SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 18
Downloaden Sie, um offline zu lesen
การเสนอกรณีศึกษาพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม
(University Engagement Case Studies)
ชื่อกรณีศึกษา
โครงการบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมของ
สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ : กรณีศึกษา
การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์
(The integrated program of teaching, research, academic service and preservation of art and
culture of program in architectural technology, Faculty of Industrial Technology,
Buriram Rajabhat University Case study: Vernacular Architecture in BuriRam Province)
ข้อมูลผู้เขียนหลัก
1. ชื่อ นาย สมบัติ สกุล ประจญศานต์ ตาแหน่ง รองศาสตราจารย์
2. สังกัดสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
3. Email-address sombatjonsant@gmail.com.com
4. โทรศัพท์ที่ทางาน044-611221 โทรศัพท์มือถือ 081-282-1192
ระยะเวลาเริ่มต้น และปีที่สิ้นสุดโครงการ
ปีที่ 1 ดาเนินการในปีการศึกษา 1/2555 ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2555 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556
ปีที่ 2 ดาเนินการในปีการศึกษา 2/2556 ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2556 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ.2557
ปีที่ 3 ดาเนินการในปีการศึกษา 2/2557 ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2557 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ.2558
คําสําคัญ สถาปัตยกรรม Architecture สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น vernacular architecture
การอนุรักษ์ conservative
1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย ที่ชัดเจน
โครงการบูรณาการฯ เป็นโครงการที่ให้ความสาคัญของการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาที่เห็นว่าความ
มั่นคงของชาติไทยที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของคนไทยในการดารงตนอย่างมีวิจารณญาณในทุกโอกาส เมื่อมี
ภาระงาน ปัญหา อุปสรรคผ่านเข้ามาในชีวิต คนไทยต้องสามารถคิดวิเคราะห์ สร้าง พัฒนา ประเมิน
ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ถือเป็นหลักการของการปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบการพัฒนา
บัณฑิตแบบระบบรวบยอดครบวงจรที่เน้นกิจกรรมการเรียนที่กระตุ้นให้นักศึกษาให้ความสาคัญต่อ
ทรัพยากรในชุมชนในทุกรูปแบบทั้งทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตร
อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ประจาชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ นักศึกษาจะเข้าใจร่วมกันว่าการให้
ความสาคัญกับชุมชนไม่ใช่เพียงการเกิดสานึกที่ดีเท่านั้น แต่จะต้องนาเอาประเด็นปัญหาของชุมชนเข้ามาเป็น
โจทย์ในการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรและการวิจัยระดับอุดมศึกษาของตนเองด้วย นักศึกษาต้องมีบทบาทในการ
เรียนแบบลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เมื่อนักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะที่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ ดังเช่น
กระบวนการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว คุณลักษณะเหล่านี้จะติดตัวนักศึกษาไปตลอด ดังนั้น เมื่อ
นักศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงานก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นคนไทยที่สามารถดารงตนได้อย่างมีวิจารณญาณ คิด
วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยไม่ละทิ้งการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนทาให้ได้กาลังคนที่มี
ความสามารถทางความคิดและมีฝีมือจานวนมากพอที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาชาติได้ ทั้งนี้
ชุมชนส่วนใหญ่ในจังหวัดบุรีรัมย์เป็นชุมชนเกษตรกรรม โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดารงตน ทั้งภูมิ
ปัญญาด้านอาหาร ด้านเครื่องนุ่งห่ม ด้านยารักษาโรค และด้านที่อยู่อาศัย ดารงชีพมาตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบันสั่งสมเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งหากทาให้มีการจัดการศึกษาและเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยให้
นักศึกษาร่วมกันเรียนรู้นอกห้องเรียน แสวงหาความรู้ นาเสนอองค์ความรู้โดยการทางานร่วมกันของพี่น้อง
ต่างชั้นปีที่รวมคนรวมความสามารถหรือทักษะที่หลากหลายในลักษณะการเรียนรู้เสมือนการทางานจริง
(Studio learning) จะได้ผลงานจากการศึกษาภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่นับวันจะสิ้นสูญสลาย
นาไปสู่การแก้ปัญหาการทาลายอาคาร อนุรักษ์และใช้ประโยชน์อาคารอันเป็นเสริมสร้างความเข้มแข็งของ
ชุมชนที่ยังคงดารงอัตลักษณ์ท้องถิ่นท่ามกลางกระแส โลกาภิวัตน์ จึงเป็นบทบาทที่จาเป็นและสาคัญยิ่งซึ่งควร
ดาเนินการให้เป็นรูปธรรม ดังนั้น โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ
บูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมโดยมี
เป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักและเกิดแรงจูงใจที่การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นให้กับชุมชน
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจึงเป็นภูมิปัญญาที่ควรใช้เป็นข้อมูลในการเรียนรู้ผ่านการสร้างทักษะการวิจัยนักศึกษา
และอาจารย์สามารถนาองค์ความรู้ดังกล่าวต่อยอดสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียว หรืองานวิจัย รวมถึง
ชุมชนท้องถิ่นสามารถอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นให้ดารงอยู่และเกิดแนวทางจัดการสถาปัตยกรรมเชิง
วัฒนธรรม หรือเชิงการท่องเที่ยวต่อไป
2. กระบวนการหรือวิธีการร่วมคิดร่วมทําแบบพันธมิตรและหุ้นส่วน(partnership) กับภาคีต่างๆในการ
เตรียมการ การตัดสินใจ และการดําเนินงาน
2.1 คณะทางาน ประกอบด้วย คณาจารย์ผู้สอน จานวน 4 คน ในรายวิชา 6 รายวิชา และนักศึกษา
ชั้นปีที่ 2-4 ร่วมทางานกับชุมชน ได้แก่ เจ้าของอาคาร ผู้ดูแลอาคาร เจ้าอาวาส ผู้อาวุโส และผู้นาชุมชน ใน
พื้นที่ที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตั้งอยู่มีส่วนร่วมในการดาเนินงานของนักศึกษาหรือเข้ารับฟังการนาเสนอผลงาน
ของนักศึกษา
2.2 คณาจารย์สารวจพื้นที่ในชุมชนเพื่อหาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีคุณค่า พบปะกับผู้นาชุมชน
