SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 41
Downloaden Sie, um offline zu lesen
คู่มือการอ่านผลตรวจเลือด (Dec 2012)
** วิธีใช้ : กด Ctrl + F เพื่อหาวิธีการแปลผลในแต่ละค่า เช่น กด
Ctrl+F แล้วพิมพ์ HDL
-----
รวบรวมจาก
– การดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง ; นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ ;
http://www.calintertrade.co.th/blog/?p=64
-สอนวิธีแปลผลการตรวจปัสสาวะ;นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์;http://visitdrsant.blogspot.com/2012/03/ua.html
- การแปลผลตรวจห้องปฏิบัติการ;คุณ porto ;http://www.oknation.net/blog/print.php?id=285951-
- รวบรวม/ จัดเรียง : Chear Ponsit
***** ค่าปกติของผลตรวจเลือดแต่ละโรงพยาบาลอาจจะ มีมาตราฐานต่างกันได้เล็กน้อย *****
เอกสารแนะนาสาหรับผู้ตรวจร่างกายประจาปี
(กด http://www.health.co.th/menu03.html#AnnualCheckUpAdvice เพื่อเปิดเว็บดูรายละเอียด)
เอกสารแนะนา 1. เรื่อง การเลิกบุหรี่
เอกสารแนะนา 2. เรื่อง การลดไขมัน LDL
เอกสารแนะนา 3. เรื่อง การลดไขมันไตรกลีเซอไรด์
เอกสารแนะนา 4. เรื่อง การเพิ่มไขมัน HDL
เอกสารแนะนา 5. เรื่อง การรักษาความดันเลือดสูงโดยไม่ใช้ยา
เอกสารแนะนา 6. เรื่อง การควบคุมน้าหนัก
เอกสารแนะนา 7. เรื่อง การควบคุมน้าตาลในเลือด
เอกสารแนะนา 8. เรื่อง ทาอย่างไรเมื่อผลการตรวจพบว่าไตเสื่อม
เอกสารแนะนา 9. เรื่อง ทาอย่างไรเมื่อผลการตรวจพบว่าตับได้รับความเสียหาย
เอกสารแนะนา 10. เรื่อง เมื่อกระดูกบางหรือกระดูกพรุน
เอกสารแนะนา 11. เรื่อง การป้องกันมะเร็งเต้านม
เอกสารแนะนา 12. เรื่อง ทาอย่างไรเมื่อสารชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) สูง
เอกสารแนะนา 13. เรื่อง เมื่อตรวจพบว่าโลหิตจาง
เอกสารแนะนา 14. เรื่อง เมื่อสารชี้บ่งมะเร็งตับ (AFP) สูง
เอกสารแนะนา 15. เรื่อง เมื่อสารชี้บ่งมะเร็งตับอ่อน (CA19-9) สูง
เอกสารแนะนา 16. เรื่อง เมื่อสารชี้บ่งมะเร็งรังไข่ (CA125) สูง
เอกสารแนะนา 17. เรื่อง แอลกอฮอล์
เอกสารแนะนา 18. เรื่อง ความสาคัญของน้าต่อร่างกาย
เอกสารแนะนา 19. เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับผักและผลไม้
เอกสารแนะนา 20. เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับโซเดียม
เอกสารแนะนา 21. เรื่อง ไขมันโอเมก้า 3
เอกสารแนะนา 22. เรื่อง การออกกาลังกาย
เอกสารแนะนา 23. เรื่อง การจัดการความเครียด
เอกสารแนะนา 24. เรื่อง การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เอกสารแนะนา 26. เรื่องกรดยูริกสูง
1
Overview
บทความพิเศษ
โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ
“การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง”
หัวข้อเรื่อง
• ชั่งน้าหนัก-วัดส่วนสูง
• ความดันโลหิต
• เอกซเรย์ทรวงอก
• ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
• ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
• ระดับน้าตาลในเลือด (FBS)
• ระดับไขมันในเลือด (Cholesterol)
• สมรรถภาพการทางานของตับ (SGOT & SGPT)
• สมรรถภาพการทางานของไต (BUN & Cr)
• ระดับกรดยูริค (Uric Acid)
• ไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg & HBsAb)
• สมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry)
• สมรรถภาพการทางานของปอด (Spirometry)
ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพ
ในปัจจุบันประชาชนมีความตื่นตัวในด้านการตรวจสุขภาพมากขึ้น และรัฐบาลได้มีการส่งเสริม ให้ดาเนินการดังกล่าว เห็น
ได้จากการที่กระทรวงการคลังได้มีระเบียบอนุมัติให้ ข้าราชการสามารถเบิกจ่ายค่าตรวจสุขภาพได้ ตามรายการที่กาหนด
และในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ให้นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพให้กับลูกจ้างเป็นประจา มีการ
ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรับการตรวจสุขภาพประจาปี โดยกาหนดให้เป็นข้อหนึ่งอยู่ในสุขบัญญัติ 10 ประการ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพควรคานึงถึงเป้าหมายที่จะได้รับจากการตรวจ จึงจะมีประโยชน์ เป้าหมายสุดท้ายของการ
ให้บริการด้านสุขภาพได้แก่
 การมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น (Prolong Life)
 การลดการเจ็บป่วย (Decrease Morbidity)
 การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต (Improve Quality of Life)
2
ดังนั้นการตรวจสุขภาพใดๆ ที่เพียงทาให้สามารถวินิจฉัยความผิดปกติได้ โดยไม่บรรลุเป้าหมายที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่ได้รับ
การถือว่ามีประโยชน์
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า “การตรวจสุขภาพ จะมีประโยชน์ได้ควรจะต้อง มีรายการ การตรวจที่เหมาะสม และ
ผู้รับการตรวจ มีความเข้าใจต่อผล และค่าที่ได้จากการตรวจ และมีความรู้ที่จะสามารถปรับเปลี่ยน และปรับปรุง
ตัว ให้สอดคล้องกับผลการตรวจนั้นๆ”
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ประโยชน์ของเวชกรรมป้องกัน ที่ทาให้ป้องกันโรคได้จากการค้นหาโรคตั้งแต่ระยะต้นๆ ได้แก่ สถิติ
การเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ลดลงตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 มากกว่าร้อยละ 50 เนื่องจากแนวโน้มในการค้นหา และ
เริ่มรักษาความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ระยะต้นๆ
3
การชั่งน้้าหนัก และวัดส่วนสูง
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโรคอ้วน และภาวะทุพโภชนาการในผู้ใหญ่
ปัจจุบันในทางการแพทย์ ถือว่า “ความอ้วน” เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ความอ้วนเกิดจาก การมีปริมาณไขมันในร่างกาย
มากกว่าปกติ จนมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทาให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, โรคถุงน้าดี,
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคอ้วนที่มีผลร้ายต่อร่างกาย มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ โรคอ้วนทั้งตัว, โรคอ้วนลงพุง, และโรคอ้วนทั้งตัวร่วมกับโรคอ้วน
ลงพุง
1. โรคอ้วนทั้งตัว (Overall Obesity) จะมีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ ไขมันมิได้จากัดอยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
โดยเฉพาะ
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินว่าเป็น ”โรคอ้วน”
แนะนาให้ใช้ การคานวณดัชนีมวลร่างกาย (Body Mass Index : BMI)
ดัชนีมวลร่างกาย (BMI) = น้าหนักตัว (กิโลกรัม) /ส่วนสูง (เมตร)
การวินิจฉัย “โรคอ้วนทั้งตัว” ที่แน่นอนที่สุด คือ การวัดปริมาณไขมันในร่างกายว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่เป็นเรื่อง
ยุ่งยากเกินความจาเป็น ในทางปฏิบัติการใช้ ”ดัชนีมวลร่างกาย(BMI)”เป็นวิธีที่เหมาะสม โดยเหตุผลที่ว่า ดัชนีมวล
ร่างกายแปรตามส่วนสูงน้อย และจากการศึกษาพบว่าค่าของดัชนีมวลร่างกายจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันจริงใน
ร่างกาย และมีความสัมพันธ์กับอัตราการตาย โดยผู้ที่มีดัชนีมวลร่างกายมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์จะมีอัตราการตายสูงกว่า
ผู้ที่มีดัชนีมวลร่างกายปกติ
ค่าดัชนีมวลร่างกาย ผล
20.0-25.0 ปกติ
ต่ากว่า 20.0 น่าหนักน้อยเกินควร
25.0 – 30.0 อ้วนเล็กน้อย
สูงกว่า 30.0 เป็น ”โรคอ้วน”
2. โรคอ้วนลงพุง (Visceral Obesity) กลุ่มนี้จะมีไขมันของอวัยวะภายใน ที่อยู่ในช่องท้องมากกว่าปกติ และอาจมี
ไขมันใต้ผิวหนังที่หน้าท้อง เพิ่มมากกว่าปกติด้วย
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินว่าเป็น ”โรคอ้วนลงพุง”
4
จากการศึกษา พบว่า ผู้ที่มี “ภาวะอ้วนลงพุง” เกิดโรคหัวใจขาดเลือดสูงกว่า ผู้ที่มีไขมันสะสมมากบริเวณสะโพก และ/
หรือ บริเวณต้นขา เนื่องจากไขมันในช่องท้องจะดักจับไขมันชนิดที่ดี (HDL) ทาให้ไขมันชนิดที่ดี (HDL) ใน
เลือดมีระดับต่าลง เพราะฉะนั้นผู้ที่มีไขมันสะสมในบริเวณช่วงกลางของลาตัว จะมีระดับไขมันที่ดี (HDL) ต่ากว่าผู้ที่มี
ไขมันสะสมบริเวณสะโพก ก้น และต้นขา มีข้อมูลที่น่าสนใจว่าชาวอินเดียในเอเชียเป็นชาติที่มีอัตราเกิดโรคหัวใจขาด
เลือดสูงสุด ทั้งๆ ที่เกือบครึ่งหนึ่งของชนกลุ่มนี้เป็นมังสวิรัติมาตลอดชีวิต
จากการศึกษา พบว่า เกิดขึ้นเนื่องจากชนกลุ่มนี้มีระดับ HDL-Cholesterol ต่า และมีไตรกลีเซอไรด์สูง ร่วมกับมีรูปร่างเป็น
โรคอ้วนลงพุง ซึ่งข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นความสาคัญของโรคอ้วนลงพุง ซึ่งมักจะมีภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง และมี
ไขมันที่ดีต่า (HDL ต่า)
3. โรคอ้วนทั้งตัวร่วมกับโรคอ้วนลงพุง (Combined Overall and Abdominal Obesity) เป็นผู้ที่มีทั้งไขมัน
ทั้งตัวมากกว่าปกติ และมีไขมันในช่องท้องมากกว่าปกติร่วมกัน
ผลร้ายของโรคอ้วนที่มีต่อสุขภาพ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
1. เกิดโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับความอ้วน เช่น โรคหัวใจขาดเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดสมอง,
โรคเบาหวาน โรคถุงน้าดี
2. มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ และการเผาผลาญทางชีวเคมีในร่างกาย (Metabolism) เซลล์ไขมันทาหน้าที่
เป็นเซลล์ของต่อมไร้ท่อได้ด้วย โดยสามารถสร้างฮอร์โมนได้ และยังเป็นเซลล์เป้าหมายของฮอร์โมนหลายชนิด ทาให้
คนอ้วนมีระดับและการตอบสนองต่อฮอร์โมนผิดปกติ เช่น มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้น แต่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินมี
ระดับฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ลดลง มีฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ลดลง เป็นต้น
3. ปัญหาสุขภาพที่อ่อนแอลงจากความอ้วน เช่น เกิดโรคข้อเสื่อม มีการหายใจผิดปกติ มีความต้านของระบบทางเดิน
หายใจส่วนบนเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มมีระดับกรดยูริคในเลือดสูง เป็นต้น
4. ปัญหาทางสังคม และจิตใจ ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาในบางคน
มาตรการที่เสนอแนะ
5
แนะนาให้ตรวจวัดส่วนสูง และชั่งน้าหนักเป็นระยะๆ ในบุคคลทุกคน เพื่อนามาใช้คานวณดัชนีมวลร่างกายควบกับการวัด
สัดส่วนเส้นรอบวง-(เอว) ต่อเส้นรอบวง-(สะโพก) และประเมินโรคหรือภาวะทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นพื้นฐานใน
การดาเนินมาตรการที่เหมาะสมต่อไป
เมื่อตรวจพบว่า บุคคลใดอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นโรคอ้วนก็ควรต้องให้การรักษา โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ
1. ลดน้าหนัก โดยควรให้ได้ไม่ต่ากว่าร้อยละ 10 ของน้าหนักตัวเดิม
2. ต้องมีมาตรการในการรักษาน้าหนักตัวที่ลดแล้ว ให้คงอยู่ได้ตลอดไป
3. ตรวจสอบดูแลรักษาป้องกัน โรคต่างๆ ที่เกิดร่วมกับความอ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคความดันโลหิตสูง น้าตาลใน
เลือดสูง ภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นต้น
การบาบัดโรคอ้วน
การที่มนุษย์จะมีน้าหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงย่อมขึ้นอยู่กับดุลยภาพของพลังงาน ซึ่งมาจากความสมดุลของพลังงานที่ได้
จากการบริโภค และพลังงานที่ร่างกายนาไปใช้
พลังงานที่บริโภค ขึ้นกับปริมาณพลังงานที่บริโภคทั้งหมด และขึ้นกับสัดส่วนของพลังงานที่ได้รับนั้นมาจากอาหาร
ประเภทโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต(แป้ง) อย่างละเท่าใด
พลังงานที่ร่างกายนาไปใช้ จะประกอบด้วยอัตราฐานของการเผาผลาญในร่างกาย และพลังงานที่ใช้ไปกับการ
เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การทางาน การเล่นกีฬา
เพราะฉะนั้น แนวทางการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคอ้วน จึงต้องมีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม และมีการเพิ่มระดับการ
เคลื่อนไหวร่างกายที่มากเพียงพอ
แนวทางการบริโภคอาหาร เพื่อควบคุมน้าหนักตัว
1. การบริโภคอาหารที่ให้พลังงานแต่พอควร ถ้าการบริโภคมากเกินกว่าพลังงานที่ร่างกายนาไปใช้ ก็จะเกิดการสะสม
ของไขมันในร่างกายจนเกิดเป็นโรคอ้วนในที่สุด แต่ก็ไม่ควรจากัดมากจนเกินควร การจากัดอาหารให้น้าหนักตัวลดลง
ประมาณสัปดาห์ละ 0.25-0.5 กิโลกรัม จัดว่าเหมาะสมและปลอดภัย
2. การบริโภคไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานที่ได้รับ
ไขมันเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงกว่าอาหารอื่นๆ และเป็นอาหารที่ยับยั้งความรู้สึกหิวได้ต่า ดังนั้นการบริโภคไขมันมากจึง
เป็นบ่อนทาลายการควบคุมน้าหนักตัว
ในทางปฏิบัติกระทาได้ โดยหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันหมู, น้ามันมะพร้าว, กะทิ, หมูสามชั้น,
เนยเหลว, ครีม, ไส้กรอก, หมูยอ, เนื้อติดมัน ของทอด เช่น ปาท่องโก๋, กล้วยแขก, ทอดมัน เป็นต้น
3. การบริโภคโปรตีน ประมาณร้อยละ 15-20 ของพลังงานที่ได้รับ
อาหารโปรตีนมีพลังงานต่ากว่าไขมัน และมีความสามารถในการยับยั้งยุติความรู้สึกหิวได้ดี และร่างกายจะถ่ายโอนโปรตีน
