SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 29
Downloaden Sie, um offline zu lesen
โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้
Natural Tie Dye Clothes Fabric Making
จัดทำโดย
นางสาวกมลชนก ไชยรบ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 เลขที่ 36
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา I30202
การสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation)
โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564
ก
ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) Natural Tie Dye Clothes Fabric Making
ชื่อผู้จัดทำ นางสาวกมลชนก ไชยรบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 เลขที่ 36
ครูที่ปรึกษาประจำวิชา นางสาววริษฐา ศรีแพทย์
วิชาการสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation)
รหัสวิชา I20202
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษารายงานเชิงวิชาการเรื่อง การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ เป็นการศึกษาค้นคว้าประเภททดลอง
โดยทำการศึกษาจากวัสดุธรรมชาติ 2 ชนิด คือ ดอกอัญชัน และดอกกระเจี๊ยบ และทดสอบความคงทนด้วยการ
นำมาผ้ามัดย้อมที่ได้แช่ลงในสารช่วยติดสี 2 ชนิด คือ สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) และ สารละลาย
โพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (น้ำสารส้ม) จากผลการศึกษาพบว่า สีจากดอกกระเจี๊ยบมีความคงทนมากกว่าสี
จากดอกอัญชัน ซึ่งมีข้อสรุป และข้อเสนอแนะที่สำคัญที่ได้จากการศึกษาคือ สีย้อมผ้าจากดอกกระเจี๊ยบมี
ประสิทธิภาพ และความคงทนมากที่สุด สีจากดอกกระเจี๊ยบจึงเป็นวัสดุธรรมชาติที่เหมาะแก่การย้อมผ้ามาก
ที่สุด รองลงมาคือสีจากดอกอัญชัน
ข
กิตติกรรมประกาศ
การศึกษารายงานเชิงวิชาการเรื่อง การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
เนื่องจากผู้ศึกษาได้รับความรู้ การฝึกฝน และการอบรมจากคุณครูที่ปรึกษาประจำวิชา, คุณครูประจำชั้น,
คุณครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่ถ่ายทอดความรู้ด้านต่างๆ ให้ หากรายงานเรื่องนี้มีประประโยชน์ใน
การศึกษาค้นคว้าในด้านใดก็ตามผู้ศึกษาขอมอบให้เป็นเกียรติแก่ผู้มีพระคุณทุกท่าน
ผู้จัดทำขอขอบพระคุณ คุณครูวริษฐา ศรีแพทย์ คุณครูที่ปรึกษารายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ
(Communication and Presentation) ที่ให้คำแนะนำในการศึกษาและการดำเนินการ ซึ่งเป็นประโยชน์
อย่างยิ่งจนทำให้การศึกษานี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ขอขอบพระคุณท่านผู้อํานวยการและคุณครูโรงเรียนสตรีสมุทรปราการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ได้
ฝึกสอน ให้คำแนะนําในการศึกษาค้นคว้านี้
ขอขอบพระคุณขอขอบพระคุณคุณพ่อและคุณแม่ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ ที่ได้ให้ความ
ช่วยเหลือสนับสนุนและให้กำลังใจตลอดมา
นางสาวกมลชนก ไชยรบ
ค
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
สารบัญตาราง จ
สารบัญรูปภาพ ฉ
บทนำ 1
ที่มาและความสำคัญ 1
วัตถุประสงค์ 1
สมมติฐาน 1
ขอบเขตของการศึกษา 1
ตัวแปรที่ศึกษา 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2
ดอกอัญชัน 2
ดอกกระเจี๊ยบแดง 4
ผ้ามัดย้อม 9
การสกัดสีจากดอกไม้ 10
การสร้างลวดลาย 11
ง
สารบัญ (ต่อ)
เรื่อง หน้า
วิธีการดำเนินงาน 12
เครื่องมือและอุปกรณ์ 12
วัตถุดิบที่ใช้ 12
ขั้นตอนการดำเนินงาน 12
ผลการดำเนินงาน 18
ตอนที่ 1 การผลิตผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ 13
ตอนที่ 2 การศึกษาการติดสีและความคงทนของผ้ามัดย้อม 13
ตอนที่ 3 สรุปและบันทึกผลการทดลอง 13
สรุปและอภิปรายผลการทดลอง 14
สรุปผลการทดลอง 14
อภิปรายผลการทดลอง 14
ข้อเสนอแนะ 15
บรรณานุกรม 16
ภาคผนวก 17
วัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบที่ใช้ 18
ขั้นตอนการทำ 19
ผลิตภัณฑ์จากการทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ 20
ประวัติผู้ศึกษา 21
จ
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการแช่ผ้ามัดย้อมในสารละลายช่วยติดสีเป็นเวลา 10 นาที 13
ฉ
สารบัญรูปภาพ
รูปภาพที่ หน้า
ภาพที่ 1.1 ดอกอัญชัน 2
ภาพที่ 1.2 ดอกกระเจี๊ยบแดง 4
ภาพที่ 2 แสดงสีผ้ามัดย้อมจากดอกกระเจี๊ยบแดง 13
ภาพที่ 3 แสดงสีผ้ามัดย้อมจากดอกอัญชัน 13
1
การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม
ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นอันดับ 4 รองจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรม
เครื่องจักรสำนักงาน และอุตสาหกรรมยานยนต์ ตามลำดับคิดเป็นมูลค่า 245 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 2.2
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ โดยมูลค่า GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ระหว่างปี 2550-2554 มีมูลค่า
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเฉลี่ยประมาณ 150,000 ล้านบาทต่อปีซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มี
ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยสูง (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.การดี เลียวไพโรจน์ และ ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์
เดช: 2565 )
ปัจจุบันสีอินทรีย์สังเคราะห์ (เช่น สีย้อมอะโซ) ถูกใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการผลิตของโรงงาน
อุตสาหกรรมสารเคมีที่เกี่ยวกับสี รวมทั้งกระบวนการผลิตสีย้อม โดยกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมได้จำแนกสีย้อม
ตามวิธีใช้ออกเป็น 11 ประเภท คือ (1) สีเอซิด (2) สีไดเร็กท์ (3) สีเบสิก (4) สีดิสเพอร์ส (5) สีรีแอกทีฟ (6)
สีอะโซอิค (7) สีแว็ต (8) สีมอร์แดนท์ (9) สีอินเกรน (10) สีออกซิเดชั่น และ (11) สีซัลเฟอร์
ซึ่งสีย้อมแต่ละประเภทจะมีสูตรโครงสร้างทางเคมี สมบัติของสีย้อม ตลอดจนวิธีใช้ต่างกันและจาก
กระบวนการผลิต พบว่า ประมาณ 10-15% ของสีย้อมจะถูกปล่อยไปสู่สิ่งแวดล้อมในระหว่างกระบวนการ
ย้อมสีสารตั้งต้นต่างๆ เช่น เส้นใยสิ่งทอที่ได้จากธรรมชาติและจากการสังเคราะห์ พลาสติก หนัง กระดาษ
น้ำมันถ่านหิน ขี้ผึ้ง และที่สำคัญคือ อาหารและเครื่องสำอาง สีย้อมบางชนิดพบว่าเป็นสารพิษ หรือสารกัด
กร่อน เป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ และเมื่อได้รับสะสมไปเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (ภาควิชาเคมี
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: 2565)
จากข้อมูลข้างต้นสีที่ใช้ย้อมเสื้อผ้านั้นส่วนใหญ่มักทำมาจากสารเคมี ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
ของเราได้ การใช้สีย้อมจากสีธรรมชาติจึงเป็นตัวเลือกที่ดี และเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีต ด้วย
ภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนได้นำเอาองค์ความรู้ในการย้อมสีผ้าด้วยวัสดุจากธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษต่อผู้คน สัตว์
และสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ผู้ศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้สีย้อมผ้าจากวัสดุจากธรรมชาติแทนการใช้สี
ย้อมผ้าจากสารเคมี ทั้งนี้จึงเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ดอกอัญชัน และดอกกระเจี๊ยบแดง ที่สามารถหาได้
ง่ายในท้องถิ่น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และยังเป็นการใช้ประโยชน์จาก
ธรรมชาติอีกด้วย การศึกษาในตรั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิธีการทำผ้ามัดย้อม 2) เพื่อผลิตผ้ามัด
ย้อมจากสีของดอกไม้ และ 3) เพื่อศึกษาการติดสีและความคงทนของผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ ผู้ศึกษาได้
ตั้งสมมติฐานของการทดลองไว้ว่า สีจากดอกไม้สามารถนำมาทำผ้ามัดย้อมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยมี
ขอบเขตการศึกษา คือ 1) ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่าง ศึกษาการทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ ใช้ดอกอัญชัน
และดอกกระเจี๊ยบแดง 2) ขอบเขตด้านสถานที่ การศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดพื้นที่ในบริเวณบ้านของผู้จัดทำ
2
จังหวัดสมุทรปราการ 3) ขอบเขตด้านระยะเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.
2564 - เดือนมกราคม พ.ศ.2565 โดยมีตัวแปรที่ได้จากการออกแบบการทดลอง ได้แก่ 1) ตัวแปรต้น คือ ชนิด
ของดอกไม้ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ ดอกอัญชัน และดอกกระเจี๊ยบแดง 2) ตัวแปรตาม คือ การติดของสีและ
ความคงทนของสีบนผ้ามัดย้อม 3) ตัวแปรควบคุม คือ น้ำหนักของดอกไม้ทั้ง 2 ชนิด ปริมาณสารละลาย
โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) ปริมาณสารละลายโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (น้ำสารส้ม) และระยะเวลาที่ใช้
ในการย้อมผ้า
1. ดอกไม้
1.1 ดอกอัญชัน
ภาพ 1.1 ดอกอัญชัน
ชื่อ อัญชัน
ชื่อพื้นเมือง แดงชัน (เชียงใหม่); อัญชัน (ภาคกลาง); เอื้องชัน (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ Butterfly pea, Blue pea
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitoria ternatea L.
วงศ์ จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE
(PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสี
ขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์
เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของ
3
โลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม
หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้
อาการเหน็บชาได้ด้วย และที่สำคัญสารนี้ยังมีความโดดเด่นที่ใครหลาย ๆ คนยังไม่ทราบ นั่นก็คือช่วยลดความ
เสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้ และการ "กินดอกอัญชันทุกวัน...วันละหนึ่งดอก" จะช่วยป้องกันโรคเส้น
เลือดสมองตีบได้อีกด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ยาว 1-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-9 ใบ รูปรีแกมขอบ
ขนานหรือรูปรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-5 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีน้ำเงิน
ม่วงหรือขาว ตรงกลางกลีบสีเหลืองหม่นขอบสีขาว ผลเป็นฝัก รูปดาบ โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย แตกเป็น
2 ฝา เมล็ดรูปไต จำนวน 6-10 เมล็ด
สรรพคุณของดอกอัญชัน
1 น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
2. เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
3. มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
4. ดอกมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
5. ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด
6. ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ
7. ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก)
8. อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกดำเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)
9. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
10. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
11. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
12. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
13. อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
14. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด)
4
15. ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก)
16. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
17. นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก)
18. นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟันและทำให้ฟันแข็งแรง (ราก)
19. ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด)
20. ใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
21. แก้อาการปัสสาวะพิการ
22. ใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก)
23. ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
24. นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย
25. ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน
26. ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผัก เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสด ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้
27. น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก)
28. ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก)
29. ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น
30. นิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม
1.2 ดอกกระเจี๊ยบแดง
ภาพ 1.2 ดอกกระเจี๊ยบแดง
5
ชื่อ กระเจี๊ยบแดง
ชื่อพื้นเมือง ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง (ตาก), ใบส้มม่า (ระนอง), แกงแคง (เชียงใหม่), ส้มปู
(แม่ฮ่องสอน), แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง),
กระเจี๊ยบ, ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มพอดี (ภาคอีสาน), กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาค
กลาง), ส้มพอ ส้มพอเหมาะ
ชื่อสามัญ Rosella, Jamaican sorel, Roselle, Rozelle, Sorrel, Red sorrel, Kharkade, Karkade,
Vinuela, Cabitutu
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn.
วงศ์ ชบา (MALVACEAE)
สมุนไพรกระเจี๊ยบแดง มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยใน
ประเทศไทยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ลำต้น และราก
กระเจี๊ยบแดง มีลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่ม สูงประมาณ 1-2.5 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 1-2 ซม.
แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ ลำต้น และกิ่งมีสีแดงม่วง เปลือกลำต้นบางเรียบ สามารถ
ลอกเป็นเส้นได้ รากกระเจี๊ยบเป็นระบบรากแก้ว และแตกรากแขนง รากอยู่ในระดับความลึกไม่มาก
2. ใบ
ใบกระเจี๊ยบแดง เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามความสูงของกิ่ง มีลักษณะคล้ายปลายหอก ยาว
ประมาณ 7-13 ซม. มีขนปกคลุมทั้งด้านบนด้านล่าง ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนปลายเว้าลึกคล้ายนิ้วมือ 3
นิ้ว หรือเป็น 5 แฉก ระยะห่างระหว่างแฉก 0.5-3 ซม. ลึกประมาณ 3-8 ซม. มีเส้นใบ 3-5 เส้น เส้นใบด้านล่าง
นูนเด่น มีต่อมบริเวณโคนเส้นกลางใบ 1 ต่อม มีหูใบเป็นเส้นเรียวยาว 0.8-1.5 ซม. ใบที่มีอายุน้อย และใบใกล้
ดอกจะมีขนาดเล็กรูปไข่ ใบกระเจี๊ยบแดงบางพันธุ์จะไม่มีแฉก มีลักษณะโคนใบมน และเรียวยาวจนถึงปลาย มี
ก้านใบมีแดงม่วงเหมือนสีของกิ่ง เส้นใบด้านล่างนูนชัด
3. ดอก
ดอกกระเจี๊ยบแดงออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกแทงออกตามซอกใบตั้งแต่โคนกิ่งถึงปลายกิ่ง ดอกมีก้าน
ดอกสั้น สีแดงม่วง ดอกมีกลีบเลี้ยง ประมาณ 5 กลีบ หุ้มดอกบนสุด มีขนาดใหญ่ มีลักษณะอวบหนา มีสีแดง
เข้มหุ้มดอก และกลีบรองดอก ที่เป็นกลีบด้านล่างสุด มีขนาดเล็ก 8-12 กลีบ มีสีแดงเข้ม กลีบทั้ง 2 ชนิดนี้ จะ
6
ติดอยู่กับดอกจนถึงติดผล และผลแก่ ไม่มีร่วง ดอกเมื่อบานจะมีกลีบดอกสีเหลืองหรือสีชมพูอ่อนหรือสีขาว
แกมชมพู บริเวณกลางดอกมีสีเข้ม ส่วนของดอกมีสีจางลง เมื่อดอกแก่กลีบดอกจะร่วง ทำให้กลีบรองดอก และ
กลีบเลี้ยงเจริญขึ้นมาหุ้ม
4. ผล
ผลกระเจี๊ยบแดงเจริญจากดอก ถูกหุ้มอยู่ด้านในกลีบเลี้ยง ลักษณะเป็นรูปไข่ กลมรี ยาวประมาณ
2.5 ซม. มีจงอยสั้นๆ มีขนสีเหลืองปกคลุม
สรรพคุณของดอกกระเจี๊ยบแดง
1. กลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดน้ำหนัก โดยมีการทดลอง
กับกระต่ายที่มีไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และ
มีปริมาณของไขมันชนิดดี (HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จาก
หัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล, เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง)
2. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด (ดอก)
3. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง (เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง, ยอดและใบ)
4. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
6. ช่วยลดความดันโลหิต โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด มีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วย
ได้รับชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7%
ตามลำดับเมื่อเทียบกับวันแรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชง ความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
7. เมล็ดช่วยบำรุงโลหิต (เมล็ด)
8. ช่วยแก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยรักษาเส้นเลือดให้แข็งแรงและอ่อนนิ่มยืดหยุ่นได้ดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
9. น้ำกระเจี๊ยบช่วยทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
10. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
11. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นของกระเจี๊ยบแดงมาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจและโรคประสาท (ทั้งต้น)
12. ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ผล)
13. น้ำกระเจี๊ยบช่วยแก้อาการร้อนใน (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
7
14. ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
15. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโทไซยานิน
(Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีแดงในกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้อย่างบลูเบอร์รี แต่กระเจี๊ยบแดงจะมีสารชนิดนี้
มากกว่าบลูเบอร์รีถึง 50%
16. ช่วยลดไข้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
17. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยแก้อาการไอ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ดอก)
18. ใบใช้เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก (ใบ, ดอก)
19. ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณที่สูงอยู่พอสมควร (น้ำ
กระเจี๊ยบ)
20. ช่วยในการย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น (น้ำกระเจี๊ยบ, เมล็ด, ยอด
และใบ)
21. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยาลดน้ำหนัก เนื่องจากเป็นยาระบายและยังช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้
อีกด้วย (ทั้งต้น)
22. ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อน
โต๊ะแล้วดื่มน้ำตาม วันละ 3-4 ครั้ง (ผล)
23. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ผล)
24. ใบกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำมาต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8
วัน หรือจะใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจน
งวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่า ๆ ก็
ได้จนหมดน้ำยา (ใบ, ผล, ทั้งต้น)
25. น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันได้อีกทางหนึ่ง โดยมีรายงานวิจัยทางคลินิกว่า
เมื่อให้ผู้ป่วยดื่มผงกระเจี๊ยบขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าได้ผลดีใน
การขับปัสสาวะ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด, ยอดและใบ)
26. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดิน
ปัสสาวะ ลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการปวดแสบ โดยใช้กระเจี๊ยบแห้งบดเป็นผงประมาณ 3 กรัม
นำมาชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ใช้ดื่มวันละ 3 ครั้ง ประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย ซึ่งจากรายงานการวิจัย
พบว่าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี
8
พบว่าผู้ป่วยกว่า 80% มีปัสสาวะที่ใสขึ้นกว่าเดิม และยังพบว่าปัสสาวะมีความเป็นกรดมากขึ้น จึงช่วยในการ
ฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
27. ช่วยแก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง
นำมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้วนำมา
เฉพาะน้ำสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
28. ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
29. ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลาย (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด)
30. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาไตพิการ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
31. เมล็ดช่วยแก้ดีพิการ (เมล็ด)
32. กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับและช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายจากสารพิษ โดยมีงานวิจัย
ในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดด้วยน้ำ (Anthocyanins) และสาร Protocatechuic Acid ของกระเจี๊ยบแดง
สามารถช่วยลดความเป็นพิษต่อตับจากสารพิษได้หลายชนิด (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
33. ใบใช้ตำพอกฝีหรือใช้ต้มน้ำเพื่อใช้ล้างแผลได้ (ใบ)
34. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระเจี๊ยบแดง ช่วยลดอาการบวม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาท็อก
ซิน ไวรัสเริม ยับยั้งเนื้องอก ช่วยขับกรดยูริก คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ และลดความเจ็บปวด
35. สารสกัดจากลีบดอกของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็น
ประโยชน์ต่อสตรีวัยทองไม่มากก็น้อย (กลีบดอก)
36. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยสารแอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งออกซิเดชันของ
ไขมันเลส และยับยั้งการตายของมาโครฟาจ โดยมีสาร Dp3-Sam ซึ่งเป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ช่วย
กำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลองได้ จึงมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอาจช่วยชะลอ
การลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง
1. กระเจี๊ยบมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และสารโพลีฟีนอล ซึ่งได้แก่ Protocatechuic Acid ที่มี
ฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ และช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนิ่มได้
2. กระเจี๊ยบใช้ทำเป็นน้ำดื่มที่ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น เนื่องจากมีกรดซิตริกอยู่ด้วยน้ำกระเจี๊ยบแดง
9
3. ใบอ่อนของกระเจี๊ยบใช้รับประทานเป็นผักได้ หรือจะนำมาใช้ทำแกงส้มก็ได้ ให้รสเปรี้ยวกำลังดี และยังมี
วิตามินเอสูง (12,583 I.U. ต่อ 100 กรัม) ที่ช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย
4. กลีบเลี้ยงผลและกลีบดอกอุดมไปด้วยแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
5. กระเจี๊ยบแดงจัดเป็นพืชส่งออกโดยนำไปใช้เป็นส่วนผสมสำคัญสำหรับ Herbal tea และใช้ในอุตสาหกรรม
อาหาร ใช้บริโภคภายในประเทศ ใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์ชาชง กระเจี๊ยบแดง
อบแห้ง กระเจี๊ยบแดงแคปซูล เครื่องดื่มต่าง ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมสีผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
ได้แก่ แยม เยลลี่ เบเกอรี ไอศกรีม ไวน์ น้ำหวาน ซอส เป็นต้น รวมไปถึงในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น
โลชัน ครีมกระเจี๊ยบแดง เจลอาบน้ำ ครีมขัดผิว เป็นต้น
6. น้ำต้มของดอกแห้งจะมีกรดผลไม้หรือ AHA อยู่หลายชนิดในปริมาณสูง จึงมีการนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง
ประเภทครีมหน้าใส
7. เมนูดอกกระเจี๊ยบแดง เช่น แกงส้มดอกกระเจี๊ยบ ยำดอกกระเจี๊ยบ แยมดอกกระเจี๊ยบ ดอกกระเจี๊ยบแช่อิ่ม
กระเจี๊ยบกวน ชากระเจี๊ยบแดง น้ำกระเจี๊ยบแดง เป็นต้น
8. ในแอฟริกาใต้มีการใช้น้ำมันจากเมล็ดเป็นยารักษาแผลให้อูฐ
9. นอกจากนี้ลำต้นของกระเจี๊ยบแดงยังสามารถนำมาทำเป็นเชือกปอได้อีกด้วย
2. ผ้ามัดย้อม
ผ้ามัดย้อม หมายถึง การทำให้ผ้าเกิดรอยต่างๆ โดยใช้เทคนิคการทำลวดลายโดยการมัด การพับ การ
เย็บ และใช้อุปกรณ์อื่นๆ ให้เป็นลวดลายตามที่ต้องการ
การทำผ้ามัดย้อมอาจเริ่มเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจของคนในสมัยโบราณ โดยนักมนุษย์วิทยาสันนิษฐานว่า
อาจมีแนวความคิดมาจากการฟอกสีออกด้วยแสงอาทิตย์โดยบังเอิญ ซึ่งหลักฐานความรู้ที่พอจะเชื่อถือได้แสดง
ให้เห็นว่า ประเทศในยุคแรกๆที่มีการมัดย้อมผ้าคือ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และแอฟริกาที่มีความคุ้นเคย
กับเทคนิคการใช้สีย้อมที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์
ในประเทศอินเดียผ้ามัดย้อมเป็นที่รู้จักกันในชนบทสมัยก่อน ซึ่งพบหลักฐานจากเศษผ้าเมื่อ 5,000 ปี
ก่อน สะท้อนให้เห็นถึงความรู้และประสบการณ์ในการใช้สีย้อม เช่น ส่าหรี (Sari) เป็นต้น
การมัดย้อมนั้นจะมีหลายรูปแบบและเทคนิคความสวยงามที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ซึ่งอาจ
ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติ ช่วงเวลาในการค้นพบ หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นวัตถุดิบในการท้า
มัดย้อม แต่สิ่งที่เหมือนกันของผ้ามัดย้อมในทุกชนชาติและทุกๆวัฒนธรรมนั่นก็คือ การพยายามพัฒนาและ
สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆให้สวยงามและเจริญรุ่งเรืองอยู่เสมอ เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมให้คงอยู่
ต่อไปในอนาคต
10
3. การสกัดสีจากดอกไม้
สีธรรมชาติเป็นทีที่ได้จากพืช สัตว์และแร่ธาติต่างๆ สามารถนำมาย้อมได้ทั้งแบบย้อมร้อนและแบบ
ร้อนเย็น สีธรรมชาติเป็นสีที่ต้องอาศัยสารช่วยในการเร่งกระตุ้นช่วยให้สีออกเร็ว และให้สีติดแนบกับเส้นไหม
ทำให้สีไม่ตกเวลาซัก (วิษณุ ดาทอง: 2553)
ข้อดีของสีธรรมชาติ
1. ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค
2. น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม
3. วัตถุดิบหาได้ง่ายในชุมชนไม่ต้องใช้สีเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศ
4. การย้อมสีธรรมชาติสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นตามประสบการณ์ สามารถ
ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น
5. สีธรรมชาติมีความหลากหลาย ตามชนิด อายุและส่วนของพืชที่ใช้ ตลอดจนชนิดของสารกระตุ้นหรือ
ขั้นตอนการย้อม
6. การย้อมสีธรรมชาติทำให้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ
7. ความสัมพันธ์ระหว่างคนย้อมสีกับต้นไม้ ย่อมก่อให้ เกิดความรัก ความหวงแหน และเรียนรู้ที่จะอนุรักษ์
และปลูกทดแทนเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน
ข้อจำกัดของสีธรรมชาติ
1. ปริมาณสารสีในวัตถุดิบย้อมสีมีน้อย ทำให้ย้อมได้สีไม่เข้มหรือต้องใช้วัตถุดิบปริมาณมาก
2. ไม่สามารถผลิตได้ในประมาณมากและไม่สามารถผลิตสีตามที่ตลาดต้องการ
3. สีซีดจางและมีความคงทนต่อแสงต่ำ
4. คุณภาพการย้อมสีธรรมชาติขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการซึ่งควบคุมได้ยาก การย้อมสีให้เหมือนเดิมจึงทำได้
ยาก
5. ในการย้อมสีธรรมชาติถ้าไม่มีวิธีการ และจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนย่อมจะกลายเป็นการ
ทำลายสิ่งแวดล้อมได้
11
4. การสร้างลวดลาย
แบบลวดลายหัตถกรรมผ้ามัดย้อมด้วยสีเคมีและสีธรรมชาติ มีเทคนิคในการทำผ้ามัดย้อมด้วยวิธีการ
3 วิธีการดังนี้
1. การพับแล้วมัด กล่าวคือ เป็นการพับผ้าเป็นรูปต่างๆ แล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ผลที่ได้จะได้ลวดลายที่มี
ลักษณะลายด้านซ้ายและลายด้านขวาจะมีความใกล้เตียงกัน แต่จะมีสีอ่อนด้านหนึ่งและสีเข้มด้านหนึ่ง
เนื่องจากว่าหากด้านใดโดนพับไว้ด้านในสีก็จะซึมเข้าไปน้อย ผลที่ได้ก็คือจะมีสีจางกว่านั่นเอง
2. การขยำแล้วมัด กล่าวคือ เป็นการขยำผ้าอย่างไม่ตั้งใจแล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ผลที่ได้จะได้ลวดลายแบบ
อิสระ เรียกว่าลายสวยแบบบังเอิญ ทำแบบนี้อีกก็ไม่ได้ลายนี้อีกแล้ว เนื่องจากการขยำแต่ละครั้งเราไม่สามารถ
ควบคุมการทับซ้อนของผ้าได้ ฉะนั้นลายที่ได้เป็นลายที่เกิดจากความบังเอิญจริงๆ เปรียบเทียบเหมือนกับการที่
เราเห็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆแต่ละก้อนจะมีลักษณะแตกต่างกัน และเมื่อผ่านสักครู่ลายหรือลักษณะของก้อนเมฆ
ก็จะเปลี่ยนไป เราเรียกว่าลายอิสระ หรือรูปร่างรูปทรงอิสระนั่นเอง
3. การห่อแล้วมัด กล่าวคือ เป็นการใช้ผ้าห่อวัตถุต่างๆ ไว้แล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ลายที่เกิดขึ้นจะเป็นลาย
ใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับวัตถุที่นำมาใช้ และลักษณะของการมัด เช่น การนำผ้ามาห่อก้อนหินรูปทรงแปลกๆ ที่มี
ขนาดไม่ใหญ่นัก แล้วมัดไขว้ไปมา โดยเว้นจังหวะของการมัดให้มีพื้นที่ว่างให้สีซึมเข้าไปได้ อย่างนี้ก็จะมีลาย
เกิดขึ้นสวยงามแตกต่างจากการมัดลักษณะวัตถุอื่นๆ ด้วย
หลักการสำคัญในการทำมัดย้อมคือ ส่วนที่ถูกมัดคือส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด ส่วนที่เหลือหรือส่วนที่
ไม่ได้มัดคือส่วนที่ต้องการให้สีติด การมัดเป็นการกันสีไม่ให้สีติดนั่นเอง ลักษณะที่สำคัญของการมัดมีดังนี้
1. ความแน่นของการมัด
กรณีแรกมัดมากเกินไปจนไม่เหลือพื้นที่ให้สีแทรกซึมเข้าไปได้เลย ผลที่ได้ก็คือ ได้สีขาวของเนื้อผ้าเดิม อาจมีสี
ย้อมแทรกซึมเข้ามาได้เล็กน้อย อย่างนี้เกิดลายน้อย
กรณีที่สองมัดน้อยเกินไป เหลือพื้นที่ให้สีย้อมติดเกือบเต็มผืน อย่างนี้เกิดลายน้อยเช่นกัน ทั้งผืนมีสีย้อมแต่
แทบไม่มีลายเลย
กรณีที่สาม มัดเหมือนกันแต่มัดไม่แน่น อย่างนี้เท่ากับไม่ได้มัดเพราะหากมัดไม่แน่นสีก็จะแทรกซึมผ่านเข้าไป
ได้ทั่วทั้งผืน
2. การใช้อุปกรณ์ช่วยในการหนีบผ้าแล้วมัด เพื่อให้เกิดความแน่น และเกิดลวดลายตามแม่แบบที่ใช้หนีบ
ดังนั้นลายสวยเพียงใดขึ้นอยู่กับการออกแบบแม่แบบที่จะใช้หนีบด้วย
12
3. ความสม่ำเสมอของสีย้อม สีย้อมที่ติดผ้าจะสม่ำเสมอได้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิความร้อนขณะนำผ้าลงย้อม และ
การกลับผ้าไปมาการขยำผ้าเกือบตลอดเวลาของการย้อมหนึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่งก่อนที่จะแช่ผ้าไว้
จากการศึกษาค้นคว้าและได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำผ้ามัดย้อมในด้านต่างๆ แล้ว จึงได้เริ่ม
ดำเนินการที่จะทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ โดยมีอุปกรณ์และวิธีการดังนี้
เครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่
1 ผ้าสีขาวจำนวน 4 ผืน
2 กะละมังแช่ผ้า 2 ใบ
3 หม้อ 2 ใบ
วัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่
1. ดอกอัญชัน 200 กรัม
2. ดอกกระเจี๊ยบแดง 200 กรัม
3. สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) 500 มิลลิลิตร
4. สารละลายโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (น้ำสารส้ม) 500 มิลลิลิตร
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. มัดผ้าสีขาวให้ได้ลวดลายตามที่ต้องการ
2. นำดอกอัญชันจำนวน 200 กรัม ไปต้มในน้ำเดือด 500 มิลลิลิตร โดยใช้เวลา 10 นาที
3. นำดอกกระเจี๊ยบแดงจำนวน 200 กรัม ไปต้มในน้ำเดือด 500 มิลลิลิตร โดยใช้เวลา 10 นาที
4. นำผ้าสีขาวทั้ง 4 ผืน ที่เตรียมไว้ไปต้มในน้ำดอกไม้เป็นเวลา 10 นาที โดยแบ่งเป็นหม้อละ 2 ผืน
หลังจากต้มจนครบเวลาแล้วให้ตากผ้าทิ้งไว้ให้แห้ง
5. เตรียมสารช่วยติดสี กะละมังที่ 1 ใช้โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และกะละมังที่ 2 ใช้โพแทสเซียม
อะลูมิเนียมซัลเฟต (สารส้ม) และนำผ้าทั้ง 4 ผืน มาแช่ในกะละมัง เป็นเวลา 30 นาที และนำไปตากให้แห้ง
6. สรุปและบันทึกผล
13
ผลการดำเนินงาน
ตอนที่ 1 การผลิตผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้
จากการทดลองทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ ได้ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่มีลักษณะ ดังนี้ สีย้อมผ้าจาก
ดอกกระเจี๊ยบมีสีที่เข้มและคงทนมากกว่าสีที่ย้อมผ้าจากดอกอัญชัน ดังภาพที่ 1 และ 2
ภาพที่ 2 แสดงสีผ้ามัดย้อมจากดอกกระเจี๊ยบแดง ภาพที่ 3 แสดงสีผ้ามัดย้อมจากดอกอัญชัน
ตอนที่ 2 การศึกษาการติดสีและความคงทนของผ้ามัดย้อม
ในการทดสอบคุณภาพของผ้ามัดย้อมกับสารช่วยติดสี ทดสอบการติดสี และความคงทนของสี
ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการแช่ผ้ามัดย้อมในสารละลายช่วยติดสีเป็นเวลา 10 นาที
สารช่วยติดสี
ดอกไม้
สารละลาย
โซเดียมคลอไรด์
(น้ำเกลือ)
สารละลาย
โพแทสเซียมอลูมิเนียมซัลเฟต
(น้ำสารส้ม)
ดอกอัญชัน สีขาวสว่าง สีเทาหม่น
ดอกกระเจี๊ยบ สีชมพูกะปิ สีชมพูอมเทา
ตอนที่ 3 สรุปและบันทึกผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่า สีที่ได้จากดอกอัญชัน เมื่อแช่ในสารจับสี ที่เป็นน้ำเกลือ จะได้สีขาว และเมื่อใช้
น้ำสารส้มจะได้สีเทา ส่วนสีที่ได้จากดอกกระเจี๊ยบจะสามารถติดทนได้มากกว่าสีที่ได้จากดอกอัญชัน เมื่อแช่ใน
สารจับสีที่เป็นน้ำเกลือจะได้สีชมพูกะปิ และเมื่อใช้น้ำสารส้มจะได้สีชมพูอมเทา
14
สรุปและอภิปรายผลการทดลอง
การศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อศึกษาวิธีการทำผ้ามัดย้อม
สรุปผลได้ว่า ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำผ้ามัดย้อมรูปแบบต่างๆ โดยได้เลือก
ทำการศึกษาการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติเพื่อนำมาปรับปรุงให้เข้ากับรูปแบบของโครงงาน
จากการศึกษาวิธีการทำผ้ามัดย้อมได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่ในการดำเนินการศึกษา
ประสบปัญหาในการหาวัตถุดิบสำหรับทำผ้ามัดย้อม และประสบการณ์การทำผ้ามัดย้อม จะต้อง
ทำการค้นคว้าถึงวิธีการทำผ้ามัดย้อม การสร้างลวดลายให้ผ้ามัดย้อม
การศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อผลิตผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้
สรุปผลได้ว่า จากการทดลองการย้อมผ้าด้วยสีจากดอกไม้ ผู้ศึกษาสามารถทำผ้ามัดย้อมจากสีของ
ดอกไม้ได้ตามขั้นตอนวิธีการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ
จากการศึกษาการทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่ในการ
ดำเนินการศึกษาประสบปัญหาผ้าที่ใช้ไม่สามารถจับสีของดอกไม้ได้มากพอ โดยอาจจะใช้เวลาในการต้มน้อย
สีจากดอกไม้จึงไม่สามารถซึมเข้าไปในเนื้อผ้าได้
การศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อศึกษาการติดสีและความคงทนของผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้
สรุปผลได้ว่า จากการทดลองการย้อมผ้าด้วยสีจากดอกไม้ โดยใช้สารช่วยติดสี 2 ชนิด พบว่า สีที่ได้
จากดอกอัญชัน โดยใช้น้ำเกลือเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีขาวสว่าง ใช้น้ำสารส้มเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีเทา
หม่น และสีที่ได้จากดอกกระเจี๊ยบ โดยใช้น้ำเกลือเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีชมพูกะปิ ใช้น้ำสารส้มเป็นสาร
ช่วยติดสี ได้เป็นสีชมพูอมเทา
จากการทดลองการย้อมผ้าด้วยสีจากดอกไม้ โดยใช้สารช่วยติดสี 2 ชนิด พบว่า สีที่ได้จากดอกอัญชัน
โดยใช้น้ำเกลือเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีขาวสว่าง ใช้น้ำสารส้มเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีเทาหม่น และสีที่ได้
จากดอกกระเจี๊ยบ โดยใช้น้ำเกลือเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีชมพูกะปิ ใช้น้ำสารส้มเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสี
ชมพูอมเทา เนื่องจากรงควัตถุของดอกอัญชันและดอกกระเจี๊ยบแดง คือ แอนโทไซยานิน (anthocyanin)
เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำเกลือจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าสีเล็กน้อยโดยทำให้สีจางลง เมื่อทำปฏิกิริยา
กับน้ำสารส้มส่งผลให้สีย้อมสดสว่างมากขึ้น การที่แอนโทไซยานินในสีย้อมผ้าจะเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับสาร
ช่วยติดสีี (ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP: 2565)
15
ข้อเสนอแนะ
1) ศึกษาการทำผ้ามัดย้อมกับดอกไม้ชนิดอื่นๆ
2) ศึกษาการทำผ้ามัดย้อมโดยใช้ผ้าจากธรรมชาติ
3) ศึกษาการแช่ผ้ามัดย้อมในสารช่วยติดสีชนิดอื่นๆ
16
บรรณานุกรม
Medthai. (2560). อัญชัน. เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้นได้จาก
<https://medthai.com/อัญชัน/>
Medthai. (2560). กระเจี๊ยบแดง. เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้นได้จาก
<https://medthai.com/กระเจี๊ยบแดง/>
นางสาวอังค์วรา ซ้ายเกลี้ยง. (2565). ผ้ามัดย้อม. เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้นได้จาก
<http://5602404com226.blogspot.com/p/blog-page_45.html>
ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP. (2560). เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้น
ได้จาก
<http://www.sptn.dss.go.th/otopinfo/index.php/en/knowledge/interesting-
articles/124-2017-03-28-09-03-58>
การย้อมสีธรรมชาติ. (ม.ป.ป.). เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้นได้จาก
<https://sites.google.com/site/ngamsaenngamsaenhlwng/hnwy-thi-5-kar-yxm-si-
thrrmchati>
รัขนี คุณารนุวัฒน์. (2552). เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้นได้จาก
<https://www.kroobannok.com/blog/14000>
17
ภาคผนวก
18
รูปภาพประกอบโครงงานสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ
1. วัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบที่ใช้
1. ผ้าสีขาว 4 ผืน 2. หนังยาง
3. ดอกกระเจี๊ยบแดง 4. ดอกอัญชัน
5. เกลือแกง 6. สารส้ม
7. กะละมัง
19
2. ขั้นตอนการทำ
20
21
ประวัติผู้ศึกษา
ชื่อ-สกุล นางสาวกมลชนก ไชยรบ
วัน เดือน ปีเกิด 19 ธันวาคม พ.ศ.2548
ที่อยู่ปัจจุบัน 383 ม.8 ซ.สองพี่น้อง ต.สำโรงกลาง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
10130
ประวัติการศึกษา 2552 โรงเรียนสรรพาวุธวิทยา
2561 โรงเรียนสิริรัตนาธร
2564 โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ (Natural Tie Dye Clothes Fabric Making)

