SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 27
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
ประวัติการรถไฟในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดการเดินรถไฟสายแรก จากกรุงเทพฯ ไป อยุธยาปีรัตนโกสินทรศก 105 ตรงกับปี พ.ศ. 2429 กิจการรถไฟได้ถือ กำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก  ในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อ สร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์- ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430
ประวัติการรถไฟในประเทศไทย (ต่อ)  		พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเรแคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพ ถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการ สร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9มีนาคม พ.ศ.2434ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ
ประวัติการรถไฟในประเทศไทย (ต่อ) ในปี พ.ศ.2439 การก่อสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ - นครราชสีมา สำเร็บางส่วนพอที่จะเปิดการเดินรถได้ ดังนั้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง สถานีกรุงเทพ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่าง กรุงเทพ - อยุธยา ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นต้นไป ในระยะแรกเดินขบวนรถขึ้นล่องวันละ 4 ขบวน มีสถานีรวม 9 สถานี คือ สถานีกรุงเทพ บางซื่อ หลักสี่ หลักหก คลองรังสิต เชียงราก เชียงรากน้อย บางปะอิน และกรุงเก่าซึ่งการรถไฟฯ ได้ถือเอาวันที่ 26 มีนาคม เป็น วันสถาปนากิจการรถไฟ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
ตึกที่ทำการการรถไฟแห่งประเทศไทย รถจักรดีเซลไฟฟ้า คันแรก เลขที่ 21
ระบบการขนส่งทางรางในปัจจุบัน
วิวัฒนาการของรถไฟในสภาพปัจจุบัน 		สภาพปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปมากนี้ คนในยุคปัจจุบันมักจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพหรือยุคสมัยนั้น ปัจจุบันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์นี้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ ในระบบคมนาคมขนส่งของไทยหนึ่งในนั้นคือ รถไฟ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยปัจจุบันนี้ สืบเนื่องมาจากคนในสังคมปัจจุบันที่เร่งรีบต้องการสิ่งที่สะดวกและรวดเร็วขึ้นนั่นเอง  จึงทำให้การรถไฟต้องมีการพัฒนานำสิ่งใหม่ๆเข้ามาใช้ให้บริการกับคนในยุคปัจจุบันนี้ โดยมีการนำรถไฟสมัยใหม่มาใช้ ดังนี้ รถไฟฟ้า (BTS) รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิSuvarnabhumi Airport Rail Link(SARL)
รถไฟ รถไฟเป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งสร้างขึ้นด้วยเหล็กและไม้เป็นส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นคันยาวพ่วงต่อกันเป็นขบวนสั้นบ้าง ยาวบ้าง โดยมีรถจักรเป็นต้นกำลังทำการฉุดลากขบวนรถเหล่านั้นให้วิ่งไปบนรางเหล็กซึ่งวาง ขนานคู่กันไป โดยปกติคันแรกจะเป็นคันที่มีกำลังเรียกว่า รถจักร เป็นตัวฉุดลากคันอื่นๆ ที่พ่วงอยู่ให้เคลื่อนที่ไป จะมีบ้างที่บางคันมีเครื่องยนต์ในตัวเองและสามารถวิ่งไปได้เองเช่นเดียวกับรถยนต์ เรียก กันว่า รถยนต์รางแต่โดยทั่วไป เครื่องยนต์ที่ใช้ในรถดังกล่าวเป็นเครื่องยนต์ดีเซล จึงนิยมเรียกรถนี้ว่ารถดีเซลราง         การขนส่งโดยทางรถไฟนับว่าเป็นที่นิยมทั่วไป ทั้งนี้เพราะเป็นพาหนะที่สามารถบรรทุกของได้ครั้งละมากๆ ประหยัดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะการขนส่งในระยะทางไกล ๆ และมีความปลอดภัยสูงเมื่อเทียบกับการขนส่ง ทางบกทางอื่น โดยเฉพาะทางถนนได้แก่รถยนต์ เป็นต้น
รถไฟฟ้า  BTS รถไฟเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษเมื่อ 300 ปีมาแล้ว สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกถ่านหิน รถนั้นมีล้อ แล่นไปตามรางและใช้ม้าลาก และได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อมาเรื่อยๆ จนเป็นรถไฟที่วิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้า เรียกว่า รถไฟฟ้า รถไฟฟ้า ทางเลือกใหม่ไร้มลพิษ          รถไฟฟ้าบีทีเอส หรือรถไฟฟ้าธนายง เป็นรถไฟฟ้าปรับอากาศระบบลอยฟ้าขบวนแรกในไทยที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร หนึ่งขบวนประกอบด้วย จำนวน 3-6 ตู้ และจะออกจากสถานีทุก 2 นาที มีจำนวนสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 25 สถานี ใช้เวลาในการเดินทางจากสีลมถึงตลาดหมอชิต 20 นาที จากพระโขนงถึงสยามสแควร์17 นาที สามารถให้บริการประชาชนได้ 7 แสน ถึง 1 ล้านคนต่อวัน 		รถไฟฟ้าบีทีเอส  เปิดให้บริการแก่คนกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ วันที่ 5 ธันวาคม 2542 เพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นประธานในพิธีเปิดรถไฟฟ้าบีทีเอสอย่างเป็นทางการ
รถไฟใต้ดิน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า MASS RAPID TRANSIT AUTHORITY OF THAILAND (MRTA) 	โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก สายหัวลำโพง-ศูนย์การประชุมสิริกิติ์-บางซื่อ (สายสีน้ำเงิน) เป็นรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดิน สายแรกของประเทศไทย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานชื่อโครงการใหม่ว่า  "โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล"  และได้มีการลงนามสัญญาสัมปทานระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกับ 	บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด  เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543               รถไฟฟ้ามหานคร เปิดใช้บริการ วันที่ 13 เมษายน 47
