SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 35
Downloaden Sie, um offline zu lesen
กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army)
: กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army):
กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?
ผู้เขียน
นางสาวโศภนิศ อังศุสิงห์
นักวิจัย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้ช่วยบรรณาธิการ : โศภนิศ อังศุสิงห์
อานวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ปีที่เผยแพร่: มิถุนายน 2562
www.rsu-brain.com
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
สารบัญ
ประเทศลิเบีย (Libya)......................................................................................................................1
กลุ่มติดอาวุธ (armed groups)........................................................................................................3
กองทัพแห่งชาติลิเบีย (The Libyan National Army - LNA)...........................................................7
พลเอกคาลิฟา ฮัฟตาร์: จอมพลผู้บังคับบัญชากองทัพลิเบียแห่งชาติ............................................9
กาเนิดกองทัพลิเบียแห่งชาติ.........................................................................................................11
เป้ าหมายของกองทัพลิเบียแห่งชาติ LNA.....................................................................................13
โครงสร้างของกองทัพลิเบียแห่งชาติ.............................................................................................15
การเกณฑ์กาลังพล........................................................................................................................18
บทบาทและความสาคัญของกองทัพลิเบียแห่งชาติในการเมืองภายใน ......................................19
บทบาทและความสาคัญของกองทัพลิเบียแห่งชาติในการเมืองระหว่างประเทศ........................21
บทสรุป...........................................................................................................................................27
บรรณานุกรม.................................................................................................................................29
1
กองทัพลิเบียแห่งชาติ: กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?
บทนา
ในวันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2562 พลเอกคาลิฟา ฮัฟตาร์ (Khalifa Haftar) ผู้นากองทัพลิเบีย
แห่งชาติ หรือแอลเอ็นเอ (Libyan National Army - LNA) ยกทัพจากภาคตะวันออกของลิเบียเข้าบุกประชิด
กรุงตริโปลี ที่ตั้งของรัฐบาลกลางที่ได้รับการหนุนหลังจากสหประชาชาติ ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่า “รัฐบาลของ
ข้อตกลงแห่งชาติ (Government of National Accord - GNA) และเกิดการปะทะกันอย่างดุเดือดกับกองทัพ
รัฐบาลแห่งชาติของลิเบีย การรุกโจมตีของ LNA ซึ่งสนับสนุนรัฐบาลอีกชุดที่มีฐานอยู่ที่โตบรูคสร้างความ
ประหลาดใจให้แก่สหประชาชาติเป็นอย่างมาก เนื่องจากปฏิบัติการนี้กาลังบ่อนทาลายแผนการของ
สหประชาชาติที่จะหาทางทาข้อตกลงเพื่อกาหนดระยะเวลาจัดการเลือกตั้ง ซึ่งจะคลี่คลายแก้ไขความไร้
เสถียรภาพที่ยืดเยื้อมานานในลิเบีย1
นับตั้งแต่ที่กัดดาฟีถูกโค่นล้ม ลิเบียซึ่งเป็นประเทศที่ร่ารวยทรัพยากรน้ามันกลับกลายเป็นดินแดนไร้
ขื่อแป ผลจากความวุ่นวายครั้งนั้นทาให้ลิเบียเกิดมีรัฐบาล 2 ฝ่ายที่แย่งกันปกครองประเทศนับตั้งแต่ฤดูร้อน
ค.ศ. 2014 ได้แก่ รัฐบาลของข้อตกลงแห่งชาติที่มีฐานที่มั่นที่เมืองตริโปลี และรัฐบาลอีกแห่งที่มีฐานที่มั่นที่
เมืองโตบรูคทางภาคตะวันออก การปะทุขึ้นของการสู้รบครั้งใหม่ระหว่าง LNA กับ GNA อาจนาประเทศ
ลิเบียหวนกลับไปสู่สภาพสงครามการเมืองเต็มอัตราศึกอีกครั้ง และทาให้ความพยายามของมหาอานาจและ
สหประชาชาติต้องถอยหลังกลับสู่จุดเริ่มต้น หลังเข้ามาช่วยเจรจาจนเกิดรัฐบาลแห่งชาติ แล้วนาไปสู่การ
ระงับการสู้รบระหว่างแม่ทัพนายกองของพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี (Muammar Gaddafi) ที่ถูกองค์กร
1 ผู้จัดการออนไลน์, “ศึกชิง‘เมืองหลวงลิเบีย’ทวีความดุเดือดรุนแรง อเมริกันอพยพทหารส่วนหนึ่งออกไปแล้ว,” ผู้จัดการ
ออนไลน์, 8 เมษายน 2562, https://mgronline.com/around/detail/9620000034503 (สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562).
2
สนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (The North Atlantic Treaty Organization - NATO) โค่น
ล้มไปเมื่อปี พ.ศ. 2554 จนไฟสงครามลุกลามไปทั่วประเทศ
ถึงแม้ว่าฮัฟตาร์จะมองว่าตนเองช่วยปกป้องลิเบียจากลัทธิสุดโต่งของกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ได้ แต่
ทว่าฮัฟตาร์ก็ถูกพวกที่คัดค้านเขามองว่าเป็นผู้เผด็จการคนใหม่เช่นเดียวกันกับกัดดาฟี อย่างไรก็ดี นายพล
ฮัฟตาร์เป็นผู้ที่ได้รับการหนุนหลังจากอียิปต์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมองว่าเขาสามารถเป็นป้อม
ปราการต่อต้านพวกอิสลามิสต์ในลิเบียได้
จะเห็นได้ว่า สถานการณ์วิกฤตที่กาลังเกิดขึ้นในลิเบียนั้นสับสนวุ่นวายเป็นอย่างมาก การจะ
คาดการณ์ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่กาลังเกิดขึ้นในตริโปลีจะมีทิศทางเป็นอย่างไรและจะมีผลกระทบต่อ
ทิศทางของสงครามกลางเมืองลิเบียอย่างไรนั้นเป็นเรื่องยาก ยิ่งไปกว่านั้น ท่ามกลางการต่อสู้แย่งชิงอานาจ
และดินแดนในลิเบียยังประกอบด้วยตัวแสดงที่เป็นกลุ่มติดอาวุธ และชนเผ่าในท้องที่อีกหลากหลายกลุ่มและ
ประเภทซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วลิเบีย ในการทาความเข้าใจสงครามกลางเมืองลิเบียที่ยืดเยื้อ รวมทั้ง
บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงทางการเมืองต่างๆ ในลิเบีย บทความนี้จึงมุ่งศึกษากองทัพลิเบีย
แห่งชาติของพลเอกคาลิฟา ฮัฟตาร์ในฐานะตัวแสดงทางการเมืองและการทหารที่สาคัญตัวแปรหนึ่งว่ามีที่มา
อย่างไร และมีจุดมุ่งหมายหลักคืออะไร รวมทั้งวิเคราะห์การก่อตั้งกองทัพ การเกณฑ์กาลังพล และ
ความสาคัญของกองทหารนี้ในบริบทของการเมืองในประเทศและระหว่างประเทศ
ในส่วนแรก บทความนี้จะปูพื้นความรู้เกี่ยวกับประเทศลิเบียและอธิบายจุดเริ่มต้นของสงครามกลาง
เมืองลิเบีย พร้อมทั้งให้นิยามของคาว่า “กลุ่มติดอาวุธ” ในลิเบีย ซึ่งมีหลากหลายประเภทและอาจมี
ความหมายที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จากนั้นบทความนี้จะกล่าวถึงการก่อตั้งกองทัพแห่งชาติลิเบียโดยพล
เอกคาลิฟา ฮัฟตาร์ จากนั้น บทความจะลงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างกองกาลัง การเกณฑ์ทหาร และ
ปฏิบัติการทางทหารต่างๆ ของกองทัพนี้ในช่วงสงครามกลางเมือง ตั้งแต่ ค.ศ. 2011 จนกระทั่งปัจจุบัน
จากนั้น บทความจะวิเคราะห์บทบาทและความสาคัญของกองทัพแห่งชาติลิเบียในการเมืองภายในและ
การเมืองระหว่างประเทศ ทั้งในแง่ของกรอบความมั่นคงระหว่างประเทศและในแง่ของการแทรกแซงทาง
การเมืองลิเบียโดยชาติมหาอานาจต่างๆ สุดท้าย บทความจะให้ข้อสรุปประเด็นสาคัญจากการศึกษากองทัพ
แห่งชาติลิเบียซึ่งสามารถบอกอะไรเราได้เกี่ยวกับอานาจและความสาคัญของกองทหารในการทาความเข้าใจ
สงครามกลางเมืองลิเบียที่กาลังดาเนินอยู่ได้
3
ประเทศลิเบีย (Libya)
“ลิเบีย” (Libya) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย (Socialist People's
Libyan Arab Great Jamahiriya) มีพื้นที่เกือบ 1,800,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่
ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา และประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 17 และมีเมืองหลวงชื่อ "ตริโปลี"
เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออก
เฉียงใต้ สาธารณรัฐชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มี
ชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน2
ลิเบีย ถือเป็นประเทศมีฐานะทางเศรษฐกิจดีที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกาเหนือ เศรษฐกิจของลิเบีย
ขึ้นอยู่กับภาคพลังงาน ได้แก่ น้ามัน และก๊าซธรรมชาติ เรียกได้ว่า ลิเบีย เป็น 1 ใน 10 ประเทศ ที่ผลิต
น้ามันร่ารวยที่สุดในโลก3
ด้านการปกครอง ลิเบีย อยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง เช่น เคยอยู่ภายใต้กรีก
อาณาจักรโรมัน อาณาจักรไบแซนไตน์ อาณาจักรออตโตมาน และท้ายสุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911 ลิเบีย อยู่
2 กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ, “รัฐลิเบีย,”
http://sameaf.mfa.go.th/th/country/africa/detail.php?ID=20&PAGEN_2=2#2 (สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562).
3 ที่เดียวกัน
4
ภายใต้การปกครองของประเทศอิตาลี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1949 สมัชชาใหญ่ของ
องค์การสหประชาชาติ มีข้อมติให้ ลิเบีย ได้รับเอกราชจากอิตาลี โดยกษัตริย์ Idris ซึ่งเป็นผู้นาในการต่อต้าน
การปกครองของอิตาลี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 24
ธันวาคม ค.ศ. 19514
ต่อมาวันที่ 1 กันยายน 1969 กลุ่มนายทหารนาโดย พันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ได้ก่อการรัฐประหาร
ยึดอานาจจากกษัตริย์ และขึ้นเป็นผู้นาประเทศ มีอานาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ มี
คณะกรรมการปฏิวัติ (Revolutionary Committee) และคณะมนตรีปฏิวัติ (Revolutionary Command
Council) เป็นกลไกช่วยในการกาหนดนโยบาย มีสภาประชาชน (National General People's Congress)
ทาหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ และเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิก National General People's Committee (คณะรัฐมนตรี)
ทาหน้าที่ด้านการบริหารราชการ ก่อนที่ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ประชาชนจะออกมา
ประท้วง และเดินขบวนครั้งใหญ่ทั่วประเทศเพื่อต่อต้านรัฐบาลกัดดาฟี ซึ่งปกครองแบบอานาจนิยมมา
ยาวนานกว่า 42 ปี โดยกลุ่มต่อต้านได้รวมตัวและจัดตั้งองค์กรทางการเมืองที่เรียกว่า สภาถ่ายโอนอานาจ
แห่งชาติ (National Transitional Council - NTC) ขึ้น การตอบโต้ขบวนประท้วงทั่วประเทศของรัฐบาล
กัดดาฟีด้วยความรุนแรงได้นาไปสู่สงครามกลางเมืองระหว่างกองกาลังฝ่ายกัดดาฟีกับกองกาลังฝ่ายกบฏ
วันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 2011 กองกาลังฝ่ายกบฏเข้ายึดครองกรุงตริโปลีได้อย่างเบ็ดเสร็จด้วยการสนับสนุน
จากกองกาลังรัฐสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization
– NATO) และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2011 กองกาลังของ NTC สามารถยึดเมือง Sirte ซึ่งเป็นเมืองบ้านเกิด
ของกัดดาฟีได้โดยสมบูรณ์ และได้จับกุมตัว พ.อ. กัดดาฟีในสภาพถูกยิงที่ศีรษะเสียชีวิต5
แม้รัฐบาลกัดดาฟีจะถูกโค่นล้มไป แต่ลิเบียก็ยังคงประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไม่จบสิ้น
หลังการเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 ลิเบียก็แตกออกเป็นสองฝ่าย โดยฝ่ายรัฐบาลของข้อตกลง
แห่งชาติ (Government of National Accord) ซึ่งเป็นรัฐบาลที่สหประชาชาติให้การรับรอง มีศูนย์กลางอยู่ที่
ตริโปลี ด้านฝ่ายคณะผู้แทนรัฐสภา (House of Representatives) มีฐานอยู่ที่โตบรูค แม้เวลาจะผ่านมาหลาย
ปีแล้ว รัฐบาลทั้งสองฝ่ายก็ยังคงสู้กันเพื่อแย่งชิงอานาจความชอบธรรม ต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธที่แบ่งเป็น
ฝักฝ่าย และต้านทานขบวนการรัฐอิสลามในสงครามกลางเมืองครั้งใหม่จวบจนปัจจุบัน
4 กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ, “รัฐลิเบีย.”
5 ที่เดียวกัน
5
กลุ่มติดอาวุธ (armed groups)
คาว่า กองทัพ (army) และ กลุ่มติดอาวุธ (militia) มีความหมายไม่เหมือนกันและแตกต่างกันแล้วแต่
มุมมองของชาวลิเบียแต่ละกลุ่ม ความหมายและคานิยามที่แตกต่างกันเหล่านี้เป็นผลข้อหนึ่งจากการต่อสู้
แย่งชิงอานาจทางการเมืองในลิเบียตั้งแต่ ค.ศ. 2014 วรรณกรรมในเรื่องกลุ่มติดอาวุธนี้แสดงให้เห็นว่า
นับตั้งแต่เหตุการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) กลุ่มติดอาวุธ ทั้งที่ก่อตั้งเป็นหน่วยรบทางการและไม่เป็น
ทางการต่างแพร่กระจายในทุกระดับ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับชาติ งานวิจัยส่วนใหญ่ต่าง
เห็นตรงกันว่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มติดอาวุธทั้งหลายเหล่านี้จะผันแปรไปมาระหว่างความร่วมมือกับ
ความเป็นอริต่อกัน เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงที่แตกกระจายและเต็มไปด้วยความรุนแรง6
 กลุ่มติดอาวุธในระดับท้องถิ่น (local armed groups)
6 Emilie Combaz, “Key actors, dynamics and issues of Libyan political economy,” GSDRC Helpdesk Research
Report, April 27 2014, http://gsdrc.org/docs/open/hdq1106.pdf, 11-12 (accessed April 11, 2019).
แผนภาพแสดงกลุ่มติดอาวุธในลิเบีย แหล่งข้อมูล:
https://www.ecfr.eu/mena/mapping_libya_conflict
6
งานวิจัยเรื่องกลุ่มติดอาวุธส่วนใหญ่ต่างให้ข้อสรุปว่า ในปัจจุบัน มีกลุ่มติดอาวุธระดับชุมชนที่
