Anzeige
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
Anzeige
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
Anzeige
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
Nächste SlideShare
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
Wird geladen in ... 3
1 von 11
Anzeige

Más contenido relacionado

Presentaciones para ti(20)

Anzeige

Similar a บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด(20)

Anzeige

บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด

  1. แผนบริหารการสอนบทที่ 6 หัวขอเนื้อหาประจําบท 1. ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการคุมกําเนิด 2. ประเภทของยา และกลไกการออกฤทธิ์ 3. การพิจารณาเลือกใชยาคุมกําเนิด 4. อาการขางเคียง และแนวทางการดูแลตนเอง วัตถุประสงคเชิงพฤติกรรม เมื่อนักศึกษาไดศึกษาจบบทที่ 6 แลว นักศึกษาควรมีความสามารถดังตอไปนี้ 1. อธิบายกลไกการปองกันการตั้งครรภของยาคุมกําเนิดได 2. ระบุชนิดของยาที่ใชในความการคุมกําเนิดได 3. บอกความแตกตางของยาคุมกําเนิดชนิดรับประทานได 4. อธิบายวิธีการใชยาคุมกําเนิดชนิดรับประทานได 5. ใหคําแนะนําเรื่องผลขางเคียงที่สําคัญของยาคุมกําเนิดได วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจําบทที่ 6 ประกอบดวยรายละเอียดดังนี้ 1. บรรยายตามเนื้อหา โดยใชโปรแกรมการนําเสนอ (power point) ประกอบคําอธิบาย 2. แสดงตัวอยางยา และใหนักศึกษาอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับชนิดและกลไกการออกฤทธิ์ รวมถึงวิธีการใชยาคุมกําเนิด 3. รวมกันสรุปประเด็นสําคัญของการเรียน 4. มอบหมายงานใหศึกษาคนควาดวยตนเองผานระบบออนไลนที่ http://www.youtube.com/watch?v=exatSuj9Mws และทําใบงาน เรื่อง ยาคุมกําเนิด สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา เภสัชวิทยาเบื้องตน บทที่ 6 ยาคุมกําเนิด 2. โปรแกรมนําเสนอ เรื่อง ยาคุมกําเนิด 3. ตัวอยางยาคุมกําเนิดชนิดรับประทาน
  2. วิธีวัดผลและการประเมินผล 1. สังเกตพฤติกรรมผูเรียน 1.1 พฤติกรรมความตรงตอเวลาในการเขาเรียน และการสงงานที่ไดรับมอบหมาย 1.2 พฤติกรรมการมีสวนรวมแสดงความคิดเห็นของผูเรียนในระหวางเรียน 2. ประเมินผลงานที่มอบหมาย 2.1 ใบงาน