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2dnavaroj
 
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมdnavaroj
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 7 การออสโมซิส
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 7 การออสโมซิสแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 7 การออสโมซิส
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 7 การออสโมซิสWann Rattiya
 
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์Beerza Kub
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้าdnavaroj
 
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfแบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfssuser2feafc1
 
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมJariya Jaiyot
 
สสารและการเปลี่ยนแปลง
สสารและการเปลี่ยนแปลงสสารและการเปลี่ยนแปลง
สสารและการเปลี่ยนแปลงพัน พัน
 
เฉลยค่ากลางของข้อมูล
เฉลยค่ากลางของข้อมูลเฉลยค่ากลางของข้อมูล
เฉลยค่ากลางของข้อมูลkrurutsamee
 
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.peter dontoom
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงานdnavaroj
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5kessara61977
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4supphawan
 
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อนAแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อนkrupornpana55
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)Napadon Yingyongsakul
 
รายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้ารายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้าtanakit pintong
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 

Was ist angesagt? (20)

แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
 
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 7 การออสโมซิส
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 7 การออสโมซิสแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 7 การออสโมซิส
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 7 การออสโมซิส
 
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
สื่อการสอน เรื่อง งานประดิษฐ์
 
แบบทดสอบทวีปยุโรป
แบบทดสอบทวีปยุโรปแบบทดสอบทวีปยุโรป
แบบทดสอบทวีปยุโรป
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
 
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfแบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
 
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
 
สสารและการเปลี่ยนแปลง
สสารและการเปลี่ยนแปลงสสารและการเปลี่ยนแปลง
สสารและการเปลี่ยนแปลง
 
เฉลยค่ากลางของข้อมูล
เฉลยค่ากลางของข้อมูลเฉลยค่ากลางของข้อมูล
เฉลยค่ากลางของข้อมูล
 
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
 
12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
12แบบทดสอบการแบ่งเซลล์
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
 
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อนAแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
 
รายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้ารายงานการศึกษาค้นคว้า
รายงานการศึกษาค้นคว้า
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์
 
ข้อสอบศิลปะ
ข้อสอบศิลปะข้อสอบศิลปะ
ข้อสอบศิลปะ
 

Ähnlich wie การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ (Natural Tie Dye Clothes Fabric Making)

โครงงานคอม1
โครงงานคอม1โครงงานคอม1
โครงงานคอม1Lift Ohm'
 
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนโครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนSuwanan Thipphimwong
 
2562 final-project jiratchaya-32
2562 final-project jiratchaya-322562 final-project jiratchaya-32
2562 final-project jiratchaya-32ssuser8b25961
 
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่นชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่นครูเย็นจิตร บุญศรี
 
แบบทดสอบความสามารถด้านเหตุผล
แบบทดสอบความสามารถด้านเหตุผลแบบทดสอบความสามารถด้านเหตุผล
แบบทดสอบความสามารถด้านเหตุผลphotnew
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...Suricha Phichan
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์deliverykill
 
