SlideShare a Scribd company logo
1 of 26
โครงงาน วิชา คอมพิวเตอร์ เรื่อง “ดิน” จัดทำโดย นาย สุริยา   กิจใบ
ที่มาและความสำคัญ ที่มาและความสำคัญของโครงงานคือ หลายคนรู้ว่าดินมีทั้งประโยชน์และโทษ และมีน้อยคนนักที่จะมาศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง”ดิน” เพราะหลายคนคิดว่าดินเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญต่อชีวิต และใช้ทรัพยากรดินไปอย่างเสียประโยชน์ ผมจึงคิดว่าถ้าทำให้คนรู้ถึง สมบัติของดิน โครงสร้างของดิน ชนิดของดิน และดินในพื้นที่ของแต่ละภาคเป็นอย่างไร ผมคิดว่าทุกคนอาจใช้ดินให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้ และจะทำให้คนรู้ถึงคุณค่าของดินมากขึ้น
วัตถุประสงค์ ให้ผู้ศึกษารู้และเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้ ชนิดของดิน สมบัติที่สำคัญของดิน โครงสร้างของดิน ลักษณะดินในประเทศไทย
ดิน ดิน หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่หุ้มห่อโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่างๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้างตัวของดิน
ชนิดของดิน  อนุภาคของดินจะรวมตัวกันเข้าเกิดเป็นเม็ดดิน อนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว อนุภาคขนาดกลางเรียกอนุภาคทรายแป้ง อนุภาคขนาดใหญ่เรียกว่า อนุภาคทรายเนื้อดิน จะมีอนุภาคทั้ง 3 กลุ่มนี้ผสมกันอยู่ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดลักษณะของดิน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน
ดินเหนียว ดินเหนียว เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วมีความยืดหยุ่น อาจปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี มีความสามารถในการจับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้สูง หรือค่อนข้างสูง เป็นดินที่มีก้อนเนื้อละเอียด เพราะมีปริมาณอนุภาคดินเหนียวอยู่มาก เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน
ดินทราย ดินทราย เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารพืชมีน้อย พืชที่ชั้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งอาหารและน้ำเป็นดินที่มีเนื้อดินทรายเพราะมีปริมาณอนุภาคทรายมาก
ดินร่วน ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือ ยืดหยุ่นได้บ้าง มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกในธรรมชาติมักไม่ค่อยพบ แต่จะพบดินที่มีเนื้อดินใกล้เคียงกันมากกว่า
สมบัติที่สำคัญของดิน ถ้าลองสังเกตดูให้ดี... ในเวลาที่เราได้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา น้ำตก ชายทะเล ท้องนา ท้องไร่ สวนผลไม้ ฯลฯ จะพบว่า ดินที่เราเหยียบย่ำอยู่ในแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันออกไป สิ่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีของดิน ซึ่งมีทั้ง สีดำ สีน้ำตาล สีแดง หรือสีเหลือง เป็นต้น หรือลักษณะของเนื้อดินที่มีความหยาบ-ละเอียด แข็ง-นุ่ม แตกต่างกัน ซึ่งความต่างเหล่านี้เป็นผลมาจากปัจจัยและกระบวนการเกิดดินที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อลักษณะหน้าตาของดิน ชนิดของพืชพรรณธรรมชาติที่ขึ้นปกคลุม และความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันไปอีกด้วย
สีของดิน ดินสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ แสดงว่า - ดินนั้นมีอินทรียวัตถุอยู่ในดินมาก หรือ เป็นดินที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของหิน-แร่ ที่มีสีเข้ม เช่น หินภูเขาไฟพวกบะซอลท์ แกบโบร - มักมีความอุดมสมบูรณ์สูง เนื่องจากมีอินทรียวัตถุมาก - ถ้าเป็นดินที่ลุ่มต่ำหน้าดินมีสีคล้ำและดินชั้นล่างมีสีเทา เนื่องจากสภาพอับอากาศ จะต้องเตรียมการระบายน้ำ
ดินสีขาวหรือสีเทาอ่อน แสดงว่า.. - อาจเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดิน มาจากหินที่มีสีจาง หรือเป็นรายมาก หรือ บริเวณที่มีสีจางนั้นเกิดกระบวนการทางดินที่ทำให้ธาตุต่างๆ ถูกชะล้างออกไปจากชั้นดินจนหมด เช่น ชั้นดิน E หรือเกิดจากการสะสมของปูน (lime) หรือยิปซัม (gypsum) หรือเกลือชนิดต่างๆ ก็ได - มักเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีการระบายน้ำดี
