SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
คำนำ
สถานการณของหุนยนตในประเทศไทย ณ ปจจุบันมีความตื่นตัวอยางมาก ระบบหุนยนตและเครื่องจักร
อัตโนมัติไดถูกนำมาใชในภาคการผลิตตาง ๆ นับตั้งแตอุตสาหกรรมที่ใชเทคโนโลยีชั้นสูง เชน อุตสาหกรรม
ฮารดดิสก (hard disk) อุตสาหกรรมรถยนต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส (electronics) จนถึงอุตสาหกรรม
ขนาดกลางและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เชน เครื่องหยอดเมล็ดพันธุขาว เครื่องสีขาว ระบบผลิตอาหารกระปอง
สำเร็จรูป เครื่องบรรจุผลิตภัณฑอาหารตาง ๆ ในสวนภาคการบริการไดมีการนำเขาหรือประดิษฐหุนยนต
หรืออุปกรณเพื่อใชในงานตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับมนุษย เชน การผาตัดโดยเปดแผลใหเล็กที่สุดเทาที่จะทำได
(minimal invasive surgery) และใชหุนยนตชวยทำการผาตัด เครื่องทำกายภาพบำบัดตาง ๆ ยานพาหนะ
เซกเวย (Segway® human transporter) อุปกรณแฮปติก (haptics device) เพื่อชวยออกแบบผลิตภัณฑ
เครื่องจำลองการบิน (flight simulator) หุนยนตเพื่อการบริการและเพื่อความบันเทิงตาง ๆ ในสวนภาคการ
ศึกษานั้น ไดมีการจัดการอบรมและแขงขันหุนยนตชนิดตาง ๆ สำหรับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ทั้ง
ระดับชาติและระดับนานาชาติตลอดทั้งป มีรายการและสื่อตาง ๆ ที่ใหความรูเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุนยนตเปน
จำนวนมาก และมีการเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวของกับวิทยาการหุนยนตในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและ
ระดับมัธยมศึกษาในบางโรงเรียนดวย
อยางไรก็ตาม หนังสือภาษาไทยที่ใหความรูเกี่ยวกับวิทยาการหุนยนตยังมีคอนขางนอยมาก โดยเฉพาะ
หนังสือที่กลาวถึงทฤษฎีในการวิเคราะหหุนยนต ซึ่งมีความสำคัญอยางยิ่งสำหรับการออกแบบและประดิษฐ
หุนยนตเพื่อการทำงานอยางมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสูการพัฒนาอุตสาหกรรมหุนยนตในประเทศใหเปนรูป
ธรรมและยั่งยืนไดในที่สุด เหตุจูงใจดังกลาวเปนแรงปรารถนาใหผูเขียนตัดสินใจแตงหนังสือเลมนี้ขึ้นเพื่อหวังให
เปนแหลงอางอิงความรูพื้นฐานที่จำเปนสำหรับการวิเคราะหหุนยนต
เนื่องจากศาสตรของหุนยนตมีความเกี่ยวของกับความรูจากหลากหลายสาขาวิชา นอกจากนี้แลวในแตละ
แขนงวิชายังมีรายละเอียดและประเด็นศึกษาที่สามารถแตกยอยไปไดมากมาย ดังนั้นจึงเปนไปไมไดเลย
ที่หนังสือเพียงเลมเดียวจะสามารถบรรยายครอบคลุมความรูทุกแงมุมของหุนยนตในรายละเอียดเพียงพอ
สำหรับการนำไปใชงานไดจริง ดวยตระหนักถึงขอจำกัดดังกลาว หนังสือเลมนี้จึงมุงเนนที่จะนำเสนอราย
ละเอียดเกี่ยวกับกลศาสตร (mechanics) ของหุนยนตแบบอนุกรม (serial robot) ซึ่งเปนหุนยนตที่มีโครงสราง
ประกอบขึ้นดวยกานตอและขอตอจากสวนปลายฐาน เรียงลำดับไปจนถึงสวนปลายแขนที่ใชทำงานตาง ๆ
v
vi
หัวขอดังกลาวเปนหัวขอพื้นฐาน ทวามีความสำคัญในการออกแบบและประดิษฐหุนยนต ความรูเหลานี้จะ
เปนเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะหหุนยนตหรือกลไกวาสามารถตอบสนองความตองการในการออกแบบได
อยางดีหรือไม ในอีกมุมหนึ่ง ผลจากการวิเคราะหจะชวยเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการออกแบบให
บรรลุวัตถุประสงค นอกจากนี้แลวความรูทางกลศาสตรยังมีความจำเปนตอการประดิษฐระบบควบคุมหุนยนต
หรือกลไกที่เหมาะสมอีกดวย
นอกเหนือไปจากแงมุมของการใชงานแลว ความรูในหนังสือเลมนี้เปนพื้นฐานที่จำเปนตอการศึกษาและ
การวิจัยวิทยาการหุนยนตในหัวขอขั้นสูงหรือหัวขอเฉพาะทางตอไป เชน กลศาสตรของหุนยนตแบบขนาน
กลศาสตรของหุนยนตที่มีความยืดหยุน กลศาสตรของหุนยนตแบบลอ การควบคุมหุนยนตดวยเทคนิคตาง ๆ
ดังนั้น หนังสือเลมนี้จึงเหมาะสำหรับผูอานที่สนใจในวิทยาการหุนยนต และตองการเรียนรูแนวคิดและวิธีการ
ในการวิเคราะหกลศาสตรโดยใชระบบหุนยนตแบบอนุกรมเปนจุดเริ่มตนในการศึกษา อยางไรก็ดี ผูอาน
ควรมีทักษะการวิเคราะหกลศาสตรของวัตถุที่เคลื่อนที่ในระนาบมาบาง นอกจากนี้แลวความรูพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร โดยเฉพาะตรีโกณมิติ เมทริกซและพีชคณิตเชิงเสน จะชวยเสริมใหผูอานมีความเขาใจในประเด็นที่
ละเอียดสุขุมไดดียิ่งขึ้น
หนังสือเลมนี้สามารถใชศึกษาไดดวยตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรูและทักษะที่จำเปนในการออกแบบและ
ประดิษฐหุนยนตหรือการวิจัยขั้นสูงตอไป หรืออาจใชประกอบการเรียนการสอนวิชาหุนยนตในระดับปริญญา
ตรีและบัณฑิตศึกษาที่มีเนื้อหาหลักสูตรเกี่ยวของกับกลศาสตรของหุนยนตก็ได ยกตัวอยางเชน ที่ภาควิชา
วิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนั้น มีรายวิชาที่สอนเกี่ยวกับหุนยนตอยู 2
รายวิชา ไดแก รายวิชา 2103530 หุนยนตอุตสาหกรรม 1 และรายวิชา 2103630 หุนยนตอุตสาหกรรม 2 ใช
เวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 2 ภาคการศึกษา รายวิชา 2103530 เปดสอนสำหรับนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปที่ 4
ทำการปูพื้นฐานของหุนยนตแบบอนุกรมที่จำเปน ครอบคลุมหัวขอการบรรยายตำแหนงและทิศทางการหมุนใน
ปริภูมิสามมิติและการแปลง จลนศาสตรขางหนาของหุนยนตแบบอนุกรม จลนศาสตรผกผันของหุนยนตแบบ
อนุกรม อนุพันธของจลนศาสตร การออกแบบเสนทางการเคลื่อนที่ และการออกแบบกลไก ซึ่ง 2 หัวขอหลังนี้
อยูนอกเหนือขอบเขตของหนังสือเลมนี้ สวนรายวิชา 2103630 นั้น เปดสอนสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา
มีการบรรยายในหัวขอชั้นสูงตอจากรายวิชา 2103530 ไดแก พลศาสตรของหุนยนต การควบคุมหุนยนต และ
หัวของานวิจัยขั้นสูงที่นาสนใจ ในการศึกษาหนังสือเลมนี้ ผูเขียนขอแนะนำใหผูอานเริ่มตนศึกษาตั้งแตบทแรก
เรื่อยไปจนบทสุดทายเนื่องจากเนื้อหามีความตอเนื่องกัน หากผูอานไดเคยศึกษากลศาสตรของหุนยนตแบบ
อนุกรมมาแลว และตองการทบทวนเฉพาะแนวคิดในการวิเคราะห ผูอานอาจขามหัวขอยอยบางหัวขอหรืออาจ
ไมจำเปนตองศึกษาโดยละเอียดมากนัก แตถาผูอานตองการทราบรายละเอียดการคำนวณดวยแลว ขอแนะนำ
ใหเริ่มศึกษาตั้งแตบทแรกเรื่อยไปจนบทสุดทายเนื่องจากสัญกรณที่ใชในหนังสือเลมนี้อาจมีความแตกตางจาก
เลมอื่น ๆ
เนื้อหาในหนังสือเลมนี้ถูกนำเสนออยางคอยเปนคอยไปตามลำดับความคิด แตละบทจะเริ่มตนดวยการเกริ่น
นำเนื้อหาในบทนั้น ๆ กอน โดยชี้ใหเห็นถึงความเกี่ยวของซึ่งกันและกันของหัวขอยอย ๆ สำหรับแตละหัวขอ
ผูเขียนจะเริ่มอธิบายจากแนวความคิด กอนที่จะนำผูอานไปสูรายละเอียด สมการที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาจะถูก
vii
พัฒนาขึ้นมาอยางเปนขั้นตอน โดยสมการที่สำคัญจะมีการใสหมายเลขอางอิง เมื่อเสร็จสิ้นการอธิบายเนื้อหา
ในแตละหัวขอแลว ผูเขียนไดสอดแทรกตัวอยางอยางเพียงพอเพื่อแสดงใหเห็นถึงการนำความรูนั้นไปใชงาน
แนวคิดและขั้นตอนในการแกปญหาอยางละเอียดถูกนำเสนอในแตละตัวอยาง ซึ่งผูอานสามารถประยุกตวิธีการ
ดังกลาวกับปญหาใหมที่ผูอานอาจประสบในอนาคต ในตอนทายของตัวอยาง ผูเขียนไดพยายามอธิบายความ
หมายของคำตอบ หรือเชื่อมโยงผลที่ไดกับหลักการเพิ่มเติม ดังนั้น หากผูอานไดพิเคราะหตามโดยละเอียด
เชื่อวาจะทำใหเขาใจกายภาพของระบบดียิ่งขึ้น อันจะเปนประโยชนตอการวิเคราะหและสังเคราะหในภายหนา
อนึ่ง ตัวอยางสวนใหญในแตละบทนั้นจะอางอิงกับหุนยนตเดียวกัน เพื่อใหเกิดความตอเนื่องในการวิเคราะห
และทำใหผูอานเห็นแนวทางโดยรวมในการวิเคราะหตาง ๆ ของหุนยนตอยางสมบูรณ
ในตอนทายของแตละบท ผูเขียนไดสรุปเนื้อหาที่สำคัญในบทนั้น ๆ ตามดวยแบบฝกหัดเพื่อเสริมทักษะ
ในการวิเคราะหปญหาของผูอาน แบบฝกหัดรวมถึงตัวอยางสวนใหญมาจากปญหาจริง แบบฝกหัดบางขอ
เปนปญหาประยุกตแบบปลายเปด นอกจากนี้แลวบางขอมีความยากหรืออาจนำไปสูความรูเพิ่มเติมนอก
เหนือจากในเนื้อหา และเนื่องจากวิทยาการหุนยนตยังคงเปนศาสตรที่มีการวิจัยอยูอยางตอเนื่อง ผูเขียนจึง
ไดรวบรวมเอกสารอานเพิ่มเติมที่เกี่ยวของกับเนื้อหาในแตละบท เพื่อใหผูอานสามารถใชเปนจุดเริ่มตนในการ
คนควาหาความรูเพิ่มเติมไดอีกดวย
ผูเขียนหวังเปนอยางยิ่งวาหนังสือเลมนี้จะยังประโยชนใหแกผูอานทุกทาน หากทานพบขอผิดพลาด หรือ
ตองการเสนอแนะ หรือมีประเด็นซึ่งไมกระจางในหนังสือ ขอความกรุณาโปรดแจงใหผูเขียนไดทราบทางอีเมลที่
phongsaen@gmail.com หรือ phongsaen.p@chula.ac.th ซึ่งจะไดทำการแกไขขอผิดพลาดและประกาศไวที่
ยูอารแอล (URL) http://pioneer.chula.ac.th/~pphongsa/books/SerialRobots ตอไป
ผูเขียนขอขอบพระคุณบิดามารดาที่ไดใหทุกสิ่งทุกอยางในชีวิต ขอขอบคุณครูบาอาจารยทุกทานที่ได
ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรูตาง ๆ คุณความดีทั้งหลายของหนังสือนั้นขอมอบแดทานผูมีพระคุณทั้งหลาย
หนังสือเลมนี้ไดรับการสนับสนุนดานงบประมาณจากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช
(RES560530224-AS) และจากคณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทายที่สุด ผูเขียนมีความยินดี
ยิ่งที่หนังสือเลมนี้ไดรวมเปนสวนหนึ่งในการรวมเฉลิมฉลองศุภวาระครบรอบ 100 ป คณะวิศวกรรมศาสตร
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556
พงศแสน พิทักษวัชระ
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
มกราคม 2557
สารบัญ
คำนำ .................................................................................. v
1 บทนำ .............................................................................. 1
1.1 หุนยนตคืออะไร ................................................................. 1
1.2 ประวัติศาสตรของหุนยนตแบบอนุกรม .............................................. 4
1.3 หุนยนตแบบอนุกรม ............................................................. 7
1.4 โครงสรางทางจลนศาสตรของหุนยนต............................................... 11
1.5 โครงรางของหนังสือ.............................................................. 16
2 การบรรยายตำแหนงและทิศทางการหมุนในปริภูมิสามมิติ และการแปลง ................... 17
2.1 ตำแหนงของจุด ................................................................. 17
2.2 ทิศทางการหมุน ................................................................. 21
2.2.1 เมทริกซการหมุน.......................................................... 21
2.2.2 การใชงานของเมทริกซการหมุน ............................................. 26
2.2.3 เมทริกซการหมุนทั่วไป ..................................................... 30
2.2.4 มุมออยเลอร.............................................................. 33
2.2.5 มุมเทียบกับเฟรมอางอิง .................................................... 37
2.2.6 มุมและแกนหมุน .......................................................... 40
2.2.7 พารามิเตอรของออยเลอร และควอเทอรเนียนหนึ่งหนวย ........................ 44
2.3 การแปลงเวกเตอรตำแหนง และการอธิบายตำแหนงและการหมุนของวัตถุแข็งเกร็ง ........ 51
2.4 สรุป ........................................................................... 55
แบบฝกหัด .......................................................................... 61
เอกสารอานเพิ่มเติม .................................................................. 64
v
vi สารบัญ
3 จลนศาสตรขางหนาของหุนยนตแบบอนุกรม ............................................ 65
3.1 ปญหาจลนศาสตรขางหนา ........................................................ 65
3.2 สัญนิยมของเดนาวิทและฮาเทนเบิรก ............................................... 70
3.3 จลนศาสตรขางหนาของหุนยนตแบบตาง ๆ .......................................... 74
3.4 ปริภูมิของตัวขับ ปริภูมิของขอตอ และปริภูมิของการทำงาน............................ 93
3.5 สรุป ........................................................................... 96
แบบฝกหัด .......................................................................... 99
เอกสารอานเพิ่มเติม .................................................................. 110
