SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 23
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
(Evolution)
ทฤษฎีวิวัฒนาการ
1.ทฤษฏีของลามาร์ค (Jean Lamarck)
1. กฎแห่งการใช้ และไม่ใช้ (law of use and
disuse) มีใจความสาคัญว่า
“ลักษณะของสิ่งมีชีวิตผันแปรได้ตามสภาพแวดล้อมอวัยวะใดที่ใช้อยู่บ่อ
ยๆย่อมขยายใหญ่ขึ้น ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ได้ใช้จะค่อยๆลดขนาด
อ่อนแอลงและหายไปในที่สุด”
2. กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (law of inheritance
of acquired characteristics) มีใจความว่า
“ลักษณะที่ได้มาใหม่หรือเสียไปโดยอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
โดยการใช้และไม่ใช้จะคงอยู่และสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไ
ปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ต่อไปได้”
ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่ลามาร์คยกมาอ้างอิง ได้แก่
พวกนกน้า
โดยกล่าวว่านกที่หากินบนบกจะไม่มีแผ่นพังผืดหนังต่อระหว่างนิ้วเท้า
ส่วนนกที่หากินในน้ามีความต้องการใช้เท้าโบกพัดน้าสาหรับการเคลื่อ
นที่ผิวหนังระหว่างนิ้วเท้า
จึงขยายออกต่อกันเป็นแผ่นและลักษณะนี้ถ่ายทอดไปสู่ รุ่นลูกหลานได้
เปรียบลักษณะเท้าของนกที่หากินบนบกและในน้า
ยีราฟ ซึ่งในปัจจุบันมีคอยาว
ลามาร์คได้อธิบายว่า
ยีราฟในอดีตคอสั้นกว่าปัจจุบัน
(จากหลักฐาน
ของซากดึกดาบรรพ์)แต่ได้มีการฝึกฝนยืดคอเพื่อพยายามกินใบไม้
จากที่สูงๆ ทาให้คอยาวขึ้น การที่ต้อง
เขย่งเท้ายืดคอทาให้ยีราฟมีขายาวขึ้นด้วยลักษณะ
ที่มีคอยาวขึ้นและขายาวขึ้นนี้ถ่ายทอด มาสู่ยีราฟรุ่นต่อมา
สัตว์พวกงูซึ่งไม่มีขาปรากฏให้เห็น
แต่จากโครงกระดูกยังมีซากขาเหลือติดอยู่ ซึ่งลามาร์ค
อธิบายว่างูอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพงหญ้ารกทึบการเลื้อยทาให้ลา
ตัวยาว ส่วนขาไม่ได้ใช้จึงค่อยๆ ลดขนาดเล็กลงและหายไป
ลักษณะนี้ถ่ายทอดไปได้งูรุ่นต่อๆ มาจึงไม่มีขา
2.ทฤษฎีของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)
แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่ดูจะเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายมาจ
นถึงปัจจุบันนั้นเป็นของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin พ.ศ. 2352-
2428) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ชาร์ลส์
ดาร์วินได้ศึกษาองค์ความรู้จากสิ่งมีชีวิตบนเกาะกาปากอส
(Galapagos) ประเทศเอกวาดอร์ โดยเรือ H.M.S. Beagle
จากการศึกษาพืชและสัตว์ที่มีอยู่เฉพาะที่หมู่เกาะกาลาปากอส
(Galapagos)
แห่งเดียวในโลกดาร์วินได้สังเกตนกกระจอกที่อยู่บริเวณหมู่เกาะกาลาป
ากอสและนกฟินช์
(finch)หลายชนิดพบว่าแต่ละชนิดมีขนาดและรูปร่างของจงอยปากแตก
ต่างกัน ตามความ เหมาะสมแก่การที่จะใช้กินอาหารแต่ละประเภท
นกฟินช์มีลักษณะคล้ายนกกระจอกมากแตกต่างกัน
เฉพาะลักษณะของจงอยปากเท่านั้น
ดาร์วินเชื่อว่าบรรพบุรุษของนกฟินช์บนเกาะกาลาปากอสน่าจะ
สืบเชื้อสายมาจากนกฟินช์บนแผ่นดินใหญ่แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
ทางธรณีวิทยา ทาให้
หมู่เกาะนี้แยกจากแผ่นดินใหญ่และเกิดการแปรผันทางพันธุกรรม
ของบรรพบุรุษนกฟินช์
มาเป็นเวลานานจนเกิดวิวัฒนาการเป็นสปีชีส์ใหม่ขึ้น
การคัดเลือกโดยธรรมชาติ(The Origin of Species by Means