ดินสีเหลืองหรือสีแดง แสดงว่า - เป็นดินที่มีอัตราการผุพังสลายตัวสูง เนื่องจาก มีพวกออกไซด์ของเหล็กเคลือบผิวอนุภาคมาก - มักเกิดในในบริเวณที่สูงตามเนินเขาหรือที่ราบไหล่เขา - ดินเหล่านี้มีการระบายน้ำดีถึงดีมาก ถ้าดินมีการระบายน้ำในหน้าตัดดินดีอยู่เสมอ ส่วนใหญ่จะมีสีแดง แต่ถ้าการระบายน้ำของดินไม่ดีเท่ากรณีแรก ดินจะมีสีเหลือง
ดินสีเทาปนน้ำเงิน แสดงว่า .. - ดินบริเวณนั้นอยู่ในสภาวะที่มีน้ำขังตลอด - มีการระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้สารประกอบของเหล็กอยู่ในรูปที่มีสีเทา
ดินสีประ (mottle color) หรือดินที่มีหลายสีผสมกัน แสดงว่า .. ดินบริเวณนั้น อยู่ในสภาพที่มีน้ำแช่ขังสลับสภาพที่ดินแห้ง โดยทั่วไปมักปรากฏเป็นจุดประสีเหลืองหรือสีแดงบนวัสดุพื้นสีเทา เป็นผลมาจาก การเปลี่ยนแปลงของสารประกอบของเหล็ก ที่จะแสดงสีเทาเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีน้ำขัง (ขาดออกซิเจน) และเปลี่ยนรูปเป็นสารที่ให้สีแดงเมื่ออยู่ในสภาวะดินแห้ง (มีออกซิเจนมาก) มักจะพบในดินนาซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลพอสมควร ซึ่งน้ำระบายจากหน้าตัดจนแห้งได้ในฤดูแล้งหลังการเก็บเกี่ยว
เนื้อดิน เนื้อดิน เป็นสมบัติที่บอกถึงความหยาบหรือละเอียดของชิ้นส่วนเล็กๆ ของดิน ที่เราเรียกว่า “อนุภาคของดิน” ซึ่งอนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่ท่ากัน แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ขนาดใหญ่เรียกว่าอนุภาคขนาดทราย (2.0-0.05 มิลลิเมตร) ขนาดกลางเรียกว่าอนุภาคขนาดทรายแป้ง (0.05-0.002 มิลลิเมตร) และขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว (< 0.002 มิลลิเมตร) การรวมตัวกันของอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดเป็นเนื้อดินชนิดต่างๆขึ้นมา ในการจำแนกประเภทของเนื้อดินนั้นจะถือเอาเปอร์เซ็นต์ของอนุภาคขนาดเหล่านี้ ที่มีอยู่ในดินนั้นๆ เป็นหลัก โดยทั่วไปเนื้อดินอาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ
ดินทราย เป็นดินที่มีอนุภาคขนาดทรายเป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่าร้อยละ 85 ลักษณะโดยทั่วไปจะเกาะตัวกันหลวมๆ และมองเห็นเป็นเม็ดเดี่ยวๆ ได้ ถ้าสัมผัสดินที่อยู่ในสภาพแห้งจะรู้สึกสากมือ เมื่อลองกำดินที่แห้งนี้ไว้ในอุ้งมือแล้วคลายมือออกดินก็จะแตกออกจากกันได้ แต่ถ้ากำดินที่อยู่ในสภาพชื้นจะสามารถทำให้เป็นก้อนหลวมๆ ได้ แต่พอสัมผัสจะแตกออกจากกันทันที ดินทรายเป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก แต่มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารพืชมีน้อย พืชที่ขึ้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งธาตุอาหารและน้ำ เนื้อดินที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดินทราย ดินทรายปนดินร่วน และดินร่วนปนทราย
ดินร่วน โดยทั่วไปจะประกอบด้วยอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และดินเหนียวในปริมาณใกล้เคียงกัน (อนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 7-27 อนุภาคขนาดทรายแป้งร้อยละ 28-50 และมีอนุภาคขนาดทรายน้อยกว่าร้อยละ 52) ดินร่วน เป็นดินที่เนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือใน สภาพดินแห้งจะจับกันเป็นก้อนแข็งพอประมาณ ในสภาพดินชื้นจะยืดหยุ่นได้บ้าง เมื่อสัมผัสหรือคลึงดินจะรู้สึกนุ่มมือแต่อาจจะรู้สึกสากมืออยู่บ้างเล็ก น้อย เมื่อกำดินให้แน่นในฝ่ามือแล้วคลายมือออก ดินจะจับกันเป็นก้อนไม่แตกออกจากกัน เป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก เนื้อดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
ดินเหนียว เนื้อดินประกอบด้วยอนุภาคขนาดดินเหนียวตั้งแต่ร้อยละ 40 ขึ้นไป มีอนุภาคขนาดทราย ร้อยละ 45 หรือน้อยกว่า และมีอนุภาคขนาดทรายแป้งน้อยกว่าร้อยละ 40 ดินเหนียวเป็นดินที่มีเนื้อละเอียด ในสภาพดินแห้งจะแตกออกเป็นก้อนแข็งมาก เมื่อเปียกน้ำแล้วจะมีความยืดหยุ่น สามารถปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี แต่สามารถอุ้มน้ำ ดูดยึด และแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้ดี เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน เนื้อดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทรายแป้ง
