SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 32
Downloaden Sie, um offline zu lesen
เศรษฐศาสตร ์มหภาค
MACROECONOMICS
บทที่ 7
อรคพัฒร ์ บัวลม
การค้าและการเงินระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ
1.ความหมายการค้าระหว่างประเทศ
2.ความเป็ นมาและความสาคัญของ การค้าระหว่าง
ประเทศ
3.ประโยชน์ที่ได้รับจากการค้าระหว่าประเทศ
4.ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
5.นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
การเงินระหว่าง
ประเทศ
1.อัตราการแลกเปลี่ยน
2.ดุลการชาระเงิน
การประยุกต์ใช้
การค้าและการเงิน
ระหว่างประเทศ
1.การค้าและการเงิน
ระหว่างประเทศที่ส่งผล
กระทบต่อระบบเศรษฐกิจ
การค้าระหว่าง
ประเทศ
◦ 1.ความหมายการค้าระหว่างประเทศ
◦ 2.ความเป็ นมาและความสาคัญของ การค้าระหว่างประเทศ
◦ 3.ประโยชน์ที่ได้รับจากการค้าระหว่างประเทศ
◦ 4.ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
◦ 5.นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
1.ความหมายการค้าระหว่างประเทศ
หมายถึงการแลกเปลี่ยนทุน สินค้า และบริการ ข้ามชายแดนระหว่างประเทศ ซึ่ง
อาจเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของภาครัฐบาล หรือเอกชนก็ได้ในหลายประเทศ การค้าแบบ
ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงส่วนแบ่งที่สาคัญของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ส่วน
ประเทศที่ไม่ได้จัดให้มีการค้าระหว่างประเทศนั้นจะสามารถเลือกใช้ได้เพียงสินค้าและบริการ
ที่ผลิตและจาหน่ายในประเทศของตนเองเท่านั้น
ดุลการค้าระหว่างประเทศ คือ การเปรียบเทียบ การนาเข้า และ การส่งออก ในรอบ
1 ปี
สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทาให้ประเทศต่างๆ ในโลกทาการค้าขายกัน เพราะไม่มี
ประเทศใดในโลกสามารถผลิตสินค้าและบริการ ทุกอย่างได้ครบและเพียงพอกับความ
ต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ
ถึงแม้ว่าบางประเทศจะมีขีดความสามารถผลิตสินค้าได้ทุกอย่าง แต่อาจจะมีต้นทุน
การผลิตที่สูงกว่าซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน การที่แต่ละประเทศผลิตเฉพาะสินค้าที่ตนมี
ความถนัดหรือมีความได้เปรียบจึงเป็ นสิ่งที่คุ้มค่า และเกิดประโยชน์แก่ทุกประเทศร่วมกัน
การค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นถือว่าเป็ นการแบ่งงานกันทาระหว่างประเทศตาม
ความชานาญของประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิอากาศในแต่ละประเทศซึ่งเป็ นการ
ใช้ทรัพยากรของโลกให้เกิดประสิทธิภาพ
2.ความเป็นมาและความสาคัญของ การค้าระหว่างประเทศ
◦ ช่วง พ.ศ. 1998 – 2293 ทุกประเทศเน้นการดาเนินนโยบายการค้าแบบเกินดุล เพื่อ
ดึงดูดทองคาเข้าประเทศ
◦ ช่วง พ.ศ. 2246 – 2333 เน้นนโยบายการค้าเสรี และมีมุมมองว่า ทองคาเป็ นสินค้า
ประเภทหนึ่ง ส่งเสริมให้มีการทางานแบบแบ่งงานกันทา เพื่อทาให้ต้นทุนต่า
◦ ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศเป็ นไปแบบเสรีมากขึ้น แต่ว่า แต่ละประเทศก็มีมาตรการใน
การปกป้ องธุรกิจในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบจากสินค้านาเข้า โดยการกีดกันทาง
การค้าด้วยการกาหนดกาแพงภาษี หรือการกีดกันทางการค้าแบบไม่ใช่ภาษี
3. ประโยชน์ที่ได้รับจากการค้าระหว่าประเทศ
◦ การจัดสรรทรัพยากรโลก ประหยัดและมีประสิทธิภาพ
