SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 10
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี


ปฏิกิริยาเคมี หมายถึง การที่สารตั้งต้นเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์(สาร
ใหม่) เมื่อเวลาผ่านไปปริมาณของสารตั้งต้นจะลดลงขณะที่ปริมาณสารใหม่จะ
เพิ่มขึ้นจนในที่สุด
ก. ปริมาณสารตั้งต้นหมดไป หรือเหลือสารใดสารหนึ่งและมีสารใหม่เกิดขึ้น
เรียกว่า ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์ (ไม่เกิดสมดุลเคมี) เช่น A + B
            C
              จากปฏิกิริยาบอกได้ว่า A และ B หมดทั้งคู่หรือเหลือตัวใดตัวหนึ่ง
ขณะเดียวกันจะมีสาร C เกิดขึน ้
ข. ปริมาณสารตั้งต้นยังเหลืออยู่(ทุกตัว) เกิดสารใหม่ขึ้นมา เรียกว่าปฏิกิริยา
เกิดไม่สมบูรณ์(เกิดสมดุลเคมี) ซึ่งจะพบว่า ความเข้มข้นของสารในระบบจะ
คงที่ (สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์) อาจจะเท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่าก็ได้
เช่น สมดุลของปฏิกิริยา A + B                  C
           จากปฏิกิริยาบอกได้ว่าทั้งสาร A และ B เหลืออยู่ทั้งคู่ ขณะเดียวกัน
สาร C ก็เกิดขึ้น จนกระทั่งสมบัติของระบบคงที่
ชนิดของปฏิกิริยาเคมี

   •   ปฏิกิริยาเนื้อเดียว (Homogeneous Reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่
       สารตั้งต้นทุกตัวในระบบอยู่ในสภาวะเดียวกัน หรือกลมกลืนเป็นเนื้อ
       เดียวกัน เช่น

 3H2(g) +N2(g)                           2NH3(g)

   •   ปฏิกิริยาเนื้อผสม (Heterogeneous Reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่
       สารตั้งต้นอยู่ต่างสภาวะกันหรือไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น

Mg(s) + 2HCl(aq)                         MgCl(aq) +H2(g)

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี


อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (rate of chemical reaction) หมายถึง ปริมาณ
ของสารใหม่ที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลาหรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ลด ลงใน
หนึ่งหน่วยเวลา
ชนิดของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

   •   อัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย (average rate) หมายถึง ปริมาณของสาร
       ใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในหนึ่งหน่วยเวลา
   •   อัตราการเกิดในปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่ง (instantaneous rate)
       หมายถึง ปริมาณของสารที่เกิดขึ้นขณะใดขณะหนึ่งในหนึ่งหน่วยเวลา
       ของช่วงนั้น ซึ่งมักจะหาได้จากค่าความชันของกราฟ
หน่วยของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
             ในแต่ละปฏิกิริยาเมื่อมีการหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีก็จะมี
หน่วยต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่นำามาหาอัตราการเกิดปฏิกิริยา ซึ่ง
หน่วยของอัตราการเกิดปฏิกิริยาก็คือหน่วยของปริมาณของสารที่เปลี่ยนแปลง
ในหนึ่งหน่วยเวลาที่ใช้ เช่น
             ถ้าเป็นสารละลายจะใช้หน่วยความเข้มข้น คือ โมลต่อลิตรต่อ
วินาที หรือโมล.ลิตร-1 วินาที-1 หรือ โมล/ลิตร.วินาที
             ถ้าเป็นก๊าซ จะใช้หน่วยปริมาตรคือลบ.ซม.ต่อวินาที หรือ
ลบ.ดม.วินาที หรือลิตรต่อวินาที
             ถ้าเป็นของแข็งจะใช้หน่วยนำ้าหนักคือกรัมต่อวินาที ซึ่งโดยทั่วไป
หน่วยที่ใช้กันมากคือเป็นโมล/ลิตร.วินาที



การหาอัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมี
การหาอัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมี สามารถหาได้จากสารทุกตัวในปฏิกิริยา แต่
มักจะใช้ตัวที่หาได้ง่ายและสะดวกเป็นหลัก ซึ่งจะมีวิธีวัดอัตราการเกิดเป็น
ปฏิกิริยาหลายอย่าง เช่น

   •   วัดจากปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้น
   •   วัด จากความเข้มข้นที่เปลี่ยนไป
   •   วัดจากปริมาณ สารที่เปลี่ยนไป
   •   วัดจากความเป็นกรด-เบสของ สารละลาย
   •   วัดจากความดันที่เปลี่ยนไป
   •   วัดจากตะกอนที่เกิดขึ้น
   •   วัดจาก การนำาไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป

เช่น การศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยา
Mg(s) + 2HCl(aq)                          MgCl 2 (aq) +H 2 (g)
จะได้ว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยา =       อัตราการลดลงของ Mg
                                   = 1/2 อัตราการลดลงของ HCl
                                   = อัตราการเกิดขึ้นของ MgCl 2
                                   = อัตราการเกิดขึ้นของ H2
ในที่นี้จะพบว่าการหา ปริมาตรของก๊าซ H2 ทีเกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลาจะง่าย
                                             ่
และสะดวกที่สุด
นอกจากนี้ ค.ศ. Guldberg และ Waag ได้ตั้ง Law of Mass Action (กฎ
อัตราเร็วของปฏิกิริยา) ซึ่งกล่าวว่า อัตราการเกิดของปฏิกิริยามีความสัมพันธ์
โดยตรงกับความเข้มข้นของสารที่เข้า ทำาปฏิกิริยา
ปฏิกิริยา                   aA +bB                        cC+dD


                           Rate = K[A]m[B]n
K        =          specific rate constant
m,n      =            อันดับของปฏิกิริยาในแง่ของสาร A และสาร B
m+n      =            อันดับของปฏิกิริยารวม
[A], [B] =            ความเข้มข้นของสาร

ซึ่งการหาค่า m และ n สามารถทำาได้ดังนี้

   •   ถ้าความเข้มข้นเพิ่ม ขึน 2 เท่า และอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 2 เท่า
                              ้
       ค่า m และ n จะเท่ากับ 1-->2m = 2 จะได้ m = 1
   •   ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 4 เท่า
       ค่า m และ n จะเท่ากับ 2-->2m =4 จะได้ m = 2
   •   ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 8 เท่า
       ค่า m และ n จะเท่ากับ 3-->2m = 8 จะได้ m = 3
   •   ถ้า ความเข้มข้นเพิ่มขึน 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 9 เท่า
                                ้
       ค่า m และ n จะเท่ากับ 2-->3m = 9 จะได้ m = 2
   •   ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 3 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง 27 เท่า
       ค่า m และ n จะเท่ากับ -3-->3m = 1/27 จะได้ m = -3

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาต่างๆจะเกิดเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้

   •   ธรรมชาติของสาร
   •   ความเข้มข้นของ สาร
   •   พืนที่ผิว
         ้
   •   อุณหภูมิ
   •   คะตะลิสต์
   •   ความดัน

ธรรมชาติของสาร
ธรรมชาติ ของสารจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กล่าวคือ ปฏิกิริยาจะ
เกิดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสาร เช่น

   •   สารที่ทำาปฏิกิริยาเป็นสารไอออนิกทั้งคู่ จะเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่าสารที่เป็น
       สารโคเวเลนต์
   •   สารที่ทำาปฏิกิริยเป็นก๊าซทั้งคู่ จะทำาปฏิกิริยาได้เร็วกว่าปฏิกิริยาที่สารอยู่
       ในสถานะที่ต่างกัน

