SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 60
Downloaden Sie, um offline zu lesen
การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตของข้าว โดยการบริหารการจัดการปลูกข้าว
The Promotion of Rice Intensification by Rice Management Method
(RMM)
โดย
สุรวุฒิ สนิทวงศ์ณ อยุธยา
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
สารบัญ
เรื่อง หน้า
สารบัญ ๒
คํานํา ๓
ความเป็นมา ๔
ความสําคัญ และ ที่มาของปัญหา ๖
ทฤษฎี สมมติฐาน และ/หรือ กรอบแนวความคิดของการพัฒนาแบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม ๘
ไฮโดรโปนิกส์ ๑๒
ปุ๋ ย ๒๐
ข้าว ๒๒
การปฏิบัติตามหลักการ อาร์ เอ็ม เอ็ม ๒๖
หลักการปฏิบัติของระบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม ๒๗
เทคนิคการทํานาแบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม ๓๐
บทสรุป ๔๑
บทความพิเศษ ๔๒
ภาคผนวก ๔๙
ก. การทําปุ๋ ยหมักแบบไม่กลับกอง ๔๙
ข. การใช้พืชปุ๋ ยสด ๕๑
ค. การใช้สารสะเดาในการผลิตข้าวนา และ ข้าวไร่ ๕๒
ง. วิธีการกํา จัดปู และ หอย ๕๕
จ. การทํานํ้าสกัดชีวภาพ ๕๖
ฉ. ภาพร่างเครื่องกําจัดวัชพืช ๕๗
เอกสารอ้างอิง ๕๙
คํานํา
ชาวภาคเหนือตอนบน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่ทํานาเฉลี่ย ๕ ไร่ วัตถุประสงค์ของการ
ปลูกข้าวในฤดูฝนจึงปลูกเพื่อบริโภค แนวทางการผลิตข้าวเป็นการปลูกข้าวโดยเน้นการลดความเสี่ยง และ ให้
ความสําคัญกับเสถียรภาพของการผลิต นอกจากนี้การเลือกใช้พันธุ์ข้าว มักจะเลือกข้าวที่มีคุณสมบัติในการหุง
ต้มดี ดังนั้น ข้าวเหนียวพันธุ์ กข.๖ จงเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับความนิยมมาเป็นอันดับหนึ่ง กระบวนการเพิ่มผลผลิต
ข้าวโดยอาศัยปุ๋ ยเคมีไม่ได้ทําให้พันธุ์ข้าว กข.๖ เพิ่มผลผลิตมากขึ้น
ระบบการผลิตข้าวแบบ System of Rice Intensification (SRI) เป็นวิธีการที่ถูกพัฒนาโดย Fr. Henri de
Laulanie,S.J. ในขณะที่ทํา งานในประเทศมาดากัสก้าร์ ระหว่างปี ๒๕๐๒ ถึง ๒๕๓๘ เพื่อปรับปรุงการผลิตข้าว
และ ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรในประเทศดังกล่าวต่อมา วิธีการดังกล่าวนี้ได้มีการขยายผล โดยหลาย
องค์กร อาทิเช่น Association Tefy Saina (ATS) ที่ประเทศมาดากัสการ์ และ ศูนย์CIIFAD ของมหาวิทยาลัยคอร์
เนล สหรัฐอเมริกา เอกสารนี้รวบรวม, แก้ไข และ เพิ่มเติม เนื้อหาจากฉบับภาษาอังกฤษซึ่งเรียบเรียงโดย
Professor Dr.Norman Uphoff ผู้อํานวยการศูนย์ CIIFAD ร่วมกับ ATS ต่อมาระบบการผลิตข้าวแบบ SRI ได้ถูก
พัฒนาขึ้นใหม่โดย Eng’r Suravut Snidvongs (สุรวุฒิ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็น “การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตของ
ข้าวโดยการบริหารการจัดการปลูกข้าว” The Promotion of Rice Intensification by Rice Management Method”
ซึ่งระบบการปลูกข้าวแบบใหม่นี้ให้ความสําคัญกับศักยภาพที่แท้จริงของต้นข้าว การปลูกข้าวจึงพยายามที่จะ
สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวอย่างเต็มที่ ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก, การ
ตรวจสอบสารอาหารในดิน, การตรวจสอบคุณภาพ และ สารอาหาร ในนํ้า, การเตรียมเมล็ดพันธุ์, การศึกษา
วัชพืชในแปลงนา, การศึกษาโรคพืช และ แมลงในแปลงนา, การเตรียมสารอาหารให้เหมาะสมต่อต้นข้าวในแต่
ละพื้นที่, การเตรียมยาฆ่าแมลง และ การกําจัดวัชพืช, การเตรียมกล้า, ลักษณะของการเตรียมดิน, วิธีการย้ายต้น
กล้า, การจัดการนํ้าในแปลงนา
ระบบการผลิตข้าวแบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม สามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างมากโดยไม่ต้องใช้ปัจจัยการผลิต
เพิ่มขึ้นจากเดิม เพียงแต่ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูก และ วิธีการจัดการในนาข้าวขึ้นใหม่ ผู้พัฒนาเห็นว่า วิธีการนี้
เป็นทางเลือกหนึ่งของการเพิ่มผลผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต และ คิดว่าเหมาะสมกับเกษตรกรราย
ย่อย ที่มีวิธีการปลูกข้าวแบบนาดํา จึงได้นําวิธีนี้มาทดลองในราชอาณาจักรไทย และ ประยุกต์ใช้ให้ได้ผลที่ดี
มากที่สุด หวังว่าท่านที่อ่านคู่มือนี้ เมื่อนําไปปฏิบัติแล้วจะสามารถเพิ่มผลผลิตของข้าวได้สูงขึ้น และ หาก
ต้องการแสดงข้อคิดเห็น หรือ ช่วยปรับปรุงเอกสารตลอดจนวิธีการผลิต ขอได้โปรดร่วมแสดงความคิดเห็น
สุรวุฒิ สนิทวงศ์ณ อยุธยา
มูลนิธิพัฒนา และ ส่งเสริมพลังงานทดแทนแห่งเอเซีย
ความเป็นมา
การปลูกข้าวแต่โบราณเมื่อประมาณ ๓๐ ถึง ๔๐ ปีที่ผ่านมา การปลูกข้าวในเนื้อที่ ๑ ไร่ สามารถให้ข้าว
ได้ถึง ๒ เกวียน หรือ ๒,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ หรือ ๒ ตันต่อไร่ ทําไมผลผลิตของข้าวถึงได้ลดลงอย่างมาก และ
จะทําอย่างไรถึงจะเพิ่มผลผลิตของข้าวให้ได้เท่าเดิม หรือ ดีกว่าเดิมในอดีต
ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากมนุษย์ ความมักง่ายของมนุษย์นั่นเองที่เป็นสาเหตุ การใช้สารอาหาร และ แร่ธาตุ
ที่มีอยู่ในดินเรื่อยไป โดยไม่มีการเพิ่มเติม หรือ รักษาสารอาหาร และ แร่ธาตุในดิน จึงทําให้ดินเสื่อมสภาพไม่
สามารถใช้ในการเพาะปลูกได้อีกต่อไป อีกทั้งยังทําให้ดินไม่สามารถดูดซับนํ้าไว้ในดินได้อีก จึงทําให้เกิดภัย
แล้ง และ เกิดนํ้าท่วม จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันจะเกิดนํ้าท่วมโดยฉับพลัน และ เมื่อนํ้าลดก็จะเกิดภัยแล้งอย่าง
รุนแรง การเพาะปลูกได้ผลผลิตที่น้อยมาก ไม่คุ้มต่อการลงทุน
ทําอย่างไรจะช่วยให้ดินกลับสู่สภาพที่อุ้มนํ้า, เก็บความชื้นได้ดี, และ มีสารอาหารพอเพียงต่อการ
เพาะปลูก ระบบการการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตของข้าว โดยการบริหารการจัดการปลูกข้าว The Promotion of
Rice Intensification by Rice Management Method (RMM) จะทําให้ดินกลับสู่สภาพเดิมได้ แต่เฉพาะวิธีการ
จัดการคงไม่เพียงพอ และ สําเร็จได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน
ระบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม สามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างน้อยหนึ่งเท่าตัว และ หากมีการจัดระบบอย่างดีให้แก่
ต้นข้าว, ดิน และ นํ้า ผลผลิตสามารถเพิ่มเป็น ๑,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ หรือ มากกว่าได้ ที่ตั้งเป้าไว้คือ
๖,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ (ประเทศเวียตนามสามารถผลิตข้าวได้เฉลี่ย ๘,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ปี ๒๕๕๐)
หนังสือเล่มนี้เป็นการเสนอแนวคิดพื้นฐาน และ แนวทางปฏิบัติ ในเพิ่มผลผลิตเป็นของข้าว ข้อมูลนี้
เป็นเสมือนเครื่องชี้ทาง สําหรับเกษตรกรใช้ทดสอบ และ ประเมินผล วิธีใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ต้นข้าวเจริญเติบโต
ให้ผลผลิตมากขึ้น
แต่เดิมระบบ เอส อาร์ ไอ (SRI) ได้ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศมาดากัสการ์ โดยชาวฝรั่งเศสชื่อ อองรี เดอ
โลลานี ซึ่งทํางานร่วมกับเกษตรกร และ เพื่อนร่วมงานชาวมาลากาซี ระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๖๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔) ถึง
ค.ศ. ๑๙๙๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) เพื่อปรับปรุงวิธีผลิตข้าวในประเทศ ด้วยความปรารถนาที่จะให้ชาวมาลากาซี มีชีวิต
ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และ มีความสุขมากขึ้น ระบบดังกล่าวได้รับการศึกษา, การประเมินผลจากนักวิทยาศาสตร์
และ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจากหลายๆ ประเทศว่าได้ผลดี
เอส อาร์ ไอ (SRI) เริ่มจากหลักปรัชญาที่ว่า ต้นข้าวต้องได้รับความเคารพ และ จุนเจือประหนึ่งสิ่งมีชีวิต
ที่มีศักยภาพ ซึ่งจะนํามาใช้ได้ก็ต่อเมื่อเราอํานวยสภาวะที่ดีที่สุด ที่เอื้อต่อการเติบโตของพืช หากเราช่วยให้พืช
เจริญเติบโตด้วยหนทางที่ดีกว่า พืชก็จะตอบแทนความพยายามนั้นกลับคืนเป็นหลายเท่า เราจะไม่ปฏิบัติต่อพืช
