SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 17
Downloaden Sie, um offline zu lesen
แผนบริหารการสอนบทที่ 1
หัวข้อเนื้อหาประจาบท
1. ความหมาย และแหล่งที่มาของยา
2. รูปแบบยาเตรียม
3. วิธีการบริหารยา
4. การเรียกชื่อยา และคาสั่งการใช้ยา
5. การแบ่งกลุ่มยา และบัญชียาหลักแห่งชาติ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาจบบทที่ 1 แล้ว นักศึกษาควรมีความสามารถดังต่อไปนี้
1. อธิบายความหมายของยา และบอกแหล่งที่มาของยาได้
2. จาแนกลักษณะที่สาคัญของรูปแบบยาเตรียมชนิดต่าง ๆ ได้
3. อธิบายวิธีการบริหารยา และประโยชน์ของการบริหารยาแบบต่าง ๆ ได้
4. เปรียบเทียบความแตกต่างของการเรียกชื่อยาได้
5. อ่านคาสั่งการใช้ยาได้
6. เปรียบเทียบความแตกต่างของยาประเภทต่าง ๆ ได้
7. บอกความสาคัญของบัญชียาหลักได้
วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบทที่ 1 ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
1. บรรยายตามเนื้อหา โดยใช้โปรแกรมการนาเสนอ (power point) ประกอบคาอธิบาย
2. แสดงตัวอย่างยา และให้นักศึกษาอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับการเรียกชื่อยา รูปแบบยา
เตรียม วิธีการใช้ยา และประเภทของยา
3. แบ่งกลุ่มนักศึกษาให้ค้นคว้าเกี่ยวกับการจัดแบ่งกลุ่มยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ และให้
นักศึกษาอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4. ร่วมกันสรุปประเด็นสาคัญของการเรียน
5. มอบหมายงานให้นักศึกษานายาที่เคยใช้ มาศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ตามใบงาน ได้แก่
ชื่อยา รูปแบบยาเตรียม วิธีการบริหารยา และประเภทของยา
4
สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา เภสัชวิทยาเบื้องต้น บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
2. โปรแกรมนาเสนอ เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
3. ตัวอย่างยาที่มีรูปแบบยาเป็นของแข็ง ของเหลว และกึ่งของแข็ง
4. ตัวอย่างยาที่มีวิธีการบริหารยาโดยผ่านทางเดินอาหาร และไม่ผ่านทางเดินอาหาร
5. ฉลากยาที่ระบุชื่อยาและประเภทของยาแบบต่าง ๆ
6. บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556
วิธีวัดผลและการประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรมผู้เรียน
1.1 พฤติกรรมความตรงต่อเวลาในการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
1.2 พฤติกรรมการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนในระหว่างเรียน
1.3 พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมกลุ่ม
2. ประเมินผลงานที่มอบหมาย
2.1 ใบงาน
2.2 ผลงานกลุ่ม
5
บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
ปัจจุบันการรักษาอาการเจ็บป่วยมีหลายวิธี เช่น การใช้ยา การผ่าตัด การฉายรังสี การปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น การรักษาด้วยยาจัดเป็นวิธีที่มีทั้งประโยชน์และโทษ โดยที่ประโยชน์ของยา
เกิดจากฤทธิ์หรือสรรพคุณยาที่ทาให้หายจากอาการเจ็บป่วย ส่วนโทษของยาเกิดจากผลข้างเคียงที่
เกิดขึ้น ซึ่งแม้แต่ในยาที่มีความปลอดภัยสูงก็อาจพบผลข้างเคียงจากยาได้ ยาเปรียบเสมือนสิ่งแปลก
ปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นจึงต้องมี
ความระมัดระวัง และมีวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดผลดีในการรักษาและมีความปลอดภัยจาก
การใช้ยา
ความหมาย และแหล่งที่มาของยา
การจะใช้ยาได้อย่างถูกต้องมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการ เช่น ปัจจัยด้านผู้สั่งใช้ยา
ปัจจัยด้านผู้ป่วย หรือปัจจัยด้านตัวยา เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวยาเป็นส่วนใหญ่
เพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับยา ยาจัดเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างจากสารเคมี
อื่นโดยพิจารณาจากความหมาย และแหล่งที่มาดังต่อไปนี้
1. ความหมายของยา
ความหมายของคาว่ายา (Drugs) ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 หมายความว่า
(1) วัตถุที่รับรองไว้ในตารายาที่รัฐมนตรีประกาศ
(2) วัตถุที่มุ่งหมายสาหรับใช้ในการวินิจฉัย บาบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค
หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์
(3) วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสาเร็จรูป หรือ
(4) วัตถุที่มุ่งหมายสาหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการกระทาหน้าที่
ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์
วัตถุตาม (1) (2) หรือ (4) ไม่ได้หมายความรวมถึง วัตถุที่มุ่งหมายสาหรับใช้ในการเกษตร
หรือการอุตสาหกรรมตามที่รัฐมนตรีประกาศ วัตถุที่มุ่งหมายสาหรับใช้เป็นอาหารของมนุษย์ เครื่อง
กีฬา เครื่องมือ เครื่องใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ เครื่องสาอาง หรือเครื่องมือและส่วนประกอบของ
เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะหรือวิชาชีพเวชกรรม และวัตถุที่มุ่งหมายสาหรับใช้ในห้อง
6
วิทยาศาสตร์สาหรับการวิจัย การวิเคราะห์ หรือชันสูตรโรคซึ่งมิได้กระทาโดยตรงต่อร่างกายของ
มนุษย์ (สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2553 : 1-2)
จันทนี อิทธิพานิชพงศ์ ให้ความหมายของยาไว้ว่า สารหรือสารเคมีที่ทาให้เกิดการเปลี่ยน
แปลงทางชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตและสารนั้นไม่ใช่อาหาร แต่นามาใช้ในการป้องกันหรือบาบัดโรคต่าง ๆ
(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์. 2555 : 1)
ประภาวดี พัวไพโรจน์ ให้ความหมายของยาไว้ว่า สารที่รับรองไว้ในเภสัชตารับ เพื่อใช้ใน
การวิเคราะห์ บาบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์ ทาให้เกิดผล
แก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทาหน้าที่ของมนุษย์หรือสัตว์ (วีรพล คู่คงวิริยพันธุ์, บุญเกิด คงยิ่ง
ยศ และลัดดาวรรณ เส็งกันไพร, บรรณาธิการ. 2555 : 1-1)
กรรณิการ์ สงรักษา ให้ความหมายของยาไว้ว่า สารที่มีผลต่อสุขภาพหรือร่างกายของ
สิ่งมีชีวิต สามารถใช้ในการวิเคราะห์โรค บรรเทาอาการเจ็บปวด และรักษาโรคในคนและสัตว์ได้
(พยงค์ เทพอักษร, บรรณาธิการ. 2554 : 3)
สุธี เวคะวากยานนท์ ให้ความหมายของยาไว้ว่า วัตถุที่ถูกปรุงแต่งขึ้นเพื่อความมุ่งหมาย
6 ประการ คือ บาบัดโรค รักษาโรค บรรเทาอาการ ป้องกันโรค วินิจฉัยโรค และเสริมสร้างสุขภาพ
(สุธี เวคะวากยานนท์. 2554 : 2)
Bertram G Katzung ให้ความหมายของยาไว้ว่า สารใด ๆ ที่ชักนาให้เกิดการเปลี่ยน
เปลี่ยนแปลงหน้าที่ทางชีววิทยาผ่านปฏิกิริยาเคมี (Katzung, Masters and Trevor. 2012 : 3)
จากความหมายดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ยา หมายถึง สารที่มีผลทาให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงการทางานของร่างกาย ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการวินิจฉัย การป้องกันโรค การบาบัดรักษา
หรือบรรเทาอาการได้
2. แหล่งที่มาของยา
แหล่งที่มาของยาที่ใช้เป็นยาแผนปัจจุบันได้มาจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่ม
ใหญ่ 2 กลุ่ม ดังนี้
2.1 ยาที่ได้มาจากธรรมชาติ (Natural sources) ยากลุ่มนี้อาจได้มาจากแร่ธาตุ สัตว์
หรือพืช เช่น Oral rehydration salt ที่ผลิตจากเกลือแร่ชนิดต่าง ๆ Morphine ที่สกัดได้มาจากฝิ่น
Heparin ที่สกัดได้มาจากปอดหรือเยื่อบุลาไส้วัว น้ามันตับปลาที่สกัดได้มาจากตับปลา Penicillin ที่
สกัดได้มาจากเชื้อรา เป็นต้น
2.2 ยาที่ได้มาจากการสังเคราะห์ทางเคมี (Synthetic substances) การสังเคราะห์ทาง
เคมีเป็นแหล่งที่มาของยาส่วนใหญ่ที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเป็นการสังเคราะห์เลียนแบบสารบริสุทธิ์ที่ได้
7
จากธรรมชาติ เพื่อให้สามารถผลิตได้ในปริมาณมากลดต้นทุนการผลิต หรืออาจเกิดจากการค้นพบ
ฤทธิ์ของยาใหม่และนามาใช้ประโยชน์ในการรักษา
2.2.1 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุล เช่น Sulfonamide, Sulfonylurea
2.2.2 การเลียนแบบสูตรโครงสร้างฮอร์โมน และสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น
Insulin, Steroid
2.2.3 ยาตัวใหม่จากสารเคมีที่ได้จากสมุนไพร เช่น Gingo biloba นามาใช้รักษาโรค
สมองเสื่อม (Alzheimer’s disease)
2.2.4 ศึกษาฤทธิ์ของยาที่มีอยู่เพื่อหาข้อบ่งใช้ในการรักษาใหม่ เช่น การรักษาโรค
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยใช้ยากลุ่มปิดกั้นตัวรับชนิดเบต้า (β-receptor blocker)
รูปแบบยาเตรียม
รูปแบบยาเตรียม (Dosage forms) คือลักษณะของยาที่ผลิตขึ้นมาให้มีรูปแบบเหมาะสมกับ
การใช้งาน ผลิตได้ง่ายหรือมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ตารับยาโดยทั่วไปประกอบด้วยตัวยา และสารปรุงแต่ง
ยา โดยที่ตัวยาอาจเป็นสารออกฤทธิ์เพียงตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ ทั้งนี้รูปแบบของยาที่ดีควรมีความ
บริสุทธิ์ถูกต้องตามมาตรฐานที่กาหนด มีความสม่าเสมอของของขนาดยา มีประสิทธิภาพดีในการ
รักษาโรค มีความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และไม่เกิดพิษ มีความคงตัวดีและมีลักษณะชวนให้อยากใช้ยา
(รวีวรรณ ช่วยบารุง และคณะ. 2557 : 4) ทั้งนี้สามารถแบ่งรูปแบบยาเตรียมได้เป็น 3 ชนิดตาม
ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของแข็ง ของเหลว และกึ่งของแข็ง
1. รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของแข็ง (Solid dosage form)
รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของแข็ง ยาอาจเป็นชนิดเม็ดหรือผงบรรจุซอง มักประกอบด้วยตัว
ยาสาคัญและส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยให้ยามีลักษณะและคุณสมบัติที่ดีตามต้องการ ได้แก่ สารเพิ่ม
ปริมาณ สารยึดเกาะ สารหล่อลื่น และสารแต่งกลิ่นหรือสีของยา ยาเตรียมรูปแบบของแข็งนิยมใช้
มากที่สุด เนื่องจากสามารถบริหารยาสะดวก ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับยาในขนาดที่แน่นอนมากกว่า
รูปแบบของเหลว สามารถกลบกลิ่นและรสของยาได้ง่าย พกพาสะดวก ยาเตรียมรูปแบบของแข็งที่
นิยมใช้ มีดังนี้
1.1 ยาเม็ด (Tablet) ยาเม็ดเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการผสมตัวยาออกฤทธิ์และ
ส่วนประกอบอื่นที่จาเป็น แล้วตอกอัดออกมาเป็นเม็ด มีทั้งแบบตอกเพียงครั้งเดียวและตอกหลายครั้ง
ซึ่งการตอกยาหลายครั้งจะทาให้ยามีหลายชั้นต่อกัน สาหรับยาเม็ดนี้จะพบว่ามีหลายแบบเพื่อให้ได้ยา
ที่น่าใช้และเกิดประโยชน์ตามที่ต้องการ
8
ตารางที่ 1.1 ลักษณะของยาเม็ดในรูปแบบต่าง ๆ
รูปแบบของยา คุณลักษณะ
Chewable tablet ยาเม็ดสาหรับเคี้ยว เป็นยาเม็ดที่ต้องมีการเคี้ยวก่อนและมีการดูดซึมของ
ตัวยาในช่องปาก
Effervescent tablet ยาเม็ดฟู่ เป็นยาที่ต้องนามาละลายน้าก่อนใช้ โดยเมื่อละลายน้าจะเกิด
ฟองฟู่จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น รูปแบบยานี้จะทาให้ตัวยาถูกปลด
ปล่อยอย่างรวดเร็ว เพื่อกลบรสที่ไม่ดีของตัวยา
Enteric coated tablet ยาเม็ดชนิดเคลือบเพื่อให้ยาไปละลายในลาไส้ ใช้เคลือบยาที่ถูกทาลาย
โดยกรดในกระเพาะอาหาร หรือตัวยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก
Prolong-action tablet ยาเม็ดชนิดออกฤทธิ์เนิ่น เป็นชนิดที่ตัวยาสามารถออกฤทธิ์ในการรักษา
ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ทาให้ลดความถี่ในการใช้ยาได้
Sublingual tablet ยาเม็ดอมใต้ลิ้น เป็นยาเม็ดที่มีลักษณะบาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ยา
ละลาย ดูดซึมและออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว
Sugar coated tablet ยาเม็ดชนิดเคลือบด้วยน้าตาล ใช้เคลือบเพื่อให้มีลักษณะสวยงาม
กลบกลิ่นหรือรสที่ไม่ดี
Troches ยาอม ใช้อมเพื่อให้ยาละลายช้าๆ ในปาก ออกฤทธิ์เฉพาะที่ภายในช่อง
ปากและลาคอ
1.2 ยาแคปซูล (Capsule) เป็นตัวยาที่บรรจุอยู่ในเปลือกแคปซูล ซึ่งเตรียมจากเจลาติน
และละลายได้ที่อุณหภูมิของร่างกาย ยาแคปซูลสามารถรับประทานได้ง่าย กลบกลิ่นและรสขมของยา
ได้ดี เช่น แคปซูลชนิดแข็ง ซึ่งบรรจุยาที่อาจเป็นผงหรือแกรนูลบรรจุในแคปซูล และแคปซูลชนิดอ่อน
ซึ่งบรรจุยาที่มีลักษณะเป็นของเหลวไว้ภายใน เช่น วิตามิน หรือแคปซูลชนิดแข็ง ซึ่งประกอบด้วย 2
ส่วนสวมเข้าหากันหลังจากบรรจุผงยา เช่น ยาฆ่าเชื้อบางชนิด
1.3 ยาผง (Powders) เป็นยาที่มีส่วนผสมเป็นผงละเอียด อาจใช้เป็นยาภายในหรือ
ภายนอก เช่น ยาผงสาหรับรับประทาน ยาผงใช้สูดดมหรือเป็นยาพ่น ยาผงสาหรับฉีดปราศจากเชื้อ
ยาผงฟู่ เป็นต้น
2. รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของเหลว (Liqiud dosage form)
รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของเหลว ยาจะมีลักษณะเป็นของเหลวหรือน้า จึงจาเป็นต้องมี
ภาชนะบรรจุที่เหมาะสม การใช้ยาต้องมีเครื่องตวงที่บอกปริมาตร เช่น ช้อนตวง แก้วตวง รูปแบบยา
9
เตรียมที่เป็นของเหลวสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภท ดังนี้
2.1 ยาน้าสารละลาย เป็นยาน้าใสไม่มีตะกอนที่เตรียมได้จากตัวถูกละลายอาจเป็น
ของแข็ง ของเหลวหรือแก๊สละลายอยู่ในตัวทาละลาย โดยของผสมนี้จะละลายเป็นเนื้อเดียวกันอย่าง
สม่าเสมอ
ตารางที่ 1.2 ลักษณะของยาน้าสารละลายในรูปแบบต่าง ๆ
รูปแบบของยา คุณลักษณะ
Elixir ยาอิลิกเซอร์ มีตัวยาละลายอยู่ในน้าที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ร้อยละ 4-40
มีรสหวานและกลิ่นหอม ใช้เป็นยารับประทาน
Solution ยาน้าใส มีตัวยาที่ละลายในตัวทาละลายผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
Spirit ยาสปิริต เป็นยาเตรียมชนิดน้าที่ตัวยาเป็นสารหอมระเหยอยู่ในแอลกอฮอล์หรือน้า
ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ โดยปริมาณแอลกอฮอล์สูงถึงร้อยละ 60-90 เพื่อไม่ให้
สารหอมระเหยนั้นแยกตัวออกมา ไม่มีรสหวาน
Syrup ยาน้าเชื่อม มีตัวยาละลายอยู่ในสารละลายที่มีรสหวาน ทาให้กลบรสขมของยา
มักมีสารแต่งกลิ่นและสีจึงรับประทานยาได้ง่ายขึ้น เหมาะสาหรับเด็กหรือผู้ที่
รับประทานยายาก
Tincture ยาทิงเจอร์ มีตัวยาละลายอยู่ในตัวทาละลายที่มีน้าผสมแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง
เป็นยาที่ประกอบด้วยสารสกัดจากพืชหรือสารเคมีในแอลกอฮอล์ ใช้เป็นได้ทั้งยา
ภายในและยาภายนอกร่างกาย
2.2 ยาน้ากระจายตัว เป็นรูปแบบของยาที่ประกอบด้วยอนุภาคของตัวยา กระจายอยู่ใน
ตัวกลางช่วยกระจาย
2.2.1 ยาน้ากระจายตัวชนิดคอลลอยด์ เป็นยาน้าที่มีอนุภาคตัวยากระจายอยู่ขนาด
เล็กกว่า 0.5 ไมโครเมตร ยาน้ากระจายตัวชนิดนี้จะมีลักษณะขุ่น
ตารางที่ 1.3 ลักษณะของยาน้ากระจายตัวชนิดคอลลอยด์ในรูปแบบต่าง ๆ
รูปแบบของยา คุณลักษณะ
Magma ยาแมกมา เป็นยาน้าที่มีลักษณะข้นเหนียว มีตัวยาอนุภาคตัวยาขนาดใหญ่พองตัว
และกระจายตัวได้ดี เมื่อตั้งยาทิ้งไว้จะพบยาตกตะกอนแยกเป็น 2 ชั้น และเมื่อ
เขย่าจะกระจายตัวอย่างสม่าเสมอได้
10
รูปแบบของยา คุณลักษณะ
Mixture ยาน้าผสม มีตัวยาละลายหรือกระจายตัวอยู่ในน้ากระสายยา มีลักษณะไม่ข้นหนืด
ใช้สาหรับรับประทานเท่านั้น
2.2.2 ยาน้ากระจายตัวชนิดหยาบ เป็นยาน้าที่มีอนุภาคตัวยากระจายอยู่ขนาดใหญ่
กว่า 0.5 ไมโครเมตร ยาน้ากระจายตัวชนิดนี้มีลักษณะขุ่นและเกิดการแยกชั้นได้เช่นเดียวกับชนิด
คอลลอยด์
ตารางที่ 1.4 ลักษณะของยาน้ากระจายตัวชนิดหยาบในรูปแบบต่าง ๆ
รูปแบบของยา คุณลักษณะ
Emulsion ยาน้าแขวนละออง มีตัวยาสาคัญเป็นของเหลว 2 ชนิดที่ไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
มักจะเป็นน้ากับน้ามัน แต่สามารถผสมกันอยู่ในรูปแขวนละออง โดยมีสารแขวน
ละอองเป็นตัวช่วย
Suspension ยาน้าแขวนตะกอน เป็นรูปแบบที่มีตัวยาเป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว
โดยมีสารช่วยในการแขวนตะกอน ดังนั้นจึงต้องเขย่าให้ยาเข้ากันก่อนใช้
3. รูปแบบยาเตรียมที่เป็นกึ่งของแข็ง (Semisolid dosage form)
รูปแบบยาเตรียมที่เป็นกึ่งของแข็ง เป็นรูปแบบของยาที่ในภาวะปกติจะสามารถคงตัว
ตามภาชนะบรรจุ แต่เมื่อใช้กับร่างกายยาจะหลอมตัวเป็นของเหลว ซึ่งมักใช้เป็นยาภายนอก
3.1 ครีม (Cream) เป็นอีมัลชันที่มีความข้นมากหรืออีมัลชันชนิดกึ่งแข็ง มีตัวยาละลาย
อยู่ในน้าหรือน้ามัน ครีมมีลักษณะขาวขุ่น ใช้สาหรับทาภายนอกเท่านั้น เช่น ครีมแก้ปวดบวมหรือลด
การอักเสบ
3.2 ยาขี้ผึ้ง (Ointment) เป็นยาเตรียมสาหรับใช้ทาผิวหนัง ตัวยาจะละลายอยู่ในยาพื้น
ขี้ผึ้ง ซึ่งมีลักษณะเป็นมัน เช่น ขี้ผึ้งทาแผล
3.3 เพสท์ (Paste) เป็นยาขี้ผึ้งซึ่งมีผงยาที่ไมละลายผสมอยู่ด้วยเป็นจานวนมาก ทาให้ยา
มีลักษณะเป็นเนื้อหยาบกว่า
3.4 ยาเหน็บ (Suppositories) เป็นยาเตรียมที่ใช้โดยการเหน็บทวารหนักหรือช่องคลอด
เพื่อให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ ยาเหน็บประกอบด้วยตัวยาละลายอยู่ในยาพื้น โดยยาพื้นจะเป็นของแข็งที่
อุณหภูมิห้อง เมื่ออยู่ในอุณหภูมิร่างกายสามารถละลายและปลดปล่อยตัวยาออกมา เช่น ยาระบายกลี
เซอรอล (Glycerol)
11
วิธีการบริหารยา
การใช้ยาทุกครั้งจาเป็นต้องยึดหลักการใช้ยาที่ถูกต้อง 5 ประการ (5 Rights) ได้แก่ ใช้ยาถูก
คน (Right patient) ใช้ยาถูกชนิด (Right drug) ใช้ยาถูกขนาด (Right dose) ใช้ยาถูกเวลา (Right
time) และใช้ยาถูกวิธี (Right route) เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย
สาหรับวิธีการบริหารยา (Route of drug administration) ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายวิธี เพื่อให้ตัวยา
สาคัญไปยังบริเวณที่ออกฤทธิ์ในขนาดที่ต้องการและเห็นผลในการรักษา โดยก่อให้เกิดอันตรายต่อ
ผู้ป่วยน้อยที่สุด ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารยา เช่น คุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีของยา ตาแหน่งของ
ยาที่จะออกฤทธิ์ วัตถุประสงค์ในการรักษา และสภาวะของผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งการบริหารยาสามารถ
แบ่งออกเป็นวิธีต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. การให้ยาโดยผ่านทางเดินอาหาร
การให้ยาโดยผ่านทางเดินอาหาร เป็นวิธีการบริหารที่ยาจะถูกดูดซึมที่บริเวณทางเดิน
อาหาร หลังจากยาเข้าสู่หลอดเลือดจึงจะไปยังตาแหน่งออกฤทธิ์ต่อไป แต่สาหรับยาที่ไม่ถูกดูดซึมยา
จะออกฤทธิ์เฉพาะที่บริเวณทางเดินอาหารเท่านั้น การบริหารยาแบบนี้ ได้แก่
1.1 การรับประทาน (Oral ingestion) เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากใช้ง่าย
สะดวก และมีความปลอดภัย แต่การดูดซึมยาขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเป็นกรดในกระเพาะ
อาหาร การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลาไส้ คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของยา ความ
ทนทานของยาต่อสภาวะภายในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรค
1.2 การอมใต้ลิ้น (Sublingual administration) ตัวยาจะถูกดูดซึมผ่านหลอดเลือดฝอย
ในช่องปาก และเข้าสู่หัวใจโดยไม่ผ่านกระเพาะอาหารและลาไส้ ใช้ในกรณีที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์
เร็ว มักใช้กับยาที่ถูกทาลายอย่างรวดเร็วเมื่อผ่านตับครั้งแรกก่อนไปยังตาแหน่งออกฤทธิ์ หรือยาที่ถูก
ทาลายได้โดยความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ทาให้ไม่สามารถให้โดยการรับประทาน เพื่อให้ได้ผลดี
ผู้ที่ใช้ยาด้วยวิธีนี้ที่ไม่ควรบ้วนน้าลาย และกลืนน้าลายให้น้อยที่สุด
1.3 การให้ยาทางทวารหนัก (Rectal administration) วิธีนี้รูปแบบของยาอาจอยู่ในรูป
ของยาเหน็บหรือยาสวนทวาร ยาจะถูกดูดซึมที่บริเวณลาไส้ส่วนปลาย และมีการดูดซึมยาที่ไม่แน่นอน
ใช้ในกรณีที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ในเด็กเล็ก และผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนรุนแรง
2. การให้ยาโดยไม่ผ่านทางเดินอาหาร
การให้ยาโดยไม่ผ่านทางเดินอาหาร เป็นการให้ยาโดยการฉีดไปยังตาแหน่งต่าง ๆ ของ
ร่างกาย หรือการให้ยาเฉพาะที่ ซึ่งวิธีการบริหารยาแบบนี้ยาจะถูกดูดซึมบริเวณที่ให้ยาโดยไม่ผ่านการ
12
ดูดซึมที่ผนังทางเดินอาหาร การบริหารยาแบบนี้ ได้แก่
2.1 การให้ยาฉีด (Injection) วิธีนี้สามารถควบคุมอัตราเร็วของการดูดซึมยาได้ วิธีการให้
ยาโดยการฉีดที่ใช้บ่อย มีดังนี้
2.1.1 การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous administration) ใช้ได้กับยาที่
ไม่ระคายเคือง และมีปริมาณที่ต้องการฉีดไม่มาก หลังจากฉีดจะปล่อยตัวยาออกมาช้า ๆ และยาถูก
ดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดอย่างสม่าเสมอ สาหรับการประคบด้วยความร้อน การนวด หรือการ
ออกกาลัง จะทาให้เกิดการดูดซึมยาเพิ่มมากขึ้น ข้อเสียของวิธีนี้คือ ยาบางชนิดอาจทาให้เกิดอาการ
ปวด ระคายเคืองเนื้อเยื่อ เป็นแผลหรือฝีได้
2.1.2 การฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ (Intramuscular injection) วิธีนี้จะให้ขนาดยาที่
แน่นอน และมีอัตราการดูดซึมยาสูง ออกฤทธิ์เร็วกว่าการรับประทานยา โดยที่การดูดซึมของยาจะ
ขึ้นกับปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณที่ฉีด ข้อเสียของวิธีนี้คือ อาจทาให้ปวดมาก อาจ
เกิดฝี หรือเส้นประสาทบริเวณที่ฉีดถูกทาลาย มักใช้สาหรับยาที่ถูกทาลายในระบบทางเดินอาหาร
หรือถูกดูดซึมได้ไม่ดีในระบบทางเดินอาหาร
2.1.3 การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดา (Intravenous administration) วิธีนี้ตัวยา
ทั้งหมดเข้าสู่หลอดเลือดดาโดยไม่ผ่านกระบวนการดูดซึม ยาเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง ส่งผลให้ระดับยา
ในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว ใช้ได้ในกรณีที่ยาระคายเคืองมาก และไม่ถูกดูดซึมโดยการรับประทาน หรือ
ต้องการควบคุมปริมาณยาที่ให้ และเมื่อต้องการให้ในขนาดที่สูงหรือต้องการให้ยาออกฤทธิ์ต่อเนื่อง
สม่าเสมอ สามารถให้โดยการฉีดช้า ๆ (IV push) หรือหยดเข้าหลอดเลือดดาได้ (IV infusion) การให้
ยาวิธีนี้อาจเกิดการระคายเคืองต่อหลอดเลือดและเนื้อเยื่อบริเวณที่ให้ยา ข้อเสียของวิธีนี้คือ อาจเกิด
การอักเสบของหลอดเลือดดา และเกิดการติดเชื้อได้
2.2 การให้ยาเฉพาะที่ (Topical application) รูปแบบของยาที่นิยมใช้เป็นยาเฉพาะที่
เช่น ขี้ผึ้ง ครีม โลชัน ยาผง เป็นต้น และมักเป็นยาที่ใช้ภายนอกร่างกาย วิธีการให้ยาเฉพาะที่ มีดังนี้
2.2.1 การให้ยาผ่านผิวหนัง ได้แก่ ยาผงโรยผิวหนัง หรือพลาสเตอร์ เพื่อให้ตัวยา
รักษาอาการเฉพาะที่บริเวณผิว ใต้ผิวหนัง หรือบริเวณอื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของยาที่ใช้ ถ้าเป็น
ยาทามักรักษาอาการเฉพาะที่ ส่วนการให้โดยพลาสเตอร์บรรจุยาสามารถใช้รักษาอาการของระบบ
ต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ
2.2.2 ยาหยอด ได้แก่ ยาหยอดตา และยาหยอดหู เป็นวิธีการให้ยาเพื่อหวังผล
เฉพาะที่และมีผลข้างเคียงต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายค่อนข้างต่า เนื่องจากยาถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบ
ไหลเวียนเลือดในปริมาณน้อย
2.2.3 ยาเหน็บช่องคลอด เป็นวิธีการให้ยาเพื่อให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ในบริเวณระบบ
สืบพันธุ์เพศหญิง เช่น การให้ยาฆ่าเชื้อในช่องคลอด การให้ยาเร่งคลอด
13
2.3 การให้ยาชนิดสูดดม (Inhalation) วิธีนี้ใช้สาหรับยาที่อยู่ในรูปแบบก๊าซ ของเหลวที่
ระเหยได้ในอุณหภูมิธรรมดา ของเหลวที่จ่ายในรูปหยดเล็ก (Aerosol) และยาผงละเอียดสาหรับสูด
ดม โดยที่ตัวยาผ่านทางลมหายใจเข้าสู่ปอด และถูกดูดซึมผ่านถุงลมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดได้อย่าง
รวดเร็ว เนื่องจากบริเวณถุงลมมีพื้นที่ในการดูดซึมสูง จึงเหมาะสาหรับยาสลบและยาออกฤทธิ์ที่ระบบ
ทางเดินหายใจ เช่น ยาขยายหลอดลมสาหรับผู้ป่วยหอบหืด ข้อเสียของวิธีนี้คือ ไม่สามารถควบคุม
ปริมาณยาที่แน่นอนในผู้ป่วยได้
การเรียกชื่อยา และคาสั่งการใช้ยา
การใช้ยาอย่างปลอดภัย ส่วนหนึ่งต้องไม่เกิดความคลาดเคลื่อนจากคาสั่งการใช้ยา ผู้สั่งยา
จะต้องเขียนคาสั่งใช้ยาอย่างครบถ้วน และชัดเจน หลีกเลี่ยงการใช้คาย่อที่ไม่เป็นสากลหรือการสั่งยา
โดยวาจาหรือทางโทรศัพท์ สาหรับผู้ใช้ยาก็ควรใช้ให้ถูกต้องตามหลักการใช้ยา ยาแต่ละชนิดมีหลาย
ชื่อ จึงอาจทาให้เกิดความสับสนในการสื่อสาร หรืออาจก่อปัญหาการสั่งใช้ยาไม่เหมาะสมได้ การใช้ชื่อ
สามัญจึงมีข้อดีในการช่วยให้ทราบว่าเป็นยาประเภทใด ช่วยในการจาคุณสมบัติการออกฤทธิ์ของยา
ตลอดจนผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้
1. การเรียกชื่อยา
การเรียกชื่อยาสาหรับบุคคลโดยทั่วไป มักคุ้นเคยกับการเรียกชื่อตามสรรพคุณของยาที่
ใช้รักษาอาการเจ็บป่วย เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาแก้แพ้ เป็นต้น หรืออาจเรียกชื่อทางการค้า
หรือยี่ห้อของยานั้นโดยรับรู้จากการประชาสัมพันธ์ของบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้การเรียกชื่อยาสามารถแบ่ง
ออกเป็น 3 วิธีดังนี้
1.1 ชื่อสามัญ (Generic name) เป็นการเรียกชื่อยาที่สาคัญทางการแพทย์และ
สาธารณสุข เนื่องจากถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นชื่อมาตรฐานในการสื่อสารกัน แทนการใช้ชื่อทางเคมีซึ่งมีจดจา
ได้ยาก เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นชื่อสามัญของยา ที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวด
และลดไข้
1.2 ชื่อทางเคมี (Chemical name) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามระบบการอ่านชื่อทาง
วิทยาศาสตร์ โดยสามารถแสดงให้เห็นถึงโครง สร้างของยา แต่เป็นชื่อที่มีความยาวและซับซ้อน จึงมัก
ใช้เป็นชื่ออ้างอิงทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น เช่น พาราเซตามอล มีชื่อทางเคมีคือ
4’- Hydroxyacetanilide
1.3 ชื่อทางการค้า (Trade name) เป็นชื่อที่บริษัทผู้ขายตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการ
14
ประชาสัมพันธ์ยา โดยมักเป็นชื่อที่จดจาได้ง่าย และมีความน่าสนใจ ทั้งนี้จะมีสัญลักษณ์เครื่องหมาย
การค้าที่จดทะเบียนแล้ว () กากับที่ชื่อยาด้วย เช่น พาราเซตามอล มีชื่อทางการค้าหลายชื่อคือ
Calpol®
Paracap®
Sara®
Tylenol®
เป็นต้น
2. คาสั่งการใช้ยา
คาสั่งการใช้ยาที่ปรากฏอยู่ในใบสั่งยาจะต้องมีรายละเอียดที่จาเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถ
นายาไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้องค์ประกอบในใบสั่งยาจะปรากฏรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ วันที่ ชื่อ
และที่อยู่ของผู้ป่วย มีส่วนเริ่มต้นของการสั่งยา โดยทั่วไปจะใช้สัญลักษณ์ Rx มีส่วนของใบสั่งยาที่บอก
ชื่อยา รูปแบบของยา และปริมาณตัวยาที่มีอยู่ในยาเตรียม 1 หน่วย บอกจานวนยาทั้งหมดที่ผู้ป่วยจะ
ได้รับ บอกวิธีการใช้ยา และลงชื่อผู้สั่งใช้ยาผู้จัดยาหรือจ่ายยาให้กับผู้ป่วย ทั้งนี้การเขียนใบสั่งยาจะใช้
อักษรย่อภาษาละตินหรืออักษรย่อภาษาอังกฤษ โดยมีรายละเอียดที่ควรทราบดังแสดงในตารางที่ 1.5
ตารางที่ 1.5 อักษรย่อที่ใช้ในคาสั่งการใช้ยา
จุดมุ่งหมาย อักษรย่อที่ใช้ ความหมาย
เพื่อบอกเวลาในการใช้ยา ac ก่อนอาหาร
pc หลังอาหาร
hs ก่อนนอน
stat ใช้ทันทีที่ได้รับยา
เพื่อบอกความถี่ในการใช้ยา od วันละ 1 ครั้ง
bid วันละ 2 ครั้ง
tid วันละ 3 ครั้ง
qid วันละ 4 ครั้ง
q … hr ใช้ทุก … ชั่วโมง
prn เมื่อจาเป็นหรือเมื่อมีอาการ
เพื่อบอกวิธีการบริหารยา po / oral / ให้รับประทานยา
sc / ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
im / ฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
iv / vein / ฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดา
ให้อมใต้ลิ้น