ความเข้มข้น ของสาร
             ความเข้มข้นของสารจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เราวัด
ปริมาณของสารในสารละลายได้จากความเข้มข้นของสารที่เข้าทำาปฏิกิริยากัน
ดังนั้นในระหว่างเกิดปฏิกิริยาความเข้มข้นของสาร จึงเป็นสิ่งสำาคัญที่มีผลให้
ปฏิกิริยาเกิดเร็วหรือช้า
จากปฏิกิริยา ระหว่างกรดไฮโดรคลอริกกับโซเดียมไทโอ
ซัลเฟต(Na2S2O3)ปฏิกิริยา ที่เกิดขึนคือ
                                  ้
Na2S2O3+ 2HCl          2 NaCl +H2O +H2O +SO2 +S
เราศึกษาผลของความเข้มข้นที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาโดยการ เปลี่ยน
ความเข้มข้นของสารเป็น 2 ตอน คือ
            ตอนที่ 1 เปลี่ยนความเข้มข้นของ HCl เมื่อความเข้มข้นของ
Na2S2O3 คง ที่ จะพบว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยา (ตะกอนของกำามะถัน) เปลี่ยน
ไป
            ตอนที่ 2 เปลี่ยนความเข้มข้น Na2S2O3 เมื่อความเข้มข้นของ HCl
คงที่จะพบว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเปลี่ยนแปลง

จากการศึกษาทั้งสองตอนสรุปได้ว่า ปฏิกิริยานี้ความเข้มข้นของ Na2S2O3 และ
HCl จะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาทั้งสองสาร ซึ่งถ้าไม่ทำาการทดลองหรือ
ไม่มีข้อมูลมาให้จะไม่สามารถทราบได้ว่าสารตัวใดมี ผลต่ออัตราการเกิด
ปฏิกิริยา

พื้นที่ผิวของสาร
พืนที่ ผิวจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จากการศึกษามาแล้วเกี่ยวกับ
   ้
ปฏิกิริยาของโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริกจะ เกิดก๊าซ H2
จากการทดลองพบว่าเมื่อเปลี่ยนความยาวของลวด แมกนีเซียม อัตราการเกิด
ปกิกิริยาจะเพิ่มขึ้น ซึ่งถือว่าพื้นที่ผิวมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี พืนที่ผิว
                                                                            ้
จะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาในปฏิกิริยาเนื้อผสม (heterogeneous)
เท่านัน เช่น ปฏิกิริยาที่กล่าวมา
      ้
Mg(s) + 2HCl(aq)                             MgCl(aq) +H2(g) ถ้าทำาให้ลวด
แมกนีเซียมเป็นชิ้นเล็กๆจะพบว่าปฏิกิริยาจะเกิดเร็วกว่าลวด แมกนีเซียมที่เป็น
แผ่นหรือขดเป็นสปริง
อุณหภูมิ
อุณหภูมิจะมีผลต่อ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยทั่วไปพบว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
10 องศาเซลเซียสอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเร็วขึ้นประมาณ 2 เท่า ทั้งนี้ขนอยู่     ึ้
กับชนิดของปฏิกิริยา
จากการทดลองปฏิกิริยาระหว่างกรดออก ซาลิก (H2C2O4) กรดซัลฟิวริก
(H2SO4) และโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (KMnO4) เกิดปฏิกิริยาดังนี้
2KMnO4(aq) + 5H2C2O4(aq) +3H2SO4(aq)                                 K2SO4(aq)
+2MnSO4(aq) +8H2O(l) +10CO2(g)
พบ ว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อัตราการหายไปของสีม่วงแดงของ KMnO4 จะเร็ว
ขึ้น

คะตะลิสต์
คะ ตะลิสต์ (catalyst) หมายถึง สารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาทำาให้อัตราการเกิด
ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น โดยในขณะที่เกิดปฏิกิริยาตัวคะตะลิสต์จะมีการ
เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาแล้วจะได้กลับคืนมาในในขนาดและ
ปริมาณเดิม เช่น ในปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมโพแทสเซียมทาร์เตรต (NaKC4
H4O6) กับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์(H2O2) จะได้ก๊าซ O2 ถ้าใส่ CoCl2 (สีชมพู)
จะพบว่าปฏิกิริยานี้จะสลายตัวให้ก๊าซ O2 เร็วขึ้นและในระหว่างเกิดปฏิกิริยา จะ
พบว่า CoCl2 เปลี่ยนเป็นสีเขียว และเมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดจะได้สีชมพูกลับคืนมา
ปริมาณเท่าเดิม

ความดัน
     ความดันจะมีผลต่อปฏิกิริยาในกรณีปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับก๊าซ กล่าวคือ เมื่อ
เพิ่มความดันในโมเลกุลของก๊าซจะมีการชนกันมากขึ้นปฏิกิริยาจะมีอัตรา การ
เกิดเร็วขึ้น

การ อธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยา เคมีเกิดขึ้นได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามอธิบาย โดยใช้
แบบจำาลองของทฤษฎีการชนกันของโมเลกุล (Collision Theory) ซึ่งกล่าวว่า
ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออนุภาคของสารที่เข้าทำา ปฏิกิริยามาชนกัน เมื่อ
ชนกันแล้วถ้ามีพลังงานมากพอก็จะมีการจัดอะตอมใหม่ พันธะเดิมหมดไปเกิด
พันธะใหม่ได้สารใหม่ในปฏิกิริยา ตามหลักการนี้ปฏิกิริยาจะเกิดได้ง่ายเมื่อสาร
อยู่ในสถานะของเหลวและก๊าซ เนื่องจากอนุภาคเคลื่อนไหวได้ง่าย ซึ่งถ้าเป็น
ของแข็งต้องใช้ความดันช่วยบีบอัดให้อนุภาคเข้ามาชิดกัน
ตาม ทฤษฎีการชน อัตราเร็วของปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับจำานวนการการชนกันของ
สารต่อหน่วยเวลาและ จำานวนการชนที่จะเกิดปฏิกิริยา มิใช่ว่าการชนกันทุก
ครั้งต้องเกิดปฏิกิริยาเคมีแล้วให้สารใหม่เสมอไป อาจมีเพียง 1 ใน 1014 ครั้ง
เท่านันที่จะเกิดปฏิกิริยาได้ นอกจากนี้การเกิดปฏิกิริยาเคมีไม่เพียงแต่การชน
      ้
กั้นเท่านันจะต้องมี แฟกเตอร์อื่นด้วย จึงมีการใช้ทฤษฎีจลน์ของโมเลกุลเข้ามา
          ้
เสริมด้วย ซึ่งกล่าวว่า โมเลกุลของก๊าซมีการเคลื่อนไหวทุกขณะ แต่ละ
โมเลกุลเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วต่างกันบางโมเลกุลเคลื่อนที่ช้ามากทำา ให้มี
พลังงานจลน์ตำ่า บางโมเลกุลเคลื่อนที่เร็วทำาให้มีพลังงานจลน์สูง ดังนั้นในการ
ชนกันแล้วจะมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้โมเลกุลที่มาชนกันต้องมี พลังงานมากพอ
ซึ่งพลังงานอย่างตำ่าที่โมเลกุลต้องชนกันแล้วจะมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้ เรียกว่า
พลังงานกระตุ้น ( activation energy = Eac)
โดยสรุป ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีต้องมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ประการคือ