โครงสร้างของดิน โครงสร้างของดิน เป็นสมบัติของดินที่เกิดขึ้นจากการเกาะจับกันของอนุภาคที่เป็นของแข็งในดิน (ส่วนที่เป็นแร่ธาตุหรืออนินทรีย์สารและอินทรียวัตถุ) เกิดเป็นเม็ดดินหรือเป็นก้อนดินที่มีขนาด รูปร่าง และความคงทนแข็งแรงในการยึดตัวต่างๆกัน โครงสร้างของดินมีผลต่อการซึมผ่านของน้ำที่ผิวดิน การอุ้มน้ำ ระบายน้ำ และการถ่ายเทอากาศในดิน รวมถึงการแพร่กระจายของรากพืชด้วยโครงสร้างดิน อาจเกิดจากแรงเกาะยึดกันระหว่างอนุภาคในดิน การที่ดินแห้งและเปียก การแข็งตัวเมื่อมีอากาศหนาวจัด หรือการละลายของหิมะ นอกจากนี้ รากพืช กิจกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดิน อินทรียวัตถุ และสารอื่นๆ ที่มีในดิน สามารถที่จะเป็นตัวเชื่อมให้เกิดโครงสร้างดินได้เช่นกัน
ดินทรายและดินเหนียว เป็นดินที่ไม่มีโครงสร้าง ดินทราย แม้ว่าจะโปร่งและซุยก็จริง แต่เม็ดทรายกระจายอยู่เป็นเม็ดเดี่ยวๆ (single grain) ไม่มีการเกาะกันเป็นโครงสร้างแบบก้อนกลม จึงไม่มีสมบัติทางด้านการอุ้มน้ำที่ดี เมื่อฝนตกดินอุ้มน้ำได้น้อยจึงเกิดสภาพแห้งแล้งได้ง่าย พืชที่ปลูกจะขาดน้ำง่าย  ดินเหนียว อนุภาคเกาะกันแน่นเป็นก้อนทึบ (massive) อุ้มน้ำได้มากเมื่อฝนตก แต่จะแน่นทึบไม่โปร่งซุยเหมือนดินทราย ไถพรวนยาก การถ่ายเทและการระบายน้ำไม่ดี เกิดน้ำท่วมขัง รากพืชไม่สามารถเจริญเติบโตดูดน้ำและธาตุอาหารได้
แบบก้อนกลม (granular) แบบก้อนกลม (granular) มีรูปร่างคล้ายทรงกลม เม็ดดินมีขนาดเล็กประมาณ 1-10 มิลลิเมตร มักพบในดินชั้น A มีรากพืชปนอยู่มาก เนื้อดินมีความพรุนมาก ระบายน้ำและอากาศได้ดี
แบบก้อนเหลี่ยม (blocky) แบบก้อนเหลี่ยม (blocky) มีรูปร่างคล้ายกล่อง เม็ดดินมีขนาดประมาณ1-5 เซนติเมตร มักพบในชั้นดิน B มีการกระจายของรากพืชปานกลาง น้ำและอากาศซึมผ่านได้
แบบแผ่น (platy) แบบแผ่น (platy) ก้อนดินแบนวางตัวในแนวราบ และซ้อนเหลื่อมกันเป็นชั้น ขัดขวางการชอนไชของรากพืช น้ำและอากาศซึมผ่านได้ยาก มักเป็นดินชั้น A ที่ถูกบีบอัดจากการบดไถของเครื่องจักรกล
แบบแท่งหัวเหลี่ยม (prismatic) แบบแท่งหัวเหลี่ยม (prismatic) มีผิวหน้าแบนและเรียบ เป็นแท่งหัวเหลี่ยมคล้ายปริซึม ส่วนบนของปลายแท่งมักมีรูปร่างแบน เม็ดดินมีขนาด 1-10 เซนติเมตร มักพบในดินชั้น B น้ำและอากาศซึมได้ปานกลาง
แบบแท่งหัวมน (columnar) แบบแท่งหัวมน (columnar) ส่วนบนของปลายแท่งมีลักษณะกลมมน ปกคลุมด้วยเกลือ เม็ดดินมีขนาด 1-10 เซนติเมตร มักพบในดินชั้น B และเกิดในเขตแห้งแล้ง มีการสะสมของโซเดียมสูง
ประโยชน์ของดิน  ดินมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คือ      1. ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม เพราะดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรมเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ในดินจะมีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารรวมทั้งน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช อาหารที่คนเราบริโภคในทุกวันนี้มาจากการเกษตรกรรมถึง 90%      2. การเลี้ยงสัตว์ ดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ทั้งพวกพืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่ ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู แมลง นาก ฯลฯ      3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แผ่นดินเป็นที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทำให้เกิดวัฒนธรรมและอารยะธรรมของชุมชนต่าง ๆ มากมาย      4. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เนื้อดินจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กรวด ทราย ตะกอน และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นในดินซึ่งถ้ามีอยู่มาก ๆ ก็จะกลายเป็นน้ำซึมอยู่คือน้ำใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำลำคลองทำให้เรามีน้ำใช้ได้ตลอดปี