of Natural Selection) สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลาย (Genetic
variation)
มีการคัดเลือกโดยธรรมชาติและมีการถ่ายทอดยีนส์ที่แข็งแรงจากรุ่นสู่รุ่
นโดยสิ่งมีชีวิตมีการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดและถ่ายทอดลักษณะที่ดี
สู่ลูกหลาน“ความแปรผันที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตใด ๆ
ก็ตามย่อมมีส่วนช่วยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดารงชีวิตได้
ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ส่วนความแปรผันที่ไม่เหมาะสม
ทาให้สิ่งมีชีวิตถูกกาจัดไปด้วย เหตุนี้เมื่อเวลา
ล่วงเลยไปนานขึ้นลักษณะที่เหมาะสมก็จะสะสมไปนานขึ้น
ลักษณะที่เหมาะสม ก็จะสะสมไปนานขึ้น เกิดสิ่งมีชีวิตแตกต่าง
จากเดิมมากมาย จนในที่สุดก็เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่”
นกฟินช์ (finch)ที่มีอยู่เฉพาะที่หมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos)
ทฤษฎีของดาร์วิน และวอลเลช
ดาร์วิน
และวอลเลชได้เสนอทฤษฎีการเกิดสปีชีส์ใหม่อันเนื่องมาจากการคัดเลือ
กโดยธรรมชาติ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (theory of natural
selection) มีสาระสาคัญ ดังนี้
1. สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันย่อมแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เรียกว่า variation
2. สิ่งมีชีวิตมีลูกหลานจานวนมากตามลาดับเรขาคณิต
แต่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดก็มี จานวนเกือบคงที่ เพราะมีจานวนหนึ่งตายไป
3.สิ่งมีชีวิตจาเป็นต้องมีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด (struggle of
existence) โดยลักษณะ ที่แปรผันบางลักษณะ
ที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ย่อมดารงชีวิตอยู่ได้ และสืบพันธุ์ถ่ายทอด
ไปยังลูกหลาน
4.สิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นที่อยู่รอด(survival the fittest )
และดารง เผ่าพันธุ์ของตนไว้และทาให้เกิด
การคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดความแตกต่าง
ไปจากสปีชีส์เดิมมากขึ้นจนเกิดสปีชีส์ใหม่ สิ่งมีชีวิตที่จะอยู่รอด
ไม่จาเป็นต้องเป็น สิ่งมีชีวิต ที่แข็งแรงที่สุด
แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมมากที่สุด
ในกรณียีราฟคอยาวนั้น อธิบายตามทฤษฎีของดาร์วินได้ว่า ยีราฟมี
บรรพบุรุษ ที่คอสั้นแต่เกิดมี variation ที่มีคอยาวขึ้น
ซึ่งสามารถหาอาหาร พวกใบไม้ได้ดี
กว่าตัวพวกคอสั้นและถ่ายทอดลักษณะ คอยาวไปให้ลูกหลาน ได้
ส่วนพวกคอสั้นหาอาหารได้ไม่ดีหรือแย่งอาหาร
สู้พวกคอยาวไม่ได้ในที่สุดก็จะตายไป จึงทาให้
ในปัจจุบันมีแต่ยีราฟคอยาวเท่านั้น
ความแตกต่างของทฤษฏีของลามาร์คกับทฤษฎีของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน
หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการ
หลักฐานทางวิวัฒนาการ ลัก
1.หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต
ฟอสซิล (Fossil)
2.หลักฐานจากการเจริญของ เอมบริโอ การเจริญของเอมบริโอ ของสัต
คือขณะเป็นตัวอ่อนจะมีช่องเหง
3.หลักฐานจากรูปร่าง -Homologous structure โครง
เช่นปีกนกกับปีกค้างคาว
-
โครงสร้างเกิดจากต่างบรรพบุร
4.หลักฐานจากการศึกษาชีววิทยาในระดับโมเลกุล DNA เป็นตัวกาหนดโครงสร้างข
ของสิ่งมีชีวิตปัจจุบันมีการตรวจ
จะศึกษาจากโปรตีน
