SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 65
Downloaden Sie, um offline zu lesen
สมัชชาเครือขาย
ปฏิรูปการศึกษา
°Ò¹¡ÒþѲ¹Ò·ŒÍ§¶Ôè¹ÍÂÙ‹·ÕèâçàÃÕ¹
: ¡Ã³Õ âçàÃÕ¹à·ÈºÒÅÇÑ´»†ÒàÃäà Í.àÁ×ͧ ¨.ÃŒÍÂàÍç´
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
พิมพ์ครั้งแรก
กันยายน 2558
จำ�นวนพิมพ์
1,000 เล่ม
ผู้เขียน
สลิลทิพย์ เชียงทอง
ภาพประกอบ
อภิรัฐ วิทยสมบูรณ์
ออกแบบรูปเล่ม
อินทิรา วิทยสมบูรณ์
ผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์
สำ�นักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.)
126/146 ชั้น 4 อาคาร 10 ชั้น สถาบันบำ�ราศนราดูร
ซอยติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร 0-2965-9531-3 โทรสาร 0-2965-9534
ดำ�เนินการผลิต
Media for All, mediaforall.project@gmail.com
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
คำ�นำ�คำ�นำ�
	 ด้วยแนวคิดที่ว่า“การจัดการศึกษาต้องน�ำไปสู่การเป็นคนดีมีอาชีพ
สุจริตเพื่อให้สามารถด�ำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” ไม่เพียงแต่
การจัดการศึกษาไปเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ
แต่เพียงอย่างเดียว โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์แต่ละคนมีศักยภาพแตกต่างกัน
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ได้น�ำแนวคิดดังกล่าวมา
จัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน พัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่าน
ฐานการเรียนรู้ที่หลากหลายท�ำให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่น�ำ
ไปใช้จริงและเกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด การคิดวิเคราะห์ และปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมอย่างเข้าใจชีวิตยิ่งขึ้น
	 เนื้อหาที่เกิดจากกระบวนการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ของ
บุคลากรครูและนักเรียน ได้น�ำเสนอไว้แล้วในหนังสือ “ฐานการพัฒนาท้อง
ถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด”
ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสถานการณ์ ณ วันที่ได้เข้าไปจัดกระบวนการเท่านั้น
ขณะที่โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ด�ำเนินการเพื่อพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุด
นิ่ง ในฐานะผู้ถอดบทเรียนและเรียบเรียงถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้น หวังเป็น
อย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะสร้างแรงบันดาลใจในการริเริ่มจัดการศึกษาเพื่อ
พัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง
					 	 เชื่อมั่นและศรัทธา
						 สลิลทิพย์ เชียงทอง
						 กันยายน 2558
6
10
15
19
27
59
20
63
64
การจัดการศึกษาโดยองค์กรท้องถิ่น
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
การศึกษาเพื่อสัมมาชีพ
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร
การจัดระบบบริหารโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร
ฐานการเรียนรู้
บทสรุปท้ายเล่ม
รายชื่อผู้ให้ข้อมูล
อ้างอิง
สารบัญสารบัญ
6
10
15
19
27
60
20
64
63
60
การจัดการศึกษาโดยองค์กรท้องถิ่นการจัดการศึกษาโดยองค์กรท้องถิ่น
โรงเรียนในท้องถิ่น เป็นการจัดการศึกษาเพื่อแก้ความเหลื่อมล�้ำ
ลดช่องว่าง ท�ำให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีความเสมอภาค
โดยมีองค์กรปกครองท้องถิ่นส่งเสริมให้เกิดการจัดการศึกษาที่สร้างการ
เรียนรู้และไม่แยกคนออกจากชุมชน โดยให้ความส�ำคัญกับการศึกษาของ
ชุมชน หรือชุมชนคือโรงเรียน เป็นฐานที่ใหญ่ที่สุด ไม่ใช่การศึกษาใน
โรงเรียน แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน เพราะท้องถิ่นมีต้นทุนทาง
สังคมที่ดี อีกทั้งผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ใกล้ชิดชุมชน และสามารถใช้พื้นที่
ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลาย
	 ขณะเดียวกันความเป็นท้องถิ่นสามารถท�ำให้โรงเรียนสร้าง
เอกภาพในการบริหารการศึกษาที่มีอัตลักษณ์ มีความเป็นท้องถิ่น ให้ท�ำ
เป็น คิดเป็น อยู่ร่วมกันเป็น ทุกคนเป็นทั้งครูและนักเรียน จึงมีครูและ
แหล่งเรียนรู้มากมาย ดังนั้น ท้องถิ่นจึงสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา
เศรษฐกิจ คือ ประกอบสัมมาชีพได้ ดัดแปลงปรับปรุงต่อยอดได้ จิตใจ คือ
ความรักความเมตตาต่อกัน ลดละความเห็นแก่ตัว เพิ่มความเห็นแก่ส่วน
รวม สังคม คือ การอยู่ร่วมกันด้วยดี วัฒนธรรม คือ ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่
ดีมีประโยชน์ถ่ายทอดต่อๆ ไป และสามารถพัฒนาให้เหมาะแก่กาลสมัย
สิ่งแวดล้อม คือ บ�ำรุงรักษาเพิ่มเติมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ให้เกื้อกูลต่อชีวิตและการอยู่ร่วมกัน สุขภาพ สามารถดูแลรักษาสุขภาพ
ให้มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา
ประชาธิปไตย ทุกคนมีความเสมอภาค มีภารดรภาพ มีการรวมตัวร่วมคิด
ร่วมท�ำ มีส่วนร่วมในการท�ำแผนชุมชน และขับเคลื่อนแผนชุมชนที่ร่วมกัน
ท�ำขึ้นมา (ประเวศ วะสี)
	 โรงเรียนในท้องถิ่น เป็นการจัดการศึกษาเพื่อแก้ความเหลื่อมล�้ำ
ลดช่องว่าง ท�ำให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีความเสมอภาค
โดยมีองค์กรปกครองท้องถิ่นส่งเสริมให้เกิดการจัดการศึกษาที่สร้างการ
เรียนรู้และไม่แยกคนออกจากชุมชน โดยให้ความส�ำคัญกับการศึกษาของ
ชุมชน หรือชุมชนคือโรงเรียน เป็นฐานที่ใหญ่ที่สุด ไม่ใช่การศึกษาใน
โรงเรียน แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน เพราะท้องถิ่นมีต้นทุนทาง
สังคมที่ดี อีกทั้งผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ใกล้ชิดชุมชน และสามารถใช้พื้นที่
ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลาย
	 ขณะเดียวกันความเป็นท้องถิ่นสามารถท�ำให้โรงเรียนสร้าง
เอกภาพในการบริหารการศึกษาที่มีอัตลักษณ์ มีความเป็นท้องถิ่น ให้ท�ำ
เป็น คิดเป็น อยู่ร่วมกันเป็น ทุกคนเป็นทั้งครูและนักเรียน จึงมีครูและ
แหล่งเรียนรู้มากมาย ดังนั้น ท้องถิ่นจึงสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา
เศรษฐกิจ คือ ประกอบสัมมาชีพได้ ดัดแปลงปรับปรุงต่อยอดได้ จิตใจ คือ
ความรักความเมตตาต่อกัน ลดละความเห็นแก่ตัว เพิ่มความเห็นแก่ส่วน
รวม สังคม คือ การอยู่ร่วมกันด้วยดี วัฒนธรรม คือ ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่
ดีมีประโยชน์ถ่ายทอดต่อๆ ไป และสามารถพัฒนาให้เหมาะแก่กาลสมัย
สิ่งแวดล้อม คือ บ�ำรุงรักษาเพิ่มเติมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ให้เกื้อกูลต่อชีวิตและการอยู่ร่วมกัน สุขภาพ สามารถดูแลรักษาสุขภาพ
ให้มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา
ประชาธิปไตย ทุกคนมีความเสมอภาค มีภารดรภาพ มีการรวมตัวร่วมคิด
ร่วมท�ำ มีส่วนร่วมในการท�ำแผนชุมชน และขับเคลื่อนแผนชุมชนที่ร่วมกัน
ท�ำขึ้นมา (ประเวศ วะสี)
9กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
	 ดังนั้น การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น จึง
เกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่ว่า “การจัดการศึกษาต้องน�ำไปสู่การเป็นคนดี มีอาชีพ
สุจริตเพื่อให้สามารถด�ำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข”ทั้งสังคมไทย
และสังคมโลกไม่ใช่เป็นการจัดการศึกษาไปเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความ
เป็นเลิศทางวิชาการแต่เพียงอย่างเดียว เพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์แต่ละ
คนจะมีศักยภาพหรืออัจฉริยภาพที่แตกต่างกัน
	 การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการแต่เพียง
อย่างเดียวยังเป็นการจัดการศึกษาที่ตอบสนองตอบความต้องการเฉพาะกลุ่ม
ผู้เรียนที่มีศักยภาพหรืออัจฉริยภาพด้านวิชาการแต่เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น
โดยไม่ให้ความส�ำคัญต่อการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของ
กลุ่มผู้เรียนที่มีศักยภาพหรืออัจฉริยภาพด้านอื่นๆ ท�ำให้ผู้เรียนกลุ่มนี้ไม่ได้รับ
การพัฒนาเต็มตามศักยภาพและถูกบังคับให้เรียนรู้เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้าน
วิชาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก หรืออาจเป็นไปไม่ได้เลย เท่ากับเป็นการ
ท�ำร้ายกลุ่มผู้เรียนที่มีศักยภาพหรืออัจฉริยภาพด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ด้านวิชาการ
เพราะกลุ่มผู้เรียนเหล่านี้จะไม่มีความเป็นเลิศในด้านใดทั้งสิ้นเลย เมื่อจบการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานไปแล้ว เมื่อไม่มีโอกาสได้เรียนต่อก็จะไม่มีความรู้ที่จะน�ำไปใช้
ในการประกอบอาชีพได้ กลายเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ประกอบกับผู้เรียนของ
โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มักไม่มี
โอกาสได้เรียนต่อ ดังนั้น การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้
เรียนทุกคนเพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบศักยภาพหรืออัจฉริยภาพของตนเองอันจะ
ส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นเป็นคนดี มีอาชีพสุจริตสามารถด�ำรงชีวิตอยู่ใน
ท้องถิ่นได้อย่างมีความสุข โดยไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปท�ำงานในเมืองใหญ่
หรือเมืองอุตสาหกรรม ทิ้งให้เด็กและคนชราอยู่ในท้องถิ่นตามล�ำพัง ท�ำให้
ครอบครัวขาดความอบอุ่น และชุมชนท้องถิ่นขาดความเข้มแข็ง ขาดพลังใน
การขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าได้ (สุวรรณ พิณตานนท์)
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น
ฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น
ฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
11กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
	 การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School
Based ManagementforLocalDevelopment: SBMLD) หมายถึงการ
บริหารจัดการศึกษาที่ใช้โรงเรียนเป็นศูนย์การจัดการศึกษาตลอดชีวิตสู่
ความเป็นเลิศตามศักยภาพหรืออัจฉริยภาพของของผู้เรียน (นักเรียน /เด็ก
เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น) ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และ
ตามอัธยาศัย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน อันจะส่งผลให้
ประชาชนในท้องถิ่นเป็นคนดี มีอาชีพสุจริตสามารถด�ำรงชีวิตอยู่ในท้องถิ่น
ได้อย่างมีความสุข การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
เป็นการบริหารจัดการศึกษาที่สนองตอบนโยบายการจัดการศึกษา
ของชาติ ซึ่งปรากฏตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
(สุวรรณ พิณตานนท์)
	 ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะ
โรงเรียนที่มีการถ่ายโอนจากกระทรวงศึกษาธิการมาสังกัดองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดได้มีการจัดตั้งสมาคมผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (ส.บ.อ.ท.) มีแนวคิดในการที่จะพัฒนา
คุณภาพการศึกษาของท้องถิ่นได้มีการด�ำเนินการขับเคลื่อนปฏิรูปการ
ศึกษาของท้องถิ่น และได้เข้าร่วมเป็นสมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา 9
เครือข่าย พร้อมกับจัดประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายครั้งและน�ำ
เสนอต่อผู้เกี่ยวข้องเป็นล�ำดับ ดังนี้
12 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
	 1.ให้มีกฎหมายการศึกษาท้องถิ่นหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้ปรากฏการ
ศึกษาท้องถิ่นใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติอย่างชัดเจน
	 2.การกระจายอ�ำนาจให้สถานศึกษาเพื่อความสะดวกคล่องตัวใน
การบริหารจัดการ โดยเฉพาะกฎระเบียบ ด้านการเงิน พัสดุที่ใช้เช่นเดียว
กับหน่วยงานกอง/ส�ำนักในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท�ำให้เกิดความยุ่ง
ยาก ใช้เวลามาก หาบุคลากรที่จะท�ำหน้าที่ยาก เป็นต้น ดังนั้น หากมีกฎ
ระเบียบที่ยืดหยุ่น หรืออ�ำนวยความสะดวกให้สถานศึกษามากขึ้น จะช่วย
ให้สนับสนุนให้เกิดความส�ำเร็จ
	 3.รัฐบาลต้องก�ำหนดให้การปฏิรูปการศึกษาท้องถิ่นเป็นวาระ
แห่งชาติ
	 4.ให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ข้าราชการท้องถิ่น ให้ข้าราชการและ
พนักงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของท้องถิ่น เป็นบุคลากร
ทางการศึกษา ตาม พ.ร.บ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2542 เป็น
การสร้างขวัญก�ำลังใจให้ฝ่ายสนับสนุนการศึกษามากขึ้น
	 5.ก�ำหนดการสนับสนุนการศึกษาท้องถิ่น โดยให้ท้องถิ่นจัดสรร
งบประมาณเพิ่มเติมให้ด้านการศึกษาเป็นร้อยละ 20 ของเงินงบประมาณ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ โดยก�ำหนดเป็นกฎหมาย หรือ
ระเบียบ เพื่อให้การพัฒนามีความต่อเนื่อง และไม่ต้องกังวลกับผู้บริหาร
การเมืองท้องถิ่นที่เข้ามาด�ำรงต�ำแหน่งในแต่ละสมัย
ข้อเสนอในลักษณะยุทธศาสตร์เพื่อ
การจัดการศึกษาท้องถิ่นที่มีคุณภาพ
13กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
	 ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาในสังกัดต้องให้
ความมั่นใจว่าเด็ก เยาวชนที่ได้รับการศึกษาแล้ว จะมีความรู้ความสามารถ
มีมาตรฐานเกิดคุณภาพ สามารถประกอบอาชีพที่สุจริต เป็นที่ต้องการ
ของสังคม ชุมชน และต้องได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพทุกคน อย่างหลาก
หลาย จึงได้ก�ำหนดนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่เรียกว่า การบริหารโดยใช้
โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School Based Management
for Local Development: SBMLD) ดังปรากฏแนวทางต่อไปนี้
14 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
	 1.เสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน ให้สามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้