v
m
sc
SL
15
ตัวอย่างคาสั่งการใช้ยา เช่น
Enalapril (5 mg) 1 tab bid pc หมายความว่า ให้รับประทานยาอีนาลาพริลขนาด 5
มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร
Paracetamol (500 mg) 2 tabs oral prn for pain q 4-6 hr หมายความว่า ให้
รับประทานยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 เม็ด เมื่อมีอาการปวด ทุก 4- 6 ชั่วโมง
การแบ่งกลุ่มยา และบัญชียาหลักแห่งชาติ
กฎหมายได้กาหนดมาตรการต่าง ๆ และจัดแบ่งกลุ่มยาตามการควบคุมกากับ เพื่อคุ้มครอง
ผู้ใช้ยาให้ได้รับความปลอดภัย ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความพระราชบัญญัติยา พ.ศ.
2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ได้จาแนกประเภทของยาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และเป็นการกาหนด
บทบาทผู้รับผิดชอบในการส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา (ทรงศักดิ์ วิมลกิตติพงศ์.
ม.ป.ป. : 1)
1. การแบ่งกลุ่มยา
การแบ่งกลุ่มยา เป็นการจัดหมวดหมู่ของยาซึ่งสามารถแบ่งประเภทของยาโดยอาศัย
หลักการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน ในที่นี้ขอกล่าวถึงการแบ่งประเภทของยาตาม
กฎหมาย โดยยาแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้
1.1 ยาสามัญประจาบ้าน เป็นยาที่กฎหมายอนุญาตให้วางจาหน่ายได้ทั่วไป เนื่องจากได้
รับการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความปลอดภัย ผู้ป่วยสามารถตัดสินใจเลือกใช้ยาเพื่อรักษาอาการเจ็บ
ป่วยเบื้องต้นด้วยตนเอง โดยที่ยาสามัญประจาบ้านจะต้องเป็นตารับยา สรรพคุณ ขนาด วิธีใช้
คาเตือน การเก็บรักษา ขนาดบรรจุ และการแสดงฉลากตามที่กฎหมายกาหนดเท่านั้น ตัวอย่างยาใน
กลุ่มนี้ เช่น มีเบนดาโซล (Mebendazole) ใช้สาหรับถ่ายพยาธิตัวกลม
1.2 ยาอันตราย เป็นยาที่กฎหมายอนุญาตให้ขายได้เฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน
เท่านั้น และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเภสัชกร เนื่องจากยาในกลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ง่าย
หากใช้ไม่ถูกต้อง ยาในกลุ่มนี้ให้สังเกตตัวอักษรสีแดงที่ระบุว่า “ยาอันตราย” บริเวณภาชนะบรรจุยา
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น อะมอกซีซิลลิน (Amoxycillin) ใช้สาหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
1.3 ยาควบคุมพิเศษ เป็นยาที่ผู้ป่วยจะใช้ได้เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อน ดังนั้น
หากจะซื้อยาในกลุ่มนี้จากร้านขายยาแผนปัจจุบันก็ต่อเมื่อมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น เนื่องจากยา
กลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ง่ายจึงเป็นยาที่ถูกจากัดการใช้ ยาในกลุ่มนี้ให้สังเกตตัว

