จการศึกษาที่แน่นอน “การศึกษานอกระบบ” หมายความว่า การศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมาย ผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธี การจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพ ความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้น และมีวิธี การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการ ศึกษา หรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้ “การศึกษาตามอัธยาศัย” หมายความว่า การเรียนรู้ในวิถีชีวิต ประจำาวันของบุคคลที่เกิดขึ้นโดยไม่มีหลักสูตรหรือวิธีการเรียนรู้ที่แน่นอน และบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างอิสระ ตามความสนใจ เวลา ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของตนเอง “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดสำานักงาน การศึกษาตลอดชีวิต “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการการศึกษาตลอด ชีวิต “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอด ชีวิต “สำานักงาน” หมายความว่า สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต “กระทรวง” หมายความว่า กระทรวงศึกษาธิการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพ ระราชบัญญัตินี้ และมีอำานาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจา นุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
  • 5. 3 หมวด ๑ การจัด การส่งเสริม และการสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต ____________________ ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ____________________ มาตรา ๖ ให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการ ศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ ยืดหยุ่น หลากหลาย สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความต้องการ และความแตกต่างของบุคคล เพื่อให้บุคคลมีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มาตรา ๗ การจัด การส่งเสริม และการสนับสนุนการศึกษา ตลอดชีวิต ให้ดำาเนินการโดยไม่จำากัดเพศ อายุ พื้นฐานการศึกษา อาชีพ และความสนใจของบุคคล โดยยึดหลักการ ดังต่อไปนี้ (๑)เพิ่มโอกาสทางการศึกษาของประชาชน (๒) สนองความจำาเป็นและความต้องการในการเรียนรู้ของ บุคคลและชุมชน (๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาตลอดชีวิต อย่างต่อเนื่อง (๔)ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำาเนินงานการ ศึกษาตลอดชีวิต ส่วนที่ ๒ การจัดการศึกษาตลอดชีวิต ____________________ มาตรา ๘ การจัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้จัดในสถานศึกษา สถานที่ของภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต หรือแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ การจัดการศึกษาตลอดชีวิตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตาม แผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตที่คณะกรรมการกำาหนด
  • 6. 4 มาตรา ๙ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ต้อง คำานึงถึง (๑)ความเป็นเอกภาพด้านนโยบายและความหลากหลายในการ ปฏิบัติ (๒) การศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความถนัดและความ สนใจของบุคคล (๓) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ในการเสนอแนะกรอบนโยบายเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนากำาลังคนของ ประเทศ รวมทั้งเสนอแนะการกำาหนดมาตรฐานการศึกษา มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้ดำาเนินการเพื่อเป้า หมายในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑)ผู้เรียนมีเจตคติ ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จำาเป็นสำาหรับใช้ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (๒) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีนิสัยรักการ อ่าน ใฝ่เรียนรู้ ได้รับความรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความจำาเป็นใน การยกระดับคุณภาพชีวิต มีความพร้อมในการดำาเนินชีวิตอย่างผสม กลมกลืนกับสังคมที่ต้องใช้ความรู้อย่างรอบด้าน และสามารถนำาความรู้ที่ ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการเทียบโอนผลการเรียน เทียบโอนความรู้และ ประสบการณ์ และเทียบระดับการศึกษาได้ (๓) บุคคลและชุมชนเกิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งการสร้างสรรค์และการพัฒนาที่ยั่งยืน มาตรา ๑๑ การจัดทำาแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ให้ คณะกรรมการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาและให้ความเห็นชอบ แล้ว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต เมื่อได้ประกาศในราชกิจ จานุเบกษาแล้ว ให้มีผลใช้บังคับแก่ส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษา หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต แผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตกำาหนดช่วงระยะเวลาของ แผนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนที่ ๓ การส่งเสริมและการสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต ____________________ มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการจัด การส่งเสริม และการ สนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต ให้ส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษา
  • 7. 5 หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ดำาเนินการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑)สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสิ่งอำานวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต (๒) การช่วยเหลือด้านการเงินในรูปแบบของงบประมาณหรือ การบริจาค เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต (๓) การจัดการศึกษา การพัฒนาวิชาการและบุคลากร การใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต (๔) สิทธิประโยชน์และการยกย่องประกาศเกียรติคุณตาม ความเหมาะสมให้แก่ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต (๕) การสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงได้ตามความเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียน รู้ของชุมชน (๖)ทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำาเนินการเพื่อให้บุคคลและ ชุมชนได้เรียนรู้ตามความสนใจและความต้องการที่สอดคล้องกับความ จำาเป็นของสังคม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการส่งเสริมและสนับสนุนตาม วรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการจัดและการพัฒนาการศึกษา ตลอดชีวิต ให้ส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษา และหน่วยงานของรัฐที่ เกี่ยวข้องร่วมมือกับภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตดำาเนินการในเรื่อง ต่อไปนี้ (๑)จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้ เรียนมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้อย่างสะดวกและทั่วถึง (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำาเนินงานของภาคีเครือข่ายการ ศึกษาตลอดชีวิต ให้เกิดความร่วมมือและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอด ชีวิตได้รับโอกาสในการจัดสรรทรัพยากรและเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่าง ทั่วถึง มาตรา ๑๔ การส่งเสริมและการสนับสนุนการศึกษาตลอด ชีวิต ให้ดำาเนินการเพื่อเป้าหมายในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑)ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างต่อ เนื่องตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาศักยภาพกำาลังคนและสังคม ที่ใช้ความรู้
  • 8. 6 ภูมิปัญญา คุณธรรม และจริยธรรมเป็นฐานในการพัฒนา ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และคุณภาพชีวิต (๒) ภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตเกิดแรงจูงใจและมีความ พร้อมในการมีส่วนร่วมเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษา มาตรา ๑๕ ให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมและสนับสนุนการ ศึกษาตลอดชีวิต โดยให้ความสำาคัญแก่ผู้เกี่ยวข้องตามบทบาทและหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑)ผู้เรียน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ เรียนรู้ และสามารถเลือกรับบริการได้หลากหลายตามความต้องการของ ตนเอง (๒) ผู้จัดมีการดำาเนินการที่หลากหลายตามศักยภาพเพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยบูรณาการความรู้ ปลูกฝัง คุณธรรม และค่านิยมที่ดีงาม (๓) ผู้ส่งเสริมและสนับสนุน ซึ่งเป็นผู้ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ ผู้เรียนและผู้จัดมีการดำาเนินการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หมวด ๒ คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต ____________________ มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษาและเลขาธิการสภาการศึกษา และผู้ทรง คุณวุฒิอีกจำานวนไม่เกินสิบสองคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ ให้ เลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตเป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจาก บุคคลซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา ตลอดชีวิต ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านการศึกษาสำาหรับผู้ด้อยโอกาส ด้าน การศึกษาสำาหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านการศึกษาเอกชน ด้านการ บริหารการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านอุตสาหกรรม ด้านธุรกิจและ
  • 9. 7 บริการ ด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และด้านการกีฬา ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน มาตรา ๑๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการ ศึกษาตลอดชีวิตต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑)มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ตำ่ากว่าสามสิบปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญอัน เป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิต (๔)ไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม จรรยาบรรณ และ การประกอบวิชาชีพ (๕) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือน ไร้ความสามารถ (๖) ไม่เคยได้รับโทษจำาคุกโดยคำาพิพากษาถึงที่สุดให้จำาคุก เพราะกระทำาความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำาหรับความผิดที่ ได้กระทำาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๗) ไม่เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจาก รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ มาตรา ๑๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษา ตลอดชีวิตมีวาระการดำารงตำาแหน่งคราวละสี่ปี ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำาแหน่งก่อนวาระ รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ ดำารงตำาแหน่งแทนอยู่ในตำาแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เมื่อครบกำาหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจาก ตำาแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำาแหน่งเพื่อดำาเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำาแหน่งตามวาระ อาจได้รับ การแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำารงตำาแหน่งติดต่อเกินสองวาระไม่ได้ นอกจากการพ้นจากตำาแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต พ้นจากตำาแหน่งเมื่อ (๑)ตาย (๒) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๗ (๔)ถูกถอดถอนโดยรัฐมนตรีตามมติของคณะกรรมการการศึกษา ตลอดชีวิต ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำานวนกรรมการ ทั้งหมด