อย่างแท้จริง ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนสามารถแก้ไขปัญหา
และสนองตอบความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
	 2. จัดการศึกษาในระบบ โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียน
จัดการเรียนการสอนที่ท�ำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีและได้รับ
การพัฒนาหรือส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของผู้เรียนแต่ละ
คน จนสามารถน�ำไปประกอบอาชีพในท้องถิ่นได้ 		
	 3. จัดการศึกษานอกระบบ โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียน
จัดการฝึกอบรมให้ความรู้ตามความต้องการของเด็ก เยาวชน และ
ประชาชนในท้องถิ่นเพื่อให้มีทักษะชีวิตและมีอาชีพที่สามารถด�ำรงชีวิตอยู่
ในท้องถิ่นอย่างมีความสุข
	 4.จัดการศึกษาตามอัธยาศัยโดยการส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียน
จัดหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของเด็ก เยาวชน และ
ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้เรียน
รู้ตามความต้องการและตามศักยภาพของแต่ละบุคคล จนสามารถน�ำไป
ประกอบอาชีพและสามารถด�ำรงชีวิตอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างมีความสุข
แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น
ฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
การศึกษาเพื่อสัมมาชีพการศึกษาเพื่อสัมมาชีพ
17กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
	 สัมมาชีพหมายถึงการประกอบอาชีพ ภายใต้กรอบอริยมรรคที่มี
สัมมาทิฐิเป็นตัวน�ำหากกล่าวให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นจะหมายความถึงการ
ท�ำมาหากินโดยไม่ได้เอาก�ำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง หรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย
และต้องค�ำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กล่าวคือความสุขของตน และ
คนท�ำงาน รวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภค และผู้รับบริการเป็นหลัก โดยไม่
กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่มุ่งไปกระตุ้นตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์
(มูลนิธิสัมมาชีพ)
	 สัมมาชีพจึงเป็นทั้งเศรษฐกิจจิตใจสังคม สิ่งแวดล้อมและศีลธรรม
พร้อมกันไปอย่างบูรณาการ ฉะนั้น ยิ่งมีสัมมาชีพกันมากเท่าใด เศรษฐกิจ
จิตใจสังคมสิ่งแวดล้อมจะยิ่งดีขึ้น ต่างจากจีดีพีเมื่อจีดีพีดีขึ้นอย่างอื่นอาจ
จะไม่ดีขึ้นเป็นเงาตามตัวเพราะจีดีพีเป็นการวัดแบบแยกส่วนฉะนั้นการมี
สัมมาชีพเต็มพื้นที่จึงเป็นการวัดพัฒนาที่ดีกว่าจีดีพี สัมมาชีพเต็มพื้นที่จึง
เป็นรากฐานของความร่มเย็นเป็นสุข
	 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะ การเตรียมความพร้อมสู่อาชีพ
การใช้ชีวิตเมื่อจบการศึกษาจึงมีความจ�ำเป็น การจัดการศึกษาจึงต้องมี
หลายภาคส่วนเข้ามาร่วมด้วย ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน
ท้องถิ่น ประชาคมท้องถิ่น หน่วยงานรัฐในท้องถิ่น ภาคเอกชน ฯลฯ
สร้างการเรียนรู้ใหม่ๆ ใช้ความรู้และผู้รู้ที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น เรียกได้ว่า
เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ความรู้ในต�ำราและการ
ถ่ายทอดจากครูผู้สอนทางเดียวเท่านั้น และเน้นการปฏิบัติจริง สรุปการ
ปฏิบัติเพื่อการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น มีรายได้พอสมควร เมื่อโรงเรียน
จัดหลักสูตรสัมมาชีพและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะชีวิตและ
ทักษะการท�ำงาน โดยค�ำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
18 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
	 1) ต้องสร้างคุณค่าของการท�ำงาน เห็นการท�ำงานทุกชนิดเป็น
ของดีของมีค่า
	 2) การเรียนรู้ต้องเรียนรู้จากการท�ำงาน ใช้การท�ำงานเป็น
เครื่องมือเรียนรู้ ให้ท�ำงานเป็น สู้งานหนัก และรับผิดชอบ
	 3) เรียนรู้ให้คิดเป็น อยู่ร่วมกันเป็น จัดการเป็น สร้างความรู้และ
จัดการความรู้เป็น
	 การศึกษาไทยจ�ำกัดความรู้เฉพาะในต�ำราเรียน อยู่ในโลกแคบๆ
ห้องสี่เหลี่ยมมานาน เรียนด้วยการท่องจ�ำเพื่อสอบแข่งขันมานานมาก ไม่
สามารถบูรณาการความรู้กับการใช้ชีวิตประจ�ำวัน จนเกิดวิกฤติการศึกษา
ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสังคมโดยรวม ฉะนั้น ข้อเสนอต่อแนวทาง
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น จึงเป็นแนวทางที่
ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาเพื่อสัมมาชีพ เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เกิดการ
พัฒนาสติปัญญา ทักษะการคิดวิเคราะห์ การวางแผน การแก้ปัญหา การ
ท�ำงานร่วมกัน เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้ศึกษาเรียนรู้และพัฒนา
ศักยภาพตนเองอย่างเท่าเทียม
	 โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัด
ร้อยเอ็ด เป็นกรณีศึกษาของการจัดการศึกษาเพื่อสัมมาชีพและน�ำแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียงมาจัดฐานการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียน ซึ่งขอน�ำเสนอ ดัง
ต่อไปนี้
19กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
	 โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ตั้งอยู่เลขที่ 11 ซ.7 ถนนเทวาภิบาล
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อ�ำเภอเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ. 2499 หลวงปู่บุญญสิทธิโสภณ เจ้าอาวาสวัด
ป่าเรไร เป็นผู้ริเริ่มสร้างโรงเรียนในที่ดินของวัดโดยแบ่งพื้นที่วัดประมาณ
2 ไร่กว่าๆ โดยหวังจะให้ชุมชนช่วยกันดูแล เมื่อโรงเรียนวัดป่าเรไร เปิด
มาได้ปีที่ 10 ประสบกับปัญหาด้านครูผู้สอน จึงได้โอนความรับผิดชอบ
ให้กับเทศบาลร้อยเอ็ด ดังนั้นแล้ว เทศบาลร้อยเอ็ดจึงได้เข้ามาบริหาร
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ตั้งแต่ปี วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2511 เป็นต้นมา
และเทศบาลได้เข้ามาบริหารจัดการทั้งงบประมาณในด้านการสร้างอาคาร
อุปกรณ์การเรียนการสอน การจ้างครูผู้สอน ซึ่งเทศบาลจะเปิดสอบเองและ
มีบางส่วนได้ย้ายจากสังกัด สพฐ. มาอยู่สังกัดเทศบาล เนื่องจากอาจารย์
บางท่านต้องการที่จะย้ายกลับมาสอนที่บ้านเดิม
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร
การจัดระบบบริหาร
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร
การจัดระบบบริหาร
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร
22 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
	 โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้น
อนุบาล ถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นปัจจุบันมีผู้อ�ำนวยการสถานศึกษาคือ
นางธนิตา กุลสุวรรณ รองผู้อ�ำนวยการสถานศึกษา 2 คน คือ นางบุญศรี
บรรเลงการ และนายจักรกฤษณ์ ถินค�ำเชิด พนักงานครูและบุคลากรทาง
การศึกษา จ�ำนวน35 คน นักการภารโรง จ�ำนวน 2 คนจ�ำนวนผู้เรียน700
คน โรงเรียนได้จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 โดยมีจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี
คนเก่ง อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ได้น้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้ง
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต ทักษะการคิด
อย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้ภาษา
อังกฤษในการสื่อสารเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน หลักการ
บริหารจัดการ เพื่อให้คุณครูได้รู้จักเด็กและดูแลเด็กได้ทั่วถึงจึงได้จัดระบบ
บริหารโรงเรียนแบบกระจายอ�ำนาจในรูปแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียน
ใหญ่ ซึ่งผู้อ�ำนวยการธนิตา กุลสุวรรณ เป็นผู้ริเริ่มด�ำเนินการ โดยได้แนวคิด
มาจากการปลูกป่า ที่ไม่สามารถปลูกต้นไม้ทีเดียวให้เต็มป่าได้ ต้องหาวิธี
การ ปลูกต้นไม้ใหญ่ก่อน และกระจายเมล็ด เมื่อไม้ใหญ่ออกผล เมล็ดก็จะ
ตกลงดินแล้วเกิดเป็นไม้ใหญ่ต่อไปเรื่อยๆซึ่งจะสร้างร่มเงาแผ่กิ่งก้านสาขา
เป็นที่พักอาศัย ให้ความร่มเย็น กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เข้ามาอาศัยอย่างทั่ว
ถึงและยั่งยืนตลอดไป ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มเป็น 4 โรงเรียนเล็ก ดังนี้
23กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
	 • โรงเรียนผกากรอง กลุ่มอนุบาล
	 • โรงเรียนอินทนิล กลุ่มช่วงชั้นที่ 1 คือ ประถมศึกษาปีที่ 1 – 3
	 • โรงเรียนพวงชมพู กลุ่มช่วงชั้นที่ 2 คือ ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
	 • โรงเรียนชัยพฤกษ์ กลุ่มช่วงชั้นที่ 3 คือ มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3
	 แต่ละโรงเรียนจะเลือกครูใหญ่1คนและจะมีการจัดประชุมภายใน
กลุ่มโรงเรียนเพื่อดูแลเด็กรับรู้สถานการณ์ของเด็กทุกคนเด็กๆก็จะจดจ�ำ
ครูของพวกเขาได้ และจะเรียกครูโรงเรียนผกากรอง ครูโรงเรียนอินทนิล
ครูโรงเรียนพวงชมพู และครูโรงเรียนชัยพฤกษ์ การจัดกลุ่มบริหารเช่นนี้
เป็นการหนุนช่วยในการจัดการเรียนการสอนเมื่อมีครูติดภารกิจ
ไม่สามารถสอนในชั่วโมง/วิชานั้นได้ และครูใหญ่ของโรงเรียนเล็กจะเป็น
24 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
ตัวแทนไปประชุมร่วมกับผู้อ�ำนวยการ ซึ่งเป็นตัวแทนไปรายงานสถานการณ์ที่
เกิดขึ้นในโรงเรียนเล็ก ทั้งงานวิชาการ งานกิจกรรม และพัฒนาการพฤติกรรม
ของเด็กที่อยู่ในความรับผิดชอบของครูโรงเรียนเล็กเพื่อโรงเรียนจะได้ช่วย
เหลือและพัฒนาเด็กได้ตรงตามศักยภาพ ทั้งการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาจุด
เด่นในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจุดความสามารถศักยภาพที่เด็กเป็นหรือพัฒนา
การล่าช้าด้านวิชาการของเด็ก เมื่อพบแล้วต้องหนุนเสริมด้านใด หรือค้นหา
ศักยภาพด้านอื่นๆ ที่เด็กมีเพื่อพัฒนาเด็กทั้งหมดของโรงเรียนเทศบาลวัดป่า
เรไร ให้เติบโตเป็นพลเมืองของสังคมที่มีคุณภาพ
	 โครงการโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ แก้ปัญหาและจัดระบบความ
เป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น การจัดกลุ่มรับประทานอาหารกลางวัน การเข้า
แถว การแปรงฟัน การจัดกิจกรรมก่อนบ่ายคลายเครียด การพัฒนาเด็กให้
เป็นไปตามวัยและศักยภาพที่ค้นพบ และโดยปกติการเข้าแถวก่อนเข้าเรียน
ผู้อ�ำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายการพูดอบรมส่วนรวม ก็จะปรับเป็นการ
อบรมย่อยโดยจะมอบหมายให้ครูนักพัฒนาประจ�ำวันเป็นผู้รับผิดชอบใน
การอบรมเด็กโรงเรียนเล็ก ขณะที่นักเรียนก็จัดเป็นกลุ่มนักพัฒนาประจ�ำวัน
เช่นกัน จากการเปลี่ยนค�ำเรียกจากครูเวรเป็นครูนักพัฒนา แม้ว่ายังคงปฏิบัติ
ภารกิจเดิม แต่ได้ผลงานที่ต่างกัน เกิดการบริหารจัดการดีขึ้น เพราะค�ำว่า
“พัฒนา” คือ ต้องดีขึ้นกว่าเดิม
25กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
ผลที่ได้จากการจัดระบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่
	 •เกิดระบบการติดตามเด็กตั้งแต่ผกากรอง1ผกากรอง2(อนุบาล
1 อนุบาล 2) คุณครูรู้จักเด็กทุกคนเป็นอย่างดี และเมื่อเด็กเปลี่ยนช่วงชั้น
เรียนไปอยู่ระดับอินทนิล ก็จะเกิดการส่งต่อเด็กให้คุณครูในชั้นที่สูงขึ้นเกิด
การแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเพื่อจะหนุนช่วยเด็กได้เต็มศักยภาพ
	 • เกิดวงคุยตามธรรมชาติ ทุกสถานที่ ทุกเวลา คุณครูคุยปรึกษา
หารือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนเล็กได้ทั้งหมด โดยไม่จ�ำเป็นต้องรอ
ให้น�ำเสนอในห้องประชุม ขณะเดียวกันก็ท�ำให้เกิดการลดการประชุมซ�้ำ
ซ้อน
	 • การสร้างระบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ ไม่ได้เป็นการสร้าง
ฐานอ�ำนาจของโรงเรียนเล็ก แต่เป็นการอุดช่องโหว่ของระบบการบริหาร
จัดการโรงเรียน คุณครูทุกคนมีโอกาสขึ้นเป็นครูใหญ่ในโรงเรียนเล็กโดย
เวียนกันปีละหนึ่งคน
	 • เป็นการพัฒนาศักยภาพของการบริหารจัดการของครูทุกคน อีก
ทั้งครูในกลุ่มโรงเรียนเล็กจะได้หนุนช่วยกันได้ทั้งการช่วยสอนเมื่อครูคนใด
คนหนึ่งติดธุระ หรือออกไปประชุมข้างนอก ซึ่งสามารถทดแทนกันได้ การ
บริหารจัดโดยใช้ฐานการบริหารโรงเรียนเล็กเป็นการเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองของคุณครูได้อย่างเต็มศักยภาพ
26 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
การจัดระบบครูพ่อแม่คนที่สอง
	 นอกจากการจัดระบบการบริหารโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่
ซึ่งเป็นระบบการดูแลตามช่วงชั้นแล้ว ผู้อ�ำนวยการยังได้ริเริ่มโครงการพ่อ
แม่คนที่สอง เมื่อปี 2549 คือ จะมีการแบ่งลูกดูแลตั้งแต่ชั้นอนุบาล ครูทุก
คนจะมีลูกคนที่สองเริ่มจากชั้นเรียนของตนเองก่อน เมื่อเด็กเลื่อนชั้นเรียน
ก็จะกลายเป็นลูกคนรอง ส่วนเด็กที่เลื่อนขึ้นมาก็จะรับเป็นลูกคนใหม่แทน
และจะดูแลเด็กจนจบมัธยม 3 เด็กจะเรียกคุณพ่อ คุณแม่ สร้างความ
อบอุ่นและความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ในโรงเรียน การสร้างระบบครูพ่อแม่
เป็นการดูแลเด็กในโรงเรียนอย่างใกล้ชิด รู้จักเด็กอย่างแท้จริง เด็กจะเข้า
มาหาใกล้ชิดพูดคุยกันหรือเมื่อพบปัญหาเช่นเด็กขาดเรียนหรือลืมน�ำเงิน
มาก็จะมายืมครูพ่อแม่ แล้วคืนภายหลัง ครูพ่อแม่คนที่สองจะติดตามเยี่ยม
บ้านพบปะผู้ปกครองเพื่อรับทราบปัญหา และหาทางแก้ไขร่วมกัน เช่น มี
เพื่อนร่วมชั้นได้มาฟ้องครูว่ามีเพื่อนร่วมห้องไม่ได้เพื่อนท�ำความสะอาด
ห้องเรียนในช่วงเช้า เมื่อครูและเพื่อนได้ไปเยี่ยมบ้าน จึงรู้ว่าบ้านไกลมาก
จึงมาคุยกันและให้เพื่อนช่วยตอนเย็นแทน เมื่อเราเข้าใจกันก็จะเกิดความ
เห็นใจครูเข้าใจเด็กเพื่อนเข้าใจเพื่อนเด็กได้เรียนรู้ตนเองและความมีน�้ำใจ
ของเพื่อน ขณะที่ครูก็ได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง วิธีการจัดระบบ
ครูพ่อแม่คนที่สองท�ำให้เด็กกล้าที่จะเข้าหาครู เพราะครูได้ท�ำหน้าที่พ่อแม่