More Related Content

Viewers also liked

Magazine spreads
Magazine spreadsMagazine spreads
Magazine spreadszenmariku
 
02 kab final report in indonesia 2007
02 kab final report in indonesia 200702 kab final report in indonesia 2007
02 kab final report in indonesia 2007imecommunity
 
Introhive overview general
Introhive overview   generalIntrohive overview   general
Introhive overview generalChris May
 
Intro to Grace 2010 revised April 2010
Intro to Grace 2010  revised April 2010Intro to Grace 2010  revised April 2010
Intro to Grace 2010 revised April 2010Andrew Field
 
JavaScript Debugging Tips and Tricks
JavaScript Debugging Tips and TricksJavaScript Debugging Tips and Tricks
JavaScript Debugging Tips and TricksSunny Sharma
 
Acuerdo 444 marco_curricular_comun_snb
Acuerdo 444 marco_curricular_comun_snbAcuerdo 444 marco_curricular_comun_snb
Acuerdo 444 marco_curricular_comun_snbDaniel Desmoctt
 
Tips for Students to Maintain their Motivation
Tips for Students to Maintain their MotivationTips for Students to Maintain their Motivation
Tips for Students to Maintain their MotivationDamian T. Gordon
 
ArcGIS Server Tips and Tricks, MAC-URISA2010
ArcGIS Server Tips and Tricks, MAC-URISA2010ArcGIS Server Tips and Tricks, MAC-URISA2010
ArcGIS Server Tips and Tricks, MAC-URISA2010Brian
 

Viewers also liked (15)

100 examples
100 examples100 examples
100 examples
 
Magazine spreads
Magazine spreadsMagazine spreads
Magazine spreads
 
Six Word Stories
Six Word StoriesSix Word Stories
Six Word Stories
 
02 kab final report in indonesia 2007
02 kab final report in indonesia 200702 kab final report in indonesia 2007
02 kab final report in indonesia 2007
 
