SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 6
Downloaden Sie, um offline zu lesen
แนวคิดการสรางความปรองดองในรัฐธรรมนูญฉบับใหม
ศาสตราจารย ดร.เอนก เหลาธรรมทัศน
คณะกรรมาธิการยกรางรัฐธรรมนูญ
และสมาชิกสภาปฏิรูปแหงชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ที่มาภาพ : http://www.bangkok.go.th/sdppd/
v
1
โครงการคลังปญญาเพื่อการอภิวัตนประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน
สถาบันคลังปญญาดานยุทธศาสตรฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
พูดถึงรัฐธรรมนูญ หมวด 3 ของภาค 4 มาตรา 297 และมาตรา 298 เรื่องการสร้างความ
ปรองดอง ผมขอเกริ่นนําว่ากรรมาธิการยกร่าง 36 คน อาจจะมีความขัดแย้งกันในหลายเรื่อง บางเรื่องก็
ใหญ่บางเรื่องก็เล็ก บางเรื่องยังต้องจัดการต่อไป บางเรื่องก็ตกผลึกร่วมกันได้ แต่เรื่องหนึ่งที่เห็นร่วมกัน
มาตั้งแต่ต้น ไม่เปลี่ยนแปลงเลยคือรัฐธรรมนูญนี้ มีเป้าหมายที่จะทําให้บ้านเมืองปฏิรูปและปรองดอง เรา
ได้พูดเรื่องการปฏิรูปกันไปหลายชั่วโมง แต่เรื่องปรองดองนั้นก็สําคัญไม่น้อยกว่าการปฏิรูป เพราะใน
ความเห็นของพวกกระผม การปฏิรูปที่แท้จริงหมายถึงการต้องตบมือสองข้าง ไม่ใช่ข้างเดียว คือจะต้อง
ปรองดองด้วย
ในมาตรา 297 และมาตรา 298 มีสาระสําคัญแรกสุด คือให้มีคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อ
แก้ไขความขัดแย้ง สร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดขึ้น ระหว่างเหลืองกับแดง หรือแดงกับเหลืองก็ได้
หรือระหว่างแดง เหลือง กับฝ่ายที่สามด้วยก็ได้ หรืออาจจะขยายไปถึงความขัดแย้งใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ก็ยังได้ ไม่ได้จํากัดตัวเองให้หมายถึงเฉพาะการที่จะแก้ไขความขัดแย้งระหว่างเหลืองกับ
แดงเท่านั้น อาจจะขยายไปจนถึงความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ หรือระหว่างประชาชนกับ
ประชาชนด้วยกัน ในเรื่องความขัดแย้งที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ทะเล ต่างๆ ที่เพื่อนสมาชิก
ได้กล่าวมาแล้ว ให้ได้ผลตามที่ต้องการจะรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ขณะเดียวกันก็คํานึงถึงผลประโยชน์ที่
ประชาชนควรจะได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องด้วย หรืออาจจะขยายไปจนถึงผู้ที่เดือดร้อน หรือสูญเสีย
หรือเสียหาย จากเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ.2535 ก็ยังได้
อย่างไรก็ตาม เรื่องหลักของคณะกรรมการชุดนี้เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างเหลืองกับแดง
คณะกรรมการชุดนี้พยายามที่จะสร้างสรรค์ที่สุด ใช้นวัตกรรมให้มากที่สุด ที่ผมใช้คําว่าต้องมีนวัตกรรม
มากที่สุด เพราะบทเรียนที่ได้จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแอฟริกาใต้ ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี ไม่ว่าจะเป็น
รวันดา ไม่ว่าจะเป็นศรีลังกา เป็นบทเรียนที่ว่าด้วยการสร้างความปรองดอง หลังจากที่มีการชนะกันแล้ว
สงครามสิ้นสุดแล้ว มีผู้ชนะแล้ว สร้างความปรองดองระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้ แต่สําหรับความขัดแย้ง
ความแตกหัก และความนองเลือดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นไม่มีผู้แพ้ ผู้ชนะ และสังคมก็ไม่ปรารถนาที่
จะเห็นผู้แพ้ ผู้ชนะก่อน จึงจะเริ่มปรองดอง จึงจะเริ่มหาข้อเท็จจริง จึงจะเริ่มสํานึกผิด จึงจะเริ่มเมตตา จึง
จะเริ่มให้อภัย แต่จะต้องสร้างความปรองดองโดยไม่มีผู้แพ้ ผู้ชนะ ไม่มีผู้พิชิต และไม่มีผู้ที่ย่อยยับ และ
á¹Ç¤Ô´¡ÒÃÊÌҧ¤ÇÒÁ»Ãͧ´Í§
ã¹ÃÑ°¸ÃÃÁ¹ÙÞ©ºÑºãËÁ‹
ถอดความจากการนําเสนอในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ 31 โดย ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558
v
2
โครงการคลังปญญาเพื่อการอภิวัตนประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน
สถาบันคลังปญญาดานยุทธศาสตรฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
อีกอย่างคือทั้งสอง หรือสามฝ่ายที่ขัดแย้งกันนั้น ล้วนแต่คิด หรือส่วนใหญ่คิดว่าฝ่ายตนถูก อีกฝ่ายผิด
ฝ่ายตนเสียเปรียบ อีกฝ่ายได้เปรียบ ฝ่ายตนมีหลักการ อีกฝ่ายไม่มีหลักการ ฝ่ายตนคือขาว อีกฝ่ายคือ
ดํา ผมคิดว่าสิ่งที่ทั้งสองฝ่าย หรือสามฝ่ายก็ตาม ต่อสู้ขัดแย้งกันนั้น ก็ย่อมยอมรับว่าหลายอย่างก็มี
ข้อเท็จจริง หลายอย่างก็ฟังได้ เพราะฉะนั้น ผมจึงคิดว่านอกจากที่จะต้องพยายามสามัคคีกันแล้ว ต้อง
ให้เกียรติทั้งสองฝ่าย หรือสามฝ่าย ต้องมองกันในแง่ดี ต้องหัดคิดให้เหมือนคู่ปรปักษ์หรือคู่ขัดแย้งของ
เราบ้าง
คณะกรรมการที่จะมาสร้างความปรองดองนั้น เป็นคณะกรรมการอิสระ 15 คน ไม่ใช่ลูกน้อง
ของรัฐบาล ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของรัฐสภา ไม่ได้เป็นข้าราชการปกติ มีวาระเพียง 5 ปี ประกอบ ด้วยคนกลาง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้รู้ถึงความขัดแย้งในอดีต ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2548-2557 มีประสบการณ์ในการแก้ไขความ
ขัดแย้ง และที่สําคัญมีคนยอมรับนับถือ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ
ผู้ที่จะรับผิดชอบแต่งตั้งคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็คือฝ่ายที่สาม เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็น
ปรปักษ์กันเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้น และผู้ที่แต่งตั้งก็ไม่ใช่จะตั้งได้ตามใจชอบ จะต้อง
ระมัดระวัง มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายลูกจะเขียนไว้ ที่จะต้องคํานึงถึง ในการแต่งตั้ง 10 คน ซึ่งเป็นคน
กลาง ส่วนอีก 5 คน ก็เป็นผู้ที่มาจากความขัดแย้ง เป็นผู้ที่เป็นผู้นําอยู่ในความขัดแย้ง หรือจะเป็นผู้ที่ไม่
ยอมรับว่าตนเองอยู่ในความขัดแย้ง แต่ปรารถนาจะแก้ไขความขัดแย้ง และเป็นที่ยอมรับจากฝ่ายใดฝ่าย
หนึ่งให้เข้ามาทํางาน ด้วยหมวกใบใหม่ ซึ่งจะไม่คิดถึงแต่ประโยชน์ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ตนสังกัด หรือ
เกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น ก็จะมาร่วมกับอีก 10 คน ช่วยกันแก้ปัญหา มีวาระอยู่ได้แค่ 5 ปี
คณะกรรมการอิสระนี้จะต่อยอดทางความคิด ทางข้อมูล ทางประสบการณ์จากคณะกรรมการ
จากนักวิชาการ จากรัฐสภา จากรัฐบาล ที่ได้วิเคราะห์เรื่องความขัดแย้ง สาเหตุที่มา เป็นเอกสารกองโต
เราจะไม่ศึกษาอะไรเพิ่มอีกมากนัก แต่จะต่อยอดจากความรู้ ข้อสังเกต ข้อแนะนําต่างๆ เหล่านั้น แล้วหา
วิธีแก้ไขมาเสนอรัฐบาล เราจะเอาประสบการณ์จากต่างประเทศด้วย ต้องคํานึงถึงหลักการสากลด้วย แต่
ขณะเดียวกันต้องเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยด้วย คณะกรรมการอิสระจะเป็นคนกลาง จะเป็นเวที จะ
เป็นสมอง จะเป็นหัวใจในการผนึกกําลัง สร้างสรรค์ 2 ฝ่าย หรือทุกๆฝ่าย ซึ่งผมเองได้ดําเนินการพูดคุย
กับหลายๆ ฝ่ายที่ขัดแย้งกัน ทั้งระดับนํา ระดับกลาง และระดับล่างมามากพอสมควร ก็พอจะกล่าวให้
เพื่อนสมาชิกได้มั่นใจได้ว่าเห็นทางออกแล้ว
หากรัฐธรรมนูญของเราไม่กีดกันฝ่ายใดให้ออกไปจากอํานาจสิ้นเชิง ไม่ขโมยชัยชนะของฝ่ายใด
ซึ่งรัฐธรรมนูญของเรา ผมยํ้าว่าแทบจะไม่มีฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะ จะเป็นการชนะตามสัดส่วน ได้คะแนนมาก
ก็ชนะมาก ได้คะแนนน้อยก็ชนะน้อย เพราะฉะนั้นผมก็มีความมั่นใจเมื่อมารวมกับรายละเอียดต่างๆ
ของคณะกรรมการอิสระนี้แล้ว บ้านเมืองก็น่าจะกลับคืนสู่ภาวะปกตินี้ได้ในเวลาที่ไม่ช้ามากนัก
คณะกรรมการอิสระนี้จะเยียวยา ฟื้นฟู เยี่ยมเยียนครอบครัว จะไปตามโรงพยาบาล คุกตะราง ซึ่งผมเอง
ก็ได้มีโอกาสไปเยี่ยมคุกตะราง ได้พบกับผู้ที่เสียหาย ผู้ที่ถูกคุมขัง ผู้ที่ต้องสูญเสียกระทั่งครอบครัว
ระหว่างที่อยู่ในคุก ผู้ที่จําคุกมาแล้ว 3 ปี 9 เดือน แล้วก็เหลือจะจําคุกต่ออีก 9 ปี 3 เดือน ต่างๆ เหล่านี้