ที่บริโภคเกินเป็นสารอื่นได้ดี มีการสะสมโปรตีนต่า เพราะฉะนั้นอาหารโปรตีนมีผลดีต่อการควบคุมน้าหนักตัวได้ดี แต่การ
บริโภคมากเกินควร จะมีผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน
ในทางปฏิบัติ ควรบริโภคเนื้อสัตว์ ชนิดที่ไม่มีไขมันมาก เช่น เนื้อปลา, เนื้อไก่เอาหนังออก, ถั่วเหลือง, นมไขมันต่า, ไข่
ไก่ (ไม่ควรเกินวันละ 1 ฟอง)
4. การบริโภคคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 50-55 ของพลังงาน
คาร์โบไฮเดรต ก็คือ อาหารจาพวก ข้าว แป้ง ของหวาน เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ากว่าไขมัน และยับยั้งความรู้สึกหิวได้
ดี ร่างกายมีขีดความสามารถสูงในการใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงาน แต่ถ้าได้รับมากเกิน ประมาณร้อยละ 80 ของ
พลังงานที่บริโภคเกินจะถูกสะสมไว้ในร่างกายในรูปของไขมัน
นอกจากปริมาณแล้ว ยังต้องคานึงถึงชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่บริโภคด้วย โดยในทางปฏิบัติให้บริโภคข้าว (ข้าวซ้อมมือ
หรือข้าวกล้อง) เป็นหลัก เพราะข้าวเป็นสารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งเป็นแหล่งให้ใยอาหาร ไม่ควรรับประทานอาหาร
6
และเครื่องดื่มที่มีน้าตาล และรสหวาน ในผู้ที่ติดรสหวานเลิกไม่ได้ อาจต้องใช้สารที่มีรสหวาน และให้พลังงานน้อยแทน
น้าตาล เช่น แอสปาร์เทม (Aspartame)
5. การงด หรือการลดการดื่มแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์ไม่ใช่สารอาหาร แต่เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ร่างกายจะให้ลาดับการนาแอลกอฮอล์มาใช้เป็นพลังงานก่อน
สารอาหารปกติ ดังนั้นการบริโภคแอลกอฮอล์จะมีผลให้พลังงานแก่ร่างกายไปส่วนหนึ่ง และมีผลทาให้ร่างกาย ใช้
พลังงานจากสารอาหารน้อยลง และทาให้สารอาหารถูกสะสมเป็นไขมันในร่างกายมากขึ้น
6. การบริโภคผัก และผลไม้เป็นประจา
ผัก และผลไม้ นอกจากให้วิตามิน และเกลือแร่แล้ว ยังเป็นใยอาหารซึ่งทาให้ลดความหิว และลดการบริโภคพลังงานลง
อย่างไรก็ตามควรบริโภคผลไม้ที่ไม่หวานจัด เป็นหลัก
ใยอาหาร เป็นสารที่พบในผัก และผลไม้ ซึ่งลาไส้ของมนุษย์จะไม่สามารถย่อยสลายได้ ดังนั้นใยอาหารจึงไม่เพิ่มจานวน
พลังงาน และมีบทบาทสาคัญในการทาให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นปกติ
โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ
7
การวัดความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิต
เป็นที่ทราบกันทั่วไป ภาวะความดันโลหิตสูง ทาให้เกิดโรคอันตรายร้ายแรง เช่น เส้นโลหิตในสมองแตก ทาให้เป็น
อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น
ภาวะความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ จนกว่าจะมีโรคแทรกซ้อนร้ายแรงเกิดขึ้นแล้วจึงจะปรากฏอาการ เพราะฉะนั้น
ปัญหาที่สาคัญในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง คือ การทาให้ประชากรกลุ่มที่มีความดันโลหิตสูง ทราบว่าตนเองมี
ความดันโลหิตสูง จากสถิติพบว่า ในประเทศไทย ประชากรที่มีความดันโลหิตสูง ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง
เฉลี่ยเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น
ความดันโลหิต จะประกอบด้วย ความดันตัวบน เรียกว่า ความดันซิสโตลิค (Systolic Pressure) และความดันตัวล่าง
เรียกว่า ความดันไดแอสโตลิค (Diastolic Pressure) ซึ่งค่าปกติจะไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าความดัน
โลหิตสูงกว่านี้ ถือว่ามี “ความดันโลหิตสูง”
ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกได้กาหนดเกณฑ์การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงไว้ว่า
“ความดันโลหิตสูง” คือ สภาวะที่ค่าของความดันเลือดที่วัดอย่างถูกต้อง และมีการตรวจวัดหลายๆ ครั้ง ในต่างวาระกัน
แล้ว พบว่ามีระดับของความดันโลหิตสูงกว่า140/90 มม.ปรอท
เราแบ่งระดับความรุนแรง ของภาวะความดันโลหิตสูงไว้ ดังนี้
หมายเหตุ : ถ้าหากระดับ sBP และ dBP อยู่ในระดับความรุนแรงต่างกัน ให้ถือระดับที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์
ผู้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ควรละเว้นสิ่งต่อไปนี้ ก่อนวัดความดันโลหิต ประมาณ 1 ชั่วโมง ได้แก่
1. การออกกาลังกาย
2. การดื่มกาแฟ สุรา หรือเครื่องดื่มผสม คาเฟอีน
8
3. การสูบบุหรี่
4. ควรนั่งพักประมาณ 5 นาที และถ้าพบว่า มีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดซ้าอีก 2-3 ครั้ง
ส่วน ผู้ที่ยืนยันการวินิจฉัยว่า มีความดันโลหิตสูง ควรปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อลดระดับความดันโลหิตลง ดังนี้
1. ลดน้าหนัก ถ้ามีน้าหนักเกิน
2. จากัดการดื่มแอลกอฮอล์
3. เพิ่มการออกกาลังกาย ชนิดแอโรบิค (30-45 นาที/วัน)
4. จากัดปริมาณโซเดียม (งดรับประทานเค็มให้มากที่สุด)
5. ได้รับโปแตสเซียมอย่างเพียงพอ เช่น รับประทานผลไม้มากขึ้น
6. หยุดการสูบบุหรี่
7. ลดการรับประทานไขมัน และโคเลสเตอรอล
จากการศึกษา การรับประทานอาหารที่เน้น ผัก ผลไม้ และนมไขมันต่า ลดเค็ม ร่วมกับลดปริมาณไขมัน สามารถลดความ
ดันโลหิตลงได้ประมาณ 8-14 มม.ปรอท
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ดังกล่าวจะให้ประโยชน์ทั้งในด้านการลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
จึงถือว่าเป็นสิ่งจาเป็น ถึงแม้ผู้ป่วยจะได้รับยาลดความดันโลหิตแล้วก็ตาม
เมื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้ว 3-6 เดือน ยังไม่สามารถลดความดันโลหิตได้ดีพอ ควรใช้ยารักษาลดความดันโลหิต ตาม
คาแนะนาของแพทย์
โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ
9
เอกซเรย์ทรวงอก
ในประเทศไทยวัตถุประสงค์หลัก ในการเอกซเรย์ทรวงอกในผู้ที่ไม่มีอาการ คือ เพื่อตรวจหาวัณโรคปอดระยะแรก ที่
อาจจะยังไม่มีอาการ เนื่องจากวัณโรคปอด ยังเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย
เมื่อเป็นวัณโรคปอด เอกซเรย์จะเห็นเป็นจุดทึบ หรือเป็นหย่อมทึบที่เนื้อปอด ซึ่งจะต้องตรวจเพิ่มเติมว่า จุดหรือรอยทึบที่
เห็นนั้น เป็นวัณโรคปอดหรือไม่ เช่น ตรวจหาเชื้อจากเสมหะ เป็นต้น
สาหรับผู้มีประวัติ เคยเป็นวัณโรคปอด และได้รับการรักษาจนหายเรียบร้อยแล้ว เมื่อเอกซเรย์ปอด ก็อาจจะยังพบมีรอย
ทึบ หรือจุดในปอดหลงเหลืออยู่ และพบตลอด เนื่องจากเป็นรอยแผลเป็น ในกรณีเช่นนี้ ควรมีเอกซเรย์ปอดของเก่าเก็บ
ไว้ เพื่อเปรียบเทียบกับเอกซเรย์ใหม่ ถ้าจุดที่พบในเอกซเรย์ยังคงเหมือนเดิม ก็บอกได้ว่า “ผลปกติ”
นอกจากวัณโรคปอด เอกซเรย์ทรวงอกจะช่วยตรวจกรองเนื้องอกในปอด ประเมินขนาดของหัวใจ และดูแนวกระดูกสัน
หลังว่า มีคดงอหรือไม่
ในกรณีถ้าแพทย์ อ่านผลการเอกซเรย์ทรวงอกว่า มีหัวใจโตเล็กน้อย อย่ากังวลใจ ถ้าตรวจร่างกายผลปกติ และความดัน
โลหิตไม่สูง หัวใจโตเล็กน้อย จะไม่บ่งชี้โรค เพราะเมื่ออายุมากขึ้นหัวใจมักจะมีขนาดโตขึ้น และเกณฑ์การวัดขนาดของ
หัวใจจากเอกซเรย์ทรวงอก จะเป็นเพียงการประเมินคร่าวๆ เท่านั้น แต่ถ้าเอกซเรย์ปอดแล้วมีหัวใจโตมาก ต้องพบแพทย์
เพื่อตรวจหาสาเหตุ
โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ
10
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
(Complete Blood Count : CBC)
การตรวจประกอบด้วย
 Hemoglobin : HGB การวัดปริมาณความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน
ค่าปกติ ชาย 13.0-18.0 gm%
หญิง 11.5-16.5 gm%
 Hematocrit : HCT การวัดปริมาณอัดแน่นของเม็ดเลือดแดง
ค่าปกติ ชาย 40-54 %
หญิง 36-47 %
การตรวจวัด HGB และ HCT ใช้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง ถ้าค่าของ HGB และ HCT ที่ตรวจพบมีค่าต่ากว่าเกณฑ์ ถือ
ว่า “มีภาวะโลหิตจาง”
ภาวะโลหิตจาง มีผลทาให้ประสิทธิภาพของการไหลเวียนเลือดลดลง ทาให้ความสามารถในการทางาน ความอดทน
และความสามารถในการใช้กาลังร่างกายลดลง
ซึ่งกลุ่มที่มีโลหิตจางได้บ่อย ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ สตรีในวัยเจริญพันธุ์ ประชากรที่มีรายได้น้อย และเด็กที่ขาดสารอาหาร
สาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจางที่สาคัญและพบบ่อยที่สุด คือ การขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นภาวะโลหิตจางที่พบ
บ่อยที่สุดทั่วโลก
แต่สาหรับในประเทศไทย ยังมีภาวะโลหิตจางที่พบบ่อย คือ โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) และฮีโมโกลบิน
ผิดปกติ (Hemoglobinopathies) ซึ่งเกิดเนื่องจากมีความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน ที่เป็นมาตั้งแต่กาเนิด และ
ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งกลุ่มนี้ มีลักษณะตั้งแต่ ไม่มีอาการเลย คือ เป็นพาหะเท่านั้น จนถึงมีอาการรุนแรงปานกลางถึง
รุนแรงมาก (เป็นโรคธาลัสซีเมีย)
มีประชากรไทยจานวนมากที่เป็นพาหนะ โดยไม่รู้ตัว และไม่มีอาการ แต่จะถ่ายทอดสู่ลูกได้ และลูกอาจจะเป็นโรคธาลัสซี
เมียได้
ปัจจุบันมีเครื่องตรวจนับเม็ดเลือด (Automated Electronic Cell Counters) ซึ่งสามารถตรวจระดับฮีโมโกลบิน
ตรวจนับจานวนเม็ดเลือดแดง (Red Cell Count)ขนาดเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (Mean Corpuscular Volume :
MCV) และการกระจายตัวของขนาดเม็ดเลือดแดง (Red Cell Distribution Width : RDW) ซึ่งทาให้สามารถแยกสาเหตุ
และวินิจฉัยสาเหตุของภาวะโลหิตจางได้ละเอียด และถูกต้องยิ่งขึ้น
ส่วนค่าอื่นๆ ในการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด มักจะเป็นค่าที่ใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคมากกว่า ใช้ในการตรวจ
กรองสุขภาพ เช่น จานวนเม็ดเลือดขาว และชนิดของเม็ดเลือดขาว มักใช้ในการประเมินภาวะติดเชื้อ นอกจากในกรณี
ตรวจพบจานวนเม็ดเลือดขาวสูงมากๆ เช่น มีจานวนเป็นหลายหมื่นตัวต่อตารางมิลลิเมตร ให้สงสัยว่าจะมีมะเร็งเม็ดเลือด
ขาว (Leukemia) ปริมาณเกล็ดเลือด (Pletelet) ก็มักตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค เช่น ไข้เลือดออกที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่า
เป็นต้น
โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ
การตรวจเลือด
กรุ๊ปเลือด (Blood Group) ปกติกรุ๊ปเลือดจะรายงานผลออกมา เป็นสองระบบคือ ABO System
11
และ Rh System โดยจาแนกตาม Antigen บนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่ ในระบบ ABO จะแบ่งออกได้ สี่
กรุ๊ปคือ A , B , AB และ O Group O พบมากสุด, A กับ B พบพอๆ กัน และ AB มีน้อยที่สุด)ใน
ระบบ Rh จะรายงานได้เป็นสองพวก
1. +ve หรือ Rh+ve คือ พวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้มากเกือบ
ทั้งหมดของคนไทยเป็นพวกนี้
2. -ve หรือ Rh-ve คือ พวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้น้อยมาก คน
ไทยเราพบเลือดพวกนี้ แค่ 0.3%เป็นพวกที่บางครั้งเรียกว่า ผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ จะพบได้มากขึ้น
ในชาวไทยซิกข์ (แต่ในคนพวกนั้น แม้ว่าจะมี Rh-ve มากกว่าคนไทยปกติ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคง
เป็นพวก Rh +veอยู่ดี)
ตัวอย่างการรายงานกลุ่มเลือดเช่น A+ve คือ เลือดกรุ๊ป A Rh+ve ตามปกติ AB-ve อันนี้เป็น
กรุ๊ป AB และ เป็นหมู่เลือดพิเศษ Rh-ve ซึ่งหายากที่สุด ปกติ AB ในคนไทยพบน้อยกว่า5% ถ้า
เป็น AB-ve นี่ พบแค่ 1.5 คน ในหมื่นคนเท่านั้น
CBC (Complet Blood Count )
เป็นการตรวจเลือดทั่วๆ ไปที่ใช้กันบ่อยที่สุด ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้หลายอย่างๆ การ
รายงานจะมีค่าที่เกี่ยวข้องออกมาหลายตัว ซึ่งต้องดูประกอบไปด้วยกันหลายๆ ค่า ค่อนข้าง
ยุ่งยากเล็กน้อย แต่ก็เป็นการตรวจ ที่สาคัญอันนึง (บางแห่งใช้เป็นการตรวจพื้นฐานก่อนรับ
คนไข้นอนรพ.คู่กับ การตรวจปัสสาวะ (U/A) ค่าต่างๆ ที่รายงานใน CBCได้แก่
Hct (Hemotocrits) หรือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเทียบกับปริมาตร ของเลือด
ทั้งหมด ค่านี้ใช้บอกภาวะโลหิตจาง หรือ ข้น ของเลือด ปกติ คนไทย Hct จะอยู่ประมาณ30กว่า
% ถึง 40 กว่า% ถ้าต่ากว่า 30% ถือว่า ต่ามาก อาจจะต้องพิจารณาให้เลือด ช่วยในบางราย ถ้า
Hct สูงมากอาจจะต้อง ระวังโรคที่มีการ สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมามากผิดปกติ หรือพวก
ไข้เลือดออกในระยะช็อค ก็จะมีค่าตัวนี้สูงเนื่องจากน้าเลือดหนีออกจากเส้นเลือด (ต้องดูค่า
อื่นๆ ประกอบด้วย)
Hb (Hemoglobin) เป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดมีหน้าที่ช่วยจับอ๊อกซิเจน ค่าของ Hb ใช้บอกภาวะ
โลหิตจาง เช่นเดียวกันกับ Hct ค่าปกติของ Hb มักจะเป็น 1/3 เท่าของ Hct และหน่วย
เป็น Gm% เช่น คนที่ Hct 30% จะมี Hb =10 gm% เป็นต้น
WBC (White Blood Cell Count) หรือ ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน ค่าปกติ จะ
อยู่ ประมาณ 5000-10000 cell/ml ถ้าจานวน WBC ต่ามาก อาจจะเกิดจากโรคที่มีภูมิต้านทานต่า
บางอย่าง หรือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ
เช่น Aplastic Amemia หรือไขกระดูกฝ่อซึ่งจะทาให้มีการสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลงทั้งหมด