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdf
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdfเรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdf
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdfpeter dontoom
 
โครงร่างโครงงาน Organic-chemistry
โครงร่างโครงงาน Organic-chemistryโครงร่างโครงงาน Organic-chemistry
โครงร่างโครงงาน Organic-chemistryporpia
 
โครงร่างโครงงาน Organic chemistry
โครงร่างโครงงาน Organic chemistryโครงร่างโครงงาน Organic chemistry
โครงร่างโครงงาน Organic chemistryFilmm Pijit
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Tmw Pcy
 
โครงร่างคอม
โครงร่างคอมโครงร่างคอม
โครงร่างคอมporpia
 
โครงร่างคอม
โครงร่างคอมโครงร่างคอม
โครงร่างคอมporpia
 
โครงร่างคอม
โครงร่างคอมโครงร่างคอม
โครงร่างคอมporpia
 

Ähnlich wie การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ (Natural Tie Dye Clothes Fabric Making) (20)

โครงงานคอม1
โครงงานคอม1โครงงานคอม1
โครงงานคอม1
 
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนโครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
 
2562 final-project jiratchaya-32
2562 final-project jiratchaya-322562 final-project jiratchaya-32
2562 final-project jiratchaya-32
 
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่นชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
บทที่ 1 is v.pdf
บทที่ 1 is v.pdfบทที่ 1 is v.pdf
บทที่ 1 is v.pdf
 
แบบทดสอบความสามารถด้านเหตุผล
แบบทดสอบความสามารถด้านเหตุผลแบบทดสอบความสามารถด้านเหตุผล
แบบทดสอบความสามารถด้านเหตุผล
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
research 653.pdf
research 653.pdfresearch 653.pdf
research 653.pdf
 
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdf
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdfเรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdf
เรื่องรายงานวิจัยในชั้นเรียนสีไม้64.6.pdf
 
โครงร่างโครงงาน Organic-chemistry
โครงร่างโครงงาน Organic-chemistryโครงร่างโครงงาน Organic-chemistry
โครงร่างโครงงาน Organic-chemistry
 
โครงร่างโครงงาน Organic chemistry
โครงร่างโครงงาน Organic chemistryโครงร่างโครงงาน Organic chemistry
โครงร่างโครงงาน Organic chemistry
 
2557 โครงงาน
2557 โครงงาน2557 โครงงาน
2557 โครงงาน
 
ไบโอมคอม
ไบโอมคอมไบโอมคอม
ไบโอมคอม
 
สุพิชชา
สุพิชชาสุพิชชา
สุพิชชา
 
งานมิ้นปอง
งานมิ้นปองงานมิ้นปอง
งานมิ้นปอง
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงร่างคอม
โครงร่างคอมโครงร่างคอม
โครงร่างคอม
 
โครงร่างคอม
โครงร่างคอมโครงร่างคอม
โครงร่างคอม
 
โครงร่างคอม
โครงร่างคอมโครงร่างคอม
โครงร่างคอม
 

การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ (Natural Tie Dye Clothes Fabric Making)

