SlideShare a Scribd company logo
1 of 100
Download to read offline
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
Office of the National Culture Commission, Ministry of Culture

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
๒๕๕๒/2009
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
Office of the National Culture Commission, Ministry of Culture
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
บทนำ
	 เป็นที่ตระหนักกันโดยทั่วไปว่า ปรากฏการณ์หนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับทุกประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน 

คือ การที่มรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นวิถีการดำเนินชีวิตแต่ดั้งเดิมกำลังถูกคุกคามด้วยกระแสต่างๆ เช่น 

กระแสโลกาภิวัตน์ การถูกละเมิด การนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง และการไม่เคารพต่อคุณค่าดั้งเดิม

ทั้งต่อวัฒนธรรม บุคคล หรือชุมชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม ซึ่งนำไปสู่ความสูญหายและความเสื่อมถอย
อย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเหตุให้เกิดความเคลื่อนไหวในระดับโลก เพื่อดำเนินการในการ
ปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป เนื่องจาก
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ของแต่ละเผ่าพันธุ์ที่ได้มี

การประดิษฐ์คิดค้น และปรับใช้ในวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละชุมชนได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม 

และความเป็นอยู่ และยังแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชนได้อย่างชัดเจน
	 ในส่วนของการดำเนินงานในประเทศไทยเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญา

ทางวัฒนธรรม โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเป็น

หลักฐานสำคัญของชาติและเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม
ของตน รวมทั้งเป็นการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ โดย

ในปีงบประมาณพุทธศักราช ๒๕๕๒ สำนักงานฯ กำหนดขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 

สาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม จำนวน ๒๕ รายการขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับการคัดเลือก
และรับรองจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่สำนักงานฯ แต่งตั้ง ในการนี้ จึงได้จัดทำหนังสือมรดก

ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ศิลปะการแสดงและงานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ได้รับ

การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๒
	 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์

ในการสร้างความภาคภูมิใจและตระหนักถึงความสำคัญของการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา

ทางวัฒนธรรมได้ รวมทั้งคาดหวังว่าจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนต่อไป เนื่องจาก
กระบวนการดำเนินการดังกล่าว สำนักงานฯ มิอาจดำเนินการได้เพียงลำพัง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ
จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประสบผลสำเร็จลุล่วง
ตามวัตถุประสงค์
(นายสมชาย เสียงหลาย)
เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
Introduction 
	

In
the
present
day
world,
it
generally
acknowledges
that
intangible
cultural
heritage
of
every
country
is
presently
threatened
by
globalisation,
rights
infringements
and
violation,
misuse,
inappropriation,
and
lack
of
respect
for
the
traditional
culture
itself
or
for
the
individuals
or
communities
that
own
the
cultural
heritage.
This
phenomenon
has
resulted
in
loss
and
quick
deterioration
of
cultural
heritage
and
has
activated
an
international
effort
to
safeguard
and
preserve
the
cultural
heritage,
particularly
the
intangible
cultural
heritage,
which
represents
the
creativity
of
the
ethnic
groups
that
have
created
and
applied
 it
 in
 their
 daily
 life,
 as
 appropriate
 to
 their
 environment
 and
 lifestyle,
 and
 which
 clearly
represents
the
identity
of
their
community.
	

 To
 safeguard
 the
 intangible
 cultural
 heritage
 in
 Thailand,
 the
 Office
 of
 the
 National
 Culture
Commission	(ONCC)	launched	the	“Project	on	Safeguarding	of	the	Intangible	Cultural	Heritage”	with	
the
key
mission
to
list
the
intangible
cultural
heritage
in
Thailand,
which
serves
as
the
key
testimony
for
the
nation,
promotes
community
involvement
and
pride
in
the
community’s
traditional
culture,
and
safeguards
the
local,
regional
and
national
intangible
cultural
heritage.
In
the
2009
fiscal
budget,
the
ONCC
designated
25
items
of
the
intangible
cultural
heritage
for
the
first
time
in
the
performing
arts
and
 traditional
 craftsmanship
 domains.
 The
 items
 in
 the
 list
 were
 selected
 and
 endorsed
 by
 the
Committee
 of
 Experts
 appointed
 by
 the
 ONCC.
 In
 this
 regard,
 a
 book
 on
 the
 intangible
 cultural
heritage
was
published
to
disseminate
and
promote
the
knowledge
of
the
announced
heritage-listed
performing
arts
and
traditional
craftsmanship
in
2009.
	 


The
ONCC
hopes
that
this
book
will
promote
the
pride
in
Thailand’s
intangible
cultural
heritage
and
contribute
to
the
public
awareness
of
the
importance
of
intangible
cultural
heritage
designation.

It
is
also
 hoped
 that
 exchanges
 of
 knowledge
 and
 learning
 about
 the
 intangible
 cultural
 heritage
designation
will
continue,
since
the
process
cannot
be
accomplished
alone
by
the
ONCC
but
needs
cooperation
and
collaboration
from
all
relevant
parties
and
stakeholders
to
ensure
the
success
in
the
safeguarding
of
the
intangible
cultural
heritage.
(Mr. Somchai Seanglai)
Secretary-General
 				
Office of the National Culture Commission
สารบัญ
การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม	 ๑
ความเป็นมา	 ๒
ความหมายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม	 ๔	
วัตถุประสงค์	 ๑๔
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม	 ๑๔
การดำเนินงานขึ้นทะเบียน	 ๑๔
เกณฑ์การคัดเลือกมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม	 ๑๘

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๒	 ๒๓
ประกาศการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒	 ๒๔
เหตุผลสำคัญในการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม	 ๒๖
รายการศิลปะการแสดงที่ประกาศขึ้นทะเบียนประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒	 ๒๘	
รายการงานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ประกาศขึ้นทะเบียนประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒	 ๕๘
ภาคผนวก	 ๘๕		
ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 
ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๒	 ๘๖
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม	 ๘๘
คณะผู้จัดทำ 	 ๙๐
หน้า
Table of Contents
Designation	of	the	Intangible	Cultural	Heritage	 1	
3
 	
5	
15
15
15
Background	History	
Definition	of	Intangible	Cultural	Heritage	
Objectives	
Expected	Benefit	from	the	Designation of Intangible Cultural	Heritage	
Operational	Directives	for	the	Intangible	Cultural	Heritage	Designation	Criteria	
for	Nomination	of	Items	for	the	Intangible	Cultural	Heritage	Designation	 19
Designated	Intangible	Cultural	Heritage	2009	 23
The	Intangible	Cultural	Heritage	Designation	Announcement	2009	 25
 	
	 27
		
List	of	Designated	Intangible	Cultural	Heritage	Items	in	the	Performing	Arts	Domain	in	2009	 29
List	of	Designated	Intangible	Cultural	Heritage	Items	in	the	Traditional	Craftsmanship	Domain	in	2009	 59
Appendix		 85	
 	 
87		
89
Announcement	of	the	Ministry	of	Culture	on	the	Designation	of	Intangible		
Cultural	Heritage	Year	2009	
Committee	of	Experts	on	Intangible	Cultural	Heritage	Designation	Project	
Executive	Committee	 90
Page
การขึ้นทะเบียน
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ความเป็นมา
	 นับตั้งแต่การสถาปนาสำนักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ สำนักงานฯ
ได้ดำเนินการในการศึกษาค้นคว้า อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่
ฟื้นฟู และพัฒนาวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมพื้นบ้าน
มาอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยการกำหนดนโยบาย
ยุทธศาสตร์ มาตรการ โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ที่จะ
ตอบสนองต่อภารกิจดังกล่าว
	 ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘–๒๕๕๑ สำนักงานฯ กำหนด

ให้มีโครงการภูมิบ้านภูมิเมืองขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์

ในการจัดเก็บข้อมูล และจัดทำฐานข้อมูลมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วย ๕ สาขา คือ ๑) วรรณกรรม
พื้นบ้าน ๒) ศิลปะการแสดง ๓) แนวปฏิบัติทางสังคม
พิธีกรรม และงานเทศกาลต่างๆ ๔) ความรู้และวิถีปฏิบัติ
เกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ๕) งานช่างฝีมือดั้งเดิม 
โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้
	 ๑.	 ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น

ในการเก็บข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสาขาต่างๆ
๒.	 จัดเก็บข้อมูลโดยร่วมกับนักวิชาการในท้องถิ่น
และประชาชนผู้เป็นเจ้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
	 ๓.	 เผยแพร่ความรู้ ข้อมูล และสารสนเทศมรดก

ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ผ่านทางเอกสารสิ่งพิมพ์ และ
เว็บไซต์
	 ๔.	 ศึกษาค้นคว้ามาตรการเพื่อการปกป้องคุ้มครอง
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยผ่านกระบวนการวิจัย
การจัดประชุมและสัมมนานานาชาติ และการเข้าร่วม
สังเกตการณ์ในการดำเนินงานด้านการปกป้อง คุ้มครอง
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ และ

ขององค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น องค์การศึกษา

วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) 

ศูนย์วัฒนธรรมแห่งเอเชีย-แปซิฟิกของยูเนสโก (ACCU)
และองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) 
การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
	 สำหรับการจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมนั้น สำนักงานฯ ได้ดำเนินการ ดังนี้
	 ๑.	 จัดเก็บข้อมูลด้านศิลปะการแสดง ระหว่าง

ปี พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๐ ในรูปแบบดิจิตอลทั้งเนื้อหา 

ภาพนิ่ง เสียง และภาพเคลื่อนไหว สามารถจัดเก็บข้อมูลได้
จำนวน ๓๕๐ เรื่อง
	 ๒.	 จัดเก็บข้อมูลด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิม ระหว่าง

ปี พ.ศ. ๒๕๔๙–๒๕๕๐ ในรูปแบบดิจิตอลทั้งเนื้อหา 

ภาพนิ่ง เสียง และภาพเคลื่อนไหว สามารถจัดเก็บข้อมูลได้
จำนวน ๕๐๐ เรื่อง
	 ๓.	 ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้
ด้านศิลปะการแสดงและงานช่างฝีมือดั้งเดิมแก่เด็กและ
เยาวชนทุกจังหวัดทั่วประเทศ
Background History
	 Since its inception in 1979, the Office of the
National Culture Commission (ONCC) has been
responsible for carrying out cultural research, study,
conservation, promotion, dissemination, restoration, and
development, particularly with regard to the folk
cultures. The ONCC has laid down policies, strategies,
and measures and has organised various projects and
activities to fulfill its mission.
 	
 

2) Performing arts; 3) Social practices, rituals and festive
events; 4) Knowledge and practices concerning nature
and the universe; and 5) Traditional craftsmanship.
The ONCC has carried out the following activities
in the aforementioned project:
1. Promotion of, and support for, the local

	
2. 	 Intangible
cultural
heritage
data
collection/

3. Dissemination of data, information, and

4. Studies	and	researches	for	intangible	cultural
heritage safeguarding measures through researches,
international meetings and seminars, and participating as
observers in the safeguarding work of other countries
and of the international agencies such as the United
Nations Educational, Scientific and Cultural Organisation
(UNESCO), the Asia-Pacific Cultural Centre for UNESCO
(ACCU) and World Intellectual Property Organisation
(WIPO).

	
1. 	 Data collection/inventories filing of the

	
2. 	 Data collection/inventories filing of the

3. In 2008, the ONCC organised events and
activities to disseminate the performing arts and
traditional craftsmanship knowledge to the children and
youth in every province throughout the country.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

	 นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ สำนักงานฯ 

ได้เริ่มจัดเก็บข้อมูลด้านวรรณกรรมพื้นบ้านเพิ่มขึ้นอีกสาขาหนึ่ง
และยังได้ผนวกสาขาด้าน กีฬา การละเล่นพื้นบ้านและ
ศิลปะการป้องกันตัวขึ้นมาอีกสาขาหนึ่ง รวมทั้งสิ้นเป็น 

๖ สาขา
	 เพื่อเป็นการต่อยอดการดำเนินงานโครงการภูมิบ้าน
ภูมิเมือง ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ สำนักงานฯ จึงจัดทำ
โครงการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ขึ้นโดยมีกิจกรรมสำคัญ คือ การขึ้นทะเบียนมรดก

ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ในปีแรกนี้
จะดำเนินการในลักษณะโครงการนำร่องก่อน เนื่องจาก

การขึ้นทะเบียนดังกล่าวจะเป็นการขึ้นทะเบียนเป็นครั้งแรก

ในประเทศไทย และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตาม
วัตถุประสงค์ สำนักงานฯ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ
เกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และ
จัดทำ “คู่มือการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒” ขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างความรู้
ความเข้าใจ เห็นคุณค่า ยอมรับในความหลากหลาย

ทางวัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุขของ

คนในสังคมต่อไป
ความหมายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
	 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หมายถึง องค์ความรู้
หรือผลงานที่เกิดจากบุคคล/กลุ่มชนที่ได้มีการสร้างสรรค์
พัฒนา สั่งสม สืบทอด และประยุกต์ใช้ในวิถีการดำเนินชีวิต
มาอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคม
และสิ่งแวดล้อมของแต่ละกลุ่มชน อันแสดงให้เห็นถึง

อัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
	 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 

ผลงานสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรม
ประติมากรรม หัตถกรรม ศิลปะพื้นบ้าน ความรู้ 

ความสามารถ ทักษะ วิถีการปฏิบัติซึ่งแสดงออกทางภาษา
ศิลปะการแสดง งานช่างฝีมือ ความเชื่อ ประเพณี
พิธีกรรม อาหาร เป็นต้น โดยที่สิ่งต่างๆ ดังกล่าว ได้ส่งผ่าน
และสืบทอดต่อกันมารุ่นต่อรุ่น เป็นแนวทางปฏิบัติ 

หรือในบางเรื่องเป็นเสมือนจิตวิญญาณที่ยึดถือร่วมกัน
ของคนในสังคม รวมทั้งในบางเรื่องยังคงมีความงดงาม
และมีคุณค่าทางศิลปะสูงยิ่ง
In the 2009 fiscal year,
the ONCC also began collecting
data in the Folk literature domain
and added another domain to the
pravious fives: Sports, folk games
and martial arts.
 	 To progress on the next
step after the “Phum Ban Phum
Mueang Project,” the ONCC
launched the “Project on the
Safeguarding	 of	 the	 Intangible	 Cultural	 Heritage”	 in	
2009,
with
the
key
mission
to
designate
the
intangible
cultural	heritage	for	2009.	Since	it	was	the	first	time	
that
Thailand
designated
its
intangible
cultural
heritage
items,	it	was	agreed	that	the	project	will	serve	as	the	
pilot	project.	To	fulfil	the	objectives	of	the	project,	the	
ONCC
 appointed
 a
 committee
 to
 form
 the
 criteria
 for
identification,
 nomination
 and
 designation
 of
 the
intangible
cultural
heritage
and
published
a
book
titled
Guidelines for Designation of the intangible Cultural
Heritage in 2009,
which
contributes
to
the
knowledge,
understanding,
 appreciation
 and
 acceptance
 of
 the
cultural
 diversity
 and,
 ultimately,
 the
 peaceful
coexistence
of
people
in
society.