  3. บทที่ 6 ยาคุมกําเนิด ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการคุมกําเนิด การคุมกําเนิด เปนวิธีการปองกันการตั้งครรภ โดยอาจเปนการปองกันการปฏิสนธิ หรือ ปองกันการฝงตัวของตัวออนที่ถูกผสมแลว ซึ่งความปลอดภัยของวิธีการคุมกําเนิดนั้น สามารถ พิจารณาไดจากองคประกอบ 3 อยาง คือ ประสิทธิภาพของวิธีคุมกําเนิด ประโยชนตอสุขภาพของ ผูใช และอันตรายตอสุขภาพของผูใช วิธีคุมกําเนิดแตละวิธียอมแตกตางกัน และในสถานการณ บางอยางวิธีการคุมกําเนิดวิธีนั้น ๆ ยอมใหผลแตกตางกันดวย สามารถแบงกลุมของวิธีการคุมกําเนิด แบบตาง ๆ ที่ใชบอยออกเปน 5 กลุม ดังนี้ (1) การคุมกําเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ไมมีประโยชนตอสุขภาพ และไมมีอันตรายตอสุขภาพ ผูใช ไดแก การงดรวมเพศในชวงเวลาหนึ่ง เชน การงดรวมเพศชวงหลังคลอด (2) การคุมกําเนิดที่มีประสิทธิภาพต่ํา ไมมีประโยชนตอสุขภาพ และไมมีอันตรายตอสุขภาพ ผูใช ไดแก การหลั่งภายนอกชองคลอด และการงดรวมเพศบางชวงเวลา เชน การนับระยะปลอดภัย (3) การคุมกําเนิดที่มีประสิทธิภาพปานกลาง มีประโยชนตอผูใชบางแตไมมีอันตรายตอ สุขภาพ ไดแก การคุมกําเนิดโดยวิธีขวางกั้น เชน ถุงยางอนามัย หมวกยางครอบปากมดลูก เปนตน สําหรับประโยชนที่พบตอผูใชคือ การปองกันโรคติดตอทางเพศสัมพันธ (4) การคุมกําเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง มีประโยชนและมีอันตรายตอสุขภาพของผูใชอยูบาง เนื่องจากผลขางเคียงของฮอรโมน ไดแก การคุมกําเนิดโดยใชฮอรโมน เชน ยาเม็ดคุมกําเนิด ยาฉีด คุมกําเนิด และยาฝงคุมกําเนิด (5) การคุมกําเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ไมมีประโยชนตอสุขภาพ และมีอันตรายตอสุขภาพ ของผูใชอยูบาง เนื่องจากเปนหัตถการ ไดแก หวงอนามัย และการทําหมัน ประเภทของยา และกลไกการออกฤทธิ์ 1. ยาคุมกําเนิดชนิดรับประทาน ยาคุมกําเนิดชนิดรับประทานยา เปนยาชนิดเม็ดที่มีฮอรโมนสังเคราะหซึ่งมีสวน ประกอบของเอสโตรเจน (Estrogen) และโพรเจสโตเจน (Progestogen) ดังนั้นเมื่อรับประทานยาเขา ไป ฮอรโมนเหลานี้จึงไปทําหนาที่เลียนแบบฮอรโมนภายในรางกาย ซึ่งปกติมีการควบคุมกันเองโดย ธรรมชาติสงผลยับยั้งการตกไข ปองกันการเจริญและการสุกของไข มูกที่ปากมดลูกขนเหนียว เชื้ออสุจิ
  4. จึงไมสามารถผานเขาสูโพรงมดลูกได หรือเยื่อบุโพรงมดลูกฝอตัวไมเหมาะตอการเจริญของตัวออน เปนตน ยาคุมกําเนิดชนิดรับประทาน สามารถแบงออกเปน 3 ประเภท ดังนี้ 1.1 ยาคุมกําเนิดชนิดฮอรโมนรวม (Low-dose combined oral contraceptive หรือ Combination pills) ซึ่งยาแตละเม็ดประกอบดวยฮอรโมนเอสโตรเจนและโพรเจสโตเจนรวมกัน แบง ออกเปน 2 ชนิดคือ 1.1.1 Monophasic หรือ Fixed dose pills ยาเม็ดคุมกําเนิดชนิดนี้มีฮอรโมน สังเคราะหของเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนในขนาดเทากันทุกเม็ด ในหนึ่งแผงอาจเปนชนิด 21 เม็ด ซึ่งมีฮอรโมนทุกเม็ด หรือชนิด 28 เม็ด ซึ่งมีฮอรโมน 21 เม็ดแรกสวน 7 เม็ดสุดทายไมมีฮอรโมน 1.1.2 Multiphasic pills