4 จลนศาสตรผกผันของหุนยนตแบบอนุกรม .............................................. 111
4.1 ลักษณะของผลเฉลยในปญหาจลนศาสตรผกผัน ...................................... 111
4.1.1 การมีอยูของคำตอบ ....................................................... 112
4.1.2 การมีคำตอบหลายคำตอบ .................................................. 113
4.2 วิธีการในการวิเคราะหจลนศาสตรผกผัน............................................. 115
4.2.1 วีธีการพีชคณิต............................................................ 115
4.2.2 วิธีการเรขาคณิต .......................................................... 118
4.3 จลนศาสตรผกผันของหุนยนตแบบตาง ๆ ............................................ 121
4.4 วิธีการของไปเปอร ............................................................... 153
4.5 สรุป ........................................................................... 162
แบบฝกหัด .......................................................................... 165
เอกสารอานเพิ่มเติม .................................................................. 167
5 อนุพันธของจลนศาสตร .............................................................. 169
5.1 เมทริกซจาโคเบียนเชิงเรขาคณิต ................................................... 170
5.1.1 ความเร็วเชิงเสนสัมพัทธของจุด 2 จุดใด ๆ..................................... 170
5.1.2 ความเร็วเชิงมุมสัมพัทธของวัตถุ ............................................. 171
5.1.3 ความเร็วของหุนยนต ...................................................... 172
5.1.4 การคำนวณเมทริกซจาโคเบียน .............................................. 173
5.2 เมทริกซจาโคเบียนเชิงวิเคราะห .................................................... 186
5.3 สภาวะเอกฐานของหุนยนต........................................................ 193
5.4 เมทริกซจาโคเบียนผกผัน ......................................................... 219
5.4.1 เมทริกซจาโคเบียนที่มีคาลำดับชั้นเทากับจำนวนแถว............................ 220
5.4.2 เมทริกซจาโคเบียนที่มีคาลำดับชั้นนอยกวาจำนวนแถว .......................... 224
5.5 แรงสถิต........................................................................ 229
สารบัญ vii
5.6 ภาวะคูกันของจลนศาสตรและสถิตยศาสตร.......................................... 231
5.7 การแปลงของความเร็วและแรง .................................................... 235
5.8 ความสามารถในการดำเนินการของหุนยนต.......................................... 239
5.9 สรุป ........................................................................... 255
แบบฝกหัด .......................................................................... 259
เอกสารอานเพิ่มเติม .................................................................. 262
6 พลศาสตรของหุนยนต ............................................................... 265
6.1 การพัฒนาแบบจำลองทางพลศาสตรดวยระเบียบวิธีลากรานจ .......................... 266
6.1.1 พลังงานจลนของหุนยนต ................................................... 267
6.1.2 พลังงานศักยของหุนยนต ................................................... 271
6.1.3 สมการการเคลื่อนที่ของหุนยนต ............................................. 272
6.2 ตัวอยางการพัฒนาแบบจำลองทางพลศาสตรของหุนยนตดวยระเบียบวิธีลากรานจ ......... 276
6.3 การพัฒนาแบบจำลองทางพลศาสตรดวยระเบียบวิธีนิวตันและออยเลอร.................. 306
6.3.1 การวิเคราะหจลนศาสตรกาวหนาแบบวนซ้ำ ................................... 307
6.3.2 การวิเคราะหจลศาสตรถอยหลังแบบวนซ้ำ .................................... 310
6.3.3 แรงทั่วไปที่กระทำ ณ ขอตอโดยตัวขับ ........................................ 311
6.4 ตัวอยางการพัฒนาแบบจำลองทางพลศาสตรของหุนยนตดวยระเบียบวิธีนิวตันและออยเลอร 312
6.5 สรุป ........................................................................... 331
แบบฝกหัด .......................................................................... 333
เอกสารอานเพิ่มเติม .................................................................. 344
ภาคผนวก A ตรีโกณมิติที่จำเปน......................................................... 347
A.1 เอกลักษณทางตรีโกณมิติ (trigonometric identities) ................................ 347
A.2 ฟงกชันแทนเจนตผกผัน (inverse tangent, arctangent) ............................. 349
A.3 คำตอบของสมการตรีโกณมิติ ...................................................... 350
ภาคผนวก B สมการลากรานจ .......................................................... 355
บรรณานุกรม............................................................................ 359
อภิธานศัพท............................................................................. 365
ดรรชนี ................................................................................. 369
บทที่ 1
บทนำ
วิทยาการหุนยนต (robotics science) เปนศาสตรประยุกตที่เกิดขึ้นจากการประมวลความรูจากหลายสาขา
วิชาเขาดวยกันในการวิเคราะหและประดิษฐหุนยนต (robot) สาขาวิชาที่สำคัญ เชน สาขาเครื่องกล ซึ่ง
จะตองทำการออกแบบและวิเคราะหกลไกใหสามารถเคลื่อนไหวไดดังตองการ สาขาไฟฟาที่จะเกี่ยวของกับ
วงจรตาง ๆ ในระบบ เชน วงจรควบคุม วงจรของตัวรับรู (sensor) วงจรสัญญาณสื่อสาร สาขาคอมพิวเตอร
ที่จะพัฒนาโปรแกรมและขั้นตอนวิธี (algorithm) ตาง ๆ หรือแมกระทั่งการพัฒนาแพลตฟอรม (platform)
เพื่อชวยสงเสริมงานพัฒนาโปรแกรมของหุนยนตโดยเฉพาะ นอกจากนี้แลวความรูจากสาขาอื่น ๆ ยังมีความ
จำเปนในการพัฒนาหุนยนตที่ล้ำสมัย เชน หุนยนตที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปได (transformable robot) จะ
ตองอาศัยความรูดานวัสดุศาสตร ในการสังเคราะหวัสดุฉลาด (smart material) ที่มีสมบัติจำและควบคุมรูป
รางได และมีการตอบสนองที่รวดเร็ว
กอนจะเริ่มทำการศึกษาเกี่ยวกับหุนยนต เราควรที่จะทราบถึงคำนิยามของมันเสียกอน
1.1 หุนยนตคืออะไร
คำวา robot ถูกใชเปนครั้งแรกใน พ.ศ. 2464 ในบทละครชื่อ รอสซัม ยูนิเวอรแซล โรบ็อต (Rossum’s
Universal Robots ยอวา R.U.R.) ของนักประพันธชาวเช็ก (Czech) นามวา คาเรล คาเปก (Karel Capek)
บทละครนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับมนุษยเทียมที่ถูกสรางขึ้นเพื่อที่จะทำงานแทน หรือเปนทาส (robota ในภาษา
ของชาวสลาฟ) ของมนุษยจริง เปนที่นาสังเกตวาหุนยนตในบทละครนี้เปนสิ่งประดิษฐรูปรางคลายหุนยนต
เสมือนคน (humanoid) ซึ่งเปนหนึ่งในประเด็นวิจัยที่นาสนใจในปจจุบัน ยิ่งไปกวานั้น หุนยนตในบทละคร
ยังมีความล้ำสมัยกวาปจจุบันมาก เนื่องจากตัวหุนยนตทำมาจากวัสดุอินทรีย
1
2 1 บทนำ
มโนทัศนของหุนยนตที่เปนกลไกอันสลับซับซอน เกิดขึ้นจากนักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตรชาวรัสเซีย นาม
วา ไอแซ็ก อาซิมอวฟ (Isaac Asimov) ในชวงยุค ค.ศ. 1940 เนื้อหางานเขียนของเขากลาวถึงปฏิสัมพันธ
(interaction) ในสังคมมนุษยของหุนยนตที่มีรูปรางเชนมนุษยแตปราศจากซึ่งจิตใจ นอกจากนี้แลวเขายัง
เปนที่รูจักในฐานะผูคิดคนกฎสามขอของหุนยนต (Three Laws of Robotics) อันมีใจความสำคัญวา
หุนยนตจักตองไมทำใหมนุษยไดรับบาดเจ็บ และจักตองเชื่อฟงคำสั่งของมนุษย
ซึ่งไดถูกยึดเปนแนวปฎิบัติในการออกแบบหุนยนตทุกตัว
องคการระหวางประเทศวาดวยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization หรือ
ISO) ไดนิยามหุนยนตอุตสาหกรรมไวในมาตรฐาน ISO 8373 ดังนี้
หุนยนตอุตสาหกรรมคือตัวกระทำ (manipulator) ที่ถูกควบคุมแบบอัตโนมัติ และสามารถโปรแกรมใหปฏิบัติงานประยุกต
ในอุตสาหกรรมอัตโนมัติที่หลากหลายได โดยการเคลื่อนที่ในปริภูมิสามแกน หรือมากกวา แกนอางอิงนี้อาจจะเคลื่อนที่
หรือไมเคลื่อนที่ก็ได
สวนสถาบันหุนยนตแหงสหรัฐอเมริกา (Robot Institute of America หรือ RIA) ไดใหนิยามของหุนยนตไวดังนี้
หุนยนตคือตัวกระทำ ที่ถูกออกแบบใหสามารถเคลื่อนยายวัตถุ ในการปฏิบัติงานตาง ๆ ที่หลากหลายได โดยการโปรแกรม
ชุดคำสั่งของการเคลื่อนที่
นิยามนี้ไดสะทอนถึงลักษณะของหุนยนตอุตสาหกรรม (industrial robot) ในยุค ค.ศ. 1980 ที่มีการนำ
เอาหุนยนตมาชวยในสายการผลิต ทวาหุนยนตในปจจุบันมีการพัฒนาไปมาก จนนิยามขางตนไมสามารถ
ครอบคลุมไดหมด เชน หุนยนตเสมือนคน หรือหุนยนตแมลง อยางไรก็ดี หุนยนตอุตสาหกรรมยังคงมีสัดสวน
ที่สูงที่สุด จากการคาดประมาณของสมาพันธนานาชาติของหุนยนต (International Federation of Robo-
tics หรือ IFR) พบวาภายในสิ้น พ.ศ. 2556 หุนยนตอุตสาหกรรมในโลกจะมีทั้งสิ้นประมาณ 1,120,000 ตัว ดัง
แสดงในรูปที่ 1.1.1
เมื่อพิจารณาหุนยนตโดยทั่วไป จะพบวามีองคประกอบหลักที่สำคัญอยู 4 สวน ดังนี้
1. ตัวหุนยนต เปนโครงสรางทางกายภาพที่ทำงานตามการประมวลผลของคำสั่งควบคุมและสัญญาณ
โครงสรางนี้สามารถจำแนกไดเปน 2 สวนหลัก ไดแก สวนขับเคลื่อน (locomotion) ที่ทำใหหุนยนตเคลื่อนที่
ไปยังตำแหนงตาง ๆ ได กลไกที่งายที่สุดคือลอ สำหรับขานั้นถึงแมจะมีการออกแบบและควบคุมที่
ยากกวา แตก็ทำใหหุนยนตสามารถเคลื่อนที่ไดอยางอิสระมากขึ้น อีกสวนหลักที่สำคัญของโครงสรางก็คือ
สวนตัวกระทำ (manipulation) ซึ่งจะทำใหหุนยนตสามารถทำงานตาง ๆ ไดตามตองการ กลไกในสวนนี้
มักจะเปนแขนและมือของหุนยนต การออกแบบตัวหุนยนตนั้นเปนศาสตรและศิลปที่นักออกแบบจะตอง
ประยุกตความรูจากหลายแขนงวิชาและเทคโนโลยีที่มีอยู เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคของโครงการ
2. ตัวขับ (actuators) เปนสวนที่ทำใหตัวหุนยนตเกิดการเคลื่อนที่และทำงาน ดวยขอจำกัดทางดาน
เทคโนโลยีในปจจุบัน ตนกำลังในหุนยนตจะใชมอเตอรเปนสวนใหญ และอาจจะมีกลไกซึ่งทำหนาที่ลด
ทอนความเร็วและเพิ่มแรงขับใหเหมาะสมกับภาระ (load) หุนยนตอาจขับเคลื่อนดวยแรงดันจากของไหล
(fluid power) สำหรับงานที่มีภาระหนัก แตในอนาคตเราอาจจะไดเห็นนวัตกรรมใหมทางดานตนกำลัง
1.1 หุนยนตคืออะไร 3
รูปที่ 1.1.1 แผนภูมิแทงแสดงปริมาณของหุนยนตอุตสาหกรรมที่ใชงานอยูทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง
เชน การใชวัสดุตระกูลพอลิเมอร (polymer) ในการสรางระบบตัวขับแบบกระจาย (distributed actuator
system) เพื่อขับเคลื่อนหุนยนต ดังเชนรางกายมนุษยที่เคลื่อนไหวไดดวยกลามเนื้อ
3. ตัวรับรู (sensors) เปนสวนที่ทำหนาที่ตรวจวัด (acquire) ขอมูลที่เกี่ยวของกับระบบและสิ่งแวดลอมใน
แบบทันที (real-time) เพื่อปอนใหสวนประมวลผลและควบคุมตอไป ขอมูลอาจจะมีโครงสรางที่งาย เชน
ตำแหนงหรือความเร็วของตัวขับ หรืออาจจะเปนขอมูลที่มีขนาดใหญและซับซอน เชน ขอมูลที่ไดจาก
กลอง ณ เวลาหนึ่ง อาจจะประกอบไปดวยขอมูลสีของจุดภาพ (pixel) ในระนาบหนึ่ง ๆ และขอมูลความลึก
(depth) ของพื้นผิวที่อยูในมุมมอง ณ ขณะเวลานั้น
4. สวนประมวลผลและควบคุม ทำหนาที่คลายกับระบบสมองของมนุษย กลาวคือ มันจะรับขอมูลจาก
ตัวรับรูตาง ๆ (sensor data fusion) เพื่อนำมาประมวลผลและคำนวณสัญญาณควบคุม (control signal)
สงตอไปยังตัวขับ ใหหุนยนตทำงานตามความตองการ โดยทั่วไปแลวคอมพิวเตอรมักถูกนำมาใชในการ
ดำเนินการ (implement) สำหรับสวนนี้ ทวา ณ ปจจุบันไดเริ่มมีงานวิจัยที่ใชสมองของสัตวเลี้ยงลูกดวย
นม เชนลิงและผูพิการทางแขน เปนสวนประมวลผลและควบคุมหุนยนต หรือแขนเทียม (bionic arm)
โดยทั่วไปแลวองคประกอบทั้ง 4 สวนนี้มักมีความสัมพันธกันดังแสดงในแผนภาพของรูปที่ 1.1.2 ระบบ
หุนยนตจะรับคำสั่ง ซึ่งอาจะเปนคำสั่งขั้นสูง เชน การสื่อสารของมนุษย สวนประมวลผลและควบคุมจะทำ
หนาที่แปลงคำสั่งเหลานั้นเปนคำสั่งปฐมฐาน (primitive command) และนำไปประมวลกับขอมูลที่ไดรับจาก