ที่ปรึกษา สามารถแก้ปัญหาของการรับรู้เด็กทุกคนอย่างเท่าทัน การจัด
ระบบครูพ่อแม่จะสร้างความใกล้ชิดเด็กยิ่งขึ้น
ฐานเรียนรู้ฐานเรียนรู้
29กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
การจัดการเรียนการสอน
	 แนวคิดการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร เชื่อว่า
การศึกษาไม่ใช่การเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวการศึกษาจะต้องพัฒนาให้
เด็กออกไปสู่โลกภายนอกได้ เด็กต้องมีทั้งความรู้วิชาการและทักษะชีวิต
และเด็กจ�ำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะชีวิตผ่านชีวิตประจ�ำวันเพราะทักษะชีวิต
จะกลายเป็นวิถีชีวิตที่เด็กๆ จะด�ำเนินชีวิตต่อไป ดังนั้น โรงเรียนจึงได้จัด
กิจกรรมฐานการเรียนรู้ต่างๆเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงการจัดการ
ฐานการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร จะยึดแนวคิดของเศรษฐกิจ
พอเพียง และเป็นไปตามบริบทของโรงเรียนและชุมชน
	 เทศบาลให้ความส�ำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่น โดยนายก
เทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ได้ให้นโยบายไว้ว่า “การพัฒนาโรงเรียนไม่จ�ำเป็น
ต้องเหมือนกันทุกโรงเรียน โรงเรียนแต่ละแห่งมีจุดเด่นแตกต่างกัน เช่น
โรงเรียนบางแห่งเด่นวิชาการบางแห่งเด่นด้านกีฬา”และโรงเรียนเทศบาล
วัดป่าเรไร ได้วิเคราะห์ตนเอง มีความเด่นกลางๆ จึงได้เลือกการพัฒนา
ศูนย์เรียนรู้ดังนั้นในการพัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้อ�ำนวยการจึงได้
จัดให้มีการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดอบรมหลากหลายสาขาวิชา
เช่น การประเมินผล การจัดการเรียนรู้ การจัดท�ำแผนการเรียนการสอน
การพัฒนาหลักสูตร การจัดท�ำหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งผู้อ�ำนวยการส่งเสริมครู
ทุกคนเต็มที่ ทั้งการอนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่าย การอนุญาตให้ครูลาไป
อบรมเพื่อพัฒนาครูทุกๆ ด้าน
	 ดังนั้นการจัดฐานการเรียนรู้ จึงเกิดจากการวิเคราะห์ความรู้ของ
ชุมชน การเพิ่มฐานการเรียนรู้ก็จะเป็นการต่อยอดขยายผลจากฐานที่มีอยู่
เดิมแล้ว และใช้ฐานการเรียนรู้พัฒนาทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญผ่าน
การปฏิบัติการจริง ด้วยวัฎจักรของการทดลอง สังเกต บันทึก สรุป ทดลอง
.... จนได้ผลที่ดีที่สุด
30 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
	 โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร เป็นโรงเรียนที่มีความตื่นตัวพัฒนา
ตนเองตลอดเวลาครูทุกคนต้องปรับตัวและเปลี่ยนตัวเองต้องพัฒนาทักษะ
ตนเองอยู่เสมอ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อจะน�ำมาพัฒนากระบวนการเรียนการ
สอนส�ำหรับเด็กยุคใหม่ รวมถึงการใช้เครื่องมือการสื่อสารที่เป็นปัจจุบัน
เท่าทันเด็กด้วย เช่น เด็กเล่นไลน์ ครูก็ต้องเล่นไลน์ด้วย ใช้ไลน์คุยกับเด็ก
หรือแม้แต่การสอบถามการบ้านก็ตาม
	 การพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรนั้น
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดให้การสนับสนุนงบประมาณในด้านสื่อการเรียนการ
สอนวัสดุอุปกรณ์วิทยากรที่ให้ความรู้ด้านต่างๆงบประมาณด้านบุคลากร
ครู กองทุนสนับสนุนผู้เรียน ขณะเดียวกันโรงเรียนยังประสานความร่วมมือ
กับสถาบันการศึกษาในลักษณะของการท�ำ MOU ได้แก่ ระดับอนุบาล
MOU ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับประถม
ศึกษา MOU ร่วมกับโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การศึกษา
พิเศษMOUร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ด้านเทคโนโลยีและ
สารสนเทศ MOU ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัย
ราชภัฎร้อยเอ็ด
	 อีกทั้งโรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ
เพียง ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมในการพัฒนาผู้บริหาร ครูและเด็ก จาก
ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวเกษตร ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระ
มหากษัตริย์ การที่โรงเรียนท�ำ MOU จากหลายสถาบัน เนื่องจากเทศบาล
เมืองร้อยเอ็ดจัดประชุมใหญ่ประจ�ำปี และมีการพิจารณาโครงการความ
ร่วมมือระดับจังหวัด และเทศบาลได้เสนอให้สถาบันเหล่านั้นท�ำความร่วม
มือกับโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรซึ่งมีความเชื่อมั่นว่าโครงการจะบรรลุ
เป้าหมายอย่างแน่นอน
31กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
	 นอกจากนั้นโรงเรียนยังได้รับการสนับสนุนจากสาธารณสุข
จังหวัด ให้ความรู้เรื่องสุขภาพ การจัดตั้งกลุ่ม อย.น้อย และยังได้รับการ
สนับสนุนทุนการศึกษาจากภาคเอกชนในจังหวัดด้วย อีกทั้งผู้ปกครองยัง
ประสานทุนการศึกษาจากบริษัทห้างร้านมาให้เด็กในโรงเรียน การจัดทุน
การศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนนั้น จะให้ทุนแก่เด็กยากจนแต่มีเงื่อนไขว่าเด็ก
ต้องมีความตั้งใจที่จะพึ่งตนเอง เช่น การมีจิตอาสาช่วยกิจกรรมฐานการ
เรียนรู้ในโรงเรียน หรือร้านค้าสวัสดิการซึ่งเป็นแหล่งรายได้ของโรงเรียน ที่
จะมีงบประมาณมาพัฒนาโรงเรียน การจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องฉายโปรเจ็ค
เตอร์ เครื่องเสียง อุปกรณ์หลายชิ้น ล้วนเป็นเงินที่ซื้อจากรายได้ของ
โรงเรียนซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพึ่งตนเองก่อน
	 ด้วยโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร มีพื้นที่เพียง 2 ไร่เศษ มีอาคาร
เรียน 2 อาคาร มีสนามบาส มีโรงอาหาร จึงใช้พื้นที่อันจ�ำกัดจัดสัดส่วน
ของพื้นที่ส�ำหรับฐานการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ขอน�ำเสนอ
ฐานการเรียนรู้ที่ส�ำคัญ ดังต่อไปนี้
ธนาคารขยะ
	 จุดเริ่มของธนาคารขยะคือเมื่อก่อนโรงเรียนมีขยะเยอะมาก
เกิดจากร้านสวัสดิการที่โรงเรียนให้บุคคลภายนอกมาประมูลขายของ
ในโรงเรียน ขายอาหาร ขนม น�้ำดื่ม พบว่ามีขวดน�้ำดื่มอัดลมเยอะมาก
และนักเรียนก็ชอบซื้อขนมถุง น�้ำดื่มมากินในโรงเรียน จนเมื่อปี 2548 มี
เจ้าหน้าที่ส�ำนักงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมภาค12จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัด
อบรมให้ความรู้เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมแก่โรงเรียนระดับประถมศึกษา
โดยมีตัวแทนครู 1 คน และนักเรียน 3 คน เข้าร่วมอบรม
	 ดังนั้น ธนาคารขยะจึงเกิดขึ้นที่โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร โดย
ส�ำนักงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมภาค 12 เป็นผู้สนับสนุนองค์ความรู้และ
งบประมาณจ�ำนวน 10,000 บาท น�ำไปซื้อถังขยะ จัดท�ำคอกไว้รองรับขยะ
และส่วนหนึ่งใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
	 เด็กได้รับความรู้เรื่องการคัดแยกขยะซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ
คือ ขยะย่อยสลายได้(ขยะอินทรีย์) ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล และขยะ
อันตราย
32 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
• ขยะย่อยสลายได้ (ขยะอินทรีย์) คือ ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย
เช่น เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น
	 • ขยะทั่วไป คือ ขยะที่ย่อยสลายยากไม่สามารถน�ำกลับมาใช้ได้
อีก เช่น ถุงพลาสติกที่เปื้อนเศษอาหาร กระดาษห่อขนมลูกอม ซองบะหมี่
ส�ำเร็จรูป โฟม เป็นต้น
	 • ขยะรีไซเคิล คือ ขยะที่สามารถน�ำกลับมาใช้ได้อีก หรือดัดแปลง
ประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้หรือน�ำไปแยกประเภทเพื่อจ�ำหน่ายให้กับ
ร้านค้าต่อไปได้ เช่น กล่องนม ลังกระดาษ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว อลูมิ
เนียม กระป๋องน�้ำอัดลม และโลหะอื่นๆ
	 •ขยะอันตรายคือขยะที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย แบตเตอร์รี่ กระป๋องสี
สเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่างๆ
	 ในช่วงแรกของการจัดการขยะนั้น โรงเรียนยังไม่มีสถานที่จัดเก็บ
ที่ดี เนื่องจากโรงเรียนยังมีอาคารเดียว จึงได้สร้างคอกสี่เหลี่ยมไว้เป็นที่จัด
เก็บขยะ เมื่อขยะเต็มคอกที่จัดเก็บก็จะจ�ำหน่าย ใช้เวลาประมาณ 3 วันก็
เต็มคอก ต้องขายออกไป การที่ขยะเต็มคอกเร็วแสดงให้เห็นว่าขยะใน
โรงเรียนยังมีจ�ำนวนมากจะต้องวางแผนลดขยะ ต่อมาเมื่ออาจารย์ธนิตา
กุลสุวรรณ ได้ย้ายมาเป็นผู้อ�ำนวยการ ได้ปรับปรุงสถานที่เก็บขยะให้ดีขึ้น
เป็นสัดส่วนแยกจากฐานการเรียนรู้อื่นๆ จัดแบ่งเป็นคอก และยังมีถังหรือ
ตะกร้าเพื่อแยกประเภทขยะ ได้แก่ กระดาษแข็ง กระดาษขาว กระดาษสี/
หนังสือพิมพ์ เหล็ก พลาสติก ขวด อลูมิเนียม ฯลฯ
	 การคัดแยกขยะจะจัดการตั้งแต่ในห้องเรียนหรือห้องพักครูมีการ
แยกกล่องขยะ เช่น ขยะจากการเหลาดินสอ กล่องส�ำหรับใส่กระดาษใช้
แล้วทั้งสองหน้า ซึ่งเด็กๆ ต้องจัดเรียงให้เรียบร้อย ไม่ฉีกหรือขย�ำกระดาษ
ขยะที่ขายได้ก็จะน�ำไปขายให้ธนาคารขยะ ขยะบางประเภทก็จะน�ำมาใช้
33กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
งานต่อ เช่น กระดาษแข็งก็จะน�ำไปท�ำอักษรเบลล์ ท�ำตัวอักษรจีน กล่อง
กระดาษแข็ง ก็จะน�ำไปเป็นกล่องใส่ของเล่น เป็นสื่อการเรียนการสอน
ท�ำให้ลดขยะได้อีก
	 ธนาคารขยะจะท�ำป้ายราคารับซื้อขยะแต่ละประเภท เมื่อเด็กน�ำ
ขยะมาขาย ธนาคารก็จ่ายเงินสดทันที แล้วธนาคารขยะก็จะรวบรวมขยะ
ทั้งหมดน�ำขายแก่ผู้รับซื้อภายนอก ซึ่งจะได้ราคาสูงกว่าป้ายราคาที่รับซื้อ
ในโรงเรียน เนื่องจากธนาคารขยะได้ก�ำไร จึงน�ำมาปรับปรุงศูนย์ เป็นทุน
การศึกษาให้แก่สมาชิกที่ท�ำหน้าที่ดูแลธนาคารขยะ และเป็นเงินรางวัล
หรือจัดหาของรางวัลส�ำหรับผู้ที่เก็บขยะมาขายเป็นประจ�ำ เพื่อสร้างแรง
จูงใจ เงินที่ได้จะน�ำฝากธนาคารส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินสดหมุน
เวียนส�ำหรับใช้รับซื้อขยะ ปัจจุบัน มีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 50,000
กว่าบาท
	 เมื่อมีพื้นที่ในการจัดเก็บขยะแยกประเภทแล้ว โรงเรียนก็สังเกตว่า
ประมาณ 2 เดือน ขยะเต็มต้องขายออกไป จึงคิดแผนประชาสัมพันธ์ และ
หาวิธีการลดและก�ำจัดขยะไม่ให้เกิดเพิ่มขึ้น จึงต้องขยายความร่วมมือไป
ยังฐานอื่นๆ หรือเกิดฐานใหม่เพื่อรองรับการจัดการขยะในโรงเรียน
	 เช่น ร้านค้าสวัสดิการ ฐานน�้ำหมักชีวภาพ จนพัฒนาเป็นโรงเรียน
ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา การ
จัดกระบวนการเรียนรู้เป็นการบูรณาการหน่วยการเรียนการสอน ซึ่งจะมี
การประชุมคณะครูเพื่อหาจุดร่วมของการบูรณาการ
	 เมื่อมีการจัดประกวดแข่งขันการจัดการระบบขยะในโรงเรียน
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ก็ชนะเลิศในระดับจังหวัดเมื่อปี 2549 และปี
2550ก็ชนะเลิศในระดับภาคและปี2551ได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ
เงินรางวัลที่ได้น�ำมาจัดเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กโรงเรียนเทศบาลวัดป่า
เรไรและทุนการศึกษาให้แก่โรงเรียนเครือข่ายเทศบาลร้อยเอ็ดและยังเชื้อ
34 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :34 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
เชิญให้โรงเรียนจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียนด้วย นอกจากนั้น โรงเรียน
โดยสมาชิกธนาคารขยะและครูที่ปรึกษาได้ออกประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้
มีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ จัดเป็นธนาคารขยะเคลื่อนที่ โดยจะใช้เวลา
หลังเลิกเรียน
	 กลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรในการรณรงค์และ
ประชาสัมพันธ์ การคัดแยกขยะ การลดขยะ คือ การรับขยะแลกไข่ ขยะ
แลกอุปกรณ์การเรียน จัดผ้าป่าขยะรีไซเคิล จัดกิจกรรมขายสินค้ามือสอง
ซึ่งเป็นการท�ำงานร่วมกับชุมชน การปลูกฝังให้เด็กรักสิ่งแวดล้อม โรงเรียน
สะอาดก็น่าอยู่ บ้านน่าอยู่ การท�ำกิจกรรม เกิดการเรียนรู้และมีโอกาสได้
ไปแลกเปลี่ยน ศึกษาดูงานการจัดการขยะ เป็นการปรับทัศนคติว่าขยะท�ำ
เงินได้ ขยะไม่ได้เป็นสิ่งน่ารังเกียจ บางคนเก็บขยะ รับซื้อขยะจนกลาย
เป็นเศรษฐีก็มีให้เห็นตามสื่อต่างๆ
	 นอกจากนั้นยังได้สอนให้เด็กได้เพิ่มมูลค่าขยะด้วยการแปรรูป
เป็นดอกไม้ประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เมื่อส�ำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัด
จัดประกวดงานประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล โรงเรียนก็ส่งงานประดิษฐ์เข้า
ประกวดด้วย การให้เด็กฝึกการแปรรูป เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
	 เด็กๆ ยังน�ำความรู้ที่ได้รับกลับไปท�ำการคัดแยกขยะที่บ้านเปลี่ยน
พฤติกรรมของพ่อแม่ให้คัดแยกขยะด้วยท�ำให้เป็นปกตินิสัย เด็กสามารถน�ำ
ขยะจากที่บ้านมาขายให้กับธนาคารขยะได้ รายได้จากการขายก็จะเป็น
ของเด็กเลย ซึ่งก็จะน�ำไปฝากกับธนาคารโรงเรียน เมื่อเวลาผ่านไป ขยะใน
โรงเรียนลดลงมาก จนตอนนี้เก็บมา 6 เดือนกว่าแล้วก็ยังไม่ได้ขายออก
ไป จากการด�ำเนินการธนาคารขยะ ที่ปลูกฝังตั้งแต่เด็กอนุบาล โรงเรียน
สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กได้ทั้งหมด เด็กมีจิตส�ำนึก รักษา
สิ่งแวดล้อม รักษาความสะอาด ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน และชุมชน
35กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด 35กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
ขณะที่ในชุมชนก็มีโครงการหน้าบ้านหน้ามอง ซึ่งเป็นโครงการที่
เน้นให้ชุมชนรักษาสิ่งแวดล้อม รักษาความสะอาดหน้าบ้านและชุมชน การ
ปลูกต้นไม้ ซึ่งเป็นโครงการที่ท�ำร่วมกับชุมชนได้ เพราะอยู่กันอย่างพึ่งพา
อาศัยกัน โรงเรียนอยู่ติดกับวัด เป็นทางผ่านของชุมชน เมื่อจังหวัดร้อยเอ็ด
จัดงานที่บึงพลาญชัย เด็กๆ ก็จะช่วยกันเก็บขยะ รวมถึงการช่วยไปให้ค�ำ
แนะน�ำการคัดแยกขยะ
	 เป้าหมายของโรงเรียน คือ ขยะฐานศูนย์ ต้องเป็นโรงเรียนปลอด
ขยะ คือต้องไม่มีขยะในโรงเรียนเลย
	
