SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 12
Downloaden Sie, um offline zu lesen
153วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 : 00-00
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 : 00-00
การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่าย


ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
Design and Development of Constructivist Web-Based Learning
Environment Model To Enhance Creative Thinking for 


Higher Education Students

จารุณี ซามาตย์1
และสุมาลี ชัยเจริญ2
Charuni Samat,1
and Sumalee Chaijaroen2

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนว

คอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษา
สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 20 คน เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา
ระยะที่ 1 ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจ และการศึกษารายกรณี โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 5 ขั้น คือ
การศึกษาหลักการและทฤษฎี การศึกษาสภาพบริบท การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บน
เครือข่าย การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่าย และการประเมินประสิทธิภาพของโมเดลสิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้บนเครือข่าย การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการสรุปตีความโดยผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า 
โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับ
อุดมศึกษา มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้คือ สถานการณ์ปัญหา แหล่งการเรียนรู้ กรณีใกล้เคียง เครื่องมือทางปัญญา ห้องปฏิบัติ
การการคิดสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฐานการช่วยเหลือ และศูนย์ให้คำแนะนำ ประสิทธิภาพของโมเดล โดยโมเดล

มีประสิทธิภาพตามการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ผลการเรียนของผู้เรียน ด้านการคิดสร้างสรรค์ และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คำสำคัญ : การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ คอนสตรัคติวิสต์ การคิดสร้างสรรค์
1	
นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2	
Ph.D. (Educational Technology) รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

	 รับต้นฉบับ 18 กุมภาพันธ์ 2552 รับลงพิมพ์ 25 เมษายน 2552
154 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009
ABSTRACT
The purpose of this research was to design and develop the constructivist web-based learning
environment model to enhance creative thinking for higher education students. The target group
consisted of 20 second year Bachelor’s degree students who were studying in computer education major,
Faculty of Education, Khonkaen University, in the first semester. The methodology of research and
development was employed in this study. In phase 1 the activities included document analyses, surveys
and case studies. The research procedure was carried out through 5 steps: a study of the principles and
theories; a study of the context; a synthesis of designing framework of the constructivist web-based
learning environment model; designing and development of a constructivist web-based learning
environment model; and an evaluation of the efficiency of the constructivist web-based learning
environment model. The data analysis employed an interpretation and conclusion by the researcher. The
results revealed that: 
The constructivist web-based learning environment model to enhance creative thinking for
higher education students comprised 8 important components: problematic situations; learning sources;
related cases; mind tools; a creative thinking lab; collaboration; scaffolding; and coaching. In terms of
efficiency, the model had the efficiency in the aspect of expert reviews, the aspect of learners’ opinions,
the aspect of creative thinking: and the aspect of learning achievement.
Keywords: Design and development of learning environment model, Constructivism, Creative
thinking

บทนำ
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
และมีปัญหาใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นการพัฒนาคนให้
มีคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสุด ซึ่งกลไกพื้นฐานในการพัฒนา
คนที่สำคัญ ก็คือการศึกษา ดังเห็นได้จากแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550–2554 

ที่กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของการพัฒนาประเทศไทยว่า ”เป็นการ

พัฒนาคนที่มุ่งสู่คุณภาพในทุกด้าน โดยเฉพาะการเสริมสร้าง
ด้วยการพัฒนาให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่
เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนสามารถคิดเป็น ทำเป็น มีเหตุผล
มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต รู้เท่าทัน
โลกเพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง„ (สำนักงานคณะ

กรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550) 
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
ยังมีข้อด้อยอยู่หลายประการด้วยกัน โดยเฉพาะปัญหาของ
การเรียนการสอนที่ผู้เรียนต้องคอยรับความรู้จากผู้สอน และ
คิดตามผู้อื่นมากกว่าการคิดด้วยตนเอง หรือองค์ความรู้ที่
เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับสังคมนั้นก็ยังไม่เด่นชัดมาก
นัก (สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ, 2546) ดังนั้นวิธีการเรียนรู้เดิม
ที่ครูผู้สอนผูกขาดในการให้ความรู้จะต้องเปลี่ยนกระบวน
ทัศน์ใหม่ในลักษณะที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เองมากขึ้น โดยมี

ผู้สอนเป็นผู้ช่วยเหลืออำนวยความสะดวก (ไพฑูรย์ 

สินลารัตน์, 2544) จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ
คิดสร้างสรรค์มีข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ นักวิชาการศึกษา 

ที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีการคิดสร้างสรรค์

ด้านการปฏิบัติงานต่ำกว่าร้อยละ 50 ลงมา ถึงร้อยละ 65
(น้อย และประยุทธ ไทยธานี, 2541) นอกจากนี้ยังพบว่า 

ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสามารถต่ำลงในด้านกระบวนการคิด
สร้างสรรค์ นั่นก็แสดงให้เห็นว่าการสอนที่ส่งเสริมการคิด
สร้างสรรค์ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรและยังมี
155วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009
ความจำเป็นเร่งด่วนที่สถาบันการศึกษาต้องตระหนักคิดหาวิธี
การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (สำนักนายก
รัฐมนตรี, 2546)
จากสภาพการเรียนการสอนดังกล่าวมาข้างต้นจำเป็น
ต่อการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนา

ผู้เรียน คือ การสอนที่มุ่งทักษะการคิดในระดับสูง (สุมาลี 

ชัยเจริญและคณะ, 2547) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิด
สร้างสรรค์ ซึ่งสะท้อนได้จากพระราชบัญญัติการศึกษา

แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มีจุดเน้นในการพัฒนาคนที่รู้เท่าทันการ
เปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของโลก รวมถึงในมาตราที่ 24 

ที่ได้กำหนดแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนา
กระบวนการคิด การเผชิญกับสถานการณ์ และประยุกต์
ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ สอดคล้อง
กับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติได้ระบุมาตรฐานด้านผู้เรียน
ที่สถาบันการศึกษาต้องปลูกให้ผู้เรียนมี คือ ความสามารถใน
การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดวิจารณญาณ คิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และ มีวิสัยทัศน์ (สำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2550) ซึ่งการคิด
สร้างสรรค์เป็นความสามารถของมนุษย์ที่มีลักษณะเด่น คือ
การคิดได้หลายความคิดด้วยความเข้าใจ หรือเป็นความ
สามารถ ในการคิดแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เผชิญได้อย่าง
หลากหลายวิธี (Guilford, 1967) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนที่เข้าสู่การศึกษาระดับ
อุดมศึกษา ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มี
ความเจริญก้าวหน้าในอนาคต 
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับ
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาคอนสตรัคติวิสต์ที่
สนับสนุนให้ผู้เรียนสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยผ่าน
กระบวนการคิด ซึ่งเชื่อว่าความรู้เกิดจากประสบการณ์ และ
กระบวนการในการสร้างความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
ทางปัญญาของตนเองให้มีความสมดุล (สุมาลี ชัยเจริญ,
2550) ซึ่ง Guilford (1967) ได้เสนอแนะว่าการคิดสร้างสรรค์
นั้นสามารถส่งเสริมได้ด้วยวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด
แก้ปัญหาได้หลากหลายคำตอบที่เกิดจากการเรียนรู้ และจาก

การเชื่อมโยงประสบการณเดิมกับประสบการณใหมเขาดวยกัน 

และทําใหเกิดเปนผลงานหรือผลผลิตแบบใหม่ รวมถึงการ

คิดค้นวิธีการแก้ปัญหาให้สำเร็จ
หากพิจารณาถึงกระบวนการสร้างความรู้ตามแนว
คอนสรัคติวิสต์และการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็น
ได้ว่าการเรียนรู้บนเครือข่าย เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่มี
คุณลักษณะที่สนองตอบต่อกระบวนการดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง
คุณลักษณะของสื่อ และระบบสัญลักษณ์ของสื่อที่เอื้อในการ
จัดโครงสร้างข้อมูลและสารสนเทศในลักษณะของไฮเปอร์
มีเดีย ซึ่งมีทั้งข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และ
ไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของวิธีการเข้าถึงข้อมูลที่
เชื่อมโยงโหนดของความรู้จากแหล่งต่างๆที่มีอยู่อย่าง

ไม่จำกัดเข้าด้วยกัน เป็นการปูพื้นฐานความรู้ที่ช่วยสนับสนุน
ผู้เรียนในการสร้างความรู้อย่างมีประสิทธิภาพและขยาย
แนวคิดของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น (สุมาลี ชัยเจริญ, 2551) 

ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้การเรียนรู้บนเครือข่าย ผู้เรียนและผู้สอนยัง
สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้น 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนวิชาการวิเคราะห์และ
ออกแบบระบบ จากขอบข่ายเนื้อหาของรายวิชา พบว่า เป็น
วิชาที่มุ่งเน้นหลักการเกี่ยวกับการออกแบบฐานข้อมูลเชิง
สัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ โดยนำภาพและสัญลักษณ์มาเป็น

พื้นฐานในการออกแบบฐานข้อมูล หรือเขียนโปรแกรม เพื่อ
ให้สอดคล้องกับสภาพบริบทจริงตามความต้องการของผู้ใช้
งาน ดังนั้นผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์
ที่จะนำไปสู่การออกแบบ และปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อ
สร้างระบบฐานข้อมูลใหม่ ในบริบทที่แตกต่างกันได้อย่าง
เหมาะสม รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติที่ตรงตาม
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์
ศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีการคิดสร้างสรรค์ 

สร้างเหตุ สร้างผล สร้างจินตนาการ รู้จักวิธีการแก้ปัญหา
อย่างมีขั้นตอน และสามารถสร้างนวัตกรรมได้ (คู่มือบัณฑิต
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, 2547)
จากความสำคัญและความจำเป็นข้างต้น ผู้วิจัยจึง
สนใจที่จะออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
156 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009
บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิด
สร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา อันจะนำไปสู่การ
เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมๆ กับการส่งเสริมการคิด
สร้างสรรค์ของผู้เรียนและทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยี
ซึ่งจัดเป็นการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้พร้อมกับโลกยุค
ปัจจุบัน และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในการนำความรู้ที่
ได้รับไปใช้พัฒนาตนเองและวิชาชีพต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิด
สร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
ขอบเขตการวิจัย
ในกระบวนการออกแบบและพัฒนาโมเดลฯครั้งนี้

จะประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การศึกษาสภาพบริบท 

การสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี และกรอบแนวคิดใน
การออกแบบ การสร้างโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ รวมถึง
การประเมินประสิทธิภาพของโมเดลฯ

