SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 50
Downloaden Sie, um offline zu lesen
แผนงานวิจัยหลัก
การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำ�หน่ายผู้สูงอายุ
โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
Research for developing of discharge planning model
for elderly patient by multidisciplinary team of
The Supreme Patriarch Center on Aging
งานวิจัยย่อย เรื่อง
รูปแบบการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน
โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
Discharge planning model for elderly patient
with diabetes mellitus by multidisciplinary team
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
คำ�นำ�
	 โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยและรักษาไม่หายขาด เป็นโรค
ที่ต้องได้รับการควบคุมดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด
การทุพพลภาพหรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จึงทำ�ให้เป็นปัญหาสำ�คัญด้าน
สาธารณสุขทั้งของประเทศไทยและทั่วโลก ในปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวาน
เป็นจำ�นวนมาก โดยมีจำ�นวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี มีอัตราเพิ่มเป็น 2 เท่า พบ
ผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายซึ่งในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน
ร้อยละ 2.5 ของประชากร และคาดว่าในปีพ.ศ.2568 จะพบร้อยละ 3.7 ของ
ประชากรเนื่องจากการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต้องสูญเสีย
ค่าใช้จ่ายมาก โดยมุ่งหมายให้การดูแลรักษาเบาหวานมีคุณภาพและประสิทธิผล
ที่ดี
	 ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุจึงจัดทำ�คู่มือการดูแล
ตนเองโรคเบาหวานฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดย
สหสาขาวิชาชีพขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปมีแนวทางการดูแลตนเอง
โรคเบาหวานที่สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ โอกาสนี้ใคร่ขอขอบคุณคณะทำ�งาน
และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่สละเวลาและทุ่มเทแรงกายแรงใจให้คู่มือฉบับนี้ สำ�เร็จ
ลุล่วงเพื่อเผยแพร่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป
	 คณะทำ�งานวิจัย
	 กุมภาพันธ์ 2554
ก
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
สารบัญ
หน้า
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน 	 1
โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร 	 2
อาการของโรคเบาหวาน 	 2
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน 	 3
ประเภทของเบาหวาน 	 4
ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน 	 7
การดูแลรักษาโรคเบาหวาน 	 9
อาหารสำ�หรับผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน 	 9
การออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน 	 18
ท่ากายบริหารขาของผู้ป่วยเบาหวาน 	 29
การใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน 	 33
การดูแลสุขภาพเท้าในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน 	 36
ข้อแนะนำ�ในการดูแลตนเอง 	 39
เป้าหมายการควบคุมโรคเบาหวาน 	 41
บรรณานุกรม 		 42
ข
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
1
โรคเบาหวาน
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
	 เบาหวาน พบได้ประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป พบได้ทุกเพศ
และทุกอายุ แต่จะพบมากในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และคนที่อยู่ในเมือง
มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าชาวชนบท คนอ้วนและหญิงที่มีลูกมาก มีโอกาสเป็น
โรคนี้ได้มากขึ้น
	 ร่างกายของเราประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ หลายล้านเซลล์ซึ่งทุกเซลล์ก็
ต้องการพลังงานเพื่อใช้ในการทำ�งานตามหน้าที่ของตัวเอง พลังงานที่ใช้นั้นได้รับ
มาจากอาหารที่บริโภคในแต่ละวัน แต่การที่จะเปลี่ยนอาหารชิ้นใหญ่ๆ ให้กลาย
เป็นพลังงานได้นั้นต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายหรือแปรสภาพให้กลายเป็นสาร
อาหารที่เซลล์สามารถนำ�ไปใช้ได้
	 อาหารที่ย่อยแล้วจะมีโมเลกุลเล็กๆ ของนํ้าตาลที่เรียกว่า “กลูโคส”
อยู่ด้วยกลูโคสเป็นสารอาหารที่ร่างกายสามารถดูดซึมผ่านผนังลำ�ไส้เข้าสู่เส้นเลือด
เพื่อส่งไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ โดยอาศัยฮอร์โมนอินซูลินเป็น
ตัวนำ� อินซูลินจึงทำ�หน้าที่คล้าย “นายทวาร” ที่คอยเปิดประตูให้กลูโคสเข้าไป
สู่เซลล์กลูโคสที่เหลือใช้ร่างกายจะนำ�ไปเก็บสะสมไว้ที่ตับหรือกล้ามเนื้อในรูปของ
กลัยโคเจนเมื่อภาวะร่างกายไม่สมดุลมีปริมาณนํ้าตาลในเลือดตํ่ากว่าปกติร่างกาย
จะสั่งการให้นำ�กลัยโคเจนออกมาจากคลังที่เก็บไว้ เปลี่ยนกลับให้เป็น “กลูโคส”
เพื่อใช้งาน ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องอาศัยการทำ�งานของฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่ง ที่ผลิต
จากตับอ่อนเช่นเดียวกัน นั่นคือ “ฮอร์โมนกลูคากอน”
	 ตับอ่อนจึงมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ เพื่อให้ทำ�งานประสานกันและ
ยังทำ�หน้าที่ควบคุมปริมาณการผลิตให้มีปริมาณพอๆ กัน เพื่อรักษาสมดุลของ
นํ้าตาลในเลือด ในบุคคลปกติ ตับอ่อนจะทำ�หน้าที่ผลิตฮอร์โมนทั้งสองชนิด
อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
2
โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร
	 สำ�หรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้น การทำ�งานของตับอ่อนในการผลิต
ฮอร์โมนอินซูลินจะบกพร่อง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลิน
ได้อย่างเพียงพอหรือผลิตอินซูลินได้แต่อินซูลินนั้นไม่ปกติภาวะเช่นนี้ก็จะทำ�ให้
ไม่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ เนื่องจากการทำ�งานระหว่างฮอร์โมน
อินซูลินและกลูคากอนเสียสมดุลไป ผลที่เกิดขึ้นคือการมีนํ้าตาลตกค้างในเลือด
ซึ่งกระทบไปถึงไตที่ทำ�หน้าที่กรองของเสียทำ�ให้ไตต้องทำ�งานหนักขึ้น และ
ไม่สามารถกรองเอานํ้าตาลออกจากปัสสาวะได้หมดทำ�ให้มีนํ้าตาลปนมากับ
ปัสสาวะ ปัสสาวะจึงมีรสหวานเป็นที่มาของการเกิดโรค “เบาหวาน”
อาการของโรคเบาหวาน
	  	 ปัสสาวะบ่อยและจำ�นวนมาก ปัสสาวะช่วงกลางคืน เกิดจากการ
ที่นํ้าตาลรั่วมากับปัสสาวะและดึงนํ้าออกมาด้วย
	 	 คอแห้ง ดื่มนํ้ามาก กระหายนํ้า เกิดจาการที่ร่างกายสูญเสียนํ้ามาก
ทางปัสสาวะ
	 	 หิวบ่อยทานจุ แต่นํ้าหนักลดและอ่อนเพลีย เกิดจากการที่ร่างกาย
ใช้กลูโคสเป็นอาหารไม่ได้ต้องใช้โปรตีนและไขมันเป็นพลังงานแทน
	 	 แผลหายยาก มีการติดเชื้อทาง
ผิวหนัง เกิดแผลได้บ่อย นํ้าตาลที่สูงทำ�ให้การ
ทำ�งานของเม็ดเลือดขาวลดลง
	  	 คันตามผิวหนัง ติดเชื้อราง่าย โดย
เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้ป่วยหญิง
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
3
	  	 ตาพร่ามัว อาจเกิดจากนํ้าตาลคั่งในเลนซ์ตา โรคจอประสาทตา
จากเบาหวานหรือต้อกระจก
	 	 ชา ปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือและปลายเท้า
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
การวินิจฉัยอาศัยการตรวจระดับนํ้าตาลในเลือด ดังนี้
	 1.	 มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนดังกล่าวข้างต้น และมีระดับนํ้าตาล
ในเลือดมากว่า 200 มก./ดล.โดยไม่จำ�เป็นต้องอดอาหาร
	 2. 	ระดับนํ้าตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป
อย่างน้อย 2 ครั้ง
	 3. 	การตรวจโดยการให้รับประทานกลูโคส 75 กรัม พบว่ามีระดับ
นํ้าตาลหลังรับประทานกลูโคส ตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป
	 ระดับนํ้าตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าที่อยู่ในช่วง 100 - 125 มก./ดล.
เรียกว่า“ระดับนํ้าตาลขณะอดอาหารผิดปกติ” ระดับนํ้าตาลหลังรับประทานกลูโคส
75 กรัม ที่อยู่ในช่วง 140 - 199 มก./ดล. เรียกว่า “ความทนต่อนํ้าตาลบกพร่อง”
ทั้งสองภาวะนี้เรียกรวมกันว่าเป็น “ระยะก่อนเป็นเบาหวาน”
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
4
ผู้ที่ควรตรวจหาโรคเบาหวาน
	  	 ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานดังกล่าวข้างต้น
	 	 อายุมากกว่า 40 ปี
	 	 มีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
	 	 เคยมีระดับนํ้าตาลอยู่ในระยะก่อนเบาหวาน
	  	 เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
	 	 คลอดบุตรหนักมากกว่า 4 กก.
	 	 มีความดันโลหิตสูง
	 	 มีไขมันในเลือดผิดปกติ
	  	 มีโรคหลอดเลือดตีบแข็ง
	 	 มีโรคที่บ่งว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ได้แก่ โรครังไข่มีถุงนํ้าหลายถุง
ประเภทของโรคเบาหวาน
	 เบาหวานชนิดที่ 1 คือเบาหวานชนิดที่พึ่งอินซูลิน เป็นเบาหวานชนิด
ที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง พบในเด็กและวัยรุ่น อายุน้อยกว่า
25 ปี ในประเทศไทยพบน้อยกว่า 5% เบาหวานชนิดนี้ เกิดจากการที่ตับอ่อน
ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ เนื่องจากเซลล์ที่ทำ�หน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลินผิดปกติ
ทำ�ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดอินซูลิน ผู้ป่วยจำ�เป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้า
ทดแทนในร่างกาย (ผลิตอินซูลินได้) จึงจะสามารถเผาผลาญนํ้าตาลได้เป็นปกติ
มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำ�ให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และเมื่อ
ร่างกายเกิดภาวะขาดอินซูลิน นํ้าตาลก็ไม่สามารถเข้าไปในเซลล์เพื่อให้พลังงานได้
จึงตกค้างในเลือดจนเกิดภาวะปริมาณนํ้าตาลในเลือดสูง ส่วนเซลล์เมื่อไม่ได้รับ
นํ้าตาลก็ต้องหาแหล่งพลังงานใหม่มาทดแทนจึงหันไปย่อยสลายไขมันและโปรตีน
เพื่อให้ได้พลังงาน ทำ�ให้เกิด “สารคีโตน” ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
5
ไขมัน มีฤทธิ์เป็นกรดและเป็นพิษต่อระบบประสาท เกิดอาการของภาวะกรด
คั่งในเลือดจากสารคีโตน คือ หายใจหอบลึกเมื่อหายใจออกมาจะมีกลิ่นเหมือน
ผลไม้ ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้ - อาเจียน ระดับความรู้สึกตัวจะค่อยๆ ลดลง
ถ้าไม่ได้รักษาอย่างทันท่วงทีจะช็อกหมดสติ อาการที่เกิดขึ้นนี้มักเป็นอย่างรุนแรง
และเกิดขึ้นโดยกะทันหัน ทำ�ให้ผู้ป่วยถึงตายได้รวดเร็ว
	 เบาหวานชนิดที่2คือเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลินในประเทศไทยพบ
มากกว่า 95% ซึ่งมักจะมีความรุนแรงน้อย พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า
40ปีขึ้นไปและมีอัตราการป่วยที่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนอายุมักพบในผู้หญิงมากกว่า
ผู้ชายเบาหวานชนิดที่2นี้ตับอ่อนสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ปริมาณที่ได้ไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการ ฉะนั้นผู้ป่วยบางรายจึงอาจไม่มีอาการแสดงออกของโรค
เลย หรืออาจจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป จนถึงขั้นแสดงอาการรุนแรงหรือ
หมดสติและเสียชีวิตได้ สาเหตุของการหมดสติของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้เกิดจาก
ภาวะนํ้าตาลในเลือดสูงมาก ทำ�ให้ร่างกายพยายามขับนํ้าตาลออกมาทางปัสสาวะ
จนทำ�ให้ผู้ป่วยเสียนํ้ามาก เมื่อร่างกายเกิดภาวะขาดนํ้า ไตก็ทำ�งานลดลง
เป็นผลให้นํ้าตาลในเลือดสูงขึ้นอีกเพราะร่างกายไม่สามารถขับออกไปได้ ผู้ป่วย
ก็จะหมดความรู้สึกลงเรื่อยๆ จนหมดสติไป ผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิส เช่น
ที่เกิดกับชนิดพึ่งอินซูลิน การควบคุมอาหาร หรือการใช้ยาเบาหวานชนิดกิน ก็มัก
จะได้ผลในการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ปกติได้ หรือบางครั้งถ้าระดับนํ้าตาล
สูงมากๆก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราวแต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไปจึงถือว่า
ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
6
ตาราง 1 เปรียบเทียบเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2
เบาหวานประเภทที่ 1 เบาหวานประเภทที่ 2
กลุ่มอายุ มักเกิดกับผู้มีอายุน้อยกว่า40ปี มักเกิดกับผู้มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป
นํ้าหนักตัว ผอม อ้วน
การทำ�งาน
ของตับอ่อน
ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ -	สามารถผลิตอินซูลินได้บ้าง
-	ผลิตได้ปกติแต่อินซูลินไม่มี
ประสิทธิภาพ
-	เซลล์ร่างกายต่อต้านอินซูลิน
การแสดง
ออกของ
อาการ
เกิดอาการรุนแรง -	ไม่มีอาการเลย
-	มีอาการเล็กน้อย
-	อาการรุนแรง จนช็อก
หมดสติได้
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
7
ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือ
จอตาเสื่อม หรือเลือดออกในนํ้าวุ้นลูกตา ทำ�ให้มี
อาการตามัวลงเรื่อยๆ หรือมองเห็นจุดดำ�ลอยไป
ลอยมา และอาจทำ�ให้ตาบอดในที่สุด
ผนังหลอดเลือดแดงแข็งทำ�ให้เป็นโรคความ
ดันโลหิตสูง,อัมพาต,โรคหัวใจขาดเลือดถ้าหลอดเลือด
ที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงไม่พออาจทำ�ให้เท้าเย็น
เป็นตะคริวหรือปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำ�ให้
เป็นแผลหายยากหรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับ
การติดเชื้อ)
ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย มีอาการ
บวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการตาย
ของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
8
ระบบประสาทผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาท
อักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือ
ปลายเท้า ซึ่งอาจทำ�ให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย
(อาจลุกลามจนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการ
วิงเวียนเนื่องจากมีภาวะความดันตกในท่ายืน
บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือท้องเดิน
ตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะ
ไม่ทำ�งาน (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่ง
ปัสสาวะ)
ภาวะคีโตซิส พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ร่างกาย
จะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน ผู้ป่วยจะมีอาการ
คลื่นไส้อาเจียน กระหายนํ้าอย่างมาก หายใจหอบลึก ลมหายใจมีกลิ่น มีไข้
กระวนกระวาย มีภาวะขาดนํ้ารุนแรง (ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันตํ่า ชีพจร
เบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหมด
สติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้
เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย จากภูมิต้านทานโรคตํ่า
เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ,