◦ ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพ
◦ ตลาดโลกมีการแข่งขันกันมากขึ้น
◦ รัฐบาลมีรายได้มากขึ้น จากการเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมการนาเข้า
ส่งออก
4.ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศสมัยคลาสสิค
(Classic Theory)
• แรงงานเป็ นปัจจัยการผลิตชนิดเดียวที่มีความสาคัญต่อการผลิตสินค้าและบริการ
• แรงงานมีคุณสมบัติเหมือนกัน
• การเคลื่อนย้ายแรงงานเป็ นไปแบบเสรีในประเทศ
• การค้าแบบเสรี แต่เป็ นการแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้าเท่านั้น
ทฤษฎีที่น่าสนใจคือ ทฤษฎีการได้เปรียบโดยสัมบูรณ์และทฤษฎีการได้เปรียบโดย
เปรียบเทียบ ซึ่งทั้งสองทฤษฎีจะทาการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตของแต่ละประเทศ และเลือก
ผลิตในสินค้าที่ประเทศของตนมีความได้เปรียบในการผลิตมากกว่า หรือประเทศจะเลือกผลิต
สินค้าที่ตนถนัดโดยเปรียบเทียบระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนจะมีขอบเขตอยู่ระหว่างปริมาณ
สินค้าที่ผลิตได้ โดยเปรียบเทียบของประเทศทั้งสอง
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศสมัยคลาสสิค
(Classic Theory)
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศพยายามอธิบายถึงชนิดของสินค้าที่ซื้อขาย และประโยชน์
จากการค้าระหว่างประเทศ
1. ทฤษฎีการได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ (อดัม สมิธ :นักเศรษฐศาสตร ์คลาสสิกในปลายศตวรรษที่ 18)
ยึดหลักการแบ่งงานกันทาตามความถนัด เขาเห็นว่าการค้าระหว่างประเทศจะก่อให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศคู่ค้า เมื่อแต่ละประเทศยึดหลักในเรื่องการแบ่งงานกันทา นั่นคือ ประเทศ
หนึ่งจะได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ ถ้าประเทศนั้นสามารถผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้มากกว่าอีกประเทศหนึ่ง
ด้วยปัจจัยการผลิตจานวนเท่ากันหรือผลิตได้จานวนเท่ากันได้โดยการใช ้ปัจจัยการผลิตที่น้อยกว่า
ดังนั้นประเทศควรทาการผลิตสินค้าที่ตนได้เปรียบโดยสัมบูรณ์เพื่อการส่งออกแล้วซื้อ
สินค้าที่ตนเสียเปรียบโดยสัมบูรณ์เป็ นสินค้าเข้า
ทฤษฎีการได้เปรียบโดยสัมบูรณ์
อดัม สมิธ กล่าวว่า “ประเทศใดที่ได้เปรียบในการผลิตสินค้าชนิดใดก็จะผลิตสินค้าชนิด
นั้น แล้วจึงนาไปแลกเปลี่ยนสินค้าชนิดอื่นกับต่างประเทศ”
ประเทศ จำนวนแรงงำนต่อชั่วโมง ได้เปรียบ
ผลิตข้ำว 1 ถัง ผลิตผ้ำ 1 ม้วน สมบูรณ์
ไทย 10 คน 30 คน ไทย/ข้าว
ญี่ปุ่น 20 คน 10 คน ญี่ปุ่น/ผ้า
2. ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ เดวิด ริคาร ์โด (David Ricardo) ได้พัฒนาจาก
ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ของ อดัม สมิธ โดยเขาไม่เห็นด้วยกับ สมิธ ในประเด็น
ต่อไปนี้
◦ ประเทศคู่ค้าที่ผลิตสินค้าและส่งออกนั้นควรจะเป็ นประเทศที่มีความได้เปรียบโดย
สัมบูรณ์ได้เสมอไป
◦ ประเทศสามารถผลิตสินค้าและส่งออกอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีความได้เปรียบโดยสัมบูรณ์
ได้ ถ้าประเทศนั้นมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้า
◦ ประเทศที่มีความได้เปรียบโดยสัมบูรณ์ของประเทศคู่ค้าในทุกกรณีของการผลิตสินค้า
ก็มิได้หมายความว่า ประเทศนั้นสมควรผลิตสินค้าเสียทุกอย่าง หากแต่สมควรที่จะ