เจ้าของอาคารเพื่อประเมินชุมชนเบื้องต้น เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของความสาเร็จในการทางานร่วมกัน
โดยแนะนาโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการให้ชุมชนร่วมตัดสินใจเข้าร่วมกับโครงการ
2.3 ในสัปดาห์ที่ 9-16 จะสลายการเรียนการสอนแบบรายวิชา โดยคัดเลือกรายวิชาที่ต้องการให้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับโครงการ จัดแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปี
ที่ 2 3 4 โดยพิจารณาจากทักษะความสามารถและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของนักศึกษาร่วมถึง
ชุมชนเจ้าบ้าน จากนั้นจัดประชุมชี้แจงโครงการกับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับคณะทางาน
และการดาเนินงานในชุมชน โดยนักศึกษาแต่ละกลุ่มจะลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน ประวัติศาสตร์
ชุมชน ประวัติอาคารด้วยการสัมภาษณ์ การทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้ว สารวจ รังวัดขนาดทุกส่วนของ
อาคารด้วยเครื่องมือวัด และเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม 2 มิติ ประกอบด้วย ผังบริเวณ ผังพื้น ผังหลังคา รูป
ด้าน รูปตัดของอาคาร รวมทั้งแบบนาทางสถาปัตยกรรม 3 มิติ ได้แก่ ทัศนียภาพของอาคาร หุ่นจาลอง และ
จัดทารายงาน สื่อวีดิทัศน์ แผนภาพโปสเตอร์ เพื่อจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน และจัดแสดงนิทรรศการใน
ชุมชน โดยในแต่ละสัปดาห์จะมีการติดตามความก้าวหน้าของงานโดยคณาจารย์เพื่อให้ข้อเสนอแนะทาง
วิชาการต่อผลงานของแก่นักศึกษา เมื่อทาการตรวจสอบให้ข้อเสนอแนะจากชุมชนแล้ว นักศึกษาจะปรับปรุง
ผลงานและส่งมอบผลงานให้กับชุมชนเพื่อใช้เป็นแบบเพื่อการอนุรักษ์อาคารต่อไป
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1/2555 ดาเนินการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ดังนี้
1) สิมวัดหนองบัวเจ้าป่า อ.สตึก จ.บุรีรัมย์
2) สิมวัดขุนก้อง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
3) สิมวัดชัยมงคล อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
4) อาคารห้องแถวไม้ ตลาดห้วยราช อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์
ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2/2556 ดาเนินการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ดังนี้
1) สิมวัดเขื่อนคงคา อ.ลาปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
2) สิมวัดบรมคงคา อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์
3) สิมวัดท่าเรียบ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2/2557 ดาเนินการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ดังนี้
1) สิมวัดมณีจันทร์ อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์
2) สิมวัดบรมคงคา อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์
3) สิมวัดท่าเรียบ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
4) สิมวัดสระแก อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
2.4 ร่วมกับชุมชนจัดทาประวัติอาคาร ข้อมูลประกอบอาคาร เสนอขอรับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะ
สถาปัตยกรรมดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพ
รัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อชุมชนท้องถิ่นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรม
ยังผลให้เกิดการอนุรักษ์อาคาร หาแนวทางในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อาคารอย่างยั่งยืนต่อไป จากการ
ดาเนินงานมีผลให้อาคารได้รับรางวัล ดังนี้
1) สิมวัดหนองบัวเจ้าป่า ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจาปี 2556
2) สิมวัดท่าเรียบ ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจาปี 2557
3) สิมวัดบรมคงคา ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจาปี 2558
3. ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือวิธีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสร้างสรรค์(คน ความรู้
วัสดุ และงบประมาณ)
การดาเนินโครงการดาเนินตามหลักการวิจัยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดยอาศัยการใช้ทรัพยากรทั้ง
คณาจารย์ นักศึกษา วัสดุ และงบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รวมทั้งงบสมทบจาก
โครงการวิจัยของอาจารย์ที่ได้รับจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
4. ความเกี่ยวข้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัยด้านการเรียนการสอน การวิจัย หรือการบริการวิชาการ
โครงการบูรณาการฯ มีความสอดคล้องกับภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่เป็น
สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จะต้องปฏิบัติภารกิจสาคัญมี 4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การ
วิจัยการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม
5. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย(mutual benefits) ทั้งสังคม(เช่น ชุมชน
ผู้ประกอบการหน่วยงานรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน วัด เป็นต้น) และนักวิชาการ เช่น
ผลงานวิชาการ(knowledge sharing and scholarship) ประเภทบทความวิชาการในวารสาร
นิทรรศการ หรือผลงานในรูปแบบอื่นๆ
5.1 นักศึกษา : เกิดสานึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด รู้จักคุณค่าของตนเอง ของวิชาชีพที่มีต่อการพัฒนา
ชุมชนบ้านเกิด เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างพี่ น้อง เพื่อน เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยทักษะกระบวนการวิจัย
เป็นการเรียนรู้ที่มีคุณค่า ความหมาย เป็นประสบการณ์ที่สร้างสุขในการเป็นผู้ให้กับชุมชน ต่อยอดสู่
โครงการวิจัยทางสถาปัตยกรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 4
5.2 อาจารย์ : มีความสุขในวิชาชีพ พัฒนากระบวนการสอน ทางานร่วมกันในสาขาวิชา พัฒนาสู่
นักวิชาการสายรับใช้สังคม โดยได้ประสบการณ์เชิงพื้นที่ นามาเขียนตารา ผลงานวิชาการ งานวิจัย บทความ
วิจัย นาผลงานใช้ขอกาหนดตาแหน่งทางวิชาการต่อไป โดยเกิดเป็นผลงานวิจัยของคณาจารย์ 7 โครงการ
5.2 สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัย : เกิดภาพลักษณ์ที่ดี ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นต่อการจัดการ
เรียนการสอน ชุมชนเข้าใจบทบาทของวิชาชีพ เกิดการนาเสนอผลงานต่อเครือข่ายสถาบันการศึกษาด้าน
สถาปัตยกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5.3 ชุมชน : เกิดความตระหนักถึงคุณค่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ พัฒนา
เป็นแนวทาง เกิดแผนพัฒนาชุมชน
6. ความต่อเนื่องของงานหลังจากโครงการสิ้นสุดแล้ว หรือการขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ หรือสาขาวิชา
การอื่นๆ
โครงการบูรณาการฯ ดาเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และจัดอยู่ในแผนดาเนินการในปีการศึกษา 2558
โดยได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมให้นาเสนอแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices)
ด้านการเรียนการสอนแบบบูรณาการโครงการ LNN SHOW & SHARE ครั้งที่ 1 มหกรรมแลกเปลี่ยน
เรียนรู้และนาเสนอแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา เมื่อ 22-23
พฤษภาคม 2556 ต่อที่คณาจารย์อุดมศึกษาในและต่างสถาบัน จานวน 200 คน และ นาเสนอแนวปฏิบัติที่ดี
(Best Practices) ครั้งที่ 2 เมื่อ 13-14 พฤษภาคม 2557 ต่อที่คณาจารย์อุดมศึกษาในและต่างสถาบัน
จานวน 150 คน ซึ่งในระดับภายในมหาวิทยาลัย มีสาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้างได้นารูปแบบการดาเนิน
โครงการไปใช้ในปี 2557
7. ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(measurable social impact)
โครงการดังกล่าวเกิดผลกระทบต่อสังคมด้านสังคมที่สังเกตได้ส่งผลต่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้น
ถิ่น สิม รวมถึงศาสนคารอื่นๆ ภายในวัด เช่น หอระฆังของวัดหนองบัวเจ้าป่า โรงฉันของวัดบรมคงคา ซึ่งแต่
เดิมก่อนเข้าดาเนินการชุมชนมีความคิดที่จะรื้อถอนอาคาร แต่เหมือนมีโครงการชุมชนเปลี่ยนแนวคิดหาทาง
อนุรักษ์เพื่อให้เป็นอาคารประกอบกับสิมที่ได้อนุรักษ์ไว้ เป็นต้น เกิดความคิดต่อยอดสู่การวางแผนท่องเที่ยว
โดยชุมชน
8. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม เช่น รายงานการวิจัย บทความ เว็บไซต์
1) วิสาข์ แฝงเวียงและคณะ.(2556). โครงการประเมินความสําเร็จของโครงการบูรณาการการ
เรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยี
สถาปัตยกรรม เสนอต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2) สมบัติ ประจญศานต์ วิสาข์ แฝงเวียง และพิพัฒน์ ประจญศานต์. (2556).โครงการวิจัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการออกแบบอุโบสถพื้นถิ่นที่สร้างสภาวะน่าสบาย : กรณีศึกษา อุโบสถในจังหวัด
บุรีรัมย์ เสนอต่อ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
3) วิสาข์ แฝงเวียงและคณะ.(2557). โครงการประเมินความสําเร็จของโครงการบูรณาการการ
เรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยี
สถาปัตยกรรม ปีที่ 2 เสนอต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
4) วิสาข์ แฝงเวียง สมบัติ ประจญศานต์ และกิตติฤกษ์ ปิตะทะสังข์.(2557) โครงการวิจัยพัฒนา
สื่อสารสนเทศชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการออกแบบอุโบสถพื้นถิ่นที่สร้างสภาวะสบาย : กรณีศึกษา
อุโบสถในจังหวัดบุรีรัมย์ เสนอต่อ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
5) วิสาข์ แฝงเวียง, สมบัติ ประจญศานต์, ปิยชนม์ สังข์ศักดา และกิตติฤกษ์ ปิดตาทะสังข์.
โครงการประเมินความสาเร็จของโครงการบูรณาการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทานุ
บารุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. จานวน 10 หน้า
รายงานสืบเนื่องการประชุมทางวิชาการระดับชาติ ประจําปี พ.ศ.2556 สํานักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บทคัดย่อ หน้า 93.
6)สมบัติ ประจญศานต์, วิสาข์ แฝงเวียง, ปิยชนม์ สังข์ศักดา และกิตติฤกษ์ ปิดตาทะสังข์.
(2557). “รูปแบบการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการและการทานุบารุง
ศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์”. วารสารการพัฒนา
ชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2557). หน้า 215-224.
7) วิสาข์ แฝงเวียง, สมบัติ ประจญศานต์, ปิยชนม์ สังข์ศักดา และกิตติฤกษ์ ปิดตาทะสังข์.
(2558) . “ประเมินความสําเร็จของโครงการบูรณาการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการ
ทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 2”.
รายงานสืบเนื่องการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ พ.ศ.2558 (National and
International Research Conference 2015 : NIRC2015) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับสานักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.). หน้า 547-554.
8) Sombat Prajonsant, Visar Feangwiang, Pipat Prajonsan. (2015). “ Local Wisdom in
Designing Vernacular Buddhist Holy Temples that Creating the Thermal Comfort : case study
of Khun Kong temple’s Sim in Nang Rong district, BuriRam province ” KKU International
Journal of Humanities and Social Sciences. Vol.5.No.1 January-April. p. 31-47.
ภาพดําเนินการโครงการปีที่ 1
ชี้แจงโครงการกับ
นักศึกษา ชุมชน
นักศึกษาศึกษา
จากชุมชน
รังวัด ขนาดอาคาร
รายละเอียดอาคาร
นาเสนอผลงานต่อ
อาจารย์ นักศึกษา
จัดทาแบบอาคาร
แผนภาพ หุ่นจาลอง
ผลงานของ
นักศึกษา
การนาเสนอผลงาน
ต่อชุมชน
ผลงานวิจัยของ
อาจารย์
ผลงานวิจัยของ
นักศึกษา
จัดแสดงนิทรรศการ
จัดทาประวัติอาคาร
ส่งขอรับรางวัล
2 รางวัลอาคาร
อนุรักษ์ดีเด่น
กิจกรรมนักศึกษา
ศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
นาเสนอแนวปฏิบัติ
ที่ดีในการประชุม
งานสถาปนิก’
56
30 เม.ย.- 5
นิทรรศการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ
ภาพดําเนินการโครงการปีที่ 2
ภาพดําเนินการโครงการปีที่ 3
พที่ 1 บรรยากาศในวันประเมินความสาเร็จของโครงการโดยชุมชน วัดมณีจันทร์
ภาพที่ 2 บรรยากาศในวันประเมินความสาเร็จของโครงการโดยชุมชน วัดบรมคงคา
ภาพที่ 3 บรรยากาศในวันประเมินความสาเร็จของโครงการโดยชุมชน วัดท่าเรียบ
ภาพที่ 4 บรรยากาศในวันประเมินความสาเร็จของโครงการโดยชุมชน วัดสระแก
ภาพที่ 5 ปี 2557 นานักศึกษาปี 1 บันทึกแบบทางสถาปัตยกรรมตามหลักการของ และแสดงผลงานต่อชุมชน
เกิดประเด็นอนุรักษ์อาคารอื่นๆ ในวัดหนองบัวเจ้าป่า
และเกิดประเด็นชวนคิดเรื่องการวางแผนจัดการวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหนองบัวเงิน
เกิดประเด็นอนุรักษ์อาคารอื่นๆในชุมชนบ้านแวง วัดบรมคงคา
เกิดประเด็นการวางแผนการอนุรักษ์อาคารในชุมชนบ้านโนนแก้ว วัดเทราซาบ้านโนนแก้ว
เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การขยายผลไปยังสาขาวิชาอื่น มหาวิทยาลัยอื่น