	

 Intangible
 cultural
 heritage
 means
 the
 body
 of
knowledge
or
work
by
individuals
or
groups,
which
was
created,
 developed,
 accumulated,
 transmitted
 and
applied
 in
 the
 daily
 life
 of
 those
 individuals
 or
 groups
continuously,
 in
 response
 to
 the
 social
 and
 natural
environments
 of
 their
 communities,
 and
 representing
their
identity
and
cultural
diversity.
	
of architecture, painting, sculpture,
handicraft, and folk arts; the
knowledge, skill and practices
expressed through language,
performing arts, crafts, beliefs,
traditions, rites, and food, for
example, which are transmitted  

from
generation
to
generation
as
practices
 or
approaches.
 In
some
 cases,
 they
 are
considered
as
a
common
spiritual
bond
of
the
people

in	
the	communities.	Some	intangible	cultural	heritage	items
are
beautiful
and
have
high
artistic
values.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ที่	 สาขา	 รายละเอียด
๑
๒
วรรณกรรมพื้นบ้าน 
หมายถึง วรรณกรรม
ที่ถ่ายทอดอยู่ในวิถีชีวิต
ชาวบ้านโดยครอบคลุม
ทั้งวรรณกรรมที่ถ่ายทอด
โดยวิธีการบอกเล่าและ
ที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
ศิลปะการแสดง หมายถึง
การแสดงออกซึ่งอารมณ์
ความรู้สึก และเรื่องราว
ต่างๆ โดยมีผู้แสดงเป็นสื่อ
ผ่านทางเสียง ได้แก่ 
การขับร้องหรือการเล่น
ดนตรี และทางร่างกาย 
เช่น การร่ายรำ การเชิด 
การเต้น การแสดงท่าทาง
ฯลฯ
๑)	 นิทานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าที่สืบทอดต่อๆ กันมา ประกอบด้วย
นิทานเทวปกรณ์/ตำนาน นิทานศาสนา นิทานคติ นิทานมหัศจรรย์ นิทานชีวิต
นิทานประจำถิ่น นิทานอธิบายเหตุ นิทานเรื่องสัตว์ นิทานเรื่องผี มุขตลก และ
เรื่องโม้ นิทานเข้าแบบของไทย 
๒)	 ประวัติศาสตร์บอกเล่า หมายถึง เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติการตั้ง
ถิ่นฐาน การอพยพ ความเป็นมา และบุคคลสำคัญของชุมชน
๓)	 บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม คำสวดที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ
เช่น บททำขวัญ คำบูชา คำสมา คำเวนทาน บทสวดสรภัญญ์ คาถาบทอานิสงส์
บทประกอบการรักษาโรคพื้นบ้าน คำให้พร คำอธิษฐาน ฯลฯ
๔)	 บทร้องพื้นบ้าน คำร้องที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ เช่น 

บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น บทเกี้ยวพาราสี บทจ๊อย คำเซิ้ง ฯลฯ
๕)	 สำนวนและภาษิต คำพูดหรือคำกล่าวที่สืบทอดกันมามักมีสัมผัส
คล้องจองกัน เช่น โวหาร คำคม คำพังเพย คำอุปมาอุปไมย คำขวัญ คติพจน์ 

คำสบถสาบาน คำสาปแช่ง คำชม คำคะนอง ฯลฯ
๖)	 ปริศนาคำทาย หมายถึง คำหรือข้อความที่ตั้งเป็นคำถาม คำตอบ

ที่สืบทอดกันมา เพื่อให้ผู้ตอบได้ทายหรือตอบปัญหา เช่น คำทาย ปัญหาเชาวน์
ผะหมี 
๗)	 ตำรา องค์ความรู้ที่มีการเขียนบันทึกในเอกสารโบราณ เช่น ตำรา
โหราศาสตร์ ตำราดูลักษณะคนและสัตว์ ตำรายา ฯลฯ
๑)	 ดนตรี หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง และ/หรือลีลา
จังหวะ เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก 

โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ดนตรีมีบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงเพื่อการขับกล่อม
ความบันเทิง ประกอบพิธีกรรม และประกอบการแสดง
๒)	 การแสดง หมายถึง แสดงออกทางร่างกาย ท่วงท่าการเคลื่อนไหว 

ท่าเต้น ท่ารำ การแสดงกิริยาของการเต้น การรำ การเชิด ฯลฯ ซึ่งแสดงถึง
อารมณ์ ความรู้สึก และการเล่าเรื่อง การแสดงอาจแสดงร่วมกับดนตรีและ

การขับร้องหรือไม่ก็ได้
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสามารถจำแนกได้ ๖ สาขา ดังนี้
The
intangible
cultural
heritage
can
be
classified
into
6
domains
as
follows:
NO.	 Domain	 Description
1
2
Folk literature means
literature which is
transmitted by oral means
or written forms within
local way of life.
“Performing arts” means
the expression of emotion,
feelings, or stories through
a performer or sound, such
as singing or music playing,
and through body
movement such as in a
dance, in the manipulation
[of puppets], in gestures
etc.
1) “Folk tales” mean stories that are transmitted from generation to
generation. Included in this domain are, for example, myths, religious tales,
didactic tales, fairy tales, romantic tales, legends/sages, explanatory tales,
animal tales, ghost tales, jokes/humorous anecdotes, formula tales;
2) “Oral history” includes stories about the birthplaces or origins, the
migration, local heroes;
3) Incantations that are chanted during the various rites and rituals,
for example, religious prays, Kham Sama (incantation of asking forgiveness),
Kham wen Than (incantation for transferring the merit), incantation for
traditional healing ritual, blessings, wishes;
4) “Folk verbal scripts” include lullabies, courtship ritual dialogues,
local singings; 
5) “Idioms and adages” mean words or expressions transmitted
which mostly rhyme or play on words, for example, phrases, epigrams,
aphorisms, metaphors, slogans, mottos, swear words/vows, curses/spells,
eulogies, slangs;
6) “Riddles” mean the wordplays in the form of questions which are
inherited through generations, for example, riddles, trick questions; 

7) “Treatise” means knowledge recorded in Ancient Documentary,
for example, books of astrology, books related to the human and animal’s
physiology, pharmacopeias.
	
1) “Music” means the sound that makes up a tune and/or rhythm
that entertains or induces emotion of love, sadness, or joy, for example. The
role and the function of music are to entertain, to accompany rites and
ceremonies, or performances.
2) “Performance” means expression through body movement,
postures, gestures, dance steps, hand gestures, the act of dancing, hand
gesturing, manipulating [the puppets] etc, all of which expresses emotion,
feelings, or tell stories. A performance might be accompanied by music and
singing.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ที่	 สาขา	 รายละเอียด
๓
๔
แนวปฏิบัติทางสังคม
พิธีกรรม และงานเทศกาล
ต่างๆ หมายถึง 
การแสดงออกซึ่งแบบอย่าง
ที่นิยมประพฤติปฏิบัติสืบๆ
กันมา
ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ
และจักรวาล หมายถึง
พื้นเพความรู้ ความสามารถ
ทักษะในการดำรงชีวิตอยู่
ร่วมกับธรรมชาติและ
จักรวาลของกลุ่มชน ชุมชน
และท้องถิ่น
	
๓)	 ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม หมายถึง การผสมผสานระหว่าง

การแสดง การร้อง การร่ายรำ และดนตรีที่ใช้ประกอบในพิธีกรรม ซึ่งเป็น

ส่วนหนึ่งของความเชื่อในการดำรงชีพ การรักษาโรค การเรียกขวัญกำลังใจ 

การประกอบอาชีพ เป็นต้น
๔) 	เพลงร้องพื้นบ้าน หมายถึง บทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นนั้นๆ 

ที่คิดรูปแบบการร้อง การเล่น เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนอง ภาษาที่เรียบง่าย 

มุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่างๆ หรือการร่วมแรงร่วมใจการทำสิ่งใด
สิ่งหนึ่งในการประกอบอาชีพ
๑)	 ความเชื่อ หมายถึง การยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือข้อเสนออย่างใด
อย่างหนึ่งว่าเป็นความจริง การยอมรับเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้จากสติปัญญาโดยมี
เหตุผล หรือความศรัทธา หรือไม่มีความจริง หรือโดยไม่มีเหตุผลก็ได้ ทั้งนี้ 

อาจจะเป็นความเชื่อส่วนบุคคล หรือความเชื่อของกลุ่มบุคคล หรือกลุ่มชน เช่น
ความเชื่อเรื่องผีและอำนาจเหนือธรรมชาติ โฉลก โชคลาง เครื่องรางของขลัง 

ข้อห้าม และอื่นๆ เป็นต้น
๒)	 ขนบธรรมเนียม หมายถึง แบบอย่างที่คนในท้องถิ่นนิยมปฏิบัติสืบต่อ
กันมา เช่น การไหว้ การผูกเสี่ยว (อีสาน) การสมมาหรือขอขมา กิริยามารยาท
และอื่นๆ เป็นต้น
๓)	 ประเพณีและพิธีกรรม หมายถึง สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยึดถือประพฤติ
ปฏิบัติสืบต่อกันมาตามความนิยมจนกำหนดเป็นแบบแผน กิจกรรมหรือกรรมวิธี
เช่น พิธีกรรมการทำมาหากิน พิธีกรรมการดูแลสุขภาพ พิธีกรรมสำหรับแต่ละ

ขั้นตอนในชีวิต พิธีกรรมในศาสนา พิธีกรรมในรอบปี/ประเพณี ๑๒ เดือน 

งานเทศกาล และอื่นๆ เป็นต้น
	
๑)	 การตั้งถิ่นฐาน เป็นองค์ความรู้ในการเลือกทำเล หรือที่ตั้งชุมชน 

การสร้างที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
๒) 	อาหารการกิน เป็นองค์ความรู้ในการผลิต ปรุงแต่ง ถนอมอาหาร

และอื่นๆ ที่สั่งสมและสืบทอดต่อกันมา เช่น วัฏจักรของอาหาร การแปรรูป 

การถนอมอาหาร อาหารในพิธีกรรม ภาชนะเครื่องใช้ และอื่นๆ เป็นต้น
๓)	 การดูแลสุขภาพ เป็นองค์ความรู้ในการจัดการดูแลสุขภาพในชุมชน
แบบดั้งเดิม จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับความเชื่อพิธีกรรม
วัฒนธรรม ประเพณี และทรัพยากรที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น และเป็นที่ยอมรับ
ของชุมชนนั้นๆ เช่น วิถีการปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพและรักษาโรค ความเชื่อ
และระบบความสัมพันธ์ในการดูแลสุขภาพ และอื่นๆ เป็นต้น
๔) 	การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เป็นองค์ความรู้ในการจัดการดูแล
รักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของคนในท้องถิ่นและชุมชนที่สั่งสม
และสืบทอดต่อกันมา เช่น การจัดการดินและแร่ธาตุ ป่า น้ำ และอื่นๆ เป็นต้น
NO.	 Domain	 Description
3
4
“Social practices, rituals
and festive events” means
the expression of
customary or traditional
behaviour that has been
established and transmitted
from generation to
generation.
“Knowledge and practices
concerning nature and the
universe” means the
knowledge, ability, and skill
of the groups, communities
and regions for existing in
harmony with nature and
the universe.
3) “Music and performance in rituals” means the traditional play
activity, such as festival drama, folk dance, and ritualistic dance drama, which
features in a ceremony or rite and forms a part of the belief system, a way of life,
malady treatment and healing, heartening rite, vocational rites, for example.
4) “Folk song” means the song of folk origin in its form or style, with
a simple tune and lyric that aim to entertain during the various occasions or
festivities or during a collaborative labour or work.
	
1) “Beliefs” means the acceptance of the truth of something or of a
proposition, either through wisdom and reason or through faith and lack of
reason, by an individual, a group, or an ethnic group, for example, the belief
in ghosts and spirits and the supernatural, fate, omens, predestination,
talisman, taboo and so on.
2) “Custom” means a way of behaving or a belief which has been
established for a long time in the community, such as the act of wai (polite
greeting or respect-paying gesture by joining the palms of the hands
together), the Phuk Siao rite (a kind of blood-brother vow ceremony of
Thailand’s northeasterners), the Somma or the Kho Khama ceremony
(forgiveness-asking ceremony), the social manners and etiquettes etc.
3) “Tradition and ceremony or rite” means a belief, principle or way
of acting which people in a particular society or group have continued to
follow for a long time that they have become a pattern of behaviours,
activities or procedures, such as the professional traditions, health care
traditions, the various rites of passage, religious rites and traditions, 

the annual rites or the twelve-month’s rites, the festivities and so on.
1) “Settlement” is the body of knowledge for choosing the location or
site for the community, home building and so on.
2) “Gastronomy and culinary” is the art and knowledge involved in
producing, preparing, cooking, preserving and eating good food, which has
been passed on from generation to generation, for example, the food cycle,
food processing, food preservation, food in the rites and ceremony, kitchen
utensils and so on.
3) “Health care” is the knowledge in managing traditional healthcare
in the community, which is embraced by the community, become a part of
the way of life of its people, and is associated with its belief, rite, culture,
tradition, and resources, which are different in each community, for example,
the healthcare practice and treatment of illness, belief and system of
relationship in healthcare and so on.
4) “Natural resources management” is the knowledge of the local
people and the community, which has been passed on from generation to
generation, in managing, taking care of, preserving, and making use of 

the resources. For example, soil, mineral, forest and water management and
so on.
10 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ที่	 สาขา	 รายละเอียด
๕
 งานช่างฝีมือดั้งเดิม
หมายถึง ภูมิปัญญา ทักษะ
ฝีมือช่าง การเลือกใช้วัสดุ
และกลวิธีการสร้างสรรค์

ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ สะท้อน
พัฒนาการทางสังคมและ
วัฒนธรรมของกลุ่มชน
๕) 	โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำนายทายทัก
ดวงชะตา ดวงดาว จักรวาล และสิ่งที่เหนือธรรมชาติ หรือเป็นวิชาที่ว่าด้วย

การพยากรณ์ โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก เช่น การตั้งชื่อ 

การทำนายอนาคต การให้ฤกษ์ และอื่นๆ เป็นต้น
๑)	 ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า หมายถึง ผลผลิตที่เกิดจากการทอ ย้อม 

ถัก ปัก ตีเกลียว ยก จก มัดหมี่ พิมพ์ลาย ขิด เกาะ/ล้วง เพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม
แสดงสถานภาพทางสังคม ลักษณะของผ้าไทยเป็นผ้าหน้าแคบ ลวดลายผ้า

มีความเกี่ยวข้องกับตำนานพื้นถิ่น ความเชื่อ และธรรมชาติ ซึ่งลวดลายดังกล่าว
มักเกิดจากเส้นพุ่งเป็นหลัก เอกลักษณ์ของผ้าไทยที่เด่นชัด คือ ไม่นิยมตัดแต่งผ้า 

มักใช้ทั้งผืน เช่น ผ้าขาวม้า ถุงย่าม ผ้าซิ่น โสร่ง ถ้าเป็นผ้านุ่งจะใช้ผ้าลาย 

แต่ถ้าเป็นผ้าห่มจะใช้ผ้าพื้น
๒) 	เครื่องจักสาน หมายถึง ภาชนะเครื่องใช้ประจำบ้านของคนไทย เช่น
ตะกร้า กระจาด ทำจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ไผ่ หวาย กระจูด ลำเจียก 

โดยนำมาจักและสาน จึงเรียกว่า เครื่องจักสาน กลวิธีในการทำเครื่องจักสาน
ได้แก่ การถัก ผูก รัด มัด ร้อย โดยใช้ตอก หวาย เพื่อให้เครื่องจักสานคงทน 