  • 1. โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ Natural Tie Dye Clothes Fabric Making จัดทำโดย นางสาวกมลชนก ไชยรบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 เลขที่ 36 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา I30202 การสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation) โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564
  • 2. ก ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) Natural Tie Dye Clothes Fabric Making ชื่อผู้จัดทำ นางสาวกมลชนก ไชยรบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 เลขที่ 36 ครูที่ปรึกษาประจำวิชา นางสาววริษฐา ศรีแพทย์ วิชาการสื่อสารและการนําเสนอ (Communication and Presentation) รหัสวิชา I20202 ปีการศึกษา 2564 บทคัดย่อ การศึกษารายงานเชิงวิชาการเรื่อง การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ เป็นการศึกษาค้นคว้าประเภททดลอง โดยทำการศึกษาจากวัสดุธรรมชาติ 2 ชนิด คือ ดอกอัญชัน และดอกกระเจี๊ยบ และทดสอบความคงทนด้วยการ นำมาผ้ามัดย้อมที่ได้แช่ลงในสารช่วยติดสี 2 ชนิด คือ สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) และ สารละลาย โพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (น้ำสารส้ม) จากผลการศึกษาพบว่า สีจากดอกกระเจี๊ยบมีความคงทนมากกว่าสี จากดอกอัญชัน ซึ่งมีข้อสรุป และข้อเสนอแนะที่สำคัญที่ได้จากการศึกษาคือ สีย้อมผ้าจากดอกกระเจี๊ยบมี ประสิทธิภาพ และความคงทนมากที่สุด สีจากดอกกระเจี๊ยบจึงเป็นวัสดุธรรมชาติที่เหมาะแก่การย้อมผ้ามาก ที่สุด รองลงมาคือสีจากดอกอัญชัน
  • 3. ข กิตติกรรมประกาศ การศึกษารายงานเชิงวิชาการเรื่อง การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เนื่องจากผู้ศึกษาได้รับความรู้ การฝึกฝน และการอบรมจากคุณครูที่ปรึกษาประจำวิชา, คุณครูประจำชั้น, คุณครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่ถ่ายทอดความรู้ด้านต่างๆ ให้ หากรายงานเรื่องนี้มีประประโยชน์ใน การศึกษาค้นคว้าในด้านใดก็ตามผู้ศึกษาขอมอบให้เป็นเกียรติแก่ผู้มีพระคุณทุกท่าน ผู้จัดทำขอขอบพระคุณ คุณครูวริษฐา ศรีแพทย์ คุณครูที่ปรึกษารายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) ที่ให้คำแนะนำในการศึกษาและการดำเนินการ ซึ่งเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งจนทำให้การศึกษานี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอขอบพระคุณท่านผู้อํานวยการและคุณครูโรงเรียนสตรีสมุทรปราการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ได้ ฝึกสอน ให้คำแนะนําในการศึกษาค้นคว้านี้ ขอขอบพระคุณขอขอบพระคุณคุณพ่อและคุณแม่ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ ที่ได้ให้ความ ช่วยเหลือสนับสนุนและให้กำลังใจตลอดมา นางสาวกมลชนก ไชยรบ
  • 4. ค สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค สารบัญตาราง จ สารบัญรูปภาพ ฉ บทนำ 1 ที่มาและความสำคัญ 1 วัตถุประสงค์ 1 สมมติฐาน 1 ขอบเขตของการศึกษา 1 ตัวแปรที่ศึกษา 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2 ดอกอัญชัน 2 ดอกกระเจี๊ยบแดง 4 ผ้ามัดย้อม 9 การสกัดสีจากดอกไม้ 10 การสร้างลวดลาย 11
  • 5. ง สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า วิธีการดำเนินงาน 12 เครื่องมือและอุปกรณ์ 12 วัตถุดิบที่ใช้ 12 ขั้นตอนการดำเนินงาน 12 ผลการดำเนินงาน 18 ตอนที่ 1 การผลิตผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ 13 ตอนที่ 2 การศึกษาการติดสีและความคงทนของผ้ามัดย้อม 13 ตอนที่ 3 สรุปและบันทึกผลการทดลอง 13 สรุปและอภิปรายผลการทดลอง 14 สรุปผลการทดลอง 14 อภิปรายผลการทดลอง 14 ข้อเสนอแนะ 15 บรรณานุกรม 16 ภาคผนวก 17 วัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบที่ใช้ 18 ขั้นตอนการทำ 19 ผลิตภัณฑ์จากการทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ 20 ประวัติผู้ศึกษา 21
  • 6. จ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการแช่ผ้ามัดย้อมในสารละลายช่วยติดสีเป็นเวลา 10 นาที 13
  • 7. ฉ สารบัญรูปภาพ รูปภาพที่ หน้า ภาพที่ 1.1 ดอกอัญชัน 2 ภาพที่ 1.2 ดอกกระเจี๊ยบแดง 4 ภาพที่ 2 แสดงสีผ้ามัดย้อมจากดอกกระเจี๊ยบแดง 13 ภาพที่ 3 แสดงสีผ้ามัดย้อมจากดอกอัญชัน 13
  • 8. 1 การทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นอันดับ 4 รองจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรม เครื่องจักรสำนักงาน และอุตสาหกรรมยานยนต์ ตามลำดับคิดเป็นมูลค่า 245 พันล้านบาท หรือ ร้อยละ 2.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ โดยมูลค่า GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ระหว่างปี 2550-2554 มีมูลค่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเฉลี่ยประมาณ 150,000 ล้านบาทต่อปีซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มี ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยสูง (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.การดี เลียวไพโรจน์ และ ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์ เดช: 2565 ) ปัจจุบันสีอินทรีย์สังเคราะห์ (เช่น สีย้อมอะโซ) ถูกใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการผลิตของโรงงาน อุตสาหกรรมสารเคมีที่เกี่ยวกับสี รวมทั้งกระบวนการผลิตสีย้อม โดยกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมได้จำแนกสีย้อม ตามวิธีใช้ออกเป็น 11 ประเภท คือ (1) สีเอซิด (2) สีไดเร็กท์ (3) สีเบสิก (4) สีดิสเพอร์ส (5) สีรีแอกทีฟ (6) สีอะโซอิค (7) สีแว็ต (8) สีมอร์แดนท์ (9) สีอินเกรน (10) สีออกซิเดชั่น และ (11) สีซัลเฟอร์ ซึ่งสีย้อมแต่ละประเภทจะมีสูตรโครงสร้างทางเคมี สมบัติของสีย้อม ตลอดจนวิธีใช้ต่างกันและจาก กระบวนการผลิต พบว่า ประมาณ 10-15% ของสีย้อมจะถูกปล่อยไปสู่สิ่งแวดล้อมในระหว่างกระบวนการ ย้อมสีสารตั้งต้นต่างๆ เช่น เส้นใยสิ่งทอที่ได้จากธรรมชาติและจากการสังเคราะห์ พลาสติก หนัง กระดาษ น้ำมันถ่านหิน ขี้ผึ้ง และที่สำคัญคือ อาหารและเครื่องสำอาง สีย้อมบางชนิดพบว่าเป็นสารพิษ หรือสารกัด กร่อน เป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ และเมื่อได้รับสะสมไปเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: 2565) จากข้อมูลข้างต้นสีที่ใช้ย้อมเสื้อผ้านั้นส่วนใหญ่มักทำมาจากสารเคมี ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย ของเราได้ การใช้สีย้อมจากสีธรรมชาติจึงเป็นตัวเลือกที่ดี และเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีต ด้วย ภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนได้นำเอาองค์ความรู้ในการย้อมสีผ้าด้วยวัสดุจากธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษต่อผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ผู้ศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้สีย้อมผ้าจากวัสดุจากธรรมชาติแทนการใช้สี ย้อมผ้าจากสารเคมี ทั้งนี้จึงเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ดอกอัญชัน และดอกกระเจี๊ยบแดง ที่สามารถหาได้ ง่ายในท้องถิ่น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และยังเป็นการใช้ประโยชน์จาก ธรรมชาติอีกด้วย การศึกษาในตรั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิธีการทำผ้ามัดย้อม 2) เพื่อผลิตผ้ามัด ย้อมจากสีของดอกไม้ และ 3) เพื่อศึกษาการติดสีและความคงทนของผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ ผู้ศึกษาได้ ตั้งสมมติฐานของการทดลองไว้ว่า สีจากดอกไม้สามารถนำมาทำผ้ามัดย้อมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยมี ขอบเขตการศึกษา คือ 1) ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่าง ศึกษาการทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ ใช้ดอกอัญชัน และดอกกระเจี๊ยบแดง 2) ขอบเขตด้านสถานที่ การศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดพื้นที่ในบริเวณบ้านของผู้จัดทำ
  • 9. 2 จังหวัดสมุทรปราการ 3) ขอบเขตด้านระยะเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - เดือนมกราคม พ.ศ.2565 โดยมีตัวแปรที่ได้จากการออกแบบการทดลอง ได้แก่ 1) ตัวแปรต้น คือ ชนิด ของดอกไม้ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ ดอกอัญชัน และดอกกระเจี๊ยบแดง 2) ตัวแปรตาม คือ การติดของสีและ ความคงทนของสีบนผ้ามัดย้อม 3) ตัวแปรควบคุม คือ น้ำหนักของดอกไม้ทั้ง 2 ชนิด ปริมาณสารละลาย โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) ปริมาณสารละลายโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (น้ำสารส้ม) และระยะเวลาที่ใช้ ในการย้อมผ้า 1. ดอกไม้ 1.1 ดอกอัญชัน ภาพ 1.1 ดอกอัญชัน ชื่อ อัญชัน ชื่อพื้นเมือง แดงชัน (เชียงใหม่); อัญชัน (ภาคกลาง); เอื้องชัน (ภาคเหนือ) ชื่อสามัญ Butterfly pea, Blue pea ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitoria ternatea L. วงศ์ จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสี ขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของ
  • 10. 3 โลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้ อาการเหน็บชาได้ด้วย และที่สำคัญสารนี้ยังมีความโดดเด่นที่ใครหลาย ๆ คนยังไม่ทราบ นั่นก็คือช่วยลดความ เสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้ และการ "กินดอกอัญชันทุกวัน...วันละหนึ่งดอก" จะช่วยป้องกันโรคเส้น เลือดสมองตีบได้อีกด้วย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ยาว 1-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-9 ใบ รูปรีแกมขอบ ขนานหรือรูปรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-5 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีน้ำเงิน ม่วงหรือขาว ตรงกลางกลีบสีเหลืองหม่นขอบสีขาว ผลเป็นฝัก รูปดาบ โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย แตกเป็น 2 ฝา เมล็ดรูปไต จำนวน 6-10 เมล็ด สรรพคุณของดอกอัญชัน 1 น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย 2. เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย 3. มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย 4. ดอกมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด 5. ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด 6. ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ 7. ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก) 8. อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกดำเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก) 9. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน 10. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน 11. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ 12. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน 13. อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย 14. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด)
  • 11. 4 15. ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก) 16. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น 17. นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก) 18. นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟันและทำให้ฟันแข็งแรง (ราก) 19. ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด) 20. ใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ) 21. แก้อาการปัสสาวะพิการ 22. ใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก) 23. ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า 24. นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย 25. ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน 26. ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผัก เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสด ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้ 27. น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก) 28. ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก) 29. ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น 30. นิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม 1.2 ดอกกระเจี๊ยบแดง ภาพ 1.2 ดอกกระเจี๊ยบแดง