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิSuvarnabhumi Airport Rail Link(SARL) โครงการ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบพิเศษ สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ที่จะมาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้สามารถเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็วและเชื่อถือได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการก่อสร้าง โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองในวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท 		และในบางส่วน คงจะเชื่อกันว่าทางภาครัฐ จะให้มีการเชื่อมต่อการบริการไปจนถึง สถานีรถไฟดอนเมืองเพื่อเชื่อมต่อระหว่างผู้โดยสารที่จะต้องการใช้บริการอากาศยานของท่าอากาศยานในเมืองทั้ง 2 แห่ง ระหว่าง ท่าอากาศยานดอนเมืองและ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเข้าด้วยกันอีกด้วย ภายในเวลาอนาคต (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาความสามารถในการใช้ประโยชน์การบินเชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานดอนเมืองด้วย)  		สำหรับยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์เต็มรูปแบบวันแรกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีผู้โดยสารใช้บริการในระบบซิตี้ไลน์26,149 คน จากเป้าที่ตั้งไว้ 15,000 คน ส่วนรถด่วนมีผู้ใช้บริการ 633 คน ทั้งนี้คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีผู้ใช้บริการประมาณ 5-7 หมื่นคน
รถไฟกับการรุกคืบทางวัฒนธรรม แม้พาหนะที่เรียกว่า ‘รถไฟ’ จะกำเนิดเกิดมานับร้อยปี จนใกล้จะถึงวิวัฒนาการที่อิ่มตัว กระนั้นรถไฟก็ยังเป็นระบบคมนาคมที่สำคัญของโลก เป็นเหมือนแม่น้ำสายสำคัญที่ดึงดูดชีวิตผู้คนให้มาอยู่ใกล้แหล่งความเจริญ ทั้งรถไฟสายหลักที่ขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสาร จนถึงรถไฟฟ้าสายสั้นๆ ที่อัดแน่นด้วยผู้คนหลายหลาก แต่เชื่อหรือไม่ว่า ทางรถไฟส่วนใหญ่ในโลก วางหลักปักรากฐานเพื่อรองรับวิถีวัตถุนิยม บริโภคนิยม และตัณหานิยม เป็นพาหนะสำคัญที่ร่วมแต่งเสริมเติมต่อวัฒนธรรมเมืองให้รุ่งโรจน์ พร้อมกับถ่มทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมให้ร่วงโรย ไม่ต่างจากพาหนะอื่นๆ ที่ก่อกำเนิดโดยเครื่องจักร ที่สร้างโดยฝีมือมนุษย์ มนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวที่มีความต้องการไม่สุดสิ้น
การปฏิสนธิของวิวัฒนาการ ก่อนหน้าจะเกิดวิวัฒนาการดังกล่าว เจมส์ วัตต์ ผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ ได้สร้างปรากฏการณ์บางอย่างที่ทำให้วิถีแห่งปัจจัยการผลิตเปลี่ยนไป เมื่อเครื่องจักรไอน้ำที่เขาคิดค้นเริ่มเข้ามามีบทบาทแทนแรงงานคน สร้างจุดกำเนิดแห่งวิถีการผลิต และบานปลายสู่การปฏิวัติอุสาหกรรม ทำให้คนในยุคนั้นต้องใช้ชีวิตไปตามระบบสายพาน ทั้งยังปลูกฝังความเชื่อให้แก่มนุษย์ว่า การก่อกำเนิดของเครื่องจักร เปรียบเสมือนการเอาชนะธรรมชาติ 		 หลังจากนักประดิษฐ์หลายคนพยายามคิดค้นวิธีการที่จะนำเครื่องไอน้ำมาติดกับเฟืองล้อเพื่อให้รถเคลื่อนตัว พวกเขากลับประสบความล้มเหลว  แต่คนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างหัวรถจักรคันแรกของโลก เป็นชาวอังกฤษ นามว่า ริชาร์ดเทควิทริค
สิบปีต่อมาหลังจากการเสียชีวิตของผู้สร้างหัวรถจักรคันแรก มีผู้พยายามสานฝันของเทควิทริคให้เป็นความจริง เขาคือ ยอร์ช สตีเฟนสัน ชายคนนี้ได้หยิบนำเทคโนโลยีรถจักรของเทควิทริคมาปรับเสริมเติมแต่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 		สตีเฟนสันเริ่มเปิดเดินรถจักร-รถไฟ ในเส้นทางคมนาคมและการค้า จนผู้คนเริ่มให้ความสนใจและไม่มองมันว่าเป็น ‘ของเล่น’ อีกต่อไป พาหนะที่เรียกว่า รถไฟ จึงกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น ความสำเร็จของสตีเฟนสัน ทำให้เขากลายเป็นอภิมหาเศรษฐี และถูกยกย่องให้เป็นบิดาการรถไฟของโลกและนับจากนั้นเป็นต้นมา รถไฟก็พัฒนาตัวเองให้มีทั้งรถจักรดีเซล รถไฟฟ้า รถไฟแม่เหล็ก ฯลฯ นับเนื่องกันมามากกว่า ๒๐๐ ปีแล้ว
รถไฟ...รุกคืบไปทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเดินทางไปพร้อมกับการปรากฏตัวของรถไฟ แม้วัฒนธรรมการเดินทางโดยรถม้าจะยังคงอยู่ ประเทศอังกฤษจึงถือเป็นประเทศแรกของโลกที่นำรถไฟไปรับใช้การปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดจากการสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองท่าลิเวอร์พูลไปยังเมืองแมนเชนเตอร์ ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรม เป็นผลให้อุตสาหกรรมของอังกฤษเจริญก้าวหน้า และทำให้อังกฤษมีความต้องการนำปัจจัยการผลิตจากนอกประเทศมาเป็นวัตถุดิบในการป้อนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและกระตุ้นให้จักรวรรดิอังกฤษ แสวงหาอาณานิคมมากขึ้น 		 รถไฟบุกเบิกเข้าไปในหลายดินแดน ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไกลโพ้นเช่นญี่ปุ่น แม้จะมีการต่อต้านรถไฟและความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ดังเช่นกลุ่มกบฏซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มขุนนางซามูไรในราชสำนัก1  ซึ่งต่อต้านปืนใหญ่ เสื้อผ้าตะวันตก และรถไฟ โดยมองว่าเป็นการพัฒนาที่รวดเร็วและเอื้อประโยชน์ให้คนกลุ่มน้อย 		 ที่ประเทศฝรั่งเศส การสร้างรางรถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศส (TGV) ซึ่งเป็นรถไฟที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก จนทำให้พลเมืองฝรั่งเศสภาคภูมิใจในความสำเร็จของกิจการรถไฟ
