SlideShare a Scribd company logo
1 of 27
Download to read offline
การสืบค้นข้อมูลวงศ์พืช Araliacaea
*******************************************************************
งานนําเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาชีววิทยา 6
รหัสวิชา ว30246 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
นําเสนอ
อาจารย์วิชัย ลิขิตพรรักษ์
จัดทําโดย
1. นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่ 25 ห้อง 144
2. นายชนสรณ์ สุจริตประภากร เลขที่ 26 ห้อง 144
3. นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30 ห้อง 144
4. นายนรุตม์ กนกพาเจริญ เลขที่ 32 ห้อง 144
คํานํา
รายงานนําเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา 6 รหัสวิชา ว30246 โดยมีจุดประสงค์
เพื่อการสืบค้นข้อมูลของพืชในวงศ์ Araliacaea ซึ่งข้อมูลที่สืบค้นมาจะมีดังนี้ชื้อวิทยาศาสตร์ ชื่อ
พื้นเมือง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ สรรพคุณและประโยชน์ แหล่งที่พบ เป็นต้น เพื่อให้สามารถศึกษา
อย่างเข้าใจเพื่อเป็นผลประโยชน์ต่อการเรียนต่อไป
ผู้จัดทําหวังว่ารายงานนําเสนอนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่ต้องการที่จะศึกษาในประเด็น
หัวข้อนี้หากมีข้อผิดพลาดหรือข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทําขอน้อมรับและขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทํา
สารบัญ
คันหามเสือ ............................................................................................................................ 6
หนวดปลาหมึก ....................................................................................................................... 7
ต้างหลวง ................................................................................................................................ 9
เพี้ยฟาง ................................................................................................................................. 10
อ้อยช้าง ................................................................................................................................. 12
เล็บครุฑ ................................................................................................................................. 13
ผักแปม .................................................................................................................................. 14
พระเจ้าร้อยท่า ........................................................................................................................ 15
มือพระนารายณ์ ..................................................................................................................... 17
ครุฑกระจก ............................................................................................................................ 18
หนุมานประสานสานกาย ........................................................................................................ 19
โสมเกาหลี ............................................................................................................................. 20
คันหามเสือ
ชื่อสามัญ: Aralia montana Blume
ชื่อวิทยาศาสตร์:Trevesia valida
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
-ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. ต้นและกิ่งมีหนาม หูใบคล้ายปีกแคบ ๆ ยาว 2.5-5 ซม.
-ใบประกอบ 2-3 ชั้น แกนกลางเป็นสัน ยาวได้ถึง 25 ซม. ก้านใบประกอบยาว 3-6.5 ซม. ใบย่อยรูปไข่แกมรูป
ขอบขนาน ยาว 2.5-15 ซม. ขอบจักซี่ฟัน ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม.
-ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง แผ่กว้าง ยาวได้ถึง 25 ซม. แกนช่อเป็นเหลี่ยมหรือครีบคล้ายปีก ตามข้อมีขน ก้านดอกยาว
ประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายจักลึกประมาณ 1 มม. มีขนด้านนอก ดอกสีเขียวอ่อน
กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคน ยาว 3.5-4 มม. กลีบรูปไข่ ยาว 2-3 มม. แผ่นก้านชูอับเรณูที่เป็นหมันเชื่อมติดกัน
ประมาณ 2 มม. ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.5 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2 มม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-1
ซม. จักเป็นพู สุกสีนํ้าเงินปนเทา
สรรพคุณคันหามเสือ:บรรเทาอาการปวดจากท้องเสีย
ผู้รับผิดชอบ นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30
หนวดปลาหมึก
ชื่อสามัญ: Umbrella tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Schefflera actinophylla Harms.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
-ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 6-12 ม. ขนาดทรงพุ่ม 5-6 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่ม ทรงกระบอก หรือรูป
ร่ม ลําต้นตั้งตรง เปลือกต้นสีนํ้าตาลอ่อนหรือสีเทา ค่อนข้างเรียบ มีรากอากาศห้อยตามลําต้นและกิ่ง
-ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงเวียนสลับ ก้านใบรวมยาว 30-40 ซม. ก้านใบย่อยยาว 4-6 ซม. มีใบย่อย 6-9 ใบ รูป
รี หรือรูปรีแกมรูป ขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 15-25 ซม. ปลายใบติ่งแหลมหรือมน โคนใบแหลมหรือมน ขอบ
ใบเป็นคลื่น แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน
ผู้รับผิดชอบ นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอก ตั้งยาว 50-70 ซม. ดอกอยู่รวมกันเป็นกระจุก
กระจุกละ 11-13 ดอก บนแกนช่อดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบรูป สามเหลี่ยม ปลายกลีบ
แหลมโค้งเข้าเกสรเพศผู้13 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1 ซม. ออกดอกเดือน มี.ค.-ก.ค.
-ผล ผลแห้งแตก สีแดง ออกอยู่รวมกันเป็นกระจุก พัฒนาจากฐาน รองดอกทรงกระบอก มีลิ้นเปิดให้เมล็ดออกมา
เมล็ดทรงกลม สีนํ้าตาล อมดํา ขนาดเล็กจํานวนมาก ติดผลเดือน พ.ค.-ส.ค. ขยายพันธุ์โดยการ เพาะเมล็ด ตอนลําต้น
หรือปักชํากิ่งแขนงข้างลําต้น
สรรพคุณของหนวดปลาหมึก: ใช้ดูดซับสารพิษในอากาศได้
ผู้รับผิดชอบ นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30
ต้างหลวง
ชื่อสามัญ: Snowflake plant
ชื่อวิทยาศาสตร์: Trevesia palmata Vis.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
-เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 20 เมตร ลําต้น กิ่งก้าน
-เส้นใบมีหนามแหลมปกคลุม ใบใหญ่ถึง 60 ซม. หยักเว้า 7 – 9 แฉก ขอบใบหยัก ฟันเลื่อย ปลายใบแหลมสีเขียว
เข้ม ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีนํ้าตาลปกคลุมหนาแน่น
-ช่อดอกแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ยาว 30 – 4 ซม. ช่อย่อยเป็นช่อซี่ร่ม ดอกบานขนาดประมาณ 1.5 ซม. มีกลีบ
ดอก 10 – 12 กลับ สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอมมาก เกสรเพศผู้สีเหลือง เกสรเพศเมียมีฐานดอกสีเหลือง ผลิบานช่วง
ฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน
-ผลรูปกรวยกลม ขนาดประมาณ 1.5 ซม. หยักเว้าเป็นร่องตื้นๆ รอบผล แข็ง ภายในมี 1 เมล็ด
สรรพคุณของต้างหลวง: เป็นผักพื้นบ้านของชาวเหนือ โดยนําช่อดอกอ่อนมาต้มจิ้มนํ้าพริก หรือใส่รวมกับผักอื่น ๆ
ในแกงแค แกงปลาแห้ง มีรสขม เมื่อสุกมีรสหวานอมขมช่วยให้เจริญอาหาร ให้แคลเซียม ฟอสฟอรัสและไนอะชิน
สูง
ผู้รับผิดชอบ นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30
เพี้ยฟาง
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clausenaexcavata Burm.f.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก โดยทั่วไปสูง 2-4 เมตร แต่บางต้นอาจสูงได้ถึง 15 เมตร ลําต้นโตขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง ยาวได้ถึง 20 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาไม่เป็นระเบียบ มีขนละเอียดอ่อนนุ่มคลุมใบ เป็นใบประกอบ