  • 12. 5 ชื่อ กระเจี๊ยบแดง ชื่อพื้นเมือง ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง (ตาก), ใบส้มม่า (ระนอง), แกงแคง (เชียงใหม่), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง), กระเจี๊ยบ, ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มพอดี (ภาคอีสาน), กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาค กลาง), ส้มพอ ส้มพอเหมาะ ชื่อสามัญ Rosella, Jamaican sorel, Roselle, Rozelle, Sorrel, Red sorrel, Kharkade, Karkade, Vinuela, Cabitutu ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn. วงศ์ ชบา (MALVACEAE) สมุนไพรกระเจี๊ยบแดง มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยใน ประเทศไทยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 1. ลำต้น และราก กระเจี๊ยบแดง มีลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่ม สูงประมาณ 1-2.5 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 1-2 ซม. แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ ลำต้น และกิ่งมีสีแดงม่วง เปลือกลำต้นบางเรียบ สามารถ ลอกเป็นเส้นได้ รากกระเจี๊ยบเป็นระบบรากแก้ว และแตกรากแขนง รากอยู่ในระดับความลึกไม่มาก 2. ใบ ใบกระเจี๊ยบแดง เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามความสูงของกิ่ง มีลักษณะคล้ายปลายหอก ยาว ประมาณ 7-13 ซม. มีขนปกคลุมทั้งด้านบนด้านล่าง ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนปลายเว้าลึกคล้ายนิ้วมือ 3 นิ้ว หรือเป็น 5 แฉก ระยะห่างระหว่างแฉก 0.5-3 ซม. ลึกประมาณ 3-8 ซม. มีเส้นใบ 3-5 เส้น เส้นใบด้านล่าง นูนเด่น มีต่อมบริเวณโคนเส้นกลางใบ 1 ต่อม มีหูใบเป็นเส้นเรียวยาว 0.8-1.5 ซม. ใบที่มีอายุน้อย และใบใกล้ ดอกจะมีขนาดเล็กรูปไข่ ใบกระเจี๊ยบแดงบางพันธุ์จะไม่มีแฉก มีลักษณะโคนใบมน และเรียวยาวจนถึงปลาย มี ก้านใบมีแดงม่วงเหมือนสีของกิ่ง เส้นใบด้านล่างนูนชัด 3. ดอก ดอกกระเจี๊ยบแดงออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกแทงออกตามซอกใบตั้งแต่โคนกิ่งถึงปลายกิ่ง ดอกมีก้าน ดอกสั้น สีแดงม่วง ดอกมีกลีบเลี้ยง ประมาณ 5 กลีบ หุ้มดอกบนสุด มีขนาดใหญ่ มีลักษณะอวบหนา มีสีแดง เข้มหุ้มดอก และกลีบรองดอก ที่เป็นกลีบด้านล่างสุด มีขนาดเล็ก 8-12 กลีบ มีสีแดงเข้ม กลีบทั้ง 2 ชนิดนี้ จะ
  • 13. 6 ติดอยู่กับดอกจนถึงติดผล และผลแก่ ไม่มีร่วง ดอกเมื่อบานจะมีกลีบดอกสีเหลืองหรือสีชมพูอ่อนหรือสีขาว แกมชมพู บริเวณกลางดอกมีสีเข้ม ส่วนของดอกมีสีจางลง เมื่อดอกแก่กลีบดอกจะร่วง ทำให้กลีบรองดอก และ กลีบเลี้ยงเจริญขึ้นมาหุ้ม 4. ผล ผลกระเจี๊ยบแดงเจริญจากดอก ถูกหุ้มอยู่ด้านในกลีบเลี้ยง ลักษณะเป็นรูปไข่ กลมรี ยาวประมาณ 2.5 ซม. มีจงอยสั้นๆ มีขนสีเหลืองปกคลุม สรรพคุณของดอกกระเจี๊ยบแดง 1. กลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดน้ำหนัก โดยมีการทดลอง กับกระต่ายที่มีไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และ มีปริมาณของไขมันชนิดดี (HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จาก หัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล, เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง) 2. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด (ดอก) 3. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง (เมล็ด, น้ำกระเจี๊ยบแดง, ยอดและใบ) 4. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) 5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) 6. ช่วยลดความดันโลหิต โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด มีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วย ได้รับชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับวันแรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชง ความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (น้ำกระเจี๊ยบแดง) 7. เมล็ดช่วยบำรุงโลหิต (เมล็ด) 8. ช่วยแก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยรักษาเส้นเลือดให้แข็งแรงและอ่อนนิ่มยืดหยุ่นได้ดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) 9. น้ำกระเจี๊ยบช่วยทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง (น้ำกระเจี๊ยบแดง) 10. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง) 11. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นของกระเจี๊ยบแดงมาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจและโรคประสาท (ทั้งต้น) 12. ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ผล) 13. น้ำกระเจี๊ยบช่วยแก้อาการร้อนใน (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  • 14. 7 14. ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) 15. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีแดงในกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้อย่างบลูเบอร์รี แต่กระเจี๊ยบแดงจะมีสารชนิดนี้ มากกว่าบลูเบอร์รีถึง 50% 16. ช่วยลดไข้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง) 17. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยแก้อาการไอ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, ดอก) 18. ใบใช้เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก (ใบ, ดอก) 19. ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณที่สูงอยู่พอสมควร (น้ำ กระเจี๊ยบ) 20. ช่วยในการย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น (น้ำกระเจี๊ยบ, เมล็ด, ยอด และใบ) 21. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยาลดน้ำหนัก เนื่องจากเป็นยาระบายและยังช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้ อีกด้วย (ทั้งต้น) 22. ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อน โต๊ะแล้วดื่มน้ำตาม วันละ 3-4 ครั้ง (ผล) 23. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ผล) 24. ใบกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำมาต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน หรือจะใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจน งวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่า ๆ ก็ ได้จนหมดน้ำยา (ใบ, ผล, ทั้งต้น) 25. น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันได้อีกทางหนึ่ง โดยมีรายงานวิจัยทางคลินิกว่า เมื่อให้ผู้ป่วยดื่มผงกระเจี๊ยบขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าได้ผลดีใน การขับปัสสาวะ (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด, ยอดและใบ) 26. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดิน ปัสสาวะ ลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีอาการปวดแสบ โดยใช้กระเจี๊ยบแห้งบดเป็นผงประมาณ 3 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ใช้ดื่มวันละ 3 ครั้ง ประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย ซึ่งจากรายงานการวิจัย พบว่าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี
  • 15. 8 พบว่าผู้ป่วยกว่า 80% มีปัสสาวะที่ใสขึ้นกว่าเดิม และยังพบว่าปัสสาวะมีความเป็นกรดมากขึ้น จึงช่วยในการ ฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด) 27. ช่วยแก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง นำมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้วนำมา เฉพาะน้ำสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป (น้ำกระเจี๊ยบแดง) 28. ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต (น้ำกระเจี๊ยบแดง) 29. ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลาย (น้ำกระเจี๊ยบแดง, เมล็ด) 30. ดอกกระเจี๊ยบแดงช่วยรักษาไตพิการ (น้ำกระเจี๊ยบแดง) 31. เมล็ดช่วยแก้ดีพิการ (เมล็ด) 32. กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับและช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายจากสารพิษ โดยมีงานวิจัย ในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดด้วยน้ำ (Anthocyanins) และสาร Protocatechuic Acid ของกระเจี๊ยบแดง สามารถช่วยลดความเป็นพิษต่อตับจากสารพิษได้หลายชนิด (น้ำกระเจี๊ยบแดง) 33. ใบใช้ตำพอกฝีหรือใช้ต้มน้ำเพื่อใช้ล้างแผลได้ (ใบ) 34. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระเจี๊ยบแดง ช่วยลดอาการบวม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาท็อก ซิน ไวรัสเริม ยับยั้งเนื้องอก ช่วยขับกรดยูริก คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ และลดความเจ็บปวด 35. สารสกัดจากลีบดอกของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็น ประโยชน์ต่อสตรีวัยทองไม่มากก็น้อย (กลีบดอก) 36. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยสารแอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งออกซิเดชันของ ไขมันเลส และยับยั้งการตายของมาโครฟาจ โดยมีสาร Dp3-Sam ซึ่งเป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ช่วย กำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลองได้ จึงมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอาจช่วยชะลอ การลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง) ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง 1. กระเจี๊ยบมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และสารโพลีฟีนอล ซึ่งได้แก่ Protocatechuic Acid ที่มี ฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ และช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนิ่มได้ 2. กระเจี๊ยบใช้ทำเป็นน้ำดื่มที่ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น เนื่องจากมีกรดซิตริกอยู่ด้วยน้ำกระเจี๊ยบแดง
  • 16. 9 3. ใบอ่อนของกระเจี๊ยบใช้รับประทานเป็นผักได้ หรือจะนำมาใช้ทำแกงส้มก็ได้ ให้รสเปรี้ยวกำลังดี และยังมี วิตามินเอสูง (12,583 I.U. ต่อ 100 กรัม) ที่ช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย 4. กลีบเลี้ยงผลและกลีบดอกอุดมไปด้วยแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง 5. กระเจี๊ยบแดงจัดเป็นพืชส่งออกโดยนำไปใช้เป็นส่วนผสมสำคัญสำหรับ Herbal tea และใช้ในอุตสาหกรรม อาหาร ใช้บริโภคภายในประเทศ ใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์ชาชง กระเจี๊ยบแดง อบแห้ง กระเจี๊ยบแดงแคปซูล เครื่องดื่มต่าง ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมสีผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ แยม เยลลี่ เบเกอรี ไอศกรีม ไวน์ น้ำหวาน ซอส เป็นต้น รวมไปถึงในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น โลชัน ครีมกระเจี๊ยบแดง เจลอาบน้ำ ครีมขัดผิว เป็นต้น 6. น้ำต้มของดอกแห้งจะมีกรดผลไม้หรือ AHA อยู่หลายชนิดในปริมาณสูง จึงมีการนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง ประเภทครีมหน้าใส 7. เมนูดอกกระเจี๊ยบแดง เช่น แกงส้มดอกกระเจี๊ยบ ยำดอกกระเจี๊ยบ แยมดอกกระเจี๊ยบ ดอกกระเจี๊ยบแช่อิ่ม กระเจี๊ยบกวน ชากระเจี๊ยบแดง น้ำกระเจี๊ยบแดง เป็นต้น 8. ในแอฟริกาใต้มีการใช้น้ำมันจากเมล็ดเป็นยารักษาแผลให้อูฐ 9. นอกจากนี้ลำต้นของกระเจี๊ยบแดงยังสามารถนำมาทำเป็นเชือกปอได้อีกด้วย 2. ผ้ามัดย้อม ผ้ามัดย้อม หมายถึง การทำให้ผ้าเกิดรอยต่างๆ โดยใช้เทคนิคการทำลวดลายโดยการมัด การพับ การ เย็บ และใช้อุปกรณ์อื่นๆ ให้เป็นลวดลายตามที่ต้องการ การทำผ้ามัดย้อมอาจเริ่มเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจของคนในสมัยโบราณ โดยนักมนุษย์วิทยาสันนิษฐานว่า อาจมีแนวความคิดมาจากการฟอกสีออกด้วยแสงอาทิตย์โดยบังเอิญ ซึ่งหลักฐานความรู้ที่พอจะเชื่อถือได้แสดง ให้เห็นว่า ประเทศในยุคแรกๆที่มีการมัดย้อมผ้าคือ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และแอฟริกาที่มีความคุ้นเคย กับเทคนิคการใช้สีย้อมที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ ในประเทศอินเดียผ้ามัดย้อมเป็นที่รู้จักกันในชนบทสมัยก่อน ซึ่งพบหลักฐานจากเศษผ้าเมื่อ 5,000 ปี ก่อน สะท้อนให้เห็นถึงความรู้และประสบการณ์ในการใช้สีย้อม เช่น ส่าหรี (Sari) เป็นต้น การมัดย้อมนั้นจะมีหลายรูปแบบและเทคนิคความสวยงามที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ซึ่งอาจ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติ ช่วงเวลาในการค้นพบ หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นวัตถุดิบในการท้า มัดย้อม แต่สิ่งที่เหมือนกันของผ้ามัดย้อมในทุกชนชาติและทุกๆวัฒนธรรมนั่นก็คือ การพยายามพัฒนาและ สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆให้สวยงามและเจริญรุ่งเรืองอยู่เสมอ เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมให้คงอยู่ ต่อไปในอนาคต
