SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 3
Downloaden Sie, um offline zu lesen
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ
DELIBERATIVE DEMOCRACY
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือคือเครื่องมือสร้างพลเมืองที่เท่าทัน มีความรู้ และวิจารณญาณในการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล ความรู้
และเหตุผลเพื่อนาเสนอทางเลือกและทางออกที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยทาให้การตัดสินใจประเด็นปัญหา
สาธารณะในทุกระดับผ่านกระบวนการใคร่ครวญไตร่ตรองอย่างรอบคอบครบถ้วนของผู้มีส่วนได้เสีย
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเป็นทั้งแนวทางและเครื่องมือของการเมืองภาคประชาชนที่พัฒนามาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ ๒๐
เป็นกระบวนการเสริมสร้างอานาจของประชาชนให้เป็นพลเมืองเข้มแข็ง เอาการเอางาน ใส่ใจในปัญหาสังคม และปกป้องผลประโยชน์
ของตนเองและชุมชน ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพของของประชาชนในการตรวจสอบกระบวนการบริหารจัดการของภาครัฐและ
การเมืองให้ใช้อานาจอย่างถูกต้องและเป็นธรรมสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ในขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในแนว
ทางการแก้ไขปัญหาของประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเฉพาะช่วงเวลาของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
ความสาคัญ
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเป็นการเสริมสร้าง
ประชาธิปไตยทางตรงและส่งเสริมกระบวนการตัดสินใจ
สาธารณะเพราะเปลี่ยนประชาชนที่เฉื่อยชามาเป็นพลเมืองที่
กระตือรือร้น (Active citizen) ในการเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ประเด็นสังคมที่มีความสลับซับซ้อนโดยการรับฟังและ
ยอมรับมุมมองความคิดเห็นที่แตกต่างด้วยความเข้าใจ
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเป็นการสนทนาเพื่อ
หาทางเลือกโดยใช้วิจารณญาณชั่งน้าหนักของผลที่จะตามมา
จากการเลือกทางเลือกแต่ละทางที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายแตกต่าง
กันไป ไม่ใช่การโต้แย้งเพื่อเอาชนะคะคานกัน
กระบวนการ
กระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนาเสนอ
ทางออกของประเด็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนทางสังคม
เศรษฐกิจ การเมืองได้โดยสันติถึงแม้ว่าจะมีความคิดเห็นแตกต่าง
กัน อันเนื่องมาจากมีการเปิดโอกาสให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นซึ่งกันและกันอย่างเป็นเหตุเป็นผลบนหลักฐานข้อมูล
ที่เที่ยงตรง การประเมินค่าและการโน้มน้าวใจด้วยเหตุผล
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือคือเครื่องมือสาคัญสาหรับการถกเถียง ไตร่ตรอง ปรึกษาหารือ และชั่งน้าหนักอย่างรอบคอบ
และรอบด้านเพื่อนาไปสู่การตัดสินใจสาธารณะร่วมกันของประชาชนและการลงมือปฏิบัติการของคนส่วนใหญ่ในสังคม โดยการกระตุ้น
การมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยกระบวนการคิดและวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน โดยมีหลักการสาคัญ ดังนี้
หลักการใช้เหตุผลระหว่างบุคคล (Reasoning): การตั้งมั่นบนหลักเหตุผลมากกว่าการเจรจาต่อรองของกลุ่มผลประโยชน์
หลักการกระทาที่เปิดเผยและเป็นสาธารณะ (Public act): การใช้เหตุผล ชั่งน้าหนักเหตุผล และการยอมรับหรือไม่ยอมรับ
เหตุผลต่างๆ ที่ต้องกระทาอย่างเป็นธรรมและเปิดเผยต่อสาธารณะ
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ DELIBERATIVE DEMOCRACY
ปฏิบัติการของพลเมืองเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม
กระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือคือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองที่นาไปสู่ความร่วมมือบนความเข้าใจในความ