ยาคุมกําเนิดชนิดนี้มีฮอรโมนสังเคราะหของเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจนในขนาดที่ไมเทากันทุกเม็ด สามารถแบงไดเปน 2 ชนิดคือไบเฟสิค (Biphasic) ที่มี ฮอรโมนตางกัน 2 ระดับและชนิดไตรเฟสิค (Triphasic) มีฮอรโมนตางกัน 3 ระดับ ซึ่งยาคุมกําเนิด ประเภทนี้ตองรับประทานเรียงตามลําดับ หามรับประทานขามโดยเด็ดขาด 1.2 ยาคุมกําเนิดชนิดฮอรโมนตัวเดียว (Progestogen-only pills หรือ Mini-pill) ซึ่งมี แตฮอรโมนโพรเจสโตเจนอยางเดียวในขนาดต่ํา ๆ เทากันทุกเม็ด แผงละ 28 หรือ 35 เม็ด ไดผลใน การตั้งครรภนอยกวายาคุมกําเนิดชนิดฮอรโมนรวม ยานี้เหมาะสําหรับผูที่ไมสามารถรับประทานยาคุม กําเนิดชนิดฮอรโมนรวมได เชน ขณะใหนมบุตร หรือไมสามารถทนตอผลขางเคียงของเอสโตรเจนได ตัวอยางยาที่มีใชในประเทศไทยคือ Exluton บรรจุแผงละ 28 เม็ด ผลขางเคียงคือ บางรายอาจพบ เลือดออกกระปริบกระปรอย หรือขาดระดูได 1.3 ยาคุมกําเนิดฉุกเฉิน (Postcoital contraception หรือ Morning after pill) เปน ยาคุมกําเนิดที่ใชสําหรับปองกันการตั้งครรภโดยไมเจตนา สามารถใชไดเมื่อเกิดความลมเหลวที่อาจ เกิดจากการคุมกําเนิดวิธีอื่น เชน ถุงยางอนามัยหลุดหรือใชไมถูกตอง รับประทานยาคุมกําเนิดชาหรือ ขาดชวง การขับอุปกรณที่อยูในมดลูกออกบางสวนหรือทั้งหมด ไมไดคุมกําเนิดระหวางการมีเพศ สัมพันธหรือมีเพศสัมพันธโดยไมปองกัน โดยยาอาจเปนชนิดที่มีโพรเจสโตเจนในปริมาณสูง เชน Levonorgestrel (Postinor , Madonna ) ใชรับประทาน 1 เม็ดภายใน 72 ชั่วโมงหลังมี เพศสัมพันธ และอีก 1 เม็ดหางจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง หากเริ่มรับประทานยาชาประสิทธิภาพของยา ก็จะลดลงตามชั่วโมงที่ผานไป หลังจากรับประทานยา 4 – 5 วันอาจมีเลือดออกได ใชยานี้แลวอาจทํา ใหรอบเดือนแปรปรวนได หรือยาที่มีเอสโตรเจนขนาดสูงจะทําใหทอนําไขเคลื่อนไหวมากขึ้น ทําใหไข ที่ผสมแลวเคลื่อนถึงโพรงมดลูกเร็วกอนที่จะเจริญถึงระยะฝงตัวในมดลูกไดดี และเยื่อบุมดลูกยังอาจ เจริญมากผิดปกติ (Hyperplasia) ไมเหมาะสมตอการฝงตัวของไข อาการขางเคียงที่พบ เชน คลื่นไส อาเจียน เลือดออกกระปริบกระปรอย เตานมคัดตึง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และเหนื่อยงาย ยาเม็ด
  5. คุมกําเนิดฉุกเฉินใหใชกรณีจําเปนเทานั้น ไมแนะนําใหใชเปนประจํา เพราะอาจเกิดการตั้งครรภและมี อาการขางเคียงสูง เมื่อเปรียบเทียบกับการใชวิธีคุมกําเนิดทั่วไป 2. ยาฉีดคุมกําเนิด ยาฉีดคุมกําเนิด สามารถแบงเปน 2 ชนิดดังนี้ 2.1 Depo-Provera หรือ Depot-Medroxy-Progesterone-Acetate (DMPA) เปน โพรเจสโตเจนสังเคราะหชนิดหนึ่งคลายกับฮอรโมนโพรเจสเตอโรนซึ่งผลิตโดยรังไขของรางกาย มีฤทธิ์ อยูไดนาน เมื่อฉีดเขากลามเนื้อ ฮอรโมนจะคอย