และคงรูปอยู่ได้ตามต้องการ
๓)	 เครื่องรัก หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้รักเป็นวัสดุสำคัญในการสร้างผลงาน
เช่น ปิดทองรดน้ำ ภาพกำมะลอ ประดับมุก ประดับกระจกสี ปั้นกระแหนะ และ
เขิน รักหรือยางรัก มีคุณลักษณะเป็นยางเหนียว สามารถเกาะจับพื้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ที่ประสงค์จะทาหรือถมทับ หรือเคลือบผิวได้ดีมีคุณสมบัติที่ทำให้ผิวพื้น ซึ่งทา
หรือเคลือบรักเป็นผิวมันภายหลังรักแห้งสนิท มีคุณภาพคงทนต่อความร้อน
ความชื้น กรดหรือด่างอ่อนๆ และยังเป็นวัสดุที่ใช้เชื่อมสมุก หรือสีเข้าด้วยกัน
๔) 	เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้ดินเหนียวเป็นวัตถุดิบหลัก
ในการผลิต มีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ โดยที่เนื้อดินเหนียวต้องมีส่วนผสม

ของทรายแม่น้ำที่เป็นทรายเนื้อละเอียดและช่วยให้เนื้อดินแห้งสนิทไม่แตกร้าว 

ดินเหนียวที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาจากที่ต่างๆ ให้สีไม่เหมือนกัน เช่น ดินเหนียว
เกาลินจากลำปาง จะให้เครื่องปั้นดินเผาเป็นสีขาว ดินเหนียวจากราชบุรีให้สีแดง
ดินเหนียวจากด่านเกวียนให้สีเหลือง น้ำตาลอมม่วง หรือน้ำเงิน
Intangible Cultural Heritage 11
NO.	 Domain	 Description
5
 “Traditional craftsmanship”
means the knowledge and
skills of a group of people
in making handicraft works,
in selecting materials and
methods to create
handicraft works that
reflect the identity and the
social development and
culture.
5) “Astrology and astronomy” is the knowledge of how to make
predictions and forecasts, fortune-telling, soothsaying and knowledge of the
horoscope, astrology, the universe, and the supernatural phenomenon; or the
art of making forecasts by studying the constellation and the movements and
positions of the stars such as the art of naming, of making predictions, 

of finding propitious time, and so on.
1) “Textile and textile products making” means the making of fabric
by weaving, dying, knitting, embroidering, ti kliao, adding extra weft threads
and pulling weft thread technique, weft ikat, printing motifs, khit, ko/luang
technique. It is used for making clothes and to show the status of the wearer.
Thai textile materials are not broad and the motifs are associated with folk
myths, beliefs, and nature. The motifs are usually made by the weft threads.
In the traditional use, Thai people prefer to use the whole of the cloth fabric
without cutting, for example, the pha khao ma, traditional cloth shoulder
bags, tube skirts, and sarong. For skirt, Thai people prefer cloth with
decorative motifs and designed patterns, but for shawls, they prefer plain
cloth.
2) “Basketry” means the making of household objects by weaving
together thin strips of wood, which are in use in the Thai people’s house,
such as baskets, krachat (low baskets with a wide rim and narrow base),
krabung (high basket with a round shape and square base), which are made
from local materials such as bamboo, rattan, krachut (Lepironia articulate
(Retz.) Domin), lamchiak (Pandanus odoratissimus Linn). These materials are
split or “chak” into long, thin strips before they are weaved or “san”–hence
the name “Khreuang Chak San” (“Split and weave objects”-basketry). 

There are several weaving methods, such as knitting, tying, fastening,
binding, stringing. Strips of bamboo or rattan are used for weaving, which are
durable and the objects retain their shape for a long time.
3) “Lacquerware” means the making of handicraft objects that are
coated with lacquer made from the gum of Rak tree (Melanorrhoea usitata
Wall.) Various applications and techniques are used to make lacquer objects,
for example, the gilt lacquer, gold appliqué on lacquer, kammalo 

(Japanese style lacquer object), mother-of-pearl or coloured glass inlay on
lacquer, pan kranae (gilt stucco work), and khoen (vermillion paint on lacquer).
The gum from Rak tree is viscous and sticky. It holds fast to the surface of
objects and when the gum dries, it makes a smooth and shiny surface and is
resistant to heat, moisture, weak acid or alkaline. Rak’s gum also acts as a
binding agent for samuk (ground charcoal of dried banana leaves and lalang
grass, used as a primer on surfaces of wood to be gilded with gold leaves) 

or other colours.
4) “Pottery” is the handicraft work that uses clay as the principal
raw material. Pottery comes in glazed and unglazed version. The clay must
be mixed with fine sand from the river, which helps to make the clay dry well
and prevent cracking. Different types of clay from various sites give the
different colour to the pottery. Kaolin clay from Lampang Province, for
example, gives a white colour; from Ratchaburi Province, red; from Dan
Kwian, ochre, or brown tinged with purple, or blue.
12 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ที่	 สาขา	 รายละเอียด
๖
 กีฬา การละเล่นพื้นบ้าน และ
ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
หมายถึง การปฏิสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลหรือชุมชน
การแข่งขัน ศาสตร์การต่อสู้
เพื่อความสนุกสนาน
ผ่อนคลาย การพัฒนา
ด้านร่างกายและจิตใจ 
ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงชีวิต
สังคม และเอกลักษณ์ของ
ท้องถิ่นนั้น
	
๕)	 เครื่องโลหะ หมายถึง สิ่งที่มีวัสดุหลักเป็นเหล็ก ทองเหลือง หรือ
ทองแดง เครื่องเหล็กนิยมทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนและการเกษตร โดยการ

เผาไฟให้อ่อนตัวและตีเหล็กเป็นรูปทรงต่างๆ ให้ได้สัดส่วน เครื่องโลหะที่ทำจาก
ทองเหลืองเป็นวัสดุหลัก นำทองเหลืองมาเผาจนหลอมเหลวแล้วจึงนำไปเทลง

ในแบบรูปต่างๆ ตามลักษณะที่ต้องการ หลังจากนั้นจึงนำมาตกแต่งให้เรียบร้อย
ส่วนเครื่องโลหะที่ทำจากทองแดงเป็นวัสดุหลัก มีการนำทองแดงมาใช้เป็น
โลหะเจือหลัก สำหรับผลิตตัวเรือนเครื่องประดับโลหะเงินเจือ
๖)	 เครื่องไม้ หมายถึง งานฝีมือช่างที่ทำจากไม้ซุงหรือไม้แปรรูป 

เป็นท่อน เป็นแผ่น เพื่อใช้ในงานช่างก่อสร้างประเภทเครื่องสับ เครื่องเรือน 

เครื่องบูชา เครื่องตั้ง เครื่องประดับ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องศาสตรา เครื่องดนตรี
เครื่องเล่น และยานพาหนะ โดยอาศัยเทคนิควิธีการแกะ สลัก สับ ขุด เจาะ กลึง
ถาก ขูด และขัด
๗)	 เครื่องหนัง หมายถึง งานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทำมาจากหนังสัตว์ 

โดยผ่านกระบวนการหมักและฟอกหนังเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย และให้เกิดความนิ่มนวล
สามารถบีบงอได้ตามที่ต้องการ เครื่องหนังนิยมนำไปใช้เกี่ยวกับศิลปะการแสดง
เช่น ทำเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีหนัง ได้แก่ กลองแขก กลองชนะ กลองชาตรี
กลองทัด กลองมลายู กลองมอญ กลองยาว กลองสองหน้า ตะโพน โทน
บัณเฑาะว์ เปิงมาง รำมะนา ไหซอง เป็นต้น ประเภทการแสดง เช่น รูปหนังตะลุง
หนังใหญ่ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีหนังเป็นส่วนประกอบ
๘) 	เครื่องประดับ หมายถึง งานช่างฝีมือที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อการ
ตกแต่งให้เกิดความงดงาม เริ่มต้นจากการใช้วัสดุที่พบได้ง่ายในท้องถิ่นนำมาผลิต
เป็นเครื่องประดับตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เป็นการใช้
อัญมณีและโลหะมีค่าชนิดอื่น
๙) 	งานศิลปกรรมพื้นบ้าน หมายถึง งานที่มีการแสดงอารมณ์สะท้อน
ออกทางฝีมือการช่าง ให้ประจักษ์เห็นเป็นรูปธรรมเพื่อตอบสนองในด้านการยังชีพ
และความต้องการคุณค่าด้านความงาม เช่น ภาพเขียน งานปั้น งานแกะสลัก 

งานหล่อ เป็นต้น
	 ๑๐)	 ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น หมายถึง งานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ไม่สามารถ

จัดอยู่ใน ๙ ประเภทแรกได้ ซึ่งอาจเป็นงานช่างฝีมือที่ประดิษฐ์หรือผลิตขึ้นจาก
วัสดุในท้องถิ่นหรือจากวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น
	
๑) 	กีฬาพื้นบ้าน
๒) 	การละเล่นพื้นบ้าน
๓) 	ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
3
NO.	 Domain	 Description
6
 “Sports, folk games and
martial arts” means the
interaction between
individuals or communities,
competitions, the arts of
fighting for entertainment
or recreational purposes, 
to develop the physical 
and mental qualities, all of
which reflects the way of
life, society and identity of
the community.	 
	
5) “Metal work” is the use of iron, brass, or copper as the principal
raw material. Ironwork is well known for making handicraft objects, mostly for
household use and agricultural work. Iron-based material is heated to soften
it before and it is beaten into shape. Brass work is made by heating brass
until it becomes molten before poring it into a mould. After cooling down and
taken out of the mould, it is chased and dressed. Copper is mostly used as
the principal composite in the silver alloy jewellery.
6) “Woodwork” means the making of handicraft objects from logs or
planks of wood for use as a building material in the Khrueang Sap house
(house built by wooden joints, without using metal nails), furniture, altar
offerings, altar set, costume accessories, tools, weapons, musical instruments,
toys, vehicle. Techniques used are carving, sculpturing, chopping, digging,
piercing, turning on the lathe, planning, scraping, and polishing.
7) “Leatherwork” means the making of folk handicraft objects from
animal raw hides and skins that are soaked in alkali solution and tanned to
prevent petrification and to soften them and making them flexible. In the
performing arts, leather is used in the production of musical instruments such
as in various kinds of drum: klong khaek, klong chana, klong chatri, klong that,
klong malayu, klong mon, klong yao, klong song na, taphon, ton, ban do,
poeng mang, rammana, hai song, for example. Shadow puppets are also
made from leather–folk shadow puppet, grand puppet. Besides, many other
objects also use leather as a component.
8) “Ornamentation” is the making of handicraft accessories to
decorate the body for beauty. At first easy-to-find, local materials are used,
but later gems and precious stones are used.
9) “Folk art” means the making of art objects that concretely express
emotions through the craftsmanship. Created for making a living or for fulfilling
the aesthetic value, folk art includes painting, sculptures, carving, and casting,
for example.
10) “Other kinds of craftsmanship” means other traditional
craftsmanship that cannot be classified in the aforementioned nine categories.
Other kinds of craftsmanship may involve handicraft works made from local
materials or waste materials, for example.
	
1) Folk sports;
2) Folk games;
3) Martial arts.
14 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์
	 ๑.	 เพื่อบันทึกประวัติความเป็นมา ภูมิปัญญา และ
อัตลักษณ์ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
	 ๒.	 เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศไทย
	 ๓.	 เพื่อเสริมสร้างบทบาทสำคัญและความภาคภูมิใจ
ของชุมชน กลุ่มคน หรือบุคคลที่เป็นผู้ถือครองมรดก

ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
	 ๔. 	เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสิทธิชุมชนในการอนุรักษ์
สืบสาน ฟื้นฟู และปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญา

ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
	 ๕.	 เพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเพื่อ

การพิทักษ์รักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของยูเนสโก
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการขึ้นทะเบียนมรดก

ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
	 ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า อัตลักษณ์ และ

ความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของตนและชุมชนอันแสดงถึง
เกียรติภูมิของชาติ ซึ่งเป็นการส่งเสริมความหลากหลาย

ของมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศไทย นอกจากนี้ 

ยังเป็นการส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้และการเข้าถึงมรดก

ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อ
รองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการพิทักษ์รักษา
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของยูเนสโก รวมทั้งส่งเสริม
การท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง
การดำเนินงานขึ้นทะเบียน
	 เพื่อให้การบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรมของไทยเป็นไปอย่างมีระบบและต่อเนื่อง กระตุ้น
ให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่า อัตลักษณ์ และความภาคภูมิใจ
ในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นการส่งเสริม
ให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสในการรับรู้และสืบทอดมรดก

ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตน ดังนั้น 

การดำเนินงานเพื่อเป็นโครงการนำร่องการขึ้นทะเบียน
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจึงได้กำหนด
ขั้นตอนในการขึ้นทะเบียน ดังนี้
5
Objectives
	
1. 	 To record the background history, wisdom and

	
2. 	 To
provide
important
database
on
intangible
cultural heritage in Thailand;
3. To enhance the crucial role and the pride of

4. To promote and develop the right of

	
5. 	 To prepare the groundwork for Thailand to
become a state party to UNESCO’s Conventions for the
Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage.
Expected Benefit from the Intangible
Cultural Heritage Designation
	

Operational Directives for Intangible
Cultural Heritage Designation
	

 To
 facilitate
 Thailand’s
 intangible
 cultural
 heritage
management
 in
 systematic
 and
 continuous
 manner,
 to
trigger
an
awareness
in
the
communities
of
the
value
and
 identity
 of
 their
 intangible
 cultural
 heritage,
 to
enhance
 the
 pride
 in
 their
 intangible
 cultural
 heritage,
and
 to
 promote
 the
 younger
 generations
 to
 learn
 and
perpetuate
 the
 intangible
 cultural
 heritage
 in
 their
communities,
 the
 ONCC
 has
 therefore
 laid
 down
 the
operational
 directives
 and
 regulated
 the
 designation
procedure	for	the	pilot	project	to	designate	the	intangible
cultural
heritage
in
2009
as
follows:
16 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

	 ๑. ขั้นตอนการดำเนินงานในส่วนของสำนักงาน
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
	 ๑.๑ 	 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำเกณฑ์การ

ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒
	 ๑.๒ 	 ประชุมคณะกรรมการเพื่อระดมความคิด
ในการจัดทำเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือ
ดั้งเดิม และให้ความเห็นชอบประเภทมรดกภูมิปัญญา

ทางวัฒนธรรมที่จะดำเนินการเป็นโครงการนำร่องการ

ขึ้นทะเบียนฯ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒
	 ๑.๓ 	 จัดทำคู่มือการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สาขาศิลปะการแสดง
และสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
แก่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

เครือข่ายทางวัฒนธรรม และชุมชน
	 ๑.๔ 	 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการ

ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี 

พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อให้ความเห็นชอบรายการ 
	 ๑.๕ 	 จัดส่งหนังสือแจ้งสำนักงานวัฒนธรรม
จังหวัดที่อยู่ภายใต้โครงการนำร่องเพื่อประสานงานกับ
หน่วยงาน เครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดทำ
ข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง
และสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม สำหรับการขึ้นทะเบียน
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยจะต้องมีการดำเนินการให้ชุมชน
มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูล 
	 ๑.๖ 	 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม

แห่งชาติจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้แก่จังหวัดต่างๆ 

ที่อยู่ในโครงการนำร่อง เพื่อพัฒนาความสมบูรณ์ของข้อมูล
ที่จะขึ้นทะเบียนและการมีส่วนร่วมของชุมชน
	 ๑.๗ 	แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อทำหน้าที่เป็น