เยี่ยงเครื่องจักรน้อยๆ ที่ถูกบังคับให้ทําสิ่งที่ฝืนธรรมชาติของตนเอง
ระบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากระบบ เอส อาร์ ไอ โดยเพิ่มการตรวจสอบ และ การวิเคราะห์
ดิน, นํ้า, วัชพืช, แมลง สภาพแวดล้อมต่างๆ จึงทําให้ได้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นจากระบบ เอส อาร์ ไอ
สิ่งที่เกษตรกรในราชอาณาจักรไทย ตลอดจนประเทศอื่นๆ ทั่วโลกปฏิบัติกันมานับร้อยๆปี เพื่อให้ข้าว
เจริญเติบโต กลับทําให้ศักยภาพตามธรรมชาติของต้นข้าวลดลง ระบบใหม่ที่จะใช้ขยายผลผลิตข้าวนี้เป็นการ
เปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติระบบเดิม เพื่อนําศักยภาพสําคัญในต้นข้าวออกมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต
การปลูกข้าวที่เกษตรกรทําในปัจจุบัน อาทิ การหว่านเมล็ด, การเตรียมดิน, การควบคุมนํ้า, คุณภาพดิน
และ พันธุ์ข้าวที่จะใช้ปลูก มีความเหมาะสมต่อสภาพการเจริญเติบโต หรือ ไม่ เพราะหากมีความไม่เหมาะสม
แล้ว ต้นข้าวก็ไม่สามารถให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่
ความสําคัญ และ ที่มาของปัญหา
การปลูกข้าวในปัจจุบันมีต้นทุนการผลิตที่สูง แต่ได้ผลผลิตที่ตํ่า ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนของชาวนา อีกทั้ง
ยังมีปัญหาที่ดินที่ใช้ในการทํานาลดน้อยลง เนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของดิน, ความแห้งแล้ง, โรคระบาด, ราคา
ปุ๋ ย และ ยาฆ่าแมลงที่มีราคาสูง มีการดื้อยา และ การใช้ปุ๋ ยในปริมาณที่สูงขึ้น แต่ยังได้ผลผลิตลดลง ชาวนาจึงหัน
ไปปลูกพืชอื่นที่ได้ราคาสูงกว่า มีต้นทุนการผลิตตํ่า และ สามารถปลูกพืชให้เจริญเติบโตได้ดีในดินทุโภชนา โดย
ปกติผลผลิตของข้าวไทยเฉลี่ยอยู่ที่ ๓๐๐ – ๖๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าตํ่ามาก ทั้งนี้ผลผลิตขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ
จํานวนมาก
การปลูกข้าวในอดีตถึงปัจจุบัน ยังคงใช้วิธีการปลูกแบบดังเดิมที่ใช้มาแต่อดีต ทําให้ต้องใช้นํ้ามาก มีการ
ใช้เครื่องจักรกลเข้าช่วยเพื่อเป็นการผ่อนแรง ได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าว เพื่อให้มีความต้านทานโรค, มี
ผลผลิตที่สูงขึ้น, มีสายพันธุ์ที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม และ พื้นที่เพาะปลูก มีการเปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ ยเคมี และ
ยาฆ่าแมลงที่เป็นเคมี มาเป็นปุ๋ ยชีวภาพ และ ยาฆ่าแมลงชีวภาพ เพื่อลดปริมาณสารพิษตกค้างในดิน และ ป้องกัน
ดินเสื่อมสภาพ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้บางส่วน แต่ไม่ยั่งยืน เพราะผลผลิตที่ได้ยังไม่แน่นอน ต้นข้าวใน
แปลงเจริญเติบโตไม่สมํ่าเสมอ เพราะได้รับสารอาหารไม่ทั่งถึง ในดินแต่ละพื้นที่มีสารอาหาร และ สารตกค้างที่
ไม่เท่ากัน ทําให้เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกันทั้งแปลง ใช้เวลาในการปลูกนาน มีปัญหาโรคพืช และ แมลง จากการที่มี
การพัฒนาสายพันธุ์ และ การหันมาใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ ปุ๋ ยชีวภาพ การใช้ยาฆ่าแมลงที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น และ
ปรับปรุงการปลูกข้าวหลายประการ ทําให้ผลผลิตของข้าวเพิ่มขึ้นเป็น ๓๐๐ – ๑,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่
ปัจจุบันปุ๋ ยที่ใส่ลงไปในดินส่วนมากเป็นปุ๋ ยเคมี ซึ่งพืชสามารถดูดซับ และ นําไปใช้ในการสังเคราะห์
แสงได้ แต่ปุ๋ ยเคมีมีคุณสมบัติบางประการที่ไม่เหมาะสม เพราะองค์ประกอบของปุ๋ ยเคมีมีแต่แม่ปุ๋ ย หรือ ธาตุ
อาหารหลัก (Main Elements) ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน N, ฟอสฟอรัส P, และ โปแตสเซี่ยม K ซึ่งไม่มีการให้
สารอาหาร หรือ แร่ธาตุที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอื่นได้ ปุ๋ ยเคมีโดยทั่วไปจะขาดส่วนธาตุอาหารรอง
(Minor Elements), แมกนิเซี่ยม Mg, แคลเซี่ยม Ca, กํามะถัน S, และ ธาตุอาหารเสริม (Trace Elements) สังกะสี
Zn, โคบอล Co, แมงกานีสโบรอน Mn, เหล็ก Fe, นิเกิล Ni, ทองแดง Cu ,โมลิบดินัม Mo, และ โซเดียม Na ซึ่ง
สารเหล่านี้ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็เพียงพอที่จะทําให้พืชแข็งแรงต่อ โรค และ แมลง มีผลผลิตสูงขึ้นอย่าง
มาก การให้แม่ปุ๋ ย, เหล็กคีเลท, และ Trace Elements อาจพอเพียงสําหรับพืชบางประเภท แต่อาจต้องมีการเพิ่ม
ฮอร์โมนบ้าง หรือ ไคโตซาน บ้างหากพืชต้องการ
โดยปกติธาตุไนโตรเจนในดินจะสูญเสียไปโดยการถูกกัดเซาะของดิน กล่าวคือ การถูกกัดเซาะของดิน
โดยนํ้า ในขณะเดียวกันธาตุฟอสฟอรัสจะหลงเหลืออยู่ในดินที่ถูกนํ้ากัดเซาะ ทําให้ธาตุโปแตสเซี่ยมที่เหลืออยู่ใน
ดิน พืชไม่สามารถนําไปใช้งานได้ การสูญเสียธาตุอาหารในดินจะมีอยู่ตลอดเวลา ทําให้ต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ ยเคมี
ขึ้นเรื่อยๆ เพราะดินไม่สามารถดูดซับปุ๋ ยเคมีไว้ได้ เพราะดินเสื่อมสภาพอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากปุ๋ ยเคมีไม่มี
คุณสมบัติในการรักษาดินให้คงสภาพทนต่อการกัดกร่อน, เก็บความชื้น, เก็บธาตุอาหาร, และ มีความร่วนซุย
ในอดีตถึงปัจจุบันชาวนาทํานาโดยอาศัยความชํานาญ หรือ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน แต่ไม่มีความชํานาญใน
เรื่องของสารเคมี และ การใช้เครื่องมือทดสอบ ปัจจุบันชาวนาไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพดิน และ นํ้า
อีกทั้ง ยังไม่เข้าใจทฤษฎีของปุ๋ ย, โรคพืช และ ยาฆ่าแมลง เพราะภาครัฐมิได้มีการเผยแพร่ และ ถ่ายทอดความรู้
ให้แก่ชาวนา อย่างเป็นรูปธรรม และ จริงจัง
หากชาวนาเข้าใจถึงทฤษฎีของปุ๋ ย, โรคพืช และ ยาฆ่าแมลง อย่างถ่องแท้เมื่อผนวกเข้ากับความชํานาญ
หรือ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน จะทําให้ชาวนาสามารถเพิ่มผลผลิตของข้าวได้อย่างแน่นอน ภาครัฐต้องสนับสนุนทาง
วิชาการ และ เครื่องมือในการตรวจสอบ ให้แก่ชาวนา ภาครัฐต้องออกมาให้ความรู้กับชาวนาทุกหมู่บ้าน เพื่อให้
เข้าใจในทฤษฎีของปุ๋ ย, โรคพืช, ยาฆ่าแมลง และ การใช้เครื่องมือทดสอบดิน ทดสอบนํ้า
การเพิ่มผลผลิตของข้าวให้มีปริมาณสูง โดยสามารถลดปริมาณนํ้าที่ใช้, ปุ๋ ยเคมี และ ยาฆ่าแมลง เพื่อลด
ต้นทุนการผลิต, ลดปริมาณสารตกค้างในดิน, ลดโรคพืช และ ป้ องการดินเสื่อมสภาพ มีความจําเป็นที่ต้องมีการ
สํารวจหาข้อมูลของพื้นที่เพาะปลูก อาทิเช่น ประเภทของนํ้า, ประเภทของดิน, ความหนาของชั้นสารอาหารใน
ดิน, ความหนาของชั้นดินแต่ละประเภท, ปริมาณสารอาหารในแต่ละพื้นที่ของแปลง, ความเป็นกรด, กลาง, ด่าง,
และ ความเค็มของดิน, ปริมาณสารพิษตกค้างในดิน, ภูมิทัศน์ของแปลงปลูกข้าว เพื่อนํามาทําแผนที่ของแปลง
ปลูกข้าว ใช้ในการ ปรับสภาพนํ้า, ปรับสภาพพื้นที่, ปรับปริมาณสารอาหาร, ปรับความเป็น กรด, ด่าง, กลาง และ
เค็ม ของดิน, ปรับปริมาณยาฆ่าแมลงที่จําเป็น เพื่อให้เหมาะสมต่อพันธุ์ข้าว และ การปลูกข้าวในแต่ละพื้นที่ของ
แปลงปลูกข้าว ทําให้ต้นข้าวในแปลงเจริญเติบโตสมํ่าเสมอ เพราะได้รับสารอาหารทั่งถึงไม่เหลือสารตกค้าง จึง
สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกันทั้งแปลง และ ใช้เวลาในการปลูกสั้นขึ้น อีกทั้งยังลดปัญหาโรคพืช, ศัตรูพืชลงได้
จึงเป็นการแก้ปัญหา และ เพิ่มผลผลิตของข้าวอย่างยั่งยืน ซึ่งคาดว่า ผลผลิตของข้าวจะเพิ่มขึ้นจาก ๓๐๐ – ๖๐๐
กิโลกรัมต่อไร่ เป็น ๓,๐๐๐-๖,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่
ปัจจุบันมีผลการศึกษาวิจัย และ พัฒนาการปลูกข้าวอยู่มากมาย ซึ่งการวิจัยส่วนใหญ่เน้นแต่การวิจัยเป็น
แต่ละหัวข้อ เมื่อได้ผลสําเร็จก็มิได้มีการนําผลการวิจัยดังกล่าว มาวิจัยแบบรวมหัวข้อ หรือ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
และ มิได้มีการนําผลการวิจัยต่างๆเผยแพร่ออกมา หรือ ทําให้เป็นรูปธรรมต่อชาวนา ดังนั้นชาวนาจึงยังคงใช้
วิธีการปลูกข้าวแบบดังเดิม ทําให้มีต้นทุนสูง และ ผลผลิตตํ่า รายได้ของชาวนาตํ่า จึงยากจน ดังนั้นจึงมีความ