		กระทั่งสมัยปัจจุบัน รถไฟก็ยังทำหน้าที่ ‘รุกราน’ สภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของสิ่งที่มีมาแต่เดิม แม้รถยนต์จะเริ่มมีบทบาทจนส่งผลกระทบต่อรถไฟโดยตรง แต่พื้นฐานของการเดินทางโดยถนนค่อนข้างยืดหยุ่นและปรับตัวกับสภาพที่มีอยู่เดิมได้ง่าย ตรงข้ามกับรถไฟที่หากมีการสร้างทางรถไฟขึ้นบริเวณใด ภูมิศาสตร์บริเวณนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทันที  
การรุกคืบของรถไฟในสยาม สยามประเทศได้ยลโฉมรถไฟเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นรถไฟจำลองขนาดเล็ก ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงโปรดให้เหล่าขุนนางเดินทางไปยังประเทศอังกฤษเพื่อเยี่ยมชมความเจริญจากชาติตะวันตก กระทั่งได้พบและสัมผัสรถไฟจริงในประเทศอังกฤษ เห็นได้ชัดจากบันทึก ‘นิราศลอนดอน’ บทประพันธ์อันลือเลื่องของ ‘หม่อมราโชทัย’ 		ในช่วงเวลาเดียวกัน สยามยังมีข้อพิพาทกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส ยุทธศาสตร์ทางทหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญของชาติ จากเหตุผลดังกล่าวจึงได้มีการสร้างทางรถไฟสายแรกของสยามซึ่งเป็นของเอกชนขึ้น เริ่มตั้งแต่สถานีรถไฟหัวลำโพง จนถึงปากน้ำสมุทรปราการ หมายหลักคือการบำรุงกำลังรบเผื่อว่ากองกำลังต่างชาติอาจเข้าโจมตีทางเรือ 	คนเรียกขานทางรถไฟสายนี้ว่า ‘รถไฟสายปากน้ำ’
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดให้สร้างทางรถไฟหลวงสายแรก เริ่มตั้งแต่สถานีหัวลำโพง จรดปลายทางนครราชสีมา โดยในระยะเริ่มต้น ทางรถไฟสายนี้ได้สร้างมาถึงอยุธยากรุงเก่า กระทั่งมีพิธีเปิดใช้เป็นทางการระหว่างกรุงเทพฯ – อยุธยา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๙ และนับแต่รัชสมัยนั้นเป็นต้นมา กรมรถไฟจึงได้สร้างทางรถไฟไปยังหัวเมืองและท้องถิ่นต่างๆ ตามลำดับ
รถไฟ-รถไฟฟ้า กับผลกระทบด้านสังคม รถไฟธรรมดา 		แม้รถไฟจะไม่สามารถนำคติความเชื่อเข้าไปยังชุมชนและหมู่บ้านได้รวดเร็วทัดเทียมกับรถยนต์ แต่รถไฟสามารถ ‘บรรทุก’ วัฒนธรรมเข้าไปทีละมากๆ ไม่ต่างจากตู้สินค้าที่บรรทุกได้ครั้งละขบวนยาว โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจ รถไฟถือเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเติบโตอย่างเห็นได้ชัด 		ยกตัวอย่างเช่น โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย สร้างทางรถไฟสายหนองคาย – เวียงจันทร์  สร้างชุมทางคลองสิบเก้า – แก่งคอย (เชื่อมต่อสายตะวันออกกับสายอีสาน) นอกจากจะเป็นเส้นทางรถไฟที่ทำลายทัศนียภาพอันสวยงามของทิวเขา การบุกรุกที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าสงวน และผลกระทบทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป
สำหรับรถไฟฟ้า ของเล่นของคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ยิ่งมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไปอีก รถไฟฟ้า หรือรถไฟลอยฟ้า อยู่ในจำพวกการขนส่งระบบรางและเป็นพาหนะตระกูลเดียวกับรถรางและรถไฟ แทบทุกประเทศในโลก รถไฟฟ้าและรถไฟนำมาวิ่งอยู่ในรางเดียวกันแต่สำหรับเมืองไทย รางรถไฟฟ้าบ้านเรามี (เป็นขนาดเดียวกับรางรถไฟไทยในสมัยก่อน) แตกต่างจากรางรถไฟธรรมดาตรงที่ไม่สามารถวิ่งปะปนกันได้ อีกทั้งยังใช้พลังงานไฟฟ้า ไม่ใช้น้ำมันดีเซลเหมือนรถไฟธรรมดา ทำให้ความรู้สึกของคนไทยดูจะแบ่งแยกระหว่างรถไฟฟ้ากับรถไฟออกจากกัน 		 การสร้างทางรถไฟฟ้าในเมืองหลวง แม้จะเป็นทางยกระดับและทางใต้ดินเกือบทั้งหมดแม้จะสะดวกสบาย แต่นั่นก็ทำให้คนเมืองมีวัฒนธรรมความเป็นเมืองจนเกินพอดี ทั้งยังสร้างความรู้สึกว่าชีวิตในเมืองจะขาดรถไฟฟ้าไม่ได้  ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รถไฟฟ้าให้โทษกับสิ่งแวดล้อมในด้านมลพิษทางอากาศไม่มากนักเนื่องจากวิ่งด้วยระบบไฟฟ้า ทว่ากลับเป็นมลพิษทางสายตา รถไฟฟ้าก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เสื่อมถอยลง
แม้รถไฟจะเป็นพาหนะของระบอบทุนนิยม เป็นสัญลักษณ์แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมมานับแต่แรกเริ่ม และเป็นตัวอันตรายต่อวัฒนธรรมอันดีงามที่มีมาแต่เดิม กระนั้นก็ยังหวังให้เราทุกคนตระหนักในความสำคัญของมันในมุมกลับไว้บ้าง เนื่องเพราะจุดกำเนิดของมันไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นเพียงพาหนะขนส่งคน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นพาหนะที่คอยรับใช้ผู้คนให้ได้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงบนโลก เป็นพาหนะเดียวกับที่นักท่องเที่ยวและนักเขียนสารคดีมองว่าคลาสสิกที่สุดในโลก และเป็นพาหนะที่แม้แต่ผู้เขียนเองก็ยังชื่นชอบ 		ภูมิปัญญาของคนโบราณซึ่งได้สร้างสิ่งมีชีวิตขบวนยาวนี้ไว้ จึงไม่ควรนำมาใช้เป็นเครื่องมือรุกรานใคร ทั้งยังควรทำความเข้าใจในหน้าที่ของรถไฟว่าน่าจะนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม โดยไม่ทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ดั้งเดิมได้อย่างไร
บทการวิเคราะห์การรถไฟไทยในช่วงเวลา113ปีเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
รายชื่อสมาชิก น.ส.โสภาพรรณ พิณทองเมือง  	รหัสนักศึกษา  	07510112 น.ส.อภิญญา เพ็งนาค        	รหัสนักศึกษา    	07510119 น.ส.ศิรินภา  ทับทิมชัย        	รหัสนักศึกษา      	07510573 นายกฤตวิทย์ คลังธาร	รหัสนักศึกษา 	09510960 น.ส.จิตรานุช จารุจินดา	รหัสนักศึกษา 	09510968 น.ส.ธิรารัตน์ ศรีประภาเลิศกุล	รหัสนักศึกษา 	09510991 น.ส.สวรรยา สุรพุทธ 	รหัสนักศึกษา 	09511047 น.ส.สุพัตรา แซ่บ้าง		รหัสนักศึกษา 	09511056 นายคงศักดิ์ เจริญพักตร์	รหัสนักศึกษา 	09510965 นายเอกภาคย์ ลอเสรีวานิช	รหัสนักศึกษา 	09511071