Weitere ähnliche Inhalte

Ähnlich wie การเสนอกรณีศึกษาพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม กรณีศึกษาโครงการบูรณาการเรียนการสอ

2554 ค่ายอาสาพัฒนาจุฬา - ชนบท ครั้งที่ ๒๒
2554 ค่ายอาสาพัฒนาจุฬา - ชนบท ครั้งที่ ๒๒2554 ค่ายอาสาพัฒนาจุฬา - ชนบท ครั้งที่ ๒๒
2554 ค่ายอาสาพัฒนาจุฬา - ชนบท ครั้งที่ ๒๒mahaoath พระมหาโอ๊ท
 
ใบสมัครปอน
ใบสมัครปอนใบสมัครปอน
ใบสมัครปอนPond Becauzes
 
Prd qa presentation__53
Prd qa presentation__53Prd qa presentation__53
Prd qa presentation__53productstud
 
International Program in Design and Architecture - Focus: Summer Design Build...
International Program in Design and Architecture - Focus: Summer Design Build...International Program in Design and Architecture - Focus: Summer Design Build...
International Program in Design and Architecture - Focus: Summer Design Build...Michael Jones
 
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
ใบสมัครอิ๋ง
ใบสมัครอิ๋งใบสมัครอิ๋ง
ใบสมัครอิ๋งPond Becauzes
 
โครงการค่ายวิชาการEisปี54
โครงการค่ายวิชาการEisปี54โครงการค่ายวิชาการEisปี54
โครงการค่ายวิชาการEisปี54Lao-puphan Pipatsak
 
Qa คณะ ปี 51 (version 2005) ใหม่
Qa คณะ ปี 51 (version 2005) ใหม่Qa คณะ ปี 51 (version 2005) ใหม่
Qa คณะ ปี 51 (version 2005) ใหม่ArtsDesign Rangsit
 
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furd
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furdโครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furd
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา FurdUkrit Chalermsan
 
