SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 8
Downloaden Sie, um offline zu lesen
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ใใใใใใใใใใใใใใใ
ใใใใใใ:
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
อัตราค่าไฟฟ้ าสารองกับความไม่เสถียรของกาลัง
ไฟฟ้ าจากแสงแดด : ปัญหาความท้าทายของเทคโนแครต
ด้านพลังงานของภาครัฐไทย รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์
อดีตประธานสายพลังงาน
บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
กรรมการสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
อัตราค่าไฟฟ้ าสารองกับความไม่เสถียรของกาลังไฟฟ้ าจากแสงแดด
: ปัญหาความท้าทายของเทคโนแครตด้านพลังงานของภาครัฐไทย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้เขียน : รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์
ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ปาณัท ทองพ่วง
ภาพปก : แผงโซลาร์บนหลังคาบ้านซึ่งแพร่หลายในประเทศจีน
ที่มาภาพ : http://www.digitaljournal.com/img/1/0/4/8/1/8/4/i/1/7/6/o/2014-02-
27T212118Z_1_CBREA1Q1NBO00_RTROPTP_4_CBUSINESS-US-CHINA-SOLAR.JPG
เผยแพร่ : กรกฎาคม 2560
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
1
รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ อดีตประธานสายพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและ
สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรรมการสถาบันคลังปัญญาด้าน
ยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เสนอความเห็นเรื่องการปรับเปลี่ยนแนวทาง
นโยบายพลังงานไฟฟ้าของไทย ดังนี้
ทันทีที่มีข่าวว่าคณะกรรมการกากับกิจการพลังงานกาลังให้การไฟฟ้ าฝ่ายผลิต (กฟผ.) แห่ง
ประเทศไทยศึกษาเรื่องการเก็บค่าไฟฟ้าสารองจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เพื่อใช้เอง ได้
ก่อให้เกิดการวิพากษ์ต่อแนวทางดังกล่าวในภาคประชาชนผู้ผลิตและใช้ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ว่า
การกาหนดทิศทางเชิงนโยบายในเรื่องดังกล่าวแท้จริงแล้วเป็นประโยชน์หรือเป็นธรรมต่อผู้ผลิตไฟฟ้ า
จากแสงอาทิตย์มากน้อยเพียงไร?
ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้วิธีการวางแผนและพัฒนาโรงไฟฟ้ าของประเทศ โดยใช้แนวทางที่
เรียกว่า การจัดหาพลังงาน (Supply Side Approach) เป็นหลัก โดยแนวทางนี้รัฐจะพิจารณาแนวโน้ม
ของความต้องการใช้กาลังไฟฟ้ าสูงสุดในแต่ละปี ควบคู่กับแนวโน้มของการใช้พลังงานไฟฟ้ าโดยรวม
ที่เพิ่มขึ้นทุกปี แล้วนามาวางแผนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้ าใหม่ๆ ให้ทันกับความต้องการใช้พลังงานที่
เพิ่มขึ้น
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
รองศาสตราจารย์ ดร. จานง สรพิพัฒน์
อัตราค่าไฟฟ้ าสารองกับความไม่เสถียรของกาลังไฟฟ้ าจากแสงแดด
: ปัญหาความท้าทายของเทคโนแครตด้านพลังงานของภาครัฐไทย
2สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ยังมีอีกแนวทางหนึ่งที่ปกติจะใช้ดาเนินการร่วมกับวิธีแรก แต่ภาครัฐไทยมักจะละเลย
และให้ความสาคัญน้อยกว่าคือ แนวทางการชะลอความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้ าให้ลดลง
(Demand Side Approach) เครื่องมือหลักของแนวทางนี้ก็คือ การประหยัดพลังงานนั่นเอง ใน
ประเทศพัฒนาแล้ว จะทาตรงข้ามกับภาครัฐไทยคือจะให้ความสาคัญมากต่อการประหยัด
พลังงานยิ่งกว่าแนวทางแรก คือจะดาเนินการประหยัดพลังงานในทุกวิถีทางเสียก่อนอย่างเต็มที่
แล้ว จึงค่อยจัดหาโรงไฟฟ้ าใหม่เข้ามาเสริมเมื่อยังไม่เพียงพอ ขณะที่รัฐไทยจะเป็นทิศตรงข้าม
คือ ให้ความสาคัญต่อการจัดหาพลังงานเหนือการลดความต้องการใช้ไฟฟ้ามาโดยตลอด
ในช่วงระยะเวลาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความท้าทายการวางแผนและพัฒนากาลังไฟฟ้ าของ
ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
อันเนื่องมาจากการเกิดขึ้นของนวัตกรรมด้านการผลิตไฟฟ้ าชนิดใหม่จากแหล่งพลังงาน
หมุนเวียนโดยเฉพาะจากแสงแดด เทคโนโลยีที่ว่านี้ช่วยทาให้ผู้บริโภคไฟฟ้ ารายย่อยโดยเฉพาะ
ภาคครัวเรือนและอาคารพาณิชย์ จากเดิมที่ต้องเป็นผู้บริโภคไฟฟ้ าแต่ฝ่ายเดียว กลับสามารถ
ผลิตไฟฟ้าขึ้นมาใช้เองได้
แต่นวัตกรรมใหม่ที่ว่านี้ใช่ว่าจะปราศจากปัญหาใดๆ เสียทีเดียว เพราะไฟฟ้ าจากแหล่ง
พลังงานแสงแดด ยังมีลักษณะไม่เสถียรและไม่สม่าเสมอ ขึ้นกับว่าช่วงใดมีแดดหรือไม่มีแดด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลากลางคืนที่ท้องฟ้ าไม่มีแดดเลย ทาให้การผลิตไฟฟ้ าจากแสงแดด
ยังตัองอาศัยโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลแบบเก่าผลิตไฟฟ้ าเสริมในช่วงกลางคืนหรือช่วงที่ท้องฟ้ า
มีฝนฟ้าคะนอง
เนื่องจากในปัจจุบันแบตเตอรี่เก็บไฟฟ้ าสารองยังมีต้นทุนสูง (แต่มีแนวโน้มลดต่าลงมา
เรื่อยๆอย่างรวดเร็วในระยะใกล้นี้) การเสริมการผลิตไฟฟ้ าช่วงที่ท้องฟ้ าไม่มีแดด จึงยังคงการ
พึ่งพาการผลิตไฟฟ้ าจากโรงไฟฟ้ าฟอสซิลเป็นเกณฑ์ อย่างไรก็ดี การที่รัฐต้องสร้างโรงไฟฟ้ า
ฟอสซิลขึ้นมาสารอง เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีไฟฟ้ าใช้ตลอดเวลา ในด้านหนึ่งดูเหมือนเป็นการ
ประกันความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้ าให้กับประชาชน แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เหมือนกับการสร้าง
ภาระต้นทุนของส่วนรวมที่แพงขึ้น เพราะโรงจักรสารองไฟฟ้ าเหล่านี้จะผลิตไฟฟ้ าเพียงบางเวลา
ในช่วงที่ไฟฟ้ าขาดแคลน แต่ไม่มีโอกาสเดินโรงจักรได้เต็มกาลังได้ตลอดเวลา จึงเหมือนการ