Weitere ähnliche Inhalte

Andere mochten auch

พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมพัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมaekgapak
 
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมพัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมaekgapak
 
Interdisciplinary project
Interdisciplinary project Interdisciplinary project
Interdisciplinary project sosanitaapple1
 
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมพัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมaekgapak
 
C:\fakepath\firewall
C:\fakepath\firewallC:\fakepath\firewall
C:\fakepath\firewallstontito
 
Integrated Project soap´s presentation
Integrated Project soap´s presentationIntegrated Project soap´s presentation
Integrated Project soap´s presentationsosanitaapple1
 
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมพัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมaekgapak
 
John 15:12 Ministries
John 15:12 MinistriesJohn 15:12 Ministries
John 15:12 Ministriesannettemelk
 
Memorable meal english class
Memorable meal english classMemorable meal english class
Memorable meal english classsosanitaapple1
 
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมพัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมaekgapak
 
Green team education
Green team educationGreen team education
Green team educationrstuessi
 

Andere mochten auch (16)

พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมพัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
 
WoW
WoWWoW
WoW
 
J_EnglishGRnosamp
J_EnglishGRnosampJ_EnglishGRnosamp
J_EnglishGRnosamp
 
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมพัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
 
Interdisciplinary project
Interdisciplinary project Interdisciplinary project
Interdisciplinary project
 
Hrm
HrmHrm
Hrm
 
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมพัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
 
C:\fakepath\firewall
C:\fakepath\firewallC:\fakepath\firewall
C:\fakepath\firewall
 
Integrated Project soap´s presentation
Integrated Project soap´s presentationIntegrated Project soap´s presentation
Integrated Project soap´s presentation
 
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมพัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
 
John 15:12 Ministries
John 15:12 MinistriesJohn 15:12 Ministries
John 15:12 Ministries
 
Memorable meal english class
Memorable meal english classMemorable meal english class
Memorable meal english class
 
Pavasaris
PavasarisPavasaris
Pavasaris
 
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคมพัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม
 
Green team education
Green team educationGreen team education
Green team education
 
Digital Journalism Mongolia
Digital Journalism Mongolia Digital Journalism Mongolia
Digital Journalism Mongolia
 

Ähnlich wie พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม(Pic)

2007 12 03 Airport Rail Link
2007 12 03 Airport Rail Link2007 12 03 Airport Rail Link
2007 12 03 Airport Rail LinkDMOZ
 
ผลกระทบรถไฟสายสีแดง
ผลกระทบรถไฟสายสีแดงผลกระทบรถไฟสายสีแดง
ผลกระทบรถไฟสายสีแดงyahapop
 