แตกต่างหลากหลาย ทั้งกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งกลุ่มที่มีบทบาทระดับท้องถิ่นและ
ระดับภูมิภาค โดยกลุ่มติดอาวุธระดับท้องถิ่นจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนใดชุมชนหนึ่ง โดยเฉพาะทาง
ตะวันตกของลิเบีย7
คุณลักษณะและพฤติกรรมกลุ่มของกลุ่มติดอาวุธมีอยู่สามประการ ได้แก่ ประวัติของการก่อตั้งกลุ่ม
ติดอาวุธนั้นๆ สายสัมพันธ์ของกลุ่มติดอาวุธกับชุมชน และระดับการรวมเข้ากับผู้มีอานาจท้องถิ่น
ยกตัวอย่างเช่น ทางตะวันออกของลิเบีย กลุ่มติดอาวุธและกลุ่มกบฏจากกองทัพแห่งชาติลิเบียมีการประสาน
ความร่วมมือกันและมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวเนื่องจากทั้งสองกลุ่มต่างอยู่ใต้อานาจของ
สภาถ่ายโอนอานาจแห่งชาติ (National Transitional Council - NTC) ส่วนทางตะวันตก กลุ่มติดอาวุธ
รวมกันเป็นกลุ่มก้อนนอกอานาจบังคับบัญชาของ NTC ทาให้กลุ่มเหล่านี้มีความเป็นอิสระ พึ่งพาตนเอง และ
มีสายสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่นที่ใกล้ชิดกว่ากลุ่มติดอาวุธทางตะวันออกของลิเบีย8
เป้าหมายของกลุ่มติดอาวุธนั้นแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปมาอยู่เรื่อยๆ แล้วแต่ประเภท
ของกลุ่มติดอาวุธนั้นๆ โดยประเภทของกลุ่มติดอาวุธสามารถแบ่งได้เป็น ทหาร กลุ่มการเมือง กลุ่มที่
เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย กลุ่มอุดมการณ์ กลุ่มกองกาลังทหารเสริม ซึ่งมักจะหมายถึงกลุ่ม
อาชญากรรมหรือกลุ่มแสวงประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในที่นี้ กลุ่มทหาร กลุ่มการเมือง กลุ่มรักษาความ
ปลอดภัยจะมีความชอบธรรมทางกฎหมายมากกว่า
กลุ่มติดอาวุธในลิเบียเหล่านี้มีหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างคือ การปกป้องการปฏิวัติและการ
ปกป้องชุมชนท้องถิ่น โดยกลุ่มติดอาวุธบางกลุ่มจะอยู่ในแนวร่วมเดียวกันกับกลุ่มการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มติดอาวุธระดับท้องถิ่นยังมีหน้าที่ระดับรัฐด้วย โดยเฉพาะกลุ่มติดอาวุธทางใต้ของลิเบีย
โดยกลุ่มติดอาวุธที่ขาดอาวุธและไม่ค่อยได้รับการฝึกฝนมักจะมีหน้าที่ปกป้องชายแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล
ของลิเบียมากกว่าการสู้รบ9
7 D. Wood, “Libya Conflict Assessment: Literature Review,” European Peacebuilding Liaison Office,
http://www.eplo.org/assets/files/2.%20Activities/Civil%20Society%20Dialogue%20Network/Crisis%2
0Response%20Meetings/Libya/EPLO_Literature_Review_CSDN_Meeting_Libya.pdf., 13 (accessed April 11,
2019).
8 B. McQuinn, “After the Fall: Libya's Evolving Armed Groups (Working Paper No. 12),” Geneva: Small
Arms Survey, 2012, http://www.smallarmssurvey.org/fileadmin/docs/F-Working-papers/SAS-WP12-Afterthe-Fall-
Libya.pdf, 15-17 (accessed April 11, 2019).
9 Emilie Combaz, “Key actors, dynamics and issues of Libyan political economy,” 12.
7
กองทัพแห่งชาติลิเบียเป็นกองกาลังติดอาวุธหนึ่งในบรรดากลุ่มติดอาวุธอีกหลายหลายประเภทที่
กระจัดกระจายอยู่ทั่วลิเบียหลังการโค่นล้มระบอบกัดดาฟี ค.ศ. 2011 การศึกษาการก่อตั้งกองทัพ การเกณฑ์
กาลังพล การวางโครงสร้าง และปฏิบัติการของกองทหารนี้อาจมีส่วนช่วยให้เราเข้าใจจุดมุ่งหมายของกอง
กาลังของฮัฟตาร์ ความสัมพันธ์ของกองทหารนี้กับประชาชนลิเบีย และพลวัตของสงครามกลางเมืองลิเบียที่
กาลังดาเนินอยู่ได้
กองทัพแห่งชาติลิเบีย (The Libyan National Army - LNA)
กองทัพแห่งชาติลิเบียประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทหารที่แปรพักตร์จากรัฐบาลกัดดาฟี รวมทั้งอดีต
นักรบกลุ่มกบฏจากกองทัพปลดแอกแห่งชาติ (The National Liberation Army) โดยโครงสร้างกองทัพแบ่ง
ออกเป็นกองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ กองทัพนี้ได้รับการก่อตั้งโดยสภาถ่ายโอนอานาจ
ทหารของกองกัพลิเบียแห่งชาติประจาตาแหน่งในขณะกาลังต่อสู้กับกลุ่มนักรบในเมืองคันฟู
ดาห์ ทางใต้ของลิเบีย (AFP)
8
แห่งชาติ (NTC) หลังสงครามกลางเมืองลิเบียครั้งแรก ค.ศ. 2011 เมื่อกองทัพแห่งชาติลิเบียชุดเก่าพ่ายแพ้
ต่อการลุกฮือของประชาชนลิเบีย และถูกโค่นล้มโดยการแทรกแซงทางทหารโดย NATO10
ในช่วงสงครามกลางเมืองครั้งที่สอง ซึ่งเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 2014 จนปัจจุบัน กองทัพลิเบียแห่งชาติ
จงรักภักดีต่อคณะผู้แทนรัฐสภา (the House of Representatives - HOR) หรือฝ่ายนิติบัญญัติในเมืองโตบ
รูคที่ได้รับการยอมรับในระดับระหว่างประเทศจนกระทั่งตุลาคม ค.ศ. 2015 กองทัพนี้ต่อสู้กับกลุ่ม Libya
Dawn ที่นาโดยกลุ่มอิสลามิสต์ สภาชูเราะห์ของนักปฏิวัติแห่งเบงกาซี (the Shura Council of Benghazi
Revolutionaries) รวมทั้ง ขบวนการรัฐอิสลาม (The Islamic State) ในลิเบีย ซึ่งเป็นศัตรูร่วมกันระหว่าง
LNA และ Libya Dawn11
ในตอนต้นสงครามกลางเมืองลิเบียครั้งที่สอง กองทัพดังกล่าวแตกออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งแรกเป็นกลุ่ม
ต่อต้านการก่อการร้ายของคาลิฟา ฮัฟตาร์ อีกฝั่งเป็นกลุ่มเน้นกฎหมายของนายอับดุลซาลาม อัล-โอไบดี
(Abdulsalam al-Obaidi) ซึ่งเชื่อฟังคาสั่งจากผู้มีอานาจทางการเมือง12 จากนั้น ค.ศ. 2014 นายคาลิฟา ฮัฟ
ตาร์ได้รับการยอมรับโดยสมาชิกรัฐสภาทางตะวันออกของลิเบียในฐานะผู้บัญชาการทั่วไปของกองทัพ
เนื่องจากมีประสบการณ์ทางทหารโชกโชน แต่กองทัพแห่งชาติลิเบียของฮัฟตาร์เป็นกองกาลังทหารผสม
ระหว่างกลุ่มชนเผ่าหรือกลุ่มติดอาวุธระดับภูมิภาค ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับในฐานะกองทัพอย่างเป็นทางการ
จากนายทหารจากทั้งตะวันตกและตะวันออกของลิเบีย13
นายทหารอาวุโสหลายคนปฏิเสธที่จะเข้าร่วมปฏิบัติการ Operation Dignity เพื่อต่อสู้กับกลุ่ม
อิสลามิสต์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 โดยบางคนเข้าร่วมกับกลุ่มศัตรูของนายฮัฟตาร์ ไม่ว่าจะร่วมมือ
กับกลุ่มทหารที่ประกอบด้วยกองกาลังผสมที่สลายตัวไปแล้วอย่าง Libya Dawn ทางตะวันตกของลิเบีย หรือ
ไปเข้าร่วมกับกลุ่มจิฮาดเพื่อขับไล่ IS ออกจากเมืองเดอร์น่า (Derna) ทางตะวันออกของลิเบีย14
10 “Libya's new military chief to disarm former rebels,” USAtoday, January 4, 2012,
https://usatoday30.usatoday.com/news/world/story/2012-01-04/libya-disarm-rebels/52380424/1 (accessed April 19,
2019).
11 Libya: UN evacuates refugees, postpones peace talks amid violence, Aljazeera, April 10, 2019,
https://www.aljazeera.com/news/2019/04/libya-evacuates-refugees-postpones-peace-talks-violence-
190409103500581.html (accessed April 11, 2019).
12 Yezid Sayigh, “Libya’s New Military Politics: Back to the Future?,” Carnegieendowment.org, May 29, 2014,
https://carnegieendowment.org/sada/?fa=55714 (accessed April 20, 2019).
13 Mary Fitzgerald and Mattia Toaldo, “A Quick Guide to Libya’s Main Players,” ecfr.eu,
https://www.ecfr.eu/mena/mapping_libya_conflict (accessed April 11, 2019).
14 อ้างแล้ว.
9
LNA สามารถขยับขยายอานาจควบคุมไปทั่วตอนกลางและตะวันออกของลิเบียตั้งแต่เบน จาวัด
(Ben Jawad) ไปจนสิ้นสุดชายแดนที่ติดกับอียิปต์ โดยอาศัยเครือข่ายพันธมิตรของชนเผ่าต่างๆ ในปัจจุบัน
LNA ครอบครองพื้นที่บริเวณอ่าวเซิร์ท (Sirte) โดยเริ่มตั้งแต่เมืองเซิร์ท (Sirte) ทางตะวันตกมายังเมืองซิดี
อับเดลลาติ (Sidi Abdelati) ประมาณหกสิบกิโลเมตรทางตอนเหนือของอัจดาบิยาห์ (Ajdabiya) และมี
จุดสิ้นสุดทางใต้ที่เมืองซิลลาห์ (Zillah) นอกจากนี้ LNA ยังครอบครองโซนทหารอีกสองโซน ได้แก่ โซนที่
ขยายจากทางใต้ของโซนตอนกลาง (อ่าว Sirte) ไปยังชายแดนใต้ของลิเบีย และอีกโซนทางตะวันออกที่เริ่ม
ตั้งแต่เมืองเบงกาซีไปยังเมืองโตบรูค พันเอกอับดุลราซัก นาดูริ (Colonel Abdulrazaq Nadhuri) ซึ่งเป็นผู้ว่า
การฝ่ายทหารของ LNA ได้จัดการแทนที่เจ้าหน้าที่รัฐที่มาจากการเลือกตั้งด้วยนายทหารของ LNA ทั้งหมด
เพื่อควบคุมหัวเมืองต่างๆ ทางตะวันออก ยกเว้น เมืองเดอร์น่าที่เดียวที่ตกเป็นของกองกาลังอื่นที่อยู่ในแนว
ร่วมเดียวกับ LNA เป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้ว15
พลเอกคาลิฟา ฮัฟตาร์: จอมพลผู้บังคับบัญชากองทัพลิเบียแห่งชาติ
นายพลคาลิฟา ฮัฟตาร์เกิดในปี ค.ศ. 1943 ในเมืองอัจดาบิยาห์ (Ajdabiya) ทางตะวันออกของลิเบีย
เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มนายทหารนาโดยพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟีที่ได้แย่งชิงอานาจจากกษัตริย์ไอดริสใน ค.ศ.
1969 ต่อมา กัดดาฟีมอบหมายให้นายฮัฟตาร์ควบคุมดูแลกองกาลังลิเบียที่เข้าร่วมรบในความขัดแย้งที่
15 อ้างแล้ว.
10
สาธารณรัฐชาดในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เมื่อกองทัพลิเบียพ่ายแพ้ต่อกองกาลังชาดที่ได้รับการสนับสนุน
จากฝรั่งเศส นายฮัฟตาร์ก็หมดสิ้นอานาจ และถูกทหารชาดจับตัวเป็นเชลยศึกใน ค.ศ. 198716
กัดดาฟีตัดสินใจตัดขาดความสัมพันธ์กับฮัฟตาร์เมื่อเขาออกนโยบายห้ามไม่ให้มีกองทหารลิเบียอยู่
ในประเทศ เหตุการณ์นี้ผลักดันให้ฮัฟตาร์ทุ่มเทเวลากว่าสองทศวรรษเพื่อล้มล้างอานาจของผู้นาลิเบีย โดย
เขาตัดสินใจย้ายไปอาศัยอยู่รัฐเวอร์จิเนียในสหรัฐอเมริกาจนได้สัญชาติอเมริกัน หลังการลุกฮือต่อต้านกัด
ดาฟีเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 2011 ฮัฟตาร์กลับมาลิเบียเพื่อเข้าร่วมสงครามกลางเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจาก
NATO แล้วกลายเป็นผู้บัญชาการกองกาลังกบฏทางตะวันออก17
หลังจากที่กัดดาฟีถูกโค่นล้มอานาจลง ฮัฟตาร์ก็ค่อยๆ หายตัวไปจนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.
2014 โดยเขาได้ร่างแผนกอบกู้ประเทศชาติและเรียกร้องให้ประชาชนลิเบียลุกขึ้นต่อต้านรัฐสภาที่มาจากการ
เลือกตั้งในขณะนั้น นั่นคือ รัฐบาลคองเกรสแห่งชาติ (General National Congress) เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้
ล้มเหลวในการป้องกันการก่อตัวขึ้นของกลุ่มกบฏและไม่สามารถต่อสู้กับนักรบอิสลามิสต์18
การประกาศของฮัฟตาร์เกิดขึ้นในช่วงที่เมืองเบงกาซีและเมืองอื่นๆ ทางตะวันออกถูกกลุ่มติดอาวุธ
อิสลามิสต์สาขาย่อยของอัลกออิดะห์ที่ชื่อกลุ่มอันซาร์ อัล-ชารีอะห์ (Ansar al-Sharia) และกลุ่มอิสลามิสต์
อื่นๆ ยึดครองพร้อมปฏิบัติการลอบฆ่าและวางระเบิดทหาร ตารวจ และข้าราชการอื่นๆ ถึงแม้ว่าฮัฟตาร์จะ
ไม่มีกาลังทรัพย์เพียงพอที่จะดาเนินการตามแผนที่วางไว้ แต่คาประกาศของเขาสะท้อนให้เห็นความคิด
ความรู้สึกของประชาชนลิเบีย โดยเฉพาะในเมืองเบงกาซี ที่ต่างผิดหวังกับความล้มเหลวของรัฐบาลคองเก
รสแห่งชาติในการต่อสู้กับกลุ่มอิสลามิสต์19
16 “Khalifa Haftar: Libya's military strongman,” BBC, April 8, 2019, https://www.bbc.com/news/world-africa-
27492354 (accessed April 11, 2019).
17 อ้างแล้ว.
18 อ้างแล้ว.
19 อ้างแล้ว.
11
กาเนิดกองทัพลิเบียแห่งชาติ
กลยุทธ์ของฮัฟตาร์ในการจัดตั้งกองกาลังคือการจัดการประชุมศาลากลางหลายๆ ครั้งทั่วลิเบีย เพื่อ
เรียกร้องการสนับสนุนจากประชาชนลิเบีย โดยผลลัพธ์ก็คือมีอดีตนายทหารจากกองทัพลิเบียหลายนายให้
การสนับสนุนในการจัดตั้งกองทัพขึ้น สามเดือนต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 ฮัฟตาร์เริ่มปฏิบัติการ
Operation Dignity เพื่อต่อสู้กับนักรบอิสลามิสต์ในเบงกาซีและเมืองอื่นๆ ทางตะวันออก โดยเขาได้บุกโจมตี
กลุ่มนักรบเหล่านี้ทั้งทางอากาศและทางบกในเมืองเบงกาซี รวมทั้งโจมตีรัฐสภาลิเบียด้วยอาวุธหนักอย่าง
ต่อเนื่อง20
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 รัฐสภาลิเบียอันประกอบด้วยคณะผู้แทนรัฐสภา (the House of
Representatives - HOR) ที่มาแทนที่รัฐบาลคองเกรสแห่งชาติได้แต่งตั้งให้ฮัฟตาร์เป็นผู้บัญชาการกองทัพ
ลิเบียแห่งชาติของรัฐบาลที่มีฐานอยู่ที่โตบรูค นอกจากนี้ คณะผู้แทนรัฐสภายังเลื่อนตาแหน่งของฮัฟตาร์จาก
พลโทเป็นจอมพลหลังจากที่เขาสามารถรักษาสถานีน้ามันที่รู้จักกันในชื่อ Oil Crescent ไว้ได้21
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 LNA สามารถขับไล่กลุ่มนักรบอิสลามิสต์ออกจากเบงกาซีได้สาเร็จ
จากนั้นตอนกลางเดือนเมษายน กองกาลัง LNA สามารถขับไล่นักรบอิสลามิสต์จากฐานที่มั่นนอกเบงกาซี
และเมืองเดอร์น่าได้เพิ่มเติม ศักยภาพในการรบของ LNA ดูเหมือนว่าจะเดิมพันบนกลุ่มกองกาลังในพื้นที่
ตริโปลี โดยกองกาลัง LNA ได้พยายามเรียกร้องให้กองทหารเหล่านี้ออกมาสนับสนุนปฏิบัติการล่าสุดในการ
20 “Why is Khalifa Haftar the "biggest single obstacle to peace in Libya?,” Newsweek, 22 July 2016 (accessed
April 11, 2019).
21 Khalifa Haftar: Libya's military strongman,” BBC.
12
แย่งชิงเมืองหลวง แต่กลุ่มกองกาลังทหารย่อยเหล่านี้ต่างเป็นพันธมิตรของรัฐบาลของข้อตกลงแห่งชาติ
(Government of National Accord - GNA) และได้ทาปฏิบัติการต่อต้าน LNA หลังคาประกาศของฮัฟตาร์22
ตั้งแต่สิงหาคม ค.ศ. 2016 ฮัฟตาร์ปฏิเสธที่จะสนับสนุนรัฐบาลของข้อตกลงแห่งชาติที่สหประชาชาติ
ให้การรับรอง การกระทาดังกล่าวทาให้สหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตรเชื่อว่าฮัฟตาร์เป็นภัยคุกคาม