v
3
โครงการคลังปญญาเพื่อการอภิวัตนประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน
สถาบันคลังปญญาดานยุทธศาสตรฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้พิการก็มีอยู่หลายรายมาก รวมทั้งฟื้นฟูด้านจิตใจของผู้ที่เสียหาย ญาติมิตร คนรักที่เหลืออยู่ และให้
การเยียวยาทางเงินตราด้วย แม้กระทั่งหาที่เรียนที่ทํางานต่างๆ ให้กับลูกหลานของผู้ที่สูญเสีย หรือ
เสียชีวิตไป คณะกรรมการอิสระนี้ทั้งจะต้องจัดให้มีการศึกษาครั้งใหญ่ในสังคม ในหลายๆ ระดับ ใน
หลายๆ รูปแบบ ทําให้เรื่องรู้รักสามัคคี เป็นอุดมการณ์ เป็นค่านิยมชุดใหม่ ให้คนที่ต่างกัน เถียงกัน
ประชันขันแข่งกันได้ตามระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่แตกหัก ไม่ทําลายล้าง ไม่รุนแรง สันติสุขน่าจะเป็น
ค่านิยมใหม่อีกค่านิยมหนึ่ง ที่จะต้องช่วยเผยแพร่ให้เป็นที่ยึดกุมของประชาชน
นอกจากนั้น คณะกรรมการอิสระอาจเสนอให้ตราพระราชกฤษฎีกาขออภัยโทษ ไม่ได้
หมายความว่าเราเสนอเองได้ อย่างที่เพื่อนสมาชิกเป็นห่วง ก็ขออย่าได้เป็นห่วงเลย ก็เป็นพระราช
กฤษฎีกาขออภัยโทษ ซึ่งขอพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ล่วงละเมิด
พระราชอํานาจแน่นอน และในรัฐธรรมนูญทั้งปี พ.ศ.2557 ที่กําลังใช้อยู่ขณะนี้ รัฐธรรมนูญที่กําลังร่างอยู่
ขณะนี้ก็ล้วนแต่ระบุ บัญญัติไว้ทั้งสิ้นว่า พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจที่จะอภัยโทษ ไม่มี
วิธีการอื่น และในการที่จะตราพระราชกฤษฎีกาให้รัฐบาล เพื่อขออภัยโทษ ก็จะต้องโทษถึงที่สุดแล้ว มี
การรับโทษแล้ว และสํานึกผิดต่อคณะกรรมการอิสระนี้ และต่อราชการตามปกติด้วย เพราะฉะนั้นเป็น
การอภัยโทษที่คํานึงถึงหลักนิติธรรมด้วย ไม่ใช่อภัยโทษสุ่มสี่สุ่มห้าหรือส่งเดช อย่างที่เราทั่วไปอาจจะ
เป็นห่วง และแม้แต่พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมก็อาจจะเกิดได้ แต่ในรูปของความคิดเห็นที่เสนอต่อ
รัฐบาล และรัฐบาลจะต้องเป็นคนตราขึ้นมาเป็นพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม แต่ว่าเราเองไม่มีอํานาจที่จะ
ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมได้ เสนอรัฐบาลก็ยังไม่ได้ รัฐบาลต้องตราเอง ไม่เหมือนพระราช
กฤษฎีกาขอภัยโทษ ซึ่งเราสามารถตราขึ้นมาได้ และก็ให้รัฐบาลเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นี่
เป็นสาระอย่างสั้นๆ ของมาตราที่ 297 และมาตรา 298
แต่สิ่งที่สําคัญที่สุดก็อยู่ที่พรรคฝ่ายต่างๆ ประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่อยู่เวลานี้ รวมทั้ง สปช. ของ
เราด้วยว่าจะมีวัฒนธรรมที่จะมุ่งมั่น ที่จะฟันฝ่าวิกฤติต่อไปได้อย่างไร ผมอยากจะบอกว่าจริงๆ แล้วคน
ไทยเราเคยฝ่าวิกฤติมาแล้วอย่างมหัศจรรย์หลายต่อหลายครั้ง วิกฤติที่เราประสบเวลานี้คือวิกฤติเรื่อง
ความปรองดอง วิกฤติเรื่องความสามัคคี ผมเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือของ สปช. จะทําให้เราฝ่าวิกฤติ
ได้ด้วยความร่วมมือของพรรคฝ่ายต่างๆ ของประชาชนกลุ่มต่างๆ เราจะต้องฝ่าวิกฤติออกไปให้ได้
ในอดีต บรรพบุรุษของเราเคยนําชาติฝ่าวิกฤติหลายครั้งอย่างมหัศจรรย์ เช่น ในสมัยล้นเกล้า
รัชกาลที่ 5 เราเป็นไม่กี่ประเทศในโลกตะวันออกที่เอาตัวรอดจากอาณานิคมฝรั่งได้ ที่ตั้งของประเทศ
ไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นอันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้านซ้ายคืออังกฤษ ด้านขวาคือฝรั่งเศส ด้าน
เหนือคืออังกฤษ ด้านใต้คืออังกฤษ แต่เราสามารถเอาตัวรอดมาได้อย่างน่าพิศวง อีกทั้งในสงครามโลก
ครั้งที่ 2 ผมคิดว่าวิกฤตินี้หนักกว่าวิกฤติที่เราเผชิญในปัจจุบัน เราเอาตัวรอดจากญี่ปุ่นได้อย่างไร เพราะ
ญี่ปุ่นเข้าที่ไหน ที่นั่นตายเป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสน แต่เราเอาตัวรอดจากญี่ปุ่นได้ และเอาตัวรอดจาก