(ทั้ง เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด ต่าหมดทุกตัว) ถ้าWBC มีจานวนสูงมาก
อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย แต่จะต้องดูผล การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว
(Differential Count) ประกอบด้วย
แต่ถ้าจานวน WBC สูงมากเป็นหลายๆ หมื่นเช่น สี่ห้าหมื่น หรือเป็นแสน อันนั้นจะทาให้สงสัย
พวกมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่จะต้องหาดูพวกเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวอ่อนจากการแยกนับเม็ด
เลือดขาว หรือเจาะไขกระดูกตรวจอีกครั้ง (มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) อาจจะมีจานวนเม็ด
เลือดขาวปกติ หรือ ต่ากว่าปกติ ก็ได้เรียกว่า Aleukemic Leukemia)
Differential Count การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว จะรายงานออกมาเป็น % ของเม็ดเลือด
ขาวชนิดต่างๆ (ดังนั้นรวมกันทั้งหมดทุกชนิดจะต้องได้ 100 (%) พอดี) ตัวสาคัญหลักๆ ดังนี้
PMN หรือ N หรือ Neu (Polymorphonuclear cell หรือ Neutrophil) ตัวนี้ ค่าปกติ ประมาณ 50-60%ถ้า
สูงมาก (เช่นมากกว่า 80% ขี้นไป และโดยเฉพาะถ้า สูงและมีปริมาณWBC รวม มากกว่าหมื่น ขึ้น
12
ไป จะทาให้นึกถึงภาวะมีการติดเชื้อแบคทีเรีย
Lymp หรือ L (Lymphocyte) หรือเม็ดน้าเหลือง พวกนี้ปกติ จะพบน้อยกว่า PMN เล็กน้อย(สองตัว
นี้รวมกัน จะได้เกือบ 100 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด) ถ้าพบ Lymp ในปริมาณ สัดส่วนสูงขึ้นมา
มากๆ โดยเฉพาะร่วมกับ ภาวะเม็ดเลือดขาว(WBC)โดยรวมต่าลง อาจจะเกิดจากการติดเชื้อ
ไวรัส โดยเฉพาะถ้ามี Lymp ที่รูปร่างแปลกๆและตัวโตผิดปกติ ที่เรียกกันว่า Atypical
Lymphocyte จานวนมากร่วมกับ เกล็ดเลือดต่า และ Hct สูง จะพบได้บ่อยในคนไข้ ไข้เลือดออก
Eosin หรือ E (Eosinophil) พวกนี้เป็นเม็ดเลือดขาว ที่ปกติไม่ค่อยพบ (อาจจะพบได้ 1-2%)แต่ถ้า
พบสูงมากเช่น 5-10% หรือมากกว่า พวกนี้จะสงสัยว่าเป็น พวกโรคภูมิแพ้ หรือพยาธิในร่างกาย
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายตัว เช่น B หรือ Basophil , M หรือ Monocyte และพวกตัวอ่อนของ
เม็ดเลือดขาว ซึ่งจะพบในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จะรายงานเมื่อพบ และต้องการการตรวจ
ละเอียดเพิ่มต่อไป
Platelets หรือเกล็ดเลือด เป็นเซลเม็ดเลือด คล้ายเศษเม็ดเลือดแดง เป็นตัวที่ช่วยในการหยุด
ไหล ของเลือด เวลาเกิดบาดแผล คนปกติ จะมีจานวนประมาณ แสนกว่าเกือบสองแสน ขึ้นไป
ถึงสองแสนกว่า การรายงานอาจจะรายงานเป็นจานวน cell/ml เลยจากการนับ หรือ จากการ
ประมาณด้วยสายตาเวลาดูสไลด์ที่ย้อมดูเม็ดเลือด แล้วประเมินปริมาณคร่าวออกมาดังนี้
- Adequate หรือเพียงพอ หรือพอดี หรือปกติ - Decrease หรือ ลดลงกว่าปกติ หรือต่ากว่า
ปกติ พวกนี้มักจะพบในคนไข้ที่ติดเชื้อพวกไวรัส (เช่นไข้เลือดออก) หรือ มีการสร้าง
ผิดปกติ หรือ โรคเกล็ดเลือดต่าโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Thrombocytopenic Purpura (ITP) ซึ่ง
ทาให้มีเลือดออกง่ายและเกิดจ้าเลือได้ตามตัว พบได้บ่อยพอสมควร
- Increase พบได้ในบางภาวะเช่นมีการอักเสบรุนแรง มีเนื้องอกบางชนิดในร่างกายหรือ มีการ
เลือดฉับพลัน (จะมีการกระตุ้นให้ไขกระดูกเร่งสร้างเกล็ดเพื่อไปช่วยทาให้เลือดหยุด และอุด
บาดแผล) นอกจากนี้ยังมีพวกที่เกล็ดเลือดสูงขึ้นมาเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น ต่างๆ ก็
ได้ เรียกว่า Essential Thrombocytosis
(พวกที่มีความผิดปกติ ทั้ง Decrease และ Increase นี่อาจจะต้อง นับ Platelets ให้ละเอียดแล้ว
รายงานเป็นตัวเลขอีกที)
RBC Morphology หรือรูปร่างของเม็ดเลือดแดง จะมีรายงานออกมาหลายรูปแบบ ตามลักษณะ
ที่มองเห็น ซึ่งจะช่วยแยกโรคได้หลายอย่าง เช่น บอกว่าเป็น ธาลลาสซีเมียได้คร่าวๆ หรือ บอก
ภาวะโลหิตจาง จากการขาดเหล็กเป็นต้น และบางครั้ง อาจจะเห็นพวก มาเลเรีย อยู่ในเม็ด
เลือดแดงด้วยก็ได้
การตรวจสภาพความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) : เป็นพื้นฐานการตรวจเบื้องต้นเพื่อหาปริมาณของเม็ดเลือด
แดง เม็ดเลือดขาว รวมทั้งเกร็ดเลือดในร่างกาย Hemoglobin (HGB) คือการวัดปริมาณ HGB ในเม็ดเลือดแดง
เพื่อประเมินว่ามีภาวะของโลหิตจาง(ซีด)หรือไม่ ค่าปกติของ ผู้ชาย 14 - 18 g/dl ผู้หญิง 12 - 16 g/dl
ข้อสังเกต
+ การดื่มน้ามากเกินไป อาจทาให้ค่า HGB ลดลง
+ HGB จะลดลงในภาวะตั้งครรภ์
+ HGB อาจสูงขึ้นในคนที่สูบบุหรี่จัด
Hematocrit (HCT) คือการวัดเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรเม็ดเลือดแดงในปริมาตรเลือดทั้งหมด ค่า HCT ที่วัดได้
ส่วนใหญ่จะประมาณ 3 เท่าของค่า HGB
ค่าปกติของ ผู้ชาย 42 - 52 %
ผู้หญิง 37 - 47 %
ข้อสังเกต
13
+ ในคนที่งดน้าก่อนการตรวจเลือดเป็นเวลานาน อาจทาให้ค่า HCT เพิ่มขึ้นได้
+ ในคนที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ก็อาจมีค่า HCT สูงขึ้นได้
+ HCT จะสูงขึ้นในคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง หรือในคนที่สูบบุหรี่จัด
ข้อแนะนาในการปฏิบัติตน
ในคนที่พบค่าของเม็ดเลือดแดงต่า (โลหิตจาง) ซึ่งสาเหตุจะยังไม่ทราบแน่นอน แต่ที่พบบ่อยอาจเกิดจากการ
ขาด ธาตุเหล็ก เช่น การเสียเลือดจากการมีประจาเดือนในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เป็นริดสีดวงทวาร หรืออาจมีพยาธิ
เป็นต้น จึงแนะนาให้เสริมธาตุเหล็ก
+ โดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆ ตับ เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว และไข่
+ โดยการรับประทานวิตามินที่มีธาตุเหล็กเสริม
+ ในบางกรณีอาจจะต้องทาการตรวจอุจจาระเพิ่มเติม
White Blood Cell Count ( WBC ) คือการนับจานวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมดใน 1 cu.mm.หรือ mL ซึ่งส่วนใหญ่
มักจะมีค่าผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย เช่น จากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส (แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยประวัติ
อื่นๆ ประกอบด้วย) ค่าปกติ 4,800 - 10,800 /mL
Differential White Cell Count คือการหาเปอร์เซ็นต์ของ WBC แต่ละชนิด ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด
+ Neutrophils (NEUT) ค่าปกติ 40 - 74 % : จะพบสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อจาพวกแบคทีเรีย
+ Lymphocytes (LYMP) ค่าปกติ 19 - 48 %: จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีการติดเชื้อไวรัสอย่างเฉียบพลัน หรือ
ภาวะที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรื้อรัง
+ Monocytes (MONO) ค่าปกติ 3 - 9 %: จะพบสูงขึ้นในผู้ที่อยู่ในระยะฟื้นจากการติดเชื้อทั่วไป
+ Eosinophils (EOS) ค่าปกติ 0 - 9 %: จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีภูมิแพ้ (Allergy), ภาวะที่มีพยาธิในร่างกาย
+ Basophils : ค่าปกติ 0 - 2 %
Platelet Count (PLT) คือการนับจานวนของเกร็ดเลือดต่อ mL ในเลือด (เกร็ดเลือดมีความจาเป็นที่ทาให้เลือด
แข็งตัว) ถ้าต่ากว่า 100,000/mL ถือว่าน้อยไปอาจทาให้เลือดหยุดยาก ตรงกันข้ามถ้ามากไป คือสูงกว่า
400,000/mL จะทาให้เลือด แข็งตัวได้ง่ายขึ้น และอาจเป็นสาเหตุทาให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือด ค่าปกติ
130,000 - 400,000 cells /m
-------------
การตรวจทางเคมีของเลือด
1. ตรวจระดับน้าตาลในเลือด (Glucose) คือการตรวจหาระดับน้าตาลในเลือดเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคเบาหวาน
โดยควรงดอาหารและน้า อย่างน้อย 8 - 10 ชั่วโมงก่อนตรวจ ค่าปกติ 75 - 110 mg/dl ในกรณีที่มีค่า Glucose
สูงกว่าค่าปกติ อาจจะต้องพิจารณาดังต่อไปนี้;
(ก) ถ้าค่า Glucose มากกว่า 110 mg/dl แต่ไม่เกิน 140 mg/dl แสดงว่าอาจเริ่มมีอาการของโรคเบาหวาน
a. ข้อแนะ นา
i. ควร ควบคุมการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน,น้าอัดลม,ใน้าตาลหรือผลไม้ที่มีรสหวาน จัด เช่น ทุเรียน
มะม่วงสุก ลาใย เป็นต้น
(ข) ถ้าค่า Glucose มากกว่า 140 mg/dl แต่ไม่เกิน 200 mg/dl แสดงว่าเป็นโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น
a. ข้อแนะ นา
i. ควร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน,น้าอัดลม, น้าตาลหรือผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน
มะม่วงสุก ลาใย เป็นต้น
ii. ลด ปริมาณอาหารจาพวกแป้ง (เพราะจะเปลี่ยนเป็นน้าตาล)
iii. ลด ปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่
iv. รับ ประทานอาหารประเภทที่มีเส้นใยอาหารสูงเช่น ผักประเภทต่างๆ เช่น คะน้า หอมใหญ่ ฯลฯ
v. หลีก เลี่ยงการดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
14
vi. ออก กาลังกายอย่างสม่าเสมอ
vii. เมื่อ ปฏิบัติตามคาแนะนาแล้ว ประมาณ 2 เดือน ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเลือดหาน้าตาลซ้า
(ค) ถ้าค่า Glucose สูงกว่า 200 mg/dl
a. ข้อ แนะนา
i. ปฏิบัติ ตามคาแนะนาในข้อ (ข)
ii. ควร ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจาเป็นต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้าตาล
--------------
5. การตรวจ Blood Typing เป็นการตรวจดูกรุ๊ปเลือด (A, B, O, หรือ AB) และ Rh Factor (Positive หรือ
Negative) ในทางปฏิบัติ พนักงานทุกคนควรทราบทั้งกรุ๊ปเลือด และ Rh Factor ของตนเอง เพื่อแจ้งให้
ผู้เกี่ยวข้องทราบเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้น เช่น เลือดกรุ๊ป O Positive หรือ O Negative เป็นต้น
15
การตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
การตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Complete Urine Analysis : UA)
เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มาก เนื่องจากสามารถบ่งชี้ความผิดปกติของไตได้ตั้งแต่ระยะแรกที่ยังไม่มีอาการ ประเทศไทย
เป็นประเทศที่พบโรคไตวายเรื้อรังค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่สามารถรักษาและป้องกันได้ ถ้าตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่
แรกก่อนที่ไตจะเสื่อมจนเป็นไตวาย
ในการตรวจปัสสาวะ ผลการตรวจที่สาคัญ ได้แก่
1. การตรวจหาโปรตีน (ไข่ขาว) ในปัสสาวะ
2. การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ
3. การตรวจหาเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ
การตรวจโปรตีนในปัสสาวะ
โดยปกติโปรตีนจะรั่วออกมาในปัสสาวะเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะตรวจไม่พบ แต่เมื่อไตมีพยาธิ สภาพเกิดขึ้นมักจะมีผลทาให้
โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะมากขึ้นจนตรวจพบได้ ซึ่งจะรายงานผลตามความเข้มข้นของโปรตีน ที่ตรวจพบตั้งแต่ 1+ ถึง
ระดับ 4+ เพราะฉะนั้นในผู้ที่ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ จะต้องระวังแล้วว่าไตของตนเอง เริ่มมีความเสื่อมลงจากสาเหตุ
ใดสาเหตุหนึ่ง และควรต้องได้รับการตรวจซ้า และติดตามตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไป
การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ
ในคนปกติตรวจพบเม็ดเลือดแดง จานวนประมาณ 0-5 เซลล์ ต่อการมองในกล้องขยายกาลังสูงหนึ่งครั้ง ถ้าตรวจพบ
จานวนเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ เช่น มากกว่า 10 เซลล์ขึ้นไป ถือว่าไตมีความผิดปกติ และต้องตรวจสืบค้นหาสาเหตุ
ต่อไป เช่น อาจเป็นนิ่ว, อาจมีไตอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือการอักเสบจากภูมิไวเกินของร่างกาย เป็นต้น
การตรวจหาเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ
ในคนปกติตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะได้ประมาณ 0-5 เซลล์ ต่อการมองกล้องจุลทรรศน์หนึ่งครั้ง เช่นเดียวกับ
เม็ดเลือดแดง ถ้าตรวจพบมีจานวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ จะบ่งชี้ว่า กาลังมีการอักเสบติดเชื้อในระบบของทางเดิน
ปัสสาวะ ซึ่งพบบ่อยในเพศหญิง
นอกจากการตรวจกรองโรคของระบบไตแล้ว การตรวจปัสสาวะยังช่วยกรองโรคเบาหวานได้ โดยถ้าตรวจพบน้าตาลใน
ปัสสาวะ จะบ่งชี้วาอาจเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งควรยืนยันด้วยการตรวจเลือดเพิ่มเติมต่อ
โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ
เพิมเติม การตรวจปัสสาวะ
สอนวิธีแปลผลการตรวจปัสสาวะ (UA)
เรียน คุณหมอ
หนูอายุ 24 ปี 8 เดือน ค่ะ พอดีจะเข้าทางานแบงค์แห่งหนึ่ง
เค้าให้ไปตรวจร่างกาย แต่ผลการตรวจปัสสาวะน่าจะมีปัญหา
เค้าให้ไปตรวจใหม่อีกรอบอ่ะค่ะ รบกวนคุณหมอ
ช่วยแปลผลให้ทราบหน่อยนะคะ
16
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ
Urine Analysis
Color Amber
Clarity Turbid
Sp.Gr 1.025 (1.003-1.03)
pH 5.0 (5-7)
Protein Negative
Glucose Negative
Ketone 2+
(repeated 1 time)
Urobilinogen Negative
Bilirubin Negative
Blood Negative
Leukocyte 1+
Nitrite Negative
Microscopic Examination Centrifuged 10 ml
White blood cell 3-4 cells/HPF (<3)
Red blood cell 0-1 cell/HPF (<5)