เลือกผลิตสินค้าส่งออกชนิดที่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากกว่า
◦ ในทางปฏิบัติ การค้าระหว่างประเทศยังคงเกิดขึ้น แม้ว่าประเทศหนึ่งมีความได้เปรียบ
โดยสัมบูรณ์ (เสียเปรียบโดยสัมบูรณ์) เหนืออีกประเทศหนึ่งและประโยชน์จากการค้า
ระหว่างประเทศยังคงเกิดขึ้นในรูปผลผลิตรวมที่เพิ่มขึ้น
ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ
เดวิด ริคาโด อธิบายว่า แต่ละประเทศมีความสามารถในการผลิตสินค้า บริการ ด้วย
ต้นทุน ต่างกัน ทาให้มีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดต่างกัน ทฤษฎีได้เปรียบ
โดยเปรียบเทียบคือ การเปรียบเทียบว่าต้นทุนการผลิตสินค้าชนิดใดมีต้นทุนต่าที่สุด ถือว่า
ประเทศนั้นได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการผลิตสินค้าชนิดนั้น
ประเทศ จำนวนแรงงำนต่อชั่วโมง ได้เปรียบ
ผลิตข้ำว 1 ตัน ผลิตผ้ำ 1 ม้วน โดยเปรียบเทียบ
ไทย 6 คน 8 คน ไทย/ข้าว
ญี่ปุ่น 18 คน 16 คน ญี่ปุ่น/ผ้า
ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ
จอห์น สจ๊วต มิล อธิบายแนวใหม่โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแรงงาน 2
ประเทศ ในการใช้แรงงานจานวนเท่ากันผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน
ประเทศ จำนวนผลผลิต ได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ
ผลิตข้ำว ผลิตผ้ำ ได้เปรียบ อัตรำควำมสำมำรถในกำรผลิต
ไทย 100 60 ไทย/ข้าว ข้าว>ผ้า
100/60 = 1.7
ญี่ปุ่น 40 50 ญี่ปุ่น/ผ้า ผ้า>ข้าว
40/50 = 0.8
ทางเลือกในการผลิตโดยใช้วิธีเปรียบเทียบประสิทธิภาพแรงงาน
ไทย ญี่ปุ่ น
ข้ำว
(1.7)
ผ้ำ
(1)
ข้ำว
(0.8)
ผ้ำ
(1)
ผลิตข้าว แลกผ้า แลกข้าว ผลิตผ้า
0.8 ตัน 1 ม้วน 1.7 ตัน 1 ม้วน
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศสมัยนีโอคลาสสิค
(Neo-classic Theory)
นาทฤษฎีในสมัยคลาสสิคมาปรับปรุงแก้ไข ทฤษฎีที่น่าสนใจคือ
◦ ทฤษฎีการค้าแบบต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) โดย ต้นทุนค่าเสีย
โอกาสจะถูกนามาเป็ นหลักในการพิจารณา เนื่องจากต้นทุนค่าเสียโอกาสในการผลิต
สินค้าในแต่ละประเทศสามารถวัดได้จากมูลค่าสูงสุดของสินค้าอื่นที่ประเทศนั้นไม่ได้ผลิต
ดังนั้น ประเทศจะได้รับประโยชน์ที่สามารถระบายสินค้าที่ผลิตได้มากและซื้อสินค้าที่ตน
ผลิตได้ไม่พอกับการบริโภคเข้าประเทศ และ
◦ ทฤษฎีการค้าที่พิจารณาปริมาณทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้แนวคิดเส้นความเป็ นไปได้
ในการผลิต ซึ่งในประเทศต่างๆ จะแตกต่างกันไปตามปริมาณทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่
ในประเทศ
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศสมัยใหม่
(Modern Theory)
นักเศรษฐศาสตร ์ได้ศึกษาและแก้ไขปรับปรุงทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศสมัย
คลาสสิคโดยเพิ่มข้อสมมุติฐานในการพิจารณา คือ มีปัจจัยการผลิตหลายชนิด การ
ทดแทนกันของปัจจัยไม่สมบูรณ์ การโยกย้ายปัจจัยการผลิตจะเกิดต้นทุนเพิ่ม
และมีต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)เกิดขึ้น การโยกย้ายปัจจัยการผลิต
แยกได้ 3 ลักษณะ คือ ต้นทุนคงที่ ต้นทุนเพิ่มขึ้น และต้นทุนลดลง
5.นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
นโยบายการค้าระหว่างประเทศ คือ มาตรการการดาเนินการค้ากับต่างประเทศที่