   •   จำานวนโมเลกุลต้องมากพอ
   •   ต้องมีการ ชนกัน
   •   ต้องมีพลังงานมากพออย่างน้อยเท่ากับ พลังงานกระตุ้นหรือพลังงานก่
       อกัมมันต์
   •   ต้อง มีทิศทางที่เหมาะสม

พลังงานกระตุ้นกับปฏิกิริยา เคมี
    พลังงานกระตุ้นเป็นพลังงานอย่างตำ่าที่โมเลกุลของสารจะต้องมีจึงจะเกิด
ปฏิกิริยาได้ ในปฏิกิริยาเคมีต่างกันจะมีค่าของพลังงานกระตุ้นต่างกัน กล่าวคือ
ปฏิกิริยาใดที่เกิดเร็วมากแสดงว่ามีค่าพลังงานกระตุ้นตำ่า ปฏิกิริยาใดที่เกิดช้า
แสดงว่ามีพลังงานกระตุ้นสูงมาก
     ในระหว่างที่เกิดเป็นปฏิกิริยาเคมีเมื่ออนุภาคมีการชนกันในทิศทางที่
เหมาะสม ทีจะเกิดปฏิกิริยาได้ ระยะเวลาหนึ่งสารตั้งต้นจะรวมตัวกันเกิดเป็น
             ่
สารชนิดหนึ่งที่ไม่เสถียรมีอายุ การเกิดสั้นมาก แล้วจะเกิดกสารใหม่ที่มีความ
เสถียรขึ้น เรียกว่า สารเชิงซ้อนถูกกระตุ้น (activated complex) ซึ่งเป็นสารที่
เกิดจากพันธะเคมีของสารตั้งต้นเริ่มจะคลายออกจากกันและพันธะ เคมีของ
สารใหม่จะเริ่มขึน เรียกสถานะนี้ว่า transition state ดังนั้นอนุภาคของสารตั้ง
                 ้
ต้นจะเกิดปฏิกิริยาได้อย่างน้อยจะต้องมีพลังงานสูง กว่าสภาวะอันนี้
    ในขณะทีเกิดปฏิกิริยาเคมี มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานของโมเลกุลของ
               ่
สารตั้งต้นเพราะมีการสลายพันธะเก่าและ สร้างพันธะใหม่ ถ้าสารใหม่ที่ได้มี
พลังงานตำ่ากว่าสารตั้งต้นเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาคายความร้อน แต่ถ้าสาร
ใหม่ที่ได้มีพลังงานสูงกว่าสารตั้งต้น จะเรียกว่า ปฏิกิริยาดูดความร้อน
    ในการอธิบายเกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาตามทฤษฎีการชนกันของ
โมเลกุลโดย พิจารณาพลังงานกระตุ้น สรุปได้ว่า

   •   พลังงาน กระตุน หมายถึง พลังงานอย่างตำ่าที่โมเลกุลของสารตั้งต้นจะ
                        ้
       ต้องมี จึงจะเกิดปฏิกิริยาได้
   •   พลังงานกระตุ้นส่วน ใหญ่เป็นพลังงานจลน์ ไม่เกี่ยวกับพลังงานสลาย
       พันธะ ซึ่งเป็นพลังงานศักย์
   •   ปฏิกิริยาหนึ่งๆ มีพลังงานกระตุ้นมากน้อยไม่เท่ากัน ค่านี้หาได้จากการ
       ทดลองและการคำานวณ
   •   ปฏิกิริยา ที่มี Eac ตำ่า จะเกิดเร็วกว่าปฏิกิริยาที่มี Eac สูง
   •   ค่า Eac ไม่เกี่ยวกับการดูดหรือคายความร้อนของปฏิกิริยา ปฏิกิริยาที่
       คายความร้อน อาจมีพลังงานกระตุ้นตำ่าหรือสูงก็ได้
   •   ผลต่างของค่า Ea จะเป็นตัวบอกความร้อนของปฏิกิริยา (           H)

 การเกิด ปฏิกิริยาเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงของสารที่ได้ผลิตภัณฑ์ของสารที่
แตกต่างจากสารเดิมโดยอาจ สังเกตจากการเปลี่ยนสีของสาร การเกิดตะกอน
หรือการเกิดกลิ่นใหม่
ทฤษฎี ทีใช้อธิบายปฏิกิริยาเคมี มีอยู่ 2 ทฤษฎี คือ
         ่

1. ทฤษฎีการชน (The Collision Theory) ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นได้ ก็
ต่อเมื่ออนุภาคของสารตั้งต้นต้องมาปะทะกันหรือมาชนกัน และการชนกันนั้นมี
ทั้งการชนที่ประสบผลสำาเร็จ ดังภาพ




                 แบบจำาลองการเกิดปฏิกริยาเคมีตาม ทฤษฎีการ
                                     ิ
2. ทฤษฎีแอกติเวเตดคอมเพลกซ์หรือทฤษฎีสภาวะทรานซิชัน (The
Activated Complex Theory or The Transition State Theory)
เป็นทฤษฎีที่ดัด แปลงมาจากทฤษฎีการชน โดยทฤษฎีนี้จะกล่าวถึงการชน
อย่างมีประสิทธิภาพของสารตั้งต้นในลักษณะที่ เหมาะสม โดยจะเกิดเป็น
สารประกอบใหม่ชั่วคราว ทีเรียกว่า สารเชิงซ้อนกัมมันต์ (Activated
                          ่
Complex) ซึ่งในระหว่างการเกิดสารชนิดนี้พนธะเคมีของสารตั้งต้นจะอ่อนลง
                                          ั
และเริ่มมีการสร้างพันธะใหม่ระหว่างคู่อะตอมที่เหมาะสม จนในที่สุดพันธะเก่า
จะถูกทำาลายลงอย่างสิ้นเชิง และจะมีพันธะใหม่ถูกสร้างขึ้นมาแทนที่ ดัง แบบ
จำาลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไปนี้




     แบบจำาลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีตาม ทฤษฎีแอกติเวเตดคอมเพลกซ์

 พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยา

ในการเกิดปฏิกิริยาของสารแต่ละ ปฏิกิริยานั้น ต้องมีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง
กับการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่ดูดพลังงานเข้าไปเพื่อสลายพันธะในสารตั้งต้น
ขั้นที่ 2 เป็นขั้นที่คายพลังงานออกมาเมื่อมีการสร้างพันธะในผลิตภัณฑ์

ดังนั้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ดังนี้

1. ปฏิกิริยาดูดความร้อน ( Endothermic reaction) เป็นปฏิกิริยาที่ดูด
พลังงานเข้าไปสลายพันธะมากกว่าที่คายออกมาเพื่อสร้าง พันธะ โดยใน
ปฏิกิริยาดูดความร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานตำ่ากว่าผลิตภัณฑ์ จึงทำาให้สิ่ง
แวดล้อมเย็นลง อุณหภูมิลดลง เมื่อเอามือสัมผัสภาชนะจะรู้สึกเย็น ดังภาพ

2. ปฏิกิริยาคายความร้อน ( Exothermic reaction) เป็นปฏิกิริยาที่ดูด
พลังงานเข้าไปสลายพันธะน้อยกว่าที่คายออกมาเพื่อสร้าง พันธะ โดยใน
ปฏิกิริยาคายความร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานสูงกว่าผลิตภัณฑ์ จึงให้
พลังงานความร้อนออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ทำาให้อุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อเอามือสัมผัส
ภาชนะจะรู้สึกร้อน ดังภาพ




                                     ............