รายงานผลการดำเนินงาน การขับเคลื่อนสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (ตุลาคม 2553...
รายงานผลการดำเนินงาน การขับเคลื่อนสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (ตุลาคม 2553...รายงานผลการดำเนินงาน การขับเคลื่อนสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (ตุลาคม 2553...
รายงานผลการดำเนินงาน การขับเคลื่อนสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (ตุลาคม 2553...kaewpanya km
 
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcEC
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcECModel FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcEC
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcECssuserf6586a
 
(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)etcenterrbru
 
ใบงานที่ 14
ใบงานที่ 14ใบงานที่ 14
ใบงานที่ 14rohanlathel
 

Ähnlich wie การเสนอกรณีศึกษาพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม กรณีศึกษาโครงการบูรณาการเรียนการสอ (20)

2554 ค่ายอาสาพัฒนาจุฬา - ชนบท ครั้งที่ ๒๒
2554 ค่ายอาสาพัฒนาจุฬา - ชนบท ครั้งที่ ๒๒2554 ค่ายอาสาพัฒนาจุฬา - ชนบท ครั้งที่ ๒๒
2554 ค่ายอาสาพัฒนาจุฬา - ชนบท ครั้งที่ ๒๒
 
ใบสมัครปอน
ใบสมัครปอนใบสมัครปอน
ใบสมัครปอน
 
โครงการMouกับ ศูนย์วิศวกรรม55
โครงการMouกับ ศูนย์วิศวกรรม55โครงการMouกับ ศูนย์วิศวกรรม55
โครงการMouกับ ศูนย์วิศวกรรม55
 
V249
V249V249
V249
 
Prd qa presentation__53
Prd qa presentation__53Prd qa presentation__53
Prd qa presentation__53
 
Com
ComCom
Com
 
International Program in Design and Architecture - Focus: Summer Design Build...
International Program in Design and Architecture - Focus: Summer Design Build...International Program in Design and Architecture - Focus: Summer Design Build...
International Program in Design and Architecture - Focus: Summer Design Build...
 
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
 
ใบสมัครอิ๋ง
ใบสมัครอิ๋งใบสมัครอิ๋ง
ใบสมัครอิ๋ง
 
6.ตอนที่ 4
6.ตอนที่ 46.ตอนที่ 4
6.ตอนที่ 4
 
Proposal ict2
Proposal ict2Proposal ict2
Proposal ict2
 
Proposal ict2
Proposal ict2Proposal ict2
Proposal ict2
 
โครงการค่ายวิชาการEisปี54
โครงการค่ายวิชาการEisปี54โครงการค่ายวิชาการEisปี54
โครงการค่ายวิชาการEisปี54
 
Qa คณะ ปี 51 (version 2005) ใหม่
Qa คณะ ปี 51 (version 2005) ใหม่Qa คณะ ปี 51 (version 2005) ใหม่
Qa คณะ ปี 51 (version 2005) ใหม่
 
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furd
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furdโครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furd
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furd
 
รายงานผลการดำเนินงาน การขับเคลื่อนสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (ตุลาคม 2553...
รายงานผลการดำเนินงาน การขับเคลื่อนสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (ตุลาคม 2553...รายงานผลการดำเนินงาน การขับเคลื่อนสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (ตุลาคม 2553...
รายงานผลการดำเนินงาน การขับเคลื่อนสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (ตุลาคม 2553...
 
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcEC
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcECModel FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcEC
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcEC
 
Maekham
MaekhamMaekham
Maekham
 
(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)
 
ใบงานที่ 14
ใบงานที่ 14ใบงานที่ 14
ใบงานที่ 14
 

การเสนอกรณีศึกษาพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม กรณีศึกษาโครงการบูรณาการเรียนการสอ

  • 1. การเสนอกรณีศึกษาพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม (University Engagement Case Studies) ชื่อกรณีศึกษา โครงการบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมของ สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ : กรณีศึกษา การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์ (The integrated program of teaching, research, academic service and preservation of art and culture of program in architectural technology, Faculty of Industrial Technology, Buriram Rajabhat University Case study: Vernacular Architecture in BuriRam Province) ข้อมูลผู้เขียนหลัก 1. ชื่อ นาย สมบัติ สกุล ประจญศานต์ ตาแหน่ง รองศาสตราจารย์ 2. สังกัดสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 3. Email-address sombatjonsant@gmail.com.com 4. โทรศัพท์ที่ทางาน044-611221 โทรศัพท์มือถือ 081-282-1192 ระยะเวลาเริ่มต้น และปีที่สิ้นสุดโครงการ ปีที่ 1 ดาเนินการในปีการศึกษา 1/2555 ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2555 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 ปีที่ 2 ดาเนินการในปีการศึกษา 2/2556 ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2556 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ปีที่ 3 ดาเนินการในปีการศึกษา 2/2557 ตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2557 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ.2558 คําสําคัญ สถาปัตยกรรม Architecture สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น vernacular architecture การอนุรักษ์ conservative 1. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย ที่ชัดเจน โครงการบูรณาการฯ เป็นโครงการที่ให้ความสาคัญของการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาที่เห็นว่าความ มั่นคงของชาติไทยที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของคนไทยในการดารงตนอย่างมีวิจารณญาณในทุกโอกาส เมื่อมี ภาระงาน ปัญหา อุปสรรคผ่านเข้ามาในชีวิต คนไทยต้องสามารถคิดวิเคราะห์ สร้าง พัฒนา ประเมิน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ถือเป็นหลักการของการปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบการพัฒนา บัณฑิตแบบระบบรวบยอดครบวงจรที่เน้นกิจกรรมการเรียนที่กระตุ้นให้นักศึกษาให้ความสาคัญต่อ
  • 2. ทรัพยากรในชุมชนในทุกรูปแบบทั้งทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ประจาชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ นักศึกษาจะเข้าใจร่วมกันว่าการให้ ความสาคัญกับชุมชนไม่ใช่เพียงการเกิดสานึกที่ดีเท่านั้น แต่จะต้องนาเอาประเด็นปัญหาของชุมชนเข้ามาเป็น โจทย์ในการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรและการวิจัยระดับอุดมศึกษาของตนเองด้วย นักศึกษาต้องมีบทบาทในการ เรียนแบบลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เมื่อนักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะที่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ ดังเช่น กระบวนการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว คุณลักษณะเหล่านี้จะติดตัวนักศึกษาไปตลอด ดังนั้น เมื่อ นักศึกษาเข้าสู่ตลาดแรงงานก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นคนไทยที่สามารถดารงตนได้อย่างมีวิจารณญาณ คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยไม่ละทิ้งการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนทาให้ได้กาลังคนที่มี ความสามารถทางความคิดและมีฝีมือจานวนมากพอที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาชาติได้ ทั้งนี้ ชุมชนส่วนใหญ่ในจังหวัดบุรีรัมย์เป็นชุมชนเกษตรกรรม โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดารงตน ทั้งภูมิ ปัญญาด้านอาหาร ด้านเครื่องนุ่งห่ม ด้านยารักษาโรค และด้านที่อยู่อาศัย ดารงชีพมาตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบันสั่งสมเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งหากทาให้มีการจัดการศึกษาและเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยให้ นักศึกษาร่วมกันเรียนรู้นอกห้องเรียน แสวงหาความรู้ นาเสนอองค์ความรู้โดยการทางานร่วมกันของพี่น้อง ต่างชั้นปีที่รวมคนรวมความสามารถหรือทักษะที่หลากหลายในลักษณะการเรียนรู้เสมือนการทางานจริง (Studio learning) จะได้ผลงานจากการศึกษาภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่นับวันจะสิ้นสูญสลาย นาไปสู่การแก้ปัญหาการทาลายอาคาร อนุรักษ์และใช้ประโยชน์อาคารอันเป็นเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ชุมชนที่ยังคงดารงอัตลักษณ์ท้องถิ่นท่ามกลางกระแส โลกาภิวัตน์ จึงเป็นบทบาทที่จาเป็นและสาคัญยิ่งซึ่งควร ดาเนินการให้เป็นรูปธรรม ดังนั้น โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ บูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรมโดยมี เป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักและเกิดแรงจูงใจที่การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นให้กับชุมชน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจึงเป็นภูมิปัญญาที่ควรใช้เป็นข้อมูลในการเรียนรู้ผ่านการสร้างทักษะการวิจัยนักศึกษา และอาจารย์สามารถนาองค์ความรู้ดังกล่าวต่อยอดสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียว หรืองานวิจัย รวมถึง ชุมชนท้องถิ่นสามารถอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นให้ดารงอยู่และเกิดแนวทางจัดการสถาปัตยกรรมเชิง วัฒนธรรม หรือเชิงการท่องเที่ยวต่อไป 2. กระบวนการหรือวิธีการร่วมคิดร่วมทําแบบพันธมิตรและหุ้นส่วน(partnership) กับภาคีต่างๆในการ เตรียมการ การตัดสินใจ และการดําเนินงาน 2.1 คณะทางาน ประกอบด้วย คณาจารย์ผู้สอน จานวน 4 คน ในรายวิชา 6 รายวิชา และนักศึกษา ชั้นปีที่ 2-4 ร่วมทางานกับชุมชน ได้แก่ เจ้าของอาคาร ผู้ดูแลอาคาร เจ้าอาวาส ผู้อาวุโส และผู้นาชุมชน ใน พื้นที่ที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตั้งอยู่มีส่วนร่วมในการดาเนินงานของนักศึกษาหรือเข้ารับฟังการนาเสนอผลงาน ของนักศึกษา 2.2 คณาจารย์สารวจพื้นที่ในชุมชนเพื่อหาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่มีคุณค่า พบปะกับผู้นาชุมชน เจ้าของอาคารเพื่อประเมินชุมชนเบื้องต้น เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของความสาเร็จในการทางานร่วมกัน