รายงานการวิจัย BTS เเละ MRT
รายงานการวิจัย BTS เเละ MRTรายงานการวิจัย BTS เเละ MRT
รายงานการวิจัย BTS เเละ MRTArknova2123
 
Newsletter โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ฉบับที่ 17
Newsletter โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ฉบับที่ 17Newsletter โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ฉบับที่ 17
Newsletter โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ฉบับที่ 17National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร813รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8JulPcc CR
 
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร813รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8JulPcc CR
 
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร712รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7JulPcc CR
 
11กรุงรัตนโกสินทร์ร6
11กรุงรัตนโกสินทร์ร611กรุงรัตนโกสินทร์ร6
11กรุงรัตนโกสินทร์ร6JulPcc CR
 
11กรุงรัตนโกสินทร์ร6
11กรุงรัตนโกสินทร์ร611กรุงรัตนโกสินทร์ร6
11กรุงรัตนโกสินทร์ร6JulPcc CR
 
การรถไฟแห่งประเทศไท1
การรถไฟแห่งประเทศไท1การรถไฟแห่งประเทศไท1
การรถไฟแห่งประเทศไท1Puripat Duangin
 

Ähnlich wie พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม(Pic) (10)

2007 12 03 Airport Rail Link
2007 12 03 Airport Rail Link2007 12 03 Airport Rail Link
2007 12 03 Airport Rail Link
 
ผลกระทบรถไฟสายสีแดง
ผลกระทบรถไฟสายสีแดงผลกระทบรถไฟสายสีแดง
ผลกระทบรถไฟสายสีแดง
 
รายงานการวิจัย BTS เเละ MRT
รายงานการวิจัย BTS เเละ MRTรายงานการวิจัย BTS เเละ MRT
รายงานการวิจัย BTS เเละ MRT
 
Newsletter โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ฉบับที่ 17
Newsletter โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ฉบับที่ 17Newsletter โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ฉบับที่ 17
Newsletter โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ ฉบับที่ 17
 
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร813รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
 
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร813รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
13รัตนโกสินทร์ตอนต้นร8
 
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร712รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
12รัตนโกสินทร์ตอนต้นร7
 
11กรุงรัตนโกสินทร์ร6
11กรุงรัตนโกสินทร์ร611กรุงรัตนโกสินทร์ร6
11กรุงรัตนโกสินทร์ร6
 
11กรุงรัตนโกสินทร์ร6
11กรุงรัตนโกสินทร์ร611กรุงรัตนโกสินทร์ร6
11กรุงรัตนโกสินทร์ร6
 
การรถไฟแห่งประเทศไท1
การรถไฟแห่งประเทศไท1การรถไฟแห่งประเทศไท1
การรถไฟแห่งประเทศไท1
 

พัฒนาการรถไฟไทยกับความก้าวหน้าของสังคม(Pic)

  • 2. ประวัติการรถไฟในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดการเดินรถไฟสายแรก จากกรุงเทพฯ ไป อยุธยาปีรัตนโกสินทรศก 105 ตรงกับปี พ.ศ. 2429 กิจการรถไฟได้ถือ กำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อ สร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์- ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430
  • 3. ประวัติการรถไฟในประเทศไทย (ต่อ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเรแคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพ ถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการ สร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9มีนาคม พ.ศ.2434ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ
  • 4. ประวัติการรถไฟในประเทศไทย (ต่อ) ในปี พ.ศ.2439 การก่อสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ - นครราชสีมา สำเร็บางส่วนพอที่จะเปิดการเดินรถได้ ดังนั้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่าง สถานีกรุงเทพ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเดินทางไปมาระหว่าง กรุงเทพ - อยุธยา ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2439 เป็นต้นไป ในระยะแรกเดินขบวนรถขึ้นล่องวันละ 4 ขบวน มีสถานีรวม 9 สถานี คือ สถานีกรุงเทพ บางซื่อ หลักสี่ หลักหก คลองรังสิต เชียงราก เชียงรากน้อย บางปะอิน และกรุงเก่าซึ่งการรถไฟฯ ได้ถือเอาวันที่ 26 มีนาคม เป็น วันสถาปนากิจการรถไฟ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
  • 7. วิวัฒนาการของรถไฟในสภาพปัจจุบัน สภาพปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปมากนี้ คนในยุคปัจจุบันมักจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพหรือยุคสมัยนั้น ปัจจุบันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์นี้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ ในระบบคมนาคมขนส่งของไทยหนึ่งในนั้นคือ รถไฟ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยปัจจุบันนี้ สืบเนื่องมาจากคนในสังคมปัจจุบันที่เร่งรีบต้องการสิ่งที่สะดวกและรวดเร็วขึ้นนั่นเอง จึงทำให้การรถไฟต้องมีการพัฒนานำสิ่งใหม่ๆเข้ามาใช้ให้บริการกับคนในยุคปัจจุบันนี้ โดยมีการนำรถไฟสมัยใหม่มาใช้ ดังนี้ รถไฟฟ้า (BTS) รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิSuvarnabhumi Airport Rail Link(SARL)
  • 8. รถไฟ รถไฟเป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งสร้างขึ้นด้วยเหล็กและไม้เป็นส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นคันยาวพ่วงต่อกันเป็นขบวนสั้นบ้าง ยาวบ้าง โดยมีรถจักรเป็นต้นกำลังทำการฉุดลากขบวนรถเหล่านั้นให้วิ่งไปบนรางเหล็กซึ่งวาง ขนานคู่กันไป โดยปกติคันแรกจะเป็นคันที่มีกำลังเรียกว่า รถจักร เป็นตัวฉุดลากคันอื่นๆ ที่พ่วงอยู่ให้เคลื่อนที่ไป จะมีบ้างที่บางคันมีเครื่องยนต์ในตัวเองและสามารถวิ่งไปได้เองเช่นเดียวกับรถยนต์ เรียก กันว่า รถยนต์รางแต่โดยทั่วไป เครื่องยนต์ที่ใช้ในรถดังกล่าวเป็นเครื่องยนต์ดีเซล จึงนิยมเรียกรถนี้ว่ารถดีเซลราง         การขนส่งโดยทางรถไฟนับว่าเป็นที่นิยมทั่วไป ทั้งนี้เพราะเป็นพาหนะที่สามารถบรรทุกของได้ครั้งละมากๆ ประหยัดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะการขนส่งในระยะทางไกล ๆ และมีความปลอดภัยสูงเมื่อเทียบกับการขนส่ง ทางบกทางอื่น โดยเฉพาะทางถนนได้แก่รถยนต์ เป็นต้น
  • 9.
  • 10. รถไฟฟ้า  BTS รถไฟเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษเมื่อ 300 ปีมาแล้ว สร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกถ่านหิน รถนั้นมีล้อ แล่นไปตามรางและใช้ม้าลาก และได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อมาเรื่อยๆ จนเป็นรถไฟที่วิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้า เรียกว่า รถไฟฟ้า รถไฟฟ้า ทางเลือกใหม่ไร้มลพิษ          รถไฟฟ้าบีทีเอส หรือรถไฟฟ้าธนายง เป็นรถไฟฟ้าปรับอากาศระบบลอยฟ้าขบวนแรกในไทยที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร หนึ่งขบวนประกอบด้วย จำนวน 3-6 ตู้ และจะออกจากสถานีทุก 2 นาที มีจำนวนสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 25 สถานี ใช้เวลาในการเดินทางจากสีลมถึงตลาดหมอชิต 20 นาที จากพระโขนงถึงสยามสแควร์17 นาที สามารถให้บริการประชาชนได้ 7 แสน ถึง 1 ล้านคนต่อวัน รถไฟฟ้าบีทีเอส  เปิดให้บริการแก่คนกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ วันที่ 5 ธันวาคม 2542 เพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นประธานในพิธีเปิดรถไฟฟ้าบีทีเอสอย่างเป็นทางการ
  • 11.
  • 12. รถไฟใต้ดิน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า MASS RAPID TRANSIT AUTHORITY OF THAILAND (MRTA) โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก สายหัวลำโพง-ศูนย์การประชุมสิริกิติ์-บางซื่อ (สายสีน้ำเงิน) เป็นรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดิน สายแรกของประเทศไทย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานชื่อโครงการใหม่ว่า  "โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล"  และได้มีการลงนามสัญญาสัมปทานระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกับ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด  เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543               รถไฟฟ้ามหานคร เปิดใช้บริการ วันที่ 13 เมษายน 47
  • 13.