แตกต่างระหว่างกันตามระบอบประชาธิปไตย โดยการรับฟังและใช้วิจารณญาณในการชั่งนาหนักความคิดเห็นของคนอื่นอย่าง
ระมัดระวัง และพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นถึงแม้อาจจะขัดแย้งกับแนวทางหรือความคิดเห็นของตนเอง
องค์ประกอบ
การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง: การรวมกลุ่มของพลเมืองที่
เป็นตัวแทนของสาธารณชนและกลุ่มที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง
ไม่จาเป็นต้องมีจานวนมาก อาจใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมขนาด
เล็กแต่เป็นตัวแทนที่ดีแบบคณะลูกขุนพลเมือง (Citizens jury)
การวินิจฉัยจากสาธารณะที่รอบคอบ: การวินิจฉัยที่รอบคอบ
และรอบด้านของสาธารณะบนพื้นฐานข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
ปัญหาสาธารณะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
โอกาสในการปรึกษาหารือ: การออกแบบกระบวนการ
ปรึกษาหารือสาธารณะภายใต้บรรยากาศที่เอื้ออาทรต่อกันอัน
จะนาไปสู่ทางเลือกต่างๆ โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับแต่ละทางเลือก
และผลลัพธ์จากการเลือกแต่ละทางเลือก
ผลลัพธ์น่าเชื่อถือ: การมีหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่รัฐน่าเชื่อถือ
ที่สามารถสื่อสารผลลัพธ์กับประชาชนและสื่อมวลชนได้
เครื่องมือ
เครื่องมือสาหรับนาประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปใช้ คือ
๑) กระบวนการลูกขุนพลเมือง (Citizens jury)
๒) การประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation)
๓) การสนทนาทางอินเทอร์เน็ต (Online dialogue)
๔) การแบ่งห้องวางแผน (Planning cells)
๕) เวที/หนังสือประเด็นนโยบาย (Forum/ issue book)
พลเมืองทุกคนทุกฝ่าย
พลเมือง (Citizen) ทุกคนทุกฝ่ายในชุมชนหรือสังคมสามารถ
เข้าร่วมสนทนาทางการเมือง (Political dialogue) อภิปราย
สาธารณะ (Public discussion) และแลกเปลี่ยนความเห็น
สาธารณะ (Public discourse) อย่างเท่าเทียมและมีอิสระ
เป้าหมาย
เป้าหมายเชิงกระบวนการ: กระบวนการสร้างโอกาสให้
พลเมืองได้มีโอกาสสนทนาทางการเมืองเพื่อสร้างความเข้าใจ
ระหว่างกัน โดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองให้มี
อานาจ สิทธิ หน้าที่ และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
โดยเฉพาะด้านนโยบายสาธารณะ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน
ที่เข้าร่วมสามารถนาเสนอแง่มุมความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้
แต่อย่างไรก็ตามจะมีเป้าหมายท้ายสุดเดียวกันคือเพื่อ
ผลประโยชน์ของสาธารณะ
เป้าหหมายเชิงเครื่องมือ: เครื่องมือสร้างความเข้าใจร่วมกัน
เพื่อแสวงหามติร่วมหรือเจตจานงร่วมทางการเมือง (General
will) ที่จาเป็นสาหรับนาไปใช้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาทางการเมือง
หรือเป็นกรอบสาหรับการพัฒนาอนาคตของชุมชนและสังคม
จุดเด่น
มีความมชอบธรรม (Legitimacy) เพราะทุกคนที่มีส่วนได้เสีย
ได้เข้ามา (Inclusive) หารือกันด้วยความเท่าเทียม
การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ถึงแม้ไม่สามารถสร้างข้อ
ยุติที่เป็นเอกภาพเห็นพ้องต้องกัน (Consensus) ๑๐๐% เสมอ
ไป แต่อย่างไรก็ถือว่ายุติธรรม เพราะเป็นผลของการสร้างความ
ร่วมมือกันอันนาไปสู่การตัดสินใจที่รอบคอบและรอบด้านที่เกิด
จากการใช้วิจารณญาณบนพื้นฐานของข้อมูลที่เที่ยงตรง
จุดด้อย
ผู้เอื้อกระบวนการ (Facilitator) ที่มีประสบการณ์คุมเกมและ
ทิศทางการจัดได้อาจโน้มน้าวชักขวนให้บุคคลอื่นปฏิบัติตามได้
ขนาดของกระบวนการต้องมีขนาดค่อนข้างใหญ่ก่อนเนื่องจาก
อาจขาดความชอบธรรมเพราะผู้ที่เข้ามาร่วมในกระบวนการ
ปรึกษาหารือมีจานวนน้อยกว่าผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ชั้น ๓ อาคารสุขภาพแห่งชาติ ๘๘/๓๙ ถ.ติวานนท์ ๑๔ หมู่ ๔ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบรี ๑๑๐๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๑-๒ www.nationalhealth.or.th
01 deliberative democracy