ลงทุนที่สูญเปล่าไปในดัว เพื่อแก้ปัญหานี้ ในต่างประเทศจึงมีหลักการที่สาคัญคือ ความมี
ประสิทธิภาพในการบริหารและผลิตไฟฟ้ าในระยะยาว ที่ต้องมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อว่าการ
สร้างโรงไฟฟ้าฟอสซิลใหม่สาหรับสารองการผลิตไฟฟ้าจะได้มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จาเป็น
3สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
มิฉะนั้นแล้วอัตราค่าไฟฟ้าแทนที่จะถูกลงแต่กลับจะแพงขึ้นทะลุฟ้า เพราะรัฐต้องสร้างโรงไฟฟ้ าสารอง
ขนาดเท่าๆ กันสาหรับทุกๆ กิโลวัตต์ที่มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ดังนั้น แนวทางปฏิบัติของการ
วางแผนพัฒนากาลังผลิตไฟฟ้าในประเทศเหล่านี้คือ มุ่งเป้าสู่การลดความต้องการใช้ไฟฟ้ าเป็นอันดับ
แรก โดยผ่านโปรแกรมการประหยัดพลังงานต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพและมีการติดตามอย่างใช้ใกล้ชิด
ส่วนการจัดหาพลังงานนั้น รัฐจะให้ความสาคัญเป็นอันดับรอง เพราะโดยทางเช่นนี้เท่านั้น จึงจะช่วย
ลดภาระค่าไฟฟ้าให้ถูกลงและเป็นที่ยอมรับได้
คราวนี้กลับมามองปัญหาของประเทศไทย ที่ผ่านมาแม้ประเทศไทยจะมีนโยบายและแผน
ประหยัดพลังงานไฟฟ้ า แต่ในทางปฏิบัติแล้ว รัฐจะให้ความสาคัญต่อการจัดหาโรงไฟฟ้ าใหม่ทันทีที่
ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสูง ส่วนการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าผ่านการประหยัดพลังงานกลับเป็น
เรื่องที่ภาครัฐไม่ค่อยให้ความจริงจังมากนัก ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ให้ความสาคัญ
ต่อผลสัมฤทธิ์ในการประหยัดพลังงานอย่างยิ่งยวดเป็นอันดับแรก
การวางแผนแบบเน้นการจัดหาพลังงานเป็นหลัก (Supply Side Approach) รวมถึงการสร้าง
โรงไฟฟ้ าใหม่ขนาดใหญ่ เป็นการวางแผนบริหารด้านพลังงานไฟฟ้ าแบบรวมศูนย์ (centralized ap-
proach) แบบเดิมๆ ที่ทากันมานานเกินค่อนศตวรรษ กระบวนการบริหารแบบนี้จะยิ่งทวีปัญหามาก
ขึ้นเมื่อการผลิตไฟฟ้ าจากแหล่งไฟฟ้ าพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะไฟฟ้ าจากแสงแดดมีสัดส่วนที่
สูงขึ้น นอกจากนี้ภาครัฐไทยยังมีวิธีส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดที่มีลักษณะเฉพาะของไทยที่ไม่
เหมือนประเทศอื่นๆ ซึ่งยิ่งจะสร้างปัญหาให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังต่อไปดังนี้
ประการแรก ที่ผ่านมาภาครัฐไทยให้การสนับสนุนและอุดหนุนรับซื้อไฟฟ้ าจากเซลล์แสงอาทิตย์
ด้วยราคาพิเศษแก่นายทุนผู้ผลิตรายใหญ่แบบโซล่าฟาร์ม (การผลิตไฟฟ้ าขนาดใหญ่โดยใช้พื้นที่โล่ง
แจ้งขนาดใหญ่) เป็นทิศทางหลัก แทนที่จะให้การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้ าจากหลังคา (Solar Roof
Top) ดังเช่นที่ประเทศอื่นๆ ทากัน จึงทาให้เกิดปัญหาความเสถียรของระบบไฟฟ้ ารุนแรงและไฟฟ้ า
สายส่ง(Feeder Line) ไม่เพียงพอมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะการผลิตไฟฟ้ าแบบโซล่าฟาร์ม โดย
ลักษณะนี้เป็นการผลิตไฟฟ้าแบบเข้มข้นที่กระจุกตัวจากจุดๆ เดียว ธรรมชาติของแดดมีความผันผวน
อยู่ในตัว เช่นเมื่อแดดหายเพราะบังเอิญมีก้อนเมฆมาบัง แรงดันในสายส่งก็จะหายไปทันที หรือเวลาที่
แดดจัดไฟฟ้าที่ผลิตได้อาจมากเกินความต้องการ ทาให้เกิดความผันผวนได้มาก เพื่อแก้ปัญหานี้ โดย
ปกติการผลิตไฟฟ้ าจากแสงแดด จึงนิยมวางแผนให้มีการผลิตไฟฟ้ าแบบกระจายตัวเป็นหน่วยผลิต
ไฟฟ้าย่อยๆจานวนมากบนหลังคาออกไปทั่วบริเวณกว้างๆ ทั่วทั้งอาเภอ แทนที่จะสร้างโรงไฟฟ้ าโซล่า
เซลล์ขนาดใหญ่เพียงโรงเดียวกระจุกตัวอยู่ที่จุดเดียว ทาให้สามารถลดความผันผวนลงได้ เพราะ
4
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
โอกาสที่แดดจะหุบหายไปพร้อมๆ กันทั้งพื้นที่ย่อมเป็นไปได้ยากกว่า
ประการที่สอง การผลิตไฟฟ้ าจากหลังคามีข้อดีที่ผู้ผลิตไฟฟ้ าและผู้ใช้ไฟฟ้ าคือรายเดียวกัน
ขณะที่การผลิตของโซล่าฟาร์มจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ าเท่านั้น การที่ผู้ผลิตไฟฟ้ าเป็นผู้บริโภคไฟฟ้ า ณ จุด
เดียวกัน จะช่วยลดความสูญเสียในสายส่งลง อีกทั้งช่วยลดปัญหาเรื่องขนาดสายส่งไม่เพียงพอได้อีก
ด้วย การผลิตไฟฟ้ าบนหลังคาถือหลักที่ว่า เมื่อตนเองผลิตไฟฟ้ าไม่เพียงพอแล้ว (หรือผลิตไฟฟ้ า
มากเกินพอ) จึงจะมีการแลกเปลี่ยนส่งออกหรือนาเข้าไฟฟ้ าจากหน่วยการผลิตที่อยู่ข้างเคียง การ
ผลิตและใช้ไฟฟ้ าแบบนี้เรียกว่าเป็นการผลิตไฟฟ้ าแบบกระจายตัว (Distributed Generation หรือ
DG) ซึ่งใช้แนวคิดที่ต่างกับการผลิตดั้งเดิมแบบรวมศูนย์ (Centralized Generation) โดยสิ้นเชิง
ความสาคัญของการผลิตแบบนี้อยู่ที่ว่า แต่ละหน่วยการผลิตไฟฟ้ าจะต้องผลิตไฟฟ้ าเพื่อใช้เองให้
เพียงพอก่อน (self-balance) เป็นอันดับแรก ต่อเมื่อไม่เพียงพอจึงจะมีการนาเข้าหรือส่งกาลังไฟฟ้ า
จากหรือไปยังจุดข้างเคียง เนื่องจากพื้นที่หลังคาของแต่ละบ้านมีขนาดจากัด การประหยัดพลังงาน
ภายในบ้านหรืออาคาร เพื่อไม่ให้ความต้องการใช้ไฟฟ้ าเกินกว่ากาลังที่ผลิตได้ หรือถ้าเกินก็ให้เกิน
น้อยที่สุด จึงมีความสาคัญพอๆกับการผลิตไฟฟ้ าด้วยตัวเอง โดยแนวคิดนี้หากทุกบ้านหรืออาคาร
ดาเนินการผลิตและใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็จะช่วยให้ลดความจาเป็นที่จะต้องพึ่งพาการ
ผลิตไฟฟ้ าสารองจากแหล่งพลังงานฟอสซิลให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จาเป็น ดังนั้นต้นทุนในการจัดหา
พลังงานไฟฟ้าสารองก็จะลดลงได้หรือมีเท่าที่จาเป็นเท่านั้น
ปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้ าสูงสุดหรือพีค (Peak) ของวันในประเทศไทยจะเกิดขึ้นในภาค
กลางวัน แม้ว่าจะมีการติดแผงโซล่าเซลล์แบบหลังคาของผู้ใช้ไฟฟ้ าขนาดใหญ่ เช่น ตามหลังคา