แบบขนนสองชั้นเรียงสลับช่อใบยาว 15-50 ซม. โคนช่อใบอาจมีช่อใบย่อยหลายช่อ ใบย่อย 15-31 ใบต่อช่อ ปลาย
ช่อเป็นใบเดี่ยว ก้านใบย่อยสีเขียว ก้านใบปลายยาวกว่าก้านใบข้างมาก แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาดกว้าง 1-7
ซม. ยาว 2-20 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเบี้ยด้านหนึ่งสอบเป็นรูปลิ่ม อีกด้านโค้งมน ขอบใบเรียบ
หรืออาจเป็นซี่หยักเล็กๆ ผิวใบแก่ด้านบนเกลี้ยงไม่มีขน ด้านล่างมีขนละเอียดบางๆดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ก้าน
ดอกย่อยยาว 0.5-2.0 มม. วงกลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 3.5-5.0 มม. สีเขียวอ่อน
ถึงขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้8 อัน ก้านชูอับเรณู ยาว 1.5-3.5 มม. โคนโต ก้านชูเกสร เพศเมีย รูปทรงกระบอก ปลาย
กว้าง ยาวได้ถึง 1.8 มม. รังไข่รูปไข่ มีขนละเอียดคลุมผล มีเนื้อนอก รูปไข่ยาว 1-2 ซม. เมื่อสุกสีชมพูอมแดง ผิว
เกลี้ยงหรืออาจมีขนละเอียดบางๆ
ผู้รับผิดชอบ นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่25
สรรพคุณเพี้ยฟาน :
ใบ รับประทานสดกับลาบ(ขมุ) ยอดอ่อน รับประทานสดจิ้มนํ้าพริก มีรสขมเล็กน้อย(คนเมือง)ทั้ง
ต้น ต้มนํ้าอาบแก้ผื่นคัน อาจใส่รวมกับแพพันชั้นก็ได้ (คนเมือง) ลําต้นและใบ ต้มนํ้าดื่มเป็นยาแก้สรรพพิษ (คน
เมือง) กิ่งและใบ ต้มนํ้าอาบหรืออบตัวแก้ไข้ ไม่สบาย หลังจากคลอดลูก ใช้ต้มรวมกับเมโกล่บละ กล้วยตานี และ
กล้วยป่า (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ยอดอ่อน รับประทานเป็นยาแก้อาการท้องผูก (ม้ง)เปลือกต้น พบสารที่มีฤทธิ์ต้าน
สารพิษที่ทําลายตับ ต้านอาการปวดและอักเสบ ใบหรือทั้ง 5 แก้ไข้มาลาเรีย วัณโรค รักษาโรคผิวหนัง ห้ามเลือด ฆ่า
เชื้อโรคชาวเขาเผ่าลีซอใช้ใบต้มนํ้าอาบให้ไก่เพื่อกําจัดไรไก่ หรือให้คนอาบเพื่อกําจัดเหาและไร หรือแก้แผลเปื่อย
แผลอันเกิดจากอาการคันและเกา ชาวม้งใช้ใบตําและอาจจะผสมกับใบพืชอื่นๆ เช่น ส้มโอ เครือเขาดํา ท้อ ตํา
ร่วมกัน ห่อผ้ารัดที่ข้อมือด้านหนึ่งและข้อเท้าอีกด้านหนึ่ง แก้ไข้มาลาเรีย กะเหรี่ยงใช้ทั้งต้นต้มอาบแก้อาการวิงเวียน
ศีรษะชาวเขาโดยทั่วไปใบตําพอกแก้อาการอักเสบ บวมอันเกิดจากไฟ นํ้าร้อนลวกหรือสาเหตุอื่นๆ ไทยใหญ่ใช้ราก
ต้มกินเป็นยาบํารุงกําลัง
ผู้รับผิดชอบ นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่25
อ้อยช้าง
ชื่อสามัญ : Indian Ash Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lannea coromandelica(Houtt.) Merr.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : อ้อยช้าง เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลําต้นมีความสูงประมาณ 12
เมตร จะสลัดใบเมื่อออกดอก เป็นไม้ที่ไม่ใคร่จะแตกกิ่งก้านสาขามากนัก ส่วนที่ยังอ่อนอยู่นั้นจะมีขนปกคลุมอยู่ใบ
อ้อยช้าง จะเป็นแบบใบประกอบ ใบนั้นจะออกเป็นช่อตรงปลายกิ่งก้านช่อใบยาว ใบจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ค่อนข้าง
ยาว ตรงโคนจะเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบดอกอ้อยช้าง จะออกเป็นช่อสีเหลือง ดอกจะมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และ
ดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น ส่วนกลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกจะมีอยู่ประมาณ 4-5 กลีบ และมีเกสรตัวผู้
จะเป็น 2 เท่าของกลีบดอก เกสรตัวเมียตรงปลายจะแยกเป็น 4 แฉกผลอ้อยช้าง ผลสดจะมีเนื้อ ผลนั้นจะมีลักษณะ
เป็นรูปค่อนข้างเบี้ยวเป็นสีเขียวแต้มด้วยสีม่วงแดง ภายในจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด
สรรพคุณอ้อยช้าง : เปลือก ใช้ใส่แผล รักษาอาการปวดฟัน ใช้เป็นยาต้มรักษาธาตุพิการและอ่อนเพลีย ใช้ต้มอาบ
เมื่อเป็นฝี รักษาโรคเรื้อน และรักษาโรคผิวหนัง หรือใช้เปลือกบดเป็นผงใช้ใส่แผลโรคผิวหนัง นํ้าที่ได้จากเปลือก
สด ๆ ใช้หยอดตารักษาอาการตาเจ็บ
แก่น ใช้ปรุงเป็นยาแต่งรส เพราะมีรสหวาน บรรเทาอาการกระหายนํ้า ทําให้ชุ่มชื่นในลําคอเกิดความชุ่มชื่นในอก
ผู้รับผิดชอบ นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่25
เล็บครุฑ
ชื่อสามัญ : Ming aralia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polysciasfruticosa Harms.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 2 เมตร ลักษณะต้นเป็นข้อ ลําต้นอ่อนมีสีเขียวอ่อนแกมนํ้าตาล
อ่อน เมื่อลําต้นแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนกลายเป็นสีนํ้าตาลอ่อน ลําต้นจะมีรอยแผลของกาบใบ ใบเป็นใบประกอบแบบ
ขนนก ใบย่อยมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ขอบใบหยักย่อยละเอียด ปลายใบเรียวแหลม ดอกออกเป็นช่อและ
ติดกันเป็นกระจุก
สรรพคุณต้นเล็บครุฑ :
ใบรสหอมร้อนตําพอกแก้ปวดบวมอักเสบ ทั้งต้น รสฝาดหอมสมานแผลแก้ไข้ ราก รสร้อนหอม ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ
ระงับประสาท แก้ปวดข้อ
ผู้รับผิดชอบ นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่25
ผักแปม
ชื่อสามัญ: -
ชื่อวิทยาศาสตร์: Eleutherococcus TrifoliatusL. S.Y.Hu
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ไม้พุ่มขนาดเล็ก (ST) ลักษณะพุ่มกึ่งยืนต้น สูงประมาณ 2-8 เมตร มีหนามแหลมงุ้มกระจายอยู่ทุกส่วนของลําต้น กิ่ง
ก้านและใบฐานหนามกว้างเปลือกต้นแก่สีนํ้าตาลกิ่งก้านอ่อนสีเขียว
ใบ เป็นใบประกอบแบบตีนนก ก้านใบยาว มีใบย่อย 3-5 ใบ ลักษณะใบรูปรีหรือรูปรีแกมไข่กว้าง มีขนาดกว้าง 3-4
ซม. ยาวประมาณ 6-8 ซม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งยื่นยาวออกไป ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยหรือซี่ฟัน ด้านบนแบน
อาจมีหนาม ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ก้านช่อยาว ดอกจํานวนมากติดกันเป็นกระจุกที่ปลายก้านแบบดอกผักชี
ก้านดอกเล็ก กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายมี 5 หยัก กลีบดอกมี 5 กลีบ
ผล ลักษณะแบน มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 3-4 ซม.
สรรพคุณ : เปลือกต้น รสเฝื่อนขม ใช้แก้โรคผอมแห้งและโรคประสาท
แหล่งที่พบ : เป็นไม้ที่ขึ้นทางภาคเหนือ เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ปลูกเพื่อใช้ทํายา นิยมปลูกตามริมบ่อนํ้าหรือลํา
ธารนํ้าในบริเวณที่แสงแดดส่องถึง
ผู้รับผิดชอบ นายนรุตม์ กนกพาเจริญ เลขที่ 32
พระเจ้าร้อยท่า
ชื่อพื้นเมือง : ชะระกออาย่อ ตู๊เจ้าร้อยท่า พาเค
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heteropanax fragrans (Roxb. ex DC.) Seem.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูงถึง 8 ม. กลุ่มใบกระจุก ที่ปลายยอด ลําต้นเปลาตรง เปลือกนอกเรียบ สีนํ้าตาล เปลือกในสี
เหลืองอ่อน
ใบ ประกอบแบบขนนก 2-4 ชั้น เรียงสลับ แผ่นใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ขนาด 3-5 x 4-13 ซม. ปลายแหลม
โคนสอบ ขอบเรียบ ใบอ่อนมีขนรูปดาว ใบแก่เกลี้ยง ไม่มีหนาม
ดอก ออกเป็นช่อซี่ร่มเชิงซ้อน ออกดอก ขณะทิ้งใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีนํ้าตาล กลีบดอก 5 กลีบ เนื้อบาง สีขาว
เกสรเพศผู้5 อัน ก้านเกสรเพศเมีย 2 อัน
ผล สด มีเนื้อหลายเมล็ด รูปร่างแบน ลักษณะเป็น 2 พู ขนาดถึง 0.8 ซม. ผิวมีขน รูปดาวสีแดง เกสรเพศเมียปลาย 2
แฉก
ผู้รับผิดชอบ นายนรุตม์ กนกพาเจริญ เลขที่ 32
สรรพคุณ : ใบและกิ่งก้าน ต้มนํ้าดื่มหรืออาบ สําหรับเด็กทารกที่เกิด มาไม่สมบูรณ์ หัวโตผิดปกติ หรือคนที่มีอาการ
แพ้ท้อง อาการแพ้จากการกินอาหารแสลง อาหารเป็นพิษ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ลําต้นและราก เป็นส่วนประกอบในยาสมุนไพรแก้อาการปวดหลังปวดเอวซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรอื่นๆ เช่น อ้อยช้าง
ฮ่อสะพายควาย ดู่เครือ ฮากเหลือง ฯลฯ(คนเมือง)
แหล่งที่พบ : ขึ้นประปรายในที่โล่งแจ้ง ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ที่ความสูงจาก