Squamous epithelial cell 5-10 cells/HPF (<5)
Bacteria Moderate
Amorphous -
Mucous thread 2+
……………………………………………..
ตอบครับ
ผมเคยสอนวิธีแปลผลค่าการตรวจนับเม็ดเลือดหรือCBC ไปแล้ว คราวนี้จะสอนวิธีแปลผลการตรวจปัสสาวะ
หรือ urine analysis (UA) นะครับ
Color ก็แค่บอกว่าฉี่เป็นสีอะไร ของคุณรายงานว่าเป็นสีAmber แปลว่าสีทองอาพัน ฮั่นแน่ ฉี่สีสวยเสียด้วย ใน
ประเด็นสีของปัสสาวะนี้หากเป็นตระกูลเฉดสีเหลืองอ่อนๆรวมทั้งสีทองอาพันก็ถือว่าปกติ แต่หากเป็นสีเหลืองเข้มก็อาจ
ผิดปกติในแง่ที่อาจมีดีซ่านหรือหมายถึงมีน้าดีออกมาในปัสสาวะ ถ้าเป็นสีส้มหรือสีแดงก็ผิดปกติแน่นอนในแง่ที่ว่าน่าจะมี
เลือดปน ถ้าไม่ใช่เพราะเก็บตัวอย่างขณะมีเมนส์ก็ต้องเป็นเพราะมีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจหมายถึงมีนิ่ว
หรือไตอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือโน่น เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือมะเร็งของไตไปเลย ดังนั้นการมีฉี่
สีส้มหรือสีแดงจึงต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่มีอะไรในกอไผ่ ในเรื่องสีนี้ยังเป็นไปได้อีกสีหนึ่ง
คือปัสสาวะสีเป็นโค้ก หมายถึงสีน้าตาลดาแบบเป๊บซี่โคล่า อันนี้หมายถึงการมีเม็ดเลือดแตกในร่างกายแล้วถูกขับออกมา
ในปัสสาวะ เช่นคนเป็นโรคขาดเอ็นไซม์จีซิกซ์พีดี (G6PD) มักจะมีอาการเม็ดเลือดแตกง่ายให้เห็นเป็นครั้งคราว หรือบาง
ทีติดเชื้อแรงๆรวมทั้งเชื่อเช่นมาเลเรียก็ทาให้เม็ดเลือดแตกได้ คนสมัยก่อนถึงได้เรียกมาเลเรียว่า “ไข้ปัสสาวะดา”
17
Clarity แปลว่าความใสของปัสสาวะอยู่ระดับไหน ถ้าใสก็รายงานว่าclearถ้าขุ่นอย่างของคุณนี้ก็รายงาน
ว่า Turbid ซึ่งแปลว่าขุ่น การมีปัสสาวะขุ่นถือเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่ง ถ้าไม่เป็นเพราะร่างกายกาลังขาดน้าอยู่อย่าง
แรง ก็น่าจะมีเหตุอื่นให้ปัสสาวะขุ่น เช่น มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โมเลกุลสารเคมีต่างๆรั่วออกมาในปัสสาวะ เช่น
โปรตีน น้าตาล คีโตน ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งสารเคมีแต่ละตัวที่รั่วออกมาเป็นตัวบ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอะไร
Sp.Gr ย่อมาจาก specific gravity แปลว่าความถ่วงจาเพาะ หมายถึงความหนาแน่นของน้าปัสสาวะเมื่อเทียบ
กับน้าบริสุทธิ์ คือน้าบริสุทธิ์โดยนิยามมีความถ่วงจาเพาะเท่ากับ 1.0 ปัสสาวะของคุณมีความถ่วงจาเพาะ1.025 ถือว่าแม้
จะอยู่ในพิสัยปกติ (1.003-1.03) แต่ก็ค่อนไปทางสูง บ่งบอกว่าขณะที่คุณเก็บปัสสาวะนี้ร่างกายกาลังอยู่ในภาวะขาดน้า
ซึ่งเป็นแคแรคเตอร์ของสาวไทยที่ต้องทาตัวให้ขาดน้าไว้เสมอจะได้ไม่เสียฟอร์มที่ต้องวิ่งเข้าห้องน้าบ่อย หารู้ไม่ว่าการทา
เช่นนั้นจะทาให้ไตพังง่ายๆไม่รู้ตัว การที่ค่าSpGr สูงนี้ เป็นตัวอธิบายว่าการที่ปัสสาวะขุ่นนั้นอาจจะไม่มีอะไรในกอไผ่
อาจเกิดจากร่างกายขาดน้าเท่านั้นเอง
pH หมายถึงค่าความเป็นกรดเป็นด่างของปัสสาวะ คือของเหลวทั่วไปที่เป็นกลางไม่เปรี้ยวไม่ฝาดไม่เป็นกรด
หรือด่าง ค่า pH จะเท่ากับ 7.4 แต่ปัสสาวะของคนเรานี้ต้องเปรี้ยวถึงจะดี คือต้องเป็นกรดมีpH อยู่ระหว่าง (5.0 –
7.0) ของคุณนี้มี pH 5.0 แม้จะคาบเส้นอยู่ในพิสัยปกติแต่ก็ชวนให้เอะใจว่าทาไมปัสสาวะเปรี้ยวจี๊ด เอ๊ย ไม่ใช่ทาไม
ปัสสาวะเป็นกรดมากอย่างนั้น อาจมีสารเคมีอะไรที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น บักเตรี ยา อาหาร (เช่นโปรตีน) อยู่ในปัสสาวะ
มากผิดปกติ
Protein หมายถึงโมเลกุลโปรตีนที่รั่วออกมาในปัสสาวะ ของคุณนี้รายงานว่าได้ผลลบ (Negative) แปลว่าไม่มี
โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ การมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะแสดงว่าไตกาลังมีปัญหา อาจจะเป็นโรคได้สารพัดเช่นโรค
ไตรั่ว (nephrotic syndrome) โรคไตอักเสบ โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น
Glucose หมายถึงโมเลกุลของน้าตาลกลูโคสที่รั่วออกมาในปัสสาวะ ของคุณรายงานว่าไม่มี ถ้าของใครมีน้าตาล
รั่วออกมาในปัสสาวะก็แสดงว่ามีน้าตาลในเลือดสูง หรือเป็นเบาหวานนั่นเอง
Ketone หมายถึงมีโมเลกุลของคีโตนรั่วออกมาในปัสสาวะ ของคุณรายงานว่ามี2+ หมายความว่ามีมากพอควร
(1+ เท่ากับมีแต่น้อย 2+ เท่ากับมีปานกลาง3+ เท่ากับมีมาก) แปลว่าผิดปกติละสิครับ เขาระบุไว้ด้วยว่าตรวจซ้าอีกครั้งก็
ยังผิดปกติอยู่นั่นแล้ว แสดงว่าผิดปกติจริงๆไม่ใช่ความคลาดเคลื่อนของแล็บ
ดังนั้นมารู้จักคีโตนกันหน่อยนะว่ามันคืออะไร ทาไมถึงมาโผล่ในฉี่ของเราได้ คือปกติกระบวนการขับเคลื่อน
ร่างกายของเรานี้จะต้องมีเม็ดพลังที่เรียกว่าอะเซติลโคเอ (AcetylCoA) ไปช่วยเซลต่างๆทางานจึงจะมีชีวิตปกติอยู่ได้
การจะได้เม็ดพลังนี้มามีสองทางเท่านั้น หนึ่งคือย่อยโมเลกุลกลูโคสเอาเม็ดพลัง สองคือย่อยโมเลกุลคีโตนเอาเม็ดพลัง
ปกติร่างกายจะใช้กลูโคสเพราะเราได้มาง่ายๆจากอาหารคาร์โบไฮเดรตเช่นน้าตาลและแป้ง ต่อเมื่อไม่มีกลูโคส ตับจึงจะ
ย่อยไขมัน ทั้งไขมันที่กินเข้าไปหรือไขมันที่สะสมไว้ ออกมาเป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acidหรือ FAA) แล้วย่อย
ต่อไปเป็นคีโตน เมื่อได้คีโตนแล้วก็เอาไปให้เซลใช้เป็นเม็ดพลัง แต่บางที่หากส่งคีโตนให้เซลมากเกินไปเซลก็ประท้วงไม่
ใช้คีโตนเสียดื้อๆ ทาให้คีโตนเหลือบานเบอะ ต้องระบายออกมาทางลมหายใจเป็นกลิ่นน้ายาล้างเล็บ หรือไม่ก็ระบาย
ออกไปทางปัสสาวะ คนที่มีคีโตนมากจนต้องระบายทิ้งเช่นนี้ไม่ใช่คนปกติ ต้องมีอะไรผิดพลาดสักอย่างหนึ่งที่ทาให้ไม่มี
กลูโคสใช้ เช่นคนที่ขาดอาหาร โดยเฉพาะพวกนางแบบที่ชอบกินแล้วอ๊วก กินแล้วอ๊วก หรือคนที่ลดความอ้วนด้วยสูตร
No Carb คือกินแต่เนื้อสัตว์และไขมันแต่ไม่กินคาร์โบไฮเดรตเลย หรือคนที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเซลร่างกายเอากลูโคส
ไปต่อยเป็นเม็ดพลังไม่ได้ ทาให้แม้จะมีกลูโคสบานเบอะ แต่ก็ใช้ไม่ได้ ต้องหันไปใช้ไขมันแทน หรือคนที่ร่างกายขาดน้า
อย่างแรง หรือคนที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น
คนที่มีกลิ่นน้ายาล้างเล็บหรือกลิ่นคีโตนออกมาทางลมหายใจนี้ เวลาไปเข้าเครื่องตรวจแอลกอฮอล์ของตารวจมี
หวังโดนจับเพราะเครื่องแยกไม่ออกว่านี่เป็นคีโตนหรือนี่เป็นแอลกอฮอล์ ในบางประเทศเช่นสวิเดนซึ่งมีรถชนิดที่ดักจับ
18
แอลกอฮอล์จากลมหายใจของคนขับ ถ้าคนขับเมามาก รถจะสตาร์ทไม่ติด เคยมีคนที่มีคีโตนออกมาในลมหายใจมากจาก
การลดความอ้วนด้วยสูตร No Carb ขึ้นไปขับรถแบบนี้แล้วขับไม่ได้ เพราะสตาร์ทรถไม่ติด
Bilirubin หมายถึงน้าดี ของคุณไม่มี คนที่มีน้าดีออกมาในปัสสาวะแสดงว่ากาลังมีปัญหาดีซ่าน เช่นตับกาลัง
อักเสบ หรือทางเดินน้าดีกาลังอุดตัน หรือเม็ดเลือดกาลังแตก เป็นต้น
Leukocyte หมายถึงสารจากเม็ดเลือดขาว ถ้ามีมากก็แสดงว่ามีเม็ดเลือดขาวออกมาในปัสสาวะมาก
Nitrite คือสารพวกไนไตรท์ ซึ่งปกติไม่มีในปัสสาวะ จะมีก็เฉพาะในภาวะที่มีการติดเชื้อบักเตรีชนิดที่สร้างไน
ไตรท์ได้ หรือไม่ก็เกิดเลือดออกในปัสสาวะขนาดหนัก ของคุณไม่มีไนไตรท์เราก็จะข้ามตรงนี้ไป
Microscopic Examination แปลว่าการส่องกล้องจุลทรรศน์ดูปัสสาวะ
Centrifuged 10 ml แปลว่าเอาปัสสาวะ10 ซีซี.มาปั่นแล้วเอาตะกอนที่ปั่นได้มาส่อง
White blood cell แปลว่าเม็ดเลือดขาว ของคุณตรวจพบ 3-4 เซลต่อหนึ่งจอกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งก็ถือว่ามี
มากกว่าปกติจนน่าสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหรือเปล่า
Red blood cell แปลว่าเม็ดเลือดแดง ของคุณมี 0-1 เซลต่อจอ ถือว่าปกติ
Squamous epithelial cell แปลว่าเซลเยื่อบุผิว ของคุณออกมา 5-10เซลต่อจอ ซึ่งมากกว่าปกติ แสดงว่าอาจ
เก็บตัวอย่างปัสสาวะแบบมีการปนเปื้อน หรืออาจมีการติดเชื้อหรืออักเสบเกิดขึ้น
Bacteria ก็คือบักเตรี ของคุณรายงานว่ามีมากปานกลาง ปกติปัสสาวะไม่ควรมีบักเตรี เพราะมันเป็นกรด บักเตรี
อยู่ไม่ได้ ถ้ามีบักเตรีแสดงว่ามีการติดเชื้อ แต่ถ้าเราฉี่แล้วตั้งทิ้งไว้นานกว่าห้องแล็บจะมารับไปตรวจ บักเตรีในอากาศก็
อาจเข้าไปเจริญเติบโตในปัสสาวะได้เหมือนกัน เรียกว่าเป็นผลบวกเทียม หรือเป็นความผิดพลาดทางเทคนิค
Amorphous แปลว่าผลึกในน้าปัสสาวะ เช่นผลึกกรดยูริก เป็นต้น ของคุณรายงานว่าไม่มี ถ้ามีก็บ่งบอกว่าสารที่
ตกผลึกนั้นมีมาก ถ้ามากถึงขนาดหนักก็จะกลายเป็นนิ่วนั่นแล
Mucous thread หมายถึงเยื่อเมือกที่เห็นเป็นเส้นๆในกล้อง มีความหมายคล้ายๆกับเซลเยื่อบุผิว คือมีมากก็บ่ง
บอกถึงการอักเสบ
กล่าวโดยสรุป ปัสสาวะของคุณมีความผิดปกติตรงที่มีสารคีโตนสูง มีความถ่วงจาเพาะสูง มีความเป็นกรดสูง มี
จานวนเม็ดเลือดขาวมาก มีเซลเยื่อบุมาก ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่าคุณอาจจะอยู่ในภาวะใดภาวะหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่
1. ร่างกายอาจขาดน้ารุนแรง
2. อาจเป็นโรคขาดอาหารหรืออดอาหารมากเกินไป
3. อาจเป็นเบาหวาน
4. อาจมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
จะเป็นโรคอะไรแน่นั้นยังไม่รู้ ผมแนะนาให้คุณดื่มน้ามากๆวันละอย่างน้อย2 ลิตร ทานอาหารให้ได้สัดส่วน
ถูกต้องและพอเพียง ทาอย่างนี้สักสองสัปดาห์ แล้วไปตรวจร่างกายซ้า โดยคราวนี้ควรตรวจทั้งการวิเคราะห์ปัสสาวะ
(UA) การเพาะหาเชื้อบักเตรีในปัสสาวะ (urine culture) และการตรวจเลือดดูสภาวะเบาหวาน (FBS หรือ HbA1c) ด้วย
จึงจะตอบคาถามคุณได้เด็ดขาดว่าคุณป่วยเป็นอะไร หรือว่าอาจจะไม่มีอะไรในกอไผ่เลยก็ได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
การตรวจปัสสาวะ
U/A (Urinary Analysis) คือการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ จะมีค่าที่รายงานออกมาหลายอย่างเช่น
19
ลักษณะของปัสสาวะทั่วไป เช่น ความขุ่นใส สี คนปกติ ควรมีสีเหลืองอ่อนและใส (Yellow
Clear)
Sp G (Specific Gravity) = ความถ่วงจาเพาะ คนปกติจะอยู่ประมาณ 1.010 ถึง 1.020
......ถ้าสูงเกินไป อาจจะเกิดจากร่างกายขาดน้า เช่นดื่มน้าน้อย ท้องร่วงรุนแรง หรือในเด็กเป็น
ไข้เลือดออกที่กาลังช้อค และได้น้าชดเชย น้อยเกินไปทาให้ขาดน้าในกระแสเลือด จะทาให้
ปัสสาวะเข้มข้น
......ถ้าต่าไป อาจจะเกิดจาก กินน้ามากเกิน ร่างกายจึงกาจัดน้า ออกมาทางปัสสาวะเยอะ
หรือ เป็นโรคที่ทาให้มีปัสสาวะมีน้าออกมา มากผิดปกติ เช่น โรคเบาจืด
pH หรือ ความเป็นกรดเป็นด่างของปัสสาวะ คนปกติจะมี pHประมาณ 6-8 ค่าความเป็นกรด และ
ด่างของปัสสาวะมีผลต่อการออกฤทธิ์ ของยาบางอย่างและการตกตะกอน ของสารบางอย่าง ใน
ปัสสาวะทาให้เกิดนิ่วได้
Alb (Albumin) หรือ Protein คือโปรตีนไข่ขาว ปกติในปัสสาวะไม่ควรมีโปรตีนไข่ขาวนี้ หลุด
ออกมา แต่ถ้าไตทางานผิดปกติ จะมีAlb ออกมาในปัสสาวะ เช่นคนไข้ โรคไตชนิดNephrotic
Syndrome หรือ ถ้าเป็นในคนท้อง ถ้าพบ Alb ก็จะต้องระวังภาวะครรภ์เป็นพิษ (ซึ่งจะพบมีอาการ
บวม และ ความดันสูงร่วมไปด้วย)
Sugar หรือ Glucose คนปกติ ไม่ควรมีน้าตาลหรือกลูโคสในปัสสาวะ ถ้าตรวจพบ จะสงสัยว่า
คนไข้อาจจะเป็นเบาหวาน ควรจะงดอาหารไม่น้อยกว่าหกชม. แล้วเจาะเลือด ดูน้าตาลในเลือด
(FBS )เพื่อยืนยันโรคเบาหวานต่อไป (Note ทั้ง alb และ sugar ปกติจะรายงานปริมาณมากน้อย
เป็น +1,+2,+3,+4 ตามลาดับ)
WBC หรือเม็ดเลือดขาว ในคนปกติ ไม่ควรมีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะเลย
ถ้ามีเม็ดเลือดขาวออกมามากในปัสสาวะ แสดงว่ามีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือกรวยไตอักเสบ (ปกติจะรายงานเป็นจานวนเซลที่พบ ต่อพื้นที่ที่
มองเห็นด้วยหัวกล้อง ขนาด X40หรือ High Dry Field (HDF) ถ้าพวกที่พบเล็กน้อย เช่น 1-2 Cell/
HDF อาจจะไม่สาคัญเท่าไรนักแต่ถ้าพวก มีการติดเชื้ออาจจะพบหลายสิบตัว หรือเป็นร้อยๆ ซึ่ง
จะรายงานว่า มีจานวนมาก (Numerous)
RBC หรือเม็ดเลือดแดง เช่นเดียวกับเม็ดเลือดขาวคือ คนปกติไม่ควรพบเม็ดเลือดแดง ถ้าพบ
แสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ อาจจะจากอุบัติเหตุ (ถ้ามีประวัติบ่งชี้ว่า ได้รับการ
กระแทกตามทางเดินปัสสาวะ) หรือมีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทางเดิน
ปัสสาวะ (การติดเชื้อบางครั้งก็ทาให้มีเม็ดเลือดแดงออกมา ในปัสสาวะได้แต่มักจะมี เม็ดเลือด
ขาวมากกว่า แต่สาเหตุที่พบบ่อยสุด ที่ทาให้พบเม็ดเลือดแดงจานวนมากในปัสสาวะคือ นิ่ว )
(หมายเหตุ - การเก็บปัสสาวะถ้าคนไข้กาลังเป็นเม็นส์ควรหลีกเลี่ยง เพราะว่าจะมีเลือด จาก
เม็นส์ลงไปปนทาให้ พบเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง จานวนมากในปัสสาวะได้)
Epithelial หรือเซลเยื่อบุทางเดินปัสสาวะในส่วนต่างๆ อาจจะพบได้เมื่อมีการอักเสบหรือความ
ผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ
นอกจากนี้อาจจะมีรายงานพวกผลึกของสารต่างๆ ที่ปนมากับปัสสาวะเช่น Calcium Oxalate
หรือ Urate Crystal ซึ่งพวกนี้อาจจะตกตะกอนเป็นนิ่วต่อไปได้
20
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)Sakarin Habusaya
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)Weerawan Ueng-aram
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุSirinoot Jantharangkul
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)Utai Sukviwatsirikul
 