  • 3. โดยแนะนาโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการให้ชุมชนร่วมตัดสินใจเข้าร่วมกับโครงการ 2.3 ในสัปดาห์ที่ 9-16 จะสลายการเรียนการสอนแบบรายวิชา โดยคัดเลือกรายวิชาที่ต้องการให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับโครงการ จัดแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปี ที่ 2 3 4 โดยพิจารณาจากทักษะความสามารถและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของนักศึกษาร่วมถึง ชุมชนเจ้าบ้าน จากนั้นจัดประชุมชี้แจงโครงการกับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับคณะทางาน และการดาเนินงานในชุมชน โดยนักศึกษาแต่ละกลุ่มจะลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน ประวัติศาสตร์ ชุมชน ประวัติอาคารด้วยการสัมภาษณ์ การทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้ว สารวจ รังวัดขนาดทุกส่วนของ อาคารด้วยเครื่องมือวัด และเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม 2 มิติ ประกอบด้วย ผังบริเวณ ผังพื้น ผังหลังคา รูป ด้าน รูปตัดของอาคาร รวมทั้งแบบนาทางสถาปัตยกรรม 3 มิติ ได้แก่ ทัศนียภาพของอาคาร หุ่นจาลอง และ จัดทารายงาน สื่อวีดิทัศน์ แผนภาพโปสเตอร์ เพื่อจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน และจัดแสดงนิทรรศการใน ชุมชน โดยในแต่ละสัปดาห์จะมีการติดตามความก้าวหน้าของงานโดยคณาจารย์เพื่อให้ข้อเสนอแนะทาง วิชาการต่อผลงานของแก่นักศึกษา เมื่อทาการตรวจสอบให้ข้อเสนอแนะจากชุมชนแล้ว นักศึกษาจะปรับปรุง ผลงานและส่งมอบผลงานให้กับชุมชนเพื่อใช้เป็นแบบเพื่อการอนุรักษ์อาคารต่อไป ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1/2555 ดาเนินการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ดังนี้ 1) สิมวัดหนองบัวเจ้าป่า อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ 2) สิมวัดขุนก้อง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ 3) สิมวัดชัยมงคล อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ 4) อาคารห้องแถวไม้ ตลาดห้วยราช อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2/2556 ดาเนินการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ดังนี้ 1) สิมวัดเขื่อนคงคา อ.ลาปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ 2) สิมวัดบรมคงคา อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ 3) สิมวัดท่าเรียบ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2/2557 ดาเนินการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ดังนี้ 1) สิมวัดมณีจันทร์ อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ 2) สิมวัดบรมคงคา อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ 3) สิมวัดท่าเรียบ อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
  • 4. 4) สิมวัดสระแก อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ 2.4 ร่วมกับชุมชนจัดทาประวัติอาคาร ข้อมูลประกอบอาคาร เสนอขอรับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะ สถาปัตยกรรมดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพ รัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อชุมชนท้องถิ่นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรม ยังผลให้เกิดการอนุรักษ์อาคาร หาแนวทางในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อาคารอย่างยั่งยืนต่อไป จากการ ดาเนินงานมีผลให้อาคารได้รับรางวัล ดังนี้ 1) สิมวัดหนองบัวเจ้าป่า ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจาปี 2556 2) สิมวัดท่าเรียบ ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจาปี 2557 3) สิมวัดบรมคงคา ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจาปี 2558 3. ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือวิธีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสร้างสรรค์(คน ความรู้ วัสดุ และงบประมาณ) การดาเนินโครงการดาเนินตามหลักการวิจัยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดยอาศัยการใช้ทรัพยากรทั้ง คณาจารย์ นักศึกษา วัสดุ และงบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รวมทั้งงบสมทบจาก โครงการวิจัยของอาจารย์ที่ได้รับจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย 4. ความเกี่ยวข้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัยด้านการเรียนการสอน การวิจัย หรือการบริการวิชาการ โครงการบูรณาการฯ มีความสอดคล้องกับภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่เป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จะต้องปฏิบัติภารกิจสาคัญมี 4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การ วิจัยการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม 5. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นร่วมกันแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย(mutual benefits) ทั้งสังคม(เช่น ชุมชน ผู้ประกอบการหน่วยงานรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน วัด เป็นต้น) และนักวิชาการ เช่น ผลงานวิชาการ(knowledge sharing and scholarship) ประเภทบทความวิชาการในวารสาร นิทรรศการ หรือผลงานในรูปแบบอื่นๆ 5.1 นักศึกษา : เกิดสานึกรักถิ่นฐานบ้านเกิด รู้จักคุณค่าของตนเอง ของวิชาชีพที่มีต่อการพัฒนา ชุมชนบ้านเกิด เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างพี่ น้อง เพื่อน เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยทักษะกระบวนการวิจัย เป็นการเรียนรู้ที่มีคุณค่า ความหมาย เป็นประสบการณ์ที่สร้างสุขในการเป็นผู้ให้กับชุมชน ต่อยอดสู่ โครงการวิจัยทางสถาปัตยกรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 4