  • 17. 10 3. การสกัดสีจากดอกไม้ สีธรรมชาติเป็นทีที่ได้จากพืช สัตว์และแร่ธาติต่างๆ สามารถนำมาย้อมได้ทั้งแบบย้อมร้อนและแบบ ร้อนเย็น สีธรรมชาติเป็นสีที่ต้องอาศัยสารช่วยในการเร่งกระตุ้นช่วยให้สีออกเร็ว และให้สีติดแนบกับเส้นไหม ทำให้สีไม่ตกเวลาซัก (วิษณุ ดาทอง: 2553) ข้อดีของสีธรรมชาติ 1. ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค 2. น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม 3. วัตถุดิบหาได้ง่ายในชุมชนไม่ต้องใช้สีเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศ 4. การย้อมสีธรรมชาติสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นตามประสบการณ์ สามารถ ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น 5. สีธรรมชาติมีความหลากหลาย ตามชนิด อายุและส่วนของพืชที่ใช้ ตลอดจนชนิดของสารกระตุ้นหรือ ขั้นตอนการย้อม 6. การย้อมสีธรรมชาติทำให้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ 7. ความสัมพันธ์ระหว่างคนย้อมสีกับต้นไม้ ย่อมก่อให้ เกิดความรัก ความหวงแหน และเรียนรู้ที่จะอนุรักษ์ และปลูกทดแทนเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน ข้อจำกัดของสีธรรมชาติ 1. ปริมาณสารสีในวัตถุดิบย้อมสีมีน้อย ทำให้ย้อมได้สีไม่เข้มหรือต้องใช้วัตถุดิบปริมาณมาก 2. ไม่สามารถผลิตได้ในประมาณมากและไม่สามารถผลิตสีตามที่ตลาดต้องการ 3. สีซีดจางและมีความคงทนต่อแสงต่ำ 4. คุณภาพการย้อมสีธรรมชาติขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการซึ่งควบคุมได้ยาก การย้อมสีให้เหมือนเดิมจึงทำได้ ยาก 5. ในการย้อมสีธรรมชาติถ้าไม่มีวิธีการ และจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนย่อมจะกลายเป็นการ ทำลายสิ่งแวดล้อมได้
  • 18. 11 4. การสร้างลวดลาย แบบลวดลายหัตถกรรมผ้ามัดย้อมด้วยสีเคมีและสีธรรมชาติ มีเทคนิคในการทำผ้ามัดย้อมด้วยวิธีการ 3 วิธีการดังนี้ 1. การพับแล้วมัด กล่าวคือ เป็นการพับผ้าเป็นรูปต่างๆ แล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ผลที่ได้จะได้ลวดลายที่มี ลักษณะลายด้านซ้ายและลายด้านขวาจะมีความใกล้เตียงกัน แต่จะมีสีอ่อนด้านหนึ่งและสีเข้มด้านหนึ่ง เนื่องจากว่าหากด้านใดโดนพับไว้ด้านในสีก็จะซึมเข้าไปน้อย ผลที่ได้ก็คือจะมีสีจางกว่านั่นเอง 2. การขยำแล้วมัด กล่าวคือ เป็นการขยำผ้าอย่างไม่ตั้งใจแล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ผลที่ได้จะได้ลวดลายแบบ อิสระ เรียกว่าลายสวยแบบบังเอิญ ทำแบบนี้อีกก็ไม่ได้ลายนี้อีกแล้ว เนื่องจากการขยำแต่ละครั้งเราไม่สามารถ ควบคุมการทับซ้อนของผ้าได้ ฉะนั้นลายที่ได้เป็นลายที่เกิดจากความบังเอิญจริงๆ เปรียบเทียบเหมือนกับการที่ เราเห็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆแต่ละก้อนจะมีลักษณะแตกต่างกัน และเมื่อผ่านสักครู่ลายหรือลักษณะของก้อนเมฆ ก็จะเปลี่ยนไป เราเรียกว่าลายอิสระ หรือรูปร่างรูปทรงอิสระนั่นเอง 3. การห่อแล้วมัด กล่าวคือ เป็นการใช้ผ้าห่อวัตถุต่างๆ ไว้แล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ลายที่เกิดขึ้นจะเป็นลาย ใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับวัตถุที่นำมาใช้ และลักษณะของการมัด เช่น การนำผ้ามาห่อก้อนหินรูปทรงแปลกๆ ที่มี ขนาดไม่ใหญ่นัก แล้วมัดไขว้ไปมา โดยเว้นจังหวะของการมัดให้มีพื้นที่ว่างให้สีซึมเข้าไปได้ อย่างนี้ก็จะมีลาย เกิดขึ้นสวยงามแตกต่างจากการมัดลักษณะวัตถุอื่นๆ ด้วย หลักการสำคัญในการทำมัดย้อมคือ ส่วนที่ถูกมัดคือส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด ส่วนที่เหลือหรือส่วนที่ ไม่ได้มัดคือส่วนที่ต้องการให้สีติด การมัดเป็นการกันสีไม่ให้สีติดนั่นเอง ลักษณะที่สำคัญของการมัดมีดังนี้ 1. ความแน่นของการมัด กรณีแรกมัดมากเกินไปจนไม่เหลือพื้นที่ให้สีแทรกซึมเข้าไปได้เลย ผลที่ได้ก็คือ ได้สีขาวของเนื้อผ้าเดิม อาจมีสี ย้อมแทรกซึมเข้ามาได้เล็กน้อย อย่างนี้เกิดลายน้อย กรณีที่สองมัดน้อยเกินไป เหลือพื้นที่ให้สีย้อมติดเกือบเต็มผืน อย่างนี้เกิดลายน้อยเช่นกัน ทั้งผืนมีสีย้อมแต่ แทบไม่มีลายเลย กรณีที่สาม มัดเหมือนกันแต่มัดไม่แน่น อย่างนี้เท่ากับไม่ได้มัดเพราะหากมัดไม่แน่นสีก็จะแทรกซึมผ่านเข้าไป ได้ทั่วทั้งผืน 2. การใช้อุปกรณ์ช่วยในการหนีบผ้าแล้วมัด เพื่อให้เกิดความแน่น และเกิดลวดลายตามแม่แบบที่ใช้หนีบ ดังนั้นลายสวยเพียงใดขึ้นอยู่กับการออกแบบแม่แบบที่จะใช้หนีบด้วย
  • 19. 12 3. ความสม่ำเสมอของสีย้อม สีย้อมที่ติดผ้าจะสม่ำเสมอได้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิความร้อนขณะนำผ้าลงย้อม และ การกลับผ้าไปมาการขยำผ้าเกือบตลอดเวลาของการย้อมหนึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่งก่อนที่จะแช่ผ้าไว้ จากการศึกษาค้นคว้าและได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำผ้ามัดย้อมในด้านต่างๆ แล้ว จึงได้เริ่ม ดำเนินการที่จะทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ โดยมีอุปกรณ์และวิธีการดังนี้ เครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ 1 ผ้าสีขาวจำนวน 4 ผืน 2 กะละมังแช่ผ้า 2 ใบ 3 หม้อ 2 ใบ วัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ 1. ดอกอัญชัน 200 กรัม 2. ดอกกระเจี๊ยบแดง 200 กรัม 3. สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) 500 มิลลิลิตร 4. สารละลายโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (น้ำสารส้ม) 500 มิลลิลิตร ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. มัดผ้าสีขาวให้ได้ลวดลายตามที่ต้องการ 2. นำดอกอัญชันจำนวน 200 กรัม ไปต้มในน้ำเดือด 500 มิลลิลิตร โดยใช้เวลา 10 นาที 3. นำดอกกระเจี๊ยบแดงจำนวน 200 กรัม ไปต้มในน้ำเดือด 500 มิลลิลิตร โดยใช้เวลา 10 นาที 4. นำผ้าสีขาวทั้ง 4 ผืน ที่เตรียมไว้ไปต้มในน้ำดอกไม้เป็นเวลา 10 นาที โดยแบ่งเป็นหม้อละ 2 ผืน หลังจากต้มจนครบเวลาแล้วให้ตากผ้าทิ้งไว้ให้แห้ง 5. เตรียมสารช่วยติดสี กะละมังที่ 1 ใช้โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และกะละมังที่ 2 ใช้โพแทสเซียม อะลูมิเนียมซัลเฟต (สารส้ม) และนำผ้าทั้ง 4 ผืน มาแช่ในกะละมัง เป็นเวลา 30 นาที และนำไปตากให้แห้ง 6. สรุปและบันทึกผล
  • 20. 13 ผลการดำเนินงาน ตอนที่ 1 การผลิตผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ จากการทดลองทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ ได้ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่มีลักษณะ ดังนี้ สีย้อมผ้าจาก ดอกกระเจี๊ยบมีสีที่เข้มและคงทนมากกว่าสีที่ย้อมผ้าจากดอกอัญชัน ดังภาพที่ 1 และ 2 ภาพที่ 2 แสดงสีผ้ามัดย้อมจากดอกกระเจี๊ยบแดง ภาพที่ 3 แสดงสีผ้ามัดย้อมจากดอกอัญชัน ตอนที่ 2 การศึกษาการติดสีและความคงทนของผ้ามัดย้อม ในการทดสอบคุณภาพของผ้ามัดย้อมกับสารช่วยติดสี ทดสอบการติดสี และความคงทนของสี ตารางที่ 1 ตารางแสดงผลการแช่ผ้ามัดย้อมในสารละลายช่วยติดสีเป็นเวลา 10 นาที สารช่วยติดสี ดอกไม้ สารละลาย โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) สารละลาย โพแทสเซียมอลูมิเนียมซัลเฟต (น้ำสารส้ม) ดอกอัญชัน สีขาวสว่าง สีเทาหม่น ดอกกระเจี๊ยบ สีชมพูกะปิ สีชมพูอมเทา ตอนที่ 3 สรุปและบันทึกผลการทดลอง จากการทดลองพบว่า สีที่ได้จากดอกอัญชัน เมื่อแช่ในสารจับสี ที่เป็นน้ำเกลือ จะได้สีขาว และเมื่อใช้ น้ำสารส้มจะได้สีเทา ส่วนสีที่ได้จากดอกกระเจี๊ยบจะสามารถติดทนได้มากกว่าสีที่ได้จากดอกอัญชัน เมื่อแช่ใน สารจับสีที่เป็นน้ำเกลือจะได้สีชมพูกะปิ และเมื่อใช้น้ำสารส้มจะได้สีชมพูอมเทา
  • 21. 14 สรุปและอภิปรายผลการทดลอง การศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อศึกษาวิธีการทำผ้ามัดย้อม สรุปผลได้ว่า ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำผ้ามัดย้อมรูปแบบต่างๆ โดยได้เลือก ทำการศึกษาการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติเพื่อนำมาปรับปรุงให้เข้ากับรูปแบบของโครงงาน จากการศึกษาวิธีการทำผ้ามัดย้อมได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่ในการดำเนินการศึกษา ประสบปัญหาในการหาวัตถุดิบสำหรับทำผ้ามัดย้อม และประสบการณ์การทำผ้ามัดย้อม จะต้อง ทำการค้นคว้าถึงวิธีการทำผ้ามัดย้อม การสร้างลวดลายให้ผ้ามัดย้อม การศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อผลิตผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ สรุปผลได้ว่า จากการทดลองการย้อมผ้าด้วยสีจากดอกไม้ ผู้ศึกษาสามารถทำผ้ามัดย้อมจากสีของ ดอกไม้ได้ตามขั้นตอนวิธีการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ จากการศึกษาการทำผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่ในการ ดำเนินการศึกษาประสบปัญหาผ้าที่ใช้ไม่สามารถจับสีของดอกไม้ได้มากพอ โดยอาจจะใช้เวลาในการต้มน้อย สีจากดอกไม้จึงไม่สามารถซึมเข้าไปในเนื้อผ้าได้ การศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อศึกษาการติดสีและความคงทนของผ้ามัดย้อมจากสีของดอกไม้ สรุปผลได้ว่า จากการทดลองการย้อมผ้าด้วยสีจากดอกไม้ โดยใช้สารช่วยติดสี 2 ชนิด พบว่า สีที่ได้ จากดอกอัญชัน โดยใช้น้ำเกลือเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีขาวสว่าง ใช้น้ำสารส้มเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีเทา หม่น และสีที่ได้จากดอกกระเจี๊ยบ โดยใช้น้ำเกลือเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีชมพูกะปิ ใช้น้ำสารส้มเป็นสาร ช่วยติดสี ได้เป็นสีชมพูอมเทา จากการทดลองการย้อมผ้าด้วยสีจากดอกไม้ โดยใช้สารช่วยติดสี 2 ชนิด พบว่า สีที่ได้จากดอกอัญชัน โดยใช้น้ำเกลือเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีขาวสว่าง ใช้น้ำสารส้มเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีเทาหม่น และสีที่ได้ จากดอกกระเจี๊ยบ โดยใช้น้ำเกลือเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสีชมพูกะปิ ใช้น้ำสารส้มเป็นสารช่วยติดสี ได้เป็นสี ชมพูอมเทา เนื่องจากรงควัตถุของดอกอัญชันและดอกกระเจี๊ยบแดง คือ แอนโทไซยานิน (anthocyanin) เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำเกลือจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าสีเล็กน้อยโดยทำให้สีจางลง เมื่อทำปฏิกิริยา กับน้ำสารส้มส่งผลให้สีย้อมสดสว่างมากขึ้น การที่แอนโทไซยานินในสีย้อมผ้าจะเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับสาร ช่วยติดสีี (ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP: 2565)
  • 23. 16 บรรณานุกรม Medthai. (2560). อัญชัน. เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้นได้จาก <https://medthai.com/อัญชัน/> Medthai. (2560). กระเจี๊ยบแดง. เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้นได้จาก <https://medthai.com/กระเจี๊ยบแดง/> นางสาวอังค์วรา ซ้ายเกลี้ยง. (2565). ผ้ามัดย้อม. เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้นได้จาก <http://5602404com226.blogspot.com/p/blog-page_45.html> ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP. (2560). เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้น ได้จาก <http://www.sptn.dss.go.th/otopinfo/index.php/en/knowledge/interesting- articles/124-2017-03-28-09-03-58> การย้อมสีธรรมชาติ. (ม.ป.ป.). เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้นได้จาก <https://sites.google.com/site/ngamsaenngamsaenhlwng/hnwy-thi-5-kar-yxm-si- thrrmchati> รัขนี คุณารนุวัฒน์. (2552). เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2565. สืบค้นได้จาก <https://www.kroobannok.com/blog/14000>
  • 25. 18 รูปภาพประกอบโครงงานสีย้อมผ้าจากธรรมชาติ 1. วัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบที่ใช้ 1. ผ้าสีขาว 4 ผืน 2. หนังยาง 3. ดอกกระเจี๊ยบแดง 4. ดอกอัญชัน 5. เกลือแกง 6. สารส้ม 7. กะละมัง
  • 27. 20
  • 28. 21 ประวัติผู้ศึกษา ชื่อ-สกุล นางสาวกมลชนก ไชยรบ วัน เดือน ปีเกิด 19 ธันวาคม พ.ศ.2548 ที่อยู่ปัจจุบัน 383 ม.8 ซ.สองพี่น้อง ต.สำโรงกลาง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130 ประวัติการศึกษา 2552 โรงเรียนสรรพาวุธวิทยา 2561 โรงเรียนสิริรัตนาธร 2564 โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