ที่ปรึกษาระหว่างการดำเนินงานขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรม และตรวจสอบข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือ
ดั้งเดิม หลังจากที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดำเนินการ
และส่งข้อมูลมายังสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม

แห่งชาติเรียบร้อยแล้ว
	 ๑.๘ 	 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการ
ตรวจสอบข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขา
ศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ที่ได้รับจาก
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด จากนั้นแจ้งผลการคัดเลือก

ให้เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติทราบ
	 ๑.๙ 	 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม

แห่งชาติจัดทำประกาศและแถลงข่าวรายการขึ้นทะเบียน
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงและ
สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒
๑.๑๐ 	สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม

แห่งชาติ จัดทำสื่อ สิ่งพิมพ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
สาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ที่ได้รับ
การขึ้นทะเบียนเพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์
ต่างๆ
7
1. Operation procedures for the ONCC:
1.1 		 Committees on Criteria Preparation for 


		 	



		 	

		 1.6 	 Budgeted fund shall be allocated to the
provincial culture offices in the pilot project to financially
support their effort to ensure the completeness of the
inventories and the community participation in the
process;
		 		 


		 	


	1.10		Promotional	media	and	printed	materials	for
publicity
of
the
intangible
cultural
heritage-listed
items
in
the
 performing
 arts
 and
 traditional
 craftsmanship
domains
 through
 various
 media
 channels
 shall
 be
prepared
by
the
ONCC.
18 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

	 ๒.	 ขั้นตอนการดำเนินงานในส่วนของผู้จัดทำ
ข้อมูลเพื่อการขึ้นทะเบียน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด)
	 ๒.๑ 	 แต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด เพื่อ
ทำหน้าที่ในการจัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
สาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม

ที่จะขึ้นทะเบียน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยพิจารณาเชิญ

ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน
เช่น ศิลปินท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น 

และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามความเหมาะสม
	 ๒.๒ 	 ดำเนินการจัดทำรายละเอียดของข้อมูล
และการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการสนับสนุนงบประมาณ
ในการดำเนินการจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติผ่านทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด 
	 ๒.๓ 	 รายงานผลการดำเนินงานต่อสำนักงาน
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
	 ๒.๔ 	 ประสานงานกับผู้ถือครอง/ผู้สืบทอด
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อขอจัดทำสื่อ สิ่งพิมพ์ 

รวมทั้งจัดการแสดงและนิทรรศการในงานแถลงข่าว

การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะ

การแสดงและสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒
ตามวัน เวลา และสถานที่ที่สำนักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติกำหนด
เกณฑ์การคัดเลือกมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
	 คณะกรรมการจัดทำเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดก

ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กำหนดเกณฑ์ขึ้นทะเบียน 

ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดในการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงและสาขา
งานช่างฝีมือดั้งเดิม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมี

รายละเอียด ดังนี้
9
2. Procedures for data collectors and

  


		 2.2 	 Inventories and data collection shall be
prepared with the participation of the community and
supported by the operational funding from the ONCC
through the relevant provincial culture offices;
	 2.3 	 Report on the result of the operation
and implementation shall be prepared and submitted to
the ONCC;

Criteria for Nomination of Items for Intangible
Cultural Heritage Designation
20 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

แนวคิดในการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดก

ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 
๑.	 สาขาศิลปะการแสดง
	 ๑.๑	 มีคุณสมบัติเฉพาะของวัฒนธรรมนั้นๆ 

ที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ (เช่น ประวัติ/
ความเป็นมา ขนบประเพณีความเชื่อ)
	 ๑.๒ 	 มีองค์ประกอบสอดคล้องกับประเภทของ
ศิลปะการแสดง (เช่น ผู้แสดง ท่วงท่า เพลง/ทำนอง คำร้อง
อุปกรณ์ประกอบการแสดง ฯลฯ)
	 ๑.๓ 	 มีรูปแบบการนำเสนอที่ชัดเจน (เช่น วิธีการ
ระยะเวลา และลำดับการแสดง)
๑.๔ 	 มีการสืบทอดและมีผู้ถือครอง (เช่น ศิลปิน
คณะ/สำนัก กระบวนการสืบทอด)
	 ๑.๕ 	 มีคุณค่าทางจิตใจและวิถีชีวิตชุมชน (เช่น
บทบาทต่อวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ความภูมิใจให้กับคนใน
ชุมชน) หรือ
	 ๑.๖ 	 คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรง

คุณวุฒิเห็นว่าเหมาะสม (เช่น การได้รับการยอมรับจาก
ชุมชน มีแนวโน้มในการเสี่ยงต่อการสูญหาย ฯลฯ)
๒.	 สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม
	 ๒.๑	 มีต้นกำเนิดหรือถูกนำมาพัฒนาในชุมชนนั้น
จนเป็นที่ยอมรับ (เช่น ประวัติ/ความเป็นมา)
	 ๒.๒ 	 แสดงถึงทักษะฝีมือและภูมิปัญญา ตลอดจน
การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม (เช่น ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน
ผลิตด้วยมือ)
	 ๒.๓ 	 มีการพัฒนากระบวนการและเครื่องมือ

ที่ใช้เพื่อตอบสนองกระบวนการผลิต (เช่น วัสดุที่ใช้

ในการผลิตผลงาน แหล่งที่มา เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
และกระบวนการ/ขั้นตอนการผลิต)
๒.๔ 	 วัตถุประสงค์เบื้องต้นในการผลิต (เช่น
เพื่อประโยชน์ใช้สอยในวิถีชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อ
วัฒนธรรม หรือการประกอบอาชีพของคนในชุมชน)
	 ๒.๕ 	 มีลักษณะเฉพาะถิ่นหรือเฉพาะชาติพันธุ์
(เช่น เอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของผลงานที่สะท้อนถึงหรือ
ที่พบเฉพาะท้องถิ่นหรือชาติพันธุ์นั้นๆ)
	 ๒.๖ 	 มีคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรมของ

ท้องถิ่น (เช่น ความหมายและคุณค่าต่อประวัติศาสตร์

ท้องถิ่นหรือชาติพันธุ์นั้นๆ การผลิตและถ่ายทอดสืบต่อกันมา
ความภาคภูมิใจของคนในชุมชน) หรือ
	 ๒.๗ 	คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรง

คุณวุฒิเห็นว่าเหมาะสม (เช่น มีความเสี่ยงต่อการสูญหาย
ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเร่งด่วน)
หมายเหตุ ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา

ทางวัฒนธรรม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการผู้ทรง
คุณวุฒิที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

แต่งตั้ง
2
Intangible Cultural Heritage 1

1. In the performing arts domain, a nominated
item must have:
	 1.1 		 Specific characteristics that attest to the
cultural uniqueness and identity of the community;
		 1.2 	 Elements that correspond to the
performance genre (such as performers, movement,
music/tune, lyric or verse, props etc.);
	 1.3 	 Explicit presentation format (such as
method, duration, and sequences of presentation);
	 1.4 		 History of transmission and owner (such
as performers, performing troupes, schools, transmission
process);
	 1.5 	 Spiritual value and value to the
community’s way of life (such as having a role in the
community’s way of life in the present time, causing
pride to the people of the community); or
		 1.6 	 Other characteristics that the Committee
of Experts considers appropriate (such as the
community’s acceptance, the risk of disappearing etc.).

2. In the traditional craftsmanship domain,
a nominated item must:
	 2.1 	 Have an origin or enjoy the acceptance
of the community that has developed it (history, source,
background);
		 2.2 	 Show the skills, wisdom, and appropriate
technology (such as folk technology in handicraft work);
	 2.3 	 Have developed the process and tools
for production (materials used, source of material, tools,
production processes or steps);
	 2.4 	 Primary function for its production (such
as for use in daily life; for use associated with ceremony,
tradition, belief, or culture; or for professional use by the
people in the community);
	 2.5 	 Have specifically folk, local, or ethnic
characteristics (such as unique characteristics or identity
that reflects aspects of the local community or ethnic
group or can be found only in the community or ethnic
group);
	 2.6 	 Have artistic and cultural value to the
community (such as the significance to the history of the
community of ethnic group, the history of production and
perpetuation through generations in the community, the
pride that the community places in the item); or
		 2.7 	 Other characteristics that the committee
of experts considers appropriate (such as the risk of
disappearing and the need for urgent safeguarding).
Remark:	 The
 designation
 as
 an
 intangible
 cultural
heritage
 item
 depends
 on
 the
 consideration
 of
 the
Committee
of
Experts
appointed
by
the
ONCC.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๒
24 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

	 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หมายถึง องค์ความรู้
หรือผลงานที่เกิดจากบุคคล/กลุ่มชนที่ได้มีการสร้างสรรค์
พัฒนา สั่งสม สืบทอด และประยุกต์ใช้ในวิถีการดำเนินชีวิต
มาอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคม

และสิ่งแวดล้อมของแต่ละกลุ่มชน อันแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์
และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
	 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประกอบด้วยผลงาน
สร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม
หัตถกรรม ศิลปะพื้นบ้าน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ 

วิถีการปฏิบัติซึ่งแสดงออกทางภาษา ศิลปะการแสดง 

งานช่างฝีมือ ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม อาหาร เป็นต้น
โดยที่สิ่งต่างๆ ดังกล่าว ได้ส่งผ่านและสืบทอดต่อกันมา

รุ่นต่อรุ่น เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือในบางเรื่องเป็นเสมือน

จิตวิญญาณที่ยึดถือร่วมกันของคนในสังคม รวมทั้ง

ในบางเรื่องยังคงมีความงดงามและมีคุณค่าทางศิลปะสูงยิ่ง 
ประกาศการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒
	 ในอดีตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมได้รับ

การคุ้มครองบ้างในบางส่วน เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ
และศิลปวัตถุ ซึ่งดำเนินการไปตามพระราชบัญญัติโบราณ
สถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่อย่างไรก็ตามยังมีมรดกภูมิปัญญา

ทางวัฒนธรรมบางส่วน เช่น องค์ความรู้ ทักษะ หรือ
กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรม ที่ยังไม่ได้รับ
การปกป้องคุ้มครองอย่างจริงจังและเป็นระบบ
	 การปกป้องคุ้มครอง ส่งเสริม และสืบทอดมรดก

ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นภารกิจสำคัญต่อความเป็น
มรดกวัฒนธรรมของชาติ กระทรวงวัฒนธรรมจึงประกาศ
บัญชีรายชื่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อขึ้นทะเบียน
คุ้มครองเบื้องต้น โดยในปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ มีจำนวน 

๒ สาขา คือ สาขาศิลปะการแสดง จำนวน ๓ ประเภท 

๑๒ รายการ และสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม จำนวน 

๘ ประเภท ๑๓ รายการ ในการนี้ กระทรวงวัฒนธรรม 

มีแผนในการดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมที่ได้รับ
การประกาศอยู่ในบัญชีรายชื่อ โดยจะใช้วิธีการต่างๆ 

ตามความเหมาะสมต่อไป
25

	

 Intangible	 cultural	 heritage
 means
 the
 body
 of
knowledge
or
work
by
individuals
or
groups,
which
was
created,
 developed,
 accumulated,
 transmitted
 and
applied
 in
 the
 daily
 life
 of
 those
 individuals
 or
 groups
continuously,
 in
 response
 to
 the
 social
 and
 natural
environments
 of
 their
 communities,
 and
 representing
their
identity
and
cultural
diversity.
	 


 Intangible
 cultural
 heritage
 encompasses
 the
 creative
works
of
architecture,
painting,
sculpture,
handicraft,	and	
folk	arts;	the	knowledge,	skill	and	practices
expressed
through
 language,
 performing
 arts,
 crafts,
 beliefs,
traditions,
 rites,
 and
 food,
 for
 example,
 which
 are
transmitted
from
generation
to
generation

as
practices
or
approaches.
In
some
cases,
they
are
considered
as
a
common
spiritual
bond
of
the
people
in
the	communities.	
Some	intangible	cultural	heritage	items
are
beautiful
and
have
high
artistic
values.
	Some	intangible	cultural	heritage	items,	for	example,	
the	 ancient	 monuments,	 objects	 and	 artefacts,	 have
been
protected
under
the
Act	on	Ancient	Monuments,	
Antiques,	Objects	of	Art	and	National	Museums,	
B.E.	2504	(1961	AD).	However,	some	intangible
cultural
heritage
 items,
 such
 as
 knowledge,
 skills,
 or
 creative
processes
 of
 the
 cultural
 works
 or
 artefacts,
 have
 not
been
seriously
and
systematically
safeguarded.

	 


 The
 safeguarding,
 promotion,
 perpetuation
 and
transmission
of
the
intangible
cultural
heritage
are
crucial
to
 the
 existence
 of
 the
 national
 cultural
 heritage.
 The
Ministry
of
Culture
has
therefore
announced
a
list

of
the
intangible
cultural
heritage
designated
to
be
safeguarded
in
2009,
which
includes
two
domains:
12
items
in
three
categories
of
the
performing
arts
domain
and	13	items	in	
eight	categories	of	the	traditional	craftsmanship
domain.
The
 Ministry
 of
 Culture
 plans
 to
 promote
 and
 support
exchanges
 of
 knowledge
 and
 transmission
 of
 the
designated
intangible
cultural
heritage
in
the
list
through
various
methods
as
appropriate
in
the
future.
26 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

	 ปัจจุบัน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหลาย
ประเภทในประเทศไทย เช่น ศิลปะการแสดงและงานช่าง
ฝีมือดั้งเดิม กำลังสูญหายอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ อาจจะเกิด
จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การพัฒนา
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การท่องเที่ยวที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น
การโยกย้ายถิ่นของชาวชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ และการ
เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

ดังกล่าว มีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติและการสืบทอดมรดก

ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก
	 การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง
วัฒนธรรม เป็นมาตรการสำคัญที่มุ่งส่งเสริมการตระหนัก
ถึงคุณค่าอันโดดเด่น ยกย่ององค์ความรู้ และภูมิปัญญา
เหตุผลสำคัญในการประกาศขึ้นทะเบียน
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ของบรรพบุรุษ ส่งเสริมศักดิ์ศรีทางวัฒนธรรม และ
เอกลักษณ์ของกลุ่มชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความ
เข้าใจ และเกิดการยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย

ทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ เพื่อปูทางไปสู่การอนุรักษ์ สร้างสรรค์
พัฒนา สืบทอดอย่างเป็นระบบที่ยั่งยืนต่อไป
	 การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นการขึ้นทะเบียนครั้งแรก และเป็นการ
ขึ้นทะเบียนในสาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือ
ดั้งเดิมก่อน สำหรับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสาขา
อื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญมากเช่นกันนั้น กระทรวงวัฒนธรรม
จะได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนในโอกาสต่อไป
27

 
 

	At	present,	the	intangible	cultural	heritage	in	several
domains
in
Thailand,
such
as
in
the
performing
arts
and
the
 traditional
 craftsmanship
 domains,
 are
 fast
disappearing,
perhaps
owing
to
the
social
and
cultural
changes,
 the
 industrial
 development,
 the
 increase
tourism,
 the
 migration
 of
 provincial
 villagers
 into
 
 the
capital
 city,
 or
 the
 ecological
 changes.
 These
 changes
gravely
 affect
 the
 practitioners,
 inheritors
 
 and
perpetuators
of
the
intangible
cultural
heritage.
	 