16
อักษรสีแดงที่ระบุว่า “ยาควบคุมพิเศษ” บริเวณภาชนะบรรจุยา ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น เพรดนิโซ
โลน (Prednisolone) ใช้สาหรับรักษาการอักเสบ
นอกจากนี้ยังมียาควบคุมพิเศษบางรายการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยาสูง จึง
ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ยาควบคุมพิเศษชนิดดังกล่าวจึงถูกกาจัดการใช้ให้อยู่ใน
สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลเท่านั้น ห้ามจาหน่ายในร้านขายยาทุกประเภทยาในกลุ่มนี้ให้สังเกตตัว
อักษรสีแดงที่ระบุว่า “ยาควบคุมพิเศษ” “ใช้เฉพาะโรงพยาบาล” หรือ “ใช้เฉพาะสถานพยาบาล”
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น ซิโดวูดีน (Zidovudine) ใช้สาหรับต้านไวรัสเอดส์ และยาควบคุมพิเศษที่
เป็นยาใหม่ จาเป็นต้องมีระบบการติดตามความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยา ซึ่งจะจากัดการใช้
เฉพาะในสถานพยาบาลหรือในโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิดเท่านั้น
2. บัญชียาหลักแห่งชาติ
บัญชียาหลักแห่งชาติถูกพัฒนาขึ้น เนื่องจากปัญหาที่พบว่าอัตราค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่ม
สูงขึ้น จากการใช้ยาจานวนมากของหน่วยบริการสุขภาพตั้งแต่ระดับปฐมภูมิไปจนถึงระดับตติยภูมิโดย
เป็นการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล ดังนั้นเพื่อให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีการ
คัดเลือกยาที่มีความจาเป็นต่อสุขภาพบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งได้พัฒนามาเป็นฉบับปัจจุบัน
ฉบับที่ 11 คือ บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556 โดยบัญชียาหลักแห่งชาติทุกฉบับมุ่งเน้นการคัดเลือก
รายการยาที่จาเป็น และเหมาะสมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพคนไทย โดยใช้ข้อมูลและ
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับวิจารณญาณของผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มีจานวนและชนิด
รายการยาที่พอเพียงอย่างเหมาะสมกับระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทย และคนไทยเข้าถึงยา
ที่จาเป็นต่อปัญหาสุขภาพได้อย่างเป็นธรรม (กระทรวงสาธารณสุข. สานักงานคณะกรรมการยาหาร
และยา. 2556 : ค)
2.1 รายการบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ประกอบด้วย 2 บัญชียา ได้แก่
2.1.1 บัญชียาสาหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข เป็นรายการยาแผน
ปัจจุบันสาหรับใช้ในโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข ประกอบด้วยรายการยาจานวน 17
กลุ่ม จัดเป็นหมวดหมู่ตามฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพร้อมทั้งจัดกลุ่มยาตามระดับความจาเป็นในการรักษา
โรค ซึ่งจัดอยู่ในบัญชีย่อย 5 บัญชี รวมถึงรายการยาเภสัชตารับโรงพยาบาล ซึ่งเป็นยาที่โรงพยาบาล
ผลิตขึ้นใช้ภายในโรงพยาบาลตามเภสัชตารับด้วย
2.1.2 บัญชียาจากสมุนไพร เป็นรายการยาจากสมุนไพรซึ่งมีสูตรตารับ ข้อบ่งใช้
ขนาด วิธีใช้ ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และอาการไม่พึงประสงค์ โดยยาจากสมุนไพรตามบัญชียาหลัก
แห่งชาติจะเป็นรายการยาที่ให้ใช้สาหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข รวมทั้งงาน
17
สาธารณสุขมูลฐาน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณจานวน 50 รายการ และยา
พัฒนาจากสมุนไพรจานวน 21 รายการ
2.2. กลุ่มยาและหมวดหมู่รายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาจะถูกจัดแบ่งไว้เพื่อ
ส่งเสริมให้การใช้ยาเป็นไปตามขั้นตอน เหมาะสมและคุ้มค่า โดยอาจเป็นยาที่แพทย์และผู้ประกอบ
วิชาชีพด้านสุขภาพที่มีความรู้ สามารถในการเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม หรือเป็นยาที่แพทย์จะสั่งใช้ได้
เหมาะสมเมื่อได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะให้สามารถใช้ยานั้นได้อย่างถูกต้อง หรือเป็นยาที่ใช้แก้ปัญหา
สุขภาพของผู้ป่วยส่วนน้อยซึ่งมีโอกาสที่แพทย์จะสั่งใช้ยาอย่างไม่คุ้มค่าหรือมีโอกาสเกิดอันตรายได้
มาก ทั้งนี้หลักการแบ่งกลุ่มยาตามลาดับก่อนหลังในการเลือกใช้ร่วมกับความรู้และความเชี่ยวชาญ
ของแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่จะใช้ยาและความพร้อมของสถานพยาบาล ทั้งนี้
สามารถแบ่งเป็น 5 บัญชีย่อย ดังนี้
2.2.1 บัญชี ก. คือรายการยามาตรฐานที่ใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่พบ
บ่อย มีหลักฐานชัดเจนที่สนับสนุนการใช้ มีประสบการณ์การใช้ในประเทศไทยอย่างพอเพียง และเป็น
ยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกตามข้อบ่งใช้ของยานั้น
2.2.2 บัญชี ข. คือรายการยาที่ใช้สาหรับโรคบางชนิดที่ใช้ยาในบัญชี ก. ไม่ได้หรือไม่
ได้ผล หรือใช้แทนยาในบัญชี ก. ชั่วคราวในกรณีที่จัดหายาในบัญชี ก. ไม่ได้
2.2.3 บัญชี ค. คือรายการยาที่ใช้ในโรคเฉพาะทาง โดยผู้ชานาญหรือผู้ที่ได้รับมอบ
หมายจากผู้อานวยการของสถานพยาบาลนั้นๆ และมีมาตรการกากับการใช้ โดยสถานพยาบาลที่ใช้
จะต้องมีความพร้อมในการวินิจฉัยจนถึงการติดตามผลการรักษา เนื่องจากยากลุ่มนี้อาจเกิดพิษหรือ
เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยถ้าใช้ไม่ถูกต้อง หรือเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ง่าย หรือเป็นยาที่มีแนวโน้ม
การใช้ยาไม่คุ้มค่าหรือมีการนาไปใช้ในทางที่ผิด หรือมีหลักฐานสนับสนุนการใช้น้อย มีประสบการณ์
การใช้ในประเทศไทยอย่างจากัด หรือมีราคาแพงกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน
2.2.4 บัญชี ง. คือรายการยาที่มีหลายข้อบ่งใช้ แต่มีความเหมาะสมที่จะใช้เพียงบาง
ข้อบ่งใช้ หรือมีแนวโน้มจะมีการสั่งใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือเป็นรายการยาที่มีราคาแพง จึงเป็นกลุ่มยาที่
ต้องมีการระบุข้อบ่งใช้และเงื่อนไขการสั่งใช้ยา ทั้งนี้ยาในบัญชี ง. จาเป็นต้องใช้สาหรับผู้ป่วยบางราย
แต่อาจทาให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยหรือก่อปัญหาเชื้อดื้อยาที่ร้ายแรง การสั่งใช้ยาต้องอาศัยการตรวจ
วินิจฉัยและพิจารณาโดยผู้ชานาญเฉพาะโรค และโรงพยาบาลจะต้องมีระบบการกากับประเมินและ
ตรวจสอบการใช้ยา (Drug utilization evaluation) โดยต้องมีการเก็บข้อมูลการใช้ยาเหล่านั้นเพื่อ
ตรวจสอบในอนาคตได้
2.2.5 บัญชี จ. คือรายการยาสาหรับโครงการพิเศษของกระทรวง ทบวง กรม หรือ
หน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีการกาหนดวิธีการใช้และการติดตามประเมินการใช้ยาตามโครงการ โดยมี
18
หน่วยงานนั้นรับผิดชอบ รวมถึงรายการยาที่มีความจาเป็นเฉพาะให้เข้าถึงยาได้อย่างสมเหตุผลและ
คุ้มค่า ซึ่งมีการจัดกลไกกลางเป็นพิเศษในการกากับการใช้ยาภายใต้ความรับผิดชอบร่วมกันของระบบ
ประกันสุขภาพ
ตารางที่ 1.6 ตัวอย่างรายการยาลดระดับน้าตาลในเลือดที่อยู่ในบัญชีย่อย
บัญชียา ชื่อยา
ก. Glipizide, Metformin
ข. -
ค. Acarbose
ง. Pioglitazone, Repaglinide
จ. -
สรุป
ยาจัดเป็นสารเคมีที่สามารถเปลี่ยนแปลงการทางานของร่างกายโดยมีทั้งประโยชน์และโทษ
ยามีแหล่งที่มาจากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ทางเคมี ตัวยาแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์ได้ดีต้องอยู่ใน
รูปแบบที่เหมาะสม ยาอาจอยู่ในรูปแบบของแข็ง ของเหลว หรือกึ่งของแข็ง และต้องเลือกวิธีการให้
ยาที่เหมาะสาหรับผู้ป่วยแต่ละราย การบริหารยามีทั้งวิธีที่ยาผ่านทางเดินอาหารและไม่ผ่านทางเดิน
อาหาร ซึ่งวิธีที่แตกต่างกันก็จะส่งผลต่อความเร็วในการออกฤทธิ์แตกต่างกันด้วย คาสั่งการใช้ยาควร
ใช้ชื่อสามัญทางยาและยาที่ใช้ต้องเป็นไปตามลาดับรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งจะทาให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยและหน่วยบริการสุขภาพ
คาถามทบทวน
1. จงอธิบายหมายหมายของคาว่ายา
2. มอร์ฟีนเป็นยาระงับชนิดรุนแรงซึ่งสกัดได้มาจากผลฝิ่น แสดงว่ายาดังกล่าวมีที่มา
จากแหล่งใด
3. ENO
เป็นยาที่ต้องละลายน้าให้เกิดฟองฟู่ก่อนรับประทาน แสดงว่ายาดังกล่าวมีรูปแบบ
ยาเตรียมชนิดใด
4. Paracetamol syrup จากรูปแบบยาเตรียมดังกล่าว แสดงว่ายานี้มีคุณสมบัติอย่างไร
5. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการบริหารยาที่ผ่านทางเดินอาหารและไม่ผ่านทางเดิน
อาหาร
19
6. หากต้องการให้ยาถูกดูดซึมเร็ว วิธีการบริหารยาแบบใดเหมาะสมที่สุด เพราะเหตุใด
7. ชื่อสามัญและชื่อทางการค้าของยามีความแตกต่างกันอย่างไร
8. Paracetamol เป็นการเรียกชื่อยาแบบใด
9. Enalapril (5 mg) 1 tab oral bid pc จากคาสั่งดังกล่าวจะมีวิธีการใช้ยาอย่างไร
10. Amoxycillin เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่สามารถซื้อได้ในร้านขายยาที่มีเภสัชกร แสดงว่า
ยาดังกล่าวจัดเป็นยาประเภทใด
11. บัญชียาหลักแห่งชาติมีความสาคัญอย่างไร
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข. สานักงานคณะกรรมการยาหารและยา. (2556). บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.
2556. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์. (2555). เภสัชวิทยา. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงศักดิ์ วิมลกิตติพงศ์. (ม.ป.ป.). การจัดแบ่งประเภทของยาตามกฎหมาย. สานักงานโครงการพัฒนา
ร้านยา กองควบคุมยา.
พยงค์ เทพอักษร, บรรณาธิการ. (2554). เภสัชวิทยา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : โครงการ
สวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.
รวีวรรณ ช่วยบารุง และคณะ. (2557). หลักการเตรียมยาทั่วไป (สาหรับเจ้าพนักงานเภสัชกรรม).
นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
วีรพล คู่คงวิริยพันธุ์, บุญเกิด คงยิ่งยศ และลัดดาวรรณ เส็งกันไพร, บรรณาธิการ. (2555).
เภสัชวิทยา สาหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เล่ม 1. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
สุธี เวคะวากยานนท์. (2554). รู้ไว้-ใช้ยา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (8 ตุลาคม 2553). “พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510.” ราชกิจจา
นุเบกษา. ฉบับพิเศษ. เล่ม 84 ตอนที่ 101 (20 ตุลาคม 2510) หน้า 7.
Katzung, Bertram G., Susan B. Master and Anthony J. Trevor. (2012). Basic & Clinical
Pharmacology. 12th
ed. San Francisco : McGraw-Hill.