ตัวรับรู เพื่อที่จะคำนวณสัญญาณควบคุมตัวขับ ใหหุนยนตทำงานตามคำสั่งตอไป ในอนาคตเราอาจจะได
เห็นการรวมหนวย (integration) ขององคประกอบทั้ง 4 สวนของหุนยนตที่ไมสามารถแบงแยกไดอยางชัดเจน
4 1 บทนำ
รูปที่ 1.1.2 องคประกอบของหุนยนตและความสัมพันธระหวางกัน
อีกตอไป กอปรกับพัฒนาการที่กาวกระโดดในงานวิจัยดานความฉลาดเทียม (artificial intelligence) ทำให
หุนยนตมีคุณลักษณะและความสามารถเขาใกลมนุษยมากขึ้นทุกขณะ ดังบทละครหรือนวนิยายซึ่งเปนที่มาของ
คำวา หุนยนต
1.2 ประวัติศาสตรของหุนยนตแบบอนุกรม
งานวิจัยแรกที่เกี่ยวของกับหุนยนตนั้นเริ่มในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หองปฏิบัติการวิจัยแหงชาติ
สหรัฐอเมริกา ณ เมืองอารกอน และ โอค ริดจ (Argonne and Oak Ridge National Laboratories) ไดพัฒนา
หุนยนตขับเคลื่อนระยะไกล (teleoperation robot) ผานกลไกกานตอ (mechanical linkage) เพื่อใชในการ
เคลื่อนยายสารกัมมันตภาพรังสี ตอมาบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริกส (General Electric) และบริษัทเจเนอรัล
มิลล (General Mills) ไดใชมอเตอรแทนในการขับเคลื่อน นอกจากนี้ยังไดมีการเสริมระบบปอนกลับแรง
(force feedback) เพื่อปองกันไมใหผูควบคุม เคลื่อนหุนยนตทาส (slave robot) ไปชนกับตูกระจกอีกดวย
ใน พ.ศ. 2497 จอรจ ดีโวล (George Devol) ไดพัฒนาหุนยนตที่สามารถรับชุดคำสั่ง (programmable
robot) ไดสำเร็จเปนตัวแรก โดยใชตัวควบคุมของเครื่องซีเอ็นซี (computer numerical control machine)
ตอมา โจเซฟ เอนเกลเบอเกอร (Joseph Engelberger) ไดซื้อสิทธิบัตร และกอตั้งบริษัทยูนิเมชัน (Unimation)
ขึ้น ซึ่งไดทำการผลิตและติดตั้งหุนยนตตัวแรกใหกับบริษัทเจเนอรัลมอเตอรส (General Motors) สำหรับ
งานขึ้นรูปพิมพแมแบบ (die cast) บริษัทไดปฏิวัติรูปแบบโครงสรางของหุนยนตจากเดิมที่เปนลักษณะของ
เครื่องจักรกลการผลิต มาเปนรูปแบบแขนกลที่มีโครงสรางแบบโซเปด (open kinematic chain) สงผลให
หุนยนตมีปริภูมิทำงาน (workspace) เพิ่มขึ้นมาก ทวามีขอเสียดานความแมนยำและความแข็งเกร็งที่ลดลง
ของจุดปลายที่ใชทำงาน
ชวงเวลาเดียวกันนี้ มหาวิทยาลัยไดเริ่มมีบทบาทในการวิจัยที่เกี่ยวกับหุนยนต ที่สถาบันเทคโนโลยีแหง
มลรัฐแมสซาชูเซตส เอิรนส (Ernst) ไดพัฒนาหุนยนตที่มีความสามารถในการรับรูแรง (force sensing) ขึ้นใน
พ.ศ. 2505 ทำใหมันเปนหุนยนตตัวแรกที่มีความสามารถทำงานกับสภาพแวดลอมที่ไรโครงสราง (unstruc-
tured environment) ได ในปตอมามีการพัฒนาระบบการรับรูภาพแบบขาวดำสำหรับหุนยนตขึ้นเปน
ครั้งแรก เพื่อใชหลบหลีกสิ่งกีดขวาง มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ เชน มหาวิทยาลัยสแตนฟอรด มหาวิทยาลัย
1.2 ประวัติศาสตรของหุนยนตแบบอนุกรม 5
รูปที่ 1.2.1 แขนหุนยนตของมหาวิทยาลัยสแตนฟอรด ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑประวัติศาสตรภาควิชา
วิทยาการคอมพิวเตอร มหาวิทยาลัยสแตนฟอรด
เอดินเบิรก ตางก็ไดพัฒนาแขนหุนยนตแบบอนุกรมขึ้นมาเพื่อการวิจัย รูปที่ 1.2.1 แสดงแขนหุนยนตของ
มหาวิทยาลัยสแตนฟอรด ออกแบบโดย วิกเตอร เชนแมน (Victor Scheinman) ที่มีโครงสรางจลนศาสตรหลัก
(main kinematical structure) แบบพิกัดทรงกลม (spherical coordinates) และมีจำนวนองศาเสรี (degree
of freedom) เทากับ 6
ใน พ.ศ. 2517 บริษัทซินซินเนติ มิลาครอน (Cincinnati Milacron) ซึ่งเปนผูผลิตเครื่องจักรกล ไดเปดตัว
หุนยนตอุตสาหกรรมตัวแรกของบริษัท มีชื่อวา The Tomorrow Tool (T3) ซึ่งสามารถยกของหนักไดถึง
100 ปอนด ตอมาใน พ.ศ. 2521 บริษัทยูนิเมชันไดเปดตัวหุนยนต PUMA (Programmable Universal
Machine for Assembly) ซึ่งเปนที่รูจักกันดี และยังมีการใชงานมาจนถึงทุกวันนี้ หุนยนตซีรีส 500 ของ
ตระกูล PUMA ดังแสดงในรูปที่ 1.2.2 เปนหนึ่งในหุนยนตที่ไดรับความนิยมมากที่สุด
จุดเริ่มตนของหุนยนตอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุน เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 บริษัทคาวาซากิ (Kawa-
saki) ไดซื้อลิขสิทธิ์การผลิตหุนยนตจากบริษัทยูนิเมชัน หลังจากนั้นอีก 11 ปตอมา ญี่ปุนไดออกแบบและ
ผลิตหุนยนตประเภท SCARA (Selective Compliant Articulated Robot for Assembly) โครงสรางนี้
ถูกใชกันอยางแพรหลายเปนอันดับที่ 3 สำหรับงานประเภทการประกอบ (assembly operation) ในแนวดิ่ง
ปจจุบัน ญี่ปุนยังคงเปนประเทศที่มีการใชหุนยนตในอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุด มีบริษัทผูผลิตหุนยนต
ชั้นนำมากมาย เชน บริษัทฟานัก (Fanuc) บริษัทเอปซอน (Epson) บริษัทเดนโซ (Denso) บริษัทมิตซูบิชิ (Mit-
subishi) บริษัทคาวาดะ (Kawada) สวนบริษัทผูผลิตหุนยนตในประเทศแถบอเมริกาเหนือและยุโรปก็มี เชน
บริษัทอเดปต (Adept) สัญชาติอเมริกัน บริษัทคูกา (KUKA) สัญชาติเยอรมัน บริษัทเอบีบี (ABB) สัญชาติสวิส
พฤติกรรมที่ไมพึงประสงคของแรงเสียดทาน ระยะคลอน (backlash) หรือการสั่นสะเทือนอันเนื่องมาจาก
ระบบลดความเร็ว (speed reducer system) และระบบสงผานกำลัง (power transmission system) ทำให
6 1 บทนำ
รูปที่ 1.2.2 หุนยนต PUMA 500 ของบริษัทยูนิเมชัน
เกิดแนวความคิดในการสรางหุนยนตที่ขับเคลื่อนโดยตรง (direct-drive robot) จากแกนเพลาของมอเตอร ที่
มหาวิทยาลัยคารเนกี เมลลอน เมื่อ พ.ศ. 2524 การออกแบบหุนยนตแบบแขนกลใหมีประสิทธิภาพดีขึ้น
นั้นยังคงไดรับความสนใจเรื่อยมา เชน การคิดคนกลไกการสงผานกำลังที่มีประสิทธิภาพ การใชเทคโนโลยีของ
ตัวขับและตัวรับรูแบบลาสุด (state-of-the-art actuators and sensors) หรือแมกระทั่งการวิจัยเกี่ยวกับ
โครงสรางของหุนยนตและระบบขับเคลื่อนใหม ๆ ใหมีผลตอบสนองทางพลศาสตร (dynamic response) ที่ดี
ขึ้น
ตัวอยางของแขนหุนยนตที่มีประสิทธิภาพสูงในปจจุบัน ไดแก แขนหุนยนต WAM (Whole Arm Manipu-
lator) และแขนหุนยนต LWR (Light Weight Robot) คุณลักษณะเดนของหุนยนต WAM เปนหุนยนตที่ใช
ระบบเคเบิลและรอก (cable and pulley system) เพื่อสงกำลังไปยังขอตอตาง ๆ ของมัน ทำใหหุนยนตมี
น้ำหนักเบา เหมาะแกงานที่ตองการควบคุมแรงกระทำ เชน ระบบสัมผัส (haptic system) ระบบควบคุมระยะ
ไกล (teleoperation system) สวนคุณลักษณะเดนของหุนยนต LWR นั้นอยูตรงที่การใชเทคโนโลยีการรวม
หนวยของตัวขับ ตัวรับรู และสวนประมวลผลและควบคุมแบบกระจาย (distributed control system) เขา
เปนมอดูล (module) เดียวกัน ทำใหสามารถลดขนาดและน้ำหนักของแขน ซึ่งทำมาจากคารบอนไฟเบอร
ไดมาก เมื่อเทียบกับหุนยนตแบบขับเคลื่อนโดยตรง รูปที่ 1.2.3 และ 1.2.4 แสดงแขนหุนยนต WAM และ
LWR
1.3 หุนยนตแบบอนุกรม 7
รูปที่ 1.2.3 แขนหุนยนต WAM ของบริษัทแบเรตต เทคโนโลยี (Barrett Technology)
รูปที่ 1.2.4 แขนหุนยนต LWR ของบริษัทคูกา โรบ็อต (KUKA Robot)
1.3 หุนยนตแบบอนุกรม
หนังสือเลมนี้จะกลาวถึงหุนยนตแบบอนุกรม (serial robot) ซึ่งเปนโครงสรางของหุนยนตอยางงายที่สุด
และถูกใชมากที่สุดในสวนของตัวกระทำ และยังเปนพื้นฐานที่สำคัญของหุนยนตแบบอื่น ๆ อีกดวย
หุนยนตแบบอนุกรมเปนหุนยนตที่มีโครงสรางหลักทางกล อันประกอบขึ้นจากการตอกันของกานตอ (link)
ตาง ๆ ดวยขอตอ (joint) จากสวนฐาน (base) ซึ่งอาจไมอยูนิ่งกับที่ เรียงลำดับไปจนถึงสวนปลายแขน (end
effector) ลักษณะการตอกันของกานตอเชนนี้จะทำใหมีเสนทางที่เชื่อมระหวางจุด 2 จุดใด ๆ บนโครงสราง
8 1 บทนำ
รูปที่ 1.3.1 แผนภาพแนวคิดของหุนยนตที่มีโครงสรางแบบโซเปด
เพียงเสนทางเดียว ซึ่งเรียกวาโครงสรางแบบโซเปด ดังแสดงดวยแผนภาพแนวคิดในรูปที่ 1.3.1 โครงสราง
เชนนี้พบไดทั่วไป เชน แขนหรือขาของสิ่งมีชีวิต ตอไปนี้จะขอกลาวถึงองคประกอบที่สำคัญของหุนยนตแบบ
อนุกรม
1. กานตอ เปนชิ้นสวนสำคัญที่ประกอบขึ้นเปนตัวหุนยนต โดยสวนมากกานตอมักทำจากวัสดุที่แข็งแรง
ดังนั้น ในการวิเคราะหเบื้องตนจึงนิยมสมมติใหกานตอเปนวัตถุแข็งเกร็ง กานตออาจมีรูปทรงที่แตกตาง
กันไปตามการออกแบบและการใชสอย แตกานตอทุกชิ้นจะตองมีสวนที่ใชเชื่อมตอกับกานตอชิ้นอื่น ๆ อยาง
นอย 1 จุด ดังแสดงในรูปที่ 1.3.2 อนึ่ง กานตอ 2 ชิ้นที่มีการเชื่อมตอกันจริงในทางกายภาพ แตมิไดมีการ
เคลื่อนที่สัมพัทธ (relative motion) กันเลย อาจถือเปนกานตอชิ้นเดียวกันได
2. ขอตอ เกิดจากการประสานกานตอตั้งแต 2 ชิ้นเขาดวยกัน โดยอาจมีชิ้นสวนเสริม เชน เพลา หรือบุชชิง
(bushing) ชวยในการเคลื่อนที่สัมพัทธ ในมุมมองของจลนศาสตร ขอตอเปนชิ้นสวนที่จำกัดการเคลื่อนที่
สัมพัทธของกานตอ หากไมมีขอตอเลย กานตอ 2 ชิ้นจะไมถูกจำกัดการเคลื่อนที่ และสามารถเคลื่อนที่
ไดอยางอิสระ ในอีกดานหนึ่งขอตออาจจะจำกัดการเคลื่อนที่สัมพัทธของกานตออยางสมบูรณ เชน ขอ
ตอจากการเชื่อมกานตอเขาดวยกัน ขอตอที่มักพบโดยทั่วไปในหุนยนตมักเปนขอตออยางงาย (simple
joint) ซึ่งเปนขอตอที่จำกัดจำนวนองศาเสรีของการเคลื่อนที่สัมพัทธ จาก 6 ลดลงเหลือ 1 (single degree
of freedom)
ในบรรดาขอตออยางงาย ขอตอแบบเชิงมุม (revolute joint ยอดวยตัวอักษร R) และขอตอแบบเชิงเสน
(prismatic joint ยอดวยตัวอักษร P) ดังแสดงในรูปที่ 1.3.2 เปนขอตอที่มีการใชงานมากที่สุดตามลำดับ
1.3 หุนยนตแบบอนุกรม 9
(a) กานตอและขอตอแบบเชิงมุม (b) กานตอและขอตอแบบเชิงเสน
รูปที่ 1.3.2 กานตอและขอตอทั่วไป
เนื่องดวยความงายในการออกแบบและจัดสราง สัญลักษณของขอตอทั้ง 2 ชนิดที่นิยมใชในแผนภาพ
จลนศาสตรของโครงสรางหุนยนต ถูกแสดงในรูปที่ 1.3.3
หุนยนตทั่วไปมักจะติดตั้งตัวขับที่ขอตอ เนื่องจากเปนจุดที่สามารถควบคุมการเคลื่อนที่สัมพัทธของกาน
ตอไดสะดวกที่สุด หากเปนขอตอแบบเชิงมุม กานตอจะหมุนสัมพัทธรอบแกนขอตอ (joint axis) ที่ทับกัน
(coincide) กับแนวเพลา และแกนของเพลามอเตอร ในกรณีของขอตอแบบเชิงเสน กานตอจะเคลื่อนที่
เชิงเสนตามแนวแกนขอตอที่ทับกับแนวบุชชิง และแกนของตัวขับเชิงเสน สำหรับหุนยนตที่มีโครงสราง
แบบโซเปดนั้น จำนวนองศาเสรีของหุนยนตจะเทากับผลรวมของจำนวนองศาเสรีของทุก ๆ ขอตอ ดังนั้น
หุนยนตที่ไดรับการออกแบบใหทำงานทั่ว ๆ ไป จึงควรมีจำนวนองศาเสรีขั้นต่ำเทากับ 6 โดยแบงเปนสวน
ของการเคลื่อนที่เชิงเสนเทากับ 3 และการเคลื่อนที่เชิงมุมเทากับ 3
(a) สัญลักษณของขอตอแบบเชิงมุม (b) สัญลักษณของขอตอแบบเชิงเสน
รูปที่ 1.3.3 สัญลักษณของขอตออยางงายของหุนยนต
10 1 บทนำ
รูปที่ 1.3.4 แผนภาพจลนศาสตรของขอมือแบบทรงกลมที่มีจำนวนองศาเสรีเทากับ 3
3. ฐาน เปนสวนที่ติดกับพื้น (ground) ซึ่งมักจะไมเคลื่อนไหว เชน พื้นหอง หรืออาจจะเคลื่อนไหวได เชน
ฐานของหุนยนตชนิดที่เคลื่อนที่ได (mobile robot) ฐานเปนสวนที่จะตองรองรับแรงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น
เนื่องจากแรงภายนอกและแรงพลศาสตรของหุนยนต ดังนั้น ฐานจะตองไดรับการออกแบบใหมีความแข็ง
แรงอยางพอเพียง นอกจากนี้แลวฐานยังมีความสำคัญในฐานะที่มักถูกใชเปนตำแหนงของเฟรมอางอิง
(reference frame, base frame) อีกดวย
4. ขอมือ (wrist) เปนสวนของโครงสรางที่ประกอบขึ้นมาจากกานตอและขอตอ ที่มักใหการเคลื่อนที่สัมพัทธ
แบบหมุน รอบจุดศูนยกลางของขอมือ (wrist center, wrist point) เรียกวาขอมือแบบทรงกลม (spheri-
cal wrist) ดังแสดงดวยแผนภาพจลนศาสตรในรูปที่ 1.3.4 ขอมือมักไดรับการติดตั้ง ณ ปลายของแขน
สวนลาง (forearm) กอนถึงสวนปลายแขน ขอมือที่มีการเคลื่อนที่สัมพัทธแบบหมุนรอบจุดรวม จะมีแกน
ขอตอทำงาน (effective joint axis) ตัดกัน ณ จุดรวมนั้น โครงสรางเชนนี้ชวยใหทำการวิเคราะหทาง
จลนศาสตรไดงายขึ้น กลาวโดยยอคือจะทำใหการวิเคราะหตำแหนง (position) และการหมุน (orienta-
tion) ของสวนปลายแขนนั้น แยกจากกัน (decouple) ได สงผลใหสามารถหาผลเฉลยปด (closed-form
solution) ของปญหาจลนศาสตรผกผันได
5. สวนปลายแขน เปนสวนที่มักติดตั้งถัดจากขอมือ เพื่อใชทำงานที่ตองการ สวนปลายแขนมีหลายรูป
แบบ ขึ้นอยูกับลักษณะงานที่ทำ สวนปลายแขนแบบที่งายที่สุดไดแกตัวจับ (gripper) ที่มีจำนวนองศาเสรี
เทากับ 1 สำหรับการเปดและปดเพื่อจับวัตถุที่ตองการ ดังแสดงในรูปที่ 1.3.5 โดยทั่วไปแลวหุนยนตมักถูก
ออกแบบใหสามารถเปลี่ยนสวนปลายแขน เพื่อการทำงานที่หลากหลาย มือหุนยนต (hand) ที่ประกอบ
ไปดวยนิ้วและฝามือ ดังเชนที่ติดอยูกับแขนหุนยนต WAM ในรูปที่ 1.2.3 เปนตัวอยางของสวนปลายแขนชนิด
ซับซอน

