SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 63
จังหวัด สมุทรสงคราม
ตราประจำจังหวัด
แผนที่จังหวัด สมุทรสงคราม
 
แผนผังตลาดแม่กลอง
คำขวัญประจำจังหวัด เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร .  2  แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม
ประวัติ - ข้อมูลทั่วไป
“   เสน่ห์ที่เอกลักษณ์ที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งของเรือนแถวริมคลองอัมพวา ก็คือป้ายชื่อร้านแบบโบราณสวยๆ เนื่องจากอดีตเรือนแถวเหล่านี้เคยเปิดเป็นร้านค้าขายมาก่อน จึงมีป้ายชื่อร้านติดอยู่ แม้บ้านบางหลังจะถูกเปลี่ยนเป็นบ้านพักอาศัยแล้ว แต่ก็ยังคงติดป้ายอยู่ ป้ายที่พบเห็นในเรือนแถวริมคลองอัมพวามีหลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะใช้ตัวอักษรไทยและตัวอักษรจีน อักษรสีทองบนพื้นสีเข้ม เป็นอักษรประดิษฐ์ที่มีลวดลายวิจิตรสวยงาม ” นี่เป็นคำบอกเล่าของผู้ที่เคยไปเยือน เมืองสมุทรสงคราม ”
          ความ สำคัญของจังหวัดสมุทรสงครามนั้น มีหลายประการ ทั้งในเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม สถานท่องเที่ยวตามธรรมชาติ การดำรงชีวิตไว้ซึ่งวิถีชีวิตแบบไทย ๆ และที่สำคัญเหนืออื่นใด คือ ความสำคัญต่อประวัติศาสตร์พระราชวงศ์ของไทย           จังหวัด สมุทรสงครามเป็นเมืองพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่  2  และเป็นเมืองของพระราชินีของไทยถึงสองพระองค์ คือ สมเด็จพระอัมนินทรามาตย์ในรัชกาลที่  1  และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่  2           เมือง เก่าที่เคยชื่อว่าเมืองแม่กลองนั้น มีมาตั้งแต่อดีต นานเท่าใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่เป็นชุมชนที่มีมาก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เดิมเป็นแขวงหนึ่งของจังหวัดราชบุรี เรียกว่า สวนนอก ครั้นต่อมาช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาต่อกับสมัยกรุงธนบุรี จึงแยกออกมาจากราชบุรี เรียกว่า  " เมืองแม่กลอง "
           จังหวัด เล็ก ๆ ที่อยู่ห่างจากกรุเทพฯ เพียง  63  กิโลเมตรนี้ มีพื้นที่  416  ตารางกิโลเมตร มี  3  อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภออัมพวา และอำเภอบางคนที มีแม่น้ำแม่กลองเป็นเสมือนเส้นชีวิตของชาวจังหวัดสมุทรสงคราม ไหลผ่านจังหวัดกาญจนบุรีราชบุรี และสมุทรสงคราม เป็นแม่น้ำที่ยังมีสภาพดีมากแห่งหนึ่งในประเทศไทย           อาณาเขต                    ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดราชบุรี                    ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดเพชรบุรี และอ่าวไทย                    ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดเพชรบุรี และราชบุรี                    ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสมุทรสาคร
           เนื่อง จากพื้นที่เมืองสมุทรสงครามส่วนใหญ่อยู่  2  ฟากแม่น้ำแม่กลองอันอุดมสมบูรณ์ จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชนานาชนิด ประกอบกับชาวเมือง มีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ เมือสมุทรสงครามจึงกลายเป็นแหล่งผลิตพืชผลการเกษตรขนาดใหญ่ ในภาคกลางของประเทศไทย เช่น ข้าว น้ำตาล ผัก ปลา มาตั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในขณะที่ผู้คนในกรุงเทพฯ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว สมุทรสงครามจึงต้องทำหน้าที่เป็น  " คลังเสบียง "  ของคนกรุงเทพฯ มากขึ้น อดีตพระมหากษัตริย์ไทยจึงโปรดให้มีการขุดคลองแม่กลอง คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก คลองมหาชัย และคลองมหาสวัสดิ์ขึ้น เพื่อให้เรือบรรทุกพืชผลผ่านเข้ามากรุงเทพฯ ได้สะดวกและรวดเร็วกว่าแต่ก่อน ความเป็นมาของท้องถิ่น
           ใน บริเวณพื้นที่ของสมุทรสงคราม ตำบลอัมพวาดูจะมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ผู้คนมีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยอยู่เป็นจำนวนมาก และยังเป็นถิ่นที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เพราะเป็นบริเวณพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้เป็นทั้งนักปกครอง นักปราชญ์ นักรบ และราชศิลปินของไทย ดังประวัติศาสตร์โดยย่อดงันี้           เมื่อ พ . ศ .  2303  สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้นายทองด้วงเป็นหลวงยกกกระบัตรเมืองราชบุรี และเมืองสมุทรสงคราม เป็นเมืองจัตวา อยู่ในพื้นที่ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เมื่อมารับราชการอยู่เมืองราชบุรีไม่นาน หลวงยกกระบัตรก็ได้พบกับคุณนาค บุตรีเศรษฐีใหญ่เขตบางช้างเมืองสมุทรสงคราม พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเล่าไว้ในสามกรุงว่า  " ทรงได้ยินผู้ใหญ่เล่าว่า ครั้นนั้นมีข้าหลวงจากในกรุงออกมาสืบหาบุตรสาวของผู้ดีมีตระกูล และมีลักษณะสวยงาม เพื่อจะนำไปเป็นพระสนมของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ คุณนาคนี้ มีคุณสมบัติจึงถูกจดชื่อไว้ด้วยคนหนึ่ง ท่านทอง ท่านสั้น บิดามารดาของคุณนาควิตกมาก เพราะไม่ต้องการให้บุตรสาวไปเป็นพระสนม จึงชวนพระสมุทรสงคราม เจ้าเมืองสมุทรสงครามลูกผู้พี่ของท่านสั้น เข้าไปปรึกษาหลวงพินิจอักษร ชื่อเดิมว่าทองดี รับราชการเป็นเสมียนตรากรมมหาดไทยสมัยนั้น หลวงพินิจอักษรเห็นว่า มีทางแก้ไขประการเดียว คือ รีบแต่งานกับหลวงยกกกระบัตรเมืองราชบุรี บุตรชายของตน ท่านทองกับท่านสั้นก็เห็นด้วย จึงรีบจัดพิธีแต่งงานและปลูกบ้านใหม่บริเวณวัดอัมพวันเจติยารามปัจจุบัน "
           ใน ปี พ . ศ .  2308  พม่าได้ยกทัพมารบกับกรุงศรีอยุธยาอีก คราวนี้เข้าตั้งทัพที่ราชบุรี ในกรุงส่งทหารมาขับไล่แต่ถูกพม่าตีกลับ หลวงยกกระบัตรต้องรีบเกณฑ์คนส่งไปเป็นทหารในกรุง แล้วส่งเสบียงแก่กองทัพบก ทัพเรือตลอดเวลา พม่าตั้งทัพออยู่นาน  6  เดือน สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวเมืองสมุทรสงครามมาก พม่าล้อมกรุงไม่นานก็ยกทัพกลับไป ก่อนกลับได้ตั้งกองกำลังไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้นกรุงศรีออยุธยา และที่ธนบุรี ต่อมาอีก   7  เดือน กองทัพพม่าถูกสมเด็จพระเจ้าตากสินตีแตก ในเวลาอันรวดเร็ว และได้รวบรวมผู้คนไว้เป็นปีกแผ่น ประกาศให้ชาวเมืองทราบถึงสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ รีบกลับบ้านเรือนลงมือประกอบอาชีพโดยด่วน หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ได้ย้ายครอบครัวของตนและผู้มาพึ่งพาอาศัยทั้งหมด กลับมาอยู่ที่บ้านเดิมอัมพวา ขณะนั้นคุณนาคครรภ์แก่มากแล้ว วันพุธ ขึ้น  7  ค่ำ เดือน  4  ซึ่งตรงกับวันที่  24  กุมภาพันธ์ พ . ศ . 2310  คุณนาคคลอดบุตรเป็นชายได้รับการตั้งชื่อว่า  " ฉิม "  ซึ่งบุคคลผู้นี้ต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพรุพทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ที่มีความเฉลียวฉลาดเก่งกาจหลายด้าน และในปีเดียวกันนี้เอง แรม  12  ค่ำ เดือน  10  ท่านแก้ว พี่สาวหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี และเจ้าสัวผู้เป็นสามีได้อพยพเข้ามาอยู่ด้วยได้คลอดบุตร คนที่  4  เป็นหญิง ตั้งชื่อว่า  " บุญรอด "  ต่อมามีบุญบารมีได้เป็นอัครมเหสีในรัชกาลที่  2  และมีพระราชโอรสได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินถึง  2  พระองค์อีกด้วย
          เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสถาปนาเมืองธนบรีขึ้นเป็นราชธานี และเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี  2311  แล้วได้โปรดเกล้าฯ ปูนบำเหน็จแม่ทัพนายกอง ครั้งนั้นหลวงยกกระบัตรฯ ได้เข้ามาถวายตัวรับราชการด้วย จึงอพยพครอบครัวพร้อมคุณนวลน้องสาวคุณนาค ครอบครัวท่านแก้วเดินทางเข้ามาอยู่ในกรุงธนบุรี ได้รับพระราชทานที่ข้างวัดระฆัง   ( อู่ทหารเรือขณะนั้น )  ให้ปลูกบ้านใกล้พระราชวังและได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เลื่อนหลวงยกกระบัตร เป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมตำรวจนอกขวา แล้วได้เลื่อนขึ้นไปสูงเรื่อย ๆ จนได้เป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และได้ปราบดาภิเษกเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่  1  แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสถาปนาสมเด็จพระยาสุรสีห์ เป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล           เหล่า นี้เป็นเกียรติประวัติที่ชาวสมุทรสงครามไม่เคยลืม และโดยเฉพาะชาวอัมพวารู้สึกภูมิใจมากเป็นพิเศษ เพราะตำบลอัมพวาเป็นถิ่นกำเนิดบุคคลที่เป็นยอดคนของเมืองไทยถึงสามท่านด้วย กัน ทำให้ญาติของท่านในภายหลังได้รับพระราชทานนามสกุล ที่ทำให้รำลึกถึงภูมิกำเนิดดังเดิมอยู่เสมอว่า  " ณ บางช้าง "  เพราะตำบลอัมพวาในปัจจุบันก็คือ แขวงบางช้างเดิมนั่นเอง
           คำ ว่าสวนนอกนี้ นายเทพ สุนทรสารทูล ผู้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสมุทรสงครามไว้หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง การเสด็จประพาสเมืองสมุทรสงคราม ได้กล่าวถึงสวนนอกเอาไว้ว่า เพราะเหตุที่ สมเด็จพระอมรินทรามาตย์  ( นาค )  มเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ท่านเป็นชาวบางช้าง มีพระประยูรญาติและเรือกสวนออยู่ในเขตบางช้างมาก จึงมีคำพูดหนึ่งว่า  " บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน "  หมายความว่า เรือกสวนทางบางช้างนั้น เป็นสวนอยู่บ้านนอก และบางกอกนั้นเป็นสวนใน คือ ใกล้บ้านใกล้วังของนายวงศ์นี่นั่นเอง "           พล โท ดำเนิร เลขะกุล ผู้เขียนเรื่อง อัมพวามาตุภูมิราชศิลปิน ได้พบข้อความสนับสนุนประกาศในรัชกาลที่  4  เรื่อง เลิกภาษีมะพร้าว ซึ่งประกาศเมื่อแรม  12  ค่ำ เดือน  9  ปีชวด  ( พ . ศ . 2407)  ตอนท้ายได้กล่าวว่า  " การประกาศนี้ให้พระแก้วคฤหรัตนบดี จ้ากรมขุนพิพัฒนากร ปลัดซ้าย ขุนวิสุทธากร ปลัดขวาพระคลังสวนใน หลวงแก้วเจ้ากรมขุนสมบัติ ปลัดกรมสวนนอก ขุนหมื่นนายระวาง บอกประกาศแก่ราษฏรเจ้าของสวนให้จงรู้ทั่วกัน "  เป็นอันว่าสวนนอกสวนใน ล้วนเป็นสวนมะพร้าวขนาดใหญ่ ๆ ทั้งนั้น ขณะนี้เหลือแต่สวนนอกที่จังหวัดสมุทรสงครามเท่านั้น ที่ยังมีต้นมะพร้าวแน่นทึบเป็นป่าอยู่สองข้างฝั่งแม่น้ำแม่กลอง แต่สวนใน  ( กรุงเทพฯ )  นั้นได้กลายเป็นโรงเรือนที่อยู่ และที่ค้าขายทำกินไปสิ้นแล้ว