สัมพันธมิตรได้ แม้ญี่ปุ่นแพ้ แต่เราไม่ได้แพ้ตามญี่ปุ่น เราเอาตัวรอดได้อย่างไร จึงน่าพิศวง ตลอดจนใน
สงครามเย็น ซึ่งประเทศรอบบ้านของเราเข้าสู่สงคราม กลายเป็นสงครามร้อนหมด แต่เรายังรักษาความ
v
4
โครงการคลังปญญาเพื่อการอภิวัตนประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน
สถาบันคลังปญญาดานยุทธศาสตรฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
เป็นสงครามเย็นไว้ได้ เราไม่ถลําลึกเข้าไป จึงเป็นโอกาสที่เราพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
ร่วม 30-40 ปี นับว่าเป็นความสําเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของผู้นําและประชาชนของกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในเมืองไทย
นอกจากนั้นเรายังได้ฝ่าวิกฤติสงครมกลางเมือง กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาได้อย่างไร
ท่านที่อายุมากพอสมควรคงจะจําได้ว่าในอดีต เมืองไทยเกินกึ่งหนึ่ง มีการต่อสู้ด้วยกําลังอาวุธทั้งสิ้น พอ
ตกเย็นไม่ต้องไปไหน ถนนหนทางไม่ต้องใช้กันอย่างทุกวันนี้เพราะอันตราย วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ไม่ได้
ไปเที่ยวต่างจังหวัด เพราะไม่ปลอดภัยที่จะไป แต่ในที่สุดเราสามารถแก้ปัญหานั้นได้ สามารถทําให้
ประเทศคืนสู่ความสงบ สันติได้อย่างน่าพิศวง
เพราะฉะนั้นผมคิดว่าวิกฤติที่เรากําลังเผชิญอยู่นี้ ในฐานะที่เป็น สปช. ก็ดี เป็นกรรมาธิการก็ดี
คงไม่มีสิทธิที่จะทําอะไรอย่างอื่นนอกจากจะต้องฟันฝ่าไป ร่วมกับฝ่ายนําในสังคมที่จะต้องฟันฝ่าไป
ร่วมกับประชาชนที่เราอยู่ใกล้ชิด หรือที่เราเชื่อมสัมพันธ์อยู่ด้วยพากันไป คงไม่สามารถที่จะมอบให้เป็น
ภาระของผู้อื่นได้ เรารอรดจากวิกฤติต่างๆ มาได้มากมาย จนกระทั่งกลายเป็นลักษณะประจําชาติ แต่ผม
กลัวเหลือเกินว่าเราสูญเสียลักษณะประจําชาตินี้ กลัวว่าความมืดมน อับจน ความท้อแท้จะเข้ามาอยู่ใน
จิตใจของพวกเรา ผมจึงอยากเรียกร้องพวกเราว่าเราจะต้องฟันฝ่าไป แน่นอนบางส่วน อาจจะมีพระ
สยามเทวาธิราชช่วยคุ้มเกล้าปกเกษพวกเราไว้ แต่พระสยามเทวาธิราชจะช่วยคนที่ช่วยตัวองเท่านั้น
บรรพบุรุษของเราได้ทําอะไรทุกสิ่งทุกอย่าง และพระสยามเทวาธิราชก็โปรด พวกเราก็เหมือนกัน เรา
ต้องทํา เพราะฉะนั้นจึงอยากที่จะให้พวกเราที่อยู่ในที่นี้มีส่วนที่ช่วยให้ กรรมาธิการยกร่าง คิด หลาย
อย่างยังไม่มีรายละเอียดที่อย่างที่ท่านวันชัย ถามว่าสมัชชาพลเมืองคืออะไร อย่าว่าแต่ท่านจะงง ผมเอง
ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นผมก็ร่วมโง่ด้วยอีกคน แต่เราทุกคนก็เรียนรู้ด้วยกัน คุณสมสุขคง
ไม่ได้เข้าใจเสียทั้งหมด แต่ไม่ใช่ว่าเราเข้าใจอะไรหมดแล้วเราถึงร่าง ก็เรียกว่างม ตอนไหนต้องงมก็งม
ตอนไหนมีไฟฉายส่องก็ใช้ไฟฉายส่อง เรื่องที่เราทํามีความสําคัญมาก จนไม่สามารถที่จะเข้าใจก่อน ถึง
จะมาทํา ผมก็ต้องยอมรับว่ามาตรา 297,298 พยายามที่คิดออกมาอย่างนี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วย
ความตั้งใจ ด้วยความพยายามที่จะทําให้บ้านเมืองฝ่าวิกฤติได้
เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com
ผู้อํานวยการสถาบันคลังปัญญาฯ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล
ถอดความและเรียบเรียง: นาย ฮากีม ผูหาดา
ปีที่พิมพ์: มิถุนายน 2558
สํานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
ที่อยู่ติดต่อ
วิทยาลัยรัฐกิจ 52/347 พหลโยธิน 87 ตําบลหลักหก อําเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ 02-997-2200 ต่อ 1283 โทรสาร 02-997-2200 ต่อ 1216
สถาบันคลังปัญญาฯ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4/2 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064

Weitere ähnliche Inhalte

Mehr von Klangpanya

Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfKlangpanya
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfKlangpanya
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfKlangpanya
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....Klangpanya
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชKlangpanya
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีKlangpanya
 

Mehr von Klangpanya (20)

Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
 

แนวคิดการสร้างความปรองดองในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

  • 2. v 1 โครงการคลังปญญาเพื่อการอภิวัตนประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน สถาบันคลังปญญาดานยุทธศาสตรฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พูดถึงรัฐธรรมนูญ หมวด 3 ของภาค 4 มาตรา 297 และมาตรา 298 เรื่องการสร้างความ ปรองดอง ผมขอเกริ่นนําว่ากรรมาธิการยกร่าง 36 คน อาจจะมีความขัดแย้งกันในหลายเรื่อง บางเรื่องก็ ใหญ่บางเรื่องก็เล็ก บางเรื่องยังต้องจัดการต่อไป บางเรื่องก็ตกผลึกร่วมกันได้ แต่เรื่องหนึ่งที่เห็นร่วมกัน มาตั้งแต่ต้น ไม่เปลี่ยนแปลงเลยคือรัฐธรรมนูญนี้ มีเป้าหมายที่จะทําให้บ้านเมืองปฏิรูปและปรองดอง เรา ได้พูดเรื่องการปฏิรูปกันไปหลายชั่วโมง แต่เรื่องปรองดองนั้นก็สําคัญไม่น้อยกว่าการปฏิรูป เพราะใน ความเห็นของพวกกระผม การปฏิรูปที่แท้จริงหมายถึงการต้องตบมือสองข้าง ไม่ใช่ข้างเดียว คือจะต้อง ปรองดองด้วย ในมาตรา 297 และมาตรา 298 มีสาระสําคัญแรกสุด คือให้มีคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อ แก้ไขความขัดแย้ง สร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดขึ้น ระหว่างเหลืองกับแดง หรือแดงกับเหลืองก็ได้ หรือระหว่างแดง เหลือง กับฝ่ายที่สามด้วยก็ได้ หรืออาจจะขยายไปถึงความขัดแย้งใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ก็ยังได้ ไม่ได้จํากัดตัวเองให้หมายถึงเฉพาะการที่จะแก้ไขความขัดแย้งระหว่างเหลืองกับ แดงเท่านั้น อาจจะขยายไปจนถึงความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ หรือระหว่างประชาชนกับ ประชาชนด้วยกัน ในเรื่องความขัดแย้งที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ทะเล ต่างๆ ที่เพื่อนสมาชิก ได้กล่าวมาแล้ว ให้ได้ผลตามที่ต้องการจะรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ขณะเดียวกันก็คํานึงถึงผลประโยชน์ที่ ประชาชนควรจะได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องด้วย หรืออาจจะขยายไปจนถึงผู้ที่เดือดร้อน หรือสูญเสีย หรือเสียหาย จากเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ.2535 ก็ยังได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องหลักของคณะกรรมการชุดนี้เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างเหลืองกับแดง คณะกรรมการชุดนี้พยายามที่จะสร้างสรรค์ที่สุด ใช้นวัตกรรมให้มากที่สุด ที่ผมใช้คําว่าต้องมีนวัตกรรม มากที่สุด เพราะบทเรียนที่ได้จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแอฟริกาใต้ ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี ไม่ว่าจะเป็น รวันดา ไม่ว่าจะเป็นศรีลังกา เป็นบทเรียนที่ว่าด้วยการสร้างความปรองดอง หลังจากที่มีการชนะกันแล้ว สงครามสิ้นสุดแล้ว มีผู้ชนะแล้ว สร้างความปรองดองระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้ แต่สําหรับความขัดแย้ง ความแตกหัก และความนองเลือดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นไม่มีผู้แพ้ ผู้ชนะ และสังคมก็ไม่ปรารถนาที่ จะเห็นผู้แพ้ ผู้ชนะก่อน จึงจะเริ่มปรองดอง จึงจะเริ่มหาข้อเท็จจริง จึงจะเริ่มสํานึกผิด จึงจะเริ่มเมตตา จึง จะเริ่มให้อภัย แต่จะต้องสร้างความปรองดองโดยไม่มีผู้แพ้ ผู้ชนะ ไม่มีผู้พิชิต และไม่มีผู้ที่ย่อยยับ และ á¹Ç¤Ô´¡ÒÃÊÌҧ¤ÇÒÁ»Ãͧ´Í§ ã¹ÃÑ°¸ÃÃÁ¹ÙÞ©ºÑºãËÁ‹ ถอดความจากการนําเสนอในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ 31 โดย ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558