Englishslideshow
EnglishslideshowEnglishslideshow
Englishslideshow
 
Own artist
Own artistOwn artist
Own artist
 
Introhive overview general
Introhive overview   generalIntrohive overview   general
Introhive overview general
 
Steel 3
Steel 3Steel 3
Steel 3
 
Intro to Grace 2010 revised April 2010
Intro to Grace 2010  revised April 2010Intro to Grace 2010  revised April 2010
Intro to Grace 2010 revised April 2010
 
JavaScript Debugging Tips and Tricks
JavaScript Debugging Tips and TricksJavaScript Debugging Tips and Tricks
JavaScript Debugging Tips and Tricks
 
Acuerdo 444 marco_curricular_comun_snb
Acuerdo 444 marco_curricular_comun_snbAcuerdo 444 marco_curricular_comun_snb
Acuerdo 444 marco_curricular_comun_snb
 
Tips for Students to Maintain their Motivation
Tips for Students to Maintain their MotivationTips for Students to Maintain their Motivation
Tips for Students to Maintain their Motivation
 
Enriching Faculty for Student Success
Enriching Faculty for Student SuccessEnriching Faculty for Student Success
Enriching Faculty for Student Success
 
ArcGIS Server Tips and Tricks, MAC-URISA2010
ArcGIS Server Tips and Tricks, MAC-URISA2010ArcGIS Server Tips and Tricks, MAC-URISA2010
ArcGIS Server Tips and Tricks, MAC-URISA2010
 