  • 5. 5.2 อาจารย์ : มีความสุขในวิชาชีพ พัฒนากระบวนการสอน ทางานร่วมกันในสาขาวิชา พัฒนาสู่ นักวิชาการสายรับใช้สังคม โดยได้ประสบการณ์เชิงพื้นที่ นามาเขียนตารา ผลงานวิชาการ งานวิจัย บทความ วิจัย นาผลงานใช้ขอกาหนดตาแหน่งทางวิชาการต่อไป โดยเกิดเป็นผลงานวิจัยของคณาจารย์ 7 โครงการ 5.2 สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัย : เกิดภาพลักษณ์ที่ดี ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นต่อการจัดการ เรียนการสอน ชุมชนเข้าใจบทบาทของวิชาชีพ เกิดการนาเสนอผลงานต่อเครือข่ายสถาบันการศึกษาด้าน สถาปัตยกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5.3 ชุมชน : เกิดความตระหนักถึงคุณค่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ พัฒนา เป็นแนวทาง เกิดแผนพัฒนาชุมชน 6. ความต่อเนื่องของงานหลังจากโครงการสิ้นสุดแล้ว หรือการขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ หรือสาขาวิชา การอื่นๆ โครงการบูรณาการฯ ดาเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และจัดอยู่ในแผนดาเนินการในปีการศึกษา 2558 โดยได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมให้นาเสนอแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ด้านการเรียนการสอนแบบบูรณาการโครงการ LNN SHOW & SHARE ครั้งที่ 1 มหกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้และนาเสนอแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา เมื่อ 22-23 พฤษภาคม 2556 ต่อที่คณาจารย์อุดมศึกษาในและต่างสถาบัน จานวน 200 คน และ นาเสนอแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ครั้งที่ 2 เมื่อ 13-14 พฤษภาคม 2557 ต่อที่คณาจารย์อุดมศึกษาในและต่างสถาบัน จานวน 150 คน ซึ่งในระดับภายในมหาวิทยาลัย มีสาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้างได้นารูปแบบการดาเนิน โครงการไปใช้ในปี 2557 7. ผลกระทบต่อสังคมที่ประเมินได้(measurable social impact) โครงการดังกล่าวเกิดผลกระทบต่อสังคมด้านสังคมที่สังเกตได้ส่งผลต่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้น ถิ่น สิม รวมถึงศาสนคารอื่นๆ ภายในวัด เช่น หอระฆังของวัดหนองบัวเจ้าป่า โรงฉันของวัดบรมคงคา ซึ่งแต่ เดิมก่อนเข้าดาเนินการชุมชนมีความคิดที่จะรื้อถอนอาคาร แต่เหมือนมีโครงการชุมชนเปลี่ยนแนวคิดหาทาง อนุรักษ์เพื่อให้เป็นอาคารประกอบกับสิมที่ได้อนุรักษ์ไว้ เป็นต้น เกิดความคิดต่อยอดสู่การวางแผนท่องเที่ยว โดยชุมชน 8. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม เช่น รายงานการวิจัย บทความ เว็บไซต์ 1) วิสาข์ แฝงเวียงและคณะ.(2556). โครงการประเมินความสําเร็จของโครงการบูรณาการการ เรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยี สถาปัตยกรรม เสนอต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • 6. 2) สมบัติ ประจญศานต์ วิสาข์ แฝงเวียง และพิพัฒน์ ประจญศานต์. (2556).โครงการวิจัย ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการออกแบบอุโบสถพื้นถิ่นที่สร้างสภาวะน่าสบาย : กรณีศึกษา อุโบสถในจังหวัด บุรีรัมย์ เสนอต่อ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 3) วิสาข์ แฝงเวียงและคณะ.(2557). โครงการประเมินความสําเร็จของโครงการบูรณาการการ เรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยี สถาปัตยกรรม ปีที่ 2 เสนอต่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 4) วิสาข์ แฝงเวียง สมบัติ ประจญศานต์ และกิตติฤกษ์ ปิตะทะสังข์.(2557) โครงการวิจัยพัฒนา สื่อสารสนเทศชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการออกแบบอุโบสถพื้นถิ่นที่สร้างสภาวะสบาย : กรณีศึกษา อุโบสถในจังหวัดบุรีรัมย์ เสนอต่อ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 5) วิสาข์ แฝงเวียง, สมบัติ ประจญศานต์, ปิยชนม์ สังข์ศักดา และกิตติฤกษ์ ปิดตาทะสังข์. โครงการประเมินความสาเร็จของโครงการบูรณาการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทานุ บารุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. จานวน 10 หน้า รายงานสืบเนื่องการประชุมทางวิชาการระดับชาติ ประจําปี พ.ศ.2556 สํานักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บทคัดย่อ หน้า 93. 6)สมบัติ ประจญศานต์, วิสาข์ แฝงเวียง, ปิยชนม์ สังข์ศักดา และกิตติฤกษ์ ปิดตาทะสังข์. (2557). “รูปแบบการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการและการทานุบารุง ศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์”. วารสารการพัฒนา ชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2557). หน้า 215-224. 7) วิสาข์ แฝงเวียง, สมบัติ ประจญศานต์, ปิยชนม์ สังข์ศักดา และกิตติฤกษ์ ปิดตาทะสังข์. (2558) . “ประเมินความสําเร็จของโครงการบูรณาการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการ ทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 2”. รายงานสืบเนื่องการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ พ.ศ.2558 (National and International Research Conference 2015 : NIRC2015) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ร่วมกับสานักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.). หน้า 547-554. 8) Sombat Prajonsant, Visar Feangwiang, Pipat Prajonsan. (2015). “ Local Wisdom in Designing Vernacular Buddhist Holy Temples that Creating the Thermal Comfort : case study of Khun Kong temple’s Sim in Nang Rong district, BuriRam province ” KKU International Journal of Humanities and Social Sciences. Vol.5.No.1 January-April. p. 31-47.
  • 7. ภาพดําเนินการโครงการปีที่ 1 ชี้แจงโครงการกับ นักศึกษา ชุมชน นักศึกษาศึกษา จากชุมชน รังวัด ขนาดอาคาร รายละเอียดอาคาร นาเสนอผลงานต่อ อาจารย์ นักศึกษา จัดทาแบบอาคาร แผนภาพ หุ่นจาลอง
  • 11.
  • 12.
  • 13. ภาพดําเนินการโครงการปีที่ 3 พที่ 1 บรรยากาศในวันประเมินความสาเร็จของโครงการโดยชุมชน วัดมณีจันทร์ ภาพที่ 2 บรรยากาศในวันประเมินความสาเร็จของโครงการโดยชุมชน วัดบรมคงคา
  • 14. ภาพที่ 3 บรรยากาศในวันประเมินความสาเร็จของโครงการโดยชุมชน วัดท่าเรียบ ภาพที่ 4 บรรยากาศในวันประเมินความสาเร็จของโครงการโดยชุมชน วัดสระแก
  • 15. ภาพที่ 5 ปี 2557 นานักศึกษาปี 1 บันทึกแบบทางสถาปัตยกรรมตามหลักการของ และแสดงผลงานต่อชุมชน