	 สิ่งที่ได้เรียนรู้
		 • มีความรู้เรื่องประเภทของขยะ และวิธีการคัดแยกขยะ
		 • เปลี่ยนความคิดว่าเราสามารถสร้างมูลค่าจากขยะได้
		 ถ้ารู้วิธีการคัดแยกและจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบ
		 • เปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด มีจิตส�ำนึก
		 รักษาสิ่งแวดล้อม รักษาความสะอาด
		 ทั้งในบริเวณโรงเรียน ในบ้านและชุมชน
36 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
38 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
โรงเรียนธนาคารสานฝันนักออมเงินวัยเยาว์
	 โรงเรียนธนาคารสานฝันนักออมเงินวัยเยาว์เป็นธนาคารที่เปิดขึ้น
ในโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร เพื่อให้เด็กๆ ได้เก็บเงินที่ผู้ปกครองให้มาใช้
จ่ายและมีเหลือในแต่ละวัน หรือเป็นการวางแผนของเด็กเองที่จะฝากเงิน
เป็นการสร้างนิสัยให้เด็กมีความซื่อสัตย์ ขยัน อดออม เด็กสามารถฝากเงิน
ได้ทุกวัน วันละเท่าไรก็ได้ บางคนฝากวันละบาทก็ยังมี ธนาคารจะเปิดให้
บริการตั้งแต่07.00–07.45น.การจัดระบบจะแบ่งเป็น 4 สาขาการบริการ
ซึ่งจะไปสอดคล้องกับการแบ่งกลุ่มการบริหารโรงเรียน เป็น 4 โรงเรียน
เล็กในโรงเรียนใหญ่คือ ผกากรองเป็นเด็กชั้นอนุบาล อินทนิลจะเป็นเด็ก
ป.1-ป.3พวงชมพูเป็นเด็กป.4-ป.6ชัยพฤกษ์จะเป็นเด็กมัธยมม.1–ม.3
39กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
	 การฝากเงินนั้น จะไม่เน้นการฝากเงินจ�ำนวนมาก แต่เน้นฝากทุก
วัน วันละน้อยๆ ตามเงินที่ได้มาและเหลือจากการใช้จ่ายเนื่องจากโรงเรียน
เทศบาลวัดป่าเรไรมีเด็กยากจนจ�ำนวนมากจึงต้องเน้นให้ฝึกการออม
นักเรียนที่ให้บริการก็จะเปิดรับสมัครเป็นสมาชิก ปัจจุบันมีจ�ำนวน 27 คน
จัดตั้งเป็นคณะท�ำงาน ยกเว้นนักเรียนชั้นมัธยมที่ 3 จะไม่ได้เข้ามาช่วย
เนื่องจากต้องไปท�ำหน้าที่สภานักเรียน และต้องเตรียมการสอบเรียนต่อ
ระดับมัธยมปลาย สมาชิกจะแบ่งความรับผิดชอบในการให้บริการรับฝาก
เงินทั้งหมด 24 ช่องบริการ โดยแบ่งช่วงชั้นตามโรงเรียนเล็กคือ ผกากรอง
อินทนิล พวงชมพู ชัยพฤกษ์ และอยู่ในจุดแลกเหรียญ2คนและให้บริการ
ชุมชนอีก 2 คน ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่บริเวณรอบนอกโรงเรียน ซึ่งการจัดท�ำ
บัญชีจะแยกออกจาก4 โรงเรียนเล็ก เด็กทุกคนในโรงเรียนจะมีสมุดเงินฝาก
กับธนาคารเยาวชนสานฝันละอ่อนวัยเยาว์ เมื่อปิดการให้บริการแต่ละวัน
ผู้รับผิดชอบจะรวบรวมเงินฝากให้คุณครูที่ปรึกษาเพื่อน�ำไปฝากที่ธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ในการฝากเงินนั้น เด็กจะ
ไม่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากแต่ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากธนาคารโรงเรียน
จะน�ำมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มาช่วยงาน
	 เมื่อการให้บริการแบ่งช่องบริการตามช่วงชั้น สมุดเงินฝากก็จะ
แยกเป็นสีให้ชัดเจนขนาดสมุดของสมุดจะต่างจากธนาคารโรงเรียนอื่นคือ
จะใช้เท่ากับสมุดเล่มใหญ่ เมื่อเด็กเปลี่ยนช่วงชั้นที่สูงขึ้น ก็จะเปลี่ยนสมุด
เงินฝากไปด้วย เด็กบางคนฝากเงินตั้งแต่เริ่มเข้าโครงการ เมื่อจบมัธยม
3 มีเงิน 30,000 กว่าบาท และในภาพรวมเงินฝากของธนาคารสานฝันละ
อ่อนวัยเยาว์ มีเงินฝากรวมทั้งสิ้นประมาณ 800,000 บาท
	 เมื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มี
นโยบายส่งเสริมให้เกิดการออมในโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร
ได้รับการสนับสนุนจาก ธกส. ในด้านอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และ
40 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
ระบบการจัดการเงินฝาก-ถอน เครื่องคิดเลข ตู้เก็บเอกสาร งบประมาณ
สนับสนุน 5,000 บาท
	 สิ่งที่ได้เรียนรู้
		 • การมีวินัยในการอดออม
		 • การได้เรียนรู้การท�ำงานอย่างมีระบบ
		 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
		 • การฝึกความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเงิน
		 • การฝึกสติ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการลงบันทึก
		 บัญชีผิด การนับเงินให้ตรงกับบันทึกบัญชี ที่จะต้องน�ำ
		 ส่งคุณครูที่ปรึกษา เพื่อน�ำไปฝากยังธนาคารต่อไป
41กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
ร้านตัดผมชาย - ลมโชยเรไร เกศา
	 เก้าอี้หนึ่งตัว กับกระจกบานเล็กๆ อยู่ตรงข้ามกับร้านเสริมสวย
พอเพียงเรไรบิวตี้ นักเรียนเล่าว่าร้านตัดผมชายมีพื้นที่จ�ำกัด ถ้ามีลูกค้า
มากกว่าหนึ่งคน ก็ต้องออกไปตัดใต้ต้นไม้ ใต้เต้นท์บ้าง อัตราค่าบริการ
ตัดผมหัวละ 5 บาท
	 ในการฝึกตัดผมชายนั้น คุณครูจะพาไปเรียนกับร้านตัดผมชายที่มี
ชื่อเสียงประจ�ำจังหวัดร้อยเอ็ด เจ้าของร้านจะเป็นผู้สอนให้ หลังจากนั้น
ก็จะกลับมาฝึกปฏิบัติจนเกิดความช�ำนาญรับตัดผมนักเรียนชายวันละ3-4
คน ช่วงเวลาการเปิดบริการจันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลา11.30–12.30น.
โดยตัดผมอย่างเดียว รายได้จากการตัดผม จะแบ่งให้นักเรียน 3 บาท และ
เข้าโรงเรียน 2 บาท ส่วนใหญ่เด็กก็จะน�ำไปฝากธนาคารโรงเรียน
42 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
	 นอกจากจะเรียนรู้วิธีตัดผมแล้ว เด็กยังรู้วิธีรักษาอุปกรณ์ เช่น
แบตเตอร์เลี่ยน กรรไกรตัดผม หวี การดูแลรักษาความสะอาดร้าน การเก็บ
กวาด ช่วยกันท�ำ นักเรียนคนหนึ่งได้เล่า แรงบันดาลใจที่ท�ำให้เขาได้เข้า
มาอยู่ร้านลมโชยเรไร เกศา เป็นเพราะมีรุ่นพี่ไปประกวดการตัดผมได้รางวัล
ชนะเลิศระดับจังหวัด รู้สึกภาคภูมิใจ และอยากร่วมเป็นสมาชิกร้านตัดผม
ลมโชยเรไร เกศา อีกทั้งยังคิดว่าได้ประโยชน์ เป็นทักษะความสามารถ
ติดตัวไปตัดให้น้อง คนในครอบครัว หรือจะพัฒนาเป็นอาชีพต่อไปก็ยังได้
	 ร้านตัดผมชาย เปิดมาหลายปีแล้ว มีช่างตัดผม ตั้งแต่ประถมจน
ถึงมัธยมจ�ำนวน10 คน การเปิดรับช่างตัดผมจะเปิดกว้างรับสมาชิกตั้งเด็ก
ประถม 1 ขึ้นมาเลย การฝึกช่างมือใหม่ จะให้ตัดผมเด็กอนุบาลก่อน แล้ว
คุณครูจะมาช่วยแต่งเพิ่มให้สวยงามให้ จนหลายคนพัฒนาความสามารถ
และถ่ายทอดให้รุ่นน้องๆ ต่อไป
	 จากการสังเกตของครูในโรงเรียนพบว่าเด็กนักเรียนชายมักจะมา
ตัดผมที่ร้าน เพราะราคาถูก ท�ำให้ลดปัญหานักเรียนผมยาวผิดระเบียบไป
ได้มาก
	 สิ่งที่ได้เรียนรู้
		 • เป็นการฝึกทักษะอาชีพ ที่จะน�ำไปใช้ต่อไป
		 • เป็นการให้บริการด้วยใจรัก
		 • ได้ช่วยให้เพื่อนๆ ลดค่าใช้จ่ายในการตัดผมได้
		 • ได้สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนๆ ในโรงเรียน
		 และคุณครูทุกคน
		 • การได้น�ำหลักของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน
		 การวิเคราะห์
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