The
announcement
of
the
Designation
of
the
intangible	
Cultural	Heritage	2009	is	a	key	measure	to	promote
an
awareness
of
the
prominent
values,
honour
the
body
of
knowledge
passed
on
from
generation
to
generation,
and
enhance
the
cultural
prestige
and
identity
of
communities
all
over
the
country.
It
also
fosters
an
understanding
and
acceptance
 of
 the
 diversity
 of
 cultures,
 which
 will
eventually
 lead
 to
 the
 preservation,
 creation,
development,
 transmission
 and
 perpetuation
 of
 the
intangible
cultural
heritage
in

an
organised,
systematic
and
sustainable
endeavour.
	 The	 Designation	 of	 Intangible	 Cultural	 Heritage	 2009
will
 be
 the
 first
 effort
 of
 its
 kind
 in
 Thailand,
 which
focuses
 on
 the
 performing
 arts
 and
 traditional
craftsmanship
domains.
The
designation
of
the
intangible
cultural
heritage
items
in
the
other
domains
that
are
as
significant
shall
be
implemented
in
the
future.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒

More Related Content

What's hot

บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมบทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมSittisak Rungcharoensuksri
 
คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101Sittisak Rungcharoensuksri
 
คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101Sittisak Rungcharoensuksri
 
1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.chickyshare
 
Pastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templatePastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templateMai Lovelove
 
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทยKorawan Sangkakorn
 
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57นางสาวอัมพร แสงมณี
 
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์Calvinlok
 
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวamornsrivisan
 
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ Faii Kp
 
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๒
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๒ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๒
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๒Somprasong friend Ka Nuamboonlue
 

What's hot (13)

บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมบทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทและความท้าทายของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
 
คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101
 
บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่นบทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น
 
คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101คลังข้อมูลชุมชน 101
คลังข้อมูลชุมชน 101
 
1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.1.ทรัพยากร กทท.
1.ทรัพยากร กทท.
 
ลักษณะของสารสนเทศท้องถิ่น
ลักษณะของสารสนเทศท้องถิ่นลักษณะของสารสนเทศท้องถิ่น
ลักษณะของสารสนเทศท้องถิ่น
 
Pastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-templatePastel watercolor-painted-power point-template
Pastel watercolor-painted-power point-template
 
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับวิถีไทย
 
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57อ.วนิดา  บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
อ.วนิดา บทที่ 2 (ตำราสารสนเทศท้องถิ่น) 10 july 57
 
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
 
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
ความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยว
 
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
ชุมชนท่องเที่ยวกับการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ
 
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๒
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๒ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๒
ความเป็นไท(ย)ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และการปกครอง ตอนที่ ๒
 

Similar to มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒

อปท.ดีเด่น
อปท.ดีเด่นอปท.ดีเด่น
อปท.ดีเด่นComniwat Jaya
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานPornpimon Gormsang
 
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโต
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโตการเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโต
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโตFURD_RSU
 
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมบทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมSittisak Rungcharoensuksri
 
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมคลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมSittisak Rungcharoensuksri
 
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่FURD_RSU
 
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.Tor Jt
 
เชียงคานโมเดล
เชียงคานโมเดลเชียงคานโมเดล
เชียงคานโมเดลpentanino
 
นิทรรศการ ถ่ายทอดสืบสานผ่านวิถีชุมชนไทลื้อ
นิทรรศการ ถ่ายทอดสืบสานผ่านวิถีชุมชนไทลื้อนิทรรศการ ถ่ายทอดสืบสานผ่านวิถีชุมชนไทลื้อ
นิทรรศการ ถ่ายทอดสืบสานผ่านวิถีชุมชนไทลื้อNarumon Wannapringh
 
Identity & wisdom for otop product design
Identity & wisdom for otop product designIdentity & wisdom for otop product design
Identity & wisdom for otop product designNalinee Thongthae
 
โลกแปดด้าน
โลกแปดด้านโลกแปดด้าน
โลกแปดด้านpreeyavadeeplam
 
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖Manoonpong Srivirat
 
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
ขันโตกล้านนา
ขันโตกล้านนาขันโตกล้านนา
ขันโตกล้านนาRujruj
 
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพวSircom Smarnbua
 
สื่อใหม่พิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น
สื่อใหม่พิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่นสื่อใหม่พิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น
สื่อใหม่พิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่นNarut Lokulprakit
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง วัฒธรรมไทย โดยนักเรียนร.รหัวเรือพิทยาคม
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง วัฒธรรมไทย โดยนักเรียนร.รหัวเรือพิทยาคมโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง วัฒธรรมไทย โดยนักเรียนร.รหัวเรือพิทยาคม
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง วัฒธรรมไทย โดยนักเรียนร.รหัวเรือพิทยาคมKittiya Bee
 

Similar to มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒ (20)

อปท.ดีเด่น
อปท.ดีเด่นอปท.ดีเด่น
อปท.ดีเด่น
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
 
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโต
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโตการเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโต
การเฉลิมฉลองงานวันเกิดเมืองอย่างสร้างสรรค์ : เกียวโต
 
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรมบทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
บทบาทของ “ศมส.” กับการจัดการและดูแลสารสนเทศมรดกวัฒนธรรม
 
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมคลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
คลังข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
 
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
 
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
 
เชียงคานโมเดล
เชียงคานโมเดลเชียงคานโมเดล
เชียงคานโมเดล
 
นิทรรศการ ถ่ายทอดสืบสานผ่านวิถีชุมชนไทลื้อ
นิทรรศการ ถ่ายทอดสืบสานผ่านวิถีชุมชนไทลื้อนิทรรศการ ถ่ายทอดสืบสานผ่านวิถีชุมชนไทลื้อ
นิทรรศการ ถ่ายทอดสืบสานผ่านวิถีชุมชนไทลื้อ
 
Identity & wisdom for otop product design
Identity & wisdom for otop product designIdentity & wisdom for otop product design
Identity & wisdom for otop product design
 
Sukhothai Kingdom Application
Sukhothai Kingdom ApplicationSukhothai Kingdom Application
Sukhothai Kingdom Application
 
Digital Library for Thailand
Digital Library for ThailandDigital Library for Thailand
Digital Library for Thailand
 
โลกแปดด้าน
โลกแปดด้านโลกแปดด้าน
โลกแปดด้าน
 
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
 
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
2554 ค่ายสืบศิลป์ถิ่นบ้านเกิดฯ
 
ขันโตกล้านนา
ขันโตกล้านนาขันโตกล้านนา
ขันโตกล้านนา
 
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
 
สื่อใหม่พิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น
สื่อใหม่พิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่นสื่อใหม่พิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น
สื่อใหม่พิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น
 
ศิลปวัฒนธรรมตำบลเชื้อเพลิง
ศิลปวัฒนธรรมตำบลเชื้อเพลิงศิลปวัฒนธรรมตำบลเชื้อเพลิง
ศิลปวัฒนธรรมตำบลเชื้อเพลิง
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง วัฒธรรมไทย โดยนักเรียนร.รหัวเรือพิทยาคม
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง วัฒธรรมไทย โดยนักเรียนร.รหัวเรือพิทยาคมโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง วัฒธรรมไทย โดยนักเรียนร.รหัวเรือพิทยาคม
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง วัฒธรรมไทย โดยนักเรียนร.รหัวเรือพิทยาคม
 

More from Boonlert Aroonpiboon (20)

Excel quiz
Excel quizExcel quiz
Excel quiz
 
Scival for Research Performance
Scival for Research PerformanceScival for Research Performance
Scival for Research Performance
 
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-420190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
 
20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup
 
20190220 open-library
20190220 open-library20190220 open-library
20190220 open-library
 
20190220 digital-archives
20190220 digital-archives20190220 digital-archives
20190220 digital-archives
 
OER KKU Library
OER KKU LibraryOER KKU Library
OER KKU Library
 
Museum digital-code
Museum digital-codeMuseum digital-code
Museum digital-code
 
OER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success StoryOER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success Story
 
LAM Code of conduct
LAM Code of conductLAM Code of conduct
LAM Code of conduct
 
RLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOCRLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOC
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
digital law for GLAM
digital law for GLAMdigital law for GLAM
digital law for GLAM
 
20180919 digital-collections
20180919 digital-collections20180919 digital-collections
20180919 digital-collections
 
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
 
20180828 digital-archives
20180828 digital-archives20180828 digital-archives
20180828 digital-archives
 
Local Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How toLocal Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How to
 