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญโมเรศ)
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญโมเรศ)ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญโมเรศ)
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญโมเรศ)Junee Sara
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัยSuradet Sriangkoon
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)pueniiz
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณUtai Sukviwatsirikul
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆDashodragon KaoKaen
 
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลคู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลUtai Sukviwatsirikul
 
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)Saravut Yuenyong
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผนFmz Npaz
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา campingการปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา campingVai2eene K
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ pueniiz
 
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์Thira Woratanarat
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็กRofus Yakoh
 
กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลSutthiluck Kaewboonrurn
 
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิดบทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิดPa'rig Prig
 
คู่มือการใช้สมุนไพรสำหรับประชาชน
คู่มือการใช้สมุนไพรสำหรับประชาชนคู่มือการใช้สมุนไพรสำหรับประชาชน
คู่มือการใช้สมุนไพรสำหรับประชาชนVorawut Wongumpornpinit
 
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรมระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรมRachanont Hiranwong
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อการประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อUtai Sukviwatsirikul
 

Was ist angesagt? (20)

ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญโมเรศ)
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญโมเรศ)ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญโมเรศ)
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญโมเรศ)
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
ยาสามัญประจำบ้านแผนปจจุบันและแผนโบราณ
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆ
 
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลคู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
 
หลักการใช้ยา ปี4
หลักการใช้ยา ปี4หลักการใช้ยา ปี4
หลักการใช้ยา ปี4
 
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผน
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา campingการปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น วิชา camping
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
 
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion) โดย ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็ก
 
กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาล
 
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิดบทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
 
1แนวคิดการบริหารทางการพยาบาล
1แนวคิดการบริหารทางการพยาบาล1แนวคิดการบริหารทางการพยาบาล
1แนวคิดการบริหารทางการพยาบาล
 
คู่มือการใช้สมุนไพรสำหรับประชาชน
คู่มือการใช้สมุนไพรสำหรับประชาชนคู่มือการใช้สมุนไพรสำหรับประชาชน
คู่มือการใช้สมุนไพรสำหรับประชาชน
 
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรมระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
 
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อการประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
 

Andere mochten auch

คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554Utai Sukviwatsirikul
 
2 หลักการพื้นฐานทางเภสัชวิทยา
2 หลักการพื้นฐานทางเภสัชวิทยา2 หลักการพื้นฐานทางเภสัชวิทยา
2 หลักการพื้นฐานทางเภสัชวิทยาPa'rig Prig
 
Intro to dosage form
Intro to dosage formIntro to dosage form
Intro to dosage formadriamycin
 
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาPa'rig Prig
 
HANDBOOK OF MEDICAL CONVERSATION ENGLISH
HANDBOOK OF MEDICAL CONVERSATION ENGLISHHANDBOOK OF MEDICAL CONVERSATION ENGLISH
HANDBOOK OF MEDICAL CONVERSATION ENGLISHUtai Sukviwatsirikul
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันUtai Sukviwatsirikul
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทAekapoj Poosathan
 
การวินิฉัยโรคสัตว์น้ำ
การวินิฉัยโรคสัตว์น้ำการวินิฉัยโรคสัตว์น้ำ
การวินิฉัยโรคสัตว์น้ำKrongkaew Taenkaew
 
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำ
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำการใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำ
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำKrongkaew Taenkaew
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำKrongkaew Taenkaew
 
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนาม
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนามโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนาม
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนามKrongkaew Taenkaew
 
โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
โรคที่เกิดจากแบคทีเรียโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
โรคที่เกิดจากแบคทีเรียKrongkaew Taenkaew
 
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนาม
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนามโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนาม
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนามKrongkaew Taenkaew
 
โรคที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อไวรัส
โรคที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อไวรัสโรคที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อไวรัส
โรคที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อไวรัสKrongkaew Taenkaew
 
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำ
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำการใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำ
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำKrongkaew Taenkaew
 
โรคที่เกิดจากครัสเตรเชียน
โรคที่เกิดจากครัสเตรเชียนโรคที่เกิดจากครัสเตรเชียน
โรคที่เกิดจากครัสเตรเชียนKrongkaew Taenkaew
 
Pharmacy guide
Pharmacy guidePharmacy guide
Pharmacy guideKaow Jaow
 
6 ยาคุมกำเนิด
6 ยาคุมกำเนิด6 ยาคุมกำเนิด
6 ยาคุมกำเนิดPa'rig Prig
 
Intro to dosage_form_handout
Intro to dosage_form_handoutIntro to dosage_form_handout
Intro to dosage_form_handoutadriamycin
 
Observation unit setup
Observation unit setupObservation unit setup
Observation unit setuptaem
 

Andere mochten auch (20)

คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
 
2 หลักการพื้นฐานทางเภสัชวิทยา
2 หลักการพื้นฐานทางเภสัชวิทยา2 หลักการพื้นฐานทางเภสัชวิทยา
2 หลักการพื้นฐานทางเภสัชวิทยา
 
Intro to dosage form
Intro to dosage formIntro to dosage form
Intro to dosage form
 
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
 
HANDBOOK OF MEDICAL CONVERSATION ENGLISH
HANDBOOK OF MEDICAL CONVERSATION ENGLISHHANDBOOK OF MEDICAL CONVERSATION ENGLISH
HANDBOOK OF MEDICAL CONVERSATION ENGLISH
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
 
การวินิฉัยโรคสัตว์น้ำ
การวินิฉัยโรคสัตว์น้ำการวินิฉัยโรคสัตว์น้ำ
การวินิฉัยโรคสัตว์น้ำ
 
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำ
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำการใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำ
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำ
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำ
 
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนาม
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนามโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนาม
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนาม
 
โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
โรคที่เกิดจากแบคทีเรียโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
 
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนาม
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนามโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนาม
โรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม พยาธิหัวหนาม
 
โรคที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อไวรัส
โรคที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อไวรัสโรคที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อไวรัส
โรคที่เกิดจากเชื้อราและเชื้อไวรัส
 
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำ
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำการใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำ
การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคสัตว์น้ำ
 
โรคที่เกิดจากครัสเตรเชียน
โรคที่เกิดจากครัสเตรเชียนโรคที่เกิดจากครัสเตรเชียน
โรคที่เกิดจากครัสเตรเชียน
 