วิธีดำเนินการวิจัย
รูปแบบการวิจัยในการศึกษาในครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิง
พัฒนา ระยะที่ 1 แบบ Type II (Richey, R.C and Klein
J.D., 2007) ซึ่งประกอบด้วย วิธีการศึกษาหลายรูปแบบ
ได้แก่ การวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ 
กลุ่มเป้าหมาย 
1.	 ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
เพื่อตรวจสอบคุณภาพของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ
ได้แก่ ด้านเนื้อหาเพื่อตรวจสอบความตรงของเนื้อหา จำนวน
3 ท่าน ด้านการออกแบบการสอนเพื่อตรวจสอบคุณภาพการ
ออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ จำนวน 5 ท่าน ด้าน
สื่อเพื่อตรวจสอบคุณภาพของสื่อบนเครือข่าย จำนวน 5 ท่าน
และด้านประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
จำนวน 2 ท่าน 
2.	 นักศึกษา ประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 237 222 

การวิเคราะห์และออกแบบระบบ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2551 จำนวน 20 คน เพื่อทดลองเรียนด้วยโมเดลสิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้ฯ
เครื่องมือการวิจัย
1.	 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โมเดล

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ซึ่งมีกระบวนการในการพัฒนาดังนี้
การศึกษาหลักการ และทฤษฎี การศึกษาสภาพบริบท การ
สังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบโมเดลฯ การออกแบบ
และพัฒนาโมเดล และการประเมินประสิทธิภาพโมเดลฯ
2.	 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 
	 2.1	 แบบบันทึกการตรวจสอบและวิเคราะห์
เอกสาร เพื่อสร้างกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี สำหรับการพัฒนา
โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ 
	 2.2	 แบบบันทึกการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการ
ออกแบบ เพื่อสร้างกรอบแนวคิดการออกแบบ สำหรับการ
พัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ	 
	 2.3	 แบบประเมินโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
สำหรับผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านเนื้อหา ด้านสื่อบนเครือข่าย ด้านโมเดลสิ่งแวดล้อมการ
เรียนรู้ฯ และด้านประเมินผล
	 2.4	 แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ สร้างขึ้นโดยอาศัย
กรอบของ Guilford (1967) 4 ด้าน คือ การคิดคล่อง การคิด
ยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ
	 2.5	 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีลักษณะ
เป็นแบบอัตนัย พร้อมทั้งสร้างแนวทางการให้คะแนน ของ
ข้อสอบแต่ละข้อโดยกำหนดแนวทางการให้คะแนนที่บรรยาย
ถึงคุณภาพในภาพรวม ซึ่งประยุกต์มาจากแนวทางการให้
คะแนนแบบรูบริค (สมศักดิ์ ภู่วิดาวรรธน์, 2544 และ

รุ้งศิรินทร์ จันทร์หอม, 2545)
	 2.6	 แบบสำรวจความคิดเห็นผู้เรียน เกี่ยวกับ
การเรียนด้วยโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ที่มีลักษณะเป็น
คำถามปลายเปิด ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ เนื้อหา
การเรียนรู้บนเครือข่าย และการออกแบบที่ส่งเสริมการคิด
สร้างสรรค์ พร้อมทั้งเขียนแสดงเหตุผลและความคิดเห็น

เพิ่มเติม ตลอดจนข้อเสนอแนะอื่นๆ
157วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังมีราย
ละเอียดต่อไปนี้
1.	 การวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษา และวิเคราะห์
เกี่ยวกับ หลักการ ทฤษฎี เกี่ยวกับการออกแบบโมเดล

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย พื้นฐานด้านต่างๆ ดังนี้
จิตวิทยาการเรียนรู้ ศาสตร์การสอน การคิดสร้างสรรค์ สื่อ
เทคโนโลยี และบริบท เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการสังเคราะห์
กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีสำหรับการพัฒนาโมเดลฯ
2.	 ศึกษาสภาพบริบท เกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์ของ
ผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนทำแบบวัดการคิดสร้างสรรค์ตามกรอบ
คิดสร้างสรรค์ของ Guilford (1967) เพื่อศึกษาพื้นฐานเดิม
เกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่มีมาก่อน และนำผล
ดังกล่าวมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการ
เรียนรู้บนเครือข่ายฯ
3.	 สังเคราะห์กรอบแนวคิดในการออกแบบโมเดล


สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ โดยศึกษา วิเคราะห์พื้นฐาน หลักการ
ทฤษฎี งานวิจัย รวมทั้งการศึกษาสภาพบริบทเกี่ยวกับการคิด
สร้างสรรค์ของผู้เรียน และสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดการ
ออกแบบโมเดล 
4.	 สร้างโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ที่อาศัยพื้นฐาน
จากกรอบแนวคิดในการออกแบบโมเดลฯ
5.	 นำโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ เสนอผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อตรวจสอบคุณภาพ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินตาม
แบบประเมินสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านเนื้อหา
ด้านการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ด้านสื่อบน
เครือข่าย และด้านการวัดและประเมินผล และนำผลการ
ประเมินและข้อเสนอแนะเพื่อมาปรับปรุง
6.	 นำโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่าย
ทดลองใช้กับผู้เรียนในบริบทจริง เพื่อตรวจสอบคุณภาพและ
นำมาปรับปรุงแก้ไข โดยจัดแบ่งนักศึกษาจำนวน 20 คน 

ออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 2 คน จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 

3 คน จำนวน 2 กลุ่ม และกลุ่มละ 4 คนจำนวน 2 กลุ่ม เพื่อ
ประเมินประสิทธิภาพและปรับปรุงโมเดลให้มีความสมบูรณ์
โดยอาศัยพื้นฐานจากผลงานวิจัยของ สุมาลี ชัยเจริญ (2547)
และ สุชาติ วัฒนชัย (2550) และหลังจากเรียนด้วย

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายฯ ให้ผู้เรียนทำแบบสำรวจ
ความคิดเห็นของผู้เรียนฯ แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ และ
แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 
การวิเคราะห์ข้อมูล
1.	 การตรวจสอบคุณภาพของโมเดลโดยผู้เชี่ยวชาญ
ที่ได้มาจากแบบประเมินโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ที่มี
ลักษณะปลายเปิด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสรุป
ตีความ
2.	 ความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับโมเดลสิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้ฯ ที่ได้จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนที่มี
ลักษณะปลายเปิด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสรุป
ตีความ
3.	 การคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ที่ได้จากแบบวัดการ
คิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง
บรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
4.	 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้จากแบบทดสอบ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้รียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
สถิติเชิงบรรยาย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน

ผลการวิจัย
การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ฯ ในการศึกษาครั้งนี้
จะนำเสนอผลเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.	 องค์ประกอบของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ 

ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ สถานการณ์ ปัญหา แหล่ง
การเรียนรู้ กรณีใกล้เคียง เครื่องมือทางปัญญา แลกเปลี่ยน
เรียนรู้ ศูนย์ให้คำแนะนำ ห้องปฏิบัติการการการคิด
สร้างสรรค์ และฐานการช่วยเหลือ ซึ่งได้มาจากพื้นฐานเชิง
ทฤษฎีที่สำคัญ 6 พื้นฐาน คือ พื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้
ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม
ได้แก่ การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน และหลักการออกแบบ

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ พื้นฐานทาง
เทคโนโลยี ได้แก่ การเรียนบนเครือข่าย พื้นฐานทางบริบท
158 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009
ได้แก่ กรอบการผลิตบัณฑิต และสาระสำคัญของรายวิชาการ
วิเคราะห์และออกแบบระบบ พื้นฐานทางสื่อ ได้แก่ ระบบ
สัญลักษณ์ของสื่อ และพื้นฐานเกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์ 


ซึ่งจากการศึกษาสภาพบริบทเกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์ของ

ผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีการคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับต่ำ
แสดงให้เห็นว่าในการออกแบบโมเดลฯ จะต้องส่งเสริมให้

ผู้เรียนมีการคิดสร้างสรรค์ในทุกลักษณะได้แก่ การคิดคล่อง
การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ
จากข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้น
สามารถนำมาเป็นพื้นฐานในการสังเคราะห์กรอบแนวคิด 

ในการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ได้ดังนี้ 
1.	 การกระตุ้นโครงสร้างทางปัญญาและการคิด
สร้างสรรค์ มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ สถานการณ์ปัญหาที่

ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การคิดคล่อง 

การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ 
2.	 การสนับสนุนการปรับสมดุลทางปัญญาและ


การคิดสร้างสรรค์ มีองค์ประกอบ ที่สำคัญ คือ แหล่งการ
เรียนรู้ สนับสนุนการค้นพบจากการเสาะแสวงหาความรู้จาก
แหล่งต่างๆ กรณีใกล้เคียง เป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียน
สามารถถ่ายโยงการเรียนรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาในบริบท
นั้นๆ (Jonassen, 1999) 
3.	 การส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดสร้างสรรค์
มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการ
สนับสนุนให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขยายมุมมอง
ของการคิด และเกิดการคิดไตร่ตรอง ทั้งยังช่วยในการปรับ
เปลี่ยนและป้องกันการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เครื่องมือทาง
ปัญญา สนับสนุนการแก้ปัญหาของผู้เรียน ที่จะช่วยเหลือด้าน
ความสามารถของผู้เรียนในการปฏิบัติภารกิจการเรียนรู้โดย
อาศัยพื้นฐานจากการศึกษาของ Iiyoshi และ Hannafin
(1998) ห้องปฏิบัติการการคิดสร้างสรรค์ อาศัยพื้นฐานจาก
กรอบแนวคิดของ Guilford (1967) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มี
การคิดสร้างสรรค์ในด้านต่างๆได้แก่ การคิดคล่อง การคิดยืด
หยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ 
4.	 การช่วยเหลือและสนับสนุนการสร้างความรู้และ
การคิดสร้างสรรค์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ฐานการ


ช่วยเหลือ สนับสนุนผู้เรียนในการแก้ปัญหา ในกรณีที่

ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จด้วยตนเอง ซึ่งมีฐานการ

ช่วยเหลือ 5 ลักษณะ คือ ด้านการคิดรวบยอด ด้านการคิด
ด้านกระบวนการ ด้านกลยุทธ์ และด้านส่งเสริมการคิด
สร้างสรรค์ ศูนย์ให้คำแนะนำ เป็นการชี้แนะผู้เรียนในการ

แก้ปัญหา และกระตุ้นให้ผู้เรียนเสาะแสวงหาและค้นหา

ความรู้อย่างต่อเนื่อง (Hannafin, 1999) 
จากองค์ประกอบพื้นฐานดังกล่าวได้นำมาสร้างและ
พัฒนาเป็นสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนว

คอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา
ระดับอุดมศึกษา ดังภาพที่แสดงดังต่อไปนี้
ภาพที่ 1 แสดงหน้าหลักโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ
ภาพที่ 2 แสดงสถานการณ์ปัญหา (Problem base) 
ภาพที่ 3 แสดงแหล่งการเรียนรู้ (Resource)
159วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009
ภาพที่ 4 แสดงกรณีที่เกี่ยวข้อง (Related case)
ภาพที่ 5 แสดงเครื่องมือทางปัญญา (Mind tool)
ภาพที่ 6 แสดงห้องปฏิบัติการการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking lab) 
ภาพที่ 7 แสดงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Collaboration)
ภาพที่ 8 แสดงศูนย์ให้คำแนะนำ (Coaching) 
ภาพที่ 9 แสดงฐานความช่วยเหลือ (Scaffolding)
2.	 ประสิทธิภาพของโมเดล โดยอาศัยพื้นฐานกรอบ
แนวคิดการประเมินประสิทธิภาพของสิ่งแวดล้อมทางการ
เรียนรู้บนเครือข่าย ของสุมาลี ชัยเจริญ (2547) เพื่อยืนยัน
คุณภาพของโมเดลฯ ดังนี้ การประเมินด้านผลผลิต ซึ่งแบ่ง
ออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบโมเดล
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ และด้านการประเมินผล พบว่า 

มีความเหมาะสม การทำลองใช้เพื่อปรับปรุง พบว่า การจัด
จำนวนผู้เรียนต่อกลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ จำนวน 

3 คนต่อกลุ่ม การประเมินด้านความคิดเห็นของผู้เรียน ที่มี
ต่อโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ พบว่า ช่วยส่งเสริมและ
พัฒนาให้ผู้เรียนมีการคิดสร้างสรรค์และเป็นโอกาสให้ได้
เรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง การประเมินด้านความ
สามารถของผู้เรียน เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ พบว่า 

ผู้เรียนมีการคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 ลักษณะ คือ การคิดคล่อง
การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ และ
การประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน พบว่า
ผู้เรียนผ่านเกณฑ์ 70 % ที่ตั้งไว้
160 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009
อภิปรายผลการวิจัย
ผลการวิจัยมีประเด็นสำคัญนำมาอภิปรายผลดังนี้
จากผลการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนา
โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนว

คอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ฯ พบว่า 

มีองค์ประกอบที่สำคัญ 8 องค์ประกอบ คือ สถานการณ์
ปัญหา แหล่งการเรียนรู้ กรณีใกล้เคียง เครื่องมือทางปัญญา
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการคิดสร้างสรรค์ ศูนย์ให้

คำแนะนำ และฐานการช่วยเหลือ ผลที่ได้สอดคล้องกับ

การศึกษาของ Neo (2005); Kwon (2006); Tezci (2008); 

รังสฤษฏิ์ เวชสุวรรณ (2548); จักรินทร์ ศิลารัตน์ (2548);
สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ (2549; 2550; 2551) และสุชาติ
วัฒนาชัยและคณะ (2550) ที่ได้ศึกษาการออกแบบและ
พัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่อาศัยพื้นฐานจากทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้บนเครือข่าย แต่ในการศึกษา
ครั้งนี้ได้เพิ่มองค์ประกอบของโมเดลที่ส่งเสริมการคิด
สร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจสอบคุณภาพ

การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ 

มีประสิทธิภาพครบทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการ
ออกแบบที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วย
โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถใน
การคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การคิดคล่อง การคิด

ยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ ที่ผลการวิจัย
เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากการออกแบบและพัฒนาโมเดลที่มี
องค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ตามกรอบของ
Guilford ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วยคำสำคัญ (Key word)

ของการคิดคล่อง การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิด
ละเอียดลออ (Guilford,1967; Mumford, 2006) ซึ่งในการ
ออกแบบในครั้งนี้ได้นำคำสำคัญต่างๆ มาเป็นสารสนเทศ

พื้นฐานที่นำไปสู่การออกแบบโดยกำหนดภารกิจการเรียนรู้
ดังหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการผลการแก้ปัญหาตาม
ภารกิจในแต่ละสถานการณ์ปัญหา และในระหว่างการ

แก้ปัญหา ปรากฎว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด
สร้างสรรค์ ได้แก่ คิดคล่อง พบว่า ผู้เรียนสามารถบอก
สัญลักษณ์ในการออกแบบฐานข้อมูลมาได้มากที่สุดจำนวน
13 สัญลักษณ์ ในเวลา 5 นาที คิดยืดหยุ่น พบว่า ผู้เรียน
สามารถจำแนกตารางตามลักษณะของแอตทริบิวต์หลักและ
อธิบายวิธีจำแนกได้ คิดริเริ่ม พบว่า ผู้เรียนสามารถดัดแปลง
แก้ไขจากงานระบบฐานข้อมูลทะเบียนเดิม ให้อยู่ในรูปแบบ
ใหม่ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น และคิดละเอียดลออ พบว่า 

ผู้เรียนสามารถทดสอบการแปลงแผนภาพ E-R Diagram
เป็นตารางได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ รวมทั้งค่าคะแนน
ที่ได้จากแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าสูงขึ้นด้วย
นอกจากนี้โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ มีการ
ออกแบบที่เอื้อต่อการส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ ดังจะเห็นได้
จากองค์ประกอบของห้องปฏิบัติการคิดสร้างสรรค์ซึ่งภายใน
ห้องปฏิบัติการจะมีห้องย่อยๆ อีก 4 ห้องเพื่อส่งเสริมการคิด
สร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้าน ตามกรอบของ Guilford ได้แก่ ห้อง
ปฏิบัติการคิดคล่อง ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการคิดคล่อง โดยได้
ออกแบบให้ผู้เรียนสามารถจับคู่เพื่อบอกชื่อ และบอก

ความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการออกแบบฐานข้อมูล 

ดังตัวอย่างหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เรียน
ว่า ”ชอบห้อปฏิบัติการคิดคล่องเพราะสนุก คลายเครียดได้ค่ะ
เวลาเข้าไปจับคู่สัญลักษณ์กับความหมาย ช่วยในการนำไป

แก้ปัญหาในการใช้ในการเขียนแผนภาพต่างๆ ได้ และนำไป
เชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาในสถานการณ์ปัญหาในการเขียน
E-R diagram ได้ค่ะ„ จากหลักฐานเชิงประจักษ์และ

ข้อค้นพบจากงานวิจัยที่ศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า 

การออกแบบโมเดลฯ ได้สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้และ
พัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในการคิดคล่องด้าน
ถ้อยคำ ด้านความคิด และด้านการโยงความสัมพันธ์ได้ และ
ห้องปฏิบัติการคิดยืดหยุ่น ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการคิดยืดหยุ่น
โดยได้ออกแบบให้ผู้เรียนสามารถจำแนกและแสดงขั้นตอน
การทำตารางให้อยู่ในรูปบรรทัดฐาน ซึ่งผู้เรียนจะได้ใช้กฎการ
กำหนดมาตรฐาน ในการแปลง E-R Diagram และในห้อง
ปฏิบัติการมีเครื่องมือที่สนับสนุนการออกแบบ E-R
Diagram มีการสาธิตวิธีการ และการทดสอบวิธีการก่อนที่จะ
ลงมือปฏิบัติ ดังตัวอย่างหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการ
สัมภาษณ์ผู้เรียนว่า ”ห้องปฏิบัติการคิดยืดหยุ่นใช้วิเคราะห์
ปัญหา โดยลองทำ ตามมาตรฐานที่กำหนดจากภารกิจที่
161วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009
กำหนดให้ มีการสาธิตวิธีการทำ และสามารถทดลองทำ
แผนภาพมาตรฐานทำให้การจำแนก แยกแยะข้อมูล ที่มีความ
ซับซ้อนได้ค่ะ„ จากหลักฐานเชิงประจักษ์และข้อค้นพบจาก

งานวิจัยที่ศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การออกแบบ
โมเดลฯ สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้และพัฒนาการคิด
สร้างสรรค์ของผู้เรียนในการคิดยืดหยุ่นที่สามารถจำแนก
แยกแยะ และบอกความหมายได้ รวมทั้งแสดงขั้นตอน

การแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำภารกิจได้
นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการคิดริเริ่ม ที่มุ่งเน้นส่งเสริมด้าน

การคิดริเริ่ม โดยได้ออกแบบให้ผู้เรียนสามารถออกแบบ หรือ
ทำการดัดแปลง แก้ไข E-R Diagram ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และ
ในห้องปฏิบัติการมีเครื่องมือที่สนับสนุนการออกแบบ E-R
Diagram มีการสาธิตวิธีการ และการทดสอบวิธีการก่อนที่จะ
ลงมือปฏิบัติ ดังตัวอย่างหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการ
สัมภาษณ์ผู้เรียนว่า ”เข้าห้องปฏิบัติการคิดริเริ่มเพื่อวิเคราะห์

แผนภาพจากสถานการณ์ตัวอย่าง ช่วยให้เราสามารถเขียน
แผนภาพได้ถูกต้อง ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องและ

นำไปดัดแปลงเพื่อออกแบบใหม่ด้วยตนเองได้„ จากหลักฐาน

เชิงประจักษ์และข้อค้นพบจากงานวิจัยที่ศึกษาในครั้งนี้ แสดง
ให้เห็นว่า การออกแบบโมเดลฯ สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้และ
พัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในการคิดริเริ่มที่สามารถ
คิดออกแบบและสร้างสิ่งใหม่ โดยอาจนำความรู้เดิมมา
ดัดแปลงและประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่ หรือปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงแล้วประกอบขึ้นเป็นรูปแบบใหม่หรือสิ่งใหม่ที่มี
ความสมบูรณ์มากขึ้นได้ ตลอดจนห้องปฏิบัติการคิดละเอียด
ลออ ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการคิดละเอียดลออ โดยได้ออกแบบให้
ผู้เรียนสามารถคัดเลือกและตัดสินใจเพื่อใช้กฎ มาตรฐานใน
การเปลี่ยนรูปแบบ E-R Diagram ให้อยู่ในรูปตาราง เพื่อให้
ฐานข้อมูลมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และในห้องปฏิบัติการมี
เครื่องมือที่สนับสนุนการออกแบบ E-R Diagram มีการ
สาธิตวิธีการ และการทดสอบวิธีการก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ 

ดังตัวอย่างหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เรียน
ว่า ”เข้ามาใน ห้องปฏิบัติการคิดละเอียดละออ เพื่อเรียนรู้และ

ทดสอบการแปลงข้อมูลจาก E-R Diagram เป็นตาราง และ
ช่วยในการแจงข้อมูล ออกเป็นหมวดหมู่ค่ะ จะมีการอธิบาย
ขั้นตอนการทำอย่างละเอียด ช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น เวลาแก้
สถานการณ์ปัญหาทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นค่ะ„ จากหลักฐาน

เชิงประจักษ์และข้อค้นพบจากงานวิจัยที่ศึกษาในครั้งนี้ แสดง
ให้เห็นว่า การออกแบบโมเดลฯ สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้และ
พัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในการคิดละเอียดลออ 

ที่สามารถคิดที่จะสร้างโดยการคัดเลือกจากความคิดเก่าที่มี
การพัฒนาที่ชัดเจนขึ้นโดยการทดสอบเพื่อประกอบในการ
ตัดสินได้ จากดังกล่าวข้างต้น สนับสนุนแนวคิดของ Osborn
(1953) Terri (2005) และ Kwon (2006) ซึ่งได้อธิบายว่า 