จําเป็นที่จะต้องส่งเสริม และ เผยแพร่ผลการวิจัย และ การพัฒนาการปลูกข้าว ที่ได้ผลผลิตสูงให้แก่ชาวนาได้
นําไปใช้และ พัฒนาต่อไป
ทฤษฎี สมมติฐาน และ/หรือ กรอบแนวความคิดของการพัฒนาแบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม
การปลูกข้าวในอดีตถึงปัจจุบัน ยังคงใช้วิธีการปลูกข้าวแบบดังเดิมซึ่งต้องใช้นํ้ามาก แต่ได้มีการใช้
เครื่องจักรกล เข้าช่วยเพื่อเป็นการผ่อนแรง ได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าว เพื่อให้มีความต้านทานโรค, มีผลผลิต
ที่สูงขึ้น, มีสายพันธุ์ ที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม และ พื้นที่เพาะปลูก มีการเปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ ยเคมี และ ยา
ฆ่าแมลงที่เป็นเคมี มาเป็นปุ๋ ยชีวภาพ และ ยาฆ่าแมลงชีวภาพ เพื่อลดปริมาณสารพิษตกค้างในดิน และ ป้องกัน
ดินเสื่อมสภาพ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้บางส่วน แต่ไม่ยั่งยืน เพราะผลผลิตที่ได้ยังไม่แน่นอน ต้นข้าวใน
แปลงเจริญเติบโตไม่สมํ่าเสมอ เพราะได้รับสารอาหารไม่ทั่งถึง ในดินแต่ละพื้นที่มีสารอาหาร และ สารตกค้างที่
ไม่เท่ากัน ทําให้เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกันทั้งแปลง ใช้เวลาในการปลูกนาน มีปัญหาโรคพืช และ แมลง
การเพิ่มผลผลิตของข้าวให้มีปริมาณสูง อีกทั้งสามารถลดปริมาณนํ้าที่ใช้, ปุ๋ ยเคมี และ ยาฆ่าแมลง เพื่อ
ลดต้นทุนการผลิต, ลดปริมาณสารตกค้างในดิน, ลดโรคพืช และ ป้องการดินเสื่อมสภาพ มีความจําเป็นที่ต้องมี
การสํารวจหาข้อมูลของพื้นที่เพาะปลูก อาทิเช่น ประเภทของนํ้า, ประเภทของดิน, ความหนาของชั้นสารอาหาร
ในดิน, ความหนาของชั้นดินแต่ละประเภท, ปริมาณสารอาหารในแต่ละพื้นที่ของแปลง, ความเป็นกรด, กลาง,
ด่าง, และ ความเค็มของดิน, ปริมาณสารพิษตกค้างในดิน, ภูมิทัศน์ของแปลงปลูกข้าว เพื่อนํามาทําแผนที่ของ
แปลงปลูกข้าว เพื่อใช้ในการ ปรับสภาพนํ้า, ปรับสภาพพื้นที่, ปรับปริมาณสารอาหาร, ปรับความเป็น กรด, ด่าง,
กลาง และ เค็ม ของดิน, ปรับปริมาณยาฆ่าแมลงที่จําเป็น เพื่อให้เหมาะสมต่อพันธุ์ข้าว และ การปลูกข้าวในแต่
ละพื้นที่ของแปลงปลูกข้าว ทําให้ต้นข้าวในแปลงเจริญเติบโตสมํ่าเสมอ เพราะได้รับสารอาหารทั่งถึง ในดินแต่
ละพื้นที่มีสารอาหารเท่าเทียวกัน และ ไม่เหลือสารตกค้าง จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกันทั้งแปลง และ ใช้เวลา
ในการปลูกสั้นขึ้น อีกทั้งยังลดปัญหาโรคพืช, ศัตรูพืชลงได้ จึงเป็นการแก้ปัญหา และ เพิ่มผลผลิตของข้าวอย่าง
ยั่งยืน
การปรับปรุงการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ร่วมกับการปลูกพืชแบบ SRI และ ปัจจัยอื่นๆ ทําให้เกิดเป็น
ระบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม ซึ่งมีความเหมาะสมต่อพันธุ์พืช และ ภูมิประเทศ สามารถทําให้พืชสมบูรณ์แข็งแรง, มี
ภูมิคุ้มกันต่อโรคพืช และ ศัตรูพืช พืชจึงเจริญเติบโตไว ใช้นํ้าน้อย สามารถปลูกข้าวในฤดูแล้ง หรือ นํ้าน้อยได้
ให้ผลผลิตสูง ทําให้ลดปริมาณปุ๋ ยเคมี และ ยาปราบศัตรูพืชเคมี ลงได้อย่างมาก ทําให้ลดปริมาณสารตกค้าง และ
ทําให้ดินสมบูรณ์ขึ้น จึงทําให้มีต้นทุนการผลิตที่ตํ่าลง
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (Soiless Culture) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hydroponic นั้นเป็นกรรมวิธีที่
นักวิทยาศาสตร์การเกษตรได้ใช้มานานกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว พืชจะถูกปลูกให้อยู่ในนํ้าที่มีสารละลายต่างๆ ตามที่พืช
ต้องการ รากของพืชจะยึดเกาะอยู่กับวัสดุที่เป็นกลาง ไม่เน่าเปื่อย เช่น กรวดหยาบ, ทรายหยาบ, หินภูเขาไฟบด
เป็นก้อนเล็กๆ ฯลฯ อาหารที่จะใช้เลี้ยงพืชอยู่ในรูปสารละลาย ใส่ในภาชนะที่ปลูกพืชอยู่ วิธีนี้จะทําให้พืชได้
อาหารอย่างสมบูรณ์ เติบโตเร็ว รากเกาะวัสดุปลูกแช่อยู่ในนํ้ายา เชื้อราจึงไม่สามารถอยู่ได้ พืชจะได้รับการปลูก
เลี้ยงโดยไม่มีเชื้อราเข้าทําลาย นํ้ายาที่ใช้ในการปลูกพืชจะมีการให้ฟองอากาศผ่านอยู่เสมอ พืชจึงได้รับทั้งอาหาร
และ ออกซิเจนตลอดเวลา ซึ่งออกซิเจนจะละลายปนเข้ากับนํ้า ช่วยให้พืชเติบโตเร็วกว่าที่ปลูกโดยใช้ดิน เพราะ
ออกซิเจนเข้าสู่รากพืชไม่สะดวก แม้ว่าจะได้มีการพรวนดินเป็นครั้งคราวก็ตาม อีกทั้งการพรวนดินจะทําให้ราก
ของพืชกระทบกระเทือน และ ทําให้พืชชลอการเจริญเติบโต การพรวนดินต้องใช้แรงงานมาก การเลี้ยงแบบ
Hydroponic สารละลาย และ ออกซิเจน จะผ่านรากของพืชได้โดยสมํ่าเสมอ พืชเจริญเติบโตเร็ว ไม่มีโรคที่แพร่
ระบาดอยู่ในดินมาทําลายพืชให้เสียหาย
เมื่อต้นไม้แข็งแรงเติบโตเร็ว การให้ผลผลิตจะใช้เวลาน้อยกว่าพืชที่ปลูกในดิน ไม้ดอกออกดอกมาก
พืชผักโตเร็วให้ผลผลิตสูง อีกทั้งอาจจะใช้วิธีนี้ปลูกผัก และ ผลไม้ ที่ปกติต้องปลูกในเขตหนาว นํามาปลูกใน
เขตร้อนได้ ได้มีการทดลองว่าผักหลายอย่างที่ปลูกในที่เย็นบนดอย สามารถปลูกในภาคกลางที่มีอุณหภูมิสูงกว่า
ได้โดยพืชสามารถอยู่ได้อย่างสมบูรณ์ และ ให้ผลผลิตได้เป็นอย่างดี
ความสําคัญของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินอยู่ที่ Chelate Iron ซึ่งเป็นส่วนประกอบสําคัญของคลอโรฟิล
ที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสง ถึงแม้ว่าจะมีการให้ปริมาณแม่ปุ๋ ยแก่พืชในปริมาณสูง แต่หากดินขาด Chelate
Iron ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการสังเคราะห์แสง พืชก็ไม่สามารถนําแม่ปุ๋ ยเหล่านั้นไปใช้ในการสังเคราะห์แสงได้
เรียกว่าเกิด Chlorosis จึงทําให้สิ้นเปลืองแม่ปุ๋ ยที่ใส่ให้แก่พืช เพราะแม่ปุ๋ ยเหล่านั้นพืชไม่สามารถนําไปใช้ได้ ยัง
เป็นการสูญเสียแม่ปุ๋ ยไปโดยใช้เหตุ เหมือนการตํานํ้าพริกละลายแม่นํ้า อีกทั้งการใช้แม่ปุ๋ ยจํานวนมากทําให้เสีย
ค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ยังทําให้ดินเสียอีกด้วย
อีกทั้งการให้ปุ๋ ยของชาวนาในปัจจุบัน ที่ใส่ลงไปในดินส่วนมากเป็นปุ๋ ยเคมี ซึ่งพืชไม่สามารถดูดซับ
และ นําไปใช้ในการสังเคราะห์แสงได้ เนื่องจากปุ๋ ยเคมีที่ใช้ มีคุณสมบัติบางประการที่ไม่เหมาะสม เพราะ
องค์ประกอบของปุ๋ ยเคมีที่ชาวนาใช้ มีแต่แม่ปุ๋ ย หรือ ธาตุอาหารหลัก (Main Elements) ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน N,
ฟอสฟอรัส P, และ โปแตสเซี่ยม K ซึ่งไม่มีการให้สารอาหาร หรือ แร่ธาตุที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอื่น
ได้ ปุ๋ ยเคมีโดยทั่วไปจะขาดส่วนธาตุอาหารรอง (Minor Elements), แมกนิเซี่ยม Mg, แคลเซี่ยม Ca, กํามะถัน S,
และ ธาตุอาหารเสริม (Trace Elements) สังกะสี Zn, โคบอล Co, แมงกานีสMn, โบรอน Bo, เหล็ก Fe, นิเกิล Ni,
ทองแดง Cu, โมลิบดินัม Mo, และโซเดียม Na ซึ่งสารเหล่านี้ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอเพียงสําหรับพืชที่
จะทําให้พืชแข็งแรงต่อโรค และ แมลง เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นอย่างมาก การให้แม่ปุ๋ ย, เหล็กคีเลท (Chelate Iron),
และ Trace Elements อาจพอเพียงสําหรับพืชบางประเภท แต่อาจต้องมีการเพิ่ม ฮอร์โมนบ้าง หรือ ไคโตซาน
หากพืชต้องการ
โดยปกติธาตุไนโตรเจนในดิน จะสูญเสียไปโดยการถูกกัดเซาะจากนํ้า ในขณะเดียวกันธาตุฟอสฟอรัส
จะคงหลงเหลืออยู่ในดินที่ถูกนํ้ากัดเซาะ ธาตุโปแตสเซี่ยมที่เหลืออยู่ในดิน พืชไม่สามารถนํ้าไปใช้งานได้ การ
สูญเสียธาตุอาหารในดินจะมีอยู่ตลอดเวลา ทําให้ต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ ยเคมีขึ้นเรื่อยๆ เพราะดินไม่สามารถดูดซับ
ปุ๋ ยเคมีไว้ได้ เนื่องจากดินเสื่อมสภาพอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากปุ๋ ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการรักษาดินให้คงสภาพ
ทนต่อการกัดกร่อน, เก็บความชื้น, เก็นธาตุอาหาร, และ มีความร่วนซุย
การเลือกประเภทของปุ๋ ย และ กรรมวิธีการใช้ปุ๋ ย เป็นเรื่องสําคัญ ต่อการดูดซับสารอาหารของพืช และ
การรักษาดินให้คงคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช การใช้ปุ๋ ยมีประสิทธิภาพสูงสุด ทําให้ลดต้นทุน และ