5.หลักฐานทางสรีรวิทยา ศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อและของเห
6.หลักฐานทางภูมิศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต
ภูมิอากาศและภูมิประเทศเป็นตัว
และสัตว์แตกต่างกันไปโดยอยู่ก
7.หลักฐานจากการปรับปรุงพันธุ์พืช และสัตว์ เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีว
พันธุ์และผสมพันธุ์โดยมนุษย์เพื่อ
ตารางทางธรณีวิทยา (Geologic time scale)
กลไกของวิวัฒนาการ
1.การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection)
การคัดเลือกโดยธรรมชาติถือเป็นกลไกพื้นฐานของการเกิดวิวัฒน
าการร่วมกับกลไกอื่นๆ
การคัดเลือกโดยธรรมชาติทาให้ประชากรที่มีลักษณะเหมาะสมกับสิ่งแว
ดล้อมสามารถดารงชีวิตและแพร่พันธุ์ประชากรในรุ่นต่อไปได้
แต่สาหรับประชากรที่ไม่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมนั้นก็จะถูกคัดทิ้งและลด
จานวนลงไป
ทาให้สิ่งมีชีวิตที่ถูกคัดเลือกให้เหลืออยู่เกิดวิวัฒนาการโดยปรับเปลี่ยน
(adaptation) ให้มีลักษณะทางสรีระ
พฤติกรรมและรูปแบบการดารงชีวิตที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่ประช
ากรนั้นอาศัยอยู่
2.การผ่าเหล่าและความแปรผันทางพันธุกรรม
(mutation)
การผ่าเหล่า (mutation)
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตมีผลต่อขบวนการ
วิวัฒนาการมาก คือ มิวเทชันที่เกิดกับเซลล์สืบพันธุ์
เนื่องจากสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อๆไปได้
มิวเทชันทาให้เกิดการแปรผัน ทางพันธุกรรม
3.การอพยพเข้าและการอพยพออก
สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีการอพยพเข้าหรือออกของสมาชิก ส่งผลให้
มีการหมุนเวียนพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า การไหลของยีน (gene flow)
เกิดขึ้นระหว่าง ประชากรย่อยๆ
ซึ่งการอพยพจะทาให้สัดส่วนของอัลลีลเปลี่ยนแปลงไป
ในประชากรที่มีขนาดใหญ่มากๆ
การอพยพเข้าหรืออพยพออกของสมาชิก
อาจจะเกือบไม่มีผลต่อสัดส่วนของยีนในกลุ่มประชากรเลย
แต่ถ้าประชากรมีขนาดเล็ก
เมื่อมีสมาชิกอพยพออกไปทาให้กลุ่มประชากรสูญเสียยีนบางส่วน
ทาให้มีโอกาสในการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนยีนกับกลุ่มยีนนั้นน้อยลงไ
ป หรือไม่มีโอกาสเลยในทางกลับกัน การอพยพเข้าของประชากร
ในกลุ่มประชากรขนาดเล็ก จะทาให้เกิดการเพิ่มพูนบางส่วน
หรือบางยีนใหม่เข้ามาในประชากร
มีผลทาให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมของประชากร
4.ขนาดของประชากร
การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร
มีบทบาทสาคัญต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนและโครงสร้างของ ยีนพูล
(gene pool) ซึ่งเกิดจากโอกาส หรือความบังเอิญ หรือจากภัยธรรมชาติ
ประชากรที่มี ขนาดใหญ่และมีการผสมพันธุ์แบบสุ่ม
จะไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง ความถี่ของยีน มากมายอย่าง มีนัยสาคัญ
แต่ถ้าเป็นประชากรขนาดเล็กจะมีผลอย่างมาก
การเปลี่ยนแปลงผกผันทางพันธุกรรม
อย่างฉับพลันอย่างไม่มีทิศทางแน่นอน
หรือการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนอย่างฉับพลันโดยเหตุบังเอิญ
ตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม
ไม่สามารถคาดการณ์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงความถี่ของยีนได้แน่นอน
เช่นนี้เรียกว่า เจเนติก ดริฟต์(genetic drift)