การจัดรูปแบบการปกครองจังหวัดสมุทรสงคราม จากอดีตสู่ปัจจุบัน            ด้าน การปกครองจังหวัดสมุทรสงครามนั้น ก่อนวันที่  1  เมษายน  2435  สมุทรสงครามมีการปกครองเหมือนกับหัวเมืองทั่วไป คือ มีเจ้าเมืองปกครองเป็นอิสระ ต่อมาในปี พ . ศ .  2435  สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  5  ทรงโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ กล่าวคือ ในส่วนกลางได้จัดตั้งกระทรวงต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และในปี พ . ศ .  2473  ได้ตั้งมณฑลราชบุรี โดยรวมหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน  5  เมือง คือ เมืองราชบุรี กาญจนบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี และเมืองสมุทรสงคราม      ต่อ มาได้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารราชการ แห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช  2476  ซึ่งได้จัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาคไว้เป็นจังหวัด และอำเภอ อันเป็นการยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลไป เป็นการแบ่งเขตจังหวัด ขึ้นตรงต่อบริหารราชการส่วนกลาง ดังนั้น ปัจจุบันสมุทรสงคราม จึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ประกอบด้วยอำเภอต่าง ๆ รวม  3  อำเภอด้วยกัน คือ           1.  อำเภอเมืองสมุทรสงคราม           2.  อำเภออัมพวา           3.  อำเภอบางคนที           โดย มีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ที่ส่งมาจากส่วนกลาง กระทรวงมหาดไทยและมีคณะกรรรมการจังหวัด ช่วยบริหารงานให้ประชาชน มีความเป็นอยู่อย่างสงบสุขและเรียบร้อย
ประวัติอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรสงคราม            อำเภอเมืองสมุทรสงคราม เป็นอำเภอที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ปรากฏหลักฐานว่าก่อนที่จะมีชื่อว่าอำเภอเมือง ได้มีการโยกย้ายสถานที่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่ออำเภอมาแล้วหลายชื่อ ตามปรากฏในหนังสือ  " สมุดราชบุรี "  และหนังสือราชการบ่งไว้ว่า ได้มีการตั้งชื่ออำเภอนี้ เมื่อปี พ . ศ .  2440  มีชื่ออำเภอในครั้งแรกว่า  " อำเภอลมทวน "  โดยอยู่ที่ปากคลองลัดจวน  ( คำว่าจวน หมายถึง บ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยก่อน )  ที่ใช้ชื่ลมทวน เห็นจะเป็นเพราะอำเภอตั้งอยู่บริเวณคุ้งของแม่น้ำแม่กลอง ที่มีลมทวนไม่เหมือนกับคุ้งแม่น้ำตอนอื่น ๆ ครั้นต่อมาในปี พ . ศ .  2441  ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอลมทวน เป็นชื่ออำเภอเมืองฯ จนถึงปี พ . ศ .  2444  ทางราชการจัดสร้างที่ว่าการอำเภอในที่ดินที่เป็นที่ธรณีสงฆ์วัดใหญ่ ริมแม่น้ำแม่กลอง ระหว่างปากคลองแม่กลองกับคลองลัดจวน นับเป็นการสร้างที่ว่าการอำเภอเป็นครั้งแรก 1. อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
เพราะก่อนหน้านั้นจะใช้บ้านพักของนายอำเภอ หรือบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นที่ทำการ ชื่ออำเภอจึงเปลี่ยนชื่อจากอำเภอเมืองเป็นอำเภอบ้านปรก ต่อมาในปี พ . ศ .  2465  กอง โรงเรียนพลทหารเรือที่  1  ได้ยุบเลิกโดยยกอาคารและที่ดินมอบให้กระทรวงมหาดไทย สำหรับตั้งศาลากลางจังหวัด เพราะเดิมเป็นที่ธรณีสงฆ์และน้ำเซาะพัง และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอบ้านปรกเป็น อำเภอแม่กลอง           การตั้งชื่ออำเภอในสมัยนั้น พอสันนิษฐานได้ว่า คงถือเอานามตำบลของที่ตั้งอำเภอเป็นหลักฐานในการตั้งชื่ออำเภอ ดังจะเห็นได้จาก เมื่อครั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่ตำบลลมทวน ก็เรียกชื่ออำเภอลมทวน เมื่อย้ายมาอยู่ที่ตำบลบ้านปรก เรียกอำเภอบ้านปรก ย้ายไปอยู่ที่ตำบลแม่กลอง เรียกอำเภอแม่กลอง ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า เพื่อประโยชน์และความสะดวกแก่ประชาชนและทางราชการ ประกอบกับเพื่อรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์แห่งท้องถิ่น จึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดใหม่ทั่วราช อาณาจักร ให้เป็นอำเภอเมืองของจังหวัดนั้น ๆ ตามประกาศในพระราชกฤษฏีกา เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่งพุทธศักราช  2481  ดังนั้นอำเภอแม่กลอง จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น  " อำเภอเมืองสมุทรสงคราม "  ตั้งแต่นั้นมา
          อำเภออัมพวา ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ไม่มากนักต่อมาเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้ง ที่  2  ปี พ . ศ .  2310  ผู้คนอพยพมาอยู่กันมากขึ้น เพราะมีทำเลเหมาะแก่การเพาะปลูกและเป็นที่อยู่อาศัย ตามหลักฐานที่พอจะค้นคว้าได้นั้น ปรากฏว่า ทึ่ว่าการอำเภออัมพวาในอดีตได้อาศัยศาลาการเปรียญของวัดอัมพวันเจติยาราม ต่อมาได้ย้ายข้ามคลองอัมพวาไปอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดท้ายตลาด ตำบลบางกะพ้อม ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่เดิมไปประมาณ  400  เมตร และได้ย้ายมาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองมาจนทุกวันนี้ และคงใช้ชื่ออัมพวา เพราะบริเวณนี้เดิมเป็นเรือกสวน มีต้นมะพร้าว และต้นมะม่วงอยู่เป็นจำนวนมาก ต้นมะพร้าวนั้นเป็นพืชหลักของสมุทรสงครามและมีอยู่ทั่วไป ส่วนต้นมะม่วงมีการปลูกอยู่อย่างหนาแน่นที่บริเวณนี้ จึงใช้ชื่ออัมพวามาตลอด 2. อำเภออัมพวา
          ตำบลต่าง ๆ ในเขตอำเภอบางคนที ขึ้นตรงกับอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จนกระทั่ง พ . ศ .  2437  หม่อมเจ้าสฤษฏ์เดช สมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ได้พิจารณาแบ่งเขตการปกครอง ด้วยประชานในเขตนี้ร้องเรียนไปว่า การไปมาติดต่อราชการกับอำเภอดำเนินสะดวกไม่สะดวกสมชื่อเพราะระยะทางไกล จึงจัดตั้งอำเภอขึ้นใหม่ เรียกว่า  " อำเภอสี่หมื่น "  ตั้งอยู่ตรงปากคลองแพงพวย แต่ยังสังกัดอยู่กับจังหวัดราชบุรี ครั้นต่อมาในปี พ . ศ .  2447  ทางราชการได้จัดระบบการปกครองใหม่อีกครั้ง จึงได้ย้ายอำเภออสี่หมื่น มาปลูกสร้างในที่ดินของวัดใหม่พิเนทร์  ( วัดร้าง )  โดยปลูกเป็นอาคารชั้นเดียวหลังคามุงจาก อยู่ใต้ปากคลองบางคนที คลองนี้เป็นคลองที่อยู่ในย่านกลางชุมชน มีผู้คนอาศัยอยู่มาก จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอสี่หมื่นเป็น  " อำเภอบางคนที "  ตามชื่อคลองแล้วแยกจากจังหวัดราชบุรี มาขึ้นต่อจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีอยู่  2  อำเภอ ประกาศตั้งเป็นอำเภอบางคนทึ่ จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่  3  มิถุนายน พ . ศ .  2454  ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม  28  หน้า  489  ลงวันที่  11  มิถุนายน ร . ศ . 130 3. อำเภอบางคนที
           จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า สมุทรสงครามเดิมมีชื่อว่า แม่กลอง เป็นเมืองที่เกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีฐานะเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งในสังกัดกรมเจ้าท่า เจ้าเมืองมีฐานะเป็นพระแม่กลองบุรี ขึ้นอยู่กับเมืองราชุบรี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่มีฐานะเป็นจังหวัดอย่างสมบูรณ์ ในสมัยรัชกาลที่  5      จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดที่มีอายุยังน้อย เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ดินงอกใหม่ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบจึงเป็นช่วงรัตนโกสินทร์เป็นส่วนใหญ่ เพราะหลักฐานเดิมได้เปลี่ยนสภาพไปแล้ว เช่น ป้อมพิฆาตข้าศึก กลายเป็นที่ตั้งโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ ค่ายจีนบางกุ้งบริเวณวัดบางกุ้ง เป็นค่ายลูกเสือสมุทรสงคราม  ( เลิกกิจการไปแล้ว )  จึงอาจกล่าวได้ว่าโบราณสถาน โบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดสมุทรสงคราม พบมากบริเวณวัดต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัดสมุทรสงคราม บนเรือนไทยในอุทยาน ร . 2      ประวัติศาสตร์ของจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ทางราชการเห็นความสำคัญ คือ เป็นนิวาสถานเดิมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถิ่นพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ( รัชกาลที่  2)  จึงถือว่าจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเมืองต้นราชนิกูลและเป็นเมืองแห่งราชศิลปิน จึงกำหนดให้วันที่  24  กุมภาพันธ์ เป็นวันศิลปินแห่งชาติ โดยจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติที่พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บริเวณวัดอัมพวันเจติยาราม และอุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( อุททยาน ร .  2) บทสรุป
ชุมชนอัมพวา มีวิฒนาการการตั้งถิ่นฐานที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุศรีอยุธยา โดยประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมสวนผสม จนกล่าวกันว่า อัมพวาเป็นเสมือนหนึ่งอู่ข่าวอู่น้ำของกรุงศรีอยุธยา อดีตนั้นสร้างบ้านเรือนหันหน้าเข้าหาคลอง เพื่อใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค และการคมนาคม ต่อมาเมื่อมีการสร้างถนน การคมนาคมทางน้ำได้ลดบทบาทลง แต่ถึงกระนั้นพื้นที่บริเวณริมน้ำก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก โดยจะเห็นได้จากองค์ประกอบทางด้านสถาปัตยกรรมหลายอย่างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของชุมชนริมน้ำดั้งเดิมบ้านพักอาศัยในชุมชนอัมพวา ส่วนใหญ่คงความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนไม้ในอดีต และยังคงรักษาคุณค่าทั้งด้านประวัติศาสตร์และด้านสถาปัตยกรรมที่งดงามของชุมชนริมน้ำ นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งของชุมชน แหล่งท่องเที่ยว-อัมผวา
 