Weitere ähnliche Inhalte

Ähnlich wie ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงKruwaw-ru Kan
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงWongduean Phumnoi
 
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)Kan Yuenyong
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าTum Meng
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงKanyakon
 
6.ส่วนที่ 2
6.ส่วนที่ 26.ส่วนที่ 2
6.ส่วนที่ 2Junior Bush
 
โครงการเขาหินซ้อน
โครงการเขาหินซ้อนโครงการเขาหินซ้อน
โครงการเขาหินซ้อนCook-butter
 
ท้องถิ่นกับหน่วยบริการสุขภาพทำงานร่วมกันที่ตำบลนาบัว
ท้องถิ่นกับหน่วยบริการสุขภาพทำงานร่วมกันที่ตำบลนาบัวท้องถิ่นกับหน่วยบริการสุขภาพทำงานร่วมกันที่ตำบลนาบัว
ท้องถิ่นกับหน่วยบริการสุขภาพทำงานร่วมกันที่ตำบลนาบัวเครือข่าย ปฐมภูมิ
 
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมคู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมniralai
 
Dental public meeting Holiday Inn
Dental public meeting Holiday Inn Dental public meeting Holiday Inn
Dental public meeting Holiday Inn Jitty Chanprasit
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคมjirapom
 

Ähnlich wie ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด (20)

Pady1
Pady1Pady1
Pady1
 
Pady1
Pady1Pady1
Pady1
 
Academic Service
Academic ServiceAcademic Service
Academic Service
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
6.ส่วนที่ 2
6.ส่วนที่ 26.ส่วนที่ 2
6.ส่วนที่ 2
 
โครงการเขาหินซ้อน
โครงการเขาหินซ้อนโครงการเขาหินซ้อน
โครงการเขาหินซ้อน
 
ท้องถิ่นกับหน่วยบริการสุขภาพทำงานร่วมกันที่ตำบลนาบัว
ท้องถิ่นกับหน่วยบริการสุขภาพทำงานร่วมกันที่ตำบลนาบัวท้องถิ่นกับหน่วยบริการสุขภาพทำงานร่วมกันที่ตำบลนาบัว
ท้องถิ่นกับหน่วยบริการสุขภาพทำงานร่วมกันที่ตำบลนาบัว
 
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
 
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมคู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
 
Infromation 65
Infromation 65Infromation 65
Infromation 65
 
Dental public meeting Holiday Inn
Dental public meeting Holiday Inn Dental public meeting Holiday Inn
Dental public meeting Holiday Inn
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคม
 
กลไกสังคม
กลไกสังคมกลไกสังคม
กลไกสังคม
 
5
55
5
 
Csr 2550-2555 finalest
Csr 2550-2555 finalestCsr 2550-2555 finalest
Csr 2550-2555 finalest
 

Mehr von Tum Meng

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น Tum Meng
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขTum Meng
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan LifeTum Meng
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้Tum Meng
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยTum Meng
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทTum Meng
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)Tum Meng
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)Tum Meng
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้Tum Meng
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนTum Meng
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราTum Meng
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่Tum Meng
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)Tum Meng
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)Tum Meng
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นTum Meng
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองTum Meng
 

Mehr von Tum Meng (20)