โรงงานหรืออาคารพาณิชย์บางแห่ง แต่การติดตั้งลักษณะดังกล่าวยังถือว่าน้อยมาก ไม่ถึง 1% ของ
ปริมาณการใช้ไฟฟ้ าทั้งหมด ดังนั้น ตราบใดที่พีคในเวลากลางวันยังสูงกว่ากลางคืน ภาครัฐจึงยังไม่
ควรที่จะจัดเก็บค่าสารองไฟฟ้าใดๆ เพราะการตัดพีคในช่วงเวลากลางวัน เป็นการช่วยลดภาระของรัฐ
ในการสร้างโรงไฟฟ้ าฟอสซิลใหม่โดยตรง ต่อเมื่อพีคในเวลากลางคืนสูงกว่ากลางวันแล้ว มีการ
ดาเนินการด้วยมาตรการต่างๆ ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ าประหยัดไฟฟ้ าจนถึงขั้นสูงแล้วเท่านั้น จึงถึงเวลาที่
ภาครัฐควรจะพิจารณาว่าจะจัดเก็บอัตราค่าไฟฟ้าสารองหรือไม่
จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เมื่อความนิยมติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา
บ้านเรือนมีมากขึ้น จนความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดหรือพีค (Peak) ของวัน จะย้ายไปเป็นตอนหัวค่า
5
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
แทนหลังพระอาทิตย์ตกดิน ดังนั้น แม้ภาครัฐยังคงต้องจัดหาแหล่งผลิตไฟฟ้ าสารองจากแหล่ง
พลังงานฟอสซิลอยู่เช่นเดิม แต่ด้วยมาตรการที่เหมาะสมที่เอื้อให้มีการปรับปรุงตัวอาคารหรือ
เครื่องใช้ไฟฟ้ าต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ขนาดของพีคหรือความต้องการใช้ไฟฟ้ าสูงสุดในตอน
หัวค่าจะลดลงได้ ทาให้ขนาดของโรงไฟฟ้ าสารองไฟฟ้ าฟอสซิลที่ต้องสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนมีขนาด
เล็กลงได้ ซึ่งจะทาให้อัตราค่าไฟฟ้าสารองมีค่าลดลง
ประการที่สาม การสนับสนุนนักลงทุนรายใหญ่เพียงไม่กี่รายแบบโซล่าฟาร์มไม่ก่อให้เกิดการ
กระจายรายได้ได้ดีพอด้วยขนาดเม็ดเงินของการลงทุนที่เท่ากัน เมื่อเทียบกับการติดตั้งเซลล์
แสงอาทิตย์บนหลังคาเรือน เช่น การลงทุนแบบฟาร์มขนาดใหญ่ขนาด 10 MW เพียงรายเดียว หาก
มีการกระจายการลงทุนขนาดเล็กบนหลังคาบ้านเรือนขนาด 10 kW ต่อหลังคา รายได้ก็จะตกกับ
ครัวเรือนจานวน 1,000 ราย (10,000kW = 10 MW) แทนที่จะเป็นรายได้ของเพียงรายเดียว ใน
บางประเทศ รัฐถึงกับใช้วิธีการนี้สร้างรายได้ให้กับคนจน โดยการลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บน
หลังคาบ้านให้ก่อน และให้คนจนดูแลผลิตไฟฟ้ าขายกลับคืนให้กับภาครัฐ เพื่อสร้างรายได้ให้กับคน
จน
จากประสบการณ์ในต่างประเทศ ปัญหาความเสถียรของการผลิตไฟฟ้ าจากหลังคาของ
ผู้บริโภคไฟฟ้าจะมีปัญหาจริงๆ ก็ต่อเมื่อสัดส่วนของการผลิตไฟฟ้ าจากเซลล์แสงอาทิตย์มีค่าเกินกว่า
30% ของการผลิตกาลังไฟฟ้ าของประเทศ (หากเกินกว่านี้ ต้องมีการบริหารจัดการการไหลของ
ไฟฟ้ าอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับการใช้ระบบ smart grid เข้าช่วยควบคุม) ปัจจุบันสัดส่วนดังกล่าว
ในประเทศไทยยังมีค่าต่ามากไม่ถึง 1% ระบบการผลิตไฟฟ้ าแบบรวมศูนย์จากส่วนกลาง ยังสามารถ
แบกรับ (tolerate) กับความผันผวนจากแหล่งการผลิตไฟฟ้ าหมุนเวียนได้อย่างสบายๆ ภาครัฐจึงยัง
พอมีเวลาที่จะพิจารณาปัญหาดังกล่าวข้างต้น ประเด็นที่ภาครัฐควรปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วนควรเป็น
ดังนี้
ก. ปรับเปลี่ยนวิธีการวางแผนพัฒนากาลังผลิตไฟฟ้ า (แผน PDP) ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง
ยังคงให้ความสาคัญต่อการจัดหาโรงไฟฟ้ าใหม่เป็นอันดับแรก มาเป็นระบบที่ให้ความสาคัญกับการ
ลดความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วยการประหยัดพลังงานแทน ปรับเปลี่ยนจากการวางแผนแบบดั้งเดิมที่ใช้
Supply Side Approach มาเป็นระบบ Integrated Resources Approach แทน ซึ่งผสมผสานระหว่าง
การประหยัดพลังงาน การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนและแหล่งพลังงานฟอสซิลเป็นแผน
เดียวกัน ดังเช่นที่ประเทศที่พัฒนาแล้วทากัน
6
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ข. ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตและจ่ายไฟฟ้ าแบบรวมศูนย์ มาเป็นแบบกระจายการผลิต
(Distributed Generation) เพราะแนวทางการผลิตไฟฟ้ าแบบเดิม ไม่สามารถแบกรับกับการ
เปลี่ยนแปลงด้านการผลิตไฟฟ้ าแบบใหม่ (Disruptive Technology) ที่กาลังเปลี่ยนแปลงไปอย่าง
รวดเร็ว
ค. รัฐควรให้ความสาคัญกับการผลิตไฟฟ้ าจากหลังคาก่อนการผลิตไฟฟ้ าแบบโซล่าฟาร์ม
เพราะนอกจากจะแก้ไขปัญหาเรื่องความผันผวนและสร้างความเสถียรของระบบผลิตไฟฟ้ าให้ดีแล้ว
ยังช่วยลดการสูญเสียไฟฟ้ าในสายส่งได้ด้วย ปัจจุบัน ต้นทุนแผงเซลล์แสงอาทิตย์มีราคาถูกลงมาก
พอที่จะเปิดซื้อขายไฟฟ้ าจากหลังคาเรือนได้อย่างเสรี โดยที่รัฐไม่จาเป็นต้องอุดหนุนการรับซื้อไฟฟ้ า
ด้วยราคา (แพง)พิเศษ เช่นที่อุดหนุนให้กับไฟฟ้ าจากโซล่าฟาร์ม อีกทั้งยังจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
และกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
ง. การพิจารณาเพื่อจัดเก็บค่ากาลังไฟฟ้ าสารอง ยังไม่ควรมีการดาเนินการ จนกว่า (หนึ่ง)
พีคของการใช้ไฟฟ้ าในตอนกลางวันต่ากว่าตอนหัวค่าเสียก่อน (สอง) มีการใช้มาตรการดาเนินการ
ประหยัดพลังงานอย่างได้ผลจนเต็มศักยภาพ จนไม่สามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้ าเพิ่มเติมได้อีก
ต่อไป
กล่าวโดยสรุป หากภาครัฐมีความจริงใจและต้องการเห็นความสาเร็จในการส่งเสริมการ
ใช้ไฟฟ้ าจากแสงอาทิตย์ดังที่ภาครัฐแถลงอยู่เนืองๆ แล้วนั้น ปัจจุบัน ยังไม่ถึงเวลาที่รัฐจะคิดค่า
อัตราไฟฟ้ าสารองเพิ่มเติมแต่อย่างไร ทางที่ดีรัฐควรดาเนินการลดความต้องการใช้กาลังไฟฟ้ า
อย่างจริงจังให้เต็มที่เสียก่อน รวมถึงการปรับปรุงวิธีการวางแผนการจัดหาพลังงาน ซึ่งต้อง
ควบคู่ไปพร้อมกับการลดความต้องการใช้ไฟฟ้ าด้วยเสมอ
* * *