รัฐบาลกาหนดไว้เพื่อควบคุมการนาเข้าแบะส่งออก ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจของประเทศ โดยกาหนดเป็ น 2 แนวทางหลัก ดังนี้
1) นโยบายการค้าเสรี
2) นโยบายการค้าคุ้มครอง
นโยบายการค้าเสรี
การค้าระหว่างประเทศจะไม่ถูกแทรกแซงโดยรัฐบาล ทั้งด้านภาษี หรือการจากัด
ปริมาณการนาเข้า หรือส่งออก
ประโยชน์
- รายได้ที่แท้จริงจะสูงขึ้น
- ใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพ
- ไม่มีการผูกขาดการค้า
- มาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น
นโยบายการค้าคุ้มครอง
รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการค้าเพื่อคุ้มครอง และช่วยเหลือผู้ผลิตภายในประเทศ
◦ การตั้งกาแพงภาษี
◦ การกาหนดโควตาสินค้า
◦ การให้การอุดหนุน
◦ การทุ่มตลาด
◦ การผูกขาดตลาดต่างประเทศ
◦ การค้าโดยรัฐบาล
นโยบายการค้าระหว่างประเทศของไทย
• การส่งเสริมการค้าเสรี
• การขยายตลาดต่างประเทศ
• การปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า
• การขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้า
การเงินระหว่าง
ประเทศ
◦1.อัตราการแลกเปลี่ยน
◦2.ดุลการชาระเงิน
1.อัตราการแลกเปลี่ยน
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือ การแลกเปลี่ยนเงินสกุลหนึ่งไปเป็นเงินอีกสกุลหนึ่งในอัตรา
แลกเปลี่ยนที่เป็นไปตามข้อตกลงตามราคาตลาด
“อัตราแลกเปลี่ยน” คือ มูลค่าของสกุลเงินประเทศหนึ่ง เมื่อเทียบกับสกุลเงินของอีกประเทศหนึ่ง
ค่าเงินบาทหรืออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงตาม
ภาวะตลาด
◦ การแข็งค่าหรืออ่อนค่าของเงินบาทจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ส่งออก ผู้นาเข้า นักลงทุน และผู้ที่กู้เงินตรา
ต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งผู้ที่ได้และเสียประโยชน์เสมอ
◦ การดูแลค่าเงินบาทจึงต้องพิจารณาผลกระทบให้รอบด้าน และเป็นไปไม่ได้เลยที่แบงก์ชาติจะทาการฝืนตลาด
เพื่อทาให้ค่าเงินบาทอ่อนหรือแข็งค่า
◦ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน จะเป็นไปตามกลไกตลาด ทั้งนี้ แบงก์ชาติจะดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผัน
ผวนมากจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
2.ดุลการชาระเงินระหว่างประเทศ
◦ ดุลการชาระเงินสมดุล
◦ ดุลการชาระเงินเกินดุล
◦ ดุลการชาระเงินขาดดุล
การบันทึกบัญชีดุลการชาระเงินระหว่างประเทศ
1. บัญชีเดินสะพัด
◦ ดุลการค้า
◦ ดุลบริการ
◦ บัญชีรายได้จากการลงทุน
◦ ดุลเงินโอนและบริจาค
2. บัญชีทุนและการเงิน
◦ บัญชีทุน
◦ บัญชีการเงิน
การแก้ปัญหาดุลการชาระเงินระหว่างประเทศ
◦ เพิ่มการส่งออก
◦ ลดการนาเข้า
◦ ส่งเสริมการท่องเที่ยว
◦ ส่งเสริมการลงทุน
◦ เพิ่มเงินสดสารองระหว่างประเทศ
◦ ลดค่าเงินบาท
สาเหตุของการเกิดค่าเงินบาทแข็งค่า-อ่อนค่า
1. ดุลการค้าและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
 หากประเทศไทยเกินดุลการค้า คือ มีมูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านาเข้า หรือ มีเงินทุน
เคลื่อนย้ายจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากๆ ประเทศก็จะมีเงินดอลลาร ์ฯ “มากขึ้น”
เงินทุนที่ย้ายเข้ามาจะถูกแลกจากเงินดอลลาร ์ฯเป็ นเงินบาท ทาให้อุปสงค์หรือความต้องการ
เงินบาทเพิ่มขึ้นส่งผลให้เงินบาทมีค่าเพิ่มขึ้น (ค่าเงินบาทแข็งขึ้น)
 ประเทศไทยขาดดุลการค้า คือ มีมูลค่าส่งออกน้อยกว่านาเข้า หรือ มีเงินทุนเคลื่อนย้ายออก