TRIZ - v2.0
TRIZ - v2.0TRIZ - v2.0
TRIZ - v2.0
 

ดิน

  • 1. โครงงาน วิชา คอมพิวเตอร์ เรื่อง “ดิน” จัดทำโดย นาย สุริยา กิจใบ
  • 2. ที่มาและความสำคัญ ที่มาและความสำคัญของโครงงานคือ หลายคนรู้ว่าดินมีทั้งประโยชน์และโทษ และมีน้อยคนนักที่จะมาศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง”ดิน” เพราะหลายคนคิดว่าดินเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญต่อชีวิต และใช้ทรัพยากรดินไปอย่างเสียประโยชน์ ผมจึงคิดว่าถ้าทำให้คนรู้ถึง สมบัติของดิน โครงสร้างของดิน ชนิดของดิน และดินในพื้นที่ของแต่ละภาคเป็นอย่างไร ผมคิดว่าทุกคนอาจใช้ดินให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้ และจะทำให้คนรู้ถึงคุณค่าของดินมากขึ้น
  • 3. วัตถุประสงค์ ให้ผู้ศึกษารู้และเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้ ชนิดของดิน สมบัติที่สำคัญของดิน โครงสร้างของดิน ลักษณะดินในประเทศไทย
  • 4. ดิน ดิน หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่หุ้มห่อโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่างๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้างตัวของดิน
  • 5. ชนิดของดิน อนุภาคของดินจะรวมตัวกันเข้าเกิดเป็นเม็ดดิน อนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว อนุภาคขนาดกลางเรียกอนุภาคทรายแป้ง อนุภาคขนาดใหญ่เรียกว่า อนุภาคทรายเนื้อดิน จะมีอนุภาคทั้ง 3 กลุ่มนี้ผสมกันอยู่ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดลักษณะของดิน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน
  • 6. ดินเหนียว ดินเหนียว เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วมีความยืดหยุ่น อาจปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี มีความสามารถในการจับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้สูง หรือค่อนข้างสูง เป็นดินที่มีก้อนเนื้อละเอียด เพราะมีปริมาณอนุภาคดินเหนียวอยู่มาก เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน
  • 7. ดินทราย ดินทราย เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารพืชมีน้อย พืชที่ชั้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งอาหารและน้ำเป็นดินที่มีเนื้อดินทรายเพราะมีปริมาณอนุภาคทรายมาก
  • 8. ดินร่วน ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือ ยืดหยุ่นได้บ้าง มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกในธรรมชาติมักไม่ค่อยพบ แต่จะพบดินที่มีเนื้อดินใกล้เคียงกันมากกว่า
  • 9. สมบัติที่สำคัญของดิน ถ้าลองสังเกตดูให้ดี... ในเวลาที่เราได้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา น้ำตก ชายทะเล ท้องนา ท้องไร่ สวนผลไม้ ฯลฯ จะพบว่า ดินที่เราเหยียบย่ำอยู่ในแต่ละพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันออกไป สิ่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีของดิน ซึ่งมีทั้ง สีดำ สีน้ำตาล สีแดง หรือสีเหลือง เป็นต้น หรือลักษณะของเนื้อดินที่มีความหยาบ-ละเอียด แข็ง-นุ่ม แตกต่างกัน ซึ่งความต่างเหล่านี้เป็นผลมาจากปัจจัยและกระบวนการเกิดดินที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อลักษณะหน้าตาของดิน ชนิดของพืชพรรณธรรมชาติที่ขึ้นปกคลุม และความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันไปอีกด้วย
  • 10. สีของดิน ดินสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ แสดงว่า - ดินนั้นมีอินทรียวัตถุอยู่ในดินมาก หรือ เป็นดินที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของหิน-แร่ ที่มีสีเข้ม เช่น หินภูเขาไฟพวกบะซอลท์ แกบโบร - มักมีความอุดมสมบูรณ์สูง เนื่องจากมีอินทรียวัตถุมาก - ถ้าเป็นดินที่ลุ่มต่ำหน้าดินมีสีคล้ำและดินชั้นล่างมีสีเทา เนื่องจากสภาพอับอากาศ จะต้องเตรียมการระบายน้ำ
  • 11. ดินสีขาวหรือสีเทาอ่อน แสดงว่า.. - อาจเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดิน มาจากหินที่มีสีจาง หรือเป็นรายมาก หรือ บริเวณที่มีสีจางนั้นเกิดกระบวนการทางดินที่ทำให้ธาตุต่างๆ ถูกชะล้างออกไปจากชั้นดินจนหมด เช่น ชั้นดิน E หรือเกิดจากการสะสมของปูน (lime) หรือยิปซัม (gypsum) หรือเกลือชนิดต่างๆ ก็ได - มักเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีการระบายน้ำดี