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
 

ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

  • 2.
  • 3. พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2558 จำ�นวนพิมพ์ 1,000 เล่ม ผู้เขียน สลิลทิพย์ เชียงทอง ภาพประกอบ อภิรัฐ วิทยสมบูรณ์ ออกแบบรูปเล่ม อินทิรา วิทยสมบูรณ์ ผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์ สำ�นักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.) 126/146 ชั้น 4 อาคาร 10 ชั้น สถาบันบำ�ราศนราดูร ซอยติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 0-2965-9531-3 โทรสาร 0-2965-9534 ดำ�เนินการผลิต Media for All, mediaforall.project@gmail.com ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
  • 4. คำ�นำ�คำ�นำ� ด้วยแนวคิดที่ว่า“การจัดการศึกษาต้องน�ำไปสู่การเป็นคนดีมีอาชีพ สุจริตเพื่อให้สามารถด�ำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” ไม่เพียงแต่ การจัดการศึกษาไปเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ แต่เพียงอย่างเดียว โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์แต่ละคนมีศักยภาพแตกต่างกัน โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ได้น�ำแนวคิดดังกล่าวมา จัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน พัฒนาผู้เรียนด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่าน ฐานการเรียนรู้ที่หลากหลายท�ำให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่น�ำ ไปใช้จริงและเกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด การคิดวิเคราะห์ และปรับเปลี่ยน พฤติกรรมอย่างเข้าใจชีวิตยิ่งขึ้น เนื้อหาที่เกิดจากกระบวนการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ของ บุคลากรครูและนักเรียน ได้น�ำเสนอไว้แล้วในหนังสือ “ฐานการพัฒนาท้อง ถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด” ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสถานการณ์ ณ วันที่ได้เข้าไปจัดกระบวนการเท่านั้น ขณะที่โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ด�ำเนินการเพื่อพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุด นิ่ง ในฐานะผู้ถอดบทเรียนและเรียบเรียงถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้น หวังเป็น อย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะสร้างแรงบันดาลใจในการริเริ่มจัดการศึกษาเพื่อ พัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง เชื่อมั่นและศรัทธา สลิลทิพย์ เชียงทอง กันยายน 2558
  • 6.
  • 7.
  • 9. โรงเรียนในท้องถิ่น เป็นการจัดการศึกษาเพื่อแก้ความเหลื่อมล�้ำ ลดช่องว่าง ท�ำให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีความเสมอภาค โดยมีองค์กรปกครองท้องถิ่นส่งเสริมให้เกิดการจัดการศึกษาที่สร้างการ เรียนรู้และไม่แยกคนออกจากชุมชน โดยให้ความส�ำคัญกับการศึกษาของ ชุมชน หรือชุมชนคือโรงเรียน เป็นฐานที่ใหญ่ที่สุด ไม่ใช่การศึกษาใน โรงเรียน แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน เพราะท้องถิ่นมีต้นทุนทาง สังคมที่ดี อีกทั้งผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ใกล้ชิดชุมชน และสามารถใช้พื้นที่ ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลาย ขณะเดียวกันความเป็นท้องถิ่นสามารถท�ำให้โรงเรียนสร้าง เอกภาพในการบริหารการศึกษาที่มีอัตลักษณ์ มีความเป็นท้องถิ่น ให้ท�ำ เป็น คิดเป็น อยู่ร่วมกันเป็น ทุกคนเป็นทั้งครูและนักเรียน จึงมีครูและ แหล่งเรียนรู้มากมาย ดังนั้น ท้องถิ่นจึงสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา เศรษฐกิจ คือ ประกอบสัมมาชีพได้ ดัดแปลงปรับปรุงต่อยอดได้ จิตใจ คือ ความรักความเมตตาต่อกัน ลดละความเห็นแก่ตัว เพิ่มความเห็นแก่ส่วน รวม สังคม คือ การอยู่ร่วมกันด้วยดี วัฒนธรรม คือ ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ ดีมีประโยชน์ถ่ายทอดต่อๆ ไป และสามารถพัฒนาให้เหมาะแก่กาลสมัย สิ่งแวดล้อม คือ บ�ำรุงรักษาเพิ่มเติมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกื้อกูลต่อชีวิตและการอยู่ร่วมกัน สุขภาพ สามารถดูแลรักษาสุขภาพ ให้มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา ประชาธิปไตย ทุกคนมีความเสมอภาค มีภารดรภาพ มีการรวมตัวร่วมคิด ร่วมท�ำ มีส่วนร่วมในการท�ำแผนชุมชน และขับเคลื่อนแผนชุมชนที่ร่วมกัน ท�ำขึ้นมา (ประเวศ วะสี) โรงเรียนในท้องถิ่น เป็นการจัดการศึกษาเพื่อแก้ความเหลื่อมล�้ำ ลดช่องว่าง ท�ำให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีความเสมอภาค โดยมีองค์กรปกครองท้องถิ่นส่งเสริมให้เกิดการจัดการศึกษาที่สร้างการ เรียนรู้และไม่แยกคนออกจากชุมชน โดยให้ความส�ำคัญกับการศึกษาของ ชุมชน หรือชุมชนคือโรงเรียน เป็นฐานที่ใหญ่ที่สุด ไม่ใช่การศึกษาใน โรงเรียน แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน เพราะท้องถิ่นมีต้นทุนทาง สังคมที่ดี อีกทั้งผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ใกล้ชิดชุมชน และสามารถใช้พื้นที่ ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลาย ขณะเดียวกันความเป็นท้องถิ่นสามารถท�ำให้โรงเรียนสร้าง เอกภาพในการบริหารการศึกษาที่มีอัตลักษณ์ มีความเป็นท้องถิ่น ให้ท�ำ เป็น คิดเป็น อยู่ร่วมกันเป็น ทุกคนเป็นทั้งครูและนักเรียน จึงมีครูและ แหล่งเรียนรู้มากมาย ดังนั้น ท้องถิ่นจึงสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา เศรษฐกิจ คือ ประกอบสัมมาชีพได้ ดัดแปลงปรับปรุงต่อยอดได้ จิตใจ คือ ความรักความเมตตาต่อกัน ลดละความเห็นแก่ตัว เพิ่มความเห็นแก่ส่วน รวม สังคม คือ การอยู่ร่วมกันด้วยดี วัฒนธรรม คือ ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ ดีมีประโยชน์ถ่ายทอดต่อๆ ไป และสามารถพัฒนาให้เหมาะแก่กาลสมัย สิ่งแวดล้อม คือ บ�ำรุงรักษาเพิ่มเติมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกื้อกูลต่อชีวิตและการอยู่ร่วมกัน สุขภาพ สามารถดูแลรักษาสุขภาพ ให้มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา ประชาธิปไตย ทุกคนมีความเสมอภาค มีภารดรภาพ มีการรวมตัวร่วมคิด ร่วมท�ำ มีส่วนร่วมในการท�ำแผนชุมชน และขับเคลื่อนแผนชุมชนที่ร่วมกัน ท�ำขึ้นมา (ประเวศ วะสี)
  • 10. 9กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด ดังนั้น การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น จึง เกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่ว่า “การจัดการศึกษาต้องน�ำไปสู่การเป็นคนดี มีอาชีพ สุจริตเพื่อให้สามารถด�ำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข”ทั้งสังคมไทย และสังคมโลกไม่ใช่เป็นการจัดการศึกษาไปเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความ เป็นเลิศทางวิชาการแต่เพียงอย่างเดียว เพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์แต่ละ คนจะมีศักยภาพหรืออัจฉริยภาพที่แตกต่างกัน การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการแต่เพียง อย่างเดียวยังเป็นการจัดการศึกษาที่ตอบสนองตอบความต้องการเฉพาะกลุ่ม ผู้เรียนที่มีศักยภาพหรืออัจฉริยภาพด้านวิชาการแต่เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น โดยไม่ให้ความส�ำคัญต่อการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของ กลุ่มผู้เรียนที่มีศักยภาพหรืออัจฉริยภาพด้านอื่นๆ ท�ำให้ผู้เรียนกลุ่มนี้ไม่ได้รับ การพัฒนาเต็มตามศักยภาพและถูกบังคับให้เรียนรู้เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้าน วิชาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก หรืออาจเป็นไปไม่ได้เลย เท่ากับเป็นการ ท�ำร้ายกลุ่มผู้เรียนที่มีศักยภาพหรืออัจฉริยภาพด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ด้านวิชาการ เพราะกลุ่มผู้เรียนเหล่านี้จะไม่มีความเป็นเลิศในด้านใดทั้งสิ้นเลย เมื่อจบการ ศึกษาขั้นพื้นฐานไปแล้ว เมื่อไม่มีโอกาสได้เรียนต่อก็จะไม่มีความรู้ที่จะน�ำไปใช้ ในการประกอบอาชีพได้ กลายเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ประกอบกับผู้เรียนของ โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มักไม่มี โอกาสได้เรียนต่อ ดังนั้น การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ เรียนทุกคนเพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบศักยภาพหรืออัจฉริยภาพของตนเองอันจะ ส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นเป็นคนดี มีอาชีพสุจริตสามารถด�ำรงชีวิตอยู่ใน ท้องถิ่นได้อย่างมีความสุข โดยไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปท�ำงานในเมืองใหญ่ หรือเมืองอุตสาหกรรม ทิ้งให้เด็กและคนชราอยู่ในท้องถิ่นตามล�ำพัง ท�ำให้ ครอบครัวขาดความอบอุ่น และชุมชนท้องถิ่นขาดความเข้มแข็ง ขาดพลังใน การขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าได้ (สุวรรณ พิณตานนท์)
  • 12. 11กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School Based ManagementforLocalDevelopment: SBMLD) หมายถึงการ บริหารจัดการศึกษาที่ใช้โรงเรียนเป็นศูนย์การจัดการศึกษาตลอดชีวิตสู่ ความเป็นเลิศตามศักยภาพหรืออัจฉริยภาพของของผู้เรียน (นักเรียน /เด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น) ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และ ตามอัธยาศัย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน อันจะส่งผลให้ ประชาชนในท้องถิ่นเป็นคนดี มีอาชีพสุจริตสามารถด�ำรงชีวิตอยู่ในท้องถิ่น ได้อย่างมีความสุข การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น เป็นการบริหารจัดการศึกษาที่สนองตอบนโยบายการจัดการศึกษา ของชาติ ซึ่งปรากฏตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (สุวรรณ พิณตานนท์) ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะ โรงเรียนที่มีการถ่ายโอนจากกระทรวงศึกษาธิการมาสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดได้มีการจัดตั้งสมาคมผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (ส.บ.อ.ท.) มีแนวคิดในการที่จะพัฒนา คุณภาพการศึกษาของท้องถิ่นได้มีการด�ำเนินการขับเคลื่อนปฏิรูปการ ศึกษาของท้องถิ่น และได้เข้าร่วมเป็นสมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา 9 เครือข่าย พร้อมกับจัดประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายครั้งและน�ำ เสนอต่อผู้เกี่ยวข้องเป็นล�ำดับ ดังนี้
  • 13. 12 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : 1.ให้มีกฎหมายการศึกษาท้องถิ่นหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้ปรากฏการ ศึกษาท้องถิ่นใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติอย่างชัดเจน 2.การกระจายอ�ำนาจให้สถานศึกษาเพื่อความสะดวกคล่องตัวใน การบริหารจัดการ โดยเฉพาะกฎระเบียบ ด้านการเงิน พัสดุที่ใช้เช่นเดียว กับหน่วยงานกอง/ส�ำนักในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท�ำให้เกิดความยุ่ง ยาก ใช้เวลามาก หาบุคลากรที่จะท�ำหน้าที่ยาก เป็นต้น ดังนั้น หากมีกฎ ระเบียบที่ยืดหยุ่น หรืออ�ำนวยความสะดวกให้สถานศึกษามากขึ้น จะช่วย ให้สนับสนุนให้เกิดความส�ำเร็จ 3.รัฐบาลต้องก�ำหนดให้การปฏิรูปการศึกษาท้องถิ่นเป็นวาระ แห่งชาติ 4.ให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ข้าราชการท้องถิ่น ให้ข้าราชการและ พนักงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของท้องถิ่น เป็นบุคลากร ทางการศึกษา ตาม พ.ร.บ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2542 เป็น การสร้างขวัญก�ำลังใจให้ฝ่ายสนับสนุนการศึกษามากขึ้น 5.ก�ำหนดการสนับสนุนการศึกษาท้องถิ่น โดยให้ท้องถิ่นจัดสรร งบประมาณเพิ่มเติมให้ด้านการศึกษาเป็นร้อยละ 20 ของเงินงบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ โดยก�ำหนดเป็นกฎหมาย หรือ ระเบียบ เพื่อให้การพัฒนามีความต่อเนื่อง และไม่ต้องกังวลกับผู้บริหาร การเมืองท้องถิ่นที่เข้ามาด�ำรงต�ำแหน่งในแต่ละสมัย ข้อเสนอในลักษณะยุทธศาสตร์เพื่อ การจัดการศึกษาท้องถิ่นที่มีคุณภาพ
  • 14. 13กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาในสังกัดต้องให้ ความมั่นใจว่าเด็ก เยาวชนที่ได้รับการศึกษาแล้ว จะมีความรู้ความสามารถ มีมาตรฐานเกิดคุณภาพ สามารถประกอบอาชีพที่สุจริต เป็นที่ต้องการ ของสังคม ชุมชน และต้องได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพทุกคน อย่างหลาก หลาย จึงได้ก�ำหนดนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่เรียกว่า การบริหารโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School Based Management for Local Development: SBMLD) ดังปรากฏแนวทางต่อไปนี้
  • 15. 14 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : 1.เสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน ให้สามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้ อย่างแท้จริง ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนสามารถแก้ไขปัญหา และสนองตอบความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น 2. จัดการศึกษาในระบบ โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียน จัดการเรียนการสอนที่ท�ำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีและได้รับ การพัฒนาหรือส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของผู้เรียนแต่ละ คน จนสามารถน�ำไปประกอบอาชีพในท้องถิ่นได้ 3. จัดการศึกษานอกระบบ โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียน จัดการฝึกอบรมให้ความรู้ตามความต้องการของเด็ก เยาวชน และ ประชาชนในท้องถิ่นเพื่อให้มีทักษะชีวิตและมีอาชีพที่สามารถด�ำรงชีวิตอยู่ ในท้องถิ่นอย่างมีความสุข 4.จัดการศึกษาตามอัธยาศัยโดยการส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียน จัดหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของเด็ก เยาวชน และ ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้เรียน รู้ตามความต้องการและตามศักยภาพของแต่ละบุคคล จนสามารถน�ำไป ประกอบอาชีพและสามารถด�ำรงชีวิตอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างมีความสุข แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น ฐานในการพัฒนาท้องถิ่น
  • 17.
  • 18. 17กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด สัมมาชีพหมายถึงการประกอบอาชีพ ภายใต้กรอบอริยมรรคที่มี สัมมาทิฐิเป็นตัวน�ำหากกล่าวให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นจะหมายความถึงการ ท�ำมาหากินโดยไม่ได้เอาก�ำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง หรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย และต้องค�ำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กล่าวคือความสุขของตน และ คนท�ำงาน รวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภค และผู้รับบริการเป็นหลัก โดยไม่ กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่มุ่งไปกระตุ้นตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ (มูลนิธิสัมมาชีพ) สัมมาชีพจึงเป็นทั้งเศรษฐกิจจิตใจสังคม สิ่งแวดล้อมและศีลธรรม พร้อมกันไปอย่างบูรณาการ ฉะนั้น ยิ่งมีสัมมาชีพกันมากเท่าใด เศรษฐกิจ จิตใจสังคมสิ่งแวดล้อมจะยิ่งดีขึ้น ต่างจากจีดีพีเมื่อจีดีพีดีขึ้นอย่างอื่นอาจ จะไม่ดีขึ้นเป็นเงาตามตัวเพราะจีดีพีเป็นการวัดแบบแยกส่วนฉะนั้นการมี สัมมาชีพเต็มพื้นที่จึงเป็นการวัดพัฒนาที่ดีกว่าจีดีพี สัมมาชีพเต็มพื้นที่จึง เป็นรากฐานของความร่มเย็นเป็นสุข การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะ การเตรียมความพร้อมสู่อาชีพ การใช้ชีวิตเมื่อจบการศึกษาจึงมีความจ�ำเป็น การจัดการศึกษาจึงต้องมี หลายภาคส่วนเข้ามาร่วมด้วย ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น ประชาคมท้องถิ่น หน่วยงานรัฐในท้องถิ่น ภาคเอกชน ฯลฯ สร้างการเรียนรู้ใหม่ๆ ใช้ความรู้และผู้รู้ที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น เรียกได้ว่า เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ความรู้ในต�ำราและการ ถ่ายทอดจากครูผู้สอนทางเดียวเท่านั้น และเน้นการปฏิบัติจริง สรุปการ ปฏิบัติเพื่อการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น มีรายได้พอสมควร เมื่อโรงเรียน จัดหลักสูตรสัมมาชีพและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะชีวิตและ ทักษะการท�ำงาน โดยค�ำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