  • 10. 8 มาตรา ๑๙ การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมา ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ ประชุม และให้มีการประชุมคณะกรรมการปีละไม่น้อยกว่าสี่ครั้ง ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รอง ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการหรือ รองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการ คนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการมีอำานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนการส่งเสริมการ ศึกษาตลอดชีวิตที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติและแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (๒) กำาหนดแนวทางการดำาเนินงานตามนโยบายและ แผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต (๓) กำากับมาตรฐานการจัดการศึกษาตลอดชีวิตตามพระ ราชบัญญัตินี้ (๔)กำาหนดหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนการศึกษา ตลอดชีวิต (๕)แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบ หมาย (๖)ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่ บัญญัติให้เป็นอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่รัฐมนตรีมอบ หมาย มาตรา ๒๑ ให้มีคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดทุก จังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑)คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่า ราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เกษตรจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้แทน กระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้แทน นายกเทศมนตรี ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำาบล และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำานวนเก้าคนเป็นกรรมการ และให้ผู้อำานวยการ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
  • 11. 9 (๒) คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ ผู้แทน กระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกระทรวง มหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการใน กรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำานวนเก้าคนเป็น กรรมการ และให้ผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการ คุณสมบัติ วิธีการได้มา วาระการดำารงตำาแหน่ง การพ้นจาก ตำาแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาตลอด ชีวิตทุกจังหวัด ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำาหนด มาตรา ๒๒ คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดและ คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร มีอำานาจหน้าที่ ดัง ต่อไปนี้ (๑)พิจารณาและให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนการส่ง เสริมการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดหรือแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอด ชีวิตกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการ ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต (๒) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กร วิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กร อื่นรวมตัวกันเป็นภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อเสริมสร้างความ เข้มแข็งในการดำาเนินงานการศึกษาตลอดชีวิต (๓) ประสานงานและร่วมมือในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาตลอดชีวิตกับภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอด ชีวิต (๔)ส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการส่งเสริมการศึกษา ตลอดชีวิตจังหวัดหรือแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี (๕)ติดตามและประเมินผลการดำาเนินการส่งเสริมการศึกษาตลอด ชีวิตของสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด หรือสำานักงานการศึกษา ตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี (๖)ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
  • 12. 10 มาตรา ๒๓ การประชุมของคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต จังหวัด และคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร ให้นำา ความในมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะ หนึ่ง เรียกว่า “คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต” ที่ ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต จำานวนอนุกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์วิธีการได้มาของ ประธานและอนุกรรมการ วาระการดำารงตำาแหน่งและการพ้นจาก ตำาแหน่ง รวมทั้งอำานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายการ ศึกษาตลอดชีวิต ให้เป็นไปตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง หมวด ๓ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ____________________ มาตรา ๒๕ ให้จัดตั้งสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ใช้ชื่อย่อ ว่า “สำานักงาน กศช.”” ขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ มีฐานะเป็นกรมตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีเลขาธิการ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ และให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการ มาตรา ๒๖ ให้สำานักงานมีอำานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นหน่วยงานกลางในการดำาเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการศึกษาตลอดชีวิต และรับผิดชอบงานธุรการของคณะ กรรมการ (๒) จัดทำานโยบายและแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา (๓) จัดทำามาตรฐานการศึกษาตลอดชีวิตเสนอต่อคณะ กรรมการ (๔)ส่งเสริม สนับสนุน และดำาเนินการพัฒนาคุณภาพทาง วิชาการ การวิจัย การพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมทางการศึกษา บุคลากร และระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตลอดชีวิต ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการสร้างความร่วมมือและแลก เปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับนานาประเทศ (๕)ส่งเสริม สนับสนุน และดำาเนินการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับการศึกษา
  • 13. 11 (๖)บริหารจัดการสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา สถานี วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา การใช้ ประโยชน์เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ห้องสมุด ประชาชน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนชุมชน และแหล่งการเรียนรู้อื่น เพื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ของประชาชน (๗) ดำาเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมิน ผลการดำาเนินงานการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตรายงานต่อคณะ กรรมการ (๘) ปฏิบัติงานอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น ที่บัญญัติให้เป็นอำานาจหน้าที่ของสำานักงาน หรือตามที่คณะกรรมการ หรือรัฐมนตรีมอบหมาย มาตรา ๒๗ ให้มีสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดทุก จังหวัด ดังต่อไปนี้ (๑)สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ใช้ชื่อย่อว่า “สำานักงาน กศช. จังหวัด” เป็นหน่วยงานในสังกัดสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต และ เป็นหน่วยงานการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา ทำาหน้าที่จัดทำานโยบายและแผนการส่งเสริมการ ศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ตลอดจนเป็นหน่วยงานธุรการของคณะ กรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด และมีอำานาจหน้าที่บริหาร ประสาน และส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตภายในจังหวัด (๒) สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร ใช้ชื่อ ย่อว่า “สำานักงาน กศช.กทม.” เป็นหน่วยงานในสังกัดสำานักงานการ ศึกษาตลอดชีวิต และเป็นหน่วยงานการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำาหน้าที่จัดทำานโยบาย และแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานครตลอดจนเป็น หน่วยงานธุรการของคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต กรุงเทพมหานคร และมีอำานาจหน้าที่บริหาร ประสาน และส่งเสริมการ จัดการศึกษาตลอดชีวิตภายในกรุงเทพมหานคร ให้หน่วยงานการศึกษาตามวรรคหนึ่ง มีผู้อำานวยการสำานักงาน การศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด หรือผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอด ชีวิตกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ และ มีฐานะเป็นผู้บริหารการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ของหน่วยงานดังกล่าว ยกเว้นสถานศึกษาซึ่งมีลักษณะเฉพาะและมีความ
  • 14. 12 รับผิดชอบในการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรือมีพื้นที่การให้ บริการครอบคลุมหลายจังหวัด มาตรา ๒๘ ให้สถานศึกษาทำาหน้าที่จัดการศึกษาตลอดชีวิต หรือจัดร่วมกับภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ตามแผนการส่งเสริม การศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดหรือแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ให้สถานศึกษาซึ่งมีลักษณะเฉพาะและมีความรับผิดชอบในการ ให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรือมีพื้นที่การให้บริการครอบคลุม หลายจังหวัด เป็นสถานศึกษาขึ้นตรงต่อสำานักงาน การจัดตั้ง ยุบ เลิก รวม การกำาหนดบทบาท อำานาจและหน้าที่ ของสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรี ประกาศกำาหนด มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งมีคณะกรรมการสถาน ศึกษา จำานวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของ ประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำารงตำาแหน่ง และการพ้น จากตำาแหน่ง รวมทั้งอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา ให้ เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำาหนด มาตรา ๓๐ ให้สำานักงานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการ ศึกษาตลอดชีวิตซึ่งเป็นระบบการประกันคุณภาพภายในสำาหรับสถาน ศึกษาในสังกัดสำานักงาน ให้สถานศึกษาดำาเนินการประกันคุณภาพภายในให้สอดคล้อง กับระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายใน โดยได้รับความ ร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตและ สำานักงาน ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายใน ให้เป็นไป ตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๑ ให้รัฐมนตรีจัดทำาบัญชีรายชื่อสถานศึกษาตาม มาตรา ๒๘ ที่มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษาตามที่ กำาหนดในพระราชบัญญัตินี้ และประกาศรายชื่อสถานศึกษาดังกล่าว ในราชกิจจานุเบกษาภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติ นี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าสถานศึกษาตามบัญชีรายชื่อที่รัฐมนตรีประกาศ กำาหนดตามวรรคหนึ่งเป็นสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