More Related Content

Similar to 9789740331780

เกร็ดความรู้ Internet tips กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
เกร็ดความรู้ Internet tips กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศเกร็ดความรู้ Internet tips กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
เกร็ดความรู้ Internet tips กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศนู๋ เฟิร์น
 
โครงร่างสกุลเงินในอาเซียน
โครงร่างสกุลเงินในอาเซียนโครงร่างสกุลเงินในอาเซียน
โครงร่างสกุลเงินในอาเซียนNuttawat Sawangrat
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์num norbnorm
 
ใบงานที่4
ใบงานที่4ใบงานที่4
ใบงานที่4Intangible Mz
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงานNuTty Quiz
 
BuildTech'12 SHOW DAILY ฉบับที่ 1
BuildTech'12 SHOW DAILY ฉบับที่ 1 BuildTech'12 SHOW DAILY ฉบับที่ 1
BuildTech'12 SHOW DAILY ฉบับที่ 1 ttfintl
 
โครงงานคอมพิวเตอร์2
โครงงานคอมพิวเตอร์2โครงงานคอมพิวเตอร์2
โครงงานคอมพิวเตอร์2Ploy Wanida
 
Newsletter 08
Newsletter 08Newsletter 08
Newsletter 08nnnstda
 
แผนการสอนที่6
แผนการสอนที่6แผนการสอนที่6
แผนการสอนที่6Jub Jib
 
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7Aungkana Na Na
 
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7Aungkana Na Na
 

Similar to 9789740331780 (20)