กรวยไตอักเสบ, ช่องคลอดอักเสบ (ตกขาวและ

คันในช่องคลอด), เป็นฝีพุพองบ่อย,เท้าเป็นแผล

ซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา)
เป็นต้น
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
9
อาหารสำ�หรับผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน
	 อาหารที่ควรงดได้แก่นํ้าตาลขนมหวานนํ้าอัดลมนมข้นหวานนํ้าผลไม้
ที่มีนํ้าตาลประมาณ 8 - 15% ยกเว้นนํ้ามะเขือเทศมีนํ้าตาลประมาณ 1% และ
งดอาหารที่มีไขมันสูง
	 อาหารที่ควรเพิ่ม ได้แก่ อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง อาหารที่มีดัชนี
นํ้าตาลตํ่า เช่น วุ้นเส้น ข้าวกล้อง ฝรั่ง แก้วมังกร
ผู้ป่วยเบาหวานใช้นํ้าตาลเทียมได้เท่าไร
	 นํ้าตาลเทียมที่ขายในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นแอสปาร์แทม ซึ่งมี
รสหวานเป็น 200 เท่าของนํ้าตาลทราย แอสปาร์แทม 1 ซอง (38 มิลลิกรัม)
ให้ความหวานเท่ากับนํ้าตาล 2 ช้อนชา จากการทดสอบความปลอดภัย อนุญาต
ให้ใช้ได้วันละ 50 มิลลิกรัมต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในปริมาณ
น้อยกว่านี้มาก แต่แอสปาร์แทมทนความร้อนสูงไม่ได้ จึงต้องให้ใส่หลังประกอบ
อาหารแล้ว ผู้ป่วยที่ยังคงติดรสหวาน สามารถใช้ใส่ในอาหาร หรือเครื่องดื่มได้
ผู้ป่วยต้องการดื่มนํ้าอัดลมควรดื่มประเภทที่มีคำ�ว่า ไดเอทซึ่งใช้สารนี้แทนนํ้าตาล
	 ฟรุคโตส เป็นนํ้าตาลผลไม้ มีรสหวานกว่านํ้าตาลทรายเกือบ 2 เท่า
จึงใช้ปริมาณน้อยกว่านํ้าตาลทราย ทำ�ให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงช้ากว่า
นํ้าตาลทราย แต่ถ้ารับประทานในปริมาณมาก จะทำ�ให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูง
ได้เช่นเดียวกัน และยังอาจทำ�ให้ไขมันในเลือดสูง นํ้าตาลฟรุคโตสให้พลังงาน
เท่ากับนํ้าตาล จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่อ้วน
การดูแลรักษาโรคเบาหวาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
10
ปริมาณอาหารที่แนะนำ� 1 วัน สำ�หรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีนํ้าหนักตัวเกิน
(พลังงาน 1,200 กิโลแคลอรี่)
กลุ่มอาหารต่างๆ ปริมาณที่แนะนำ�
ข้าว แป้ง 6 ทัพพี
ผัก 3 - 4 ทัพพี
ผลไม้ 2 - 3 ส่วน
เนื้อสัตว์ไขมันตํ่า 5 ช้อนโต๊ะ
นมพร่องมันเนย 1 แก้ว
นํ้ามันพืช 3 - 4 ช้อนชา
นํ้าตาลทราย ไม่เกิน 3 ช้อน
ปริมาณอาหารที่แนะนำ� 1 วัน สำ�หรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีนํ้าหนักตัวปกติ
(พลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี่)
กลุ่มอาหารต่างๆ ปริมาณที่แนะนำ�
ข้าว แป้ง 8 ทัพพี
ผัก 4 - 6 ทัพพี
ผลไม้ 3 - 4 ส่วน
เนื้อสัตว์ไขมันตํ่า 6 ช้อนโต๊ะa
นมพร่องมันเนย 1 - 2 แก้ว
นํ้ามันพืช 5 ช้อนชา
นํ้าตาลทราย ไม่เกิน 4 - 5 ช้อน
a
หากไม่ดื่มนมควรเพิ่มเนื้อสัตว์เป็น 8 - 10 ช้อนโต๊ะต่อวัน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
11
ปริมาณอาหารที่แนะนำ� 1วัน สำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับนํ้าตาลได้ดี
(พลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี่)
กลุ่มอาหารต่างๆ ปริมาณที่แนะนำ�
ข้าว แป้ง 8 ทัพพี
ผัก 4 - 6 ทัพพี
ผลไม้ 3 - 4 ส่วน
เนื้อสัตว์ไขมันตํ่า 6 ช้อนโต๊ะa
นมพร่องมันเนย 1 - 2 แก้ว
นํ้ามันพืช 5 ช้อนชา
นํ้าตาลทราย ไม่เกิน 6 ช้อน
a
หากไม่ดื่มนมควรเพิ่มเนื้อสัตว์เป็น 8 - 10 ช้อนโต๊ะต่อวัน
ตัวอย่างปริมาณอาหาร 1 ส่วน
	 1. 	ข้าว แป้ง 1 ทัพพี มีพลังงาน 80 กิโลแคลอรี่
	 ข้าวกล้อง 1 ทัพพี	 วุ้นเส้น 1 ทัพพี
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
12
	 ขนมปัง 1 แผ่น	 ข้าวเหนียว 1 ทัพพี
	
	 2. 	ผัก 1 ทัพพี มีพลังงาน 25 กิโลแคลอรี่
	 กะหลํ่าดอก 1 ทัพพี 	 ข้าวโพดอ่อน 1 ทัพพี
	 ผักบุ้งจีน 1 ทัพพี 	 มะเขือเทศ 1 ทัพพี
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
13
	 3. 	ผลไม้ 1 ส่วน มีพลังงาน 60 กิโลแคลอรี่
	 มะละกอสุก 1 ส่วน 	 มังคุด 1 ส่วน
	 แก้วมังกร 1 ส่วน 	 กล้วยนํ้าว่า 1 ส่วน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
14
	 4. 	เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ มีพลังงาน 75 กิโลแคลอรี่
	 เนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ	 ปลาทู 1 ตัว
	 ไข่ไก่ 1 ฟอง 	 กุ้ง 4 ตัว
	 ลูกชิ้น 5 ลูก 	 เต้าหู้ หลอด
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
15
	 5. 	นมพร่องมันเนย 1 แก้ว (240 ซีซี) มีพลังงาน 120 กิโลแคลอรี่
นมพร่องมันเนย 1 แก้ว
	 6. 	ไขมัน 1 ส่วน พลังงาน 45 กิโลแคลอรี่
	 นํ้ามันพืช 1 ช้อนชา 	 เนย ก้อน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
16
	 หัวกะทิ 1 ช้อนโต๊ะ 	 นํ้าสลัด 1 ช้อนโต๊ะ
	 7. 	นํ้าตาลทราย 1 ช้อนชา พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่
นํ้าตาลทราย 1 ช้อนชา
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
17
สรุปการเลือกรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด
	 1. 	รับประทานข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ได้ตามปกติ นอกจากผู้ที่อ้วนให้
		 ลดลงครึ่งหนึ่ง
	 2. 	รับประทานผลไม้ตามจำ�นวนที่กำ�หนด วันละ 2 - 3 ครั้งแทนขนม
	 3. 	รับประทานผักให้มากขึ้นทุกมื้อ
	 4. 	รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง
	 5. 	รับประทานไข่สัปดาห์ละ 2 - 3 ฟอง ถ้าไขมันในเลือดสูงให้งดไข่แดง
	 6. 	รับประทานปลา และเต้าหู้ให้บ่อยขึ้น
	 7. 	ใช้นํ้ามันพืชจำ�พวกนํ้ามันถั่วเหลือง นํ้ามันรำ�ข้าวในการทอด
		 ผัดอาหารแต่พอควร
	 8. 	เลือกดื่มนมไม่มีไขมัน นมพร่องมันเนยแทนนํ้านมปรุงแต่งรส
	 9. 	หลีกเลี่ยงนํ้าหวาน นํ้าอัดลม ลูกอม ช็อกโกแลตและขนมหวานจัด
		 ต่าง ๆ
	 10.	หลีกเลี่ยงอาหารใส่กะทิ ไขมันสัตว์ อาหารทอด รวมทั้ง ขนมอบ
	 11.	รับประทานผัก ผลไม้ทั้งกากแทนการคั้นดื่มแต่นํ้า
	 12.	เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ต้ม นึ่ง ย่าง ผัด
		 ที่ใช้นํ้ามันน้อยแทนการทอด
	 13.	ใช้นํ้าตาลเทียมใส่เครื่องดื่มและอาหารแทนการใช้นํ้าตาลทราย
	 14.	รับประทานอาหารรสอ่อนเค็ม
		 จะเห็นว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานในปัจจุบัน มีอิสระในการเลือกอาหาร
มากขึ้น และอาหารที่แนะนำ�ให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็มิได้แตกต่างจากอาหาร
คนปกติ แต่จะเป็นลักษณะของอาหารที่มีนํ้าตาลน้อย ไขมันตํ่า รสอ่อนเค็ม ทั้งนี้
ผู้ป่วยเบาหวานจำ�เป็นต้องเรียนรู้วิธีการเลือกชนิดอาหาร ปริมาณที่รับประทาน
การแลกเปลี่ยนและการทดแทนอาหาร เพื่อจะสามารถควบคุมระดับนํ้าตาล
ในเลือดได้อย่างสมํ่าเสมอ
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
18
การออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานกับกิจกรรมออกแรงและการออกกำ�ลังกาย
	 เมื่อออกแรงหรือออกกำ�ลังกาย ผู้ป่วยเบาหวานจะมีการตอบสนองของ
ฮอร์โมนและการเปลี่ยนแปลงของระดับนํ้าตาลต่างจากคนปกติผู้ป่วยเบาหวานพึ่ง
อินซูลินและผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่พึ่งอินซูลินมีการตอบสนองต่อการออกกำ�ลังกาย
ไม่เหมือนกัน
	 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ระดับอินซูลินในเลือดอาจไม่เหมาะสม
เนื่องจากวิธีการให้อินซูลินโดยการฉีดใต้ผิวหนังวันละ1-2ครั้งยาจะดูดซึมเข้าสู่กระแส
โลหิตตามระยะเวลาของการฉีด ชนิดของยาและสภาพการดูดซึมของตำ�แหน่งที่ฉีด
ตารางที่ 2 แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากระดับอินซูลินที่สูงหรือตํ่าเกินไป
จะเห็นได้ชัดเจนว่าถ้าหากผู้ป่วยมีระดับอินซูลินสูงจะเกิดภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่าจาก
การออกกำ�ลังกายได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นขณะออกกำ�ลังกายหรือหลังการออกกำ�ลังกาย
แล้ว เนื่องจากระดับอินซูลินที่สูงจะยับยั้งการสร้างและปลดปล่อยนํ้าตาลจากตับ
รวมทั้งการสลายของไขมันอีกทั้งกล้ามเนื้อสามารถใช้นํ้าตาลได้มากขึ้น ผลรวมคือ
ระดับนํ้าตาลลดลงนอกจากนี้หลังการออกกำ�ลังกายการเผาผลาญพลังงานในอัตรา
สูงยังคงดำ�เนินอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นการเผาผลาญกรดไขมันอิสระ ภาวะนํ้าตาลตํ่าจาก
การออกกำ�ลังกายอาจเกิดขึ้นหลังการออกกำ�ลังกายแล้วนานถึง 12 ชั่วโมง ในทาง
ตรงกันข้ามถ้าหากระดับอินซูลินไม่เพียงพอจะมีผลทำ�ให้นํ้าตาลในเลือดสูงขึ้นโดย
ตับสร้างและปลดปล่อยนํ้าตาลออกมามาก ส่วนกล้ามเนื้อไม่สามารถใช้นํ้าตาลเพิ่ม
ขึ้นและอาจทำ�ให้เกิดภาวะกรดเกินได้ เนื่องจากมีการสลายตัวของไขมันมาก ดังนั้น
การออกกำ�ลังกายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน จึงต้องคำ�นึงถึงระดับนํ้าตาล
และจำ�เป็นต้องปรับอาหารและ/หรือยาให้เหมาะสมตามระยะเวลาที่จะ
ออกกำ�ลังกายและประเภทของการออกกำ�ลังกายด้วย
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
19
ตารางที่ 2	 การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานในผู้ป่วยเบาหวานขณะออกกำ�ลังกาย
		 สัมพันธ์กับระดับอินซูลิน
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขณะออกกำ�ลังกาย อินซูลินมากไป อินซูลินน้อยไป
การสร้างและปลดปล่อยนํ้าตาลโดยตับ ลดลง เพิ่มขึ้น
การใช้นํ้าตาลโดยกล้ามเนื้อ เพิ่มขึ้น คงที่
การสลายไขมันและระดับกรดไขมันอิสระ ลดลง เพิ่มขึ้น
ระดับนํ้าตาลในเลือด ลดลง เพิ่มขึ้น
	 สำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน การออกกำ�ลังกายจะเพิ่มการ
หลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์ในผู้ป่วยที่การหลั่งอินซูลินน้อย แต่ระดับอินซูลินใน
เลือดไม่เพิ่มขึ้น สำ�หรับผู้ป่วยที่มีระดับอินซูลินสูงการออกกำ�ลังกายมีผลทำ�ให้
ประสิทธิภาพของอินซูลินดีขึ้น เห็นได้จากการที่ระดับอินซูลินลดลงในขณะที่
นํ้าตาลในเลือดคงที่หรือลดลงด้วย แต่เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานไม่พึ่งอินซูลิน
ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมากอาจมีปัญหาสุขภาพด้านอื่นโดยเฉพาะระบบ
หัวใจและหลอดเลือด ระบบหายใจ และระบบกล้ามเนื้อและไขข้อ ซึ่งทำ�ให้มี
ปัญหาในการออกกำ�ลังกายได้
ข้อกำ�หนดและการปฏิบัติสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินเมื่อออกกำ�ลังกาย
	