เป็นกลไกที่สาคัญอย่างหนึ่งที่ทาให้ความถี่ของยีน มีการเบี่ยงเบน
จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ความถี่ของยีน
ตัวอย่างของปรากฏการณ์นี้ได้แก่วิวัฒนาการ
ของสัตว์ชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นตามหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ดังตัวอย่างของแมลงหวี่ชนิดต่างๆ ที่เกิดบนหมู่เกาะฮาวาย
การเกิดสปีชีร์ใหม่ (Speciation)
สปีชีส์ หมายถึง กลุ่มหรือประชากรของสิ่งมีชีวิตที่มีกลุ่มยีน (gene
pool) ร่วมกัน โดยที่ สมาชิกของประชากรนั้น
สามารถถ่ายทอดยีนหรือทาให้เกิดยีนโฟล์วระหว่างกันและกันได้
(หมายถึง ผสมพันธุ์กันได้และมีลูกไม่เป็นหมัน)
กลไกแบ่งแยกทางการสืบพันธุ์แยกได้2 ระดับ คือ
1. กลไกการแบ่งแยกก่อนระยะไซโกต
เป็นกลไกที่ป้องกันไม่ให้เซลล์สืบพันธุ์จากทั้ง 2 สปีชีส์ได้มาสัมผัสกัน
เนื่องจาก - เวลาในการผสมพันธุ์แตกต่างกัน
- สภาพนิเวศวิทยาที่ต่างกัน เช่น
กบที่อาศัยในสระน้ากับพวกที่อาศัยในหนองบึงใหญ่
- พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีที่ต่างกัน เช่น
มีสัญญาณหรือฟีโรโมนที่ต่างกัน
- โครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์แตกต่างกัน
- สรีรวิทยาของเซลล์สืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน เช่น ละอองเรณู
ของมะม่วงไปตกบนยอดเกสรตัว
เมียของมะกรูด จะไม่สามารถผสมกันได้
2. กลไกการแบ่งแยกระยะหลังไซโกต
- ลูกผสมตาย (hybrid inviability) ก่อนที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์
- ลูกผสมเป็นหมัน(hybrid sterillty)ส่วนมากมักเกิดกับเพศผู้
- ลูกผสมล้มเหลว (hybrid breakdouwn) ลูกผสม F1
มีความอ่อนแอ ให้กาเนิดลูกผสม รุ่น
F2 ได้แต่มักตาย ในระยะแรกของการเจริญ หรือเป็นหมัน
โพลีพลอยด์(Polyploidy)
หมายถึงการเพิ่มจานวนชุดของโครโมโซมจาก 2n 3n 4n ฯลฯ
ทาให้เกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ ๆ (Species ใหม่ ๆ)
เป็นผลดีในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเช่น ได้ผลไม้ที่มีผลใหญ่
การเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการในประชากรของสิ่งมีชีวิตมี 2 รูปแบบ คือ
1.
ประชากรมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการแบบค่อยเป็นค่อยไปจนแตกต่าง
จากประชากรเดิม คือ สิ่งมีชีวิต สปีชีส์หนึ่ง
เปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการไปเป็นสปีชีส์ใหม่เรียกว่าวิวัฒนาการสายตรง
หรืออะนาเจเนซิส (anagenesis)
2. ประชากรหนึ่งอาจเติบโตและแตกแยกออกเป็นประชากร ย่อยๆ
ตามโครงสร้างทางพันธุกรรม ที่แตกต่างกัน
จนกระทั่งแยกออกเป็นยีนพูลที่ต่างกันกลายเป็นสปีชีส์ที่ต่างกัน เรียกว่า
การแยกแขนงสปีชีส์หรือสปีชีส์เอชัน (speciation) หรือคลาโดเจเนซิส
(Cladogenesis)
วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human Evolution)
Australopithecus
ระดับ : ลิงวานรที่คล้ายลิงและคล้ายมนุษย์(prehuman)
ขนาดของสมอง : 450-700 ลบ.ซม.
เครื่องมือที่ใช้ : เป็นวัสดุต่าง ๆ ในธรรมชาติ
Homo habilis
ระดับ : บรรพบุรุษมนุษย์ (ancestral man)
ขนาดของสมอง : 680-800 ลบ.ซม.
เครื่องมือที่ใช้ : ประดิษฐ์เครื่องมือหินกระเทาะ
เป็นที่เชื่อว่าบรรพบุรุษมนุษย์อาจใช้ไม้ กระดูก
หรือเขาสัตว์เป็นเครื่องมือนอกจากหินกระเทาะด้วย
Homo erectus
ระดับ : มนุษย์แรกเริ่ม (early man)
ขนาดของสมอง : 750-1,200 ลบ.ซม.