  • 15. 13 บทเฉพาะกาล ____________________ มาตรา ๓๒ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ภาระ ผูกพัน งบประมาณ รายได้และบุคลากรของสำานักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ มาเป็นของสำานักงานการศึกษา ตลอดชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๓๓ ให้คณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสาน ความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการการศึกษา ตลอดชีวิต ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่ง ตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่ง ร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๓๔ ให้คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยซึ่ง ดำารงตำาแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะ อนุกรรมการภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ตามพระราชบัญญัตินี้ ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นใหม่ตามพ ระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๓๕ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ใน วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการการศึกษาตลอด ชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่ง ตั้งคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการการ ศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานครขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๓๖ ให้เลขาธิการสำานักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และรองเลขาธิการสำานักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ใน
  • 16. 14 วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำานักงานการ ศึกษาตลอดชีวิต และรองเลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต แล้ว แต่กรณี ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งเลขาธิการสำานักงาน การศึกษาตลอดชีวิต และรองเลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๓๗ ให้ผู้อำานวยการสำานักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด ผู้อำานวยการสำานักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร รองผู้ อำานวยการสำานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยจังหวัด และรองผู้อำานวยการสำานักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำานวยการสำานักงานการ ศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต กรุงเทพมหานคร รองผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต จังหวัด และรองผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต กรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งผู้ อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด ผู้อำานวยการสำานักงาน การศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร รองผู้อำานวยการสำานักงานการ ศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด และรองผู้อำานวยการสำานักงานการศึกษาตลอด ชีวิตกรุงเทพมหานคร ขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๓๘ ในระหว่างที่ยังมิได้ดำาเนินการให้มี อ.ก.ค.ศ. ของ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต กระทรวงศึกษาธิการ ให้ อ.ก.ค.ศ. สำานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ อ.ก.ค.ศ. สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต มาตรา ๓๙ ในระหว่างที่ยังมิได้ดำาเนินการให้มี อ.ก.พ. ของ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ให้ อ.ก.พ. กระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติ หน้าที่ในฐานะ อ.ก.พ. สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต มาตรา ๔๐ ให้นำากฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศและคำา สั่งเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ใช้ บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมาใช้บังคับโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศที่ออกตามพ ระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้ บังคับ
  • 18. บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำาคัญ ของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. .... สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ การศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร และได้จัดทำา บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำาคัญของร่างพระราชบัญญัติ ตามมาตรา ๑๔๒ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้ ๑. เหตุผลและความจำาเป็นในการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติให้การจัดการศึกษายึด หลักการที่สำาคัญประการหนึ่งคือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำาหรับ ประชาชน ซึ่งเป็นการศึกษาที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การ ศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนา คุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีปัญหาต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงแก้ไขหลายประการ โดย เฉพาะคุณภาพการศึกษา ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ รวมทั้ง การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา หน่วยปฏิบัติยังไม่มีอิสระและความคล่อง ตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาเท่าที่ควร การให้บริการการ ศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสยังไม่ทั่วถึง การศึกษาตลอดชีวิตขาดเนื้อหา และวิธีการที่เหมาะสมที่จะทำาให้มีสัมฤทธิผลตามที่ควร ขาดการ ปรับปรุงกฎระเบียบที่จะเอื้ออำานวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วย ตนเอง ทำาให้การศึกษาตลอดชีวิตยังไม่เป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ รวมทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา แม้ว่าจะมี กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยเป็นกลไกขับเคลื่อนหลักการและเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า ด้วยการศึกษาแห่งชาติที่สำาคัญกลไกหนึ่งก็ตาม เพื่อให้การศึกษา ตลอดชีวิตเป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ ทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เกิดสังคมแห่งการ เรียนรู้และสังคมแห่งการสร้างสรรค์ ระบบการศึกษาและเรียนรู้เป็นส่วน หนึ่งของระบบการพัฒนาประเทศที่มีศักยภาพอย่างแท้จริงภายใต้หน่วยงาน หลักที่รับผิดชอบคือ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต จึงจำาเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ ๒. สาระสำาคัญของร่างพระราชบัญญัติ