	 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินส่วนใหญ่อายุน้อย มักไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ
ระบบหลอดเลือดหัวใจและอื่นๆ แต่ถ้าอายุมากหรือเป็นมานานก็จำ�เป็นต้องตรวจ
ร่างกายเช่นเดียวกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ข้อกำ�หนดและการปฏิบัติ
เน้นหนักเกี่ยวกับยาฉีดอินซูลินและอาหาร โดยสัมพันธ์กับประเภทและระยะเวลา
ของการออกกำ�ลังกาย ซึ่งได้แก่
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
20
	 1.	 โปรแกรมการออกกำ�ลังกาย ต้องคำ�นึงว่าเป็นการออกกำ�ลังกาย
ประจำ�หรือเป็นครั้งคราว ถ้าผู้ป่วยออกกำ�ลังกายเป็นประจำ�อยู่แล้วจะไม่มี
ปัญหามากเพราะมีการปรับยาและอาหารมาแล้วระยะหนึ่ง ผู้ที่ทำ�เป็นครั้งคราว
หรือเพิ่งเริ่มทำ�จะต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับนํ้าตาลอย่างใกล้ชิด
อีกประการหนึ่งผู้เริ่มต้นหรือผู้ที่ทำ�เป็นครั้งคราวสมรรถภาพอาจไม่ดีพอ
ควรออกกำ�ลังกายแต่พอสมควร เพราะการออกกำ�ลังกายที่นานหรือหักโหม
จะต้องใช้พลังงานมากกว่า
	 2. 	ยาฉีดอินซูลินปริมาณยาฉีดอาจคงที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่ระดับ
การควบคุมนํ้าตาล ผู้ที่ควบคุมนํ้าตาลได้ดีต้องการลดนํ้าหนัก ควรลดปริมาณยา
ฉีดลงและไม่เพิ่มอาหาร ถ้าเบาหวานควบคุมไม่ได้จำ�เป็นต้องเพิ่มยาฉีดอินซูลิน
เพื่อลดนํ้าตาลลงจนถึงระดับปลอดภัยจึงค่อยออกกำ�ลังกาย ถ้าไม่มีปัญหาเรื่อง
นํ้าหนักตัวและระดับนํ้าตาล ส่วนใหญ่มักฉีดยาปริมาณเท่าเดิมและเพิ่มอาหาร
ชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปจากการออกกำ�ลังกายการฉีดอินซูลิน ถ้าเป็นไปได้ควร
เลี่ยงการฉีดอินซูลินที่แขนหรือขาวันที่ออกกำ�ลังกาย เนื่องจากขณะออกกำ�ลังกาย
เลือดจะถูกสูบฉีดไปบริเวณกล้ามเนื้อที่ออกกำ�ลังกายมากขึ้นรวมทั้งบริเวณ
ใกล้เคียง ทำ�ให้การดูดซึมยาจากที่ฉีดมากและเร็วขึ้นไม่ควรออกกำ�ลังกายในช่วง
ที่ยาฉีดออกฤทธิ์สูงสุดเพราะอาจทำ�ให้เกิดระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่า
	 3. 	การรับประทานอาหารและการดื่มนํ้า ไม่ควรออกกำ�ลังกาย
หลังรับประทานอาหารมื้อหลักใหม่ๆ เนื่องจากขณะที่มีการย่อยอาหารและ
การดูดซึมอาหารปริมาณเลือดหมุนเวียนไปที่ทางเดินอาหารมากขึ้น ในผู้ป่วย
ที่เบต้าเซลล์ยังทำ�งานอยู่บ้างจะหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น จึงควรออกกำ�ลังกาย
หลังอาหารมื้อหลักแล้ว 2 ชั่วโมงหรืออย่างน้อย 1 ชั่วโมง ถ้าหากออกกำ�ลัง
กายหลังรับประทานอาหารนานเกิน 4 ชั่งโมง จะต้องพิจารณาว่าควรให้อาหาร
ว่างก่อนการออกกำ�ลังกายหรือไม่มากน้อยเท่าใด ขึ้นกับระดับนํ้าตาลในเลือด
บางครั้งจำ�เป็นต้องเพิ่มอาหารในระหว่างการออกกำ�ลังกายหรือหลังการ
ออกกำ�ลังกายด้วย สำ�หรับนํ้าควรดื่มนํ้าเปล่าให้มากพอจนไม่รู้สึกกระหายนํ้า
ถ้าออกกำ�ลังกายกลางแดดหรือในอากาศร้อนควรดื่มนํ้ามากขึ้น
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
21
	 4. 	การตรวจระดับนํ้าตาลในเลือด ผู้ที่เริ่มออกกำ�ลังกายใหม่ๆ
ควรตรวจเช็คระดับนํ้าตาลในเลือดก่อน ระหว่างและหลังการออกกำ�ลังกาย
เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดและใช้สำ�หรับเป็นแนวทางปรับยาฉีดและ
เสริมอาหาร เมื่อทำ�เป็นประจำ�จนคุมปริมาณการเปลี่ยนแปลงของระดับนํ้าตาล
ได้แล้วอาจทำ�เป็นครั้งคราวได้ ผู้ที่เกิดกระบวนการสลายไขมันบ่อยหรือรวดเร็ว
ควรตรวจหาระดับคีโตนในปัสสาวะเมื่อระดับนํ้าตาลในเลือดสูงกว่า 250 มก./ดล.
ถ้าพบมีคีโตนต้องงดการออกกำ�ลังกายผู้ที่ออกกำ�ลังกายหักโหมกว่าเดิมต้องตรวจ
ระดับนํ้าตาลเมื่อรู้สึกมีอาการของภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่าและก่อนเข้านอน แม้จะ
เป็นหลังการออกกำ�ลังกายนานแล้วก็ตาม เพื่อประเมินและป้องกันการเกิดภาวะ
นํ้าตาลในเลือดตํ่า
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
22
ตารางที่ 3 	 ข้อกำ�หนดเกี่ยวกับอาหารและการออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วย
		 เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน
ชนิดของการ
ออกกำ�ลังกาย
ตัวอย่าง
ระดับ
นํ้าตาล
(มก./ดล.)
ข้อปฏิบัติ
เบา เดิน
ถีบจักรยานช้า ๆ
>80
<80
รับประทานอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 10 - 15 กรัม/ชั่วโมง
หนักปานกลาง วิ่งเหยาะ ๆ
เทนนิส
ถีบจักรยาน
>300
180 - 300
80 - 179
<80
ห้ามออกกำ�ลังกาย
รับประทานอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 10 - 15 กรัม/ชั่วโมง
รับประทานอาหารว่างก่อน
ออกกำ�ลังกาย** และเสริม
คาร์โบไฮเดรต 10 - 15 กรัม/ชั่วโมง*
หนักมาก ฟุตบอล
บาสเกตบอล
ว่ายนํ้า
ถีบจักรยานเร็วๆ
>300
180 - 300
80 - 179
ห้ามออกกำ�ลังกาย
รับประทานอาหาร
คาร์โบไฮเดรต 10 - 15 กรัม/ชั่วโมง
รับประทานอาหารว่างก่อน
ออกกำ�ลังกาย** และเสริม
คาร์โบไฮเดรต 10 - 15 กรัม/ชั่วโมง*
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
23
ข้อกำ�หนดและการปฏิบัติสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
เมื่อออกกำ�ลังกาย
	
	 ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอายุมาก มีโรคอื่นร่วมด้วยหรือเป็นมานานจนมีโรค
แทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวาน ขนาดนํ้าหนักตัวของผู้ป่วยต่างกันมากและยา
ที่ใช้ควบคุมระดับนํ้าตาลมีหลายรูปแบบ ข้อกำ�หนดและการปฏิบัติจึงต้องปรับ
ให้เหมาะสมสำ�หรับในแต่ละกรณี ได้แก่
	 1.	 การซักประวัติและการตรวจร่างกายโดยละเอียด จำ�เป็นต้องทำ�
ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานานและผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ควรตรวจสุขภาพ
จอตาว่ามีจอตาเสื่อมที่รุนแรงหรือไม่ มีภาวะแทรกซ้อนที่ใดหรือไม่ เพราะการ
ออกกำ�ลังกายอาจทำ�ให้ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เลวลง ตรวจหาความผิดปกติของ
ระบบประสาทเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่ไขข้อกล้ามเนื้อและผิวหนังอาจต้องตรวจ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือถ้ามีข้อสงสัยต้องทำ�การทดสอบสมรรถภาพการทำ�งานของ
หัวใจและหลอดเลือดเพื่อหาความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำ�ลังกาย
ก่อนเริ่มโปรแกรมการออกกำ�ลังกาย
	 2. 	โปรแกรมการออกกำ�ลังกาย ควรจัดเป็นโปรแกรมประจำ� เลือก
การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจมีปัญหาข้อเข่า ข้อเท้า หรือ
ข้อสะโพกจึงต้องเลี่ยงการออกกำ�ลังกายที่ต้องลงนํ้าหนักที่ข้อต่างๆ เหล่านี้
	 3. 	ยาลดนํ้าตาล ผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีดอินซูลินให้ปฏิบัติเหมือนกับผู้ป่วย
เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน สำ�หรับผู้ป่วยที่ใช้ยารับประทานให้ใช้ยาเท่าเดิม
เมื่อเริ่มต้น ตรวจดูการเปลี่ยนแปลง แล้วจึงปรับยาลงถ้าระดับนํ้าตาลลดลงกว่า
ที่ควรจะเป็น ในรายที่นํ้าตาลในเลือดยังควบคุมไม่ได้ควรควบคุมอาหารให้ดีขึ้น
เมื่อออกกำ�ลังกาย สมํ่าเสมอแล้วระดับนํ้าตาลจะดีขึ้น ผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักตัวเกิน
มาตรฐาน ถ้าออกกำ�ลังกายและควบคุมอาหารจนสามารถลดนํ้าหนักตัวได้
ส่วนใหญ่ระดับนํ้าตาลจะดีขึ้นผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานยาลดนํ้าตาลไม่ต้องมี
ข้อปฏิบัติพิเศษ แต่ยังต้องควบคุมปริมาณอาหารตามกำ�หนด
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
24
	 4. 	อาหารและนํ้า ผู้ป่วยที่ฉีดยาอินซูลินปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับผู้ป่วย
เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินผู้ป่วยที่ผอมหรือนํ้าหนักตัวปกติและควบคุมระดับนํ้าตาล
ได้ดี ถ้าออกกำ�ลังกายหนักและ/หรือนานต้องรับประทานอาหารว่างก่อน
ออกกำ�ลังกายเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ฉีดยาอินซูลิน ผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมนํ้าหนัก
ไม่ต้องเพิ่มหรือเสริมอาหารเมื่อออกกำ�ลังกาย
	 5. 	การตรวจระดับนํ้าตาลในเลือด ผู้ป่วยที่ฉีดยาอินซูลินให้ปฏิบัติ
เหมือนกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ผู้ป่วยที่กินยาถ้าระดับนํ้าตาลควบคุมดี
เมื่อออกกำ�ลังกายมากและนาน ควรตรวจระดับนํ้าตาลหลังการออกกำ�ลังกาย
และระวังการเกิดระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่า สำ�หรับกรณีทั่วไปตรวจเช็คระดับ
นํ้าตาลเป็นครั้งคราวตามกำ�หนดได้
ผลกระทบการตอบสนองของการออกกำ�ลังกาย
	 โดยปกติร่างกายจะมีการทำ�งานร่วมกันของฮอร์โมนและขบวนการ
เผาผลาญ (การใช้พลังงาน) ผลคือ ทำ�ให้มีการรักษาความสมดุลของระดับนํ้าตาล
กลูโคส ความเข้มข้นของอินซูลินในคนที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่ตอบสนองต่อการ
ออกกำ�ลังกายโดยวิธีปกติ และความสมดุลระหว่างนํ้าตาลกลูโคสที่ผลิตจากตับ
ผลกระทบการออกกำ�ลังกายของโรคเบาหวาน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัย
ประกอบด้วย
	  	 การใช้และชนิดของการให้ยาที่มีระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่า (อินซูลิน)
	  	 การเลือกเวลาการใช้ยา
	  	 ระดับนํ้าตาลในเลือดต่อการออกกำ�ลังกาย
	  	 ภาวะแทรกซ้อนและความรุนแรงของการเกิดโรคแทรกซ้อน
	 	 การใช้ยาชนิดอื่นๆ ในระยะที่ 2 ของการเกิดโรคแทรกซ้อน
	 	 ความหนัก ช่วงเวลาและชนิดของการออกกำ�ลังกาย
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
25
ผลกระทบของการฝึกออกกำ�ลังกาย
	 1. 	ช่วยปรับปรุงการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ดีขึ้นในเบาหวาน
ชนิดที่ 2 แต่สำ�หรับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 การออกกำ�ลังกายจะส่งเสริมให้ได้รับ
ประโยชน์ด้านอื่นๆ ซึ่งมีระดับนํ้าตาลในเลือดที่เหมาะสม (น้อยกว่า 250 มก./ดล.)
	 2.	 ช่วยปรับปรุงการกระตุ้นอินซูลินทำ�ให้มีความต้องการใช้ยาใน
ระดับตํ่า การฝึกออกกำ�ลังกายมีผลช่วยปรับปรุงอินซูลินและเป็นการสังเคราะห์
โปรตีนทำ�ให้ลดการใช้อินซูลินรักษา
	 3.	 ลดนํ้าหนัก (ลดความอ้วน) การสูญเสียนํ้าหนักจะเพิ่มการกระตุ้น
อินซูลินและอาจลดจำ�นวนอินซูลินลง ดังนั้น การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสม
ควรพิจารณาถึงวิธีการลดนํ้าหนักอย่างมีประสิทธิภาพ และทำ�ให้อาการของ
โรคเบาหวานดีขึ้น
	 4.	 ผลประโยชน์ต่อหัวใจ การออกกำ�ลังกายสมํ่าเสมอจะลดอัตราเสี่ยง
ของการเป็นโรคหัวใจ
	 5.	 ลดความเครียด ความเครียดสามารถทำ�ลายการควบคุมของ
โรคเบาหวานโดยเพิ่มจำ�นวนการผลิตฮอร์โมน, คีโตน, กรดไขมันและยูเรีย
ดังนั้น การลดความเครียดจึงเป็นส่วนสำ�คัญในการรักษาโรคเบาหวาน
คำ�แนะนำ�สำ�หรับโปรแกรมการออกกำ�ลังกาย
	 การกำ�หนดการออกกำ�ลังกาย ของผู้ป่วยเบาหวานจะต้องทำ�เป็นเฉพาะ
รายบุคคลเหมือน ตารางการให้ยา อาการและความรุนแรงของโรคแทรกซ้อน
และจุดมุ่งหมายของการได้รับประโยชน์จากโปรแกรมการออกกำ�ลังกาย อาหาร
ที่กินเข้าไปกับการออกกำ�ลังกายนั้นต้องพิจารณาด้วยเหมือนกัน โดยทั่วไปการ
ออกกำ�ลังกายต้องการคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ทั้งก่อนและหลังการออกกำ�ลังกาย
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
26
ถ้าการออกกำ�ลังกายมีความหนักและมีช่วงเวลานาน ให้เพิ่มคาร์โบไฮเดรต
จาก 15 กรัม เป็น 30 กรัม ในทุกๆ ชั่วโมง
  ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ไม่ควรออกกำ�ลังกาย
	
