SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 38
Downloaden Sie, um offline zu lesen
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 1 
เอกสารประกอบการเรียน 
เรื่อง สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย 
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 
(Historical and Cultural Tourism) 
อ.ยุพิน อุ่นแก้ว
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 2 
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย 
ความนา 
สังคมไทยมีลักษณะเฉพาะและมีความแตกต่างจากสังคมอื่นๆ อย่างเด่นชัด ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน สังคมไทยจะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานอย่างรวดเร็ว ซึ่งทาให้สังคมไทยมี การเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่สังคมไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงสามารถอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมไทยไว้ได้ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มิมีชาติอื่นใดลอกเลียนแบบได้ ลักษณะของสังคมไทยรวมถึงวัฒนธรรม ประเพณี จารีต วิถีประชา มารยาทไทย ศิลปะไทยและค่านิยมของคนไทย จะแสดงออกถึงความเป็นไทย ได้อย่างเด่นชัด ในบทนี้จะได้ศึกษาถึงลักษณะของสังคม วัฒนธรรม และประเพณีของไทย ที่มี เอกลักษณ์เฉพาะและเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และถ่ายทอดเป็นมรดกสู่อนุชนรุ่นหลังสืบไป 
๑. ลักษณะสังคมไทย 
สังคม คือ บุคคลจานวนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์ระเบียบแบบแผน และกฎเกณฑ์ที่ช่วยกันวางไว้เป็นตัวเชื่อมโยงประสานบุคคลเหล่านั้นเข้าด้วยกัน 
“สังคมไทย” จึงหมายถึง บุคคลที่เกิดในประเทศไทย ถือสัญชาติไทย หรือบุคคลที่ย้ายมาอยู่ใน ประเทศไทยอย่างถาวร มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปฏิบัติตนตามวัตถุประสงค์ระเบียบแบบแผนและ กฎเกณฑ์ที่ช่วยกันวางไว้ 
ลักษณะสังคมไทยโดยทั่วไป ประกอบด้วยสภาพของสังคมเกษตรกรรม ทั้งนี้เพราะประชาชน ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพนี้ ซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หลักให้แก่คนไทยมาตั้งแต่ดั้งเดิม โดย มีลักษณะครอบครัวเป็นประเภทที่เรียกว่า ครอบครัวขยาย อันหมายถึงครอบครัวเดียวที่มีพ่อแม่ลูกอยู่ รวมกับญาติพี่น้องคนอื่นๆ อาจจะอยู่บ้านคนเดียว หรือบริเวณเดียวกันก็ได้ นับเป็นครอบครัวใหญ่ทาให้ เกิดความอบอุ่นมีญาติพี่น้องคอยเลี้ยงดูลูกหลานมีผู้อาวุโสสูงสุดทาหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อ ครอบครัวเหล่านี้อยู่รวมกันหลายครอบครัวย่อมกลายเป็นสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกัน จึงจาเป็นต้องมี การจัดระเบียบทางสังคมให้มีระเบียบแบบแผนเป็นแนวทางปฏิบัติขึ้นอย่างมีบรรทัดฐานที่ เรียกว่า วิถี ประชา กฎศีลธรรม และกฎหมาย 
ซึ่งสามารถสรุปลักษณะสังคมไทยได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้ 
๑. สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม 
๒. สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความผูกพันในระหว่างเครือญาติอย่างใกล้ชิด 
๓. สังคมไทยเป็นสังคมที่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา 
๔. สังคมไทยเป็นสังคมที่เทิดทูนพระมหากษัตริย์ 
๕. สังคมไทยเป็นสังคมที่ให้ความสาคัญในเรื่องอาวุโส ให้เกียรติยกย่องผู้ใหญ่
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 3 
วิถีประชา เป็นแบบแผนในการปฏิบัติหน้าที่ที่ทุกคนในสังคมปฏิบัติกันโดยทั่วไปจนเกิดเป็น ความเคยชิน ไม่ต้องมีศีลธรรมและกฎหมายบังคับ ผู้ไม่ปฏิบัติตามก็จะไม่ได้รับโทษแต่จะถูกติฉินนินทา เป็นต้น และนอกจากนี้ยังหมายรวมไปถึงแนวทางปฏิบัติของบุคคลที่ได้มาจากครอบครัวซึ่งเป็นผู้อบรม สั่งสอนมาตั้งแต่วัยเยาว์ ได้แก่ การไหว้ การขอบคุณ หรือการขอโทษ เป็นต้น ผู้ใดทาผิดวิถีประชาไม่ถือ ว่ามีโทษร้ายแรง 
กฎศีลธรรม เป็นหลักคาสอนที่ได้จากศาสนา มีลักษณะเป็นข้อห้ามมิให้กระทาการบางอย่างที่ สังคมไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะสิ่งชั่วและสิ่งผิด หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับโทษรุนแรง เช่น ห้ามลูกเนรคุณ พ่อแม่ หรือห้ามมิให้จาหน่ายยาเสพติด เป็นต้น 
กฎหมาย เป็นบทลงโทษที่ตราไว้เป็นลายลักษณ์อักษรกาหนดโทษไว้แน่นอน มีเจ้าหน้าที่เป็น ผู้รักษากฎหมายของบ้านเมืองไว้มิให้ผู้ใดฝ่าฝืนได้ ทั้งนี้กฎหมายนั้นจะต้องสอดคล้องกับวิถีประชา และกฎศีลธรรมด้วยจึงมีผลในการบังคับใช้ ซึ่งสามารถทาให้สังคมดาเนินไปได้อย่างมีระเบียบ 
สังคมไทยจัดเป็นสังคมที่มีความเป็นอยู่ค่อนข้างสบาย มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีเวลาว่าง หาความสุขสนุกสนาน และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ มี ความสนิทสนมและไว้วางใจบุคคลในสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานของครอบครัวและเครือญาติ คือ เครือญาติ ทางสายเลือด และเครือญาติที่เกิดจากความสนิทสนมทางสังคมผสมกับค่านิยมบางประการ ได้แก่ ความ กตัญญูรู้คุณ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการช่วยเหลือกันของสังคมในสังคม รวมทั้งความมีใจกว้าง ขวางทางศาสนาส่งผลให้บุคคลในสังคมไทยมีลักษณะนิสัยอ่อนโยน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตใจเมตตา เอื้ออารี รักสงบ และชอบสนุกสนาน ด้วยวิถีชีวิตที่มักปล่อยไปตามสบายตามสภาพแวดล้อม และมีเวลา ว่างมากนี้เอง จึงทาให้บุคคลในสังคมไทยมีเวลาคิดกิจกรรมต่างๆ ถือปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี วัฒนธรรมขึ้นในสังคมไทยอีกด้วย 
อาจกล่าวได้ว่า สังคม คือ ผู้สร้างวัฒนธรรม ดังนั้นสังคมไทยจึงเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมไทยเป็นผู้ กาหนดว่าสิ่งใดควรคงไว้ สิ่งใดไร้ประโยชน์ต่อไปควรละเสีย การแสดงออกของบุคคลในสังคมไทยย่อม เป็นตัวบ่งชี้วัฒนธรรมไทยให้ประจักษ์ได้ พอสรุปลักษณะของสังคมไทยได้ ดังนี้ 
มีโครงสร้างสังคมแบบสถาบันครอบครัวและระบบเครือญาติ โครงสร้างสังคมไทยในสมัย โบราณเป็นแบบ ครอบครัวขยาย ซึ่งประกอบด้วยญาติพี่น้องหลายๆ ครอบครัวอยู่ในบ้านเดียวกัน หรือ ปลูกบ้านในบริเวณเดียวกัน โดยลักษณะสถาบันครอบครัวของคนไทยจะมีสามีหรือภริยาได้คนเดียวตาม กฎหมาย ภายในครอบครัวจะมีความผูกพันและมีสายสัมพันธ์ทางสายโลหิตที่เข้มข้น ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่และลูกจะรักใคร่เกื้อกูลและอุปถัมภ์ค้าชูซึ่งกันและกัน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน หรือคนรู้จัก ใกล้ชิดกันก็จะมีความสนใจสนิทสนมรักใคร่กัน จนกลายเป็นความผูกพันกันในลักษณะระบบเครือญาติ ลักษณะสังคมไทย ดังกล่าว ทาให้การดารงชีวิตของคนไทยอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข 
มีโครงสร้างสังคมแบบสถาบัน สังคมไทยจะยึดมั่นในสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนาและ สถาบันพระมหากษัตริย์ คนไทยจะยึดมั่นในสถาบันครอบครัวเป็นหลัก นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนา ประจาชาติ แต่สังคมไทยก็ไม่รับเกียจศาสนาอื่นๆ คนไทยส่วนใหญ่จะมีจิตใจเอื้อเฟื้อสนับสนุนศาสนา ทุกๆ ศาสนา และสามารถเข้าร่วมศาสนกิจของศาสนาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 4 
สังคมไทยได้ให้ความเคารพนับถือ ให้ความรักพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ทุกๆ พระองค์โดยไม่มีข้อแม้ ใดๆ ทั้งสิ้น ลักษณะเด่นของสังคมไทยอีกอย่างหนึ่ง คือ คนไทยจะให้ความเคารพนับถือผู้ใหญ่และผู้ ดารงตาแหน่งที่สูงกว่า 
มีโครงสร้างสังคมแบบหลวมๆ คนไทยและสังคมไทยตามปกติจะให้ความสาคัญกับระเบียบ ข้อบังคับและกฎเกณฑ์ต่างๆ น้อยมาก ชอบปฏิบัติในสิ่งที่ตนพอใจ ไม่ชอบการบีบบังคับว่าต้องปฏิบัติ เป็นประจา ชอบความเป็นอยู่อย่างสบายๆ จนมีคากล่าถึงลักษณะของคนไทยว่า อยู่อย่างไทย ประชาธิปไตยแบบไทยหรือสุภาษิตทีว่า ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม ซึ่งมีลักษณะดังกล่าวทาให้คนไทยขาด ระเบียบไม่มีวินัย ไม่กระตือรือร้น รักสันโดษ ลักษณะนิสัยของคนไทยดังกล่าว จึงมีส่วนที่ทาให้ สังคมไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร 
มีโครงสร้างสังคมแบบผ่อนปรน เนื่องจากสังคมไทยมีความผูกพันรักใคร่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถ้ามีคนไทยได้รับความเดือดร้อนและต้องการความช่วยเหลือคนไทยส่วนใหญ่จะ ร่วมมือร่วมใจเสียสละแบ่งปันและเข้าช่วยเหลือทันที ส่วนการดาเนินชีวิตก็จะยึดการดาเนินชีวิตของ บรรพบุรุษเป็นแนวทางปฏิบัติ และจะปฏิบัติตามเฉพาะเรื่องที่ดีส่วนเรื่องที่ไม่ดีก็จะนาไปปรับปรุง เพื่อ เหตุการณ์ไม่ดีไม่งามจะได้ไม่เกิดขึ้นในครอบครัว หรือในสังคมไทยอีก สังคมไทยมักจะยึดมั่นและยึดถือ ปฏิบัติตามคาพังเพยที่ว่า “เดินคามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด ไปพูดขัดเขาทาไมขัดใจเขา เมื่อเขาตึงเราต้อง หย่อน ค่อยผ่อนเบา นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลง” เป็นต้น 
มีโครงสร้างแบบสังคมเกษตร ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพกสิกร รม ทาไร่ ทานา ทาสวน จึงนับว่าความเป็นอยู่และการดาเนินชีวิตของครอบครัวชาวนาไทยดั้งเดิมของ สังคมไทย คือ มีความเป็นอยู่แบบง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตอง เป็นคนที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มี การรวมกลุ่มกันตามสมัครใจซึ่งมีลักษณะเป็นแบบไม่เป็นการลงแขกไถนา หว่านข้าว เกี่ยวข้าว แต่ใน ปัจจุบัน สังคมชาวนาไทยได้มีการรวมกลุ่มกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่ม ตัวอย่าง เช่น การรวมกลุ่มของชาวนาในอาเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก มีการรวมกลุ่มตั้งสหกรณ์ร้านค้าจัดซื้อ เครื่องชั่งตวงข้าวเปลือก เพื่อบริการให้เช่าสถานการณ์ที่เก็บข้าเปลือก การลงทุนทาคลองส่งน้าให้ผ่าน เข้าไปในพื้นที่นาของเกษตรกร ซึ่งทาให้ชาวนาสามารถทานาได้ปีละ ๒ ครั้ง ทาให้ฐานะของเกษตรกรใน อาเภอวัดโบสถ์ดีขึ้น ผละประโยชน์จากการลงทุนที่มีการแบ่งปันเงินรายได้ให้สมาชิกที่นามาลงทุน และ พบว่ารายได้ดังกล่าวเป็นรายได้ที่ดีกว่าฝากธนาคารของรัฐในปัจจุบัน 
มีโครงสร้างแบบชนชั้น ในสังคมไทยยึดเชื่อถือและให้ความเคารพบุคคลที่มีความอาวุโส บุคคลระดับผู้บริหารเป็นหลัก รวมทั้งบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดแม้ไม่ใช่ญาติ แต่ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกัน และกัน คนไทยก็จะมีความผูกพันกับบุคคลดังกล่าวเหมือนญาติ ในอดีตสังคมไทยมีการแบ่งชนชั้น ส่วน ในปัจจุบันมักกล่าวว่าไทยมีการเลิกทาส เลิกแบ่งชนชั้น ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว แต่ความเป็นจริงในสังคมไทย ยังมีการแบ่งชนชั้นซึ่งถูกแบ่งชนชั้นออกโดย ตาแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ ความมั่งคั่งร่ารวย ตาแหน่งการเมือง หน้าที่ราชการ ระดับการศึกษาและอาชีพ
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 5 
๒. เอกลักษณ์ของสังคมไทย 
เอกลักษณ์ของสังคมไทย หมายถึง ลักษณะของสังคมไทยที่เห็นเด่นชัด และมีความแตกต่าง จากสังคมอื่นๆ เอกลักษณ์ของสังคมไทยมีลักษณะเด่น (สุพัตรา สุภาพ, ๒๕๔๓) ดังนี้ 
๑. สังคมไทยรวมอานาจไว้ที่ส่วนกลาง กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของประเทศสถาบัน และ สิ่งที่มีความสาคัญเกือบทุกอย่างในประเทศรวมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร อานาจทางการเมือง การปกครอง สถาบันการศึกษาชั้นสูง โรงพยาบาลดีๆ ถนนและสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ล้วนอยู่ที่ศูนย์กลาง คือ กรุงเทพมหานคร 
๒. สังคมไทยเป็นสังคมเจ้านาย ทั้งนี้เป็นเพราะค่านิยม และได้อบรมสั่งสอนกันมาโดยลาดับ ผู้ใหญ่มักให้พรแก่ผู้น้อยว่า “ขอให้ได้เป็นใหญ่เป็นโตอยู่สุขสบาย ไม่ต้องทางานหนักและมั่นคงไปด้วย บริวาร” ปัจจุบันนิยมการมีตาแหน่งทางราชการตาแหน่งทางสังคม 
๓. สังคมไทยมีปรัชญาชีวิตที่สงบสุขทั้งนี้เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาซึ่งมี ปรัชญาเชื่อในกฎแห่งกรรม ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว พระพุทธศาสนาสอนให้คนรังเกียจการฆ่าสัตว์ สอนให้ รู้จักอภัยไม่จองเวร ในด้านการดาเนินชีวิตสอนให้คนแสวงหาความสุขโดยใช้วิธีสันโดษและเสียสละ 
๔. สังคมไทยยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ 
๕. สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางการ เกษตร 
๖. สังคมไทยเป็นสังคมลักษณะชาวบ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ ๘๕% เป็นชาวชนบทและ มีอาชีพทางการเกษตร ทาให้ความสัมพันธ์ของคนไทยเป็นไปในลักษณะสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว และมี ความเป็นกันเอง สนใจในเรื่องน้อยหน้าและไม่น้อยหน้า เรื่องมีเกียรติและไม่มีเกียรติ 
๗. สังคมไทยชอบความหรูหราฟุ่มเฟือย การไม่ยอมน้อยหน้าใคร การอยากจะเป็นผู้มีเกียรติ ได้รับการยกย่องจากสังคม ทาให้เกิดการแข่งขันกันทางสังคม 
นอกจากนี้ ลักษณะนิสัยของคนไทย มารยาทไทย ศิลปะไทย ฯลฯ ได้แก่ 
ลักษณะนิสัยของคนไทย ลักษณะเด่นของคนไทย คือ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายมีจิตใจโอบ อ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ลักษณะนิสัยดังกล่าวเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก เช่น การ ยิ้ม ประเทศญี่ปุ่นได้เชิญคนไทยไปเป็นวิทยากรเรื่องการยิ้ม 
มารยาทไทย หมายถึง กิริยาอาการที่ควรประพฤติปฏิบัติอย่างมีขอบเขต หรือมีระเบียบแบบ แผนอันเหมาะสมแก่กาลเทศะและสังคม มารยาทไทยเป็นการเจาะจงในแบแผนแห่งการประพฤติปฏิบัติ แบบไทย ที่บรรพบุรุษได้พิจารณากาหนดขึ้นและดัดแปลงแก้ไขใช้สืบทอดกันมา นอกจากนี้ยังรวมไปถึง ความประพฤติด้านการควบคุมกิริยาวาจาให้อยู่ในกรอบที่สังคมไทยเห็นว่าเรียบร้อยถูกต้องและยอมรับ สาหรับมารยาทไทยบรรพบุรุษไทยได้มีการสร้างสมและดัดแปลงให้เหมาะสมกับลักษณะของคนไทย ซึ่ง มีลักษณะพิเศษทาเหมือนกับชาติใด ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติด้านมารยาทของคนไทยด้านการพูดจา ด้านกิริยามารยาท สามารบอกถึงชนชั้นของบุคคลที่ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี เช่น สุภาษิตไทยโบราณ กล่าว ว่า “สาเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล”
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 6 
การกาหนดมารยาทไทยในสังคมนับว่าเป็นการจัดระเบียบทางสังคม “การไหว้” นับเป็น มารยาทในการแสดงความเคารพ การไหว้มักใช้ควบคู่กับคาว่า “สวัสดี” การไหว้เป็นอาการแสดงความ เคารพระหว่างผู้ไหว้และผู้รับไหว้ ซึ่งเป็นผู้อาวุโส เป็นครูบาอาจารย์เป็นหัวหน้าหน่วยงาน หรืออาจไหว้ บุคคลที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับผู้ไหว้ก็ได้ เมื่อผู้ไหว้หรือผู้น้อยไหว้แล้ว ผู้ได้รับการเคารพ (ไหว้) ก็ จะต้องไหว้ตอบพร้อมกับพูดว่า สวัสดี นอกจากนี้มารยาทในสังคมไทยยังมีแนวทางปฏิบัติให้คนไทย ยึดถือปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติไม่ถือว่าผิดแต่เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอีกหลายด้าน ได้แก่ 
การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกันและเป็น การเคารพแก่ผู้ควรเคารพ จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะ และการไหว้เป็นการแสดงถึงความมี สัมมาคารวะและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน การไหว้มีหลายวิธี มีทั้งการนั่งไหว้และการยืนไหว้ เพื่อ เคารพบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ใหญ่กว่าตน วิธีนั่งไหว้ให้นั่งพับเพียบพนมมือทั้งสองข้างขึ้นไว้ระดับอกแล้ว ก้มศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดกันที่หว่างคิ้ว ส่วนวิธีการยืนไหว้ก็ให้พนมมือทั้งสองข้างยกขึ้นระดับอกก้ม ศีรษะลงจนหัวแม่มือจรดกันที่หว่างคิ้วเช่นเดียวกัน ใช้ในโอกาสที่จาเป็นต้องไหว้เนื่องจากอยู่นอก บ้านเรือนเมื่อพบผู้ที่ต้องเคารพตามถนนหนทาง เมื่อมีการไหว้ก็ต้องมีการรับไหว้ กล่าวคือ เมื่อมีผู้ทา ความเคารพเราควรรับไหว้หรือเคารพตอบเพื่อมิให้เสียมารยาท มิฉะนั้นอาจทาให้ผู้แสดงความเคารพ เขิน หรือโกรธจนเป็นเหตุให้นึกไม่อยากจะเคารพ วิธีรับไหว้ให้ยกมือทั้งสองประนมไว้ระดับอกแล้วยกให้ สูงขึ้นมากหรือน้อยตามฐานะของผู้ไหว้และของผู้รับไหว้เท่านั้น และการไหว้ยังเป็นเครื่องหมายของ ความเป็นคนไทยที่ชัดเจน 
การกราบ เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อพระรัตนตรัย บิดา มารดา และญาติ ผู้ใหญ่ ที่อาวุโสมากๆ การกราบพระรัตนตรัยใช้กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ โดยใช้อวัยวะทั้งห้าจรดพื้น ได้แก่ หน้าผาก ข้อศอกทั้งสองและหัวเข่าทั้งสองทั้งนี้โดยนั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า ส่วนการกราบผู้ใหญ่ ผู้ อาวุโสหรือผู้ที่เคารพนับถืออย่างสูง ทาดังนี้ นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าประสานมือวางปลายเข่าค่อยๆ เลื่อนมือวางที่พื้นไม่แบมือก้มศีรษะให้หน้าผากจรดสันมือตรงส่วนใดก็ได้ศอกคร่อมเข่าหนึ่งข้างและ กราบครั้งเดียว 
การยืน เป็นอิริยาบถที่ใช้กระดูกส่วนยาวของเข่าช่วยกระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังพร้อม ด้วยศีรษะขึ้นให้ตรง เพื่อให้น้าหนักมาอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้างในเวลาตั้งตัวขึ้น การยืนต้องรับผู้ใหญ่ที่ กาลังเดินเข้ามาในงาน ถ้าเรากาลังนั่งอยู่บนเก้าอี้ต้องลุกขึ้นยืนตรงด้วยความสารวมและหันหน้าไปทาง ผู้ใหญ่ การยืนตรงห้อยแขนตามธรรมชาติเพื่อความเคารพผู้ใหญ่แสดงถึงความเป็นผู้มีมารยาทดี แต่ หากยืนประสานมือไว้ข้างหน้าด้วยแล้ว ย่อมเป็นการแสดงความเคารพที่ทวีคูณยิ่งขึ้น รวมทั้งไม่ควรยืน ชิดตัวบุคคล 
การเดิน เป็นกิริยาที่อยู่ในท่าเดินแล้วก้าวขาตรงออกทีละข้างสลับกันด้วยการงอเข่าและวางเท้า ให้ตรงเหมือนเดินบนกระดานแผ่นเดียวตั้งศีรษะตรงไม่ส่ายตัวแกว่งแขนพองามไม่สูงจนดูน่าเกลียด ขณะเดินไม่ควรหัวเราะดัง หรือสัพยอกหยอกล้อกันเอะอะ ควรเดินให้เรียบร้อย ถ้าเดินเป็นหมู่ควรจะ เหลียวรอดูเพื่อนที่ตามมาข้างหลังให้เดินไปพร้อมๆ กัน ไม่เดินเร็วหรือช้าจนเกินไป เมื่อเดินกับผู้ใหญ่
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 7 
ต้องเดินอย่างสารวมทิ้งระยะเยื้องห่างพอสมควร คอยระวังตลอดเวลาเพื่อเวลาผู้ใหญ่หยุดเดินเราจะได้ หยุดได้ทัน หากเดินผ่านผู้นั่งกับพื้นหรือนั่งเก้าอี้ควรก้มตัวลงเล็กน้อยแล้วเดินให้เรียบร้อย ไม่ควรเดิน กรายเข้าไปใกล้จนเป็นที่น่ารังเกียจ ถ้าผู้นั่งเป็นผู้ที่ใหญ่กว่ามีอาวุโสมากว่า หากจาเป็นต้องเดินผ่านหน้า ไป ควรคุกเข่าลงคลานจะงามกว่า ครั้นเมื่อพ้นไปแล้วจึงค่อยลุกขึ้นเดินต่อไป คนไทยนิยมให้เดินค่อยๆ เพราะเกรงใจผู้อื่น ผู้ใดเดินฝีเท้าหนักถือว่าเสียมารยาทและไม่ถูกต้องตามวัฒนธรรม 
การนั่ง คนไทยนิยมนั่งพับเพียบกับพื้นโดยนั่งพับขาทั้งสองข้างให้ปลายเท้าไปทางเดียวกัน ส่วนผู้ชายมักนิยมนั่งขัดสมาธิ โดยนั่งคู้เข่าทั้งสองข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้าไว้ไม่ ควรนั่งเหยียดขา ปัจจุบันนิยมนั่งเก้าอี้กันก็ไม่ควรนั่งไขว่ห้างต่อหน้าผู้ใหญ่หรือนั่งเอาศอกตั้งบนโต๊ะ อาหารถือว่าไม่สุภาพ นอกจ้านี้ควรระวังไม่นั่งทับหมอน ทับหนังสือหรือหนังสือพิมพ์ ตลอดจนไม่ควรนั่ง บนโต๊ะเพราะไม่เหมาะสม 
การพูด เป็นคุณสมบัติของคนไทยที่นิยมถือความลดหลั่นกันทางชาติวุฒิ คุณวุฒิและวัยวุฒิ อัน แสดงให้เห็นว่าไทยเป็นชาติที่มีความรู้สึกนึกคิดประณีตเข้าใจใช้คาพูดให้เหมาะแก่กาลเทศะ อันสมควร และเหมาะแก่บุคคล ซึ่งย่อมยังประโยชน์ให้สาเร็จทั้งในด้านกิจการและด้านการสมาคม ผู้มีมารยาท จะต้องรู้จักระมัดระวังการใช้คาพูด โดยไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด ไม่พูดด้วยสียงอันดังเหลือเกิน ไม่ใช้เสียงตวาด หรือพูดกระโชกกระชาก ไม่ใช้คาพูดที่หักหาญดึงดัน และไม่ใช้ถ้อยคาอันหยาบคาย นอกจากนี้ยังต้องระวังที่จะไม่พูดเท็จใช้คาพูดยุยงส่อเสียดให้ผู้อื่นแตกร้าวระหองระแหงกัน ไม่กล่าวคา เสียดสี ดูถูก หรือขัดคอผู้อื่น ไม่พูดพลางหัวเราะพลางขณะร่วมสนทนากับผู้อื่น จะทาให้ผู้พูดเสีย บุคลิกลักษณะของสุภาพชนหากจะเป็นคู่สนทนาที่ดีก็ควรจะปฏิบัติให้พอดี คือ รู้จักพูดให้ผู้ฟังพอใจและ เป็นนักฟังที่สนใจมิใช่จะเป็นผู้พูดอย่างเดียว ทั้งต้องไม่กล่าวถึงสิ่งโสโครก พึงรังเกียจและสิ่งควรปิดบัง ในท่ามกลางประชุม เมื่อจะทาล่วงเกินแก่ผู้ใดย่อมต้องขออนุญาตตัวเขาก่อนเมื่อทาพลาดพลั้งสิ่งใดแก่ บุคคลใดควรออกวาจาขอโทษเสมอ เช่นเดียวกันหากผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจา ขอบคุณเขาเสมอด้วย โดยเฉพาะสุภาพสตรีควรมีความสารวมอยู่เป็นนิจ ไม่ทาสนิท หรือหยอกล้อกับ บุรุษในที่ลับและที่เปิดเผย ไม่หัวเราะส่งเสียงดังไม่ส่งเสียงอื้ออึง หรือพูดดังเกินงามจนเป็นจุดเด่นให้ บุคคลอื่นหันมาจ้องมอง ไม่กล่าวชมเชยบุคคลบ่อยๆ ว่า สวย หล่อ หรือฉลาด เพราะแม้ผู้ฟังจะชอบแต่ อาจไม่เชื่อถือ ไม่ควรกล่าวคาขอโทษบ่อยครั้งหลังจากทาผิด ไม่ควรบรรยายแม่น้าทั้ง ๕ เมื่อต้องการ อะไรควรพูดให้ตรงประเด็นที่สุดและไม่ควรพูดในสิ่งที่อาจทาให้บุคคลอื่นอายได้ 
การกิน ควรมีความสารวมจึงจะถือว่าเป็นผู้มีมารยาทในการกิน กล่าวคือ ไม่ควรกินคาใหญ่ กิน เร็ว กินมูมมาม หรือเคี้ยวเสียงดัง รวมทั้งห้ามพูดทั้งคาข้าว อาหารติดฟันระหว่างกินห้ามใช้นิ้วมือเขี่ย ออก อนุญาตให้เพียงใช้ลิ้นจัดการโดยไม่ให้ผู้อื่นเห็นถนัดว่าเรากาลังทาอะไรอยู่ หรืออย่าจิ้มฟันโดยไม่ ปิดปาก เมื่อกินอิ่มสบายแล้วไม่ควรเรอให้ผู้อื่นได้ยิน คือไม่ต้องยืนยันความอิ่มให้ปรากฏ การกินคาใหญ่ ทาให้ต้องอ้าปากกว้าง การกินเร็ว หรือกินมูมมามทาให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด การพูดทั้งคาข้าว อาจทา ให้อาหารตกในหลอดลมถึงตายได้ การเคี้ยวเสียงดังจั๊บๆ อาจทาให้ผู้อื่นราคาญ ดังนั้นมารยาทในการ กินจึงเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ตนดีแก่สุขภาพอนามัยเป็นอันดับแรก และเพื่อประโยชน์ผู้อื่นปราศจาก
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 8 
ความรู้สึกไม่พอใจเป็นอันดับรอง อนึ่งการกินเร็วกินรีบร้อนบอกนิสัยในการกิน คนไทยนับถือ พระพุทธศาสนา จึงนาวัตรปฏิบัติที่บัญญัติสาหรับพระสงฆ์บังคับเรื่องกิริยาในการกินไว้คนไทยจึงมี มารยาทในการกินเสมอมา รู้จักรอคอยจังหวะในการใช้ช้อนกลางตักแกงเข้าปากเลยไม่ได้ต้องถ่ายใส่ ช้อนเฉพาะตนเสียก่อนจึงกินได้ นอกจากนี้ควรยั้งมือในการตักอาหารจานที่มีคนชอบมากโดยไม่ตักแบ่ง มามากเสียคนเดียว ควรมีน้าใจนึกถึงผู้อื่น 
การถือศีรษะและเท้า คนไทยถือว่าศีรษะเป็นของสูงจึงไม่ชอบให้ใครมาเล่นศีรษะ ขณะเดียวกันก็ถือว่าเท้าเป็นของต่า ใครยกเท้าให้หรือใช้เท้าชี้สิ่งใดให้ใครดูถือว่าผู้นั้นมีมารยาททราม ตรงข้ามกับฝรั่งที่ใช้เท้าปิดประตูหรือใช้เท้าชี้สิ่งของได้เพราะฝรั่งคงคิดว่า เท้าเป็นอวัยวะอย่างหนึ่งของ ร่างกายจึงควรใช้งานให้เต็มที่เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ อนึ่งฝรั่งนิยมสวมรองเท้าตลอดเวลาและทุก สถานที่แม้ในบ้าน แต่คนไทยไม่นิยมเช่นนั้น โดยเฉพาะในอาคารสถานที่เช่นที่บ้าน หรือที่วัดก็ตาม คน ไทยจะมาสวมรองเท้าเข้าบ้านหรือเข้าโบสถ์เป็นอันขาดเพื่อแสดงความเคารพต่อบุคคลหรือสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการไม่เคารพทาให้พระสงฆ์ต้องไปปลงอาบัติ เพราะรับบาติจากผู้สวมรองเท้า ดังนั้นเข้าวัดจึงต้องถอดรองเท้า 
การแต่งกาย ควรให้เหมาะสมแก่โอกาสโดยคานึงถึงความสุภาพเรียบร้อย ซึ่งหมายรวมหมด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า การแต่งกายของหญิงและชายสิ่งที่มีความสาคัญกว่าเสื้อผ้า คือ ความสะอาดหมดจด ของร่างกายอันเป็นพื้นฐานรองรับเสื้อผ้าที่จาเป็นยิ่งต้องแสดงให้เห็นว่าร่างกายได้รับการดูแลเป็นอย่างดี หนวดต้องโกนเรียบร้อย ผมต้องหวีให้เข้าที่ เล็บ และฟันต้องสะอาด ซึ่งแสดงว่าเจ้าของร่างกายนับถือ ตนเอง นั่นนาไปสู่ความนับถือจากผู้อื่นต่อไป ผู้ที่รู้จักแต่งตัวให้เกียรติแก่บุคคลและสถานที่ได้ชื่อว่าเป็น ผู้นับถือตนเอง เมื่อรู้สึกว่าตนแต่งกายถูกต้องเหมาะสมแก่รูปลักษณ์กาลเทศะตลอดจนกิจกรรมของงาน ย่อมสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นเสริมให้บุคลิกภาพดีเป็นที่นิยม ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้มีมารยาทในการแต่ง กาย ไม่ควรแต่งตัวตามสบาย โดยมาสวมชั้นใน หรือนุ่งกางเกงขาสันมากออกนอกบ้าน 
การทักทาย แต่ก่อนการทักทายของคนไทยมักถามถึงเรื่องส่วนตัวเป็นต้นว่า “ไปไหนมา” หรือ “กินข้าวแล้วหรือยัง” โดยไม่ได้มุ่งหมายที่จะได้รับคาตอบอย่างจริงจังผู้ตอบก็ตอบไปตามเรื่องตามราว ไม่เป็นจริงตามนั้น เช่น “ไปเดินเล่น” หรือ “กินแล้ว” เป็นต้น ในปัจจุบันคนไทยมีคาทักทายที่ แสดงออกด้วยกิริยาและวาจานับเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่ทั่วโลกรู้จักดี เช่น คาว่า “สวัสดี” 
การอวยพร เป็นการกล่าวแสดงความยินดีตามธรรมเนียม ตามวัฒนธรรมไทยไม่นิยมให้ผู้น้อย อวยพรผู้ใหญ่ เพราะถือว่าสิ่งดี หรือสิ่งประเสริฐทั้งปวง พรนั้น ผู้ใหญ่ย่อมมีมากกว่าผู้น้อยอยู่แล้ว ผู้ใหญ่ อวยพรผู้น้อยได้ แต่ผู้น้อยอวยพรผู้ใหญ่ไม่ได้ต้องอัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย หรือสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่เคารพ นับถือมาอวยพรผู้ใหญ่แทนตน ถ้อยคาที่เป็นพรขึ้นอยู่กับโอกาสของงานและความสามารถในการ เลือกสรรถ้อยคาที่ไพเราะเหมาะสมของผู้นั้นเป็นสาคัญ
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 9 
ศิลปะไทย (Thai Arts) หมายถึง สิ่งที่คนไทยคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาจากการประดิษฐ์การตกแต่ง เพื่อเกิดความสวยงามและมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แบ่งออกเป็น ๒ สาขา ดังนี้ 
วิจิตรศิลป์ (fine Art) วิจิตรศิลป์ หรือประณีตศิลป์เป็นผลงานของศิลปินที่เกิดจากแรงบันดาล ทางด้านอารมณ์และจิตใจ แบ่งเป็น ๕ แขนงใหญ่ๆ คือ 
(๑) จิตรกรรมไทย (Thai Painting) หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทยที่ แตกต่างจากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน การเขียนภาพลวดลายประดับฝาผนังที่วัดราชบูรณะ อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดไผ่ขอน้า อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก และการวาดภาพเหมือน “ภาพยุทธหัตถี” เป็นต้น 
(๒) ประติมากรรมไทย (Thai Sculpture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี คือ งานปั้นและงานแกะสลัก หรือแกะสลัก แล้วทาหุ่นโดยฝีมือช่างชาวไทยนับว่าเป็นศิลปกรรมชั้นสูง เพื่อใช้ หล่อรูปคน รูปพระพุทธรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ ได้แก่ ภาพแกะสลักบานประตูพระอุโบสถวัดพระศรีรัต นมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก พระพุทธชินราช พระพุทธรูปปางต่างๆ ภาพแกะสลักนูน “ยุทธหัตถี” พระรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระรูปพระสุพรรณกัลยา เป็นต้น 
(๓) สถาปัตยกรรมไทย (Thai Architecture) หมายถึง ศิลปะการก่อสร้างของไทย งานศิลปะ ของศิลปินชาวไทยด้านการก่อสร้างบ้านเรือนทรงไทย สถูป เจดีย์ วิหาร อุโบสถ อนุสาวรีย์ เช่น บ้าน ทรงไทยสมัยล้านนา สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อนุสาวรีย์สมเด็จ พระเอกาทศรถ อนุสาวรีย์สมเด็จพระบรมไตรดโลกนาถ อุโบสถวัดพระศรีรัตนม-หาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เจดีย์ทรงบัวตูมที่วัด เจดีย์ยอดทอง อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น และนอกจากนี้รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ลักษณะ ของงานสถาปัตยกรรมไทยจะมีแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยม 
(๔) วรรณกรรมไทย (Thai Literature) หมายถึง ผลการแต่ง หรือการประพันธ์หนังสือประเภท โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร้อยแก้ว และร้อยกรอง ได้แก่ โคลงโลกนิติ ตานาน นิทาน เอกสารตารา เป็น ต้น 
(๕) นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ (Thai Music and Dramatic) นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการแสดงประกอบดนตรี เช่น การร่ายรา ระบา โขน ละคร ละครรา ราไทย ลิเก และการแสดง ต่างๆ นาฏศิลป์ไทยมีท่าราและการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทยไม่เหมือนชาติใดๆ ในโลก เช่น โขน ระบา ๔ ภาค ละครในเรื่องอิเหนา ราวงมาตรฐาน รากิ่งไม้เงินทอง เป็นต้น 
ส่วนดุริยางคศิลป์ หรือดนตรี หรือคีตกรรม หมายถึง เครื่องดนตรีและการเล่นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ชวา ปี่มอญ แคน ขลุ่ย และเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี ได้แก่ จะเข้ ซอ กลอง ฉิ่ง ฉาบ ตะโพน รามะนา เป็นต้น
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 10 
ศิลปะประยุกต์ (Applied Art) หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อมุ่งประโยชน์ใช้สอย เป็นสาคัญ โดยการใช้หลักการทางสุนทรียภาพ ประกอบด้วย มัณฑนศิลป์ (Decorative Art) อุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Art) พาณิชยศิลป์ (commercial Art) หัตถศิลป์ (Crafts) และการออกแบบ ต่างๆ (Design) เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีความหมายรวมไปถึงศิลปะที่ตอบสนองความต้องการทาง ร่างกายและจิตใจโดยวัดคุณค่าได้จากประโยชน์การใช้สอย เช่น เงิน บ้านเรือน อาคารเรียน อาคาร ร้านค้า ฯลฯ ศิลปะประยุกต์แบ่งออกเป็น ๔ แขนง คือ อุตสาหกรรมศิลป์ มัณฑนศิลป์ ศิลปะการโฆษณา และพาณิชยศิลป์ 
นอกจากงานด้านศิลปะดังกล่าวแล้วลักษณะทั่วไปของศิลปะไทย ยังแบ่งออกเป็นงานประเภท ต่างๆ ได้อีกหลายประเภท เช่น ประเภทงานประณีตศิลป์ ได้แก่ การลงรักปิดทอง งานประดับกระจก งานประดับมุก ฯลฯ ประเภทงานศิลปะพื้นบ้าน ได้แก่ งานจักสาน ทอ แกะสลัก งานเครื่องเขิน งาน เครื่องถม และงานประเภทหัตถกรรมต่างๆ ได้แก่ การตัดเย็บ และการทาตุ๊กตาไทย ฯลฯ 
๓. ค่านิยม (Values) ของสังคมไทย 
คาว่า ค่านิยม ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้มากมาย เช่น 
สุพัตรา สุภาพ (๒๕๔๓) กล่าวว่า ค่านิยม หมายถึงสิ่งที่คนสนใจ สิ่งที่คนปรารถนาจะได้ ปรารถนาจะเป็น หรือกลับกลายมาเป็นสิ่งที่คนถือว่าเป็นสิ่งบังคับต้องทาต้องปฏิบัติเป็นสิ่งที่คนบูชา ยก ย่องและมีความสุขที่จะได้เห็น ได้ฟัง ได้เป็นเจ้าของพจนานุกรม ฉบับราชยณฑิตยสถาน (๒๕๔๖) อธิบายว่า ค่านิยม คือ วิสัยความสามารถของสิ่งใดก็ตามที่เชื่อว่าตอบสนองความปรารถนาของมนุษย์ได้ หรือสิ่งที่บุคคลยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจและกาหนดการกระทาของตนเอง 
พัทยา สายหู (๒๕๔๔) กล่าวว่า ค่านิยม คือ ความรู้สึกหรือความเชื่อของแต่ละบุคคลที่เชื่อในสิ่ง ใดสิ่งหนึ่ง ว่าเป็นสิ่งน่าชื่นชมและน่ากระทา ปกติบุคคลแต่ละคนจะมีค่านิยมของตนเองต่อสิ่งหนึ่ง หรือ การกระทาต่างๆ ที่เคยมีอยู่ หรืออยากได้ อยากกระทาถ้ามีโอกาสทาได้ 
ศรีนวล พูลเลิศ (๒๕๕๐) กล่าวว่า ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่สังคมถือว่ามีค่าพึงปรารถนาต้องการ ให้เป็นเป้าหมายของสังคมและปลูกฝังให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นเป้าหมายในการกาเนินชีวิตควร หลีกเลี่ยง เช่น ความยากจน สิ่งมีคุณค่า น่าปรารถนา หรือนาความสุขมาให้มีทั้งเป็นวัตถุและไม่เป็น วัตถุ 
จากความหมายของ คาว่า ค่านิยม (Values) ข้างต้น สรุปได้ว่า ค่านิยมของสังคมไทยคือ สิ่งที่ คนไทยในสังคมหนึ่งยกย่องว่าดีปรารถนาจะได้เป็นและมีความสุขที่ได้ปฏิบัติ แต่ต้องเข้าใจว่าค่านิยมอง บุคคลในสังคมหนึ่งถือว่าดีว่าถูกต้องและเป็นสิ่งที่ควรกระทา แต่ค่านิยมดังกล่าวนี้อีกสังคมหนึ่งอาจถือ ว่าไม่ดี ไม่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทาและไม่ควรปฏิบัติในทานองเดียวกัน “ค่านิยม” ในสังคมไทย ที่ว่าดี ว่าถูกต้อง อาจเปลี่ยนแปลงไปจากค่านิยมเดิมได้ หรือตัวอย่างค่านิยมในสังคมหนึ่งแตกต่างกับ อีกสังคมหนึ่ง เช่น ค่านิยมเรื่องการแต่งกายของสังคมในประเทศฝรั่งเศสนิยมแต่งหายหรูหราสวยงาม
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 11 
และมีคุณภาพ แต่ค่านิยมเรื่องการแต่งกายของสังคมในสหรัฐอเมริกา นิยมแต่งกายสะดวกสบายและเน้น ความสะอาดเท่านั้น 
๓.๑ กลุ่มของผู้ใช้ค่านิยม กลุ่มของผู้ใช้ค่านิยมสามารถจาแนกออกได้ ๓ กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ 
๓.๑.๑ ค่านิยมเฉพาะบุคคล (Personal value) หมายถึง ความนิยมชื่นชอบสิ่งใดสิ่ง หนึ่งเฉพาะตัวเอง เช่น ค่านิยมเรื่องการพูดจาไพเราะ ความซื่อสัตย์ การประหยัด ค่านิยมในการซื้อของ เป็นต้น 
๓.๑.๒ ค่านิยมเฉพาะกลุ่ม (Group value) สิ่งที่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดยึดถือปฏิบัติ เช่น ค่านิยมในการแต่งกายของกลุ่มอาชีพครู พยาบาล ธนาคาร นักธุรกิจ ซึ่งบุคคลที่อยู่ในกลุ่มอาชีพ ดังกล่าว จะมีค่านิยมในการแต่งกายที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งสามารถศึกษาค่านิยมเรื่องการแต่งกายได้จาก กลุ่มผู้หญิง 
๓.๑.๓ ค่านิยมร่วมของสังคม (Group value) เช่น การประพฤติปฏิบัติตัวของบุคคล ในสังคมด้านการเมืองของไทย นักการเมืองของไทยจะมีค่านิยมเรื่อง อานาจ ชื่อเสียง และอิทธิพล ค่านิยมของบุคคลด้านศาสนา กรณีวัดธรรมกาย เป็นต้น 
๓.๑.๔ ค่านิยมของสังคมไทยในอดีต ค่านิยมของสังคมไทยในอดีต หมายถึง ค่านิยม ของสังคมไทยที่ยึดถือและปฏิบัติสืบทอดมาเป็นเวลาช้านานก่อนรับอิทธิพลจากนานาชาติ หรือเป็น ค่านิยมดั้งเดิมที่คนไทยได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ เช่น 
การรักอิสระ ค่านิยมในการรักอิสระของคนไทยเป็นกลุ่มบุคคลที่อยู่ในสังคมที่มีโครงสร้างแบบ หลวมๆ คนไทยจึงไม่ชอบกฎเกณฑ์ ข้อผูกพัน ข้อบังคับ คนไทยมักเลือกทาตามความต้องการของ ตนเองมากกว่าทาตามความคาดหวังและพันธะผูกพันทางสังคม ด้วยเหตุนี้ทาให้ชาติไทยไม่ตกอยู่ ภายใต้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ 
การยกย่องให้ผู้ชายเป็นผู้นา สังคมไทยนิยมให้ผู้ชายเป็นใหญ่ ตัวอย่างเช่นพระมหากษัตริย์ ไทยต้องเป็นชาย ผู้นาหมู่บ้านของสังคมไทยในอดีตล้วนเป็นชาย เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอาเภอ ปลัดอาเภอ กานัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรประจาหมู่บ้านล้วนเป็นผู้ชาย ผู้หญิงไทยในอดีตจะได้รับการ อบรมสั่งสอนให้เคารพ เชื่อฟังและซื่อสัตย์ต่อสามีต้องยกย่องรับใช้สามีและเคารพ เช่น ก่อนนอนต้อง กราบสามี เป็นต้น 
การประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม คนในสังคมไทยเคารพพุทธศาสนา ทาให้พุทธศาสนามี อิทธิพลต่อการกาหนดค่านิยมของคนไทย เช่น เชื่อเรื่องบุญและบาป ทาดีได้ดีทาชั่วได้ชั่ว การทาความ ดีไว้ในชาตินี้จะส่งผลบุญให้ได้มีความสุขในบั้นปลายชีวิตและในชาติหน้า จากความเชื่อดังกล่าว คนไทย จึงประพฤติปฏิบัติตนตามคาสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้จักทาบุญทาทานเพื่อสร้างสม “บุญ” และคนไทยในสังคมชนบท พระพุทธศาสนาจะเป็นตัวกาหนดกฎเกณฑ์ทางสังคมได้มากกว่าคนไทยใน สังคมเมือง 
การยกย่องผู้มีความรู้ คนไทยที่มีความรู้จะได้รับการยกย่องจากบุคคลในสังคมเจ้าขุนมูลนาย และพระมหากษัตริย์จะทรงชุบเลี้ยงให้เป็นใหญ่เป็นโตในหน้าที่ราชการ ตัวอย่างเช่น วรรณกรรมไทย เรื่อง อภัยมณีของสุนทรภู่ ได้กล่าวว่า “รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 12 
ความกตัญญูกตเวที คนไทยจะได้รับการสั่งสอนให้รู้จักบุญคุณคน ต้องเคารพและตอบแทนผู้มี พระคุณ เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ พี่ ป้า น้า อา และผู้ที่เคยให้ความอุปถัมภ์เข้าทานองสุภาษิตที่ว่า “ต้องรู้จักข้าวแดงแกงร้อน” หรือ “อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น” หรือ การแสดงความกตัญญู โดยการรดน้าอวยพรผู้ที่ตนเคารพนับถือ ในวันขึ้นปีใหม่ของไทย คือ วัน สงกรานต์ 
ความเชื่อ หมายถึง ความคิด ความเข้าใจและการยอมรับนับถือ เชื่อมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่ ต้องมีเหตุผลใดมาสนับสนุน หรือพิสูจน์ ทั้งนี้บางอย่างอาจมีหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ หรือ อาจจะไม่มีหลักฐานที่จะนามาใช้พิสูจน์ให้เห็นจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นก็ได้ คนไทยในอดีตมีค่านิยมความเชื่อ หลายด้าน เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางและฤกษ์ยาม ความเชื่อเกี่ยวกับความฝันและคาทานาย ความ เชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทาและสิ่งที่ไม่ควรทา ได้แก่ 
- ความเชื่อทางไสยศาสตร์ เช่น การสักยันต์ตามร่างกาย ผู้ชายไทยนิยมสักยันต์ตามตัว แขน ขา เพราะเชื่อว่า สักแล้วจะเหนียวยิงไม่เข้า คาถาอาคม เสน่ห์ยาแฝด พระเครื่อง เครื่องรางและของขลัง 
- ความเชื่อทางโหราศาสตร์ เช่น การดูฤกษ์ยามในงานพิธีมงคลสมรส การสึกพระภิกษุ การตั้ง เสาเอกในการปลูกบ้าน ความฝัน นอกจากนี้ยังมีการดูหมอดู หรือการดูดวงดาว เป็นหลักสาคัญทาง โหราศาสตร์ สามารถทานายดวงชะตาของบุคคลต่างๆ โดยอาศัยดวงดาว เป็นต้น 
- ความเชื่อทางศาสนา เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับกรรม บุพกรรม บุพเพสันนิวาส นอกจากนี้ ค่านิยมเดียวกับศาสนา ศาสนาของชาวพุทธเชื่อว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของตัวเองเชื่อว่าคนทาดีจะได้ดี ทาชั่วจะได้พบแต่สิ่งไม่ดี 
- ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางและฤกษ์ยาม เช่น เชื่อในเรื่องของการไม่ตัดผมในวันพุธ การไม่เดิน ทางไกลถ้าจิ้งจกทัก หรือการหาฤกษ์ยามสาหรับการทางานมงคลต่างๆ 
- ความเชื่อเกี่ยวกับความฝันและคาทานายฝัน เช่น เชื่อว่าถ้าฝันเห็นงู จะได้เนื้อคู่ ถ้าฝันว่าฟัน หัก ญาติผู้ใหญ่จะเสียชีวิต ฝันเห็นคนตาย จะเป็นการต่ออายุ 
- ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ เช่น การแห่นางแมวขอฝน การทาบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบุญ ต่างๆ 
- ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทาและสิ่งที่ไม่ควรทา เช่น ห้ามนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก เอา ไม้กวาดตีกันชีวิตจะไม่เจริญ กินข้าวเกลี้ยงจานจะได้แฟนสวย หรือหล่อ ห้ามปลูกต้นลั่นทม ระกา ไว้ใน บ้าน ให้ปลูกต้นมะยม มีคนนิยมชมชอบ ปลูกขนุนจะทาให้มีคนสนับสนุนค้าจุน 
การพึ่งพาอาศัยกัน ค่านิยมของคนไทยชอบช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน ทานองช่วยกันกิน ช่วยกันทา ตัวอย่างเช่น การทาบุญในหมู่บ้านชนบทไทย เจ้าภาพจะไม่ต้องจ้างแม่ครัวมาทากับข้าว เพื่อนบ้านจะมาช่วยกันทาครัว ช่วยจัดงานพิธี นอกจากนั้นในชนบทยังนิยมช่วยเหลือกิจการต่างๆ ได้แก่ การทานา ไถนา หว่านข้าว เกี่ยวข้าว ชาวนาก็จะมาช่วยกันทางานต่างๆ แบบที่เรียกว่า ลงแขก หรือถ้าครอบครัวใดปลูกผักก็จะนาผักมาแจกจ่ายเพื่อนบ้าน และเพื่อนบ้านก็จะให้สิ่งที่เพื่อนบ้านขาด แคลนเป็นการตอบแทน
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 13 
นิยมเครื่องประดับ สังคมไทยนิยมใช้เครื่องประดับประเภททองคา เมื่อมีเงินนิยมนาไปซื้อ สร้อยทองคา เข็มขัดทอง หรือเข็มขัดนาค แหวน เมื่อมีงานในชุมชนจะนิยมใส่เครื่องประดับเหมือนตู้ ทองเคลื่อนที่ เพราะเครื่องประดับจะเป็นเครื่องแสดงฐานะของบุคคลว่ามีฐานะดี หรือร่ารวย 
นิยมการทาบุญเกินฐานะ คนไทยในชนบทนิยมจัดงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีแต่งงานพิธีบวช โดยจัดเป็นพิธีใหญ่โต มีการแสดงลิเก ลาตัด ราวง ดนตรี การจัดงานใหญ่โตจะแสดงว่าผู้จัดเป็นบุคคลที่ มีฐานะดี ร่ารวย บางครั้งไม่มีเงินก็ยังจัดงานใหญ่โตโดยไปกู้หนี้ยืมสินบุคคลอื่นมาจัดงาน 
นิยมปลูกบ้านที่มีขนาดกว้างขวางใหญ่โต คนไทยในชนบทไทยนิยมปลูกบ้านที่มีขนาดใหญ่ มาก บางบ้านสร้างบ้านขนาดใหญ่เท่าศาลาการเปรียญ เพราะค่านิยมของคนไทยเชื่อว่า การปลูกบ้าน ขนาดใหญ่โตหรูหรา แสดงว่าครอบครัวนั้นมีฐานะดีมาก 
นิยมบนบานศาลกล่าว สังคมไทยเชื่อว่า พระเจ้า เทพเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพบูชาจะ สามารถช่วยเหลือ หรือบันดาลให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดสมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนา ดังนั้นเมื่อคนไทย ต้องการถูกหวย ต้องการมีงานทาตามที่ตนปรารถนา คนไทยก็จะทาพิธีบนบานศาลกล่าวให้ตนทางาน สาเร็จ และเผอิญงานสาเร็จ และเผอิญงานสาเร็จจะเป็นด้วยความสามารถของตนเองหรือไม่ก็ตาม ผู้บน บานศาลกล่าวจะต้องทาพิธีแก้บนตามที่ตนบนบานไว้ เช่น แก้บนด้วยทอง ๑๐๐ แผ่น ตุ๊กตาเซรามิค ๙๙ ตัว เป็นต้น 
๓.๒ ค่านิยมของสังคมไทยปัจจุบัน ค่านิยมของสังคมไทยในปัจจุบัน หมายถึง ค่านิยมของ สังคมไทยที่เกิดจากการได้รับอิทธิพลของนานาชาติ และนามาพัฒนาค่านิยมของคนไทยให้เปลี่ยนแปลง ไป ไม่เหมือนกับค่านิยมดั้งเดิมในสังคมไทย ได้แก่ 
๓.๒.๑ การให้ความสาคัญกับระบบเงินตรา เดิมค่านิยมในชนบทนิยมพึ่งพาอาศัยซึ่ง กันและกัน ปัจจุบันสังคมไทยในเมืองนิยมว่าจ้างแรงงานในการทากิจกรรมต่างๆ เช่น จ้างแม่ครัวมา ทาอาหารเวลาจัดงาน จ้างช่างดอกไม้มาจัดดอกไม้แทนการช่วยเหลือกัน จัดจ้างแม่บ้านดูแลกิจการงาน ภายในบ้าน และค่านิยมดังกล่าวได้แผ่ขยายเข้าไปในชนบทไทยด้วย ดังจะเห็นว่าปัจจุบัน การทานา ไถ นา หว่านข้าว และเกี่ยวข้าว ไม่มีการลงแขก แต่ใช้วิธีว่าจ้างแรงงานทั้งสิ้น นอกจากนั้นในสังคมไทย ปัจจุบันหันมานิยมยกย่องคนที่มีฐานะดี มีเศรษฐกิจดี ดังนั้นคนมีเงินจึงเป็นมาตรฐานชี้วัดฐานะของคน ไทยในสังคมไทยด้วย 
๓.๒.๒ การให้ความสาคัญกับระบบการศึกษาแบบตะวันตก เดิมค่านิยมของคน ไทยเป็นการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ครอบครัวไทยจะเน้นการพึ่งพาอาศัยตนเอง คือ ทาแบบ พอมีพอกิน เมื่อระบบการศึกษาแบบตะวันตกเข้ามา ทาให้คนไทยเลิกให้ค่านิยมดั้งเดิม รับแนวคิด การศึกษาแบบตะวันตกเข้ามาพัฒนาการศึกษาในประเทศ เช่น กรณีการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติไทย ระบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่นามาใช้กับประเทศไทยอาจดีสาหรับอีกประเทศหนึ่ง คือ การเปิดเครดิต การเปิดเสรีทางเงิน ทาให้คนไทยต้องไปกู้ยืมเงินชาวต่างชาติเข้ามาพัฒนาธุรกิจระบบธนาคารของไทย แต่คนไทยได้ใช้การกู้ยืมเงินมาจากธนาคาร และไม่ได้ทาให้งอกเงย เงินส่วนใหญ่นาไปพัฒนาด้านความ เป็นอยู่ในชีวิตประจาวันคนไทยทุกคนจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวมาสามารถส่งดอกผลให้ธนาคารได้ ทาให้
รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 14 
ธนาคารล้มละลายทาให้เศรษฐกิจไทยทรุดอย่างหนัก ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา ปัจจุบันสังคมไทย จึงมีการเรียกร้องให้หันมาใช้ค่านิยมแบบเดิมของไทย โดยการปฏิบัติตามโครงการในพระราชดาริ “เศรษฐกิจพอเพียง” 
๓.๒.๓ การนิยมวัฒนธรรมตะวันตก ค่านิยมของสังคมไทยในการสร้างบ้านเรือน เดิม คนไทยนิยมบ้านทรงไทยตามความนิยมของคนไทยในแต่ละภาค ปัจจุบันคนไทยหันกลับไปนิยมการ สร้างบ้านแบบยุโรป การสร้างสถานที่หน่วยงานของไทยแบบยุโรป อาคาร ร้านค้า ย่านธุรกิจแบบยุโรป ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งเป็นกล่องขนาดสูงใหญ่ แม้มีการรณรงค์ให้อนุรักษ์วัฒนธรรมสร้างอาคารแบบทรง ไทย เช่น การสร้างอาคารแบบล้านนาที่จังหวัดเชียงใหม่ต้องมีสัญลักษณ์ “กาแล” ติดบนหลังคา เราจะ เห็นว่า อาคารที่สร้างบริเวณจังหวัดเชียงใหม่จะมีลักษณะอาคารตามแบบยุโรปแต่ติด “กาแล” หลักฐานนี้ ทาให้วัฒนธรรมการสร้างอาคารแบบทรงไทยล้านนาเสียไป ปัญหาต่อไป คือ ค่านิยมเรื่อง การทาความ เคารพของคนไทย ปัจจุบันนิยมจับมือหรือโค้งคานับแบบฝรั่ง ทาให้วัฒนธรรมแบบไทยๆ เช่น การไหว้ หายไปจากสังคมไทย เป็นต้น 
๓.๒.๔ การยกย่องผู้มีตาแหน่ง ค่านิยมของคนไทยในเรื่องการยกย่องผู้มีตาแหน่ง เช่น ผู้แทนราษฎรเมื่อได้รับตาแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ฐานะในสังคมจะเปลี่ยนไป พร้อมกับ การเปลี่ยนแปลงฐานะของภริยาและลูกๆ ก็เปลี่ยนด้วย เช่น ได้รับการยกย่องสรรเสริญ การให้ความ เคารพ ให้ความเกรงใจและให้เกียรติเป็นประธานในงานพิธี เป็นต้น 
๓.๒.๕ ชอบจัดงานพิธีที่หรูหราฟุ่มเฟือย ค่านิยมของสังคมไทยปัจจุบันนิยมจัดงาน พิธีแบบหรูหรา เช่น งานเลื่อนยศ งานขึ้นบ้านใหม่ งานเลี้ยงส่งและรับผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ฯลฯ การจัดงานแต่ละครั้งนิยมเลี้ยงหรูหราในภัตตาคารหรือโรงแรมขนาดใหญ่ ทุกคนเข้าไปในงาน จะต้องแต่งกายเลิศหรู เสื้อผ้าที่สวมใส่ต้องเป็นเสื้อมียี่ห้อจากต่างประเทศ หรือสั่งตัดจากร้านที่มีชื่อเสียง การจัดงานพิธีดังกล่าวทาขึ้นเพื่อหน้าตาชื่อเสียงและเกียรติยศของเจ้าภาพ 
๓.๒.๖ การนิยมวัตถุ ค่านิยมของสังคมในเมืองนิยมสวมใส่เครื่องประดับเพชรเม็ดโตๆ การใช้รถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ราคาแพง นิยมการปลูกบ้านที่มีรูปทรงแปลกๆ และมีขนาดใหญ่มากหรือ นิยมสร้างบ้านทรงไทยเป็นเรื่องหมู่ที่มีขนาดใหญ่เกินความจาเป็น หรือนิยมสร้างบ้านเรือนแบบยุโรป ค่านิยมดังกล่าว คนไทยเชื่อว่า บุคคลใดใช้สิ่งของที่ดี มีขนาดใหญ่โต สวยงาม บุคคลนั้นจะเป็นผู้มีฐานะ ดีและเป็นบุคคลที่มีอยู่ในสังคมชั้นสูง 
๓.๒.๗ การขาดระเบียบวินัย ค่านิยมของคนไทยในปัจจุบัน ทุกคนมีค่าใช้จ่ายในการ ครองชีพมาก ทาให้พ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูก ทาให้บุตรธิดาซึ่งเป็นเยาวชนของชาติขาดการอบรม เป็นผู้ไม่มีระเบียบวินัย ทุกคนไปไหนๆ ด้วยความรีบจนบางครั้งต้องขับรถยนต์แซงซ้ายแซงขวา หรือไม่ ขับรถตามกฎจราจรทาให้การจราจรติดขัด นอกจากนี้เราจะเห็นว่าคนไทยขาดระเบียบวินัยในการเดิน เข้าไปทาพิธีรดน้าศพ การทาพิธีบรรจุศพทุกคนไม่นิยมเข้าแถว แต่นิยมเบียดเสียดกันเข้าไปทาพิธี “เหมือนควายแย่งกันออกจากคอก” ทาให้ไม่เหมาะกับบรรยากาศงานพิธี
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย
สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1
สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1
สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1วีระยศ เพชรภักดี
 