เพิ่มผลผลิตได้สูง อีกทั้งยังลดปริมาณสารตกค้างในดินลงได้มาก ทําให้ดินไม่เสื่อมสภาพคงคุณสมบัติที่
เหมาะสมต่อการปลูกพืชได้ยาวนาน พืชมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคพืช และ ศัตรูพืชได้ดี
ปุ๋ ยที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีสารอาหารครบ อันได้แก่ สารอาหารหลัก, สารอาหารรอง, และ สารอาหารย่อย
2. มีวัสุดที่ช่วยให้ดินร่วนซุย
3. พืชสามารถนําไปใช้งานได้ง่าย
4. มีสารพิษตกค้างตํ่า
5. ไม่ทําให้ค่าความเป็นกรด, ด่าง, กลาง และ เค็ม ของดินเปลี่ยนแปลง
โรงงานผู้ผลิตปุ๋ ยไม่ต้องการขายเหล็กคีเลท และ/หรือ สูตรปุ๋ ยที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร เพราะจะทํา
ให้ปริมาณการใช้แม่ปุ๋ ยลดลงเป็นจํานวนมากหากเกษตรกร รู้จักถึงการใช้เหล็กคีเลท และ/หรือ สูตรปุ๋ ยอื่นๆ ใน
ปริมาณที่ถูกต้อง และ เหมาะสม จึงเป็นเหตุให้เหล็กคีเลท และ/หรือ ปุ๋ ยสูตรมีราคาแพง ไม่สามารถซื้อขายได้
โดยสดวกในท้องตลาด จึงมีความจําเป็นที่ต้องผสมเหล็กคีเลท และ/หรือ สูตรปุ๋ ย ที่เหมาะสมต่อพันธุ์พืช และ
พื้นที่ที่ใช้ปลูกพืช ขึ้นใช้เองจากสารเคมีที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด เหล็กคีเลท ที่มีขายอยู่ในต่างประเทศ มัก
ทําเป็นสูตรปุ๋ ยสําเร็จรูป มิได้แยกขายเฉพาะแต่เหล็กคีเลท การสั่งตัวยาสําเร็จจากต่างประเทศทําได้ง่าย แต่มีราคา
แพง จนไม่สามารถดําเนินการในรูปของการค้าได้
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆ ในราชอาณาจักรไทย ที่มีคณะเกษตร, พืชสวน, หรือ ป่าไม้ ได้มีการทดลอง
เรื่องการปลูกพืชไร้ดินมานานแล้ว การเตรียมตัวยาต่างๆ ไม่ใช่เรื่องลี้ลับแต่ประการใด ในวิทยานิพนธ์ของ
ห้องสมุดต่างๆ ได้แสดงวิธีปลูก วิธีผสมนํ้ายาไว้อย่างชัดแจ้ง สมควรที่เอกชนจะได้นําวิทยาการเหล่านี้มาใช้
ประโยชน์ ในการเกษตรขนาดเล็ก หรือ ใหญ่ เพื่อได้ผลผลิตคุณภาพสูงราคาเหมาะสม เพื่อใช้บริโภค หรือ
ส่งออกสู่ตลาดโลก เพื่อเป็นรายได้ช่วยการครองชีพในขณะภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า เป็นการประหยัดเงินตรา
ต่างประเทศได้มาก สารเคมีบางตัวอาจต้องสั่งจากต่างประเทศ แต่เป็นสารขั้นพื้นฐานที่มีราคาไม่แพงจนเกินไป
เมื่อนํามาผลิตเป็นตัวยาเพื่อใช้ในระบบ Hydroponic ย่อมถูกกว่ามาก ทําให้สามารถขยายการเพาะเลี้ยงต้นไม้ได้
อย่างกว้างขวาง และ มีราคาถูกกว่าสั่งตัวยาสําเร็จจากต่างประเทศ เป็นการใช้ภูมิปัญญาของคนไทยเพื่อประหยัด
ดุลย์การค้าได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันมีผลการศึกษาวิจัย และ พัฒนาการปลูกข้าวอยู่มากมาย ซึ่งการวิจัยส่วนใหญ่เน้นแต่การวิจัยเป็น
แต่ละหัวข้อ เมื่อได้ผลสําเร็จก็มิได้มีการนําผลการวิจัยดังกล่าว มาวิจัยแบบรวมหัวข้อ หรือ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
และ มิได้มีการนําผลการวิจัยต่างๆเผยแพร่ออกมา หรือ ทําให้เป็นรูปธรรมต่อชาวนา ดังนั้นชาวนาจึงยังคงใช้
วิธีการปลูกข้าวแบบดังเดิม ทําให้มีต้นทุนสูง และ ผลผลิตตํ่า รายได้ของชาวนาตํ่า จึงยากจน ดังนั้นจึงมีความ
จําเป็นที่จะต้องส่งเสริม และ เผยแพร่ผลการวิจัย และ การพัฒนาการปลูกข้าว ที่ได้ผลผลิตสูงให้แก่ชาวนาได้
นําไปใช้และ พัฒนาต่อไป
ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)
ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช โดย เฉพาะ
การปลูกผัก และ พืชที่ใช้เป็นอาหาร เนื่องจากประหยัดพื้นที่ และ ไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดินทําให้ได้
พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร ปัจจุบันนี้ในเทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดินหลายแบบด้วยกัน
ประวัติ
นักวิจัยด้านเมตาบอลิซึมของพืชได้ค้นพบว่าพืชจะดูดซึมสารอาหารมาเป็นไอออนในนํ้า ซึ่งมีโครง
สร้างไม่ซับซ้อน ในสภาพตามธรรมชาตินั้น ดินจะทําหน้าที่เป็นแหล่งสารอาหาร แต่ดินเองนั้นไม่จําเป็นต่อการ
เติบโตของพืช เมื่อสารอาหารในดินละลายไปกับนํ้า รากของพืชก็จะสามารถดูดซึมสารอาหารนั้นได้ เมื่อใส่
สารอาหารที่จําเป็นสําหรับพืชไว้ในแหล่งนํ้าที่สร้างขึ้น ก็ไม่จําเป็นต้องใช้ดินเพื่อเป็นแหล่งอาหารของพืชอีก
ต่อไป พืชส่วนใหญ่จะเติบโตด้วยวิธี ไฮโดรโปนิกส์ ได้ แต่เติบโตได้ดีมากน้อยแตกต่างกัน การปลูกพืชไร้ดินนี้
ทําได้ง่าย สะดวก และ ประหยัดพื้นที่ แต่ต้องมีอุปกรณ์ที่จําเป็นอย่างอื่น นอกจากสารอาหารสําหรับพืชที่ละลาย
อยู่ในนํ้าแล้ว
ประโยชน์
ไฮโดรโปนิกส์ นั้นมีประโยชน์หลักๆ ๒ ประการด้วยกัน
1.ช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นสําหรับการเติบโตของพืช แทนที่จะเป็นการใช้ดินอย่างเดิม
ทําให้กําจัดตัวแปรที่ไม่ทราบออกไปจากการทดลองได้จํานวนมาก
2.พืชหลายชนิดจะให้ผลผลิตได้มากในเวลาที่น้อยกว่าเดิม และ มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม
ในสภาพแวดล้อม และ สภาพการเศรษฐศาสตร์หนึ่งๆ การปลูกพืชแบบ ไฮโดรโปนิกส์ จะให้ผลกําไร
แก่เกษตรกรได้มากขึ้น และ ด้วยการปลูกที่ไม่ใช้ดิน จึงทําให้พืชไม่มีโรคที่เกิดในดิน ไม่มีวัชพืช และ ไม่ต้อง
จัดการดิน และ ยังสามารถปลูกพืชใกล้กันมากได้ ด้วยเหตุนี้พืชจึงให้ผลผลิตในปริมาณที่มากกว่าเดิม ขณะที่ใช้
พื้นที่จํากัด นอกจากนี้ยังมีการใช้นํ้าน้อยมาก เพราะมีการใช้ภาชนะ หรือ ระบบวนนํ้าแบบปิด เพื่อหมุนเวียนนํ้า
เมื่อเทียบกับการเกษตรแบบเดิมแล้ว นับว่าใช้นํ้าเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น ไฮโดรโปนิกส์ เหมาะอย่างยิ่งสําหรับ
ผู้ที่ต้องการปลูกพืชโดยการการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้มากที่สุด และ มีความหนาแน่นสูงสุด
ตัวอย่างของความพยายามในช่วงแรกๆ ที่จะปลูกพืชไร้ดิน ก็คือ สวนลอยบาบิโลน เมื่อราว ๖๐๐ ปีก่อน
คริสตกาล และ สวยลอยแห่งอัสเต็กซ์ ในช่วงคริสตศวรรษที่ ๑๑ นักวิจัยการปลูกพืชไร้ดินคนแรกๆ ก็คือ จอห์น
วูดเวิด (John Woodward) ชาวอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๒ เขาได้ปลูกพืชในนํ้า โดยได้เติมดินลงไปหลายชนิด
การปลูกพืชครั้งนั้นเป็นการสาธิตว่า นอกจากนํ้าแล้วในโลกเรานั้นมีสสารหลายขนิดที่พืชต้องการ ครั้นเมื่อกลาง
คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ นักสรีรวิทยาพืช (plant physiologists) ชาวเยอรมัน ชื่อซาคส์ (Sachs) และ คนอพ (Knop)
ได้ปลูกพืชในสารละลายอย่างง่ายของเกลืออนินทรีย์เมื่อ พ.ศ. 2472 ศาสตราจารย์ Gericke แห่งมหาวิทยาลัย
แคลิฟอร์เนีย ที่เมืองเดวิส ได้สาธิตว่าพืชจะเติบโตโดยไม่ใช้ดิน สามารถเติบโตไปได้จนโตเต็มที่ ครั้งนั้นเขาได้
ปลูกมะเขือเทศในนํ้า จนได้ผลขนาดใหญ่อย่างน่าแปลกใจ และ เขาได้เทียบคําศัพท์ในภาษากรีก ที่มีความหมาย
ว่า การเกษตร คือ geoponics ซึ่งหมายถึง ศาสตร์แห่งการปลูกพืชโดยใช้ดิน ด้วยเหตุนี้เขาจึง คิดคําใหม่ว่า "
ไฮโดรโปนิกส์ " (hydroponics) ซึ่งหมายถึง การปลูกพืชในนํ้า จากภาษากรีก hydros (นํ้า) และ ponos (แรงงาน)
เทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดิน
มีการใช้เทคนิคต่างๆ มากมายในการปลูกพืชแบบไร้ดิน บ้างก็ใช้วัสดุจําพวกโลหะเฉื่อย เป็นตัวคํ้ายัน
รากของพืช บ้างก็ใช้วัสดุแบบอื่นๆ โดยให้สารละลายที่มีสารอาหารโดยตรงแก่รากด้วยวิธีต่างๆ ที่หลาก หลาย
การปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์
สําหรับราชอาณาจักรไทยเพิ่งมีการปลูกพืชด้วยวิธีนี้เป็นเชิงพาณิชย์มาไม่นาน และ ยังไม่แพร่หลายมาก
แต่ในระดับงานวิจัยได้มีการศึกษาค้นคว้ากันมากว่า ๓๐ ปีแล้ว โดยการวิจัยเริ่มแรกทําการทดสอบกับพืชผัก
หลายชนิดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าเทคนิคปลูกในสารละลายแบบนํ้าลึก (liquid culture, deep water)
ประสบความสําเร็จน่าพอใจ แต่ระบบให้นํ้าไหลผ่านรากพืชเป็นชั้นบางๆ (nutrient film technique, NFT)
ในขณะนั้นยังต้องมีการปรับปรุง และ พัฒนา
ในระยะ ๑๐ ปีนี้มีการวิจัยในหลายสถาบัน เช่น ระหว่างปี ๒๕๓๐ - ๒๕๓๕ ได้มีการศึกษาเพื่อ
พัฒนาการปลูกพืชไม่ใช้ดิน ณ พระราชวังสวนจิตรลดา เพื่อจะได้นําเทคนิคนี้ไปใช้ในการปลูกพืชในพื้นที่ที่ดิน