	 	 มีการรักษาเนื้อเยื่อของลูกตาหรือมีการรักษาเกี่ยวกับจอตาเมื่อเร็วๆ
นี้ เช่น การใช้เลเซอร์รักษา
	 	 นํ้าตาลในเลือดมากกว่า 250 กรัม ถึง 300 มก./ดล. มีคีโตน
และระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่า ก่อนการเริ่มออกกำ�ลังกาย หรือ
	 	 นํ้าตาลในเลือดประมาณ 80 ถึง 100 มก./ดล. เริ่มมีความเสี่ยง
ต่อภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า (ในภาวะแบบนี้ ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรต เพื่อ
เพิ่มนํ้าตาลในเลือดก่อนการออกกำ�ลังกาย)
หลักเกณฑ์การออกกำ�ลังกาย
	 การออกกำ�ลังกายที่ดีจะต้องเหมาะสมกับผู้ที่ออกกำ�ลัง มีความหนัก
เพียงพอ มีความสมํ่าเสมอและความนานเพียงพอ ก่อนออกกำ�ลังกายจะต้อง
มีการอุ่นเครื่อง (Warm up) และหลังการออกกำ�ลังกายต้องมีการผ่อนคลาย
(Cool down) ควรออกกำ�ลังกายเวลาเช้าหรือเย็นเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด
	 การอุ่นเครื่องและการผ่อนคลาย เป็นการเตรียมกล้ามเนื้อ, ข้อ และ
ระบบหมุนเวียนโลหิต สำ�หรับเข้าสู่การทำ�งานหนักและชะลอลงช้าๆ ก่อนหยุด
การออกกำ�ลังกายโดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำ�ตัวจำ�เป็นต้องปฏิบัติ
เคร่งครัด การอุ่นเครื่องและผ่อนคลายใช้เวลานานช่วงละ 3 - 5 นาที
	 ความสมํ่าเสมอ(Frequency)ในกรณีที่สามารถทำ�ได้ควรออกกำ�ลังกาย
ทุกวัน ถ้าไม่ได้ก็ควรทำ�วันเว้นวันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
27
	 ความนาน (Duration) การออกกำ�ลังกายควรทำ�ครั้งละ 20 - 30 นาที
เป็นอย่างน้อย แต่เมื่อเริ่มออกกำ�ลังกายใหม่ๆ อาจเริ่มเพียงระยะเวลาสั้นๆ
5 - 10 นาที แล้วเพิ่มขึ้นทุกๆ 2 - 4 สัปดาห์ เมื่อร่างกายมีความพร้อม ผู้สูงอายุ
และผู้มีโรคหัวใจต้องเริ่มน้อยๆ และเพิ่มขึ้นช้าๆ
	 ความหนักของการออกกำ�ลังกาย (Intensity) เป็นสิ่งสำ�คัญที่จะ
สร้างเสริมความอดทน ความหนักของการออกกำ�ลังกายสามารถวัดโดยดูอัตรา
การใช้ออกซิเจนคิดเป็นร้อยละของอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2 max)
ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือใช้การวัดทำ�ให้ไม่สะดวก ในทางปฏิบัติจึงใช้อัตราเต้นสูงสุด
ของหัวใจเป็นเกณฑ์ โดยให้ออกกำ�ลังกายจนมีความหนักร้อยละ 60 - 85 ของ
อัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ นั่นคือชีพจรเป้าหมายในการออกกำ�ลังกายให้ได้เป็น
ร้อยละ 60 - 85 ของอัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ อัตราเต้นสูงสุดของหัวใจสูงสุด
เท่ากับ “220” ลบด้วยจำ�นวนอายุเป็นปี สูตรคำ�นวณชีพจรเป้าหมายจึงเขียน
ได้เป็น
	 ชีพจรเป้าหมาย 	 = 	 ความหนักที่กำ�หนด X (220 - อายุ)
	 ถ้าความหนักที่กำ�หนด 	 = 	 ร้อยละ 70
	 อายุของผู้ออกกำ�ลังกาย 	= 	 60 ปี
	 ชีพจรเป้าหมาย 	 = 	 (70/100) X (220 - 60)
				 = 	 112 ครั้ง/นาที
	 การจะกำ�หนดความหนักของการออกกำ�ลังกายเป็นร้อยละเท่าใด
ขึ้นกับสมรรถภาพและสุขภาพพื้นฐานของผู้ออกกำ�ลังกาย ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มี
ปัญหาสุขภาพมาก เริ่มต้นอาจกำ�หนดขั้นตํ่าเพียงร้อยละ 50 ของอัตราเต้นสูงสุด
ของหัวใจ แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น การนับชีพจรให้นับทันทีเมื่อหยุดออกกำ�ลังกาย
โดยผู้ฝึกให้นับหรือผู้ออกกำ�ลังกายนับเอง นับเพียง 10 วินาที แล้วคูณด้วย 6
เป็นจำ�นวนชีพจนต่อนาที
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
28
ตารางที่ 4 เป็นตัวอย่างแสดงอัตรา ชีพจร ที่ความหนักร้อยละ 60 และ 85
		 ในคนอายุต่าง ๆ
อายุ Max heart rate (MHR) 60% MHR 85% MHR
20 200 120 170
30 190 114 102
40 180 108 153
50 170 102 145
60 160 96 136
	 อาจจะกำ�หนดให้อย่างเหมาะสมกับแต่ละบุคคลมากขึ้นโดยใช้สูตร
คำ�นวณ คือชีพจรเป้าหมาย = ความหนักที่กำ�หนด X (อัตราเต้นสูงสุด - อัตราเต้น
ขณะพัก) + อัตราเต้นขณะพัก
		 ถ้าความหนักที่กำ�หนด 	 =	ร้อยละ 70
		 อายุของผู้ออกกำ�ลังกาย 	 = 	60 ปี
		 ชีพจรขณะพัก 	 = 	80 ครั้ง/นาที
		 ชีพจรเป้าเหมาย 	 = 	(70/100) X (160 - 80) + 80
				 = 	136 ครั้ง/นาที
	 ความเหมาะสม การจะเลือกออกกำ�ลังกายประเภทใดต้องดูให้เหมาะสม
กับวัย สุขภาพ และอาชีพ ผู้ออกกำ�ลังกายควรจะเลือกออกกำ�ลังกายที่ตนเองชอบ
และสามารถปฏิบัติได้จริง การรวมเป็นกลุ่มจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันทำ�ให้มี
ความต่อเนื่อง และยังสร้างสัมพันธภาพด้านอื่นๆ ด้วย นอกจากนั้นควรเดินขึ้นลง
บันไดแทนการใช้ลิฟต์ เดินไปที่ทำ�งานหรือตลาดแทนการใช้รถ (ถ้าระยะทาง
พอเหมาะ)
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
29
ท่ากายบริหารขาของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
	 ผู้ป่วยเบาหวาน จำ�เป็นต้องมีการปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบ
หมุนเวียนเลือดของขาและเท้า โดยการออกกำ�ลังกายเป็นประจำ� จะช่วยป้องกัน
อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
	 1. 	การเดินควรเดินวันละครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงและพยายามเพิ่มระยะทาง
เดินทีละน้อยทุกวัน
	 2. 	การเดินขึ้นบันได เดินขึ้นบันไดในลักษณะก้าวเขย่ง
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
30
	 3.	 การเหยียดกล้ามเนื้อน่อง ยืนโน้มตัวไปข้างหน้า โดยใช้มือ
เกาะผนังไว้ ยืนเท้าห่างกันเล็กน้อยให้ส้นเท้าอยู่บนพื้น พับแขนและเหยียดแขน
10 ครั้ง โดยให้หลังและขาอยู่ในแนวตรงตลอดเวลา
	 4. 	ลุกนั่งบนเก้าอี้ นั่งเก้าอี้ และลุกขึ้น - ลง 10 ครั้ง
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
31
	 5. 	บริหารปลายเท้า ยืนเอามือเกาะเก้าอี้ เดินยํ่าอยู่กับที่ โดยยกส้นเท้า
ขึ้น - ลง และให้ปลายเท้าแตะพื้นตลอดเวลา
	 6. 	งอเข่าลุกขึ้นและลง 10 ครั้ง โดยใช้มือเกาะเก้าอี้ และให้หลังตรง
ตลอดเวลา
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
32
	 7. 	เขย่งส้นเท้ายกส้นเท้าขึ้นลง ประมาณ 20 ครั้ง พยายามลงนํ้าหนัก
ตัวที่ปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วเปลี่ยนไปอีกข้างหนึ่ง
	 8.	 ยืนแกว่งขา ลงนํ้าหนักตัวบนขาข้างหนึ่งใช้มือเกาะเก้าอี้หรือโต๊ะ
แกว่งเท้าอีกข้างประมาณ 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนข้างทำ�เหมือนกัน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
33
	 9. 	สะบัดเท้า นั่งเก้าอี้โน้มตัวไปข้างหลัง สะบัดเท้าไปมาเป็นวงกลม
ประมาณ 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนข้างทำ�เหมือนกัน
การใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน
	 หากสงสัยหรือตรวจพบนํ้าตาลในปัสสาวะควรแนะนำ�ผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
โดยให้งดอาหารและนํ้าตั้งแต่เที่ยงคืน แล้วไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาลในตอนเช้า
เพื่อตรวจดูระดับนํ้าตาลในเลือดที่เรียกว่า ระดับนํ้าตาลในเลือดหลังอดอาหาร
ซึ่งในคนปกติจะมีค่าไม่เกิน 120 มก./ดล.ถ้าพบว่ามีค่ามากกว่าปกติ วินิจฉัย
ได้ว่าเป็นเบาหวาน ยิ่งมีค่าสูงมากเท่าไหร่ แสดงว่ามีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น
การรักษามักจะเริ่มด้วยการแนะนำ�เรื่องการควบคุมอาหาร การออกกำ�ลังกาย
และการปฏิบัติตัวอื่นๆ ถ้าคุมอาหารอย่างเดียวไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยารักษา
เบาหวาน โดยถือหลักดังนี้
	 1. 	ในรายที่เป็นไม่มาก (เช่น เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน) อาจให้
ยาชนิดกิน ที่นิยมใช้กันมาก คือ ยาเม็ดคลอร์โพรพาไมค์ มีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น
ไดอะบีนีสโดยมากจะมีอยู่ 2 ขนาด คือเม็ดเล็ก (100 มิลลิกรัม) และเม็ดใหญ่
(250 มิลลิกรัม) กินวันละครั้งเดียว คือ ก่อนอาหารเช้า โดยเริ่มจากขนาดน้อยก่อน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
34
คือ เม็ดเล็ก 1 เม็ด หรือเม็ดใหญ่ครึ่งเม็ดวันละครั้ง
แล้วตรวจนํ้าตาลในปัสสาวะทุกวัน ถ้ากินยาไป 10 วัน
แล้วยังมีนํ้าตาลในปัสสาวะให้เพิ่มยาอีกครั้งละ1เม็ดเล็ก
หรือครึ่งเม็ดใหญ่ ถ้ายังไม่ได้ผลก็ให้เพิ่มในขนาดนี้ทุกๆ
10 วัน จนกว่าอาการต่างๆ ทุเลาลง (อ่อนเพลียน้อยลง
ปัสสาวะห่างขึ้น กระหายนํ้าน้อยลง) หรือไม่พบนํ้าตาล
ในปัสสาวะ ก็ให้กินยาในขนาดนี้ไปเรื่อยๆ ถ้าเพิ่มยาจน
ใช้ยาเม็ดใหญ่ กินวันละครั้งถึง 2 เม็ดแล้วยังไม่ได้ผล
ก็ไม่ควรเพิ่มมากกว่านี้ ผู้ป่วยที่กินยานี้ไม่ได้ผลหรือเป็น
ผู้สูงอายุหรือเป็นโรคไตหรือโรคตับอยู่ ควรเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น เช่น ยาเม็ด
ไกลเบนคลาไมด์ ซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น ดาโอนิล, ยูกลูคอน ซึ่งมีขนาด 5 มิลลิกรัม
ควรเริ่มจากครั้งละครึ่งเม็ด ให้ได้สูงสุดวันละ 4 เม็ด
	 2. 	ในรายที่ใช้ยาชนิดกินไม่ได้ผล(โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิด
พึ่งอินซูลิน) หรือในกรณีที่มีการติดเชื้อรุนแรง หรือตั้งครรภ์หรือต้องทำ�การผ่าตัด
ด้วยโรคอื่นๆก็ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินซึ่งควรปรับให้ได้ขนาดที่พอเหมาะกับ
ผู้ป่วยแต่ละราย โดยเริ่มจากขนาดทีละน้อยก่อนเช่นเดียวกัน ส่วนมากจะสอน
ให้ผู้ป่วยหรือญาติฉีดเองที่บ้านผู้ป่วยชนิด
พึ่งอินซูลิน อาจต้องฉีดอินซูลินทุกวันไปตลอด
ชีวิตส่วนผู้ป่วยชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เมื่อควบคุม
ระดับนํ้าตาลได้ดีแล้ว อาจหันกลับมาใช้ยาชนิด
กินแทนได้
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ
35
	 3. 	ในการติดตามผลการรักษา นอกจากการตรวจปัสสาวะแล้วควร
นัดให้ผู้ป่วยมาตรวจเลือดทุก 2 - 3 เดือน ถ้าได้ตํ่ากว่า 120 ถือว่าคุมได้ดี
ระหว่าง120-180ถือว่าพอใช้และถ้าเกิน180ถือว่าไม่ดีถ้าพบผู้ป่วยเบาหวานที่ขาด
การรักษานานๆหรือสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนควรส่งโรงพยาบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ถ้าสงสัยมีภาวะคีโตซิส ควรให้นํ้าเกลือ แล้วส่งโรงพยาบาลด่วน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน
คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfMaytinee Beudam
 
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์Papawee Laonoi
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานweerawatkatsiri
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ pueniiz
 
กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลSutthiluck Kaewboonrurn
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition techno UCH
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)pueniiz
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็กRofus Yakoh
 
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.Ziwapohn Peecharoensap
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...Utai Sukviwatsirikul
 
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้introduction : ไตของเรา เราต้องรู้
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้CAPD AngThong
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆDashodragon KaoKaen
 
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงbird090533
 

Was ist angesagt? (20)

การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์27การตรวจครรภ์
27การตรวจครรภ์
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
 
Ppt. stroke1
Ppt. stroke1Ppt. stroke1
Ppt. stroke1
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
 
กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาล
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็ก
 
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
ตอบคำถามจาก Soap note กรณีศึกษา Hypertension non compliance.
 