เกร็ดความรู้ Internet tips กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
เกร็ดความรู้ Internet tips กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศเกร็ดความรู้ Internet tips กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
เกร็ดความรู้ Internet tips กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
นาย ศุภกร ม่วงจุ้ย
นาย ศุภกร ม่วงจุ้ย นาย ศุภกร ม่วงจุ้ย
นาย ศุภกร ม่วงจุ้ย
 
บทที่ 2
บทที่ 2 บทที่ 2
บทที่ 2
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
 
โครงร่างสกุลเงินในอาเซียน
โครงร่างสกุลเงินในอาเซียนโครงร่างสกุลเงินในอาเซียน
โครงร่างสกุลเงินในอาเซียน
 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
จดหมายข่าวสำนักหอสมุด ม.รังสิต ปีที่ 9 ฉบับ 2 เดือน ก.พ.55
จดหมายข่าวสำนักหอสมุด ม.รังสิต ปีที่ 9 ฉบับ 2 เดือน ก.พ.55จดหมายข่าวสำนักหอสมุด ม.รังสิต ปีที่ 9 ฉบับ 2 เดือน ก.พ.55
จดหมายข่าวสำนักหอสมุด ม.รังสิต ปีที่ 9 ฉบับ 2 เดือน ก.พ.55
 
ใบงานที่4
ใบงานที่4ใบงานที่4
ใบงานที่4
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
BuildTech'12 SHOW DAILY ฉบับที่ 1
BuildTech'12 SHOW DAILY ฉบับที่ 1 BuildTech'12 SHOW DAILY ฉบับที่ 1
BuildTech'12 SHOW DAILY ฉบับที่ 1
 
Vol01
Vol01Vol01
Vol01
 
โครงงานคอมพิวเตอร์2
โครงงานคอมพิวเตอร์2โครงงานคอมพิวเตอร์2
โครงงานคอมพิวเตอร์2
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
(บทที่ 1)
(บทที่ 1)(บทที่ 1)
(บทที่ 1)
 
May
MayMay
May
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
 
Newsletter 08
Newsletter 08Newsletter 08
Newsletter 08
 
แผนการสอนที่6
แผนการสอนที่6แผนการสอนที่6
แผนการสอนที่6
 
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
 
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน 7
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740331780