ระดับนํ้าทะเล ปานกลางถึง 900 ม.
ผู้รับผิดชอบ นายนรุตม์ กนกพาเจริญ เลขที่ 32
มือพระนารายณ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schefflera elliptica(Blume) Harms
ชื่อพื้นเมือง : มือพระนารายณ์ เล็บมือนาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ต้น จัดเป็นไม้พุ่มที่เกาะอาศัยต้นไม้อื่น ๆ เปลือกต้นเรียบ
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-7 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมขอบขนาน
ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ก้านใบร่วมยาว
ดอก ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลืองขนาดเล็ก ไม่บาน ก้านช่อดอกเป็นสีนํ้าตาลแดง
ผล ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก ผลสุกเป็นสีเหลืองถึงสีส้มอมแดง
สรรพคุณ : กิ่ง-ต้มนํ้าดื่ม เพื่อรักษาโรคความดันสูง และแก้ไข้
ราก-ใช้ต้มนํ้าดื่ม เพื่อรักษาโรคเบาหวาน
ผู้รับผิดชอบ นายนรุตม์ กนกพาเจริญ เลขที่ 32
เล็บครุฑกระจก
ชื่อวิทยาศาสตร์: Polysciaguilfoylei Baillvar. victoriaeBaill.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลําต้นส่วนแก่สีนํ้าตาลอ่อน ลําต้นส่วนยอดมีสีเขียว ลายนํ้าตาล กระสีนํ้าตาลอ่อน ลําต้นเป็น
ข้อ ก้านใบสีเขียวอ่อน มีลายสีนํ้าตาลไหม้
ใบเป็นใบรวม มี 3 ใบย่อยใบลักษณะกลมคล้ายใบบัวบก สีเขียว ด่างขาวที่ขอบใบ ขอบใบหยักละเอียด
ประโยชน์ : เป็นได้ทั้งไม้ประดับภายในและภายนอกอาคาร แต่งให้เป็นไม้พุ่มได้แต่ต้องไม่ให้ถูกแสงแดดจัด
และใช้ใบปรุงอาหาร แต่ยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก
ผู้รับผิดชอบ นายชนสรณ์ สุจริตประภากร เลขที่ 26
หนุมานประสานกาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Schefflera leucantha R. Vig.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านตํ่าใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีนํ้าตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออก
เรียงสลับ มีใบย่อย 6-8 ใบ รูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่น
ใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาวนวล ผล เป็นผลมีเนื้อ รูปทรงกลม ขนาดเล็ก
ประโยชน์ :
รักษาโรคหืด โรคแพ้อากาศ ขับเสมหะ
รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
รักษาวัณโรคปอด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด ตําพอกแผลห้ามเลือด ห้ามเลือด
ผู้รับผิดชอบ นายชนสรณ์ สุจริตประภากร เลขที่ 26
โสมเกาหลี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panax ginseng C.A.Mey.
ชื่อสามัญ : Ginseng (จินเซ็ง), Panax, Korean ginseng, Asian ginseng
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
จัดเป็นพืชล้มลุกมีอายุหลายปี ลําต้นฉํ่านํ้า และมีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร ลําต้นมีลักษณะกลมและตั้ง
ตรง มีรากเก็บอาการลักษณะพองโต แยกเป็นง่าม นิยมเก็บรากมาใช้เป็นยาเมื่ออายุประมาณ 4-6 ปี โดยมักขึ้นใต้ร่ม
เงาไม้อื่น ลําต้นจะแห้งไปในช่วงฤดูหนาว
ประโยชน์ :
รากโสมเกาหลี มีรสหวานชุ่ม ขมเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอด ม้าม และกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาบํารุง
กําลัง บํารุงอวัยวะภายในร่างกาย ทําให้ร่างกายชุ่มชื่น ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย
ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ปรับการทํางานของต่อมไร้ท่อต่าง ๆ
ช่วยแก้อาการหน้ามืดเป็นลม
ช่วยแก้อาการเหงื่อออกไม่รู้ตัว กระหายนํ้า
ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร
ผู้รับผิดชอบ นายชนสรณ์ สุจริตประภากร เลขที่ 26
บรรณานุกรม
• http://www.flowersofindia.net/catalog/slides/Indian%20Ash%20Tree.html
• http://bpp24udon.com/data/plant/clausena
• https://www.samunpri.com/%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B
8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/
• http://www.saiyathai.com/herb/742000.htm
• https://en.wikipedia.org/wiki/Clausena_excavata
• http://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%89
%E0%B8%A2%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%99+%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%
88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B
8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C&source=lnms&tb
m=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjk0vKE_MfYAhUHQ48KHTKoAVAQ_AUICigB&biw=1440&bih
=799#imgrc=6YOCKuYvcnf-
8M:&spf=1515400849268
ผู้รับผิดชอบ นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30
บรรณานุกรม
• http://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%9A
%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%91+%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9
%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%
B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C&source=lnms&t
bm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjEhffI-
sfYAhUKuY8KHTW4BCQQ_AUICigB&biw=1440&bih=799#imgrc=nSVIk3J1D76pfM:&spf=1
515400445698
• http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2
%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+wiki&source=lnms&tbm=isch&sa=X
&ved=0ahUKEwiehNyd-
8fYAhUDuo8KHdObBiUQ_AUICigB&biw=1440&bih=799#imgrc=HIe43cV2eSwZAM:&spf=
1515400622964
ผู้รับผิดชอบ นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30
บรรณานุกรม
• http://www.flowersofindia.net/catalog/slides/Indian%20Ash%20Tree.html
• http://bpp24udon.com/data/plant/clausena
• https://www.samunpri.com/%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%
B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/
• http://www.saiyathai.com/herb/742000.htm
• https://en.wikipedia.org/wiki/Clausena_excavata
ผู้รับผิดชอบ นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่25
บรรณานุกรม
• http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%
B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD&typeword=g
roup
• http://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%
E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%94%E
0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B6%E0%B8%81/
• http://treeofthai.com/tag/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%
B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87/
ผู้รับผิดชอบ นายนรุตม์ กนกพาเจริญ เลขที่ 32
บรรณานุกรม
• https://medthai.com/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2
%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8
%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
• https://medthai.com/%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81
%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5/
• http://e-learning.shc.ac.th/shcbotanical/botanical-garden/200.html
ผู้รับผิดชอบ นายชนสรณ์ สุจริตประภากร เลขที่ 26
กิตติกรรมประกาศ
รายงานนําเสนอฉบับนี้จะสําเร็จลุล่วงไม่ได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ จากอาจารย์วิชัย
ลิขิตพรรักษ์ ครูประจําวิชาชีววิทยา ที่คอยให้คําปรึกษาและข้อเสนอแนะต่างๆ ทั้งนี้ผู้จัดทําต้อง
ขอขอบคุณผู้ปกครองและครู ที่คอยช่วยเหลือในด้านต่างๆ นอกจากนี้ต้องขอขอบคุณท่านที่นําข้อมูลมา
เว็บไซต์ต่างๆเพื่อให้พวกเราสามารถสืบค้นได้อย่างสะดวกสบายและถูกต้องแม่นยํา สุดท้ายแล้วผู้จัดทํา
ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมกับรายงานนี้ไว้ ณ โอกาสนี้
ขอบคุณที่รับชมและรับฟังครับ