Ppt. HT
Ppt. HTPpt. HT
Ppt. HT
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
 
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้introduction : ไตของเรา เราต้องรู้
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้
 
Ppt.เพศ
Ppt.เพศPpt.เพศ
Ppt.เพศ
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆ
 
Case study : dengue fever
Case study : dengue feverCase study : dengue fever
Case study : dengue fever
 
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง
 

Andere mochten auch

งานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวานงานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวานMuay Muay Somruthai
 
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555Utai Sukviwatsirikul
 
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)Sureerut Physiotherapist
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)Utai Sukviwatsirikul
 
Powerpointความดันโลหิตสูง
PowerpointความดันโลหิตสูงPowerpointความดันโลหิตสูง
Powerpointความดันโลหิตสูงsecret_123
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานjinchuta7
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557Utai Sukviwatsirikul
 
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงdadaauto
 
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559Kamol Khositrangsikun
 
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)Sureerut Physiotherapist
 
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวานการเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวานTangMa Salee
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558Utai Sukviwatsirikul
 
โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์
โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์
โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวานแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวานUtai Sukviwatsirikul
 
อาหารบำบัดโรคไต
อาหารบำบัดโรคไตอาหารบำบัดโรคไต
อาหารบำบัดโรคไตchalunthorn teeyamaneerat
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตTuang Thidarat Apinya
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557Chuchai Sornchumni
 

Andere mochten auch (20)

งานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวานงานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวาน
 
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
 
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน(รพ.ทัพทัน)
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
 
Powerpointความดันโลหิตสูง
PowerpointความดันโลหิตสูงPowerpointความดันโลหิตสูง
Powerpointความดันโลหิตสูง
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
 
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง
 
สุรษฏรธานี 210355
สุรษฏรธานี 210355สุรษฏรธานี 210355
สุรษฏรธานี 210355
 
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
 
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)
กายภาพบำบัดในความดันโลหิตสูง(รพ.ทัพทัน)
 
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวานการเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การเกิดปริทันต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
 
คู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการคู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการ
 
โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์
โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์
โรคเบาหวานและการตรวจวัด โดยอาจารย์ธราธิป เรืองวิทยานนท์
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวานแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน
 
อาหารบำบัดโรคไต
อาหารบำบัดโรคไตอาหารบำบัดโรคไต
อาหารบำบัดโรคไต
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557
 

Ähnlich wie คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน

Diabete Mellitus 01
Diabete Mellitus 01Diabete Mellitus 01
Diabete Mellitus 01vora kun
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานweerawatkatsiri
 
Common nutritional problems in pediatrics
Common nutritional problems in pediatricsCommon nutritional problems in pediatrics
Common nutritional problems in pediatricsPitiphong Sangsomrit
 
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์Utai Sukviwatsirikul
 
Guidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaGuidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaUtai Sukviwatsirikul
 
Guidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaGuidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaUtai Sukviwatsirikul
 
TAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
TAEM10: Endocrine Emergency - NurseTAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
TAEM10: Endocrine Emergency - Nursetaem
 
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔Puku Wunmanee
 
โปสเตอร์ตรวจสุขภาพ55
โปสเตอร์ตรวจสุขภาพ55โปสเตอร์ตรวจสุขภาพ55
โปสเตอร์ตรวจสุขภาพ55Anothai
 
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)Wan Ngamwongwan
 
TAEM10: Endocrine Emergency
TAEM10: Endocrine EmergencyTAEM10: Endocrine Emergency
TAEM10: Endocrine Emergencytaem
 
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูงงานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูงappcheeze
 
Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02vora kun
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลโรค
กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลโรคกินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลโรค
กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลโรคสปสช นครสวรรค์
 
โรคอ้วน007
โรคอ้วน007โรคอ้วน007
โรคอ้วน007Anirut007
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน 54321_
 

Ähnlich wie คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน (20)

Diabete Mellitus 01
Diabete Mellitus 01Diabete Mellitus 01
Diabete Mellitus 01
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
 
Common nutritional problems in pediatrics
Common nutritional problems in pediatricsCommon nutritional problems in pediatrics
Common nutritional problems in pediatrics
 
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
 
Guidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaGuidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemia
 
Guidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaGuidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemia
 
Diabetes
DiabetesDiabetes
Diabetes
 
TAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
TAEM10: Endocrine Emergency - NurseTAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
TAEM10: Endocrine Emergency - Nurse
 
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
หนังสือ สนองน้ำพระทัย ๕๔
 
โปสเตอร์ตรวจสุขภาพ55
โปสเตอร์ตรวจสุขภาพ55โปสเตอร์ตรวจสุขภาพ55
โปสเตอร์ตรวจสุขภาพ55
 
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
 
TAEM10: Endocrine Emergency
TAEM10: Endocrine EmergencyTAEM10: Endocrine Emergency
TAEM10: Endocrine Emergency
 
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูงงานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
 
Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ โรคอ้วน
โครงงานคอมพิวเตอร์ โรคอ้วนโครงงานคอมพิวเตอร์ โรคอ้วน
โครงงานคอมพิวเตอร์ โรคอ้วน
 
กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลโรค
กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลโรคกินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลโรค
กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลโรค
 
โรคอ้วน007
โรคอ้วน007โรคอ้วน007
โรคอ้วน007
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
 

Mehr von Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesUtai Sukviwatsirikul
 