มีปัญหาในการเพาะปลูก การปลูกพืชใช้ระบบวัสดุปลูกรดด้วยนํ้าสารละลายธาตุอาหาร โดยใช้กระบะบรรจุ
สารละลายธาตุอาหารเป็นแปลงปลูก พบว่าสามารถปลูกพืชได้หลายชนิด เช่น พืชผัก ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง
กะหลํ่าดอก ผักกาดหัว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักกาดหอม คึ่นฉ่าย ผักชี หอมแบ่ง มะเขือ มะเขือเทศ แตงเทศ ไม้
ดอก ได้แก่ ดาวเรือง บานชื่น พิทูเนีย กุหลาบ และ ไม้ประดับ เช่น โกสน หมากผู้หมากเมีย สาวน้อยประแป้ง ไผ่
ฟิลิปปินส์ ซึ่งผลจากการวิจัย ได้มีผู้สนใจนําไปปรับใช้ในการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์เป็นการค้าจนถึง
ปัจจุบัน (กระบวน, ๒๕๔๒)
ด้านกองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร ก็ได้มีการทดลองปลูกพืชผักหลายชนิด เช่น ผักกวางตุ้ง
ผักกาดขาว ผักกาดขาวปลี ผักกาดฮ่องเต้ และ ผักกาดหัว โดยใช้สารเคมีสูตร Hoagland แต่เติมโซเดียม และใช้
เหล็ก EDTA เป็นสารให้ธาตุเหล็ก ทําการปลูกในถังพลาสติก หุ้มด้วยกระดาษเพื่อลดอุณหภูมิ และ ใช้แผ่นโฟม
รองด้วยผ้าพลาสติกกันนํ้าออก มีการให้ก๊าซอ๊อกซิเจนด้วยปั๊มอากาศ และ หมั่นดูแลไม่ให้นํ้ายาแห้ง พบว่าเป็น
วิธีที่ได้ผลดีพอสมควร
สถาบันที่มีการวิจัยการปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๒๖ คือสถาบันเทคโน
โลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาถึงขั้นจัดทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้
คํานวณปริมาณธาตุอาหารในการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช (อิทธิสุนทร, ๒๕๔๒) และ ดัดแปลงระบบที่
ใช้อยู่เป็นระบบขนาดเล็กเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว หรือ ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นงานอดิเรกอีกด้วย (อิทธิสุนทร, 2
๒๕๔๒)
เมื่อมีการตื่นตัวเรื่องการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ บริษัทเจริญโภคพันธุ์ก็ได้ทําการศึกษาความเป็น
ไปได้ ในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้เทคนิคนี้ควบคู่กับระบบโรงเรือน แต่ใน
ที่สุดก็ไม่ได้นําเทคโนโลยีนี้มาใช้ (เปรมปรี, ๒๕๔๒) เอกชนอีกรายที่ทําการศึกษาวิจัยเพื่อหาเทคนิคการปลูก
พืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมสําหรับราชอาณาจักรไทย เนื่องจากเล็งเห็นว่าจะเป็นวิธีการปลูกพืชที่
จําเป็นในอนาคต คือบริษัท ที เอ บี วิจัย และ พัฒนา จํากัด ดําเนินการที่อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยได้รับ
ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ระยะหลังได้มีการนําการปลูกพืชด้วยวิธี ไฮโดรโปนิกส์ มาปลูกพืชผักเป็นการค้ากันบ้างแล้วในประ
เทศไทย โดยระบบที่นํามาใช้กันแพร่หลายมีอยู่ ๒ ระบบ คือ ระบบ NFT ซึ่งเป็นระบบสําเร็จรูปที่นําเข้าจาก
ประเทศออสเตรเลีย และ ระบบสารละลายหมุนเวียนชนิดไม่เติมอากาศ ซึ่งศึกษาและพัฒนาขึ้น ณ พระราช วัง
สวนจิตรลดา
ข้อดี และ ข้อเสียการปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์
การปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชโดยใช้หลักวิชาการแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่โดย
การเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน แต่ไม่นําดินมาใช้เป็นวัสดุปลูก พืชสามารถเจริญเติบโตได้โดยอาศัยธาตุอาหาร
ต่างๆ ที่ละลายลงในนํ้าเพื่อทดแทนธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น
๑. สามารถปลูกพืชได้ต่อเนื่องตลอดปี เมื่อเก็บผลผลิตผักแล้วสามารถปลูกพืชผักรุ่นต่อไปได้ทันทีเนื่อง
จากไม่ได้ปลูกพืชลงดินจึงไม่ต้องทิ้งระยะเวลาเพื่อทําการพักดิน ตากดิน กําจัดวัชพืช และ เตรียมแปลงปลูกใหม่
การปลูกพืชในดินต่อเนื่องเป็นเวลานานยังทําให้เกิดปัญหาดินเสื่อมสภาพ แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์
สามารถปลูกพืชต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องกลัวปัญหานี้ เนื่องจากแหล่งอาหารของพืชไม่ได้มาจากดิน แต่มาจากธาตุ
อาหารต่างๆ ที่ให้ทางสารละลายธาตุอาหาร นอกจากนั้นการปลูกพืชด้วยเทคนิคนี้ไม่ขึ้นกับฤดูกาล เพราะมีการ
ควบคุมสภาพแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ปลูกได้ต่อเนื่องตลอดปี
๒. สามารถปลูกพืชได้แม้ในที่ที่ไม่มีพื้นที่สําหรับปลูกพืช การอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองซึ่งที่ดินมีราคา
แพง ผู้อยู่อาศัยในที่ที่มีพื้นที่จํากัด เช่น ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ อาคารชุด และ หอพัก ไม่มีพื้นที่สําหรับปลูกพืช
สามารถปลูกพืชผักสวนครัว สมุนไพร หรือไม้ดอกไม้ประดับ ได้โดยใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ขนาดเล็กวาง
บริเวณพื้นที่ว่างที่มีอยู่เล็กน้อย เช่น ริมหน้าต่าง ทางเดิน ดาดฟ้า พื้นที่เล็กๆ หลังบ้าน
๓. สามารถปลูกพืชในที่ที่ดินไม่เหมาะสม ในบางพื้นที่มีพื้นที่อยู่มากมาย แต่ใช้ทําการเพาะปลูกพืช
ไม่ได้เนื่องจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินทะเลทราย พื้นที่ที่เป็นหิน พื้นที่ภูเขา ดินเค็ม ดินกรด ดินด่าง พื้นที่
อยู่ในเขตแห้งแล้ง หรือ ขาดแคลนนํ้าชลประทานการแก้ปัญหาเหล่านี้ทําได้ยาก ต้องใช้เวลานาน และ ใช้
งบประมาณมาก สามารถใช้พื้นที่ที่มีอยู่ปลูกพืชได้ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ เพราะนอกจากไม่ต้องใช้ดินเป็นแหล่ง
อาหารสําหรับพืชแล้ว ยังเป็นวิธีที่ใช้นํ้าน้อย และใ ช้อย่างมีประสิทธิภาพ พืชไม่มีปัญหาขาดนํ้า ไม่มีการสูญเสีย
นํ้าจากการซึมลึก การไหลทิ้ง หรือ การแย่งนํ้าจากวัชพืช ไม่มีปัญหาการให้นํ้ามากเกินไป
๔. พืชเจริญเติบโตได้เร็ว และ ให้ผลผลิตสูง การปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิมไม่สามารถกําหนดปริมาณธาตุ
อาหารให้พอดีกับความต้องการของพืชได้ นอกจากนั้นยังมีการสูญเสียธาตุอาหารจากกระบวนการต่างๆ ที่
เกิดขึ้นในดิน และ ในอากาศ ตลอดจนการแย่งธาตุอาหารจากวัชพืช แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์
สามารถควบคุมปริมาณสารอาหารได้ดีกว่าการปลูกในดิน สามารถกําหนดปริมาณธาตุอาหารให้ตรงกับความ
ต้องการของพืช พืชได้รับสารอาหารในรูปอนินทรีย์โดยตรง ทําให้การใช้ปุ๋ ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังไม่มีปัญหาการแย่งธาตุอาหารโดยวัชพืช จึงทําให้พืชเจริญเติบโตเร็วและได้ผลผลิตสูง ในอีกแง่
หนึ่ง ถ้าคํานึงถึงผลผลิตต่อปี ผลผลิตจากการผลิตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ก็จะสูงกว่าการปลูกด้วยวิธีดั้งเดิม
เนื่องจากการเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น และ ปลูกต่อเนื่องได้ตลอดปีไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทําให้สามารถปลูกพืชได้มากครั้ง
กว่าในเวลาเท่ากัน
๕. ผลผลิตมีความสมํ่าเสมอ สะอาด และ คุณภาพดี เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารตามที่พืช
ต้องการ ตลอดจนควบคุมปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมได้ทั่วถึง ทําให้ได้ผลผลิตที่มีความสมํ่าเสมอ มีรูปร่าง สี
ขนาด ใกล้เคียงกัน ผลผลิตไม่ได้สัมผัสกับดิน จึงสะอาดและดูน่ารับประทาน การปลูกพืชวิธีนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะ
ที่จะผลิตพืชผักที่ต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพ และ ความสมํ่าเสมอ เช่น ผักส่งออก ผักทดแทนการนําเข้า และ ผัก
ส่งขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต
๖. ใช้แรงงานน้อยลง การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์จะใช้แรงงานน้อยกว่าการปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม
เนื่องมาจากไม่ต้องมีการเตรียมดิน ไม่ต้องทําการเขตกรรม เช่น ให้นํ้า ใส่ปุ๋ ย กําจัดวัชพืช มีศัตรูพืชน้อยกว่า จึง
ใช้แรงงานในการกําจัดน้อยกว่า การเพาะเมล็ด การย้ายปลูก การเตรียมแปลงปลูก และ การเก็บเกี่ยว ทําได้ง่าย
กว่า จึงใช้แรงงานน้อยกว่า