  • 19. 18 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : 1) ต้องสร้างคุณค่าของการท�ำงาน เห็นการท�ำงานทุกชนิดเป็น ของดีของมีค่า 2) การเรียนรู้ต้องเรียนรู้จากการท�ำงาน ใช้การท�ำงานเป็น เครื่องมือเรียนรู้ ให้ท�ำงานเป็น สู้งานหนัก และรับผิดชอบ 3) เรียนรู้ให้คิดเป็น อยู่ร่วมกันเป็น จัดการเป็น สร้างความรู้และ จัดการความรู้เป็น การศึกษาไทยจ�ำกัดความรู้เฉพาะในต�ำราเรียน อยู่ในโลกแคบๆ ห้องสี่เหลี่ยมมานาน เรียนด้วยการท่องจ�ำเพื่อสอบแข่งขันมานานมาก ไม่ สามารถบูรณาการความรู้กับการใช้ชีวิตประจ�ำวัน จนเกิดวิกฤติการศึกษา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสังคมโดยรวม ฉะนั้น ข้อเสนอต่อแนวทาง การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น จึงเป็นแนวทางที่ ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาเพื่อสัมมาชีพ เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เกิดการ พัฒนาสติปัญญา ทักษะการคิดวิเคราะห์ การวางแผน การแก้ปัญหา การ ท�ำงานร่วมกัน เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้ศึกษาเรียนรู้และพัฒนา ศักยภาพตนเองอย่างเท่าเทียม โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัด ร้อยเอ็ด เป็นกรณีศึกษาของการจัดการศึกษาเพื่อสัมมาชีพและน�ำแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงมาจัดฐานการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียน ซึ่งขอน�ำเสนอ ดัง ต่อไปนี้
  • 20. 19กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ตั้งอยู่เลขที่ 11 ซ.7 ถนนเทวาภิบาล ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อ�ำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ. 2499 หลวงปู่บุญญสิทธิโสภณ เจ้าอาวาสวัด ป่าเรไร เป็นผู้ริเริ่มสร้างโรงเรียนในที่ดินของวัดโดยแบ่งพื้นที่วัดประมาณ 2 ไร่กว่าๆ โดยหวังจะให้ชุมชนช่วยกันดูแล เมื่อโรงเรียนวัดป่าเรไร เปิด มาได้ปีที่ 10 ประสบกับปัญหาด้านครูผู้สอน จึงได้โอนความรับผิดชอบ ให้กับเทศบาลร้อยเอ็ด ดังนั้นแล้ว เทศบาลร้อยเอ็ดจึงได้เข้ามาบริหาร โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ตั้งแต่ปี วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2511 เป็นต้นมา และเทศบาลได้เข้ามาบริหารจัดการทั้งงบประมาณในด้านการสร้างอาคาร อุปกรณ์การเรียนการสอน การจ้างครูผู้สอน ซึ่งเทศบาลจะเปิดสอบเองและ มีบางส่วนได้ย้ายจากสังกัด สพฐ. มาอยู่สังกัดเทศบาล เนื่องจากอาจารย์ บางท่านต้องการที่จะย้ายกลับมาสอนที่บ้านเดิม โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร
  • 21.
  • 23. 22 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล ถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นปัจจุบันมีผู้อ�ำนวยการสถานศึกษาคือ นางธนิตา กุลสุวรรณ รองผู้อ�ำนวยการสถานศึกษา 2 คน คือ นางบุญศรี บรรเลงการ และนายจักรกฤษณ์ ถินค�ำเชิด พนักงานครูและบุคลากรทาง การศึกษา จ�ำนวน35 คน นักการภารโรง จ�ำนวน 2 คนจ�ำนวนผู้เรียน700 คน โรงเรียนได้จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยมีจุดเน้นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ได้น้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้ง กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต ทักษะการคิด อย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้ภาษา อังกฤษในการสื่อสารเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน หลักการ บริหารจัดการ เพื่อให้คุณครูได้รู้จักเด็กและดูแลเด็กได้ทั่วถึงจึงได้จัดระบบ บริหารโรงเรียนแบบกระจายอ�ำนาจในรูปแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียน ใหญ่ ซึ่งผู้อ�ำนวยการธนิตา กุลสุวรรณ เป็นผู้ริเริ่มด�ำเนินการ โดยได้แนวคิด มาจากการปลูกป่า ที่ไม่สามารถปลูกต้นไม้ทีเดียวให้เต็มป่าได้ ต้องหาวิธี การ ปลูกต้นไม้ใหญ่ก่อน และกระจายเมล็ด เมื่อไม้ใหญ่ออกผล เมล็ดก็จะ ตกลงดินแล้วเกิดเป็นไม้ใหญ่ต่อไปเรื่อยๆซึ่งจะสร้างร่มเงาแผ่กิ่งก้านสาขา เป็นที่พักอาศัย ให้ความร่มเย็น กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เข้ามาอาศัยอย่างทั่ว ถึงและยั่งยืนตลอดไป ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มเป็น 4 โรงเรียนเล็ก ดังนี้
  • 24. 23กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด • โรงเรียนผกากรอง กลุ่มอนุบาล • โรงเรียนอินทนิล กลุ่มช่วงชั้นที่ 1 คือ ประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 • โรงเรียนพวงชมพู กลุ่มช่วงชั้นที่ 2 คือ ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 • โรงเรียนชัยพฤกษ์ กลุ่มช่วงชั้นที่ 3 คือ มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 แต่ละโรงเรียนจะเลือกครูใหญ่1คนและจะมีการจัดประชุมภายใน กลุ่มโรงเรียนเพื่อดูแลเด็กรับรู้สถานการณ์ของเด็กทุกคนเด็กๆก็จะจดจ�ำ ครูของพวกเขาได้ และจะเรียกครูโรงเรียนผกากรอง ครูโรงเรียนอินทนิล ครูโรงเรียนพวงชมพู และครูโรงเรียนชัยพฤกษ์ การจัดกลุ่มบริหารเช่นนี้ เป็นการหนุนช่วยในการจัดการเรียนการสอนเมื่อมีครูติดภารกิจ ไม่สามารถสอนในชั่วโมง/วิชานั้นได้ และครูใหญ่ของโรงเรียนเล็กจะเป็น
  • 25. 24 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : ตัวแทนไปประชุมร่วมกับผู้อ�ำนวยการ ซึ่งเป็นตัวแทนไปรายงานสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นในโรงเรียนเล็ก ทั้งงานวิชาการ งานกิจกรรม และพัฒนาการพฤติกรรม ของเด็กที่อยู่ในความรับผิดชอบของครูโรงเรียนเล็กเพื่อโรงเรียนจะได้ช่วย เหลือและพัฒนาเด็กได้ตรงตามศักยภาพ ทั้งการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาจุด เด่นในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจุดความสามารถศักยภาพที่เด็กเป็นหรือพัฒนา การล่าช้าด้านวิชาการของเด็ก เมื่อพบแล้วต้องหนุนเสริมด้านใด หรือค้นหา ศักยภาพด้านอื่นๆ ที่เด็กมีเพื่อพัฒนาเด็กทั้งหมดของโรงเรียนเทศบาลวัดป่า เรไร ให้เติบโตเป็นพลเมืองของสังคมที่มีคุณภาพ โครงการโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ แก้ปัญหาและจัดระบบความ เป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น การจัดกลุ่มรับประทานอาหารกลางวัน การเข้า แถว การแปรงฟัน การจัดกิจกรรมก่อนบ่ายคลายเครียด การพัฒนาเด็กให้ เป็นไปตามวัยและศักยภาพที่ค้นพบ และโดยปกติการเข้าแถวก่อนเข้าเรียน ผู้อ�ำนวยการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายการพูดอบรมส่วนรวม ก็จะปรับเป็นการ อบรมย่อยโดยจะมอบหมายให้ครูนักพัฒนาประจ�ำวันเป็นผู้รับผิดชอบใน การอบรมเด็กโรงเรียนเล็ก ขณะที่นักเรียนก็จัดเป็นกลุ่มนักพัฒนาประจ�ำวัน เช่นกัน จากการเปลี่ยนค�ำเรียกจากครูเวรเป็นครูนักพัฒนา แม้ว่ายังคงปฏิบัติ ภารกิจเดิม แต่ได้ผลงานที่ต่างกัน เกิดการบริหารจัดการดีขึ้น เพราะค�ำว่า “พัฒนา” คือ ต้องดีขึ้นกว่าเดิม
  • 26. 25กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด ผลที่ได้จากการจัดระบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ •เกิดระบบการติดตามเด็กตั้งแต่ผกากรอง1ผกากรอง2(อนุบาล 1 อนุบาล 2) คุณครูรู้จักเด็กทุกคนเป็นอย่างดี และเมื่อเด็กเปลี่ยนช่วงชั้น เรียนไปอยู่ระดับอินทนิล ก็จะเกิดการส่งต่อเด็กให้คุณครูในชั้นที่สูงขึ้นเกิด การแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเพื่อจะหนุนช่วยเด็กได้เต็มศักยภาพ • เกิดวงคุยตามธรรมชาติ ทุกสถานที่ ทุกเวลา คุณครูคุยปรึกษา หารือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนเล็กได้ทั้งหมด โดยไม่จ�ำเป็นต้องรอ ให้น�ำเสนอในห้องประชุม ขณะเดียวกันก็ท�ำให้เกิดการลดการประชุมซ�้ำ ซ้อน • การสร้างระบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ ไม่ได้เป็นการสร้าง ฐานอ�ำนาจของโรงเรียนเล็ก แต่เป็นการอุดช่องโหว่ของระบบการบริหาร จัดการโรงเรียน คุณครูทุกคนมีโอกาสขึ้นเป็นครูใหญ่ในโรงเรียนเล็กโดย เวียนกันปีละหนึ่งคน • เป็นการพัฒนาศักยภาพของการบริหารจัดการของครูทุกคน อีก ทั้งครูในกลุ่มโรงเรียนเล็กจะได้หนุนช่วยกันได้ทั้งการช่วยสอนเมื่อครูคนใด คนหนึ่งติดธุระ หรือออกไปประชุมข้างนอก ซึ่งสามารถทดแทนกันได้ การ บริหารจัดโดยใช้ฐานการบริหารโรงเรียนเล็กเป็นการเรียนรู้และพัฒนา ตนเองของคุณครูได้อย่างเต็มศักยภาพ
  • 27. 26 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : การจัดระบบครูพ่อแม่คนที่สอง นอกจากการจัดระบบการบริหารโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ ซึ่งเป็นระบบการดูแลตามช่วงชั้นแล้ว ผู้อ�ำนวยการยังได้ริเริ่มโครงการพ่อ แม่คนที่สอง เมื่อปี 2549 คือ จะมีการแบ่งลูกดูแลตั้งแต่ชั้นอนุบาล ครูทุก คนจะมีลูกคนที่สองเริ่มจากชั้นเรียนของตนเองก่อน เมื่อเด็กเลื่อนชั้นเรียน ก็จะกลายเป็นลูกคนรอง ส่วนเด็กที่เลื่อนขึ้นมาก็จะรับเป็นลูกคนใหม่แทน และจะดูแลเด็กจนจบมัธยม 3 เด็กจะเรียกคุณพ่อ คุณแม่ สร้างความ อบอุ่นและความรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ในโรงเรียน การสร้างระบบครูพ่อแม่ เป็นการดูแลเด็กในโรงเรียนอย่างใกล้ชิด รู้จักเด็กอย่างแท้จริง เด็กจะเข้า มาหาใกล้ชิดพูดคุยกันหรือเมื่อพบปัญหาเช่นเด็กขาดเรียนหรือลืมน�ำเงิน มาก็จะมายืมครูพ่อแม่ แล้วคืนภายหลัง ครูพ่อแม่คนที่สองจะติดตามเยี่ยม บ้านพบปะผู้ปกครองเพื่อรับทราบปัญหา และหาทางแก้ไขร่วมกัน เช่น มี เพื่อนร่วมชั้นได้มาฟ้องครูว่ามีเพื่อนร่วมห้องไม่ได้เพื่อนท�ำความสะอาด ห้องเรียนในช่วงเช้า เมื่อครูและเพื่อนได้ไปเยี่ยมบ้าน จึงรู้ว่าบ้านไกลมาก จึงมาคุยกันและให้เพื่อนช่วยตอนเย็นแทน เมื่อเราเข้าใจกันก็จะเกิดความ เห็นใจครูเข้าใจเด็กเพื่อนเข้าใจเพื่อนเด็กได้เรียนรู้ตนเองและความมีน�้ำใจ ของเพื่อน ขณะที่ครูก็ได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง วิธีการจัดระบบ ครูพ่อแม่คนที่สองท�ำให้เด็กกล้าที่จะเข้าหาครู เพราะครูได้ท�ำหน้าที่พ่อแม่ ที่ปรึกษา สามารถแก้ปัญหาของการรับรู้เด็กทุกคนอย่างเท่าทัน การจัด ระบบครูพ่อแม่จะสร้างความใกล้ชิดเด็กยิ่งขึ้น
  • 29.
  • 30. 29กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด การจัดการเรียนการสอน แนวคิดการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร เชื่อว่า การศึกษาไม่ใช่การเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวการศึกษาจะต้องพัฒนาให้ เด็กออกไปสู่โลกภายนอกได้ เด็กต้องมีทั้งความรู้วิชาการและทักษะชีวิต และเด็กจ�ำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะชีวิตผ่านชีวิตประจ�ำวันเพราะทักษะชีวิต จะกลายเป็นวิถีชีวิตที่เด็กๆ จะด�ำเนินชีวิตต่อไป ดังนั้น โรงเรียนจึงได้จัด กิจกรรมฐานการเรียนรู้ต่างๆเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงการจัดการ ฐานการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร จะยึดแนวคิดของเศรษฐกิจ พอเพียง และเป็นไปตามบริบทของโรงเรียนและชุมชน เทศบาลให้ความส�ำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่น โดยนายก เทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ได้ให้นโยบายไว้ว่า “การพัฒนาโรงเรียนไม่จ�ำเป็น ต้องเหมือนกันทุกโรงเรียน โรงเรียนแต่ละแห่งมีจุดเด่นแตกต่างกัน เช่น โรงเรียนบางแห่งเด่นวิชาการบางแห่งเด่นด้านกีฬา”และโรงเรียนเทศบาล วัดป่าเรไร ได้วิเคราะห์ตนเอง มีความเด่นกลางๆ จึงได้เลือกการพัฒนา ศูนย์เรียนรู้ดังนั้นในการพัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้อ�ำนวยการจึงได้ จัดให้มีการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดอบรมหลากหลายสาขาวิชา เช่น การประเมินผล การจัดการเรียนรู้ การจัดท�ำแผนการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การจัดท�ำหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งผู้อ�ำนวยการส่งเสริมครู ทุกคนเต็มที่ ทั้งการอนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่าย การอนุญาตให้ครูลาไป อบรมเพื่อพัฒนาครูทุกๆ ด้าน ดังนั้นการจัดฐานการเรียนรู้ จึงเกิดจากการวิเคราะห์ความรู้ของ ชุมชน การเพิ่มฐานการเรียนรู้ก็จะเป็นการต่อยอดขยายผลจากฐานที่มีอยู่ เดิมแล้ว และใช้ฐานการเรียนรู้พัฒนาทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญผ่าน การปฏิบัติการจริง ด้วยวัฎจักรของการทดลอง สังเกต บันทึก สรุป ทดลอง .... จนได้ผลที่ดีที่สุด
  • 31. 30 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร เป็นโรงเรียนที่มีความตื่นตัวพัฒนา ตนเองตลอดเวลาครูทุกคนต้องปรับตัวและเปลี่ยนตัวเองต้องพัฒนาทักษะ ตนเองอยู่เสมอ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อจะน�ำมาพัฒนากระบวนการเรียนการ สอนส�ำหรับเด็กยุคใหม่ รวมถึงการใช้เครื่องมือการสื่อสารที่เป็นปัจจุบัน เท่าทันเด็กด้วย เช่น เด็กเล่นไลน์ ครูก็ต้องเล่นไลน์ด้วย ใช้ไลน์คุยกับเด็ก หรือแม้แต่การสอบถามการบ้านก็ตาม การพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรนั้น เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดให้การสนับสนุนงบประมาณในด้านสื่อการเรียนการ สอนวัสดุอุปกรณ์วิทยากรที่ให้ความรู้ด้านต่างๆงบประมาณด้านบุคลากร ครู กองทุนสนับสนุนผู้เรียน ขณะเดียวกันโรงเรียนยังประสานความร่วมมือ กับสถาบันการศึกษาในลักษณะของการท�ำ MOU ได้แก่ ระดับอนุบาล MOU ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับประถม ศึกษา MOU ร่วมกับโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การศึกษา พิเศษMOUร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ด้านเทคโนโลยีและ สารสนเทศ MOU ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัย ราชภัฎร้อยเอ็ด อีกทั้งโรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียง ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมในการพัฒนาผู้บริหาร ครูและเด็ก จาก ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวเกษตร ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระ มหากษัตริย์ การที่โรงเรียนท�ำ MOU จากหลายสถาบัน เนื่องจากเทศบาล เมืองร้อยเอ็ดจัดประชุมใหญ่ประจ�ำปี และมีการพิจารณาโครงการความ ร่วมมือระดับจังหวัด และเทศบาลได้เสนอให้สถาบันเหล่านั้นท�ำความร่วม มือกับโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรซึ่งมีความเชื่อมั่นว่าโครงการจะบรรลุ เป้าหมายอย่างแน่นอน