การพัฒนาเทคนิควิธีการที่สอดคล้องกับการคิดสร้างสรรค์
เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเครื่องมือในการแก้ปัญหาและ
ภารกิจการเรียนรู้ นำไปสู่การสร้างความรู้ และส่งเสริมการคิด
สร้างสรรค์ของผู้เรียน และสอดคล้องกับงานวิจัยของ Neo
(2005) และสุชาติ วัฒนชัย (2550) ที่ได้ออกแบบสิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน

สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ที่ประกอบด้วย

องค์ประกอบที่สำคัญ คือ สถานการณ์ปัญหาแหล่งการเรียนรู้
กรณีใกล้เคียงเครื่องมือทางปัญญาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

ห้องปฏิบัติการการคิดสร้างสรรค์ ฐานการช่วยเหลือ และ

ศูนย์ให้คำแนะนำ สำหรับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ควร
ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพบริบทของผู้เรียน
สถานศึกษา เนื้อหาวิชาและคุณลักษณะของสื่อที่มีความ
เหมาะสม สำหรับประเด็นที่ควรพิจารณานำไปศึกษาต่อจาก
การวิจัยในครั้งนี้ คือ การศึกษากลไกการคิดสร้างสรรค์ของ

ผู้เรียน ผลของแต่ละองค์ประกอบในโมเดลฯ ที่ส่งเสริม
ศักยภาพการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น
สังคม เศรษฐกิจ สถานศึกษา ฯลฯ เพื่อที่จะได้นำมาออกแบบ
และพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ที่สอดคล้องกับ
สภาพบริบทไทย
162 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชัยเจริญ
กรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ที่ได้กรุณาตรวจแก้ไข รวมทั้ง
ให้ข้อเสนอแนะในการวิจัยและเขียนบทความนี้ให้แล้วเสร็จ
และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้ทุนอุดหนุน
การทำวิจัยในครั้งนี้

เอกสารอ้างอิง
จักรินทร์ ศิลารัตน์. (2549). ผลของการเรียนบนเครือข่ายที่
พัฒนาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องนวัตกร
รมทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี.
รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
น้อย และ ประยุทธ ไทยธานี. (2541). ผลของการฝึกการคิด
แบบหมวกหกใบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในการ
ปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษา ศูนย์พัฒนาหลักสูตร
กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. ปริญญานิพนธ์
กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). 
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2544). กรอบแนวคิดทางการอุดมศึกษา
ยุคใหม่. ค้นเมื่อ 15 มกราคม, 2551, จาก สำนักพัฒนา
วิชาการ online (http://www.academic.hcu.ac.th/
filepdf)
รุ้งศิรินทร์ จันทร์หอม. (2545). เอกสารประกอบวิชา
เทคโนโลยีร่วมสมัย. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา.
คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 
รังสฤษฏิ์ เวชสุวรรณ. (2548). ผลของมัลติมีเดียที่พัฒนา
ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ดาราศาสตร์
และอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับ


ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. (2547). คู่มือบัณฑิตสาขาวิชา
คอมพิวเตอร์ศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น. 
สุชาติ วัฒนชัย และคณะ (2550). รายงานการวิจัยฉบับ
สมบูรณ์ เรื่อง ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการ
เรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิด. รายงานการวิจัย โครงการวิจัย
ประเภทอุดหนุนทั่วไปมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2546). เอกสารประกอบวิชา
เทคโนโลยีร่วมสมัย. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา.
คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 
สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2547). รายงานการวิจัยฉบับ
สมบูรณ์ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยี


สารสนเทศ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
. (2550). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การพัฒ
นา โมเดลต้นแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือ
ข่ายที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวคอน
สตรัคติวิสต์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
. (2550). ศึกษาศักยภาพด้านการคิดของผู้เรียนที่เรียน


จากนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพด้านการคิด.
รายงานการวิจัย โครงการวิจัยประเภททุนอุดหนุนทั่วไป
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการ
ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
สมศักดิ์ ภู่วิดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
และการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: The
Knowledge Center.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผน


การศึกษาแห่งชาติ (2545-2559). กรุงเทพมหานคร: 

พริกหวานกราฟิก.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม


แห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร : 

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
ทบวงมหาวิทยาลัย. วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. 

(ออนไลน์) 2549 (อ้างเมื่อ13 ธันวาคม 2549). จาก
(http://www.uni.net.th/~02_2543)
163วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
(2550). การประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา
รอบที่ 2. (ออนไลน์) 2550 (อ้างเมื่อ 25 ธันวาคม2550).
จาก (http://www.onesqa.or.th/th/profile/)
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). รายงานสำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: 

พริกหวานกราฟิก.
Guilford. (1967). The Nature of Human Intelligence.
New York: McGraw-Hill. 
Iiyoshi&Hannafin. (1998). Cognitive tools for Open-
Ended learning Environments: Theoretical
and Implication Perspective. Paper presented
at the Annual Meeting of the American
Educational Research Association (San Diego,
CA, April 13-17).
Jonassen, David. (1999). Designing Constructivist
learning environments. In Charles, M.
Reigeluth, Intuitional Design Theories and
Models: A new Paradigm of Instructional
Theory Volume II. New Jersey : 
Kwon, Oh Nam. (2006). Cultivating Divergent
Thinking in Mathematics through an Open-
Ended Approach. Asia Pacific Education
Review, 7, 1. retrieved November 17, 2008, from
Education Research Institute.
Neo, Mai. (2005). Web-Enhance Learning: Engaging
Students in Constructivist Learning. Campus-
Wide Information System, 22, 1. retrieved
November 17, 2008, from Education Resource
Information Center.
Osborn, A. (1953). Applied Imagination. NY:
Scribner’s.
Richey, R. C., Klein, J. (2007). Design and
developmental research. New Jersey:
Lawrence Erlbaum Associates.
Terri R. Kurtzberg. (2005) Feeling Creative, Being
Creative: An Empirical Study of Diversity and
Creativity in Teams. Creativity Research
Journal, 17(1), 51-65
Tezci, Erdogan. (2008). The Study of Reliability and
Validity of Creative Materials. The Turkish
Online Journal of Educational Technology, 7,
1. retrieved November 30, 2008, from Education
Resources Information Center.
164 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552
Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)pairat13
 
หลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลางหลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลางsawitreesantawee
 
๐๖ การเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
๐๖ การเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก๐๖ การเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
๐๖ การเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอกphiphitthanawat
 
การเลือกและจัดเนื้อหา
การเลือกและจัดเนื้อหาการเลือกและจัดเนื้อหา
การเลือกและจัดเนื้อหาSurapong Khamjai
 
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551ดอกหญ้า ธรรมดา
 
Best ไม้เด็ดครู เรื่องที่ 1
Best ไม้เด็ดครู เรื่องที่ 1  Best ไม้เด็ดครู เรื่องที่ 1
Best ไม้เด็ดครู เรื่องที่ 1 Prasong Somarat
 
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวลงานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวลWichai Likitponrak
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการTwatchai Tangutairuang
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตAon Narinchoti
 
Best practices
Best practicesBest practices
Best practicesthkitiya
 
โครงการนิเทศภายในโรงเรียน
โครงการนิเทศภายในโรงเรียนโครงการนิเทศภายในโรงเรียน
โครงการนิเทศภายในโรงเรียนMontira Butyothee
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรtanongsak
 
วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรnakkee
 

Was ist angesagt? (20)

W 2
W 2W 2
W 2
 
นโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการ
นโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการนโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการ
นโยบาย สพฐ.ปีงบประมาณ 2558 มี 11 ประการ
 
งาน
งานงาน
งาน
 
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินรอบสาม(ระดับขั้นพื้นฐาน)
 
หลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลางหลักสูตรแกนกลาง
หลักสูตรแกนกลาง
 
๐๖ การเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
๐๖ การเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก๐๖ การเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
๐๖ การเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
 
การเลือกและจัดเนื้อหา
การเลือกและจัดเนื้อหาการเลือกและจัดเนื้อหา
การเลือกและจัดเนื้อหา
 
Qa 3
Qa 3Qa 3
Qa 3
 
วิชาการ
วิชาการวิชาการ
วิชาการ
 
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
การนำเสนอการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 2551
 
Best ไม้เด็ดครู เรื่องที่ 1
Best ไม้เด็ดครู เรื่องที่ 1  Best ไม้เด็ดครู เรื่องที่ 1
Best ไม้เด็ดครู เรื่องที่ 1
 
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวลงานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
งานวิจัยในชั้นเรียนวิตกกังวล
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการ
 
Best practice
Best practiceBest practice
Best practice
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริต
 
Best practices
Best practicesBest practices
Best practices
 
โครงการนิเทศภายในโรงเรียน
โครงการนิเทศภายในโรงเรียนโครงการนิเทศภายในโรงเรียน
โครงการนิเทศภายในโรงเรียน
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
 
วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตรวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
วิสัยทัศน์ของหลักสูตร
 

Andere mochten auch

ตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อsukanya5729
 
รวมบทคัดย่อโครงงานวิทย์
รวมบทคัดย่อโครงงานวิทย์รวมบทคัดย่อโครงงานวิทย์
รวมบทคัดย่อโครงงานวิทย์Jiraporn
 
A STUDY OF DRUG SUPPLY CHAIN MANAGEMENT SYSTEM BETWEEN PUBLIC AND PRIVATE HOS...
A STUDY OF DRUG SUPPLY CHAIN MANAGEMENT SYSTEM BETWEEN PUBLIC AND PRIVATE HOS...A STUDY OF DRUG SUPPLY CHAIN MANAGEMENT SYSTEM BETWEEN PUBLIC AND PRIVATE HOS...
A STUDY OF DRUG SUPPLY CHAIN MANAGEMENT SYSTEM BETWEEN PUBLIC AND PRIVATE HOS...Utai Sukviwatsirikul
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อChongnang Shosa
 
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องBenny BC
 
บทคัดย่อ รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดง
บทคัดย่อ  รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดงบทคัดย่อ  รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดง
บทคัดย่อ รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดงKrudachayphum Schoolnd
 
รวมนำเสนอบทที่11
รวมนำเสนอบทที่11รวมนำเสนอบทที่11
รวมนำเสนอบทที่11preeyanan28373
 
Guilford's theory of intelligence poster
Guilford's theory of intelligence posterGuilford's theory of intelligence poster
Guilford's theory of intelligence posterGrace Preston
 
Planiranje rada u školi 2014/15
Planiranje rada u školi 2014/15Planiranje rada u školi 2014/15
Planiranje rada u školi 2014/15Pogimnazija
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อnarinchoti
 
Structure of intelligence
Structure of intelligenceStructure of intelligence
Structure of intelligenceFrance Capareda
 

Andere mochten auch (17)

ตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อ
 
รวมบทคัดย่อโครงงานวิทย์
รวมบทคัดย่อโครงงานวิทย์รวมบทคัดย่อโครงงานวิทย์
รวมบทคัดย่อโครงงานวิทย์
 