Pharmacy guide
Pharmacy guidePharmacy guide
Pharmacy guide
 
6 ยาคุมกำเนิด
6 ยาคุมกำเนิด6 ยาคุมกำเนิด
6 ยาคุมกำเนิด
 
Intro to dosage_form_handout
Intro to dosage_form_handoutIntro to dosage_form_handout
Intro to dosage_form_handout
 
Observation unit setup
Observation unit setupObservation unit setup
Observation unit setup
 

Ähnlich wie บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา

009-12-2566 บทความ Bioequivalence (final) 11.12.66 (Songwut).pdf
009-12-2566 บทความ Bioequivalence (final) 11.12.66 (Songwut).pdf009-12-2566 บทความ Bioequivalence (final) 11.12.66 (Songwut).pdf
009-12-2566 บทความ Bioequivalence (final) 11.12.66 (Songwut).pdfSomchaiPt
 
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษาความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษาadriamycin
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงานTiwapon Wiset
 
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.11.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1Kruthai Kidsdee
 
Science2 110904044724-phpapp01
Science2 110904044724-phpapp01Science2 110904044724-phpapp01
Science2 110904044724-phpapp01korakate
 
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภคชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภคtassanee chaicharoen
 
4.แผนสุขศึกษาม4แผน11เอมพันธ์
4.แผนสุขศึกษาม4แผน11เอมพันธ์4.แผนสุขศึกษาม4แผน11เอมพันธ์
4.แผนสุขศึกษาม4แผน11เอมพันธ์Kruthai Kidsdee
 
โครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอยโครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอยNick Nook
 
แผน 10อย่าไปหาสารเสพติดม.5แอมพันธ์
แผน 10อย่าไปหาสารเสพติดม.5แอมพันธ์แผน 10อย่าไปหาสารเสพติดม.5แอมพันธ์
แผน 10อย่าไปหาสารเสพติดม.5แอมพันธ์Kruthai Kidsdee
 
หลักสูตร 6 ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552
หลักสูตร 6  ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552หลักสูตร 6  ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552
หลักสูตร 6 ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552tanong2516
 
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.44.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4Kruthai Kidsdee
 
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพPresent โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพศิริวรรณ นามสวัสดิ์
 
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.2
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.2การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.2
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.2korakate
 
งาน is เรื่องปัญหายาเสพติด
งาน is เรื่องปัญหายาเสพติดงาน is เรื่องปัญหายาเสพติด
งาน is เรื่องปัญหายาเสพติดIce Ice
 
แผนบริหารการสอนประจำวิชา
แผนบริหารการสอนประจำวิชาแผนบริหารการสอนประจำวิชา
แผนบริหารการสอนประจำวิชาPa'rig Prig
 
แผนการเรียนรู้เกษตร4
แผนการเรียนรู้เกษตร4แผนการเรียนรู้เกษตร4
แผนการเรียนรู้เกษตร4juckit009
 
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทกเภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทกpitsanu duangkartok
 

Ähnlich wie บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา (20)

009-12-2566 บทความ Bioequivalence (final) 11.12.66 (Songwut).pdf
009-12-2566 บทความ Bioequivalence (final) 11.12.66 (Songwut).pdf009-12-2566 บทความ Bioequivalence (final) 11.12.66 (Songwut).pdf
009-12-2566 บทความ Bioequivalence (final) 11.12.66 (Songwut).pdf
 
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษาความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.11.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
 
33 37
33 3733 37
33 37
 
Science2 110904044724-phpapp01
Science2 110904044724-phpapp01Science2 110904044724-phpapp01
Science2 110904044724-phpapp01
 
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภคชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
 
Aerius drug monograph
Aerius drug monograph Aerius drug monograph
Aerius drug monograph
 
4.แผนสุขศึกษาม4แผน11เอมพันธ์
4.แผนสุขศึกษาม4แผน11เอมพันธ์4.แผนสุขศึกษาม4แผน11เอมพันธ์
4.แผนสุขศึกษาม4แผน11เอมพันธ์
 
โครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอยโครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอย
 
แผน 10อย่าไปหาสารเสพติดม.5แอมพันธ์
แผน 10อย่าไปหาสารเสพติดม.5แอมพันธ์แผน 10อย่าไปหาสารเสพติดม.5แอมพันธ์
แผน 10อย่าไปหาสารเสพติดม.5แอมพันธ์
 
หลักสูตร 6 ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552
หลักสูตร 6  ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552หลักสูตร 6  ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552
หลักสูตร 6 ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552
 
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.44.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4
4.วิเคราะห์โครงสร้างการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.4
 
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพPresent โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
 
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.2
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.2การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.2
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด Science ม.2
 
งาน is เรื่องปัญหายาเสพติด
งาน is เรื่องปัญหายาเสพติดงาน is เรื่องปัญหายาเสพติด
งาน is เรื่องปัญหายาเสพติด
 
แผนบริหารการสอนประจำวิชา
แผนบริหารการสอนประจำวิชาแผนบริหารการสอนประจำวิชา
แผนบริหารการสอนประจำวิชา
 
แผนการเรียนรู้เกษตร4
แผนการเรียนรู้เกษตร4แผนการเรียนรู้เกษตร4
แผนการเรียนรู้เกษตร4
 
155344bayer329
155344bayer329155344bayer329
155344bayer329
 
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทกเภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
 

Mehr von Pa'rig Prig

ปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมินปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมินPa'rig Prig
 
ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์Pa'rig Prig
 
อากาศภาค
อากาศภาคอากาศภาค
อากาศภาคPa'rig Prig
 
ธรณีภาค
ธรณีภาคธรณีภาค
ธรณีภาคPa'rig Prig
 
ชีวภาค
ชีวภาคชีวภาค
ชีวภาคPa'rig Prig
 
โลกและจักรวาล
โลกและจักรวาลโลกและจักรวาล
โลกและจักรวาลPa'rig Prig
 
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิตบทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิตPa'rig Prig
 
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพบทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพPa'rig Prig
 

Mehr von Pa'rig Prig (20)

4
44
4
 
3
33
3
 
2
22
2
 
1
11
1
 
Eport2
Eport2Eport2
Eport2
 
5
55
5
 
4
44
4
 
3
33
3
 
2
22
2
 
1
11
1
 
2
22
2
 
1
11
1
 
ปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมินปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมิน
 
ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์
 
อากาศภาค
อากาศภาคอากาศภาค
อากาศภาค
 
ธรณีภาค
ธรณีภาคธรณีภาค
ธรณีภาค
 
ชีวภาค
ชีวภาคชีวภาค
ชีวภาค
 
โลกและจักรวาล
โลกและจักรวาลโลกและจักรวาล
โลกและจักรวาล
 
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิตบทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
 
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพบทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
 