Weitere ähnliche Inhalte

Ähnlich wie 01 deliberative democracy

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
พัน พัน
 
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทยTeam thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Poramate Minsiri
 
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗
นายจักราวุธ คำทวี
 
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตรคู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
Dental Faculty,Phayao University.
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
Sansanee Tooksoon
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
Sansanee Tooksoon
 
ความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดีความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดี
saovapa nisapakomol
 
Deliberative democracy public
Deliberative democracy publicDeliberative democracy public
Deliberative democracy public
Kan Yuenyong
 

Ähnlich wie 01 deliberative democracy (12)

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
 
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทยTeam thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
 
การสื่อสารมวลชนฯ
การสื่อสารมวลชนฯ การสื่อสารมวลชนฯ
การสื่อสารมวลชนฯ
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ
การสร้างความปรองดองแห่งชาติการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ
 
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ
 
9789740328926
97897403289269789740328926
9789740328926
 
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗
 
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตรคู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
 
ความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดีความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดี
 
Deliberative democracy public
Deliberative democracy publicDeliberative democracy public
Deliberative democracy public
 

Mehr von Freelance (7)

11 the right to health
11 the right to health11 the right to health
11 the right to health
 
10 area health statute
10 area health statute10 area health statute
10 area health statute
 
09 health promotion
09 health promotion09 health promotion
09 health promotion
 
08 mental health
08 mental health08 mental health
08 mental health
 
07 health wisdom
07 health wisdom07 health wisdom
07 health wisdom
 
06 health system governance
06 health system governance06 health system governance
06 health system governance
 
05 health consumer protection
05 health consumer protection05 health consumer protection
05 health consumer protection
 