 แผน ภูมิพลังงานของปฏิกิริยาดูดความร้อน .......แผนภูมิพลังงาน
                 ของปฏิกิริยาคายความร้อน




ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิด ปฏิกิริยา

1. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น กรณีที่สารตั้งต้นเป็นสารละลาย ถ้าสาร
ตั้งต้นมีความเข้มข้นมากจะเกิดเร็ว เนื่องจากตัวถูกละลายมีโอกาสชนกันมาก
ขึ้นบ่อยขึน ในทางตรงกันข้ามถ้าเราเพิ่มปริมาตรของสารละลายโดยความ
          ้
เข้มข้นเท่าเดิม อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเท่าเดิม




2. พื้นที่ผวสัมผัส กรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะเป็นของแข็ง สารที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสมากจะ
            ิ
ทำาปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น เนื่องจากสัมผัสกันมากขึ้น ใช้พิจารณากรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะ
ของแข็ง ดังภาพ
ความแตกต่างของ พื้นที่ผว
                                                  ิ

  3. ความดัน กรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะเป็นก๊าซ ถ้าความดันมากปริมาตรก็ลดลง และ
ปฏิกิริยาก็จะเกิดได้เร็ว เนื่องจากอนุภาคของสารมีโอกาสชนกันมากขึ้นบ่อยขึ้นในพื้นที่ที่
                                  จำากัดนั่นเอง ดังภาพ




4. อุณหภูมิ การที่อุณหภูมิของสารตั้งต้นเพิ่มขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่ม
ขึ้น เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โมเลกุลของสารในระบบจะมีพลังงานจลน์สูง
ขึ้นและมีการชนกันของโมเลกุลมากขึ้น




                  ปฏิกิริยา ที่อุณหภูมิตำ่า ปฏิกิริยาที่อุณหภูมิสูง



5. ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) หมายถึงสารเคมีที่ช่วยทำาให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็ว
ขึ้นเนื่องจากตัวเร่ง จะช่วยในการลดพลังงานกระตุ้นโดยช่วยปรับกลไกในการเกิด
ปฏิกิริยาให้เหมาะสม กว่าเดิม โดยจะเข้าไปช่วยตั้งแต่เริ่มปฏิกิริยาแต่เมื่อสิ้นสุดปฏิกิรยา
                                                                                      ิ
จะ กลับมาเป็นสารเดิม

6. ธรรมชาติของสาร เนื่องจากสารมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งแตกต่างกัน โดยปกติ
สารประกอบไอออนิกจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสารประกอบโควาเลนต์ ดังนั้นสารประกอบไอ
ออนิกจะเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่าสารประกอบโควาเลนต์
3210000000000000000

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

อัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมีJirapakorn Buapunna
 
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีSircom Smarnbua
 
บทที่ 6 อัตราการเกิดปฏิกิริยา
บทที่ 6 อัตราการเกิดปฏิกิริยาบทที่ 6 อัตราการเกิดปฏิกิริยา
บทที่ 6 อัตราการเกิดปฏิกิริยาoraneehussem
 
บทที่ 7 สมดุลเคมี
บทที่ 7 สมดุลเคมีบทที่ 7 สมดุลเคมี
บทที่ 7 สมดุลเคมีoraneehussem
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีweerabong
 
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยาSircom Smarnbua
 
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมีจลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมีnn ning
 
ใบความแนวคิดการเกิดปฏิกิริยา
ใบความแนวคิดการเกิดปฏิกิริยาใบความแนวคิดการเกิดปฏิกิริยา
ใบความแนวคิดการเกิดปฏิกิริยาyaowaluk
 
สื่อการสอน Chemical equilibrium
สื่อการสอน Chemical equilibriumสื่อการสอน Chemical equilibrium
สื่อการสอน Chemical equilibriumพัน พัน
 
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีืkanya pinyo
 
สมดุลเคมี
สมดุลเคมีสมดุลเคมี
สมดุลเคมีGesika
 

Was ist angesagt? (16)

อัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมี
 
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
บทที่ 6 อัตราการเกิดปฏิกิริยา
บทที่ 6 อัตราการเกิดปฏิกิริยาบทที่ 6 อัตราการเกิดปฏิกิริยา
บทที่ 6 อัตราการเกิดปฏิกิริยา
 
บทที่ 7 สมดุลเคมี
บทที่ 7 สมดุลเคมีบทที่ 7 สมดุลเคมี
บทที่ 7 สมดุลเคมี
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
2 กฎอัตราและอันดับของปฏิกิริยา
 
Bk
BkBk
Bk
 
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมีจลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
จลนศาสตร์เคมีและสมดุลเคมี
 
สมดุลเคมี
สมดุลเคมีสมดุลเคมี
สมดุลเคมี
 
ใบความแนวคิดการเกิดปฏิกิริยา
ใบความแนวคิดการเกิดปฏิกิริยาใบความแนวคิดการเกิดปฏิกิริยา
ใบความแนวคิดการเกิดปฏิกิริยา
 
สมดุลเคมี
สมดุลเคมีสมดุลเคมี
สมดุลเคมี
 
สื่อการสอน Chemical equilibrium
สื่อการสอน Chemical equilibriumสื่อการสอน Chemical equilibrium
สื่อการสอน Chemical equilibrium
 
chemical equilibrium
chemical equilibriumchemical equilibrium
chemical equilibrium
 
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
สมดุลเคมี
สมดุลเคมีสมดุลเคมี
สมดุลเคมี
 
Rate012
Rate012Rate012
Rate012
 

Andere mochten auch

Customercontactmanagementsystemweb2009 09-09-090910222632-phpapp02
Customercontactmanagementsystemweb2009 09-09-090910222632-phpapp02Customercontactmanagementsystemweb2009 09-09-090910222632-phpapp02
Customercontactmanagementsystemweb2009 09-09-090910222632-phpapp02pancurit
 
Spe 792 face to face class 1
Spe 792 face to face class 1Spe 792 face to face class 1
Spe 792 face to face class 1Judith Emerson
 
กมลชนก
กมลชนกกมลชนก
กมลชนกkamon369
 
Purcell Marian Honors Those Who Have Served: Veterans Day 2013
Purcell Marian Honors Those Who Have Served:  Veterans Day 2013Purcell Marian Honors Those Who Have Served:  Veterans Day 2013
Purcell Marian Honors Those Who Have Served: Veterans Day 2013Purcell Marian High School
 
Photo gallery
Photo galleryPhoto gallery
Photo galleryChailling
 
Makeup & hair before after
Makeup & hair before afterMakeup & hair before after
Makeup & hair before afterChailling
 
The Music of Dolphins
The Music of DolphinsThe Music of Dolphins
The Music of Dolphinssnowpea5789
 
Desarrollo del proyecto de aula
Desarrollo del proyecto de aulaDesarrollo del proyecto de aula
Desarrollo del proyecto de aulagaby
 
What works in schools marzano book review
What works in schools marzano book reviewWhat works in schools marzano book review
What works in schools marzano book reviewJudith Emerson
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีchemnpk
 

Andere mochten auch (17)

Sweden 2010
Sweden 2010Sweden 2010
Sweden 2010
 
Customercontactmanagementsystemweb2009 09-09-090910222632-phpapp02
Customercontactmanagementsystemweb2009 09-09-090910222632-phpapp02Customercontactmanagementsystemweb2009 09-09-090910222632-phpapp02
Customercontactmanagementsystemweb2009 09-09-090910222632-phpapp02
 