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา

  • 1. แผนบริหารการสอนบทที่ 1 หัวข้อเนื้อหาประจาบท 1. ความหมาย และแหล่งที่มาของยา 2. รูปแบบยาเตรียม 3. วิธีการบริหารยา 4. การเรียกชื่อยา และคาสั่งการใช้ยา 5. การแบ่งกลุ่มยา และบัญชียาหลักแห่งชาติ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาจบบทที่ 1 แล้ว นักศึกษาควรมีความสามารถดังต่อไปนี้ 1. อธิบายความหมายของยา และบอกแหล่งที่มาของยาได้ 2. จาแนกลักษณะที่สาคัญของรูปแบบยาเตรียมชนิดต่าง ๆ ได้ 3. อธิบายวิธีการบริหารยา และประโยชน์ของการบริหารยาแบบต่าง ๆ ได้ 4. เปรียบเทียบความแตกต่างของการเรียกชื่อยาได้ 5. อ่านคาสั่งการใช้ยาได้ 6. เปรียบเทียบความแตกต่างของยาประเภทต่าง ๆ ได้ 7. บอกความสาคัญของบัญชียาหลักได้ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบทที่ 1 ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ 1. บรรยายตามเนื้อหา โดยใช้โปรแกรมการนาเสนอ (power point) ประกอบคาอธิบาย 2. แสดงตัวอย่างยา และให้นักศึกษาอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับการเรียกชื่อยา รูปแบบยา เตรียม วิธีการใช้ยา และประเภทของยา 3. แบ่งกลุ่มนักศึกษาให้ค้นคว้าเกี่ยวกับการจัดแบ่งกลุ่มยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ และให้ นักศึกษาอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 4. ร่วมกันสรุปประเด็นสาคัญของการเรียน 5. มอบหมายงานให้นักศึกษานายาที่เคยใช้ มาศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ตามใบงาน ได้แก่ ชื่อยา รูปแบบยาเตรียม วิธีการบริหารยา และประเภทของยา
  • 2. 4 สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา เภสัชวิทยาเบื้องต้น บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา 2. โปรแกรมนาเสนอ เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา 3. ตัวอย่างยาที่มีรูปแบบยาเป็นของแข็ง ของเหลว และกึ่งของแข็ง 4. ตัวอย่างยาที่มีวิธีการบริหารยาโดยผ่านทางเดินอาหาร และไม่ผ่านทางเดินอาหาร 5. ฉลากยาที่ระบุชื่อยาและประเภทของยาแบบต่าง ๆ 6. บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556 วิธีวัดผลและการประเมินผล 1. สังเกตพฤติกรรมผู้เรียน 1.1 พฤติกรรมความตรงต่อเวลาในการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 1.2 พฤติกรรมการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนในระหว่างเรียน 1.3 พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมกลุ่ม 2. ประเมินผลงานที่มอบหมาย 2.1 ใบงาน 2.2 ผลงานกลุ่ม
  • 3. 5 บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา ปัจจุบันการรักษาอาการเจ็บป่วยมีหลายวิธี เช่น การใช้ยา การผ่าตัด การฉายรังสี การปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น การรักษาด้วยยาจัดเป็นวิธีที่มีทั้งประโยชน์และโทษ โดยที่ประโยชน์ของยา เกิดจากฤทธิ์หรือสรรพคุณยาที่ทาให้หายจากอาการเจ็บป่วย ส่วนโทษของยาเกิดจากผลข้างเคียงที่ เกิดขึ้น ซึ่งแม้แต่ในยาที่มีความปลอดภัยสูงก็อาจพบผลข้างเคียงจากยาได้ ยาเปรียบเสมือนสิ่งแปลก ปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นจึงต้องมี ความระมัดระวัง และมีวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดผลดีในการรักษาและมีความปลอดภัยจาก การใช้ยา ความหมาย และแหล่งที่มาของยา การจะใช้ยาได้อย่างถูกต้องมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการ เช่น ปัจจัยด้านผู้สั่งใช้ยา ปัจจัยด้านผู้ป่วย หรือปัจจัยด้านตัวยา เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวยาเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับยา ยาจัดเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างจากสารเคมี อื่นโดยพิจารณาจากความหมาย และแหล่งที่มาดังต่อไปนี้ 1. ความหมายของยา ความหมายของคาว่ายา (Drugs) ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 หมายความว่า (1) วัตถุที่รับรองไว้ในตารายาที่รัฐมนตรีประกาศ (2) วัตถุที่มุ่งหมายสาหรับใช้ในการวินิจฉัย บาบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์ (3) วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสาเร็จรูป หรือ (4) วัตถุที่มุ่งหมายสาหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการกระทาหน้าที่ ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ วัตถุตาม (1) (2) หรือ (4) ไม่ได้หมายความรวมถึง วัตถุที่มุ่งหมายสาหรับใช้ในการเกษตร หรือการอุตสาหกรรมตามที่รัฐมนตรีประกาศ วัตถุที่มุ่งหมายสาหรับใช้เป็นอาหารของมนุษย์ เครื่อง กีฬา เครื่องมือ เครื่องใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ เครื่องสาอาง หรือเครื่องมือและส่วนประกอบของ เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะหรือวิชาชีพเวชกรรม และวัตถุที่มุ่งหมายสาหรับใช้ในห้อง
  • 4. 6 วิทยาศาสตร์สาหรับการวิจัย การวิเคราะห์ หรือชันสูตรโรคซึ่งมิได้กระทาโดยตรงต่อร่างกายของ มนุษย์ (สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2553 : 1-2) จันทนี อิทธิพานิชพงศ์ ให้ความหมายของยาไว้ว่า สารหรือสารเคมีที่ทาให้เกิดการเปลี่ยน แปลงทางชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตและสารนั้นไม่ใช่อาหาร แต่นามาใช้ในการป้องกันหรือบาบัดโรคต่าง ๆ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์. 2555 : 1) ประภาวดี พัวไพโรจน์ ให้ความหมายของยาไว้ว่า สารที่รับรองไว้ในเภสัชตารับ เพื่อใช้ใน การวิเคราะห์ บาบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์ ทาให้เกิดผล แก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทาหน้าที่ของมนุษย์หรือสัตว์ (วีรพล คู่คงวิริยพันธุ์, บุญเกิด คงยิ่ง ยศ และลัดดาวรรณ เส็งกันไพร, บรรณาธิการ. 2555 : 1-1) กรรณิการ์ สงรักษา ให้ความหมายของยาไว้ว่า สารที่มีผลต่อสุขภาพหรือร่างกายของ สิ่งมีชีวิต สามารถใช้ในการวิเคราะห์โรค บรรเทาอาการเจ็บปวด และรักษาโรคในคนและสัตว์ได้ (พยงค์ เทพอักษร, บรรณาธิการ. 2554 : 3) สุธี เวคะวากยานนท์ ให้ความหมายของยาไว้ว่า วัตถุที่ถูกปรุงแต่งขึ้นเพื่อความมุ่งหมาย 6 ประการ คือ บาบัดโรค รักษาโรค บรรเทาอาการ ป้องกันโรค วินิจฉัยโรค และเสริมสร้างสุขภาพ (สุธี เวคะวากยานนท์. 2554 : 2) Bertram G Katzung ให้ความหมายของยาไว้ว่า สารใด ๆ ที่ชักนาให้เกิดการเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงหน้าที่ทางชีววิทยาผ่านปฏิกิริยาเคมี (Katzung, Masters and Trevor. 2012 : 3) จากความหมายดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ยา หมายถึง สารที่มีผลทาให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการทางานของร่างกาย ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการวินิจฉัย การป้องกันโรค การบาบัดรักษา หรือบรรเทาอาการได้ 2. แหล่งที่มาของยา แหล่งที่มาของยาที่ใช้เป็นยาแผนปัจจุบันได้มาจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่ม ใหญ่ 2 กลุ่ม ดังนี้ 2.1 ยาที่ได้มาจากธรรมชาติ (Natural sources) ยากลุ่มนี้อาจได้มาจากแร่ธาตุ สัตว์ หรือพืช เช่น Oral rehydration salt ที่ผลิตจากเกลือแร่ชนิดต่าง ๆ Morphine ที่สกัดได้มาจากฝิ่น Heparin ที่สกัดได้มาจากปอดหรือเยื่อบุลาไส้วัว น้ามันตับปลาที่สกัดได้มาจากตับปลา Penicillin ที่ สกัดได้มาจากเชื้อรา เป็นต้น 2.2 ยาที่ได้มาจากการสังเคราะห์ทางเคมี (Synthetic substances) การสังเคราะห์ทาง เคมีเป็นแหล่งที่มาของยาส่วนใหญ่ที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเป็นการสังเคราะห์เลียนแบบสารบริสุทธิ์ที่ได้
  • 5. 7 จากธรรมชาติ เพื่อให้สามารถผลิตได้ในปริมาณมากลดต้นทุนการผลิต หรืออาจเกิดจากการค้นพบ ฤทธิ์ของยาใหม่และนามาใช้ประโยชน์ในการรักษา 2.2.1 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุล เช่น Sulfonamide, Sulfonylurea 2.2.2 การเลียนแบบสูตรโครงสร้างฮอร์โมน และสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น Insulin, Steroid 2.2.3 ยาตัวใหม่จากสารเคมีที่ได้จากสมุนไพร เช่น Gingo biloba นามาใช้รักษาโรค สมองเสื่อม (Alzheimer’s disease) 2.2.4 ศึกษาฤทธิ์ของยาที่มีอยู่เพื่อหาข้อบ่งใช้ในการรักษาใหม่ เช่น การรักษาโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยใช้ยากลุ่มปิดกั้นตัวรับชนิดเบต้า (β-receptor blocker) รูปแบบยาเตรียม รูปแบบยาเตรียม (Dosage forms) คือลักษณะของยาที่ผลิตขึ้นมาให้มีรูปแบบเหมาะสมกับ การใช้งาน ผลิตได้ง่ายหรือมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ตารับยาโดยทั่วไปประกอบด้วยตัวยา และสารปรุงแต่ง ยา โดยที่ตัวยาอาจเป็นสารออกฤทธิ์เพียงตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ ทั้งนี้รูปแบบของยาที่ดีควรมีความ บริสุทธิ์ถูกต้องตามมาตรฐานที่กาหนด มีความสม่าเสมอของของขนาดยา มีประสิทธิภาพดีในการ รักษาโรค มีความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และไม่เกิดพิษ มีความคงตัวดีและมีลักษณะชวนให้อยากใช้ยา (รวีวรรณ ช่วยบารุง และคณะ. 2557 : 4) ทั้งนี้สามารถแบ่งรูปแบบยาเตรียมได้เป็น 3 ชนิดตาม ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของแข็ง ของเหลว และกึ่งของแข็ง 1. รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของแข็ง (Solid dosage form) รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของแข็ง ยาอาจเป็นชนิดเม็ดหรือผงบรรจุซอง มักประกอบด้วยตัว ยาสาคัญและส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยให้ยามีลักษณะและคุณสมบัติที่ดีตามต้องการ ได้แก่ สารเพิ่ม ปริมาณ สารยึดเกาะ สารหล่อลื่น และสารแต่งกลิ่นหรือสีของยา ยาเตรียมรูปแบบของแข็งนิยมใช้ มากที่สุด เนื่องจากสามารถบริหารยาสะดวก ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับยาในขนาดที่แน่นอนมากกว่า รูปแบบของเหลว สามารถกลบกลิ่นและรสของยาได้ง่าย พกพาสะดวก ยาเตรียมรูปแบบของแข็งที่ นิยมใช้ มีดังนี้ 1.1 ยาเม็ด (Tablet) ยาเม็ดเป็นรูปแบบยาเตรียมที่ได้จากการผสมตัวยาออกฤทธิ์และ ส่วนประกอบอื่นที่จาเป็น แล้วตอกอัดออกมาเป็นเม็ด มีทั้งแบบตอกเพียงครั้งเดียวและตอกหลายครั้ง ซึ่งการตอกยาหลายครั้งจะทาให้ยามีหลายชั้นต่อกัน สาหรับยาเม็ดนี้จะพบว่ามีหลายแบบเพื่อให้ได้ยา ที่น่าใช้และเกิดประโยชน์ตามที่ต้องการ
  • 6. 8 ตารางที่ 1.1 ลักษณะของยาเม็ดในรูปแบบต่าง ๆ รูปแบบของยา คุณลักษณะ Chewable tablet ยาเม็ดสาหรับเคี้ยว เป็นยาเม็ดที่ต้องมีการเคี้ยวก่อนและมีการดูดซึมของ ตัวยาในช่องปาก Effervescent tablet ยาเม็ดฟู่ เป็นยาที่ต้องนามาละลายน้าก่อนใช้ โดยเมื่อละลายน้าจะเกิด ฟองฟู่จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น รูปแบบยานี้จะทาให้ตัวยาถูกปลด ปล่อยอย่างรวดเร็ว เพื่อกลบรสที่ไม่ดีของตัวยา Enteric coated tablet ยาเม็ดชนิดเคลือบเพื่อให้ยาไปละลายในลาไส้ ใช้เคลือบยาที่ถูกทาลาย โดยกรดในกระเพาะอาหาร หรือตัวยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก Prolong-action tablet ยาเม็ดชนิดออกฤทธิ์เนิ่น เป็นชนิดที่ตัวยาสามารถออกฤทธิ์ในการรักษา ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ทาให้ลดความถี่ในการใช้ยาได้ Sublingual tablet ยาเม็ดอมใต้ลิ้น เป็นยาเม็ดที่มีลักษณะบาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ยา ละลาย ดูดซึมและออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว Sugar coated tablet ยาเม็ดชนิดเคลือบด้วยน้าตาล ใช้เคลือบเพื่อให้มีลักษณะสวยงาม กลบกลิ่นหรือรสที่ไม่ดี Troches ยาอม ใช้อมเพื่อให้ยาละลายช้าๆ ในปาก ออกฤทธิ์เฉพาะที่ภายในช่อง ปากและลาคอ 1.2 ยาแคปซูล (Capsule) เป็นตัวยาที่บรรจุอยู่ในเปลือกแคปซูล ซึ่งเตรียมจากเจลาติน และละลายได้ที่อุณหภูมิของร่างกาย ยาแคปซูลสามารถรับประทานได้ง่าย กลบกลิ่นและรสขมของยา ได้ดี เช่น แคปซูลชนิดแข็ง ซึ่งบรรจุยาที่อาจเป็นผงหรือแกรนูลบรรจุในแคปซูล และแคปซูลชนิดอ่อน ซึ่งบรรจุยาที่มีลักษณะเป็นของเหลวไว้ภายใน เช่น วิตามิน หรือแคปซูลชนิดแข็ง ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนสวมเข้าหากันหลังจากบรรจุผงยา เช่น ยาฆ่าเชื้อบางชนิด 1.3 ยาผง (Powders) เป็นยาที่มีส่วนผสมเป็นผงละเอียด อาจใช้เป็นยาภายในหรือ ภายนอก เช่น ยาผงสาหรับรับประทาน ยาผงใช้สูดดมหรือเป็นยาพ่น ยาผงสาหรับฉีดปราศจากเชื้อ ยาผงฟู่ เป็นต้น 2. รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของเหลว (Liqiud dosage form) รูปแบบยาเตรียมที่เป็นของเหลว ยาจะมีลักษณะเป็นของเหลวหรือน้า จึงจาเป็นต้องมี ภาชนะบรรจุที่เหมาะสม การใช้ยาต้องมีเครื่องตวงที่บอกปริมาตร เช่น ช้อนตวง แก้วตวง รูปแบบยา