01 deliberative democracy

  • 1. ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ DELIBERATIVE DEMOCRACY ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือคือเครื่องมือสร้างพลเมืองที่เท่าทัน มีความรู้ และวิจารณญาณในการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล ความรู้ และเหตุผลเพื่อนาเสนอทางเลือกและทางออกที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยทาให้การตัดสินใจประเด็นปัญหา สาธารณะในทุกระดับผ่านกระบวนการใคร่ครวญไตร่ตรองอย่างรอบคอบครบถ้วนของผู้มีส่วนได้เสีย ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเป็นทั้งแนวทางและเครื่องมือของการเมืองภาคประชาชนที่พัฒนามาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ ๒๐ เป็นกระบวนการเสริมสร้างอานาจของประชาชนให้เป็นพลเมืองเข้มแข็ง เอาการเอางาน ใส่ใจในปัญหาสังคม และปกป้องผลประโยชน์ ของตนเองและชุมชน ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพของของประชาชนในการตรวจสอบกระบวนการบริหารจัดการของภาครัฐและ การเมืองให้ใช้อานาจอย่างถูกต้องและเป็นธรรมสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ในขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในแนว ทางการแก้ไขปัญหาของประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเฉพาะช่วงเวลาของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ความสาคัญ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเป็นการเสริมสร้าง ประชาธิปไตยทางตรงและส่งเสริมกระบวนการตัดสินใจ สาธารณะเพราะเปลี่ยนประชาชนที่เฉื่อยชามาเป็นพลเมืองที่ กระตือรือร้น (Active citizen) ในการเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประเด็นสังคมที่มีความสลับซับซ้อนโดยการรับฟังและ ยอมรับมุมมองความคิดเห็นที่แตกต่างด้วยความเข้าใจ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเป็นการสนทนาเพื่อ หาทางเลือกโดยใช้วิจารณญาณชั่งน้าหนักของผลที่จะตามมา จากการเลือกทางเลือกแต่ละทางที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายแตกต่าง กันไป ไม่ใช่การโต้แย้งเพื่อเอาชนะคะคานกัน กระบวนการ กระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนาเสนอ ทางออกของประเด็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองได้โดยสันติถึงแม้ว่าจะมีความคิดเห็นแตกต่าง กัน อันเนื่องมาจากมีการเปิดโอกาสให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นซึ่งกันและกันอย่างเป็นเหตุเป็นผลบนหลักฐานข้อมูล ที่เที่ยงตรง การประเมินค่าและการโน้มน้าวใจด้วยเหตุผล ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือคือเครื่องมือสาคัญสาหรับการถกเถียง ไตร่ตรอง ปรึกษาหารือ และชั่งน้าหนักอย่างรอบคอบ และรอบด้านเพื่อนาไปสู่การตัดสินใจสาธารณะร่วมกันของประชาชนและการลงมือปฏิบัติการของคนส่วนใหญ่ในสังคม โดยการกระตุ้น การมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยกระบวนการคิดและวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน โดยมีหลักการสาคัญ ดังนี้ หลักการใช้เหตุผลระหว่างบุคคล (Reasoning): การตั้งมั่นบนหลักเหตุผลมากกว่าการเจรจาต่อรองของกลุ่มผลประโยชน์ หลักการกระทาที่เปิดเผยและเป็นสาธารณะ (Public act): การใช้เหตุผล ชั่งน้าหนักเหตุผล และการยอมรับหรือไม่ยอมรับ เหตุผลต่างๆ ที่ต้องกระทาอย่างเป็นธรรมและเปิดเผยต่อสาธารณะ
  • 2. ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ DELIBERATIVE DEMOCRACY ปฏิบัติการของพลเมืองเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม กระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือคือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองที่นาไปสู่ความร่วมมือบนความเข้าใจในความ แตกต่างระหว่างกันตามระบอบประชาธิปไตย โดยการรับฟังและใช้วิจารณญาณในการชั่งนาหนักความคิดเห็นของคนอื่นอย่าง ระมัดระวัง และพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นถึงแม้อาจจะขัดแย้งกับแนวทางหรือความคิดเห็นของตนเอง องค์ประกอบ การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง: การรวมกลุ่มของพลเมืองที่ เป็นตัวแทนของสาธารณชนและกลุ่มที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง ไม่จาเป็นต้องมีจานวนมาก อาจใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมขนาด เล็กแต่เป็นตัวแทนที่ดีแบบคณะลูกขุนพลเมือง (Citizens jury) การวินิจฉัยจากสาธารณะที่รอบคอบ: การวินิจฉัยที่รอบคอบ และรอบด้านของสาธารณะบนพื้นฐานข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ปัญหาสาธารณะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โอกาสในการปรึกษาหารือ: การออกแบบกระบวนการ ปรึกษาหารือสาธารณะภายใต้บรรยากาศที่เอื้ออาทรต่อกันอัน จะนาไปสู่ทางเลือกต่างๆ โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับแต่ละทางเลือก และผลลัพธ์จากการเลือกแต่ละทางเลือก ผลลัพธ์น่าเชื่อถือ: การมีหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่รัฐน่าเชื่อถือ ที่สามารถสื่อสารผลลัพธ์กับประชาชนและสื่อมวลชนได้ เครื่องมือ เครื่องมือสาหรับนาประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือไปใช้ คือ ๑) กระบวนการลูกขุนพลเมือง (Citizens jury) ๒) การประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation) ๓) การสนทนาทางอินเทอร์เน็ต (Online dialogue) ๔) การแบ่งห้องวางแผน (Planning cells) ๕) เวที/หนังสือประเด็นนโยบาย (Forum/ issue book) พลเมืองทุกคนทุกฝ่าย พลเมือง (Citizen) ทุกคนทุกฝ่ายในชุมชนหรือสังคมสามารถ เข้าร่วมสนทนาทางการเมือง (Political dialogue) อภิปราย สาธารณะ (Public discussion) และแลกเปลี่ยนความเห็น สาธารณะ (Public discourse) อย่างเท่าเทียมและมีอิสระ เป้าหมาย เป้าหมายเชิงกระบวนการ: กระบวนการสร้างโอกาสให้ พลเมืองได้มีโอกาสสนทนาทางการเมืองเพื่อสร้างความเข้าใจ ระหว่างกัน โดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองให้มี อานาจ สิทธิ หน้าที่ และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะด้านนโยบายสาธารณะ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน ที่เข้าร่วมสามารถนาเสนอแง่มุมความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่อย่างไรก็ตามจะมีเป้าหมายท้ายสุดเดียวกันคือเพื่อ ผลประโยชน์ของสาธารณะ เป้าหหมายเชิงเครื่องมือ: เครื่องมือสร้างความเข้าใจร่วมกัน เพื่อแสวงหามติร่วมหรือเจตจานงร่วมทางการเมือง (General will) ที่จาเป็นสาหรับนาไปใช้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาทางการเมือง หรือเป็นกรอบสาหรับการพัฒนาอนาคตของชุมชนและสังคม จุดเด่น มีความมชอบธรรม (Legitimacy) เพราะทุกคนที่มีส่วนได้เสีย ได้เข้ามา (Inclusive) หารือกันด้วยความเท่าเทียม การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ถึงแม้ไม่สามารถสร้างข้อ ยุติที่เป็นเอกภาพเห็นพ้องต้องกัน (Consensus) ๑๐๐% เสมอ ไป แต่อย่างไรก็ถือว่ายุติธรรม เพราะเป็นผลของการสร้างความ ร่วมมือกันอันนาไปสู่การตัดสินใจที่รอบคอบและรอบด้านที่เกิด จากการใช้วิจารณญาณบนพื้นฐานของข้อมูลที่เที่ยงตรง จุดด้อย ผู้เอื้อกระบวนการ (Facilitator) ที่มีประสบการณ์คุมเกมและ ทิศทางการจัดได้อาจโน้มน้าวชักขวนให้บุคคลอื่นปฏิบัติตามได้ ขนาดของกระบวนการต้องมีขนาดค่อนข้างใหญ่ก่อนเนื่องจาก อาจขาดความชอบธรรมเพราะผู้ที่เข้ามาร่วมในกระบวนการ ปรึกษาหารือมีจานวนน้อยกว่าผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ชั้น ๓ อาคารสุขภาพแห่งชาติ ๘๘/๓๙ ถ.ติวานนท์ ๑๔ หมู่ ๔ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบรี ๑๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๑-๒ www.nationalhealth.or.th