Weitere ähnliche Inhalte

Ähnlich wie อัตราค่าไฟฟ้าสำรองกับความไม่เสถียรของกำลังไฟฟ้าจากแสงแดด

โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1
โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1
โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1Chok Ke
 
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎีตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎีKawinTheSinestron
 
C:\fakepath\กฟภ 1
C:\fakepath\กฟภ 1C:\fakepath\กฟภ 1
C:\fakepath\กฟภ 1maebchanthuk
 
ความมั่นคงทางพลังงานไม่ได้มีเพียงมิติเดียว
ความมั่นคงทางพลังงานไม่ได้มีเพียงมิติเดียวความมั่นคงทางพลังงานไม่ได้มีเพียงมิติเดียว
ความมั่นคงทางพลังงานไม่ได้มีเพียงมิติเดียวKlangpanya
 
Slแบบฝึกหัดทบทวนก่อนสอบหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน 15 กย55
Slแบบฝึกหัดทบทวนก่อนสอบหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน 15 กย55Slแบบฝึกหัดทบทวนก่อนสอบหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน 15 กย55
Slแบบฝึกหัดทบทวนก่อนสอบหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน 15 กย55krupornpana55
 
ฟิสิกส์.pdf
ฟิสิกส์.pdfฟิสิกส์.pdf
ฟิสิกส์.pdfnipatboonkong2
 
สมุดภาพไฟฟ้า
สมุดภาพไฟฟ้า สมุดภาพไฟฟ้า
สมุดภาพไฟฟ้า Rujaruk Sukhasame
 
สมุดภาพไฟฟ้า พิชาพรรณ์
สมุดภาพไฟฟ้า พิชาพรรณ์สมุดภาพไฟฟ้า พิชาพรรณ์
สมุดภาพไฟฟ้า พิชาพรรณ์Rujaruk Sukhasame
 
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_Rattanathon Phetthom
 
ชุดฝึกทักษะเรื่องไฟฟ้าสถิต ชุดที่ 3
ชุดฝึกทักษะเรื่องไฟฟ้าสถิต ชุดที่ 3ชุดฝึกทักษะเรื่องไฟฟ้าสถิต ชุดที่ 3
ชุดฝึกทักษะเรื่องไฟฟ้าสถิต ชุดที่ 3พนภาค ผิวเกลี้ยง
 