ๆ ถูกดูดซึมเขาสูกระแสเลือด ฮอรโมนจะปองกันการ ตกไขถาระดับของฮอรโมนในเลือดสูง 7 นาโนกรัมตอมิลลิลิตร แตถาต่ํากวา 0.5 นาโนกรัมตอ มิลลิลิตรจะมีการตกไขเกิดขึ้นได ขนาดที่ใช 150 มิลลิกรัม ฉีดเขากลามเนื้อทุก 12 สัปดาห 2.2 Norethisterone enanthate (NET-EN) เปนฮอรโมนโพรเจสโตเจนเหมือน DMPA แตกตางกันเฉพาะกลุมของสเตียรอยด นิยมใชนอยกวายา DMPA เนื่องจากจะยับยั้งการตกไขไดไม เกิน 60 วัน ทําใหตองฉีดยาบอย การฉีดยาคุมกําเนิดจะตองเริ่มฉีดภายใน 5 วันแรกของการมีประจําเดือน หรือหลังคลอด 1 เดือนครึ่ง หามใชยาฉีดคุมกําเนิดในผูที่ยังไมเคยมีบุตร ผูที่มีเลือดออกผิดปกติไมทราบสาเหตุ ผูที่ สงสัยหรือกําลังตั้งครรภ อาการขางเคียงคือ เลือดออกกระปริบกระปรอย ขาดระดู น้ําหนักตัวเพิ่ม เปนตน 3. ยาคุมกําเนิดชนิดฝงใตผิวหนัง ยาคุมกําเนิดชนิดฝงใตผิวหนัง มีตัวยาเปนฮอรโมนสังเคราะหโพรเจสเตอโรนที่บรรจุอยู ในหลอดไซลาสติค (Silastic) ใชฝงใตผิวหนัง และฮอรโมนจะถูกดูดซึมในอัตราที่สม่ําเสมอเปน เวลานาน อาจอยูในรูปแคปซูลที่ใชฝงไมละลาย (Non-biodegradable implants) หรือในรูปแคปซูล ที่ใชฝงละลาย (Biodegradable implants) ฮอรโมนที่ฝงอยูจะปองกันการตกไข และเปลี่ยนแปลง เยื่อบุโพรงมดลูก และเปลี่ยนแปลงมูกบริเวณปากมดลูก ระยะการฝงยาที่เหมาะสมควรทําภายใน 7 วันแรกของการมีประจําเดือน หรือหลังคลอด 4-6 สัปดาห โดยยาชนิดที่นิยมใชคือลีโวนอรเจสเทรล (Levonorgestrel) นอรแพลนท (Norplant R) เปนยาคุมกําเนิดชนิดฝงที่ประกอบดวยฮอรโมนลีโวนอรเจส เทรล บรรจุในหลอดไซลาสติคที่ไมละลายจํานวน 6 หลอด สงผลในการคุมกําเนิดเปนระยะเวลานาน ติดตอกันถึง 5 ป แตเนื่องจากมีปริมาณหลอดมากและการถอดยากความนิยมในการใชจึงลดลง ปจจุบันมีการใชยาฝงคุมกําเนิดชนิดหลอดเดียวชื่ออีโทแพลน (Etoplan) หรืออิมพลานอน
  6. (Implanon) ซึ่งประกอบดวยฮอรโมนอีโทโนเจสเทรล (Etonogestrel) โดยยาฝงคุมกําเนิดชนิดนี้ การฝงและถอดออกงายกวา และสามารถคุมกําเนิดไดนาน 3 ป อาการขางเคียงที่พบไดคือ เกิดการ เปลี่ยนแปลงของรอบระดู มีเลือดออกกระปริบกระปรอย คลื่นไส เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ น้ําหนักเพิ่ม อารมณเปลี่ยนแปลง มีสิวฝาไดในบางราย 4. กลไกการออกฤทธิ์ของยาคุมกําเนิด 4.1 ยับยั้งการตกไข (Inhibit ovulation) เปนกลไกสําคัญที่สุดในการปองกันการ ตั้งครรภ โดยยาออกฤทธิ์ขัดขวางการหลั่งฮอรโมนของรางกาย ซึ่งถูกควบคุมการทํางานจากไฮโปทา ลามัส (Hypothalamus) ตอมใตสมอง (Pituitary) และรังไข (Ovary) ทําใหยับยั้งการหลั่งฮอรโมน FSH และ LH จึงทําใหไมมีการตกไข 4.2 การเปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูก ยามีผลใหเยื่อบุมดลูกมีลักษณะบางลงและไมเหมาะสม ตอการฝงตัวของไขที่ไดรับการปฏิสนธิ 4.3 การเปลี่ยนแปลงมูกที่ปากมดลูก ทําใหสารคัดหลั่งบริเวณปากมดลูกขนและเหนียว มากขึ้น ทําใหอสุจิเคลื่อนที่ผานเขาไปในมดลูกไดยาก 4.4 เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของทอนําไข ทําใหเกิดผลกระทบตอการเดินทางของ อสุจิหรือไข อาจทําใหไขที่ผสมแลวเดินทางไปถึงมดลูกเร็วผิดปกติจนไมสามารถฝงตัวได รวมทั้งมีผล ตอความสามารถของอสุจิที่จะผสมกับไขดวย การพิจารณาเลือกใชยาคุมกําเนิด สําหรับผูที่เริ่มรับประทานยาควรเริ่มใชยาเม็ดแรกในที่มีประจําเดือนวันแรก สําหรับผูที่ เปลี่ยนชนิดยาเม็ดคุมกําเนิดใหรับประทานยาชนิดเดิมจนหมดแผงกอน จากนั้นจึงเริ่มรับประทานยา ชนิดใหม โดยรับประทานยาเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจําเดือน การรับประทานยาชนิดที่ยาทุกเม็ดในแผงจะประกอบดวยฮอรโมนทั้งหมด (ชนิด 21 เม็ด) การเริ่มรับประทานยาเม็ดแรก ใหเริ่มตรงกับวันของสัปดาหที่ระบุบนแผงยา เชน ประจําเดือนมาวัน แรก คือวันศุกร ก็ใหเริ่มรับประทานยาเม็ดแรกที่ระบุไววา "ศ" รับประทานยาวันละ 1 เม็ด เปน ประจําทุกวันตามลูกศรชี้จนหมดแผง สําหรับ ชนิด 28 เม็ด เริ่มรับประทานยาแผงใหม โดย รับประทานยาเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจําเดือน ในแผงหนึ่งจะประกอบดวยฮอรโมน 21 เม็ด และ สวนที่ไมใชฮอรโมนเพศอีก 7 เม็ด ซึ่งจะมีขนาดตางจาก 21 เม็ดแรก การเริ่มรับประทานยาแผงแรก ใหเริ่มรับประทานยาเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจําเดือนมา รับประทานยาเม็ดแรกในสวนที่ระบุบนแผง วาเปนจุดเริ่มตนใชยา และรับประทานยาวันละ 1 เม็ดเปนประจําทุกวัน ตามลูกศรชี้จนหมดแผง
  7. หากลืมรับประทานยาหรือรับประทานยาไมตรงเวลา อาจมีผลทําใหประสิทธิภาพในการคุม กําเนิดของยาลดลง และอาจทําใหเกิดเลือดออกกะปริบกระปรอยได จึงควรรับประทานยาเม็ด คุมกําเนิดในเวลาเดียวกันทุกวัน และควรเก็บยาในบริเวณที่เห็นไดงาย เพื่อชวยเตือนไมใหลืม รับประทานยา ในกรณีที่ลืมรับประทานยา มีหลักปฏิบัติดังนี้ คือ 1) หากลืมรับประทานยา 1 เม็ด ใหรับประทานยาเม็ดที่ลืมทันทีที่นึกได และรับประทานยา เม็ดตอไปตามเวลาเดิม 2) หากลืมรับประทานยาตั้งแต 2 เม็ดขึ้นไป ใหรับประทานยา 1 เม็ดทันทีที่นึกได จากนั้นนับ จํานวนเม็ดยาที่มีฮอรโมนที่เหลืออยูในแผง ถามีตั้งแต 7 เม็ดขึ้นไป ใหรับประทานยาวันละ 1 เม็ด ตอไปตามปกติ ถามีเหลืออยูนอยกวา 7 เม็ด ใหรับประทานยาที่มีฮอรโมนวันละ 1 เม็ดทุกวันจนหมด โดยทิ้งยาที่ไมใชฮอรโมนไป และเริ่มรับประทานยาแผงใหมทันที โดยไมตองเวนระยะใหมีประจําเดือน มา โดยในกรณีที่ลืมรับประทานยาตั้งแต 2 เม็ดขึ้นไป