  • 7. 9 เตรียมที่เป็นของเหลวสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภท ดังนี้ 2.1 ยาน้าสารละลาย เป็นยาน้าใสไม่มีตะกอนที่เตรียมได้จากตัวถูกละลายอาจเป็น ของแข็ง ของเหลวหรือแก๊สละลายอยู่ในตัวทาละลาย โดยของผสมนี้จะละลายเป็นเนื้อเดียวกันอย่าง สม่าเสมอ ตารางที่ 1.2 ลักษณะของยาน้าสารละลายในรูปแบบต่าง ๆ รูปแบบของยา คุณลักษณะ Elixir ยาอิลิกเซอร์ มีตัวยาละลายอยู่ในน้าที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ร้อยละ 4-40 มีรสหวานและกลิ่นหอม ใช้เป็นยารับประทาน Solution ยาน้าใส มีตัวยาที่ละลายในตัวทาละลายผสมเป็นเนื้อเดียวกัน Spirit ยาสปิริต เป็นยาเตรียมชนิดน้าที่ตัวยาเป็นสารหอมระเหยอยู่ในแอลกอฮอล์หรือน้า ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ โดยปริมาณแอลกอฮอล์สูงถึงร้อยละ 60-90 เพื่อไม่ให้ สารหอมระเหยนั้นแยกตัวออกมา ไม่มีรสหวาน Syrup ยาน้าเชื่อม มีตัวยาละลายอยู่ในสารละลายที่มีรสหวาน ทาให้กลบรสขมของยา มักมีสารแต่งกลิ่นและสีจึงรับประทานยาได้ง่ายขึ้น เหมาะสาหรับเด็กหรือผู้ที่ รับประทานยายาก Tincture ยาทิงเจอร์ มีตัวยาละลายอยู่ในตัวทาละลายที่มีน้าผสมแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง เป็นยาที่ประกอบด้วยสารสกัดจากพืชหรือสารเคมีในแอลกอฮอล์ ใช้เป็นได้ทั้งยา ภายในและยาภายนอกร่างกาย 2.2 ยาน้ากระจายตัว เป็นรูปแบบของยาที่ประกอบด้วยอนุภาคของตัวยา กระจายอยู่ใน ตัวกลางช่วยกระจาย 2.2.1 ยาน้ากระจายตัวชนิดคอลลอยด์ เป็นยาน้าที่มีอนุภาคตัวยากระจายอยู่ขนาด เล็กกว่า 0.5 ไมโครเมตร ยาน้ากระจายตัวชนิดนี้จะมีลักษณะขุ่น ตารางที่ 1.3 ลักษณะของยาน้ากระจายตัวชนิดคอลลอยด์ในรูปแบบต่าง ๆ รูปแบบของยา คุณลักษณะ Magma ยาแมกมา เป็นยาน้าที่มีลักษณะข้นเหนียว มีตัวยาอนุภาคตัวยาขนาดใหญ่พองตัว และกระจายตัวได้ดี เมื่อตั้งยาทิ้งไว้จะพบยาตกตะกอนแยกเป็น 2 ชั้น และเมื่อ เขย่าจะกระจายตัวอย่างสม่าเสมอได้
  • 8. 10 รูปแบบของยา คุณลักษณะ Mixture ยาน้าผสม มีตัวยาละลายหรือกระจายตัวอยู่ในน้ากระสายยา มีลักษณะไม่ข้นหนืด ใช้สาหรับรับประทานเท่านั้น 2.2.2 ยาน้ากระจายตัวชนิดหยาบ เป็นยาน้าที่มีอนุภาคตัวยากระจายอยู่ขนาดใหญ่ กว่า 0.5 ไมโครเมตร ยาน้ากระจายตัวชนิดนี้มีลักษณะขุ่นและเกิดการแยกชั้นได้เช่นเดียวกับชนิด คอลลอยด์ ตารางที่ 1.4 ลักษณะของยาน้ากระจายตัวชนิดหยาบในรูปแบบต่าง ๆ รูปแบบของยา คุณลักษณะ Emulsion ยาน้าแขวนละออง มีตัวยาสาคัญเป็นของเหลว 2 ชนิดที่ไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน มักจะเป็นน้ากับน้ามัน แต่สามารถผสมกันอยู่ในรูปแขวนละออง โดยมีสารแขวน ละอองเป็นตัวช่วย Suspension ยาน้าแขวนตะกอน เป็นรูปแบบที่มีตัวยาเป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว โดยมีสารช่วยในการแขวนตะกอน ดังนั้นจึงต้องเขย่าให้ยาเข้ากันก่อนใช้ 3. รูปแบบยาเตรียมที่เป็นกึ่งของแข็ง (Semisolid dosage form) รูปแบบยาเตรียมที่เป็นกึ่งของแข็ง เป็นรูปแบบของยาที่ในภาวะปกติจะสามารถคงตัว ตามภาชนะบรรจุ แต่เมื่อใช้กับร่างกายยาจะหลอมตัวเป็นของเหลว ซึ่งมักใช้เป็นยาภายนอก 3.1 ครีม (Cream) เป็นอีมัลชันที่มีความข้นมากหรืออีมัลชันชนิดกึ่งแข็ง มีตัวยาละลาย อยู่ในน้าหรือน้ามัน ครีมมีลักษณะขาวขุ่น ใช้สาหรับทาภายนอกเท่านั้น เช่น ครีมแก้ปวดบวมหรือลด การอักเสบ 3.2 ยาขี้ผึ้ง (Ointment) เป็นยาเตรียมสาหรับใช้ทาผิวหนัง ตัวยาจะละลายอยู่ในยาพื้น ขี้ผึ้ง ซึ่งมีลักษณะเป็นมัน เช่น ขี้ผึ้งทาแผล 3.3 เพสท์ (Paste) เป็นยาขี้ผึ้งซึ่งมีผงยาที่ไมละลายผสมอยู่ด้วยเป็นจานวนมาก ทาให้ยา มีลักษณะเป็นเนื้อหยาบกว่า 3.4 ยาเหน็บ (Suppositories) เป็นยาเตรียมที่ใช้โดยการเหน็บทวารหนักหรือช่องคลอด เพื่อให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ ยาเหน็บประกอบด้วยตัวยาละลายอยู่ในยาพื้น โดยยาพื้นจะเป็นของแข็งที่ อุณหภูมิห้อง เมื่ออยู่ในอุณหภูมิร่างกายสามารถละลายและปลดปล่อยตัวยาออกมา เช่น ยาระบายกลี เซอรอล (Glycerol)
  • 9. 11 วิธีการบริหารยา การใช้ยาทุกครั้งจาเป็นต้องยึดหลักการใช้ยาที่ถูกต้อง 5 ประการ (5 Rights) ได้แก่ ใช้ยาถูก คน (Right patient) ใช้ยาถูกชนิด (Right drug) ใช้ยาถูกขนาด (Right dose) ใช้ยาถูกเวลา (Right time) และใช้ยาถูกวิธี (Right route) เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย สาหรับวิธีการบริหารยา (Route of drug administration) ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายวิธี เพื่อให้ตัวยา สาคัญไปยังบริเวณที่ออกฤทธิ์ในขนาดที่ต้องการและเห็นผลในการรักษา โดยก่อให้เกิดอันตรายต่อ ผู้ป่วยน้อยที่สุด ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารยา เช่น คุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีของยา ตาแหน่งของ ยาที่จะออกฤทธิ์ วัตถุประสงค์ในการรักษา และสภาวะของผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งการบริหารยาสามารถ แบ่งออกเป็นวิธีต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. การให้ยาโดยผ่านทางเดินอาหาร การให้ยาโดยผ่านทางเดินอาหาร เป็นวิธีการบริหารที่ยาจะถูกดูดซึมที่บริเวณทางเดิน อาหาร หลังจากยาเข้าสู่หลอดเลือดจึงจะไปยังตาแหน่งออกฤทธิ์ต่อไป แต่สาหรับยาที่ไม่ถูกดูดซึมยา จะออกฤทธิ์เฉพาะที่บริเวณทางเดินอาหารเท่านั้น การบริหารยาแบบนี้ ได้แก่ 1.1 การรับประทาน (Oral ingestion) เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากใช้ง่าย สะดวก และมีความปลอดภัย แต่การดูดซึมยาขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเป็นกรดในกระเพาะ อาหาร การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลาไส้ คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของยา ความ ทนทานของยาต่อสภาวะภายในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรค 1.2 การอมใต้ลิ้น (Sublingual administration) ตัวยาจะถูกดูดซึมผ่านหลอดเลือดฝอย ในช่องปาก และเข้าสู่หัวใจโดยไม่ผ่านกระเพาะอาหารและลาไส้ ใช้ในกรณีที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ เร็ว มักใช้กับยาที่ถูกทาลายอย่างรวดเร็วเมื่อผ่านตับครั้งแรกก่อนไปยังตาแหน่งออกฤทธิ์ หรือยาที่ถูก ทาลายได้โดยความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ทาให้ไม่สามารถให้โดยการรับประทาน เพื่อให้ได้ผลดี ผู้ที่ใช้ยาด้วยวิธีนี้ที่ไม่ควรบ้วนน้าลาย และกลืนน้าลายให้น้อยที่สุด 1.3 การให้ยาทางทวารหนัก (Rectal administration) วิธีนี้รูปแบบของยาอาจอยู่ในรูป ของยาเหน็บหรือยาสวนทวาร ยาจะถูกดูดซึมที่บริเวณลาไส้ส่วนปลาย และมีการดูดซึมยาที่ไม่แน่นอน ใช้ในกรณีที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ในเด็กเล็ก และผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนรุนแรง 2. การให้ยาโดยไม่ผ่านทางเดินอาหาร การให้ยาโดยไม่ผ่านทางเดินอาหาร เป็นการให้ยาโดยการฉีดไปยังตาแหน่งต่าง ๆ ของ ร่างกาย หรือการให้ยาเฉพาะที่ ซึ่งวิธีการบริหารยาแบบนี้ยาจะถูกดูดซึมบริเวณที่ให้ยาโดยไม่ผ่านการ
  • 10. 12 ดูดซึมที่ผนังทางเดินอาหาร การบริหารยาแบบนี้ ได้แก่ 2.1 การให้ยาฉีด (Injection) วิธีนี้สามารถควบคุมอัตราเร็วของการดูดซึมยาได้ วิธีการให้ ยาโดยการฉีดที่ใช้บ่อย มีดังนี้ 2.1.1 การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous administration) ใช้ได้กับยาที่ ไม่ระคายเคือง และมีปริมาณที่ต้องการฉีดไม่มาก หลังจากฉีดจะปล่อยตัวยาออกมาช้า ๆ และยาถูก ดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดอย่างสม่าเสมอ สาหรับการประคบด้วยความร้อน การนวด หรือการ ออกกาลัง จะทาให้เกิดการดูดซึมยาเพิ่มมากขึ้น ข้อเสียของวิธีนี้คือ ยาบางชนิดอาจทาให้เกิดอาการ ปวด ระคายเคืองเนื้อเยื่อ เป็นแผลหรือฝีได้ 2.1.2 การฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ (Intramuscular injection) วิธีนี้จะให้ขนาดยาที่ แน่นอน และมีอัตราการดูดซึมยาสูง ออกฤทธิ์เร็วกว่าการรับประทานยา โดยที่การดูดซึมของยาจะ ขึ้นกับปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณที่ฉีด ข้อเสียของวิธีนี้คือ อาจทาให้ปวดมาก อาจ เกิดฝี หรือเส้นประสาทบริเวณที่ฉีดถูกทาลาย มักใช้สาหรับยาที่ถูกทาลายในระบบทางเดินอาหาร หรือถูกดูดซึมได้ไม่ดีในระบบทางเดินอาหาร 2.1.3 การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดา (Intravenous administration) วิธีนี้ตัวยา ทั้งหมดเข้าสู่หลอดเลือดดาโดยไม่ผ่านกระบวนการดูดซึม ยาเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง ส่งผลให้ระดับยา ในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว ใช้ได้ในกรณีที่ยาระคายเคืองมาก และไม่ถูกดูดซึมโดยการรับประทาน หรือ ต้องการควบคุมปริมาณยาที่ให้ และเมื่อต้องการให้ในขนาดที่สูงหรือต้องการให้ยาออกฤทธิ์ต่อเนื่อง สม่าเสมอ สามารถให้โดยการฉีดช้า ๆ (IV push) หรือหยดเข้าหลอดเลือดดาได้ (IV infusion) การให้ ยาวิธีนี้อาจเกิดการระคายเคืองต่อหลอดเลือดและเนื้อเยื่อบริเวณที่ให้ยา ข้อเสียของวิธีนี้คือ อาจเกิด การอักเสบของหลอดเลือดดา และเกิดการติดเชื้อได้ 2.2 การให้ยาเฉพาะที่ (Topical application) รูปแบบของยาที่นิยมใช้เป็นยาเฉพาะที่ เช่น ขี้ผึ้ง ครีม โลชัน ยาผง เป็นต้น และมักเป็นยาที่ใช้ภายนอกร่างกาย วิธีการให้ยาเฉพาะที่ มีดังนี้ 2.2.1 การให้ยาผ่านผิวหนัง ได้แก่ ยาผงโรยผิวหนัง หรือพลาสเตอร์ เพื่อให้ตัวยา รักษาอาการเฉพาะที่บริเวณผิว ใต้ผิวหนัง หรือบริเวณอื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของยาที่ใช้ ถ้าเป็น ยาทามักรักษาอาการเฉพาะที่ ส่วนการให้โดยพลาสเตอร์บรรจุยาสามารถใช้รักษาอาการของระบบ ต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ 2.2.2 ยาหยอด ได้แก่ ยาหยอดตา และยาหยอดหู เป็นวิธีการให้ยาเพื่อหวังผล เฉพาะที่และมีผลข้างเคียงต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายค่อนข้างต่า เนื่องจากยาถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบ ไหลเวียนเลือดในปริมาณน้อย 2.2.3 ยาเหน็บช่องคลอด เป็นวิธีการให้ยาเพื่อให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ในบริเวณระบบ สืบพันธุ์เพศหญิง เช่น การให้ยาฆ่าเชื้อในช่องคลอด การให้ยาเร่งคลอด
  • 11. 13 2.3 การให้ยาชนิดสูดดม (Inhalation) วิธีนี้ใช้สาหรับยาที่อยู่ในรูปแบบก๊าซ ของเหลวที่ ระเหยได้ในอุณหภูมิธรรมดา ของเหลวที่จ่ายในรูปหยดเล็ก (Aerosol) และยาผงละเอียดสาหรับสูด ดม โดยที่ตัวยาผ่านทางลมหายใจเข้าสู่ปอด และถูกดูดซึมผ่านถุงลมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดได้อย่าง รวดเร็ว เนื่องจากบริเวณถุงลมมีพื้นที่ในการดูดซึมสูง จึงเหมาะสาหรับยาสลบและยาออกฤทธิ์ที่ระบบ ทางเดินหายใจ เช่น ยาขยายหลอดลมสาหรับผู้ป่วยหอบหืด ข้อเสียของวิธีนี้คือ ไม่สามารถควบคุม ปริมาณยาที่แน่นอนในผู้ป่วยได้ การเรียกชื่อยา และคาสั่งการใช้ยา การใช้ยาอย่างปลอดภัย ส่วนหนึ่งต้องไม่เกิดความคลาดเคลื่อนจากคาสั่งการใช้ยา ผู้สั่งยา จะต้องเขียนคาสั่งใช้ยาอย่างครบถ้วน และชัดเจน หลีกเลี่ยงการใช้คาย่อที่ไม่เป็นสากลหรือการสั่งยา โดยวาจาหรือทางโทรศัพท์ สาหรับผู้ใช้ยาก็ควรใช้ให้ถูกต้องตามหลักการใช้ยา ยาแต่ละชนิดมีหลาย ชื่อ จึงอาจทาให้เกิดความสับสนในการสื่อสาร หรืออาจก่อปัญหาการสั่งใช้ยาไม่เหมาะสมได้ การใช้ชื่อ สามัญจึงมีข้อดีในการช่วยให้ทราบว่าเป็นยาประเภทใด ช่วยในการจาคุณสมบัติการออกฤทธิ์ของยา ตลอดจนผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ 1. การเรียกชื่อยา การเรียกชื่อยาสาหรับบุคคลโดยทั่วไป มักคุ้นเคยกับการเรียกชื่อตามสรรพคุณของยาที่ ใช้รักษาอาการเจ็บป่วย เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาแก้แพ้ เป็นต้น หรืออาจเรียกชื่อทางการค้า หรือยี่ห้อของยานั้นโดยรับรู้จากการประชาสัมพันธ์ของบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้การเรียกชื่อยาสามารถแบ่ง ออกเป็น 3 วิธีดังนี้ 1.1 ชื่อสามัญ (Generic name) เป็นการเรียกชื่อยาที่สาคัญทางการแพทย์และ สาธารณสุข เนื่องจากถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นชื่อมาตรฐานในการสื่อสารกัน แทนการใช้ชื่อทางเคมีซึ่งมีจดจา ได้ยาก เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นชื่อสามัญของยา ที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวด และลดไข้ 1.2 ชื่อทางเคมี (Chemical name) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามระบบการอ่านชื่อทาง วิทยาศาสตร์ โดยสามารถแสดงให้เห็นถึงโครง สร้างของยา แต่เป็นชื่อที่มีความยาวและซับซ้อน จึงมัก ใช้เป็นชื่ออ้างอิงทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น เช่น พาราเซตามอล มีชื่อทางเคมีคือ 4’- Hydroxyacetanilide 1.3 ชื่อทางการค้า (Trade name) เป็นชื่อที่บริษัทผู้ขายตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการ
  • 12. 14 ประชาสัมพันธ์ยา โดยมักเป็นชื่อที่จดจาได้ง่าย และมีความน่าสนใจ ทั้งนี้จะมีสัญลักษณ์เครื่องหมาย การค้าที่จดทะเบียนแล้ว () กากับที่ชื่อยาด้วย เช่น พาราเซตามอล มีชื่อทางการค้าหลายชื่อคือ Calpol® Paracap® Sara® Tylenol® เป็นต้น 2. คาสั่งการใช้ยา คาสั่งการใช้ยาที่ปรากฏอยู่ในใบสั่งยาจะต้องมีรายละเอียดที่จาเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถ นายาไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้องค์ประกอบในใบสั่งยาจะปรากฏรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ วันที่ ชื่อ และที่อยู่ของผู้ป่วย มีส่วนเริ่มต้นของการสั่งยา โดยทั่วไปจะใช้สัญลักษณ์ Rx มีส่วนของใบสั่งยาที่บอก ชื่อยา รูปแบบของยา และปริมาณตัวยาที่มีอยู่ในยาเตรียม 1 หน่วย บอกจานวนยาทั้งหมดที่ผู้ป่วยจะ ได้รับ บอกวิธีการใช้ยา และลงชื่อผู้สั่งใช้ยาผู้จัดยาหรือจ่ายยาให้กับผู้ป่วย ทั้งนี้การเขียนใบสั่งยาจะใช้ อักษรย่อภาษาละตินหรืออักษรย่อภาษาอังกฤษ โดยมีรายละเอียดที่ควรทราบดังแสดงในตารางที่ 1.5 ตารางที่ 1.5 อักษรย่อที่ใช้ในคาสั่งการใช้ยา จุดมุ่งหมาย อักษรย่อที่ใช้ ความหมาย เพื่อบอกเวลาในการใช้ยา ac ก่อนอาหาร pc หลังอาหาร hs ก่อนนอน stat ใช้ทันทีที่ได้รับยา เพื่อบอกความถี่ในการใช้ยา od วันละ 1 ครั้ง bid วันละ 2 ครั้ง tid วันละ 3 ครั้ง qid วันละ 4 ครั้ง q … hr ใช้ทุก … ชั่วโมง prn เมื่อจาเป็นหรือเมื่อมีอาการ เพื่อบอกวิธีการบริหารยา po / oral / ให้รับประทานยา sc / ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง im / ฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ iv / vein / ฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดา ให้อมใต้ลิ้น  v m sc SL