  • 1. คำนำ สถานการณของหุนยนตในประเทศไทย ณ ปจจุบันมีความตื่นตัวอยางมาก ระบบหุนยนตและเครื่องจักร อัตโนมัติไดถูกนำมาใชในภาคการผลิตตาง ๆ นับตั้งแตอุตสาหกรรมที่ใชเทคโนโลยีชั้นสูง เชน อุตสาหกรรม ฮารดดิสก (hard disk) อุตสาหกรรมรถยนต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส (electronics) จนถึงอุตสาหกรรม ขนาดกลางและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เชน เครื่องหยอดเมล็ดพันธุขาว เครื่องสีขาว ระบบผลิตอาหารกระปอง สำเร็จรูป เครื่องบรรจุผลิตภัณฑอาหารตาง ๆ ในสวนภาคการบริการไดมีการนำเขาหรือประดิษฐหุนยนต หรืออุปกรณเพื่อใชในงานตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับมนุษย เชน การผาตัดโดยเปดแผลใหเล็กที่สุดเทาที่จะทำได (minimal invasive surgery) และใชหุนยนตชวยทำการผาตัด เครื่องทำกายภาพบำบัดตาง ๆ ยานพาหนะ เซกเวย (Segway® human transporter) อุปกรณแฮปติก (haptics device) เพื่อชวยออกแบบผลิตภัณฑ เครื่องจำลองการบิน (flight simulator) หุนยนตเพื่อการบริการและเพื่อความบันเทิงตาง ๆ ในสวนภาคการ ศึกษานั้น ไดมีการจัดการอบรมและแขงขันหุนยนตชนิดตาง ๆ สำหรับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ทั้ง ระดับชาติและระดับนานาชาติตลอดทั้งป มีรายการและสื่อตาง ๆ ที่ใหความรูเกี่ยวกับเทคโนโลยีหุนยนตเปน จำนวนมาก และมีการเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวของกับวิทยาการหุนยนตในหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและ ระดับมัธยมศึกษาในบางโรงเรียนดวย อยางไรก็ตาม หนังสือภาษาไทยที่ใหความรูเกี่ยวกับวิทยาการหุนยนตยังมีคอนขางนอยมาก โดยเฉพาะ หนังสือที่กลาวถึงทฤษฎีในการวิเคราะหหุนยนต ซึ่งมีความสำคัญอยางยิ่งสำหรับการออกแบบและประดิษฐ หุนยนตเพื่อการทำงานอยางมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสูการพัฒนาอุตสาหกรรมหุนยนตในประเทศใหเปนรูป ธรรมและยั่งยืนไดในที่สุด เหตุจูงใจดังกลาวเปนแรงปรารถนาใหผูเขียนตัดสินใจแตงหนังสือเลมนี้ขึ้นเพื่อหวังให เปนแหลงอางอิงความรูพื้นฐานที่จำเปนสำหรับการวิเคราะหหุนยนต เนื่องจากศาสตรของหุนยนตมีความเกี่ยวของกับความรูจากหลากหลายสาขาวิชา นอกจากนี้แลวในแตละ แขนงวิชายังมีรายละเอียดและประเด็นศึกษาที่สามารถแตกยอยไปไดมากมาย ดังนั้นจึงเปนไปไมไดเลย ที่หนังสือเพียงเลมเดียวจะสามารถบรรยายครอบคลุมความรูทุกแงมุมของหุนยนตในรายละเอียดเพียงพอ สำหรับการนำไปใชงานไดจริง ดวยตระหนักถึงขอจำกัดดังกลาว หนังสือเลมนี้จึงมุงเนนที่จะนำเสนอราย ละเอียดเกี่ยวกับกลศาสตร (mechanics) ของหุนยนตแบบอนุกรม (serial robot) ซึ่งเปนหุนยนตที่มีโครงสราง ประกอบขึ้นดวยกานตอและขอตอจากสวนปลายฐาน เรียงลำดับไปจนถึงสวนปลายแขนที่ใชทำงานตาง ๆ v
  • 2. vi หัวขอดังกลาวเปนหัวขอพื้นฐาน ทวามีความสำคัญในการออกแบบและประดิษฐหุนยนต ความรูเหลานี้จะ เปนเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะหหุนยนตหรือกลไกวาสามารถตอบสนองความตองการในการออกแบบได อยางดีหรือไม ในอีกมุมหนึ่ง ผลจากการวิเคราะหจะชวยเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการออกแบบให บรรลุวัตถุประสงค นอกจากนี้แลวความรูทางกลศาสตรยังมีความจำเปนตอการประดิษฐระบบควบคุมหุนยนต หรือกลไกที่เหมาะสมอีกดวย นอกเหนือไปจากแงมุมของการใชงานแลว ความรูในหนังสือเลมนี้เปนพื้นฐานที่จำเปนตอการศึกษาและ การวิจัยวิทยาการหุนยนตในหัวขอขั้นสูงหรือหัวขอเฉพาะทางตอไป เชน กลศาสตรของหุนยนตแบบขนาน กลศาสตรของหุนยนตที่มีความยืดหยุน กลศาสตรของหุนยนตแบบลอ การควบคุมหุนยนตดวยเทคนิคตาง ๆ ดังนั้น หนังสือเลมนี้จึงเหมาะสำหรับผูอานที่สนใจในวิทยาการหุนยนต และตองการเรียนรูแนวคิดและวิธีการ ในการวิเคราะหกลศาสตรโดยใชระบบหุนยนตแบบอนุกรมเปนจุดเริ่มตนในการศึกษา อยางไรก็ดี ผูอาน ควรมีทักษะการวิเคราะหกลศาสตรของวัตถุที่เคลื่อนที่ในระนาบมาบาง นอกจากนี้แลวความรูพื้นฐานทาง คณิตศาสตร โดยเฉพาะตรีโกณมิติ เมทริกซและพีชคณิตเชิงเสน จะชวยเสริมใหผูอานมีความเขาใจในประเด็นที่ ละเอียดสุขุมไดดียิ่งขึ้น หนังสือเลมนี้สามารถใชศึกษาไดดวยตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรูและทักษะที่จำเปนในการออกแบบและ ประดิษฐหุนยนตหรือการวิจัยขั้นสูงตอไป หรืออาจใชประกอบการเรียนการสอนวิชาหุนยนตในระดับปริญญา ตรีและบัณฑิตศึกษาที่มีเนื้อหาหลักสูตรเกี่ยวของกับกลศาสตรของหุนยนตก็ได ยกตัวอยางเชน ที่ภาควิชา วิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนั้น มีรายวิชาที่สอนเกี่ยวกับหุนยนตอยู 2 รายวิชา ไดแก รายวิชา 2103530 หุนยนตอุตสาหกรรม 1 และรายวิชา 2103630 หุนยนตอุตสาหกรรม 2 ใช เวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 2 ภาคการศึกษา รายวิชา 2103530 เปดสอนสำหรับนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปที่ 4 ทำการปูพื้นฐานของหุนยนตแบบอนุกรมที่จำเปน ครอบคลุมหัวขอการบรรยายตำแหนงและทิศทางการหมุนใน ปริภูมิสามมิติและการแปลง จลนศาสตรขางหนาของหุนยนตแบบอนุกรม จลนศาสตรผกผันของหุนยนตแบบ อนุกรม อนุพันธของจลนศาสตร การออกแบบเสนทางการเคลื่อนที่ และการออกแบบกลไก ซึ่ง 2 หัวขอหลังนี้ อยูนอกเหนือขอบเขตของหนังสือเลมนี้ สวนรายวิชา 2103630 นั้น เปดสอนสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มีการบรรยายในหัวขอชั้นสูงตอจากรายวิชา 2103530 ไดแก พลศาสตรของหุนยนต การควบคุมหุนยนต และ หัวของานวิจัยขั้นสูงที่นาสนใจ ในการศึกษาหนังสือเลมนี้ ผูเขียนขอแนะนำใหผูอานเริ่มตนศึกษาตั้งแตบทแรก เรื่อยไปจนบทสุดทายเนื่องจากเนื้อหามีความตอเนื่องกัน หากผูอานไดเคยศึกษากลศาสตรของหุนยนตแบบ อนุกรมมาแลว และตองการทบทวนเฉพาะแนวคิดในการวิเคราะห ผูอานอาจขามหัวขอยอยบางหัวขอหรืออาจ ไมจำเปนตองศึกษาโดยละเอียดมากนัก แตถาผูอานตองการทราบรายละเอียดการคำนวณดวยแลว ขอแนะนำ ใหเริ่มศึกษาตั้งแตบทแรกเรื่อยไปจนบทสุดทายเนื่องจากสัญกรณที่ใชในหนังสือเลมนี้อาจมีความแตกตางจาก เลมอื่น ๆ เนื้อหาในหนังสือเลมนี้ถูกนำเสนออยางคอยเปนคอยไปตามลำดับความคิด แตละบทจะเริ่มตนดวยการเกริ่น นำเนื้อหาในบทนั้น ๆ กอน โดยชี้ใหเห็นถึงความเกี่ยวของซึ่งกันและกันของหัวขอยอย ๆ สำหรับแตละหัวขอ ผูเขียนจะเริ่มอธิบายจากแนวความคิด กอนที่จะนำผูอานไปสูรายละเอียด สมการที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาจะถูก
  • 3. vii พัฒนาขึ้นมาอยางเปนขั้นตอน โดยสมการที่สำคัญจะมีการใสหมายเลขอางอิง เมื่อเสร็จสิ้นการอธิบายเนื้อหา ในแตละหัวขอแลว ผูเขียนไดสอดแทรกตัวอยางอยางเพียงพอเพื่อแสดงใหเห็นถึงการนำความรูนั้นไปใชงาน แนวคิดและขั้นตอนในการแกปญหาอยางละเอียดถูกนำเสนอในแตละตัวอยาง ซึ่งผูอานสามารถประยุกตวิธีการ ดังกลาวกับปญหาใหมที่ผูอานอาจประสบในอนาคต ในตอนทายของตัวอยาง ผูเขียนไดพยายามอธิบายความ หมายของคำตอบ หรือเชื่อมโยงผลที่ไดกับหลักการเพิ่มเติม ดังนั้น หากผูอานไดพิเคราะหตามโดยละเอียด เชื่อวาจะทำใหเขาใจกายภาพของระบบดียิ่งขึ้น อันจะเปนประโยชนตอการวิเคราะหและสังเคราะหในภายหนา อนึ่ง ตัวอยางสวนใหญในแตละบทนั้นจะอางอิงกับหุนยนตเดียวกัน เพื่อใหเกิดความตอเนื่องในการวิเคราะห และทำใหผูอานเห็นแนวทางโดยรวมในการวิเคราะหตาง ๆ ของหุนยนตอยางสมบูรณ ในตอนทายของแตละบท ผูเขียนไดสรุปเนื้อหาที่สำคัญในบทนั้น ๆ ตามดวยแบบฝกหัดเพื่อเสริมทักษะ ในการวิเคราะหปญหาของผูอาน แบบฝกหัดรวมถึงตัวอยางสวนใหญมาจากปญหาจริง แบบฝกหัดบางขอ เปนปญหาประยุกตแบบปลายเปด นอกจากนี้แลวบางขอมีความยากหรืออาจนำไปสูความรูเพิ่มเติมนอก เหนือจากในเนื้อหา และเนื่องจากวิทยาการหุนยนตยังคงเปนศาสตรที่มีการวิจัยอยูอยางตอเนื่อง ผูเขียนจึง ไดรวบรวมเอกสารอานเพิ่มเติมที่เกี่ยวของกับเนื้อหาในแตละบท เพื่อใหผูอานสามารถใชเปนจุดเริ่มตนในการ คนควาหาความรูเพิ่มเติมไดอีกดวย ผูเขียนหวังเปนอยางยิ่งวาหนังสือเลมนี้จะยังประโยชนใหแกผูอานทุกทาน หากทานพบขอผิดพลาด หรือ ตองการเสนอแนะ หรือมีประเด็นซึ่งไมกระจางในหนังสือ ขอความกรุณาโปรดแจงใหผูเขียนไดทราบทางอีเมลที่ phongsaen@gmail.com หรือ phongsaen.p@chula.ac.th ซึ่งจะไดทำการแกไขขอผิดพลาดและประกาศไวที่ ยูอารแอล (URL) http://pioneer.chula.ac.th/~pphongsa/books/SerialRobots ตอไป ผูเขียนขอขอบพระคุณบิดามารดาที่ไดใหทุกสิ่งทุกอยางในชีวิต ขอขอบคุณครูบาอาจารยทุกทานที่ได ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรูตาง ๆ คุณความดีทั้งหลายของหนังสือนั้นขอมอบแดทานผูมีพระคุณทั้งหลาย หนังสือเลมนี้ไดรับการสนับสนุนดานงบประมาณจากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช (RES560530224-AS) และจากคณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทายที่สุด ผูเขียนมีความยินดี ยิ่งที่หนังสือเลมนี้ไดรวมเปนสวนหนึ่งในการรวมเฉลิมฉลองศุภวาระครบรอบ 100 ป คณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 พงศแสน พิทักษวัชระ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มกราคม 2557
  • 4.
  • 5. สารบัญ คำนำ .................................................................................. v 1 บทนำ .............................................................................. 1 1.1 หุนยนตคืออะไร ................................................................. 1 1.2 ประวัติศาสตรของหุนยนตแบบอนุกรม .............................................. 4 1.3 หุนยนตแบบอนุกรม ............................................................. 7 1.4 โครงสรางทางจลนศาสตรของหุนยนต............................................... 11 1.5 โครงรางของหนังสือ.............................................................. 16 2 การบรรยายตำแหนงและทิศทางการหมุนในปริภูมิสามมิติ และการแปลง ................... 17 2.1 ตำแหนงของจุด ................................................................. 17 2.2 ทิศทางการหมุน ................................................................. 21 2.2.1 เมทริกซการหมุน.......................................................... 21 2.2.2 การใชงานของเมทริกซการหมุน ............................................. 26 2.2.3 เมทริกซการหมุนทั่วไป ..................................................... 30 2.2.4 มุมออยเลอร.............................................................. 33 2.2.5 มุมเทียบกับเฟรมอางอิง .................................................... 37 2.2.6 มุมและแกนหมุน .......................................................... 40 2.2.7 พารามิเตอรของออยเลอร และควอเทอรเนียนหนึ่งหนวย ........................ 44 2.3 การแปลงเวกเตอรตำแหนง และการอธิบายตำแหนงและการหมุนของวัตถุแข็งเกร็ง ........ 51 2.4 สรุป ........................................................................... 55 แบบฝกหัด .......................................................................... 61 เอกสารอานเพิ่มเติม .................................................................. 64 v