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ Utai Sukviwatsirikul
 

Mehr von Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ
 

คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน

  • 1.
  • 2.
  • 3. แผนงานวิจัยหลัก การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำ�หน่ายผู้สูงอายุ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ Research for developing of discharge planning model for elderly patient by multidisciplinary team of The Supreme Patriarch Center on Aging งานวิจัยย่อย เรื่อง รูปแบบการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ Discharge planning model for elderly patient with diabetes mellitus by multidisciplinary team
  • 4. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ คำ�นำ� โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยและรักษาไม่หายขาด เป็นโรค ที่ต้องได้รับการควบคุมดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด การทุพพลภาพหรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จึงทำ�ให้เป็นปัญหาสำ�คัญด้าน สาธารณสุขทั้งของประเทศไทยและทั่วโลก ในปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวาน เป็นจำ�นวนมาก โดยมีจำ�นวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี มีอัตราเพิ่มเป็น 2 เท่า พบ ผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายซึ่งในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ร้อยละ 2.5 ของประชากร และคาดว่าในปีพ.ศ.2568 จะพบร้อยละ 3.7 ของ ประชากรเนื่องจากการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต้องสูญเสีย ค่าใช้จ่ายมาก โดยมุ่งหมายให้การดูแลรักษาเบาหวานมีคุณภาพและประสิทธิผล ที่ดี ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุจึงจัดทำ�คู่มือการดูแล ตนเองโรคเบาหวานฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดย สหสาขาวิชาชีพขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปมีแนวทางการดูแลตนเอง โรคเบาหวานที่สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้ โอกาสนี้ใคร่ขอขอบคุณคณะทำ�งาน และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่สละเวลาและทุ่มเทแรงกายแรงใจให้คู่มือฉบับนี้ สำ�เร็จ ลุล่วงเพื่อเผยแพร่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป คณะทำ�งานวิจัย กุมภาพันธ์ 2554 ก
  • 5. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ สารบัญ หน้า ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน 1 โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร 2 อาการของโรคเบาหวาน 2 การวินิจฉัยโรคเบาหวาน 3 ประเภทของเบาหวาน 4 ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน 7 การดูแลรักษาโรคเบาหวาน 9 อาหารสำ�หรับผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน 9 การออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน 18 ท่ากายบริหารขาของผู้ป่วยเบาหวาน 29 การใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน 33 การดูแลสุขภาพเท้าในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน 36 ข้อแนะนำ�ในการดูแลตนเอง 39 เป้าหมายการควบคุมโรคเบาหวาน 41 บรรณานุกรม 42 ข
  • 6. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 1 โรคเบาหวาน ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เบาหวาน พบได้ประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป พบได้ทุกเพศ และทุกอายุ แต่จะพบมากในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และคนที่อยู่ในเมือง มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าชาวชนบท คนอ้วนและหญิงที่มีลูกมาก มีโอกาสเป็น โรคนี้ได้มากขึ้น ร่างกายของเราประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ หลายล้านเซลล์ซึ่งทุกเซลล์ก็ ต้องการพลังงานเพื่อใช้ในการทำ�งานตามหน้าที่ของตัวเอง พลังงานที่ใช้นั้นได้รับ มาจากอาหารที่บริโภคในแต่ละวัน แต่การที่จะเปลี่ยนอาหารชิ้นใหญ่ๆ ให้กลาย เป็นพลังงานได้นั้นต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายหรือแปรสภาพให้กลายเป็นสาร อาหารที่เซลล์สามารถนำ�ไปใช้ได้ อาหารที่ย่อยแล้วจะมีโมเลกุลเล็กๆ ของนํ้าตาลที่เรียกว่า “กลูโคส” อยู่ด้วยกลูโคสเป็นสารอาหารที่ร่างกายสามารถดูดซึมผ่านผนังลำ�ไส้เข้าสู่เส้นเลือด เพื่อส่งไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ โดยอาศัยฮอร์โมนอินซูลินเป็น ตัวนำ� อินซูลินจึงทำ�หน้าที่คล้าย “นายทวาร” ที่คอยเปิดประตูให้กลูโคสเข้าไป สู่เซลล์กลูโคสที่เหลือใช้ร่างกายจะนำ�ไปเก็บสะสมไว้ที่ตับหรือกล้ามเนื้อในรูปของ กลัยโคเจนเมื่อภาวะร่างกายไม่สมดุลมีปริมาณนํ้าตาลในเลือดตํ่ากว่าปกติร่างกาย จะสั่งการให้นำ�กลัยโคเจนออกมาจากคลังที่เก็บไว้ เปลี่ยนกลับให้เป็น “กลูโคส” เพื่อใช้งาน ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องอาศัยการทำ�งานของฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่ง ที่ผลิต จากตับอ่อนเช่นเดียวกัน นั่นคือ “ฮอร์โมนกลูคากอน” ตับอ่อนจึงมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ เพื่อให้ทำ�งานประสานกันและ ยังทำ�หน้าที่ควบคุมปริมาณการผลิตให้มีปริมาณพอๆ กัน เพื่อรักษาสมดุลของ นํ้าตาลในเลือด ในบุคคลปกติ ตับอ่อนจะทำ�หน้าที่ผลิตฮอร์โมนทั้งสองชนิด อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
  • 7. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 2 โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร สำ�หรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้น การทำ�งานของตับอ่อนในการผลิต ฮอร์โมนอินซูลินจะบกพร่อง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลิน ได้อย่างเพียงพอหรือผลิตอินซูลินได้แต่อินซูลินนั้นไม่ปกติภาวะเช่นนี้ก็จะทำ�ให้ ไม่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ เนื่องจากการทำ�งานระหว่างฮอร์โมน อินซูลินและกลูคากอนเสียสมดุลไป ผลที่เกิดขึ้นคือการมีนํ้าตาลตกค้างในเลือด ซึ่งกระทบไปถึงไตที่ทำ�หน้าที่กรองของเสียทำ�ให้ไตต้องทำ�งานหนักขึ้น และ ไม่สามารถกรองเอานํ้าตาลออกจากปัสสาวะได้หมดทำ�ให้มีนํ้าตาลปนมากับ ปัสสาวะ ปัสสาวะจึงมีรสหวานเป็นที่มาของการเกิดโรค “เบาหวาน” อาการของโรคเบาหวาน  ปัสสาวะบ่อยและจำ�นวนมาก ปัสสาวะช่วงกลางคืน เกิดจากการ ที่นํ้าตาลรั่วมากับปัสสาวะและดึงนํ้าออกมาด้วย  คอแห้ง ดื่มนํ้ามาก กระหายนํ้า เกิดจาการที่ร่างกายสูญเสียนํ้ามาก ทางปัสสาวะ  หิวบ่อยทานจุ แต่นํ้าหนักลดและอ่อนเพลีย เกิดจากการที่ร่างกาย ใช้กลูโคสเป็นอาหารไม่ได้ต้องใช้โปรตีนและไขมันเป็นพลังงานแทน  แผลหายยาก มีการติดเชื้อทาง ผิวหนัง เกิดแผลได้บ่อย นํ้าตาลที่สูงทำ�ให้การ ทำ�งานของเม็ดเลือดขาวลดลง  คันตามผิวหนัง ติดเชื้อราง่าย โดย เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้ป่วยหญิง
  • 8. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 3  ตาพร่ามัว อาจเกิดจากนํ้าตาลคั่งในเลนซ์ตา โรคจอประสาทตา จากเบาหวานหรือต้อกระจก  ชา ปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือและปลายเท้า การวินิจฉัยโรคเบาหวาน การวินิจฉัยอาศัยการตรวจระดับนํ้าตาลในเลือด ดังนี้ 1. มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนดังกล่าวข้างต้น และมีระดับนํ้าตาล ในเลือดมากว่า 200 มก./ดล.โดยไม่จำ�เป็นต้องอดอาหาร 2. ระดับนํ้าตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง 3. การตรวจโดยการให้รับประทานกลูโคส 75 กรัม พบว่ามีระดับ นํ้าตาลหลังรับประทานกลูโคส ตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป ระดับนํ้าตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าที่อยู่ในช่วง 100 - 125 มก./ดล. เรียกว่า“ระดับนํ้าตาลขณะอดอาหารผิดปกติ” ระดับนํ้าตาลหลังรับประทานกลูโคส 75 กรัม ที่อยู่ในช่วง 140 - 199 มก./ดล. เรียกว่า “ความทนต่อนํ้าตาลบกพร่อง” ทั้งสองภาวะนี้เรียกรวมกันว่าเป็น “ระยะก่อนเป็นเบาหวาน”
  • 9. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 4 ผู้ที่ควรตรวจหาโรคเบาหวาน  ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานดังกล่าวข้างต้น  อายุมากกว่า 40 ปี  มีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน  เคยมีระดับนํ้าตาลอยู่ในระยะก่อนเบาหวาน  เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์  คลอดบุตรหนักมากกว่า 4 กก.  มีความดันโลหิตสูง  มีไขมันในเลือดผิดปกติ  มีโรคหลอดเลือดตีบแข็ง  มีโรคที่บ่งว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ได้แก่ โรครังไข่มีถุงนํ้าหลายถุง ประเภทของโรคเบาหวาน เบาหวานชนิดที่ 1 คือเบาหวานชนิดที่พึ่งอินซูลิน เป็นเบาหวานชนิด ที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง พบในเด็กและวัยรุ่น อายุน้อยกว่า 25 ปี ในประเทศไทยพบน้อยกว่า 5% เบาหวานชนิดนี้ เกิดจากการที่ตับอ่อน ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ เนื่องจากเซลล์ที่ทำ�หน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลินผิดปกติ ทำ�ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดอินซูลิน ผู้ป่วยจำ�เป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้า ทดแทนในร่างกาย (ผลิตอินซูลินได้) จึงจะสามารถเผาผลาญนํ้าตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำ�ให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และเมื่อ ร่างกายเกิดภาวะขาดอินซูลิน นํ้าตาลก็ไม่สามารถเข้าไปในเซลล์เพื่อให้พลังงานได้ จึงตกค้างในเลือดจนเกิดภาวะปริมาณนํ้าตาลในเลือดสูง ส่วนเซลล์เมื่อไม่ได้รับ นํ้าตาลก็ต้องหาแหล่งพลังงานใหม่มาทดแทนจึงหันไปย่อยสลายไขมันและโปรตีน เพื่อให้ได้พลังงาน ทำ�ให้เกิด “สารคีโตน” ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ
  • 10. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 5 ไขมัน มีฤทธิ์เป็นกรดและเป็นพิษต่อระบบประสาท เกิดอาการของภาวะกรด คั่งในเลือดจากสารคีโตน คือ หายใจหอบลึกเมื่อหายใจออกมาจะมีกลิ่นเหมือน ผลไม้ ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้ - อาเจียน ระดับความรู้สึกตัวจะค่อยๆ ลดลง ถ้าไม่ได้รักษาอย่างทันท่วงทีจะช็อกหมดสติ อาการที่เกิดขึ้นนี้มักเป็นอย่างรุนแรง และเกิดขึ้นโดยกะทันหัน ทำ�ให้ผู้ป่วยถึงตายได้รวดเร็ว เบาหวานชนิดที่2คือเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลินในประเทศไทยพบ มากกว่า 95% ซึ่งมักจะมีความรุนแรงน้อย พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 40ปีขึ้นไปและมีอัตราการป่วยที่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนอายุมักพบในผู้หญิงมากกว่า ผู้ชายเบาหวานชนิดที่2นี้ตับอ่อนสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ปริมาณที่ได้ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการ ฉะนั้นผู้ป่วยบางรายจึงอาจไม่มีอาการแสดงออกของโรค เลย หรืออาจจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป จนถึงขั้นแสดงอาการรุนแรงหรือ หมดสติและเสียชีวิตได้ สาเหตุของการหมดสติของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้เกิดจาก ภาวะนํ้าตาลในเลือดสูงมาก ทำ�ให้ร่างกายพยายามขับนํ้าตาลออกมาทางปัสสาวะ จนทำ�ให้ผู้ป่วยเสียนํ้ามาก เมื่อร่างกายเกิดภาวะขาดนํ้า ไตก็ทำ�งานลดลง เป็นผลให้นํ้าตาลในเลือดสูงขึ้นอีกเพราะร่างกายไม่สามารถขับออกไปได้ ผู้ป่วย ก็จะหมดความรู้สึกลงเรื่อยๆ จนหมดสติไป ผู้ป่วยมักไม่เกิดภาวะคีโตซิส เช่น ที่เกิดกับชนิดพึ่งอินซูลิน การควบคุมอาหาร หรือการใช้ยาเบาหวานชนิดกิน ก็มัก จะได้ผลในการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ปกติได้ หรือบางครั้งถ้าระดับนํ้าตาล สูงมากๆก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราวแต่ไม่ต้องใช้อินซูลินตลอดไปจึงถือว่า ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน
  • 11. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 6 ตาราง 1 เปรียบเทียบเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เบาหวานประเภทที่ 1 เบาหวานประเภทที่ 2 กลุ่มอายุ มักเกิดกับผู้มีอายุน้อยกว่า40ปี มักเกิดกับผู้มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป นํ้าหนักตัว ผอม อ้วน การทำ�งาน ของตับอ่อน ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ - สามารถผลิตอินซูลินได้บ้าง - ผลิตได้ปกติแต่อินซูลินไม่มี ประสิทธิภาพ - เซลล์ร่างกายต่อต้านอินซูลิน การแสดง ออกของ อาการ เกิดอาการรุนแรง - ไม่มีอาการเลย - มีอาการเล็กน้อย - อาการรุนแรง จนช็อก หมดสติได้
  • 12. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 7 ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือ จอตาเสื่อม หรือเลือดออกในนํ้าวุ้นลูกตา ทำ�ให้มี อาการตามัวลงเรื่อยๆ หรือมองเห็นจุดดำ�ลอยไป ลอยมา และอาจทำ�ให้ตาบอดในที่สุด ผนังหลอดเลือดแดงแข็งทำ�ให้เป็นโรคความ ดันโลหิตสูง,อัมพาต,โรคหัวใจขาดเลือดถ้าหลอดเลือด ที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงไม่พออาจทำ�ให้เท้าเย็น เป็นตะคริวหรือปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำ�ให้ เป็นแผลหายยากหรือเท้าเน่า (ซึ่งอาจเกิดร่วมกับ การติดเชื้อ) ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย มีอาการ บวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการตาย ของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน
  • 13. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 8 ระบบประสาทผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาท อักเสบ มีอาการชาหรือปวดร้อนตามปลายมือ ปลายเท้า ซึ่งอาจทำ�ให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย (อาจลุกลามจนเท้าเน่า) บางคนอาจมีอาการ วิงเวียนเนื่องจากมีภาวะความดันตกในท่ายืน บางคนอาจไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือท้องเดิน ตอนกลางคืนบ่อย หรือกระเพาะปัสสาวะ ไม่ทำ�งาน (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือไม่มีแรงเบ่ง ปัสสาวะ) ภาวะคีโตซิส พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ร่างกาย จะมีการคั่งของสารคีโตน ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญไขมัน ผู้ป่วยจะมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน กระหายนํ้าอย่างมาก หายใจหอบลึก ลมหายใจมีกลิ่น มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดนํ้ารุนแรง (ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันตํ่า ชีพจร เบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหมด สติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย จากภูมิต้านทานโรคตํ่า เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, ช่องคลอดอักเสบ (ตกขาวและ คันในช่องคลอด), เป็นฝีพุพองบ่อย,เท้าเป็นแผล ซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า (อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา) เป็นต้น