  • 32. 31กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด นอกจากนั้นโรงเรียนยังได้รับการสนับสนุนจากสาธารณสุข จังหวัด ให้ความรู้เรื่องสุขภาพ การจัดตั้งกลุ่ม อย.น้อย และยังได้รับการ สนับสนุนทุนการศึกษาจากภาคเอกชนในจังหวัดด้วย อีกทั้งผู้ปกครองยัง ประสานทุนการศึกษาจากบริษัทห้างร้านมาให้เด็กในโรงเรียน การจัดทุน การศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนนั้น จะให้ทุนแก่เด็กยากจนแต่มีเงื่อนไขว่าเด็ก ต้องมีความตั้งใจที่จะพึ่งตนเอง เช่น การมีจิตอาสาช่วยกิจกรรมฐานการ เรียนรู้ในโรงเรียน หรือร้านค้าสวัสดิการซึ่งเป็นแหล่งรายได้ของโรงเรียน ที่ จะมีงบประมาณมาพัฒนาโรงเรียน การจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องฉายโปรเจ็ค เตอร์ เครื่องเสียง อุปกรณ์หลายชิ้น ล้วนเป็นเงินที่ซื้อจากรายได้ของ โรงเรียนซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพึ่งตนเองก่อน ด้วยโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร มีพื้นที่เพียง 2 ไร่เศษ มีอาคาร เรียน 2 อาคาร มีสนามบาส มีโรงอาหาร จึงใช้พื้นที่อันจ�ำกัดจัดสัดส่วน ของพื้นที่ส�ำหรับฐานการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ขอน�ำเสนอ ฐานการเรียนรู้ที่ส�ำคัญ ดังต่อไปนี้
  • 33. ธนาคารขยะ จุดเริ่มของธนาคารขยะคือเมื่อก่อนโรงเรียนมีขยะเยอะมาก เกิดจากร้านสวัสดิการที่โรงเรียนให้บุคคลภายนอกมาประมูลขายของ ในโรงเรียน ขายอาหาร ขนม น�้ำดื่ม พบว่ามีขวดน�้ำดื่มอัดลมเยอะมาก และนักเรียนก็ชอบซื้อขนมถุง น�้ำดื่มมากินในโรงเรียน จนเมื่อปี 2548 มี เจ้าหน้าที่ส�ำนักงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมภาค12จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัด อบรมให้ความรู้เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมแก่โรงเรียนระดับประถมศึกษา โดยมีตัวแทนครู 1 คน และนักเรียน 3 คน เข้าร่วมอบรม ดังนั้น ธนาคารขยะจึงเกิดขึ้นที่โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร โดย ส�ำนักงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมภาค 12 เป็นผู้สนับสนุนองค์ความรู้และ งบประมาณจ�ำนวน 10,000 บาท น�ำไปซื้อถังขยะ จัดท�ำคอกไว้รองรับขยะ และส่วนหนึ่งใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เด็กได้รับความรู้เรื่องการคัดแยกขยะซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ ขยะย่อยสลายได้(ขยะอินทรีย์) ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล และขยะ อันตราย 32 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
  • 34. • ขยะย่อยสลายได้ (ขยะอินทรีย์) คือ ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น • ขยะทั่วไป คือ ขยะที่ย่อยสลายยากไม่สามารถน�ำกลับมาใช้ได้ อีก เช่น ถุงพลาสติกที่เปื้อนเศษอาหาร กระดาษห่อขนมลูกอม ซองบะหมี่ ส�ำเร็จรูป โฟม เป็นต้น • ขยะรีไซเคิล คือ ขยะที่สามารถน�ำกลับมาใช้ได้อีก หรือดัดแปลง ประดิษฐ์เป็นของเล่นของใช้หรือน�ำไปแยกประเภทเพื่อจ�ำหน่ายให้กับ ร้านค้าต่อไปได้ เช่น กล่องนม ลังกระดาษ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว อลูมิ เนียม กระป๋องน�้ำอัดลม และโลหะอื่นๆ •ขยะอันตรายคือขยะที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย แบตเตอร์รี่ กระป๋องสี สเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่างๆ ในช่วงแรกของการจัดการขยะนั้น โรงเรียนยังไม่มีสถานที่จัดเก็บ ที่ดี เนื่องจากโรงเรียนยังมีอาคารเดียว จึงได้สร้างคอกสี่เหลี่ยมไว้เป็นที่จัด เก็บขยะ เมื่อขยะเต็มคอกที่จัดเก็บก็จะจ�ำหน่าย ใช้เวลาประมาณ 3 วันก็ เต็มคอก ต้องขายออกไป การที่ขยะเต็มคอกเร็วแสดงให้เห็นว่าขยะใน โรงเรียนยังมีจ�ำนวนมากจะต้องวางแผนลดขยะ ต่อมาเมื่ออาจารย์ธนิตา กุลสุวรรณ ได้ย้ายมาเป็นผู้อ�ำนวยการ ได้ปรับปรุงสถานที่เก็บขยะให้ดีขึ้น เป็นสัดส่วนแยกจากฐานการเรียนรู้อื่นๆ จัดแบ่งเป็นคอก และยังมีถังหรือ ตะกร้าเพื่อแยกประเภทขยะ ได้แก่ กระดาษแข็ง กระดาษขาว กระดาษสี/ หนังสือพิมพ์ เหล็ก พลาสติก ขวด อลูมิเนียม ฯลฯ การคัดแยกขยะจะจัดการตั้งแต่ในห้องเรียนหรือห้องพักครูมีการ แยกกล่องขยะ เช่น ขยะจากการเหลาดินสอ กล่องส�ำหรับใส่กระดาษใช้ แล้วทั้งสองหน้า ซึ่งเด็กๆ ต้องจัดเรียงให้เรียบร้อย ไม่ฉีกหรือขย�ำกระดาษ ขยะที่ขายได้ก็จะน�ำไปขายให้ธนาคารขยะ ขยะบางประเภทก็จะน�ำมาใช้ 33กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
  • 35. งานต่อ เช่น กระดาษแข็งก็จะน�ำไปท�ำอักษรเบลล์ ท�ำตัวอักษรจีน กล่อง กระดาษแข็ง ก็จะน�ำไปเป็นกล่องใส่ของเล่น เป็นสื่อการเรียนการสอน ท�ำให้ลดขยะได้อีก ธนาคารขยะจะท�ำป้ายราคารับซื้อขยะแต่ละประเภท เมื่อเด็กน�ำ ขยะมาขาย ธนาคารก็จ่ายเงินสดทันที แล้วธนาคารขยะก็จะรวบรวมขยะ ทั้งหมดน�ำขายแก่ผู้รับซื้อภายนอก ซึ่งจะได้ราคาสูงกว่าป้ายราคาที่รับซื้อ ในโรงเรียน เนื่องจากธนาคารขยะได้ก�ำไร จึงน�ำมาปรับปรุงศูนย์ เป็นทุน การศึกษาให้แก่สมาชิกที่ท�ำหน้าที่ดูแลธนาคารขยะ และเป็นเงินรางวัล หรือจัดหาของรางวัลส�ำหรับผู้ที่เก็บขยะมาขายเป็นประจ�ำ เพื่อสร้างแรง จูงใจ เงินที่ได้จะน�ำฝากธนาคารส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินสดหมุน เวียนส�ำหรับใช้รับซื้อขยะ ปัจจุบัน มีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 50,000 กว่าบาท เมื่อมีพื้นที่ในการจัดเก็บขยะแยกประเภทแล้ว โรงเรียนก็สังเกตว่า ประมาณ 2 เดือน ขยะเต็มต้องขายออกไป จึงคิดแผนประชาสัมพันธ์ และ หาวิธีการลดและก�ำจัดขยะไม่ให้เกิดเพิ่มขึ้น จึงต้องขยายความร่วมมือไป ยังฐานอื่นๆ หรือเกิดฐานใหม่เพื่อรองรับการจัดการขยะในโรงเรียน เช่น ร้านค้าสวัสดิการ ฐานน�้ำหมักชีวภาพ จนพัฒนาเป็นโรงเรียน ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา การ จัดกระบวนการเรียนรู้เป็นการบูรณาการหน่วยการเรียนการสอน ซึ่งจะมี การประชุมคณะครูเพื่อหาจุดร่วมของการบูรณาการ เมื่อมีการจัดประกวดแข่งขันการจัดการระบบขยะในโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ก็ชนะเลิศในระดับจังหวัดเมื่อปี 2549 และปี 2550ก็ชนะเลิศในระดับภาคและปี2551ได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ เงินรางวัลที่ได้น�ำมาจัดเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กโรงเรียนเทศบาลวัดป่า เรไรและทุนการศึกษาให้แก่โรงเรียนเครือข่ายเทศบาลร้อยเอ็ดและยังเชื้อ 34 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :34 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
  • 36. เชิญให้โรงเรียนจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียนด้วย นอกจากนั้น โรงเรียน โดยสมาชิกธนาคารขยะและครูที่ปรึกษาได้ออกประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้ มีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ จัดเป็นธนาคารขยะเคลื่อนที่ โดยจะใช้เวลา หลังเลิกเรียน กลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรในการรณรงค์และ ประชาสัมพันธ์ การคัดแยกขยะ การลดขยะ คือ การรับขยะแลกไข่ ขยะ แลกอุปกรณ์การเรียน จัดผ้าป่าขยะรีไซเคิล จัดกิจกรรมขายสินค้ามือสอง ซึ่งเป็นการท�ำงานร่วมกับชุมชน การปลูกฝังให้เด็กรักสิ่งแวดล้อม โรงเรียน สะอาดก็น่าอยู่ บ้านน่าอยู่ การท�ำกิจกรรม เกิดการเรียนรู้และมีโอกาสได้ ไปแลกเปลี่ยน ศึกษาดูงานการจัดการขยะ เป็นการปรับทัศนคติว่าขยะท�ำ เงินได้ ขยะไม่ได้เป็นสิ่งน่ารังเกียจ บางคนเก็บขยะ รับซื้อขยะจนกลาย เป็นเศรษฐีก็มีให้เห็นตามสื่อต่างๆ นอกจากนั้นยังได้สอนให้เด็กได้เพิ่มมูลค่าขยะด้วยการแปรรูป เป็นดอกไม้ประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เมื่อส�ำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัด จัดประกวดงานประดิษฐ์จากวัสดุรีไซเคิล โรงเรียนก็ส่งงานประดิษฐ์เข้า ประกวดด้วย การให้เด็กฝึกการแปรรูป เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เด็กๆ ยังน�ำความรู้ที่ได้รับกลับไปท�ำการคัดแยกขยะที่บ้านเปลี่ยน พฤติกรรมของพ่อแม่ให้คัดแยกขยะด้วยท�ำให้เป็นปกตินิสัย เด็กสามารถน�ำ ขยะจากที่บ้านมาขายให้กับธนาคารขยะได้ รายได้จากการขายก็จะเป็น ของเด็กเลย ซึ่งก็จะน�ำไปฝากกับธนาคารโรงเรียน เมื่อเวลาผ่านไป ขยะใน โรงเรียนลดลงมาก จนตอนนี้เก็บมา 6 เดือนกว่าแล้วก็ยังไม่ได้ขายออก ไป จากการด�ำเนินการธนาคารขยะ ที่ปลูกฝังตั้งแต่เด็กอนุบาล โรงเรียน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กได้ทั้งหมด เด็กมีจิตส�ำนึก รักษา สิ่งแวดล้อม รักษาความสะอาด ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน และชุมชน 35กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด 35กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด
  • 37. ขณะที่ในชุมชนก็มีโครงการหน้าบ้านหน้ามอง ซึ่งเป็นโครงการที่ เน้นให้ชุมชนรักษาสิ่งแวดล้อม รักษาความสะอาดหน้าบ้านและชุมชน การ ปลูกต้นไม้ ซึ่งเป็นโครงการที่ท�ำร่วมกับชุมชนได้ เพราะอยู่กันอย่างพึ่งพา อาศัยกัน โรงเรียนอยู่ติดกับวัด เป็นทางผ่านของชุมชน เมื่อจังหวัดร้อยเอ็ด จัดงานที่บึงพลาญชัย เด็กๆ ก็จะช่วยกันเก็บขยะ รวมถึงการช่วยไปให้ค�ำ แนะน�ำการคัดแยกขยะ เป้าหมายของโรงเรียน คือ ขยะฐานศูนย์ ต้องเป็นโรงเรียนปลอด ขยะ คือต้องไม่มีขยะในโรงเรียนเลย สิ่งที่ได้เรียนรู้ • มีความรู้เรื่องประเภทของขยะ และวิธีการคัดแยกขยะ • เปลี่ยนความคิดว่าเราสามารถสร้างมูลค่าจากขยะได้ ถ้ารู้วิธีการคัดแยกและจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบ • เปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด มีจิตส�ำนึก รักษาสิ่งแวดล้อม รักษาความสะอาด ทั้งในบริเวณโรงเรียน ในบ้านและชุมชน 36 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน :
  • 38.
  • 39. 38 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : โรงเรียนธนาคารสานฝันนักออมเงินวัยเยาว์ โรงเรียนธนาคารสานฝันนักออมเงินวัยเยาว์เป็นธนาคารที่เปิดขึ้น ในโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร เพื่อให้เด็กๆ ได้เก็บเงินที่ผู้ปกครองให้มาใช้ จ่ายและมีเหลือในแต่ละวัน หรือเป็นการวางแผนของเด็กเองที่จะฝากเงิน เป็นการสร้างนิสัยให้เด็กมีความซื่อสัตย์ ขยัน อดออม เด็กสามารถฝากเงิน ได้ทุกวัน วันละเท่าไรก็ได้ บางคนฝากวันละบาทก็ยังมี ธนาคารจะเปิดให้ บริการตั้งแต่07.00–07.45น.การจัดระบบจะแบ่งเป็น 4 สาขาการบริการ ซึ่งจะไปสอดคล้องกับการแบ่งกลุ่มการบริหารโรงเรียน เป็น 4 โรงเรียน เล็กในโรงเรียนใหญ่คือ ผกากรองเป็นเด็กชั้นอนุบาล อินทนิลจะเป็นเด็ก ป.1-ป.3พวงชมพูเป็นเด็กป.4-ป.6ชัยพฤกษ์จะเป็นเด็กมัธยมม.1–ม.3
  • 40. 39กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด การฝากเงินนั้น จะไม่เน้นการฝากเงินจ�ำนวนมาก แต่เน้นฝากทุก วัน วันละน้อยๆ ตามเงินที่ได้มาและเหลือจากการใช้จ่ายเนื่องจากโรงเรียน เทศบาลวัดป่าเรไรมีเด็กยากจนจ�ำนวนมากจึงต้องเน้นให้ฝึกการออม นักเรียนที่ให้บริการก็จะเปิดรับสมัครเป็นสมาชิก ปัจจุบันมีจ�ำนวน 27 คน จัดตั้งเป็นคณะท�ำงาน ยกเว้นนักเรียนชั้นมัธยมที่ 3 จะไม่ได้เข้ามาช่วย เนื่องจากต้องไปท�ำหน้าที่สภานักเรียน และต้องเตรียมการสอบเรียนต่อ ระดับมัธยมปลาย สมาชิกจะแบ่งความรับผิดชอบในการให้บริการรับฝาก เงินทั้งหมด 24 ช่องบริการ โดยแบ่งช่วงชั้นตามโรงเรียนเล็กคือ ผกากรอง อินทนิล พวงชมพู ชัยพฤกษ์ และอยู่ในจุดแลกเหรียญ2คนและให้บริการ ชุมชนอีก 2 คน ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่บริเวณรอบนอกโรงเรียน ซึ่งการจัดท�ำ บัญชีจะแยกออกจาก4 โรงเรียนเล็ก เด็กทุกคนในโรงเรียนจะมีสมุดเงินฝาก กับธนาคารเยาวชนสานฝันละอ่อนวัยเยาว์ เมื่อปิดการให้บริการแต่ละวัน ผู้รับผิดชอบจะรวบรวมเงินฝากให้คุณครูที่ปรึกษาเพื่อน�ำไปฝากที่ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ในการฝากเงินนั้น เด็กจะ ไม่ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากแต่ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากธนาคารโรงเรียน จะน�ำมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มาช่วยงาน เมื่อการให้บริการแบ่งช่องบริการตามช่วงชั้น สมุดเงินฝากก็จะ แยกเป็นสีให้ชัดเจนขนาดสมุดของสมุดจะต่างจากธนาคารโรงเรียนอื่นคือ จะใช้เท่ากับสมุดเล่มใหญ่ เมื่อเด็กเปลี่ยนช่วงชั้นที่สูงขึ้น ก็จะเปลี่ยนสมุด เงินฝากไปด้วย เด็กบางคนฝากเงินตั้งแต่เริ่มเข้าโครงการ เมื่อจบมัธยม 3 มีเงิน 30,000 กว่าบาท และในภาพรวมเงินฝากของธนาคารสานฝันละ อ่อนวัยเยาว์ มีเงินฝากรวมทั้งสิ้นประมาณ 800,000 บาท เมื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มี นโยบายส่งเสริมให้เกิดการออมในโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ได้รับการสนับสนุนจาก ธกส. ในด้านอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และ
  • 41. 40 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : ระบบการจัดการเงินฝาก-ถอน เครื่องคิดเลข ตู้เก็บเอกสาร งบประมาณ สนับสนุน 5,000 บาท สิ่งที่ได้เรียนรู้ • การมีวินัยในการอดออม • การได้เรียนรู้การท�ำงานอย่างมีระบบ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ • การฝึกความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเงิน • การฝึกสติ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการลงบันทึก บัญชีผิด การนับเงินให้ตรงกับบันทึกบัญชี ที่จะต้องน�ำ ส่งคุณครูที่ปรึกษา เพื่อน�ำไปฝากยังธนาคารต่อไป
  • 42. 41กรณีโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไรอ.เมืองจ.ร้อยเอ็ด ร้านตัดผมชาย - ลมโชยเรไร เกศา เก้าอี้หนึ่งตัว กับกระจกบานเล็กๆ อยู่ตรงข้ามกับร้านเสริมสวย พอเพียงเรไรบิวตี้ นักเรียนเล่าว่าร้านตัดผมชายมีพื้นที่จ�ำกัด ถ้ามีลูกค้า มากกว่าหนึ่งคน ก็ต้องออกไปตัดใต้ต้นไม้ ใต้เต้นท์บ้าง อัตราค่าบริการ ตัดผมหัวละ 5 บาท ในการฝึกตัดผมชายนั้น คุณครูจะพาไปเรียนกับร้านตัดผมชายที่มี ชื่อเสียงประจ�ำจังหวัดร้อยเอ็ด เจ้าของร้านจะเป็นผู้สอนให้ หลังจากนั้น ก็จะกลับมาฝึกปฏิบัติจนเกิดความช�ำนาญรับตัดผมนักเรียนชายวันละ3-4 คน ช่วงเวลาการเปิดบริการจันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลา11.30–12.30น. โดยตัดผมอย่างเดียว รายได้จากการตัดผม จะแบ่งให้นักเรียน 3 บาท และ เข้าโรงเรียน 2 บาท ส่วนใหญ่เด็กก็จะน�ำไปฝากธนาคารโรงเรียน
  • 43. 42 ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : นอกจากจะเรียนรู้วิธีตัดผมแล้ว เด็กยังรู้วิธีรักษาอุปกรณ์ เช่น แบตเตอร์เลี่ยน กรรไกรตัดผม หวี การดูแลรักษาความสะอาดร้าน การเก็บ กวาด ช่วยกันท�ำ นักเรียนคนหนึ่งได้เล่า แรงบันดาลใจที่ท�ำให้เขาได้เข้า มาอยู่ร้านลมโชยเรไร เกศา เป็นเพราะมีรุ่นพี่ไปประกวดการตัดผมได้รางวัล ชนะเลิศระดับจังหวัด รู้สึกภาคภูมิใจ และอยากร่วมเป็นสมาชิกร้านตัดผม ลมโชยเรไร เกศา อีกทั้งยังคิดว่าได้ประโยชน์ เป็นทักษะความสามารถ ติดตัวไปตัดให้น้อง คนในครอบครัว หรือจะพัฒนาเป็นอาชีพต่อไปก็ยังได้ ร้านตัดผมชาย เปิดมาหลายปีแล้ว มีช่างตัดผม ตั้งแต่ประถมจน ถึงมัธยมจ�ำนวน10 คน การเปิดรับช่างตัดผมจะเปิดกว้างรับสมาชิกตั้งเด็ก ประถม 1 ขึ้นมาเลย การฝึกช่างมือใหม่ จะให้ตัดผมเด็กอนุบาลก่อน แล้ว คุณครูจะมาช่วยแต่งเพิ่มให้สวยงามให้ จนหลายคนพัฒนาความสามารถ และถ่ายทอดให้รุ่นน้องๆ ต่อไป จากการสังเกตของครูในโรงเรียนพบว่าเด็กนักเรียนชายมักจะมา ตัดผมที่ร้าน เพราะราคาถูก ท�ำให้ลดปัญหานักเรียนผมยาวผิดระเบียบไป ได้มาก สิ่งที่ได้เรียนรู้ • เป็นการฝึกทักษะอาชีพ ที่จะน�ำไปใช้ต่อไป • เป็นการให้บริการด้วยใจรัก • ได้ช่วยให้เพื่อนๆ ลดค่าใช้จ่ายในการตัดผมได้ • ได้สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนๆ ในโรงเรียน และคุณครูทุกคน • การได้น�ำหลักของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน การวิเคราะห์