Blended Learning Update
Blended Learning UpdateBlended Learning Update
Blended Learning Update
 
Spe 792 face to face class 1
Spe 792 face to face class 1Spe 792 face to face class 1
Spe 792 face to face class 1
 
Parent present6 13
Parent present6 13Parent present6 13
Parent present6 13
 
กมลชนก
กมลชนกกมลชนก
กมลชนก
 
Purcell Marian Honors Those Who Have Served: Veterans Day 2013
Purcell Marian Honors Those Who Have Served:  Veterans Day 2013Purcell Marian Honors Those Who Have Served:  Veterans Day 2013
Purcell Marian Honors Those Who Have Served: Veterans Day 2013
 
Photo gallery
Photo galleryPhoto gallery
Photo gallery
 
Parent present11 13-final
Parent present11 13-finalParent present11 13-final
Parent present11 13-final
 
Makeup & hair before after
Makeup & hair before afterMakeup & hair before after
Makeup & hair before after
 
The Music of Dolphins
The Music of DolphinsThe Music of Dolphins
The Music of Dolphins
 
Purcell Marian Blended Learning
Purcell Marian Blended LearningPurcell Marian Blended Learning
Purcell Marian Blended Learning
 
Ae istoselides
Ae istoselidesAe istoselides
Ae istoselides
 
Blended learning2 14
Blended learning2 14Blended learning2 14
Blended learning2 14
 
Desarrollo del proyecto de aula
Desarrollo del proyecto de aulaDesarrollo del proyecto de aula
Desarrollo del proyecto de aula
 
What works in schools marzano book review
What works in schools marzano book reviewWhat works in schools marzano book review
What works in schools marzano book review
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 

Ähnlich wie 3210000000000000000

1แผนที่2
1แผนที่21แผนที่2
1แผนที่2yaowaluk
 
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมีweerabong
 
จลนศาสตร์เคมี (Kinetics Chemistry)
จลนศาสตร์เคมี (Kinetics Chemistry)จลนศาสตร์เคมี (Kinetics Chemistry)
จลนศาสตร์เคมี (Kinetics Chemistry)Dr.Woravith Chansuvarn
 
ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์Nanmoer Tunteng
 
กมลชนก
กมลชนกกมลชนก
กมลชนกBlovely123
 
สุปราณี ม.5
สุปราณี  ม.5สุปราณี  ม.5
สุปราณี ม.5bee255taiy
 
อดิศักดิ์
อดิศักดิ์อดิศักดิ์
อดิศักดิ์adiak11
 
อดิศักดิ์
อดิศักดิ์อดิศักดิ์
อดิศักดิ์adiak11
 
New เอกสาร microsoft word
New เอกสาร microsoft wordNew เอกสาร microsoft word
New เอกสาร microsoft wordOrathai Wongwan
 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีครูเสกสรรค์ สุวรรณสุข
 
สมดุลเคมีในสิ่งแวดล้อม
สมดุลเคมีในสิ่งแวดล้อมสมดุลเคมีในสิ่งแวดล้อม
สมดุลเคมีในสิ่งแวดล้อมKittivut Tantivuttiki
 
สมดุล
สมดุลสมดุล
สมดุลMuk52
 
สมดุลเคมี
สมดุลเคมีสมดุลเคมี
สมดุลเคมีpaknapa
 
สมดุลเคมี
สมดุลเคมีสมดุลเคมี
สมดุลเคมีpaknapa
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยา๘ มหิดล
อัตราการเกิดปฏิกิริยา๘ มหิดลอัตราการเกิดปฏิกิริยา๘ มหิดล
อัตราการเกิดปฏิกิริยา๘ มหิดลbuabun
 
รายงานเรียน
รายงานเรียนรายงานเรียน
รายงานเรียนtippawan61
 

Ähnlich wie 3210000000000000000 (20)

1แผนที่2
1แผนที่21แผนที่2
1แผนที่2
 
Rate3
Rate3Rate3
Rate3
 
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
 
Rate
RateRate
Rate
 
จลนศาสตร์เคมี (Kinetics Chemistry)
จลนศาสตร์เคมี (Kinetics Chemistry)จลนศาสตร์เคมี (Kinetics Chemistry)
จลนศาสตร์เคมี (Kinetics Chemistry)
 
ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์
 
กมลชนก
กมลชนกกมลชนก
กมลชนก
 
สุปราณี ม.5
สุปราณี  ม.5สุปราณี  ม.5
สุปราณี ม.5
 
อดิศักดิ์
อดิศักดิ์อดิศักดิ์
อดิศักดิ์
 
อดิศักดิ์
อดิศักดิ์อดิศักดิ์
อดิศักดิ์
 
New เอกสาร microsoft word
New เอกสาร microsoft wordNew เอกสาร microsoft word
New เอกสาร microsoft word
 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
สมดุลเคมีในสิ่งแวดล้อม
สมดุลเคมีในสิ่งแวดล้อมสมดุลเคมีในสิ่งแวดล้อม
สมดุลเคมีในสิ่งแวดล้อม
 
สมดุล
สมดุลสมดุล
สมดุล
 
สมดุลเคมี
สมดุลเคมีสมดุลเคมี
สมดุลเคมี
 
สมดุลเคมี
สมดุลเคมีสมดุลเคมี
สมดุลเคมี
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยา๘ มหิดล
อัตราการเกิดปฏิกิริยา๘ มหิดลอัตราการเกิดปฏิกิริยา๘ มหิดล
อัตราการเกิดปฏิกิริยา๘ มหิดล
 
Sheet rate
Sheet rateSheet rate
Sheet rate
 
รายงานเรียน
รายงานเรียนรายงานเรียน
รายงานเรียน
 
แก๊ส (Gases)
แก๊ส (Gases)แก๊ส (Gases)
แก๊ส (Gases)
 