  • 14. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 9 อาหารสำ�หรับผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน อาหารที่ควรงดได้แก่นํ้าตาลขนมหวานนํ้าอัดลมนมข้นหวานนํ้าผลไม้ ที่มีนํ้าตาลประมาณ 8 - 15% ยกเว้นนํ้ามะเขือเทศมีนํ้าตาลประมาณ 1% และ งดอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ควรเพิ่ม ได้แก่ อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง อาหารที่มีดัชนี นํ้าตาลตํ่า เช่น วุ้นเส้น ข้าวกล้อง ฝรั่ง แก้วมังกร ผู้ป่วยเบาหวานใช้นํ้าตาลเทียมได้เท่าไร นํ้าตาลเทียมที่ขายในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นแอสปาร์แทม ซึ่งมี รสหวานเป็น 200 เท่าของนํ้าตาลทราย แอสปาร์แทม 1 ซอง (38 มิลลิกรัม) ให้ความหวานเท่ากับนํ้าตาล 2 ช้อนชา จากการทดสอบความปลอดภัย อนุญาต ให้ใช้ได้วันละ 50 มิลลิกรัมต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในปริมาณ น้อยกว่านี้มาก แต่แอสปาร์แทมทนความร้อนสูงไม่ได้ จึงต้องให้ใส่หลังประกอบ อาหารแล้ว ผู้ป่วยที่ยังคงติดรสหวาน สามารถใช้ใส่ในอาหาร หรือเครื่องดื่มได้ ผู้ป่วยต้องการดื่มนํ้าอัดลมควรดื่มประเภทที่มีคำ�ว่า ไดเอทซึ่งใช้สารนี้แทนนํ้าตาล ฟรุคโตส เป็นนํ้าตาลผลไม้ มีรสหวานกว่านํ้าตาลทรายเกือบ 2 เท่า จึงใช้ปริมาณน้อยกว่านํ้าตาลทราย ทำ�ให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงช้ากว่า นํ้าตาลทราย แต่ถ้ารับประทานในปริมาณมาก จะทำ�ให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูง ได้เช่นเดียวกัน และยังอาจทำ�ให้ไขมันในเลือดสูง นํ้าตาลฟรุคโตสให้พลังงาน เท่ากับนํ้าตาล จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่อ้วน การดูแลรักษาโรคเบาหวาน
  • 15. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 10 ปริมาณอาหารที่แนะนำ� 1 วัน สำ�หรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีนํ้าหนักตัวเกิน (พลังงาน 1,200 กิโลแคลอรี่) กลุ่มอาหารต่างๆ ปริมาณที่แนะนำ� ข้าว แป้ง 6 ทัพพี ผัก 3 - 4 ทัพพี ผลไม้ 2 - 3 ส่วน เนื้อสัตว์ไขมันตํ่า 5 ช้อนโต๊ะ นมพร่องมันเนย 1 แก้ว นํ้ามันพืช 3 - 4 ช้อนชา นํ้าตาลทราย ไม่เกิน 3 ช้อน ปริมาณอาหารที่แนะนำ� 1 วัน สำ�หรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมีนํ้าหนักตัวปกติ (พลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี่) กลุ่มอาหารต่างๆ ปริมาณที่แนะนำ� ข้าว แป้ง 8 ทัพพี ผัก 4 - 6 ทัพพี ผลไม้ 3 - 4 ส่วน เนื้อสัตว์ไขมันตํ่า 6 ช้อนโต๊ะa นมพร่องมันเนย 1 - 2 แก้ว นํ้ามันพืช 5 ช้อนชา นํ้าตาลทราย ไม่เกิน 4 - 5 ช้อน a หากไม่ดื่มนมควรเพิ่มเนื้อสัตว์เป็น 8 - 10 ช้อนโต๊ะต่อวัน
  • 16. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 11 ปริมาณอาหารที่แนะนำ� 1วัน สำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับนํ้าตาลได้ดี (พลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี่) กลุ่มอาหารต่างๆ ปริมาณที่แนะนำ� ข้าว แป้ง 8 ทัพพี ผัก 4 - 6 ทัพพี ผลไม้ 3 - 4 ส่วน เนื้อสัตว์ไขมันตํ่า 6 ช้อนโต๊ะa นมพร่องมันเนย 1 - 2 แก้ว นํ้ามันพืช 5 ช้อนชา นํ้าตาลทราย ไม่เกิน 6 ช้อน a หากไม่ดื่มนมควรเพิ่มเนื้อสัตว์เป็น 8 - 10 ช้อนโต๊ะต่อวัน ตัวอย่างปริมาณอาหาร 1 ส่วน 1. ข้าว แป้ง 1 ทัพพี มีพลังงาน 80 กิโลแคลอรี่ ข้าวกล้อง 1 ทัพพี วุ้นเส้น 1 ทัพพี
  • 17. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 12 ขนมปัง 1 แผ่น ข้าวเหนียว 1 ทัพพี 2. ผัก 1 ทัพพี มีพลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ กะหลํ่าดอก 1 ทัพพี ข้าวโพดอ่อน 1 ทัพพี ผักบุ้งจีน 1 ทัพพี มะเขือเทศ 1 ทัพพี
  • 18. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 13 3. ผลไม้ 1 ส่วน มีพลังงาน 60 กิโลแคลอรี่ มะละกอสุก 1 ส่วน มังคุด 1 ส่วน แก้วมังกร 1 ส่วน กล้วยนํ้าว่า 1 ส่วน
  • 19. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 14 4. เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ มีพลังงาน 75 กิโลแคลอรี่ เนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ ปลาทู 1 ตัว ไข่ไก่ 1 ฟอง กุ้ง 4 ตัว ลูกชิ้น 5 ลูก เต้าหู้ หลอด
  • 20. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 15 5. นมพร่องมันเนย 1 แก้ว (240 ซีซี) มีพลังงาน 120 กิโลแคลอรี่ นมพร่องมันเนย 1 แก้ว 6. ไขมัน 1 ส่วน พลังงาน 45 กิโลแคลอรี่ นํ้ามันพืช 1 ช้อนชา เนย ก้อน
  • 21. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 16 หัวกะทิ 1 ช้อนโต๊ะ นํ้าสลัด 1 ช้อนโต๊ะ 7. นํ้าตาลทราย 1 ช้อนชา พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่ นํ้าตาลทราย 1 ช้อนชา
  • 22. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 17 สรุปการเลือกรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด 1. รับประทานข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ได้ตามปกติ นอกจากผู้ที่อ้วนให้ ลดลงครึ่งหนึ่ง 2. รับประทานผลไม้ตามจำ�นวนที่กำ�หนด วันละ 2 - 3 ครั้งแทนขนม 3. รับประทานผักให้มากขึ้นทุกมื้อ 4. รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง 5. รับประทานไข่สัปดาห์ละ 2 - 3 ฟอง ถ้าไขมันในเลือดสูงให้งดไข่แดง 6. รับประทานปลา และเต้าหู้ให้บ่อยขึ้น 7. ใช้นํ้ามันพืชจำ�พวกนํ้ามันถั่วเหลือง นํ้ามันรำ�ข้าวในการทอด ผัดอาหารแต่พอควร 8. เลือกดื่มนมไม่มีไขมัน นมพร่องมันเนยแทนนํ้านมปรุงแต่งรส 9. หลีกเลี่ยงนํ้าหวาน นํ้าอัดลม ลูกอม ช็อกโกแลตและขนมหวานจัด ต่าง ๆ 10. หลีกเลี่ยงอาหารใส่กะทิ ไขมันสัตว์ อาหารทอด รวมทั้ง ขนมอบ 11. รับประทานผัก ผลไม้ทั้งกากแทนการคั้นดื่มแต่นํ้า 12. เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ต้ม นึ่ง ย่าง ผัด ที่ใช้นํ้ามันน้อยแทนการทอด 13. ใช้นํ้าตาลเทียมใส่เครื่องดื่มและอาหารแทนการใช้นํ้าตาลทราย 14. รับประทานอาหารรสอ่อนเค็ม จะเห็นว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานในปัจจุบัน มีอิสระในการเลือกอาหาร มากขึ้น และอาหารที่แนะนำ�ให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็มิได้แตกต่างจากอาหาร คนปกติ แต่จะเป็นลักษณะของอาหารที่มีนํ้าตาลน้อย ไขมันตํ่า รสอ่อนเค็ม ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานจำ�เป็นต้องเรียนรู้วิธีการเลือกชนิดอาหาร ปริมาณที่รับประทาน การแลกเปลี่ยนและการทดแทนอาหาร เพื่อจะสามารถควบคุมระดับนํ้าตาล ในเลือดได้อย่างสมํ่าเสมอ
  • 23. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 18 การออกกำ�ลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานกับกิจกรรมออกแรงและการออกกำ�ลังกาย เมื่อออกแรงหรือออกกำ�ลังกาย ผู้ป่วยเบาหวานจะมีการตอบสนองของ ฮอร์โมนและการเปลี่ยนแปลงของระดับนํ้าตาลต่างจากคนปกติผู้ป่วยเบาหวานพึ่ง อินซูลินและผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่พึ่งอินซูลินมีการตอบสนองต่อการออกกำ�ลังกาย ไม่เหมือนกัน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ระดับอินซูลินในเลือดอาจไม่เหมาะสม เนื่องจากวิธีการให้อินซูลินโดยการฉีดใต้ผิวหนังวันละ1-2ครั้งยาจะดูดซึมเข้าสู่กระแส โลหิตตามระยะเวลาของการฉีด ชนิดของยาและสภาพการดูดซึมของตำ�แหน่งที่ฉีด ตารางที่ 2 แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากระดับอินซูลินที่สูงหรือตํ่าเกินไป จะเห็นได้ชัดเจนว่าถ้าหากผู้ป่วยมีระดับอินซูลินสูงจะเกิดภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่าจาก การออกกำ�ลังกายได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นขณะออกกำ�ลังกายหรือหลังการออกกำ�ลังกาย แล้ว เนื่องจากระดับอินซูลินที่สูงจะยับยั้งการสร้างและปลดปล่อยนํ้าตาลจากตับ รวมทั้งการสลายของไขมันอีกทั้งกล้ามเนื้อสามารถใช้นํ้าตาลได้มากขึ้น ผลรวมคือ ระดับนํ้าตาลลดลงนอกจากนี้หลังการออกกำ�ลังกายการเผาผลาญพลังงานในอัตรา สูงยังคงดำ�เนินอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นการเผาผลาญกรดไขมันอิสระ ภาวะนํ้าตาลตํ่าจาก การออกกำ�ลังกายอาจเกิดขึ้นหลังการออกกำ�ลังกายแล้วนานถึง 12 ชั่วโมง ในทาง ตรงกันข้ามถ้าหากระดับอินซูลินไม่เพียงพอจะมีผลทำ�ให้นํ้าตาลในเลือดสูงขึ้นโดย ตับสร้างและปลดปล่อยนํ้าตาลออกมามาก ส่วนกล้ามเนื้อไม่สามารถใช้นํ้าตาลเพิ่ม ขึ้นและอาจทำ�ให้เกิดภาวะกรดเกินได้ เนื่องจากมีการสลายตัวของไขมันมาก ดังนั้น การออกกำ�ลังกายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน จึงต้องคำ�นึงถึงระดับนํ้าตาล และจำ�เป็นต้องปรับอาหารและ/หรือยาให้เหมาะสมตามระยะเวลาที่จะ ออกกำ�ลังกายและประเภทของการออกกำ�ลังกายด้วย
  • 24. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 19 ตารางที่ 2 การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานในผู้ป่วยเบาหวานขณะออกกำ�ลังกาย สัมพันธ์กับระดับอินซูลิน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขณะออกกำ�ลังกาย อินซูลินมากไป อินซูลินน้อยไป การสร้างและปลดปล่อยนํ้าตาลโดยตับ ลดลง เพิ่มขึ้น การใช้นํ้าตาลโดยกล้ามเนื้อ เพิ่มขึ้น คงที่ การสลายไขมันและระดับกรดไขมันอิสระ ลดลง เพิ่มขึ้น ระดับนํ้าตาลในเลือด ลดลง เพิ่มขึ้น สำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน การออกกำ�ลังกายจะเพิ่มการ หลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์ในผู้ป่วยที่การหลั่งอินซูลินน้อย แต่ระดับอินซูลินใน เลือดไม่เพิ่มขึ้น สำ�หรับผู้ป่วยที่มีระดับอินซูลินสูงการออกกำ�ลังกายมีผลทำ�ให้ ประสิทธิภาพของอินซูลินดีขึ้น เห็นได้จากการที่ระดับอินซูลินลดลงในขณะที่ นํ้าตาลในเลือดคงที่หรือลดลงด้วย แต่เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานไม่พึ่งอินซูลิน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุมากอาจมีปัญหาสุขภาพด้านอื่นโดยเฉพาะระบบ หัวใจและหลอดเลือด ระบบหายใจ และระบบกล้ามเนื้อและไขข้อ ซึ่งทำ�ให้มี ปัญหาในการออกกำ�ลังกายได้ ข้อกำ�หนดและการปฏิบัติสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินเมื่อออกกำ�ลังกาย ผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินส่วนใหญ่อายุน้อย มักไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ ระบบหลอดเลือดหัวใจและอื่นๆ แต่ถ้าอายุมากหรือเป็นมานานก็จำ�เป็นต้องตรวจ ร่างกายเช่นเดียวกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ข้อกำ�หนดและการปฏิบัติ เน้นหนักเกี่ยวกับยาฉีดอินซูลินและอาหาร โดยสัมพันธ์กับประเภทและระยะเวลา ของการออกกำ�ลังกาย ซึ่งได้แก่
  • 25. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 20 1. โปรแกรมการออกกำ�ลังกาย ต้องคำ�นึงว่าเป็นการออกกำ�ลังกาย ประจำ�หรือเป็นครั้งคราว ถ้าผู้ป่วยออกกำ�ลังกายเป็นประจำ�อยู่แล้วจะไม่มี ปัญหามากเพราะมีการปรับยาและอาหารมาแล้วระยะหนึ่ง ผู้ที่ทำ�เป็นครั้งคราว หรือเพิ่งเริ่มทำ�จะต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของระดับนํ้าตาลอย่างใกล้ชิด อีกประการหนึ่งผู้เริ่มต้นหรือผู้ที่ทำ�เป็นครั้งคราวสมรรถภาพอาจไม่ดีพอ ควรออกกำ�ลังกายแต่พอสมควร เพราะการออกกำ�ลังกายที่นานหรือหักโหม จะต้องใช้พลังงานมากกว่า 2. ยาฉีดอินซูลินปริมาณยาฉีดอาจคงที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่ระดับ การควบคุมนํ้าตาล ผู้ที่ควบคุมนํ้าตาลได้ดีต้องการลดนํ้าหนัก ควรลดปริมาณยา ฉีดลงและไม่เพิ่มอาหาร ถ้าเบาหวานควบคุมไม่ได้จำ�เป็นต้องเพิ่มยาฉีดอินซูลิน เพื่อลดนํ้าตาลลงจนถึงระดับปลอดภัยจึงค่อยออกกำ�ลังกาย ถ้าไม่มีปัญหาเรื่อง นํ้าหนักตัวและระดับนํ้าตาล ส่วนใหญ่มักฉีดยาปริมาณเท่าเดิมและเพิ่มอาหาร ชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปจากการออกกำ�ลังกายการฉีดอินซูลิน ถ้าเป็นไปได้ควร เลี่ยงการฉีดอินซูลินที่แขนหรือขาวันที่ออกกำ�ลังกาย เนื่องจากขณะออกกำ�ลังกาย เลือดจะถูกสูบฉีดไปบริเวณกล้ามเนื้อที่ออกกำ�ลังกายมากขึ้นรวมทั้งบริเวณ ใกล้เคียง ทำ�ให้การดูดซึมยาจากที่ฉีดมากและเร็วขึ้นไม่ควรออกกำ�ลังกายในช่วง ที่ยาฉีดออกฤทธิ์สูงสุดเพราะอาจทำ�ให้เกิดระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่า 3. การรับประทานอาหารและการดื่มนํ้า ไม่ควรออกกำ�ลังกาย หลังรับประทานอาหารมื้อหลักใหม่ๆ เนื่องจากขณะที่มีการย่อยอาหารและ การดูดซึมอาหารปริมาณเลือดหมุนเวียนไปที่ทางเดินอาหารมากขึ้น ในผู้ป่วย ที่เบต้าเซลล์ยังทำ�งานอยู่บ้างจะหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น จึงควรออกกำ�ลังกาย หลังอาหารมื้อหลักแล้ว 2 ชั่วโมงหรืออย่างน้อย 1 ชั่วโมง ถ้าหากออกกำ�ลัง กายหลังรับประทานอาหารนานเกิน 4 ชั่งโมง จะต้องพิจารณาว่าควรให้อาหาร ว่างก่อนการออกกำ�ลังกายหรือไม่มากน้อยเท่าใด ขึ้นกับระดับนํ้าตาลในเลือด บางครั้งจำ�เป็นต้องเพิ่มอาหารในระหว่างการออกกำ�ลังกายหรือหลังการ ออกกำ�ลังกายด้วย สำ�หรับนํ้าควรดื่มนํ้าเปล่าให้มากพอจนไม่รู้สึกกระหายนํ้า ถ้าออกกำ�ลังกายกลางแดดหรือในอากาศร้อนควรดื่มนํ้ามากขึ้น
  • 26. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 21 4. การตรวจระดับนํ้าตาลในเลือด ผู้ที่เริ่มออกกำ�ลังกายใหม่ๆ ควรตรวจเช็คระดับนํ้าตาลในเลือดก่อน ระหว่างและหลังการออกกำ�ลังกาย เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดและใช้สำ�หรับเป็นแนวทางปรับยาฉีดและ เสริมอาหาร เมื่อทำ�เป็นประจำ�จนคุมปริมาณการเปลี่ยนแปลงของระดับนํ้าตาล ได้แล้วอาจทำ�เป็นครั้งคราวได้ ผู้ที่เกิดกระบวนการสลายไขมันบ่อยหรือรวดเร็ว ควรตรวจหาระดับคีโตนในปัสสาวะเมื่อระดับนํ้าตาลในเลือดสูงกว่า 250 มก./ดล. ถ้าพบมีคีโตนต้องงดการออกกำ�ลังกายผู้ที่ออกกำ�ลังกายหักโหมกว่าเดิมต้องตรวจ ระดับนํ้าตาลเมื่อรู้สึกมีอาการของภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่าและก่อนเข้านอน แม้จะ เป็นหลังการออกกำ�ลังกายนานแล้วก็ตาม เพื่อประเมินและป้องกันการเกิดภาวะ นํ้าตาลในเลือดตํ่า
  • 27. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 22 ตารางที่ 3 ข้อกำ�หนดเกี่ยวกับอาหารและการออกกำ�ลังกายสำ�หรับผู้ป่วย เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ชนิดของการ ออกกำ�ลังกาย ตัวอย่าง ระดับ นํ้าตาล (มก./ดล.) ข้อปฏิบัติ เบา เดิน ถีบจักรยานช้า ๆ >80 <80 รับประทานอาหาร คาร์โบไฮเดรต 10 - 15 กรัม/ชั่วโมง หนักปานกลาง วิ่งเหยาะ ๆ เทนนิส ถีบจักรยาน >300 180 - 300 80 - 179 <80 ห้ามออกกำ�ลังกาย รับประทานอาหาร คาร์โบไฮเดรต 10 - 15 กรัม/ชั่วโมง รับประทานอาหารว่างก่อน ออกกำ�ลังกาย** และเสริม คาร์โบไฮเดรต 10 - 15 กรัม/ชั่วโมง* หนักมาก ฟุตบอล บาสเกตบอล ว่ายนํ้า ถีบจักรยานเร็วๆ >300 180 - 300 80 - 179 ห้ามออกกำ�ลังกาย รับประทานอาหาร คาร์โบไฮเดรต 10 - 15 กรัม/ชั่วโมง รับประทานอาหารว่างก่อน ออกกำ�ลังกาย** และเสริม คาร์โบไฮเดรต 10 - 15 กรัม/ชั่วโมง*