A STUDY OF DRUG SUPPLY CHAIN MANAGEMENT SYSTEM BETWEEN PUBLIC AND PRIVATE HOS...
A STUDY OF DRUG SUPPLY CHAIN MANAGEMENT SYSTEM BETWEEN PUBLIC AND PRIVATE HOS...A STUDY OF DRUG SUPPLY CHAIN MANAGEMENT SYSTEM BETWEEN PUBLIC AND PRIVATE HOS...
A STUDY OF DRUG SUPPLY CHAIN MANAGEMENT SYSTEM BETWEEN PUBLIC AND PRIVATE HOS...
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 
บทคัดย่อ รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดง
บทคัดย่อ  รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดงบทคัดย่อ  รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดง
บทคัดย่อ รายงานการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนบ้านเนินดินแดง
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
Guilford
GuilfordGuilford
Guilford
 
บทคัดย่อ บทเรียนสำเร็จรูปคณิตศาสตร์
บทคัดย่อ บทเรียนสำเร็จรูปคณิตศาสตร์บทคัดย่อ บทเรียนสำเร็จรูปคณิตศาสตร์
บทคัดย่อ บทเรียนสำเร็จรูปคณิตศาสตร์
 
รวมนำเสนอบทที่11
รวมนำเสนอบทที่11รวมนำเสนอบทที่11
รวมนำเสนอบทที่11
 
Guilford theory
Guilford theoryGuilford theory
Guilford theory
 
บทคัดย่อ มัลติพอยท์เมาส์
บทคัดย่อ มัลติพอยท์เมาส์บทคัดย่อ มัลติพอยท์เมาส์
บทคัดย่อ มัลติพอยท์เมาส์
 
Guilford's theory of intelligence poster
Guilford's theory of intelligence posterGuilford's theory of intelligence poster
Guilford's theory of intelligence poster
 
Guilford
GuilfordGuilford
Guilford
 
Planiranje rada u školi 2014/15
Planiranje rada u školi 2014/15Planiranje rada u školi 2014/15
Planiranje rada u školi 2014/15
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
Structure of intelligence
Structure of intelligenceStructure of intelligence
Structure of intelligence
 

Ähnlich wie วิจัย

การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...
การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...
การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...Wichit Chawaha
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่Noppasorn Boonsena
 
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติPegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติTee Lek
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...Wera Supa CPC
 
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5mahaoath พระมหาโอ๊ท
 
Model of learning by social media
Model of learning by social mediaModel of learning by social media
Model of learning by social mediaKrit Chanthraphrom
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1Ailada_oa
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่Ailada_oa
 
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...Siriratbruce
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
File เพาะพันธุ์ปัญญา
File เพาะพันธุ์ปัญญาFile เพาะพันธุ์ปัญญา
File เพาะพันธุ์ปัญญาMonthon Sorakraikitikul
 
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา201700 chapter3
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา201700 chapter3มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา201700 chapter3
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา201700 chapter3Ptato Ok
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slidesharepaewwaew
 

Ähnlich wie วิจัย (20)

การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...
การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...
การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...
 
ครูมือใหม่
ครูมือใหม่ครูมือใหม่
ครูมือใหม่
 
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
 
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติPegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
 
Education psu
Education psuEducation psu
Education psu
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
 
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communi...
 
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
ค่ายต้นกล้า ครูพันธุ์ดี ครั้งที่ 5
 
Model of learning by social media
Model of learning by social mediaModel of learning by social media
Model of learning by social media
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่
 
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...
680 1377-1-pb the development of servant leadership for international school ...
 
20
2020
20
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
File เพาะพันธุ์ปัญญา
File เพาะพันธุ์ปัญญาFile เพาะพันธุ์ปัญญา
File เพาะพันธุ์ปัญญา
 
Ppt
PptPpt
Ppt
 
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา201700 chapter3
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา201700 chapter3มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา201700 chapter3
มุมมองทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา201700 chapter3
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 
Slideshare
SlideshareSlideshare
Slideshare
 

Mehr von KEDWADEE PAYUMRUNG

สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึก
สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึกสร้างไฟล์งานใหม่และบันทึก
สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึกKEDWADEE PAYUMRUNG
 
สร้างหนังสือพิมพ์
สร้างหนังสือพิมพ์สร้างหนังสือพิมพ์
สร้างหนังสือพิมพ์KEDWADEE PAYUMRUNG
 
สร้างปฏิทิน
สร้างปฏิทินสร้างปฏิทิน
สร้างปฏิทินKEDWADEE PAYUMRUNG
 
สร้างแผ่นพับ
สร้างแผ่นพับสร้างแผ่นพับ
สร้างแผ่นพับKEDWADEE PAYUMRUNG
 
การใช้งานเครื่องมือ Object
การใช้งานเครื่องมือ Objectการใช้งานเครื่องมือ Object
การใช้งานเครื่องมือ ObjectKEDWADEE PAYUMRUNG
 
สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึก
สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึกสร้างไฟล์งานใหม่และบันทึก
สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึกKEDWADEE PAYUMRUNG
 
ทำความรู้จักเครื่องมือต่างๆ
ทำความรู้จักเครื่องมือต่างๆทำความรู้จักเครื่องมือต่างๆ
ทำความรู้จักเครื่องมือต่างๆKEDWADEE PAYUMRUNG
 
ส่วนประกอบหน้าจอ
ส่วนประกอบหน้าจอส่วนประกอบหน้าจอ
ส่วนประกอบหน้าจอKEDWADEE PAYUMRUNG
 
การรู้ไอซีทีสาม
การรู้ไอซีทีสามการรู้ไอซีทีสาม
การรู้ไอซีทีสามKEDWADEE PAYUMRUNG
 

Mehr von KEDWADEE PAYUMRUNG (12)

สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึก
สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึกสร้างไฟล์งานใหม่และบันทึก
สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึก
 
สร้างหนังสือพิมพ์
สร้างหนังสือพิมพ์สร้างหนังสือพิมพ์
สร้างหนังสือพิมพ์
 
สร้างปฏิทิน
สร้างปฏิทินสร้างปฏิทิน
สร้างปฏิทิน
 
บัตรเชิญ
บัตรเชิญบัตรเชิญ
บัตรเชิญ
 
สร้างแผ่นพับ
สร้างแผ่นพับสร้างแผ่นพับ
สร้างแผ่นพับ
 
การใช้งานเครื่องมือ Object
การใช้งานเครื่องมือ Objectการใช้งานเครื่องมือ Object
การใช้งานเครื่องมือ Object
 
สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึก
สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึกสร้างไฟล์งานใหม่และบันทึก
สร้างไฟล์งานใหม่และบันทึก
 
ทำความรู้จักเครื่องมือต่างๆ
ทำความรู้จักเครื่องมือต่างๆทำความรู้จักเครื่องมือต่างๆ
ทำความรู้จักเครื่องมือต่างๆ
 