3210000000000000000

  • 1. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยาเคมี หมายถึง การที่สารตั้งต้นเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์(สาร ใหม่) เมื่อเวลาผ่านไปปริมาณของสารตั้งต้นจะลดลงขณะที่ปริมาณสารใหม่จะ เพิ่มขึ้นจนในที่สุด ก. ปริมาณสารตั้งต้นหมดไป หรือเหลือสารใดสารหนึ่งและมีสารใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า ปฏิกิริยาเกิดสมบูรณ์ (ไม่เกิดสมดุลเคมี) เช่น A + B C จากปฏิกิริยาบอกได้ว่า A และ B หมดทั้งคู่หรือเหลือตัวใดตัวหนึ่ง ขณะเดียวกันจะมีสาร C เกิดขึน ้ ข. ปริมาณสารตั้งต้นยังเหลืออยู่(ทุกตัว) เกิดสารใหม่ขึ้นมา เรียกว่าปฏิกิริยา เกิดไม่สมบูรณ์(เกิดสมดุลเคมี) ซึ่งจะพบว่า ความเข้มข้นของสารในระบบจะ คงที่ (สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์) อาจจะเท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่าก็ได้ เช่น สมดุลของปฏิกิริยา A + B C จากปฏิกิริยาบอกได้ว่าทั้งสาร A และ B เหลืออยู่ทั้งคู่ ขณะเดียวกัน สาร C ก็เกิดขึ้น จนกระทั่งสมบัติของระบบคงที่ ชนิดของปฏิกิริยาเคมี • ปฏิกิริยาเนื้อเดียว (Homogeneous Reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่ สารตั้งต้นทุกตัวในระบบอยู่ในสภาวะเดียวกัน หรือกลมกลืนเป็นเนื้อ เดียวกัน เช่น 3H2(g) +N2(g) 2NH3(g) • ปฏิกิริยาเนื้อผสม (Heterogeneous Reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่ สารตั้งต้นอยู่ต่างสภาวะกันหรือไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น Mg(s) + 2HCl(aq) MgCl(aq) +H2(g) อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (rate of chemical reaction) หมายถึง ปริมาณ ของสารใหม่ที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลาหรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ลด ลงใน หนึ่งหน่วยเวลา ชนิดของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี • อัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย (average rate) หมายถึง ปริมาณของสาร ใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในหนึ่งหน่วยเวลา • อัตราการเกิดในปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่ง (instantaneous rate) หมายถึง ปริมาณของสารที่เกิดขึ้นขณะใดขณะหนึ่งในหนึ่งหน่วยเวลา ของช่วงนั้น ซึ่งมักจะหาได้จากค่าความชันของกราฟ
  • 2. หน่วยของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ในแต่ละปฏิกิริยาเมื่อมีการหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีก็จะมี หน่วยต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่นำามาหาอัตราการเกิดปฏิกิริยา ซึ่ง หน่วยของอัตราการเกิดปฏิกิริยาก็คือหน่วยของปริมาณของสารที่เปลี่ยนแปลง ในหนึ่งหน่วยเวลาที่ใช้ เช่น ถ้าเป็นสารละลายจะใช้หน่วยความเข้มข้น คือ โมลต่อลิตรต่อ วินาที หรือโมล.ลิตร-1 วินาที-1 หรือ โมล/ลิตร.วินาที ถ้าเป็นก๊าซ จะใช้หน่วยปริมาตรคือลบ.ซม.ต่อวินาที หรือ ลบ.ดม.วินาที หรือลิตรต่อวินาที ถ้าเป็นของแข็งจะใช้หน่วยนำ้าหนักคือกรัมต่อวินาที ซึ่งโดยทั่วไป หน่วยที่ใช้กันมากคือเป็นโมล/ลิตร.วินาที การหาอัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมี การหาอัตรา การเกิดปฏิกิริยาเคมี สามารถหาได้จากสารทุกตัวในปฏิกิริยา แต่ มักจะใช้ตัวที่หาได้ง่ายและสะดวกเป็นหลัก ซึ่งจะมีวิธีวัดอัตราการเกิดเป็น ปฏิกิริยาหลายอย่าง เช่น • วัดจากปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้น • วัด จากความเข้มข้นที่เปลี่ยนไป • วัดจากปริมาณ สารที่เปลี่ยนไป • วัดจากความเป็นกรด-เบสของ สารละลาย • วัดจากความดันที่เปลี่ยนไป • วัดจากตะกอนที่เกิดขึ้น • วัดจาก การนำาไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป เช่น การศึกษาอัตราการเกิดปฏิกิริยา Mg(s) + 2HCl(aq) MgCl 2 (aq) +H 2 (g) จะได้ว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยา = อัตราการลดลงของ Mg = 1/2 อัตราการลดลงของ HCl = อัตราการเกิดขึ้นของ MgCl 2 = อัตราการเกิดขึ้นของ H2 ในที่นี้จะพบว่าการหา ปริมาตรของก๊าซ H2 ทีเกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลาจะง่าย ่ และสะดวกที่สุด นอกจากนี้ ค.ศ. Guldberg และ Waag ได้ตั้ง Law of Mass Action (กฎ อัตราเร็วของปฏิกิริยา) ซึ่งกล่าวว่า อัตราการเกิดของปฏิกิริยามีความสัมพันธ์ โดยตรงกับความเข้มข้นของสารที่เข้า ทำาปฏิกิริยา ปฏิกิริยา aA +bB cC+dD Rate = K[A]m[B]n
  • 3. K = specific rate constant m,n = อันดับของปฏิกิริยาในแง่ของสาร A และสาร B m+n = อันดับของปฏิกิริยารวม [A], [B] = ความเข้มข้นของสาร ซึ่งการหาค่า m และ n สามารถทำาได้ดังนี้ • ถ้าความเข้มข้นเพิ่ม ขึน 2 เท่า และอัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 2 เท่า ้ ค่า m และ n จะเท่ากับ 1-->2m = 2 จะได้ m = 1 • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 4 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ 2-->2m =4 จะได้ m = 2 • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 8 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ 3-->2m = 8 จะได้ m = 3 • ถ้า ความเข้มข้นเพิ่มขึน 2 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น 9 เท่า ้ ค่า m และ n จะเท่ากับ 2-->3m = 9 จะได้ m = 2 • ถ้าความเข้มข้นเพิ่มขึ้น 3 เท่า แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง 27 เท่า ค่า m และ n จะเท่ากับ -3-->3m = 1/27 จะได้ m = -3 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยาต่างๆจะเกิดเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้ • ธรรมชาติของสาร • ความเข้มข้นของ สาร • พืนที่ผิว ้ • อุณหภูมิ • คะตะลิสต์ • ความดัน ธรรมชาติของสาร ธรรมชาติ ของสารจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กล่าวคือ ปฏิกิริยาจะ เกิดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสาร เช่น • สารที่ทำาปฏิกิริยาเป็นสารไอออนิกทั้งคู่ จะเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่าสารที่เป็น สารโคเวเลนต์ • สารที่ทำาปฏิกิริยเป็นก๊าซทั้งคู่ จะทำาปฏิกิริยาได้เร็วกว่าปฏิกิริยาที่สารอยู่ ในสถานะที่ต่างกัน ความเข้มข้น ของสาร ความเข้มข้นของสารจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เราวัด ปริมาณของสารในสารละลายได้จากความเข้มข้นของสารที่เข้าทำาปฏิกิริยากัน ดังนั้นในระหว่างเกิดปฏิกิริยาความเข้มข้นของสาร จึงเป็นสิ่งสำาคัญที่มีผลให้ ปฏิกิริยาเกิดเร็วหรือช้า จากปฏิกิริยา ระหว่างกรดไฮโดรคลอริกกับโซเดียมไทโอ