  • 19. 2 (๑)ให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อให้การ ศึกษาตลอดชีวิตเป็นวิถีชีวิตของคนในชาติ ทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการ ศึกษา สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เกิดสังคม แห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการสร้างสรรค์ ระบบการศึกษาและเรียนรู้เป็น ส่วนหนึ่งของระบบการพัฒนาประเทศที่มีศักยภาพอย่างแท้จริง (๒) ให้กฎหมายนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ร่างมาตรา ๒) (๓) กำาหนดให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้พระราช บัญญัตินี้แทน (ร่างมาตรา ๓) (๔)กำาหนดถึงคำานิยาม คำาว่า “การศึกษาตลอดชีวิต” “การ เรียนรู้ตลอดชีวิต” “ภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต” “การศึกษาใน ระบบ” “การศึกษานอกระบบ” “การศึกษาตามอัธยาศัย” “สถานศึกษา” “คณะกรรมการ” “เลขาธิการ” “สำานักงาน” “กระทรวง” “รัฐมนตรี” (ร่างมาตรา ๔) (๕)กำาหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำานาจออกกฎกระทรวงและประกาศ (ร่าง มาตรา ๕) (๖)หมวด ๑ การจัด การส่งเสริม และการสนับสนุนการศึกษา ตลอดชีวิต ส่วนที่ ๑ บททั่วไปกำาหนดให้ให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอ กันในการรับการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ ยืดหยุ่น หลากหลาย สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความต้องการ และความแตกต่างของบุคคล การจัด การส่งเสริม และการสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต ให้ดำาเนินการ โดยไม่จำากัดเพศ อายุ พื้นฐานการศึกษา อาชีพ และความสนใจของ บุคคล โดยยึดหลักการ ๔ ประการ คือ (๑) เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ของประชาชน (๒) สนองความจำาเป็นและความต้องการในการเรียนรู้ ของบุคคลและชุมชน (๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง (๔) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการ ดำาเนินงานการศึกษาตลอดชีวิต(ร่างมาตรา ๖ -๗) (๗) ส่วนที่ ๒ การจัดการศึกษาตลอดชีวิต กำาหนดให้การ จัดการศึกษาตลอดชีวิต ให้จัดในสถานศึกษา สถานที่ของภาคีเครือข่าย การศึกษาตลอดชีวิต หรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามแผนการส่งเสริมการ ศึกษาตลอดชีวิตที่คณะกรรมการกำาหนด การจัดการศึกษาตลอดชีวิต ต้องคำานึงถึงความเป็นเอกภาพด้านนโยบายและความหลากหลายในการ ปฏิบัติการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของ บุคคล การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตในการเสนอ แนะกรอบนโยบายเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนากำาลังคนของประเทศ รวม
  • 20. 3 ทั้งเสนอแนะการกำาหนดมาตรฐานการศึกษา เป้าหมายการจัดการศึกษา ตลอดชีวิตคือ (๑) ผู้เรียนมีเจตคติ ทักษะและความรู้พื้นฐานที่จำาเป็น สำาหรับใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต (๒) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีนิสัยรักการ อ่าน ใฝ่เรียนรู้ ได้รับความรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความจำาเป็น ในการยกระดับคุณภาพชีวิต มีความพร้อมในการดำาเนินชีวิตอย่างผสม กลมกลืนกับสังคมที่ต้องใช้ความรู้อย่างรอบด้าน และสามารถนำาความ รู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการเทียบโอนผลการเรียน เทียบโอนความรู้ และประสบการณ์ และเทียบระดับการศึกษาได้ (๓) บุคคลและชุมชนเกิด การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งการสร้างสรรค์ และการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดทำาแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ให้คณะกรรมการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาและให้ความเห็นชอบ (ร่า งมาตรา ๘ - ๑๑) (๘) ส่วนที่ ๓ การส่งเสริมและการสนับสนุนการศึกษาตลอด ชีวิตการส่งเสริม และการสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต ให้ส่วน ราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายการศึกษา ตลอดชีวิต ดำาเนินการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่อง (๑) สื่อและ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสิ่งอำานวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนการ ศึกษาตลอดชีวิต (๒) การช่วยเหลือด้านการเงินในรูปแบบของงบประมาณ หรือการบริจาค เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต (๓) การจัดการศึกษา การ พัฒนาวิชาการและบุคลากร การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดชีวิต (๔) สิทธิประโยชน์และการยกย่องประกาศเกียรติคุณตาม ความเหมาะสมให้แก่ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต (๕) การสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้บุคคล สามารถเข้าถึงได้ตามความเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ของชุมชน (๖) ทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำาเนินการเพื่อให้บุคคลและชุมชน ได้เรียนรู้ตามความสนใจและความต้องการที่สอดคล้องกับความจำาเป็น ของสังคม (ร่างมาตรา ๑๒) (๙) กำาหนดให้ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐที่ เกี่ยวข้องร่วมมือกับภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตดำาเนินการใน เรื่อง (๑) จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้ เรียนมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้อย่างสะดวกและทั่วถึง (๒) ส่งเสริมและ สนับสนุนการดำาเนินงานของภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ให้เกิดความ ร่วมมือและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคี เครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิตได้รับโอกาสในการจัดสรรทรัพยากร และเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง (ร่างมาตรา ๑๓)