201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup
 
201403 etda-library
201403 etda-library201403 etda-library
201403 etda-library
 

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๒

  • 1. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม Office of the National Culture Commission, Ministry of Culture มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๒๕๕๒/2009
  • 2.
  • 3. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม Office of the National Culture Commission, Ministry of Culture มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  • 4. บทนำ เป็นที่ตระหนักกันโดยทั่วไปว่า ปรากฏการณ์หนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับทุกประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน คือ การที่มรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นวิถีการดำเนินชีวิตแต่ดั้งเดิมกำลังถูกคุกคามด้วยกระแสต่างๆ เช่น กระแสโลกาภิวัตน์ การถูกละเมิด การนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง และการไม่เคารพต่อคุณค่าดั้งเดิม ทั้งต่อวัฒนธรรม บุคคล หรือชุมชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม ซึ่งนำไปสู่ความสูญหายและความเสื่อมถอย อย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเหตุให้เกิดความเคลื่อนไหวในระดับโลก เพื่อดำเนินการในการ ปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป เนื่องจาก มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ของแต่ละเผ่าพันธุ์ที่ได้มี การประดิษฐ์คิดค้น และปรับใช้ในวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละชุมชนได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่ และยังแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชนได้อย่างชัดเจน ในส่วนของการดำเนินงานในประเทศไทยเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเป็น หลักฐานสำคัญของชาติและเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม ของตน รวมทั้งเป็นการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ โดย ในปีงบประมาณพุทธศักราช ๒๕๕๒ สำนักงานฯ กำหนดขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม จำนวน ๒๕ รายการขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับการคัดเลือก และรับรองจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่สำนักงานฯ แต่งตั้ง ในการนี้ จึงได้จัดทำหนังสือมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ศิลปะการแสดงและงานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ได้รับ การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ ในการสร้างความภาคภูมิใจและตระหนักถึงความสำคัญของการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมได้ รวมทั้งคาดหวังว่าจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนต่อไป เนื่องจาก กระบวนการดำเนินการดังกล่าว สำนักงานฯ มิอาจดำเนินการได้เพียงลำพัง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมประสบผลสำเร็จลุล่วง ตามวัตถุประสงค์ (นายสมชาย เสียงหลาย) เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • 5. Introduction In the present day world, it generally acknowledges that intangible cultural heritage of every country is presently threatened by globalisation, rights infringements and violation, misuse, inappropriation, and lack of respect for the traditional culture itself or for the individuals or communities that own the cultural heritage. This phenomenon has resulted in loss and quick deterioration of cultural heritage and has activated an international effort to safeguard and preserve the cultural heritage, particularly the intangible cultural heritage, which represents the creativity of the ethnic groups that have created and applied it in their daily life, as appropriate to their environment and lifestyle, and which clearly represents the identity of their community. To safeguard the intangible cultural heritage in Thailand, the Office of the National Culture Commission (ONCC) launched the “Project on Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage” with the key mission to list the intangible cultural heritage in Thailand, which serves as the key testimony for the nation, promotes community involvement and pride in the community’s traditional culture, and safeguards the local, regional and national intangible cultural heritage. In the 2009 fiscal budget, the ONCC designated 25 items of the intangible cultural heritage for the first time in the performing arts and traditional craftsmanship domains. The items in the list were selected and endorsed by the Committee of Experts appointed by the ONCC. In this regard, a book on the intangible cultural heritage was published to disseminate and promote the knowledge of the announced heritage-listed performing arts and traditional craftsmanship in 2009. The ONCC hopes that this book will promote the pride in Thailand’s intangible cultural heritage and contribute to the public awareness of the importance of intangible cultural heritage designation. It is also hoped that exchanges of knowledge and learning about the intangible cultural heritage designation will continue, since the process cannot be accomplished alone by the ONCC but needs cooperation and collaboration from all relevant parties and stakeholders to ensure the success in the safeguarding of the intangible cultural heritage. (Mr. Somchai Seanglai) Secretary-General Office of the National Culture Commission
  • 6. สารบัญ การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๑ ความเป็นมา ๒ ความหมายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๔ วัตถุประสงค์ ๑๔ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๑๔ การดำเนินงานขึ้นทะเบียน ๑๔ เกณฑ์การคัดเลือกมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๑๘ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ ๒๓ ประกาศการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒๔ เหตุผลสำคัญในการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๒๖ รายการศิลปะการแสดงที่ประกาศขึ้นทะเบียนประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒๘ รายการงานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ประกาศขึ้นทะเบียนประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ๕๘ ภาคผนวก ๘๕ ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๒ ๘๖ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๘๘ คณะผู้จัดทำ ๙๐ หน้า
  • 7. Table of Contents Designation of the Intangible Cultural Heritage 1 3 5 15 15 15 Background History Definition of Intangible Cultural Heritage Objectives Expected Benefit from the Designation of Intangible Cultural Heritage Operational Directives for the Intangible Cultural Heritage Designation Criteria for Nomination of Items for the Intangible Cultural Heritage Designation 19 Designated Intangible Cultural Heritage 2009 23 The Intangible Cultural Heritage Designation Announcement 2009 25 27 List of Designated Intangible Cultural Heritage Items in the Performing Arts Domain in 2009 29 List of Designated Intangible Cultural Heritage Items in the Traditional Craftsmanship Domain in 2009 59 Appendix 85 87 89 Announcement of the Ministry of Culture on the Designation of Intangible Cultural Heritage Year 2009 Committee of Experts on Intangible Cultural Heritage Designation Project Executive Committee 90 Page
  • 8.
  • 10. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ความเป็นมา นับตั้งแต่การสถาปนาสำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ สำนักงานฯ ได้ดำเนินการในการศึกษาค้นคว้า อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู และพัฒนาวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมพื้นบ้าน มาอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ที่จะ ตอบสนองต่อภารกิจดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘–๒๕๕๑ สำนักงานฯ กำหนด ให้มีโครงการภูมิบ้านภูมิเมืองขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ในการจัดเก็บข้อมูล และจัดทำฐานข้อมูลมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วย ๕ สาขา คือ ๑) วรรณกรรม พื้นบ้าน ๒) ศิลปะการแสดง ๓) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่างๆ ๔) ความรู้และวิถีปฏิบัติ เกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ๕) งานช่างฝีมือดั้งเดิม โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้ ๑. ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ในการเก็บข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสาขาต่างๆ ๒. จัดเก็บข้อมูลโดยร่วมกับนักวิชาการในท้องถิ่น และประชาชนผู้เป็นเจ้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๓. เผยแพร่ความรู้ ข้อมูล และสารสนเทศมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ผ่านทางเอกสารสิ่งพิมพ์ และ เว็บไซต์ ๔. ศึกษาค้นคว้ามาตรการเพื่อการปกป้องคุ้มครอง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยผ่านกระบวนการวิจัย การจัดประชุมและสัมมนานานาชาติ และการเข้าร่วม สังเกตการณ์ในการดำเนินงานด้านการปกป้อง คุ้มครอง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ และ ขององค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ศูนย์วัฒนธรรมแห่งเอเชีย-แปซิฟิกของยูเนสโก (ACCU) และองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สำหรับการจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมนั้น สำนักงานฯ ได้ดำเนินการ ดังนี้ ๑. จัดเก็บข้อมูลด้านศิลปะการแสดง ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๐ ในรูปแบบดิจิตอลทั้งเนื้อหา ภาพนิ่ง เสียง และภาพเคลื่อนไหว สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ จำนวน ๓๕๐ เรื่อง ๒. จัดเก็บข้อมูลด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิม ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๔๙–๒๕๕๐ ในรูปแบบดิจิตอลทั้งเนื้อหา ภาพนิ่ง เสียง และภาพเคลื่อนไหว สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ จำนวน ๕๐๐ เรื่อง ๓. ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านศิลปะการแสดงและงานช่างฝีมือดั้งเดิมแก่เด็กและ เยาวชนทุกจังหวัดทั่วประเทศ
  • 11. Background History Since its inception in 1979, the Office of the National Culture Commission (ONCC) has been responsible for carrying out cultural research, study, conservation, promotion, dissemination, restoration, and development, particularly with regard to the folk cultures. The ONCC has laid down policies, strategies, and measures and has organised various projects and activities to fulfill its mission. 2) Performing arts; 3) Social practices, rituals and festive events; 4) Knowledge and practices concerning nature and the universe; and 5) Traditional craftsmanship. The ONCC has carried out the following activities in the aforementioned project: 1. Promotion of, and support for, the local 2. Intangible cultural heritage data collection/ 3. Dissemination of data, information, and 4. Studies and researches for intangible cultural heritage safeguarding measures through researches, international meetings and seminars, and participating as observers in the safeguarding work of other countries and of the international agencies such as the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organisation (UNESCO), the Asia-Pacific Cultural Centre for UNESCO (ACCU) and World Intellectual Property Organisation (WIPO). 1. Data collection/inventories filing of the 2. Data collection/inventories filing of the 3. In 2008, the ONCC organised events and activities to disseminate the performing arts and traditional craftsmanship knowledge to the children and youth in every province throughout the country.
  • 12. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ สำนักงานฯ ได้เริ่มจัดเก็บข้อมูลด้านวรรณกรรมพื้นบ้านเพิ่มขึ้นอีกสาขาหนึ่ง และยังได้ผนวกสาขาด้าน กีฬา การละเล่นพื้นบ้านและ ศิลปะการป้องกันตัวขึ้นมาอีกสาขาหนึ่ง รวมทั้งสิ้นเป็น ๖ สาขา เพื่อเป็นการต่อยอดการดำเนินงานโครงการภูมิบ้าน ภูมิเมือง ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ สำนักงานฯ จึงจัดทำ โครงการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ขึ้นโดยมีกิจกรรมสำคัญ คือ การขึ้นทะเบียนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ในปีแรกนี้ จะดำเนินการในลักษณะโครงการนำร่องก่อน เนื่องจาก การขึ้นทะเบียนดังกล่าวจะเป็นการขึ้นทะเบียนเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตาม วัตถุประสงค์ สำนักงานฯ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ เกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และ จัดทำ “คู่มือการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒” ขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า ยอมรับในความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุขของ คนในสังคมต่อไป ความหมายของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หมายถึง องค์ความรู้ หรือผลงานที่เกิดจากบุคคล/กลุ่มชนที่ได้มีการสร้างสรรค์ พัฒนา สั่งสม สืบทอด และประยุกต์ใช้ในวิถีการดำเนินชีวิต มาอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละกลุ่มชน อันแสดงให้เห็นถึง อัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย ผลงานสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม หัตถกรรม ศิลปะพื้นบ้าน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ วิถีการปฏิบัติซึ่งแสดงออกทางภาษา ศิลปะการแสดง งานช่างฝีมือ ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม อาหาร เป็นต้น โดยที่สิ่งต่างๆ ดังกล่าว ได้ส่งผ่าน และสืบทอดต่อกันมารุ่นต่อรุ่น เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือในบางเรื่องเป็นเสมือนจิตวิญญาณที่ยึดถือร่วมกัน ของคนในสังคม รวมทั้งในบางเรื่องยังคงมีความงดงาม และมีคุณค่าทางศิลปะสูงยิ่ง
  • 13. In the 2009 fiscal year, the ONCC also began collecting data in the Folk literature domain and added another domain to the pravious fives: Sports, folk games and martial arts. To progress on the next step after the “Phum Ban Phum Mueang Project,” the ONCC launched the “Project on the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage” in 2009, with the key mission to designate the intangible cultural heritage for 2009. Since it was the first time that Thailand designated its intangible cultural heritage items, it was agreed that the project will serve as the pilot project. To fulfil the objectives of the project, the ONCC appointed a committee to form the criteria for identification, nomination and designation of the intangible cultural heritage and published a book titled Guidelines for Designation of the intangible Cultural Heritage in 2009, which contributes to the knowledge, understanding, appreciation and acceptance of the cultural diversity and, ultimately, the peaceful coexistence of people in society. Intangible cultural heritage means the body of knowledge or work by individuals or groups, which was created, developed, accumulated, transmitted and applied in the daily life of those individuals or groups continuously, in response to the social and natural environments of their communities, and representing their identity and cultural diversity. of architecture, painting, sculpture, handicraft, and folk arts; the knowledge, skill and practices expressed through language, performing arts, crafts, beliefs, traditions, rites, and food, for example, which are transmitted from generation to generation as practices or approaches. In some cases, they are considered as a common spiritual bond of the people in the communities. Some intangible cultural heritage items are beautiful and have high artistic values.
  • 14. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ สาขา รายละเอียด ๑ ๒ วรรณกรรมพื้นบ้าน หมายถึง วรรณกรรม ที่ถ่ายทอดอยู่ในวิถีชีวิต ชาวบ้านโดยครอบคลุม ทั้งวรรณกรรมที่ถ่ายทอด โดยวิธีการบอกเล่าและ ที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ศิลปะการแสดง หมายถึง การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก และเรื่องราว ต่างๆ โดยมีผู้แสดงเป็นสื่อ ผ่านทางเสียง ได้แก่ การขับร้องหรือการเล่น ดนตรี และทางร่างกาย เช่น การร่ายรำ การเชิด การเต้น การแสดงท่าทาง ฯลฯ ๑) นิทานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าที่สืบทอดต่อๆ กันมา ประกอบด้วย นิทานเทวปกรณ์/ตำนาน นิทานศาสนา นิทานคติ นิทานมหัศจรรย์ นิทานชีวิต นิทานประจำถิ่น นิทานอธิบายเหตุ นิทานเรื่องสัตว์ นิทานเรื่องผี มุขตลก และ เรื่องโม้ นิทานเข้าแบบของไทย ๒) ประวัติศาสตร์บอกเล่า หมายถึง เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติการตั้ง ถิ่นฐาน การอพยพ ความเป็นมา และบุคคลสำคัญของชุมชน ๓) บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม คำสวดที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บททำขวัญ คำบูชา คำสมา คำเวนทาน บทสวดสรภัญญ์ คาถาบทอานิสงส์ บทประกอบการรักษาโรคพื้นบ้าน คำให้พร คำอธิษฐาน ฯลฯ ๔) บทร้องพื้นบ้าน คำร้องที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ เช่น บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น บทเกี้ยวพาราสี บทจ๊อย คำเซิ้ง ฯลฯ ๕) สำนวนและภาษิต คำพูดหรือคำกล่าวที่สืบทอดกันมามักมีสัมผัส คล้องจองกัน เช่น โวหาร คำคม คำพังเพย คำอุปมาอุปไมย คำขวัญ คติพจน์ คำสบถสาบาน คำสาปแช่ง คำชม คำคะนอง ฯลฯ ๖) ปริศนาคำทาย หมายถึง คำหรือข้อความที่ตั้งเป็นคำถาม คำตอบ ที่สืบทอดกันมา เพื่อให้ผู้ตอบได้ทายหรือตอบปัญหา เช่น คำทาย ปัญหาเชาวน์ ผะหมี ๗) ตำรา องค์ความรู้ที่มีการเขียนบันทึกในเอกสารโบราณ เช่น ตำรา โหราศาสตร์ ตำราดูลักษณะคนและสัตว์ ตำรายา ฯลฯ ๑) ดนตรี หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง และ/หรือลีลา จังหวะ เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ดนตรีมีบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงเพื่อการขับกล่อม ความบันเทิง ประกอบพิธีกรรม และประกอบการแสดง ๒) การแสดง หมายถึง แสดงออกทางร่างกาย ท่วงท่าการเคลื่อนไหว ท่าเต้น ท่ารำ การแสดงกิริยาของการเต้น การรำ การเชิด ฯลฯ ซึ่งแสดงถึง อารมณ์ ความรู้สึก และการเล่าเรื่อง การแสดงอาจแสดงร่วมกับดนตรีและ การขับร้องหรือไม่ก็ได้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสามารถจำแนกได้ ๖ สาขา ดังนี้
  • 15. The intangible cultural heritage can be classified into 6 domains as follows: NO. Domain Description 1 2 Folk literature means literature which is transmitted by oral means or written forms within local way of life. “Performing arts” means the expression of emotion, feelings, or stories through a performer or sound, such as singing or music playing, and through body movement such as in a dance, in the manipulation [of puppets], in gestures etc. 1) “Folk tales” mean stories that are transmitted from generation to generation. Included in this domain are, for example, myths, religious tales, didactic tales, fairy tales, romantic tales, legends/sages, explanatory tales, animal tales, ghost tales, jokes/humorous anecdotes, formula tales; 2) “Oral history” includes stories about the birthplaces or origins, the migration, local heroes; 3) Incantations that are chanted during the various rites and rituals, for example, religious prays, Kham Sama (incantation of asking forgiveness), Kham wen Than (incantation for transferring the merit), incantation for traditional healing ritual, blessings, wishes; 4) “Folk verbal scripts” include lullabies, courtship ritual dialogues, local singings; 5) “Idioms and adages” mean words or expressions transmitted which mostly rhyme or play on words, for example, phrases, epigrams, aphorisms, metaphors, slogans, mottos, swear words/vows, curses/spells, eulogies, slangs; 6) “Riddles” mean the wordplays in the form of questions which are inherited through generations, for example, riddles, trick questions; 7) “Treatise” means knowledge recorded in Ancient Documentary, for example, books of astrology, books related to the human and animal’s physiology, pharmacopeias. 1) “Music” means the sound that makes up a tune and/or rhythm that entertains or induces emotion of love, sadness, or joy, for example. The role and the function of music are to entertain, to accompany rites and ceremonies, or performances. 2) “Performance” means expression through body movement, postures, gestures, dance steps, hand gestures, the act of dancing, hand gesturing, manipulating [the puppets] etc, all of which expresses emotion, feelings, or tell stories. A performance might be accompanied by music and singing.