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวMint NutniCha
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อKruthai Kidsdee
 
เศรษฐศาสตร์ ม.3
เศรษฐศาสตร์ ม.3เศรษฐศาสตร์ ม.3
เศรษฐศาสตร์ ม.3พัน พัน
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศdnavaroj
 
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจPannatut Pakphichai
 
เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์Pannaray Kaewmarueang
 
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011Namthip Theangtrong
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยchatsawat265
 
บันทึกข้อความขออนุญาตจัดทำสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารสภานักเรียน
บันทึกข้อความขออนุญาตจัดทำสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารสภานักเรียนบันทึกข้อความขออนุญาตจัดทำสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารสภานักเรียน
บันทึกข้อความขออนุญาตจัดทำสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารสภานักเรียนสภานักเรียน ส.ป. samutprakanstudentcouncil
 
ใบความรู้ ขั้นตอนการทำโครงงาน
ใบความรู้ ขั้นตอนการทำโครงงานใบความรู้ ขั้นตอนการทำโครงงาน
ใบความรู้ ขั้นตอนการทำโครงงานsarawut saoklieo
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3 วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3 sudchaleom
 
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์พัน พัน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำMine Pantip
 
ศาสนายิว
ศาสนายิวศาสนายิว
ศาสนายิวPadvee Academy
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามพัน พัน
 
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวSomyot Ongkhluap
 
ศิลปะไทย
ศิลปะไทยศิลปะไทย
ศิลปะไทยTonkao Limsila
 

Was ist angesagt? (20)

สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1
สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1
สรุปเนื้อหา เศรษฐศาสตร์ ม.3 ชุดที่ 1
 
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว7 1  แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
7 1 แนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
 
ใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือใบงาน อเมริกาเหนือ
ใบงาน อเมริกาเหนือ
 
เศรษฐศาสตร์ ม.3
เศรษฐศาสตร์ ม.3เศรษฐศาสตร์ ม.3
เศรษฐศาสตร์ ม.3
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
 
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
 
เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์
 
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
 
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
 
บันทึกข้อความขออนุญาตจัดทำสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารสภานักเรียน
บันทึกข้อความขออนุญาตจัดทำสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารสภานักเรียนบันทึกข้อความขออนุญาตจัดทำสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารสภานักเรียน
บันทึกข้อความขออนุญาตจัดทำสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารสภานักเรียน
 
ใบความรู้ ขั้นตอนการทำโครงงาน
ใบความรู้ ขั้นตอนการทำโครงงานใบความรู้ ขั้นตอนการทำโครงงาน
ใบความรู้ ขั้นตอนการทำโครงงาน
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3 วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3
 
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
 
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
 
ศาสนายิว
ศาสนายิวศาสนายิว
ศาสนายิว
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว
การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว
 
ศิลปะไทย
ศิลปะไทยศิลปะไทย
ศิลปะไทย
 

Andere mochten auch

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยAj.Mallika Phongphaew
 
เรื่องที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการค้าปลีก
เรื่องที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการค้าปลีกเรื่องที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการค้าปลีก
เรื่องที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการค้าปลีกsupatra39
 
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวMint NutniCha
 
ทฤษฎีการออกแบบ
ทฤษฎีการออกแบบทฤษฎีการออกแบบ
ทฤษฎีการออกแบบDiiDy Moowhan Lesikagirl
 
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทยการอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทยกฤตพร สุดสงวน
 
1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.chickyshare
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมbilly ratchadamri
 
สังคมไทย
สังคมไทยสังคมไทย
สังคมไทยsiriwan
 
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษาวิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษาธนกร ทองแก้ว
 
สมการของเส้นตรง
สมการของเส้นตรงสมการของเส้นตรง
สมการของเส้นตรงY'Yuyee Raksaya
 
Newsletter pidthong vol.3
Newsletter pidthong vol.3Newsletter pidthong vol.3
Newsletter pidthong vol.3tongsuchart
 
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาบริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาjuriporn chuchanakij
 
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคchickyshare
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยวchickyshare
 
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยchickyshare
 
การจัดองค์การและการบริหาร
การจัดองค์การและการบริหารการจัดองค์การและการบริหาร
การจัดองค์การและการบริหารJuneSwns
 

Andere mochten auch (20)

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
 
เรื่องที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการค้าปลีก
เรื่องที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการค้าปลีกเรื่องที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการค้าปลีก
เรื่องที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารการค้าปลีก
 
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว
 
ทฤษฎีการออกแบบ
ทฤษฎีการออกแบบทฤษฎีการออกแบบ
ทฤษฎีการออกแบบ
 
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทยการอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมไทย
 
1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.
 