  • 12. ดินสีเหลืองหรือสีแดง แสดงว่า - เป็นดินที่มีอัตราการผุพังสลายตัวสูง เนื่องจาก มีพวกออกไซด์ของเหล็กเคลือบผิวอนุภาคมาก - มักเกิดในในบริเวณที่สูงตามเนินเขาหรือที่ราบไหล่เขา - ดินเหล่านี้มีการระบายน้ำดีถึงดีมาก ถ้าดินมีการระบายน้ำในหน้าตัดดินดีอยู่เสมอ ส่วนใหญ่จะมีสีแดง แต่ถ้าการระบายน้ำของดินไม่ดีเท่ากรณีแรก ดินจะมีสีเหลือง
  • 13. ดินสีเทาปนน้ำเงิน แสดงว่า .. - ดินบริเวณนั้นอยู่ในสภาวะที่มีน้ำขังตลอด - มีการระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้สารประกอบของเหล็กอยู่ในรูปที่มีสีเทา
  • 14. ดินสีประ (mottle color) หรือดินที่มีหลายสีผสมกัน แสดงว่า .. ดินบริเวณนั้น อยู่ในสภาพที่มีน้ำแช่ขังสลับสภาพที่ดินแห้ง โดยทั่วไปมักปรากฏเป็นจุดประสีเหลืองหรือสีแดงบนวัสดุพื้นสีเทา เป็นผลมาจาก การเปลี่ยนแปลงของสารประกอบของเหล็ก ที่จะแสดงสีเทาเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีน้ำขัง (ขาดออกซิเจน) และเปลี่ยนรูปเป็นสารที่ให้สีแดงเมื่ออยู่ในสภาวะดินแห้ง (มีออกซิเจนมาก) มักจะพบในดินนาซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลพอสมควร ซึ่งน้ำระบายจากหน้าตัดจนแห้งได้ในฤดูแล้งหลังการเก็บเกี่ยว
  • 15. เนื้อดิน เนื้อดิน เป็นสมบัติที่บอกถึงความหยาบหรือละเอียดของชิ้นส่วนเล็กๆ ของดิน ที่เราเรียกว่า “อนุภาคของดิน” ซึ่งอนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่ท่ากัน แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ขนาดใหญ่เรียกว่าอนุภาคขนาดทราย (2.0-0.05 มิลลิเมตร) ขนาดกลางเรียกว่าอนุภาคขนาดทรายแป้ง (0.05-0.002 มิลลิเมตร) และขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว (< 0.002 มิลลิเมตร) การรวมตัวกันของอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดเป็นเนื้อดินชนิดต่างๆขึ้นมา ในการจำแนกประเภทของเนื้อดินนั้นจะถือเอาเปอร์เซ็นต์ของอนุภาคขนาดเหล่านี้ ที่มีอยู่ในดินนั้นๆ เป็นหลัก โดยทั่วไปเนื้อดินอาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ
  • 16. ดินทราย เป็นดินที่มีอนุภาคขนาดทรายเป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่าร้อยละ 85 ลักษณะโดยทั่วไปจะเกาะตัวกันหลวมๆ และมองเห็นเป็นเม็ดเดี่ยวๆ ได้ ถ้าสัมผัสดินที่อยู่ในสภาพแห้งจะรู้สึกสากมือ เมื่อลองกำดินที่แห้งนี้ไว้ในอุ้งมือแล้วคลายมือออกดินก็จะแตกออกจากกันได้ แต่ถ้ากำดินที่อยู่ในสภาพชื้นจะสามารถทำให้เป็นก้อนหลวมๆ ได้ แต่พอสัมผัสจะแตกออกจากกันทันที ดินทรายเป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก แต่มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารพืชมีน้อย พืชที่ขึ้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งธาตุอาหารและน้ำ เนื้อดินที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดินทราย ดินทรายปนดินร่วน และดินร่วนปนทราย
  • 17. ดินร่วน โดยทั่วไปจะประกอบด้วยอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และดินเหนียวในปริมาณใกล้เคียงกัน (อนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 7-27 อนุภาคขนาดทรายแป้งร้อยละ 28-50 และมีอนุภาคขนาดทรายน้อยกว่าร้อยละ 52) ดินร่วน เป็นดินที่เนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือใน สภาพดินแห้งจะจับกันเป็นก้อนแข็งพอประมาณ ในสภาพดินชื้นจะยืดหยุ่นได้บ้าง เมื่อสัมผัสหรือคลึงดินจะรู้สึกนุ่มมือแต่อาจจะรู้สึกสากมืออยู่บ้างเล็ก น้อย เมื่อกำดินให้แน่นในฝ่ามือแล้วคลายมือออก ดินจะจับกันเป็นก้อนไม่แตกออกจากกัน เป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก เนื้อดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
  • 18. ดินเหนียว เนื้อดินประกอบด้วยอนุภาคขนาดดินเหนียวตั้งแต่ร้อยละ 40 ขึ้นไป มีอนุภาคขนาดทราย ร้อยละ 45 หรือน้อยกว่า และมีอนุภาคขนาดทรายแป้งน้อยกว่าร้อยละ 40 ดินเหนียวเป็นดินที่มีเนื้อละเอียด ในสภาพดินแห้งจะแตกออกเป็นก้อนแข็งมาก เมื่อเปียกน้ำแล้วจะมีความยืดหยุ่น สามารถปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี แต่สามารถอุ้มน้ำ ดูดยึด และแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้ดี เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน เนื้อดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทรายแป้ง