  • 14. รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิSuvarnabhumi Airport Rail Link(SARL) โครงการ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบพิเศษ สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ที่จะมาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้สามารถเดินทางได้ในเวลาอันรวดเร็วและเชื่อถือได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการก่อสร้าง โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองในวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท และในบางส่วน คงจะเชื่อกันว่าทางภาครัฐ จะให้มีการเชื่อมต่อการบริการไปจนถึง สถานีรถไฟดอนเมืองเพื่อเชื่อมต่อระหว่างผู้โดยสารที่จะต้องการใช้บริการอากาศยานของท่าอากาศยานในเมืองทั้ง 2 แห่ง ระหว่าง ท่าอากาศยานดอนเมืองและ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเข้าด้วยกันอีกด้วย ภายในเวลาอนาคต (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาความสามารถในการใช้ประโยชน์การบินเชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยานดอนเมืองด้วย) สำหรับยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์เต็มรูปแบบวันแรกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีผู้โดยสารใช้บริการในระบบซิตี้ไลน์26,149 คน จากเป้าที่ตั้งไว้ 15,000 คน ส่วนรถด่วนมีผู้ใช้บริการ 633 คน ทั้งนี้คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีผู้ใช้บริการประมาณ 5-7 หมื่นคน
  • 15.
  • 16. รถไฟกับการรุกคืบทางวัฒนธรรม แม้พาหนะที่เรียกว่า ‘รถไฟ’ จะกำเนิดเกิดมานับร้อยปี จนใกล้จะถึงวิวัฒนาการที่อิ่มตัว กระนั้นรถไฟก็ยังเป็นระบบคมนาคมที่สำคัญของโลก เป็นเหมือนแม่น้ำสายสำคัญที่ดึงดูดชีวิตผู้คนให้มาอยู่ใกล้แหล่งความเจริญ ทั้งรถไฟสายหลักที่ขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสาร จนถึงรถไฟฟ้าสายสั้นๆ ที่อัดแน่นด้วยผู้คนหลายหลาก แต่เชื่อหรือไม่ว่า ทางรถไฟส่วนใหญ่ในโลก วางหลักปักรากฐานเพื่อรองรับวิถีวัตถุนิยม บริโภคนิยม และตัณหานิยม เป็นพาหนะสำคัญที่ร่วมแต่งเสริมเติมต่อวัฒนธรรมเมืองให้รุ่งโรจน์ พร้อมกับถ่มทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมให้ร่วงโรย ไม่ต่างจากพาหนะอื่นๆ ที่ก่อกำเนิดโดยเครื่องจักร ที่สร้างโดยฝีมือมนุษย์ มนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวที่มีความต้องการไม่สุดสิ้น
  • 17. การปฏิสนธิของวิวัฒนาการ ก่อนหน้าจะเกิดวิวัฒนาการดังกล่าว เจมส์ วัตต์ ผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ ได้สร้างปรากฏการณ์บางอย่างที่ทำให้วิถีแห่งปัจจัยการผลิตเปลี่ยนไป เมื่อเครื่องจักรไอน้ำที่เขาคิดค้นเริ่มเข้ามามีบทบาทแทนแรงงานคน สร้างจุดกำเนิดแห่งวิถีการผลิต และบานปลายสู่การปฏิวัติอุสาหกรรม ทำให้คนในยุคนั้นต้องใช้ชีวิตไปตามระบบสายพาน ทั้งยังปลูกฝังความเชื่อให้แก่มนุษย์ว่า การก่อกำเนิดของเครื่องจักร เปรียบเสมือนการเอาชนะธรรมชาติ หลังจากนักประดิษฐ์หลายคนพยายามคิดค้นวิธีการที่จะนำเครื่องไอน้ำมาติดกับเฟืองล้อเพื่อให้รถเคลื่อนตัว พวกเขากลับประสบความล้มเหลว  แต่คนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างหัวรถจักรคันแรกของโลก เป็นชาวอังกฤษ นามว่า ริชาร์ดเทควิทริค
  • 18. สิบปีต่อมาหลังจากการเสียชีวิตของผู้สร้างหัวรถจักรคันแรก มีผู้พยายามสานฝันของเทควิทริคให้เป็นความจริง เขาคือ ยอร์ช สตีเฟนสัน ชายคนนี้ได้หยิบนำเทคโนโลยีรถจักรของเทควิทริคมาปรับเสริมเติมแต่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สตีเฟนสันเริ่มเปิดเดินรถจักร-รถไฟ ในเส้นทางคมนาคมและการค้า จนผู้คนเริ่มให้ความสนใจและไม่มองมันว่าเป็น ‘ของเล่น’ อีกต่อไป พาหนะที่เรียกว่า รถไฟ จึงกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น ความสำเร็จของสตีเฟนสัน ทำให้เขากลายเป็นอภิมหาเศรษฐี และถูกยกย่องให้เป็นบิดาการรถไฟของโลกและนับจากนั้นเป็นต้นมา รถไฟก็พัฒนาตัวเองให้มีทั้งรถจักรดีเซล รถไฟฟ้า รถไฟแม่เหล็ก ฯลฯ นับเนื่องกันมามากกว่า ๒๐๐ ปีแล้ว
  • 19. รถไฟ...รุกคืบไปทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเดินทางไปพร้อมกับการปรากฏตัวของรถไฟ แม้วัฒนธรรมการเดินทางโดยรถม้าจะยังคงอยู่ ประเทศอังกฤษจึงถือเป็นประเทศแรกของโลกที่นำรถไฟไปรับใช้การปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดจากการสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองท่าลิเวอร์พูลไปยังเมืองแมนเชนเตอร์ ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรม เป็นผลให้อุตสาหกรรมของอังกฤษเจริญก้าวหน้า และทำให้อังกฤษมีความต้องการนำปัจจัยการผลิตจากนอกประเทศมาเป็นวัตถุดิบในการป้อนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและกระตุ้นให้จักรวรรดิอังกฤษ แสวงหาอาณานิคมมากขึ้น รถไฟบุกเบิกเข้าไปในหลายดินแดน ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไกลโพ้นเช่นญี่ปุ่น แม้จะมีการต่อต้านรถไฟและความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ดังเช่นกลุ่มกบฏซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มขุนนางซามูไรในราชสำนัก1  ซึ่งต่อต้านปืนใหญ่ เสื้อผ้าตะวันตก และรถไฟ โดยมองว่าเป็นการพัฒนาที่รวดเร็วและเอื้อประโยชน์ให้คนกลุ่มน้อย  ที่ประเทศฝรั่งเศส การสร้างรางรถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศส (TGV) ซึ่งเป็นรถไฟที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก จนทำให้พลเมืองฝรั่งเศสภาคภูมิใจในความสำเร็จของกิจการรถไฟ