  • 4. ซัลเฟต(Na2S2O3)ปฏิกิริยา ที่เกิดขึนคือ ้ Na2S2O3+ 2HCl 2 NaCl +H2O +H2O +SO2 +S เราศึกษาผลของความเข้มข้นที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาโดยการ เปลี่ยน ความเข้มข้นของสารเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เปลี่ยนความเข้มข้นของ HCl เมื่อความเข้มข้นของ Na2S2O3 คง ที่ จะพบว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยา (ตะกอนของกำามะถัน) เปลี่ยน ไป ตอนที่ 2 เปลี่ยนความเข้มข้น Na2S2O3 เมื่อความเข้มข้นของ HCl คงที่จะพบว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเปลี่ยนแปลง จากการศึกษาทั้งสองตอนสรุปได้ว่า ปฏิกิริยานี้ความเข้มข้นของ Na2S2O3 และ HCl จะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาทั้งสองสาร ซึ่งถ้าไม่ทำาการทดลองหรือ ไม่มีข้อมูลมาให้จะไม่สามารถทราบได้ว่าสารตัวใดมี ผลต่ออัตราการเกิด ปฏิกิริยา พื้นที่ผิวของสาร พืนที่ ผิวจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จากการศึกษามาแล้วเกี่ยวกับ ้ ปฏิกิริยาของโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริกจะ เกิดก๊าซ H2 จากการทดลองพบว่าเมื่อเปลี่ยนความยาวของลวด แมกนีเซียม อัตราการเกิด ปกิกิริยาจะเพิ่มขึ้น ซึ่งถือว่าพื้นที่ผิวมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี พืนที่ผิว ้ จะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาในปฏิกิริยาเนื้อผสม (heterogeneous) เท่านัน เช่น ปฏิกิริยาที่กล่าวมา ้ Mg(s) + 2HCl(aq) MgCl(aq) +H2(g) ถ้าทำาให้ลวด แมกนีเซียมเป็นชิ้นเล็กๆจะพบว่าปฏิกิริยาจะเกิดเร็วกว่าลวด แมกนีเซียมที่เป็น แผ่นหรือขดเป็นสปริง อุณหภูมิ อุณหภูมิจะมีผลต่อ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยทั่วไปพบว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 10 องศาเซลเซียสอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเร็วขึ้นประมาณ 2 เท่า ทั้งนี้ขนอยู่ ึ้ กับชนิดของปฏิกิริยา จากการทดลองปฏิกิริยาระหว่างกรดออก ซาลิก (H2C2O4) กรดซัลฟิวริก (H2SO4) และโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (KMnO4) เกิดปฏิกิริยาดังนี้ 2KMnO4(aq) + 5H2C2O4(aq) +3H2SO4(aq) K2SO4(aq) +2MnSO4(aq) +8H2O(l) +10CO2(g) พบ ว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อัตราการหายไปของสีม่วงแดงของ KMnO4 จะเร็ว ขึ้น คะตะลิสต์ คะ ตะลิสต์ (catalyst) หมายถึง สารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาทำาให้อัตราการเกิด ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น โดยในขณะที่เกิดปฏิกิริยาตัวคะตะลิสต์จะมีการ เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาแล้วจะได้กลับคืนมาในในขนาดและ ปริมาณเดิม เช่น ในปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมโพแทสเซียมทาร์เตรต (NaKC4 H4O6) กับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์(H2O2) จะได้ก๊าซ O2 ถ้าใส่ CoCl2 (สีชมพู) จะพบว่าปฏิกิริยานี้จะสลายตัวให้ก๊าซ O2 เร็วขึ้นและในระหว่างเกิดปฏิกิริยา จะ
  • 5. พบว่า CoCl2 เปลี่ยนเป็นสีเขียว และเมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดจะได้สีชมพูกลับคืนมา ปริมาณเท่าเดิม ความดัน ความดันจะมีผลต่อปฏิกิริยาในกรณีปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับก๊าซ กล่าวคือ เมื่อ เพิ่มความดันในโมเลกุลของก๊าซจะมีการชนกันมากขึ้นปฏิกิริยาจะมีอัตรา การ เกิดเร็วขึ้น การ อธิบายการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยา เคมีเกิดขึ้นได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามอธิบาย โดยใช้ แบบจำาลองของทฤษฎีการชนกันของโมเลกุล (Collision Theory) ซึ่งกล่าวว่า ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออนุภาคของสารที่เข้าทำา ปฏิกิริยามาชนกัน เมื่อ ชนกันแล้วถ้ามีพลังงานมากพอก็จะมีการจัดอะตอมใหม่ พันธะเดิมหมดไปเกิด พันธะใหม่ได้สารใหม่ในปฏิกิริยา ตามหลักการนี้ปฏิกิริยาจะเกิดได้ง่ายเมื่อสาร อยู่ในสถานะของเหลวและก๊าซ เนื่องจากอนุภาคเคลื่อนไหวได้ง่าย ซึ่งถ้าเป็น ของแข็งต้องใช้ความดันช่วยบีบอัดให้อนุภาคเข้ามาชิดกัน ตาม ทฤษฎีการชน อัตราเร็วของปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับจำานวนการการชนกันของ สารต่อหน่วยเวลาและ จำานวนการชนที่จะเกิดปฏิกิริยา มิใช่ว่าการชนกันทุก ครั้งต้องเกิดปฏิกิริยาเคมีแล้วให้สารใหม่เสมอไป อาจมีเพียง 1 ใน 1014 ครั้ง เท่านันที่จะเกิดปฏิกิริยาได้ นอกจากนี้การเกิดปฏิกิริยาเคมีไม่เพียงแต่การชน ้ กั้นเท่านันจะต้องมี แฟกเตอร์อื่นด้วย จึงมีการใช้ทฤษฎีจลน์ของโมเลกุลเข้ามา ้ เสริมด้วย ซึ่งกล่าวว่า โมเลกุลของก๊าซมีการเคลื่อนไหวทุกขณะ แต่ละ โมเลกุลเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วต่างกันบางโมเลกุลเคลื่อนที่ช้ามากทำา ให้มี พลังงานจลน์ตำ่า บางโมเลกุลเคลื่อนที่เร็วทำาให้มีพลังงานจลน์สูง ดังนั้นในการ ชนกันแล้วจะมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้โมเลกุลที่มาชนกันต้องมี พลังงานมากพอ ซึ่งพลังงานอย่างตำ่าที่โมเลกุลต้องชนกันแล้วจะมีปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้ เรียกว่า พลังงานกระตุ้น ( activation energy = Eac) โดยสรุป ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีต้องมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ประการคือ • จำานวนโมเลกุลต้องมากพอ • ต้องมีการ ชนกัน • ต้องมีพลังงานมากพออย่างน้อยเท่ากับ พลังงานกระตุ้นหรือพลังงานก่ อกัมมันต์ • ต้อง มีทิศทางที่เหมาะสม พลังงานกระตุ้นกับปฏิกิริยา เคมี พลังงานกระตุ้นเป็นพลังงานอย่างตำ่าที่โมเลกุลของสารจะต้องมีจึงจะเกิด ปฏิกิริยาได้ ในปฏิกิริยาเคมีต่างกันจะมีค่าของพลังงานกระตุ้นต่างกัน กล่าวคือ ปฏิกิริยาใดที่เกิดเร็วมากแสดงว่ามีค่าพลังงานกระตุ้นตำ่า ปฏิกิริยาใดที่เกิดช้า แสดงว่ามีพลังงานกระตุ้นสูงมาก ในระหว่างที่เกิดเป็นปฏิกิริยาเคมีเมื่ออนุภาคมีการชนกันในทิศทางที่ เหมาะสม ทีจะเกิดปฏิกิริยาได้ ระยะเวลาหนึ่งสารตั้งต้นจะรวมตัวกันเกิดเป็น ่ สารชนิดหนึ่งที่ไม่เสถียรมีอายุ การเกิดสั้นมาก แล้วจะเกิดกสารใหม่ที่มีความ