  • 19. โครงสร้างของดิน โครงสร้างของดิน เป็นสมบัติของดินที่เกิดขึ้นจากการเกาะจับกันของอนุภาคที่เป็นของแข็งในดิน (ส่วนที่เป็นแร่ธาตุหรืออนินทรีย์สารและอินทรียวัตถุ) เกิดเป็นเม็ดดินหรือเป็นก้อนดินที่มีขนาด รูปร่าง และความคงทนแข็งแรงในการยึดตัวต่างๆกัน โครงสร้างของดินมีผลต่อการซึมผ่านของน้ำที่ผิวดิน การอุ้มน้ำ ระบายน้ำ และการถ่ายเทอากาศในดิน รวมถึงการแพร่กระจายของรากพืชด้วยโครงสร้างดิน อาจเกิดจากแรงเกาะยึดกันระหว่างอนุภาคในดิน การที่ดินแห้งและเปียก การแข็งตัวเมื่อมีอากาศหนาวจัด หรือการละลายของหิมะ นอกจากนี้ รากพืช กิจกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดิน อินทรียวัตถุ และสารอื่นๆ ที่มีในดิน สามารถที่จะเป็นตัวเชื่อมให้เกิดโครงสร้างดินได้เช่นกัน
  • 20. ดินทรายและดินเหนียว เป็นดินที่ไม่มีโครงสร้าง ดินทราย แม้ว่าจะโปร่งและซุยก็จริง แต่เม็ดทรายกระจายอยู่เป็นเม็ดเดี่ยวๆ (single grain) ไม่มีการเกาะกันเป็นโครงสร้างแบบก้อนกลม จึงไม่มีสมบัติทางด้านการอุ้มน้ำที่ดี เมื่อฝนตกดินอุ้มน้ำได้น้อยจึงเกิดสภาพแห้งแล้งได้ง่าย พืชที่ปลูกจะขาดน้ำง่าย ดินเหนียว อนุภาคเกาะกันแน่นเป็นก้อนทึบ (massive) อุ้มน้ำได้มากเมื่อฝนตก แต่จะแน่นทึบไม่โปร่งซุยเหมือนดินทราย ไถพรวนยาก การถ่ายเทและการระบายน้ำไม่ดี เกิดน้ำท่วมขัง รากพืชไม่สามารถเจริญเติบโตดูดน้ำและธาตุอาหารได้
  • 21. แบบก้อนกลม (granular) แบบก้อนกลม (granular) มีรูปร่างคล้ายทรงกลม เม็ดดินมีขนาดเล็กประมาณ 1-10 มิลลิเมตร มักพบในดินชั้น A มีรากพืชปนอยู่มาก เนื้อดินมีความพรุนมาก ระบายน้ำและอากาศได้ดี
  • 22. แบบก้อนเหลี่ยม (blocky) แบบก้อนเหลี่ยม (blocky) มีรูปร่างคล้ายกล่อง เม็ดดินมีขนาดประมาณ1-5 เซนติเมตร มักพบในชั้นดิน B มีการกระจายของรากพืชปานกลาง น้ำและอากาศซึมผ่านได้
  • 23. แบบแผ่น (platy) แบบแผ่น (platy) ก้อนดินแบนวางตัวในแนวราบ และซ้อนเหลื่อมกันเป็นชั้น ขัดขวางการชอนไชของรากพืช น้ำและอากาศซึมผ่านได้ยาก มักเป็นดินชั้น A ที่ถูกบีบอัดจากการบดไถของเครื่องจักรกล
  • 24. แบบแท่งหัวเหลี่ยม (prismatic) แบบแท่งหัวเหลี่ยม (prismatic) มีผิวหน้าแบนและเรียบ เป็นแท่งหัวเหลี่ยมคล้ายปริซึม ส่วนบนของปลายแท่งมักมีรูปร่างแบน เม็ดดินมีขนาด 1-10 เซนติเมตร มักพบในดินชั้น B น้ำและอากาศซึมได้ปานกลาง
  • 25. แบบแท่งหัวมน (columnar) แบบแท่งหัวมน (columnar) ส่วนบนของปลายแท่งมีลักษณะกลมมน ปกคลุมด้วยเกลือ เม็ดดินมีขนาด 1-10 เซนติเมตร มักพบในดินชั้น B และเกิดในเขตแห้งแล้ง มีการสะสมของโซเดียมสูง
  • 26. ประโยชน์ของดิน ดินมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คือ 1. ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม เพราะดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรมเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ในดินจะมีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารรวมทั้งน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช อาหารที่คนเราบริโภคในทุกวันนี้มาจากการเกษตรกรรมถึง 90% 2. การเลี้ยงสัตว์ ดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ทั้งพวกพืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่ ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู แมลง นาก ฯลฯ 3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แผ่นดินเป็นที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทำให้เกิดวัฒนธรรมและอารยะธรรมของชุมชนต่าง ๆ มากมาย 4. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เนื้อดินจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กรวด ทราย ตะกอน และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นในดินซึ่งถ้ามีอยู่มาก ๆ ก็จะกลายเป็นน้ำซึมอยู่คือน้ำใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำลำคลองทำให้เรามีน้ำใช้ได้ตลอดปี