จากประเทศมากๆ ก็จะทาให้ประเทศมีเงินดอลลาร ์ฯ “น้อยลง” มีความต้องการแลกเงินบาทเป็ น
เงินดอลลาร ์ฯ เพื่อนาออกนอกประเทศมากขึ้น ส่งผลให้เงินบาทมีค่าลดลง (ค่าเงินบาทอ่อนค่า)
สาเหตุของการเกิดค่าเงินบาทแข็งค่า-อ่อนค่า
2. อัตราดอกเบี้ย
เงินทุนจะเคลื่อนไหวจากประเทศที่อัตราดอก “เบี้ยต่า” กว่าไปประเทศที่อัตราดอกเบี้ย “สูง
กว่า” เนื่องจากนักลงทุนมองว่าผลตอบแทนให้มากกว่าจากความเสี่ยงประเภทเดียวกัน แต่ใน
ท้ายที่สุดแล้วอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของทั้งสองประเทศ
 หากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาปรับตัว “ลดลง” จะทาให้อัตราดอกเบี้ยไทย “ไม่ได้
เปลี่ยนแปลง” โดยเปรียบเทียบ ทาให้ส่งผลให้มีเงินลงทุนเคลื่อนย้ายเข้าประเทศไทยมากขึ้น
เงินทุนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาจะถูกแลกเป็ นเงินบาททาให้ความต้องการซื้อเงินบาทสูงขึ้น ค่าเงิน
บาทจึงแข็งค่าขึ้น
 ในทางตรงกันข้าม หากอัตราดอกเบี้ยไทยปรับตัวลดลง ก็จะทาให้อัตราดอกเบี้ยโดย
เปรียบเทียบของไทยกับต่างประเทศที่ยัง “ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย” ส่งผลให้มีเงินทุน
ไหลออก จึงมีความต้องการขายเงินบาทเพื่อนาไปแลกเปลี่ยนเป็ นเงินดอลลาร ์ฯเพิ่มขึ้นค่าเงินบาท
จึงอ่อนค่าลง
สาเหตุของการเกิดค่าเงินบาทแข็งค่า-อ่อนค่า
3. นโยบายการเงินของธนาคารกลาง
ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถกาหนดปริมาณเงินบาทในระบบการเงินผ่านมาตรการ
ต่างๆ เช่น มาตรการดารงสินทรัพย์สภาพคล่อง และการดาเนินการผ่านตลาดการเงิน เป็ นต้น ซึ่ง
มาตรการเหล่านี้จะส่งผลให้อุปสงค์และอุปทานของเงินบาทเปลี่ยนแปลงไป และทาให้ค่าเงินบาท
เปลี่ยนแปลงตาม เช่น
 ธนาคารกลางเห็นว่าเงินเฟ้ ออยู่ในระดับที่สูงเกินไป จึงกาหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดารง
สินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายเพิ่มขึ้น ทาให้เงิน ที่ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มี
จานวนลดลง ส่งผลให้ปริมาณเงินบาทในประเทศลดลงตาม จึงเปรียบเสมือนกับการลดอุปทาน
หรือปริมาณของเงินบาททาให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งขึ้น
 ธนาคารกลางเห็นว่าเงินฝืดอยู่ในระดับสูงเกินไป จึงกาหนดให้ธนาคารพาณิชย์ลดระดับอัตรา
ดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ทาให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น
เปรียบเสมือนการเพิ่มอุปทานของเงินบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง
สาเหตุของการเกิดค่าเงินบาทแข็งค่า-อ่อนค่า
4. ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความไม่มั่นคงทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และ
เสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
การประยุกต์ใช้
การค้าและการเงิน
ระหว่างประเทศ
◦ 1.การค้าและการเงินระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อระบบ
เศรษฐกิจ
งานกลุ่ม
◦ แบ่งเป็ น 4 กลุ่ม (ห้องละ 2 กลุ่ม)
◦ ค้นหาข้อมูลการใช้นโยบายการค้าระหว่างประเทศที่ผ่านมาของรัฐบาลไทย มา 1
เหตุการณ์
◦ นาเสนอ หัวข้อ “นโยบายการค้าระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ” โดย
ตัวแทนกลุ่ม หน้าชั้นเรียน พร ้อมตอบข้อสักถามของอาจารย์และเพื่อนๆ ในคาบต่อไป

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เศรษฐกิจระหว่างประเทศเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
thnaporn999
 
หน่วยที่ 10 เศรษฐกิจระหว่างประเทศppt
หน่วยที่ 10 เศรษฐกิจระหว่างประเทศpptหน่วยที่ 10 เศรษฐกิจระหว่างประเทศppt
หน่วยที่ 10 เศรษฐกิจระหว่างประเทศppt
apple_clubx
 
การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ
thnaporn999
 
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
pronprom11
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
Paew Tongpanya
 
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาด
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาดบทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาด
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาด
Ornkapat Bualom
 
Taxonomy(อนุกรมวิทฐาน)
Taxonomy(อนุกรมวิทฐาน)Taxonomy(อนุกรมวิทฐาน)
Taxonomy(อนุกรมวิทฐาน)
firstnarak
 
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
พัน พัน
 
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท  การบินไทย จำกัด (มหาชน)บริษัท  การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
Love Plukkie Zaa
 

Was ist angesagt? (20)

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เศรษฐกิจระหว่างประเทศเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
 
การกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
การกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
การกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
 
หน่วยที่ 10 เศรษฐกิจระหว่างประเทศppt
หน่วยที่ 10 เศรษฐกิจระหว่างประเทศpptหน่วยที่ 10 เศรษฐกิจระหว่างประเทศppt
หน่วยที่ 10 เศรษฐกิจระหว่างประเทศppt
 
เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
 เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
 
Macro Economics c3 องค์ประกอบรายได้ประชาชาติ
Macro Economics c3 องค์ประกอบรายได้ประชาชาติMacro Economics c3 องค์ประกอบรายได้ประชาชาติ
Macro Economics c3 องค์ประกอบรายได้ประชาชาติ
 
Chapter2 อุปสงค์อุปทาน
Chapter2 อุปสงค์อุปทานChapter2 อุปสงค์อุปทาน
Chapter2 อุปสงค์อุปทาน
 
การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ
 
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพบทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
 
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
 
บทที่ 2 กลยุทธ์การปฏิบัติการ
บทที่ 2 กลยุทธ์การปฏิบัติการบทที่ 2 กลยุทธ์การปฏิบัติการ
บทที่ 2 กลยุทธ์การปฏิบัติการ
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
 
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาด
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาดบทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาด
บทที่ 8 การกำหนดราคา และผลผลิตในตลาด
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
 
Taxonomy(อนุกรมวิทฐาน)
Taxonomy(อนุกรมวิทฐาน)Taxonomy(อนุกรมวิทฐาน)
Taxonomy(อนุกรมวิทฐาน)
 
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วย 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
 
I30201 2-แผนการสอน
I30201 2-แผนการสอนI30201 2-แผนการสอน
I30201 2-แผนการสอน
 
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
คู่มือการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
 
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท  การบินไทย จำกัด (มหาชน)บริษัท  การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
 
Macro Economics C1 ความรู้เบื้องต้นเศรษฐศาสตร์
Macro Economics C1 ความรู้เบื้องต้นเศรษฐศาสตร์Macro Economics C1 ความรู้เบื้องต้นเศรษฐศาสตร์
Macro Economics C1 ความรู้เบื้องต้นเศรษฐศาสตร์
 
บท5แรงในชีวิตประจำวัน
บท5แรงในชีวิตประจำวันบท5แรงในชีวิตประจำวัน
บท5แรงในชีวิตประจำวัน
 

Ähnlich wie Macro Economics c7 การค้าและการเงินระหว่างประเทศ

Pretiontation Doc
Pretiontation DocPretiontation Doc
Pretiontation Doc
maovkh
 
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯเอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
thnaporn999
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Kowin Butdawong
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Kowin Butdawong
 
กลางภาค ส42101 ม.5 docx
กลางภาค ส42101  ม.5 docxกลางภาค ส42101  ม.5 docx
กลางภาค ส42101 ม.5 docx
thnaporn999
 

Ähnlich wie Macro Economics c7 การค้าและการเงินระหว่างประเทศ (7)

ม.6.1 การประสานประโยชน์ : wtoถึงเขตการค้าเสรี (14,47)
ม.6.1 การประสานประโยชน์ : wtoถึงเขตการค้าเสรี (14,47)ม.6.1 การประสานประโยชน์ : wtoถึงเขตการค้าเสรี (14,47)
ม.6.1 การประสานประโยชน์ : wtoถึงเขตการค้าเสรี (14,47)
 
Pretiontation Doc
Pretiontation DocPretiontation Doc
Pretiontation Doc
 
วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556 ปีที่ 34
วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556  ปีที่ 34
วารสารยางพาราฉบับที่ 1-2556 ปีที่ 34
 
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯเอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
เอกสารประกอบการเรียน เศรษฐกิจ1ฯ
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
กลางภาค ส42101 ม.5 docx
กลางภาค ส42101  ม.5 docxกลางภาค ส42101  ม.5 docx
กลางภาค ส42101 ม.5 docx
 

Mehr von Ornkapat Bualom

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
Ornkapat Bualom
 
บทที่ 10 การเงินการธนาคาร การคลังรัฐบาล
บทที่ 10 การเงินการธนาคาร การคลังรัฐบาลบทที่ 10 การเงินการธนาคาร การคลังรัฐบาล
บทที่ 10 การเงินการธนาคาร การคลังรัฐบาล
Ornkapat Bualom
 
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิตบทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
Ornkapat Bualom
 
บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติบทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
Ornkapat Bualom
 
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์
Ornkapat Bualom
 

Mehr von Ornkapat Bualom (7)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
 
Macro Economics c8 การจ้างงานและวัฏจักรเศรษฐกิจ
Macro  Economics c8 การจ้างงานและวัฏจักรเศรษฐกิจMacro  Economics c8 การจ้างงานและวัฏจักรเศรษฐกิจ
Macro Economics c8 การจ้างงานและวัฏจักรเศรษฐกิจ
 
บทที่ 10 การเงินการธนาคาร การคลังรัฐบาล
บทที่ 10 การเงินการธนาคาร การคลังรัฐบาลบทที่ 10 การเงินการธนาคาร การคลังรัฐบาล
บทที่ 10 การเงินการธนาคาร การคลังรัฐบาล
 
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิตบทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
 
บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติบทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
บทที่ 4 อุปสงค์และอุปทานในทางปฏิบัติ
 
บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์อุปทาน
บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์อุปทานบทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์อุปทาน
บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์อุปทาน
 
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์
 

Macro Economics c7 การค้าและการเงินระหว่างประเทศ