  • 16. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ สาขา รายละเอียด ๓ ๔ แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล ต่างๆ หมายถึง การแสดงออกซึ่งแบบอย่าง ที่นิยมประพฤติปฏิบัติสืบๆ กันมา ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และจักรวาล หมายถึง พื้นเพความรู้ ความสามารถ ทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ ร่วมกับธรรมชาติและ จักรวาลของกลุ่มชน ชุมชน และท้องถิ่น ๓) ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม หมายถึง การผสมผสานระหว่าง การแสดง การร้อง การร่ายรำ และดนตรีที่ใช้ประกอบในพิธีกรรม ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของความเชื่อในการดำรงชีพ การรักษาโรค การเรียกขวัญกำลังใจ การประกอบอาชีพ เป็นต้น ๔) เพลงร้องพื้นบ้าน หมายถึง บทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นนั้นๆ ที่คิดรูปแบบการร้อง การเล่น เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนอง ภาษาที่เรียบง่าย มุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่างๆ หรือการร่วมแรงร่วมใจการทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งในการประกอบอาชีพ ๑) ความเชื่อ หมายถึง การยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือข้อเสนออย่างใด อย่างหนึ่งว่าเป็นความจริง การยอมรับเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้จากสติปัญญาโดยมี เหตุผล หรือความศรัทธา หรือไม่มีความจริง หรือโดยไม่มีเหตุผลก็ได้ ทั้งนี้ อาจจะเป็นความเชื่อส่วนบุคคล หรือความเชื่อของกลุ่มบุคคล หรือกลุ่มชน เช่น ความเชื่อเรื่องผีและอำนาจเหนือธรรมชาติ โฉลก โชคลาง เครื่องรางของขลัง ข้อห้าม และอื่นๆ เป็นต้น ๒) ขนบธรรมเนียม หมายถึง แบบอย่างที่คนในท้องถิ่นนิยมปฏิบัติสืบต่อ กันมา เช่น การไหว้ การผูกเสี่ยว (อีสาน) การสมมาหรือขอขมา กิริยามารยาท และอื่นๆ เป็นต้น ๓) ประเพณีและพิธีกรรม หมายถึง สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยึดถือประพฤติ ปฏิบัติสืบต่อกันมาตามความนิยมจนกำหนดเป็นแบบแผน กิจกรรมหรือกรรมวิธี เช่น พิธีกรรมการทำมาหากิน พิธีกรรมการดูแลสุขภาพ พิธีกรรมสำหรับแต่ละ ขั้นตอนในชีวิต พิธีกรรมในศาสนา พิธีกรรมในรอบปี/ประเพณี ๑๒ เดือน งานเทศกาล และอื่นๆ เป็นต้น ๑) การตั้งถิ่นฐาน เป็นองค์ความรู้ในการเลือกทำเล หรือที่ตั้งชุมชน การสร้างที่อยู่อาศัย และอื่นๆ ๒) อาหารการกิน เป็นองค์ความรู้ในการผลิต ปรุงแต่ง ถนอมอาหาร และอื่นๆ ที่สั่งสมและสืบทอดต่อกันมา เช่น วัฏจักรของอาหาร การแปรรูป การถนอมอาหาร อาหารในพิธีกรรม ภาชนะเครื่องใช้ และอื่นๆ เป็นต้น ๓) การดูแลสุขภาพ เป็นองค์ความรู้ในการจัดการดูแลสุขภาพในชุมชน แบบดั้งเดิม จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับความเชื่อพิธีกรรม วัฒนธรรม ประเพณี และทรัพยากรที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น และเป็นที่ยอมรับ ของชุมชนนั้นๆ เช่น วิถีการปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพและรักษาโรค ความเชื่อ และระบบความสัมพันธ์ในการดูแลสุขภาพ และอื่นๆ เป็นต้น ๔) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เป็นองค์ความรู้ในการจัดการดูแล รักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของคนในท้องถิ่นและชุมชนที่สั่งสม และสืบทอดต่อกันมา เช่น การจัดการดินและแร่ธาตุ ป่า น้ำ และอื่นๆ เป็นต้น
  • 17. NO. Domain Description 3 4 “Social practices, rituals and festive events” means the expression of customary or traditional behaviour that has been established and transmitted from generation to generation. “Knowledge and practices concerning nature and the universe” means the knowledge, ability, and skill of the groups, communities and regions for existing in harmony with nature and the universe. 3) “Music and performance in rituals” means the traditional play activity, such as festival drama, folk dance, and ritualistic dance drama, which features in a ceremony or rite and forms a part of the belief system, a way of life, malady treatment and healing, heartening rite, vocational rites, for example. 4) “Folk song” means the song of folk origin in its form or style, with a simple tune and lyric that aim to entertain during the various occasions or festivities or during a collaborative labour or work. 1) “Beliefs” means the acceptance of the truth of something or of a proposition, either through wisdom and reason or through faith and lack of reason, by an individual, a group, or an ethnic group, for example, the belief in ghosts and spirits and the supernatural, fate, omens, predestination, talisman, taboo and so on. 2) “Custom” means a way of behaving or a belief which has been established for a long time in the community, such as the act of wai (polite greeting or respect-paying gesture by joining the palms of the hands together), the Phuk Siao rite (a kind of blood-brother vow ceremony of Thailand’s northeasterners), the Somma or the Kho Khama ceremony (forgiveness-asking ceremony), the social manners and etiquettes etc. 3) “Tradition and ceremony or rite” means a belief, principle or way of acting which people in a particular society or group have continued to follow for a long time that they have become a pattern of behaviours, activities or procedures, such as the professional traditions, health care traditions, the various rites of passage, religious rites and traditions, the annual rites or the twelve-month’s rites, the festivities and so on. 1) “Settlement” is the body of knowledge for choosing the location or site for the community, home building and so on. 2) “Gastronomy and culinary” is the art and knowledge involved in producing, preparing, cooking, preserving and eating good food, which has been passed on from generation to generation, for example, the food cycle, food processing, food preservation, food in the rites and ceremony, kitchen utensils and so on. 3) “Health care” is the knowledge in managing traditional healthcare in the community, which is embraced by the community, become a part of the way of life of its people, and is associated with its belief, rite, culture, tradition, and resources, which are different in each community, for example, the healthcare practice and treatment of illness, belief and system of relationship in healthcare and so on. 4) “Natural resources management” is the knowledge of the local people and the community, which has been passed on from generation to generation, in managing, taking care of, preserving, and making use of the resources. For example, soil, mineral, forest and water management and so on.
  • 18. 10 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ สาขา รายละเอียด ๕ งานช่างฝีมือดั้งเดิม หมายถึง ภูมิปัญญา ทักษะ ฝีมือช่าง การเลือกใช้วัสดุ และกลวิธีการสร้างสรรค์ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ สะท้อน พัฒนาการทางสังคมและ วัฒนธรรมของกลุ่มชน ๕) โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำนายทายทัก ดวงชะตา ดวงดาว จักรวาล และสิ่งที่เหนือธรรมชาติ หรือเป็นวิชาที่ว่าด้วย การพยากรณ์ โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก เช่น การตั้งชื่อ การทำนายอนาคต การให้ฤกษ์ และอื่นๆ เป็นต้น ๑) ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า หมายถึง ผลผลิตที่เกิดจากการทอ ย้อม ถัก ปัก ตีเกลียว ยก จก มัดหมี่ พิมพ์ลาย ขิด เกาะ/ล้วง เพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม แสดงสถานภาพทางสังคม ลักษณะของผ้าไทยเป็นผ้าหน้าแคบ ลวดลายผ้า มีความเกี่ยวข้องกับตำนานพื้นถิ่น ความเชื่อ และธรรมชาติ ซึ่งลวดลายดังกล่าว มักเกิดจากเส้นพุ่งเป็นหลัก เอกลักษณ์ของผ้าไทยที่เด่นชัด คือ ไม่นิยมตัดแต่งผ้า มักใช้ทั้งผืน เช่น ผ้าขาวม้า ถุงย่าม ผ้าซิ่น โสร่ง ถ้าเป็นผ้านุ่งจะใช้ผ้าลาย แต่ถ้าเป็นผ้าห่มจะใช้ผ้าพื้น ๒) เครื่องจักสาน หมายถึง ภาชนะเครื่องใช้ประจำบ้านของคนไทย เช่น ตะกร้า กระจาด ทำจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ไผ่ หวาย กระจูด ลำเจียก โดยนำมาจักและสาน จึงเรียกว่า เครื่องจักสาน กลวิธีในการทำเครื่องจักสาน ได้แก่ การถัก ผูก รัด มัด ร้อย โดยใช้ตอก หวาย เพื่อให้เครื่องจักสานคงทน และคงรูปอยู่ได้ตามต้องการ ๓) เครื่องรัก หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้รักเป็นวัสดุสำคัญในการสร้างผลงาน เช่น ปิดทองรดน้ำ ภาพกำมะลอ ประดับมุก ประดับกระจกสี ปั้นกระแหนะ และ เขิน รักหรือยางรัก มีคุณลักษณะเป็นยางเหนียว สามารถเกาะจับพื้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ประสงค์จะทาหรือถมทับ หรือเคลือบผิวได้ดีมีคุณสมบัติที่ทำให้ผิวพื้น ซึ่งทา หรือเคลือบรักเป็นผิวมันภายหลังรักแห้งสนิท มีคุณภาพคงทนต่อความร้อน ความชื้น กรดหรือด่างอ่อนๆ และยังเป็นวัสดุที่ใช้เชื่อมสมุก หรือสีเข้าด้วยกัน ๔) เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้ดินเหนียวเป็นวัตถุดิบหลัก ในการผลิต มีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ โดยที่เนื้อดินเหนียวต้องมีส่วนผสม ของทรายแม่น้ำที่เป็นทรายเนื้อละเอียดและช่วยให้เนื้อดินแห้งสนิทไม่แตกร้าว ดินเหนียวที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาจากที่ต่างๆ ให้สีไม่เหมือนกัน เช่น ดินเหนียว เกาลินจากลำปาง จะให้เครื่องปั้นดินเผาเป็นสีขาว ดินเหนียวจากราชบุรีให้สีแดง ดินเหนียวจากด่านเกวียนให้สีเหลือง น้ำตาลอมม่วง หรือน้ำเงิน
  • 19. Intangible Cultural Heritage 11 NO. Domain Description 5 “Traditional craftsmanship” means the knowledge and skills of a group of people in making handicraft works, in selecting materials and methods to create handicraft works that reflect the identity and the social development and culture. 5) “Astrology and astronomy” is the knowledge of how to make predictions and forecasts, fortune-telling, soothsaying and knowledge of the horoscope, astrology, the universe, and the supernatural phenomenon; or the art of making forecasts by studying the constellation and the movements and positions of the stars such as the art of naming, of making predictions, of finding propitious time, and so on. 1) “Textile and textile products making” means the making of fabric by weaving, dying, knitting, embroidering, ti kliao, adding extra weft threads and pulling weft thread technique, weft ikat, printing motifs, khit, ko/luang technique. It is used for making clothes and to show the status of the wearer. Thai textile materials are not broad and the motifs are associated with folk myths, beliefs, and nature. The motifs are usually made by the weft threads. In the traditional use, Thai people prefer to use the whole of the cloth fabric without cutting, for example, the pha khao ma, traditional cloth shoulder bags, tube skirts, and sarong. For skirt, Thai people prefer cloth with decorative motifs and designed patterns, but for shawls, they prefer plain cloth. 2) “Basketry” means the making of household objects by weaving together thin strips of wood, which are in use in the Thai people’s house, such as baskets, krachat (low baskets with a wide rim and narrow base), krabung (high basket with a round shape and square base), which are made from local materials such as bamboo, rattan, krachut (Lepironia articulate (Retz.) Domin), lamchiak (Pandanus odoratissimus Linn). These materials are split or “chak” into long, thin strips before they are weaved or “san”–hence the name “Khreuang Chak San” (“Split and weave objects”-basketry). There are several weaving methods, such as knitting, tying, fastening, binding, stringing. Strips of bamboo or rattan are used for weaving, which are durable and the objects retain their shape for a long time. 3) “Lacquerware” means the making of handicraft objects that are coated with lacquer made from the gum of Rak tree (Melanorrhoea usitata Wall.) Various applications and techniques are used to make lacquer objects, for example, the gilt lacquer, gold appliqué on lacquer, kammalo (Japanese style lacquer object), mother-of-pearl or coloured glass inlay on lacquer, pan kranae (gilt stucco work), and khoen (vermillion paint on lacquer). The gum from Rak tree is viscous and sticky. It holds fast to the surface of objects and when the gum dries, it makes a smooth and shiny surface and is resistant to heat, moisture, weak acid or alkaline. Rak’s gum also acts as a binding agent for samuk (ground charcoal of dried banana leaves and lalang grass, used as a primer on surfaces of wood to be gilded with gold leaves) or other colours. 4) “Pottery” is the handicraft work that uses clay as the principal raw material. Pottery comes in glazed and unglazed version. The clay must be mixed with fine sand from the river, which helps to make the clay dry well and prevent cracking. Different types of clay from various sites give the different colour to the pottery. Kaolin clay from Lampang Province, for example, gives a white colour; from Ratchaburi Province, red; from Dan Kwian, ochre, or brown tinged with purple, or blue.
  • 20. 12 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ สาขา รายละเอียด ๖ กีฬา การละเล่นพื้นบ้าน และ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว หมายถึง การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลหรือชุมชน การแข่งขัน ศาสตร์การต่อสู้ เพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลาย การพัฒนา ด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงชีวิต สังคม และเอกลักษณ์ของ ท้องถิ่นนั้น ๕) เครื่องโลหะ หมายถึง สิ่งที่มีวัสดุหลักเป็นเหล็ก ทองเหลือง หรือ ทองแดง เครื่องเหล็กนิยมทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนและการเกษตร โดยการ เผาไฟให้อ่อนตัวและตีเหล็กเป็นรูปทรงต่างๆ ให้ได้สัดส่วน เครื่องโลหะที่ทำจาก ทองเหลืองเป็นวัสดุหลัก นำทองเหลืองมาเผาจนหลอมเหลวแล้วจึงนำไปเทลง ในแบบรูปต่างๆ ตามลักษณะที่ต้องการ หลังจากนั้นจึงนำมาตกแต่งให้เรียบร้อย ส่วนเครื่องโลหะที่ทำจากทองแดงเป็นวัสดุหลัก มีการนำทองแดงมาใช้เป็น โลหะเจือหลัก สำหรับผลิตตัวเรือนเครื่องประดับโลหะเงินเจือ ๖) เครื่องไม้ หมายถึง งานฝีมือช่างที่ทำจากไม้ซุงหรือไม้แปรรูป เป็นท่อน เป็นแผ่น เพื่อใช้ในงานช่างก่อสร้างประเภทเครื่องสับ เครื่องเรือน เครื่องบูชา เครื่องตั้ง เครื่องประดับ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องศาสตรา เครื่องดนตรี เครื่องเล่น และยานพาหนะ โดยอาศัยเทคนิควิธีการแกะ สลัก สับ ขุด เจาะ กลึง ถาก ขูด และขัด ๗) เครื่องหนัง หมายถึง งานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทำมาจากหนังสัตว์ โดยผ่านกระบวนการหมักและฟอกหนังเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย และให้เกิดความนิ่มนวล สามารถบีบงอได้ตามที่ต้องการ เครื่องหนังนิยมนำไปใช้เกี่ยวกับศิลปะการแสดง เช่น ทำเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีหนัง ได้แก่ กลองแขก กลองชนะ กลองชาตรี กลองทัด กลองมลายู กลองมอญ กลองยาว กลองสองหน้า ตะโพน โทน บัณเฑาะว์ เปิงมาง รำมะนา ไหซอง เป็นต้น ประเภทการแสดง เช่น รูปหนังตะลุง หนังใหญ่ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีหนังเป็นส่วนประกอบ ๘) เครื่องประดับ หมายถึง งานช่างฝีมือที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อการ ตกแต่งให้เกิดความงดงาม เริ่มต้นจากการใช้วัสดุที่พบได้ง่ายในท้องถิ่นนำมาผลิต เป็นเครื่องประดับตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เป็นการใช้ อัญมณีและโลหะมีค่าชนิดอื่น ๙) งานศิลปกรรมพื้นบ้าน หมายถึง งานที่มีการแสดงอารมณ์สะท้อน ออกทางฝีมือการช่าง ให้ประจักษ์เห็นเป็นรูปธรรมเพื่อตอบสนองในด้านการยังชีพ และความต้องการคุณค่าด้านความงาม เช่น ภาพเขียน งานปั้น งานแกะสลัก งานหล่อ เป็นต้น ๑๐) ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น หมายถึง งานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ไม่สามารถ จัดอยู่ใน ๙ ประเภทแรกได้ ซึ่งอาจเป็นงานช่างฝีมือที่ประดิษฐ์หรือผลิตขึ้นจาก วัสดุในท้องถิ่นหรือจากวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น ๑) กีฬาพื้นบ้าน ๒) การละเล่นพื้นบ้าน ๓) ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
  • 21. 3 NO. Domain Description 6 “Sports, folk games and martial arts” means the interaction between individuals or communities, competitions, the arts of fighting for entertainment or recreational purposes, to develop the physical and mental qualities, all of which reflects the way of life, society and identity of the community. 5) “Metal work” is the use of iron, brass, or copper as the principal raw material. Ironwork is well known for making handicraft objects, mostly for household use and agricultural work. Iron-based material is heated to soften it before and it is beaten into shape. Brass work is made by heating brass until it becomes molten before poring it into a mould. After cooling down and taken out of the mould, it is chased and dressed. Copper is mostly used as the principal composite in the silver alloy jewellery. 6) “Woodwork” means the making of handicraft objects from logs or planks of wood for use as a building material in the Khrueang Sap house (house built by wooden joints, without using metal nails), furniture, altar offerings, altar set, costume accessories, tools, weapons, musical instruments, toys, vehicle. Techniques used are carving, sculpturing, chopping, digging, piercing, turning on the lathe, planning, scraping, and polishing. 7) “Leatherwork” means the making of folk handicraft objects from animal raw hides and skins that are soaked in alkali solution and tanned to prevent petrification and to soften them and making them flexible. In the performing arts, leather is used in the production of musical instruments such as in various kinds of drum: klong khaek, klong chana, klong chatri, klong that, klong malayu, klong mon, klong yao, klong song na, taphon, ton, ban do, poeng mang, rammana, hai song, for example. Shadow puppets are also made from leather–folk shadow puppet, grand puppet. Besides, many other objects also use leather as a component. 8) “Ornamentation” is the making of handicraft accessories to decorate the body for beauty. At first easy-to-find, local materials are used, but later gems and precious stones are used. 9) “Folk art” means the making of art objects that concretely express emotions through the craftsmanship. Created for making a living or for fulfilling the aesthetic value, folk art includes painting, sculptures, carving, and casting, for example. 10) “Other kinds of craftsmanship” means other traditional craftsmanship that cannot be classified in the aforementioned nine categories. Other kinds of craftsmanship may involve handicraft works made from local materials or waste materials, for example. 1) Folk sports; 2) Folk games; 3) Martial arts.