เสถียรภาพของลิเบีย นางอลิสัน พาร์กีเทอร์ (Alison Pargeter) ผู้เชี่ยวชาญประเทศลิเบียและนักวิจัยอาวุโส
จากสถาบัน Royal United Services บ่งชี้ว่าฮัฟตาร์อาจเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดหนึ่งเดียวในการสร้าง
สันติภาพของลิเบียเนื่องจากเขากลัวว่าการร่วมมือกับ GNA อาจทาให้เขาสูญเสียอิทธิพลของตนเองทาง
ตะวันออกของลิเบีย23
หลังปฏิบัติการสู้รบเป็นเวลาสามปี ต้นเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 ฮัฟตาร์ประกาศทางโทรทัศน์ว่า
กองกาลังของเขาสามารถยึดครองเมืองเบงกาซีจากสภาชูเราะห์ของนักปฏิวัติแห่งเบงกาซี และ IS ได้สาเร็จ
แต่การสู้รบยังคงดาเนินอยู่ในบางพื้นที่ ในเวลาเดียวกัน มีวิดีโอที่ได้รับการเผยแพร่ออนไลน์ที่แสดงให้เห็น
ว่ากองกาลังของฮัฟตาร์กาลังสังหารนักรบ IS 20 ราย โดยนายอีริค โกลด์สไตน์ (Eric Goldstein) รอง
ผู้อานวยการแห่ง Human Rights Watch วิเคราะห์ว่า การสังหารดังกล่าวแสดงให้เห็นการที่สมาชิก LNA ใช้
อานาจบังคับใช้กฎหมายตามอาเภอใจโดยปราศจากความรับผิดชอบและหลักนิติธรรม24
พลเอกคาลิฟา ฮัฟตาร์ ผู้บัญชาการกองทัพลิเบียแห่งชาติประกาศในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2017
ว่าข้อตกลงทางการเมืองของลิเบียที่ลงนามกันในเมืองสคิราท (Skhirat) ที่โมร็อกโกใน ค.ศ. 2015 ได้สิ้นสุด
ลงแล้ว แล้วเขากล่าวว่าเขาจะไม่ยอมรับคาตัดสินใจใดๆ จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงดังกล่าว
ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 ฮัฟตาร์กล่าวว่า “สถาบันทหารจะไม่ยอมจานนต่อกลุ่มการเมือง
ใดนอกเสียจากว่ากลุ่มนั้นได้รับความชอบธรรมจากประชาชนชาวลิเบีย LNA มีกาลังพลทั้งหมด 75,000 คน
และสามารถครอบครองพื้นที่ประเทศได้ถึง 90% โดยครอบคลุมทางใต้ที่ติดกับชายแดนอียิปต์และตูนิเซีย”
ต้นปี ค.ศ. 2019 LNA สามารถเคลื่อนกาลังพลเข้าควบคุมพื้นที่สองในสามของลิเบียโดยมีเป้าหมายสูงสุดที่
22 อ้างแล้ว.
23 "Why is Khalifa Haftar the "biggest single obstacle to peace in Libya"?". Newsweek.
24 Darius Shahtahmasebi, US & NATO will always share blame for Libya’s re-descent into chaos, rt.com, April 9,
2019, https://www.rt.com/op-ed/455997-libya-nato-escalation-us/ (accessed April 11, 2019).
13
จะยึดครองกรุงตริโปลี โดยกองกาลังของเขาสามารถรุกเข้าครอบครองบ่อน้ามันทางใต้ ศูนย์ประชากรที่
สาคัญหลายศูนย์ และสามารถห้อมล้อมกรุงตริโปลีทางชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้25
เป้ าหมายของกองทัพลิเบียแห่งชาติ LNA
การบุกโจมตีของกองทหาร LNA ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเพื่อที่จะกาจัดกลุ่ม
ผู้ก่อการร้าย IS และกลุ่มอาชญากรทางภาคใต้ให้สิ้นซาก ฮัฟตาร์มองว่าเขาเป็นผู้ปกป้องประเทศชาติที่
ดาเนินนโยบายด้านความมั่นคงเชิงรุก โดยให้คามั่นว่า LNA จะกวาดล้างกลุ่มก่อการร้ายก่อนที่กลุ่มนักรบ
เหล่านี้จะรุกเข้าโจมตีตริโปลีจากทางใต้และตะวันตก แต่คู่ต่อสู้ของฮัฟตาร์ต่างเกรงกลัวว่าฮัฟตาร์กาลัง
พยายามจะทาให้ลิเบียหวนคืนสู่การปกครองแบบเผด็จการเหมือนกับการปกครองของกัดดาฟีหรือ
ประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตอห์ เอล-ซิซีของอียิปต์26
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ฮัฟตาร์ประกาศสงครามกับกลุ่มอิสลามิสต์ เขากลับได้รับการสนับสนุนจาก
กลุ่มอนุรักษ์นิยมซาลาฟิสต์ในลิเบีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปฏิบัติตนตามหลักอิสลามสุดโต่งและบังคับใช้ศาสนา
อิสลามอย่างเคร่งครัดในพื้นที่ที่อยู่ใต้อานาจของกลุ่มเหล่านี้27
25 “Libyan National Army,” Globalsecurity.org, https://www.globalsecurity.org/military/world/para/lna.htm (accessed
April 11, 2019).
26 อ้างแล้ว.
27 อ้างแล้ว.
14
นักวิเคราะห์บางคนมองว่า การรุกคืบของกองทหารของฮัฟตาร์เป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง
ทิศทางของสถานการณ์ทางการเมืองก่อนที่สหประชาชาติจะวางแผนจัดประชุมระดับชาติในวันที่ 14
เมษายน เพื่ออภิปรายแนวทางการรวมชาติลิเบียให้เป็นเอกภาพและกาหนดระยะเวลาจัดการเลือกตั้ง
ทั่วไป28แต่การกระทาของฮัฟตาร์อาจมีแรงจูงใจมาจากสภาพการเงินด้วยเช่นกัน พื้นที่แถบลิเบียตะวันออก
กาลังประสบวิกฤตการเงินเนื่องจากทุนสารองระหว่างประเทศอยู่ในสภาวะตกต่ามาก ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
กองทหารของฮัฟตาร์เป็นการรวมตัวของกลุ่มที่เข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารเพื่อแสวงผลประโยชน์ของ
ตนเอง ดังนั้น ฮัฟตาร์จึงต้องหล่อเลี้ยงกองกาลังของเขาด้วยเงินทุนมหาศาลเพื่อให้กองทัพของเขาสามารถ
ดาเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น29
ชัยชนะทางทหารล่าสุดของฮัฟตาร์แสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานทางการเมืองและการทหารที่
เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความตั้งใจที่จะควบคุมพื้นที่สาคัญทางยุทธศาสตร์ทางตะวันออกของลิเบีย
นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่าฮัฟตาร์จงใจที่จะชักจูงให้กองทหารของเขาต่อสู้กับกลุ่มทหารหลากหลายกลุ่มโดย
กล่าวอ้างว่ากองทหารทั้งหมดนั้นเป็นนักรบอิสลามิสต์เพื่อที่เขาจะได้กระชับบทบาททางการเมืองของเขาให้
แข็งแกร่งผ่านการเป็นผู้นาทางทหาร30
อย่างไรก็ตาม มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนต่างตั้งคาถามว่า LNA จะสามารถควบคุมพื้นที่อาณาเขตของ
ประเทศได้ทั้งหมดหรือไม่ หรือฮัฟตาร์จะยอมให้นายทหารหรือผู้นาทางการเมืองคนใหม่นอกเหนือจากตัว
เขาเองขึ้นมาเป็นผู้นากองทัพหรือรัฐบาลได้หรือเปล่าหากว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในการเลือกตั้งทั่วไปครั้ง
ต่อไป31 ผู้เชี่ยวชาญประเทศลิเบีย นายเฟรเดริก เวห์รี (Frederic Wehrey) กล่าวว่า ความขัดแย้งในลิเบีย
ปัจจุบันนี้คือการต่อสู้เพื่อแย่งชิงดินแดนที่เหลืออยู่ของลิเบีย การต่อสู้ทางอุดมการณ์ถือได้ว่าจบไปนานแล้ว
เหลือแต่เพียงการต่อสู้ช่วงชิงอานาจทางเศรษฐกิจและการเมืองที่กาลังดาเนินอยู่อย่างไม่จบสิ้น32
28 “Libya: UN evacuates refugees, postpones peace talks amid violence,” Aljazeera, April 10, 2019,
https://www.aljazeera.com/news/2019/04/libya-evacuates-refugees-postpones-peace-talks-violence-
190409103500581.html (accessed April 11, 2019).
29 “Libyan National Army,” Globalsecurity.org.
30 Ayman Al-Warfalli, “Libya's eastern commander declares victory in battle for Benghazi,” Reuters, 5 July 2017;
"Libya strongman declares Benghazi victory," BBC News, 6 July 2017.
31 “After conquering Benghazi, what will Libya's new strongman do next?” The Economist (accessed April 11,
2019).
32 “Libyan National Army,” Globalsecurity.org.
15
โครงสร้างของกองทัพลิเบียแห่งชาติ
 กองพลหลักของกองทัพลิเบียแห่งชาติ
LNA ได้รับการสนับสนุนจากกองทหารหลายหน่วยที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ รวมถึงกองทหารเสริม
และกองรบพิเศษ al-Saiqa (Lightning) ซึ่งประกอบด้วยนายทหาร 3500 คน นอกจากนี้ นักวิเคราะห์หลาย
คนกล่าวว่าฮัฟตาร์ได้จัดสรรกาลังพลโดยเลือกเกณฑ์นักรบสายซาลาฟิสต์และชาวเผ่าของลิเบีย รวมทั้ง
ทหารรับข้างชาวชาดและซูดานจากชายแดนใต้ด้วย โดยเฉพาะกลุ่มกบฏจากดาร์ฟูที่เรียกว่า ขบวนการเพื่อ
ความยุติธรรมและความเสมอภาค (The Justice and Equality Movement - JEM)33
LNA กล่าวว่ากองกาลังของตนมีพลทหารทั้งหมด 85,000 นาย แต่จานวนนี้หมายรวมถึงทหารที่
ได้รับการว่าจ้างโดยรัฐบาลกลางที่หวังจะสืบทอดอานาจต่อไปด้วย สมาชิกหลักส่วนใหญ่ของ LNA เคยเป็น
กบฏที่ตัดสินใจเข้าร่วมกองทัพลิเบียแห่งชาติภายใต้กลุ่มอานาจถ่ายโอนที่มีฐานที่มั่นทางตะวันออกของ
ประเทศ กองกาลังทหารราบของนายพลคาลิฟา ฮัฟตาร์ประกอบด้วยหน่วยทหารหลายสิบกว่าหน่วย ได้แก่
กองพลน้อยทหารราบยานเกราะสองกอง กองพลน้อยรถถังหนึ่งกอง กองพลน้อยปืนใหญ่สามกอง กองพล
น้อยปฏิบัติการพิเศษหนึ่งกอง กองกาลังต้านทาน “ราดา” สองกอง ที่ประกอบด้วยกองพลน้อยอีกหลายกอง
33 Arnaud Delalande, “Forces on the Libyan ground: Who is Who,” Ispionline.it, May 28, 2018,
https://www.ispionline.it/it/pubblicazione/forces-libyan-ground-who-who-20640 (accessed April 11, 2019).
16
และหน่วยทหารอีกเป็นร้อยๆ หน่วย รวมทั้งกองพลน้อยทหารราบ กองพลทหารราบเบา หน่วยป้องกัน
ชายแดน และกองกาลังความมั่นคง โดยรวมแล้วมีทหารทั้งหมดประมาณ 7000 คน34
 กองทหารเสริมของกองทัพลิเบียแห่งชาติ
นายพลฮัฟตาร์ยังอาศัยทหารจากกองกาลังเสริมอีก 12,000 นาย ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรบซูดาน
จากดาร์ฟู และกองทหารชาด การเคลื่อนกาลังพลของกองทัพปลดปล่อยซูดาน (Sudan Liberation
Army/Minni Minawi - ALS/MM) เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 ในเมือง Ubari al-Waw และ al-Wig
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 กลุ่มกองกาลังนี้มีอานาจอิสระปกครองตนเองและมีบทบาทสาคัญในการยึดครอง
และปกป้องบ่อน้ามันของ LNA นอกจากนี้ กองทัพปลดปล่อยซูดานยังส่งทหารกว่า 1500 คนเพื่อร่วมรบกับ
LNA ในกลางเดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 อีกด้วย ส่วนกองทหารชาด Rassemblement des Forces pour le
Changement (RFC) เริ่มปฏิบัติการทางตะวันออกเฉียงใต้ของลิเบียปลายปี ค.ศ. 2015 โดยกลุ่มนี้เคลื่อน
กาลังพลบริเวณบ่อน้ามันเพื่อปฏิบัติการเคียงข้างกับ LNA ยิ่งไปกว่านั้น LNA ยังอาศัยสมาชิกของชนเผ่า
Al-Furjan ประมาณ 500 คน รวมไปถึงยามรักษาความปลอดภัยของบ่อน้ามันที่ไม่ทราบจานวนแน่ชัดอีก
มาก35
34 อ้างแล้ว.
35 อ้างแล้ว.
ทหารรับจ้างชาวซูดานในกองทัพ
ลิเบียแห่งชาติ
17
นอกจากนี้ กองกาลังจากเมืองซินตาน (Zintan) ทางตะวันตกมีบทบาทสาคัญในช่วงสงครามกลาง
เมือง ค.ศ. 2011 โดยกองกาลังนี้เคลื่อนพลเข้าเมืองตริโปลีและเขตทางใต้อย่างเฟซซาน (Fezzan) หลังจาก
ที่ถูกขับไล่ออกจากทั้งสองพื้นที่ในปี ค.ศ. 2014 กองกาลังนี้ได้รับการฝึกฝนอย่างดีและมีอาวุธยุทโธปกรณ์
ครบครัน กองกาลังนี้มีทหารทั้งหมด 2500 นาย และควบคุมฐานทัพอากาศเก่าของกัดดาฟีในเขาอัล-วาติญา
(Al Watiya) โดยชาวซินตานมักจับกลุ่มอยู่แถบภูเขานาฟูซาห์ (Nafusah) และที่ราบชายฝั่งจาฟาราห์
(Jafarah) เป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้กลุ่มซินตานจะเป็นส่วนหนึ่งของ LNA พวกเขาต่างมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด
กับนายพลฮัฟตาร์มาตั้งแต่ ค.ศ. 2012 แล้ว ทั้งนี้ สภากลาโหมซินตาน (The Zintan Military Council) ไม่ใช่
ทั้งศัตรูหรือพันธมิตรหลักของฮัฟตาร์ แต่ได้รับผลประโยชน์จากเครือข่ายของ LNA ในการได้จัดซื้อสรรพาวุธ
ต่างๆ36
 กลุ่มชนเผ่าติดอาวุธที่เข้าร่วมกับกองทัพลิเบียแห่งชาติ
ภายหลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 2011 กลุ่มชนเผ่าเอาลัด ซุลัยมาน (Awlad Sulayman) แสวงประโยชน์
จากความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอานาจของชนเผ่าเพื่อยึดครองหน่วยความมั่นคงและกิจการด้าน
การจราจรระดับภูมิภาคของเซบฮา (Sebha) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 นายอาหมัด อัล-อูเตบี
(Ahmad al-Utaybi) ต่อต้านการรวมกองพลน้อยที่ 6 ที่เขาบัญชาการอยู่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ LNA โดยเขา
แถลงว่าจะจงรักภักดีต่อกระทรวงกลาโหมแห่งรัฐบาลของตริโปลีแต่ผู้เดียว แต่สองสามวันต่อมา เขาถูก
แทนที่โดยนายพลจัตวาของ LNA คือ นายคาลิฟา อับดุลฮาฟิธ คาลิฟา (Khalifa Abdulhafith Khalifa)37
 กองทัพอากาศของกองทัพลิเบียแห่งชาติ
LNA มีเครื่องบินทิ้งระเบิดอยู่ 27 ลา เฮลิคอปเตอร์ทหารที่ติดอาวุธ Mi-24/35 7 ลา เฮลิคอปเตอร์
ลาเลียงหลายชนิด 14 ลา และโกดังลาเลียงสินค้าอีกสองสามตัว น้อยกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเครื่องบินและ
เฮลิคอปเตอร์ของอดีตกองทัพอากาศแห่งชาติลิเบีย (Libyan Arab Air Force - LAAF) โดยเครื่องบินส่วน
ใหญ่ได้รับมาจากอียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 2015
36 Arnaud Delalande, “Forces on the Libyan ground: Who is Who.”
37 อ้างแล้ว.
18
นอกจากนี้ นายพลฮัฟตาร์ยังได้รับการสนับสนุนเชิงเทคนิคจากรัสเซียด้วยการได้รับชิ้นส่วนอะไหล่สารอง
ของ MiG-23 ที่ฐานทัพอากาศ al-Abraq รวมทั้งได้รับชิ้นส่วนอะไหล่ของ MiG-23 จากซูดานในเวลา
เดียวกันอีกด้วย38
การเกณฑ์กาลังพล
แม้กระนั้นก็ตาม กองทัพลิเบียแห่งชาติถือว่าไร้ศักยภาพเนื่องจากขาดระบบการเกณฑ์ทหารที่เป็น
ระเบียบชัดเจน ขาดทหารที่มีประสบการณ์ และขาดแคลนอุปกรณ์การสู้รบ LNA เป็นกลุ่มของกองกาลัง
ทหารเสริมที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบกของลิเบียมาก่อน มีรายงานเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2011 ว่า LNA
จะผนึกอดีตนักรบกลุ่มกบฏกว่า 50,000 คนเข้ากับ LNA และกองกาลังตารวจ โดยนักรบเหล่านี้จะได้รับการ
ฝึกทหารจากกองทัพฝรั่งเศส ทั้งนี้ เป้าหมายระยะยาวคือการรวมนักรบประมาณ 200,000 คนจากกองพล
ต่างๆ ที่ต่อต้านกัดดาฟีช่วงสงครามกลางเมืองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพแห่งชาติลิเบียในที่สุด39