การตั้งถิ่นฐานของชุมชนอัมพวา โดยทั่วไปจะตั้งบ้านเรือนขนานไปกับคลองอัมพวา โดยหันหน้าบ้านเข้าหาคลอง บ้านเรือนแถวริมน้ำ สามารถพบได้ตลอดแนวคลองอัมพวา ลักษณะทั่วไปเป็นเรือนแถวเก่าที่สร้างติดกันหรือต่อเนื่องกันเป็นแนวยาว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเรือนแถวไม้ริมน้ำดั้งเดิม ที่นิยมสร้างกันในอดีต ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นเรือนแถวไม้ชั้นเดียว หลังคามีทั้งที่เป็นทรงปั้นหยาจั่วเดี่ยว และจั่วคู่ มุงด้วยกระเบื้องว่าวหรือสังกะสีลูกฟูก ประตู่ส่วนใหญ่เป็นบานเฟี้ยมไม้เปิดกว้างตลอดแนว เพื่อเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า แต่ก็จะมีบ้านบางหลังที่เป็นประตูไม้บานคู่ มีช่องลมเหลือประตูเพื่อใช้สำหรับการระบายอากาศ ส่วนหน้าต่างเป็นบานไม้ปิดคู่ พื้นบ้านเป็นไม้กระดานแผ่นใหญ่ ฝาผนังเป็นไม้แผ่นตีซ้อนเกล็ด ฝาเพดานเป็นแผ่นไม้กระดานตีซ้อนทับกัน
ชุมชนริมคลองอัมพวา
เป็นชุมชนริมน้ำที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์การตั้งถิ่นฐานแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะรูปแบบของสถาปัตยกรรมเรือนแถวไม้ริมน้ำและวิถีชีวิตที่เรียบง่ายสัมพันธ์กับคลอง ชุมชนแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญ มีตลาดนัดทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดสมุทรสงคราม มีร้านรวงในเรือนแถวไม้แบบเก่าหันหน้าสู่คลองอัมพวาทั้งสองฟากฝั่ง แม้บรรยากาศในปัจจุบันจะไม่คึกคักเหมือนในอดีต เนื่องจากการคมนาคมทางน้ำลดบทบาทลงและศูนย์กลางการค้าขายย้ายไปอยู่เมืองแม่กลอง แต่ก็ยังเหลือร่องรอยความเจริญในอดีตให้เห็นโดยทั่วไป  ในห้องแถวที่เคยเป็นร้านค้าเก่าและยังคงเห็นเครื่องประดับตกแต่ง เช่น ป้ายชื้อร้านแบบเก่าที่เขียนเป็นภาษาไทยคู่กับภาษาจีน ตู้เครื่องยาจีนโบราณ ตู้ทองแบบโบราณ ตลอดจนอุปกรณ์ เช่น ตาชั่งแบบโบราณที่ใช้ชั่งทอง ซึ่งเจ้าของยังเก็บรักษาไว้ นอกจากนี้ยังมีร้านค้าบางแห่งที่ยังบางแห่งที่ยังคงเปิดดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เช่น ร้านขายของชำ ร้านคั่วกาแฟแบบโบราณ ร้านขายอุปกรณ์การประมง ฯลฯ
ล่องแม่กลอง ท่องคลองอัมพวา ชมวัดวาอาราม เดินเที่ยวตลาดริมน้ำ หิ่งห้อย ประกายความงามยามค่ำคืน เริ่มต้นที่ตลาดอัมพวา เดินเที่ยวตลาดเก่าริมน้ำที่ยังมีลมหายใจ สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำที่ยังหลงเหลืออยู่ จากนั้นลงเรือล่องลัดเลาะเข้าไปตามคลองอัมพวา ทะลุออกสู่แม่น้ำแม่กลอง ซึมซับทัศนียภาพสองฝั่งน้ำ เรือกสวนร่มรื่น วิถีชีวิตผู้คนริมน้ำ แวะชมศิลปกรรมสถาปัตยกรรมที่งดงามตามวัดเก่าแก่ เช่น วัดจุฬามณี วัดภูมรินทร์กุฎีทอง วัดบางแคใหญ่ วัดบางกุ้ง ฯลฯ จากนั้นเรือจะล่องวนกลับมาที่ตลาด อาจจะแวะขึ้นที่อุทยาน ร . 2   เดินชมพรรณไม้ในวรรณคดี พิพิธภัณฑ์ในหมู่เรือนไทย แล้วเลยไปชมภาพจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะร่วมสมัยที่งดงามในพระอุโบสถวัดอัมพวันเจติยารามที่อยู่ใกล้ๆ กัน รอจนค่ำ เช่าเรือล่องชมหิ่งห้อย ประกายความงามยามค่ำคืน และหากเดินทางไปท่องเที่ยวในวันศุกร์ - เสาร์และอาทิตย์ ตอนเย็นตั้งแต่เวลา  16.00   น  . ยังสามารถเที่ยวชมตลาดน้ำยามเย็น วิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ ณ ริมคลองอัมพวา สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสมุทรสงครามอีกด้วย เส้นทางแนะนำโปรแกรมที่ 1
เที่ยวตลาดน้ำท่าคา พายเรือล่องคลอง ลองเป็นชาวสวน ถ้าเป็นวันขึ้นและแรม  2   ค่ำ  7   ค่ำ และ  12   ค่ำ ไม่ควรพลาดการไปเที่ยวตลาดน้ำท่าคา ก่อนไปควรตรวจสอบวันติดตลาดล่วงหน้า ไปถึงแต่เช้าๆ จับจ่ายหาซื้อผัก ผลไม้ ของกิน มีเรือขายของกินมากมายหลายอย่าง รสชาติแสนอร่อย แต่ราคาถูกเหลือเชื่อ อิ่มหนำแล้วใช้บริการเรือพาย ที่อบต .  จัดไว้ ล่องลัดเลาะเข้าไปตามคลองเล็กคลองน้อย ผ่านสวนมะพร้าว สวนผลไม้ แวะขึ้นไปเดินเล่นเที่ยวสวน ดูการขึ้นตาล ปาดตาล เคี่ยวน้ำตาล อย่าลืมซื้อติดมือกลับมา ถ้าอยากซึมซับเรียนรู้วิถีชาวสวนอย่างแท้จริงอาจจะใช้บริการโฮมสเตย์ พักแรมในบ้านเรือนไทยกับชาวบ้านสัก  1   คืน นั่งล้อมวงกินกับข้าวกับเจ้าของบ้าน อาบน้ำในคลอง พายเรือเล่น ตอนเช้าตักบาตรพระที่พายเรือมาบิณฑบาต หัดขึ้นตาล ปาดตาล เคี่ยวน้ำตาล นับเป็นโอกาสทองของชีวิตที่หาไม่ได้ง่ายนัก  โปรแกรมที่ 2
ข้อมูลการเดินทาง โปรแกรมที่  1   ล่องแม่กลอง ท่องคลองอัมพวา เดินเที่ยวตลาดริมน้ำ หิ่งห้อย ประกายความงามยามค่ำคืน การเดินทาง จากสี่แยกมหาชัย ขับตรงไปทางสมุทรสงคราม ถึงทางแยกแม่กลอง เลี้ยวขึ้นสะพานข้ามแยกเข้าตัวเมือง จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข  325 ( สมุทรสงคราม  –  บางแพ )  ถึงทางแยกเข้าอัมพวาเลี้ยวซ้ายไปทางอำเภออัมพวา ถึงทางแยกเข้าตลาดอัมพวาจุดลงเรือท่าเรือตลาดอัมพวา มีเรือหางยาวให้บริการเช่าเหมาลำ ค่าเรือ  600-1,200   บาท ตามระยะทาง นั่งได้ประมาณ  10-12   คน ติดต่อ โทร . 01-5739131  โปรแกรมที่  2 เที่ยวตลาดน้ำท่าคา ล่องคลอง ชมสวนย่านเก่าการเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข  325 ( สมุทรสงคราม  –  บางแพ )  ถึงหลัก กม .  32   ทางขวามือมีทางแยกไปวัดเทพประสิทธิ์  –  คุณาวาท เลี้ยวขวาไปตามทางประมาณ  5   กม .  ถึงตลาดน้ำท่าคา
จุดลงเรือ   ตลาดน้ำท่าคา มีเรือพายของ อบต .  ท่าคาให้บริการ ค่าเรือเหมาลำ  200 – 300   บาท นั่งได้  2-3   คน นักท่องเที่ยวควรตรวจสอบวันติดตลาดล่วงหน้าก่อนเดินทาง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กลุ่มอนุรักษ์ท่าคา โทร .  0 3476 6123 ของฝาก ของที่ระลึก ปลาทูแม่กลอง อาหารทะเลสดและแห้ง ปลาอินทรีเค็ม กุ้งแห้ง หอยดอง เกลือสมุทร น้ำปลา กะปิคลองโคน ฯลฯ หาซื้อได้ที่ตลาดแม่กลอง ดอนหอยหลอด ร้านค้าริมทางถนนพระราม  2   ส่วนผลไม้รสดี ลิ้นจี่ ส้มโอ น้ำตาลสด น้ำตาลมะพร้าว วุ้นมะพร้าว หาซื้อได้ที่ตลาดแม่กลอง ร้านค้าริมทาง ถนนสมุทรสงคราม  –  บางคนที ด้านหน้าอุทยาน ร . 2   และตลาดน้ำท่าคา
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสงคราม
วัดอัมพวันเจติยาราม  วันเปิดทำการ :   ทุกวัน   เวลาเปิดทำการ :  08.00 - 16.00
อยู่ติดกับอุทยาน ร .  2  เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่  1  หลังวัดแห่งนี้เคยเป็นนิวาสสถานเก่าของหลวงยกกระบัตร   ( พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )  และ คุณนาค   ( สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่  1)  และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่  2  เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันเจติยาราม เดิมเป็นเรือนที่คุณนาคใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย        วัดอัมพวันเจติยารามได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่    3   รัชกาลที่  4   และรัชกาลที่  5    ปัจจุบันวัดอัมพวันเจติยารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุในวัดนี้ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนับเป็นพระอุโบสถที่มีความงดงาม นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐาน
     รถยนต์ ใช้ถนนพระราม  2( สายธนบุรี - ปากท่อ )( ทางหลวงหมายเลข  35)  ถึงกิโลเมตรที่  63  เข้าตัวเมืองสมุทรสงครามและออกไปประมาณ  6  กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข  325 ( สมุทรสงคราม - บางแพ )  กิโลเมตรที่  36-37   มีทางแยกซ้าย    เข้าไปอีกประมาณ  0  กิโลเมตร        รถโดยสายประจำทาง ขึ้นรถได้ที่ตลาดเทศบาลอำเภอเมือง สายแม่กลอง - บางนกแขวก – ราชบุรี ลงหน้าวัดอัมพวันเจติยาราม   การเดินทาง
โบสถ์ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด  วันเปิดทำการ :   ทุกวัน   เวลาเปิดทำการ :  07.00 - 20.00
ตั้งอยู่หมู่ที่  7  ตำบลบางนกแขวก โบสถ์นี้เป็นสถานที่สักการะอันศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ . ศ .  2433 ( ค . ศ .  1890)  โดยบาทหลวงเปาโลซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ได้รับทุนสนับสนุนจากญาติพี่น้องของท่านในประเทศฝรั่งเศส คณะมิซซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส กรุงโรมและผู้ใจบุญในกรุงเทพฯใช้เวลาสร้างถึง  6  ปีจึงเสร็จสมบูรณ์ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่   11  กุมภาพันธ์ พ . ศ . 2439 ( ค . ศ . 0896)   เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิคของประเทศฝรั่งเศส ฉาบด้วยปูนตำ ภายในประดับด้วยภาพกระจกสีสวยงดงาม มีรูปปั้น ธรรมาสน์เทศน์ อ่างล้างบาป ขาเทียนลักษณะต่างๆ และรูปแกะสลักบรรยายเกร็ดประวัติในพระคัมภีร์คริสตศาสนา    นับเป็นโบสถ์ที่มีความสวยงามไม่ไกลจากริมฝั่งแม่น้ำ   การเข้าชมควรติดต่อขออนุญาตจากบาทหลวงผู้รับผิดชอบก่อนล่วงหน้า เพื่อติดต่อวิทยากรบรรยาย โทร .  0 3476 0347 
การเดินทาง ไปตามเส้นทางสายสมุทรสงคราม - บางนกแขวก  ( เส้นทางเดียวกับอุทยาน ร . 2)  เข้าไปประมาณ  00  กิโลเมตร    อาสนวิหารแม่พระบังเกิดอยู่เลยแยกสะพานสมเด็จพระอัมรินทร์ไปประมาณ  000  เมตร      
วัดเขายี่สาร  วันเปิดทำการ :   ทุกวัน   เวลาเปิดทำการ :  08.00 - 16.00
ตั้งอยู่ที่บ้านเขายี่สาร ตำบลเขายี่สาร เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ พระวิหารบนยอดเขามีลักษณะเป็นรูปเรือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอยซึ่งเป็นองค์ประธานของวัด พระมณฑปและบานประตูสลักไม้ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายนับเป็นงานประณีตศิลป์ชั้นสูง พระอุโบสถบูรณะใหม่ประดิษฐ์ลวดลายปูนปั้นด้วยฝีมือช่างเมืองเพชร ภายในมีภาพจิตรกรรมฝีมือเดิม    บานหน้าต่างเป็นรูปบุคคลในพงศาวดารจีน ถ้ำพระนอนประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ซึ่งมีนิ้วพระบาทเก้านิ้ว    นอกจากนี้ด้านล่างยังมีศาลประดิษฐานหลวงพ่อปู่ศรีราชามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป    มีงานนมัสการหลวงพ่อปู่กลางเดือนอ้ายของทุกปี
วัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร  วันเปิดทำการ :   ทุกวัน   เวลาเปิดทำการ :  08.00 - 16.30  เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หลวงพ่อบ้านแหลม มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านทั่วไป
 