T guide 7
T    guide 7T    guide 7
T guide 7
 
T guide5
T guide5T guide5
T guide5
 
T guide1
T guide1T guide1
T guide1
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
 
History 1
History 1History 1
History 1
 
สังคมไทย
สังคมไทยสังคมไทย
สังคมไทย
 
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษาวิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
วิเคราะห์การเมืองกับการศึกษา
 
สมการของเส้นตรง
สมการของเส้นตรงสมการของเส้นตรง
สมการของเส้นตรง
 
Newsletter pidthong vol.3
Newsletter pidthong vol.3Newsletter pidthong vol.3
Newsletter pidthong vol.3
 
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาบริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
 
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
 
2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว2.ตลาดท่องเที่ยว
2.ตลาดท่องเที่ยว
 
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
 
การจัดองค์การและการบริหาร
การจัดองค์การและการบริหารการจัดองค์การและการบริหาร
การจัดองค์การและการบริหาร
 

Ähnlich wie สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย

บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1Ziro Anu
 
โลกแปดด้าน
โลกแปดด้านโลกแปดด้าน
โลกแปดด้านpreeyavadeeplam
 
Chapter 2 thai culture and traditions
Chapter 2 thai culture and traditionsChapter 2 thai culture and traditions
Chapter 2 thai culture and traditionsTeetut Tresirichod
 
หลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคมหลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคมkorakate
 
Pastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templatePastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templateMai Lovelove
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมBoonlert Aroonpiboon
 
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออกอิทธิพลอารยธรรมตะวันออก
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก6091429
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗Boonlert Aroonpiboon
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานีTaraya Srivilas
 
อารยธรรมกรีกโบราณ(TH)
อารยธรรมกรีกโบราณ(TH)อารยธรรมกรีกโบราณ(TH)
อารยธรรมกรีกโบราณ(TH)Horania Vengran
 
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมTaraya Srivilas
 

Ähnlich wie สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย (17)

บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
โลกแปดด้าน
โลกแปดด้านโลกแปดด้าน
โลกแปดด้าน
 
9789740328667
97897403286679789740328667
9789740328667
 
Chapter 2 thai culture and traditions
Chapter 2 thai culture and traditionsChapter 2 thai culture and traditions
Chapter 2 thai culture and traditions
 
หลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคมหลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคม
 
เบญจศีล
เบญจศีลเบญจศีล
เบญจศีล
 
สังคมศึกษา ต้น
สังคมศึกษา ต้นสังคมศึกษา ต้น
สังคมศึกษา ต้น
 
สังคมศึกษา
สังคมศึกษาสังคมศึกษา
สังคมศึกษา
 
อังกฤษ ต้น
อังกฤษ ต้นอังกฤษ ต้น
อังกฤษ ต้น
 
Pastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templatePastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-template
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
 
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออกอิทธิพลอารยธรรมตะวันออก
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออก
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานี
 
G สังคมไทย social3
G สังคมไทย social3G สังคมไทย social3
G สังคมไทย social3
 
อารยธรรมกรีกโบราณ(TH)
อารยธรรมกรีกโบราณ(TH)อารยธรรมกรีกโบราณ(TH)
อารยธรรมกรีกโบราณ(TH)
 
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
 

Mehr von chickyshare

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคchickyshare
 
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยchickyshare
 
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยรายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยchickyshare
 
มคอ.3 historical tourism
มคอ.3  historical tourismมคอ.3  historical tourism
มคอ.3 historical tourismchickyshare
 
มคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guideมคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guidechickyshare
 
T business 3 {student}
T business 3 {student}T business 3 {student}
T business 3 {student}chickyshare
 
T business 2 {student}
T business 2 {student}T business 2 {student}
T business 2 {student}chickyshare
 
มคอ.3 tourism business
มคอ.3  tourism businessมคอ.3  tourism business
มคอ.3 tourism businesschickyshare
 

Mehr von chickyshare (12)

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
 
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
 
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยรายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
รายพระนามพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย
 
T guide 6
T  guide 6T  guide 6
T guide 6
 
Asean market
Asean marketAsean market
Asean market
 
มคอ.3 historical tourism
มคอ.3  historical tourismมคอ.3  historical tourism
มคอ.3 historical tourism
 
T guide2
T  guide2T  guide2
T guide2
 
3.นทท.
3.นทท.3.นทท.
3.นทท.
 
มคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guideมคอ.3 professional guide
มคอ.3 professional guide
 
T business 3 {student}
T business 3 {student}T business 3 {student}
T business 3 {student}
 
T business 2 {student}
T business 2 {student}T business 2 {student}
T business 2 {student}
 
มคอ.3 tourism business
มคอ.3  tourism businessมคอ.3  tourism business
มคอ.3 tourism business
 

สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย

  • 1. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 1 เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) อ.ยุพิน อุ่นแก้ว
  • 2. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 2 สังคม วัฒนธรรม และประเพณีไทย ความนา สังคมไทยมีลักษณะเฉพาะและมีความแตกต่างจากสังคมอื่นๆ อย่างเด่นชัด ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน สังคมไทยจะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานอย่างรวดเร็ว ซึ่งทาให้สังคมไทยมี การเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่สังคมไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงสามารถอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมไทยไว้ได้ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มิมีชาติอื่นใดลอกเลียนแบบได้ ลักษณะของสังคมไทยรวมถึงวัฒนธรรม ประเพณี จารีต วิถีประชา มารยาทไทย ศิลปะไทยและค่านิยมของคนไทย จะแสดงออกถึงความเป็นไทย ได้อย่างเด่นชัด ในบทนี้จะได้ศึกษาถึงลักษณะของสังคม วัฒนธรรม และประเพณีของไทย ที่มี เอกลักษณ์เฉพาะและเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และถ่ายทอดเป็นมรดกสู่อนุชนรุ่นหลังสืบไป ๑. ลักษณะสังคมไทย สังคม คือ บุคคลจานวนหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์ระเบียบแบบแผน และกฎเกณฑ์ที่ช่วยกันวางไว้เป็นตัวเชื่อมโยงประสานบุคคลเหล่านั้นเข้าด้วยกัน “สังคมไทย” จึงหมายถึง บุคคลที่เกิดในประเทศไทย ถือสัญชาติไทย หรือบุคคลที่ย้ายมาอยู่ใน ประเทศไทยอย่างถาวร มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปฏิบัติตนตามวัตถุประสงค์ระเบียบแบบแผนและ กฎเกณฑ์ที่ช่วยกันวางไว้ ลักษณะสังคมไทยโดยทั่วไป ประกอบด้วยสภาพของสังคมเกษตรกรรม ทั้งนี้เพราะประชาชน ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพนี้ ซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หลักให้แก่คนไทยมาตั้งแต่ดั้งเดิม โดย มีลักษณะครอบครัวเป็นประเภทที่เรียกว่า ครอบครัวขยาย อันหมายถึงครอบครัวเดียวที่มีพ่อแม่ลูกอยู่ รวมกับญาติพี่น้องคนอื่นๆ อาจจะอยู่บ้านคนเดียว หรือบริเวณเดียวกันก็ได้ นับเป็นครอบครัวใหญ่ทาให้ เกิดความอบอุ่นมีญาติพี่น้องคอยเลี้ยงดูลูกหลานมีผู้อาวุโสสูงสุดทาหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อ ครอบครัวเหล่านี้อยู่รวมกันหลายครอบครัวย่อมกลายเป็นสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกัน จึงจาเป็นต้องมี การจัดระเบียบทางสังคมให้มีระเบียบแบบแผนเป็นแนวทางปฏิบัติขึ้นอย่างมีบรรทัดฐานที่ เรียกว่า วิถี ประชา กฎศีลธรรม และกฎหมาย ซึ่งสามารถสรุปลักษณะสังคมไทยได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้ ๑. สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ๒. สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความผูกพันในระหว่างเครือญาติอย่างใกล้ชิด ๓. สังคมไทยเป็นสังคมที่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ๔. สังคมไทยเป็นสังคมที่เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ๕. สังคมไทยเป็นสังคมที่ให้ความสาคัญในเรื่องอาวุโส ให้เกียรติยกย่องผู้ใหญ่
  • 3. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 3 วิถีประชา เป็นแบบแผนในการปฏิบัติหน้าที่ที่ทุกคนในสังคมปฏิบัติกันโดยทั่วไปจนเกิดเป็น ความเคยชิน ไม่ต้องมีศีลธรรมและกฎหมายบังคับ ผู้ไม่ปฏิบัติตามก็จะไม่ได้รับโทษแต่จะถูกติฉินนินทา เป็นต้น และนอกจากนี้ยังหมายรวมไปถึงแนวทางปฏิบัติของบุคคลที่ได้มาจากครอบครัวซึ่งเป็นผู้อบรม สั่งสอนมาตั้งแต่วัยเยาว์ ได้แก่ การไหว้ การขอบคุณ หรือการขอโทษ เป็นต้น ผู้ใดทาผิดวิถีประชาไม่ถือ ว่ามีโทษร้ายแรง กฎศีลธรรม เป็นหลักคาสอนที่ได้จากศาสนา มีลักษณะเป็นข้อห้ามมิให้กระทาการบางอย่างที่ สังคมไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะสิ่งชั่วและสิ่งผิด หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับโทษรุนแรง เช่น ห้ามลูกเนรคุณ พ่อแม่ หรือห้ามมิให้จาหน่ายยาเสพติด เป็นต้น กฎหมาย เป็นบทลงโทษที่ตราไว้เป็นลายลักษณ์อักษรกาหนดโทษไว้แน่นอน มีเจ้าหน้าที่เป็น ผู้รักษากฎหมายของบ้านเมืองไว้มิให้ผู้ใดฝ่าฝืนได้ ทั้งนี้กฎหมายนั้นจะต้องสอดคล้องกับวิถีประชา และกฎศีลธรรมด้วยจึงมีผลในการบังคับใช้ ซึ่งสามารถทาให้สังคมดาเนินไปได้อย่างมีระเบียบ สังคมไทยจัดเป็นสังคมที่มีความเป็นอยู่ค่อนข้างสบาย มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีเวลาว่าง หาความสุขสนุกสนาน และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ มี ความสนิทสนมและไว้วางใจบุคคลในสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานของครอบครัวและเครือญาติ คือ เครือญาติ ทางสายเลือด และเครือญาติที่เกิดจากความสนิทสนมทางสังคมผสมกับค่านิยมบางประการ ได้แก่ ความ กตัญญูรู้คุณ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการช่วยเหลือกันของสังคมในสังคม รวมทั้งความมีใจกว้าง ขวางทางศาสนาส่งผลให้บุคคลในสังคมไทยมีลักษณะนิสัยอ่อนโยน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตใจเมตตา เอื้ออารี รักสงบ และชอบสนุกสนาน ด้วยวิถีชีวิตที่มักปล่อยไปตามสบายตามสภาพแวดล้อม และมีเวลา ว่างมากนี้เอง จึงทาให้บุคคลในสังคมไทยมีเวลาคิดกิจกรรมต่างๆ ถือปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี วัฒนธรรมขึ้นในสังคมไทยอีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า สังคม คือ ผู้สร้างวัฒนธรรม ดังนั้นสังคมไทยจึงเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมไทยเป็นผู้ กาหนดว่าสิ่งใดควรคงไว้ สิ่งใดไร้ประโยชน์ต่อไปควรละเสีย การแสดงออกของบุคคลในสังคมไทยย่อม เป็นตัวบ่งชี้วัฒนธรรมไทยให้ประจักษ์ได้ พอสรุปลักษณะของสังคมไทยได้ ดังนี้ มีโครงสร้างสังคมแบบสถาบันครอบครัวและระบบเครือญาติ โครงสร้างสังคมไทยในสมัย โบราณเป็นแบบ ครอบครัวขยาย ซึ่งประกอบด้วยญาติพี่น้องหลายๆ ครอบครัวอยู่ในบ้านเดียวกัน หรือ ปลูกบ้านในบริเวณเดียวกัน โดยลักษณะสถาบันครอบครัวของคนไทยจะมีสามีหรือภริยาได้คนเดียวตาม กฎหมาย ภายในครอบครัวจะมีความผูกพันและมีสายสัมพันธ์ทางสายโลหิตที่เข้มข้น ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่และลูกจะรักใคร่เกื้อกูลและอุปถัมภ์ค้าชูซึ่งกันและกัน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน หรือคนรู้จัก ใกล้ชิดกันก็จะมีความสนใจสนิทสนมรักใคร่กัน จนกลายเป็นความผูกพันกันในลักษณะระบบเครือญาติ ลักษณะสังคมไทย ดังกล่าว ทาให้การดารงชีวิตของคนไทยอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข มีโครงสร้างสังคมแบบสถาบัน สังคมไทยจะยึดมั่นในสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนาและ สถาบันพระมหากษัตริย์ คนไทยจะยึดมั่นในสถาบันครอบครัวเป็นหลัก นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนา ประจาชาติ แต่สังคมไทยก็ไม่รับเกียจศาสนาอื่นๆ คนไทยส่วนใหญ่จะมีจิตใจเอื้อเฟื้อสนับสนุนศาสนา ทุกๆ ศาสนา และสามารถเข้าร่วมศาสนกิจของศาสนาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์
  • 4. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 4 สังคมไทยได้ให้ความเคารพนับถือ ให้ความรักพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ทุกๆ พระองค์โดยไม่มีข้อแม้ ใดๆ ทั้งสิ้น ลักษณะเด่นของสังคมไทยอีกอย่างหนึ่ง คือ คนไทยจะให้ความเคารพนับถือผู้ใหญ่และผู้ ดารงตาแหน่งที่สูงกว่า มีโครงสร้างสังคมแบบหลวมๆ คนไทยและสังคมไทยตามปกติจะให้ความสาคัญกับระเบียบ ข้อบังคับและกฎเกณฑ์ต่างๆ น้อยมาก ชอบปฏิบัติในสิ่งที่ตนพอใจ ไม่ชอบการบีบบังคับว่าต้องปฏิบัติ เป็นประจา ชอบความเป็นอยู่อย่างสบายๆ จนมีคากล่าถึงลักษณะของคนไทยว่า อยู่อย่างไทย ประชาธิปไตยแบบไทยหรือสุภาษิตทีว่า ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม ซึ่งมีลักษณะดังกล่าวทาให้คนไทยขาด ระเบียบไม่มีวินัย ไม่กระตือรือร้น รักสันโดษ ลักษณะนิสัยของคนไทยดังกล่าว จึงมีส่วนที่ทาให้ สังคมไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร มีโครงสร้างสังคมแบบผ่อนปรน เนื่องจากสังคมไทยมีความผูกพันรักใคร่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถ้ามีคนไทยได้รับความเดือดร้อนและต้องการความช่วยเหลือคนไทยส่วนใหญ่จะ ร่วมมือร่วมใจเสียสละแบ่งปันและเข้าช่วยเหลือทันที ส่วนการดาเนินชีวิตก็จะยึดการดาเนินชีวิตของ บรรพบุรุษเป็นแนวทางปฏิบัติ และจะปฏิบัติตามเฉพาะเรื่องที่ดีส่วนเรื่องที่ไม่ดีก็จะนาไปปรับปรุง เพื่อ เหตุการณ์ไม่ดีไม่งามจะได้ไม่เกิดขึ้นในครอบครัว หรือในสังคมไทยอีก สังคมไทยมักจะยึดมั่นและยึดถือ ปฏิบัติตามคาพังเพยที่ว่า “เดินคามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด ไปพูดขัดเขาทาไมขัดใจเขา เมื่อเขาตึงเราต้อง หย่อน ค่อยผ่อนเบา นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลง” เป็นต้น มีโครงสร้างแบบสังคมเกษตร ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพกสิกร รม ทาไร่ ทานา ทาสวน จึงนับว่าความเป็นอยู่และการดาเนินชีวิตของครอบครัวชาวนาไทยดั้งเดิมของ สังคมไทย คือ มีความเป็นอยู่แบบง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตอง เป็นคนที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มี การรวมกลุ่มกันตามสมัครใจซึ่งมีลักษณะเป็นแบบไม่เป็นการลงแขกไถนา หว่านข้าว เกี่ยวข้าว แต่ใน ปัจจุบัน สังคมชาวนาไทยได้มีการรวมกลุ่มกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่ม ตัวอย่าง เช่น การรวมกลุ่มของชาวนาในอาเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก มีการรวมกลุ่มตั้งสหกรณ์ร้านค้าจัดซื้อ เครื่องชั่งตวงข้าวเปลือก เพื่อบริการให้เช่าสถานการณ์ที่เก็บข้าเปลือก การลงทุนทาคลองส่งน้าให้ผ่าน เข้าไปในพื้นที่นาของเกษตรกร ซึ่งทาให้ชาวนาสามารถทานาได้ปีละ ๒ ครั้ง ทาให้ฐานะของเกษตรกรใน อาเภอวัดโบสถ์ดีขึ้น ผละประโยชน์จากการลงทุนที่มีการแบ่งปันเงินรายได้ให้สมาชิกที่นามาลงทุน และ พบว่ารายได้ดังกล่าวเป็นรายได้ที่ดีกว่าฝากธนาคารของรัฐในปัจจุบัน มีโครงสร้างแบบชนชั้น ในสังคมไทยยึดเชื่อถือและให้ความเคารพบุคคลที่มีความอาวุโส บุคคลระดับผู้บริหารเป็นหลัก รวมทั้งบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดแม้ไม่ใช่ญาติ แต่ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกัน และกัน คนไทยก็จะมีความผูกพันกับบุคคลดังกล่าวเหมือนญาติ ในอดีตสังคมไทยมีการแบ่งชนชั้น ส่วน ในปัจจุบันมักกล่าวว่าไทยมีการเลิกทาส เลิกแบ่งชนชั้น ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว แต่ความเป็นจริงในสังคมไทย ยังมีการแบ่งชนชั้นซึ่งถูกแบ่งชนชั้นออกโดย ตาแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ ความมั่งคั่งร่ารวย ตาแหน่งการเมือง หน้าที่ราชการ ระดับการศึกษาและอาชีพ
  • 5. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 5 ๒. เอกลักษณ์ของสังคมไทย เอกลักษณ์ของสังคมไทย หมายถึง ลักษณะของสังคมไทยที่เห็นเด่นชัด และมีความแตกต่าง จากสังคมอื่นๆ เอกลักษณ์ของสังคมไทยมีลักษณะเด่น (สุพัตรา สุภาพ, ๒๕๔๓) ดังนี้ ๑. สังคมไทยรวมอานาจไว้ที่ส่วนกลาง กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของประเทศสถาบัน และ สิ่งที่มีความสาคัญเกือบทุกอย่างในประเทศรวมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร อานาจทางการเมือง การปกครอง สถาบันการศึกษาชั้นสูง โรงพยาบาลดีๆ ถนนและสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ล้วนอยู่ที่ศูนย์กลาง คือ กรุงเทพมหานคร ๒. สังคมไทยเป็นสังคมเจ้านาย ทั้งนี้เป็นเพราะค่านิยม และได้อบรมสั่งสอนกันมาโดยลาดับ ผู้ใหญ่มักให้พรแก่ผู้น้อยว่า “ขอให้ได้เป็นใหญ่เป็นโตอยู่สุขสบาย ไม่ต้องทางานหนักและมั่นคงไปด้วย บริวาร” ปัจจุบันนิยมการมีตาแหน่งทางราชการตาแหน่งทางสังคม ๓. สังคมไทยมีปรัชญาชีวิตที่สงบสุขทั้งนี้เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาซึ่งมี ปรัชญาเชื่อในกฎแห่งกรรม ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว พระพุทธศาสนาสอนให้คนรังเกียจการฆ่าสัตว์ สอนให้ รู้จักอภัยไม่จองเวร ในด้านการดาเนินชีวิตสอนให้คนแสวงหาความสุขโดยใช้วิธีสันโดษและเสียสละ ๔. สังคมไทยยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ ๕. สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางการ เกษตร ๖. สังคมไทยเป็นสังคมลักษณะชาวบ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ ๘๕% เป็นชาวชนบทและ มีอาชีพทางการเกษตร ทาให้ความสัมพันธ์ของคนไทยเป็นไปในลักษณะสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว และมี ความเป็นกันเอง สนใจในเรื่องน้อยหน้าและไม่น้อยหน้า เรื่องมีเกียรติและไม่มีเกียรติ ๗. สังคมไทยชอบความหรูหราฟุ่มเฟือย การไม่ยอมน้อยหน้าใคร การอยากจะเป็นผู้มีเกียรติ ได้รับการยกย่องจากสังคม ทาให้เกิดการแข่งขันกันทางสังคม นอกจากนี้ ลักษณะนิสัยของคนไทย มารยาทไทย ศิลปะไทย ฯลฯ ได้แก่ ลักษณะนิสัยของคนไทย ลักษณะเด่นของคนไทย คือ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายมีจิตใจโอบ อ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ลักษณะนิสัยดังกล่าวเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก เช่น การ ยิ้ม ประเทศญี่ปุ่นได้เชิญคนไทยไปเป็นวิทยากรเรื่องการยิ้ม มารยาทไทย หมายถึง กิริยาอาการที่ควรประพฤติปฏิบัติอย่างมีขอบเขต หรือมีระเบียบแบบ แผนอันเหมาะสมแก่กาลเทศะและสังคม มารยาทไทยเป็นการเจาะจงในแบแผนแห่งการประพฤติปฏิบัติ แบบไทย ที่บรรพบุรุษได้พิจารณากาหนดขึ้นและดัดแปลงแก้ไขใช้สืบทอดกันมา นอกจากนี้ยังรวมไปถึง ความประพฤติด้านการควบคุมกิริยาวาจาให้อยู่ในกรอบที่สังคมไทยเห็นว่าเรียบร้อยถูกต้องและยอมรับ สาหรับมารยาทไทยบรรพบุรุษไทยได้มีการสร้างสมและดัดแปลงให้เหมาะสมกับลักษณะของคนไทย ซึ่ง มีลักษณะพิเศษทาเหมือนกับชาติใด ดังนั้นการประพฤติปฏิบัติด้านมารยาทของคนไทยด้านการพูดจา ด้านกิริยามารยาท สามารบอกถึงชนชั้นของบุคคลที่ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี เช่น สุภาษิตไทยโบราณ กล่าว ว่า “สาเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล”