  • 3. v 2 โครงการคลังปญญาเพื่อการอภิวัตนประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน สถาบันคลังปญญาดานยุทธศาสตรฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต อีกอย่างคือทั้งสอง หรือสามฝ่ายที่ขัดแย้งกันนั้น ล้วนแต่คิด หรือส่วนใหญ่คิดว่าฝ่ายตนถูก อีกฝ่ายผิด ฝ่ายตนเสียเปรียบ อีกฝ่ายได้เปรียบ ฝ่ายตนมีหลักการ อีกฝ่ายไม่มีหลักการ ฝ่ายตนคือขาว อีกฝ่ายคือ ดํา ผมคิดว่าสิ่งที่ทั้งสองฝ่าย หรือสามฝ่ายก็ตาม ต่อสู้ขัดแย้งกันนั้น ก็ย่อมยอมรับว่าหลายอย่างก็มี ข้อเท็จจริง หลายอย่างก็ฟังได้ เพราะฉะนั้น ผมจึงคิดว่านอกจากที่จะต้องพยายามสามัคคีกันแล้ว ต้อง ให้เกียรติทั้งสองฝ่าย หรือสามฝ่าย ต้องมองกันในแง่ดี ต้องหัดคิดให้เหมือนคู่ปรปักษ์หรือคู่ขัดแย้งของ เราบ้าง คณะกรรมการที่จะมาสร้างความปรองดองนั้น เป็นคณะกรรมการอิสระ 15 คน ไม่ใช่ลูกน้อง ของรัฐบาล ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของรัฐสภา ไม่ได้เป็นข้าราชการปกติ มีวาระเพียง 5 ปี ประกอบ ด้วยคนกลาง ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้รู้ถึงความขัดแย้งในอดีต ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2548-2557 มีประสบการณ์ในการแก้ไขความ ขัดแย้ง และที่สําคัญมีคนยอมรับนับถือ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ผู้ที่จะรับผิดชอบแต่งตั้งคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็คือฝ่ายที่สาม เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็น ปรปักษ์กันเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้น และผู้ที่แต่งตั้งก็ไม่ใช่จะตั้งได้ตามใจชอบ จะต้อง ระมัดระวัง มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายลูกจะเขียนไว้ ที่จะต้องคํานึงถึง ในการแต่งตั้ง 10 คน ซึ่งเป็นคน กลาง ส่วนอีก 5 คน ก็เป็นผู้ที่มาจากความขัดแย้ง เป็นผู้ที่เป็นผู้นําอยู่ในความขัดแย้ง หรือจะเป็นผู้ที่ไม่ ยอมรับว่าตนเองอยู่ในความขัดแย้ง แต่ปรารถนาจะแก้ไขความขัดแย้ง และเป็นที่ยอมรับจากฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งให้เข้ามาทํางาน ด้วยหมวกใบใหม่ ซึ่งจะไม่คิดถึงแต่ประโยชน์ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ตนสังกัด หรือ เกี่ยวข้องด้วยเท่านั้น ก็จะมาร่วมกับอีก 10 คน ช่วยกันแก้ปัญหา มีวาระอยู่ได้แค่ 5 ปี คณะกรรมการอิสระนี้จะต่อยอดทางความคิด ทางข้อมูล ทางประสบการณ์จากคณะกรรมการ จากนักวิชาการ จากรัฐสภา จากรัฐบาล ที่ได้วิเคราะห์เรื่องความขัดแย้ง สาเหตุที่มา เป็นเอกสารกองโต เราจะไม่ศึกษาอะไรเพิ่มอีกมากนัก แต่จะต่อยอดจากความรู้ ข้อสังเกต ข้อแนะนําต่างๆ เหล่านั้น แล้วหา วิธีแก้ไขมาเสนอรัฐบาล เราจะเอาประสบการณ์จากต่างประเทศด้วย ต้องคํานึงถึงหลักการสากลด้วย แต่ ขณะเดียวกันต้องเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยด้วย คณะกรรมการอิสระจะเป็นคนกลาง จะเป็นเวที จะ เป็นสมอง จะเป็นหัวใจในการผนึกกําลัง สร้างสรรค์ 2 ฝ่าย หรือทุกๆฝ่าย ซึ่งผมเองได้ดําเนินการพูดคุย กับหลายๆ ฝ่ายที่ขัดแย้งกัน ทั้งระดับนํา ระดับกลาง และระดับล่างมามากพอสมควร ก็พอจะกล่าวให้ เพื่อนสมาชิกได้มั่นใจได้ว่าเห็นทางออกแล้ว หากรัฐธรรมนูญของเราไม่กีดกันฝ่ายใดให้ออกไปจากอํานาจสิ้นเชิง ไม่ขโมยชัยชนะของฝ่ายใด ซึ่งรัฐธรรมนูญของเรา ผมยํ้าว่าแทบจะไม่มีฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะ จะเป็นการชนะตามสัดส่วน ได้คะแนนมาก ก็ชนะมาก ได้คะแนนน้อยก็ชนะน้อย เพราะฉะนั้นผมก็มีความมั่นใจเมื่อมารวมกับรายละเอียดต่างๆ ของคณะกรรมการอิสระนี้แล้ว บ้านเมืองก็น่าจะกลับคืนสู่ภาวะปกตินี้ได้ในเวลาที่ไม่ช้ามากนัก คณะกรรมการอิสระนี้จะเยียวยา ฟื้นฟู เยี่ยมเยียนครอบครัว จะไปตามโรงพยาบาล คุกตะราง ซึ่งผมเอง ก็ได้มีโอกาสไปเยี่ยมคุกตะราง ได้พบกับผู้ที่เสียหาย ผู้ที่ถูกคุมขัง ผู้ที่ต้องสูญเสียกระทั่งครอบครัว ระหว่างที่อยู่ในคุก ผู้ที่จําคุกมาแล้ว 3 ปี 9 เดือน แล้วก็เหลือจะจําคุกต่ออีก 9 ปี 3 เดือน ต่างๆ เหล่านี้