More Related Content

What's hot (20)

Plant ser 144_60_2
Plant ser 144_60_2Plant ser 144_60_2
Plant ser 144_60_2
 
Plant ser 144_60_4
Plant ser 144_60_4Plant ser 144_60_4
Plant ser 144_60_4
 
Plant ser 143_60_1
Plant ser 143_60_1Plant ser 143_60_1
Plant ser 143_60_1
 
Plant ser 144_60_6
Plant ser 144_60_6Plant ser 144_60_6
Plant ser 144_60_6
 
Plant ser 144_60_1
Plant ser 144_60_1Plant ser 144_60_1
Plant ser 144_60_1
 
Plant ser 143_60_2
Plant ser 143_60_2Plant ser 143_60_2
Plant ser 143_60_2
 
Plant ser 126_60_2
Plant ser 126_60_2Plant ser 126_60_2
Plant ser 126_60_2
 
Plant ser 143_60_4
Plant ser 143_60_4Plant ser 143_60_4
Plant ser 143_60_4
 
Plant ser 125_60_1
Plant ser 125_60_1Plant ser 125_60_1
Plant ser 125_60_1
 
Plant ser 143_60_7
Plant ser 143_60_7Plant ser 143_60_7
Plant ser 143_60_7
 
Plant ser 143_60_10
Plant ser 143_60_10Plant ser 143_60_10
Plant ser 143_60_10
 
932 pre7
932 pre7932 pre7
932 pre7
 
Plant ser 125_60_3
Plant ser 125_60_3Plant ser 125_60_3
Plant ser 125_60_3
 
Plant ser 77_60_1
Plant ser 77_60_1Plant ser 77_60_1
Plant ser 77_60_1
 
Plant ser 77_60_5
Plant ser 77_60_5Plant ser 77_60_5
Plant ser 77_60_5
 
Plant ser 143_60_6
Plant ser 143_60_6Plant ser 143_60_6
Plant ser 143_60_6
 
Plant ser 125_60_10
Plant ser 125_60_10Plant ser 125_60_10
Plant ser 125_60_10
 
Plant ser 77_60_2
Plant ser 77_60_2Plant ser 77_60_2
Plant ser 77_60_2
 
Plant ser 77_60_3
Plant ser 77_60_3Plant ser 77_60_3
Plant ser 77_60_3
 
Plant ser 77_60_8
Plant ser 77_60_8Plant ser 77_60_8
Plant ser 77_60_8
 

Similar to Plant ser 144_60_8 (20)