วัดศรัทธาธรรมหรือวัดมอญ  วันเปิดทำการ :   ทุกวัน   เวลาเปิดทำการ :  08.00 - 16.30  ตั้งอยู่หมู่ที่  5  ตำบลบางจะเกร็ง ไปตามถนนธนบุรี - ปากท่อ  ( พระราม  2)  ประมาณกิโลเมตรที่  64  ไปเส้นทางเดียวกับไปดอนหอยหลอด เข้าไปประมาณ  1  กิโลเมตร
 
ตลาดหุบร่ม  วันเปิดทำการ :   ทุกวัน   เวลาเปิดทำการ :  07.00 - 12.00  ตั้งขายอยู่ริมทางรถไฟใกล้สถานีรถไฟแม่กลอง ความยาวของตลาดประมาณ  100  เมตร บรรดาพ่อค้าแม่ค้าจะวางขายสินค้าบนพื้นจนติดกับรางรถไฟ เวลารถไฟมาก็ต่างหุบร่มที่กางและเก็บสินค้าภายในพริบตา จนเป็นที่มาของชื่อตลาดหุบร่มนั่นเอง
วัดเจริญสุขารามวรวิหาร  วันเปิดทำการ :   ทุกวัน   เวลาเปิดทำการ :  08.00 - 16.30
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางนกแขวก ห่างจากตัวอำเภอประมาณ  5  กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถที่มีศิลปะการก่อสร้างเฉพาะตัว เพดานโบสถ์เป็นรูปโค้งคล้ายประทุนเรือ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อโตลักษณะเป็นพระปฏิมากรสมัยสุโขทัยสร้างด้วยศิลาแลง ขนาดหน้าพระเพลากว้าง  078  เซนติเมตร สูงจากพื้นรองประทับถึงจุฬา  208  เซนติเมตร บริเวณท่าน้ำหน้าวัดมีฝูงปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะปลาตะเพียนเงินและปลาตะเพียนทอง ประชาชนนิยมมาให้อาหารปลาและรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือรสชาติอร่อยบริเวณท่าน้ำ     การเดินทาง ไปตามเส้นทางสายสมุทรสงคราม - บางนกแขวก  ( เส้นทางเดียวกับอุทยาน ร . 2)  ประมาณ  02  กิโลเมตร ผ่านอาสนวิหารแม่พระบังเกิด    ข้ามสะพานบางนกแขวก จะเห็นป้ายวัดอยู่ด้านขวามือ    เลี้ยวขวาเข้าประมาณ  500  เมตร      
ตลาดน้ำบางน้อย  วันเปิดทำการ :   วันเสาร์  -  วันอาทิตย์   เวลาเปิดทำการ :  06.00 - 18.00
ตลาดน้ำบางน้อย ตั้งอยู่ที่ปากคลองบางน้อย  ( วัดเกาะแก้ว )  ตำบลกระดังงา อยู่ห่างจากอุทยาน ร . 2  อำเภออัมพวาประมาณ  5  กิโลเมตร ชุมชนปากคลองบางน้อยหรือบางน้อยนอกเคยเป็นย่านการค้าทางน้ำที่สำคัญมากจุดหนึ่งในลุ่มน้ำแม่กลอง เมื่อประมาณ  40  ปีก่อน มาถึงวันนี้ ตลาดน้ำบางน้อยได้เปิดขายของในวันแรมและขึ้น  4, 8  และ  03  ค่ำ และในวันเสาร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา  06.00  น .  เป็นต้นไป สินค้าที่จำหน่ายมีทั้งผลผลิตทางการเกษตรจากชาวสวน ผลไม้ต่างเช่น ลิ้นจี่ มะม่วง ส้มโอ มะเฟือง ชมพู่ รวมทั้งอาหารคาวหวานอันขึ้นชื่อของสมุทรสงคราม อย่างกะปิคลองโคลนและมะนาวดองที่ชาวตลาดจะซื้อมะนาวจากชาวสวนมาดองเอง หรือจะเป็นโรตีแต้จิ๋ว เจ๊เรณูเจ้าเดียวที่ยังเหลืออยู่ในตลาดน้ำบางน้อย สามารถเดินเลียบคลองชมบรรยากาศบ้านไม้เก่าแก่และร้านค้าต่างๆที่เรียงรายริมคลองบางน้อยได้อย่างเพลิดเพลิน  
ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา
ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา    เป็นตลาดริมคลอง ตั้งอยู่ใกล้วัดอัมพวันเจติยาราม   ( จอดรถที่วัดอัมพวันเจติยารามได้ )  ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์    ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ช่วงเวลา  02.00-20.00  น .  ในคลองอัมพวาจะมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายอาหารและเครื่องดื่ม เช่น หอยทอด ก๋วยเตี๋ยว กาแฟ โอเลี้ยง ขนมหวานต่างๆ    และมีรถเข็นขายของบนบกด้วย บรรยากาศสบายๆ มีเพลงฟัง จากเสียงตามสายของชาวชุมชน ประชาชนสามารถเดินเที่ยวชมตลาดหาซื้ออาหารรับประทานและเช่าเรือไปเที่ยวชมดูหิงห้อยในยามค่ำคืนได้       ในปี   2550  ชุมชนริมคลองอัมพวา ได้รับรางวัลชมเชย    (Honourable Mention)  จากการประกวดรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก แห่งองค์การยูเนสโก ประจำปี  2550 (UNESCO Asia-Pacific Heritage Awards for Culture Heritage Conservation)  ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการอนุรักษ์อาคารเก่าแก่ที่ทรงคุณค่าและมีความงดงามด้านสถาปัตยกรรมและสะท้อนถึงลักษณะสำคัญทางท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
  การเดินทาง         รถยนต์    ใช้ถนนพระราม  2( สายธนบุรี - ปากท่อ ) ( ทางหลวงหมายเลข   35)  ถึง กม . ที่  63  เข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ผ่านตัวเมือง จากนั้นเข้าทางหลวง  325  สมุทรสงคราม - บางแพ กม . ที่  36-37  มาทางแยกซ้ายเข้าไปทางที่จะไปอุทยานฯ ร . 2  ตลาดน้ำจะอยู่ใกล้กับอุทยานฯ ร . 2        รถโดยสารประจำทาง นั่งรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ - ดำเนินสะดวก มาลงที่ตลาดอัมพวา
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ( อุทยาน ร . 2)  เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามไว้เป็นมรดกแก่ชาติ จนได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ   (UNESCO)  บริเวณที่ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์นี้ พระราชสมุทรเมธี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามเป็นผู้น้อมเกล้าฯถวาย มีพื้นที่ประมาณ  00  ไร่ พื้นที่บริเวณนี้มีความสำคัญเพราะเป็นสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   ( รัชกาลที่  2)   ภายในอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่     พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย  4  หลัง แบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น หอกลาง ภายในประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่  2  และจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น เครื่องเบญจรงค์ เครื่องถ้วย หัวโขน    ห้องชาย จัดแสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ
มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา รวมทั้งแท่นพระบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ห้องหญิง แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ ห้องครัวและห้องน้ำ จัดแสดงลักษณะครัวไทยมีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชามและห้องน้ำของชนชั้นกลาง       นอกจากนี้ยังมีโรงละครกลางแจ้งและสวนพฤกษชาติเป็นสวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิดและมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง จำหน่ายพันธุ์ไม้    อุทยาน ร . 2  เป็นสถานที่ๆมีความร่มรื่น เหมาะสำหรับเข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศแบบไทยที่ยังคงอนุรักษ์เอาไว้ อุทยานฯเปิดให้เข้าชมทุกวัน โดยในวันจันทร์ - ศุกร์ เปิดเวลา  08.30–07.00  น .  วันเสาร์ - อาทิตย์ เปิดเวลา  08.30–07.30  น .  ค่าเข้าชมผู้ใหญ่  20  บาท เด็ก  5  บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร .  0 3475 0666 , 0 3475 0376  โทรสาร  0 3475 0376   การเดินทาง     รถยนต์ ใช้ถนนพระราม  2( สายธนบุรี - ปากท่อ )( ทางหลวงหมายเลข   35)  ถึงกิโลเมตรที่  63  เข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ผ่านตัวเมือง จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข  325 ( สมุทรสงคราม - บางแพ )  กิโลเมตรที่  36-37   มีทางแยกซ้ายไปอุทยานฯ เข้าไปอีกประมาณ  0  กิโลเมตร       รถโดยสายประจำทาง ขึ้นรถได้ที่ตลาดเทศบาลอำเภอเมือง สายแม่กลอง - บางนกแขวก – ราชบุรี ลงหน้าอุทยาน ร . 2  
 
วันเปิดทำการ :   ทุกวัน   เวลาเปิดทำการ :  08.00 - 17.00 ดอนหอยหลอด
สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า ทรายขี้เป็ด
 
 
 
 
บรรณานุกรม Saritsak.  “ จังหวัดสมุทรสงคราม , ” ประวัติและสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม .  วันพุธที่  21  ตุลาคม พ . ศ .  2552 .  <http: // saritsak.blogth.com>  วันจันทร์ที่  2   พฤศจิกายน  พ . ศ .  2552
จัดทำโดย  นางสาว อริสรา จิตติอุทัศน์  เลขที่  30   ม .  5/2 โรงเรียน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็จ

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัยหัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัยchakaew4524
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยchatsawat265
 
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
06อาณาจักรสุโขทัย
06อาณาจักรสุโขทัย06อาณาจักรสุโขทัย
06อาณาจักรสุโขทัยJulPcc CR
 
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัยการเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัยKamonchanok VrTen Poppy
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
อาณาจักรส..
อาณาจักรส..อาณาจักรส..
อาณาจักรส..sandzii
 
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 

Was ist angesagt? (20)

พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
 
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัยหัวข้อที่ ๖  อาณาจักรสุโขทัย
หัวข้อที่ ๖ อาณาจักรสุโขทัย
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
 
การสถาปนา
การสถาปนาการสถาปนา
การสถาปนา
 
สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
 
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
 
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรมพัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
 
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
 
การสถาปนา..
การสถาปนา..การสถาปนา..
การสถาปนา..
 
งานสังคม...
งานสังคม...งานสังคม...
งานสังคม...
 
06อาณาจักรสุโขทัย
06อาณาจักรสุโขทัย06อาณาจักรสุโขทัย
06อาณาจักรสุโขทัย
 
การปกครอง 604
การปกครอง 604การปกครอง 604
การปกครอง 604
 
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
 
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัยการเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
 
อาณาจักรส..
อาณาจักรส..อาณาจักรส..
อาณาจักรส..
 