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลChutchavarn Wongsaree
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)Aphisit Aunbusdumberdor
 
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...Chutchavarn Wongsaree
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการUtai Sukviwatsirikul
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำPrathan Somrith
 
PALS manual 2009
PALS manual 2009PALS manual 2009
PALS manual 2009taem
 
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57Sirinoot Jantharangkul
 
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559Kamol Khositrangsikun
 
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ Utai Sukviwatsirikul
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขUtai Sukviwatsirikul
 

Was ist angesagt? (20)

Ppt. stroke1
Ppt. stroke1Ppt. stroke1
Ppt. stroke1
 
อาหาร Dm
อาหาร Dmอาหาร Dm
อาหาร Dm
 
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
คู่มือการจัดทำบัญชีข้อมูลยา ของ รพ.สต. (Drug Catalogue)
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
 
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก (Orthopedics nursing problem)
 
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำ
 
Wound care
Wound careWound care
Wound care
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
Laboratory Testing
Laboratory TestingLaboratory Testing
Laboratory Testing
 
PALS manual 2009
PALS manual 2009PALS manual 2009
PALS manual 2009
 
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ 57
 
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
คู่มือปฏิบัติงาน CKD 2559
 
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
คู่มือการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
 

Andere mochten auch

การแปลผลการตรวจร่างกาย
การแปลผลการตรวจร่างกายการแปลผลการตรวจร่างกาย
การแปลผลการตรวจร่างกายNett Parachai
 
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชนคู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชนSurapol Imi
 
การซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วยการซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วยOzone Thanasak
 
คู่มือประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
คู่มือประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์คู่มือประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
คู่มือประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์Ann Ann
 
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Utai Sukviwatsirikul
 
ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานUtai Sukviwatsirikul
 
โรคเรื้อรังที่พบบ่อย
โรคเรื้อรังที่พบบ่อยโรคเรื้อรังที่พบบ่อย
โรคเรื้อรังที่พบบ่อยDr.yababa najra
 
Current Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in DiabetesCurrent Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in DiabetesUtai Sukviwatsirikul
 
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...Parun Rutjanathamrong
 
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล Utai Sukviwatsirikul
 
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555Utai Sukviwatsirikul
 
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่Utai Sukviwatsirikul
 
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงPa'rig Prig
 
แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010Utai Sukviwatsirikul
 
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวานบทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวานPa'rig Prig
 

Andere mochten auch (20)

การแปลผลการตรวจร่างกาย
การแปลผลการตรวจร่างกายการแปลผลการตรวจร่างกาย
การแปลผลการตรวจร่างกาย
 
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชนคู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
 
การซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วยการซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วย
 
คู่มือประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
คู่มือประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์คู่มือประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
คู่มือประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
 
C expo1 thai
C expo1 thaiC expo1 thai
C expo1 thai
 
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
 
ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวาน
 
โรคเรื้อรังที่พบบ่อย
โรคเรื้อรังที่พบบ่อยโรคเรื้อรังที่พบบ่อย
โรคเรื้อรังที่พบบ่อย
 
Cpg hyperlipidemia 2558
Cpg hyperlipidemia 2558Cpg hyperlipidemia 2558
Cpg hyperlipidemia 2558
 
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
 
Current Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in DiabetesCurrent Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in Diabetes
 
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
 
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
 
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
 
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
 
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
 
Pharmacotherapy stroke
Pharmacotherapy strokePharmacotherapy stroke
Pharmacotherapy stroke
 
แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010
 
Cpg for acne
Cpg for acneCpg for acne
Cpg for acne
 
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวานบทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
 