Biomapcontest2014 xoxo
Biomapcontest2014 xoxoBiomapcontest2014 xoxo
Biomapcontest2014 xoxo
 
Plant ser 126_60_10
Plant ser 126_60_10Plant ser 126_60_10
Plant ser 126_60_10
 
Plant ser 126_60_4
Plant ser 126_60_4Plant ser 126_60_4
Plant ser 126_60_4
 
M6 126 60_6
M6 126 60_6M6 126 60_6
M6 126 60_6
 
Psychotropic plants
Psychotropic plantsPsychotropic plants
Psychotropic plants
 
Plant ser 126_60_5
Plant ser 126_60_5Plant ser 126_60_5
Plant ser 126_60_5
 
Herbarium
HerbariumHerbarium
Herbarium
 
Agasta Lotus Rose Group 7 M.5 Room 834
Agasta Lotus Rose Group 7 M.5 Room 834 Agasta Lotus Rose Group 7 M.5 Room 834
Agasta Lotus Rose Group 7 M.5 Room 834
 
Plant ser 125_60_7
Plant ser 125_60_7Plant ser 125_60_7
Plant ser 125_60_7
 
สมุนไพร
สมุนไพรสมุนไพร
สมุนไพร
 
931 pre12
931 pre12931 pre12
931 pre12
 
M6 126 60_9
M6 126 60_9M6 126 60_9
M6 126 60_9
 
Plant ser 77_60_7
Plant ser 77_60_7Plant ser 77_60_7
Plant ser 77_60_7
 
M6 78 60_1
M6 78 60_1M6 78 60_1
M6 78 60_1
 
Biomapcontest2014 powergirls
Biomapcontest2014 powergirlsBiomapcontest2014 powergirls
Biomapcontest2014 powergirls
 
Plant ser 125_60_2
Plant ser 125_60_2Plant ser 125_60_2
Plant ser 125_60_2
 
Plant ser 126_60_7
Plant ser 126_60_7Plant ser 126_60_7
Plant ser 126_60_7
 
นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20
นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20
นายนพจร โคกแพ ม.4/8 เลขที่20
 
Plant hor 3_77_60
Plant hor 3_77_60Plant hor 3_77_60
Plant hor 3_77_60
 
932 pre6
932 pre6932 pre6
932 pre6
 

More from Wichai Likitponrak

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfWichai Likitponrak
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64Wichai Likitponrak
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564Wichai Likitponrak
 