ส่วนประกอบหน้าจอ
ส่วนประกอบหน้าจอส่วนประกอบหน้าจอ
ส่วนประกอบหน้าจอ
 
การรู้ไอซีทีสาม
การรู้ไอซีทีสามการรู้ไอซีทีสาม
การรู้ไอซีทีสาม
 
Photoshop&animation
Photoshop&animationPhotoshop&animation
Photoshop&animation
 
228-8 /231-9
228-8 /231-9228-8 /231-9
228-8 /231-9
 

วิจัย

  • 1. 153วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 : 00-00 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 : 00-00 การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา Design and Development of Constructivist Web-Based Learning Environment Model To Enhance Creative Thinking for Higher Education Students จารุณี ซามาตย์1 และสุมาลี ชัยเจริญ2 Charuni Samat,1 and Sumalee Chaijaroen2 บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนว คอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษา สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 20 คน เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ระยะที่ 1 ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจ และการศึกษารายกรณี โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 5 ขั้น คือ การศึกษาหลักการและทฤษฎี การศึกษาสภาพบริบท การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บน เครือข่าย การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่าย และการประเมินประสิทธิภาพของโมเดลสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้บนเครือข่าย การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการสรุปตีความโดยผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับ อุดมศึกษา มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้คือ สถานการณ์ปัญหา แหล่งการเรียนรู้ กรณีใกล้เคียง เครื่องมือทางปัญญา ห้องปฏิบัติ การการคิดสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฐานการช่วยเหลือ และศูนย์ให้คำแนะนำ ประสิทธิภาพของโมเดล โดยโมเดล มีประสิทธิภาพตามการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ผลการเรียนของผู้เรียน ด้านการคิดสร้างสรรค์ และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คำสำคัญ : การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ คอนสตรัคติวิสต์ การคิดสร้างสรรค์ 1 นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 Ph.D. (Educational Technology) รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับต้นฉบับ 18 กุมภาพันธ์ 2552 รับลงพิมพ์ 25 เมษายน 2552
  • 2. 154 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 ABSTRACT The purpose of this research was to design and develop the constructivist web-based learning environment model to enhance creative thinking for higher education students. The target group consisted of 20 second year Bachelor’s degree students who were studying in computer education major, Faculty of Education, Khonkaen University, in the first semester. The methodology of research and development was employed in this study. In phase 1 the activities included document analyses, surveys and case studies. The research procedure was carried out through 5 steps: a study of the principles and theories; a study of the context; a synthesis of designing framework of the constructivist web-based learning environment model; designing and development of a constructivist web-based learning environment model; and an evaluation of the efficiency of the constructivist web-based learning environment model. The data analysis employed an interpretation and conclusion by the researcher. The results revealed that: The constructivist web-based learning environment model to enhance creative thinking for higher education students comprised 8 important components: problematic situations; learning sources; related cases; mind tools; a creative thinking lab; collaboration; scaffolding; and coaching. In terms of efficiency, the model had the efficiency in the aspect of expert reviews, the aspect of learners’ opinions, the aspect of creative thinking: and the aspect of learning achievement. Keywords: Design and development of learning environment model, Constructivism, Creative thinking บทนำ สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีปัญหาใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นการพัฒนาคนให้ มีคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสุด ซึ่งกลไกพื้นฐานในการพัฒนา คนที่สำคัญ ก็คือการศึกษา ดังเห็นได้จากแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550–2554 ที่กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของการพัฒนาประเทศไทยว่า ”เป็นการ พัฒนาคนที่มุ่งสู่คุณภาพในทุกด้าน โดยเฉพาะการเสริมสร้าง ด้วยการพัฒนาให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่ เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนสามารถคิดเป็น ทำเป็น มีเหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต รู้เท่าทัน โลกเพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง„ (สำนักงานคณะ กรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ยังมีข้อด้อยอยู่หลายประการด้วยกัน โดยเฉพาะปัญหาของ การเรียนการสอนที่ผู้เรียนต้องคอยรับความรู้จากผู้สอน และ คิดตามผู้อื่นมากกว่าการคิดด้วยตนเอง หรือองค์ความรู้ที่ เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับสังคมนั้นก็ยังไม่เด่นชัดมาก นัก (สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ, 2546) ดังนั้นวิธีการเรียนรู้เดิม ที่ครูผู้สอนผูกขาดในการให้ความรู้จะต้องเปลี่ยนกระบวน ทัศน์ใหม่ในลักษณะที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เองมากขึ้น โดยมี ผู้สอนเป็นผู้ช่วยเหลืออำนวยความสะดวก (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2544) จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ คิดสร้างสรรค์มีข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ นักวิชาการศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีการคิดสร้างสรรค์ ด้านการปฏิบัติงานต่ำกว่าร้อยละ 50 ลงมา ถึงร้อยละ 65 (น้อย และประยุทธ ไทยธานี, 2541) นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสามารถต่ำลงในด้านกระบวนการคิด สร้างสรรค์ นั่นก็แสดงให้เห็นว่าการสอนที่ส่งเสริมการคิด สร้างสรรค์ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรและยังมี
  • 3. 155วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 ความจำเป็นเร่งด่วนที่สถาบันการศึกษาต้องตระหนักคิดหาวิธี การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (สำนักนายก รัฐมนตรี, 2546) จากสภาพการเรียนการสอนดังกล่าวมาข้างต้นจำเป็น ต่อการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนา ผู้เรียน คือ การสอนที่มุ่งทักษะการคิดในระดับสูง (สุมาลี ชัยเจริญและคณะ, 2547) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิด สร้างสรรค์ ซึ่งสะท้อนได้จากพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มีจุดเน้นในการพัฒนาคนที่รู้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของโลก รวมถึงในมาตราที่ 24 ที่ได้กำหนดแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนา กระบวนการคิด การเผชิญกับสถานการณ์ และประยุกต์ ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ สอดคล้อง กับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติได้ระบุมาตรฐานด้านผู้เรียน ที่สถาบันการศึกษาต้องปลูกให้ผู้เรียนมี คือ ความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดวิจารณญาณ คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และ มีวิสัยทัศน์ (สำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2550) ซึ่งการคิด สร้างสรรค์เป็นความสามารถของมนุษย์ที่มีลักษณะเด่น คือ การคิดได้หลายความคิดด้วยความเข้าใจ หรือเป็นความ สามารถ ในการคิดแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เผชิญได้อย่าง หลากหลายวิธี (Guilford, 1967) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนที่เข้าสู่การศึกษาระดับ อุดมศึกษา ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มี ความเจริญก้าวหน้าในอนาคต จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับ แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาคอนสตรัคติวิสต์ที่ สนับสนุนให้ผู้เรียนสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยผ่าน กระบวนการคิด ซึ่งเชื่อว่าความรู้เกิดจากประสบการณ์ และ กระบวนการในการสร้างความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ทางปัญญาของตนเองให้มีความสมดุล (สุมาลี ชัยเจริญ, 2550) ซึ่ง Guilford (1967) ได้เสนอแนะว่าการคิดสร้างสรรค์ นั้นสามารถส่งเสริมได้ด้วยวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด แก้ปัญหาได้หลากหลายคำตอบที่เกิดจากการเรียนรู้ และจาก การเชื่อมโยงประสบการณเดิมกับประสบการณใหมเขาดวยกัน และทําใหเกิดเปนผลงานหรือผลผลิตแบบใหม่ รวมถึงการ คิดค้นวิธีการแก้ปัญหาให้สำเร็จ หากพิจารณาถึงกระบวนการสร้างความรู้ตามแนว คอนสรัคติวิสต์และการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็น ได้ว่าการเรียนรู้บนเครือข่าย เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่มี คุณลักษณะที่สนองตอบต่อกระบวนการดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง คุณลักษณะของสื่อ และระบบสัญลักษณ์ของสื่อที่เอื้อในการ จัดโครงสร้างข้อมูลและสารสนเทศในลักษณะของไฮเปอร์ มีเดีย ซึ่งมีทั้งข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และ ไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของวิธีการเข้าถึงข้อมูลที่ เชื่อมโยงโหนดของความรู้จากแหล่งต่างๆที่มีอยู่อย่าง ไม่จำกัดเข้าด้วยกัน เป็นการปูพื้นฐานความรู้ที่ช่วยสนับสนุน ผู้เรียนในการสร้างความรู้อย่างมีประสิทธิภาพและขยาย แนวคิดของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น (สุมาลี ชัยเจริญ, 2551) ซึ่งสนับสนุนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การเรียนรู้บนเครือข่าย ผู้เรียนและผู้สอนยัง สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนวิชาการวิเคราะห์และ ออกแบบระบบ จากขอบข่ายเนื้อหาของรายวิชา พบว่า เป็น วิชาที่มุ่งเน้นหลักการเกี่ยวกับการออกแบบฐานข้อมูลเชิง สัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ โดยนำภาพและสัญลักษณ์มาเป็น พื้นฐานในการออกแบบฐานข้อมูล หรือเขียนโปรแกรม เพื่อ ให้สอดคล้องกับสภาพบริบทจริงตามความต้องการของผู้ใช้ งาน ดังนั้นผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ที่จะนำไปสู่การออกแบบ และปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อ สร้างระบบฐานข้อมูลใหม่ ในบริบทที่แตกต่างกันได้อย่าง เหมาะสม รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติที่ตรงตาม คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีการคิดสร้างสรรค์ สร้างเหตุ สร้างผล สร้างจินตนาการ รู้จักวิธีการแก้ปัญหา อย่างมีขั้นตอน และสามารถสร้างนวัตกรรมได้ (คู่มือบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, 2547) จากความสำคัญและความจำเป็นข้างต้น ผู้วิจัยจึง สนใจที่จะออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