อย่างไรก็ตาม การก่อตั้งกองทัพชุดใหม่ประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น การสร้างฐานทัพใหม่
ที่ถูกทาลายช่วงสงคราม รวมทั้งการปลดอาวุธจากกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพแห่งชาติชุด
ใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น กองทหารแต่ละกองที่ยอมเข้าร่วมกับ LNA ต่างมีจุดมุ่งหมายและความต้องการของ
38 Arnaud Delalande, “Forces on the Libyan ground: Who is Who.”
39 “Libya to integrate 50,000 anti kadhafi fighters,” France24.com, December 1, 2011 (accessed April 19, 2019).
19
ตนเอง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่กองทหารภายใต้ LNA จะสู้รบกันเองด้วยเหตุผลหลากหลายประการ เช่น การถือ
ครองที่ดิน การจับกุมสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การลักลอบสินค้า เป็นต้น ข้อมูลล่าสุดจากนาย Arnaud
Delalande นักวิเคราะห์ด้านการทหารและความมั่นคงจากองค์กร International Society for Performance
Improvement ระบุว่า LNA ประกอบด้วยนักรบจานวน 25,000 คน ในปี ค.ศ. 2018 ถึงแม้ LNA จะยังไม่ใช่
กองทัพที่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกันหรือแข็งแกร่งพอจะปกป้องชายแดนอันกว้างใหญ่ของลิเบียได้ แต่ก็ปฏิเสธ
ไม่ได้ว่า LNA เป็นตัวแสดงทางการเมืองและการทหารที่สาคัญอย่างมากต่อพลวัตการเมืองภายในของ
ลิเบีย40
บทบาทและความสาคัญของกองทัพลิเบียแห่งชาติในการเมืองภายใน
ตั้งแต่ผู้นาลิเบียมูอัมมาร์ กัดดาฟีถูกกองกาลัง NATO โค่นล้มใน ค.ศ. 2011 ประเทศที่ร่ารวยน้ามัน
อย่างลิเบียก็ตกอยู่ในความขัดแย้งวุ่นวาย และมีรัฐบาลปกครองประเทศอยู่สองชุด ได้แก่ รัฐบาลของ
ข้อตกลงแห่งชาติที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติและมีฐานที่มั่นที่เมืองตริโปลี นาโดยนายกรัฐมนตรีฟา
เยซ อัล-ซาร์รัจ และรัฐบาลลิเบียตะวันออกที่มีฐานที่มั่นที่เมืองโตบรูค โดยนายฮัฟตาร์ปฏิเสธที่จะยอมรับ
ความชอบธรรมของรัฐบาลลิเบียแห่งชาติ และจัดตั้งกองกาลังของตนเองซึ่งสนับสนุนรัฐบาลลิเบียตะวันออก
40 Arnaud Delalande, “Forces on the Libyan ground: Who is Who.”
ชาวลิเบียชูภาพพลเอก คาลิฟา ฮัฟตาร์ระหว่างการ
เดินขบวนเพื่อสนับสนุน
ปฏิบัติการของฮัฟตาร์เพื่อต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ที่
เมืองเบงกาซี
20
ความสาเร็จของฮัฟตาร์ในปฏิบัติการแห่งศักดิ์ศรี (Operation Dignity) เพื่อชิงเมืองเบงกาซีคืนจาก
กลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ทาให้นายทหาร นักการเมือง กลุ่มประชาสังคม กองทหารเสริม รวมทั้งประชาชน
ชาวลิเบียหลายกลุ่มมองว่าฮัฟตาร์อาจเป็นผู้นาทหารที่แข็งแกร่งผู้สามารถชี้นาให้ลิเบียกลับคืนสู่ความสงบ
สุขได้ เหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดคือ ตลอดเดือนพฤษภาคมและกรกฎาคม ค.ศ. 2014 ประชาชนลิเบียจานวน
มากเข้าร่วมเดินขบวนที่กรุงตริโปลี เบงกาซีและเมืองอื่นๆ ทั่วลิเบียเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการ Dignity ของฮัฟ
ตาร์ นอกจากนี้ ชาวลิเบียต่างเรียกร้องให้มีการจัดตั้งกองทัพและตารวจแห่งชาติขึ้นแทนที่กองทหารย่อยที่
แบ่งพรรคแบ่งพวกกันและเชื่อฟังแต่ผู้นาของตนเองเท่านั้น41
ดังนั้น ฮัฟตาร์จึงได้รับความนิยมจากชาวลิเบียที่ไม่พอใจรัฐบาลกลางที่ไม่สามารถยุติความขัดแย้ง
และการฆ่าฟันกันในเมืองเบงกาซีได้ อาจกล่าวได้ว่า กองทัพลิเบียแห่งชาติของฮัฟตาร์เป็นกองกาลังเดียวที่
มีศักยภาพเปรียบเสมือนกองทัพแห่งชาติลิเบียที่จะนามาซึ่งศักดิ์ศรีและความสงบสุขแก่ลิเบีย ถึงแม้ว่า
ความชอบธรรมทางการเมืองอยู่ในมือของรัฐบาลที่กรุงตริโปลี แต่ความชอบธรรมทางทหารอยู่ในมือของนาย
พลฮัฟตาร์ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนมองว่ารัฐบาลภายใต้ฮัฟตาร์อาจไม่สามารถสร้างเสถียรภาพ
ให้แก่ลิเบียได้ นายจูส ฮิลเตอร์แมนน์ (Joost Hiltermann) จากสถาบัน Crisis Group วิเคราะห์ว่า นายฮัฟ
ตาร์ไม่ได้เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนชาวลิเบียในหลายพื้นที่ และการที่ลิเบียยังมีความแตกแยก และยังมี
กลุ่มติดอาวุธกระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกหนแห่งเช่นนี้ ฮัฟตาร์ก็จะประสบความยากลาบากอย่างมากในการ
ปกครองลิเบียให้สงบสุข42
การบุกโจมตีกรุงตริโปลีของกองทัพของฮัฟตาร์ล่าสุดอาจทาให้สงครามกลางเมืองในลิเบียทวีความ
รุนแรงมากยิ่งขึ้น Human Rights Watch กล่าวว่า นักรบจากกองทัพลิเบียแห่งชาติทาการโจมตีพลเรือน
อย่างไม่เลือกหน้า สังหาร จับกุม และกักขังนักรบตามอาเภอใจ นอกจากนี้ แผนการของสหประชาชาติที่จะ
จัดการประชุมเพื่ออภิปรายเรื่องกรอบรัฐธรรมนูญเพื่อจัดการเลือกตั้งในวันที่ 14 เมษายนก็ต้องถูกเลื่อนไป
อย่างไม่มีกาหนดเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งนี้43 จะเห็นได้ว่า จุดยืนของฮัฟตาร์และปฏิบัติการ
ทางทหารของกองทัพลิเบียแห่งชาติจึงไม่เพียงเป็นตัวแสดงหนึ่งของสงครามกลางเมืองในลิเบียเท่านั้น แต่
ยังเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของลิเบียในปัจจุบัน
41 Sharif Abdel Kouddous, “Thousands march for ‘dignity and reforms,” Gulfnews.com, May 24, 2014,
https://gulfnews.com/world/mena/thousands-march-for-dignity-and-reforms-1.1337771 (accessed April 19, 2019).
42 Joseph Hincks, “Libya Is on the Brink of Civil War and a U.S. Citizen Is Responsible. Here's What to Know,”
Time.com, April 9, 2019, http://time.com/5566575/libya-tripoli-khalifa-haftar-gadddafi (accessed April 11, 2019).
43 อ้างแล้ว.
21
บทบาทและความสาคัญของกองทัพลิเบียแห่งชาติในการเมืองระหว่างประเทศ
มีมหาอานาจจานวนน้อยมากที่ประกาศตนว่าสนับสนุนนายพลฮัฟตาร์อย่างเป็นทางการ มหาอานาจ
ทั้งหมดให้การยอมรับรัฐบาลของข้อตกลงแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีฟาเยซ อัล-ซาร์รัจที่สหประชาชาติให้
การสนับสนุน ทั้งนี้ ประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ลังเลที่จะให้ฮัฟตาร์มีบทบาททางการเมืองใดๆ เว้นเสียแต่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมภายใต้รัฐบาลของอัล-ซาร์รัจ แต่ชัยชนะของกองทัพลิเบียแห่งชาติของเขา
ในการยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศทาให้แนวคิดนี้ดูจะเป็นไปได้ยากขึ้น44
จากการประเมินสถานการณ์ในลิเบียโดยรัฐบาลอังกฤษ ประเทศในตะวันออกกลางที่ให้การ
สนับสนุนฮัฟตาร์ในด้านการทหาร งบประมาณ และอานาจทางการเมืองมากที่สุด ได้แก่ อียิปต์ และสหรัฐ
อาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งต่างต้องการยับยั้งอิทธิพลของกลุ่มญิฮาดและกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในลิเบีย45 รัฐบาล
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เคยทาหน้าที่ผลักดันกระบวนการสันติภาพในลิเบียโดยให้นายอัล-ซาร์รัจและฮัฟตาร์
เข้าร่วมเจรจา แต่กลับกีดกันกลุ่มที่ต่อต้านฮัฟตาร์ออกไป การกระทาดังกล่าวจึงสะท้อนให้เห็นว่า สหรัฐ
44 Joseph Hincks, “Libya Is on the Brink of Civil War and a U.S. Citizen Is Responsible.
45 Patrick Wintour, “Libya crisis: UK officials anxious as blame is laid at doors of Gulf allies,” April 9, 2019,
https://www.theguardian.com/world/2019/apr/09/libya-crisis-anxiety-uk-blame-laid-doors-gulf-allies (accessed April
11, 2019).
ประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตาห์ อัลซิซีของอียิปต์
และหัวหน้าฝ่ายข่าวกรอง นายอับบาส คาเมล
พบกับนายพลคาลิฟา ฮัฟตาร์ที่กรุงไคโร อียิปต์ (AFP)
22
อาหรับเอมิเรตส์ยอมรับเขาในฐานะรัฐบุรุษที่มีความชอบธรรมทางการเมือง นอกจากนี้ สหรัฐอาหรับเอ
มิเรตส์ยังสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในลิเบียในปี 2018 ซึ่งถือเป็นการหลีกเลี่ยงการเจรจาสันติภาพ
โดยตรงในทางอ้อมเนื่องจากฝักฝ่ายต่างๆ ในลิเบียต่างมองว่าการเลือกตั้งจะช่วยคลี่คลายความขัดแย้งต่างๆ
ในลิเบียได้ในที่สุด46
ซาอุดีอาระเบียก็ให้การสนับสนุนกองทัพลิเบียแห่งชาติเช่นเดียวกัน โดยก่อนที่นายพลฮัฟตาร์จะยก
กองทัพเพื่อตีเมืองหลวงตริโปลี เขาได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ซัลมาน (Salman bin Abdulaziz Al Saud) และ
มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน (Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) ที่ซาอุดีอาระเบีย
การเยี่ยมเยือนครั้งประวัติศาสตร์นี้นับเป็นครั้งแรกที่ผู้นาลิเบียและกษัตริย์ซาอุดีฯ พบกันตั้งแต่ยุคสมัยของ
กษัตริย์ไอดริสในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 และ 1960 เนื่องจากกษัตริย์ซัลมานยึดมั่นที่จะรักษาเสถียรภาพใน
ลิเบีย นักวิเคราะห์หลายคน รวมทั้งนายพลจัตวา โมฮัมหมัด อัล-คูนิดิ (Mohammad al Qunidi) หัวหน้า
หน่วยข่าวกรองทหารภายใต้นายกรัฐมนตรีอัล-ซาร์รัจ ต่างตีความว่า การเข้าเฝ้ากษัตริย์ซัลมานของฮัฟตาร์
อาจให้สัญญาณว่าซาอุดีอาระเบียให้การสนับสนุนปฏิบัติการบุกโจมตีตริโปลี ด้วยเหตุที่ซาอุดีอาระเบียมอง
ว่ากองทัพลิเบียแห่งชาติของฮัฟตาร์เป็นป้อมปราการเดียวที่สามารถต่อต้านกลุ่มอิสลามิสต์ที่เกี่ยวข้องกับ
กลุ่มภราดรภาพมุสลิมไม่ให้เรืองอานาจได้ ซึ่งมุมมองนี้เป็นมุมมองเดียวกันกับที่ซาอุดีอาระเบียใช้มองอียิปต์
46 Jalel Harchaoui, “How France is Making Libya Worse,” Foreignaffairs.com, September 21, 2017,
https://www.foreignaffairs.com/articles/france/2017-09-21/how-france-making-libya-worse (accessed April 11,
2019).
กษัตริย์ซัลมานพบกับนายพลคาลิฟา ฮัฟตาร์ที่กรุงริยาด (Reuters)
23
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าการที่ซาอุดีอาระเบียสนับสนุนฮัฟตาร์อาจเป็นเพราะกองทัพลิเบีย
แห่งชาติประกอบด้วยนักรบที่นับถือหลักคาสอนของชีคราบี อัล มัดคาลี ซึ่งเป็นสาขาย่อยของลัทธิซาลาฟี
(the Salafi Madkhali school) ซึ่งซาอุดีอาระเบียให้การสนับสนุนในฐานะที่เป็นประเทศต้นกาเนิดของ
อุดมการณ์ซาลาฟี47
รัสเซียช่วยเหลือกองทัพของฮัฟตาร์ด้วยการให้การเยียวยารักษาทหารที่บาดเจ็บจากการรบ และ
ช่วยพิมพ์ธนบัตรสกุลเงินดินาร์ของลิเบียให้แก่รัฐบาลที่โตบรูคในนามของฮัฟตาร์ และลงนามในข้อตกลง
พิเศษที่อนุญาตให้รัฐบาลรัสเซียตั้งฐานทัพอากาศเพิ่มอีกสองแห่งทางตะวันออกของลิเบีย นายจิออร์จิโอ
คาฟีโร (Giorgio Cafiero) และนายแดเนียล แวกเนอร์ (Daniel Wagner) ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กร Global
Risk ให้การสังเกตว่า มอสโควมองว่าฮัฟตาร์เป็นบุคคลเดียวที่สามารถขวางกั้นลัทธิรุนแรงสุดโต่งในลิเบียได้
ไม่ใช่รัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ48
นอกจากนี้ นายอเล็ก ลันห์ (Alec Luhn) และนายโดมินิก นิโคล (Dominic Nicholls) รายงานใน
หนังสือพิมพ์ Telegraph ในวันที่ 3 มีนาคม 2019 ว่ามีทหารรับจ้างกว่าร้อยนายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วย
ข่าวกรองทหารของรัสเซียที่กาลังให้ความช่วยเหลือกองทัพของฮัฟตาร์ทางตะวันออกของลิเบีย ทหารรับจ้าง
ประมาณ 300 คนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบริษัททหารรับจ้าง Wagner Group ที่ปฏิบัติการอยู่ที่เบงกาซี
และให้การสนับสนุน LNA ด้วยอาวุธหลากหลายประเภท เช่น ปืนใหญ่ รถถัง โดรน และกระสุนปืน เป็นต้น49
47 Patrick Wintour, “Libya crisis: UK officials anxious as blame is laid at doors of Gulf allies.”; Giorgio Cafiero and
Theodore Karasik, “General Hifter’s march on Tripoli,” Middle East Institute, April 9, 2019,
https://www.mei.edu/publications/general-hifters-march-tripoli (accessed April 11, 2019).
48 Giorgio Cafiero, “Will Trump and Putin See Eye-to-Eye on Libya?” February 14, 2017, LobeLog.com,
https://lobelog.com/will-trump-and-putin-see-eye-to-eye-on-libya/ (accessed April 11, 2019).
49 “Libyan National Army,” Globalsecurity.org.
กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army): กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?
กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army): กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?
กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army): กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?
กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army): กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?
กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army): กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?
กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army): กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?
กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army): กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?
กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army): กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?
กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army): กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