Mehr von Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

Mehr von Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ

  • 1. คู่มือการอ่านผลตรวจเลือด (Dec 2012) ** วิธีใช้ : กด Ctrl + F เพื่อหาวิธีการแปลผลในแต่ละค่า เช่น กด Ctrl+F แล้วพิมพ์ HDL ----- รวบรวมจาก – การดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง ; นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ ; http://www.calintertrade.co.th/blog/?p=64 -สอนวิธีแปลผลการตรวจปัสสาวะ;นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์;http://visitdrsant.blogspot.com/2012/03/ua.html - การแปลผลตรวจห้องปฏิบัติการ;คุณ porto ;http://www.oknation.net/blog/print.php?id=285951- - รวบรวม/ จัดเรียง : Chear Ponsit ***** ค่าปกติของผลตรวจเลือดแต่ละโรงพยาบาลอาจจะ มีมาตราฐานต่างกันได้เล็กน้อย ***** เอกสารแนะนาสาหรับผู้ตรวจร่างกายประจาปี (กด http://www.health.co.th/menu03.html#AnnualCheckUpAdvice เพื่อเปิดเว็บดูรายละเอียด) เอกสารแนะนา 1. เรื่อง การเลิกบุหรี่ เอกสารแนะนา 2. เรื่อง การลดไขมัน LDL เอกสารแนะนา 3. เรื่อง การลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ เอกสารแนะนา 4. เรื่อง การเพิ่มไขมัน HDL เอกสารแนะนา 5. เรื่อง การรักษาความดันเลือดสูงโดยไม่ใช้ยา เอกสารแนะนา 6. เรื่อง การควบคุมน้าหนัก เอกสารแนะนา 7. เรื่อง การควบคุมน้าตาลในเลือด เอกสารแนะนา 8. เรื่อง ทาอย่างไรเมื่อผลการตรวจพบว่าไตเสื่อม เอกสารแนะนา 9. เรื่อง ทาอย่างไรเมื่อผลการตรวจพบว่าตับได้รับความเสียหาย เอกสารแนะนา 10. เรื่อง เมื่อกระดูกบางหรือกระดูกพรุน เอกสารแนะนา 11. เรื่อง การป้องกันมะเร็งเต้านม เอกสารแนะนา 12. เรื่อง ทาอย่างไรเมื่อสารชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) สูง เอกสารแนะนา 13. เรื่อง เมื่อตรวจพบว่าโลหิตจาง เอกสารแนะนา 14. เรื่อง เมื่อสารชี้บ่งมะเร็งตับ (AFP) สูง เอกสารแนะนา 15. เรื่อง เมื่อสารชี้บ่งมะเร็งตับอ่อน (CA19-9) สูง เอกสารแนะนา 16. เรื่อง เมื่อสารชี้บ่งมะเร็งรังไข่ (CA125) สูง เอกสารแนะนา 17. เรื่อง แอลกอฮอล์ เอกสารแนะนา 18. เรื่อง ความสาคัญของน้าต่อร่างกาย เอกสารแนะนา 19. เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับผักและผลไม้ เอกสารแนะนา 20. เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับโซเดียม เอกสารแนะนา 21. เรื่อง ไขมันโอเมก้า 3 เอกสารแนะนา 22. เรื่อง การออกกาลังกาย เอกสารแนะนา 23. เรื่อง การจัดการความเครียด เอกสารแนะนา 24. เรื่อง การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอกสารแนะนา 26. เรื่องกรดยูริกสูง 1
  • 2. Overview บทความพิเศษ โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ “การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง” หัวข้อเรื่อง • ชั่งน้าหนัก-วัดส่วนสูง • ความดันโลหิต • เอกซเรย์ทรวงอก • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด • ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ • ระดับน้าตาลในเลือด (FBS) • ระดับไขมันในเลือด (Cholesterol) • สมรรถภาพการทางานของตับ (SGOT & SGPT) • สมรรถภาพการทางานของไต (BUN & Cr) • ระดับกรดยูริค (Uric Acid) • ไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg & HBsAb) • สมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry) • สมรรถภาพการทางานของปอด (Spirometry) ประโยชน์ของการตรวจสุขภาพ ในปัจจุบันประชาชนมีความตื่นตัวในด้านการตรวจสุขภาพมากขึ้น และรัฐบาลได้มีการส่งเสริม ให้ดาเนินการดังกล่าว เห็น ได้จากการที่กระทรวงการคลังได้มีระเบียบอนุมัติให้ ข้าราชการสามารถเบิกจ่ายค่าตรวจสุขภาพได้ ตามรายการที่กาหนด และในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ให้นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพให้กับลูกจ้างเป็นประจา มีการ ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรับการตรวจสุขภาพประจาปี โดยกาหนดให้เป็นข้อหนึ่งอยู่ในสุขบัญญัติ 10 ประการ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพควรคานึงถึงเป้าหมายที่จะได้รับจากการตรวจ จึงจะมีประโยชน์ เป้าหมายสุดท้ายของการ ให้บริการด้านสุขภาพได้แก่  การมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น (Prolong Life)  การลดการเจ็บป่วย (Decrease Morbidity)  การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต (Improve Quality of Life) 2
  • 3. ดังนั้นการตรวจสุขภาพใดๆ ที่เพียงทาให้สามารถวินิจฉัยความผิดปกติได้ โดยไม่บรรลุเป้าหมายที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่ได้รับ การถือว่ามีประโยชน์ จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า “การตรวจสุขภาพ จะมีประโยชน์ได้ควรจะต้อง มีรายการ การตรวจที่เหมาะสม และ ผู้รับการตรวจ มีความเข้าใจต่อผล และค่าที่ได้จากการตรวจ และมีความรู้ที่จะสามารถปรับเปลี่ยน และปรับปรุง ตัว ให้สอดคล้องกับผลการตรวจนั้นๆ” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ประโยชน์ของเวชกรรมป้องกัน ที่ทาให้ป้องกันโรคได้จากการค้นหาโรคตั้งแต่ระยะต้นๆ ได้แก่ สถิติ การเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ลดลงตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 มากกว่าร้อยละ 50 เนื่องจากแนวโน้มในการค้นหา และ เริ่มรักษาความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ระยะต้นๆ 3
  • 4. การชั่งน้้าหนัก และวัดส่วนสูง วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโรคอ้วน และภาวะทุพโภชนาการในผู้ใหญ่ ปัจจุบันในทางการแพทย์ ถือว่า “ความอ้วน” เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ความอ้วนเกิดจาก การมีปริมาณไขมันในร่างกาย มากกว่าปกติ จนมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทาให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, โรคถุงน้าดี, โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วนที่มีผลร้ายต่อร่างกาย มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ โรคอ้วนทั้งตัว, โรคอ้วนลงพุง, และโรคอ้วนทั้งตัวร่วมกับโรคอ้วน ลงพุง 1. โรคอ้วนทั้งตัว (Overall Obesity) จะมีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ ไขมันมิได้จากัดอยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยเฉพาะ เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินว่าเป็น ”โรคอ้วน” แนะนาให้ใช้ การคานวณดัชนีมวลร่างกาย (Body Mass Index : BMI) ดัชนีมวลร่างกาย (BMI) = น้าหนักตัว (กิโลกรัม) /ส่วนสูง (เมตร) การวินิจฉัย “โรคอ้วนทั้งตัว” ที่แน่นอนที่สุด คือ การวัดปริมาณไขมันในร่างกายว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่เป็นเรื่อง ยุ่งยากเกินความจาเป็น ในทางปฏิบัติการใช้ ”ดัชนีมวลร่างกาย(BMI)”เป็นวิธีที่เหมาะสม โดยเหตุผลที่ว่า ดัชนีมวล ร่างกายแปรตามส่วนสูงน้อย และจากการศึกษาพบว่าค่าของดัชนีมวลร่างกายจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันจริงใน ร่างกาย และมีความสัมพันธ์กับอัตราการตาย โดยผู้ที่มีดัชนีมวลร่างกายมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์จะมีอัตราการตายสูงกว่า ผู้ที่มีดัชนีมวลร่างกายปกติ ค่าดัชนีมวลร่างกาย ผล 20.0-25.0 ปกติ ต่ากว่า 20.0 น่าหนักน้อยเกินควร 25.0 – 30.0 อ้วนเล็กน้อย สูงกว่า 30.0 เป็น ”โรคอ้วน” 2. โรคอ้วนลงพุง (Visceral Obesity) กลุ่มนี้จะมีไขมันของอวัยวะภายใน ที่อยู่ในช่องท้องมากกว่าปกติ และอาจมี ไขมันใต้ผิวหนังที่หน้าท้อง เพิ่มมากกว่าปกติด้วย เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินว่าเป็น ”โรคอ้วนลงพุง” 4
  • 5. จากการศึกษา พบว่า ผู้ที่มี “ภาวะอ้วนลงพุง” เกิดโรคหัวใจขาดเลือดสูงกว่า ผู้ที่มีไขมันสะสมมากบริเวณสะโพก และ/ หรือ บริเวณต้นขา เนื่องจากไขมันในช่องท้องจะดักจับไขมันชนิดที่ดี (HDL) ทาให้ไขมันชนิดที่ดี (HDL) ใน เลือดมีระดับต่าลง เพราะฉะนั้นผู้ที่มีไขมันสะสมในบริเวณช่วงกลางของลาตัว จะมีระดับไขมันที่ดี (HDL) ต่ากว่าผู้ที่มี ไขมันสะสมบริเวณสะโพก ก้น และต้นขา มีข้อมูลที่น่าสนใจว่าชาวอินเดียในเอเชียเป็นชาติที่มีอัตราเกิดโรคหัวใจขาด เลือดสูงสุด ทั้งๆ ที่เกือบครึ่งหนึ่งของชนกลุ่มนี้เป็นมังสวิรัติมาตลอดชีวิต จากการศึกษา พบว่า เกิดขึ้นเนื่องจากชนกลุ่มนี้มีระดับ HDL-Cholesterol ต่า และมีไตรกลีเซอไรด์สูง ร่วมกับมีรูปร่างเป็น โรคอ้วนลงพุง ซึ่งข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นความสาคัญของโรคอ้วนลงพุง ซึ่งมักจะมีภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง และมี ไขมันที่ดีต่า (HDL ต่า) 3. โรคอ้วนทั้งตัวร่วมกับโรคอ้วนลงพุง (Combined Overall and Abdominal Obesity) เป็นผู้ที่มีทั้งไขมัน ทั้งตัวมากกว่าปกติ และมีไขมันในช่องท้องมากกว่าปกติร่วมกัน ผลร้ายของโรคอ้วนที่มีต่อสุขภาพ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม 1. เกิดโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับความอ้วน เช่น โรคหัวใจขาดเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวาน โรคถุงน้าดี 2. มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ และการเผาผลาญทางชีวเคมีในร่างกาย (Metabolism) เซลล์ไขมันทาหน้าที่ เป็นเซลล์ของต่อมไร้ท่อได้ด้วย โดยสามารถสร้างฮอร์โมนได้ และยังเป็นเซลล์เป้าหมายของฮอร์โมนหลายชนิด ทาให้ คนอ้วนมีระดับและการตอบสนองต่อฮอร์โมนผิดปกติ เช่น มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้น แต่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินมี ระดับฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ลดลง มีฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ลดลง เป็นต้น 3. ปัญหาสุขภาพที่อ่อนแอลงจากความอ้วน เช่น เกิดโรคข้อเสื่อม มีการหายใจผิดปกติ มีความต้านของระบบทางเดิน หายใจส่วนบนเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มมีระดับกรดยูริคในเลือดสูง เป็นต้น 4. ปัญหาทางสังคม และจิตใจ ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาในบางคน มาตรการที่เสนอแนะ 5
  • 6. แนะนาให้ตรวจวัดส่วนสูง และชั่งน้าหนักเป็นระยะๆ ในบุคคลทุกคน เพื่อนามาใช้คานวณดัชนีมวลร่างกายควบกับการวัด สัดส่วนเส้นรอบวง-(เอว) ต่อเส้นรอบวง-(สะโพก) และประเมินโรคหรือภาวะทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นพื้นฐานใน การดาเนินมาตรการที่เหมาะสมต่อไป เมื่อตรวจพบว่า บุคคลใดอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นโรคอ้วนก็ควรต้องให้การรักษา โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ 1. ลดน้าหนัก โดยควรให้ได้ไม่ต่ากว่าร้อยละ 10 ของน้าหนักตัวเดิม 2. ต้องมีมาตรการในการรักษาน้าหนักตัวที่ลดแล้ว ให้คงอยู่ได้ตลอดไป 3. ตรวจสอบดูแลรักษาป้องกัน โรคต่างๆ ที่เกิดร่วมกับความอ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคความดันโลหิตสูง น้าตาลใน เลือดสูง ภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นต้น การบาบัดโรคอ้วน การที่มนุษย์จะมีน้าหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงย่อมขึ้นอยู่กับดุลยภาพของพลังงาน ซึ่งมาจากความสมดุลของพลังงานที่ได้ จากการบริโภค และพลังงานที่ร่างกายนาไปใช้ พลังงานที่บริโภค ขึ้นกับปริมาณพลังงานที่บริโภคทั้งหมด และขึ้นกับสัดส่วนของพลังงานที่ได้รับนั้นมาจากอาหาร ประเภทโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต(แป้ง) อย่างละเท่าใด พลังงานที่ร่างกายนาไปใช้ จะประกอบด้วยอัตราฐานของการเผาผลาญในร่างกาย และพลังงานที่ใช้ไปกับการ เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การทางาน การเล่นกีฬา เพราะฉะนั้น แนวทางการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคอ้วน จึงต้องมีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม และมีการเพิ่มระดับการ เคลื่อนไหวร่างกายที่มากเพียงพอ แนวทางการบริโภคอาหาร เพื่อควบคุมน้าหนักตัว 1. การบริโภคอาหารที่ให้พลังงานแต่พอควร ถ้าการบริโภคมากเกินกว่าพลังงานที่ร่างกายนาไปใช้ ก็จะเกิดการสะสม ของไขมันในร่างกายจนเกิดเป็นโรคอ้วนในที่สุด แต่ก็ไม่ควรจากัดมากจนเกินควร การจากัดอาหารให้น้าหนักตัวลดลง ประมาณสัปดาห์ละ 0.25-0.5 กิโลกรัม จัดว่าเหมาะสมและปลอดภัย 2. การบริโภคไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานที่ได้รับ ไขมันเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงกว่าอาหารอื่นๆ และเป็นอาหารที่ยับยั้งความรู้สึกหิวได้ต่า ดังนั้นการบริโภคไขมันมากจึง เป็นบ่อนทาลายการควบคุมน้าหนักตัว ในทางปฏิบัติกระทาได้ โดยหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันหมู, น้ามันมะพร้าว, กะทิ, หมูสามชั้น, เนยเหลว, ครีม, ไส้กรอก, หมูยอ, เนื้อติดมัน ของทอด เช่น ปาท่องโก๋, กล้วยแขก, ทอดมัน เป็นต้น 3. การบริโภคโปรตีน ประมาณร้อยละ 15-20 ของพลังงานที่ได้รับ อาหารโปรตีนมีพลังงานต่ากว่าไขมัน และมีความสามารถในการยับยั้งยุติความรู้สึกหิวได้ดี และร่างกายจะถ่ายโอนโปรตีน ที่บริโภคเกินเป็นสารอื่นได้ดี มีการสะสมโปรตีนต่า เพราะฉะนั้นอาหารโปรตีนมีผลดีต่อการควบคุมน้าหนักตัวได้ดี แต่การ บริโภคมากเกินควร จะมีผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน ในทางปฏิบัติ ควรบริโภคเนื้อสัตว์ ชนิดที่ไม่มีไขมันมาก เช่น เนื้อปลา, เนื้อไก่เอาหนังออก, ถั่วเหลือง, นมไขมันต่า, ไข่ ไก่ (ไม่ควรเกินวันละ 1 ฟอง) 4. การบริโภคคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 50-55 ของพลังงาน คาร์โบไฮเดรต ก็คือ อาหารจาพวก ข้าว แป้ง ของหวาน เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ากว่าไขมัน และยับยั้งความรู้สึกหิวได้ ดี ร่างกายมีขีดความสามารถสูงในการใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงาน แต่ถ้าได้รับมากเกิน ประมาณร้อยละ 80 ของ พลังงานที่บริโภคเกินจะถูกสะสมไว้ในร่างกายในรูปของไขมัน นอกจากปริมาณแล้ว ยังต้องคานึงถึงชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่บริโภคด้วย โดยในทางปฏิบัติให้บริโภคข้าว (ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวกล้อง) เป็นหลัก เพราะข้าวเป็นสารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งเป็นแหล่งให้ใยอาหาร ไม่ควรรับประทานอาหาร 6
  • 7. และเครื่องดื่มที่มีน้าตาล และรสหวาน ในผู้ที่ติดรสหวานเลิกไม่ได้ อาจต้องใช้สารที่มีรสหวาน และให้พลังงานน้อยแทน น้าตาล เช่น แอสปาร์เทม (Aspartame) 5. การงด หรือการลดการดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ไม่ใช่สารอาหาร แต่เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ร่างกายจะให้ลาดับการนาแอลกอฮอล์มาใช้เป็นพลังงานก่อน สารอาหารปกติ ดังนั้นการบริโภคแอลกอฮอล์จะมีผลให้พลังงานแก่ร่างกายไปส่วนหนึ่ง และมีผลทาให้ร่างกาย ใช้ พลังงานจากสารอาหารน้อยลง และทาให้สารอาหารถูกสะสมเป็นไขมันในร่างกายมากขึ้น 6. การบริโภคผัก และผลไม้เป็นประจา ผัก และผลไม้ นอกจากให้วิตามิน และเกลือแร่แล้ว ยังเป็นใยอาหารซึ่งทาให้ลดความหิว และลดการบริโภคพลังงานลง อย่างไรก็ตามควรบริโภคผลไม้ที่ไม่หวานจัด เป็นหลัก ใยอาหาร เป็นสารที่พบในผัก และผลไม้ ซึ่งลาไส้ของมนุษย์จะไม่สามารถย่อยสลายได้ ดังนั้นใยอาหารจึงไม่เพิ่มจานวน พลังงาน และมีบทบาทสาคัญในการทาให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นปกติ โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ 7
  • 8. การวัดความดันโลหิต การวัดความดันโลหิต เป็นที่ทราบกันทั่วไป ภาวะความดันโลหิตสูง ทาให้เกิดโรคอันตรายร้ายแรง เช่น เส้นโลหิตในสมองแตก ทาให้เป็น อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ภาวะความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ จนกว่าจะมีโรคแทรกซ้อนร้ายแรงเกิดขึ้นแล้วจึงจะปรากฏอาการ เพราะฉะนั้น ปัญหาที่สาคัญในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง คือ การทาให้ประชากรกลุ่มที่มีความดันโลหิตสูง ทราบว่าตนเองมี ความดันโลหิตสูง จากสถิติพบว่า ในประเทศไทย ประชากรที่มีความดันโลหิตสูง ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง เฉลี่ยเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ความดันโลหิต จะประกอบด้วย ความดันตัวบน เรียกว่า ความดันซิสโตลิค (Systolic Pressure) และความดันตัวล่าง เรียกว่า ความดันไดแอสโตลิค (Diastolic Pressure) ซึ่งค่าปกติจะไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าความดัน โลหิตสูงกว่านี้ ถือว่ามี “ความดันโลหิตสูง” ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกได้กาหนดเกณฑ์การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงไว้ว่า “ความดันโลหิตสูง” คือ สภาวะที่ค่าของความดันเลือดที่วัดอย่างถูกต้อง และมีการตรวจวัดหลายๆ ครั้ง ในต่างวาระกัน แล้ว พบว่ามีระดับของความดันโลหิตสูงกว่า140/90 มม.ปรอท เราแบ่งระดับความรุนแรง ของภาวะความดันโลหิตสูงไว้ ดังนี้ หมายเหตุ : ถ้าหากระดับ sBP และ dBP อยู่ในระดับความรุนแรงต่างกัน ให้ถือระดับที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ ผู้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ควรละเว้นสิ่งต่อไปนี้ ก่อนวัดความดันโลหิต ประมาณ 1 ชั่วโมง ได้แก่ 1. การออกกาลังกาย 2. การดื่มกาแฟ สุรา หรือเครื่องดื่มผสม คาเฟอีน 8