เครื่องมือที่ใช้ :
ใช้ขวานหินไม่มีด้ามในยุคหินเก่าอยู่ในถ้าและรู้จักใช้ไฟ
H.s.neanderthalensis
ระดับ : มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal man)
ขนาดของสมอง : 1,450 ลบ.ซม.
เครื่องมือที่ใช้ : ใช้หินเหล็กไฟ ทาขวานหิน และมีด้าม
ในยุคกลางหินเก่า
H.s.sapiens
ระดับ : มนุษย์ปัจจุบันโครมันยอง (Cro-Magnon man)
ขนาดของสมอง : 1,350-1,500 ลบ.ซม.
เครื่องมือที่ใช้ : รู้จักใช้เครื่องมือ ทาด้วยกระดูก ในยุคปลายหินเก่า
และประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ ขึ้นในยุคหินกลางและยุคหินใหม่ เช่น มีด
ขวาน ค้อน จอบ ฯลฯ
วิวัฒนาการมนุษย์
มีวิวัฒนาการเริ่มต้นจากซากดึกดาบรรพ์ที่อยู่ในสปีชีส์ออสตาโลพิเทคัส
อาฟฟาเรนซีส(Australopithecus afarensis)
มีวิวัฒนาการต่อไปเป็นสายจีนีสโฮโม(Homo)
ซึ่งมีวิวัฒนาการต่อไปเป็นมนุษย์
วิวัฒนาการของมนุษย์ Australopithecus afarensis คือ
1. A.afarensis
เป็นสปีชีส์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของจีนัสออสตราโลพิเทคัส
- ฟัน ขนาดใหญ่กว่ามนุษย์ปัจจุบัน
กินผลไม้เป็นอาหารสามารถกัดกินเมล็ดพืชที่มีเปลือกแข็งได้
- ขนาดสมอง ใกล้เคียงกับลิงอุรังอุรัง
- โครงกระดูกที่ค่อนข้างสมบูรณ์
- รูปร่างของ A afarensis
มีรูปร่างกึ่งกลางระหว่างมนุษย์กับลิงซิมแพนซี
2. Homo habilis มีวิวัฒนาการต่อจาก A.afarensis
และวิวัฒนาการต่อไปเป็น H.erecutus
3. Homo erectus ซากดึกดาบรรพ์ที่พบที่เกาะชวา เรียกว่ามนุษย์ชวา
พบที่ประเทศจีนเรียกว่ามนุษย์ ปักกิ่งมีรูปร่างใหญ่
กระดูกใหญ่แข็งแรงกว่ามนุษย์ปัจจุบัน สมองใหญ่ขึ้นประมาณ800-
1,000 รู้จักใช้เครื่องมือหิน รู้จักใช้ไฟในการทาอาหาร
มีการสร้างที่พักมีสังคมแบบล่าสัตว์
4. Homo sapiens มีวิวัฒนาการแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ มนุษย์ยุคแรก
(Archaic Humans) และมนุษย์ยุคใหม่ (Modern Human)ขนาดสมอง
1,300 cm3 รูปร่างเตี้ยสั้นกว่ามนุษย์ปัจจุบัน
น้าหนักมากและแข็งแรงกว่าอยู่ได้ในสภาพอากาศหนาวเย็นการเปลี่ยน
แปลงจากมนุษย์ยุคแรกเป็นมนุษย์ ยุคใหม่มนุษย์
ยุคใหม่ร่างกายเล็กกว่า มีวิวัฒนธรรมที่เจริญกว่ามาก
อาศัยวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมมาช่วยทาให้อยู่รอดและแพร่พันธุ์ได้ดี
ขนาดสมองของมนุษย์เป็นไปอย่างก้าวกระโดด
ขนาดสมองมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการทางด้านวัฒนธรรม
ทาให้สามารถถ่ายทอดพฤติกรรมจากรุ่นหนึ่งไปอีกชั่วรุ่นหนึ่งดัดแปลง
พฤติกรรมและนาเอาวัตถุรอบ ๆ
ตัวมาดัดแปลงให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้
มีความสามารถในการอยู่รอดได้สูง
บรรณานุกรม
นางสาวแคทลียา ขัดทองงาม. (2558). ทฤษฎีวิวัฒนาการ
สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เว็บไซต์ที่
สืบค้น :
https://sites.google.com/site/biologyroom610/evolution/evolutio
n2
นันทวัน นันทวนิชและดร.ศศิวิมล แสวงผล. (2558). กลไกวิวัฒนาการ
สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน
2558 เว็บไซต์ที่ สืบค้น : http://www.il.mahidol.ac.th/e-
media/150charles-
darwin/Less3_2_9.html.
นายโรจน์รวีชัยรัตน์(2558). วิวัฒนาการของมนุษย์ สืบค้นเมื่อวันที่ 30
มิถุนายน 2558 เว็บไซต์ที่
สืบค้น : http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-
binn/BP1/Program/chapter2/p5.html