Nervous system
Nervous systemNervous system
Nervous system
Bios Logos
 
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
janejaneneee
 
2.3 อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก
2.3 อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก2.3 อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก
2.3 อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก
Jitjaree Lertwilaiwittaya
 
โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1
Ocean'Funny Haha
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
Peerakanang
 
Waterรวมวารีดุริยางค์
Waterรวมวารีดุริยางค์Waterรวมวารีดุริยางค์
Waterรวมวารีดุริยางค์
maerimwittayakom school
 
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
Pannaray Kaewmarueang
 
ชุดการสอนอเมริกาเหนือ
ชุดการสอนอเมริกาเหนือชุดการสอนอเมริกาเหนือ
ชุดการสอนอเมริกาเหนือ
suchinmam
 
บทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงานบทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงาน
Champ Wachwittayakhang
 

Was ist angesagt? (20)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปยุโรป
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปยุโรปความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปยุโรป
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทวีปยุโรป
 
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง-ทวิปอเมริกาเหนือ-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่-3-โดยครูบุญฤท...
 
PLO Palestine Liberation Organization องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์
PLO Palestine Liberation Organization องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์PLO Palestine Liberation Organization องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์
PLO Palestine Liberation Organization องค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์
 
ลัทธิจักรวรรดินิยม Imperialism
ลัทธิจักรวรรดินิยม Imperialismลัทธิจักรวรรดินิยม Imperialism
ลัทธิจักรวรรดินิยม Imperialism
 
Nervous system
Nervous systemNervous system
Nervous system
 
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ
 
เฉลยข้อสอบ O-Net ดาราศาสตร์ ปีการศึกษา 2548
เฉลยข้อสอบ O-Net ดาราศาสตร์ ปีการศึกษา 2548เฉลยข้อสอบ O-Net ดาราศาสตร์ ปีการศึกษา 2548
เฉลยข้อสอบ O-Net ดาราศาสตร์ ปีการศึกษา 2548
 
กฎบัตร
กฎบัตรกฎบัตร
กฎบัตร
 
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
 
คำศัพท์บทที่ 1 ถึง บทที่ 12
คำศัพท์บทที่  1 ถึง บทที่ 12คำศัพท์บทที่  1 ถึง บทที่ 12
คำศัพท์บทที่ 1 ถึง บทที่ 12
 
2.3 อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก
2.3 อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก2.3 อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก
2.3 อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก
 
แบบทดสอบทวีปยุโรป
แบบทดสอบทวีปยุโรปแบบทดสอบทวีปยุโรป
แบบทดสอบทวีปยุโรป
 
โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
Waterรวมวารีดุริยางค์
Waterรวมวารีดุริยางค์Waterรวมวารีดุริยางค์
Waterรวมวารีดุริยางค์
 
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
โครงการผู้บำเพ็ญประโยชน์
 
สมัยจักรวรรดินิยม
สมัยจักรวรรดินิยมสมัยจักรวรรดินิยม
สมัยจักรวรรดินิยม
 
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
 
ชุดการสอนอเมริกาเหนือ
ชุดการสอนอเมริกาเหนือชุดการสอนอเมริกาเหนือ
ชุดการสอนอเมริกาเหนือ
 
บทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงานบทที่3 วิธีดำเนินงาน
บทที่3 วิธีดำเนินงาน
 

Mehr von Klangpanya

การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
Klangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
Klangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
Klangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 

Mehr von Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army): กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย?