  • 28. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 23 ข้อกำ�หนดและการปฏิบัติสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เมื่อออกกำ�ลังกาย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอายุมาก มีโรคอื่นร่วมด้วยหรือเป็นมานานจนมีโรค แทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวาน ขนาดนํ้าหนักตัวของผู้ป่วยต่างกันมากและยา ที่ใช้ควบคุมระดับนํ้าตาลมีหลายรูปแบบ ข้อกำ�หนดและการปฏิบัติจึงต้องปรับ ให้เหมาะสมสำ�หรับในแต่ละกรณี ได้แก่ 1. การซักประวัติและการตรวจร่างกายโดยละเอียด จำ�เป็นต้องทำ� ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานานและผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ควรตรวจสุขภาพ จอตาว่ามีจอตาเสื่อมที่รุนแรงหรือไม่ มีภาวะแทรกซ้อนที่ใดหรือไม่ เพราะการ ออกกำ�ลังกายอาจทำ�ให้ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เลวลง ตรวจหาความผิดปกติของ ระบบประสาทเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่ไขข้อกล้ามเนื้อและผิวหนังอาจต้องตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือถ้ามีข้อสงสัยต้องทำ�การทดสอบสมรรถภาพการทำ�งานของ หัวใจและหลอดเลือดเพื่อหาความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำ�ลังกาย ก่อนเริ่มโปรแกรมการออกกำ�ลังกาย 2. โปรแกรมการออกกำ�ลังกาย ควรจัดเป็นโปรแกรมประจำ� เลือก การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมโดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจมีปัญหาข้อเข่า ข้อเท้า หรือ ข้อสะโพกจึงต้องเลี่ยงการออกกำ�ลังกายที่ต้องลงนํ้าหนักที่ข้อต่างๆ เหล่านี้ 3. ยาลดนํ้าตาล ผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีดอินซูลินให้ปฏิบัติเหมือนกับผู้ป่วย เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน สำ�หรับผู้ป่วยที่ใช้ยารับประทานให้ใช้ยาเท่าเดิม เมื่อเริ่มต้น ตรวจดูการเปลี่ยนแปลง แล้วจึงปรับยาลงถ้าระดับนํ้าตาลลดลงกว่า ที่ควรจะเป็น ในรายที่นํ้าตาลในเลือดยังควบคุมไม่ได้ควรควบคุมอาหารให้ดีขึ้น เมื่อออกกำ�ลังกาย สมํ่าเสมอแล้วระดับนํ้าตาลจะดีขึ้น ผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักตัวเกิน มาตรฐาน ถ้าออกกำ�ลังกายและควบคุมอาหารจนสามารถลดนํ้าหนักตัวได้ ส่วนใหญ่ระดับนํ้าตาลจะดีขึ้นผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานยาลดนํ้าตาลไม่ต้องมี ข้อปฏิบัติพิเศษ แต่ยังต้องควบคุมปริมาณอาหารตามกำ�หนด
  • 29. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 24 4. อาหารและนํ้า ผู้ป่วยที่ฉีดยาอินซูลินปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับผู้ป่วย เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินผู้ป่วยที่ผอมหรือนํ้าหนักตัวปกติและควบคุมระดับนํ้าตาล ได้ดี ถ้าออกกำ�ลังกายหนักและ/หรือนานต้องรับประทานอาหารว่างก่อน ออกกำ�ลังกายเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ฉีดยาอินซูลิน ผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมนํ้าหนัก ไม่ต้องเพิ่มหรือเสริมอาหารเมื่อออกกำ�ลังกาย 5. การตรวจระดับนํ้าตาลในเลือด ผู้ป่วยที่ฉีดยาอินซูลินให้ปฏิบัติ เหมือนกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ผู้ป่วยที่กินยาถ้าระดับนํ้าตาลควบคุมดี เมื่อออกกำ�ลังกายมากและนาน ควรตรวจระดับนํ้าตาลหลังการออกกำ�ลังกาย และระวังการเกิดระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่า สำ�หรับกรณีทั่วไปตรวจเช็คระดับ นํ้าตาลเป็นครั้งคราวตามกำ�หนดได้ ผลกระทบการตอบสนองของการออกกำ�ลังกาย โดยปกติร่างกายจะมีการทำ�งานร่วมกันของฮอร์โมนและขบวนการ เผาผลาญ (การใช้พลังงาน) ผลคือ ทำ�ให้มีการรักษาความสมดุลของระดับนํ้าตาล กลูโคส ความเข้มข้นของอินซูลินในคนที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่ตอบสนองต่อการ ออกกำ�ลังกายโดยวิธีปกติ และความสมดุลระหว่างนํ้าตาลกลูโคสที่ผลิตจากตับ ผลกระทบการออกกำ�ลังกายของโรคเบาหวาน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัย ประกอบด้วย  การใช้และชนิดของการให้ยาที่มีระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่า (อินซูลิน)  การเลือกเวลาการใช้ยา  ระดับนํ้าตาลในเลือดต่อการออกกำ�ลังกาย  ภาวะแทรกซ้อนและความรุนแรงของการเกิดโรคแทรกซ้อน  การใช้ยาชนิดอื่นๆ ในระยะที่ 2 ของการเกิดโรคแทรกซ้อน  ความหนัก ช่วงเวลาและชนิดของการออกกำ�ลังกาย
  • 30. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 25 ผลกระทบของการฝึกออกกำ�ลังกาย 1. ช่วยปรับปรุงการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ดีขึ้นในเบาหวาน ชนิดที่ 2 แต่สำ�หรับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 การออกกำ�ลังกายจะส่งเสริมให้ได้รับ ประโยชน์ด้านอื่นๆ ซึ่งมีระดับนํ้าตาลในเลือดที่เหมาะสม (น้อยกว่า 250 มก./ดล.) 2. ช่วยปรับปรุงการกระตุ้นอินซูลินทำ�ให้มีความต้องการใช้ยาใน ระดับตํ่า การฝึกออกกำ�ลังกายมีผลช่วยปรับปรุงอินซูลินและเป็นการสังเคราะห์ โปรตีนทำ�ให้ลดการใช้อินซูลินรักษา 3. ลดนํ้าหนัก (ลดความอ้วน) การสูญเสียนํ้าหนักจะเพิ่มการกระตุ้น อินซูลินและอาจลดจำ�นวนอินซูลินลง ดังนั้น การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสม ควรพิจารณาถึงวิธีการลดนํ้าหนักอย่างมีประสิทธิภาพ และทำ�ให้อาการของ โรคเบาหวานดีขึ้น 4. ผลประโยชน์ต่อหัวใจ การออกกำ�ลังกายสมํ่าเสมอจะลดอัตราเสี่ยง ของการเป็นโรคหัวใจ 5. ลดความเครียด ความเครียดสามารถทำ�ลายการควบคุมของ โรคเบาหวานโดยเพิ่มจำ�นวนการผลิตฮอร์โมน, คีโตน, กรดไขมันและยูเรีย ดังนั้น การลดความเครียดจึงเป็นส่วนสำ�คัญในการรักษาโรคเบาหวาน คำ�แนะนำ�สำ�หรับโปรแกรมการออกกำ�ลังกาย การกำ�หนดการออกกำ�ลังกาย ของผู้ป่วยเบาหวานจะต้องทำ�เป็นเฉพาะ รายบุคคลเหมือน ตารางการให้ยา อาการและความรุนแรงของโรคแทรกซ้อน และจุดมุ่งหมายของการได้รับประโยชน์จากโปรแกรมการออกกำ�ลังกาย อาหาร ที่กินเข้าไปกับการออกกำ�ลังกายนั้นต้องพิจารณาด้วยเหมือนกัน โดยทั่วไปการ ออกกำ�ลังกายต้องการคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ทั้งก่อนและหลังการออกกำ�ลังกาย
  • 31. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 26 ถ้าการออกกำ�ลังกายมีความหนักและมีช่วงเวลานาน ให้เพิ่มคาร์โบไฮเดรต จาก 15 กรัม เป็น 30 กรัม ในทุกๆ ชั่วโมง ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ไม่ควรออกกำ�ลังกาย  มีการรักษาเนื้อเยื่อของลูกตาหรือมีการรักษาเกี่ยวกับจอตาเมื่อเร็วๆ นี้ เช่น การใช้เลเซอร์รักษา  นํ้าตาลในเลือดมากกว่า 250 กรัม ถึง 300 มก./ดล. มีคีโตน และระดับนํ้าตาลในเลือดตํ่า ก่อนการเริ่มออกกำ�ลังกาย หรือ  นํ้าตาลในเลือดประมาณ 80 ถึง 100 มก./ดล. เริ่มมีความเสี่ยง ต่อภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า (ในภาวะแบบนี้ ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรต เพื่อ เพิ่มนํ้าตาลในเลือดก่อนการออกกำ�ลังกาย) หลักเกณฑ์การออกกำ�ลังกาย การออกกำ�ลังกายที่ดีจะต้องเหมาะสมกับผู้ที่ออกกำ�ลัง มีความหนัก เพียงพอ มีความสมํ่าเสมอและความนานเพียงพอ ก่อนออกกำ�ลังกายจะต้อง มีการอุ่นเครื่อง (Warm up) และหลังการออกกำ�ลังกายต้องมีการผ่อนคลาย (Cool down) ควรออกกำ�ลังกายเวลาเช้าหรือเย็นเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด การอุ่นเครื่องและการผ่อนคลาย เป็นการเตรียมกล้ามเนื้อ, ข้อ และ ระบบหมุนเวียนโลหิต สำ�หรับเข้าสู่การทำ�งานหนักและชะลอลงช้าๆ ก่อนหยุด การออกกำ�ลังกายโดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคประจำ�ตัวจำ�เป็นต้องปฏิบัติ เคร่งครัด การอุ่นเครื่องและผ่อนคลายใช้เวลานานช่วงละ 3 - 5 นาที ความสมํ่าเสมอ(Frequency)ในกรณีที่สามารถทำ�ได้ควรออกกำ�ลังกาย ทุกวัน ถ้าไม่ได้ก็ควรทำ�วันเว้นวันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  • 32. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 27 ความนาน (Duration) การออกกำ�ลังกายควรทำ�ครั้งละ 20 - 30 นาที เป็นอย่างน้อย แต่เมื่อเริ่มออกกำ�ลังกายใหม่ๆ อาจเริ่มเพียงระยะเวลาสั้นๆ 5 - 10 นาที แล้วเพิ่มขึ้นทุกๆ 2 - 4 สัปดาห์ เมื่อร่างกายมีความพร้อม ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคหัวใจต้องเริ่มน้อยๆ และเพิ่มขึ้นช้าๆ ความหนักของการออกกำ�ลังกาย (Intensity) เป็นสิ่งสำ�คัญที่จะ สร้างเสริมความอดทน ความหนักของการออกกำ�ลังกายสามารถวัดโดยดูอัตรา การใช้ออกซิเจนคิดเป็นร้อยละของอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2 max) ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือใช้การวัดทำ�ให้ไม่สะดวก ในทางปฏิบัติจึงใช้อัตราเต้นสูงสุด ของหัวใจเป็นเกณฑ์ โดยให้ออกกำ�ลังกายจนมีความหนักร้อยละ 60 - 85 ของ อัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ นั่นคือชีพจรเป้าหมายในการออกกำ�ลังกายให้ได้เป็น ร้อยละ 60 - 85 ของอัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ อัตราเต้นสูงสุดของหัวใจสูงสุด เท่ากับ “220” ลบด้วยจำ�นวนอายุเป็นปี สูตรคำ�นวณชีพจรเป้าหมายจึงเขียน ได้เป็น ชีพจรเป้าหมาย = ความหนักที่กำ�หนด X (220 - อายุ) ถ้าความหนักที่กำ�หนด = ร้อยละ 70 อายุของผู้ออกกำ�ลังกาย = 60 ปี ชีพจรเป้าหมาย = (70/100) X (220 - 60) = 112 ครั้ง/นาที การจะกำ�หนดความหนักของการออกกำ�ลังกายเป็นร้อยละเท่าใด ขึ้นกับสมรรถภาพและสุขภาพพื้นฐานของผู้ออกกำ�ลังกาย ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มี ปัญหาสุขภาพมาก เริ่มต้นอาจกำ�หนดขั้นตํ่าเพียงร้อยละ 50 ของอัตราเต้นสูงสุด ของหัวใจ แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น การนับชีพจรให้นับทันทีเมื่อหยุดออกกำ�ลังกาย โดยผู้ฝึกให้นับหรือผู้ออกกำ�ลังกายนับเอง นับเพียง 10 วินาที แล้วคูณด้วย 6 เป็นจำ�นวนชีพจนต่อนาที
  • 33. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 28 ตารางที่ 4 เป็นตัวอย่างแสดงอัตรา ชีพจร ที่ความหนักร้อยละ 60 และ 85 ในคนอายุต่าง ๆ อายุ Max heart rate (MHR) 60% MHR 85% MHR 20 200 120 170 30 190 114 102 40 180 108 153 50 170 102 145 60 160 96 136 อาจจะกำ�หนดให้อย่างเหมาะสมกับแต่ละบุคคลมากขึ้นโดยใช้สูตร คำ�นวณ คือชีพจรเป้าหมาย = ความหนักที่กำ�หนด X (อัตราเต้นสูงสุด - อัตราเต้น ขณะพัก) + อัตราเต้นขณะพัก ถ้าความหนักที่กำ�หนด = ร้อยละ 70 อายุของผู้ออกกำ�ลังกาย = 60 ปี ชีพจรขณะพัก = 80 ครั้ง/นาที ชีพจรเป้าเหมาย = (70/100) X (160 - 80) + 80 = 136 ครั้ง/นาที ความเหมาะสม การจะเลือกออกกำ�ลังกายประเภทใดต้องดูให้เหมาะสม กับวัย สุขภาพ และอาชีพ ผู้ออกกำ�ลังกายควรจะเลือกออกกำ�ลังกายที่ตนเองชอบ และสามารถปฏิบัติได้จริง การรวมเป็นกลุ่มจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันทำ�ให้มี ความต่อเนื่อง และยังสร้างสัมพันธภาพด้านอื่นๆ ด้วย นอกจากนั้นควรเดินขึ้นลง บันไดแทนการใช้ลิฟต์ เดินไปที่ทำ�งานหรือตลาดแทนการใช้รถ (ถ้าระยะทาง พอเหมาะ)
  • 34. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 29 ท่ากายบริหารขาของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน จำ�เป็นต้องมีการปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบ หมุนเวียนเลือดของขาและเท้า โดยการออกกำ�ลังกายเป็นประจำ� จะช่วยป้องกัน อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ 1. การเดินควรเดินวันละครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงและพยายามเพิ่มระยะทาง เดินทีละน้อยทุกวัน 2. การเดินขึ้นบันได เดินขึ้นบันไดในลักษณะก้าวเขย่ง
  • 35. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 30 3. การเหยียดกล้ามเนื้อน่อง ยืนโน้มตัวไปข้างหน้า โดยใช้มือ เกาะผนังไว้ ยืนเท้าห่างกันเล็กน้อยให้ส้นเท้าอยู่บนพื้น พับแขนและเหยียดแขน 10 ครั้ง โดยให้หลังและขาอยู่ในแนวตรงตลอดเวลา 4. ลุกนั่งบนเก้าอี้ นั่งเก้าอี้ และลุกขึ้น - ลง 10 ครั้ง
  • 36. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 31 5. บริหารปลายเท้า ยืนเอามือเกาะเก้าอี้ เดินยํ่าอยู่กับที่ โดยยกส้นเท้า ขึ้น - ลง และให้ปลายเท้าแตะพื้นตลอดเวลา 6. งอเข่าลุกขึ้นและลง 10 ครั้ง โดยใช้มือเกาะเก้าอี้ และให้หลังตรง ตลอดเวลา
  • 37. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 32 7. เขย่งส้นเท้ายกส้นเท้าขึ้นลง ประมาณ 20 ครั้ง พยายามลงนํ้าหนัก ตัวที่ปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วเปลี่ยนไปอีกข้างหนึ่ง 8. ยืนแกว่งขา ลงนํ้าหนักตัวบนขาข้างหนึ่งใช้มือเกาะเก้าอี้หรือโต๊ะ แกว่งเท้าอีกข้างประมาณ 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนข้างทำ�เหมือนกัน
  • 38. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 33 9. สะบัดเท้า นั่งเก้าอี้โน้มตัวไปข้างหลัง สะบัดเท้าไปมาเป็นวงกลม ประมาณ 10 ครั้ง แล้วเปลี่ยนข้างทำ�เหมือนกัน การใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวาน หากสงสัยหรือตรวจพบนํ้าตาลในปัสสาวะควรแนะนำ�ผู้ป่วยไปโรงพยาบาล โดยให้งดอาหารและนํ้าตั้งแต่เที่ยงคืน แล้วไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาลในตอนเช้า เพื่อตรวจดูระดับนํ้าตาลในเลือดที่เรียกว่า ระดับนํ้าตาลในเลือดหลังอดอาหาร ซึ่งในคนปกติจะมีค่าไม่เกิน 120 มก./ดล.ถ้าพบว่ามีค่ามากกว่าปกติ วินิจฉัย ได้ว่าเป็นเบาหวาน ยิ่งมีค่าสูงมากเท่าไหร่ แสดงว่ามีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น การรักษามักจะเริ่มด้วยการแนะนำ�เรื่องการควบคุมอาหาร การออกกำ�ลังกาย และการปฏิบัติตัวอื่นๆ ถ้าคุมอาหารอย่างเดียวไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยารักษา เบาหวาน โดยถือหลักดังนี้ 1. ในรายที่เป็นไม่มาก (เช่น เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน) อาจให้ ยาชนิดกิน ที่นิยมใช้กันมาก คือ ยาเม็ดคลอร์โพรพาไมค์ มีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น ไดอะบีนีสโดยมากจะมีอยู่ 2 ขนาด คือเม็ดเล็ก (100 มิลลิกรัม) และเม็ดใหญ่ (250 มิลลิกรัม) กินวันละครั้งเดียว คือ ก่อนอาหารเช้า โดยเริ่มจากขนาดน้อยก่อน
  • 39. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 34 คือ เม็ดเล็ก 1 เม็ด หรือเม็ดใหญ่ครึ่งเม็ดวันละครั้ง แล้วตรวจนํ้าตาลในปัสสาวะทุกวัน ถ้ากินยาไป 10 วัน แล้วยังมีนํ้าตาลในปัสสาวะให้เพิ่มยาอีกครั้งละ1เม็ดเล็ก หรือครึ่งเม็ดใหญ่ ถ้ายังไม่ได้ผลก็ให้เพิ่มในขนาดนี้ทุกๆ 10 วัน จนกว่าอาการต่างๆ ทุเลาลง (อ่อนเพลียน้อยลง ปัสสาวะห่างขึ้น กระหายนํ้าน้อยลง) หรือไม่พบนํ้าตาล ในปัสสาวะ ก็ให้กินยาในขนาดนี้ไปเรื่อยๆ ถ้าเพิ่มยาจน ใช้ยาเม็ดใหญ่ กินวันละครั้งถึง 2 เม็ดแล้วยังไม่ได้ผล ก็ไม่ควรเพิ่มมากกว่านี้ ผู้ป่วยที่กินยานี้ไม่ได้ผลหรือเป็น ผู้สูงอายุหรือเป็นโรคไตหรือโรคตับอยู่ ควรเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น เช่น ยาเม็ด ไกลเบนคลาไมด์ ซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น ดาโอนิล, ยูกลูคอน ซึ่งมีขนาด 5 มิลลิกรัม ควรเริ่มจากครั้งละครึ่งเม็ด ให้ได้สูงสุดวันละ 4 เม็ด 2. ในรายที่ใช้ยาชนิดกินไม่ได้ผล(โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเบาหวานชนิด พึ่งอินซูลิน) หรือในกรณีที่มีการติดเชื้อรุนแรง หรือตั้งครรภ์หรือต้องทำ�การผ่าตัด ด้วยโรคอื่นๆก็ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินซึ่งควรปรับให้ได้ขนาดที่พอเหมาะกับ ผู้ป่วยแต่ละราย โดยเริ่มจากขนาดทีละน้อยก่อนเช่นเดียวกัน ส่วนมากจะสอน ให้ผู้ป่วยหรือญาติฉีดเองที่บ้านผู้ป่วยชนิด พึ่งอินซูลิน อาจต้องฉีดอินซูลินทุกวันไปตลอด ชีวิตส่วนผู้ป่วยชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เมื่อควบคุม ระดับนํ้าตาลได้ดีแล้ว อาจหันกลับมาใช้ยาชนิด กินแทนได้
  • 40. คู่มือการดูแลตนเอง โรคเบาหวาน ฉบับการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานโดยสหสาขาวิชาชีพ 35 3. ในการติดตามผลการรักษา นอกจากการตรวจปัสสาวะแล้วควร นัดให้ผู้ป่วยมาตรวจเลือดทุก 2 - 3 เดือน ถ้าได้ตํ่ากว่า 120 ถือว่าคุมได้ดี ระหว่าง120-180ถือว่าพอใช้และถ้าเกิน180ถือว่าไม่ดีถ้าพบผู้ป่วยเบาหวานที่ขาด การรักษานานๆหรือสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนควรส่งโรงพยาบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าสงสัยมีภาวะคีโตซิส ควรให้นํ้าเกลือ แล้วส่งโรงพยาบาลด่วน