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
 

Andere mochten auch

Andere mochten auch (7)

Hotel Vocabulary
Hotel VocabularyHotel Vocabulary
Hotel Vocabulary
 
Thai Culture
Thai CultureThai Culture
Thai Culture
 
Presentation THAILAND@Brno
Presentation THAILAND@BrnoPresentation THAILAND@Brno
Presentation THAILAND@Brno
 
Thailand Tourism
Thailand TourismThailand Tourism
Thailand Tourism
 
Thai festivals
Thai festivalsThai festivals
Thai festivals
 
Thailand Presentation
Thailand PresentationThailand Presentation
Thailand Presentation
 
Thailand: Land of Smile
Thailand: Land of SmileThailand: Land of Smile
Thailand: Land of Smile
 

Ähnlich wie สมุทรสงคราม

สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัยsangworn
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยfernbamoilsong
 
งานครั้งที่ 4
งานครั้งที่ 4งานครั้งที่ 4
งานครั้งที่ 4madatik
 
งานครั้งที่ 4
งานครั้งที่ 4งานครั้งที่ 4
งานครั้งที่ 4madatik
 
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารPRINTT
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารzubasa_potato
 
งานเล็ก
งานเล็กงานเล็ก
งานเล็กJarutsee
 
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยคร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยปาล์มมี่ ไม่เล่นเกมส์
 
ปทุมธานีเดิมชื่อ
ปทุมธานีเดิมชื่อปทุมธานีเดิมชื่อ
ปทุมธานีเดิมชื่อMonny010
 
โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล
โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชลโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล
โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชลG'ad Smile
 

Ähnlich wie สมุทรสงคราม (20)

จังหวัดกาฬสินธิ
จังหวัดกาฬสินธิจังหวัดกาฬสินธิ
จังหวัดกาฬสินธิ
 
สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัย
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
งานครั้งที่ 4
งานครั้งที่ 4งานครั้งที่ 4
งานครั้งที่ 4
 
งานครั้งที่ 4
งานครั้งที่ 4งานครั้งที่ 4
งานครั้งที่ 4
 
นครปฐม
นครปฐมนครปฐม
นครปฐม
 
จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดนนทบุรีจังหวัดนนทบุรี
จังหวัดนนทบุรี
 
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt  กลุม 4
เธ„เธงเธฒเธกเธชเธฑเธกเธžเธฑ...Ppt กลุม 4
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
 
Tonburi
TonburiTonburi
Tonburi
 
งานเล็ก
งานเล็กงานเล็ก
งานเล็ก
 
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยคร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
 
ปทุมธานีเดิมชื่อ
ปทุมธานีเดิมชื่อปทุมธานีเดิมชื่อ
ปทุมธานีเดิมชื่อ
 
7
77
7
 
ศรีษเกษ
ศรีษเกษศรีษเกษ
ศรีษเกษ
 
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 
โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล
โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชลโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล
โครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล
 

Mehr von SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL

เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

Mehr von SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL (20)

Is
IsIs
Is
 
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
 
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
 
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาดปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
 
จารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติจารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติ
 
Isมิ้น
Isมิ้นIsมิ้น
Isมิ้น
 
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
 
คองโก
คองโกคองโก
คองโก
 
Is1
Is1Is1
Is1
 
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
ตุรกี
 
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
มัลดีฟ
 
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
 
ณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชาณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชา
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
 