  • 1. กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army) : กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย? สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
  • 2. กองทัพลิเบียแห่งชาติ (The Libyan National Army): กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย? ผู้เขียน นางสาวโศภนิศ อังศุสิงห์ นักวิจัย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้ช่วยบรรณาธิการ : โศภนิศ อังศุสิงห์ อานวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ปีที่เผยแพร่: มิถุนายน 2562 www.rsu-brain.com ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. สารบัญ ประเทศลิเบีย (Libya)......................................................................................................................1 กลุ่มติดอาวุธ (armed groups)........................................................................................................3 กองทัพแห่งชาติลิเบีย (The Libyan National Army - LNA)...........................................................7 พลเอกคาลิฟา ฮัฟตาร์: จอมพลผู้บังคับบัญชากองทัพลิเบียแห่งชาติ............................................9 กาเนิดกองทัพลิเบียแห่งชาติ.........................................................................................................11 เป้ าหมายของกองทัพลิเบียแห่งชาติ LNA.....................................................................................13 โครงสร้างของกองทัพลิเบียแห่งชาติ.............................................................................................15 การเกณฑ์กาลังพล........................................................................................................................18 บทบาทและความสาคัญของกองทัพลิเบียแห่งชาติในการเมืองภายใน ......................................19 บทบาทและความสาคัญของกองทัพลิเบียแห่งชาติในการเมืองระหว่างประเทศ........................21 บทสรุป...........................................................................................................................................27 บรรณานุกรม.................................................................................................................................29
  • 4. 1 กองทัพลิเบียแห่งชาติ: กองทหารเกียรติยศหรือคู่ขัดแย้งในสงครามลิเบีย? บทนา ในวันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2562 พลเอกคาลิฟา ฮัฟตาร์ (Khalifa Haftar) ผู้นากองทัพลิเบีย แห่งชาติ หรือแอลเอ็นเอ (Libyan National Army - LNA) ยกทัพจากภาคตะวันออกของลิเบียเข้าบุกประชิด กรุงตริโปลี ที่ตั้งของรัฐบาลกลางที่ได้รับการหนุนหลังจากสหประชาชาติ ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่า “รัฐบาลของ ข้อตกลงแห่งชาติ (Government of National Accord - GNA) และเกิดการปะทะกันอย่างดุเดือดกับกองทัพ รัฐบาลแห่งชาติของลิเบีย การรุกโจมตีของ LNA ซึ่งสนับสนุนรัฐบาลอีกชุดที่มีฐานอยู่ที่โตบรูคสร้างความ ประหลาดใจให้แก่สหประชาชาติเป็นอย่างมาก เนื่องจากปฏิบัติการนี้กาลังบ่อนทาลายแผนการของ สหประชาชาติที่จะหาทางทาข้อตกลงเพื่อกาหนดระยะเวลาจัดการเลือกตั้ง ซึ่งจะคลี่คลายแก้ไขความไร้ เสถียรภาพที่ยืดเยื้อมานานในลิเบีย1 นับตั้งแต่ที่กัดดาฟีถูกโค่นล้ม ลิเบียซึ่งเป็นประเทศที่ร่ารวยทรัพยากรน้ามันกลับกลายเป็นดินแดนไร้ ขื่อแป ผลจากความวุ่นวายครั้งนั้นทาให้ลิเบียเกิดมีรัฐบาล 2 ฝ่ายที่แย่งกันปกครองประเทศนับตั้งแต่ฤดูร้อน ค.ศ. 2014 ได้แก่ รัฐบาลของข้อตกลงแห่งชาติที่มีฐานที่มั่นที่เมืองตริโปลี และรัฐบาลอีกแห่งที่มีฐานที่มั่นที่ เมืองโตบรูคทางภาคตะวันออก การปะทุขึ้นของการสู้รบครั้งใหม่ระหว่าง LNA กับ GNA อาจนาประเทศ ลิเบียหวนกลับไปสู่สภาพสงครามการเมืองเต็มอัตราศึกอีกครั้ง และทาให้ความพยายามของมหาอานาจและ สหประชาชาติต้องถอยหลังกลับสู่จุดเริ่มต้น หลังเข้ามาช่วยเจรจาจนเกิดรัฐบาลแห่งชาติ แล้วนาไปสู่การ ระงับการสู้รบระหว่างแม่ทัพนายกองของพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี (Muammar Gaddafi) ที่ถูกองค์กร 1 ผู้จัดการออนไลน์, “ศึกชิง‘เมืองหลวงลิเบีย’ทวีความดุเดือดรุนแรง อเมริกันอพยพทหารส่วนหนึ่งออกไปแล้ว,” ผู้จัดการ ออนไลน์, 8 เมษายน 2562, https://mgronline.com/around/detail/9620000034503 (สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562).
  • 5. 2 สนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (The North Atlantic Treaty Organization - NATO) โค่น ล้มไปเมื่อปี พ.ศ. 2554 จนไฟสงครามลุกลามไปทั่วประเทศ ถึงแม้ว่าฮัฟตาร์จะมองว่าตนเองช่วยปกป้องลิเบียจากลัทธิสุดโต่งของกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ได้ แต่ ทว่าฮัฟตาร์ก็ถูกพวกที่คัดค้านเขามองว่าเป็นผู้เผด็จการคนใหม่เช่นเดียวกันกับกัดดาฟี อย่างไรก็ดี นายพล ฮัฟตาร์เป็นผู้ที่ได้รับการหนุนหลังจากอียิปต์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมองว่าเขาสามารถเป็นป้อม ปราการต่อต้านพวกอิสลามิสต์ในลิเบียได้ จะเห็นได้ว่า สถานการณ์วิกฤตที่กาลังเกิดขึ้นในลิเบียนั้นสับสนวุ่นวายเป็นอย่างมาก การจะ คาดการณ์ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่กาลังเกิดขึ้นในตริโปลีจะมีทิศทางเป็นอย่างไรและจะมีผลกระทบต่อ ทิศทางของสงครามกลางเมืองลิเบียอย่างไรนั้นเป็นเรื่องยาก ยิ่งไปกว่านั้น ท่ามกลางการต่อสู้แย่งชิงอานาจ และดินแดนในลิเบียยังประกอบด้วยตัวแสดงที่เป็นกลุ่มติดอาวุธ และชนเผ่าในท้องที่อีกหลากหลายกลุ่มและ ประเภทซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วลิเบีย ในการทาความเข้าใจสงครามกลางเมืองลิเบียที่ยืดเยื้อ รวมทั้ง บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงทางการเมืองต่างๆ ในลิเบีย บทความนี้จึงมุ่งศึกษากองทัพลิเบีย แห่งชาติของพลเอกคาลิฟา ฮัฟตาร์ในฐานะตัวแสดงทางการเมืองและการทหารที่สาคัญตัวแปรหนึ่งว่ามีที่มา อย่างไร และมีจุดมุ่งหมายหลักคืออะไร รวมทั้งวิเคราะห์การก่อตั้งกองทัพ การเกณฑ์กาลังพล และ ความสาคัญของกองทหารนี้ในบริบทของการเมืองในประเทศและระหว่างประเทศ ในส่วนแรก บทความนี้จะปูพื้นความรู้เกี่ยวกับประเทศลิเบียและอธิบายจุดเริ่มต้นของสงครามกลาง เมืองลิเบีย พร้อมทั้งให้นิยามของคาว่า “กลุ่มติดอาวุธ” ในลิเบีย ซึ่งมีหลากหลายประเภทและอาจมี ความหมายที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จากนั้นบทความนี้จะกล่าวถึงการก่อตั้งกองทัพแห่งชาติลิเบียโดยพล เอกคาลิฟา ฮัฟตาร์ จากนั้น บทความจะลงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างกองกาลัง การเกณฑ์ทหาร และ ปฏิบัติการทางทหารต่างๆ ของกองทัพนี้ในช่วงสงครามกลางเมือง ตั้งแต่ ค.ศ. 2011 จนกระทั่งปัจจุบัน จากนั้น บทความจะวิเคราะห์บทบาทและความสาคัญของกองทัพแห่งชาติลิเบียในการเมืองภายในและ การเมืองระหว่างประเทศ ทั้งในแง่ของกรอบความมั่นคงระหว่างประเทศและในแง่ของการแทรกแซงทาง การเมืองลิเบียโดยชาติมหาอานาจต่างๆ สุดท้าย บทความจะให้ข้อสรุปประเด็นสาคัญจากการศึกษากองทัพ แห่งชาติลิเบียซึ่งสามารถบอกอะไรเราได้เกี่ยวกับอานาจและความสาคัญของกองทหารในการทาความเข้าใจ สงครามกลางเมืองลิเบียที่กาลังดาเนินอยู่ได้
  • 6. 3 ประเทศลิเบีย (Libya) “ลิเบีย” (Libya) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย (Socialist People's Libyan Arab Great Jamahiriya) มีพื้นที่เกือบ 1,800,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา และประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 17 และมีเมืองหลวงชื่อ "ตริโปลี" เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออก เฉียงใต้ สาธารณรัฐชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มี ชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน2 ลิเบีย ถือเป็นประเทศมีฐานะทางเศรษฐกิจดีที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกาเหนือ เศรษฐกิจของลิเบีย ขึ้นอยู่กับภาคพลังงาน ได้แก่ น้ามัน และก๊าซธรรมชาติ เรียกได้ว่า ลิเบีย เป็น 1 ใน 10 ประเทศ ที่ผลิต น้ามันร่ารวยที่สุดในโลก3 ด้านการปกครอง ลิเบีย อยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง เช่น เคยอยู่ภายใต้กรีก อาณาจักรโรมัน อาณาจักรไบแซนไตน์ อาณาจักรออตโตมาน และท้ายสุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911 ลิเบีย อยู่ 2 กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ, “รัฐลิเบีย,” http://sameaf.mfa.go.th/th/country/africa/detail.php?ID=20&PAGEN_2=2#2 (สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562). 3 ที่เดียวกัน
  • 7. 4 ภายใต้การปกครองของประเทศอิตาลี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1949 สมัชชาใหญ่ของ องค์การสหประชาชาติ มีข้อมติให้ ลิเบีย ได้รับเอกราชจากอิตาลี โดยกษัตริย์ Idris ซึ่งเป็นผู้นาในการต่อต้าน การปกครองของอิตาลี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 19514 ต่อมาวันที่ 1 กันยายน 1969 กลุ่มนายทหารนาโดย พันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ได้ก่อการรัฐประหาร ยึดอานาจจากกษัตริย์ และขึ้นเป็นผู้นาประเทศ มีอานาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ มี คณะกรรมการปฏิวัติ (Revolutionary Committee) และคณะมนตรีปฏิวัติ (Revolutionary Command Council) เป็นกลไกช่วยในการกาหนดนโยบาย มีสภาประชาชน (National General People's Congress) ทาหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ และเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิก National General People's Committee (คณะรัฐมนตรี) ทาหน้าที่ด้านการบริหารราชการ ก่อนที่ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ประชาชนจะออกมา ประท้วง และเดินขบวนครั้งใหญ่ทั่วประเทศเพื่อต่อต้านรัฐบาลกัดดาฟี ซึ่งปกครองแบบอานาจนิยมมา ยาวนานกว่า 42 ปี โดยกลุ่มต่อต้านได้รวมตัวและจัดตั้งองค์กรทางการเมืองที่เรียกว่า สภาถ่ายโอนอานาจ แห่งชาติ (National Transitional Council - NTC) ขึ้น การตอบโต้ขบวนประท้วงทั่วประเทศของรัฐบาล กัดดาฟีด้วยความรุนแรงได้นาไปสู่สงครามกลางเมืองระหว่างกองกาลังฝ่ายกัดดาฟีกับกองกาลังฝ่ายกบฏ วันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 2011 กองกาลังฝ่ายกบฏเข้ายึดครองกรุงตริโปลีได้อย่างเบ็ดเสร็จด้วยการสนับสนุน จากกองกาลังรัฐสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization – NATO) และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2011 กองกาลังของ NTC สามารถยึดเมือง Sirte ซึ่งเป็นเมืองบ้านเกิด ของกัดดาฟีได้โดยสมบูรณ์ และได้จับกุมตัว พ.อ. กัดดาฟีในสภาพถูกยิงที่ศีรษะเสียชีวิต5 แม้รัฐบาลกัดดาฟีจะถูกโค่นล้มไป แต่ลิเบียก็ยังคงประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไม่จบสิ้น หลังการเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 ลิเบียก็แตกออกเป็นสองฝ่าย โดยฝ่ายรัฐบาลของข้อตกลง แห่งชาติ (Government of National Accord) ซึ่งเป็นรัฐบาลที่สหประชาชาติให้การรับรอง มีศูนย์กลางอยู่ที่ ตริโปลี ด้านฝ่ายคณะผู้แทนรัฐสภา (House of Representatives) มีฐานอยู่ที่โตบรูค แม้เวลาจะผ่านมาหลาย ปีแล้ว รัฐบาลทั้งสองฝ่ายก็ยังคงสู้กันเพื่อแย่งชิงอานาจความชอบธรรม ต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธที่แบ่งเป็น ฝักฝ่าย และต้านทานขบวนการรัฐอิสลามในสงครามกลางเมืองครั้งใหม่จวบจนปัจจุบัน 4 กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ, “รัฐลิเบีย.” 5 ที่เดียวกัน
  • 8. 5 กลุ่มติดอาวุธ (armed groups) คาว่า กองทัพ (army) และ กลุ่มติดอาวุธ (militia) มีความหมายไม่เหมือนกันและแตกต่างกันแล้วแต่ มุมมองของชาวลิเบียแต่ละกลุ่ม ความหมายและคานิยามที่แตกต่างกันเหล่านี้เป็นผลข้อหนึ่งจากการต่อสู้ แย่งชิงอานาจทางการเมืองในลิเบียตั้งแต่ ค.ศ. 2014 วรรณกรรมในเรื่องกลุ่มติดอาวุธนี้แสดงให้เห็นว่า นับตั้งแต่เหตุการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) กลุ่มติดอาวุธ ทั้งที่ก่อตั้งเป็นหน่วยรบทางการและไม่เป็น ทางการต่างแพร่กระจายในทุกระดับ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับชาติ งานวิจัยส่วนใหญ่ต่าง เห็นตรงกันว่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มติดอาวุธทั้งหลายเหล่านี้จะผันแปรไปมาระหว่างความร่วมมือกับ ความเป็นอริต่อกัน เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงที่แตกกระจายและเต็มไปด้วยความรุนแรง6  กลุ่มติดอาวุธในระดับท้องถิ่น (local armed groups) 6 Emilie Combaz, “Key actors, dynamics and issues of Libyan political economy,” GSDRC Helpdesk Research Report, April 27 2014, http://gsdrc.org/docs/open/hdq1106.pdf, 11-12 (accessed April 11, 2019). แผนภาพแสดงกลุ่มติดอาวุธในลิเบีย แหล่งข้อมูล: https://www.ecfr.eu/mena/mapping_libya_conflict
  • 9. 6 งานวิจัยเรื่องกลุ่มติดอาวุธส่วนใหญ่ต่างให้ข้อสรุปว่า ในปัจจุบัน มีกลุ่มติดอาวุธระดับชุมชนที่ แตกต่างหลากหลาย ทั้งกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งกลุ่มที่มีบทบาทระดับท้องถิ่นและ ระดับภูมิภาค โดยกลุ่มติดอาวุธระดับท้องถิ่นจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนใดชุมชนหนึ่ง โดยเฉพาะทาง ตะวันตกของลิเบีย7 คุณลักษณะและพฤติกรรมกลุ่มของกลุ่มติดอาวุธมีอยู่สามประการ ได้แก่ ประวัติของการก่อตั้งกลุ่ม ติดอาวุธนั้นๆ สายสัมพันธ์ของกลุ่มติดอาวุธกับชุมชน และระดับการรวมเข้ากับผู้มีอานาจท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น ทางตะวันออกของลิเบีย กลุ่มติดอาวุธและกลุ่มกบฏจากกองทัพแห่งชาติลิเบียมีการประสาน ความร่วมมือกันและมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวเนื่องจากทั้งสองกลุ่มต่างอยู่ใต้อานาจของ สภาถ่ายโอนอานาจแห่งชาติ (National Transitional Council - NTC) ส่วนทางตะวันตก กลุ่มติดอาวุธ รวมกันเป็นกลุ่มก้อนนอกอานาจบังคับบัญชาของ NTC ทาให้กลุ่มเหล่านี้มีความเป็นอิสระ พึ่งพาตนเอง และ มีสายสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่นที่ใกล้ชิดกว่ากลุ่มติดอาวุธทางตะวันออกของลิเบีย8 เป้าหมายของกลุ่มติดอาวุธนั้นแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปมาอยู่เรื่อยๆ แล้วแต่ประเภท ของกลุ่มติดอาวุธนั้นๆ โดยประเภทของกลุ่มติดอาวุธสามารถแบ่งได้เป็น ทหาร กลุ่มการเมือง กลุ่มที่ เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย กลุ่มอุดมการณ์ กลุ่มกองกาลังทหารเสริม ซึ่งมักจะหมายถึงกลุ่ม อาชญากรรมหรือกลุ่มแสวงประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในที่นี้ กลุ่มทหาร กลุ่มการเมือง กลุ่มรักษาความ ปลอดภัยจะมีความชอบธรรมทางกฎหมายมากกว่า กลุ่มติดอาวุธในลิเบียเหล่านี้มีหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างคือ การปกป้องการปฏิวัติและการ ปกป้องชุมชนท้องถิ่น โดยกลุ่มติดอาวุธบางกลุ่มจะอยู่ในแนวร่วมเดียวกันกับกลุ่มการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กลุ่มติดอาวุธระดับท้องถิ่นยังมีหน้าที่ระดับรัฐด้วย โดยเฉพาะกลุ่มติดอาวุธทางใต้ของลิเบีย โดยกลุ่มติดอาวุธที่ขาดอาวุธและไม่ค่อยได้รับการฝึกฝนมักจะมีหน้าที่ปกป้องชายแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล ของลิเบียมากกว่าการสู้รบ9 7 D. Wood, “Libya Conflict Assessment: Literature Review,” European Peacebuilding Liaison Office, http://www.eplo.org/assets/files/2.%20Activities/Civil%20Society%20Dialogue%20Network/Crisis%2 0Response%20Meetings/Libya/EPLO_Literature_Review_CSDN_Meeting_Libya.pdf., 13 (accessed April 11, 2019). 8 B. McQuinn, “After the Fall: Libya's Evolving Armed Groups (Working Paper No. 12),” Geneva: Small Arms Survey, 2012, http://www.smallarmssurvey.org/fileadmin/docs/F-Working-papers/SAS-WP12-Afterthe-Fall- Libya.pdf, 15-17 (accessed April 11, 2019). 9 Emilie Combaz, “Key actors, dynamics and issues of Libyan political economy,” 12.
  • 10. 7 กองทัพแห่งชาติลิเบียเป็นกองกาลังติดอาวุธหนึ่งในบรรดากลุ่มติดอาวุธอีกหลายหลายประเภทที่ กระจัดกระจายอยู่ทั่วลิเบียหลังการโค่นล้มระบอบกัดดาฟี ค.ศ. 2011 การศึกษาการก่อตั้งกองทัพ การเกณฑ์ กาลังพล การวางโครงสร้าง และปฏิบัติการของกองทหารนี้อาจมีส่วนช่วยให้เราเข้าใจจุดมุ่งหมายของกอง กาลังของฮัฟตาร์ ความสัมพันธ์ของกองทหารนี้กับประชาชนลิเบีย และพลวัตของสงครามกลางเมืองลิเบียที่ กาลังดาเนินอยู่ได้ กองทัพแห่งชาติลิเบีย (The Libyan National Army - LNA) กองทัพแห่งชาติลิเบียประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทหารที่แปรพักตร์จากรัฐบาลกัดดาฟี รวมทั้งอดีต นักรบกลุ่มกบฏจากกองทัพปลดแอกแห่งชาติ (The National Liberation Army) โดยโครงสร้างกองทัพแบ่ง ออกเป็นกองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ กองทัพนี้ได้รับการก่อตั้งโดยสภาถ่ายโอนอานาจ ทหารของกองกัพลิเบียแห่งชาติประจาตาแหน่งในขณะกาลังต่อสู้กับกลุ่มนักรบในเมืองคันฟู ดาห์ ทางใต้ของลิเบีย (AFP)