เครื่องใช้ไฟฟ้า1
เครื่องใช้ไฟฟ้า1เครื่องใช้ไฟฟ้า1
เครื่องใช้ไฟฟ้า1Keatisak TAtanarua
 

Ähnlich wie อัตราค่าไฟฟ้าสำรองกับความไม่เสถียรของกำลังไฟฟ้าจากแสงแดด (12)

โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1
โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1
โครงงานวิทยาศาสตร์ ถ่านอัดแท่งสมุนไพร1
 
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎีตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
ตัวอย่างโครงงานการจำลองทฤษฎี
 
กฟภ 1
กฟภ 1กฟภ 1
กฟภ 1
 
C:\fakepath\กฟภ 1
C:\fakepath\กฟภ 1C:\fakepath\กฟภ 1
C:\fakepath\กฟภ 1
 
ความมั่นคงทางพลังงานไม่ได้มีเพียงมิติเดียว
ความมั่นคงทางพลังงานไม่ได้มีเพียงมิติเดียวความมั่นคงทางพลังงานไม่ได้มีเพียงมิติเดียว
ความมั่นคงทางพลังงานไม่ได้มีเพียงมิติเดียว
 
Slแบบฝึกหัดทบทวนก่อนสอบหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน 15 กย55
Slแบบฝึกหัดทบทวนก่อนสอบหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน 15 กย55Slแบบฝึกหัดทบทวนก่อนสอบหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน 15 กย55
Slแบบฝึกหัดทบทวนก่อนสอบหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน 15 กย55
 
ฟิสิกส์.pdf
ฟิสิกส์.pdfฟิสิกส์.pdf
ฟิสิกส์.pdf
 
สมุดภาพไฟฟ้า
สมุดภาพไฟฟ้า สมุดภาพไฟฟ้า
สมุดภาพไฟฟ้า
 
สมุดภาพไฟฟ้า พิชาพรรณ์
สมุดภาพไฟฟ้า พิชาพรรณ์สมุดภาพไฟฟ้า พิชาพรรณ์
สมุดภาพไฟฟ้า พิชาพรรณ์
 
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_
ต วอย างโครงงานการจำลองทฤษฎ_
 
ชุดฝึกทักษะเรื่องไฟฟ้าสถิต ชุดที่ 3
ชุดฝึกทักษะเรื่องไฟฟ้าสถิต ชุดที่ 3ชุดฝึกทักษะเรื่องไฟฟ้าสถิต ชุดที่ 3
ชุดฝึกทักษะเรื่องไฟฟ้าสถิต ชุดที่ 3
 