สมุทรสงคราม

  • 4.  
  • 6. คำขวัญประจำจังหวัด เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร . 2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม
  • 8. เสน่ห์ที่เอกลักษณ์ที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งของเรือนแถวริมคลองอัมพวา ก็คือป้ายชื่อร้านแบบโบราณสวยๆ เนื่องจากอดีตเรือนแถวเหล่านี้เคยเปิดเป็นร้านค้าขายมาก่อน จึงมีป้ายชื่อร้านติดอยู่ แม้บ้านบางหลังจะถูกเปลี่ยนเป็นบ้านพักอาศัยแล้ว แต่ก็ยังคงติดป้ายอยู่ ป้ายที่พบเห็นในเรือนแถวริมคลองอัมพวามีหลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะใช้ตัวอักษรไทยและตัวอักษรจีน อักษรสีทองบนพื้นสีเข้ม เป็นอักษรประดิษฐ์ที่มีลวดลายวิจิตรสวยงาม ” นี่เป็นคำบอกเล่าของผู้ที่เคยไปเยือน เมืองสมุทรสงคราม ”
  • 9.         ความ สำคัญของจังหวัดสมุทรสงครามนั้น มีหลายประการ ทั้งในเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม สถานท่องเที่ยวตามธรรมชาติ การดำรงชีวิตไว้ซึ่งวิถีชีวิตแบบไทย ๆ และที่สำคัญเหนืออื่นใด คือ ความสำคัญต่อประวัติศาสตร์พระราชวงศ์ของไทย          จังหวัด สมุทรสงครามเป็นเมืองพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และเป็นเมืองของพระราชินีของไทยถึงสองพระองค์ คือ สมเด็จพระอัมนินทรามาตย์ในรัชกาลที่ 1 และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 2          เมือง เก่าที่เคยชื่อว่าเมืองแม่กลองนั้น มีมาตั้งแต่อดีต นานเท่าใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่เป็นชุมชนที่มีมาก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เดิมเป็นแขวงหนึ่งของจังหวัดราชบุรี เรียกว่า สวนนอก ครั้นต่อมาช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาต่อกับสมัยกรุงธนบุรี จึงแยกออกมาจากราชบุรี เรียกว่า &quot; เมืองแม่กลอง &quot;
  • 10.          จังหวัด เล็ก ๆ ที่อยู่ห่างจากกรุเทพฯ เพียง 63 กิโลเมตรนี้ มีพื้นที่ 416 ตารางกิโลเมตร มี 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภออัมพวา และอำเภอบางคนที มีแม่น้ำแม่กลองเป็นเสมือนเส้นชีวิตของชาวจังหวัดสมุทรสงคราม ไหลผ่านจังหวัดกาญจนบุรีราชบุรี และสมุทรสงคราม เป็นแม่น้ำที่ยังมีสภาพดีมากแห่งหนึ่งในประเทศไทย          อาณาเขต                    ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดราชบุรี                    ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดเพชรบุรี และอ่าวไทย                    ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดเพชรบุรี และราชบุรี                    ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสมุทรสาคร
  • 11.          เนื่อง จากพื้นที่เมืองสมุทรสงครามส่วนใหญ่อยู่ 2 ฟากแม่น้ำแม่กลองอันอุดมสมบูรณ์ จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชนานาชนิด ประกอบกับชาวเมือง มีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ เมือสมุทรสงครามจึงกลายเป็นแหล่งผลิตพืชผลการเกษตรขนาดใหญ่ ในภาคกลางของประเทศไทย เช่น ข้าว น้ำตาล ผัก ปลา มาตั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในขณะที่ผู้คนในกรุงเทพฯ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว สมุทรสงครามจึงต้องทำหน้าที่เป็น &quot; คลังเสบียง &quot; ของคนกรุงเทพฯ มากขึ้น อดีตพระมหากษัตริย์ไทยจึงโปรดให้มีการขุดคลองแม่กลอง คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก คลองมหาชัย และคลองมหาสวัสดิ์ขึ้น เพื่อให้เรือบรรทุกพืชผลผ่านเข้ามากรุงเทพฯ ได้สะดวกและรวดเร็วกว่าแต่ก่อน ความเป็นมาของท้องถิ่น
  • 12.          ใน บริเวณพื้นที่ของสมุทรสงคราม ตำบลอัมพวาดูจะมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ผู้คนมีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยอยู่เป็นจำนวนมาก และยังเป็นถิ่นที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เพราะเป็นบริเวณพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้เป็นทั้งนักปกครอง นักปราชญ์ นักรบ และราชศิลปินของไทย ดังประวัติศาสตร์โดยย่อดงันี้          เมื่อ พ . ศ . 2303 สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้นายทองด้วงเป็นหลวงยกกกระบัตรเมืองราชบุรี และเมืองสมุทรสงคราม เป็นเมืองจัตวา อยู่ในพื้นที่ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เมื่อมารับราชการอยู่เมืองราชบุรีไม่นาน หลวงยกกระบัตรก็ได้พบกับคุณนาค บุตรีเศรษฐีใหญ่เขตบางช้างเมืองสมุทรสงคราม พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเล่าไว้ในสามกรุงว่า &quot; ทรงได้ยินผู้ใหญ่เล่าว่า ครั้นนั้นมีข้าหลวงจากในกรุงออกมาสืบหาบุตรสาวของผู้ดีมีตระกูล และมีลักษณะสวยงาม เพื่อจะนำไปเป็นพระสนมของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ คุณนาคนี้ มีคุณสมบัติจึงถูกจดชื่อไว้ด้วยคนหนึ่ง ท่านทอง ท่านสั้น บิดามารดาของคุณนาควิตกมาก เพราะไม่ต้องการให้บุตรสาวไปเป็นพระสนม จึงชวนพระสมุทรสงคราม เจ้าเมืองสมุทรสงครามลูกผู้พี่ของท่านสั้น เข้าไปปรึกษาหลวงพินิจอักษร ชื่อเดิมว่าทองดี รับราชการเป็นเสมียนตรากรมมหาดไทยสมัยนั้น หลวงพินิจอักษรเห็นว่า มีทางแก้ไขประการเดียว คือ รีบแต่งานกับหลวงยกกกระบัตรเมืองราชบุรี บุตรชายของตน ท่านทองกับท่านสั้นก็เห็นด้วย จึงรีบจัดพิธีแต่งงานและปลูกบ้านใหม่บริเวณวัดอัมพวันเจติยารามปัจจุบัน &quot;
  • 13.          ใน ปี พ . ศ . 2308 พม่าได้ยกทัพมารบกับกรุงศรีอยุธยาอีก คราวนี้เข้าตั้งทัพที่ราชบุรี ในกรุงส่งทหารมาขับไล่แต่ถูกพม่าตีกลับ หลวงยกกระบัตรต้องรีบเกณฑ์คนส่งไปเป็นทหารในกรุง แล้วส่งเสบียงแก่กองทัพบก ทัพเรือตลอดเวลา พม่าตั้งทัพออยู่นาน 6 เดือน สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวเมืองสมุทรสงครามมาก พม่าล้อมกรุงไม่นานก็ยกทัพกลับไป ก่อนกลับได้ตั้งกองกำลังไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้นกรุงศรีออยุธยา และที่ธนบุรี ต่อมาอีก 7 เดือน กองทัพพม่าถูกสมเด็จพระเจ้าตากสินตีแตก ในเวลาอันรวดเร็ว และได้รวบรวมผู้คนไว้เป็นปีกแผ่น ประกาศให้ชาวเมืองทราบถึงสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ รีบกลับบ้านเรือนลงมือประกอบอาชีพโดยด่วน หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ได้ย้ายครอบครัวของตนและผู้มาพึ่งพาอาศัยทั้งหมด กลับมาอยู่ที่บ้านเดิมอัมพวา ขณะนั้นคุณนาคครรภ์แก่มากแล้ว วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ . ศ . 2310 คุณนาคคลอดบุตรเป็นชายได้รับการตั้งชื่อว่า &quot; ฉิม &quot; ซึ่งบุคคลผู้นี้ต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพรุพทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ที่มีความเฉลียวฉลาดเก่งกาจหลายด้าน และในปีเดียวกันนี้เอง แรม 12 ค่ำ เดือน 10 ท่านแก้ว พี่สาวหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี และเจ้าสัวผู้เป็นสามีได้อพยพเข้ามาอยู่ด้วยได้คลอดบุตร คนที่ 4 เป็นหญิง ตั้งชื่อว่า &quot; บุญรอด &quot; ต่อมามีบุญบารมีได้เป็นอัครมเหสีในรัชกาลที่ 2 และมีพระราชโอรสได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินถึง 2 พระองค์อีกด้วย
  • 14.          เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสถาปนาเมืองธนบรีขึ้นเป็นราชธานี และเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี 2311 แล้วได้โปรดเกล้าฯ ปูนบำเหน็จแม่ทัพนายกอง ครั้งนั้นหลวงยกกระบัตรฯ ได้เข้ามาถวายตัวรับราชการด้วย จึงอพยพครอบครัวพร้อมคุณนวลน้องสาวคุณนาค ครอบครัวท่านแก้วเดินทางเข้ามาอยู่ในกรุงธนบุรี ได้รับพระราชทานที่ข้างวัดระฆัง ( อู่ทหารเรือขณะนั้น ) ให้ปลูกบ้านใกล้พระราชวังและได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เลื่อนหลวงยกกระบัตร เป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมตำรวจนอกขวา แล้วได้เลื่อนขึ้นไปสูงเรื่อย ๆ จนได้เป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และได้ปราบดาภิเษกเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสถาปนาสมเด็จพระยาสุรสีห์ เป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล          เหล่า นี้เป็นเกียรติประวัติที่ชาวสมุทรสงครามไม่เคยลืม และโดยเฉพาะชาวอัมพวารู้สึกภูมิใจมากเป็นพิเศษ เพราะตำบลอัมพวาเป็นถิ่นกำเนิดบุคคลที่เป็นยอดคนของเมืองไทยถึงสามท่านด้วย กัน ทำให้ญาติของท่านในภายหลังได้รับพระราชทานนามสกุล ที่ทำให้รำลึกถึงภูมิกำเนิดดังเดิมอยู่เสมอว่า &quot; ณ บางช้าง &quot; เพราะตำบลอัมพวาในปัจจุบันก็คือ แขวงบางช้างเดิมนั่นเอง
  • 15.          คำ ว่าสวนนอกนี้ นายเทพ สุนทรสารทูล ผู้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสมุทรสงครามไว้หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง การเสด็จประพาสเมืองสมุทรสงคราม ได้กล่าวถึงสวนนอกเอาไว้ว่า เพราะเหตุที่ สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ( นาค ) มเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ท่านเป็นชาวบางช้าง มีพระประยูรญาติและเรือกสวนออยู่ในเขตบางช้างมาก จึงมีคำพูดหนึ่งว่า &quot; บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน &quot; หมายความว่า เรือกสวนทางบางช้างนั้น เป็นสวนอยู่บ้านนอก และบางกอกนั้นเป็นสวนใน คือ ใกล้บ้านใกล้วังของนายวงศ์นี่นั่นเอง &quot;          พล โท ดำเนิร เลขะกุล ผู้เขียนเรื่อง อัมพวามาตุภูมิราชศิลปิน ได้พบข้อความสนับสนุนประกาศในรัชกาลที่ 4 เรื่อง เลิกภาษีมะพร้าว ซึ่งประกาศเมื่อแรม 12 ค่ำ เดือน 9 ปีชวด ( พ . ศ . 2407) ตอนท้ายได้กล่าวว่า &quot; การประกาศนี้ให้พระแก้วคฤหรัตนบดี จ้ากรมขุนพิพัฒนากร ปลัดซ้าย ขุนวิสุทธากร ปลัดขวาพระคลังสวนใน หลวงแก้วเจ้ากรมขุนสมบัติ ปลัดกรมสวนนอก ขุนหมื่นนายระวาง บอกประกาศแก่ราษฏรเจ้าของสวนให้จงรู้ทั่วกัน &quot; เป็นอันว่าสวนนอกสวนใน ล้วนเป็นสวนมะพร้าวขนาดใหญ่ ๆ ทั้งนั้น ขณะนี้เหลือแต่สวนนอกที่จังหวัดสมุทรสงครามเท่านั้น ที่ยังมีต้นมะพร้าวแน่นทึบเป็นป่าอยู่สองข้างฝั่งแม่น้ำแม่กลอง แต่สวนใน ( กรุงเทพฯ ) นั้นได้กลายเป็นโรงเรือนที่อยู่ และที่ค้าขายทำกินไปสิ้นแล้ว
  • 16. การจัดรูปแบบการปกครองจังหวัดสมุทรสงคราม จากอดีตสู่ปัจจุบัน          ด้าน การปกครองจังหวัดสมุทรสงครามนั้น ก่อนวันที่ 1 เมษายน 2435 สมุทรสงครามมีการปกครองเหมือนกับหัวเมืองทั่วไป คือ มีเจ้าเมืองปกครองเป็นอิสระ ต่อมาในปี พ . ศ . 2435 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ กล่าวคือ ในส่วนกลางได้จัดตั้งกระทรวงต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และในปี พ . ศ . 2473 ได้ตั้งมณฑลราชบุรี โดยรวมหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน 5 เมือง คือ เมืองราชบุรี กาญจนบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี และเมืองสมุทรสงคราม   ต่อ มาได้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารราชการ แห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 ซึ่งได้จัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาคไว้เป็นจังหวัด และอำเภอ อันเป็นการยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลไป เป็นการแบ่งเขตจังหวัด ขึ้นตรงต่อบริหารราชการส่วนกลาง ดังนั้น ปัจจุบันสมุทรสงคราม จึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ประกอบด้วยอำเภอต่าง ๆ รวม 3 อำเภอด้วยกัน คือ          1. อำเภอเมืองสมุทรสงคราม          2. อำเภออัมพวา          3. อำเภอบางคนที          โดย มีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ที่ส่งมาจากส่วนกลาง กระทรวงมหาดไทยและมีคณะกรรรมการจังหวัด ช่วยบริหารงานให้ประชาชน มีความเป็นอยู่อย่างสงบสุขและเรียบร้อย
  • 17. ประวัติอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรสงคราม          อำเภอเมืองสมุทรสงคราม เป็นอำเภอที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ปรากฏหลักฐานว่าก่อนที่จะมีชื่อว่าอำเภอเมือง ได้มีการโยกย้ายสถานที่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่ออำเภอมาแล้วหลายชื่อ ตามปรากฏในหนังสือ &quot; สมุดราชบุรี &quot; และหนังสือราชการบ่งไว้ว่า ได้มีการตั้งชื่ออำเภอนี้ เมื่อปี พ . ศ . 2440 มีชื่ออำเภอในครั้งแรกว่า &quot; อำเภอลมทวน &quot; โดยอยู่ที่ปากคลองลัดจวน ( คำว่าจวน หมายถึง บ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยก่อน ) ที่ใช้ชื่ลมทวน เห็นจะเป็นเพราะอำเภอตั้งอยู่บริเวณคุ้งของแม่น้ำแม่กลอง ที่มีลมทวนไม่เหมือนกับคุ้งแม่น้ำตอนอื่น ๆ ครั้นต่อมาในปี พ . ศ . 2441 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอลมทวน เป็นชื่ออำเภอเมืองฯ จนถึงปี พ . ศ . 2444 ทางราชการจัดสร้างที่ว่าการอำเภอในที่ดินที่เป็นที่ธรณีสงฆ์วัดใหญ่ ริมแม่น้ำแม่กลอง ระหว่างปากคลองแม่กลองกับคลองลัดจวน นับเป็นการสร้างที่ว่าการอำเภอเป็นครั้งแรก 1. อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