  • 4. 156 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิด สร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา อันจะนำไปสู่การ เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมๆ กับการส่งเสริมการคิด สร้างสรรค์ของผู้เรียนและทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจัดเป็นการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้พร้อมกับโลกยุค ปัจจุบัน และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในการนำความรู้ที่ ได้รับไปใช้พัฒนาตนเองและวิชาชีพต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการคิด สร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ขอบเขตการวิจัย ในกระบวนการออกแบบและพัฒนาโมเดลฯครั้งนี้ จะประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การศึกษาสภาพบริบท การสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี และกรอบแนวคิดใน การออกแบบ การสร้างโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ รวมถึง การประเมินประสิทธิภาพของโมเดลฯ วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบการวิจัยในการศึกษาในครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิง พัฒนา ระยะที่ 1 แบบ Type II (Richey, R.C and Klein J.D., 2007) ซึ่งประกอบด้วย วิธีการศึกษาหลายรูปแบบ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมาย 1. ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ได้แก่ ด้านเนื้อหาเพื่อตรวจสอบความตรงของเนื้อหา จำนวน 3 ท่าน ด้านการออกแบบการสอนเพื่อตรวจสอบคุณภาพการ ออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ จำนวน 5 ท่าน ด้าน สื่อเพื่อตรวจสอบคุณภาพของสื่อบนเครือข่าย จำนวน 5 ท่าน และด้านประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ จำนวน 2 ท่าน 2. นักศึกษา ประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 237 222 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 20 คน เพื่อทดลองเรียนด้วยโมเดลสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ฯ เครื่องมือการวิจัย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โมเดล สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ซึ่งมีกระบวนการในการพัฒนาดังนี้ การศึกษาหลักการ และทฤษฎี การศึกษาสภาพบริบท การ สังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบโมเดลฯ การออกแบบ และพัฒนาโมเดล และการประเมินประสิทธิภาพโมเดลฯ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1 แบบบันทึกการตรวจสอบและวิเคราะห์ เอกสาร เพื่อสร้างกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี สำหรับการพัฒนา โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ 2.2 แบบบันทึกการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการ ออกแบบ เพื่อสร้างกรอบแนวคิดการออกแบบ สำหรับการ พัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ 2.3 แบบประเมินโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ สำหรับผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านเนื้อหา ด้านสื่อบนเครือข่าย ด้านโมเดลสิ่งแวดล้อมการ เรียนรู้ฯ และด้านประเมินผล 2.4 แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ สร้างขึ้นโดยอาศัย กรอบของ Guilford (1967) 4 ด้าน คือ การคิดคล่อง การคิด ยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ 2.5 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีลักษณะ เป็นแบบอัตนัย พร้อมทั้งสร้างแนวทางการให้คะแนน ของ ข้อสอบแต่ละข้อโดยกำหนดแนวทางการให้คะแนนที่บรรยาย ถึงคุณภาพในภาพรวม ซึ่งประยุกต์มาจากแนวทางการให้ คะแนนแบบรูบริค (สมศักดิ์ ภู่วิดาวรรธน์, 2544 และ รุ้งศิรินทร์ จันทร์หอม, 2545) 2.6 แบบสำรวจความคิดเห็นผู้เรียน เกี่ยวกับ การเรียนด้วยโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ที่มีลักษณะเป็น คำถามปลายเปิด ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ เนื้อหา การเรียนรู้บนเครือข่าย และการออกแบบที่ส่งเสริมการคิด สร้างสรรค์ พร้อมทั้งเขียนแสดงเหตุผลและความคิดเห็น เพิ่มเติม ตลอดจนข้อเสนอแนะอื่นๆ
  • 5. 157วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังมีราย ละเอียดต่อไปนี้ 1. การวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษา และวิเคราะห์ เกี่ยวกับ หลักการ ทฤษฎี เกี่ยวกับการออกแบบโมเดล สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย พื้นฐานด้านต่างๆ ดังนี้ จิตวิทยาการเรียนรู้ ศาสตร์การสอน การคิดสร้างสรรค์ สื่อ เทคโนโลยี และบริบท เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการสังเคราะห์ กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีสำหรับการพัฒนาโมเดลฯ 2. ศึกษาสภาพบริบท เกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์ของ ผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนทำแบบวัดการคิดสร้างสรรค์ตามกรอบ คิดสร้างสรรค์ของ Guilford (1967) เพื่อศึกษาพื้นฐานเดิม เกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่มีมาก่อน และนำผล ดังกล่าวมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการ เรียนรู้บนเครือข่ายฯ 3. สังเคราะห์กรอบแนวคิดในการออกแบบโมเดล สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ โดยศึกษา วิเคราะห์พื้นฐาน หลักการ ทฤษฎี งานวิจัย รวมทั้งการศึกษาสภาพบริบทเกี่ยวกับการคิด สร้างสรรค์ของผู้เรียน และสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดการ ออกแบบโมเดล 4. สร้างโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ที่อาศัยพื้นฐาน จากกรอบแนวคิดในการออกแบบโมเดลฯ 5. นำโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ เสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบคุณภาพ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินตาม แบบประเมินสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ด้านสื่อบน เครือข่าย และด้านการวัดและประเมินผล และนำผลการ ประเมินและข้อเสนอแนะเพื่อมาปรับปรุง 6. นำโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่าย ทดลองใช้กับผู้เรียนในบริบทจริง เพื่อตรวจสอบคุณภาพและ นำมาปรับปรุงแก้ไข โดยจัดแบ่งนักศึกษาจำนวน 20 คน ออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 2 คน จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน จำนวน 2 กลุ่ม และกลุ่มละ 4 คนจำนวน 2 กลุ่ม เพื่อ ประเมินประสิทธิภาพและปรับปรุงโมเดลให้มีความสมบูรณ์ โดยอาศัยพื้นฐานจากผลงานวิจัยของ สุมาลี ชัยเจริญ (2547) และ สุชาติ วัฒนชัย (2550) และหลังจากเรียนด้วย สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายฯ ให้ผู้เรียนทำแบบสำรวจ ความคิดเห็นของผู้เรียนฯ แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ และ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล 1. การตรวจสอบคุณภาพของโมเดลโดยผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้มาจากแบบประเมินโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ที่มี ลักษณะปลายเปิด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสรุป ตีความ 2. ความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับโมเดลสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ฯ ที่ได้จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนที่มี ลักษณะปลายเปิด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสรุป ตีความ 3. การคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ที่ได้จากแบบวัดการ คิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง บรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้จากแบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้รียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงบรรยาย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัย การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ฯ ในการศึกษาครั้งนี้ จะนำเสนอผลเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. องค์ประกอบของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ สถานการณ์ ปัญหา แหล่ง การเรียนรู้ กรณีใกล้เคียง เครื่องมือทางปัญญา แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ศูนย์ให้คำแนะนำ ห้องปฏิบัติการการการคิด สร้างสรรค์ และฐานการช่วยเหลือ ซึ่งได้มาจากพื้นฐานเชิง ทฤษฎีที่สำคัญ 6 พื้นฐาน คือ พื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม ได้แก่ การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน และหลักการออกแบบ สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ พื้นฐานทาง เทคโนโลยี ได้แก่ การเรียนบนเครือข่าย พื้นฐานทางบริบท
  • 6. 158 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 ได้แก่ กรอบการผลิตบัณฑิต และสาระสำคัญของรายวิชาการ วิเคราะห์และออกแบบระบบ พื้นฐานทางสื่อ ได้แก่ ระบบ สัญลักษณ์ของสื่อ และพื้นฐานเกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจากการศึกษาสภาพบริบทเกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์ของ ผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีการคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับต่ำ แสดงให้เห็นว่าในการออกแบบโมเดลฯ จะต้องส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีการคิดสร้างสรรค์ในทุกลักษณะได้แก่ การคิดคล่อง การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ จากข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้น สามารถนำมาเป็นพื้นฐานในการสังเคราะห์กรอบแนวคิด ในการออกแบบโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ได้ดังนี้ 1. การกระตุ้นโครงสร้างทางปัญญาและการคิด สร้างสรรค์ มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ สถานการณ์ปัญหาที่ ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การคิดคล่อง การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ 2. การสนับสนุนการปรับสมดุลทางปัญญาและ การคิดสร้างสรรค์ มีองค์ประกอบ ที่สำคัญ คือ แหล่งการ เรียนรู้ สนับสนุนการค้นพบจากการเสาะแสวงหาความรู้จาก แหล่งต่างๆ กรณีใกล้เคียง เป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียน สามารถถ่ายโยงการเรียนรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาในบริบท นั้นๆ (Jonassen, 1999) 3. การส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดสร้างสรรค์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการ สนับสนุนให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขยายมุมมอง ของการคิด และเกิดการคิดไตร่ตรอง ทั้งยังช่วยในการปรับ เปลี่ยนและป้องกันการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เครื่องมือทาง ปัญญา สนับสนุนการแก้ปัญหาของผู้เรียน ที่จะช่วยเหลือด้าน ความสามารถของผู้เรียนในการปฏิบัติภารกิจการเรียนรู้โดย อาศัยพื้นฐานจากการศึกษาของ Iiyoshi และ Hannafin (1998) ห้องปฏิบัติการการคิดสร้างสรรค์ อาศัยพื้นฐานจาก กรอบแนวคิดของ Guilford (1967) ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มี การคิดสร้างสรรค์ในด้านต่างๆได้แก่ การคิดคล่อง การคิดยืด หยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ 4. การช่วยเหลือและสนับสนุนการสร้างความรู้และ การคิดสร้างสรรค์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ฐานการ ช่วยเหลือ สนับสนุนผู้เรียนในการแก้ปัญหา ในกรณีที่ ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จด้วยตนเอง ซึ่งมีฐานการ ช่วยเหลือ 5 ลักษณะ คือ ด้านการคิดรวบยอด ด้านการคิด ด้านกระบวนการ ด้านกลยุทธ์ และด้านส่งเสริมการคิด สร้างสรรค์ ศูนย์ให้คำแนะนำ เป็นการชี้แนะผู้เรียนในการ แก้ปัญหา และกระตุ้นให้ผู้เรียนเสาะแสวงหาและค้นหา ความรู้อย่างต่อเนื่อง (Hannafin, 1999) จากองค์ประกอบพื้นฐานดังกล่าวได้นำมาสร้างและ พัฒนาเป็นสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนว คอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ดังภาพที่แสดงดังต่อไปนี้ ภาพที่ 1 แสดงหน้าหลักโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ภาพที่ 2 แสดงสถานการณ์ปัญหา (Problem base) ภาพที่ 3 แสดงแหล่งการเรียนรู้ (Resource)
  • 7. 159วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 ภาพที่ 4 แสดงกรณีที่เกี่ยวข้อง (Related case) ภาพที่ 5 แสดงเครื่องมือทางปัญญา (Mind tool) ภาพที่ 6 แสดงห้องปฏิบัติการการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking lab) ภาพที่ 7 แสดงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Collaboration) ภาพที่ 8 แสดงศูนย์ให้คำแนะนำ (Coaching) ภาพที่ 9 แสดงฐานความช่วยเหลือ (Scaffolding) 2. ประสิทธิภาพของโมเดล โดยอาศัยพื้นฐานกรอบ แนวคิดการประเมินประสิทธิภาพของสิ่งแวดล้อมทางการ เรียนรู้บนเครือข่าย ของสุมาลี ชัยเจริญ (2547) เพื่อยืนยัน คุณภาพของโมเดลฯ ดังนี้ การประเมินด้านผลผลิต ซึ่งแบ่ง ออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบโมเดล สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ และด้านการประเมินผล พบว่า มีความเหมาะสม การทำลองใช้เพื่อปรับปรุง พบว่า การจัด จำนวนผู้เรียนต่อกลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ จำนวน 3 คนต่อกลุ่ม การประเมินด้านความคิดเห็นของผู้เรียน ที่มี ต่อโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ พบว่า ช่วยส่งเสริมและ พัฒนาให้ผู้เรียนมีการคิดสร้างสรรค์และเป็นโอกาสให้ได้ เรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง การประเมินด้านความ สามารถของผู้เรียน เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ พบว่า ผู้เรียนมีการคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 ลักษณะ คือ การคิดคล่อง การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ และ การประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนผ่านเกณฑ์ 70 % ที่ตั้งไว้