More from Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

Plant ser 144_60_8

  • 3. จัดทําโดย 1. นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่ 25 ห้อง 144 2. นายชนสรณ์ สุจริตประภากร เลขที่ 26 ห้อง 144 3. นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30 ห้อง 144 4. นายนรุตม์ กนกพาเจริญ เลขที่ 32 ห้อง 144
  • 4. คํานํา รายงานนําเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยา 6 รหัสวิชา ว30246 โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการสืบค้นข้อมูลของพืชในวงศ์ Araliacaea ซึ่งข้อมูลที่สืบค้นมาจะมีดังนี้ชื้อวิทยาศาสตร์ ชื่อ พื้นเมือง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ สรรพคุณและประโยชน์ แหล่งที่พบ เป็นต้น เพื่อให้สามารถศึกษา อย่างเข้าใจเพื่อเป็นผลประโยชน์ต่อการเรียนต่อไป ผู้จัดทําหวังว่ารายงานนําเสนอนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่ต้องการที่จะศึกษาในประเด็น หัวข้อนี้หากมีข้อผิดพลาดหรือข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทําขอน้อมรับและขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทํา
  • 5. สารบัญ คันหามเสือ ............................................................................................................................ 6 หนวดปลาหมึก ....................................................................................................................... 7 ต้างหลวง ................................................................................................................................ 9 เพี้ยฟาง ................................................................................................................................. 10 อ้อยช้าง ................................................................................................................................. 12 เล็บครุฑ ................................................................................................................................. 13 ผักแปม .................................................................................................................................. 14 พระเจ้าร้อยท่า ........................................................................................................................ 15 มือพระนารายณ์ ..................................................................................................................... 17 ครุฑกระจก ............................................................................................................................ 18 หนุมานประสานสานกาย ........................................................................................................ 19 โสมเกาหลี ............................................................................................................................. 20
  • 6. คันหามเสือ ชื่อสามัญ: Aralia montana Blume ชื่อวิทยาศาสตร์:Trevesia valida ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: -ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. ต้นและกิ่งมีหนาม หูใบคล้ายปีกแคบ ๆ ยาว 2.5-5 ซม. -ใบประกอบ 2-3 ชั้น แกนกลางเป็นสัน ยาวได้ถึง 25 ซม. ก้านใบประกอบยาว 3-6.5 ซม. ใบย่อยรูปไข่แกมรูป ขอบขนาน ยาว 2.5-15 ซม. ขอบจักซี่ฟัน ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. -ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง แผ่กว้าง ยาวได้ถึง 25 ซม. แกนช่อเป็นเหลี่ยมหรือครีบคล้ายปีก ตามข้อมีขน ก้านดอกยาว ประมาณ 2 มม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายจักลึกประมาณ 1 มม. มีขนด้านนอก ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคน ยาว 3.5-4 มม. กลีบรูปไข่ ยาว 2-3 มม. แผ่นก้านชูอับเรณูที่เป็นหมันเชื่อมติดกัน ประมาณ 2 มม. ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.5 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2 มม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-1 ซม. จักเป็นพู สุกสีนํ้าเงินปนเทา สรรพคุณคันหามเสือ:บรรเทาอาการปวดจากท้องเสีย ผู้รับผิดชอบ นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30
  • 7. หนวดปลาหมึก ชื่อสามัญ: Umbrella tree ชื่อวิทยาศาสตร์: Schefflera actinophylla Harms. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: -ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 6-12 ม. ขนาดทรงพุ่ม 5-6 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่ม ทรงกระบอก หรือรูป ร่ม ลําต้นตั้งตรง เปลือกต้นสีนํ้าตาลอ่อนหรือสีเทา ค่อนข้างเรียบ มีรากอากาศห้อยตามลําต้นและกิ่ง -ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงเวียนสลับ ก้านใบรวมยาว 30-40 ซม. ก้านใบย่อยยาว 4-6 ซม. มีใบย่อย 6-9 ใบ รูป รี หรือรูปรีแกมรูป ขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 15-25 ซม. ปลายใบติ่งแหลมหรือมน โคนใบแหลมหรือมน ขอบ ใบเป็นคลื่น แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน ผู้รับผิดชอบ นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30
  • 8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ -ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอก ตั้งยาว 50-70 ซม. ดอกอยู่รวมกันเป็นกระจุก กระจุกละ 11-13 ดอก บนแกนช่อดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบรูป สามเหลี่ยม ปลายกลีบ แหลมโค้งเข้าเกสรเพศผู้13 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1 ซม. ออกดอกเดือน มี.ค.-ก.ค. -ผล ผลแห้งแตก สีแดง ออกอยู่รวมกันเป็นกระจุก พัฒนาจากฐาน รองดอกทรงกระบอก มีลิ้นเปิดให้เมล็ดออกมา เมล็ดทรงกลม สีนํ้าตาล อมดํา ขนาดเล็กจํานวนมาก ติดผลเดือน พ.ค.-ส.ค. ขยายพันธุ์โดยการ เพาะเมล็ด ตอนลําต้น หรือปักชํากิ่งแขนงข้างลําต้น สรรพคุณของหนวดปลาหมึก: ใช้ดูดซับสารพิษในอากาศได้ ผู้รับผิดชอบ นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30
  • 9. ต้างหลวง ชื่อสามัญ: Snowflake plant ชื่อวิทยาศาสตร์: Trevesia palmata Vis. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: -เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 20 เมตร ลําต้น กิ่งก้าน -เส้นใบมีหนามแหลมปกคลุม ใบใหญ่ถึง 60 ซม. หยักเว้า 7 – 9 แฉก ขอบใบหยัก ฟันเลื่อย ปลายใบแหลมสีเขียว เข้ม ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีนํ้าตาลปกคลุมหนาแน่น -ช่อดอกแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ยาว 30 – 4 ซม. ช่อย่อยเป็นช่อซี่ร่ม ดอกบานขนาดประมาณ 1.5 ซม. มีกลีบ ดอก 10 – 12 กลับ สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอมมาก เกสรเพศผู้สีเหลือง เกสรเพศเมียมีฐานดอกสีเหลือง ผลิบานช่วง ฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน -ผลรูปกรวยกลม ขนาดประมาณ 1.5 ซม. หยักเว้าเป็นร่องตื้นๆ รอบผล แข็ง ภายในมี 1 เมล็ด สรรพคุณของต้างหลวง: เป็นผักพื้นบ้านของชาวเหนือ โดยนําช่อดอกอ่อนมาต้มจิ้มนํ้าพริก หรือใส่รวมกับผักอื่น ๆ ในแกงแค แกงปลาแห้ง มีรสขม เมื่อสุกมีรสหวานอมขมช่วยให้เจริญอาหาร ให้แคลเซียม ฟอสฟอรัสและไนอะชิน สูง ผู้รับผิดชอบ นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30