  • 6. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 6 การกาหนดมารยาทไทยในสังคมนับว่าเป็นการจัดระเบียบทางสังคม “การไหว้” นับเป็น มารยาทในการแสดงความเคารพ การไหว้มักใช้ควบคู่กับคาว่า “สวัสดี” การไหว้เป็นอาการแสดงความ เคารพระหว่างผู้ไหว้และผู้รับไหว้ ซึ่งเป็นผู้อาวุโส เป็นครูบาอาจารย์เป็นหัวหน้าหน่วยงาน หรืออาจไหว้ บุคคลที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับผู้ไหว้ก็ได้ เมื่อผู้ไหว้หรือผู้น้อยไหว้แล้ว ผู้ได้รับการเคารพ (ไหว้) ก็ จะต้องไหว้ตอบพร้อมกับพูดว่า สวัสดี นอกจากนี้มารยาทในสังคมไทยยังมีแนวทางปฏิบัติให้คนไทย ยึดถือปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติไม่ถือว่าผิดแต่เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอีกหลายด้าน ได้แก่ การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกันและเป็น การเคารพแก่ผู้ควรเคารพ จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะ และการไหว้เป็นการแสดงถึงความมี สัมมาคารวะและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน การไหว้มีหลายวิธี มีทั้งการนั่งไหว้และการยืนไหว้ เพื่อ เคารพบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ใหญ่กว่าตน วิธีนั่งไหว้ให้นั่งพับเพียบพนมมือทั้งสองข้างขึ้นไว้ระดับอกแล้ว ก้มศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดกันที่หว่างคิ้ว ส่วนวิธีการยืนไหว้ก็ให้พนมมือทั้งสองข้างยกขึ้นระดับอกก้ม ศีรษะลงจนหัวแม่มือจรดกันที่หว่างคิ้วเช่นเดียวกัน ใช้ในโอกาสที่จาเป็นต้องไหว้เนื่องจากอยู่นอก บ้านเรือนเมื่อพบผู้ที่ต้องเคารพตามถนนหนทาง เมื่อมีการไหว้ก็ต้องมีการรับไหว้ กล่าวคือ เมื่อมีผู้ทา ความเคารพเราควรรับไหว้หรือเคารพตอบเพื่อมิให้เสียมารยาท มิฉะนั้นอาจทาให้ผู้แสดงความเคารพ เขิน หรือโกรธจนเป็นเหตุให้นึกไม่อยากจะเคารพ วิธีรับไหว้ให้ยกมือทั้งสองประนมไว้ระดับอกแล้วยกให้ สูงขึ้นมากหรือน้อยตามฐานะของผู้ไหว้และของผู้รับไหว้เท่านั้น และการไหว้ยังเป็นเครื่องหมายของ ความเป็นคนไทยที่ชัดเจน การกราบ เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อพระรัตนตรัย บิดา มารดา และญาติ ผู้ใหญ่ ที่อาวุโสมากๆ การกราบพระรัตนตรัยใช้กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ โดยใช้อวัยวะทั้งห้าจรดพื้น ได้แก่ หน้าผาก ข้อศอกทั้งสองและหัวเข่าทั้งสองทั้งนี้โดยนั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า ส่วนการกราบผู้ใหญ่ ผู้ อาวุโสหรือผู้ที่เคารพนับถืออย่างสูง ทาดังนี้ นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าประสานมือวางปลายเข่าค่อยๆ เลื่อนมือวางที่พื้นไม่แบมือก้มศีรษะให้หน้าผากจรดสันมือตรงส่วนใดก็ได้ศอกคร่อมเข่าหนึ่งข้างและ กราบครั้งเดียว การยืน เป็นอิริยาบถที่ใช้กระดูกส่วนยาวของเข่าช่วยกระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังพร้อม ด้วยศีรษะขึ้นให้ตรง เพื่อให้น้าหนักมาอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้างในเวลาตั้งตัวขึ้น การยืนต้องรับผู้ใหญ่ที่ กาลังเดินเข้ามาในงาน ถ้าเรากาลังนั่งอยู่บนเก้าอี้ต้องลุกขึ้นยืนตรงด้วยความสารวมและหันหน้าไปทาง ผู้ใหญ่ การยืนตรงห้อยแขนตามธรรมชาติเพื่อความเคารพผู้ใหญ่แสดงถึงความเป็นผู้มีมารยาทดี แต่ หากยืนประสานมือไว้ข้างหน้าด้วยแล้ว ย่อมเป็นการแสดงความเคารพที่ทวีคูณยิ่งขึ้น รวมทั้งไม่ควรยืน ชิดตัวบุคคล การเดิน เป็นกิริยาที่อยู่ในท่าเดินแล้วก้าวขาตรงออกทีละข้างสลับกันด้วยการงอเข่าและวางเท้า ให้ตรงเหมือนเดินบนกระดานแผ่นเดียวตั้งศีรษะตรงไม่ส่ายตัวแกว่งแขนพองามไม่สูงจนดูน่าเกลียด ขณะเดินไม่ควรหัวเราะดัง หรือสัพยอกหยอกล้อกันเอะอะ ควรเดินให้เรียบร้อย ถ้าเดินเป็นหมู่ควรจะ เหลียวรอดูเพื่อนที่ตามมาข้างหลังให้เดินไปพร้อมๆ กัน ไม่เดินเร็วหรือช้าจนเกินไป เมื่อเดินกับผู้ใหญ่
  • 7. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 7 ต้องเดินอย่างสารวมทิ้งระยะเยื้องห่างพอสมควร คอยระวังตลอดเวลาเพื่อเวลาผู้ใหญ่หยุดเดินเราจะได้ หยุดได้ทัน หากเดินผ่านผู้นั่งกับพื้นหรือนั่งเก้าอี้ควรก้มตัวลงเล็กน้อยแล้วเดินให้เรียบร้อย ไม่ควรเดิน กรายเข้าไปใกล้จนเป็นที่น่ารังเกียจ ถ้าผู้นั่งเป็นผู้ที่ใหญ่กว่ามีอาวุโสมากว่า หากจาเป็นต้องเดินผ่านหน้า ไป ควรคุกเข่าลงคลานจะงามกว่า ครั้นเมื่อพ้นไปแล้วจึงค่อยลุกขึ้นเดินต่อไป คนไทยนิยมให้เดินค่อยๆ เพราะเกรงใจผู้อื่น ผู้ใดเดินฝีเท้าหนักถือว่าเสียมารยาทและไม่ถูกต้องตามวัฒนธรรม การนั่ง คนไทยนิยมนั่งพับเพียบกับพื้นโดยนั่งพับขาทั้งสองข้างให้ปลายเท้าไปทางเดียวกัน ส่วนผู้ชายมักนิยมนั่งขัดสมาธิ โดยนั่งคู้เข่าทั้งสองข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้าไว้ไม่ ควรนั่งเหยียดขา ปัจจุบันนิยมนั่งเก้าอี้กันก็ไม่ควรนั่งไขว่ห้างต่อหน้าผู้ใหญ่หรือนั่งเอาศอกตั้งบนโต๊ะ อาหารถือว่าไม่สุภาพ นอกจ้านี้ควรระวังไม่นั่งทับหมอน ทับหนังสือหรือหนังสือพิมพ์ ตลอดจนไม่ควรนั่ง บนโต๊ะเพราะไม่เหมาะสม การพูด เป็นคุณสมบัติของคนไทยที่นิยมถือความลดหลั่นกันทางชาติวุฒิ คุณวุฒิและวัยวุฒิ อัน แสดงให้เห็นว่าไทยเป็นชาติที่มีความรู้สึกนึกคิดประณีตเข้าใจใช้คาพูดให้เหมาะแก่กาลเทศะ อันสมควร และเหมาะแก่บุคคล ซึ่งย่อมยังประโยชน์ให้สาเร็จทั้งในด้านกิจการและด้านการสมาคม ผู้มีมารยาท จะต้องรู้จักระมัดระวังการใช้คาพูด โดยไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด ไม่พูดด้วยสียงอันดังเหลือเกิน ไม่ใช้เสียงตวาด หรือพูดกระโชกกระชาก ไม่ใช้คาพูดที่หักหาญดึงดัน และไม่ใช้ถ้อยคาอันหยาบคาย นอกจากนี้ยังต้องระวังที่จะไม่พูดเท็จใช้คาพูดยุยงส่อเสียดให้ผู้อื่นแตกร้าวระหองระแหงกัน ไม่กล่าวคา เสียดสี ดูถูก หรือขัดคอผู้อื่น ไม่พูดพลางหัวเราะพลางขณะร่วมสนทนากับผู้อื่น จะทาให้ผู้พูดเสีย บุคลิกลักษณะของสุภาพชนหากจะเป็นคู่สนทนาที่ดีก็ควรจะปฏิบัติให้พอดี คือ รู้จักพูดให้ผู้ฟังพอใจและ เป็นนักฟังที่สนใจมิใช่จะเป็นผู้พูดอย่างเดียว ทั้งต้องไม่กล่าวถึงสิ่งโสโครก พึงรังเกียจและสิ่งควรปิดบัง ในท่ามกลางประชุม เมื่อจะทาล่วงเกินแก่ผู้ใดย่อมต้องขออนุญาตตัวเขาก่อนเมื่อทาพลาดพลั้งสิ่งใดแก่ บุคคลใดควรออกวาจาขอโทษเสมอ เช่นเดียวกันหากผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจา ขอบคุณเขาเสมอด้วย โดยเฉพาะสุภาพสตรีควรมีความสารวมอยู่เป็นนิจ ไม่ทาสนิท หรือหยอกล้อกับ บุรุษในที่ลับและที่เปิดเผย ไม่หัวเราะส่งเสียงดังไม่ส่งเสียงอื้ออึง หรือพูดดังเกินงามจนเป็นจุดเด่นให้ บุคคลอื่นหันมาจ้องมอง ไม่กล่าวชมเชยบุคคลบ่อยๆ ว่า สวย หล่อ หรือฉลาด เพราะแม้ผู้ฟังจะชอบแต่ อาจไม่เชื่อถือ ไม่ควรกล่าวคาขอโทษบ่อยครั้งหลังจากทาผิด ไม่ควรบรรยายแม่น้าทั้ง ๕ เมื่อต้องการ อะไรควรพูดให้ตรงประเด็นที่สุดและไม่ควรพูดในสิ่งที่อาจทาให้บุคคลอื่นอายได้ การกิน ควรมีความสารวมจึงจะถือว่าเป็นผู้มีมารยาทในการกิน กล่าวคือ ไม่ควรกินคาใหญ่ กิน เร็ว กินมูมมาม หรือเคี้ยวเสียงดัง รวมทั้งห้ามพูดทั้งคาข้าว อาหารติดฟันระหว่างกินห้ามใช้นิ้วมือเขี่ย ออก อนุญาตให้เพียงใช้ลิ้นจัดการโดยไม่ให้ผู้อื่นเห็นถนัดว่าเรากาลังทาอะไรอยู่ หรืออย่าจิ้มฟันโดยไม่ ปิดปาก เมื่อกินอิ่มสบายแล้วไม่ควรเรอให้ผู้อื่นได้ยิน คือไม่ต้องยืนยันความอิ่มให้ปรากฏ การกินคาใหญ่ ทาให้ต้องอ้าปากกว้าง การกินเร็ว หรือกินมูมมามทาให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด การพูดทั้งคาข้าว อาจทา ให้อาหารตกในหลอดลมถึงตายได้ การเคี้ยวเสียงดังจั๊บๆ อาจทาให้ผู้อื่นราคาญ ดังนั้นมารยาทในการ กินจึงเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ตนดีแก่สุขภาพอนามัยเป็นอันดับแรก และเพื่อประโยชน์ผู้อื่นปราศจาก
  • 8. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 8 ความรู้สึกไม่พอใจเป็นอันดับรอง อนึ่งการกินเร็วกินรีบร้อนบอกนิสัยในการกิน คนไทยนับถือ พระพุทธศาสนา จึงนาวัตรปฏิบัติที่บัญญัติสาหรับพระสงฆ์บังคับเรื่องกิริยาในการกินไว้คนไทยจึงมี มารยาทในการกินเสมอมา รู้จักรอคอยจังหวะในการใช้ช้อนกลางตักแกงเข้าปากเลยไม่ได้ต้องถ่ายใส่ ช้อนเฉพาะตนเสียก่อนจึงกินได้ นอกจากนี้ควรยั้งมือในการตักอาหารจานที่มีคนชอบมากโดยไม่ตักแบ่ง มามากเสียคนเดียว ควรมีน้าใจนึกถึงผู้อื่น การถือศีรษะและเท้า คนไทยถือว่าศีรษะเป็นของสูงจึงไม่ชอบให้ใครมาเล่นศีรษะ ขณะเดียวกันก็ถือว่าเท้าเป็นของต่า ใครยกเท้าให้หรือใช้เท้าชี้สิ่งใดให้ใครดูถือว่าผู้นั้นมีมารยาททราม ตรงข้ามกับฝรั่งที่ใช้เท้าปิดประตูหรือใช้เท้าชี้สิ่งของได้เพราะฝรั่งคงคิดว่า เท้าเป็นอวัยวะอย่างหนึ่งของ ร่างกายจึงควรใช้งานให้เต็มที่เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ อนึ่งฝรั่งนิยมสวมรองเท้าตลอดเวลาและทุก สถานที่แม้ในบ้าน แต่คนไทยไม่นิยมเช่นนั้น โดยเฉพาะในอาคารสถานที่เช่นที่บ้าน หรือที่วัดก็ตาม คน ไทยจะมาสวมรองเท้าเข้าบ้านหรือเข้าโบสถ์เป็นอันขาดเพื่อแสดงความเคารพต่อบุคคลหรือสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการไม่เคารพทาให้พระสงฆ์ต้องไปปลงอาบัติ เพราะรับบาติจากผู้สวมรองเท้า ดังนั้นเข้าวัดจึงต้องถอดรองเท้า การแต่งกาย ควรให้เหมาะสมแก่โอกาสโดยคานึงถึงความสุภาพเรียบร้อย ซึ่งหมายรวมหมด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า การแต่งกายของหญิงและชายสิ่งที่มีความสาคัญกว่าเสื้อผ้า คือ ความสะอาดหมดจด ของร่างกายอันเป็นพื้นฐานรองรับเสื้อผ้าที่จาเป็นยิ่งต้องแสดงให้เห็นว่าร่างกายได้รับการดูแลเป็นอย่างดี หนวดต้องโกนเรียบร้อย ผมต้องหวีให้เข้าที่ เล็บ และฟันต้องสะอาด ซึ่งแสดงว่าเจ้าของร่างกายนับถือ ตนเอง นั่นนาไปสู่ความนับถือจากผู้อื่นต่อไป ผู้ที่รู้จักแต่งตัวให้เกียรติแก่บุคคลและสถานที่ได้ชื่อว่าเป็น ผู้นับถือตนเอง เมื่อรู้สึกว่าตนแต่งกายถูกต้องเหมาะสมแก่รูปลักษณ์กาลเทศะตลอดจนกิจกรรมของงาน ย่อมสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นเสริมให้บุคลิกภาพดีเป็นที่นิยม ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้มีมารยาทในการแต่ง กาย ไม่ควรแต่งตัวตามสบาย โดยมาสวมชั้นใน หรือนุ่งกางเกงขาสันมากออกนอกบ้าน การทักทาย แต่ก่อนการทักทายของคนไทยมักถามถึงเรื่องส่วนตัวเป็นต้นว่า “ไปไหนมา” หรือ “กินข้าวแล้วหรือยัง” โดยไม่ได้มุ่งหมายที่จะได้รับคาตอบอย่างจริงจังผู้ตอบก็ตอบไปตามเรื่องตามราว ไม่เป็นจริงตามนั้น เช่น “ไปเดินเล่น” หรือ “กินแล้ว” เป็นต้น ในปัจจุบันคนไทยมีคาทักทายที่ แสดงออกด้วยกิริยาและวาจานับเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่ทั่วโลกรู้จักดี เช่น คาว่า “สวัสดี” การอวยพร เป็นการกล่าวแสดงความยินดีตามธรรมเนียม ตามวัฒนธรรมไทยไม่นิยมให้ผู้น้อย อวยพรผู้ใหญ่ เพราะถือว่าสิ่งดี หรือสิ่งประเสริฐทั้งปวง พรนั้น ผู้ใหญ่ย่อมมีมากกว่าผู้น้อยอยู่แล้ว ผู้ใหญ่ อวยพรผู้น้อยได้ แต่ผู้น้อยอวยพรผู้ใหญ่ไม่ได้ต้องอัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย หรือสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่เคารพ นับถือมาอวยพรผู้ใหญ่แทนตน ถ้อยคาที่เป็นพรขึ้นอยู่กับโอกาสของงานและความสามารถในการ เลือกสรรถ้อยคาที่ไพเราะเหมาะสมของผู้นั้นเป็นสาคัญ
  • 9. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 9 ศิลปะไทย (Thai Arts) หมายถึง สิ่งที่คนไทยคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาจากการประดิษฐ์การตกแต่ง เพื่อเกิดความสวยงามและมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แบ่งออกเป็น ๒ สาขา ดังนี้ วิจิตรศิลป์ (fine Art) วิจิตรศิลป์ หรือประณีตศิลป์เป็นผลงานของศิลปินที่เกิดจากแรงบันดาล ทางด้านอารมณ์และจิตใจ แบ่งเป็น ๕ แขนงใหญ่ๆ คือ (๑) จิตรกรรมไทย (Thai Painting) หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทยที่ แตกต่างจากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน การเขียนภาพลวดลายประดับฝาผนังที่วัดราชบูรณะ อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดไผ่ขอน้า อาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก และการวาดภาพเหมือน “ภาพยุทธหัตถี” เป็นต้น (๒) ประติมากรรมไทย (Thai Sculpture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี คือ งานปั้นและงานแกะสลัก หรือแกะสลัก แล้วทาหุ่นโดยฝีมือช่างชาวไทยนับว่าเป็นศิลปกรรมชั้นสูง เพื่อใช้ หล่อรูปคน รูปพระพุทธรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ ได้แก่ ภาพแกะสลักบานประตูพระอุโบสถวัดพระศรีรัต นมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก พระพุทธชินราช พระพุทธรูปปางต่างๆ ภาพแกะสลักนูน “ยุทธหัตถี” พระรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระรูปพระสุพรรณกัลยา เป็นต้น (๓) สถาปัตยกรรมไทย (Thai Architecture) หมายถึง ศิลปะการก่อสร้างของไทย งานศิลปะ ของศิลปินชาวไทยด้านการก่อสร้างบ้านเรือนทรงไทย สถูป เจดีย์ วิหาร อุโบสถ อนุสาวรีย์ เช่น บ้าน ทรงไทยสมัยล้านนา สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อนุสาวรีย์สมเด็จ พระเอกาทศรถ อนุสาวรีย์สมเด็จพระบรมไตรดโลกนาถ อุโบสถวัดพระศรีรัตนม-หาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เจดีย์ทรงบัวตูมที่วัด เจดีย์ยอดทอง อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น และนอกจากนี้รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ลักษณะ ของงานสถาปัตยกรรมไทยจะมีแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยม (๔) วรรณกรรมไทย (Thai Literature) หมายถึง ผลการแต่ง หรือการประพันธ์หนังสือประเภท โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร้อยแก้ว และร้อยกรอง ได้แก่ โคลงโลกนิติ ตานาน นิทาน เอกสารตารา เป็น ต้น (๕) นาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ (Thai Music and Dramatic) นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการแสดงประกอบดนตรี เช่น การร่ายรา ระบา โขน ละคร ละครรา ราไทย ลิเก และการแสดง ต่างๆ นาฏศิลป์ไทยมีท่าราและการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทยไม่เหมือนชาติใดๆ ในโลก เช่น โขน ระบา ๔ ภาค ละครในเรื่องอิเหนา ราวงมาตรฐาน รากิ่งไม้เงินทอง เป็นต้น ส่วนดุริยางคศิลป์ หรือดนตรี หรือคีตกรรม หมายถึง เครื่องดนตรีและการเล่นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ชวา ปี่มอญ แคน ขลุ่ย และเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี ได้แก่ จะเข้ ซอ กลอง ฉิ่ง ฉาบ ตะโพน รามะนา เป็นต้น
  • 10. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 10 ศิลปะประยุกต์ (Applied Art) หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อมุ่งประโยชน์ใช้สอย เป็นสาคัญ โดยการใช้หลักการทางสุนทรียภาพ ประกอบด้วย มัณฑนศิลป์ (Decorative Art) อุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Art) พาณิชยศิลป์ (commercial Art) หัตถศิลป์ (Crafts) และการออกแบบ ต่างๆ (Design) เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีความหมายรวมไปถึงศิลปะที่ตอบสนองความต้องการทาง ร่างกายและจิตใจโดยวัดคุณค่าได้จากประโยชน์การใช้สอย เช่น เงิน บ้านเรือน อาคารเรียน อาคาร ร้านค้า ฯลฯ ศิลปะประยุกต์แบ่งออกเป็น ๔ แขนง คือ อุตสาหกรรมศิลป์ มัณฑนศิลป์ ศิลปะการโฆษณา และพาณิชยศิลป์ นอกจากงานด้านศิลปะดังกล่าวแล้วลักษณะทั่วไปของศิลปะไทย ยังแบ่งออกเป็นงานประเภท ต่างๆ ได้อีกหลายประเภท เช่น ประเภทงานประณีตศิลป์ ได้แก่ การลงรักปิดทอง งานประดับกระจก งานประดับมุก ฯลฯ ประเภทงานศิลปะพื้นบ้าน ได้แก่ งานจักสาน ทอ แกะสลัก งานเครื่องเขิน งาน เครื่องถม และงานประเภทหัตถกรรมต่างๆ ได้แก่ การตัดเย็บ และการทาตุ๊กตาไทย ฯลฯ ๓. ค่านิยม (Values) ของสังคมไทย คาว่า ค่านิยม ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้มากมาย เช่น สุพัตรา สุภาพ (๒๕๔๓) กล่าวว่า ค่านิยม หมายถึงสิ่งที่คนสนใจ สิ่งที่คนปรารถนาจะได้ ปรารถนาจะเป็น หรือกลับกลายมาเป็นสิ่งที่คนถือว่าเป็นสิ่งบังคับต้องทาต้องปฏิบัติเป็นสิ่งที่คนบูชา ยก ย่องและมีความสุขที่จะได้เห็น ได้ฟัง ได้เป็นเจ้าของพจนานุกรม ฉบับราชยณฑิตยสถาน (๒๕๔๖) อธิบายว่า ค่านิยม คือ วิสัยความสามารถของสิ่งใดก็ตามที่เชื่อว่าตอบสนองความปรารถนาของมนุษย์ได้ หรือสิ่งที่บุคคลยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจและกาหนดการกระทาของตนเอง พัทยา สายหู (๒๕๔๔) กล่าวว่า ค่านิยม คือ ความรู้สึกหรือความเชื่อของแต่ละบุคคลที่เชื่อในสิ่ง ใดสิ่งหนึ่ง ว่าเป็นสิ่งน่าชื่นชมและน่ากระทา ปกติบุคคลแต่ละคนจะมีค่านิยมของตนเองต่อสิ่งหนึ่ง หรือ การกระทาต่างๆ ที่เคยมีอยู่ หรืออยากได้ อยากกระทาถ้ามีโอกาสทาได้ ศรีนวล พูลเลิศ (๒๕๕๐) กล่าวว่า ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่สังคมถือว่ามีค่าพึงปรารถนาต้องการ ให้เป็นเป้าหมายของสังคมและปลูกฝังให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นเป้าหมายในการกาเนินชีวิตควร หลีกเลี่ยง เช่น ความยากจน สิ่งมีคุณค่า น่าปรารถนา หรือนาความสุขมาให้มีทั้งเป็นวัตถุและไม่เป็น วัตถุ จากความหมายของ คาว่า ค่านิยม (Values) ข้างต้น สรุปได้ว่า ค่านิยมของสังคมไทยคือ สิ่งที่ คนไทยในสังคมหนึ่งยกย่องว่าดีปรารถนาจะได้เป็นและมีความสุขที่ได้ปฏิบัติ แต่ต้องเข้าใจว่าค่านิยมอง บุคคลในสังคมหนึ่งถือว่าดีว่าถูกต้องและเป็นสิ่งที่ควรกระทา แต่ค่านิยมดังกล่าวนี้อีกสังคมหนึ่งอาจถือ ว่าไม่ดี ไม่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทาและไม่ควรปฏิบัติในทานองเดียวกัน “ค่านิยม” ในสังคมไทย ที่ว่าดี ว่าถูกต้อง อาจเปลี่ยนแปลงไปจากค่านิยมเดิมได้ หรือตัวอย่างค่านิยมในสังคมหนึ่งแตกต่างกับ อีกสังคมหนึ่ง เช่น ค่านิยมเรื่องการแต่งกายของสังคมในประเทศฝรั่งเศสนิยมแต่งหายหรูหราสวยงาม