  • 22. 14 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อบันทึกประวัติความเป็นมา ภูมิปัญญา และ อัตลักษณ์ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๒. เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมที่อยู่ในอาณาเขตของประเทศไทย ๓. เพื่อเสริมสร้างบทบาทสำคัญและความภาคภูมิใจ ของชุมชน กลุ่มคน หรือบุคคลที่เป็นผู้ถือครองมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๔. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสิทธิชุมชนในการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู และปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ ๕. เพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเพื่อ การพิทักษ์รักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของยูเนสโก ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการขึ้นทะเบียนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า อัตลักษณ์ และ ความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของตนและชุมชนอันแสดงถึง เกียรติภูมิของชาติ ซึ่งเป็นการส่งเสริมความหลากหลาย ของมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้และการเข้าถึงมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อ รองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการพิทักษ์รักษา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของยูเนสโก รวมทั้งส่งเสริม การท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง การดำเนินงานขึ้นทะเบียน เพื่อให้การบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมของไทยเป็นไปอย่างมีระบบและต่อเนื่อง กระตุ้น ให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่า อัตลักษณ์ และความภาคภูมิใจ ในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นการส่งเสริม ให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสในการรับรู้และสืบทอดมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตน ดังนั้น การดำเนินงานเพื่อเป็นโครงการนำร่องการขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจึงได้กำหนด ขั้นตอนในการขึ้นทะเบียน ดังนี้
  • 23. 5 Objectives 1. To record the background history, wisdom and 2. To provide important database on intangible cultural heritage in Thailand; 3. To enhance the crucial role and the pride of 4. To promote and develop the right of 5. To prepare the groundwork for Thailand to become a state party to UNESCO’s Conventions for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Expected Benefit from the Intangible Cultural Heritage Designation Operational Directives for Intangible Cultural Heritage Designation To facilitate Thailand’s intangible cultural heritage management in systematic and continuous manner, to trigger an awareness in the communities of the value and identity of their intangible cultural heritage, to enhance the pride in their intangible cultural heritage, and to promote the younger generations to learn and perpetuate the intangible cultural heritage in their communities, the ONCC has therefore laid down the operational directives and regulated the designation procedure for the pilot project to designate the intangible cultural heritage in 2009 as follows:
  • 24. 16 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๑. ขั้นตอนการดำเนินงานในส่วนของสำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๑.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำเกณฑ์การ ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ๑.๒ ประชุมคณะกรรมการเพื่อระดมความคิด ในการจัดทำเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือ ดั้งเดิม และให้ความเห็นชอบประเภทมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมที่จะดำเนินการเป็นโครงการนำร่องการ ขึ้นทะเบียนฯ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ๑.๓ จัดทำคู่มือการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สาขาศิลปะการแสดง และสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ แก่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายทางวัฒนธรรม และชุมชน ๑.๔ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการ ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อให้ความเห็นชอบรายการ ๑.๕ จัดส่งหนังสือแจ้งสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดที่อยู่ภายใต้โครงการนำร่องเพื่อประสานงานกับ หน่วยงาน เครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดทำ ข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง และสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม สำหรับการขึ้นทะเบียน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยจะต้องมีการดำเนินการให้ชุมชน มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูล ๑.๖ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้แก่จังหวัดต่างๆ ที่อยู่ในโครงการนำร่อง เพื่อพัฒนาความสมบูรณ์ของข้อมูล ที่จะขึ้นทะเบียนและการมีส่วนร่วมของชุมชน ๑.๗ แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อทำหน้าที่เป็น ที่ปรึกษาระหว่างการดำเนินงานขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม และตรวจสอบข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือ ดั้งเดิม หลังจากที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดำเนินการ และส่งข้อมูลมายังสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ๑.๘ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการ ตรวจสอบข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขา ศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ที่ได้รับจาก สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด จากนั้นแจ้งผลการคัดเลือก ให้เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติทราบ ๑.๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติจัดทำประกาศและแถลงข่าวรายการขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงและ สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ๑.๑๐ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ จัดทำสื่อ สิ่งพิมพ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ที่ได้รับ การขึ้นทะเบียนเพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ ต่างๆ
  • 25. 7 1. Operation procedures for the ONCC: 1.1 Committees on Criteria Preparation for 1.6 Budgeted fund shall be allocated to the provincial culture offices in the pilot project to financially support their effort to ensure the completeness of the inventories and the community participation in the process; 1.10 Promotional media and printed materials for publicity of the intangible cultural heritage-listed items in the performing arts and traditional craftsmanship domains through various media channels shall be prepared by the ONCC.
  • 26. 18 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๒. ขั้นตอนการดำเนินงานในส่วนของผู้จัดทำ ข้อมูลเพื่อการขึ้นทะเบียน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด) ๒.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด เพื่อ ทำหน้าที่ในการจัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ที่จะขึ้นทะเบียน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยพิจารณาเชิญ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ศิลปินท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามความเหมาะสม ๒.๒ ดำเนินการจัดทำรายละเอียดของข้อมูล และการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินการจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติผ่านทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ๒.๓ รายงานผลการดำเนินงานต่อสำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๒.๔ ประสานงานกับผู้ถือครอง/ผู้สืบทอด มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อขอจัดทำสื่อ สิ่งพิมพ์ รวมทั้งจัดการแสดงและนิทรรศการในงานแถลงข่าว การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะ การแสดงและสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามวัน เวลา และสถานที่ที่สำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติกำหนด เกณฑ์การคัดเลือกมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คณะกรรมการจัดทำเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กำหนดเกณฑ์ขึ้นทะเบียน ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดในการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงและสาขา งานช่างฝีมือดั้งเดิม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมี รายละเอียด ดังนี้
  • 27. 9 2. Procedures for data collectors and 2.2 Inventories and data collection shall be prepared with the participation of the community and supported by the operational funding from the ONCC through the relevant provincial culture offices; 2.3 Report on the result of the operation and implementation shall be prepared and submitted to the ONCC; Criteria for Nomination of Items for Intangible Cultural Heritage Designation
  • 28. 20 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แนวคิดในการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ๑. สาขาศิลปะการแสดง ๑.๑ มีคุณสมบัติเฉพาะของวัฒนธรรมนั้นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ (เช่น ประวัติ/ ความเป็นมา ขนบประเพณีความเชื่อ) ๑.๒ มีองค์ประกอบสอดคล้องกับประเภทของ ศิลปะการแสดง (เช่น ผู้แสดง ท่วงท่า เพลง/ทำนอง คำร้อง อุปกรณ์ประกอบการแสดง ฯลฯ) ๑.๓ มีรูปแบบการนำเสนอที่ชัดเจน (เช่น วิธีการ ระยะเวลา และลำดับการแสดง) ๑.๔ มีการสืบทอดและมีผู้ถือครอง (เช่น ศิลปิน คณะ/สำนัก กระบวนการสืบทอด) ๑.๕ มีคุณค่าทางจิตใจและวิถีชีวิตชุมชน (เช่น บทบาทต่อวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ความภูมิใจให้กับคนใน ชุมชน) หรือ ๑.๖ คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิเห็นว่าเหมาะสม (เช่น การได้รับการยอมรับจาก ชุมชน มีแนวโน้มในการเสี่ยงต่อการสูญหาย ฯลฯ) ๒. สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ๒.๑ มีต้นกำเนิดหรือถูกนำมาพัฒนาในชุมชนนั้น จนเป็นที่ยอมรับ (เช่น ประวัติ/ความเป็นมา) ๒.๒ แสดงถึงทักษะฝีมือและภูมิปัญญา ตลอดจน การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม (เช่น ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน ผลิตด้วยมือ) ๒.๓ มีการพัฒนากระบวนการและเครื่องมือ ที่ใช้เพื่อตอบสนองกระบวนการผลิต (เช่น วัสดุที่ใช้ ในการผลิตผลงาน แหล่งที่มา เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต และกระบวนการ/ขั้นตอนการผลิต) ๒.๔ วัตถุประสงค์เบื้องต้นในการผลิต (เช่น เพื่อประโยชน์ใช้สอยในวิถีชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรม หรือการประกอบอาชีพของคนในชุมชน) ๒.๕ มีลักษณะเฉพาะถิ่นหรือเฉพาะชาติพันธุ์ (เช่น เอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของผลงานที่สะท้อนถึงหรือ ที่พบเฉพาะท้องถิ่นหรือชาติพันธุ์นั้นๆ) ๒.๖ มีคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรมของ ท้องถิ่น (เช่น ความหมายและคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นหรือชาติพันธุ์นั้นๆ การผลิตและถ่ายทอดสืบต่อกันมา ความภาคภูมิใจของคนในชุมชน) หรือ ๒.๗ คุณสมบัติอื่นๆ ที่คณะกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิเห็นว่าเหมาะสม (เช่น มีความเสี่ยงต่อการสูญหาย ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเร่งด่วน) หมายเหตุ ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ แต่งตั้ง
  • 29. 2 Intangible Cultural Heritage 1 1. In the performing arts domain, a nominated item must have: 1.1 Specific characteristics that attest to the cultural uniqueness and identity of the community; 1.2 Elements that correspond to the performance genre (such as performers, movement, music/tune, lyric or verse, props etc.); 1.3 Explicit presentation format (such as method, duration, and sequences of presentation); 1.4 History of transmission and owner (such as performers, performing troupes, schools, transmission process); 1.5 Spiritual value and value to the community’s way of life (such as having a role in the community’s way of life in the present time, causing pride to the people of the community); or 1.6 Other characteristics that the Committee of Experts considers appropriate (such as the community’s acceptance, the risk of disappearing etc.). 2. In the traditional craftsmanship domain, a nominated item must: 2.1 Have an origin or enjoy the acceptance of the community that has developed it (history, source, background); 2.2 Show the skills, wisdom, and appropriate technology (such as folk technology in handicraft work); 2.3 Have developed the process and tools for production (materials used, source of material, tools, production processes or steps); 2.4 Primary function for its production (such as for use in daily life; for use associated with ceremony, tradition, belief, or culture; or for professional use by the people in the community); 2.5 Have specifically folk, local, or ethnic characteristics (such as unique characteristics or identity that reflects aspects of the local community or ethnic group or can be found only in the community or ethnic group); 2.6 Have artistic and cultural value to the community (such as the significance to the history of the community of ethnic group, the history of production and perpetuation through generations in the community, the pride that the community places in the item); or 2.7 Other characteristics that the committee of experts considers appropriate (such as the risk of disappearing and the need for urgent safeguarding). Remark: The designation as an intangible cultural heritage item depends on the consideration of the Committee of Experts appointed by the ONCC.
  • 30.
  • 32. 24 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หมายถึง องค์ความรู้ หรือผลงานที่เกิดจากบุคคล/กลุ่มชนที่ได้มีการสร้างสรรค์ พัฒนา สั่งสม สืบทอด และประยุกต์ใช้ในวิถีการดำเนินชีวิต มาอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละกลุ่มชน อันแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประกอบด้วยผลงาน สร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม หัตถกรรม ศิลปะพื้นบ้าน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ วิถีการปฏิบัติซึ่งแสดงออกทางภาษา ศิลปะการแสดง งานช่างฝีมือ ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม อาหาร เป็นต้น โดยที่สิ่งต่างๆ ดังกล่าว ได้ส่งผ่านและสืบทอดต่อกันมา รุ่นต่อรุ่น เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือในบางเรื่องเป็นเสมือน จิตวิญญาณที่ยึดถือร่วมกันของคนในสังคม รวมทั้ง ในบางเรื่องยังคงมีความงดงามและมีคุณค่าทางศิลปะสูงยิ่ง ประกาศการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ในอดีตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมได้รับ การคุ้มครองบ้างในบางส่วน เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ซึ่งดำเนินการไปตามพระราชบัญญัติโบราณ สถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่อย่างไรก็ตามยังมีมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมบางส่วน เช่น องค์ความรู้ ทักษะ หรือ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรม ที่ยังไม่ได้รับ การปกป้องคุ้มครองอย่างจริงจังและเป็นระบบ การปกป้องคุ้มครอง ส่งเสริม และสืบทอดมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นภารกิจสำคัญต่อความเป็น มรดกวัฒนธรรมของชาติ กระทรวงวัฒนธรรมจึงประกาศ บัญชีรายชื่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อขึ้นทะเบียน คุ้มครองเบื้องต้น โดยในปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ มีจำนวน ๒ สาขา คือ สาขาศิลปะการแสดง จำนวน ๓ ประเภท ๑๒ รายการ และสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม จำนวน ๘ ประเภท ๑๓ รายการ ในการนี้ กระทรวงวัฒนธรรม มีแผนในการดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมที่ได้รับ การประกาศอยู่ในบัญชีรายชื่อ โดยจะใช้วิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสมต่อไป
  • 33. 25 Intangible cultural heritage means the body of knowledge or work by individuals or groups, which was created, developed, accumulated, transmitted and applied in the daily life of those individuals or groups continuously, in response to the social and natural environments of their communities, and representing their identity and cultural diversity. Intangible cultural heritage encompasses the creative works of architecture, painting, sculpture, handicraft, and folk arts; the knowledge, skill and practices expressed through language, performing arts, crafts, beliefs, traditions, rites, and food, for example, which are transmitted from generation to generation as practices or approaches. In some cases, they are considered as a common spiritual bond of the people in the communities. Some intangible cultural heritage items are beautiful and have high artistic values. Some intangible cultural heritage items, for example, the ancient monuments, objects and artefacts, have been protected under the Act on Ancient Monuments, Antiques, Objects of Art and National Museums, B.E. 2504 (1961 AD). However, some intangible cultural heritage items, such as knowledge, skills, or creative processes of the cultural works or artefacts, have not been seriously and systematically safeguarded. The safeguarding, promotion, perpetuation and transmission of the intangible cultural heritage are crucial to the existence of the national cultural heritage. The Ministry of Culture has therefore announced a list of the intangible cultural heritage designated to be safeguarded in 2009, which includes two domains: 12 items in three categories of the performing arts domain and 13 items in eight categories of the traditional craftsmanship domain. The Ministry of Culture plans to promote and support exchanges of knowledge and transmission of the designated intangible cultural heritage in the list through various methods as appropriate in the future.
  • 34. 26 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปัจจุบัน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหลาย ประเภทในประเทศไทย เช่น ศิลปะการแสดงและงานช่าง ฝีมือดั้งเดิม กำลังสูญหายอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ อาจจะเกิด จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การพัฒนา อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การท่องเที่ยวที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น การโยกย้ายถิ่นของชาวชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ และการ เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ดังกล่าว มีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติและการสืบทอดมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก การประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรม เป็นมาตรการสำคัญที่มุ่งส่งเสริมการตระหนัก ถึงคุณค่าอันโดดเด่น ยกย่ององค์ความรู้ และภูมิปัญญา เหตุผลสำคัญในการประกาศขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของบรรพบุรุษ ส่งเสริมศักดิ์ศรีทางวัฒนธรรม และ เอกลักษณ์ของกลุ่มชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความ เข้าใจ และเกิดการยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย ทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ เพื่อปูทางไปสู่การอนุรักษ์ สร้างสรรค์ พัฒนา สืบทอดอย่างเป็นระบบที่ยั่งยืนต่อไป การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นการขึ้นทะเบียนครั้งแรก และเป็นการ ขึ้นทะเบียนในสาขาศิลปะการแสดงและสาขางานช่างฝีมือ ดั้งเดิมก่อน สำหรับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสาขา อื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญมากเช่นกันนั้น กระทรวงวัฒนธรรม จะได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนในโอกาสต่อไป
  • 35. 27 At present, the intangible cultural heritage in several domains in Thailand, such as in the performing arts and the traditional craftsmanship domains, are fast disappearing, perhaps owing to the social and cultural changes, the industrial development, the increase tourism, the migration of provincial villagers into the capital city, or the ecological changes. These changes gravely affect the practitioners, inheritors and perpetuators of the intangible cultural heritage. The announcement of the Designation of the intangible Cultural Heritage 2009 is a key measure to promote an awareness of the prominent values, honour the body of knowledge passed on from generation to generation, and enhance the cultural prestige and identity of communities all over the country. It also fosters an understanding and acceptance of the diversity of cultures, which will eventually lead to the preservation, creation, development, transmission and perpetuation of the intangible cultural heritage in an organised, systematic and sustainable endeavour. The Designation of Intangible Cultural Heritage 2009 will be the first effort of its kind in Thailand, which focuses on the performing arts and traditional craftsmanship domains. The designation of the intangible cultural heritage items in the other domains that are as significant shall be implemented in the future.