เครื่องใช้ไฟฟ้า1
เครื่องใช้ไฟฟ้า1เครื่องใช้ไฟฟ้า1
เครื่องใช้ไฟฟ้า1
 

Mehr von Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

Mehr von Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

อัตราค่าไฟฟ้าสำรองกับความไม่เสถียรของกำลังไฟฟ้าจากแสงแดด

  • 1. วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต อัตราค่าไฟฟ้ าสารองกับความไม่เสถียรของกาลัง ไฟฟ้ าจากแสงแดด : ปัญหาความท้าทายของเทคโนแครต ด้านพลังงานของภาครัฐไทย รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ อดีตประธานสายพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรรมการสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
  • 2. อัตราค่าไฟฟ้ าสารองกับความไม่เสถียรของกาลังไฟฟ้ าจากแสงแดด : ปัญหาความท้าทายของเทคโนแครตด้านพลังงานของภาครัฐไทย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้เขียน : รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ปาณัท ทองพ่วง ภาพปก : แผงโซลาร์บนหลังคาบ้านซึ่งแพร่หลายในประเทศจีน ที่มาภาพ : http://www.digitaljournal.com/img/1/0/4/8/1/8/4/i/1/7/6/o/2014-02- 27T212118Z_1_CBREA1Q1NBO00_RTROPTP_4_CBUSINESS-US-CHINA-SOLAR.JPG เผยแพร่ : กรกฎาคม 2560 ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. 1 รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ อดีตประธานสายพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและ สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรรมการสถาบันคลังปัญญาด้าน ยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เสนอความเห็นเรื่องการปรับเปลี่ยนแนวทาง นโยบายพลังงานไฟฟ้าของไทย ดังนี้ ทันทีที่มีข่าวว่าคณะกรรมการกากับกิจการพลังงานกาลังให้การไฟฟ้ าฝ่ายผลิต (กฟผ.) แห่ง ประเทศไทยศึกษาเรื่องการเก็บค่าไฟฟ้าสารองจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เพื่อใช้เอง ได้ ก่อให้เกิดการวิพากษ์ต่อแนวทางดังกล่าวในภาคประชาชนผู้ผลิตและใช้ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ว่า การกาหนดทิศทางเชิงนโยบายในเรื่องดังกล่าวแท้จริงแล้วเป็นประโยชน์หรือเป็นธรรมต่อผู้ผลิตไฟฟ้ า จากแสงอาทิตย์มากน้อยเพียงไร? ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้วิธีการวางแผนและพัฒนาโรงไฟฟ้ าของประเทศ โดยใช้แนวทางที่ เรียกว่า การจัดหาพลังงาน (Supply Side Approach) เป็นหลัก โดยแนวทางนี้รัฐจะพิจารณาแนวโน้ม ของความต้องการใช้กาลังไฟฟ้ าสูงสุดในแต่ละปี ควบคู่กับแนวโน้มของการใช้พลังงานไฟฟ้ าโดยรวม ที่เพิ่มขึ้นทุกปี แล้วนามาวางแผนเพื่อสร้างโรงไฟฟ้ าใหม่ๆ ให้ทันกับความต้องการใช้พลังงานที่ เพิ่มขึ้น สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต รองศาสตราจารย์ ดร. จานง สรพิพัฒน์ อัตราค่าไฟฟ้ าสารองกับความไม่เสถียรของกาลังไฟฟ้ าจากแสงแดด : ปัญหาความท้าทายของเทคโนแครตด้านพลังงานของภาครัฐไทย
  • 4. 2สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ยังมีอีกแนวทางหนึ่งที่ปกติจะใช้ดาเนินการร่วมกับวิธีแรก แต่ภาครัฐไทยมักจะละเลย และให้ความสาคัญน้อยกว่าคือ แนวทางการชะลอความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้ าให้ลดลง (Demand Side Approach) เครื่องมือหลักของแนวทางนี้ก็คือ การประหยัดพลังงานนั่นเอง ใน ประเทศพัฒนาแล้ว จะทาตรงข้ามกับภาครัฐไทยคือจะให้ความสาคัญมากต่อการประหยัด พลังงานยิ่งกว่าแนวทางแรก คือจะดาเนินการประหยัดพลังงานในทุกวิถีทางเสียก่อนอย่างเต็มที่ แล้ว จึงค่อยจัดหาโรงไฟฟ้ าใหม่เข้ามาเสริมเมื่อยังไม่เพียงพอ ขณะที่รัฐไทยจะเป็นทิศตรงข้าม คือ ให้ความสาคัญต่อการจัดหาพลังงานเหนือการลดความต้องการใช้ไฟฟ้ามาโดยตลอด ในช่วงระยะเวลาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความท้าทายการวางแผนและพัฒนากาลังไฟฟ้ าของ ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากการเกิดขึ้นของนวัตกรรมด้านการผลิตไฟฟ้ าชนิดใหม่จากแหล่งพลังงาน หมุนเวียนโดยเฉพาะจากแสงแดด เทคโนโลยีที่ว่านี้ช่วยทาให้ผู้บริโภคไฟฟ้ ารายย่อยโดยเฉพาะ ภาคครัวเรือนและอาคารพาณิชย์ จากเดิมที่ต้องเป็นผู้บริโภคไฟฟ้ าแต่ฝ่ายเดียว กลับสามารถ ผลิตไฟฟ้าขึ้นมาใช้เองได้ แต่นวัตกรรมใหม่ที่ว่านี้ใช่ว่าจะปราศจากปัญหาใดๆ เสียทีเดียว เพราะไฟฟ้ าจากแหล่ง พลังงานแสงแดด ยังมีลักษณะไม่เสถียรและไม่สม่าเสมอ ขึ้นกับว่าช่วงใดมีแดดหรือไม่มีแดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลากลางคืนที่ท้องฟ้ าไม่มีแดดเลย ทาให้การผลิตไฟฟ้ าจากแสงแดด ยังตัองอาศัยโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลแบบเก่าผลิตไฟฟ้ าเสริมในช่วงกลางคืนหรือช่วงที่ท้องฟ้ า มีฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากในปัจจุบันแบตเตอรี่เก็บไฟฟ้ าสารองยังมีต้นทุนสูง (แต่มีแนวโน้มลดต่าลงมา เรื่อยๆอย่างรวดเร็วในระยะใกล้นี้) การเสริมการผลิตไฟฟ้ าช่วงที่ท้องฟ้ าไม่มีแดด จึงยังคงการ พึ่งพาการผลิตไฟฟ้ าจากโรงไฟฟ้ าฟอสซิลเป็นเกณฑ์ อย่างไรก็ดี การที่รัฐต้องสร้างโรงไฟฟ้ า ฟอสซิลขึ้นมาสารอง เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีไฟฟ้ าใช้ตลอดเวลา ในด้านหนึ่งดูเหมือนเป็นการ ประกันความมั่นคงของการผลิตไฟฟ้ าให้กับประชาชน แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เหมือนกับการสร้าง ภาระต้นทุนของส่วนรวมที่แพงขึ้น เพราะโรงจักรสารองไฟฟ้ าเหล่านี้จะผลิตไฟฟ้ าเพียงบางเวลา ในช่วงที่ไฟฟ้ าขาดแคลน แต่ไม่มีโอกาสเดินโรงจักรได้เต็มกาลังได้ตลอดเวลา จึงเหมือนการ ลงทุนที่สูญเปล่าไปในดัว เพื่อแก้ปัญหานี้ ในต่างประเทศจึงมีหลักการที่สาคัญคือ ความมี ประสิทธิภาพในการบริหารและผลิตไฟฟ้ าในระยะยาว ที่ต้องมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อว่าการ สร้างโรงไฟฟ้าฟอสซิลใหม่สาหรับสารองการผลิตไฟฟ้าจะได้มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จาเป็น