๗. ลดการใช้สารเคมี เนื่องจากมีการควบคุมสภาพแวดล้อม ควบคุมศัตรูพืชได้ง่าย เพราะการไม่ใช้ดิน
ในการปลูกพืช ทําให้ไม่มีปัญหาโรคแมลงที่อยู่ในดินตลอดจนไม่มีปัญหาวัชพืช ส่วนโรคแมลงที่ระบาดทาง
อากาศก็สามารถลดการใช้สารเคมีได้โดยการใช้โรงเรือนตาข่าย
๘. ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล และ ทุกสภาพอากาศ เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับ
ความต้องการของพืช และ มีการควบคุมสภาพแวดล้อมอื่นๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การที่
สามารถปลูกพืชได้ตลอดไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทําให้สามารถควบคุมราคาได้โดยไม่ขึ้นลงตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม
การปลูกพืชด้วยเทคนิคนี้ก็มีข้อจํากัด ได้แก่
๘.๑ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง ทําให้ผลผลิตที่ได้มีราคาแพง ต้องเลือกปลูกพืช
ที่มีราคา ค่าใช้จ่ายที่ทําให้ต้นทุนสูงจะเป็นค่าก่อสร้างโรงเรือน ค่าสารเคมี ค่าอุปกรณ์ และ ค่าดูแลรักษา
การลงทุนระยะแรกอาจไม่คุ้ม แต่จะให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว และ ต้องดําเนินการในพื้นที่มากจะคุ้มกว่า
พื้นที่น้อย
๘.๒ ต้องใช้เทคนิคขั้นสูง ผู้ปลูกต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคที่เลือกใช้เป็นอย่างดี นอก
จากนี้ยังต้องมีความรู้ในเรื่องธาตุอาหารพืช นํ้า สรีรวิทยาของพืช สารละลาย และ เครื่องมือควบคุม
ระบบต่างๆ อีกด้วย
๘.๓ มีโอกาสเกิดโรคที่มาจากนํ้าได้ง่าย และ ยากต่อการควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกใน
สารละลาย ไม่ว่าจะเป็นระบบหมุนเวียน หรือ ไม่หมุนเวียน ถ้ามีการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบราก โรคจะ
แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และ ยากต่อการป้องกันกําจัด เพราะพืชแต่ละต้นใช้สารละลายในแหล่ง
เดียวกันเชื้อจะระบาดไปทั่วระบบในเวลาอันสั้นโดยติดไปในสารละลาย
การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของพืชไม่ว่าจะปลูกด้วยวิธีดั้งเดิม หรือ ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ ถูก
ควบคุมโดยปัจจัยทั้งภายใน และ ภายนอก การเรียนรู้ถึงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นเรื่องจําเป็น
เนื่องจากเป็นความรู้พื้นฐานที่สําคัญในการกําหนดความสําเร็จ หรือ ล้มเหลวในการปลูกพืช การเจริญเติบโต
ของพืชที่ปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งอาจจําแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้๓ กลุ่ม ดังนี้
๑. พันธุกรรม เป็นปัจจัยภายในตัวพืชเองเพราะเกี่ยวข้องกับยีนซึ่งอยู่ในโครโมโซมของพืช ยีนเป็น
ตัวกําหนดลักษณะต่างๆ เช่น ความสูง รูปร่าง สี นอกจากนั้นยังเป็นตัวกําหนดว่าพืชจะเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิต
สูง หรือ สามารถต้านทานศัตรูพืชได้ดีเพียงใด ปัจจัยทางพันธุกรรมจะมีอิทธิพลร่วมกับสภาพแวด ล้อม ดังนั้น
ในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ได้ลักษณะตามต้องการ จะต้องแยกความแตกต่าง ทางพันธุกรรมออกจากความแตก
ต่างทางสภาพแวดล้อมให้ได้ ในประเทศที่มีการปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์เป็นการค้าอย่างแพร่หลาย เช่น
ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม จะให้ความสําคัญกับการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อปลูกด้วยวิธีนี้โดยเฉพาะ การปลูก
พืชโดยวิธีนี้จึงให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกพืชในดิน ต่างจากประเทศไทยซึ่งการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ยัง
มีน้อยส่วนใหญ่จึงใช้พันธุ์พืชพันธุ์เดียวกับที่ใช้ปลูกในดิน
๒. สารควบคุมการเจริญเติบโต ไม่ว่าการปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม หรือ ปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ พืชมี
สารควบคุมการเจริญเติบโต และ การพัฒนาของส่วนต่างๆ อยู่ตลอดเวลา สารควบคุมการเจรญเติบโตของพืช
เป็นสารอินทรีย์ซึ่งไม่จํากัดว่าพืชสร้างขึ้นเอง หรือ มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น สารปริมาณเพียงเล็กน้อยในช่วงเพียง
ส่วนในล้านส่วน (ppm) ก็สามารถกระตุ้น ยับยั้ง หรือ เปลี่ยนสภาพทางสรีรวิทยาของพืชได้ โดยสารควบคุมการ
เจริญเติบโตจะไปควบคุมการทํางานของจีน (gene) ในการสร้างโปรตีน กระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ต่างๆ
หรือ เปลี่ยนแปลงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเยื่อหุ้มทั้งหลาย
๓. สภาพแวดล้อม เป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งการตอบสนองต่อปัจจัย
ต่างๆเหล่านี้ไม่ได้แตกต่างกันไม่ว่าจะปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม หรือ ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ ปัจจัยที่เป็นตัวควบคุม
การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของพืชมีอยู่หลายปัจจัย ปัจจุบันการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์มีอยู่มากมาย
หลายระบบ เนื่องจากมีการพัฒนากันมาเป็นเวลานาน ให้เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของประ เทศต่างๆ อย่างไร
ก็ตามระบบต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมีพื้นฐานมาจากระบบหลักๆ ตามลักษณะการให้สารละลายธาตุอาหารแก่บริเวณ
รอบๆ รากพืช ๓ ระบบ ได้แก่ (ถวัลย์, ๒๕๓๔)
๓.๑ แบบปลูกให้รากลอยอยู่กลางอากาศ (aeroponics) เป็นระบบที่มีการหมุนเวียนสารละลาย
ธาตุอาหาร ส่วนรากของพืชจะแขวนห้อยกลางอากาศลอยอยู่ภายในกล่อง หรือ ตู้ที่เป็นห้องมืด จากนั้นจึงเติม
ธาตุอาหารแก่รากพืชด้วยการใช้ปั๊มอัดผ่านหัวฉีด ฉีดพ่นสารละลายให้เป็นฝอยละเอียด เป็นระยะ ๆ ตาม
ช่วงเวลาที่กําหนด เพื่อให้รากคงความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง ร้อยละ ๙๕-๑๐๐ ข้อดีของระบบนี้คือ รากพืชไม่
ขาดออกซิเจน และ จะเจริญเติบโตได้เต็มที่ ข้อเสียของระบบนี้คือ ตู้ปลูกมักมีอุณหภูมิสูงกว่าภายนอก และ ต้อง
ลงทุนค่าวัสดุอุปกรณ์ค่อนข้างสูง จึงมักใช้ในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาทางสรีระวิทยาของพืช หรือ ใช้ระบบ
ขนาดเล็กเพื่อปลูกพืชเป็นงานอดิเรกมากกว่าที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์
๓.๒ แบบปลูกในวัสดุปลูก (substrate culture) เป็นการปลูกในลักษณะที่คล้ายกับการปลูกพืช
บนดินมากที่สุด การดูแลรักษาจึงคล้ายกับการปลูกพืชในกระถาง แต่ใช้วัสดุปลูกอื่นแทนดินเพื่อให้รากพยุงลํา
ต้นอยู่ได้ การปลูกในวัสดุปลูกปริมาณของวัสดุปลูกจะน้อยกว่าดินมาก คือรากพืชจะมีพื้นที่ในการหานํ้า และ
อาหารไม่เกิน ๕ ลิตรต่อต้น ดังนั้นการจัดการเกี่ยวกับนํ้า และ ธาตุอาหารจะต้องดูแลเป็นพิเศษ ต้องควบคุม
ปริมาณนํ้าในวัสดุปลูกให้เหมาะสม โดยนอกจากใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายนํ้าดี อุ้มนํ้าได้น้อย มีอัตราส่วน
ระหว่างนํ้า และ อากาศที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องควบคุมการให้สารละลายต้องระวังไม่ปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งจน
ไม่มีความชื้นเหลืออยู่ เพราะถ้าแห้งถึงระดับหนึ่งรากอาจไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ทําให้เกิดความเสียหาย
ได้ วิธีที่เหมาะสมคือ ให้ครั้งละน้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ เหตุนี้เองระบบควบคุมการให้นํ้าอัตโมัติจึงเป็นสิ่งจําเป็น
สูตร และ ความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารจะต้องเหมาะสมกับชนิดพืช ช่วงการเจริญเติบโต และ สภาพ
ภูมิอากาศ ก่อนปลูกควรปรับ pH ของวัสดุปลูกให้อยู่ในช่วง ๕.๕-๖.๐ โดยใช้สารละลายกรดไนตริกเจอจาง ข้อ
ควรระวังอีกอย่างหนึ่ง คือต้องเก็บเศษรากพืชที่เหลือออกจากวัสดุปลูกให้หมดเมื่อต้องเริ่มปลูกพืชครั้งใหม่
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2
ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2