  • 4. v 3 โครงการคลังปญญาเพื่อการอภิวัตนประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน สถาบันคลังปญญาดานยุทธศาสตรฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้พิการก็มีอยู่หลายรายมาก รวมทั้งฟื้นฟูด้านจิตใจของผู้ที่เสียหาย ญาติมิตร คนรักที่เหลืออยู่ และให้ การเยียวยาทางเงินตราด้วย แม้กระทั่งหาที่เรียนที่ทํางานต่างๆ ให้กับลูกหลานของผู้ที่สูญเสีย หรือ เสียชีวิตไป คณะกรรมการอิสระนี้ทั้งจะต้องจัดให้มีการศึกษาครั้งใหญ่ในสังคม ในหลายๆ ระดับ ใน หลายๆ รูปแบบ ทําให้เรื่องรู้รักสามัคคี เป็นอุดมการณ์ เป็นค่านิยมชุดใหม่ ให้คนที่ต่างกัน เถียงกัน ประชันขันแข่งกันได้ตามระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่แตกหัก ไม่ทําลายล้าง ไม่รุนแรง สันติสุขน่าจะเป็น ค่านิยมใหม่อีกค่านิยมหนึ่ง ที่จะต้องช่วยเผยแพร่ให้เป็นที่ยึดกุมของประชาชน นอกจากนั้น คณะกรรมการอิสระอาจเสนอให้ตราพระราชกฤษฎีกาขออภัยโทษ ไม่ได้ หมายความว่าเราเสนอเองได้ อย่างที่เพื่อนสมาชิกเป็นห่วง ก็ขออย่าได้เป็นห่วงเลย ก็เป็นพระราช กฤษฎีกาขออภัยโทษ ซึ่งขอพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ล่วงละเมิด พระราชอํานาจแน่นอน และในรัฐธรรมนูญทั้งปี พ.ศ.2557 ที่กําลังใช้อยู่ขณะนี้ รัฐธรรมนูญที่กําลังร่างอยู่ ขณะนี้ก็ล้วนแต่ระบุ บัญญัติไว้ทั้งสิ้นว่า พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจที่จะอภัยโทษ ไม่มี วิธีการอื่น และในการที่จะตราพระราชกฤษฎีกาให้รัฐบาล เพื่อขออภัยโทษ ก็จะต้องโทษถึงที่สุดแล้ว มี การรับโทษแล้ว และสํานึกผิดต่อคณะกรรมการอิสระนี้ และต่อราชการตามปกติด้วย เพราะฉะนั้นเป็น การอภัยโทษที่คํานึงถึงหลักนิติธรรมด้วย ไม่ใช่อภัยโทษสุ่มสี่สุ่มห้าหรือส่งเดช อย่างที่เราทั่วไปอาจจะ เป็นห่วง และแม้แต่พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมก็อาจจะเกิดได้ แต่ในรูปของความคิดเห็นที่เสนอต่อ รัฐบาล และรัฐบาลจะต้องเป็นคนตราขึ้นมาเป็นพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม แต่ว่าเราเองไม่มีอํานาจที่จะ ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมได้ เสนอรัฐบาลก็ยังไม่ได้ รัฐบาลต้องตราเอง ไม่เหมือนพระราช กฤษฎีกาขอภัยโทษ ซึ่งเราสามารถตราขึ้นมาได้ และก็ให้รัฐบาลเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นี่ เป็นสาระอย่างสั้นๆ ของมาตราที่ 297 และมาตรา 298 แต่สิ่งที่สําคัญที่สุดก็อยู่ที่พรรคฝ่ายต่างๆ ประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่อยู่เวลานี้ รวมทั้ง สปช. ของ เราด้วยว่าจะมีวัฒนธรรมที่จะมุ่งมั่น ที่จะฟันฝ่าวิกฤติต่อไปได้อย่างไร ผมอยากจะบอกว่าจริงๆ แล้วคน ไทยเราเคยฝ่าวิกฤติมาแล้วอย่างมหัศจรรย์หลายต่อหลายครั้ง วิกฤติที่เราประสบเวลานี้คือวิกฤติเรื่อง ความปรองดอง วิกฤติเรื่องความสามัคคี ผมเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือของ สปช. จะทําให้เราฝ่าวิกฤติ ได้ด้วยความร่วมมือของพรรคฝ่ายต่างๆ ของประชาชนกลุ่มต่างๆ เราจะต้องฝ่าวิกฤติออกไปให้ได้ ในอดีต บรรพบุรุษของเราเคยนําชาติฝ่าวิกฤติหลายครั้งอย่างมหัศจรรย์ เช่น ในสมัยล้นเกล้า รัชกาลที่ 5 เราเป็นไม่กี่ประเทศในโลกตะวันออกที่เอาตัวรอดจากอาณานิคมฝรั่งได้ ที่ตั้งของประเทศ ไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นอันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้านซ้ายคืออังกฤษ ด้านขวาคือฝรั่งเศส ด้าน เหนือคืออังกฤษ ด้านใต้คืออังกฤษ แต่เราสามารถเอาตัวรอดมาได้อย่างน่าพิศวง อีกทั้งในสงครามโลก ครั้งที่ 2 ผมคิดว่าวิกฤตินี้หนักกว่าวิกฤติที่เราเผชิญในปัจจุบัน เราเอาตัวรอดจากญี่ปุ่นได้อย่างไร เพราะ ญี่ปุ่นเข้าที่ไหน ที่นั่นตายเป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสน แต่เราเอาตัวรอดจากญี่ปุ่นได้ และเอาตัวรอดจาก สัมพันธมิตรได้ แม้ญี่ปุ่นแพ้ แต่เราไม่ได้แพ้ตามญี่ปุ่น เราเอาตัวรอดได้อย่างไร จึงน่าพิศวง ตลอดจนใน สงครามเย็น ซึ่งประเทศรอบบ้านของเราเข้าสู่สงคราม กลายเป็นสงครามร้อนหมด แต่เรายังรักษาความ