  • 11. 8 แห่งชาติ (NTC) หลังสงครามกลางเมืองลิเบียครั้งแรก ค.ศ. 2011 เมื่อกองทัพแห่งชาติลิเบียชุดเก่าพ่ายแพ้ ต่อการลุกฮือของประชาชนลิเบีย และถูกโค่นล้มโดยการแทรกแซงทางทหารโดย NATO10 ในช่วงสงครามกลางเมืองครั้งที่สอง ซึ่งเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 2014 จนปัจจุบัน กองทัพลิเบียแห่งชาติ จงรักภักดีต่อคณะผู้แทนรัฐสภา (the House of Representatives - HOR) หรือฝ่ายนิติบัญญัติในเมืองโตบ รูคที่ได้รับการยอมรับในระดับระหว่างประเทศจนกระทั่งตุลาคม ค.ศ. 2015 กองทัพนี้ต่อสู้กับกลุ่ม Libya Dawn ที่นาโดยกลุ่มอิสลามิสต์ สภาชูเราะห์ของนักปฏิวัติแห่งเบงกาซี (the Shura Council of Benghazi Revolutionaries) รวมทั้ง ขบวนการรัฐอิสลาม (The Islamic State) ในลิเบีย ซึ่งเป็นศัตรูร่วมกันระหว่าง LNA และ Libya Dawn11 ในตอนต้นสงครามกลางเมืองลิเบียครั้งที่สอง กองทัพดังกล่าวแตกออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งแรกเป็นกลุ่ม ต่อต้านการก่อการร้ายของคาลิฟา ฮัฟตาร์ อีกฝั่งเป็นกลุ่มเน้นกฎหมายของนายอับดุลซาลาม อัล-โอไบดี (Abdulsalam al-Obaidi) ซึ่งเชื่อฟังคาสั่งจากผู้มีอานาจทางการเมือง12 จากนั้น ค.ศ. 2014 นายคาลิฟา ฮัฟ ตาร์ได้รับการยอมรับโดยสมาชิกรัฐสภาทางตะวันออกของลิเบียในฐานะผู้บัญชาการทั่วไปของกองทัพ เนื่องจากมีประสบการณ์ทางทหารโชกโชน แต่กองทัพแห่งชาติลิเบียของฮัฟตาร์เป็นกองกาลังทหารผสม ระหว่างกลุ่มชนเผ่าหรือกลุ่มติดอาวุธระดับภูมิภาค ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับในฐานะกองทัพอย่างเป็นทางการ จากนายทหารจากทั้งตะวันตกและตะวันออกของลิเบีย13 นายทหารอาวุโสหลายคนปฏิเสธที่จะเข้าร่วมปฏิบัติการ Operation Dignity เพื่อต่อสู้กับกลุ่ม อิสลามิสต์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 โดยบางคนเข้าร่วมกับกลุ่มศัตรูของนายฮัฟตาร์ ไม่ว่าจะร่วมมือ กับกลุ่มทหารที่ประกอบด้วยกองกาลังผสมที่สลายตัวไปแล้วอย่าง Libya Dawn ทางตะวันตกของลิเบีย หรือ ไปเข้าร่วมกับกลุ่มจิฮาดเพื่อขับไล่ IS ออกจากเมืองเดอร์น่า (Derna) ทางตะวันออกของลิเบีย14 10 “Libya's new military chief to disarm former rebels,” USAtoday, January 4, 2012, https://usatoday30.usatoday.com/news/world/story/2012-01-04/libya-disarm-rebels/52380424/1 (accessed April 19, 2019). 11 Libya: UN evacuates refugees, postpones peace talks amid violence, Aljazeera, April 10, 2019, https://www.aljazeera.com/news/2019/04/libya-evacuates-refugees-postpones-peace-talks-violence- 190409103500581.html (accessed April 11, 2019). 12 Yezid Sayigh, “Libya’s New Military Politics: Back to the Future?,” Carnegieendowment.org, May 29, 2014, https://carnegieendowment.org/sada/?fa=55714 (accessed April 20, 2019). 13 Mary Fitzgerald and Mattia Toaldo, “A Quick Guide to Libya’s Main Players,” ecfr.eu, https://www.ecfr.eu/mena/mapping_libya_conflict (accessed April 11, 2019). 14 อ้างแล้ว.
  • 12. 9 LNA สามารถขยับขยายอานาจควบคุมไปทั่วตอนกลางและตะวันออกของลิเบียตั้งแต่เบน จาวัด (Ben Jawad) ไปจนสิ้นสุดชายแดนที่ติดกับอียิปต์ โดยอาศัยเครือข่ายพันธมิตรของชนเผ่าต่างๆ ในปัจจุบัน LNA ครอบครองพื้นที่บริเวณอ่าวเซิร์ท (Sirte) โดยเริ่มตั้งแต่เมืองเซิร์ท (Sirte) ทางตะวันตกมายังเมืองซิดี อับเดลลาติ (Sidi Abdelati) ประมาณหกสิบกิโลเมตรทางตอนเหนือของอัจดาบิยาห์ (Ajdabiya) และมี จุดสิ้นสุดทางใต้ที่เมืองซิลลาห์ (Zillah) นอกจากนี้ LNA ยังครอบครองโซนทหารอีกสองโซน ได้แก่ โซนที่ ขยายจากทางใต้ของโซนตอนกลาง (อ่าว Sirte) ไปยังชายแดนใต้ของลิเบีย และอีกโซนทางตะวันออกที่เริ่ม ตั้งแต่เมืองเบงกาซีไปยังเมืองโตบรูค พันเอกอับดุลราซัก นาดูริ (Colonel Abdulrazaq Nadhuri) ซึ่งเป็นผู้ว่า การฝ่ายทหารของ LNA ได้จัดการแทนที่เจ้าหน้าที่รัฐที่มาจากการเลือกตั้งด้วยนายทหารของ LNA ทั้งหมด เพื่อควบคุมหัวเมืองต่างๆ ทางตะวันออก ยกเว้น เมืองเดอร์น่าที่เดียวที่ตกเป็นของกองกาลังอื่นที่อยู่ในแนว ร่วมเดียวกับ LNA เป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้ว15 พลเอกคาลิฟา ฮัฟตาร์: จอมพลผู้บังคับบัญชากองทัพลิเบียแห่งชาติ นายพลคาลิฟา ฮัฟตาร์เกิดในปี ค.ศ. 1943 ในเมืองอัจดาบิยาห์ (Ajdabiya) ทางตะวันออกของลิเบีย เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มนายทหารนาโดยพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟีที่ได้แย่งชิงอานาจจากกษัตริย์ไอดริสใน ค.ศ. 1969 ต่อมา กัดดาฟีมอบหมายให้นายฮัฟตาร์ควบคุมดูแลกองกาลังลิเบียที่เข้าร่วมรบในความขัดแย้งที่ 15 อ้างแล้ว.
  • 13. 10 สาธารณรัฐชาดในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เมื่อกองทัพลิเบียพ่ายแพ้ต่อกองกาลังชาดที่ได้รับการสนับสนุน จากฝรั่งเศส นายฮัฟตาร์ก็หมดสิ้นอานาจ และถูกทหารชาดจับตัวเป็นเชลยศึกใน ค.ศ. 198716 กัดดาฟีตัดสินใจตัดขาดความสัมพันธ์กับฮัฟตาร์เมื่อเขาออกนโยบายห้ามไม่ให้มีกองทหารลิเบียอยู่ ในประเทศ เหตุการณ์นี้ผลักดันให้ฮัฟตาร์ทุ่มเทเวลากว่าสองทศวรรษเพื่อล้มล้างอานาจของผู้นาลิเบีย โดย เขาตัดสินใจย้ายไปอาศัยอยู่รัฐเวอร์จิเนียในสหรัฐอเมริกาจนได้สัญชาติอเมริกัน หลังการลุกฮือต่อต้านกัด ดาฟีเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 2011 ฮัฟตาร์กลับมาลิเบียเพื่อเข้าร่วมสงครามกลางเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจาก NATO แล้วกลายเป็นผู้บัญชาการกองกาลังกบฏทางตะวันออก17 หลังจากที่กัดดาฟีถูกโค่นล้มอานาจลง ฮัฟตาร์ก็ค่อยๆ หายตัวไปจนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 โดยเขาได้ร่างแผนกอบกู้ประเทศชาติและเรียกร้องให้ประชาชนลิเบียลุกขึ้นต่อต้านรัฐสภาที่มาจากการ เลือกตั้งในขณะนั้น นั่นคือ รัฐบาลคองเกรสแห่งชาติ (General National Congress) เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้ ล้มเหลวในการป้องกันการก่อตัวขึ้นของกลุ่มกบฏและไม่สามารถต่อสู้กับนักรบอิสลามิสต์18 การประกาศของฮัฟตาร์เกิดขึ้นในช่วงที่เมืองเบงกาซีและเมืองอื่นๆ ทางตะวันออกถูกกลุ่มติดอาวุธ อิสลามิสต์สาขาย่อยของอัลกออิดะห์ที่ชื่อกลุ่มอันซาร์ อัล-ชารีอะห์ (Ansar al-Sharia) และกลุ่มอิสลามิสต์ อื่นๆ ยึดครองพร้อมปฏิบัติการลอบฆ่าและวางระเบิดทหาร ตารวจ และข้าราชการอื่นๆ ถึงแม้ว่าฮัฟตาร์จะ ไม่มีกาลังทรัพย์เพียงพอที่จะดาเนินการตามแผนที่วางไว้ แต่คาประกาศของเขาสะท้อนให้เห็นความคิด ความรู้สึกของประชาชนลิเบีย โดยเฉพาะในเมืองเบงกาซี ที่ต่างผิดหวังกับความล้มเหลวของรัฐบาลคองเก รสแห่งชาติในการต่อสู้กับกลุ่มอิสลามิสต์19 16 “Khalifa Haftar: Libya's military strongman,” BBC, April 8, 2019, https://www.bbc.com/news/world-africa- 27492354 (accessed April 11, 2019). 17 อ้างแล้ว. 18 อ้างแล้ว. 19 อ้างแล้ว.
  • 14. 11 กาเนิดกองทัพลิเบียแห่งชาติ กลยุทธ์ของฮัฟตาร์ในการจัดตั้งกองกาลังคือการจัดการประชุมศาลากลางหลายๆ ครั้งทั่วลิเบีย เพื่อ เรียกร้องการสนับสนุนจากประชาชนลิเบีย โดยผลลัพธ์ก็คือมีอดีตนายทหารจากกองทัพลิเบียหลายนายให้ การสนับสนุนในการจัดตั้งกองทัพขึ้น สามเดือนต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 ฮัฟตาร์เริ่มปฏิบัติการ Operation Dignity เพื่อต่อสู้กับนักรบอิสลามิสต์ในเบงกาซีและเมืองอื่นๆ ทางตะวันออก โดยเขาได้บุกโจมตี กลุ่มนักรบเหล่านี้ทั้งทางอากาศและทางบกในเมืองเบงกาซี รวมทั้งโจมตีรัฐสภาลิเบียด้วยอาวุธหนักอย่าง ต่อเนื่อง20 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 รัฐสภาลิเบียอันประกอบด้วยคณะผู้แทนรัฐสภา (the House of Representatives - HOR) ที่มาแทนที่รัฐบาลคองเกรสแห่งชาติได้แต่งตั้งให้ฮัฟตาร์เป็นผู้บัญชาการกองทัพ ลิเบียแห่งชาติของรัฐบาลที่มีฐานอยู่ที่โตบรูค นอกจากนี้ คณะผู้แทนรัฐสภายังเลื่อนตาแหน่งของฮัฟตาร์จาก พลโทเป็นจอมพลหลังจากที่เขาสามารถรักษาสถานีน้ามันที่รู้จักกันในชื่อ Oil Crescent ไว้ได้21 ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 LNA สามารถขับไล่กลุ่มนักรบอิสลามิสต์ออกจากเบงกาซีได้สาเร็จ จากนั้นตอนกลางเดือนเมษายน กองกาลัง LNA สามารถขับไล่นักรบอิสลามิสต์จากฐานที่มั่นนอกเบงกาซี และเมืองเดอร์น่าได้เพิ่มเติม ศักยภาพในการรบของ LNA ดูเหมือนว่าจะเดิมพันบนกลุ่มกองกาลังในพื้นที่ ตริโปลี โดยกองกาลัง LNA ได้พยายามเรียกร้องให้กองทหารเหล่านี้ออกมาสนับสนุนปฏิบัติการล่าสุดในการ 20 “Why is Khalifa Haftar the "biggest single obstacle to peace in Libya?,” Newsweek, 22 July 2016 (accessed April 11, 2019). 21 Khalifa Haftar: Libya's military strongman,” BBC.
  • 15. 12 แย่งชิงเมืองหลวง แต่กลุ่มกองกาลังทหารย่อยเหล่านี้ต่างเป็นพันธมิตรของรัฐบาลของข้อตกลงแห่งชาติ (Government of National Accord - GNA) และได้ทาปฏิบัติการต่อต้าน LNA หลังคาประกาศของฮัฟตาร์22 ตั้งแต่สิงหาคม ค.ศ. 2016 ฮัฟตาร์ปฏิเสธที่จะสนับสนุนรัฐบาลของข้อตกลงแห่งชาติที่สหประชาชาติ ให้การรับรอง การกระทาดังกล่าวทาให้สหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตรเชื่อว่าฮัฟตาร์เป็นภัยคุกคาม เสถียรภาพของลิเบีย นางอลิสัน พาร์กีเทอร์ (Alison Pargeter) ผู้เชี่ยวชาญประเทศลิเบียและนักวิจัยอาวุโส จากสถาบัน Royal United Services บ่งชี้ว่าฮัฟตาร์อาจเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดหนึ่งเดียวในการสร้าง สันติภาพของลิเบียเนื่องจากเขากลัวว่าการร่วมมือกับ GNA อาจทาให้เขาสูญเสียอิทธิพลของตนเองทาง ตะวันออกของลิเบีย23 หลังปฏิบัติการสู้รบเป็นเวลาสามปี ต้นเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 ฮัฟตาร์ประกาศทางโทรทัศน์ว่า กองกาลังของเขาสามารถยึดครองเมืองเบงกาซีจากสภาชูเราะห์ของนักปฏิวัติแห่งเบงกาซี และ IS ได้สาเร็จ แต่การสู้รบยังคงดาเนินอยู่ในบางพื้นที่ ในเวลาเดียวกัน มีวิดีโอที่ได้รับการเผยแพร่ออนไลน์ที่แสดงให้เห็น ว่ากองกาลังของฮัฟตาร์กาลังสังหารนักรบ IS 20 ราย โดยนายอีริค โกลด์สไตน์ (Eric Goldstein) รอง ผู้อานวยการแห่ง Human Rights Watch วิเคราะห์ว่า การสังหารดังกล่าวแสดงให้เห็นการที่สมาชิก LNA ใช้ อานาจบังคับใช้กฎหมายตามอาเภอใจโดยปราศจากความรับผิดชอบและหลักนิติธรรม24 พลเอกคาลิฟา ฮัฟตาร์ ผู้บัญชาการกองทัพลิเบียแห่งชาติประกาศในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2017 ว่าข้อตกลงทางการเมืองของลิเบียที่ลงนามกันในเมืองสคิราท (Skhirat) ที่โมร็อกโกใน ค.ศ. 2015 ได้สิ้นสุด ลงแล้ว แล้วเขากล่าวว่าเขาจะไม่ยอมรับคาตัดสินใจใดๆ จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงดังกล่าว ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 ฮัฟตาร์กล่าวว่า “สถาบันทหารจะไม่ยอมจานนต่อกลุ่มการเมือง ใดนอกเสียจากว่ากลุ่มนั้นได้รับความชอบธรรมจากประชาชนชาวลิเบีย LNA มีกาลังพลทั้งหมด 75,000 คน และสามารถครอบครองพื้นที่ประเทศได้ถึง 90% โดยครอบคลุมทางใต้ที่ติดกับชายแดนอียิปต์และตูนิเซีย” ต้นปี ค.ศ. 2019 LNA สามารถเคลื่อนกาลังพลเข้าควบคุมพื้นที่สองในสามของลิเบียโดยมีเป้าหมายสูงสุดที่ 22 อ้างแล้ว. 23 "Why is Khalifa Haftar the "biggest single obstacle to peace in Libya"?". Newsweek. 24 Darius Shahtahmasebi, US & NATO will always share blame for Libya’s re-descent into chaos, rt.com, April 9, 2019, https://www.rt.com/op-ed/455997-libya-nato-escalation-us/ (accessed April 11, 2019).
  • 16. 13 จะยึดครองกรุงตริโปลี โดยกองกาลังของเขาสามารถรุกเข้าครอบครองบ่อน้ามันทางใต้ ศูนย์ประชากรที่ สาคัญหลายศูนย์ และสามารถห้อมล้อมกรุงตริโปลีทางชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้25 เป้ าหมายของกองทัพลิเบียแห่งชาติ LNA การบุกโจมตีของกองทหาร LNA ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเพื่อที่จะกาจัดกลุ่ม ผู้ก่อการร้าย IS และกลุ่มอาชญากรทางภาคใต้ให้สิ้นซาก ฮัฟตาร์มองว่าเขาเป็นผู้ปกป้องประเทศชาติที่ ดาเนินนโยบายด้านความมั่นคงเชิงรุก โดยให้คามั่นว่า LNA จะกวาดล้างกลุ่มก่อการร้ายก่อนที่กลุ่มนักรบ เหล่านี้จะรุกเข้าโจมตีตริโปลีจากทางใต้และตะวันตก แต่คู่ต่อสู้ของฮัฟตาร์ต่างเกรงกลัวว่าฮัฟตาร์กาลัง พยายามจะทาให้ลิเบียหวนคืนสู่การปกครองแบบเผด็จการเหมือนกับการปกครองของกัดดาฟีหรือ ประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตอห์ เอล-ซิซีของอียิปต์26 อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ฮัฟตาร์ประกาศสงครามกับกลุ่มอิสลามิสต์ เขากลับได้รับการสนับสนุนจาก กลุ่มอนุรักษ์นิยมซาลาฟิสต์ในลิเบีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปฏิบัติตนตามหลักอิสลามสุดโต่งและบังคับใช้ศาสนา อิสลามอย่างเคร่งครัดในพื้นที่ที่อยู่ใต้อานาจของกลุ่มเหล่านี้27 25 “Libyan National Army,” Globalsecurity.org, https://www.globalsecurity.org/military/world/para/lna.htm (accessed April 11, 2019). 26 อ้างแล้ว. 27 อ้างแล้ว.
  • 17. 14 นักวิเคราะห์บางคนมองว่า การรุกคืบของกองทหารของฮัฟตาร์เป็นความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง ทิศทางของสถานการณ์ทางการเมืองก่อนที่สหประชาชาติจะวางแผนจัดประชุมระดับชาติในวันที่ 14 เมษายน เพื่ออภิปรายแนวทางการรวมชาติลิเบียให้เป็นเอกภาพและกาหนดระยะเวลาจัดการเลือกตั้ง ทั่วไป28แต่การกระทาของฮัฟตาร์อาจมีแรงจูงใจมาจากสภาพการเงินด้วยเช่นกัน พื้นที่แถบลิเบียตะวันออก กาลังประสบวิกฤตการเงินเนื่องจากทุนสารองระหว่างประเทศอยู่ในสภาวะตกต่ามาก ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว กองทหารของฮัฟตาร์เป็นการรวมตัวของกลุ่มที่เข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารเพื่อแสวงผลประโยชน์ของ ตนเอง ดังนั้น ฮัฟตาร์จึงต้องหล่อเลี้ยงกองกาลังของเขาด้วยเงินทุนมหาศาลเพื่อให้กองทัพของเขาสามารถ ดาเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น29 ชัยชนะทางทหารล่าสุดของฮัฟตาร์แสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานทางการเมืองและการทหารที่ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความตั้งใจที่จะควบคุมพื้นที่สาคัญทางยุทธศาสตร์ทางตะวันออกของลิเบีย นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่าฮัฟตาร์จงใจที่จะชักจูงให้กองทหารของเขาต่อสู้กับกลุ่มทหารหลากหลายกลุ่มโดย กล่าวอ้างว่ากองทหารทั้งหมดนั้นเป็นนักรบอิสลามิสต์เพื่อที่เขาจะได้กระชับบทบาททางการเมืองของเขาให้ แข็งแกร่งผ่านการเป็นผู้นาทางทหาร30 อย่างไรก็ตาม มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนต่างตั้งคาถามว่า LNA จะสามารถควบคุมพื้นที่อาณาเขตของ ประเทศได้ทั้งหมดหรือไม่ หรือฮัฟตาร์จะยอมให้นายทหารหรือผู้นาทางการเมืองคนใหม่นอกเหนือจากตัว เขาเองขึ้นมาเป็นผู้นากองทัพหรือรัฐบาลได้หรือเปล่าหากว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในการเลือกตั้งทั่วไปครั้ง ต่อไป31 ผู้เชี่ยวชาญประเทศลิเบีย นายเฟรเดริก เวห์รี (Frederic Wehrey) กล่าวว่า ความขัดแย้งในลิเบีย ปัจจุบันนี้คือการต่อสู้เพื่อแย่งชิงดินแดนที่เหลืออยู่ของลิเบีย การต่อสู้ทางอุดมการณ์ถือได้ว่าจบไปนานแล้ว เหลือแต่เพียงการต่อสู้ช่วงชิงอานาจทางเศรษฐกิจและการเมืองที่กาลังดาเนินอยู่อย่างไม่จบสิ้น32 28 “Libya: UN evacuates refugees, postpones peace talks amid violence,” Aljazeera, April 10, 2019, https://www.aljazeera.com/news/2019/04/libya-evacuates-refugees-postpones-peace-talks-violence- 190409103500581.html (accessed April 11, 2019). 29 “Libyan National Army,” Globalsecurity.org. 30 Ayman Al-Warfalli, “Libya's eastern commander declares victory in battle for Benghazi,” Reuters, 5 July 2017; "Libya strongman declares Benghazi victory," BBC News, 6 July 2017. 31 “After conquering Benghazi, what will Libya's new strongman do next?” The Economist (accessed April 11, 2019). 32 “Libyan National Army,” Globalsecurity.org.
  • 18. 15 โครงสร้างของกองทัพลิเบียแห่งชาติ  กองพลหลักของกองทัพลิเบียแห่งชาติ LNA ได้รับการสนับสนุนจากกองทหารหลายหน่วยที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ รวมถึงกองทหารเสริม และกองรบพิเศษ al-Saiqa (Lightning) ซึ่งประกอบด้วยนายทหาร 3500 คน นอกจากนี้ นักวิเคราะห์หลาย คนกล่าวว่าฮัฟตาร์ได้จัดสรรกาลังพลโดยเลือกเกณฑ์นักรบสายซาลาฟิสต์และชาวเผ่าของลิเบีย รวมทั้ง ทหารรับข้างชาวชาดและซูดานจากชายแดนใต้ด้วย โดยเฉพาะกลุ่มกบฏจากดาร์ฟูที่เรียกว่า ขบวนการเพื่อ ความยุติธรรมและความเสมอภาค (The Justice and Equality Movement - JEM)33 LNA กล่าวว่ากองกาลังของตนมีพลทหารทั้งหมด 85,000 นาย แต่จานวนนี้หมายรวมถึงทหารที่ ได้รับการว่าจ้างโดยรัฐบาลกลางที่หวังจะสืบทอดอานาจต่อไปด้วย สมาชิกหลักส่วนใหญ่ของ LNA เคยเป็น กบฏที่ตัดสินใจเข้าร่วมกองทัพลิเบียแห่งชาติภายใต้กลุ่มอานาจถ่ายโอนที่มีฐานที่มั่นทางตะวันออกของ ประเทศ กองกาลังทหารราบของนายพลคาลิฟา ฮัฟตาร์ประกอบด้วยหน่วยทหารหลายสิบกว่าหน่วย ได้แก่ กองพลน้อยทหารราบยานเกราะสองกอง กองพลน้อยรถถังหนึ่งกอง กองพลน้อยปืนใหญ่สามกอง กองพล น้อยปฏิบัติการพิเศษหนึ่งกอง กองกาลังต้านทาน “ราดา” สองกอง ที่ประกอบด้วยกองพลน้อยอีกหลายกอง 33 Arnaud Delalande, “Forces on the Libyan ground: Who is Who,” Ispionline.it, May 28, 2018, https://www.ispionline.it/it/pubblicazione/forces-libyan-ground-who-who-20640 (accessed April 11, 2019).