จะตองใชวิธีการคุมกําเนิดอื่นรวมดวย เชน ถุงยางอนามัยอยางนอย 7 วันในชวงถัดมา อาการขางเคียง และแนวทางการดูแลตนเอง ผูที่รับประทานยาเม็ดคุมกําเนิดบางรายอาจมีอาการขางเคียงบางในการใชยาในชวง 3 เดือน แรก หากมีการใหคําแนะนําในการใชยา ก็จะชวยใหเกิดความเขาใจและไมหยุดการรับประทานเอง อาการขางเคียง แนวทางการปองกันและแกไข 1. คลื่นไส อาเจียน สวนมากเกิดจากการรับประทานยาชนิด ที่มีฮอรโมนเอสโตรเจนขนาดสูง หรือเปน ผลขางเคียงที่พบไดในระยะเริ่มรับประทานยา 1- 2 แผงแรกของการรับประทานยา อาการนี้จะ คอย ๆ หายไป - แนะนําใหรับประทานยาหลังอาหารเย็น หรือ กอนนอน และอาการคลื่นไส เวียนศีรษะ อาเจียน จะลดนอยลงหลังจากที่รับประทานยา ไปแลวประมาณ 1-2 เดือน - ปรับลดขนาดของยาคุมกําเนิดชนิดฮอรโมน รวมลง เปลี่ยนเปนชนิดที่มีฮอรโมนเอสโตรเจน ต่ํา - ทดสอบการตั้งครรภเมื่อสงสัย ถาตั้งครรภให ผูรับบริการหยุดรับประทานยา และอธิบายวา ปริมาณของฮอรโมนที่อยูในยาเม็ดที่รับประทาน เขาไปกอนหนานี้มีปริมาณนอยมาก ไมเปน อันตรายตอทารกในครรภ
  8. อาการขางเคียง แนวทางการปองกันและแกไข 2. ปวดศีรษะ ตึงคัดเตานม อาจเกิดจากฮอรโมนเอสโตรเจน และโป รเจสโตเจน โดยเฉพาะเอสโตรเจนอาจทําใหมีการ คั่งของน้ํา และเกลือทําใหเกิดอาการปวดศีรษะ และตึงคัดเตานมได - อาการเจ็บคัดเตานม มักพบในระยะแรกของ การใชยา สวนใหญอาการจะลดลงหรือหายไปใน เวลาตอมา - เลือกใชยาเม็ดคุมกําเนิดที่มีเอสโตรเจนต่ํา หรือ หยุดใชยาเม็ดคุมกําเนิด 3. สิว ฝา ยาเม็ดคุมกําเนิดที่มีฮอรโมนเอสโตรเจน สูง อาจกระตุนการทํางานของเซลลที่สกัดสี การ ถูกแสงแดดเปนประจําทําใหเกิดฝาไดงาย มี ประมาณ 10-15% ที่จะเกิดฝาจากฤทธิ์ของ ฮอรโมนไปกระตุนเม็ดสีของ ผิวหนัง และจะมาก ขึ้นเมื่อถูกแสงแดดจัด อาการนี้จะหายไปเมื่อหยุด ยา ในขณะที่ฮอรโมน โปรเจสโตเจนอาจทําให เกิดสิวได - ถาเปนฝา ควรใชยาเม็ดคุมกําเนิดที่มีเอสโตร เจนขนาดต่ํา หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด ใชครีม กันแดด หรือครีมปองกันฝา - ถาเปนสิว ควรเปลี่ยนเปนยาเม็ดคุมกําเนิดชนิด ที่มีฮอรโมน โปรเจสโตเจนที่มีฤทธิ์ใกลเคียง ธรรมชาติมากที่สุด 4. เลือดออกกะปริบกะปรอย มักเกิดกับผูที่เริ่มใชยาเม็ดคุมกําเนิดแผง แรกๆ และเปนอาการขางเคียงที่พบไดในการใชยา เม็ดคุมกําเนิดที่มีเอสโตรเจนต่ํา หรืออาจมาจาก สาเหตุอื่นๆ เชน รับประทานยาไมตรงเวลา รับประทานยาไมสม่ําเสมอ ลืมรับรับประทานยา รวมถึงการใชยาฉีดคุมกําเนิด - รับประทานยาเม็ดคุมกําเนิดในเวลาเดียวกันทุก วันและสม่ําเสมอ - อาการเลือดออกทางชองคลอดเปนสิ่งปกติที่ เกิดขึ้นไดในชวง 3 เดือนแรก หลังจากนั้นก็จะ ปกติหรือลดนอยลง - หากมีเลือดออกกะปริบกะปรอย เกิน 3 เดือน ควรปรึกษาแพทย เพื่อตรวจดูสาเหตุของ เลือดออกผิดปกติ เชน มะเร็งปากมดลูก และ เลือดออกผิดปกติ เชน มะเร็งปากมดลูก และ สาเหตุอื่น ๆ 5. ไมมีประจําเดือน ผูที่รับประทานยาเม็ดคุมกําเนิดที่มี - ในรายที่สงสัยวามีการตั้งครรภ ควรทดสอบ