  • 21. 4 (๑๐) กำาหนดให้การส่งเสริมและการสนับสนุนการ ศึกษาตลอดชีวิต ให้ดำาเนินการเพื่อเป้าหมายในเรื่อง (๑) ประชาชน ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อ พัฒนาศักยภาพกำาลังคนและสังคม ที่ใช้ความรู้ ภูมิปัญญา คุณธรรม และจริยธรรมเป็นฐานในการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และคุณภาพชีวิต (๒) ภาคีเครือข่ายการศึกษา ตลอดชีวิตเกิดแรงจูงใจและมีความพร้อมในการมีส่วนร่วมเพื่อจัด กิจกรรมการศึกษา (ร่างมาตรา ๑๔) (๑๑) กำาหนดให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมและ สนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต โดยให้ความสำาคัญแก่ผู้เกี่ยวข้องตาม บทบาทและหน้าที่ (ร่างมาตรา ๑๕) (๑๒) หมวด ๒ คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน กรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวง แรงงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัด กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ เลขาธิการสภาการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิอีกจำานวนไม่เกินสิบสองคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ ให้เลขาธิการสำานักงานการศึกษา ตลอดชีวิตเป็นกรรมการและเลขานุการ คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิ วาระการดำารงตำาแหน่งคราวละสี่ปีและการพ้นจากตำาแหน่งตาม วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ การประชุมคณะกรรมการ องค์ประชุม และให้มีการประชุมคณะกรรมการปีละไม่น้อยกว่าสี่ครั้ง (ร่างมาตรา ๑๖ - ๑๙) (๑๓) กำาหนดถึงอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ให้มี คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดทุกจังหวัด อำานาจหน้าที่ของ คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัดและคณะกรรมการการศึกษา ตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร การประชุมของคณะกรรมการการศึกษา ตลอดชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต กรุงเทพมหานคร ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต” (ร่าง มาตรา ๒๐ - ๒๔) (๑๔) หมวด ๓ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต กำาหนด ให้มีการจัดตั้งสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ใช้ชื่อย่อว่า ““สำานักงาน กศช.”” ขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ มีฐานะเป็นกรม กำาหนดอำานาจหน้าที่
  • 22. 5 ของสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต ให้มีสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต จังหวัดทุกจังหวัด และมีสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร และให้สถานศึกษาทำาหน้าที่จัดการศึกษาตลอดชีวิต หรือจัดร่วมกับภาคี เครือข่ายการศึกษาตลอดชีวิต ตามแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอด ชีวิตจังหวัดหรือแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานคร ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งมีคณะกรรมการสถานศึกษา ให้สำานักงานจัด ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตลอดชีวิตซึ่งเป็นระบบการประกัน คุณภาพภายในสำาหรับสถานศึกษาในสังกัดสำานักงาน ให้รัฐมนตรีจัดทำา บัญชีรายชื่อสถานศึกษาตามมาตรา ๒๘ (ร่างมาตรา ๒๕ – ๓๑) (๑๕) บทเฉพาะการ กำาหนดให้ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน งบประมาณ รายได้และบุคลากรของ สำานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการมาเป็นของสำานักงานการ ศึกษาตลอดชีวิต ให้คณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานความ ร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยปฏิบัติหน้าที่คณะ กรรมการการศึกษาตลอดชีวิต ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่ายตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการ ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย การศึกษาตลอดชีวิต ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้ มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะ กรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการ การศึกษาตลอดชีวิตกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่ กรณี ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการศึกษา ตลอดชีวิตจังหวัด และคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิต กรุงเทพมหานครขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เลขาธิการสำานักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และรอง เลขาธิการสำานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยซึ่งดำารงตำาแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิบัติ หน้าที่เลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต และรองเลขาธิการ สำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต แล้วแต่กรณี ไปพลางก่อน จนกว่าจะได้ มีการแต่งตั้งเลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิต และรอง เลขาธิการสำานักงานการศึกษาตลอดชีวิตขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้