  • 11. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 11 และมีคุณภาพ แต่ค่านิยมเรื่องการแต่งกายของสังคมในสหรัฐอเมริกา นิยมแต่งกายสะดวกสบายและเน้น ความสะอาดเท่านั้น ๓.๑ กลุ่มของผู้ใช้ค่านิยม กลุ่มของผู้ใช้ค่านิยมสามารถจาแนกออกได้ ๓ กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ ๓.๑.๑ ค่านิยมเฉพาะบุคคล (Personal value) หมายถึง ความนิยมชื่นชอบสิ่งใดสิ่ง หนึ่งเฉพาะตัวเอง เช่น ค่านิยมเรื่องการพูดจาไพเราะ ความซื่อสัตย์ การประหยัด ค่านิยมในการซื้อของ เป็นต้น ๓.๑.๒ ค่านิยมเฉพาะกลุ่ม (Group value) สิ่งที่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดยึดถือปฏิบัติ เช่น ค่านิยมในการแต่งกายของกลุ่มอาชีพครู พยาบาล ธนาคาร นักธุรกิจ ซึ่งบุคคลที่อยู่ในกลุ่มอาชีพ ดังกล่าว จะมีค่านิยมในการแต่งกายที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งสามารถศึกษาค่านิยมเรื่องการแต่งกายได้จาก กลุ่มผู้หญิง ๓.๑.๓ ค่านิยมร่วมของสังคม (Group value) เช่น การประพฤติปฏิบัติตัวของบุคคล ในสังคมด้านการเมืองของไทย นักการเมืองของไทยจะมีค่านิยมเรื่อง อานาจ ชื่อเสียง และอิทธิพล ค่านิยมของบุคคลด้านศาสนา กรณีวัดธรรมกาย เป็นต้น ๓.๑.๔ ค่านิยมของสังคมไทยในอดีต ค่านิยมของสังคมไทยในอดีต หมายถึง ค่านิยม ของสังคมไทยที่ยึดถือและปฏิบัติสืบทอดมาเป็นเวลาช้านานก่อนรับอิทธิพลจากนานาชาติ หรือเป็น ค่านิยมดั้งเดิมที่คนไทยได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ เช่น การรักอิสระ ค่านิยมในการรักอิสระของคนไทยเป็นกลุ่มบุคคลที่อยู่ในสังคมที่มีโครงสร้างแบบ หลวมๆ คนไทยจึงไม่ชอบกฎเกณฑ์ ข้อผูกพัน ข้อบังคับ คนไทยมักเลือกทาตามความต้องการของ ตนเองมากกว่าทาตามความคาดหวังและพันธะผูกพันทางสังคม ด้วยเหตุนี้ทาให้ชาติไทยไม่ตกอยู่ ภายใต้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ การยกย่องให้ผู้ชายเป็นผู้นา สังคมไทยนิยมให้ผู้ชายเป็นใหญ่ ตัวอย่างเช่นพระมหากษัตริย์ ไทยต้องเป็นชาย ผู้นาหมู่บ้านของสังคมไทยในอดีตล้วนเป็นชาย เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอาเภอ ปลัดอาเภอ กานัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรประจาหมู่บ้านล้วนเป็นผู้ชาย ผู้หญิงไทยในอดีตจะได้รับการ อบรมสั่งสอนให้เคารพ เชื่อฟังและซื่อสัตย์ต่อสามีต้องยกย่องรับใช้สามีและเคารพ เช่น ก่อนนอนต้อง กราบสามี เป็นต้น การประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม คนในสังคมไทยเคารพพุทธศาสนา ทาให้พุทธศาสนามี อิทธิพลต่อการกาหนดค่านิยมของคนไทย เช่น เชื่อเรื่องบุญและบาป ทาดีได้ดีทาชั่วได้ชั่ว การทาความ ดีไว้ในชาตินี้จะส่งผลบุญให้ได้มีความสุขในบั้นปลายชีวิตและในชาติหน้า จากความเชื่อดังกล่าว คนไทย จึงประพฤติปฏิบัติตนตามคาสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้จักทาบุญทาทานเพื่อสร้างสม “บุญ” และคนไทยในสังคมชนบท พระพุทธศาสนาจะเป็นตัวกาหนดกฎเกณฑ์ทางสังคมได้มากกว่าคนไทยใน สังคมเมือง การยกย่องผู้มีความรู้ คนไทยที่มีความรู้จะได้รับการยกย่องจากบุคคลในสังคมเจ้าขุนมูลนาย และพระมหากษัตริย์จะทรงชุบเลี้ยงให้เป็นใหญ่เป็นโตในหน้าที่ราชการ ตัวอย่างเช่น วรรณกรรมไทย เรื่อง อภัยมณีของสุนทรภู่ ได้กล่าวว่า “รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”
  • 12. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 12 ความกตัญญูกตเวที คนไทยจะได้รับการสั่งสอนให้รู้จักบุญคุณคน ต้องเคารพและตอบแทนผู้มี พระคุณ เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ พี่ ป้า น้า อา และผู้ที่เคยให้ความอุปถัมภ์เข้าทานองสุภาษิตที่ว่า “ต้องรู้จักข้าวแดงแกงร้อน” หรือ “อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น” หรือ การแสดงความกตัญญู โดยการรดน้าอวยพรผู้ที่ตนเคารพนับถือ ในวันขึ้นปีใหม่ของไทย คือ วัน สงกรานต์ ความเชื่อ หมายถึง ความคิด ความเข้าใจและการยอมรับนับถือ เชื่อมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่ ต้องมีเหตุผลใดมาสนับสนุน หรือพิสูจน์ ทั้งนี้บางอย่างอาจมีหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ หรือ อาจจะไม่มีหลักฐานที่จะนามาใช้พิสูจน์ให้เห็นจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นก็ได้ คนไทยในอดีตมีค่านิยมความเชื่อ หลายด้าน เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางและฤกษ์ยาม ความเชื่อเกี่ยวกับความฝันและคาทานาย ความ เชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทาและสิ่งที่ไม่ควรทา ได้แก่ - ความเชื่อทางไสยศาสตร์ เช่น การสักยันต์ตามร่างกาย ผู้ชายไทยนิยมสักยันต์ตามตัว แขน ขา เพราะเชื่อว่า สักแล้วจะเหนียวยิงไม่เข้า คาถาอาคม เสน่ห์ยาแฝด พระเครื่อง เครื่องรางและของขลัง - ความเชื่อทางโหราศาสตร์ เช่น การดูฤกษ์ยามในงานพิธีมงคลสมรส การสึกพระภิกษุ การตั้ง เสาเอกในการปลูกบ้าน ความฝัน นอกจากนี้ยังมีการดูหมอดู หรือการดูดวงดาว เป็นหลักสาคัญทาง โหราศาสตร์ สามารถทานายดวงชะตาของบุคคลต่างๆ โดยอาศัยดวงดาว เป็นต้น - ความเชื่อทางศาสนา เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับกรรม บุพกรรม บุพเพสันนิวาส นอกจากนี้ ค่านิยมเดียวกับศาสนา ศาสนาของชาวพุทธเชื่อว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของตัวเองเชื่อว่าคนทาดีจะได้ดี ทาชั่วจะได้พบแต่สิ่งไม่ดี - ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางและฤกษ์ยาม เช่น เชื่อในเรื่องของการไม่ตัดผมในวันพุธ การไม่เดิน ทางไกลถ้าจิ้งจกทัก หรือการหาฤกษ์ยามสาหรับการทางานมงคลต่างๆ - ความเชื่อเกี่ยวกับความฝันและคาทานายฝัน เช่น เชื่อว่าถ้าฝันเห็นงู จะได้เนื้อคู่ ถ้าฝันว่าฟัน หัก ญาติผู้ใหญ่จะเสียชีวิต ฝันเห็นคนตาย จะเป็นการต่ออายุ - ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ เช่น การแห่นางแมวขอฝน การทาบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบุญ ต่างๆ - ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทาและสิ่งที่ไม่ควรทา เช่น ห้ามนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก เอา ไม้กวาดตีกันชีวิตจะไม่เจริญ กินข้าวเกลี้ยงจานจะได้แฟนสวย หรือหล่อ ห้ามปลูกต้นลั่นทม ระกา ไว้ใน บ้าน ให้ปลูกต้นมะยม มีคนนิยมชมชอบ ปลูกขนุนจะทาให้มีคนสนับสนุนค้าจุน การพึ่งพาอาศัยกัน ค่านิยมของคนไทยชอบช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน ทานองช่วยกันกิน ช่วยกันทา ตัวอย่างเช่น การทาบุญในหมู่บ้านชนบทไทย เจ้าภาพจะไม่ต้องจ้างแม่ครัวมาทากับข้าว เพื่อนบ้านจะมาช่วยกันทาครัว ช่วยจัดงานพิธี นอกจากนั้นในชนบทยังนิยมช่วยเหลือกิจการต่างๆ ได้แก่ การทานา ไถนา หว่านข้าว เกี่ยวข้าว ชาวนาก็จะมาช่วยกันทางานต่างๆ แบบที่เรียกว่า ลงแขก หรือถ้าครอบครัวใดปลูกผักก็จะนาผักมาแจกจ่ายเพื่อนบ้าน และเพื่อนบ้านก็จะให้สิ่งที่เพื่อนบ้านขาด แคลนเป็นการตอบแทน
  • 13. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 13 นิยมเครื่องประดับ สังคมไทยนิยมใช้เครื่องประดับประเภททองคา เมื่อมีเงินนิยมนาไปซื้อ สร้อยทองคา เข็มขัดทอง หรือเข็มขัดนาค แหวน เมื่อมีงานในชุมชนจะนิยมใส่เครื่องประดับเหมือนตู้ ทองเคลื่อนที่ เพราะเครื่องประดับจะเป็นเครื่องแสดงฐานะของบุคคลว่ามีฐานะดี หรือร่ารวย นิยมการทาบุญเกินฐานะ คนไทยในชนบทนิยมจัดงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีแต่งงานพิธีบวช โดยจัดเป็นพิธีใหญ่โต มีการแสดงลิเก ลาตัด ราวง ดนตรี การจัดงานใหญ่โตจะแสดงว่าผู้จัดเป็นบุคคลที่ มีฐานะดี ร่ารวย บางครั้งไม่มีเงินก็ยังจัดงานใหญ่โตโดยไปกู้หนี้ยืมสินบุคคลอื่นมาจัดงาน นิยมปลูกบ้านที่มีขนาดกว้างขวางใหญ่โต คนไทยในชนบทไทยนิยมปลูกบ้านที่มีขนาดใหญ่ มาก บางบ้านสร้างบ้านขนาดใหญ่เท่าศาลาการเปรียญ เพราะค่านิยมของคนไทยเชื่อว่า การปลูกบ้าน ขนาดใหญ่โตหรูหรา แสดงว่าครอบครัวนั้นมีฐานะดีมาก นิยมบนบานศาลกล่าว สังคมไทยเชื่อว่า พระเจ้า เทพเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพบูชาจะ สามารถช่วยเหลือ หรือบันดาลให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดสมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนา ดังนั้นเมื่อคนไทย ต้องการถูกหวย ต้องการมีงานทาตามที่ตนปรารถนา คนไทยก็จะทาพิธีบนบานศาลกล่าวให้ตนทางาน สาเร็จ และเผอิญงานสาเร็จ และเผอิญงานสาเร็จจะเป็นด้วยความสามารถของตนเองหรือไม่ก็ตาม ผู้บน บานศาลกล่าวจะต้องทาพิธีแก้บนตามที่ตนบนบานไว้ เช่น แก้บนด้วยทอง ๑๐๐ แผ่น ตุ๊กตาเซรามิค ๙๙ ตัว เป็นต้น ๓.๒ ค่านิยมของสังคมไทยปัจจุบัน ค่านิยมของสังคมไทยในปัจจุบัน หมายถึง ค่านิยมของ สังคมไทยที่เกิดจากการได้รับอิทธิพลของนานาชาติ และนามาพัฒนาค่านิยมของคนไทยให้เปลี่ยนแปลง ไป ไม่เหมือนกับค่านิยมดั้งเดิมในสังคมไทย ได้แก่ ๓.๒.๑ การให้ความสาคัญกับระบบเงินตรา เดิมค่านิยมในชนบทนิยมพึ่งพาอาศัยซึ่ง กันและกัน ปัจจุบันสังคมไทยในเมืองนิยมว่าจ้างแรงงานในการทากิจกรรมต่างๆ เช่น จ้างแม่ครัวมา ทาอาหารเวลาจัดงาน จ้างช่างดอกไม้มาจัดดอกไม้แทนการช่วยเหลือกัน จัดจ้างแม่บ้านดูแลกิจการงาน ภายในบ้าน และค่านิยมดังกล่าวได้แผ่ขยายเข้าไปในชนบทไทยด้วย ดังจะเห็นว่าปัจจุบัน การทานา ไถ นา หว่านข้าว และเกี่ยวข้าว ไม่มีการลงแขก แต่ใช้วิธีว่าจ้างแรงงานทั้งสิ้น นอกจากนั้นในสังคมไทย ปัจจุบันหันมานิยมยกย่องคนที่มีฐานะดี มีเศรษฐกิจดี ดังนั้นคนมีเงินจึงเป็นมาตรฐานชี้วัดฐานะของคน ไทยในสังคมไทยด้วย ๓.๒.๒ การให้ความสาคัญกับระบบการศึกษาแบบตะวันตก เดิมค่านิยมของคน ไทยเป็นการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ครอบครัวไทยจะเน้นการพึ่งพาอาศัยตนเอง คือ ทาแบบ พอมีพอกิน เมื่อระบบการศึกษาแบบตะวันตกเข้ามา ทาให้คนไทยเลิกให้ค่านิยมดั้งเดิม รับแนวคิด การศึกษาแบบตะวันตกเข้ามาพัฒนาการศึกษาในประเทศ เช่น กรณีการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติไทย ระบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่นามาใช้กับประเทศไทยอาจดีสาหรับอีกประเทศหนึ่ง คือ การเปิดเครดิต การเปิดเสรีทางเงิน ทาให้คนไทยต้องไปกู้ยืมเงินชาวต่างชาติเข้ามาพัฒนาธุรกิจระบบธนาคารของไทย แต่คนไทยได้ใช้การกู้ยืมเงินมาจากธนาคาร และไม่ได้ทาให้งอกเงย เงินส่วนใหญ่นาไปพัฒนาด้านความ เป็นอยู่ในชีวิตประจาวันคนไทยทุกคนจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวมาสามารถส่งดอกผลให้ธนาคารได้ ทาให้
  • 14. รายวิชา 1742313 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Historical and Cultural Tourism) 14 ธนาคารล้มละลายทาให้เศรษฐกิจไทยทรุดอย่างหนัก ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา ปัจจุบันสังคมไทย จึงมีการเรียกร้องให้หันมาใช้ค่านิยมแบบเดิมของไทย โดยการปฏิบัติตามโครงการในพระราชดาริ “เศรษฐกิจพอเพียง” ๓.๒.๓ การนิยมวัฒนธรรมตะวันตก ค่านิยมของสังคมไทยในการสร้างบ้านเรือน เดิม คนไทยนิยมบ้านทรงไทยตามความนิยมของคนไทยในแต่ละภาค ปัจจุบันคนไทยหันกลับไปนิยมการ สร้างบ้านแบบยุโรป การสร้างสถานที่หน่วยงานของไทยแบบยุโรป อาคาร ร้านค้า ย่านธุรกิจแบบยุโรป ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งเป็นกล่องขนาดสูงใหญ่ แม้มีการรณรงค์ให้อนุรักษ์วัฒนธรรมสร้างอาคารแบบทรง ไทย เช่น การสร้างอาคารแบบล้านนาที่จังหวัดเชียงใหม่ต้องมีสัญลักษณ์ “กาแล” ติดบนหลังคา เราจะ เห็นว่า อาคารที่สร้างบริเวณจังหวัดเชียงใหม่จะมีลักษณะอาคารตามแบบยุโรปแต่ติด “กาแล” หลักฐานนี้ ทาให้วัฒนธรรมการสร้างอาคารแบบทรงไทยล้านนาเสียไป ปัญหาต่อไป คือ ค่านิยมเรื่อง การทาความ เคารพของคนไทย ปัจจุบันนิยมจับมือหรือโค้งคานับแบบฝรั่ง ทาให้วัฒนธรรมแบบไทยๆ เช่น การไหว้ หายไปจากสังคมไทย เป็นต้น ๓.๒.๔ การยกย่องผู้มีตาแหน่ง ค่านิยมของคนไทยในเรื่องการยกย่องผู้มีตาแหน่ง เช่น ผู้แทนราษฎรเมื่อได้รับตาแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ฐานะในสังคมจะเปลี่ยนไป พร้อมกับ การเปลี่ยนแปลงฐานะของภริยาและลูกๆ ก็เปลี่ยนด้วย เช่น ได้รับการยกย่องสรรเสริญ การให้ความ เคารพ ให้ความเกรงใจและให้เกียรติเป็นประธานในงานพิธี เป็นต้น ๓.๒.๕ ชอบจัดงานพิธีที่หรูหราฟุ่มเฟือย ค่านิยมของสังคมไทยปัจจุบันนิยมจัดงาน พิธีแบบหรูหรา เช่น งานเลื่อนยศ งานขึ้นบ้านใหม่ งานเลี้ยงส่งและรับผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ฯลฯ การจัดงานแต่ละครั้งนิยมเลี้ยงหรูหราในภัตตาคารหรือโรงแรมขนาดใหญ่ ทุกคนเข้าไปในงาน จะต้องแต่งกายเลิศหรู เสื้อผ้าที่สวมใส่ต้องเป็นเสื้อมียี่ห้อจากต่างประเทศ หรือสั่งตัดจากร้านที่มีชื่อเสียง การจัดงานพิธีดังกล่าวทาขึ้นเพื่อหน้าตาชื่อเสียงและเกียรติยศของเจ้าภาพ ๓.๒.๖ การนิยมวัตถุ ค่านิยมของสังคมในเมืองนิยมสวมใส่เครื่องประดับเพชรเม็ดโตๆ การใช้รถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ราคาแพง นิยมการปลูกบ้านที่มีรูปทรงแปลกๆ และมีขนาดใหญ่มากหรือ นิยมสร้างบ้านทรงไทยเป็นเรื่องหมู่ที่มีขนาดใหญ่เกินความจาเป็น หรือนิยมสร้างบ้านเรือนแบบยุโรป ค่านิยมดังกล่าว คนไทยเชื่อว่า บุคคลใดใช้สิ่งของที่ดี มีขนาดใหญ่โต สวยงาม บุคคลนั้นจะเป็นผู้มีฐานะ ดีและเป็นบุคคลที่มีอยู่ในสังคมชั้นสูง ๓.๒.๗ การขาดระเบียบวินัย ค่านิยมของคนไทยในปัจจุบัน ทุกคนมีค่าใช้จ่ายในการ ครองชีพมาก ทาให้พ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูก ทาให้บุตรธิดาซึ่งเป็นเยาวชนของชาติขาดการอบรม เป็นผู้ไม่มีระเบียบวินัย ทุกคนไปไหนๆ ด้วยความรีบจนบางครั้งต้องขับรถยนต์แซงซ้ายแซงขวา หรือไม่ ขับรถตามกฎจราจรทาให้การจราจรติดขัด นอกจากนี้เราจะเห็นว่าคนไทยขาดระเบียบวินัยในการเดิน เข้าไปทาพิธีรดน้าศพ การทาพิธีบรรจุศพทุกคนไม่นิยมเข้าแถว แต่นิยมเบียดเสียดกันเข้าไปทาพิธี “เหมือนควายแย่งกันออกจากคอก” ทาให้ไม่เหมาะกับบรรยากาศงานพิธี