  • 9. 3. การสูบบุหรี่ 4. ควรนั่งพักประมาณ 5 นาที และถ้าพบว่า มีความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดซ้าอีก 2-3 ครั้ง ส่วน ผู้ที่ยืนยันการวินิจฉัยว่า มีความดันโลหิตสูง ควรปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพื่อลดระดับความดันโลหิตลง ดังนี้ 1. ลดน้าหนัก ถ้ามีน้าหนักเกิน 2. จากัดการดื่มแอลกอฮอล์ 3. เพิ่มการออกกาลังกาย ชนิดแอโรบิค (30-45 นาที/วัน) 4. จากัดปริมาณโซเดียม (งดรับประทานเค็มให้มากที่สุด) 5. ได้รับโปแตสเซียมอย่างเพียงพอ เช่น รับประทานผลไม้มากขึ้น 6. หยุดการสูบบุหรี่ 7. ลดการรับประทานไขมัน และโคเลสเตอรอล จากการศึกษา การรับประทานอาหารที่เน้น ผัก ผลไม้ และนมไขมันต่า ลดเค็ม ร่วมกับลดปริมาณไขมัน สามารถลดความ ดันโลหิตลงได้ประมาณ 8-14 มม.ปรอท การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ดังกล่าวจะให้ประโยชน์ทั้งในด้านการลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ จึงถือว่าเป็นสิ่งจาเป็น ถึงแม้ผู้ป่วยจะได้รับยาลดความดันโลหิตแล้วก็ตาม เมื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้ว 3-6 เดือน ยังไม่สามารถลดความดันโลหิตได้ดีพอ ควรใช้ยารักษาลดความดันโลหิต ตาม คาแนะนาของแพทย์ โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ 9
  • 10. เอกซเรย์ทรวงอก ในประเทศไทยวัตถุประสงค์หลัก ในการเอกซเรย์ทรวงอกในผู้ที่ไม่มีอาการ คือ เพื่อตรวจหาวัณโรคปอดระยะแรก ที่ อาจจะยังไม่มีอาการ เนื่องจากวัณโรคปอด ยังเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย เมื่อเป็นวัณโรคปอด เอกซเรย์จะเห็นเป็นจุดทึบ หรือเป็นหย่อมทึบที่เนื้อปอด ซึ่งจะต้องตรวจเพิ่มเติมว่า จุดหรือรอยทึบที่ เห็นนั้น เป็นวัณโรคปอดหรือไม่ เช่น ตรวจหาเชื้อจากเสมหะ เป็นต้น สาหรับผู้มีประวัติ เคยเป็นวัณโรคปอด และได้รับการรักษาจนหายเรียบร้อยแล้ว เมื่อเอกซเรย์ปอด ก็อาจจะยังพบมีรอย ทึบ หรือจุดในปอดหลงเหลืออยู่ และพบตลอด เนื่องจากเป็นรอยแผลเป็น ในกรณีเช่นนี้ ควรมีเอกซเรย์ปอดของเก่าเก็บ ไว้ เพื่อเปรียบเทียบกับเอกซเรย์ใหม่ ถ้าจุดที่พบในเอกซเรย์ยังคงเหมือนเดิม ก็บอกได้ว่า “ผลปกติ” นอกจากวัณโรคปอด เอกซเรย์ทรวงอกจะช่วยตรวจกรองเนื้องอกในปอด ประเมินขนาดของหัวใจ และดูแนวกระดูกสัน หลังว่า มีคดงอหรือไม่ ในกรณีถ้าแพทย์ อ่านผลการเอกซเรย์ทรวงอกว่า มีหัวใจโตเล็กน้อย อย่ากังวลใจ ถ้าตรวจร่างกายผลปกติ และความดัน โลหิตไม่สูง หัวใจโตเล็กน้อย จะไม่บ่งชี้โรค เพราะเมื่ออายุมากขึ้นหัวใจมักจะมีขนาดโตขึ้น และเกณฑ์การวัดขนาดของ หัวใจจากเอกซเรย์ทรวงอก จะเป็นเพียงการประเมินคร่าวๆ เท่านั้น แต่ถ้าเอกซเรย์ปอดแล้วมีหัวใจโตมาก ต้องพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ 10
  • 11. การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count : CBC) การตรวจประกอบด้วย  Hemoglobin : HGB การวัดปริมาณความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน ค่าปกติ ชาย 13.0-18.0 gm% หญิง 11.5-16.5 gm%  Hematocrit : HCT การวัดปริมาณอัดแน่นของเม็ดเลือดแดง ค่าปกติ ชาย 40-54 % หญิง 36-47 % การตรวจวัด HGB และ HCT ใช้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง ถ้าค่าของ HGB และ HCT ที่ตรวจพบมีค่าต่ากว่าเกณฑ์ ถือ ว่า “มีภาวะโลหิตจาง” ภาวะโลหิตจาง มีผลทาให้ประสิทธิภาพของการไหลเวียนเลือดลดลง ทาให้ความสามารถในการทางาน ความอดทน และความสามารถในการใช้กาลังร่างกายลดลง ซึ่งกลุ่มที่มีโลหิตจางได้บ่อย ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ สตรีในวัยเจริญพันธุ์ ประชากรที่มีรายได้น้อย และเด็กที่ขาดสารอาหาร สาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจางที่สาคัญและพบบ่อยที่สุด คือ การขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นภาวะโลหิตจางที่พบ บ่อยที่สุดทั่วโลก แต่สาหรับในประเทศไทย ยังมีภาวะโลหิตจางที่พบบ่อย คือ โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) และฮีโมโกลบิน ผิดปกติ (Hemoglobinopathies) ซึ่งเกิดเนื่องจากมีความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน ที่เป็นมาตั้งแต่กาเนิด และ ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งกลุ่มนี้ มีลักษณะตั้งแต่ ไม่มีอาการเลย คือ เป็นพาหะเท่านั้น จนถึงมีอาการรุนแรงปานกลางถึง รุนแรงมาก (เป็นโรคธาลัสซีเมีย) มีประชากรไทยจานวนมากที่เป็นพาหนะ โดยไม่รู้ตัว และไม่มีอาการ แต่จะถ่ายทอดสู่ลูกได้ และลูกอาจจะเป็นโรคธาลัสซี เมียได้ ปัจจุบันมีเครื่องตรวจนับเม็ดเลือด (Automated Electronic Cell Counters) ซึ่งสามารถตรวจระดับฮีโมโกลบิน ตรวจนับจานวนเม็ดเลือดแดง (Red Cell Count)ขนาดเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (Mean Corpuscular Volume : MCV) และการกระจายตัวของขนาดเม็ดเลือดแดง (Red Cell Distribution Width : RDW) ซึ่งทาให้สามารถแยกสาเหตุ และวินิจฉัยสาเหตุของภาวะโลหิตจางได้ละเอียด และถูกต้องยิ่งขึ้น ส่วนค่าอื่นๆ ในการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด มักจะเป็นค่าที่ใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคมากกว่า ใช้ในการตรวจ กรองสุขภาพ เช่น จานวนเม็ดเลือดขาว และชนิดของเม็ดเลือดขาว มักใช้ในการประเมินภาวะติดเชื้อ นอกจากในกรณี ตรวจพบจานวนเม็ดเลือดขาวสูงมากๆ เช่น มีจานวนเป็นหลายหมื่นตัวต่อตารางมิลลิเมตร ให้สงสัยว่าจะมีมะเร็งเม็ดเลือด ขาว (Leukemia) ปริมาณเกล็ดเลือด (Pletelet) ก็มักตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค เช่น ไข้เลือดออกที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่า เป็นต้น โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ การตรวจเลือด กรุ๊ปเลือด (Blood Group) ปกติกรุ๊ปเลือดจะรายงานผลออกมา เป็นสองระบบคือ ABO System 11
  • 12. และ Rh System โดยจาแนกตาม Antigen บนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่ ในระบบ ABO จะแบ่งออกได้ สี่ กรุ๊ปคือ A , B , AB และ O Group O พบมากสุด, A กับ B พบพอๆ กัน และ AB มีน้อยที่สุด)ใน ระบบ Rh จะรายงานได้เป็นสองพวก 1. +ve หรือ Rh+ve คือ พวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้มากเกือบ ทั้งหมดของคนไทยเป็นพวกนี้ 2. -ve หรือ Rh-ve คือ พวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้น้อยมาก คน ไทยเราพบเลือดพวกนี้ แค่ 0.3%เป็นพวกที่บางครั้งเรียกว่า ผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ จะพบได้มากขึ้น ในชาวไทยซิกข์ (แต่ในคนพวกนั้น แม้ว่าจะมี Rh-ve มากกว่าคนไทยปกติ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคง เป็นพวก Rh +veอยู่ดี) ตัวอย่างการรายงานกลุ่มเลือดเช่น A+ve คือ เลือดกรุ๊ป A Rh+ve ตามปกติ AB-ve อันนี้เป็น กรุ๊ป AB และ เป็นหมู่เลือดพิเศษ Rh-ve ซึ่งหายากที่สุด ปกติ AB ในคนไทยพบน้อยกว่า5% ถ้า เป็น AB-ve นี่ พบแค่ 1.5 คน ในหมื่นคนเท่านั้น CBC (Complet Blood Count ) เป็นการตรวจเลือดทั่วๆ ไปที่ใช้กันบ่อยที่สุด ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้หลายอย่างๆ การ รายงานจะมีค่าที่เกี่ยวข้องออกมาหลายตัว ซึ่งต้องดูประกอบไปด้วยกันหลายๆ ค่า ค่อนข้าง ยุ่งยากเล็กน้อย แต่ก็เป็นการตรวจ ที่สาคัญอันนึง (บางแห่งใช้เป็นการตรวจพื้นฐานก่อนรับ คนไข้นอนรพ.คู่กับ การตรวจปัสสาวะ (U/A) ค่าต่างๆ ที่รายงานใน CBCได้แก่ Hct (Hemotocrits) หรือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเทียบกับปริมาตร ของเลือด ทั้งหมด ค่านี้ใช้บอกภาวะโลหิตจาง หรือ ข้น ของเลือด ปกติ คนไทย Hct จะอยู่ประมาณ30กว่า % ถึง 40 กว่า% ถ้าต่ากว่า 30% ถือว่า ต่ามาก อาจจะต้องพิจารณาให้เลือด ช่วยในบางราย ถ้า Hct สูงมากอาจจะต้อง ระวังโรคที่มีการ สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมามากผิดปกติ หรือพวก ไข้เลือดออกในระยะช็อค ก็จะมีค่าตัวนี้สูงเนื่องจากน้าเลือดหนีออกจากเส้นเลือด (ต้องดูค่า อื่นๆ ประกอบด้วย) Hb (Hemoglobin) เป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดมีหน้าที่ช่วยจับอ๊อกซิเจน ค่าของ Hb ใช้บอกภาวะ โลหิตจาง เช่นเดียวกันกับ Hct ค่าปกติของ Hb มักจะเป็น 1/3 เท่าของ Hct และหน่วย เป็น Gm% เช่น คนที่ Hct 30% จะมี Hb =10 gm% เป็นต้น WBC (White Blood Cell Count) หรือ ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน ค่าปกติ จะ อยู่ ประมาณ 5000-10000 cell/ml ถ้าจานวน WBC ต่ามาก อาจจะเกิดจากโรคที่มีภูมิต้านทานต่า บางอย่าง หรือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ เช่น Aplastic Amemia หรือไขกระดูกฝ่อซึ่งจะทาให้มีการสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลงทั้งหมด (ทั้ง เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด ต่าหมดทุกตัว) ถ้าWBC มีจานวนสูงมาก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย แต่จะต้องดูผล การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential Count) ประกอบด้วย แต่ถ้าจานวน WBC สูงมากเป็นหลายๆ หมื่นเช่น สี่ห้าหมื่น หรือเป็นแสน อันนั้นจะทาให้สงสัย พวกมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่จะต้องหาดูพวกเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวอ่อนจากการแยกนับเม็ด เลือดขาว หรือเจาะไขกระดูกตรวจอีกครั้ง (มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) อาจจะมีจานวนเม็ด เลือดขาวปกติ หรือ ต่ากว่าปกติ ก็ได้เรียกว่า Aleukemic Leukemia) Differential Count การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว จะรายงานออกมาเป็น % ของเม็ดเลือด ขาวชนิดต่างๆ (ดังนั้นรวมกันทั้งหมดทุกชนิดจะต้องได้ 100 (%) พอดี) ตัวสาคัญหลักๆ ดังนี้ PMN หรือ N หรือ Neu (Polymorphonuclear cell หรือ Neutrophil) ตัวนี้ ค่าปกติ ประมาณ 50-60%ถ้า สูงมาก (เช่นมากกว่า 80% ขี้นไป และโดยเฉพาะถ้า สูงและมีปริมาณWBC รวม มากกว่าหมื่น ขึ้น 12
  • 13. ไป จะทาให้นึกถึงภาวะมีการติดเชื้อแบคทีเรีย Lymp หรือ L (Lymphocyte) หรือเม็ดน้าเหลือง พวกนี้ปกติ จะพบน้อยกว่า PMN เล็กน้อย(สองตัว นี้รวมกัน จะได้เกือบ 100 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด) ถ้าพบ Lymp ในปริมาณ สัดส่วนสูงขึ้นมา มากๆ โดยเฉพาะร่วมกับ ภาวะเม็ดเลือดขาว(WBC)โดยรวมต่าลง อาจจะเกิดจากการติดเชื้อ ไวรัส โดยเฉพาะถ้ามี Lymp ที่รูปร่างแปลกๆและตัวโตผิดปกติ ที่เรียกกันว่า Atypical Lymphocyte จานวนมากร่วมกับ เกล็ดเลือดต่า และ Hct สูง จะพบได้บ่อยในคนไข้ ไข้เลือดออก Eosin หรือ E (Eosinophil) พวกนี้เป็นเม็ดเลือดขาว ที่ปกติไม่ค่อยพบ (อาจจะพบได้ 1-2%)แต่ถ้า พบสูงมากเช่น 5-10% หรือมากกว่า พวกนี้จะสงสัยว่าเป็น พวกโรคภูมิแพ้ หรือพยาธิในร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายตัว เช่น B หรือ Basophil , M หรือ Monocyte และพวกตัวอ่อนของ เม็ดเลือดขาว ซึ่งจะพบในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จะรายงานเมื่อพบ และต้องการการตรวจ ละเอียดเพิ่มต่อไป Platelets หรือเกล็ดเลือด เป็นเซลเม็ดเลือด คล้ายเศษเม็ดเลือดแดง เป็นตัวที่ช่วยในการหยุด ไหล ของเลือด เวลาเกิดบาดแผล คนปกติ จะมีจานวนประมาณ แสนกว่าเกือบสองแสน ขึ้นไป ถึงสองแสนกว่า การรายงานอาจจะรายงานเป็นจานวน cell/ml เลยจากการนับ หรือ จากการ ประมาณด้วยสายตาเวลาดูสไลด์ที่ย้อมดูเม็ดเลือด แล้วประเมินปริมาณคร่าวออกมาดังนี้ - Adequate หรือเพียงพอ หรือพอดี หรือปกติ - Decrease หรือ ลดลงกว่าปกติ หรือต่ากว่า ปกติ พวกนี้มักจะพบในคนไข้ที่ติดเชื้อพวกไวรัส (เช่นไข้เลือดออก) หรือ มีการสร้าง ผิดปกติ หรือ โรคเกล็ดเลือดต่าโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Thrombocytopenic Purpura (ITP) ซึ่ง ทาให้มีเลือดออกง่ายและเกิดจ้าเลือได้ตามตัว พบได้บ่อยพอสมควร - Increase พบได้ในบางภาวะเช่นมีการอักเสบรุนแรง มีเนื้องอกบางชนิดในร่างกายหรือ มีการ เลือดฉับพลัน (จะมีการกระตุ้นให้ไขกระดูกเร่งสร้างเกล็ดเพื่อไปช่วยทาให้เลือดหยุด และอุด บาดแผล) นอกจากนี้ยังมีพวกที่เกล็ดเลือดสูงขึ้นมาเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น ต่างๆ ก็ ได้ เรียกว่า Essential Thrombocytosis (พวกที่มีความผิดปกติ ทั้ง Decrease และ Increase นี่อาจจะต้อง นับ Platelets ให้ละเอียดแล้ว รายงานเป็นตัวเลขอีกที) RBC Morphology หรือรูปร่างของเม็ดเลือดแดง จะมีรายงานออกมาหลายรูปแบบ ตามลักษณะ ที่มองเห็น ซึ่งจะช่วยแยกโรคได้หลายอย่าง เช่น บอกว่าเป็น ธาลลาสซีเมียได้คร่าวๆ หรือ บอก ภาวะโลหิตจาง จากการขาดเหล็กเป็นต้น และบางครั้ง อาจจะเห็นพวก มาเลเรีย อยู่ในเม็ด เลือดแดงด้วยก็ได้ การตรวจสภาพความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) : เป็นพื้นฐานการตรวจเบื้องต้นเพื่อหาปริมาณของเม็ดเลือด แดง เม็ดเลือดขาว รวมทั้งเกร็ดเลือดในร่างกาย Hemoglobin (HGB) คือการวัดปริมาณ HGB ในเม็ดเลือดแดง เพื่อประเมินว่ามีภาวะของโลหิตจาง(ซีด)หรือไม่ ค่าปกติของ ผู้ชาย 14 - 18 g/dl ผู้หญิง 12 - 16 g/dl ข้อสังเกต + การดื่มน้ามากเกินไป อาจทาให้ค่า HGB ลดลง + HGB จะลดลงในภาวะตั้งครรภ์ + HGB อาจสูงขึ้นในคนที่สูบบุหรี่จัด Hematocrit (HCT) คือการวัดเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรเม็ดเลือดแดงในปริมาตรเลือดทั้งหมด ค่า HCT ที่วัดได้ ส่วนใหญ่จะประมาณ 3 เท่าของค่า HGB ค่าปกติของ ผู้ชาย 42 - 52 % ผู้หญิง 37 - 47 % ข้อสังเกต 13
  • 14. + ในคนที่งดน้าก่อนการตรวจเลือดเป็นเวลานาน อาจทาให้ค่า HCT เพิ่มขึ้นได้ + ในคนที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ก็อาจมีค่า HCT สูงขึ้นได้ + HCT จะสูงขึ้นในคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง หรือในคนที่สูบบุหรี่จัด ข้อแนะนาในการปฏิบัติตน ในคนที่พบค่าของเม็ดเลือดแดงต่า (โลหิตจาง) ซึ่งสาเหตุจะยังไม่ทราบแน่นอน แต่ที่พบบ่อยอาจเกิดจากการ ขาด ธาตุเหล็ก เช่น การเสียเลือดจากการมีประจาเดือนในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เป็นริดสีดวงทวาร หรืออาจมีพยาธิ เป็นต้น จึงแนะนาให้เสริมธาตุเหล็ก + โดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆ ตับ เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว และไข่ + โดยการรับประทานวิตามินที่มีธาตุเหล็กเสริม + ในบางกรณีอาจจะต้องทาการตรวจอุจจาระเพิ่มเติม White Blood Cell Count ( WBC ) คือการนับจานวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมดใน 1 cu.mm.หรือ mL ซึ่งส่วนใหญ่ มักจะมีค่าผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย เช่น จากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส (แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยประวัติ อื่นๆ ประกอบด้วย) ค่าปกติ 4,800 - 10,800 /mL Differential White Cell Count คือการหาเปอร์เซ็นต์ของ WBC แต่ละชนิด ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด + Neutrophils (NEUT) ค่าปกติ 40 - 74 % : จะพบสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อจาพวกแบคทีเรีย + Lymphocytes (LYMP) ค่าปกติ 19 - 48 %: จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีการติดเชื้อไวรัสอย่างเฉียบพลัน หรือ ภาวะที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรื้อรัง + Monocytes (MONO) ค่าปกติ 3 - 9 %: จะพบสูงขึ้นในผู้ที่อยู่ในระยะฟื้นจากการติดเชื้อทั่วไป + Eosinophils (EOS) ค่าปกติ 0 - 9 %: จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีภูมิแพ้ (Allergy), ภาวะที่มีพยาธิในร่างกาย + Basophils : ค่าปกติ 0 - 2 % Platelet Count (PLT) คือการนับจานวนของเกร็ดเลือดต่อ mL ในเลือด (เกร็ดเลือดมีความจาเป็นที่ทาให้เลือด แข็งตัว) ถ้าต่ากว่า 100,000/mL ถือว่าน้อยไปอาจทาให้เลือดหยุดยาก ตรงกันข้ามถ้ามากไป คือสูงกว่า 400,000/mL จะทาให้เลือด แข็งตัวได้ง่ายขึ้น และอาจเป็นสาเหตุทาให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือด ค่าปกติ 130,000 - 400,000 cells /m ------------- การตรวจทางเคมีของเลือด 1. ตรวจระดับน้าตาลในเลือด (Glucose) คือการตรวจหาระดับน้าตาลในเลือดเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคเบาหวาน โดยควรงดอาหารและน้า อย่างน้อย 8 - 10 ชั่วโมงก่อนตรวจ ค่าปกติ 75 - 110 mg/dl ในกรณีที่มีค่า Glucose สูงกว่าค่าปกติ อาจจะต้องพิจารณาดังต่อไปนี้; (ก) ถ้าค่า Glucose มากกว่า 110 mg/dl แต่ไม่เกิน 140 mg/dl แสดงว่าอาจเริ่มมีอาการของโรคเบาหวาน a. ข้อแนะ นา i. ควร ควบคุมการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน,น้าอัดลม,ใน้าตาลหรือผลไม้ที่มีรสหวาน จัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ลาใย เป็นต้น (ข) ถ้าค่า Glucose มากกว่า 140 mg/dl แต่ไม่เกิน 200 mg/dl แสดงว่าเป็นโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น a. ข้อแนะ นา i. ควร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน,น้าอัดลม, น้าตาลหรือผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ลาใย เป็นต้น ii. ลด ปริมาณอาหารจาพวกแป้ง (เพราะจะเปลี่ยนเป็นน้าตาล) iii. ลด ปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่ iv. รับ ประทานอาหารประเภทที่มีเส้นใยอาหารสูงเช่น ผักประเภทต่างๆ เช่น คะน้า หอมใหญ่ ฯลฯ v. หลีก เลี่ยงการดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด 14