  • 18. เพราะก่อนหน้านั้นจะใช้บ้านพักของนายอำเภอ หรือบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นที่ทำการ ชื่ออำเภอจึงเปลี่ยนชื่อจากอำเภอเมืองเป็นอำเภอบ้านปรก ต่อมาในปี พ . ศ . 2465 กอง โรงเรียนพลทหารเรือที่ 1 ได้ยุบเลิกโดยยกอาคารและที่ดินมอบให้กระทรวงมหาดไทย สำหรับตั้งศาลากลางจังหวัด เพราะเดิมเป็นที่ธรณีสงฆ์และน้ำเซาะพัง และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอบ้านปรกเป็น อำเภอแม่กลอง          การตั้งชื่ออำเภอในสมัยนั้น พอสันนิษฐานได้ว่า คงถือเอานามตำบลของที่ตั้งอำเภอเป็นหลักฐานในการตั้งชื่ออำเภอ ดังจะเห็นได้จาก เมื่อครั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่ตำบลลมทวน ก็เรียกชื่ออำเภอลมทวน เมื่อย้ายมาอยู่ที่ตำบลบ้านปรก เรียกอำเภอบ้านปรก ย้ายไปอยู่ที่ตำบลแม่กลอง เรียกอำเภอแม่กลอง ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า เพื่อประโยชน์และความสะดวกแก่ประชาชนและทางราชการ ประกอบกับเพื่อรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์แห่งท้องถิ่น จึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดใหม่ทั่วราช อาณาจักร ให้เป็นอำเภอเมืองของจังหวัดนั้น ๆ ตามประกาศในพระราชกฤษฏีกา เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่งพุทธศักราช 2481 ดังนั้นอำเภอแม่กลอง จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น &quot; อำเภอเมืองสมุทรสงคราม &quot; ตั้งแต่นั้นมา
  • 19.          อำเภออัมพวา ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ไม่มากนักต่อมาเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้ง ที่ 2 ปี พ . ศ . 2310 ผู้คนอพยพมาอยู่กันมากขึ้น เพราะมีทำเลเหมาะแก่การเพาะปลูกและเป็นที่อยู่อาศัย ตามหลักฐานที่พอจะค้นคว้าได้นั้น ปรากฏว่า ทึ่ว่าการอำเภออัมพวาในอดีตได้อาศัยศาลาการเปรียญของวัดอัมพวันเจติยาราม ต่อมาได้ย้ายข้ามคลองอัมพวาไปอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดท้ายตลาด ตำบลบางกะพ้อม ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่เดิมไปประมาณ 400 เมตร และได้ย้ายมาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองมาจนทุกวันนี้ และคงใช้ชื่ออัมพวา เพราะบริเวณนี้เดิมเป็นเรือกสวน มีต้นมะพร้าว และต้นมะม่วงอยู่เป็นจำนวนมาก ต้นมะพร้าวนั้นเป็นพืชหลักของสมุทรสงครามและมีอยู่ทั่วไป ส่วนต้นมะม่วงมีการปลูกอยู่อย่างหนาแน่นที่บริเวณนี้ จึงใช้ชื่ออัมพวามาตลอด 2. อำเภออัมพวา
  • 20.          ตำบลต่าง ๆ ในเขตอำเภอบางคนที ขึ้นตรงกับอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จนกระทั่ง พ . ศ . 2437 หม่อมเจ้าสฤษฏ์เดช สมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ได้พิจารณาแบ่งเขตการปกครอง ด้วยประชานในเขตนี้ร้องเรียนไปว่า การไปมาติดต่อราชการกับอำเภอดำเนินสะดวกไม่สะดวกสมชื่อเพราะระยะทางไกล จึงจัดตั้งอำเภอขึ้นใหม่ เรียกว่า &quot; อำเภอสี่หมื่น &quot; ตั้งอยู่ตรงปากคลองแพงพวย แต่ยังสังกัดอยู่กับจังหวัดราชบุรี ครั้นต่อมาในปี พ . ศ . 2447 ทางราชการได้จัดระบบการปกครองใหม่อีกครั้ง จึงได้ย้ายอำเภออสี่หมื่น มาปลูกสร้างในที่ดินของวัดใหม่พิเนทร์ ( วัดร้าง ) โดยปลูกเป็นอาคารชั้นเดียวหลังคามุงจาก อยู่ใต้ปากคลองบางคนที คลองนี้เป็นคลองที่อยู่ในย่านกลางชุมชน มีผู้คนอาศัยอยู่มาก จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอสี่หมื่นเป็น &quot; อำเภอบางคนที &quot; ตามชื่อคลองแล้วแยกจากจังหวัดราชบุรี มาขึ้นต่อจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีอยู่ 2 อำเภอ ประกาศตั้งเป็นอำเภอบางคนทึ่ จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ . ศ . 2454 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 28 หน้า 489 ลงวันที่ 11 มิถุนายน ร . ศ . 130 3. อำเภอบางคนที
  • 21.          จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า สมุทรสงครามเดิมมีชื่อว่า แม่กลอง เป็นเมืองที่เกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีฐานะเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งในสังกัดกรมเจ้าท่า เจ้าเมืองมีฐานะเป็นพระแม่กลองบุรี ขึ้นอยู่กับเมืองราชุบรี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่มีฐานะเป็นจังหวัดอย่างสมบูรณ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5   จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดที่มีอายุยังน้อย เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ดินงอกใหม่ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบจึงเป็นช่วงรัตนโกสินทร์เป็นส่วนใหญ่ เพราะหลักฐานเดิมได้เปลี่ยนสภาพไปแล้ว เช่น ป้อมพิฆาตข้าศึก กลายเป็นที่ตั้งโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ ค่ายจีนบางกุ้งบริเวณวัดบางกุ้ง เป็นค่ายลูกเสือสมุทรสงคราม ( เลิกกิจการไปแล้ว ) จึงอาจกล่าวได้ว่าโบราณสถาน โบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดสมุทรสงคราม พบมากบริเวณวัดต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัดสมุทรสงคราม บนเรือนไทยในอุทยาน ร . 2   ประวัติศาสตร์ของจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ทางราชการเห็นความสำคัญ คือ เป็นนิวาสถานเดิมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถิ่นพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( รัชกาลที่ 2) จึงถือว่าจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเมืองต้นราชนิกูลและเป็นเมืองแห่งราชศิลปิน จึงกำหนดให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันศิลปินแห่งชาติ โดยจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติที่พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บริเวณวัดอัมพวันเจติยาราม และอุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( อุททยาน ร . 2) บทสรุป
  • 22. ชุมชนอัมพวา มีวิฒนาการการตั้งถิ่นฐานที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุศรีอยุธยา โดยประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมสวนผสม จนกล่าวกันว่า อัมพวาเป็นเสมือนหนึ่งอู่ข่าวอู่น้ำของกรุงศรีอยุธยา อดีตนั้นสร้างบ้านเรือนหันหน้าเข้าหาคลอง เพื่อใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค และการคมนาคม ต่อมาเมื่อมีการสร้างถนน การคมนาคมทางน้ำได้ลดบทบาทลง แต่ถึงกระนั้นพื้นที่บริเวณริมน้ำก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก โดยจะเห็นได้จากองค์ประกอบทางด้านสถาปัตยกรรมหลายอย่างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของชุมชนริมน้ำดั้งเดิมบ้านพักอาศัยในชุมชนอัมพวา ส่วนใหญ่คงความเป็นเอกลักษณ์ของเรือนไม้ในอดีต และยังคงรักษาคุณค่าทั้งด้านประวัติศาสตร์และด้านสถาปัตยกรรมที่งดงามของชุมชนริมน้ำ นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งของชุมชน แหล่งท่องเที่ยว-อัมผวา
  • 23.  
  • 24. การตั้งถิ่นฐานของชุมชนอัมพวา โดยทั่วไปจะตั้งบ้านเรือนขนานไปกับคลองอัมพวา โดยหันหน้าบ้านเข้าหาคลอง บ้านเรือนแถวริมน้ำ สามารถพบได้ตลอดแนวคลองอัมพวา ลักษณะทั่วไปเป็นเรือนแถวเก่าที่สร้างติดกันหรือต่อเนื่องกันเป็นแนวยาว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเรือนแถวไม้ริมน้ำดั้งเดิม ที่นิยมสร้างกันในอดีต ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นเรือนแถวไม้ชั้นเดียว หลังคามีทั้งที่เป็นทรงปั้นหยาจั่วเดี่ยว และจั่วคู่ มุงด้วยกระเบื้องว่าวหรือสังกะสีลูกฟูก ประตู่ส่วนใหญ่เป็นบานเฟี้ยมไม้เปิดกว้างตลอดแนว เพื่อเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า แต่ก็จะมีบ้านบางหลังที่เป็นประตูไม้บานคู่ มีช่องลมเหลือประตูเพื่อใช้สำหรับการระบายอากาศ ส่วนหน้าต่างเป็นบานไม้ปิดคู่ พื้นบ้านเป็นไม้กระดานแผ่นใหญ่ ฝาผนังเป็นไม้แผ่นตีซ้อนเกล็ด ฝาเพดานเป็นแผ่นไม้กระดานตีซ้อนทับกัน
  • 26. เป็นชุมชนริมน้ำที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์การตั้งถิ่นฐานแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะรูปแบบของสถาปัตยกรรมเรือนแถวไม้ริมน้ำและวิถีชีวิตที่เรียบง่ายสัมพันธ์กับคลอง ชุมชนแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญ มีตลาดนัดทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดสมุทรสงคราม มีร้านรวงในเรือนแถวไม้แบบเก่าหันหน้าสู่คลองอัมพวาทั้งสองฟากฝั่ง แม้บรรยากาศในปัจจุบันจะไม่คึกคักเหมือนในอดีต เนื่องจากการคมนาคมทางน้ำลดบทบาทลงและศูนย์กลางการค้าขายย้ายไปอยู่เมืองแม่กลอง แต่ก็ยังเหลือร่องรอยความเจริญในอดีตให้เห็นโดยทั่วไป ในห้องแถวที่เคยเป็นร้านค้าเก่าและยังคงเห็นเครื่องประดับตกแต่ง เช่น ป้ายชื้อร้านแบบเก่าที่เขียนเป็นภาษาไทยคู่กับภาษาจีน ตู้เครื่องยาจีนโบราณ ตู้ทองแบบโบราณ ตลอดจนอุปกรณ์ เช่น ตาชั่งแบบโบราณที่ใช้ชั่งทอง ซึ่งเจ้าของยังเก็บรักษาไว้ นอกจากนี้ยังมีร้านค้าบางแห่งที่ยังบางแห่งที่ยังคงเปิดดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เช่น ร้านขายของชำ ร้านคั่วกาแฟแบบโบราณ ร้านขายอุปกรณ์การประมง ฯลฯ
  • 27. ล่องแม่กลอง ท่องคลองอัมพวา ชมวัดวาอาราม เดินเที่ยวตลาดริมน้ำ หิ่งห้อย ประกายความงามยามค่ำคืน เริ่มต้นที่ตลาดอัมพวา เดินเที่ยวตลาดเก่าริมน้ำที่ยังมีลมหายใจ สัมผัสวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำที่ยังหลงเหลืออยู่ จากนั้นลงเรือล่องลัดเลาะเข้าไปตามคลองอัมพวา ทะลุออกสู่แม่น้ำแม่กลอง ซึมซับทัศนียภาพสองฝั่งน้ำ เรือกสวนร่มรื่น วิถีชีวิตผู้คนริมน้ำ แวะชมศิลปกรรมสถาปัตยกรรมที่งดงามตามวัดเก่าแก่ เช่น วัดจุฬามณี วัดภูมรินทร์กุฎีทอง วัดบางแคใหญ่ วัดบางกุ้ง ฯลฯ จากนั้นเรือจะล่องวนกลับมาที่ตลาด อาจจะแวะขึ้นที่อุทยาน ร . 2 เดินชมพรรณไม้ในวรรณคดี พิพิธภัณฑ์ในหมู่เรือนไทย แล้วเลยไปชมภาพจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะร่วมสมัยที่งดงามในพระอุโบสถวัดอัมพวันเจติยารามที่อยู่ใกล้ๆ กัน รอจนค่ำ เช่าเรือล่องชมหิ่งห้อย ประกายความงามยามค่ำคืน และหากเดินทางไปท่องเที่ยวในวันศุกร์ - เสาร์และอาทิตย์ ตอนเย็นตั้งแต่เวลา 16.00 น . ยังสามารถเที่ยวชมตลาดน้ำยามเย็น วิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำ ณ ริมคลองอัมพวา สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสมุทรสงครามอีกด้วย เส้นทางแนะนำโปรแกรมที่ 1
  • 28. เที่ยวตลาดน้ำท่าคา พายเรือล่องคลอง ลองเป็นชาวสวน ถ้าเป็นวันขึ้นและแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ ไม่ควรพลาดการไปเที่ยวตลาดน้ำท่าคา ก่อนไปควรตรวจสอบวันติดตลาดล่วงหน้า ไปถึงแต่เช้าๆ จับจ่ายหาซื้อผัก ผลไม้ ของกิน มีเรือขายของกินมากมายหลายอย่าง รสชาติแสนอร่อย แต่ราคาถูกเหลือเชื่อ อิ่มหนำแล้วใช้บริการเรือพาย ที่อบต . จัดไว้ ล่องลัดเลาะเข้าไปตามคลองเล็กคลองน้อย ผ่านสวนมะพร้าว สวนผลไม้ แวะขึ้นไปเดินเล่นเที่ยวสวน ดูการขึ้นตาล ปาดตาล เคี่ยวน้ำตาล อย่าลืมซื้อติดมือกลับมา ถ้าอยากซึมซับเรียนรู้วิถีชาวสวนอย่างแท้จริงอาจจะใช้บริการโฮมสเตย์ พักแรมในบ้านเรือนไทยกับชาวบ้านสัก 1 คืน นั่งล้อมวงกินกับข้าวกับเจ้าของบ้าน อาบน้ำในคลอง พายเรือเล่น ตอนเช้าตักบาตรพระที่พายเรือมาบิณฑบาต หัดขึ้นตาล ปาดตาล เคี่ยวน้ำตาล นับเป็นโอกาสทองของชีวิตที่หาไม่ได้ง่ายนัก โปรแกรมที่ 2
  • 29. ข้อมูลการเดินทาง โปรแกรมที่ 1 ล่องแม่กลอง ท่องคลองอัมพวา เดินเที่ยวตลาดริมน้ำ หิ่งห้อย ประกายความงามยามค่ำคืน การเดินทาง จากสี่แยกมหาชัย ขับตรงไปทางสมุทรสงคราม ถึงทางแยกแม่กลอง เลี้ยวขึ้นสะพานข้ามแยกเข้าตัวเมือง จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 325 ( สมุทรสงคราม – บางแพ ) ถึงทางแยกเข้าอัมพวาเลี้ยวซ้ายไปทางอำเภออัมพวา ถึงทางแยกเข้าตลาดอัมพวาจุดลงเรือท่าเรือตลาดอัมพวา มีเรือหางยาวให้บริการเช่าเหมาลำ ค่าเรือ 600-1,200 บาท ตามระยะทาง นั่งได้ประมาณ 10-12 คน ติดต่อ โทร . 01-5739131 โปรแกรมที่ 2 เที่ยวตลาดน้ำท่าคา ล่องคลอง ชมสวนย่านเก่าการเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 325 ( สมุทรสงคราม – บางแพ ) ถึงหลัก กม . 32 ทางขวามือมีทางแยกไปวัดเทพประสิทธิ์ – คุณาวาท เลี้ยวขวาไปตามทางประมาณ 5 กม . ถึงตลาดน้ำท่าคา