  • 13. 15 ตัวอย่างคาสั่งการใช้ยา เช่น Enalapril (5 mg) 1 tab bid pc หมายความว่า ให้รับประทานยาอีนาลาพริลขนาด 5 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร Paracetamol (500 mg) 2 tabs oral prn for pain q 4-6 hr หมายความว่า ให้ รับประทานยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 เม็ด เมื่อมีอาการปวด ทุก 4- 6 ชั่วโมง การแบ่งกลุ่มยา และบัญชียาหลักแห่งชาติ กฎหมายได้กาหนดมาตรการต่าง ๆ และจัดแบ่งกลุ่มยาตามการควบคุมกากับ เพื่อคุ้มครอง ผู้ใช้ยาให้ได้รับความปลอดภัย ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ได้จาแนกประเภทของยาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และเป็นการกาหนด บทบาทผู้รับผิดชอบในการส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา (ทรงศักดิ์ วิมลกิตติพงศ์. ม.ป.ป. : 1) 1. การแบ่งกลุ่มยา การแบ่งกลุ่มยา เป็นการจัดหมวดหมู่ของยาซึ่งสามารถแบ่งประเภทของยาโดยอาศัย หลักการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน ในที่นี้ขอกล่าวถึงการแบ่งประเภทของยาตาม กฎหมาย โดยยาแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 ยาสามัญประจาบ้าน เป็นยาที่กฎหมายอนุญาตให้วางจาหน่ายได้ทั่วไป เนื่องจากได้ รับการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความปลอดภัย ผู้ป่วยสามารถตัดสินใจเลือกใช้ยาเพื่อรักษาอาการเจ็บ ป่วยเบื้องต้นด้วยตนเอง โดยที่ยาสามัญประจาบ้านจะต้องเป็นตารับยา สรรพคุณ ขนาด วิธีใช้ คาเตือน การเก็บรักษา ขนาดบรรจุ และการแสดงฉลากตามที่กฎหมายกาหนดเท่านั้น ตัวอย่างยาใน กลุ่มนี้ เช่น มีเบนดาโซล (Mebendazole) ใช้สาหรับถ่ายพยาธิตัวกลม 1.2 ยาอันตราย เป็นยาที่กฎหมายอนุญาตให้ขายได้เฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน เท่านั้น และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเภสัชกร เนื่องจากยาในกลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ง่าย หากใช้ไม่ถูกต้อง ยาในกลุ่มนี้ให้สังเกตตัวอักษรสีแดงที่ระบุว่า “ยาอันตราย” บริเวณภาชนะบรรจุยา ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น อะมอกซีซิลลิน (Amoxycillin) ใช้สาหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 1.3 ยาควบคุมพิเศษ เป็นยาที่ผู้ป่วยจะใช้ได้เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อน ดังนั้น หากจะซื้อยาในกลุ่มนี้จากร้านขายยาแผนปัจจุบันก็ต่อเมื่อมีใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น เนื่องจากยา กลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ง่ายจึงเป็นยาที่ถูกจากัดการใช้ ยาในกลุ่มนี้ให้สังเกตตัว 
  • 14. 16 อักษรสีแดงที่ระบุว่า “ยาควบคุมพิเศษ” บริเวณภาชนะบรรจุยา ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น เพรดนิโซ โลน (Prednisolone) ใช้สาหรับรักษาการอักเสบ นอกจากนี้ยังมียาควบคุมพิเศษบางรายการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยาสูง จึง ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ยาควบคุมพิเศษชนิดดังกล่าวจึงถูกกาจัดการใช้ให้อยู่ใน สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลเท่านั้น ห้ามจาหน่ายในร้านขายยาทุกประเภทยาในกลุ่มนี้ให้สังเกตตัว อักษรสีแดงที่ระบุว่า “ยาควบคุมพิเศษ” “ใช้เฉพาะโรงพยาบาล” หรือ “ใช้เฉพาะสถานพยาบาล” ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น ซิโดวูดีน (Zidovudine) ใช้สาหรับต้านไวรัสเอดส์ และยาควบคุมพิเศษที่ เป็นยาใหม่ จาเป็นต้องมีระบบการติดตามความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยา ซึ่งจะจากัดการใช้ เฉพาะในสถานพยาบาลหรือในโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิดเท่านั้น 2. บัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชียาหลักแห่งชาติถูกพัฒนาขึ้น เนื่องจากปัญหาที่พบว่าอัตราค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่ม สูงขึ้น จากการใช้ยาจานวนมากของหน่วยบริการสุขภาพตั้งแต่ระดับปฐมภูมิไปจนถึงระดับตติยภูมิโดย เป็นการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล ดังนั้นเพื่อให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีการ คัดเลือกยาที่มีความจาเป็นต่อสุขภาพบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งได้พัฒนามาเป็นฉบับปัจจุบัน ฉบับที่ 11 คือ บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556 โดยบัญชียาหลักแห่งชาติทุกฉบับมุ่งเน้นการคัดเลือก รายการยาที่จาเป็น และเหมาะสมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพคนไทย โดยใช้ข้อมูลและ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับวิจารณญาณของผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มีจานวนและชนิด รายการยาที่พอเพียงอย่างเหมาะสมกับระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทย และคนไทยเข้าถึงยา ที่จาเป็นต่อปัญหาสุขภาพได้อย่างเป็นธรรม (กระทรวงสาธารณสุข. สานักงานคณะกรรมการยาหาร และยา. 2556 : ค) 2.1 รายการบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ประกอบด้วย 2 บัญชียา ได้แก่ 2.1.1 บัญชียาสาหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข เป็นรายการยาแผน ปัจจุบันสาหรับใช้ในโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข ประกอบด้วยรายการยาจานวน 17 กลุ่ม จัดเป็นหมวดหมู่ตามฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพร้อมทั้งจัดกลุ่มยาตามระดับความจาเป็นในการรักษา โรค ซึ่งจัดอยู่ในบัญชีย่อย 5 บัญชี รวมถึงรายการยาเภสัชตารับโรงพยาบาล ซึ่งเป็นยาที่โรงพยาบาล ผลิตขึ้นใช้ภายในโรงพยาบาลตามเภสัชตารับด้วย 2.1.2 บัญชียาจากสมุนไพร เป็นรายการยาจากสมุนไพรซึ่งมีสูตรตารับ ข้อบ่งใช้ ขนาด วิธีใช้ ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และอาการไม่พึงประสงค์ โดยยาจากสมุนไพรตามบัญชียาหลัก แห่งชาติจะเป็นรายการยาที่ให้ใช้สาหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข รวมทั้งงาน
  • 15. 17 สาธารณสุขมูลฐาน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณจานวน 50 รายการ และยา พัฒนาจากสมุนไพรจานวน 21 รายการ 2.2. กลุ่มยาและหมวดหมู่รายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาจะถูกจัดแบ่งไว้เพื่อ ส่งเสริมให้การใช้ยาเป็นไปตามขั้นตอน เหมาะสมและคุ้มค่า โดยอาจเป็นยาที่แพทย์และผู้ประกอบ วิชาชีพด้านสุขภาพที่มีความรู้ สามารถในการเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม หรือเป็นยาที่แพทย์จะสั่งใช้ได้ เหมาะสมเมื่อได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะให้สามารถใช้ยานั้นได้อย่างถูกต้อง หรือเป็นยาที่ใช้แก้ปัญหา สุขภาพของผู้ป่วยส่วนน้อยซึ่งมีโอกาสที่แพทย์จะสั่งใช้ยาอย่างไม่คุ้มค่าหรือมีโอกาสเกิดอันตรายได้ มาก ทั้งนี้หลักการแบ่งกลุ่มยาตามลาดับก่อนหลังในการเลือกใช้ร่วมกับความรู้และความเชี่ยวชาญ ของแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่จะใช้ยาและความพร้อมของสถานพยาบาล ทั้งนี้ สามารถแบ่งเป็น 5 บัญชีย่อย ดังนี้ 2.2.1 บัญชี ก. คือรายการยามาตรฐานที่ใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่พบ บ่อย มีหลักฐานชัดเจนที่สนับสนุนการใช้ มีประสบการณ์การใช้ในประเทศไทยอย่างพอเพียง และเป็น ยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกตามข้อบ่งใช้ของยานั้น 2.2.2 บัญชี ข. คือรายการยาที่ใช้สาหรับโรคบางชนิดที่ใช้ยาในบัญชี ก. ไม่ได้หรือไม่ ได้ผล หรือใช้แทนยาในบัญชี ก. ชั่วคราวในกรณีที่จัดหายาในบัญชี ก. ไม่ได้ 2.2.3 บัญชี ค. คือรายการยาที่ใช้ในโรคเฉพาะทาง โดยผู้ชานาญหรือผู้ที่ได้รับมอบ หมายจากผู้อานวยการของสถานพยาบาลนั้นๆ และมีมาตรการกากับการใช้ โดยสถานพยาบาลที่ใช้ จะต้องมีความพร้อมในการวินิจฉัยจนถึงการติดตามผลการรักษา เนื่องจากยากลุ่มนี้อาจเกิดพิษหรือ เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยถ้าใช้ไม่ถูกต้อง หรือเป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ง่าย หรือเป็นยาที่มีแนวโน้ม การใช้ยาไม่คุ้มค่าหรือมีการนาไปใช้ในทางที่ผิด หรือมีหลักฐานสนับสนุนการใช้น้อย มีประสบการณ์ การใช้ในประเทศไทยอย่างจากัด หรือมีราคาแพงกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน 2.2.4 บัญชี ง. คือรายการยาที่มีหลายข้อบ่งใช้ แต่มีความเหมาะสมที่จะใช้เพียงบาง ข้อบ่งใช้ หรือมีแนวโน้มจะมีการสั่งใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือเป็นรายการยาที่มีราคาแพง จึงเป็นกลุ่มยาที่ ต้องมีการระบุข้อบ่งใช้และเงื่อนไขการสั่งใช้ยา ทั้งนี้ยาในบัญชี ง. จาเป็นต้องใช้สาหรับผู้ป่วยบางราย แต่อาจทาให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยหรือก่อปัญหาเชื้อดื้อยาที่ร้ายแรง การสั่งใช้ยาต้องอาศัยการตรวจ วินิจฉัยและพิจารณาโดยผู้ชานาญเฉพาะโรค และโรงพยาบาลจะต้องมีระบบการกากับประเมินและ ตรวจสอบการใช้ยา (Drug utilization evaluation) โดยต้องมีการเก็บข้อมูลการใช้ยาเหล่านั้นเพื่อ ตรวจสอบในอนาคตได้ 2.2.5 บัญชี จ. คือรายการยาสาหรับโครงการพิเศษของกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีการกาหนดวิธีการใช้และการติดตามประเมินการใช้ยาตามโครงการ โดยมี
  • 16. 18 หน่วยงานนั้นรับผิดชอบ รวมถึงรายการยาที่มีความจาเป็นเฉพาะให้เข้าถึงยาได้อย่างสมเหตุผลและ คุ้มค่า ซึ่งมีการจัดกลไกกลางเป็นพิเศษในการกากับการใช้ยาภายใต้ความรับผิดชอบร่วมกันของระบบ ประกันสุขภาพ ตารางที่ 1.6 ตัวอย่างรายการยาลดระดับน้าตาลในเลือดที่อยู่ในบัญชีย่อย บัญชียา ชื่อยา ก. Glipizide, Metformin ข. - ค. Acarbose ง. Pioglitazone, Repaglinide จ. - สรุป ยาจัดเป็นสารเคมีที่สามารถเปลี่ยนแปลงการทางานของร่างกายโดยมีทั้งประโยชน์และโทษ ยามีแหล่งที่มาจากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ทางเคมี ตัวยาแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์ได้ดีต้องอยู่ใน รูปแบบที่เหมาะสม ยาอาจอยู่ในรูปแบบของแข็ง ของเหลว หรือกึ่งของแข็ง และต้องเลือกวิธีการให้ ยาที่เหมาะสาหรับผู้ป่วยแต่ละราย การบริหารยามีทั้งวิธีที่ยาผ่านทางเดินอาหารและไม่ผ่านทางเดิน อาหาร ซึ่งวิธีที่แตกต่างกันก็จะส่งผลต่อความเร็วในการออกฤทธิ์แตกต่างกันด้วย คาสั่งการใช้ยาควร ใช้ชื่อสามัญทางยาและยาที่ใช้ต้องเป็นไปตามลาดับรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งจะทาให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยและหน่วยบริการสุขภาพ คาถามทบทวน 1. จงอธิบายหมายหมายของคาว่ายา 2. มอร์ฟีนเป็นยาระงับชนิดรุนแรงซึ่งสกัดได้มาจากผลฝิ่น แสดงว่ายาดังกล่าวมีที่มา จากแหล่งใด 3. ENO เป็นยาที่ต้องละลายน้าให้เกิดฟองฟู่ก่อนรับประทาน แสดงว่ายาดังกล่าวมีรูปแบบ ยาเตรียมชนิดใด 4. Paracetamol syrup จากรูปแบบยาเตรียมดังกล่าว แสดงว่ายานี้มีคุณสมบัติอย่างไร 5. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการบริหารยาที่ผ่านทางเดินอาหารและไม่ผ่านทางเดิน อาหาร
  • 17. 19 6. หากต้องการให้ยาถูกดูดซึมเร็ว วิธีการบริหารยาแบบใดเหมาะสมที่สุด เพราะเหตุใด 7. ชื่อสามัญและชื่อทางการค้าของยามีความแตกต่างกันอย่างไร 8. Paracetamol เป็นการเรียกชื่อยาแบบใด 9. Enalapril (5 mg) 1 tab oral bid pc จากคาสั่งดังกล่าวจะมีวิธีการใช้ยาอย่างไร 10. Amoxycillin เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่สามารถซื้อได้ในร้านขายยาที่มีเภสัชกร แสดงว่า ยาดังกล่าวจัดเป็นยาประเภทใด 11. บัญชียาหลักแห่งชาติมีความสาคัญอย่างไร เอกสารอ้างอิง กระทรวงสาธารณสุข. สานักงานคณะกรรมการยาหารและยา. (2556). บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์. (2555). เภสัชวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทรงศักดิ์ วิมลกิตติพงศ์. (ม.ป.ป.). การจัดแบ่งประเภทของยาตามกฎหมาย. สานักงานโครงการพัฒนา ร้านยา กองควบคุมยา. พยงค์ เทพอักษร, บรรณาธิการ. (2554). เภสัชวิทยา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : โครงการ สวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก. รวีวรรณ ช่วยบารุง และคณะ. (2557). หลักการเตรียมยาทั่วไป (สาหรับเจ้าพนักงานเภสัชกรรม). นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วีรพล คู่คงวิริยพันธุ์, บุญเกิด คงยิ่งยศ และลัดดาวรรณ เส็งกันไพร, บรรณาธิการ. (2555). เภสัชวิทยา สาหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เล่ม 1. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา. สุธี เวคะวากยานนท์. (2554). รู้ไว้-ใช้ยา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (8 ตุลาคม 2553). “พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510.” ราชกิจจา นุเบกษา. ฉบับพิเศษ. เล่ม 84 ตอนที่ 101 (20 ตุลาคม 2510) หน้า 7. Katzung, Bertram G., Susan B. Master and Anthony J. Trevor. (2012). Basic & Clinical Pharmacology. 12th ed. San Francisco : McGraw-Hill.