  • 6. เสถียรขึ้น เรียกว่า สารเชิงซ้อนถูกกระตุ้น (activated complex) ซึ่งเป็นสารที่ เกิดจากพันธะเคมีของสารตั้งต้นเริ่มจะคลายออกจากกันและพันธะ เคมีของ สารใหม่จะเริ่มขึน เรียกสถานะนี้ว่า transition state ดังนั้นอนุภาคของสารตั้ง ้ ต้นจะเกิดปฏิกิริยาได้อย่างน้อยจะต้องมีพลังงานสูง กว่าสภาวะอันนี้ ในขณะทีเกิดปฏิกิริยาเคมี มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานของโมเลกุลของ ่ สารตั้งต้นเพราะมีการสลายพันธะเก่าและ สร้างพันธะใหม่ ถ้าสารใหม่ที่ได้มี พลังงานตำ่ากว่าสารตั้งต้นเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาคายความร้อน แต่ถ้าสาร ใหม่ที่ได้มีพลังงานสูงกว่าสารตั้งต้น จะเรียกว่า ปฏิกิริยาดูดความร้อน ในการอธิบายเกี่ยวกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาตามทฤษฎีการชนกันของ โมเลกุลโดย พิจารณาพลังงานกระตุ้น สรุปได้ว่า • พลังงาน กระตุน หมายถึง พลังงานอย่างตำ่าที่โมเลกุลของสารตั้งต้นจะ ้ ต้องมี จึงจะเกิดปฏิกิริยาได้ • พลังงานกระตุ้นส่วน ใหญ่เป็นพลังงานจลน์ ไม่เกี่ยวกับพลังงานสลาย พันธะ ซึ่งเป็นพลังงานศักย์ • ปฏิกิริยาหนึ่งๆ มีพลังงานกระตุ้นมากน้อยไม่เท่ากัน ค่านี้หาได้จากการ ทดลองและการคำานวณ • ปฏิกิริยา ที่มี Eac ตำ่า จะเกิดเร็วกว่าปฏิกิริยาที่มี Eac สูง • ค่า Eac ไม่เกี่ยวกับการดูดหรือคายความร้อนของปฏิกิริยา ปฏิกิริยาที่ คายความร้อน อาจมีพลังงานกระตุ้นตำ่าหรือสูงก็ได้ • ผลต่างของค่า Ea จะเป็นตัวบอกความร้อนของปฏิกิริยา ( H) การเกิด ปฏิกิริยาเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงของสารที่ได้ผลิตภัณฑ์ของสารที่ แตกต่างจากสารเดิมโดยอาจ สังเกตจากการเปลี่ยนสีของสาร การเกิดตะกอน หรือการเกิดกลิ่นใหม่ ทฤษฎี ทีใช้อธิบายปฏิกิริยาเคมี มีอยู่ 2 ทฤษฎี คือ ่ 1. ทฤษฎีการชน (The Collision Theory) ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นได้ ก็ ต่อเมื่ออนุภาคของสารตั้งต้นต้องมาปะทะกันหรือมาชนกัน และการชนกันนั้นมี ทั้งการชนที่ประสบผลสำาเร็จ ดังภาพ แบบจำาลองการเกิดปฏิกริยาเคมีตาม ทฤษฎีการ ิ
  • 7. 2. ทฤษฎีแอกติเวเตดคอมเพลกซ์หรือทฤษฎีสภาวะทรานซิชัน (The Activated Complex Theory or The Transition State Theory) เป็นทฤษฎีที่ดัด แปลงมาจากทฤษฎีการชน โดยทฤษฎีนี้จะกล่าวถึงการชน อย่างมีประสิทธิภาพของสารตั้งต้นในลักษณะที่ เหมาะสม โดยจะเกิดเป็น สารประกอบใหม่ชั่วคราว ทีเรียกว่า สารเชิงซ้อนกัมมันต์ (Activated ่ Complex) ซึ่งในระหว่างการเกิดสารชนิดนี้พนธะเคมีของสารตั้งต้นจะอ่อนลง ั และเริ่มมีการสร้างพันธะใหม่ระหว่างคู่อะตอมที่เหมาะสม จนในที่สุดพันธะเก่า จะถูกทำาลายลงอย่างสิ้นเชิง และจะมีพันธะใหม่ถูกสร้างขึ้นมาแทนที่ ดัง แบบ จำาลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไปนี้ แบบจำาลองการเกิดปฏิกิริยาเคมีตาม ทฤษฎีแอกติเวเตดคอมเพลกซ์ พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยา ในการเกิดปฏิกิริยาของสารแต่ละ ปฏิกิริยานั้น ต้องมีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กับการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่ดูดพลังงานเข้าไปเพื่อสลายพันธะในสารตั้งต้น ขั้นที่ 2 เป็นขั้นที่คายพลังงานออกมาเมื่อมีการสร้างพันธะในผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ดังนี้ 1. ปฏิกิริยาดูดความร้อน ( Endothermic reaction) เป็นปฏิกิริยาที่ดูด พลังงานเข้าไปสลายพันธะมากกว่าที่คายออกมาเพื่อสร้าง พันธะ โดยใน ปฏิกิริยาดูดความร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานตำ่ากว่าผลิตภัณฑ์ จึงทำาให้สิ่ง แวดล้อมเย็นลง อุณหภูมิลดลง เมื่อเอามือสัมผัสภาชนะจะรู้สึกเย็น ดังภาพ 2. ปฏิกิริยาคายความร้อน ( Exothermic reaction) เป็นปฏิกิริยาที่ดูด พลังงานเข้าไปสลายพันธะน้อยกว่าที่คายออกมาเพื่อสร้าง พันธะ โดยใน ปฏิกิริยาคายความร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานสูงกว่าผลิตภัณฑ์ จึงให้
  • 8. พลังงานความร้อนออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ทำาให้อุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อเอามือสัมผัส ภาชนะจะรู้สึกร้อน ดังภาพ ............ แผน ภูมิพลังงานของปฏิกิริยาดูดความร้อน .......แผนภูมิพลังงาน ของปฏิกิริยาคายความร้อน ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิด ปฏิกิริยา 1. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น กรณีที่สารตั้งต้นเป็นสารละลาย ถ้าสาร ตั้งต้นมีความเข้มข้นมากจะเกิดเร็ว เนื่องจากตัวถูกละลายมีโอกาสชนกันมาก ขึ้นบ่อยขึน ในทางตรงกันข้ามถ้าเราเพิ่มปริมาตรของสารละลายโดยความ ้ เข้มข้นเท่าเดิม อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเท่าเดิม 2. พื้นที่ผวสัมผัส กรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะเป็นของแข็ง สารที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสมากจะ ิ ทำาปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น เนื่องจากสัมผัสกันมากขึ้น ใช้พิจารณากรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะ ของแข็ง ดังภาพ
  • 9. ความแตกต่างของ พื้นที่ผว ิ 3. ความดัน กรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะเป็นก๊าซ ถ้าความดันมากปริมาตรก็ลดลง และ ปฏิกิริยาก็จะเกิดได้เร็ว เนื่องจากอนุภาคของสารมีโอกาสชนกันมากขึ้นบ่อยขึ้นในพื้นที่ที่ จำากัดนั่นเอง ดังภาพ 4. อุณหภูมิ การที่อุณหภูมิของสารตั้งต้นเพิ่มขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่ม ขึ้น เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โมเลกุลของสารในระบบจะมีพลังงานจลน์สูง ขึ้นและมีการชนกันของโมเลกุลมากขึ้น ปฏิกิริยา ที่อุณหภูมิตำ่า ปฏิกิริยาที่อุณหภูมิสูง 5. ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) หมายถึงสารเคมีที่ช่วยทำาให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็ว ขึ้นเนื่องจากตัวเร่ง จะช่วยในการลดพลังงานกระตุ้นโดยช่วยปรับกลไกในการเกิด ปฏิกิริยาให้เหมาะสม กว่าเดิม โดยจะเข้าไปช่วยตั้งแต่เริ่มปฏิกิริยาแต่เมื่อสิ้นสุดปฏิกิรยา ิ จะ กลับมาเป็นสารเดิม 6. ธรรมชาติของสาร เนื่องจากสารมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งแตกต่างกัน โดยปกติ สารประกอบไอออนิกจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสารประกอบโควาเลนต์ ดังนั้นสารประกอบไอ ออนิกจะเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่าสารประกอบโควาเลนต์