  • 30. จุดลงเรือ ตลาดน้ำท่าคา มีเรือพายของ อบต . ท่าคาให้บริการ ค่าเรือเหมาลำ 200 – 300 บาท นั่งได้ 2-3 คน นักท่องเที่ยวควรตรวจสอบวันติดตลาดล่วงหน้าก่อนเดินทาง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กลุ่มอนุรักษ์ท่าคา โทร . 0 3476 6123 ของฝาก ของที่ระลึก ปลาทูแม่กลอง อาหารทะเลสดและแห้ง ปลาอินทรีเค็ม กุ้งแห้ง หอยดอง เกลือสมุทร น้ำปลา กะปิคลองโคน ฯลฯ หาซื้อได้ที่ตลาดแม่กลอง ดอนหอยหลอด ร้านค้าริมทางถนนพระราม 2 ส่วนผลไม้รสดี ลิ้นจี่ ส้มโอ น้ำตาลสด น้ำตาลมะพร้าว วุ้นมะพร้าว หาซื้อได้ที่ตลาดแม่กลอง ร้านค้าริมทาง ถนนสมุทรสงคราม – บางคนที ด้านหน้าอุทยาน ร . 2 และตลาดน้ำท่าคา
  • 32. วัดอัมพวันเจติยาราม วันเปิดทำการ : ทุกวัน เวลาเปิดทำการ : 08.00 - 16.00
  • 33. อยู่ติดกับอุทยาน ร . 2 เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังวัดแห่งนี้เคยเป็นนิวาสสถานเก่าของหลวงยกกระบัตร ( พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ) และ คุณนาค ( สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันเจติยาราม เดิมเป็นเรือนที่คุณนาคใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย       วัดอัมพวันเจติยารามได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่   3  รัชกาลที่ 4  และรัชกาลที่ 5   ปัจจุบันวัดอัมพวันเจติยารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุในวัดนี้ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนับเป็นพระอุโบสถที่มีความงดงาม นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐาน
  • 34.     รถยนต์ ใช้ถนนพระราม 2( สายธนบุรี - ปากท่อ )( ทางหลวงหมายเลข 35) ถึงกิโลเมตรที่ 63 เข้าตัวเมืองสมุทรสงครามและออกไปประมาณ 6 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 325 ( สมุทรสงคราม - บางแพ ) กิโลเมตรที่ 36-37  มีทางแยกซ้าย   เข้าไปอีกประมาณ 0 กิโลเมตร     รถโดยสายประจำทาง ขึ้นรถได้ที่ตลาดเทศบาลอำเภอเมือง สายแม่กลอง - บางนกแขวก – ราชบุรี ลงหน้าวัดอัมพวันเจติยาราม   การเดินทาง
  • 35. โบสถ์ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด วันเปิดทำการ : ทุกวัน เวลาเปิดทำการ : 07.00 - 20.00
  • 36. ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลบางนกแขวก โบสถ์นี้เป็นสถานที่สักการะอันศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ . ศ . 2433 ( ค . ศ . 1890)  โดยบาทหลวงเปาโลซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ได้รับทุนสนับสนุนจากญาติพี่น้องของท่านในประเทศฝรั่งเศส คณะมิซซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส กรุงโรมและผู้ใจบุญในกรุงเทพฯใช้เวลาสร้างถึง 6 ปีจึงเสร็จสมบูรณ์ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่   11 กุมภาพันธ์ พ . ศ . 2439 ( ค . ศ . 0896)  เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิคของประเทศฝรั่งเศส ฉาบด้วยปูนตำ ภายในประดับด้วยภาพกระจกสีสวยงดงาม มีรูปปั้น ธรรมาสน์เทศน์ อ่างล้างบาป ขาเทียนลักษณะต่างๆ และรูปแกะสลักบรรยายเกร็ดประวัติในพระคัมภีร์คริสตศาสนา   นับเป็นโบสถ์ที่มีความสวยงามไม่ไกลจากริมฝั่งแม่น้ำ   การเข้าชมควรติดต่อขออนุญาตจากบาทหลวงผู้รับผิดชอบก่อนล่วงหน้า เพื่อติดต่อวิทยากรบรรยาย โทร . 0 3476 0347 
  • 37. การเดินทาง ไปตามเส้นทางสายสมุทรสงคราม - บางนกแขวก ( เส้นทางเดียวกับอุทยาน ร . 2) เข้าไปประมาณ 00 กิโลเมตร   อาสนวิหารแม่พระบังเกิดอยู่เลยแยกสะพานสมเด็จพระอัมรินทร์ไปประมาณ 000 เมตร     
  • 38. วัดเขายี่สาร วันเปิดทำการ : ทุกวัน เวลาเปิดทำการ : 08.00 - 16.00
  • 39. ตั้งอยู่ที่บ้านเขายี่สาร ตำบลเขายี่สาร เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ พระวิหารบนยอดเขามีลักษณะเป็นรูปเรือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอยซึ่งเป็นองค์ประธานของวัด พระมณฑปและบานประตูสลักไม้ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายนับเป็นงานประณีตศิลป์ชั้นสูง พระอุโบสถบูรณะใหม่ประดิษฐ์ลวดลายปูนปั้นด้วยฝีมือช่างเมืองเพชร ภายในมีภาพจิตรกรรมฝีมือเดิม   บานหน้าต่างเป็นรูปบุคคลในพงศาวดารจีน ถ้ำพระนอนประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ซึ่งมีนิ้วพระบาทเก้านิ้ว   นอกจากนี้ด้านล่างยังมีศาลประดิษฐานหลวงพ่อปู่ศรีราชามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป   มีงานนมัสการหลวงพ่อปู่กลางเดือนอ้ายของทุกปี
  • 40. วัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร วันเปิดทำการ : ทุกวัน เวลาเปิดทำการ : 08.00 - 16.30 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หลวงพ่อบ้านแหลม มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านทั่วไป
  • 41.  
  • 42. วัดศรัทธาธรรมหรือวัดมอญ วันเปิดทำการ : ทุกวัน เวลาเปิดทำการ : 08.00 - 16.30 ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลบางจะเกร็ง ไปตามถนนธนบุรี - ปากท่อ ( พระราม 2) ประมาณกิโลเมตรที่ 64 ไปเส้นทางเดียวกับไปดอนหอยหลอด เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร
  • 43.  
  • 44. ตลาดหุบร่ม วันเปิดทำการ : ทุกวัน เวลาเปิดทำการ : 07.00 - 12.00 ตั้งขายอยู่ริมทางรถไฟใกล้สถานีรถไฟแม่กลอง ความยาวของตลาดประมาณ 100 เมตร บรรดาพ่อค้าแม่ค้าจะวางขายสินค้าบนพื้นจนติดกับรางรถไฟ เวลารถไฟมาก็ต่างหุบร่มที่กางและเก็บสินค้าภายในพริบตา จนเป็นที่มาของชื่อตลาดหุบร่มนั่นเอง
  • 45. วัดเจริญสุขารามวรวิหาร วันเปิดทำการ : ทุกวัน เวลาเปิดทำการ : 08.00 - 16.30
  • 46. ตั้งอยู่ที่ตำบลบางนกแขวก ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถที่มีศิลปะการก่อสร้างเฉพาะตัว เพดานโบสถ์เป็นรูปโค้งคล้ายประทุนเรือ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อโตลักษณะเป็นพระปฏิมากรสมัยสุโขทัยสร้างด้วยศิลาแลง ขนาดหน้าพระเพลากว้าง 078 เซนติเมตร สูงจากพื้นรองประทับถึงจุฬา 208 เซนติเมตร บริเวณท่าน้ำหน้าวัดมีฝูงปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะปลาตะเพียนเงินและปลาตะเพียนทอง ประชาชนนิยมมาให้อาหารปลาและรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือรสชาติอร่อยบริเวณท่าน้ำ   การเดินทาง ไปตามเส้นทางสายสมุทรสงคราม - บางนกแขวก ( เส้นทางเดียวกับอุทยาน ร . 2) ประมาณ 02 กิโลเมตร ผ่านอาสนวิหารแม่พระบังเกิด   ข้ามสะพานบางนกแขวก จะเห็นป้ายวัดอยู่ด้านขวามือ   เลี้ยวขวาเข้าประมาณ 500 เมตร     
  • 47. ตลาดน้ำบางน้อย วันเปิดทำการ : วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลาเปิดทำการ : 06.00 - 18.00
  • 48. ตลาดน้ำบางน้อย ตั้งอยู่ที่ปากคลองบางน้อย ( วัดเกาะแก้ว ) ตำบลกระดังงา อยู่ห่างจากอุทยาน ร . 2 อำเภออัมพวาประมาณ 5 กิโลเมตร ชุมชนปากคลองบางน้อยหรือบางน้อยนอกเคยเป็นย่านการค้าทางน้ำที่สำคัญมากจุดหนึ่งในลุ่มน้ำแม่กลอง เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน มาถึงวันนี้ ตลาดน้ำบางน้อยได้เปิดขายของในวันแรมและขึ้น 4, 8 และ 03 ค่ำ และในวันเสาร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 06.00 น . เป็นต้นไป สินค้าที่จำหน่ายมีทั้งผลผลิตทางการเกษตรจากชาวสวน ผลไม้ต่างเช่น ลิ้นจี่ มะม่วง ส้มโอ มะเฟือง ชมพู่ รวมทั้งอาหารคาวหวานอันขึ้นชื่อของสมุทรสงคราม อย่างกะปิคลองโคลนและมะนาวดองที่ชาวตลาดจะซื้อมะนาวจากชาวสวนมาดองเอง หรือจะเป็นโรตีแต้จิ๋ว เจ๊เรณูเจ้าเดียวที่ยังเหลืออยู่ในตลาดน้ำบางน้อย สามารถเดินเลียบคลองชมบรรยากาศบ้านไม้เก่าแก่และร้านค้าต่างๆที่เรียงรายริมคลองบางน้อยได้อย่างเพลิดเพลิน  
  • 50. ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา   เป็นตลาดริมคลอง ตั้งอยู่ใกล้วัดอัมพวันเจติยาราม ( จอดรถที่วัดอัมพวันเจติยารามได้ ) ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์   ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ช่วงเวลา 02.00-20.00 น . ในคลองอัมพวาจะมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายอาหารและเครื่องดื่ม เช่น หอยทอด ก๋วยเตี๋ยว กาแฟ โอเลี้ยง ขนมหวานต่างๆ   และมีรถเข็นขายของบนบกด้วย บรรยากาศสบายๆ มีเพลงฟัง จากเสียงตามสายของชาวชุมชน ประชาชนสามารถเดินเที่ยวชมตลาดหาซื้ออาหารรับประทานและเช่าเรือไปเที่ยวชมดูหิงห้อยในยามค่ำคืนได้       ในปี 2550 ชุมชนริมคลองอัมพวา ได้รับรางวัลชมเชย   (Honourable Mention) จากการประกวดรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก แห่งองค์การยูเนสโก ประจำปี 2550 (UNESCO Asia-Pacific Heritage Awards for Culture Heritage Conservation) ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการอนุรักษ์อาคารเก่าแก่ที่ทรงคุณค่าและมีความงดงามด้านสถาปัตยกรรมและสะท้อนถึงลักษณะสำคัญทางท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
  • 51.   การเดินทาง       รถยนต์   ใช้ถนนพระราม 2( สายธนบุรี - ปากท่อ ) ( ทางหลวงหมายเลข 35) ถึง กม . ที่ 63 เข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ผ่านตัวเมือง จากนั้นเข้าทางหลวง 325 สมุทรสงคราม - บางแพ กม . ที่ 36-37 มาทางแยกซ้ายเข้าไปทางที่จะไปอุทยานฯ ร . 2 ตลาดน้ำจะอยู่ใกล้กับอุทยานฯ ร . 2      รถโดยสารประจำทาง นั่งรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ - ดำเนินสะดวก มาลงที่ตลาดอัมพวา
  • 53. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( อุทยาน ร . 2) เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามไว้เป็นมรดกแก่ชาติ จนได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) บริเวณที่ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์นี้ พระราชสมุทรเมธี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามเป็นผู้น้อมเกล้าฯถวาย มีพื้นที่ประมาณ 00 ไร่ พื้นที่บริเวณนี้มีความสำคัญเพราะเป็นสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( รัชกาลที่ 2)   ภายในอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่   พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย 4 หลัง แบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น หอกลาง ภายในประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 2 และจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น เครื่องเบญจรงค์ เครื่องถ้วย หัวโขน   ห้องชาย จัดแสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ
  • 54. มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา รวมทั้งแท่นพระบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ห้องหญิง แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ ห้องครัวและห้องน้ำ จัดแสดงลักษณะครัวไทยมีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชามและห้องน้ำของชนชั้นกลาง      นอกจากนี้ยังมีโรงละครกลางแจ้งและสวนพฤกษชาติเป็นสวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิดและมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง จำหน่ายพันธุ์ไม้   อุทยาน ร . 2 เป็นสถานที่ๆมีความร่มรื่น เหมาะสำหรับเข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศแบบไทยที่ยังคงอนุรักษ์เอาไว้ อุทยานฯเปิดให้เข้าชมทุกวัน โดยในวันจันทร์ - ศุกร์ เปิดเวลา 08.30–07.00 น . วันเสาร์ - อาทิตย์ เปิดเวลา 08.30–07.30 น . ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 5 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร . 0 3475 0666 , 0 3475 0376 โทรสาร 0 3475 0376   การเดินทาง   รถยนต์ ใช้ถนนพระราม 2( สายธนบุรี - ปากท่อ )( ทางหลวงหมายเลข 35) ถึงกิโลเมตรที่ 63 เข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ผ่านตัวเมือง จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 325 ( สมุทรสงคราม - บางแพ ) กิโลเมตรที่ 36-37  มีทางแยกซ้ายไปอุทยานฯ เข้าไปอีกประมาณ 0 กิโลเมตร     รถโดยสายประจำทาง ขึ้นรถได้ที่ตลาดเทศบาลอำเภอเมือง สายแม่กลอง - บางนกแขวก – ราชบุรี ลงหน้าอุทยาน ร . 2  
  • 55.  
  • 56. วันเปิดทำการ : ทุกวัน เวลาเปิดทำการ : 08.00 - 17.00 ดอนหอยหลอด
  • 58.  
  • 59.  
  • 60.  
  • 61.  
  • 62. บรรณานุกรม Saritsak. “ จังหวัดสมุทรสงคราม , ” ประวัติและสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม . วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ . ศ . 2552 . <http: // saritsak.blogth.com> วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ . ศ . 2552
  • 63. จัดทำโดย นางสาว อริสรา จิตติอุทัศน์ เลขที่ 30 ม . 5/2 โรงเรียน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็จ