  • 6. vi สารบัญ 3 จลนศาสตรขางหนาของหุนยนตแบบอนุกรม ............................................ 65 3.1 ปญหาจลนศาสตรขางหนา ........................................................ 65 3.2 สัญนิยมของเดนาวิทและฮาเทนเบิรก ............................................... 70 3.3 จลนศาสตรขางหนาของหุนยนตแบบตาง ๆ .......................................... 74 3.4 ปริภูมิของตัวขับ ปริภูมิของขอตอ และปริภูมิของการทำงาน............................ 93 3.5 สรุป ........................................................................... 96 แบบฝกหัด .......................................................................... 99 เอกสารอานเพิ่มเติม .................................................................. 110 4 จลนศาสตรผกผันของหุนยนตแบบอนุกรม .............................................. 111 4.1 ลักษณะของผลเฉลยในปญหาจลนศาสตรผกผัน ...................................... 111 4.1.1 การมีอยูของคำตอบ ....................................................... 112 4.1.2 การมีคำตอบหลายคำตอบ .................................................. 113 4.2 วิธีการในการวิเคราะหจลนศาสตรผกผัน............................................. 115 4.2.1 วีธีการพีชคณิต............................................................ 115 4.2.2 วิธีการเรขาคณิต .......................................................... 118 4.3 จลนศาสตรผกผันของหุนยนตแบบตาง ๆ ............................................ 121 4.4 วิธีการของไปเปอร ............................................................... 153 4.5 สรุป ........................................................................... 162 แบบฝกหัด .......................................................................... 165 เอกสารอานเพิ่มเติม .................................................................. 167 5 อนุพันธของจลนศาสตร .............................................................. 169 5.1 เมทริกซจาโคเบียนเชิงเรขาคณิต ................................................... 170 5.1.1 ความเร็วเชิงเสนสัมพัทธของจุด 2 จุดใด ๆ..................................... 170 5.1.2 ความเร็วเชิงมุมสัมพัทธของวัตถุ ............................................. 171 5.1.3 ความเร็วของหุนยนต ...................................................... 172 5.1.4 การคำนวณเมทริกซจาโคเบียน .............................................. 173 5.2 เมทริกซจาโคเบียนเชิงวิเคราะห .................................................... 186 5.3 สภาวะเอกฐานของหุนยนต........................................................ 193 5.4 เมทริกซจาโคเบียนผกผัน ......................................................... 219 5.4.1 เมทริกซจาโคเบียนที่มีคาลำดับชั้นเทากับจำนวนแถว............................ 220 5.4.2 เมทริกซจาโคเบียนที่มีคาลำดับชั้นนอยกวาจำนวนแถว .......................... 224 5.5 แรงสถิต........................................................................ 229
  • 7. สารบัญ vii 5.6 ภาวะคูกันของจลนศาสตรและสถิตยศาสตร.......................................... 231 5.7 การแปลงของความเร็วและแรง .................................................... 235 5.8 ความสามารถในการดำเนินการของหุนยนต.......................................... 239 5.9 สรุป ........................................................................... 255 แบบฝกหัด .......................................................................... 259 เอกสารอานเพิ่มเติม .................................................................. 262 6 พลศาสตรของหุนยนต ............................................................... 265 6.1 การพัฒนาแบบจำลองทางพลศาสตรดวยระเบียบวิธีลากรานจ .......................... 266 6.1.1 พลังงานจลนของหุนยนต ................................................... 267 6.1.2 พลังงานศักยของหุนยนต ................................................... 271 6.1.3 สมการการเคลื่อนที่ของหุนยนต ............................................. 272 6.2 ตัวอยางการพัฒนาแบบจำลองทางพลศาสตรของหุนยนตดวยระเบียบวิธีลากรานจ ......... 276 6.3 การพัฒนาแบบจำลองทางพลศาสตรดวยระเบียบวิธีนิวตันและออยเลอร.................. 306 6.3.1 การวิเคราะหจลนศาสตรกาวหนาแบบวนซ้ำ ................................... 307 6.3.2 การวิเคราะหจลศาสตรถอยหลังแบบวนซ้ำ .................................... 310 6.3.3 แรงทั่วไปที่กระทำ ณ ขอตอโดยตัวขับ ........................................ 311 6.4 ตัวอยางการพัฒนาแบบจำลองทางพลศาสตรของหุนยนตดวยระเบียบวิธีนิวตันและออยเลอร 312 6.5 สรุป ........................................................................... 331 แบบฝกหัด .......................................................................... 333 เอกสารอานเพิ่มเติม .................................................................. 344 ภาคผนวก A ตรีโกณมิติที่จำเปน......................................................... 347 A.1 เอกลักษณทางตรีโกณมิติ (trigonometric identities) ................................ 347 A.2 ฟงกชันแทนเจนตผกผัน (inverse tangent, arctangent) ............................. 349 A.3 คำตอบของสมการตรีโกณมิติ ...................................................... 350 ภาคผนวก B สมการลากรานจ .......................................................... 355 บรรณานุกรม............................................................................ 359 อภิธานศัพท............................................................................. 365 ดรรชนี ................................................................................. 369
  • 8.
  • 9. บทที่ 1 บทนำ วิทยาการหุนยนต (robotics science) เปนศาสตรประยุกตที่เกิดขึ้นจากการประมวลความรูจากหลายสาขา วิชาเขาดวยกันในการวิเคราะหและประดิษฐหุนยนต (robot) สาขาวิชาที่สำคัญ เชน สาขาเครื่องกล ซึ่ง จะตองทำการออกแบบและวิเคราะหกลไกใหสามารถเคลื่อนไหวไดดังตองการ สาขาไฟฟาที่จะเกี่ยวของกับ วงจรตาง ๆ ในระบบ เชน วงจรควบคุม วงจรของตัวรับรู (sensor) วงจรสัญญาณสื่อสาร สาขาคอมพิวเตอร ที่จะพัฒนาโปรแกรมและขั้นตอนวิธี (algorithm) ตาง ๆ หรือแมกระทั่งการพัฒนาแพลตฟอรม (platform) เพื่อชวยสงเสริมงานพัฒนาโปรแกรมของหุนยนตโดยเฉพาะ นอกจากนี้แลวความรูจากสาขาอื่น ๆ ยังมีความ จำเปนในการพัฒนาหุนยนตที่ล้ำสมัย เชน หุนยนตที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปได (transformable robot) จะ ตองอาศัยความรูดานวัสดุศาสตร ในการสังเคราะหวัสดุฉลาด (smart material) ที่มีสมบัติจำและควบคุมรูป รางได และมีการตอบสนองที่รวดเร็ว กอนจะเริ่มทำการศึกษาเกี่ยวกับหุนยนต เราควรที่จะทราบถึงคำนิยามของมันเสียกอน 1.1 หุนยนตคืออะไร คำวา robot ถูกใชเปนครั้งแรกใน พ.ศ. 2464 ในบทละครชื่อ รอสซัม ยูนิเวอรแซล โรบ็อต (Rossum’s Universal Robots ยอวา R.U.R.) ของนักประพันธชาวเช็ก (Czech) นามวา คาเรล คาเปก (Karel Capek) บทละครนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับมนุษยเทียมที่ถูกสรางขึ้นเพื่อที่จะทำงานแทน หรือเปนทาส (robota ในภาษา ของชาวสลาฟ) ของมนุษยจริง เปนที่นาสังเกตวาหุนยนตในบทละครนี้เปนสิ่งประดิษฐรูปรางคลายหุนยนต เสมือนคน (humanoid) ซึ่งเปนหนึ่งในประเด็นวิจัยที่นาสนใจในปจจุบัน ยิ่งไปกวานั้น หุนยนตในบทละคร ยังมีความล้ำสมัยกวาปจจุบันมาก เนื่องจากตัวหุนยนตทำมาจากวัสดุอินทรีย 1
  • 10. 2 1 บทนำ มโนทัศนของหุนยนตที่เปนกลไกอันสลับซับซอน เกิดขึ้นจากนักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตรชาวรัสเซีย นาม วา ไอแซ็ก อาซิมอวฟ (Isaac Asimov) ในชวงยุค ค.ศ. 1940 เนื้อหางานเขียนของเขากลาวถึงปฏิสัมพันธ (interaction) ในสังคมมนุษยของหุนยนตที่มีรูปรางเชนมนุษยแตปราศจากซึ่งจิตใจ นอกจากนี้แลวเขายัง เปนที่รูจักในฐานะผูคิดคนกฎสามขอของหุนยนต (Three Laws of Robotics) อันมีใจความสำคัญวา หุนยนตจักตองไมทำใหมนุษยไดรับบาดเจ็บ และจักตองเชื่อฟงคำสั่งของมนุษย ซึ่งไดถูกยึดเปนแนวปฎิบัติในการออกแบบหุนยนตทุกตัว องคการระหวางประเทศวาดวยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization หรือ ISO) ไดนิยามหุนยนตอุตสาหกรรมไวในมาตรฐาน ISO 8373 ดังนี้ หุนยนตอุตสาหกรรมคือตัวกระทำ (manipulator) ที่ถูกควบคุมแบบอัตโนมัติ และสามารถโปรแกรมใหปฏิบัติงานประยุกต ในอุตสาหกรรมอัตโนมัติที่หลากหลายได โดยการเคลื่อนที่ในปริภูมิสามแกน หรือมากกวา แกนอางอิงนี้อาจจะเคลื่อนที่ หรือไมเคลื่อนที่ก็ได สวนสถาบันหุนยนตแหงสหรัฐอเมริกา (Robot Institute of America หรือ RIA) ไดใหนิยามของหุนยนตไวดังนี้ หุนยนตคือตัวกระทำ ที่ถูกออกแบบใหสามารถเคลื่อนยายวัตถุ ในการปฏิบัติงานตาง ๆ ที่หลากหลายได โดยการโปรแกรม ชุดคำสั่งของการเคลื่อนที่ นิยามนี้ไดสะทอนถึงลักษณะของหุนยนตอุตสาหกรรม (industrial robot) ในยุค ค.ศ. 1980 ที่มีการนำ เอาหุนยนตมาชวยในสายการผลิต ทวาหุนยนตในปจจุบันมีการพัฒนาไปมาก จนนิยามขางตนไมสามารถ ครอบคลุมไดหมด เชน หุนยนตเสมือนคน หรือหุนยนตแมลง อยางไรก็ดี หุนยนตอุตสาหกรรมยังคงมีสัดสวน ที่สูงที่สุด จากการคาดประมาณของสมาพันธนานาชาติของหุนยนต (International Federation of Robo- tics หรือ IFR) พบวาภายในสิ้น พ.ศ. 2556 หุนยนตอุตสาหกรรมในโลกจะมีทั้งสิ้นประมาณ 1,120,000 ตัว ดัง แสดงในรูปที่ 1.1.1 เมื่อพิจารณาหุนยนตโดยทั่วไป จะพบวามีองคประกอบหลักที่สำคัญอยู 4 สวน ดังนี้ 1. ตัวหุนยนต เปนโครงสรางทางกายภาพที่ทำงานตามการประมวลผลของคำสั่งควบคุมและสัญญาณ โครงสรางนี้สามารถจำแนกไดเปน 2 สวนหลัก ไดแก สวนขับเคลื่อน (locomotion) ที่ทำใหหุนยนตเคลื่อนที่ ไปยังตำแหนงตาง ๆ ได กลไกที่งายที่สุดคือลอ สำหรับขานั้นถึงแมจะมีการออกแบบและควบคุมที่ ยากกวา แตก็ทำใหหุนยนตสามารถเคลื่อนที่ไดอยางอิสระมากขึ้น อีกสวนหลักที่สำคัญของโครงสรางก็คือ สวนตัวกระทำ (manipulation) ซึ่งจะทำใหหุนยนตสามารถทำงานตาง ๆ ไดตามตองการ กลไกในสวนนี้ มักจะเปนแขนและมือของหุนยนต การออกแบบตัวหุนยนตนั้นเปนศาสตรและศิลปที่นักออกแบบจะตอง ประยุกตความรูจากหลายแขนงวิชาและเทคโนโลยีที่มีอยู เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคของโครงการ 2. ตัวขับ (actuators) เปนสวนที่ทำใหตัวหุนยนตเกิดการเคลื่อนที่และทำงาน ดวยขอจำกัดทางดาน เทคโนโลยีในปจจุบัน ตนกำลังในหุนยนตจะใชมอเตอรเปนสวนใหญ และอาจจะมีกลไกซึ่งทำหนาที่ลด ทอนความเร็วและเพิ่มแรงขับใหเหมาะสมกับภาระ (load) หุนยนตอาจขับเคลื่อนดวยแรงดันจากของไหล (fluid power) สำหรับงานที่มีภาระหนัก แตในอนาคตเราอาจจะไดเห็นนวัตกรรมใหมทางดานตนกำลัง
  • 11. 1.1 หุนยนตคืออะไร 3 รูปที่ 1.1.1 แผนภูมิแทงแสดงปริมาณของหุนยนตอุตสาหกรรมที่ใชงานอยูทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง เชน การใชวัสดุตระกูลพอลิเมอร (polymer) ในการสรางระบบตัวขับแบบกระจาย (distributed actuator system) เพื่อขับเคลื่อนหุนยนต ดังเชนรางกายมนุษยที่เคลื่อนไหวไดดวยกลามเนื้อ 3. ตัวรับรู (sensors) เปนสวนที่ทำหนาที่ตรวจวัด (acquire) ขอมูลที่เกี่ยวของกับระบบและสิ่งแวดลอมใน แบบทันที (real-time) เพื่อปอนใหสวนประมวลผลและควบคุมตอไป ขอมูลอาจจะมีโครงสรางที่งาย เชน ตำแหนงหรือความเร็วของตัวขับ หรืออาจจะเปนขอมูลที่มีขนาดใหญและซับซอน เชน ขอมูลที่ไดจาก กลอง ณ เวลาหนึ่ง อาจจะประกอบไปดวยขอมูลสีของจุดภาพ (pixel) ในระนาบหนึ่ง ๆ และขอมูลความลึก (depth) ของพื้นผิวที่อยูในมุมมอง ณ ขณะเวลานั้น 4. สวนประมวลผลและควบคุม ทำหนาที่คลายกับระบบสมองของมนุษย กลาวคือ มันจะรับขอมูลจาก ตัวรับรูตาง ๆ (sensor data fusion) เพื่อนำมาประมวลผลและคำนวณสัญญาณควบคุม (control signal) สงตอไปยังตัวขับ ใหหุนยนตทำงานตามความตองการ โดยทั่วไปแลวคอมพิวเตอรมักถูกนำมาใชในการ ดำเนินการ (implement) สำหรับสวนนี้ ทวา ณ ปจจุบันไดเริ่มมีงานวิจัยที่ใชสมองของสัตวเลี้ยงลูกดวย นม เชนลิงและผูพิการทางแขน เปนสวนประมวลผลและควบคุมหุนยนต หรือแขนเทียม (bionic arm) โดยทั่วไปแลวองคประกอบทั้ง 4 สวนนี้มักมีความสัมพันธกันดังแสดงในแผนภาพของรูปที่ 1.1.2 ระบบ หุนยนตจะรับคำสั่ง ซึ่งอาจะเปนคำสั่งขั้นสูง เชน การสื่อสารของมนุษย สวนประมวลผลและควบคุมจะทำ หนาที่แปลงคำสั่งเหลานั้นเปนคำสั่งปฐมฐาน (primitive command) และนำไปประมวลกับขอมูลที่ไดรับจาก ตัวรับรู เพื่อที่จะคำนวณสัญญาณควบคุมตัวขับ ใหหุนยนตทำงานตามคำสั่งตอไป ในอนาคตเราอาจจะได เห็นการรวมหนวย (integration) ขององคประกอบทั้ง 4 สวนของหุนยนตที่ไมสามารถแบงแยกไดอยางชัดเจน