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการWichai Likitponrak
 
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์Attapon Phonkamchon
 
ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์Lilrat Witsawachatkun
 
Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรมPower point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรมThanyamon Chat.
 
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดWan Ngamwongwan
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2dnavaroj
 
พันธุกรรมเพิ่ม
พันธุกรรมเพิ่มพันธุกรรมเพิ่ม
พันธุกรรมเพิ่มWichai Likitponrak
 
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1Sumarin Sanguanwong
 
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศบทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศTa Lattapol
 
ระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive systemระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive systemsupreechafkk
 
การถ่ายโอนความร้อน ม.1
การถ่ายโอนความร้อน ม.1การถ่ายโอนความร้อน ม.1
การถ่ายโอนความร้อน ม.1Wuttipong Tubkrathok
 
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3  พลังงานไฟฟ้าบทที่ 3  พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้าPinutchaya Nakchumroon
 
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรมบทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรมPinutchaya Nakchumroon
 
แรงในชีวิตประจำวัน
แรงในชีวิตประจำวันแรงในชีวิตประจำวัน
แรงในชีวิตประจำวันwebsite22556
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์โทโต๊ะ บินไกล
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 

Was ist angesagt? (20)

วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการ
 
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 
ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์
 
Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรมPower point   การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Power point การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
 
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
Mindmap การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
 
พันธุกรรมเพิ่ม
พันธุกรรมเพิ่มพันธุกรรมเพิ่ม
พันธุกรรมเพิ่ม
 
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
 
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
 
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
 
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศบทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
 
ใบ000
ใบ000ใบ000
ใบ000
 
ระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive systemระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive system
 
การถ่ายโอนความร้อน ม.1
การถ่ายโอนความร้อน ม.1การถ่ายโอนความร้อน ม.1
การถ่ายโอนความร้อน ม.1
 
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3  พลังงานไฟฟ้าบทที่ 3  พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
 
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรมบทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
 
แรงในชีวิตประจำวัน
แรงในชีวิตประจำวันแรงในชีวิตประจำวัน
แรงในชีวิตประจำวัน
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 

Ähnlich wie วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศJiraporn
 
Bio is all around us
Bio is all around usBio is all around us
Bio is all around usAlisaYamba
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศJira Boonjira
 
การประเม นผลกระทบส _งแวดล_อม
การประเม นผลกระทบส _งแวดล_อมการประเม นผลกระทบส _งแวดล_อม
การประเม นผลกระทบส _งแวดล_อมQuartz Yhaf
 
วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการLPRU
 

Ähnlich wie วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต (6)

ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
Bio is all around us
Bio is all around usBio is all around us
Bio is all around us
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
Ecology (2) 3
Ecology (2) 3Ecology (2) 3
Ecology (2) 3
 
การประเม นผลกระทบส _งแวดล_อม
การประเม นผลกระทบส _งแวดล_อมการประเม นผลกระทบส _งแวดล_อม
การประเม นผลกระทบส _งแวดล_อม
 
วิวัฒนาการ
วิวัฒนาการวิวัฒนาการ
วิวัฒนาการ
 

วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต