SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 52
Downloaden Sie, um offline zu lesen
การสร้างและพัฒนา 
กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์ THE PRINCE ROYAL’S COLLEGE 
เครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูล 
kttpud@yahoo.com
หัวข้อนำเสนอในวันนี้ 
ชนิดของเครื่องมือในการวิจัย ประเภทของข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ การวัดและการประเมิน การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การสุ่มตัวอย่าง
ชนิดของเครื่องมือในการวิจัย 
1. เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม เป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาผู้เรียนได้แก่ สื่อ / อุปกรณ์ เอกสาร นวัตกรรม แผนจัดการเรียนรู้ ฯลฯ 2. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล เป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสำรวจ แบบประเมิน ฯลฯ
ประเภทของข้อมูล 
1. ข้อมูลที่เป็นสภาพแวดล้อม -สภาพแวดล้อม บรรยากาศ ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ ฯลฯ 2. ข้อมูลทางกายภาพ -รูปร่าง รูปทรง สี พฤติกรรม ทักษะความสามารถ ฯลฯ ที่สามารถมองเห็นได้ 3. ข้อมูลทางจิตภาพ -ความคิดเห็น ความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม เชาวน์ปัญญา ฯลฯ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา 4. ข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร -ข้อความ เอกสาร ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในบันทึกต่าง ๆ
ประเภทของข้อมูล 
1. ข้อมูลที่เป็น สภาพแวดล้อม 
2. ข้อมูลทางกายภาพ 
3. ข้อมูลทางจิตภาพ 
4. ข้อมูลที่เป็น ลายลักษณ์อักษร 
-สภาพชุมชน สถานศึกษา -วัสดุอุปกรณ์ -สถานที่ต่าง ๆ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ 
-กิริยาท่าทาง การแต่งกาย พฤติกรรม -การแสดงออก ทักษะความสามารถ -ปฏิสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ ฯลฯ 
-ความรู้ ความเข้าใจ เชาวน์ปัญญา -ความคิดเห็น ความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม -เหตุผลเชิงจริยธรรม แรงจูงใจ ฯลฯ 
-เอกสาร บทความ ตำรา จดหมาย -แผนปฏิบัติการ โครงการ รายงาน 
-ประกาศ สถิติ บันทึกข้อมูล ฯลฯ 
-การสำรวจโดยใช้การสังเกต แบบสังเกต -การสัมภาษณ์ หรือใช้แบบสอบถาม -การบันทึกภาพ ฯลฯ 
-การสังเกตพร้อมด้วยแบบบันทึก -การสัมภาษณ์มีแบบบันทึก มีการบันทึกเสียง -การบันทึกภาพ ฯลฯ 
-การทดสอบ การใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจ -การประเมินโดยใช้แบบประเมิน -เทคนิคเดลฟาย สังคมมิติ ฯลฯ 
-วิเคราะห์เนื้อหาโดยการศึกษาอย่างละเอียด -การประชุมสัมมนา การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ -การอภิปราย การระดมสมอง ฯลฯ 
ประเภทของข้อมูล ตัวอย่างข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล
วิธีการรวบรวมข้อมูล 
1. การสังเกต (Observation) เป็นวีการตรวจดูสิ่งต่างๆ ด้วยตา อย่างมีเป้าหมาย มี 2ลักษณะ คือ 1.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม(Participant observation) เป็นวิธีการสังเกตที่ ผู้สังเกตมีส่วนร่วมอยู่ในสถานที่ เหตุการณ์ หรือกิจกรรมที่กำลังรวบรวมข้อมูล เป็นการสังเกตที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ ผู้ถูกสังเกตจะไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกต 
1.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม(Non-participant observation) เป็นวิธีการ สังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้ไปร่วมอยู่ในสถานที่ เหตุการณ์ หรือกิจกรรมกำลังรวบรวมข้อมูล ผู้สังเกตเป็นเสมือนบุคคลแปลกหน้า ผู้ถูกสังเกตมักจะรู้ตัวว่ากำลังถูกสังเกต
วิธีการรวบรวมข้อมูล 
วิธีการสังเกตที่ดี 
1. ศึกษาโครงร่างและเป้าหมายของการวิจัยให้เข้าใจ 1. มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ 
2. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งจะไปสังเกต 2. มีจุดมุ่งหมายในการสังเกตที่ชัดเจน 
3. มีการบันทึกข้อมูลทันที 4. มีการนับหรือบันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณ 5. มีความชำนาญในการสังเกต 6. มีการตรวจสอบผลการสังเกต / สังเกตซ้ำ 
7. มีการเตรียมเครื่องมือที่จะช่วยในการสังเกตให้พร้อม
วิธีการรวบรวมข้อมูล 
2. การสัมภาษณ์(Interview) เป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนา พูดคุย ซักถามอย่างมีเป้าหมาย สามารถ ดำเนินการได้2 ลักษณะ คือ 
2.1 การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ(Formal interview)เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์ พยายามถามคำถามตามที่ได้กำหนดไว้ และการสัมภาษณ์คนหลายคนก็ใช้คำถามที่เตรียมไว้ ในทำนองเดียวกันหมดทุกคน มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบบางทีก็เรียกว่าการสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง(Structured interview) 
2.2 การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ(Informal interview)บางทีก็เรียกว่า การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง(Unstructured interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ ผู้สัมภาษณ์พยายามใช้วิธีการสนทนา พูดคุย ป้อนคำถามที่ต่างกันตามความเหมาะสม 
และพยายามซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เจาะลึก จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่เปิดกว้างไม่จำกัดคำตอบ
วิธีการรวบรวมข้อมูล 
วิธีการสัมภาษณ์ที่ดี 
1. มีการเตรียมการไปสัมภาษณ์ มีการวางแผน 2. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่จะไปสัมภาษณ์ 
3. บอกหรือชี้แจงลักษณะ / ข้อตกลงของการสัมภาษณ์ 
4. เลือกใช้คำศัพท์หรือภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 
5. ให้ความสนใจ และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ถูกสัมภาษณ์ 6. เป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังความคิดเห็น ไวต่อความรู้สึกและหลีกเลี่ยง การให้คำแนะนำหรือแสดงความคิดเห็น 7. หลังการสัมภาษณ์ต้องรีบเขียนเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ทันที 8. เก็บรักษาความลับของผู้ถูกสัมภาษณ์
วิธีการรวบรวมข้อมูล 
3. การใช้แบบสอบถาม(Questionnaire) เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่ให้ผู้ให้ข้อมูลตอบคำถามโดยการเขียนตอบลงในแบบฟอร์ม ที่กำหนดให้ เหมาะสำหรับผู้ให้ข้อมูลที่อ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี จำแนกได้เป็น3 วิธี คือ 
3.1 โดยเผชิญหน้าหมายถึง ผู้ประเมินนำแบบสอบถามไปมอบให้ผู้ให้ข้อมูลโดยตรง ชี้แจงให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ และวิธีการตอบ พร้อมทั้งนัดหมายวันเวลาที่จะขอรับคืน 3.2 โดยทางไปรษณีย์เป็นวิธีการที่ผู้ประเมินส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปขอให้ ผู้ให้ข้อมูลตอบ และเมื่อตอบเสร็จแล้วให้ส่งกลับคืนโดยทางไปรษณีย์เช่นกัน 3.3 โดยส่งผ่านบุคคลอื่นเป็นวิธีที่ผู้ประเมินขอให้บุคคลอื่นนำแบบสอบถามไปมอบให้ ผู้ให้ข้อมูลตอบให้ และรวบรวมคืนให้ด้วย วิธีนี้อาจเจาะจงหือไม่เจาะจงผู้ให้ข้อมูลก็ได้
วิธีการรวบรวมข้อมูล 
วิธีการใช้แบบสอบถามที่ดี 1. มีกระบวนการสร้างแบบสอบถามที่เป็นระบบ มีความน่าเชื่อถือ 2. มีการทดลองใช้ (Try-out) หรือการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ 
3. มีจดหมายนำ แนะนำตัวผู้วิจัย วัตถุประสงค์ เหตุผล คำขอบคุณ 4. แบบสอบถามมีรูปแบบเป็นมาตรฐาน ดูน่าตอบ ง่ายแก่การทำความเข้าใจ 5. มีคำชี้แจงในการตอบแบบสอบถามที่ชัดเจน 6. ประกอบด้วยคำถามที่สอดคล้องครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ 7. คำถามสำคัญไม่ควรอยู่ท้าย 
8. แต่ละข้อถามเพียงนัยเดียว เลี่ยงประโยคปฏิเสธซ้อน 
9. หลีกเลี่ยงคำถามที่จะมีผลสะท้อนต่อผู้ตอบ
วิธีการรวบรวมข้อมูล 
4. การใช้แบบทดสอบ(Testing) 
เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยให้ผู้ให้ข้อมูลแสดงความรู้ ความเข้าใจและทักษะความสามารถ ออกมาโดยการตอบคำถาม หรือแสดงการกระทำให้ดูวิธีการทดสอบจำแนกได้3 วิธี คือ 
4.1 การทดสอบปากเปล่า(Oral Testing)เป็นการให้ผู้ให้ข้อมูลตอบคำถามโดยผู้ทดสอบ อ่านคำถามให้ฟัง แล้วให้ผู้ให้ข้อมูลหรือผู้ถูกทดสอบตอบคำถามด้วยการพูด(ไม่เขียนตอบ) วิธีการนี้ที่เหมาะสมสำหรับผู้ถูกทดสอบที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้หรือเขียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร 
4.2 การทดสอบโดยเขียนตอบ(Paper-pencil testing)เป็นการทดสอบที่ให้ผู้ถูกทดสอบ ตอบคำถามโดยการเขียนตอบแทนการพูด เหมาะสำหรับผู้ถูกทดสอบที่อ่านออกเขียนได้ 
4.3 การทดสอบโดยการปฏิบัติ(Performance)เป็นการทดสอบที่ให้ผู้ถูกทดสอบแสดง วิธีทำหรือปฏิบัติกิจกรรมให้ดูตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ บางครั้งอาจใช้เครื่องมือทดสอบ (Apparatus test) เป็นสื่อในการแสดงออก
วิธีการรวบรวมข้อมูล 
วิธีการใช้แบบทดสอบที่ดี แบบทดสอบแบบความเรียง 1. ควรชี้แจงล่วงหน้าว่าจะใช้แบบทดสอบแบบความเรียง 2. เขียนข้อคำถามให้ชัดเจน เข้าใจง่าย 3. ควรมีคำชี้แจงวิธีตอบอย่างชัดเจน และเตรียมคำเฉลยไว้ล่วงหน้า 5. ระบุคะแนนแต่ละข้อไว้อย่างเหมาะสม 
6. ควรให้ตอบทุกข้อ โดยมีการเลือกตอบ 
7. ใช้คำถามหลายแบบเพื่อวัดพฤติกรรม / ความสามารถหลายด้าน 8. ควรใช้วัดพฤติกรรมที่สูงกว่าความจำ 9. เรียงข้อสอบจากง่ายไปหายาก 10. การตรวจควรคำนึงถึงเนื้อหาเป็นสำคัญไม่หักคะแนนลายมือ และการสะกดคำ การสะกดการันต์
วิธีการรวบรวมข้อมูล 
วิธีการใช้แบบทดสอบที่ดี แบบทดสอบแบบเลือกตอบ 1. ออกข้อสอบให้ตรงกับเนื้อหาวิชาและวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด 
2. เขียนคำถามให้เป็นประโยคคำถามสมบูรณ์ ชัดเจน เข้าใจง่าย 3. ควรหลีกเลี่ยงประโยคปฏิเสธ และคำถามปลายเปิด 4. ตัวคำถามและตัวเลือกต้องเกี่ยวพันในเรื่องเดียวกัน 
5. ข้อเดียวควรถามคำถามเดียว และมีข้อถูกเพียงข้อเดียว 
6. ไม่ควรให้ตัวคำถามมีคำหรือเสียงซ้ำกับตัวเลือกที่เป็นคำตอบ 
7. กระจายตัวถูกให้อยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ กัน 
8. ตัวเลือกที่ถูกหรือผิดไม่ควรเด่นชัดเจนเกินไปให้ผู้สอบเดาได้ 
9. มีการตรวจสอบข้อความ การสะกดคำให้ถูกต้อง
วิธีการรวบรวมข้อมูล 
5. การใช้แบบประเมินงาน(Task Assessment Form) เป็นเครื่องมือที่ผู้ประเมินใช้บันทึกข้อมูลโดยการพิจารณาจากผลงาน ต่าง ๆ ที่ผู้เรียนกระทำ ตามเงื่อนไขและเกณฑ์ที่กำหนดมี3 ประเภทคือ 1. แบบบันทึกปลายเปิด(Opened Form) 2. แบบตรวจสอบรายการ(Checklists) 3.แบบประมาณค่า (Rating Scale) วิธีประเมินอาจทำได้โดยการที่ครูประเมินเอง หรือให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง ร่วมประเมิน
วิธีการรวบรวมข้อมูล 
วิธีการใช้แบบประเมินที่ดี 1. มีรายการประเมินที่ครอบคลุมคุณลักษณะ / ความสามารถของผู้เรียน ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 
2. มีกระบวนการสร้างแบบสอบถามที่เป็นระบบ มีความน่าเชื่อถือ 3. มีเกณฑ์ ตัวชี้วัดที่ชัดเจน และง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้ประเมิน และง่ายต่อการบันทึกผลการประเมิน 2. มีการทดลองใช้ (Try-out) หรือการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ 
5. แยกส่วนการประเมินการปฏิบัติ (Performance) กระบวนการ (Process) และประเมินผลงาน (Product) ออกจากกันชัดเจน 6. รายการที่ประเมินจะต้องเป็นสิ่งที่พิจารณาได้ง่าย เป็นปรนัย เป็นรูปธรรม
กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 
1. กำหนดลักษณะข้อมูล / แหล่งที่มาของข้อมูล 
2. เลือกวิธีการรวบรวมข้อมูล 3. กำหนดหัวข้อ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ 4. เขียนรายการคำถาม ตามหัวข้อ และตัวบ่งชี้ 
5. นำคำถามไปทดลองถาม แล้วนำกลับมาปรับปรุง 
6. นำคำถามไปหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ 6.1โดยการทดลองใช้ และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการทางสถิติ 6.2โดยขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณา 
7. จัดทำเครื่องมือฉบับสมบูรณ์ จัดทำคำชี้แจง / คำอธิบายที่ชัดเจน 
การบวนการสร้างเครื่องมือ
กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 
การพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือ ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือ -ความตรง (Validity) -ความเที่ยง (Reliability) -อำนาจจำแนก (Discrimination) -ความยากง่าย (Difficulty) -ความเป็นปรนัย (Objectivity) -ความเหมาะสม (Congruity)
กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 
ความตรง (Validity) คือสามารถวัดสิ่งที่ต้องการจะวัดได้จริงตรงตามลักษณะ ของข้อมูลและวัตถุประสงค์ที่กำหนด 1. ความตรงตามเนื้อหา 2. ความตรงตามคำทำนาย 3. ความตรงตามเกณฑ์ภายนอก 4. ความตรงตามทฤษฎี
กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 
ความเที่ยง (Reliability) คือมีความแน่นอนในการวัดมีความคลาดเคลื่อนใน การวัดต่ำและมีมาตรฐานในการวัดซ้ำ 1. ความสอดคล้องภายใน 2. ความคงเส้นคงวา 3. ความเที่ยงจากแบบวัดคู่ขนาน
กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 
อำนาจจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของเครื่องมือหรือแบบวัดที่จะ จำแนกตัวแปรที่ต้องการจะวัด ซึ่งแปรเป็นค่าต่างๆ ออก จากกันได้ตามสภาพที่เป็นจริงเช่น แยกคนเก่ง-คนอ่อน คนที่รู้-ไม่รู้คนที่ทำได้-ทำไม่ได้ ออกจากกันได้ การหาอำนาจจำแนกของเครื่องมือทำได้โดยวิธีการทาง สถิติด้วยการหาค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดเป็นรายข้อ
กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 
ความยากง่าย (Difficulty) คือ ค่าความยากของแบบวัดมักใช้กับแบบทดสอบโดยเฉพาะ เช่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะต้องให้มีความยาก ง่ายปานกลาง คือกะว่าให้มีผู้เรียนประมาณครึ่งหนึ่งทำถูก ทั้งนี้ เพราะต้องการให้ความแปรปรวนของคะแนนมีมาก ถ้ายากเกินไป ผู้เรียนทำได้น้อย หรือง่ายไปผู้เรียนทำได้มาก ก็จะทำให้ค่าความ แปรปรวนมีน้อย ส่งผลให้เครื่องมือมีความเชื่อมั่นต่ำ ค่าความ ยากมักใช้ควบคู่กับค่าอำนาจจำแนกและหาจากแบบวัดเป็นรายข้อ
กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 
ความเป็นปรนัย (Objectivity) คือ ความชัดเจนของเครื่องมือวัดซึ่งจะต้องมีการให้คะแนนที่ แน่นอน ไม่ว่าใครก็ตามที่นำเครื่องมือนั้นไปวัดในสิ่งเดียวกันก็จะต้อง ได้ข้อมูลมาเหมือนกัน เครื่องมือวัดทางกายภาพมักจะมีความเป็น ปรนัยสูง และแบบทดสอบแบบเลือกตอบก็จะมีความเป็นปรนัยสูง กว่าแบบทดสอบแบบความเรียง วิธีการที่จะทำให้เครื่องมือมีความ เป็นปรนัยสูงก็คือ การระบุหัวข้อที่จะวัด เกณฑ์ และตัวชี้วัดให้ ละเอียดชัดเจนมากที่สุด และครอบคลุมลักษณะที่ต้องการวัดให้มาก ที่สุดก็จะช่วยให้เครื่องมือมีความเป็นปรนัยสูงขึ้นได้
กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 
ความเหมาะสม (Congruity) คือ ความถูกต้องของการนำเครื่องมือไปใช้รวบรวมข้อมูล และสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการวัด เพราะถึงแม้ครื่องมือจะมี คุณภาพดีในตนเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ให้ถูกต้อง กับความสามารของผู้รวบรวมข้อมูลและสภาพการณ์ต่าง ๆ โดยให้เหมาะสมกับวัย โอกาส วุฒิภาวะ พื้นความรู้ ฯลฯ เช่น การรวบรวมข้อมูลจากชาวบ้านในชนบทควรใช้การสัมภาษณ์ มากกว่าใช้แบบสอบถาม เป็นต้น
แบบทดสอบ (TEST) 
แบบทดสอบโดยทั่วไปใช้วัดด้านพุทธิพิสัย ที่ใช้ทั่วไปมี5 ประเภทคือ 1. แบบความเรียง(Essay Test) 2. แบบถูกผิด(True -False Test) 3. แบบเติมคำ(Completion Test) 4. แบบจับคู่(Matching Test) 5. แบบเลือกตอบ(Multiple choices)
แบบสังเกต 
(OBERVATION) 
แบบสังเกตโดยทั่วไปใช้วัดด้านทักษะพิสัยและจิตพิสัย เป็นวิธีตรวจดูสิ่งต่างๆด้วยตาการสังเกตที่ใช้ ทั่วไปมี2 ลักษณะคือ 1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) 2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation)
แบบสัมภาษณ์ 
(INTERVIEW) 
เป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนาพูดคุย ซักถามอย่างมีเป้าหมายใช้วัดทั้งด้านพุทธิพิสัย และจิตพิสัยมี2 ลักษณะคือ 1. สัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Formal interview) 2. สัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal interview)
แบบสอบถาม 
(QUESTIONNAIRE) 
เป็นแบบสอบถามโดยทั่วไปใช้วัดด้านจิตพิสัย หรือพุทธิพิสัยโดยให้ผู้ตอบเขียนตอบลงในแบบ ฟอร์มที่กำหนดให้ลักษณะคำถามมีหลายประเภทคือ 1. แบบคำถามปลายเปิด(Open-ended Form) 2. แบบคำถามปลายปิด(Close-ended Form) 3. แบบสำรวจรายการ (Checklists) 4. แบบประมาณค่า (Rating Scale) ฯลฯ
แบบประเมินผลงาน (Task Assessment) 
เป็นแบบที่ผู้ประเมินใช้บันทึกข้อมูลโดยการพิจารณา จากผลงานต่าง ๆ ที่ผู้เรียนกระทำ ตามเงื่อนไขและ เกณฑ์ที่กำหนดมี3 ประเภทคือ 1. แบบบันทึกปลายเปิด(Open-ened Form) 2. แบบตรวจสอบรายการ(Checklists) 3.แบบประมาณค่า (Rating Scale) วิธีประเมินอาจทำได้โดยการที่ครูประเมินเอง หรือให้ผู้เรียน ผู้ปกครองร่วมประเมิน
การวัดและการประเมิน Measurement & Evaluation
การวัดและประเมินการเรียนรู้ 
การวัด(Measurement) คือ การระบุค่า (ปริมาณ / ลักษณะ) ของสิ่งที่เราทำการวัดว่ามีค่าเท่ากับเท่าใดเพื่อนำผลการวัดไปทำการ ประเมินอีกครั้งหนึ่ง 
การวัดการเรียนรู้คือ การระบุค่าของสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้และ แสดงออก หรือ เป็นผลการกระทำที่เกิดจากการมอบหมายงานของครูว่า มีค่าเท่ากับเท่าใดเพื่อนำผลการวัดไปทำการประเมินต่อไป
การประเมิน (Evaluation)คือ การตีค่า ของสิ่งที่ได้จากการวัด (ปริมาณ / ลักษณะ) ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับใดโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ต่าง ๆ ที่กำหนด 
การวัดและประเมินการเรียนรู้ 
การประเมินการเรียนรู้ คือ การตีค่าผลของการวัดที่แสดงถึง ความสามารถ การแสดงออก และผลจากการกระทำของนักเรียนจาก การมอบหมายงานของครูที่ปรากฏมีคุณภาพระดับใดโดยเปรียบเทียบ กับเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนด
เมื่อต้องการทราบ ความสูงเราต้องใช้ เครื่องมือชนิดใด ในการวัด ? 
การวัด (Measurement)
190 C.M. 
170 C.M. 
การประเมิน (Evaluation) 
นำผลการวัดทีได้ไปเทียบกับเกณฑ์ 
ถ้าผลการวัดความสูงของคนๆ หนึ่ง ระบุว่า190 C.M.ถ้านำไปเทียบกับเกณฑ์ทั่วไป (ความสูงเฉลี่ยของคนไทย) ก็จะประเมินได้ว่า คนๆ นั้นมีความสูงกว่าคนทั่วไป 
สมมติว่า ความสูงเฉลี่ยของคนไทยเท่ากับ 170 C.M.
การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
WHY สอนทำไม ? 
ความรู้ ความคิด 
ทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ 
เจตคติ ค่านิยม อุปนิสัย บุคลิกภาพ 
Knowledge 
Process/Skill 
Attitude
WHAT สอนอะไร ? 
เนื้อหา ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ -เนื้อหาที่ต้องเรียน (หลักสูตรแกนกลาง) -เนื้อหาที่ควรเรียน (หลักสูตรสถานศึกษา) -เนื้อหาที่อยากเรียน (ความสนใจของผู้เรียน)
How สอนอย่างไร ? 
-รูปแบบการสอน -วิธีการสอน -เทคนิคการสอน
การสอนของครู แยกวัดเป็นส่วนๆ 
นักเรียนเรียนรู้และ พัฒนาเป็นองค์รวม 
K PA 
K P A
ความสามารถของนักเรียน 
Cognitive Domain 
Psychomotor Domain 
Affective Domain 
ทักษะพิสัย 
พุทธิพิสัย 
จิตพิสัย 
ด้านสติปัญญา ความรู้ 
ด้านทักษะ ความสามารถ 
ด้านเจตคติ คุณลักษณะ
Cognitive Domain 
พุทธิพิสัย 
ด้านสติปัญญา 
ความรู้ ความจำ -เนื้อหา เรื่องราว วิธีการ 
(Bloom, 1956) 
ความเข้าใจ -แปลความ ตีความ ขยายความ 
การนำไปใช้ -นำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ 
การวิเคราะห์ -ความสำคัญ ความสัมพันธ์ หลักการ 
การสังเคราะห์ -ข้อความ แผนงาน ความสัมพันธ์ 
การประเมินค่า -ใช้เกณฑ์ภายใน ใช้เกณฑ์ภายนอก
การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการศึกษาของ Bloomมีการปรับปรุงใหม่ ในปี 2001
Psychomotor Domain 
ทักษะพิสัย 
ด้านความสามารถ 
การรับรู้ -โดยประสาทสัมผัสทั้งหลาย 
(Simpson, 1956) 
ความพร้อม -สมอง ร่างกาย อารมณ์ 
การตอบสนองตามแนวทางที่ชี้แนะ -เลียนแบบ 
การประสานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย -เป็นลักษณะนิสัย 
การตอบสนองโดยอัตโนมัติ -เป็นธรรมชาติ 
การดัดแปลงให้เหมาะสม -การพัฒนา ปรุงแต่ง 
การริเริ่มใหม่ -การสร้างสรรค์รูปแบบ วิธีใหม่ ๆ
Affecttive Domain 
จิตพิสัย 
ด้านเจตคติ 
การรับรู้ -รู้จัก เต็มใจรับรู้ เลือกแสดงอาการเต็มใจรับรู้ 
(Krathwohl, 1956) 
การตอบสนอง -ยินยอม เต็มใจ พอใจที่จะตอบสนอง 
การรู้คุณค่า -เต็มใจรับคุณค่าเดียว หลายคุณค่า 
การจัดระบบคุณค่า -สร้างมโนทัศน์ การจัดระบบคุณค่า 
การสร้างบุคลิกลักษณะ -แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้อง -สร้างบุคลิกลักษณะนิสัย
ความสัมพันธ์ของการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 
สาระการเรียนรู้ 
กิจกรรมการเรียนรู้ 
สื่อ-อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ 
การวัดและประเมินการเรียนรู้
การสุ่มตัวอย่าง
การกำหนดประชากร / กลุ่มตัวอย่าง 
ประชากรคือ ทุกหน่วยที่อยู่ในขอบเขตการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ส่วนหนึ่งของประชากรที่เลือกมาศึกษา โดยที่ กลุ่มตัวอย่างสามารถเป็น ตัวแทนที่ดีของประชากร ตัวแทนที่ดี คือ ตัวแทนที่สามารถให้ผลการศึกษาที่เทียบเท่ากับ การศึกษาจากประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมาจากการเลือก กลุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบและได้มาตรฐาน 
* การเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างและวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างอาจขึ้นอยู่กับลักษณะ และประเภทของงานวิจัย
การสุ่มตัวอย่าง 
การสุ่มตัวอย่าง คือ การเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากร เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูล ในการทำวิจัย เนื่องจากมีประชากรที่ศึกษาจำนวนมาก ผู้วิจัยไม่สามารถเก็บข้อมูลจาก ประชากรทั้งหมดได้ วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างมีด้วยกัน 2แนวทางใหญ่ ๆ คือ 1. วิธีสุ่มแบบอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น(Probability sampling) 2. วิธีสุ่มแบบไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น(Non-probability sampling) 
1. การสุ่มเป็นการหากลุ่มตัวอย่างที่ประชากรทุกหน่วยมีโอกาสถูกเลือกเท่ากันโดยอาศัย ทฤษฎีความน่าจะเป็น ได้แก่ การสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากหรือใช้ตารางเลขสุ่ม การสุ่มแบบ ระบบ สุ่มแบบแบ่งชั้น สุ่มแบบกลุ่ม และการสุ่มแบบหลายขั้นตอน 2. การเลือกเป็นการหากลุ่มตัวอย่างที่ประชากรทุกหน่วยมีโอกาสถูกเลือกไม่เท่ากัน ได้แก่ แบบบังเอิญ แบบเจาะจง และแบบโควต้า
1. วิธีสุ่มแบบอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น(Probability sampling) เป็นการเลือกตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากร โดยยึดหลักว่าทุกหน่วยของประชากรมีโอกาสถูกเลือกมา เป็นตัวอย่างเท่า ๆ กัน การสุ่มตัวอย่างประเภทนี้ ผู้วิจัยจะต้องรู้ขนาดของประชากรหรือสามารถประมาณขนาด ของประชากรได้ วิธีสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปมีหลายวิธี ดังนี้ 
1.1 การสุ่มอย่างง่ายเป็นวิธีการสุ่มที่ง่ายที่สุด หลักการสำคัญคือ ทำให้แต่ละหน่วยของประชากรมี โอกาสถูกเลือกเป้นกลุ่มตัวอย่างเท่ากันหมด วิธีง่าย ๆ ที่นิยมใช้คือ การจับฉลาก และการใช้ตารางเลขสุ่ม 1.2 การสุ่มแบบมีระบบเป็นการสุ่มที่ใช้ระบบเป็นตัวตัดสินในการเลือกหน่วยตัวอย่าง โดยการเลือก เฉพาะหน่วยตัวอย่างแรกเท่านั้นแล้ว กำหนดว่าหน่วยตัวอย่างที่จะเลือกต่อไปจะเว้นช่วงห่างในช่วงที่เท่าๆ กัน 1.3 การสุ่มแบบแบ่งชั้นเป็นการสุ่มโดยจัดแบ่งประชากรที่ต้องการศึกษาเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะที่ เด่นชัด โดยประชากรกลุ่มย่อยเดียวกันต้องมีคุณสมบัติ หรือลักษณะที่คล้ายกันมากที่สุด และประชากรในแต่ละ กลุ่มย่อยมีลักษณะที่แตกต่างกันมากที่สุด จากนั้นจึงสุ่มตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มย่อยตามจำนวนที่ต้องการ 1.4 การสุ่มแบบเป็นกลุ่มเป็นวิธีการคล้ายการสุ่มแบบแบ่งชั้น คือ การแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่ม ย่อย ๆ หลาย ๆ กลุ่มแต่การสุ่มแบบกลุ่มนั้น ประชากรในกลุ่มเดียวกันจะมีความหลากหลายของประชากรที่ เหมือนกันทุกกลุ่มย่อย ทำให้ไม่จำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างจากทุกกลุ่ม เพียงเลือกจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็ได้ 
1.5 การสุ่มแบบหลายขั้นตอนเป็นการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างหลายวิธี ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรที่ศึกษา การสุ่มจะใช้วิธีการสุ่มตั้งแต่3 ขั้นตอนขึ้นไป
2. วิธีสุ่มแบบไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น(Non-probability sampling) เป็นการเลือกโดยไม่คำนึงถึงโอกาสเท่าเทียมกันของในการถูกเลือกของแต่ละหน่วยประชากร เป็น วิธีการเลือกโดยอาศัยความสะดวกสบาย ความเหมาะสมในการเลือกแบบนี้ เพราะผู้วิจัยไม่อาจทราบจำนวน ที่แน่นอนของประชากร หรือไม่สามารถประมาณขนาดของประชากรได้ชัดเจน ผลเสียของวิธีนี้คือ ไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรเหมือนแบบอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น วิธีที่พอจะทำได้คือ พยายามเลือกตัวอย่างให้ได้จำนวนมากที่สุด เท่าที่เวลา แรงงาน และงบประมาณจะทำได้ วิธีเลือกตัวอย่างที่ นิยมใช้กันทั่วไป มีดังนี้ 
2.1 การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญเป็นวิธีการเลือกที่ยึดเอาความสะดวกสบาย หรือความปลอดภัย ของผู้วิจัยเป็นหลัก โดยเลือกตัวอย่างเท่าที่จะทำได้ตามที่มีอยู่ หรือตามที่ได้รับความร่วมมือทั้งหมดได้ 
2.2 การเลือกแบบเจาะจงเป็นการเลือกตัวอย่างโดยกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่ต้องการศึกษา ไว้ เมื่อพบหน่วยประชากรใดที่มีคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ก็เลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างจนครบจำนวนตาม ต้องการ 
2.3 การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดจำนวนหรือบางครั้งก็นิยมเรียกว่า แบบโควต้าซึ่งก็คือการเลือก แบบบังเอิญหรือเจาะจงนั่นเอง แต่ว่าแบบกำหนดจำนวนหรือโควต้านี้ มีการกำหนดจำนวนของกลุ่ม ตัวอย่างตามที่ต้องการที่แน่นอน
Sampling ??? 
1. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ละเอียดว่าต้องการศึกษาปัญหาอะไร จากประชากรกลุ่มใด 2. นิยามคำจำกัดความของของประชากรที่ศึกษาให้ชัดเจน/ กำหนดประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง 3. กำหนดลักษณะของข้อมูลที่ต้องการรวบรวมว่า ต้องการข้อมูลด้านใดบ้าง 4. กำหนดหน่วยของตัวอย่างว่าจะใช้อะไรเป็นหน่วยในการสุ่ม เป็นเพศ ห้องเรียน ความสนใจ ฯลฯ 
5. กำหนดกรอบประชากร ขั้นนี้เป็นการรวบรวมรายชื่อ หรือทำบัญชีหน่วยสมาชิกของประชากร 6. กำหนดกรอบของการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 7. กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา ที่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรได้ 
8. กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่างให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล และความมุ่งหมายของการใช้ข้อมูล 
9. ทำการสุ่มตัวอย่างตามวิธีการที่เลือกไว้ 
ขั้นตอนการสุ่มตัวอย่าง
เชิญ ซัก ถาม ..?..

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

แบบสอบถาม
แบบสอบถาม แบบสอบถาม
แบบสอบถาม khanidthakpt
 
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็นการสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็นJiraprapa Suwannajak
 
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือpatmalya
 
02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัย02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัยKruBeeKa
 
จะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดีจะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดีkorakate
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนวyutict
 
หน่วยที่ 3 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
หน่วยที่ 3  การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศหน่วยที่ 3  การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
หน่วยที่ 3 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศSrion Janeprapapong
 
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ให้ผ่านง่าย ๆ
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ให้ผ่านง่าย ๆเทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ให้ผ่านง่าย ๆ
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ให้ผ่านง่าย ๆคน ขี้เล่า
 
การสร้างเครื่องมือและการเก็บข้อมูล
การสร้างเครื่องมือและการเก็บข้อมูลการสร้างเครื่องมือและการเก็บข้อมูล
การสร้างเครื่องมือและการเก็บข้อมูลUltraman Taro
 
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัยการวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัยsudaphud
 
ใบงานที่ 6
ใบงานที่ 6ใบงานที่ 6
ใบงานที่ 6pompameiei
 
โครงงานคอม ใบท 6
โครงงานคอม ใบท  6โครงงานคอม ใบท  6
โครงงานคอม ใบท 6StampPamika
 
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัยแนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัยwitthaya601
 
แบบทดสอบที่1
แบบทดสอบที่1แบบทดสอบที่1
แบบทดสอบที่1Heinrich79
 
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนการเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนppisoot07
 
44444444444444
4444444444444444444444444444
44444444444444bow4903
 

Was ist angesagt? (18)

แบบสอบถาม
แบบสอบถาม แบบสอบถาม
แบบสอบถาม
 
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็นการสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
 
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ
 
02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัย02 เครื่องมือในการวิจัย
02 เครื่องมือในการวิจัย
 
จะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดีจะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดี
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนว
 
หน่วยที่ 3 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
หน่วยที่ 3  การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศหน่วยที่ 3  การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
หน่วยที่ 3 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
 
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ให้ผ่านง่าย ๆ
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ให้ผ่านง่าย ๆเทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ให้ผ่านง่าย ๆ
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ ให้ผ่านง่าย ๆ
 
การสร้างเครื่องมือและการเก็บข้อมูล
การสร้างเครื่องมือและการเก็บข้อมูลการสร้างเครื่องมือและการเก็บข้อมูล
การสร้างเครื่องมือและการเก็บข้อมูล
 
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัยการวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
 
ใบงานที่ 6
ใบงานที่ 6ใบงานที่ 6
ใบงานที่ 6
 
โครงงานคอม ใบท 6
โครงงานคอม ใบท  6โครงงานคอม ใบท  6
โครงงานคอม ใบท 6
 
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัยแนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
 
แบบทดสอบที่1
แบบทดสอบที่1แบบทดสอบที่1
แบบทดสอบที่1
 
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนการเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
การเขียนโครงการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
 
44444444444444
4444444444444444444444444444
44444444444444
 
โครงงานเรา2
โครงงานเรา2โครงงานเรา2
โครงงานเรา2
 
Chap6
Chap6Chap6
Chap6
 

Andere mochten auch

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้สุเทพ สอนนิล
 
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษาNU
 
แม่ ก. กา ไม่ผันฯ
แม่ ก. กา ไม่ผันฯแม่ ก. กา ไม่ผันฯ
แม่ ก. กา ไม่ผันฯkindman_2505
 
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้kruteerapol
 
แนวข้อสอบ ป.4
แนวข้อสอบ ป.4แนวข้อสอบ ป.4
แนวข้อสอบ ป.4Chutima Muangmueng
 
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัยการวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัยTupPee Zhouyongfang
 
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)peter dontoom
 

Andere mochten auch (9)

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
 
แนวข้อสอบป.3
แนวข้อสอบป.3แนวข้อสอบป.3
แนวข้อสอบป.3
 
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา
 
แม่ ก. กา ไม่ผันฯ
แม่ ก. กา ไม่ผันฯแม่ ก. กา ไม่ผันฯ
แม่ ก. กา ไม่ผันฯ
 
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
 
แนวข้อสอบ ป.4
แนวข้อสอบ ป.4แนวข้อสอบ ป.4
แนวข้อสอบ ป.4
 
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัยการวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
การวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
 
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)
แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป 120 ข้อ (สอบครูดอทคอม ติวสอบครูผู้ช่วย)
 
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
แบบทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (เฉลย)
 

Ähnlich wie Research-tools 2014

บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้Bert Nangngam
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8Nat Thida
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศThank Chiro
 
ตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslideตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำsliderubtumproject.com
 
งานบทที่ 8
งานบทที่ 8งานบทที่ 8
งานบทที่ 8hadesza
 
การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลการวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลNavie Bts
 
ใบงานที่ 3
ใบงานที่ 3ใบงานที่ 3
ใบงานที่ 3bussayamas1618
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลwisnun
 
ฟ้า1
ฟ้า1ฟ้า1
ฟ้า1fa_o
 
อาม1
อาม1อาม1
อาม1arm_2010
 
เบญ2
เบญ2เบญ2
เบญ2ben_za
 
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน 9
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน 9ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน 9
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน 9chingching_wa
 

Ähnlich wie Research-tools 2014 (20)

บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
นาว1
นาว1นาว1
นาว1
 
ตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslideตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslide
 
K3
K3K3
K3
 
ดร.จิตติมาภรณ์ ส่วน 1
ดร.จิตติมาภรณ์ ส่วน 1ดร.จิตติมาภรณ์ ส่วน 1
ดร.จิตติมาภรณ์ ส่วน 1
 
งานบทที่ 8
งานบทที่ 8งานบทที่ 8
งานบทที่ 8
 
การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลการวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผล
 
Computer
ComputerComputer
Computer
 
ใบงานที่ 3
ใบงานที่ 3ใบงานที่ 3
ใบงานที่ 3
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
 
ฟ้า1
ฟ้า1ฟ้า1
ฟ้า1
 
อาม1
อาม1อาม1
อาม1
 
เบญ2
เบญ2เบญ2
เบญ2
 
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน 9
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน 9ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน 9
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน 9
 
บทที่8
บทที่8บทที่8
บทที่8
 

Mehr von Kittipun Udomseth

Bloom Taxonomy2001_kttpud-2018
Bloom Taxonomy2001_kttpud-2018Bloom Taxonomy2001_kttpud-2018
Bloom Taxonomy2001_kttpud-2018Kittipun Udomseth
 
Flipped learning-privateschool-CM59
Flipped learning-privateschool-CM59Flipped learning-privateschool-CM59
Flipped learning-privateschool-CM59Kittipun Udomseth
 
6 วิธีง่ายๆ กับการทำวีดีโอบรรยายเนื้อหา
6 วิธีง่ายๆ กับการทำวีดีโอบรรยายเนื้อหา6 วิธีง่ายๆ กับการทำวีดีโอบรรยายเนื้อหา
6 วิธีง่ายๆ กับการทำวีดีโอบรรยายเนื้อหาKittipun Udomseth
 
การผลิตสื่อวีดิทัศน์บรรยายเนื้อหา
การผลิตสื่อวีดิทัศน์บรรยายเนื้อหาการผลิตสื่อวีดิทัศน์บรรยายเนื้อหา
การผลิตสื่อวีดิทัศน์บรรยายเนื้อหาKittipun Udomseth
 
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-new
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-newติวสอบโอเน็ตม6 2557-new
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-newKittipun Udomseth
 
Media&tech2learn 004 - Part 4
Media&tech2learn 004 - Part 4Media&tech2learn 004 - Part 4
Media&tech2learn 004 - Part 4Kittipun Udomseth
 
Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3Kittipun Udomseth
 
Media&tech2learn 002 - Part 2
Media&tech2learn 002 - Part 2Media&tech2learn 002 - Part 2
Media&tech2learn 002 - Part 2Kittipun Udomseth
 

Mehr von Kittipun Udomseth (13)

Bloom Taxonomy2001_kttpud-2018
Bloom Taxonomy2001_kttpud-2018Bloom Taxonomy2001_kttpud-2018
Bloom Taxonomy2001_kttpud-2018
 
Active Learning kttpud_2018
Active Learning kttpud_2018Active Learning kttpud_2018
Active Learning kttpud_2018
 
Info 001
Info 001Info 001
Info 001
 
Flipped learning-privateschool-CM59
Flipped learning-privateschool-CM59Flipped learning-privateschool-CM59
Flipped learning-privateschool-CM59
 
Flipped Learning-Research
Flipped Learning-ResearchFlipped Learning-Research
Flipped Learning-Research
 
6 วิธีง่ายๆ กับการทำวีดีโอบรรยายเนื้อหา
6 วิธีง่ายๆ กับการทำวีดีโอบรรยายเนื้อหา6 วิธีง่ายๆ กับการทำวีดีโอบรรยายเนื้อหา
6 วิธีง่ายๆ กับการทำวีดีโอบรรยายเนื้อหา
 
การผลิตสื่อวีดิทัศน์บรรยายเนื้อหา
การผลิตสื่อวีดิทัศน์บรรยายเนื้อหาการผลิตสื่อวีดิทัศน์บรรยายเนื้อหา
การผลิตสื่อวีดิทัศน์บรรยายเนื้อหา
 
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-new
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-newติวสอบโอเน็ตม6 2557-new
ติวสอบโอเน็ตม6 2557-new
 
Flipped 2014
Flipped 2014Flipped 2014
Flipped 2014
 
Media&tech2learn 004 - Part 4
Media&tech2learn 004 - Part 4Media&tech2learn 004 - Part 4
Media&tech2learn 004 - Part 4
 
Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3
 
Media&tech2learn 002 - Part 2
Media&tech2learn 002 - Part 2Media&tech2learn 002 - Part 2
Media&tech2learn 002 - Part 2
 
Media&tech2learn 001-Part 1
Media&tech2learn 001-Part 1Media&tech2learn 001-Part 1
Media&tech2learn 001-Part 1
 

Research-tools 2014

  • 1. การสร้างและพัฒนา กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์ THE PRINCE ROYAL’S COLLEGE เครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูล kttpud@yahoo.com
  • 2. หัวข้อนำเสนอในวันนี้ ชนิดของเครื่องมือในการวิจัย ประเภทของข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ การวัดและการประเมิน การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การสุ่มตัวอย่าง
  • 3. ชนิดของเครื่องมือในการวิจัย 1. เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม เป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาผู้เรียนได้แก่ สื่อ / อุปกรณ์ เอกสาร นวัตกรรม แผนจัดการเรียนรู้ ฯลฯ 2. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล เป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสำรวจ แบบประเมิน ฯลฯ
  • 4. ประเภทของข้อมูล 1. ข้อมูลที่เป็นสภาพแวดล้อม -สภาพแวดล้อม บรรยากาศ ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ ฯลฯ 2. ข้อมูลทางกายภาพ -รูปร่าง รูปทรง สี พฤติกรรม ทักษะความสามารถ ฯลฯ ที่สามารถมองเห็นได้ 3. ข้อมูลทางจิตภาพ -ความคิดเห็น ความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม เชาวน์ปัญญา ฯลฯ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา 4. ข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร -ข้อความ เอกสาร ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในบันทึกต่าง ๆ
  • 5. ประเภทของข้อมูล 1. ข้อมูลที่เป็น สภาพแวดล้อม 2. ข้อมูลทางกายภาพ 3. ข้อมูลทางจิตภาพ 4. ข้อมูลที่เป็น ลายลักษณ์อักษร -สภาพชุมชน สถานศึกษา -วัสดุอุปกรณ์ -สถานที่ต่าง ๆ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ -กิริยาท่าทาง การแต่งกาย พฤติกรรม -การแสดงออก ทักษะความสามารถ -ปฏิสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ ฯลฯ -ความรู้ ความเข้าใจ เชาวน์ปัญญา -ความคิดเห็น ความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม -เหตุผลเชิงจริยธรรม แรงจูงใจ ฯลฯ -เอกสาร บทความ ตำรา จดหมาย -แผนปฏิบัติการ โครงการ รายงาน -ประกาศ สถิติ บันทึกข้อมูล ฯลฯ -การสำรวจโดยใช้การสังเกต แบบสังเกต -การสัมภาษณ์ หรือใช้แบบสอบถาม -การบันทึกภาพ ฯลฯ -การสังเกตพร้อมด้วยแบบบันทึก -การสัมภาษณ์มีแบบบันทึก มีการบันทึกเสียง -การบันทึกภาพ ฯลฯ -การทดสอบ การใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจ -การประเมินโดยใช้แบบประเมิน -เทคนิคเดลฟาย สังคมมิติ ฯลฯ -วิเคราะห์เนื้อหาโดยการศึกษาอย่างละเอียด -การประชุมสัมมนา การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ -การอภิปราย การระดมสมอง ฯลฯ ประเภทของข้อมูล ตัวอย่างข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล
  • 6. วิธีการรวบรวมข้อมูล 1. การสังเกต (Observation) เป็นวีการตรวจดูสิ่งต่างๆ ด้วยตา อย่างมีเป้าหมาย มี 2ลักษณะ คือ 1.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม(Participant observation) เป็นวิธีการสังเกตที่ ผู้สังเกตมีส่วนร่วมอยู่ในสถานที่ เหตุการณ์ หรือกิจกรรมที่กำลังรวบรวมข้อมูล เป็นการสังเกตที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ ผู้ถูกสังเกตจะไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกต 1.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม(Non-participant observation) เป็นวิธีการ สังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้ไปร่วมอยู่ในสถานที่ เหตุการณ์ หรือกิจกรรมกำลังรวบรวมข้อมูล ผู้สังเกตเป็นเสมือนบุคคลแปลกหน้า ผู้ถูกสังเกตมักจะรู้ตัวว่ากำลังถูกสังเกต
  • 7. วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการสังเกตที่ดี 1. ศึกษาโครงร่างและเป้าหมายของการวิจัยให้เข้าใจ 1. มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ 2. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งจะไปสังเกต 2. มีจุดมุ่งหมายในการสังเกตที่ชัดเจน 3. มีการบันทึกข้อมูลทันที 4. มีการนับหรือบันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณ 5. มีความชำนาญในการสังเกต 6. มีการตรวจสอบผลการสังเกต / สังเกตซ้ำ 7. มีการเตรียมเครื่องมือที่จะช่วยในการสังเกตให้พร้อม
  • 8. วิธีการรวบรวมข้อมูล 2. การสัมภาษณ์(Interview) เป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนา พูดคุย ซักถามอย่างมีเป้าหมาย สามารถ ดำเนินการได้2 ลักษณะ คือ 2.1 การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ(Formal interview)เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์ พยายามถามคำถามตามที่ได้กำหนดไว้ และการสัมภาษณ์คนหลายคนก็ใช้คำถามที่เตรียมไว้ ในทำนองเดียวกันหมดทุกคน มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบบางทีก็เรียกว่าการสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง(Structured interview) 2.2 การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ(Informal interview)บางทีก็เรียกว่า การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง(Unstructured interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ ผู้สัมภาษณ์พยายามใช้วิธีการสนทนา พูดคุย ป้อนคำถามที่ต่างกันตามความเหมาะสม และพยายามซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เจาะลึก จึงเป็นการสัมภาษณ์ที่เปิดกว้างไม่จำกัดคำตอบ
  • 9. วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการสัมภาษณ์ที่ดี 1. มีการเตรียมการไปสัมภาษณ์ มีการวางแผน 2. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่จะไปสัมภาษณ์ 3. บอกหรือชี้แจงลักษณะ / ข้อตกลงของการสัมภาษณ์ 4. เลือกใช้คำศัพท์หรือภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 5. ให้ความสนใจ และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ถูกสัมภาษณ์ 6. เป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังความคิดเห็น ไวต่อความรู้สึกและหลีกเลี่ยง การให้คำแนะนำหรือแสดงความคิดเห็น 7. หลังการสัมภาษณ์ต้องรีบเขียนเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ทันที 8. เก็บรักษาความลับของผู้ถูกสัมภาษณ์
  • 10. วิธีการรวบรวมข้อมูล 3. การใช้แบบสอบถาม(Questionnaire) เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่ให้ผู้ให้ข้อมูลตอบคำถามโดยการเขียนตอบลงในแบบฟอร์ม ที่กำหนดให้ เหมาะสำหรับผู้ให้ข้อมูลที่อ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี จำแนกได้เป็น3 วิธี คือ 3.1 โดยเผชิญหน้าหมายถึง ผู้ประเมินนำแบบสอบถามไปมอบให้ผู้ให้ข้อมูลโดยตรง ชี้แจงให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ และวิธีการตอบ พร้อมทั้งนัดหมายวันเวลาที่จะขอรับคืน 3.2 โดยทางไปรษณีย์เป็นวิธีการที่ผู้ประเมินส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปขอให้ ผู้ให้ข้อมูลตอบ และเมื่อตอบเสร็จแล้วให้ส่งกลับคืนโดยทางไปรษณีย์เช่นกัน 3.3 โดยส่งผ่านบุคคลอื่นเป็นวิธีที่ผู้ประเมินขอให้บุคคลอื่นนำแบบสอบถามไปมอบให้ ผู้ให้ข้อมูลตอบให้ และรวบรวมคืนให้ด้วย วิธีนี้อาจเจาะจงหือไม่เจาะจงผู้ให้ข้อมูลก็ได้
  • 11. วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการใช้แบบสอบถามที่ดี 1. มีกระบวนการสร้างแบบสอบถามที่เป็นระบบ มีความน่าเชื่อถือ 2. มีการทดลองใช้ (Try-out) หรือการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ 3. มีจดหมายนำ แนะนำตัวผู้วิจัย วัตถุประสงค์ เหตุผล คำขอบคุณ 4. แบบสอบถามมีรูปแบบเป็นมาตรฐาน ดูน่าตอบ ง่ายแก่การทำความเข้าใจ 5. มีคำชี้แจงในการตอบแบบสอบถามที่ชัดเจน 6. ประกอบด้วยคำถามที่สอดคล้องครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ 7. คำถามสำคัญไม่ควรอยู่ท้าย 8. แต่ละข้อถามเพียงนัยเดียว เลี่ยงประโยคปฏิเสธซ้อน 9. หลีกเลี่ยงคำถามที่จะมีผลสะท้อนต่อผู้ตอบ
  • 12. วิธีการรวบรวมข้อมูล 4. การใช้แบบทดสอบ(Testing) เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยให้ผู้ให้ข้อมูลแสดงความรู้ ความเข้าใจและทักษะความสามารถ ออกมาโดยการตอบคำถาม หรือแสดงการกระทำให้ดูวิธีการทดสอบจำแนกได้3 วิธี คือ 4.1 การทดสอบปากเปล่า(Oral Testing)เป็นการให้ผู้ให้ข้อมูลตอบคำถามโดยผู้ทดสอบ อ่านคำถามให้ฟัง แล้วให้ผู้ให้ข้อมูลหรือผู้ถูกทดสอบตอบคำถามด้วยการพูด(ไม่เขียนตอบ) วิธีการนี้ที่เหมาะสมสำหรับผู้ถูกทดสอบที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้หรือเขียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร 4.2 การทดสอบโดยเขียนตอบ(Paper-pencil testing)เป็นการทดสอบที่ให้ผู้ถูกทดสอบ ตอบคำถามโดยการเขียนตอบแทนการพูด เหมาะสำหรับผู้ถูกทดสอบที่อ่านออกเขียนได้ 4.3 การทดสอบโดยการปฏิบัติ(Performance)เป็นการทดสอบที่ให้ผู้ถูกทดสอบแสดง วิธีทำหรือปฏิบัติกิจกรรมให้ดูตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ บางครั้งอาจใช้เครื่องมือทดสอบ (Apparatus test) เป็นสื่อในการแสดงออก