  • 12. 4 1 บทนำ รูปที่ 1.1.2 องคประกอบของหุนยนตและความสัมพันธระหวางกัน อีกตอไป กอปรกับพัฒนาการที่กาวกระโดดในงานวิจัยดานความฉลาดเทียม (artificial intelligence) ทำให หุนยนตมีคุณลักษณะและความสามารถเขาใกลมนุษยมากขึ้นทุกขณะ ดังบทละครหรือนวนิยายซึ่งเปนที่มาของ คำวา หุนยนต 1.2 ประวัติศาสตรของหุนยนตแบบอนุกรม งานวิจัยแรกที่เกี่ยวของกับหุนยนตนั้นเริ่มในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หองปฏิบัติการวิจัยแหงชาติ สหรัฐอเมริกา ณ เมืองอารกอน และ โอค ริดจ (Argonne and Oak Ridge National Laboratories) ไดพัฒนา หุนยนตขับเคลื่อนระยะไกล (teleoperation robot) ผานกลไกกานตอ (mechanical linkage) เพื่อใชในการ เคลื่อนยายสารกัมมันตภาพรังสี ตอมาบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริกส (General Electric) และบริษัทเจเนอรัล มิลล (General Mills) ไดใชมอเตอรแทนในการขับเคลื่อน นอกจากนี้ยังไดมีการเสริมระบบปอนกลับแรง (force feedback) เพื่อปองกันไมใหผูควบคุม เคลื่อนหุนยนตทาส (slave robot) ไปชนกับตูกระจกอีกดวย ใน พ.ศ. 2497 จอรจ ดีโวล (George Devol) ไดพัฒนาหุนยนตที่สามารถรับชุดคำสั่ง (programmable robot) ไดสำเร็จเปนตัวแรก โดยใชตัวควบคุมของเครื่องซีเอ็นซี (computer numerical control machine) ตอมา โจเซฟ เอนเกลเบอเกอร (Joseph Engelberger) ไดซื้อสิทธิบัตร และกอตั้งบริษัทยูนิเมชัน (Unimation) ขึ้น ซึ่งไดทำการผลิตและติดตั้งหุนยนตตัวแรกใหกับบริษัทเจเนอรัลมอเตอรส (General Motors) สำหรับ งานขึ้นรูปพิมพแมแบบ (die cast) บริษัทไดปฏิวัติรูปแบบโครงสรางของหุนยนตจากเดิมที่เปนลักษณะของ เครื่องจักรกลการผลิต มาเปนรูปแบบแขนกลที่มีโครงสรางแบบโซเปด (open kinematic chain) สงผลให หุนยนตมีปริภูมิทำงาน (workspace) เพิ่มขึ้นมาก ทวามีขอเสียดานความแมนยำและความแข็งเกร็งที่ลดลง ของจุดปลายที่ใชทำงาน ชวงเวลาเดียวกันนี้ มหาวิทยาลัยไดเริ่มมีบทบาทในการวิจัยที่เกี่ยวกับหุนยนต ที่สถาบันเทคโนโลยีแหง มลรัฐแมสซาชูเซตส เอิรนส (Ernst) ไดพัฒนาหุนยนตที่มีความสามารถในการรับรูแรง (force sensing) ขึ้นใน พ.ศ. 2505 ทำใหมันเปนหุนยนตตัวแรกที่มีความสามารถทำงานกับสภาพแวดลอมที่ไรโครงสราง (unstruc- tured environment) ได ในปตอมามีการพัฒนาระบบการรับรูภาพแบบขาวดำสำหรับหุนยนตขึ้นเปน ครั้งแรก เพื่อใชหลบหลีกสิ่งกีดขวาง มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ เชน มหาวิทยาลัยสแตนฟอรด มหาวิทยาลัย
  • 13. 1.2 ประวัติศาสตรของหุนยนตแบบอนุกรม 5 รูปที่ 1.2.1 แขนหุนยนตของมหาวิทยาลัยสแตนฟอรด ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑประวัติศาสตรภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร มหาวิทยาลัยสแตนฟอรด เอดินเบิรก ตางก็ไดพัฒนาแขนหุนยนตแบบอนุกรมขึ้นมาเพื่อการวิจัย รูปที่ 1.2.1 แสดงแขนหุนยนตของ มหาวิทยาลัยสแตนฟอรด ออกแบบโดย วิกเตอร เชนแมน (Victor Scheinman) ที่มีโครงสรางจลนศาสตรหลัก (main kinematical structure) แบบพิกัดทรงกลม (spherical coordinates) และมีจำนวนองศาเสรี (degree of freedom) เทากับ 6 ใน พ.ศ. 2517 บริษัทซินซินเนติ มิลาครอน (Cincinnati Milacron) ซึ่งเปนผูผลิตเครื่องจักรกล ไดเปดตัว หุนยนตอุตสาหกรรมตัวแรกของบริษัท มีชื่อวา The Tomorrow Tool (T3) ซึ่งสามารถยกของหนักไดถึง 100 ปอนด ตอมาใน พ.ศ. 2521 บริษัทยูนิเมชันไดเปดตัวหุนยนต PUMA (Programmable Universal Machine for Assembly) ซึ่งเปนที่รูจักกันดี และยังมีการใชงานมาจนถึงทุกวันนี้ หุนยนตซีรีส 500 ของ ตระกูล PUMA ดังแสดงในรูปที่ 1.2.2 เปนหนึ่งในหุนยนตที่ไดรับความนิยมมากที่สุด จุดเริ่มตนของหุนยนตอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุน เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2511 บริษัทคาวาซากิ (Kawa- saki) ไดซื้อลิขสิทธิ์การผลิตหุนยนตจากบริษัทยูนิเมชัน หลังจากนั้นอีก 11 ปตอมา ญี่ปุนไดออกแบบและ ผลิตหุนยนตประเภท SCARA (Selective Compliant Articulated Robot for Assembly) โครงสรางนี้ ถูกใชกันอยางแพรหลายเปนอันดับที่ 3 สำหรับงานประเภทการประกอบ (assembly operation) ในแนวดิ่ง ปจจุบัน ญี่ปุนยังคงเปนประเทศที่มีการใชหุนยนตในอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุด มีบริษัทผูผลิตหุนยนต ชั้นนำมากมาย เชน บริษัทฟานัก (Fanuc) บริษัทเอปซอน (Epson) บริษัทเดนโซ (Denso) บริษัทมิตซูบิชิ (Mit- subishi) บริษัทคาวาดะ (Kawada) สวนบริษัทผูผลิตหุนยนตในประเทศแถบอเมริกาเหนือและยุโรปก็มี เชน บริษัทอเดปต (Adept) สัญชาติอเมริกัน บริษัทคูกา (KUKA) สัญชาติเยอรมัน บริษัทเอบีบี (ABB) สัญชาติสวิส พฤติกรรมที่ไมพึงประสงคของแรงเสียดทาน ระยะคลอน (backlash) หรือการสั่นสะเทือนอันเนื่องมาจาก ระบบลดความเร็ว (speed reducer system) และระบบสงผานกำลัง (power transmission system) ทำให
  • 14. 6 1 บทนำ รูปที่ 1.2.2 หุนยนต PUMA 500 ของบริษัทยูนิเมชัน เกิดแนวความคิดในการสรางหุนยนตที่ขับเคลื่อนโดยตรง (direct-drive robot) จากแกนเพลาของมอเตอร ที่ มหาวิทยาลัยคารเนกี เมลลอน เมื่อ พ.ศ. 2524 การออกแบบหุนยนตแบบแขนกลใหมีประสิทธิภาพดีขึ้น นั้นยังคงไดรับความสนใจเรื่อยมา เชน การคิดคนกลไกการสงผานกำลังที่มีประสิทธิภาพ การใชเทคโนโลยีของ ตัวขับและตัวรับรูแบบลาสุด (state-of-the-art actuators and sensors) หรือแมกระทั่งการวิจัยเกี่ยวกับ โครงสรางของหุนยนตและระบบขับเคลื่อนใหม ๆ ใหมีผลตอบสนองทางพลศาสตร (dynamic response) ที่ดี ขึ้น ตัวอยางของแขนหุนยนตที่มีประสิทธิภาพสูงในปจจุบัน ไดแก แขนหุนยนต WAM (Whole Arm Manipu- lator) และแขนหุนยนต LWR (Light Weight Robot) คุณลักษณะเดนของหุนยนต WAM เปนหุนยนตที่ใช ระบบเคเบิลและรอก (cable and pulley system) เพื่อสงกำลังไปยังขอตอตาง ๆ ของมัน ทำใหหุนยนตมี น้ำหนักเบา เหมาะแกงานที่ตองการควบคุมแรงกระทำ เชน ระบบสัมผัส (haptic system) ระบบควบคุมระยะ ไกล (teleoperation system) สวนคุณลักษณะเดนของหุนยนต LWR นั้นอยูตรงที่การใชเทคโนโลยีการรวม หนวยของตัวขับ ตัวรับรู และสวนประมวลผลและควบคุมแบบกระจาย (distributed control system) เขา เปนมอดูล (module) เดียวกัน ทำใหสามารถลดขนาดและน้ำหนักของแขน ซึ่งทำมาจากคารบอนไฟเบอร ไดมาก เมื่อเทียบกับหุนยนตแบบขับเคลื่อนโดยตรง รูปที่ 1.2.3 และ 1.2.4 แสดงแขนหุนยนต WAM และ LWR
  • 15. 1.3 หุนยนตแบบอนุกรม 7 รูปที่ 1.2.3 แขนหุนยนต WAM ของบริษัทแบเรตต เทคโนโลยี (Barrett Technology) รูปที่ 1.2.4 แขนหุนยนต LWR ของบริษัทคูกา โรบ็อต (KUKA Robot) 1.3 หุนยนตแบบอนุกรม หนังสือเลมนี้จะกลาวถึงหุนยนตแบบอนุกรม (serial robot) ซึ่งเปนโครงสรางของหุนยนตอยางงายที่สุด และถูกใชมากที่สุดในสวนของตัวกระทำ และยังเปนพื้นฐานที่สำคัญของหุนยนตแบบอื่น ๆ อีกดวย หุนยนตแบบอนุกรมเปนหุนยนตที่มีโครงสรางหลักทางกล อันประกอบขึ้นจากการตอกันของกานตอ (link) ตาง ๆ ดวยขอตอ (joint) จากสวนฐาน (base) ซึ่งอาจไมอยูนิ่งกับที่ เรียงลำดับไปจนถึงสวนปลายแขน (end effector) ลักษณะการตอกันของกานตอเชนนี้จะทำใหมีเสนทางที่เชื่อมระหวางจุด 2 จุดใด ๆ บนโครงสราง
  • 16. 8 1 บทนำ รูปที่ 1.3.1 แผนภาพแนวคิดของหุนยนตที่มีโครงสรางแบบโซเปด เพียงเสนทางเดียว ซึ่งเรียกวาโครงสรางแบบโซเปด ดังแสดงดวยแผนภาพแนวคิดในรูปที่ 1.3.1 โครงสราง เชนนี้พบไดทั่วไป เชน แขนหรือขาของสิ่งมีชีวิต ตอไปนี้จะขอกลาวถึงองคประกอบที่สำคัญของหุนยนตแบบ อนุกรม 1. กานตอ เปนชิ้นสวนสำคัญที่ประกอบขึ้นเปนตัวหุนยนต โดยสวนมากกานตอมักทำจากวัสดุที่แข็งแรง ดังนั้น ในการวิเคราะหเบื้องตนจึงนิยมสมมติใหกานตอเปนวัตถุแข็งเกร็ง กานตออาจมีรูปทรงที่แตกตาง กันไปตามการออกแบบและการใชสอย แตกานตอทุกชิ้นจะตองมีสวนที่ใชเชื่อมตอกับกานตอชิ้นอื่น ๆ อยาง นอย 1 จุด ดังแสดงในรูปที่ 1.3.2 อนึ่ง กานตอ 2 ชิ้นที่มีการเชื่อมตอกันจริงในทางกายภาพ แตมิไดมีการ เคลื่อนที่สัมพัทธ (relative motion) กันเลย อาจถือเปนกานตอชิ้นเดียวกันได 2. ขอตอ เกิดจากการประสานกานตอตั้งแต 2 ชิ้นเขาดวยกัน โดยอาจมีชิ้นสวนเสริม เชน เพลา หรือบุชชิง (bushing) ชวยในการเคลื่อนที่สัมพัทธ ในมุมมองของจลนศาสตร ขอตอเปนชิ้นสวนที่จำกัดการเคลื่อนที่ สัมพัทธของกานตอ หากไมมีขอตอเลย กานตอ 2 ชิ้นจะไมถูกจำกัดการเคลื่อนที่ และสามารถเคลื่อนที่ ไดอยางอิสระ ในอีกดานหนึ่งขอตออาจจะจำกัดการเคลื่อนที่สัมพัทธของกานตออยางสมบูรณ เชน ขอ ตอจากการเชื่อมกานตอเขาดวยกัน ขอตอที่มักพบโดยทั่วไปในหุนยนตมักเปนขอตออยางงาย (simple joint) ซึ่งเปนขอตอที่จำกัดจำนวนองศาเสรีของการเคลื่อนที่สัมพัทธ จาก 6 ลดลงเหลือ 1 (single degree of freedom) ในบรรดาขอตออยางงาย ขอตอแบบเชิงมุม (revolute joint ยอดวยตัวอักษร R) และขอตอแบบเชิงเสน (prismatic joint ยอดวยตัวอักษร P) ดังแสดงในรูปที่ 1.3.2 เปนขอตอที่มีการใชงานมากที่สุดตามลำดับ
  • 17. 1.3 หุนยนตแบบอนุกรม 9 (a) กานตอและขอตอแบบเชิงมุม (b) กานตอและขอตอแบบเชิงเสน รูปที่ 1.3.2 กานตอและขอตอทั่วไป เนื่องดวยความงายในการออกแบบและจัดสราง สัญลักษณของขอตอทั้ง 2 ชนิดที่นิยมใชในแผนภาพ จลนศาสตรของโครงสรางหุนยนต ถูกแสดงในรูปที่ 1.3.3 หุนยนตทั่วไปมักจะติดตั้งตัวขับที่ขอตอ เนื่องจากเปนจุดที่สามารถควบคุมการเคลื่อนที่สัมพัทธของกาน ตอไดสะดวกที่สุด หากเปนขอตอแบบเชิงมุม กานตอจะหมุนสัมพัทธรอบแกนขอตอ (joint axis) ที่ทับกัน (coincide) กับแนวเพลา และแกนของเพลามอเตอร ในกรณีของขอตอแบบเชิงเสน กานตอจะเคลื่อนที่ เชิงเสนตามแนวแกนขอตอที่ทับกับแนวบุชชิง และแกนของตัวขับเชิงเสน สำหรับหุนยนตที่มีโครงสราง แบบโซเปดนั้น จำนวนองศาเสรีของหุนยนตจะเทากับผลรวมของจำนวนองศาเสรีของทุก ๆ ขอตอ ดังนั้น หุนยนตที่ไดรับการออกแบบใหทำงานทั่ว ๆ ไป จึงควรมีจำนวนองศาเสรีขั้นต่ำเทากับ 6 โดยแบงเปนสวน ของการเคลื่อนที่เชิงเสนเทากับ 3 และการเคลื่อนที่เชิงมุมเทากับ 3 (a) สัญลักษณของขอตอแบบเชิงมุม (b) สัญลักษณของขอตอแบบเชิงเสน รูปที่ 1.3.3 สัญลักษณของขอตออยางงายของหุนยนต
  • 18. 10 1 บทนำ รูปที่ 1.3.4 แผนภาพจลนศาสตรของขอมือแบบทรงกลมที่มีจำนวนองศาเสรีเทากับ 3 3. ฐาน เปนสวนที่ติดกับพื้น (ground) ซึ่งมักจะไมเคลื่อนไหว เชน พื้นหอง หรืออาจจะเคลื่อนไหวได เชน ฐานของหุนยนตชนิดที่เคลื่อนที่ได (mobile robot) ฐานเปนสวนที่จะตองรองรับแรงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น เนื่องจากแรงภายนอกและแรงพลศาสตรของหุนยนต ดังนั้น ฐานจะตองไดรับการออกแบบใหมีความแข็ง แรงอยางพอเพียง นอกจากนี้แลวฐานยังมีความสำคัญในฐานะที่มักถูกใชเปนตำแหนงของเฟรมอางอิง (reference frame, base frame) อีกดวย 4. ขอมือ (wrist) เปนสวนของโครงสรางที่ประกอบขึ้นมาจากกานตอและขอตอ ที่มักใหการเคลื่อนที่สัมพัทธ แบบหมุน รอบจุดศูนยกลางของขอมือ (wrist center, wrist point) เรียกวาขอมือแบบทรงกลม (spheri- cal wrist) ดังแสดงดวยแผนภาพจลนศาสตรในรูปที่ 1.3.4 ขอมือมักไดรับการติดตั้ง ณ ปลายของแขน สวนลาง (forearm) กอนถึงสวนปลายแขน ขอมือที่มีการเคลื่อนที่สัมพัทธแบบหมุนรอบจุดรวม จะมีแกน ขอตอทำงาน (effective joint axis) ตัดกัน ณ จุดรวมนั้น โครงสรางเชนนี้ชวยใหทำการวิเคราะหทาง จลนศาสตรไดงายขึ้น กลาวโดยยอคือจะทำใหการวิเคราะหตำแหนง (position) และการหมุน (orienta- tion) ของสวนปลายแขนนั้น แยกจากกัน (decouple) ได สงผลใหสามารถหาผลเฉลยปด (closed-form solution) ของปญหาจลนศาสตรผกผันได 5. สวนปลายแขน เปนสวนที่มักติดตั้งถัดจากขอมือ เพื่อใชทำงานที่ตองการ สวนปลายแขนมีหลายรูป แบบ ขึ้นอยูกับลักษณะงานที่ทำ สวนปลายแขนแบบที่งายที่สุดไดแกตัวจับ (gripper) ที่มีจำนวนองศาเสรี เทากับ 1 สำหรับการเปดและปดเพื่อจับวัตถุที่ตองการ ดังแสดงในรูปที่ 1.3.5 โดยทั่วไปแลวหุนยนตมักถูก ออกแบบใหสามารถเปลี่ยนสวนปลายแขน เพื่อการทำงานที่หลากหลาย มือหุนยนต (hand) ที่ประกอบ ไปดวยนิ้วและฝามือ ดังเชนที่ติดอยูกับแขนหุนยนต WAM ในรูปที่ 1.2.3 เปนตัวอยางของสวนปลายแขนชนิด ซับซอน