  • 10. เพี้ยฟาง ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clausenaexcavata Burm.f. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก โดยทั่วไปสูง 2-4 เมตร แต่บางต้นอาจสูงได้ถึง 15 เมตร ลําต้นโตขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ยาวได้ถึง 20 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาไม่เป็นระเบียบ มีขนละเอียดอ่อนนุ่มคลุมใบ เป็นใบประกอบ แบบขนนสองชั้นเรียงสลับช่อใบยาว 15-50 ซม. โคนช่อใบอาจมีช่อใบย่อยหลายช่อ ใบย่อย 15-31 ใบต่อช่อ ปลาย ช่อเป็นใบเดี่ยว ก้านใบย่อยสีเขียว ก้านใบปลายยาวกว่าก้านใบข้างมาก แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาดกว้าง 1-7 ซม. ยาว 2-20 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเบี้ยด้านหนึ่งสอบเป็นรูปลิ่ม อีกด้านโค้งมน ขอบใบเรียบ หรืออาจเป็นซี่หยักเล็กๆ ผิวใบแก่ด้านบนเกลี้ยงไม่มีขน ด้านล่างมีขนละเอียดบางๆดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ก้าน ดอกย่อยยาว 0.5-2.0 มม. วงกลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่แกมขอบขนาน ยาว 3.5-5.0 มม. สีเขียวอ่อน ถึงขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้8 อัน ก้านชูอับเรณู ยาว 1.5-3.5 มม. โคนโต ก้านชูเกสร เพศเมีย รูปทรงกระบอก ปลาย กว้าง ยาวได้ถึง 1.8 มม. รังไข่รูปไข่ มีขนละเอียดคลุมผล มีเนื้อนอก รูปไข่ยาว 1-2 ซม. เมื่อสุกสีชมพูอมแดง ผิว เกลี้ยงหรืออาจมีขนละเอียดบางๆ ผู้รับผิดชอบ นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่25
  • 11. สรรพคุณเพี้ยฟาน : ใบ รับประทานสดกับลาบ(ขมุ) ยอดอ่อน รับประทานสดจิ้มนํ้าพริก มีรสขมเล็กน้อย(คนเมือง)ทั้ง ต้น ต้มนํ้าอาบแก้ผื่นคัน อาจใส่รวมกับแพพันชั้นก็ได้ (คนเมือง) ลําต้นและใบ ต้มนํ้าดื่มเป็นยาแก้สรรพพิษ (คน เมือง) กิ่งและใบ ต้มนํ้าอาบหรืออบตัวแก้ไข้ ไม่สบาย หลังจากคลอดลูก ใช้ต้มรวมกับเมโกล่บละ กล้วยตานี และ กล้วยป่า (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ยอดอ่อน รับประทานเป็นยาแก้อาการท้องผูก (ม้ง)เปลือกต้น พบสารที่มีฤทธิ์ต้าน สารพิษที่ทําลายตับ ต้านอาการปวดและอักเสบ ใบหรือทั้ง 5 แก้ไข้มาลาเรีย วัณโรค รักษาโรคผิวหนัง ห้ามเลือด ฆ่า เชื้อโรคชาวเขาเผ่าลีซอใช้ใบต้มนํ้าอาบให้ไก่เพื่อกําจัดไรไก่ หรือให้คนอาบเพื่อกําจัดเหาและไร หรือแก้แผลเปื่อย แผลอันเกิดจากอาการคันและเกา ชาวม้งใช้ใบตําและอาจจะผสมกับใบพืชอื่นๆ เช่น ส้มโอ เครือเขาดํา ท้อ ตํา ร่วมกัน ห่อผ้ารัดที่ข้อมือด้านหนึ่งและข้อเท้าอีกด้านหนึ่ง แก้ไข้มาลาเรีย กะเหรี่ยงใช้ทั้งต้นต้มอาบแก้อาการวิงเวียน ศีรษะชาวเขาโดยทั่วไปใบตําพอกแก้อาการอักเสบ บวมอันเกิดจากไฟ นํ้าร้อนลวกหรือสาเหตุอื่นๆ ไทยใหญ่ใช้ราก ต้มกินเป็นยาบํารุงกําลัง ผู้รับผิดชอบ นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่25
  • 12. อ้อยช้าง ชื่อสามัญ : Indian Ash Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lannea coromandelica(Houtt.) Merr. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : อ้อยช้าง เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลําต้นมีความสูงประมาณ 12 เมตร จะสลัดใบเมื่อออกดอก เป็นไม้ที่ไม่ใคร่จะแตกกิ่งก้านสาขามากนัก ส่วนที่ยังอ่อนอยู่นั้นจะมีขนปกคลุมอยู่ใบ อ้อยช้าง จะเป็นแบบใบประกอบ ใบนั้นจะออกเป็นช่อตรงปลายกิ่งก้านช่อใบยาว ใบจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ค่อนข้าง ยาว ตรงโคนจะเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบดอกอ้อยช้าง จะออกเป็นช่อสีเหลือง ดอกจะมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และ ดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละต้น ส่วนกลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกจะมีอยู่ประมาณ 4-5 กลีบ และมีเกสรตัวผู้ จะเป็น 2 เท่าของกลีบดอก เกสรตัวเมียตรงปลายจะแยกเป็น 4 แฉกผลอ้อยช้าง ผลสดจะมีเนื้อ ผลนั้นจะมีลักษณะ เป็นรูปค่อนข้างเบี้ยวเป็นสีเขียวแต้มด้วยสีม่วงแดง ภายในจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด สรรพคุณอ้อยช้าง : เปลือก ใช้ใส่แผล รักษาอาการปวดฟัน ใช้เป็นยาต้มรักษาธาตุพิการและอ่อนเพลีย ใช้ต้มอาบ เมื่อเป็นฝี รักษาโรคเรื้อน และรักษาโรคผิวหนัง หรือใช้เปลือกบดเป็นผงใช้ใส่แผลโรคผิวหนัง นํ้าที่ได้จากเปลือก สด ๆ ใช้หยอดตารักษาอาการตาเจ็บ แก่น ใช้ปรุงเป็นยาแต่งรส เพราะมีรสหวาน บรรเทาอาการกระหายนํ้า ทําให้ชุ่มชื่นในลําคอเกิดความชุ่มชื่นในอก ผู้รับผิดชอบ นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่25
  • 13. เล็บครุฑ ชื่อสามัญ : Ming aralia ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polysciasfruticosa Harms. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 2 เมตร ลักษณะต้นเป็นข้อ ลําต้นอ่อนมีสีเขียวอ่อนแกมนํ้าตาล อ่อน เมื่อลําต้นแก่เต็มที่ก็จะเปลี่ยนกลายเป็นสีนํ้าตาลอ่อน ลําต้นจะมีรอยแผลของกาบใบ ใบเป็นใบประกอบแบบ ขนนก ใบย่อยมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ขอบใบหยักย่อยละเอียด ปลายใบเรียวแหลม ดอกออกเป็นช่อและ ติดกันเป็นกระจุก สรรพคุณต้นเล็บครุฑ : ใบรสหอมร้อนตําพอกแก้ปวดบวมอักเสบ ทั้งต้น รสฝาดหอมสมานแผลแก้ไข้ ราก รสร้อนหอม ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ ระงับประสาท แก้ปวดข้อ ผู้รับผิดชอบ นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่25
  • 14. ผักแปม ชื่อสามัญ: - ชื่อวิทยาศาสตร์: Eleutherococcus TrifoliatusL. S.Y.Hu ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้พุ่มขนาดเล็ก (ST) ลักษณะพุ่มกึ่งยืนต้น สูงประมาณ 2-8 เมตร มีหนามแหลมงุ้มกระจายอยู่ทุกส่วนของลําต้น กิ่ง ก้านและใบฐานหนามกว้างเปลือกต้นแก่สีนํ้าตาลกิ่งก้านอ่อนสีเขียว ใบ เป็นใบประกอบแบบตีนนก ก้านใบยาว มีใบย่อย 3-5 ใบ ลักษณะใบรูปรีหรือรูปรีแกมไข่กว้าง มีขนาดกว้าง 3-4 ซม. ยาวประมาณ 6-8 ซม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งยื่นยาวออกไป ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยหรือซี่ฟัน ด้านบนแบน อาจมีหนาม ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ก้านช่อยาว ดอกจํานวนมากติดกันเป็นกระจุกที่ปลายก้านแบบดอกผักชี ก้านดอกเล็ก กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายมี 5 หยัก กลีบดอกมี 5 กลีบ ผล ลักษณะแบน มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 3-4 ซม. สรรพคุณ : เปลือกต้น รสเฝื่อนขม ใช้แก้โรคผอมแห้งและโรคประสาท แหล่งที่พบ : เป็นไม้ที่ขึ้นทางภาคเหนือ เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ปลูกเพื่อใช้ทํายา นิยมปลูกตามริมบ่อนํ้าหรือลํา ธารนํ้าในบริเวณที่แสงแดดส่องถึง ผู้รับผิดชอบ นายนรุตม์ กนกพาเจริญ เลขที่ 32