  • 13. วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการใช้แบบทดสอบที่ดี แบบทดสอบแบบความเรียง 1. ควรชี้แจงล่วงหน้าว่าจะใช้แบบทดสอบแบบความเรียง 2. เขียนข้อคำถามให้ชัดเจน เข้าใจง่าย 3. ควรมีคำชี้แจงวิธีตอบอย่างชัดเจน และเตรียมคำเฉลยไว้ล่วงหน้า 5. ระบุคะแนนแต่ละข้อไว้อย่างเหมาะสม 6. ควรให้ตอบทุกข้อ โดยมีการเลือกตอบ 7. ใช้คำถามหลายแบบเพื่อวัดพฤติกรรม / ความสามารถหลายด้าน 8. ควรใช้วัดพฤติกรรมที่สูงกว่าความจำ 9. เรียงข้อสอบจากง่ายไปหายาก 10. การตรวจควรคำนึงถึงเนื้อหาเป็นสำคัญไม่หักคะแนนลายมือ และการสะกดคำ การสะกดการันต์
  • 14. วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการใช้แบบทดสอบที่ดี แบบทดสอบแบบเลือกตอบ 1. ออกข้อสอบให้ตรงกับเนื้อหาวิชาและวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด 2. เขียนคำถามให้เป็นประโยคคำถามสมบูรณ์ ชัดเจน เข้าใจง่าย 3. ควรหลีกเลี่ยงประโยคปฏิเสธ และคำถามปลายเปิด 4. ตัวคำถามและตัวเลือกต้องเกี่ยวพันในเรื่องเดียวกัน 5. ข้อเดียวควรถามคำถามเดียว และมีข้อถูกเพียงข้อเดียว 6. ไม่ควรให้ตัวคำถามมีคำหรือเสียงซ้ำกับตัวเลือกที่เป็นคำตอบ 7. กระจายตัวถูกให้อยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ กัน 8. ตัวเลือกที่ถูกหรือผิดไม่ควรเด่นชัดเจนเกินไปให้ผู้สอบเดาได้ 9. มีการตรวจสอบข้อความ การสะกดคำให้ถูกต้อง
  • 15. วิธีการรวบรวมข้อมูล 5. การใช้แบบประเมินงาน(Task Assessment Form) เป็นเครื่องมือที่ผู้ประเมินใช้บันทึกข้อมูลโดยการพิจารณาจากผลงาน ต่าง ๆ ที่ผู้เรียนกระทำ ตามเงื่อนไขและเกณฑ์ที่กำหนดมี3 ประเภทคือ 1. แบบบันทึกปลายเปิด(Opened Form) 2. แบบตรวจสอบรายการ(Checklists) 3.แบบประมาณค่า (Rating Scale) วิธีประเมินอาจทำได้โดยการที่ครูประเมินเอง หรือให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง ร่วมประเมิน
  • 16. วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการใช้แบบประเมินที่ดี 1. มีรายการประเมินที่ครอบคลุมคุณลักษณะ / ความสามารถของผู้เรียน ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 2. มีกระบวนการสร้างแบบสอบถามที่เป็นระบบ มีความน่าเชื่อถือ 3. มีเกณฑ์ ตัวชี้วัดที่ชัดเจน และง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้ประเมิน และง่ายต่อการบันทึกผลการประเมิน 2. มีการทดลองใช้ (Try-out) หรือการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ 5. แยกส่วนการประเมินการปฏิบัติ (Performance) กระบวนการ (Process) และประเมินผลงาน (Product) ออกจากกันชัดเจน 6. รายการที่ประเมินจะต้องเป็นสิ่งที่พิจารณาได้ง่าย เป็นปรนัย เป็นรูปธรรม
  • 17. กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 1. กำหนดลักษณะข้อมูล / แหล่งที่มาของข้อมูล 2. เลือกวิธีการรวบรวมข้อมูล 3. กำหนดหัวข้อ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ 4. เขียนรายการคำถาม ตามหัวข้อ และตัวบ่งชี้ 5. นำคำถามไปทดลองถาม แล้วนำกลับมาปรับปรุง 6. นำคำถามไปหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ 6.1โดยการทดลองใช้ และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการทางสถิติ 6.2โดยขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณา 7. จัดทำเครื่องมือฉบับสมบูรณ์ จัดทำคำชี้แจง / คำอธิบายที่ชัดเจน การบวนการสร้างเครื่องมือ
  • 18. กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ การพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือ ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือ -ความตรง (Validity) -ความเที่ยง (Reliability) -อำนาจจำแนก (Discrimination) -ความยากง่าย (Difficulty) -ความเป็นปรนัย (Objectivity) -ความเหมาะสม (Congruity)
  • 19. กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ความตรง (Validity) คือสามารถวัดสิ่งที่ต้องการจะวัดได้จริงตรงตามลักษณะ ของข้อมูลและวัตถุประสงค์ที่กำหนด 1. ความตรงตามเนื้อหา 2. ความตรงตามคำทำนาย 3. ความตรงตามเกณฑ์ภายนอก 4. ความตรงตามทฤษฎี
  • 20. กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ความเที่ยง (Reliability) คือมีความแน่นอนในการวัดมีความคลาดเคลื่อนใน การวัดต่ำและมีมาตรฐานในการวัดซ้ำ 1. ความสอดคล้องภายใน 2. ความคงเส้นคงวา 3. ความเที่ยงจากแบบวัดคู่ขนาน
  • 21. กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ อำนาจจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของเครื่องมือหรือแบบวัดที่จะ จำแนกตัวแปรที่ต้องการจะวัด ซึ่งแปรเป็นค่าต่างๆ ออก จากกันได้ตามสภาพที่เป็นจริงเช่น แยกคนเก่ง-คนอ่อน คนที่รู้-ไม่รู้คนที่ทำได้-ทำไม่ได้ ออกจากกันได้ การหาอำนาจจำแนกของเครื่องมือทำได้โดยวิธีการทาง สถิติด้วยการหาค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดเป็นรายข้อ
  • 22. กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ความยากง่าย (Difficulty) คือ ค่าความยากของแบบวัดมักใช้กับแบบทดสอบโดยเฉพาะ เช่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะต้องให้มีความยาก ง่ายปานกลาง คือกะว่าให้มีผู้เรียนประมาณครึ่งหนึ่งทำถูก ทั้งนี้ เพราะต้องการให้ความแปรปรวนของคะแนนมีมาก ถ้ายากเกินไป ผู้เรียนทำได้น้อย หรือง่ายไปผู้เรียนทำได้มาก ก็จะทำให้ค่าความ แปรปรวนมีน้อย ส่งผลให้เครื่องมือมีความเชื่อมั่นต่ำ ค่าความ ยากมักใช้ควบคู่กับค่าอำนาจจำแนกและหาจากแบบวัดเป็นรายข้อ
  • 23. กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ความเป็นปรนัย (Objectivity) คือ ความชัดเจนของเครื่องมือวัดซึ่งจะต้องมีการให้คะแนนที่ แน่นอน ไม่ว่าใครก็ตามที่นำเครื่องมือนั้นไปวัดในสิ่งเดียวกันก็จะต้อง ได้ข้อมูลมาเหมือนกัน เครื่องมือวัดทางกายภาพมักจะมีความเป็น ปรนัยสูง และแบบทดสอบแบบเลือกตอบก็จะมีความเป็นปรนัยสูง กว่าแบบทดสอบแบบความเรียง วิธีการที่จะทำให้เครื่องมือมีความ เป็นปรนัยสูงก็คือ การระบุหัวข้อที่จะวัด เกณฑ์ และตัวชี้วัดให้ ละเอียดชัดเจนมากที่สุด และครอบคลุมลักษณะที่ต้องการวัดให้มาก ที่สุดก็จะช่วยให้เครื่องมือมีความเป็นปรนัยสูงขึ้นได้
  • 24. กระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ความเหมาะสม (Congruity) คือ ความถูกต้องของการนำเครื่องมือไปใช้รวบรวมข้อมูล และสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการวัด เพราะถึงแม้ครื่องมือจะมี คุณภาพดีในตนเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ให้ถูกต้อง กับความสามารของผู้รวบรวมข้อมูลและสภาพการณ์ต่าง ๆ โดยให้เหมาะสมกับวัย โอกาส วุฒิภาวะ พื้นความรู้ ฯลฯ เช่น การรวบรวมข้อมูลจากชาวบ้านในชนบทควรใช้การสัมภาษณ์ มากกว่าใช้แบบสอบถาม เป็นต้น
  • 25. แบบทดสอบ (TEST) แบบทดสอบโดยทั่วไปใช้วัดด้านพุทธิพิสัย ที่ใช้ทั่วไปมี5 ประเภทคือ 1. แบบความเรียง(Essay Test) 2. แบบถูกผิด(True -False Test) 3. แบบเติมคำ(Completion Test) 4. แบบจับคู่(Matching Test) 5. แบบเลือกตอบ(Multiple choices)
  • 26. แบบสังเกต (OBERVATION) แบบสังเกตโดยทั่วไปใช้วัดด้านทักษะพิสัยและจิตพิสัย เป็นวิธีตรวจดูสิ่งต่างๆด้วยตาการสังเกตที่ใช้ ทั่วไปมี2 ลักษณะคือ 1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) 2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation)
  • 27. แบบสัมภาษณ์ (INTERVIEW) เป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนาพูดคุย ซักถามอย่างมีเป้าหมายใช้วัดทั้งด้านพุทธิพิสัย และจิตพิสัยมี2 ลักษณะคือ 1. สัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Formal interview) 2. สัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal interview)
  • 28. แบบสอบถาม (QUESTIONNAIRE) เป็นแบบสอบถามโดยทั่วไปใช้วัดด้านจิตพิสัย หรือพุทธิพิสัยโดยให้ผู้ตอบเขียนตอบลงในแบบ ฟอร์มที่กำหนดให้ลักษณะคำถามมีหลายประเภทคือ 1. แบบคำถามปลายเปิด(Open-ended Form) 2. แบบคำถามปลายปิด(Close-ended Form) 3. แบบสำรวจรายการ (Checklists) 4. แบบประมาณค่า (Rating Scale) ฯลฯ
  • 29. แบบประเมินผลงาน (Task Assessment) เป็นแบบที่ผู้ประเมินใช้บันทึกข้อมูลโดยการพิจารณา จากผลงานต่าง ๆ ที่ผู้เรียนกระทำ ตามเงื่อนไขและ เกณฑ์ที่กำหนดมี3 ประเภทคือ 1. แบบบันทึกปลายเปิด(Open-ened Form) 2. แบบตรวจสอบรายการ(Checklists) 3.แบบประมาณค่า (Rating Scale) วิธีประเมินอาจทำได้โดยการที่ครูประเมินเอง หรือให้ผู้เรียน ผู้ปกครองร่วมประเมิน
  • 31. การวัดและประเมินการเรียนรู้ การวัด(Measurement) คือ การระบุค่า (ปริมาณ / ลักษณะ) ของสิ่งที่เราทำการวัดว่ามีค่าเท่ากับเท่าใดเพื่อนำผลการวัดไปทำการ ประเมินอีกครั้งหนึ่ง การวัดการเรียนรู้คือ การระบุค่าของสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้และ แสดงออก หรือ เป็นผลการกระทำที่เกิดจากการมอบหมายงานของครูว่า มีค่าเท่ากับเท่าใดเพื่อนำผลการวัดไปทำการประเมินต่อไป
  • 32. การประเมิน (Evaluation)คือ การตีค่า ของสิ่งที่ได้จากการวัด (ปริมาณ / ลักษณะ) ว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับใดโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ต่าง ๆ ที่กำหนด การวัดและประเมินการเรียนรู้ การประเมินการเรียนรู้ คือ การตีค่าผลของการวัดที่แสดงถึง ความสามารถ การแสดงออก และผลจากการกระทำของนักเรียนจาก การมอบหมายงานของครูที่ปรากฏมีคุณภาพระดับใดโดยเปรียบเทียบ กับเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนด
  • 34. 190 C.M. 170 C.M. การประเมิน (Evaluation) นำผลการวัดทีได้ไปเทียบกับเกณฑ์ ถ้าผลการวัดความสูงของคนๆ หนึ่ง ระบุว่า190 C.M.ถ้านำไปเทียบกับเกณฑ์ทั่วไป (ความสูงเฉลี่ยของคนไทย) ก็จะประเมินได้ว่า คนๆ นั้นมีความสูงกว่าคนทั่วไป สมมติว่า ความสูงเฉลี่ยของคนไทยเท่ากับ 170 C.M.
  • 36. WHY สอนทำไม ? ความรู้ ความคิด ทักษะ ความสามารถ ความชำนาญ เจตคติ ค่านิยม อุปนิสัย บุคลิกภาพ Knowledge Process/Skill Attitude
  • 37. WHAT สอนอะไร ? เนื้อหา ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ -เนื้อหาที่ต้องเรียน (หลักสูตรแกนกลาง) -เนื้อหาที่ควรเรียน (หลักสูตรสถานศึกษา) -เนื้อหาที่อยากเรียน (ความสนใจของผู้เรียน)
  • 38. How สอนอย่างไร ? -รูปแบบการสอน -วิธีการสอน -เทคนิคการสอน
  • 40. ความสามารถของนักเรียน Cognitive Domain Psychomotor Domain Affective Domain ทักษะพิสัย พุทธิพิสัย จิตพิสัย ด้านสติปัญญา ความรู้ ด้านทักษะ ความสามารถ ด้านเจตคติ คุณลักษณะ
  • 41. Cognitive Domain พุทธิพิสัย ด้านสติปัญญา ความรู้ ความจำ -เนื้อหา เรื่องราว วิธีการ (Bloom, 1956) ความเข้าใจ -แปลความ ตีความ ขยายความ การนำไปใช้ -นำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ การวิเคราะห์ -ความสำคัญ ความสัมพันธ์ หลักการ การสังเคราะห์ -ข้อความ แผนงาน ความสัมพันธ์ การประเมินค่า -ใช้เกณฑ์ภายใน ใช้เกณฑ์ภายนอก
  • 43. Psychomotor Domain ทักษะพิสัย ด้านความสามารถ การรับรู้ -โดยประสาทสัมผัสทั้งหลาย (Simpson, 1956) ความพร้อม -สมอง ร่างกาย อารมณ์ การตอบสนองตามแนวทางที่ชี้แนะ -เลียนแบบ การประสานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย -เป็นลักษณะนิสัย การตอบสนองโดยอัตโนมัติ -เป็นธรรมชาติ การดัดแปลงให้เหมาะสม -การพัฒนา ปรุงแต่ง การริเริ่มใหม่ -การสร้างสรรค์รูปแบบ วิธีใหม่ ๆ
  • 44. Affecttive Domain จิตพิสัย ด้านเจตคติ การรับรู้ -รู้จัก เต็มใจรับรู้ เลือกแสดงอาการเต็มใจรับรู้ (Krathwohl, 1956) การตอบสนอง -ยินยอม เต็มใจ พอใจที่จะตอบสนอง การรู้คุณค่า -เต็มใจรับคุณค่าเดียว หลายคุณค่า การจัดระบบคุณค่า -สร้างมโนทัศน์ การจัดระบบคุณค่า การสร้างบุคลิกลักษณะ -แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้อง -สร้างบุคลิกลักษณะนิสัย
  • 45. ความสัมพันธ์ของการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ-อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินการเรียนรู้
  • 47. การกำหนดประชากร / กลุ่มตัวอย่าง ประชากรคือ ทุกหน่วยที่อยู่ในขอบเขตการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ส่วนหนึ่งของประชากรที่เลือกมาศึกษา โดยที่ กลุ่มตัวอย่างสามารถเป็น ตัวแทนที่ดีของประชากร ตัวแทนที่ดี คือ ตัวแทนที่สามารถให้ผลการศึกษาที่เทียบเท่ากับ การศึกษาจากประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมาจากการเลือก กลุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบและได้มาตรฐาน * การเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างและวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างอาจขึ้นอยู่กับลักษณะ และประเภทของงานวิจัย
  • 48. การสุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง คือ การเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากร เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูล ในการทำวิจัย เนื่องจากมีประชากรที่ศึกษาจำนวนมาก ผู้วิจัยไม่สามารถเก็บข้อมูลจาก ประชากรทั้งหมดได้ วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างมีด้วยกัน 2แนวทางใหญ่ ๆ คือ 1. วิธีสุ่มแบบอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น(Probability sampling) 2. วิธีสุ่มแบบไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น(Non-probability sampling) 1. การสุ่มเป็นการหากลุ่มตัวอย่างที่ประชากรทุกหน่วยมีโอกาสถูกเลือกเท่ากันโดยอาศัย ทฤษฎีความน่าจะเป็น ได้แก่ การสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากหรือใช้ตารางเลขสุ่ม การสุ่มแบบ ระบบ สุ่มแบบแบ่งชั้น สุ่มแบบกลุ่ม และการสุ่มแบบหลายขั้นตอน 2. การเลือกเป็นการหากลุ่มตัวอย่างที่ประชากรทุกหน่วยมีโอกาสถูกเลือกไม่เท่ากัน ได้แก่ แบบบังเอิญ แบบเจาะจง และแบบโควต้า
  • 49. 1. วิธีสุ่มแบบอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น(Probability sampling) เป็นการเลือกตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากร โดยยึดหลักว่าทุกหน่วยของประชากรมีโอกาสถูกเลือกมา เป็นตัวอย่างเท่า ๆ กัน การสุ่มตัวอย่างประเภทนี้ ผู้วิจัยจะต้องรู้ขนาดของประชากรหรือสามารถประมาณขนาด ของประชากรได้ วิธีสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปมีหลายวิธี ดังนี้ 1.1 การสุ่มอย่างง่ายเป็นวิธีการสุ่มที่ง่ายที่สุด หลักการสำคัญคือ ทำให้แต่ละหน่วยของประชากรมี โอกาสถูกเลือกเป้นกลุ่มตัวอย่างเท่ากันหมด วิธีง่าย ๆ ที่นิยมใช้คือ การจับฉลาก และการใช้ตารางเลขสุ่ม 1.2 การสุ่มแบบมีระบบเป็นการสุ่มที่ใช้ระบบเป็นตัวตัดสินในการเลือกหน่วยตัวอย่าง โดยการเลือก เฉพาะหน่วยตัวอย่างแรกเท่านั้นแล้ว กำหนดว่าหน่วยตัวอย่างที่จะเลือกต่อไปจะเว้นช่วงห่างในช่วงที่เท่าๆ กัน 1.3 การสุ่มแบบแบ่งชั้นเป็นการสุ่มโดยจัดแบ่งประชากรที่ต้องการศึกษาเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะที่ เด่นชัด โดยประชากรกลุ่มย่อยเดียวกันต้องมีคุณสมบัติ หรือลักษณะที่คล้ายกันมากที่สุด และประชากรในแต่ละ กลุ่มย่อยมีลักษณะที่แตกต่างกันมากที่สุด จากนั้นจึงสุ่มตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มย่อยตามจำนวนที่ต้องการ 1.4 การสุ่มแบบเป็นกลุ่มเป็นวิธีการคล้ายการสุ่มแบบแบ่งชั้น คือ การแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่ม ย่อย ๆ หลาย ๆ กลุ่มแต่การสุ่มแบบกลุ่มนั้น ประชากรในกลุ่มเดียวกันจะมีความหลากหลายของประชากรที่ เหมือนกันทุกกลุ่มย่อย ทำให้ไม่จำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างจากทุกกลุ่ม เพียงเลือกจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็ได้ 1.5 การสุ่มแบบหลายขั้นตอนเป็นการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างหลายวิธี ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรที่ศึกษา การสุ่มจะใช้วิธีการสุ่มตั้งแต่3 ขั้นตอนขึ้นไป
  • 50. 2. วิธีสุ่มแบบไม่อาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น(Non-probability sampling) เป็นการเลือกโดยไม่คำนึงถึงโอกาสเท่าเทียมกันของในการถูกเลือกของแต่ละหน่วยประชากร เป็น วิธีการเลือกโดยอาศัยความสะดวกสบาย ความเหมาะสมในการเลือกแบบนี้ เพราะผู้วิจัยไม่อาจทราบจำนวน ที่แน่นอนของประชากร หรือไม่สามารถประมาณขนาดของประชากรได้ชัดเจน ผลเสียของวิธีนี้คือ ไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรเหมือนแบบอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น วิธีที่พอจะทำได้คือ พยายามเลือกตัวอย่างให้ได้จำนวนมากที่สุด เท่าที่เวลา แรงงาน และงบประมาณจะทำได้ วิธีเลือกตัวอย่างที่ นิยมใช้กันทั่วไป มีดังนี้ 2.1 การเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญเป็นวิธีการเลือกที่ยึดเอาความสะดวกสบาย หรือความปลอดภัย ของผู้วิจัยเป็นหลัก โดยเลือกตัวอย่างเท่าที่จะทำได้ตามที่มีอยู่ หรือตามที่ได้รับความร่วมมือทั้งหมดได้ 2.2 การเลือกแบบเจาะจงเป็นการเลือกตัวอย่างโดยกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่ต้องการศึกษา ไว้ เมื่อพบหน่วยประชากรใดที่มีคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ก็เลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างจนครบจำนวนตาม ต้องการ 2.3 การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดจำนวนหรือบางครั้งก็นิยมเรียกว่า แบบโควต้าซึ่งก็คือการเลือก แบบบังเอิญหรือเจาะจงนั่นเอง แต่ว่าแบบกำหนดจำนวนหรือโควต้านี้ มีการกำหนดจำนวนของกลุ่ม ตัวอย่างตามที่ต้องการที่แน่นอน
  • 51. Sampling ??? 1. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการวิจัยให้ละเอียดว่าต้องการศึกษาปัญหาอะไร จากประชากรกลุ่มใด 2. นิยามคำจำกัดความของของประชากรที่ศึกษาให้ชัดเจน/ กำหนดประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง 3. กำหนดลักษณะของข้อมูลที่ต้องการรวบรวมว่า ต้องการข้อมูลด้านใดบ้าง 4. กำหนดหน่วยของตัวอย่างว่าจะใช้อะไรเป็นหน่วยในการสุ่ม เป็นเพศ ห้องเรียน ความสนใจ ฯลฯ 5. กำหนดกรอบประชากร ขั้นนี้เป็นการรวบรวมรายชื่อ หรือทำบัญชีหน่วยสมาชิกของประชากร 6. กำหนดกรอบของการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 7. กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา ที่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรได้ 8. กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่างให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล และความมุ่งหมายของการใช้ข้อมูล 9. ทำการสุ่มตัวอย่างตามวิธีการที่เลือกไว้ ขั้นตอนการสุ่มตัวอย่าง