  • 20. กระทั่งสมัยปัจจุบัน รถไฟก็ยังทำหน้าที่ ‘รุกราน’ สภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของสิ่งที่มีมาแต่เดิม แม้รถยนต์จะเริ่มมีบทบาทจนส่งผลกระทบต่อรถไฟโดยตรง แต่พื้นฐานของการเดินทางโดยถนนค่อนข้างยืดหยุ่นและปรับตัวกับสภาพที่มีอยู่เดิมได้ง่าย ตรงข้ามกับรถไฟที่หากมีการสร้างทางรถไฟขึ้นบริเวณใด ภูมิศาสตร์บริเวณนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทันที  
  • 21. การรุกคืบของรถไฟในสยาม สยามประเทศได้ยลโฉมรถไฟเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นรถไฟจำลองขนาดเล็ก ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงโปรดให้เหล่าขุนนางเดินทางไปยังประเทศอังกฤษเพื่อเยี่ยมชมความเจริญจากชาติตะวันตก กระทั่งได้พบและสัมผัสรถไฟจริงในประเทศอังกฤษ เห็นได้ชัดจากบันทึก ‘นิราศลอนดอน’ บทประพันธ์อันลือเลื่องของ ‘หม่อมราโชทัย’ ในช่วงเวลาเดียวกัน สยามยังมีข้อพิพาทกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส ยุทธศาสตร์ทางทหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญของชาติ จากเหตุผลดังกล่าวจึงได้มีการสร้างทางรถไฟสายแรกของสยามซึ่งเป็นของเอกชนขึ้น เริ่มตั้งแต่สถานีรถไฟหัวลำโพง จนถึงปากน้ำสมุทรปราการ หมายหลักคือการบำรุงกำลังรบเผื่อว่ากองกำลังต่างชาติอาจเข้าโจมตีทางเรือ คนเรียกขานทางรถไฟสายนี้ว่า ‘รถไฟสายปากน้ำ’
  • 22. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดให้สร้างทางรถไฟหลวงสายแรก เริ่มตั้งแต่สถานีหัวลำโพง จรดปลายทางนครราชสีมา โดยในระยะเริ่มต้น ทางรถไฟสายนี้ได้สร้างมาถึงอยุธยากรุงเก่า กระทั่งมีพิธีเปิดใช้เป็นทางการระหว่างกรุงเทพฯ – อยุธยา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๙ และนับแต่รัชสมัยนั้นเป็นต้นมา กรมรถไฟจึงได้สร้างทางรถไฟไปยังหัวเมืองและท้องถิ่นต่างๆ ตามลำดับ
  • 23. รถไฟ-รถไฟฟ้า กับผลกระทบด้านสังคม รถไฟธรรมดา แม้รถไฟจะไม่สามารถนำคติความเชื่อเข้าไปยังชุมชนและหมู่บ้านได้รวดเร็วทัดเทียมกับรถยนต์ แต่รถไฟสามารถ ‘บรรทุก’ วัฒนธรรมเข้าไปทีละมากๆ ไม่ต่างจากตู้สินค้าที่บรรทุกได้ครั้งละขบวนยาว โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจ รถไฟถือเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเติบโตอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่น โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย สร้างทางรถไฟสายหนองคาย – เวียงจันทร์ สร้างชุมทางคลองสิบเก้า – แก่งคอย (เชื่อมต่อสายตะวันออกกับสายอีสาน) นอกจากจะเป็นเส้นทางรถไฟที่ทำลายทัศนียภาพอันสวยงามของทิวเขา การบุกรุกที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าสงวน และผลกระทบทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป
  • 24. สำหรับรถไฟฟ้า ของเล่นของคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ยิ่งมีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไปอีก รถไฟฟ้า หรือรถไฟลอยฟ้า อยู่ในจำพวกการขนส่งระบบรางและเป็นพาหนะตระกูลเดียวกับรถรางและรถไฟ แทบทุกประเทศในโลก รถไฟฟ้าและรถไฟนำมาวิ่งอยู่ในรางเดียวกันแต่สำหรับเมืองไทย รางรถไฟฟ้าบ้านเรามี (เป็นขนาดเดียวกับรางรถไฟไทยในสมัยก่อน) แตกต่างจากรางรถไฟธรรมดาตรงที่ไม่สามารถวิ่งปะปนกันได้ อีกทั้งยังใช้พลังงานไฟฟ้า ไม่ใช้น้ำมันดีเซลเหมือนรถไฟธรรมดา ทำให้ความรู้สึกของคนไทยดูจะแบ่งแยกระหว่างรถไฟฟ้ากับรถไฟออกจากกัน  การสร้างทางรถไฟฟ้าในเมืองหลวง แม้จะเป็นทางยกระดับและทางใต้ดินเกือบทั้งหมดแม้จะสะดวกสบาย แต่นั่นก็ทำให้คนเมืองมีวัฒนธรรมความเป็นเมืองจนเกินพอดี ทั้งยังสร้างความรู้สึกว่าชีวิตในเมืองจะขาดรถไฟฟ้าไม่ได้  ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รถไฟฟ้าให้โทษกับสิ่งแวดล้อมในด้านมลพิษทางอากาศไม่มากนักเนื่องจากวิ่งด้วยระบบไฟฟ้า ทว่ากลับเป็นมลพิษทางสายตา รถไฟฟ้าก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เสื่อมถอยลง
  • 25. แม้รถไฟจะเป็นพาหนะของระบอบทุนนิยม เป็นสัญลักษณ์แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมมานับแต่แรกเริ่ม และเป็นตัวอันตรายต่อวัฒนธรรมอันดีงามที่มีมาแต่เดิม กระนั้นก็ยังหวังให้เราทุกคนตระหนักในความสำคัญของมันในมุมกลับไว้บ้าง เนื่องเพราะจุดกำเนิดของมันไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นเพียงพาหนะขนส่งคน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นพาหนะที่คอยรับใช้ผู้คนให้ได้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงบนโลก เป็นพาหนะเดียวกับที่นักท่องเที่ยวและนักเขียนสารคดีมองว่าคลาสสิกที่สุดในโลก และเป็นพาหนะที่แม้แต่ผู้เขียนเองก็ยังชื่นชอบ ภูมิปัญญาของคนโบราณซึ่งได้สร้างสิ่งมีชีวิตขบวนยาวนี้ไว้ จึงไม่ควรนำมาใช้เป็นเครื่องมือรุกรานใคร ทั้งยังควรทำความเข้าใจในหน้าที่ของรถไฟว่าน่าจะนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม โดยไม่ทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ดั้งเดิมได้อย่างไร
  • 27. รายชื่อสมาชิก น.ส.โสภาพรรณ พิณทองเมือง  รหัสนักศึกษา  07510112 น.ส.อภิญญา เพ็งนาค         รหัสนักศึกษา     07510119 น.ส.ศิรินภา  ทับทิมชัย         รหัสนักศึกษา       07510573 นายกฤตวิทย์ คลังธาร รหัสนักศึกษา 09510960 น.ส.จิตรานุช จารุจินดา รหัสนักศึกษา 09510968 น.ส.ธิรารัตน์ ศรีประภาเลิศกุล รหัสนักศึกษา 09510991 น.ส.สวรรยา สุรพุทธ รหัสนักศึกษา 09511047 น.ส.สุพัตรา แซ่บ้าง รหัสนักศึกษา 09511056 นายคงศักดิ์ เจริญพักตร์ รหัสนักศึกษา 09510965 นายเอกภาคย์ ลอเสรีวานิช รหัสนักศึกษา 09511071