  • 8. 160 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 อภิปรายผลการวิจัย ผลการวิจัยมีประเด็นสำคัญนำมาอภิปรายผลดังนี้ จากผลการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนา โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนว คอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ฯ พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ 8 องค์ประกอบ คือ สถานการณ์ ปัญหา แหล่งการเรียนรู้ กรณีใกล้เคียง เครื่องมือทางปัญญา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการคิดสร้างสรรค์ ศูนย์ให้ คำแนะนำ และฐานการช่วยเหลือ ผลที่ได้สอดคล้องกับ การศึกษาของ Neo (2005); Kwon (2006); Tezci (2008); รังสฤษฏิ์ เวชสุวรรณ (2548); จักรินทร์ ศิลารัตน์ (2548); สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ (2549; 2550; 2551) และสุชาติ วัฒนาชัยและคณะ (2550) ที่ได้ศึกษาการออกแบบและ พัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่อาศัยพื้นฐานจากทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้บนเครือข่าย แต่ในการศึกษา ครั้งนี้ได้เพิ่มองค์ประกอบของโมเดลที่ส่งเสริมการคิด สร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจสอบคุณภาพ การออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ มีประสิทธิภาพครบทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการ ออกแบบที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วย โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถใน การคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การคิดคล่อง การคิด ยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิดละเอียดลออ ที่ผลการวิจัย เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากการออกแบบและพัฒนาโมเดลที่มี องค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ตามกรอบของ Guilford ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วยคำสำคัญ (Key word) ของการคิดคล่อง การคิดยืดหยุ่น การคิดริเริ่ม และการคิด ละเอียดลออ (Guilford,1967; Mumford, 2006) ซึ่งในการ ออกแบบในครั้งนี้ได้นำคำสำคัญต่างๆ มาเป็นสารสนเทศ พื้นฐานที่นำไปสู่การออกแบบโดยกำหนดภารกิจการเรียนรู้ ดังหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการผลการแก้ปัญหาตาม ภารกิจในแต่ละสถานการณ์ปัญหา และในระหว่างการ แก้ปัญหา ปรากฎว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด สร้างสรรค์ ได้แก่ คิดคล่อง พบว่า ผู้เรียนสามารถบอก สัญลักษณ์ในการออกแบบฐานข้อมูลมาได้มากที่สุดจำนวน 13 สัญลักษณ์ ในเวลา 5 นาที คิดยืดหยุ่น พบว่า ผู้เรียน สามารถจำแนกตารางตามลักษณะของแอตทริบิวต์หลักและ อธิบายวิธีจำแนกได้ คิดริเริ่ม พบว่า ผู้เรียนสามารถดัดแปลง แก้ไขจากงานระบบฐานข้อมูลทะเบียนเดิม ให้อยู่ในรูปแบบ ใหม่ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น และคิดละเอียดลออ พบว่า ผู้เรียนสามารถทดสอบการแปลงแผนภาพ E-R Diagram เป็นตารางได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ รวมทั้งค่าคะแนน ที่ได้จากแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ มีการ ออกแบบที่เอื้อต่อการส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ ดังจะเห็นได้ จากองค์ประกอบของห้องปฏิบัติการคิดสร้างสรรค์ซึ่งภายใน ห้องปฏิบัติการจะมีห้องย่อยๆ อีก 4 ห้องเพื่อส่งเสริมการคิด สร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้าน ตามกรอบของ Guilford ได้แก่ ห้อง ปฏิบัติการคิดคล่อง ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการคิดคล่อง โดยได้ ออกแบบให้ผู้เรียนสามารถจับคู่เพื่อบอกชื่อ และบอก ความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในการออกแบบฐานข้อมูล ดังตัวอย่างหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เรียน ว่า ”ชอบห้อปฏิบัติการคิดคล่องเพราะสนุก คลายเครียดได้ค่ะ เวลาเข้าไปจับคู่สัญลักษณ์กับความหมาย ช่วยในการนำไป แก้ปัญหาในการใช้ในการเขียนแผนภาพต่างๆ ได้ และนำไป เชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาในสถานการณ์ปัญหาในการเขียน E-R diagram ได้ค่ะ„ จากหลักฐานเชิงประจักษ์และ ข้อค้นพบจากงานวิจัยที่ศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การออกแบบโมเดลฯ ได้สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้และ พัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในการคิดคล่องด้าน ถ้อยคำ ด้านความคิด และด้านการโยงความสัมพันธ์ได้ และ ห้องปฏิบัติการคิดยืดหยุ่น ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการคิดยืดหยุ่น โดยได้ออกแบบให้ผู้เรียนสามารถจำแนกและแสดงขั้นตอน การทำตารางให้อยู่ในรูปบรรทัดฐาน ซึ่งผู้เรียนจะได้ใช้กฎการ กำหนดมาตรฐาน ในการแปลง E-R Diagram และในห้อง ปฏิบัติการมีเครื่องมือที่สนับสนุนการออกแบบ E-R Diagram มีการสาธิตวิธีการ และการทดสอบวิธีการก่อนที่จะ ลงมือปฏิบัติ ดังตัวอย่างหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการ สัมภาษณ์ผู้เรียนว่า ”ห้องปฏิบัติการคิดยืดหยุ่นใช้วิเคราะห์ ปัญหา โดยลองทำ ตามมาตรฐานที่กำหนดจากภารกิจที่
  • 9. 161วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 กำหนดให้ มีการสาธิตวิธีการทำ และสามารถทดลองทำ แผนภาพมาตรฐานทำให้การจำแนก แยกแยะข้อมูล ที่มีความ ซับซ้อนได้ค่ะ„ จากหลักฐานเชิงประจักษ์และข้อค้นพบจาก งานวิจัยที่ศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การออกแบบ โมเดลฯ สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้และพัฒนาการคิด สร้างสรรค์ของผู้เรียนในการคิดยืดหยุ่นที่สามารถจำแนก แยกแยะ และบอกความหมายได้ รวมทั้งแสดงขั้นตอน การแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำภารกิจได้ นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการคิดริเริ่ม ที่มุ่งเน้นส่งเสริมด้าน การคิดริเริ่ม โดยได้ออกแบบให้ผู้เรียนสามารถออกแบบ หรือ ทำการดัดแปลง แก้ไข E-R Diagram ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และ ในห้องปฏิบัติการมีเครื่องมือที่สนับสนุนการออกแบบ E-R Diagram มีการสาธิตวิธีการ และการทดสอบวิธีการก่อนที่จะ ลงมือปฏิบัติ ดังตัวอย่างหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการ สัมภาษณ์ผู้เรียนว่า ”เข้าห้องปฏิบัติการคิดริเริ่มเพื่อวิเคราะห์ แผนภาพจากสถานการณ์ตัวอย่าง ช่วยให้เราสามารถเขียน แผนภาพได้ถูกต้อง ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องและ นำไปดัดแปลงเพื่อออกแบบใหม่ด้วยตนเองได้„ จากหลักฐาน เชิงประจักษ์และข้อค้นพบจากงานวิจัยที่ศึกษาในครั้งนี้ แสดง ให้เห็นว่า การออกแบบโมเดลฯ สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้และ พัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในการคิดริเริ่มที่สามารถ คิดออกแบบและสร้างสิ่งใหม่ โดยอาจนำความรู้เดิมมา ดัดแปลงและประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่ หรือปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแล้วประกอบขึ้นเป็นรูปแบบใหม่หรือสิ่งใหม่ที่มี ความสมบูรณ์มากขึ้นได้ ตลอดจนห้องปฏิบัติการคิดละเอียด ลออ ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการคิดละเอียดลออ โดยได้ออกแบบให้ ผู้เรียนสามารถคัดเลือกและตัดสินใจเพื่อใช้กฎ มาตรฐานใน การเปลี่ยนรูปแบบ E-R Diagram ให้อยู่ในรูปตาราง เพื่อให้ ฐานข้อมูลมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และในห้องปฏิบัติการมี เครื่องมือที่สนับสนุนการออกแบบ E-R Diagram มีการ สาธิตวิธีการ และการทดสอบวิธีการก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ ดังตัวอย่างหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เรียน ว่า ”เข้ามาใน ห้องปฏิบัติการคิดละเอียดละออ เพื่อเรียนรู้และ ทดสอบการแปลงข้อมูลจาก E-R Diagram เป็นตาราง และ ช่วยในการแจงข้อมูล ออกเป็นหมวดหมู่ค่ะ จะมีการอธิบาย ขั้นตอนการทำอย่างละเอียด ช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น เวลาแก้ สถานการณ์ปัญหาทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นค่ะ„ จากหลักฐาน เชิงประจักษ์และข้อค้นพบจากงานวิจัยที่ศึกษาในครั้งนี้ แสดง ให้เห็นว่า การออกแบบโมเดลฯ สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ใช้และ พัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในการคิดละเอียดลออ ที่สามารถคิดที่จะสร้างโดยการคัดเลือกจากความคิดเก่าที่มี การพัฒนาที่ชัดเจนขึ้นโดยการทดสอบเพื่อประกอบในการ ตัดสินได้ จากดังกล่าวข้างต้น สนับสนุนแนวคิดของ Osborn (1953) Terri (2005) และ Kwon (2006) ซึ่งได้อธิบายว่า การพัฒนาเทคนิควิธีการที่สอดคล้องกับการคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเครื่องมือในการแก้ปัญหาและ ภารกิจการเรียนรู้ นำไปสู่การสร้างความรู้ และส่งเสริมการคิด สร้างสรรค์ของผู้เรียน และสอดคล้องกับงานวิจัยของ Neo (2005) และสุชาติ วัฒนชัย (2550) ที่ได้ออกแบบสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ที่ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ คือ สถานการณ์ปัญหาแหล่งการเรียนรู้ กรณีใกล้เคียงเครื่องมือทางปัญญาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการการคิดสร้างสรรค์ ฐานการช่วยเหลือ และ ศูนย์ให้คำแนะนำ สำหรับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ควร ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพบริบทของผู้เรียน สถานศึกษา เนื้อหาวิชาและคุณลักษณะของสื่อที่มีความ เหมาะสม สำหรับประเด็นที่ควรพิจารณานำไปศึกษาต่อจาก การวิจัยในครั้งนี้ คือ การศึกษากลไกการคิดสร้างสรรค์ของ ผู้เรียน ผลของแต่ละองค์ประกอบในโมเดลฯ ที่ส่งเสริม ศักยภาพการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ สถานศึกษา ฯลฯ เพื่อที่จะได้นำมาออกแบบ และพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ที่สอดคล้องกับ สภาพบริบทไทย
  • 10. 162 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชัยเจริญ กรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ที่ได้กรุณาตรวจแก้ไข รวมทั้ง ให้ข้อเสนอแนะในการวิจัยและเขียนบทความนี้ให้แล้วเสร็จ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้ทุนอุดหนุน การทำวิจัยในครั้งนี้ เอกสารอ้างอิง จักรินทร์ ศิลารัตน์. (2549). ผลของการเรียนบนเครือข่ายที่ พัฒนาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องนวัตกร รมทางการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. น้อย และ ประยุทธ ไทยธานี. (2541). ผลของการฝึกการคิด แบบหมวกหกใบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในการ ปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษา ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา). ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2544). กรอบแนวคิดทางการอุดมศึกษา ยุคใหม่. ค้นเมื่อ 15 มกราคม, 2551, จาก สำนักพัฒนา วิชาการ online (http://www.academic.hcu.ac.th/ filepdf) รุ้งศิรินทร์ จันทร์หอม. (2545). เอกสารประกอบวิชา เทคโนโลยีร่วมสมัย. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รังสฤษฏิ์ เวชสุวรรณ. (2548). ผลของมัลติมีเดียที่พัฒนา ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ดาราศาสตร์ และอวกาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. (2547). คู่มือบัณฑิตสาขาวิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. สุชาติ วัฒนชัย และคณะ (2550). รายงานการวิจัยฉบับ สมบูรณ์ เรื่อง ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการ เรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิด. รายงานการวิจัย โครงการวิจัย ประเภทอุดหนุนทั่วไปมหาวิทยาลัยขอนแก่น. สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2546). เอกสารประกอบวิชา เทคโนโลยีร่วมสมัย. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2547). รายงานการวิจัยฉบับ สมบูรณ์ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. . (2550). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การพัฒ นา โมเดลต้นแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือ ข่ายที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวคอน สตรัคติวิสต์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. . (2550). ศึกษาศักยภาพด้านการคิดของผู้เรียนที่เรียน จากนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพด้านการคิด. รายงานการวิจัย โครงการวิจัยประเภททุนอุดหนุนทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา. สมศักดิ์ ภู่วิดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: The Knowledge Center. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผน การศึกษาแห่งชาติ (2545-2559). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิก. สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย. วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์) 2549 (อ้างเมื่อ13 ธันวาคม 2549). จาก (http://www.uni.net.th/~02_2543)
  • 11. 163วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2550). การประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา รอบที่ 2. (ออนไลน์) 2550 (อ้างเมื่อ 25 ธันวาคม2550). จาก (http://www.onesqa.or.th/th/profile/) สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). รายงานสำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิก. Guilford. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill. Iiyoshi&Hannafin. (1998). Cognitive tools for Open- Ended learning Environments: Theoretical and Implication Perspective. Paper presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Association (San Diego, CA, April 13-17). Jonassen, David. (1999). Designing Constructivist learning environments. In Charles, M. Reigeluth, Intuitional Design Theories and Models: A new Paradigm of Instructional Theory Volume II. New Jersey : Kwon, Oh Nam. (2006). Cultivating Divergent Thinking in Mathematics through an Open- Ended Approach. Asia Pacific Education Review, 7, 1. retrieved November 17, 2008, from Education Research Institute. Neo, Mai. (2005). Web-Enhance Learning: Engaging Students in Constructivist Learning. Campus- Wide Information System, 22, 1. retrieved November 17, 2008, from Education Resource Information Center. Osborn, A. (1953). Applied Imagination. NY: Scribner’s. Richey, R. C., Klein, J. (2007). Design and developmental research. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates. Terri R. Kurtzberg. (2005) Feeling Creative, Being Creative: An Empirical Study of Diversity and Creativity in Teams. Creativity Research Journal, 17(1), 51-65 Tezci, Erdogan. (2008). The Study of Reliability and Validity of Creative Materials. The Turkish Online Journal of Educational Technology, 7, 1. retrieved November 30, 2008, from Education Resources Information Center.
  • 12. 164 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม - สิงหาคม 2552 Rajabhat Maha Sarakham University Journal; RMU.J. 3(2) : May - August 2009