  9. อาการขางเคียง แนวทางการปองกันและแกไข ฮอรโมนต่ํานานๆ อาจทําใหไมมีประจําเดือน นอกจากนี้ผูที่ใชยาฉีดคุมกําเนิดเปนระยะ เวลานาน แลวไมมีประจําเดือน เมื่อเปลี่ยนมาใช ยาเม็ดคุมกําเนิดแผงแรกๆ อาจทําใหยังไมมี ประจําเดือน เนื่องจากฤทธิ์ของยาฉีดคุมกําเนิด หรือในบางรายอาจมีการตั้งครรภ จากการ รับประทานยาไมถูกตอง การตั้งครรภ - ถาไมตั้งครรภและรับประทานยาอยางถูกตอง ยาอาจทําใหยังไมมีประจําเดือน เนื่องจากไมมี การสรางเยื่อบุมดลูก - ถาตั้งครรภใหหยุดรับประทานยา ซึ่งปริมาณ ของฮอรโมนที่อยูในยาเม็ดที่รับประทานเขาไป กอนหนานี้มีปริมาณนอยมาก จะไมเปนอันตราย ตอทารกในครรภ 6. การเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต ผูที่รับประทานยาเม็ดคุมกําเนิดนาน หลายป มีแนวโนมที่จะเกิดความดันโลหิตสูง - เปลี่ยนไปใชยาเม็ดคุมกําเนิดที่มีเอสโตเจน ขนาดต่ํา ๆ - หมั่นตรวจติดตามวัดความดันโลหิตอยาง สม่ําเสมอ - ควบคุมและดูแลเรื่องอาหาร การออกกําลังกาย และการพักผอนลดความเครียด 7. น้ําหนักตัวเพิ่ม การรับประทานยาเม็ดคุมกําเนิดที่มี ฮอรโมนเอสโตรเจน ทําใหเกิดการคั่งของน้ําและ ไขมันใตผิวหนัง จึงมีแนวโนมน้ําหนักตัวเพิ่มขึ้น และฮอรโมนโปรเจสโตเจนที่มีฤทธิ์ฮอรโมนเพศ ชาย รวมถึงยาฉีดคุมกําเนิดทําใหอยาก รับประทานอาหารมากขึ้น - ควบคุมเรื่องการรับประทานอาหาร และการ ออกกําลังกาย - เปลี่ยนไปใชยาเม็ดคุมกําเนิดที่มีเอสโตเจน ขนาดต่ํา ๆ และโปรเจสโตเจนซึ่งไมมีผลตอการ คั่งของน้ํา 8. อารมณเปลี่ยนแปลง บางรายที่รับประทานยาเม็ดคุมกําเนิด อาจไดรับผลจากโปรเจสโตเจนหรือเอสโตรเจน ทําใหไดเกิดอาการซึมเศรา วิตกกังวล - หากมีอาการมากควรหยุดรับประทานยา - แนะนําใหผูใชยาไปปรึกษาจิตแพทย 9. อาการอาเจียนทองเสียรุนแรง ขณะใชยา เม็ดคุมกําเนิด อาเจียนดวยเหตุผลใดก็ตามภายใน 2 ชั่วโมง หลังรับประทานยาเม็ดที่มีฮอรโมน - ควรรับประทานยาเม็ดที่มีฮอรโมนซ้ําอีก
  10. อาการขางเคียง แนวทางการปองกันและแกไข อาเจียนอยางรุนแรง หรือทองเสียเปน เวลานานกวา 24 ชั่วโมง - ควรรับประทานยาเม็ดที่มีฮอรโมนตอไป (หาก ทําได) แมวาจะรูสึกไมสบาย - หากอาการอาเจียนอยางรุนแรง หรือทองเสีย ตอเนื่องตั้งแต 2 วันขึ้นไป ควรรับประทานยา ตามคําแนะนํา สําหรับผูที่ลืมรับประทานยา ใช วิธีคุมกําเนิดอื่นเสริมจนกวาจะหายอาเจียน หรือทองเสีย สําหรับการคุมกําเนิดในเพศชาย วิธีที่ใชกันมากคือ การใชถุงยาง (condom) และการทํา หมันชายโดยการตัดทอนําเชื้ออสุจิ ซึ่งคอนขางจะมีความยุงยาก ปจจุบันไดมีการวิจัยเพื่อพัฒนายา หรือสารที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ มีผลตอตัวอสุจิแตกตางกัน เพื่อใชเปนยาคุมกําเนิดเพศชาย เชน ฮอรโมนที่มีผลยับยั้งการสรางตัวอสุจิ โดยการใช GnRH analogues เพื่อกดการทํางานของตอม ใตสมอง สงผลใหระดับของเทสโทสเตอโรน (Testosterone) และอสุจิลดลง หรือสารที่ไมใชฮอรโมน ที่มีผลยับยั้งการสรางอสุจิ เปนตน ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไมมียาคุมกําเนิดในเพศชายรูปแบบใดที่ใหผล แนนอนออกมาวางจําหนาย ซึ่งยังอยูในชวงของการศึกษาวิจัย สรุป ยาคุมกําเนิด มีประโยชนใชเพื่อปองกันการตั้งครรภ โดยมีสวนประกอบคือฮอรโมนเพศหญิง ทั้งนี้สามารถปองกันการตั้งครรภไดจากกลไกหลายอยาง เชน การยับยั้งการตกไข การเพิ่มปริมาณ และความหนืดของมูกบริเวณปากมดลูก สงผลใหลดโอกาสการปฏิสนธิ เปนตน ยาคุมกําเนิดแบงเปน 2 กลุมใหญคือ ยาชนิดรับประทานและยาฉีด การเลือกใชยาจะพิจารณาจากความเหมาะสมของแตละ บุคคล ผูใชยาควรใชยาใหถูกตองการคําแนะนําเพื่อใหสามารถคุมกําเนิดไดอยางมีประสิทธิภาพ คําถามทบทวน 1. จงอธิบายกลไกการปองกันการตั้งครรภของยาเม็ดคุมกําเนิด 2. จงระบุชื่อยาที่ใชในการคุมกําเนิดมาจํานวน 2 ชนิด 3. จงอธิบายความแตกตางของยาคุมกําเนิดฮอรโมนรวมชนิด 21 เม็ด และชนิด 28 เม็ด
  11. 4. จงอธิบายวิธีการใชยาคุมกําเนิดฉุกเฉิน 5. ยาฉีดคุมกําเนิดชนิด DMPA สามารถคุมกําเนิดไดเปนระยะเวลานานเทาใด 6. ผลขางเคียงที่สําคัญของการใชยาคุมกําเนิดมีอะไรบาง เอกสารอางอิง กองอนามัยการเจริญพันธุ กรมอนามัย. (2551). คูมือการใหบริการวางแผนครอบครัวสําหรับ เจาหนาที่สาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพองคการสงเคราะหทหารผานศึก. ธันยารัตน วงศวนานุรักษ. (ม.ป.ป.). การคุมกําเนิด. [ออนไลน]. แหลงที่มา : http://www.si. mahidol.ac.th/sidoctor/epl/admin/article_files/575_1.pdf [20 มกราคม 2557]. นันทวรรณ กิติกรรณากรณ. (ม.ป.ป.). ยาคุมกําเนิด. เอกสารประกอบการสอน คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร. บุญเกิด คงยิ่งยศ และวีรพล คูคงวิริยพันธุ. (2541). เภสัชวิทยา สําหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร สุขภาพเลม 1. พิมพครั้งที่ 3. ขอนแกน: โรงพิมพ คลังนานาวิทยา. วิศรุต บูรณสัจจะ. (ม.ป.ป.). ยาเม็ดคุมกําเนิดฉุกเฉิน. [ออนไลน]. แหลงที่มา : http://161. 200.184.9/Clinic101_5/article/Radio110.pdf [20 มกราคม 2557]. อัญชลี งานขยัน. (มิถุนายน 2546). “ยาคุมกําเนิดฉุกเฉิน.” สารสาระจากหองยา. 1(3) : 1-3.
Anzeige