  • 15. พระเจ้าร้อยท่า ชื่อพื้นเมือง : ชะระกออาย่อ ตู๊เจ้าร้อยท่า พาเค ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heteropanax fragrans (Roxb. ex DC.) Seem. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูงถึง 8 ม. กลุ่มใบกระจุก ที่ปลายยอด ลําต้นเปลาตรง เปลือกนอกเรียบ สีนํ้าตาล เปลือกในสี เหลืองอ่อน ใบ ประกอบแบบขนนก 2-4 ชั้น เรียงสลับ แผ่นใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ขนาด 3-5 x 4-13 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ ใบอ่อนมีขนรูปดาว ใบแก่เกลี้ยง ไม่มีหนาม ดอก ออกเป็นช่อซี่ร่มเชิงซ้อน ออกดอก ขณะทิ้งใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีนํ้าตาล กลีบดอก 5 กลีบ เนื้อบาง สีขาว เกสรเพศผู้5 อัน ก้านเกสรเพศเมีย 2 อัน ผล สด มีเนื้อหลายเมล็ด รูปร่างแบน ลักษณะเป็น 2 พู ขนาดถึง 0.8 ซม. ผิวมีขน รูปดาวสีแดง เกสรเพศเมียปลาย 2 แฉก ผู้รับผิดชอบ นายนรุตม์ กนกพาเจริญ เลขที่ 32
  • 16. สรรพคุณ : ใบและกิ่งก้าน ต้มนํ้าดื่มหรืออาบ สําหรับเด็กทารกที่เกิด มาไม่สมบูรณ์ หัวโตผิดปกติ หรือคนที่มีอาการ แพ้ท้อง อาการแพ้จากการกินอาหารแสลง อาหารเป็นพิษ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ลําต้นและราก เป็นส่วนประกอบในยาสมุนไพรแก้อาการปวดหลังปวดเอวซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรอื่นๆ เช่น อ้อยช้าง ฮ่อสะพายควาย ดู่เครือ ฮากเหลือง ฯลฯ(คนเมือง) แหล่งที่พบ : ขึ้นประปรายในที่โล่งแจ้ง ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ที่ความสูงจาก ระดับนํ้าทะเล ปานกลางถึง 900 ม. ผู้รับผิดชอบ นายนรุตม์ กนกพาเจริญ เลขที่ 32
  • 17. มือพระนารายณ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schefflera elliptica(Blume) Harms ชื่อพื้นเมือง : มือพระนารายณ์ เล็บมือนาง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้น จัดเป็นไม้พุ่มที่เกาะอาศัยต้นไม้อื่น ๆ เปลือกต้นเรียบ ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-7 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ก้านใบร่วมยาว ดอก ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลืองขนาดเล็ก ไม่บาน ก้านช่อดอกเป็นสีนํ้าตาลแดง ผล ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก ผลสุกเป็นสีเหลืองถึงสีส้มอมแดง สรรพคุณ : กิ่ง-ต้มนํ้าดื่ม เพื่อรักษาโรคความดันสูง และแก้ไข้ ราก-ใช้ต้มนํ้าดื่ม เพื่อรักษาโรคเบาหวาน ผู้รับผิดชอบ นายนรุตม์ กนกพาเจริญ เลขที่ 32
  • 18. เล็บครุฑกระจก ชื่อวิทยาศาสตร์: Polysciaguilfoylei Baillvar. victoriaeBaill. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลําต้นส่วนแก่สีนํ้าตาลอ่อน ลําต้นส่วนยอดมีสีเขียว ลายนํ้าตาล กระสีนํ้าตาลอ่อน ลําต้นเป็น ข้อ ก้านใบสีเขียวอ่อน มีลายสีนํ้าตาลไหม้ ใบเป็นใบรวม มี 3 ใบย่อยใบลักษณะกลมคล้ายใบบัวบก สีเขียว ด่างขาวที่ขอบใบ ขอบใบหยักละเอียด ประโยชน์ : เป็นได้ทั้งไม้ประดับภายในและภายนอกอาคาร แต่งให้เป็นไม้พุ่มได้แต่ต้องไม่ให้ถูกแสงแดดจัด และใช้ใบปรุงอาหาร แต่ยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก ผู้รับผิดชอบ นายชนสรณ์ สุจริตประภากร เลขที่ 26
  • 19. หนุมานประสานกาย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schefflera leucantha R. Vig. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-4 เมตร แตกกิ่งก้านตํ่าใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีนํ้าตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออก เรียงสลับ มีใบย่อย 6-8 ใบ รูปรี กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ แผ่น ใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาวนวล ผล เป็นผลมีเนื้อ รูปทรงกลม ขนาดเล็ก ประโยชน์ : รักษาโรคหืด โรคแพ้อากาศ ขับเสมหะ รักษาโรคหลอดลมอักเสบ รักษาวัณโรคปอด แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด ตําพอกแผลห้ามเลือด ห้ามเลือด ผู้รับผิดชอบ นายชนสรณ์ สุจริตประภากร เลขที่ 26
  • 20. โสมเกาหลี ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panax ginseng C.A.Mey. ชื่อสามัญ : Ginseng (จินเซ็ง), Panax, Korean ginseng, Asian ginseng ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: จัดเป็นพืชล้มลุกมีอายุหลายปี ลําต้นฉํ่านํ้า และมีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร ลําต้นมีลักษณะกลมและตั้ง ตรง มีรากเก็บอาการลักษณะพองโต แยกเป็นง่าม นิยมเก็บรากมาใช้เป็นยาเมื่ออายุประมาณ 4-6 ปี โดยมักขึ้นใต้ร่ม เงาไม้อื่น ลําต้นจะแห้งไปในช่วงฤดูหนาว ประโยชน์ : รากโสมเกาหลี มีรสหวานชุ่ม ขมเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอด ม้าม และกระเพาะอาหาร ใช้เป็นยาบํารุง กําลัง บํารุงอวัยวะภายในร่างกาย ทําให้ร่างกายชุ่มชื่น ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ปรับการทํางานของต่อมไร้ท่อต่าง ๆ ช่วยแก้อาการหน้ามืดเป็นลม ช่วยแก้อาการเหงื่อออกไม่รู้ตัว กระหายนํ้า ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร ผู้รับผิดชอบ นายชนสรณ์ สุจริตประภากร เลขที่ 26
  • 21. บรรณานุกรม • http://www.flowersofindia.net/catalog/slides/Indian%20Ash%20Tree.html • http://bpp24udon.com/data/plant/clausena • https://www.samunpri.com/%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B 8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/ • http://www.saiyathai.com/herb/742000.htm • https://en.wikipedia.org/wiki/Clausena_excavata • http://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%89 %E0%B8%A2%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%99+%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9% 88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B 8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C&source=lnms&tb m=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjk0vKE_MfYAhUHQ48KHTKoAVAQ_AUICigB&biw=1440&bih =799#imgrc=6YOCKuYvcnf- 8M:&spf=1515400849268 ผู้รับผิดชอบ นายธัญเทพ พนิตวรภูมิ เลขที่ 30
  • 23. บรรณานุกรม • http://www.flowersofindia.net/catalog/slides/Indian%20Ash%20Tree.html • http://bpp24udon.com/data/plant/clausena • https://www.samunpri.com/%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0% B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/ • http://www.saiyathai.com/herb/742000.htm • https://en.wikipedia.org/wiki/Clausena_excavata ผู้รับผิดชอบ นายชนม์วริศร์ หอมจันทร์ เลขที่25
  • 26. กิตติกรรมประกาศ รายงานนําเสนอฉบับนี้จะสําเร็จลุล่วงไม่ได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ จากอาจารย์วิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครูประจําวิชาชีววิทยา ที่คอยให้คําปรึกษาและข้อเสนอแนะต่างๆ ทั้งนี้ผู้จัดทําต้อง ขอขอบคุณผู้ปกครองและครู ที่คอยช่วยเหลือในด้านต่างๆ นอกจากนี้ต้องขอขอบคุณท่านที่นําข้อมูลมา เว็บไซต์ต่างๆเพื่อให้พวกเราสามารถสืบค้นได้อย่างสะดวกสบายและถูกต้องแม่นยํา สุดท้ายแล้วผู้จัดทํา ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมกับรายงานนี้ไว้ ณ โอกาสนี้