  • 19. 16 และหน่วยทหารอีกเป็นร้อยๆ หน่วย รวมทั้งกองพลน้อยทหารราบ กองพลทหารราบเบา หน่วยป้องกัน ชายแดน และกองกาลังความมั่นคง โดยรวมแล้วมีทหารทั้งหมดประมาณ 7000 คน34  กองทหารเสริมของกองทัพลิเบียแห่งชาติ นายพลฮัฟตาร์ยังอาศัยทหารจากกองกาลังเสริมอีก 12,000 นาย ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรบซูดาน จากดาร์ฟู และกองทหารชาด การเคลื่อนกาลังพลของกองทัพปลดปล่อยซูดาน (Sudan Liberation Army/Minni Minawi - ALS/MM) เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 ในเมือง Ubari al-Waw และ al-Wig ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 กลุ่มกองกาลังนี้มีอานาจอิสระปกครองตนเองและมีบทบาทสาคัญในการยึดครอง และปกป้องบ่อน้ามันของ LNA นอกจากนี้ กองทัพปลดปล่อยซูดานยังส่งทหารกว่า 1500 คนเพื่อร่วมรบกับ LNA ในกลางเดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 อีกด้วย ส่วนกองทหารชาด Rassemblement des Forces pour le Changement (RFC) เริ่มปฏิบัติการทางตะวันออกเฉียงใต้ของลิเบียปลายปี ค.ศ. 2015 โดยกลุ่มนี้เคลื่อน กาลังพลบริเวณบ่อน้ามันเพื่อปฏิบัติการเคียงข้างกับ LNA ยิ่งไปกว่านั้น LNA ยังอาศัยสมาชิกของชนเผ่า Al-Furjan ประมาณ 500 คน รวมไปถึงยามรักษาความปลอดภัยของบ่อน้ามันที่ไม่ทราบจานวนแน่ชัดอีก มาก35 34 อ้างแล้ว. 35 อ้างแล้ว. ทหารรับจ้างชาวซูดานในกองทัพ ลิเบียแห่งชาติ
  • 20. 17 นอกจากนี้ กองกาลังจากเมืองซินตาน (Zintan) ทางตะวันตกมีบทบาทสาคัญในช่วงสงครามกลาง เมือง ค.ศ. 2011 โดยกองกาลังนี้เคลื่อนพลเข้าเมืองตริโปลีและเขตทางใต้อย่างเฟซซาน (Fezzan) หลังจาก ที่ถูกขับไล่ออกจากทั้งสองพื้นที่ในปี ค.ศ. 2014 กองกาลังนี้ได้รับการฝึกฝนอย่างดีและมีอาวุธยุทโธปกรณ์ ครบครัน กองกาลังนี้มีทหารทั้งหมด 2500 นาย และควบคุมฐานทัพอากาศเก่าของกัดดาฟีในเขาอัล-วาติญา (Al Watiya) โดยชาวซินตานมักจับกลุ่มอยู่แถบภูเขานาฟูซาห์ (Nafusah) และที่ราบชายฝั่งจาฟาราห์ (Jafarah) เป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้กลุ่มซินตานจะเป็นส่วนหนึ่งของ LNA พวกเขาต่างมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด กับนายพลฮัฟตาร์มาตั้งแต่ ค.ศ. 2012 แล้ว ทั้งนี้ สภากลาโหมซินตาน (The Zintan Military Council) ไม่ใช่ ทั้งศัตรูหรือพันธมิตรหลักของฮัฟตาร์ แต่ได้รับผลประโยชน์จากเครือข่ายของ LNA ในการได้จัดซื้อสรรพาวุธ ต่างๆ36  กลุ่มชนเผ่าติดอาวุธที่เข้าร่วมกับกองทัพลิเบียแห่งชาติ ภายหลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 2011 กลุ่มชนเผ่าเอาลัด ซุลัยมาน (Awlad Sulayman) แสวงประโยชน์ จากความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอานาจของชนเผ่าเพื่อยึดครองหน่วยความมั่นคงและกิจการด้าน การจราจรระดับภูมิภาคของเซบฮา (Sebha) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 นายอาหมัด อัล-อูเตบี (Ahmad al-Utaybi) ต่อต้านการรวมกองพลน้อยที่ 6 ที่เขาบัญชาการอยู่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ LNA โดยเขา แถลงว่าจะจงรักภักดีต่อกระทรวงกลาโหมแห่งรัฐบาลของตริโปลีแต่ผู้เดียว แต่สองสามวันต่อมา เขาถูก แทนที่โดยนายพลจัตวาของ LNA คือ นายคาลิฟา อับดุลฮาฟิธ คาลิฟา (Khalifa Abdulhafith Khalifa)37  กองทัพอากาศของกองทัพลิเบียแห่งชาติ LNA มีเครื่องบินทิ้งระเบิดอยู่ 27 ลา เฮลิคอปเตอร์ทหารที่ติดอาวุธ Mi-24/35 7 ลา เฮลิคอปเตอร์ ลาเลียงหลายชนิด 14 ลา และโกดังลาเลียงสินค้าอีกสองสามตัว น้อยกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเครื่องบินและ เฮลิคอปเตอร์ของอดีตกองทัพอากาศแห่งชาติลิเบีย (Libyan Arab Air Force - LAAF) โดยเครื่องบินส่วน ใหญ่ได้รับมาจากอียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 2015 36 Arnaud Delalande, “Forces on the Libyan ground: Who is Who.” 37 อ้างแล้ว.
  • 21. 18 นอกจากนี้ นายพลฮัฟตาร์ยังได้รับการสนับสนุนเชิงเทคนิคจากรัสเซียด้วยการได้รับชิ้นส่วนอะไหล่สารอง ของ MiG-23 ที่ฐานทัพอากาศ al-Abraq รวมทั้งได้รับชิ้นส่วนอะไหล่ของ MiG-23 จากซูดานในเวลา เดียวกันอีกด้วย38 การเกณฑ์กาลังพล แม้กระนั้นก็ตาม กองทัพลิเบียแห่งชาติถือว่าไร้ศักยภาพเนื่องจากขาดระบบการเกณฑ์ทหารที่เป็น ระเบียบชัดเจน ขาดทหารที่มีประสบการณ์ และขาดแคลนอุปกรณ์การสู้รบ LNA เป็นกลุ่มของกองกาลัง ทหารเสริมที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบกของลิเบียมาก่อน มีรายงานเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2011 ว่า LNA จะผนึกอดีตนักรบกลุ่มกบฏกว่า 50,000 คนเข้ากับ LNA และกองกาลังตารวจ โดยนักรบเหล่านี้จะได้รับการ ฝึกทหารจากกองทัพฝรั่งเศส ทั้งนี้ เป้าหมายระยะยาวคือการรวมนักรบประมาณ 200,000 คนจากกองพล ต่างๆ ที่ต่อต้านกัดดาฟีช่วงสงครามกลางเมืองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพแห่งชาติลิเบียในที่สุด39 อย่างไรก็ตาม การก่อตั้งกองทัพชุดใหม่ประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น การสร้างฐานทัพใหม่ ที่ถูกทาลายช่วงสงคราม รวมทั้งการปลดอาวุธจากกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพแห่งชาติชุด ใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น กองทหารแต่ละกองที่ยอมเข้าร่วมกับ LNA ต่างมีจุดมุ่งหมายและความต้องการของ 38 Arnaud Delalande, “Forces on the Libyan ground: Who is Who.” 39 “Libya to integrate 50,000 anti kadhafi fighters,” France24.com, December 1, 2011 (accessed April 19, 2019).
  • 22. 19 ตนเอง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่กองทหารภายใต้ LNA จะสู้รบกันเองด้วยเหตุผลหลากหลายประการ เช่น การถือ ครองที่ดิน การจับกุมสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การลักลอบสินค้า เป็นต้น ข้อมูลล่าสุดจากนาย Arnaud Delalande นักวิเคราะห์ด้านการทหารและความมั่นคงจากองค์กร International Society for Performance Improvement ระบุว่า LNA ประกอบด้วยนักรบจานวน 25,000 คน ในปี ค.ศ. 2018 ถึงแม้ LNA จะยังไม่ใช่ กองทัพที่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกันหรือแข็งแกร่งพอจะปกป้องชายแดนอันกว้างใหญ่ของลิเบียได้ แต่ก็ปฏิเสธ ไม่ได้ว่า LNA เป็นตัวแสดงทางการเมืองและการทหารที่สาคัญอย่างมากต่อพลวัตการเมืองภายในของ ลิเบีย40 บทบาทและความสาคัญของกองทัพลิเบียแห่งชาติในการเมืองภายใน ตั้งแต่ผู้นาลิเบียมูอัมมาร์ กัดดาฟีถูกกองกาลัง NATO โค่นล้มใน ค.ศ. 2011 ประเทศที่ร่ารวยน้ามัน อย่างลิเบียก็ตกอยู่ในความขัดแย้งวุ่นวาย และมีรัฐบาลปกครองประเทศอยู่สองชุด ได้แก่ รัฐบาลของ ข้อตกลงแห่งชาติที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติและมีฐานที่มั่นที่เมืองตริโปลี นาโดยนายกรัฐมนตรีฟา เยซ อัล-ซาร์รัจ และรัฐบาลลิเบียตะวันออกที่มีฐานที่มั่นที่เมืองโตบรูค โดยนายฮัฟตาร์ปฏิเสธที่จะยอมรับ ความชอบธรรมของรัฐบาลลิเบียแห่งชาติ และจัดตั้งกองกาลังของตนเองซึ่งสนับสนุนรัฐบาลลิเบียตะวันออก 40 Arnaud Delalande, “Forces on the Libyan ground: Who is Who.” ชาวลิเบียชูภาพพลเอก คาลิฟา ฮัฟตาร์ระหว่างการ เดินขบวนเพื่อสนับสนุน ปฏิบัติการของฮัฟตาร์เพื่อต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ที่ เมืองเบงกาซี
  • 23. 20 ความสาเร็จของฮัฟตาร์ในปฏิบัติการแห่งศักดิ์ศรี (Operation Dignity) เพื่อชิงเมืองเบงกาซีคืนจาก กลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ทาให้นายทหาร นักการเมือง กลุ่มประชาสังคม กองทหารเสริม รวมทั้งประชาชน ชาวลิเบียหลายกลุ่มมองว่าฮัฟตาร์อาจเป็นผู้นาทหารที่แข็งแกร่งผู้สามารถชี้นาให้ลิเบียกลับคืนสู่ความสงบ สุขได้ เหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดคือ ตลอดเดือนพฤษภาคมและกรกฎาคม ค.ศ. 2014 ประชาชนลิเบียจานวน มากเข้าร่วมเดินขบวนที่กรุงตริโปลี เบงกาซีและเมืองอื่นๆ ทั่วลิเบียเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการ Dignity ของฮัฟ ตาร์ นอกจากนี้ ชาวลิเบียต่างเรียกร้องให้มีการจัดตั้งกองทัพและตารวจแห่งชาติขึ้นแทนที่กองทหารย่อยที่ แบ่งพรรคแบ่งพวกกันและเชื่อฟังแต่ผู้นาของตนเองเท่านั้น41 ดังนั้น ฮัฟตาร์จึงได้รับความนิยมจากชาวลิเบียที่ไม่พอใจรัฐบาลกลางที่ไม่สามารถยุติความขัดแย้ง และการฆ่าฟันกันในเมืองเบงกาซีได้ อาจกล่าวได้ว่า กองทัพลิเบียแห่งชาติของฮัฟตาร์เป็นกองกาลังเดียวที่ มีศักยภาพเปรียบเสมือนกองทัพแห่งชาติลิเบียที่จะนามาซึ่งศักดิ์ศรีและความสงบสุขแก่ลิเบีย ถึงแม้ว่า ความชอบธรรมทางการเมืองอยู่ในมือของรัฐบาลที่กรุงตริโปลี แต่ความชอบธรรมทางทหารอยู่ในมือของนาย พลฮัฟตาร์ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนมองว่ารัฐบาลภายใต้ฮัฟตาร์อาจไม่สามารถสร้างเสถียรภาพ ให้แก่ลิเบียได้ นายจูส ฮิลเตอร์แมนน์ (Joost Hiltermann) จากสถาบัน Crisis Group วิเคราะห์ว่า นายฮัฟ ตาร์ไม่ได้เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนชาวลิเบียในหลายพื้นที่ และการที่ลิเบียยังมีความแตกแยก และยังมี กลุ่มติดอาวุธกระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกหนแห่งเช่นนี้ ฮัฟตาร์ก็จะประสบความยากลาบากอย่างมากในการ ปกครองลิเบียให้สงบสุข42 การบุกโจมตีกรุงตริโปลีของกองทัพของฮัฟตาร์ล่าสุดอาจทาให้สงครามกลางเมืองในลิเบียทวีความ รุนแรงมากยิ่งขึ้น Human Rights Watch กล่าวว่า นักรบจากกองทัพลิเบียแห่งชาติทาการโจมตีพลเรือน อย่างไม่เลือกหน้า สังหาร จับกุม และกักขังนักรบตามอาเภอใจ นอกจากนี้ แผนการของสหประชาชาติที่จะ จัดการประชุมเพื่ออภิปรายเรื่องกรอบรัฐธรรมนูญเพื่อจัดการเลือกตั้งในวันที่ 14 เมษายนก็ต้องถูกเลื่อนไป อย่างไม่มีกาหนดเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งนี้43 จะเห็นได้ว่า จุดยืนของฮัฟตาร์และปฏิบัติการ ทางทหารของกองทัพลิเบียแห่งชาติจึงไม่เพียงเป็นตัวแสดงหนึ่งของสงครามกลางเมืองในลิเบียเท่านั้น แต่ ยังเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของลิเบียในปัจจุบัน 41 Sharif Abdel Kouddous, “Thousands march for ‘dignity and reforms,” Gulfnews.com, May 24, 2014, https://gulfnews.com/world/mena/thousands-march-for-dignity-and-reforms-1.1337771 (accessed April 19, 2019). 42 Joseph Hincks, “Libya Is on the Brink of Civil War and a U.S. Citizen Is Responsible. Here's What to Know,” Time.com, April 9, 2019, http://time.com/5566575/libya-tripoli-khalifa-haftar-gadddafi (accessed April 11, 2019). 43 อ้างแล้ว.
  • 24. 21 บทบาทและความสาคัญของกองทัพลิเบียแห่งชาติในการเมืองระหว่างประเทศ มีมหาอานาจจานวนน้อยมากที่ประกาศตนว่าสนับสนุนนายพลฮัฟตาร์อย่างเป็นทางการ มหาอานาจ ทั้งหมดให้การยอมรับรัฐบาลของข้อตกลงแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีฟาเยซ อัล-ซาร์รัจที่สหประชาชาติให้ การสนับสนุน ทั้งนี้ ประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ลังเลที่จะให้ฮัฟตาร์มีบทบาททางการเมืองใดๆ เว้นเสียแต่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมภายใต้รัฐบาลของอัล-ซาร์รัจ แต่ชัยชนะของกองทัพลิเบียแห่งชาติของเขา ในการยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศทาให้แนวคิดนี้ดูจะเป็นไปได้ยากขึ้น44 จากการประเมินสถานการณ์ในลิเบียโดยรัฐบาลอังกฤษ ประเทศในตะวันออกกลางที่ให้การ สนับสนุนฮัฟตาร์ในด้านการทหาร งบประมาณ และอานาจทางการเมืองมากที่สุด ได้แก่ อียิปต์ และสหรัฐ อาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งต่างต้องการยับยั้งอิทธิพลของกลุ่มญิฮาดและกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในลิเบีย45 รัฐบาล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เคยทาหน้าที่ผลักดันกระบวนการสันติภาพในลิเบียโดยให้นายอัล-ซาร์รัจและฮัฟตาร์ เข้าร่วมเจรจา แต่กลับกีดกันกลุ่มที่ต่อต้านฮัฟตาร์ออกไป การกระทาดังกล่าวจึงสะท้อนให้เห็นว่า สหรัฐ 44 Joseph Hincks, “Libya Is on the Brink of Civil War and a U.S. Citizen Is Responsible. 45 Patrick Wintour, “Libya crisis: UK officials anxious as blame is laid at doors of Gulf allies,” April 9, 2019, https://www.theguardian.com/world/2019/apr/09/libya-crisis-anxiety-uk-blame-laid-doors-gulf-allies (accessed April 11, 2019). ประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตาห์ อัลซิซีของอียิปต์ และหัวหน้าฝ่ายข่าวกรอง นายอับบาส คาเมล พบกับนายพลคาลิฟา ฮัฟตาร์ที่กรุงไคโร อียิปต์ (AFP)
  • 25. 22 อาหรับเอมิเรตส์ยอมรับเขาในฐานะรัฐบุรุษที่มีความชอบธรรมทางการเมือง นอกจากนี้ สหรัฐอาหรับเอ มิเรตส์ยังสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในลิเบียในปี 2018 ซึ่งถือเป็นการหลีกเลี่ยงการเจรจาสันติภาพ โดยตรงในทางอ้อมเนื่องจากฝักฝ่ายต่างๆ ในลิเบียต่างมองว่าการเลือกตั้งจะช่วยคลี่คลายความขัดแย้งต่างๆ ในลิเบียได้ในที่สุด46 ซาอุดีอาระเบียก็ให้การสนับสนุนกองทัพลิเบียแห่งชาติเช่นเดียวกัน โดยก่อนที่นายพลฮัฟตาร์จะยก กองทัพเพื่อตีเมืองหลวงตริโปลี เขาได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ซัลมาน (Salman bin Abdulaziz Al Saud) และ มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน (Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud) ที่ซาอุดีอาระเบีย การเยี่ยมเยือนครั้งประวัติศาสตร์นี้นับเป็นครั้งแรกที่ผู้นาลิเบียและกษัตริย์ซาอุดีฯ พบกันตั้งแต่ยุคสมัยของ กษัตริย์ไอดริสในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 และ 1960 เนื่องจากกษัตริย์ซัลมานยึดมั่นที่จะรักษาเสถียรภาพใน ลิเบีย นักวิเคราะห์หลายคน รวมทั้งนายพลจัตวา โมฮัมหมัด อัล-คูนิดิ (Mohammad al Qunidi) หัวหน้า หน่วยข่าวกรองทหารภายใต้นายกรัฐมนตรีอัล-ซาร์รัจ ต่างตีความว่า การเข้าเฝ้ากษัตริย์ซัลมานของฮัฟตาร์ อาจให้สัญญาณว่าซาอุดีอาระเบียให้การสนับสนุนปฏิบัติการบุกโจมตีตริโปลี ด้วยเหตุที่ซาอุดีอาระเบียมอง ว่ากองทัพลิเบียแห่งชาติของฮัฟตาร์เป็นป้อมปราการเดียวที่สามารถต่อต้านกลุ่มอิสลามิสต์ที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มภราดรภาพมุสลิมไม่ให้เรืองอานาจได้ ซึ่งมุมมองนี้เป็นมุมมองเดียวกันกับที่ซาอุดีอาระเบียใช้มองอียิปต์ 46 Jalel Harchaoui, “How France is Making Libya Worse,” Foreignaffairs.com, September 21, 2017, https://www.foreignaffairs.com/articles/france/2017-09-21/how-france-making-libya-worse (accessed April 11, 2019). กษัตริย์ซัลมานพบกับนายพลคาลิฟา ฮัฟตาร์ที่กรุงริยาด (Reuters)
  • 26. 23 นอกจากนี้ นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าการที่ซาอุดีอาระเบียสนับสนุนฮัฟตาร์อาจเป็นเพราะกองทัพลิเบีย แห่งชาติประกอบด้วยนักรบที่นับถือหลักคาสอนของชีคราบี อัล มัดคาลี ซึ่งเป็นสาขาย่อยของลัทธิซาลาฟี (the Salafi Madkhali school) ซึ่งซาอุดีอาระเบียให้การสนับสนุนในฐานะที่เป็นประเทศต้นกาเนิดของ อุดมการณ์ซาลาฟี47 รัสเซียช่วยเหลือกองทัพของฮัฟตาร์ด้วยการให้การเยียวยารักษาทหารที่บาดเจ็บจากการรบ และ ช่วยพิมพ์ธนบัตรสกุลเงินดินาร์ของลิเบียให้แก่รัฐบาลที่โตบรูคในนามของฮัฟตาร์ และลงนามในข้อตกลง พิเศษที่อนุญาตให้รัฐบาลรัสเซียตั้งฐานทัพอากาศเพิ่มอีกสองแห่งทางตะวันออกของลิเบีย นายจิออร์จิโอ คาฟีโร (Giorgio Cafiero) และนายแดเนียล แวกเนอร์ (Daniel Wagner) ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กร Global Risk ให้การสังเกตว่า มอสโควมองว่าฮัฟตาร์เป็นบุคคลเดียวที่สามารถขวางกั้นลัทธิรุนแรงสุดโต่งในลิเบียได้ ไม่ใช่รัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ48 นอกจากนี้ นายอเล็ก ลันห์ (Alec Luhn) และนายโดมินิก นิโคล (Dominic Nicholls) รายงานใน หนังสือพิมพ์ Telegraph ในวันที่ 3 มีนาคม 2019 ว่ามีทหารรับจ้างกว่าร้อยนายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วย ข่าวกรองทหารของรัสเซียที่กาลังให้ความช่วยเหลือกองทัพของฮัฟตาร์ทางตะวันออกของลิเบีย ทหารรับจ้าง ประมาณ 300 คนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบริษัททหารรับจ้าง Wagner Group ที่ปฏิบัติการอยู่ที่เบงกาซี และให้การสนับสนุน LNA ด้วยอาวุธหลากหลายประเภท เช่น ปืนใหญ่ รถถัง โดรน และกระสุนปืน เป็นต้น49 47 Patrick Wintour, “Libya crisis: UK officials anxious as blame is laid at doors of Gulf allies.”; Giorgio Cafiero and Theodore Karasik, “General Hifter’s march on Tripoli,” Middle East Institute, April 9, 2019, https://www.mei.edu/publications/general-hifters-march-tripoli (accessed April 11, 2019). 48 Giorgio Cafiero, “Will Trump and Putin See Eye-to-Eye on Libya?” February 14, 2017, LobeLog.com, https://lobelog.com/will-trump-and-putin-see-eye-to-eye-on-libya/ (accessed April 11, 2019). 49 “Libyan National Army,” Globalsecurity.org.