  • 5. v 4 โครงการคลังปญญาเพื่อการอภิวัตนประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน สถาบันคลังปญญาดานยุทธศาสตรฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นสงครามเย็นไว้ได้ เราไม่ถลําลึกเข้าไป จึงเป็นโอกาสที่เราพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ร่วม 30-40 ปี นับว่าเป็นความสําเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของผู้นําและประชาชนของกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในเมืองไทย นอกจากนั้นเรายังได้ฝ่าวิกฤติสงครมกลางเมือง กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาได้อย่างไร ท่านที่อายุมากพอสมควรคงจะจําได้ว่าในอดีต เมืองไทยเกินกึ่งหนึ่ง มีการต่อสู้ด้วยกําลังอาวุธทั้งสิ้น พอ ตกเย็นไม่ต้องไปไหน ถนนหนทางไม่ต้องใช้กันอย่างทุกวันนี้เพราะอันตราย วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ไม่ได้ ไปเที่ยวต่างจังหวัด เพราะไม่ปลอดภัยที่จะไป แต่ในที่สุดเราสามารถแก้ปัญหานั้นได้ สามารถทําให้ ประเทศคืนสู่ความสงบ สันติได้อย่างน่าพิศวง เพราะฉะนั้นผมคิดว่าวิกฤติที่เรากําลังเผชิญอยู่นี้ ในฐานะที่เป็น สปช. ก็ดี เป็นกรรมาธิการก็ดี คงไม่มีสิทธิที่จะทําอะไรอย่างอื่นนอกจากจะต้องฟันฝ่าไป ร่วมกับฝ่ายนําในสังคมที่จะต้องฟันฝ่าไป ร่วมกับประชาชนที่เราอยู่ใกล้ชิด หรือที่เราเชื่อมสัมพันธ์อยู่ด้วยพากันไป คงไม่สามารถที่จะมอบให้เป็น ภาระของผู้อื่นได้ เรารอรดจากวิกฤติต่างๆ มาได้มากมาย จนกระทั่งกลายเป็นลักษณะประจําชาติ แต่ผม กลัวเหลือเกินว่าเราสูญเสียลักษณะประจําชาตินี้ กลัวว่าความมืดมน อับจน ความท้อแท้จะเข้ามาอยู่ใน จิตใจของพวกเรา ผมจึงอยากเรียกร้องพวกเราว่าเราจะต้องฟันฝ่าไป แน่นอนบางส่วน อาจจะมีพระ สยามเทวาธิราชช่วยคุ้มเกล้าปกเกษพวกเราไว้ แต่พระสยามเทวาธิราชจะช่วยคนที่ช่วยตัวองเท่านั้น บรรพบุรุษของเราได้ทําอะไรทุกสิ่งทุกอย่าง และพระสยามเทวาธิราชก็โปรด พวกเราก็เหมือนกัน เรา ต้องทํา เพราะฉะนั้นจึงอยากที่จะให้พวกเราที่อยู่ในที่นี้มีส่วนที่ช่วยให้ กรรมาธิการยกร่าง คิด หลาย อย่างยังไม่มีรายละเอียดที่อย่างที่ท่านวันชัย ถามว่าสมัชชาพลเมืองคืออะไร อย่าว่าแต่ท่านจะงง ผมเอง ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นผมก็ร่วมโง่ด้วยอีกคน แต่เราทุกคนก็เรียนรู้ด้วยกัน คุณสมสุขคง ไม่ได้เข้าใจเสียทั้งหมด แต่ไม่ใช่ว่าเราเข้าใจอะไรหมดแล้วเราถึงร่าง ก็เรียกว่างม ตอนไหนต้องงมก็งม ตอนไหนมีไฟฉายส่องก็ใช้ไฟฉายส่อง เรื่องที่เราทํามีความสําคัญมาก จนไม่สามารถที่จะเข้าใจก่อน ถึง จะมาทํา ผมก็ต้องยอมรับว่ามาตรา 297,298 พยายามที่คิดออกมาอย่างนี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วย ความตั้งใจ ด้วยความพยายามที่จะทําให้บ้านเมืองฝ่าวิกฤติได้
  • 6. เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com ผู้อํานวยการสถาบันคลังปัญญาฯ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล ถอดความและเรียบเรียง: นาย ฮากีม ผูหาดา ปีที่พิมพ์: มิถุนายน 2558 สํานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ ที่อยู่ติดต่อ วิทยาลัยรัฐกิจ 52/347 พหลโยธิน 87 ตําบลหลักหก อําเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ 02-997-2200 ต่อ 1283 โทรสาร 02-997-2200 ต่อ 1216 สถาบันคลังปัญญาฯ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4/2 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064