  • 5. 3สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต มิฉะนั้นแล้วอัตราค่าไฟฟ้าแทนที่จะถูกลงแต่กลับจะแพงขึ้นทะลุฟ้า เพราะรัฐต้องสร้างโรงไฟฟ้ าสารอง ขนาดเท่าๆ กันสาหรับทุกๆ กิโลวัตต์ที่มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ดังนั้น แนวทางปฏิบัติของการ วางแผนพัฒนากาลังผลิตไฟฟ้าในประเทศเหล่านี้คือ มุ่งเป้าสู่การลดความต้องการใช้ไฟฟ้ าเป็นอันดับ แรก โดยผ่านโปรแกรมการประหยัดพลังงานต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพและมีการติดตามอย่างใช้ใกล้ชิด ส่วนการจัดหาพลังงานนั้น รัฐจะให้ความสาคัญเป็นอันดับรอง เพราะโดยทางเช่นนี้เท่านั้น จึงจะช่วย ลดภาระค่าไฟฟ้าให้ถูกลงและเป็นที่ยอมรับได้ คราวนี้กลับมามองปัญหาของประเทศไทย ที่ผ่านมาแม้ประเทศไทยจะมีนโยบายและแผน ประหยัดพลังงานไฟฟ้ า แต่ในทางปฏิบัติแล้ว รัฐจะให้ความสาคัญต่อการจัดหาโรงไฟฟ้ าใหม่ทันทีที่ ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสูง ส่วนการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าผ่านการประหยัดพลังงานกลับเป็น เรื่องที่ภาครัฐไม่ค่อยให้ความจริงจังมากนัก ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ให้ความสาคัญ ต่อผลสัมฤทธิ์ในการประหยัดพลังงานอย่างยิ่งยวดเป็นอันดับแรก การวางแผนแบบเน้นการจัดหาพลังงานเป็นหลัก (Supply Side Approach) รวมถึงการสร้าง โรงไฟฟ้ าใหม่ขนาดใหญ่ เป็นการวางแผนบริหารด้านพลังงานไฟฟ้ าแบบรวมศูนย์ (centralized ap- proach) แบบเดิมๆ ที่ทากันมานานเกินค่อนศตวรรษ กระบวนการบริหารแบบนี้จะยิ่งทวีปัญหามาก ขึ้นเมื่อการผลิตไฟฟ้ าจากแหล่งไฟฟ้ าพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะไฟฟ้ าจากแสงแดดมีสัดส่วนที่ สูงขึ้น นอกจากนี้ภาครัฐไทยยังมีวิธีส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดที่มีลักษณะเฉพาะของไทยที่ไม่ เหมือนประเทศอื่นๆ ซึ่งยิ่งจะสร้างปัญหาให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังต่อไปดังนี้ ประการแรก ที่ผ่านมาภาครัฐไทยให้การสนับสนุนและอุดหนุนรับซื้อไฟฟ้ าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ด้วยราคาพิเศษแก่นายทุนผู้ผลิตรายใหญ่แบบโซล่าฟาร์ม (การผลิตไฟฟ้ าขนาดใหญ่โดยใช้พื้นที่โล่ง แจ้งขนาดใหญ่) เป็นทิศทางหลัก แทนที่จะให้การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้ าจากหลังคา (Solar Roof Top) ดังเช่นที่ประเทศอื่นๆ ทากัน จึงทาให้เกิดปัญหาความเสถียรของระบบไฟฟ้ ารุนแรงและไฟฟ้ า สายส่ง(Feeder Line) ไม่เพียงพอมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะการผลิตไฟฟ้ าแบบโซล่าฟาร์ม โดย ลักษณะนี้เป็นการผลิตไฟฟ้าแบบเข้มข้นที่กระจุกตัวจากจุดๆ เดียว ธรรมชาติของแดดมีความผันผวน อยู่ในตัว เช่นเมื่อแดดหายเพราะบังเอิญมีก้อนเมฆมาบัง แรงดันในสายส่งก็จะหายไปทันที หรือเวลาที่ แดดจัดไฟฟ้าที่ผลิตได้อาจมากเกินความต้องการ ทาให้เกิดความผันผวนได้มาก เพื่อแก้ปัญหานี้ โดย ปกติการผลิตไฟฟ้ าจากแสงแดด จึงนิยมวางแผนให้มีการผลิตไฟฟ้ าแบบกระจายตัวเป็นหน่วยผลิต ไฟฟ้าย่อยๆจานวนมากบนหลังคาออกไปทั่วบริเวณกว้างๆ ทั่วทั้งอาเภอ แทนที่จะสร้างโรงไฟฟ้ าโซล่า เซลล์ขนาดใหญ่เพียงโรงเดียวกระจุกตัวอยู่ที่จุดเดียว ทาให้สามารถลดความผันผวนลงได้ เพราะ
  • 6. 4 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต โอกาสที่แดดจะหุบหายไปพร้อมๆ กันทั้งพื้นที่ย่อมเป็นไปได้ยากกว่า ประการที่สอง การผลิตไฟฟ้ าจากหลังคามีข้อดีที่ผู้ผลิตไฟฟ้ าและผู้ใช้ไฟฟ้ าคือรายเดียวกัน ขณะที่การผลิตของโซล่าฟาร์มจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ าเท่านั้น การที่ผู้ผลิตไฟฟ้ าเป็นผู้บริโภคไฟฟ้ า ณ จุด เดียวกัน จะช่วยลดความสูญเสียในสายส่งลง อีกทั้งช่วยลดปัญหาเรื่องขนาดสายส่งไม่เพียงพอได้อีก ด้วย การผลิตไฟฟ้ าบนหลังคาถือหลักที่ว่า เมื่อตนเองผลิตไฟฟ้ าไม่เพียงพอแล้ว (หรือผลิตไฟฟ้ า มากเกินพอ) จึงจะมีการแลกเปลี่ยนส่งออกหรือนาเข้าไฟฟ้ าจากหน่วยการผลิตที่อยู่ข้างเคียง การ ผลิตและใช้ไฟฟ้ าแบบนี้เรียกว่าเป็นการผลิตไฟฟ้ าแบบกระจายตัว (Distributed Generation หรือ DG) ซึ่งใช้แนวคิดที่ต่างกับการผลิตดั้งเดิมแบบรวมศูนย์ (Centralized Generation) โดยสิ้นเชิง ความสาคัญของการผลิตแบบนี้อยู่ที่ว่า แต่ละหน่วยการผลิตไฟฟ้ าจะต้องผลิตไฟฟ้ าเพื่อใช้เองให้ เพียงพอก่อน (self-balance) เป็นอันดับแรก ต่อเมื่อไม่เพียงพอจึงจะมีการนาเข้าหรือส่งกาลังไฟฟ้ า จากหรือไปยังจุดข้างเคียง เนื่องจากพื้นที่หลังคาของแต่ละบ้านมีขนาดจากัด การประหยัดพลังงาน ภายในบ้านหรืออาคาร เพื่อไม่ให้ความต้องการใช้ไฟฟ้ าเกินกว่ากาลังที่ผลิตได้ หรือถ้าเกินก็ให้เกิน น้อยที่สุด จึงมีความสาคัญพอๆกับการผลิตไฟฟ้ าด้วยตัวเอง โดยแนวคิดนี้หากทุกบ้านหรืออาคาร ดาเนินการผลิตและใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็จะช่วยให้ลดความจาเป็นที่จะต้องพึ่งพาการ ผลิตไฟฟ้ าสารองจากแหล่งพลังงานฟอสซิลให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จาเป็น ดังนั้นต้นทุนในการจัดหา พลังงานไฟฟ้าสารองก็จะลดลงได้หรือมีเท่าที่จาเป็นเท่านั้น ปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้ าสูงสุดหรือพีค (Peak) ของวันในประเทศไทยจะเกิดขึ้นในภาค กลางวัน แม้ว่าจะมีการติดแผงโซล่าเซลล์แบบหลังคาของผู้ใช้ไฟฟ้ าขนาดใหญ่ เช่น ตามหลังคา โรงงานหรืออาคารพาณิชย์บางแห่ง แต่การติดตั้งลักษณะดังกล่าวยังถือว่าน้อยมาก ไม่ถึง 1% ของ ปริมาณการใช้ไฟฟ้ าทั้งหมด ดังนั้น ตราบใดที่พีคในเวลากลางวันยังสูงกว่ากลางคืน ภาครัฐจึงยังไม่ ควรที่จะจัดเก็บค่าสารองไฟฟ้าใดๆ เพราะการตัดพีคในช่วงเวลากลางวัน เป็นการช่วยลดภาระของรัฐ ในการสร้างโรงไฟฟ้ าฟอสซิลใหม่โดยตรง ต่อเมื่อพีคในเวลากลางคืนสูงกว่ากลางวันแล้ว มีการ ดาเนินการด้วยมาตรการต่างๆ ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ าประหยัดไฟฟ้ าจนถึงขั้นสูงแล้วเท่านั้น จึงถึงเวลาที่ ภาครัฐควรจะพิจารณาว่าจะจัดเก็บอัตราค่าไฟฟ้าสารองหรือไม่ จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เมื่อความนิยมติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา บ้านเรือนมีมากขึ้น จนความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดหรือพีค (Peak) ของวัน จะย้ายไปเป็นตอนหัวค่า
  • 7. 5 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต แทนหลังพระอาทิตย์ตกดิน ดังนั้น แม้ภาครัฐยังคงต้องจัดหาแหล่งผลิตไฟฟ้ าสารองจากแหล่ง พลังงานฟอสซิลอยู่เช่นเดิม แต่ด้วยมาตรการที่เหมาะสมที่เอื้อให้มีการปรับปรุงตัวอาคารหรือ เครื่องใช้ไฟฟ้ าต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ขนาดของพีคหรือความต้องการใช้ไฟฟ้ าสูงสุดในตอน หัวค่าจะลดลงได้ ทาให้ขนาดของโรงไฟฟ้ าสารองไฟฟ้ าฟอสซิลที่ต้องสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนมีขนาด เล็กลงได้ ซึ่งจะทาให้อัตราค่าไฟฟ้าสารองมีค่าลดลง ประการที่สาม การสนับสนุนนักลงทุนรายใหญ่เพียงไม่กี่รายแบบโซล่าฟาร์มไม่ก่อให้เกิดการ กระจายรายได้ได้ดีพอด้วยขนาดเม็ดเงินของการลงทุนที่เท่ากัน เมื่อเทียบกับการติดตั้งเซลล์ แสงอาทิตย์บนหลังคาเรือน เช่น การลงทุนแบบฟาร์มขนาดใหญ่ขนาด 10 MW เพียงรายเดียว หาก มีการกระจายการลงทุนขนาดเล็กบนหลังคาบ้านเรือนขนาด 10 kW ต่อหลังคา รายได้ก็จะตกกับ ครัวเรือนจานวน 1,000 ราย (10,000kW = 10 MW) แทนที่จะเป็นรายได้ของเพียงรายเดียว ใน บางประเทศ รัฐถึงกับใช้วิธีการนี้สร้างรายได้ให้กับคนจน โดยการลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บน หลังคาบ้านให้ก่อน และให้คนจนดูแลผลิตไฟฟ้ าขายกลับคืนให้กับภาครัฐ เพื่อสร้างรายได้ให้กับคน จน จากประสบการณ์ในต่างประเทศ ปัญหาความเสถียรของการผลิตไฟฟ้ าจากหลังคาของ ผู้บริโภคไฟฟ้าจะมีปัญหาจริงๆ ก็ต่อเมื่อสัดส่วนของการผลิตไฟฟ้ าจากเซลล์แสงอาทิตย์มีค่าเกินกว่า 30% ของการผลิตกาลังไฟฟ้ าของประเทศ (หากเกินกว่านี้ ต้องมีการบริหารจัดการการไหลของ ไฟฟ้ าอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับการใช้ระบบ smart grid เข้าช่วยควบคุม) ปัจจุบันสัดส่วนดังกล่าว ในประเทศไทยยังมีค่าต่ามากไม่ถึง 1% ระบบการผลิตไฟฟ้ าแบบรวมศูนย์จากส่วนกลาง ยังสามารถ แบกรับ (tolerate) กับความผันผวนจากแหล่งการผลิตไฟฟ้ าหมุนเวียนได้อย่างสบายๆ ภาครัฐจึงยัง พอมีเวลาที่จะพิจารณาปัญหาดังกล่าวข้างต้น ประเด็นที่ภาครัฐควรปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วนควรเป็น ดังนี้ ก. ปรับเปลี่ยนวิธีการวางแผนพัฒนากาลังผลิตไฟฟ้ า (แผน PDP) ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง ยังคงให้ความสาคัญต่อการจัดหาโรงไฟฟ้ าใหม่เป็นอันดับแรก มาเป็นระบบที่ให้ความสาคัญกับการ ลดความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วยการประหยัดพลังงานแทน ปรับเปลี่ยนจากการวางแผนแบบดั้งเดิมที่ใช้ Supply Side Approach มาเป็นระบบ Integrated Resources Approach แทน ซึ่งผสมผสานระหว่าง การประหยัดพลังงาน การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนและแหล่งพลังงานฟอสซิลเป็นแผน เดียวกัน ดังเช่นที่ประเทศที่พัฒนาแล้วทากัน
  • 8. 6 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ข. ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตและจ่ายไฟฟ้ าแบบรวมศูนย์ มาเป็นแบบกระจายการผลิต (Distributed Generation) เพราะแนวทางการผลิตไฟฟ้ าแบบเดิม ไม่สามารถแบกรับกับการ เปลี่ยนแปลงด้านการผลิตไฟฟ้ าแบบใหม่ (Disruptive Technology) ที่กาลังเปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว ค. รัฐควรให้ความสาคัญกับการผลิตไฟฟ้ าจากหลังคาก่อนการผลิตไฟฟ้ าแบบโซล่าฟาร์ม เพราะนอกจากจะแก้ไขปัญหาเรื่องความผันผวนและสร้างความเสถียรของระบบผลิตไฟฟ้ าให้ดีแล้ว ยังช่วยลดการสูญเสียไฟฟ้ าในสายส่งได้ด้วย ปัจจุบัน ต้นทุนแผงเซลล์แสงอาทิตย์มีราคาถูกลงมาก พอที่จะเปิดซื้อขายไฟฟ้ าจากหลังคาเรือนได้อย่างเสรี โดยที่รัฐไม่จาเป็นต้องอุดหนุนการรับซื้อไฟฟ้ า ด้วยราคา (แพง)พิเศษ เช่นที่อุดหนุนให้กับไฟฟ้ าจากโซล่าฟาร์ม อีกทั้งยังจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ง. การพิจารณาเพื่อจัดเก็บค่ากาลังไฟฟ้ าสารอง ยังไม่ควรมีการดาเนินการ จนกว่า (หนึ่ง) พีคของการใช้ไฟฟ้ าในตอนกลางวันต่ากว่าตอนหัวค่าเสียก่อน (สอง) มีการใช้มาตรการดาเนินการ ประหยัดพลังงานอย่างได้ผลจนเต็มศักยภาพ จนไม่สามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้ าเพิ่มเติมได้อีก ต่อไป กล่าวโดยสรุป หากภาครัฐมีความจริงใจและต้องการเห็นความสาเร็จในการส่งเสริมการ ใช้ไฟฟ้ าจากแสงอาทิตย์ดังที่ภาครัฐแถลงอยู่เนืองๆ แล้วนั้น ปัจจุบัน ยังไม่ถึงเวลาที่รัฐจะคิดค่า อัตราไฟฟ้ าสารองเพิ่มเติมแต่อย่างไร ทางที่ดีรัฐควรดาเนินการลดความต้องการใช้กาลังไฟฟ้ า อย่างจริงจังให้เต็มที่เสียก่อน รวมถึงการปรับปรุงวิธีการวางแผนการจัดหาพลังงาน ซึ่งต้อง ควบคู่ไปพร้อมกับการลดความต้องการใช้ไฟฟ้ าด้วยเสมอ * * *