  • 15. vi. ออก กาลังกายอย่างสม่าเสมอ vii. เมื่อ ปฏิบัติตามคาแนะนาแล้ว ประมาณ 2 เดือน ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเลือดหาน้าตาลซ้า (ค) ถ้าค่า Glucose สูงกว่า 200 mg/dl a. ข้อ แนะนา i. ปฏิบัติ ตามคาแนะนาในข้อ (ข) ii. ควร ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจาเป็นต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้าตาล -------------- 5. การตรวจ Blood Typing เป็นการตรวจดูกรุ๊ปเลือด (A, B, O, หรือ AB) และ Rh Factor (Positive หรือ Negative) ในทางปฏิบัติ พนักงานทุกคนควรทราบทั้งกรุ๊ปเลือด และ Rh Factor ของตนเอง เพื่อแจ้งให้ ผู้เกี่ยวข้องทราบเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้น เช่น เลือดกรุ๊ป O Positive หรือ O Negative เป็นต้น 15
  • 16. การตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ การตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Complete Urine Analysis : UA) เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มาก เนื่องจากสามารถบ่งชี้ความผิดปกติของไตได้ตั้งแต่ระยะแรกที่ยังไม่มีอาการ ประเทศไทย เป็นประเทศที่พบโรคไตวายเรื้อรังค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่สามารถรักษาและป้องกันได้ ถ้าตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ แรกก่อนที่ไตจะเสื่อมจนเป็นไตวาย ในการตรวจปัสสาวะ ผลการตรวจที่สาคัญ ได้แก่ 1. การตรวจหาโปรตีน (ไข่ขาว) ในปัสสาวะ 2. การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ 3. การตรวจหาเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ การตรวจโปรตีนในปัสสาวะ โดยปกติโปรตีนจะรั่วออกมาในปัสสาวะเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะตรวจไม่พบ แต่เมื่อไตมีพยาธิ สภาพเกิดขึ้นมักจะมีผลทาให้ โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะมากขึ้นจนตรวจพบได้ ซึ่งจะรายงานผลตามความเข้มข้นของโปรตีน ที่ตรวจพบตั้งแต่ 1+ ถึง ระดับ 4+ เพราะฉะนั้นในผู้ที่ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ จะต้องระวังแล้วว่าไตของตนเอง เริ่มมีความเสื่อมลงจากสาเหตุ ใดสาเหตุหนึ่ง และควรต้องได้รับการตรวจซ้า และติดตามตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไป การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ ในคนปกติตรวจพบเม็ดเลือดแดง จานวนประมาณ 0-5 เซลล์ ต่อการมองในกล้องขยายกาลังสูงหนึ่งครั้ง ถ้าตรวจพบ จานวนเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ เช่น มากกว่า 10 เซลล์ขึ้นไป ถือว่าไตมีความผิดปกติ และต้องตรวจสืบค้นหาสาเหตุ ต่อไป เช่น อาจเป็นนิ่ว, อาจมีไตอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือการอักเสบจากภูมิไวเกินของร่างกาย เป็นต้น การตรวจหาเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ ในคนปกติตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะได้ประมาณ 0-5 เซลล์ ต่อการมองกล้องจุลทรรศน์หนึ่งครั้ง เช่นเดียวกับ เม็ดเลือดแดง ถ้าตรวจพบมีจานวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ จะบ่งชี้ว่า กาลังมีการอักเสบติดเชื้อในระบบของทางเดิน ปัสสาวะ ซึ่งพบบ่อยในเพศหญิง นอกจากการตรวจกรองโรคของระบบไตแล้ว การตรวจปัสสาวะยังช่วยกรองโรคเบาหวานได้ โดยถ้าตรวจพบน้าตาลใน ปัสสาวะ จะบ่งชี้วาอาจเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งควรยืนยันด้วยการตรวจเลือดเพิ่มเติมต่อ โดย นพ. วิชัย จตุรพิตร ผู้อานวยการ ศูนย์แพทย์อาชีวะเวชศาสตร์กรุงเทพ เพิมเติม การตรวจปัสสาวะ สอนวิธีแปลผลการตรวจปัสสาวะ (UA) เรียน คุณหมอ หนูอายุ 24 ปี 8 เดือน ค่ะ พอดีจะเข้าทางานแบงค์แห่งหนึ่ง เค้าให้ไปตรวจร่างกาย แต่ผลการตรวจปัสสาวะน่าจะมีปัญหา เค้าให้ไปตรวจใหม่อีกรอบอ่ะค่ะ รบกวนคุณหมอ ช่วยแปลผลให้ทราบหน่อยนะคะ 16
  • 17. ขอบคุณมากๆเลยค่ะ Urine Analysis Color Amber Clarity Turbid Sp.Gr 1.025 (1.003-1.03) pH 5.0 (5-7) Protein Negative Glucose Negative Ketone 2+ (repeated 1 time) Urobilinogen Negative Bilirubin Negative Blood Negative Leukocyte 1+ Nitrite Negative Microscopic Examination Centrifuged 10 ml White blood cell 3-4 cells/HPF (<3) Red blood cell 0-1 cell/HPF (<5) Squamous epithelial cell 5-10 cells/HPF (<5) Bacteria Moderate Amorphous - Mucous thread 2+ …………………………………………….. ตอบครับ ผมเคยสอนวิธีแปลผลค่าการตรวจนับเม็ดเลือดหรือCBC ไปแล้ว คราวนี้จะสอนวิธีแปลผลการตรวจปัสสาวะ หรือ urine analysis (UA) นะครับ Color ก็แค่บอกว่าฉี่เป็นสีอะไร ของคุณรายงานว่าเป็นสีAmber แปลว่าสีทองอาพัน ฮั่นแน่ ฉี่สีสวยเสียด้วย ใน ประเด็นสีของปัสสาวะนี้หากเป็นตระกูลเฉดสีเหลืองอ่อนๆรวมทั้งสีทองอาพันก็ถือว่าปกติ แต่หากเป็นสีเหลืองเข้มก็อาจ ผิดปกติในแง่ที่อาจมีดีซ่านหรือหมายถึงมีน้าดีออกมาในปัสสาวะ ถ้าเป็นสีส้มหรือสีแดงก็ผิดปกติแน่นอนในแง่ที่ว่าน่าจะมี เลือดปน ถ้าไม่ใช่เพราะเก็บตัวอย่างขณะมีเมนส์ก็ต้องเป็นเพราะมีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจหมายถึงมีนิ่ว หรือไตอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือโน่น เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือมะเร็งของไตไปเลย ดังนั้นการมีฉี่ สีส้มหรือสีแดงจึงต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่มีอะไรในกอไผ่ ในเรื่องสีนี้ยังเป็นไปได้อีกสีหนึ่ง คือปัสสาวะสีเป็นโค้ก หมายถึงสีน้าตาลดาแบบเป๊บซี่โคล่า อันนี้หมายถึงการมีเม็ดเลือดแตกในร่างกายแล้วถูกขับออกมา ในปัสสาวะ เช่นคนเป็นโรคขาดเอ็นไซม์จีซิกซ์พีดี (G6PD) มักจะมีอาการเม็ดเลือดแตกง่ายให้เห็นเป็นครั้งคราว หรือบาง ทีติดเชื้อแรงๆรวมทั้งเชื่อเช่นมาเลเรียก็ทาให้เม็ดเลือดแตกได้ คนสมัยก่อนถึงได้เรียกมาเลเรียว่า “ไข้ปัสสาวะดา” 17
  • 18. Clarity แปลว่าความใสของปัสสาวะอยู่ระดับไหน ถ้าใสก็รายงานว่าclearถ้าขุ่นอย่างของคุณนี้ก็รายงาน ว่า Turbid ซึ่งแปลว่าขุ่น การมีปัสสาวะขุ่นถือเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่ง ถ้าไม่เป็นเพราะร่างกายกาลังขาดน้าอยู่อย่าง แรง ก็น่าจะมีเหตุอื่นให้ปัสสาวะขุ่น เช่น มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โมเลกุลสารเคมีต่างๆรั่วออกมาในปัสสาวะ เช่น โปรตีน น้าตาล คีโตน ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งสารเคมีแต่ละตัวที่รั่วออกมาเป็นตัวบ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอะไร Sp.Gr ย่อมาจาก specific gravity แปลว่าความถ่วงจาเพาะ หมายถึงความหนาแน่นของน้าปัสสาวะเมื่อเทียบ กับน้าบริสุทธิ์ คือน้าบริสุทธิ์โดยนิยามมีความถ่วงจาเพาะเท่ากับ 1.0 ปัสสาวะของคุณมีความถ่วงจาเพาะ1.025 ถือว่าแม้ จะอยู่ในพิสัยปกติ (1.003-1.03) แต่ก็ค่อนไปทางสูง บ่งบอกว่าขณะที่คุณเก็บปัสสาวะนี้ร่างกายกาลังอยู่ในภาวะขาดน้า ซึ่งเป็นแคแรคเตอร์ของสาวไทยที่ต้องทาตัวให้ขาดน้าไว้เสมอจะได้ไม่เสียฟอร์มที่ต้องวิ่งเข้าห้องน้าบ่อย หารู้ไม่ว่าการทา เช่นนั้นจะทาให้ไตพังง่ายๆไม่รู้ตัว การที่ค่าSpGr สูงนี้ เป็นตัวอธิบายว่าการที่ปัสสาวะขุ่นนั้นอาจจะไม่มีอะไรในกอไผ่ อาจเกิดจากร่างกายขาดน้าเท่านั้นเอง pH หมายถึงค่าความเป็นกรดเป็นด่างของปัสสาวะ คือของเหลวทั่วไปที่เป็นกลางไม่เปรี้ยวไม่ฝาดไม่เป็นกรด หรือด่าง ค่า pH จะเท่ากับ 7.4 แต่ปัสสาวะของคนเรานี้ต้องเปรี้ยวถึงจะดี คือต้องเป็นกรดมีpH อยู่ระหว่าง (5.0 – 7.0) ของคุณนี้มี pH 5.0 แม้จะคาบเส้นอยู่ในพิสัยปกติแต่ก็ชวนให้เอะใจว่าทาไมปัสสาวะเปรี้ยวจี๊ด เอ๊ย ไม่ใช่ทาไม ปัสสาวะเป็นกรดมากอย่างนั้น อาจมีสารเคมีอะไรที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น บักเตรี ยา อาหาร (เช่นโปรตีน) อยู่ในปัสสาวะ มากผิดปกติ Protein หมายถึงโมเลกุลโปรตีนที่รั่วออกมาในปัสสาวะ ของคุณนี้รายงานว่าได้ผลลบ (Negative) แปลว่าไม่มี โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ การมีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะแสดงว่าไตกาลังมีปัญหา อาจจะเป็นโรคได้สารพัดเช่นโรค ไตรั่ว (nephrotic syndrome) โรคไตอักเสบ โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น Glucose หมายถึงโมเลกุลของน้าตาลกลูโคสที่รั่วออกมาในปัสสาวะ ของคุณรายงานว่าไม่มี ถ้าของใครมีน้าตาล รั่วออกมาในปัสสาวะก็แสดงว่ามีน้าตาลในเลือดสูง หรือเป็นเบาหวานนั่นเอง Ketone หมายถึงมีโมเลกุลของคีโตนรั่วออกมาในปัสสาวะ ของคุณรายงานว่ามี2+ หมายความว่ามีมากพอควร (1+ เท่ากับมีแต่น้อย 2+ เท่ากับมีปานกลาง3+ เท่ากับมีมาก) แปลว่าผิดปกติละสิครับ เขาระบุไว้ด้วยว่าตรวจซ้าอีกครั้งก็ ยังผิดปกติอยู่นั่นแล้ว แสดงว่าผิดปกติจริงๆไม่ใช่ความคลาดเคลื่อนของแล็บ ดังนั้นมารู้จักคีโตนกันหน่อยนะว่ามันคืออะไร ทาไมถึงมาโผล่ในฉี่ของเราได้ คือปกติกระบวนการขับเคลื่อน ร่างกายของเรานี้จะต้องมีเม็ดพลังที่เรียกว่าอะเซติลโคเอ (AcetylCoA) ไปช่วยเซลต่างๆทางานจึงจะมีชีวิตปกติอยู่ได้ การจะได้เม็ดพลังนี้มามีสองทางเท่านั้น หนึ่งคือย่อยโมเลกุลกลูโคสเอาเม็ดพลัง สองคือย่อยโมเลกุลคีโตนเอาเม็ดพลัง ปกติร่างกายจะใช้กลูโคสเพราะเราได้มาง่ายๆจากอาหารคาร์โบไฮเดรตเช่นน้าตาลและแป้ง ต่อเมื่อไม่มีกลูโคส ตับจึงจะ ย่อยไขมัน ทั้งไขมันที่กินเข้าไปหรือไขมันที่สะสมไว้ ออกมาเป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acidหรือ FAA) แล้วย่อย ต่อไปเป็นคีโตน เมื่อได้คีโตนแล้วก็เอาไปให้เซลใช้เป็นเม็ดพลัง แต่บางที่หากส่งคีโตนให้เซลมากเกินไปเซลก็ประท้วงไม่ ใช้คีโตนเสียดื้อๆ ทาให้คีโตนเหลือบานเบอะ ต้องระบายออกมาทางลมหายใจเป็นกลิ่นน้ายาล้างเล็บ หรือไม่ก็ระบาย ออกไปทางปัสสาวะ คนที่มีคีโตนมากจนต้องระบายทิ้งเช่นนี้ไม่ใช่คนปกติ ต้องมีอะไรผิดพลาดสักอย่างหนึ่งที่ทาให้ไม่มี กลูโคสใช้ เช่นคนที่ขาดอาหาร โดยเฉพาะพวกนางแบบที่ชอบกินแล้วอ๊วก กินแล้วอ๊วก หรือคนที่ลดความอ้วนด้วยสูตร No Carb คือกินแต่เนื้อสัตว์และไขมันแต่ไม่กินคาร์โบไฮเดรตเลย หรือคนที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเซลร่างกายเอากลูโคส ไปต่อยเป็นเม็ดพลังไม่ได้ ทาให้แม้จะมีกลูโคสบานเบอะ แต่ก็ใช้ไม่ได้ ต้องหันไปใช้ไขมันแทน หรือคนที่ร่างกายขาดน้า อย่างแรง หรือคนที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น คนที่มีกลิ่นน้ายาล้างเล็บหรือกลิ่นคีโตนออกมาทางลมหายใจนี้ เวลาไปเข้าเครื่องตรวจแอลกอฮอล์ของตารวจมี หวังโดนจับเพราะเครื่องแยกไม่ออกว่านี่เป็นคีโตนหรือนี่เป็นแอลกอฮอล์ ในบางประเทศเช่นสวิเดนซึ่งมีรถชนิดที่ดักจับ 18
  • 19. แอลกอฮอล์จากลมหายใจของคนขับ ถ้าคนขับเมามาก รถจะสตาร์ทไม่ติด เคยมีคนที่มีคีโตนออกมาในลมหายใจมากจาก การลดความอ้วนด้วยสูตร No Carb ขึ้นไปขับรถแบบนี้แล้วขับไม่ได้ เพราะสตาร์ทรถไม่ติด Bilirubin หมายถึงน้าดี ของคุณไม่มี คนที่มีน้าดีออกมาในปัสสาวะแสดงว่ากาลังมีปัญหาดีซ่าน เช่นตับกาลัง อักเสบ หรือทางเดินน้าดีกาลังอุดตัน หรือเม็ดเลือดกาลังแตก เป็นต้น Leukocyte หมายถึงสารจากเม็ดเลือดขาว ถ้ามีมากก็แสดงว่ามีเม็ดเลือดขาวออกมาในปัสสาวะมาก Nitrite คือสารพวกไนไตรท์ ซึ่งปกติไม่มีในปัสสาวะ จะมีก็เฉพาะในภาวะที่มีการติดเชื้อบักเตรีชนิดที่สร้างไน ไตรท์ได้ หรือไม่ก็เกิดเลือดออกในปัสสาวะขนาดหนัก ของคุณไม่มีไนไตรท์เราก็จะข้ามตรงนี้ไป Microscopic Examination แปลว่าการส่องกล้องจุลทรรศน์ดูปัสสาวะ Centrifuged 10 ml แปลว่าเอาปัสสาวะ10 ซีซี.มาปั่นแล้วเอาตะกอนที่ปั่นได้มาส่อง White blood cell แปลว่าเม็ดเลือดขาว ของคุณตรวจพบ 3-4 เซลต่อหนึ่งจอกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งก็ถือว่ามี มากกว่าปกติจนน่าสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหรือเปล่า Red blood cell แปลว่าเม็ดเลือดแดง ของคุณมี 0-1 เซลต่อจอ ถือว่าปกติ Squamous epithelial cell แปลว่าเซลเยื่อบุผิว ของคุณออกมา 5-10เซลต่อจอ ซึ่งมากกว่าปกติ แสดงว่าอาจ เก็บตัวอย่างปัสสาวะแบบมีการปนเปื้อน หรืออาจมีการติดเชื้อหรืออักเสบเกิดขึ้น Bacteria ก็คือบักเตรี ของคุณรายงานว่ามีมากปานกลาง ปกติปัสสาวะไม่ควรมีบักเตรี เพราะมันเป็นกรด บักเตรี อยู่ไม่ได้ ถ้ามีบักเตรีแสดงว่ามีการติดเชื้อ แต่ถ้าเราฉี่แล้วตั้งทิ้งไว้นานกว่าห้องแล็บจะมารับไปตรวจ บักเตรีในอากาศก็ อาจเข้าไปเจริญเติบโตในปัสสาวะได้เหมือนกัน เรียกว่าเป็นผลบวกเทียม หรือเป็นความผิดพลาดทางเทคนิค Amorphous แปลว่าผลึกในน้าปัสสาวะ เช่นผลึกกรดยูริก เป็นต้น ของคุณรายงานว่าไม่มี ถ้ามีก็บ่งบอกว่าสารที่ ตกผลึกนั้นมีมาก ถ้ามากถึงขนาดหนักก็จะกลายเป็นนิ่วนั่นแล Mucous thread หมายถึงเยื่อเมือกที่เห็นเป็นเส้นๆในกล้อง มีความหมายคล้ายๆกับเซลเยื่อบุผิว คือมีมากก็บ่ง บอกถึงการอักเสบ กล่าวโดยสรุป ปัสสาวะของคุณมีความผิดปกติตรงที่มีสารคีโตนสูง มีความถ่วงจาเพาะสูง มีความเป็นกรดสูง มี จานวนเม็ดเลือดขาวมาก มีเซลเยื่อบุมาก ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่าคุณอาจจะอยู่ในภาวะใดภาวะหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ 1. ร่างกายอาจขาดน้ารุนแรง 2. อาจเป็นโรคขาดอาหารหรืออดอาหารมากเกินไป 3. อาจเป็นเบาหวาน 4. อาจมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ จะเป็นโรคอะไรแน่นั้นยังไม่รู้ ผมแนะนาให้คุณดื่มน้ามากๆวันละอย่างน้อย2 ลิตร ทานอาหารให้ได้สัดส่วน ถูกต้องและพอเพียง ทาอย่างนี้สักสองสัปดาห์ แล้วไปตรวจร่างกายซ้า โดยคราวนี้ควรตรวจทั้งการวิเคราะห์ปัสสาวะ (UA) การเพาะหาเชื้อบักเตรีในปัสสาวะ (urine culture) และการตรวจเลือดดูสภาวะเบาหวาน (FBS หรือ HbA1c) ด้วย จึงจะตอบคาถามคุณได้เด็ดขาดว่าคุณป่วยเป็นอะไร หรือว่าอาจจะไม่มีอะไรในกอไผ่เลยก็ได้ นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ การตรวจปัสสาวะ U/A (Urinary Analysis) คือการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ จะมีค่าที่รายงานออกมาหลายอย่างเช่น 19
  • 20. ลักษณะของปัสสาวะทั่วไป เช่น ความขุ่นใส สี คนปกติ ควรมีสีเหลืองอ่อนและใส (Yellow Clear) Sp G (Specific Gravity) = ความถ่วงจาเพาะ คนปกติจะอยู่ประมาณ 1.010 ถึง 1.020 ......ถ้าสูงเกินไป อาจจะเกิดจากร่างกายขาดน้า เช่นดื่มน้าน้อย ท้องร่วงรุนแรง หรือในเด็กเป็น ไข้เลือดออกที่กาลังช้อค และได้น้าชดเชย น้อยเกินไปทาให้ขาดน้าในกระแสเลือด จะทาให้ ปัสสาวะเข้มข้น ......ถ้าต่าไป อาจจะเกิดจาก กินน้ามากเกิน ร่างกายจึงกาจัดน้า ออกมาทางปัสสาวะเยอะ หรือ เป็นโรคที่ทาให้มีปัสสาวะมีน้าออกมา มากผิดปกติ เช่น โรคเบาจืด pH หรือ ความเป็นกรดเป็นด่างของปัสสาวะ คนปกติจะมี pHประมาณ 6-8 ค่าความเป็นกรด และ ด่างของปัสสาวะมีผลต่อการออกฤทธิ์ ของยาบางอย่างและการตกตะกอน ของสารบางอย่าง ใน ปัสสาวะทาให้เกิดนิ่วได้ Alb (Albumin) หรือ Protein คือโปรตีนไข่ขาว ปกติในปัสสาวะไม่ควรมีโปรตีนไข่ขาวนี้ หลุด ออกมา แต่ถ้าไตทางานผิดปกติ จะมีAlb ออกมาในปัสสาวะ เช่นคนไข้ โรคไตชนิดNephrotic Syndrome หรือ ถ้าเป็นในคนท้อง ถ้าพบ Alb ก็จะต้องระวังภาวะครรภ์เป็นพิษ (ซึ่งจะพบมีอาการ บวม และ ความดันสูงร่วมไปด้วย) Sugar หรือ Glucose คนปกติ ไม่ควรมีน้าตาลหรือกลูโคสในปัสสาวะ ถ้าตรวจพบ จะสงสัยว่า คนไข้อาจจะเป็นเบาหวาน ควรจะงดอาหารไม่น้อยกว่าหกชม. แล้วเจาะเลือด ดูน้าตาลในเลือด (FBS )เพื่อยืนยันโรคเบาหวานต่อไป (Note ทั้ง alb และ sugar ปกติจะรายงานปริมาณมากน้อย เป็น +1,+2,+3,+4 ตามลาดับ) WBC หรือเม็ดเลือดขาว ในคนปกติ ไม่ควรมีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะเลย ถ้ามีเม็ดเลือดขาวออกมามากในปัสสาวะ แสดงว่ามีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือกรวยไตอักเสบ (ปกติจะรายงานเป็นจานวนเซลที่พบ ต่อพื้นที่ที่ มองเห็นด้วยหัวกล้อง ขนาด X40หรือ High Dry Field (HDF) ถ้าพวกที่พบเล็กน้อย เช่น 1-2 Cell/ HDF อาจจะไม่สาคัญเท่าไรนักแต่ถ้าพวก มีการติดเชื้ออาจจะพบหลายสิบตัว หรือเป็นร้อยๆ ซึ่ง จะรายงานว่า มีจานวนมาก (Numerous) RBC หรือเม็ดเลือดแดง เช่นเดียวกับเม็ดเลือดขาวคือ คนปกติไม่ควรพบเม็ดเลือดแดง ถ้าพบ แสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ อาจจะจากอุบัติเหตุ (ถ้ามีประวัติบ่งชี้ว่า ได้รับการ กระแทกตามทางเดินปัสสาวะ) หรือมีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทางเดิน ปัสสาวะ (การติดเชื้อบางครั้งก็ทาให้มีเม็ดเลือดแดงออกมา ในปัสสาวะได้แต่มักจะมี เม็ดเลือด ขาวมากกว่า แต่สาเหตุที่พบบ่อยสุด ที่ทาให้พบเม็ดเลือดแดงจานวนมากในปัสสาวะคือ นิ่ว ) (หมายเหตุ - การเก็บปัสสาวะถ้าคนไข้กาลังเป็นเม็นส์ควรหลีกเลี่ยง เพราะว่าจะมีเลือด จาก เม็นส์ลงไปปนทาให้ พบเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง จานวนมากในปัสสาวะได้) Epithelial หรือเซลเยื่อบุทางเดินปัสสาวะในส่วนต่างๆ อาจจะพบได้เมื่อมีการอักเสบหรือความ ผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้อาจจะมีรายงานพวกผลึกของสารต่างๆ ที่ปนมากับปัสสาวะเช่น Calcium Oxalate หรือ Urate Crystal ซึ่งพวกนี้อาจจะตกตะกอนเป็นนิ่วต่อไปได้ 20