Weitere ähnliche Inhalte

Ähnlich wie ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2

บทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุงบทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุงkasetpcc
 
โครงการเกษตร4 7
โครงการเกษตร4 7โครงการเกษตร4 7
โครงการเกษตร4 7Ploy Benjawan
 
เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสาน
เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสานเอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสาน
เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสานSompop Petkleang
 
Farming System 23/06/54
Farming System 23/06/54Farming System 23/06/54
Farming System 23/06/54SkyPrimo
 
บทที่ 2ปรับปรุง
บทที่ 2ปรับปรุงบทที่ 2ปรับปรุง
บทที่ 2ปรับปรุงkasetpcc
 
4 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (โสภาพิมพ์)
4 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (โสภาพิมพ์)4 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (โสภาพิมพ์)
4 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (โสภาพิมพ์)Nutthakorn Songkram
 
ผลการผลิต เชียงใหม่
ผลการผลิต เชียงใหม่ผลการผลิต เชียงใหม่
ผลการผลิต เชียงใหม่Dow P.
 
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเจื๋อง เมืองลื้อ
 
แผนการเรียนรู้เกษตร1
แผนการเรียนรู้เกษตร1แผนการเรียนรู้เกษตร1
แผนการเรียนรู้เกษตร1juckit009
 
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...sombat nirund
 
กลุ่ม4
กลุ่ม4กลุ่ม4
กลุ่ม4punloveh
 
การทำเกษตรอินทรีย์ [โหมดความเข้ากันได้]
การทำเกษตรอินทรีย์ [โหมดความเข้ากันได้]การทำเกษตรอินทรีย์ [โหมดความเข้ากันได้]
การทำเกษตรอินทรีย์ [โหมดความเข้ากันได้]อบต. เหล่าโพนค้อ
 
เรื่อง การทำการเกษตร
เรื่อง การทำการเกษตรเรื่อง การทำการเกษตร
เรื่อง การทำการเกษตรchompoo28
 
6 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (กฤษณา)
6 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (กฤษณา)6 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (กฤษณา)
6 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (กฤษณา)Nutthakorn Songkram
 
เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่Chung Bowji
 
เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่Chung Bowji
 
เรื่อง การทำการเกษตร
เรื่อง  การทำการเกษตรเรื่อง  การทำการเกษตร
เรื่อง การทำการเกษตรdaiideah102
 
Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2Napalai Jaibaneum
 

Ähnlich wie ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2 (20)

บทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุงบทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุง
 
โครงการเกษตร4 7
โครงการเกษตร4 7โครงการเกษตร4 7
โครงการเกษตร4 7
 
เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสาน
เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสานเอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสาน
เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสาน
 
Farming System 23/06/54
Farming System 23/06/54Farming System 23/06/54
Farming System 23/06/54
 
บทที่ 2ปรับปรุง
บทที่ 2ปรับปรุงบทที่ 2ปรับปรุง
บทที่ 2ปรับปรุง
 
4 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (โสภาพิมพ์)
4 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (โสภาพิมพ์)4 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (โสภาพิมพ์)
4 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (โสภาพิมพ์)
 
ผลการผลิต เชียงใหม่
ผลการผลิต เชียงใหม่ผลการผลิต เชียงใหม่
ผลการผลิต เชียงใหม่
 
Bio diesel
Bio dieselBio diesel
Bio diesel
 
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
แผนการเรียนรู้เกษตร1
แผนการเรียนรู้เกษตร1แผนการเรียนรู้เกษตร1
แผนการเรียนรู้เกษตร1
 
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...
ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และนํ้...
 
กลุ่ม4
กลุ่ม4กลุ่ม4
กลุ่ม4
 
การทำเกษตรอินทรีย์ [โหมดความเข้ากันได้]
การทำเกษตรอินทรีย์ [โหมดความเข้ากันได้]การทำเกษตรอินทรีย์ [โหมดความเข้ากันได้]
การทำเกษตรอินทรีย์ [โหมดความเข้ากันได้]
 
เกษตรแปลงใหญ่
เกษตรแปลงใหญ่เกษตรแปลงใหญ่
เกษตรแปลงใหญ่
 
เรื่อง การทำการเกษตร
เรื่อง การทำการเกษตรเรื่อง การทำการเกษตร
เรื่อง การทำการเกษตร
 
6 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (กฤษณา)
6 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (กฤษณา)6 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (กฤษณา)
6 ผลงานภารกิจปลดทุกข์ลุงสำราญ (กฤษณา)
 
เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่
 
เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่เกษตรทฤษฏีใหม่
เกษตรทฤษฏีใหม่
 
เรื่อง การทำการเกษตร
เรื่อง  การทำการเกษตรเรื่อง  การทำการเกษตร
เรื่อง การทำการเกษตร
 
Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2
 

Mehr von Jack Wong

Low Speed Surface Aerator Controller
Low Speed Surface Aerator ControllerLow Speed Surface Aerator Controller
Low Speed Surface Aerator ControllerJack Wong
 
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์Jack Wong
 
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์Jack Wong
 
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์Jack Wong
 
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์Jack Wong
 
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์Jack Wong
 
เครื่องเติมออกซิเจนแสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนแสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนแสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนแสงอาทิตย์Jack Wong
 
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์ RX-2-3
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์ RX-2-3กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์ RX-2-3
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์ RX-2-3Jack Wong
 
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์Jack Wong
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV RX-2-3
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV RX-2-3Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV RX-2-3
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV RX-2-3Jack Wong
 
Solar Water Wheel Low Speed Surface Aerator
Solar Water Wheel Low Speed Surface Aerator Solar Water Wheel Low Speed Surface Aerator
Solar Water Wheel Low Speed Surface Aerator Jack Wong
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVChaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVJack Wong
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-2 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-2 PVChaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-2 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-2 PVJack Wong
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVChaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVJack Wong
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3Jack Wong
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVChaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVJack Wong
 
Chaipattana Low Speed Ssurface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Ssurface Aerator PVChaipattana Low Speed Ssurface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Ssurface Aerator PVJack Wong
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVChaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVJack Wong
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PVChaipattana Low Speed Surface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PVJack Wong
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PVChaipattana Low Speed Surface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PVJack Wong
 

Mehr von Jack Wong (20)

Low Speed Surface Aerator Controller
Low Speed Surface Aerator ControllerLow Speed Surface Aerator Controller
Low Speed Surface Aerator Controller
 
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
 
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
 
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
 
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
 
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ แสงอาทิตย์
 
เครื่องเติมออกซิเจนแสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนแสงอาทิตย์เครื่องเติมออกซิเจนแสงอาทิตย์
เครื่องเติมออกซิเจนแสงอาทิตย์
 
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์ RX-2-3
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์ RX-2-3กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์ RX-2-3
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์ RX-2-3
 
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์
กังหันน้ำชัยพัฒนา แสงอาทิตย์
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV RX-2-3
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV RX-2-3Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV RX-2-3
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV RX-2-3
 
Solar Water Wheel Low Speed Surface Aerator
Solar Water Wheel Low Speed Surface Aerator Solar Water Wheel Low Speed Surface Aerator
Solar Water Wheel Low Speed Surface Aerator
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVChaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-2 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-2 PVChaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-2 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-2 PV
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVChaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVChaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
 
Chaipattana Low Speed Ssurface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Ssurface Aerator PVChaipattana Low Speed Ssurface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Ssurface Aerator PV
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PVChaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator RX-2-3 PV
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PVChaipattana Low Speed Surface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV
 
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PVChaipattana Low Speed Surface Aerator PV
Chaipattana Low Speed Surface Aerator PV
 

ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว2

  • 1. การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตของข้าว โดยการบริหารการจัดการปลูกข้าว The Promotion of Rice Intensification by Rice Management Method (RMM) โดย สุรวุฒิ สนิทวงศ์ณ อยุธยา ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
  • 2. สารบัญ เรื่อง หน้า สารบัญ ๒ คํานํา ๓ ความเป็นมา ๔ ความสําคัญ และ ที่มาของปัญหา ๖ ทฤษฎี สมมติฐาน และ/หรือ กรอบแนวความคิดของการพัฒนาแบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม ๘ ไฮโดรโปนิกส์ ๑๒ ปุ๋ ย ๒๐ ข้าว ๒๒ การปฏิบัติตามหลักการ อาร์ เอ็ม เอ็ม ๒๖ หลักการปฏิบัติของระบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม ๒๗ เทคนิคการทํานาแบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม ๓๐ บทสรุป ๔๑ บทความพิเศษ ๔๒ ภาคผนวก ๔๙ ก. การทําปุ๋ ยหมักแบบไม่กลับกอง ๔๙ ข. การใช้พืชปุ๋ ยสด ๕๑ ค. การใช้สารสะเดาในการผลิตข้าวนา และ ข้าวไร่ ๕๒ ง. วิธีการกํา จัดปู และ หอย ๕๕ จ. การทํานํ้าสกัดชีวภาพ ๕๖ ฉ. ภาพร่างเครื่องกําจัดวัชพืช ๕๗ เอกสารอ้างอิง ๕๙
  • 3. คํานํา ชาวภาคเหนือตอนบน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่ทํานาเฉลี่ย ๕ ไร่ วัตถุประสงค์ของการ ปลูกข้าวในฤดูฝนจึงปลูกเพื่อบริโภค แนวทางการผลิตข้าวเป็นการปลูกข้าวโดยเน้นการลดความเสี่ยง และ ให้ ความสําคัญกับเสถียรภาพของการผลิต นอกจากนี้การเลือกใช้พันธุ์ข้าว มักจะเลือกข้าวที่มีคุณสมบัติในการหุง ต้มดี ดังนั้น ข้าวเหนียวพันธุ์ กข.๖ จงเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับความนิยมมาเป็นอันดับหนึ่ง กระบวนการเพิ่มผลผลิต ข้าวโดยอาศัยปุ๋ ยเคมีไม่ได้ทําให้พันธุ์ข้าว กข.๖ เพิ่มผลผลิตมากขึ้น ระบบการผลิตข้าวแบบ System of Rice Intensification (SRI) เป็นวิธีการที่ถูกพัฒนาโดย Fr. Henri de Laulanie,S.J. ในขณะที่ทํา งานในประเทศมาดากัสก้าร์ ระหว่างปี ๒๕๐๒ ถึง ๒๕๓๘ เพื่อปรับปรุงการผลิตข้าว และ ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรในประเทศดังกล่าวต่อมา วิธีการดังกล่าวนี้ได้มีการขยายผล โดยหลาย องค์กร อาทิเช่น Association Tefy Saina (ATS) ที่ประเทศมาดากัสการ์ และ ศูนย์CIIFAD ของมหาวิทยาลัยคอร์ เนล สหรัฐอเมริกา เอกสารนี้รวบรวม, แก้ไข และ เพิ่มเติม เนื้อหาจากฉบับภาษาอังกฤษซึ่งเรียบเรียงโดย Professor Dr.Norman Uphoff ผู้อํานวยการศูนย์ CIIFAD ร่วมกับ ATS ต่อมาระบบการผลิตข้าวแบบ SRI ได้ถูก พัฒนาขึ้นใหม่โดย Eng’r Suravut Snidvongs (สุรวุฒิ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็น “การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตของ ข้าวโดยการบริหารการจัดการปลูกข้าว” The Promotion of Rice Intensification by Rice Management Method” ซึ่งระบบการปลูกข้าวแบบใหม่นี้ให้ความสําคัญกับศักยภาพที่แท้จริงของต้นข้าว การปลูกข้าวจึงพยายามที่จะ สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวอย่างเต็มที่ ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก, การ ตรวจสอบสารอาหารในดิน, การตรวจสอบคุณภาพ และ สารอาหาร ในนํ้า, การเตรียมเมล็ดพันธุ์, การศึกษา วัชพืชในแปลงนา, การศึกษาโรคพืช และ แมลงในแปลงนา, การเตรียมสารอาหารให้เหมาะสมต่อต้นข้าวในแต่ ละพื้นที่, การเตรียมยาฆ่าแมลง และ การกําจัดวัชพืช, การเตรียมกล้า, ลักษณะของการเตรียมดิน, วิธีการย้ายต้น กล้า, การจัดการนํ้าในแปลงนา ระบบการผลิตข้าวแบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม สามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างมากโดยไม่ต้องใช้ปัจจัยการผลิต เพิ่มขึ้นจากเดิม เพียงแต่ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูก และ วิธีการจัดการในนาข้าวขึ้นใหม่ ผู้พัฒนาเห็นว่า วิธีการนี้ เป็นทางเลือกหนึ่งของการเพิ่มผลผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต และ คิดว่าเหมาะสมกับเกษตรกรราย ย่อย ที่มีวิธีการปลูกข้าวแบบนาดํา จึงได้นําวิธีนี้มาทดลองในราชอาณาจักรไทย และ ประยุกต์ใช้ให้ได้ผลที่ดี มากที่สุด หวังว่าท่านที่อ่านคู่มือนี้ เมื่อนําไปปฏิบัติแล้วจะสามารถเพิ่มผลผลิตของข้าวได้สูงขึ้น และ หาก ต้องการแสดงข้อคิดเห็น หรือ ช่วยปรับปรุงเอกสารตลอดจนวิธีการผลิต ขอได้โปรดร่วมแสดงความคิดเห็น สุรวุฒิ สนิทวงศ์ณ อยุธยา มูลนิธิพัฒนา และ ส่งเสริมพลังงานทดแทนแห่งเอเซีย
  • 4. ความเป็นมา การปลูกข้าวแต่โบราณเมื่อประมาณ ๓๐ ถึง ๔๐ ปีที่ผ่านมา การปลูกข้าวในเนื้อที่ ๑ ไร่ สามารถให้ข้าว ได้ถึง ๒ เกวียน หรือ ๒,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ หรือ ๒ ตันต่อไร่ ทําไมผลผลิตของข้าวถึงได้ลดลงอย่างมาก และ จะทําอย่างไรถึงจะเพิ่มผลผลิตของข้าวให้ได้เท่าเดิม หรือ ดีกว่าเดิมในอดีต ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากมนุษย์ ความมักง่ายของมนุษย์นั่นเองที่เป็นสาเหตุ การใช้สารอาหาร และ แร่ธาตุ ที่มีอยู่ในดินเรื่อยไป โดยไม่มีการเพิ่มเติม หรือ รักษาสารอาหาร และ แร่ธาตุในดิน จึงทําให้ดินเสื่อมสภาพไม่ สามารถใช้ในการเพาะปลูกได้อีกต่อไป อีกทั้งยังทําให้ดินไม่สามารถดูดซับนํ้าไว้ในดินได้อีก จึงทําให้เกิดภัย แล้ง และ เกิดนํ้าท่วม จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันจะเกิดนํ้าท่วมโดยฉับพลัน และ เมื่อนํ้าลดก็จะเกิดภัยแล้งอย่าง รุนแรง การเพาะปลูกได้ผลผลิตที่น้อยมาก ไม่คุ้มต่อการลงทุน ทําอย่างไรจะช่วยให้ดินกลับสู่สภาพที่อุ้มนํ้า, เก็บความชื้นได้ดี, และ มีสารอาหารพอเพียงต่อการ เพาะปลูก ระบบการการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตของข้าว โดยการบริหารการจัดการปลูกข้าว The Promotion of Rice Intensification by Rice Management Method (RMM) จะทําให้ดินกลับสู่สภาพเดิมได้ แต่เฉพาะวิธีการ จัดการคงไม่เพียงพอ และ สําเร็จได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน ระบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม สามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างน้อยหนึ่งเท่าตัว และ หากมีการจัดระบบอย่างดีให้แก่ ต้นข้าว, ดิน และ นํ้า ผลผลิตสามารถเพิ่มเป็น ๑,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ หรือ มากกว่าได้ ที่ตั้งเป้าไว้คือ ๖,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ (ประเทศเวียตนามสามารถผลิตข้าวได้เฉลี่ย ๘,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ปี ๒๕๕๐) หนังสือเล่มนี้เป็นการเสนอแนวคิดพื้นฐาน และ แนวทางปฏิบัติ ในเพิ่มผลผลิตเป็นของข้าว ข้อมูลนี้ เป็นเสมือนเครื่องชี้ทาง สําหรับเกษตรกรใช้ทดสอบ และ ประเมินผล วิธีใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ต้นข้าวเจริญเติบโต ให้ผลผลิตมากขึ้น แต่เดิมระบบ เอส อาร์ ไอ (SRI) ได้ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศมาดากัสการ์ โดยชาวฝรั่งเศสชื่อ อองรี เดอ โลลานี ซึ่งทํางานร่วมกับเกษตรกร และ เพื่อนร่วมงานชาวมาลากาซี ระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๖๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔) ถึง ค.ศ. ๑๙๙๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) เพื่อปรับปรุงวิธีผลิตข้าวในประเทศ ด้วยความปรารถนาที่จะให้ชาวมาลากาซี มีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และ มีความสุขมากขึ้น ระบบดังกล่าวได้รับการศึกษา, การประเมินผลจากนักวิทยาศาสตร์ และ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจากหลายๆ ประเทศว่าได้ผลดี เอส อาร์ ไอ (SRI) เริ่มจากหลักปรัชญาที่ว่า ต้นข้าวต้องได้รับความเคารพ และ จุนเจือประหนึ่งสิ่งมีชีวิต ที่มีศักยภาพ ซึ่งจะนํามาใช้ได้ก็ต่อเมื่อเราอํานวยสภาวะที่ดีที่สุด ที่เอื้อต่อการเติบโตของพืช หากเราช่วยให้พืช เจริญเติบโตด้วยหนทางที่ดีกว่า พืชก็จะตอบแทนความพยายามนั้นกลับคืนเป็นหลายเท่า เราจะไม่ปฏิบัติต่อพืช เยี่ยงเครื่องจักรน้อยๆ ที่ถูกบังคับให้ทําสิ่งที่ฝืนธรรมชาติของตนเอง
  • 5. ระบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากระบบ เอส อาร์ ไอ โดยเพิ่มการตรวจสอบ และ การวิเคราะห์ ดิน, นํ้า, วัชพืช, แมลง สภาพแวดล้อมต่างๆ จึงทําให้ได้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นจากระบบ เอส อาร์ ไอ สิ่งที่เกษตรกรในราชอาณาจักรไทย ตลอดจนประเทศอื่นๆ ทั่วโลกปฏิบัติกันมานับร้อยๆปี เพื่อให้ข้าว เจริญเติบโต กลับทําให้ศักยภาพตามธรรมชาติของต้นข้าวลดลง ระบบใหม่ที่จะใช้ขยายผลผลิตข้าวนี้เป็นการ เปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติระบบเดิม เพื่อนําศักยภาพสําคัญในต้นข้าวออกมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต การปลูกข้าวที่เกษตรกรทําในปัจจุบัน อาทิ การหว่านเมล็ด, การเตรียมดิน, การควบคุมนํ้า, คุณภาพดิน และ พันธุ์ข้าวที่จะใช้ปลูก มีความเหมาะสมต่อสภาพการเจริญเติบโต หรือ ไม่ เพราะหากมีความไม่เหมาะสม แล้ว ต้นข้าวก็ไม่สามารถให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่
  • 6. ความสําคัญ และ ที่มาของปัญหา การปลูกข้าวในปัจจุบันมีต้นทุนการผลิตที่สูง แต่ได้ผลผลิตที่ตํ่า ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนของชาวนา อีกทั้ง ยังมีปัญหาที่ดินที่ใช้ในการทํานาลดน้อยลง เนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของดิน, ความแห้งแล้ง, โรคระบาด, ราคา ปุ๋ ย และ ยาฆ่าแมลงที่มีราคาสูง มีการดื้อยา และ การใช้ปุ๋ ยในปริมาณที่สูงขึ้น แต่ยังได้ผลผลิตลดลง ชาวนาจึงหัน ไปปลูกพืชอื่นที่ได้ราคาสูงกว่า มีต้นทุนการผลิตตํ่า และ สามารถปลูกพืชให้เจริญเติบโตได้ดีในดินทุโภชนา โดย ปกติผลผลิตของข้าวไทยเฉลี่ยอยู่ที่ ๓๐๐ – ๖๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าตํ่ามาก ทั้งนี้ผลผลิตขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ จํานวนมาก การปลูกข้าวในอดีตถึงปัจจุบัน ยังคงใช้วิธีการปลูกแบบดังเดิมที่ใช้มาแต่อดีต ทําให้ต้องใช้นํ้ามาก มีการ ใช้เครื่องจักรกลเข้าช่วยเพื่อเป็นการผ่อนแรง ได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าว เพื่อให้มีความต้านทานโรค, มี ผลผลิตที่สูงขึ้น, มีสายพันธุ์ที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม และ พื้นที่เพาะปลูก มีการเปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ ยเคมี และ ยาฆ่าแมลงที่เป็นเคมี มาเป็นปุ๋ ยชีวภาพ และ ยาฆ่าแมลงชีวภาพ เพื่อลดปริมาณสารพิษตกค้างในดิน และ ป้องกัน ดินเสื่อมสภาพ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้บางส่วน แต่ไม่ยั่งยืน เพราะผลผลิตที่ได้ยังไม่แน่นอน ต้นข้าวใน แปลงเจริญเติบโตไม่สมํ่าเสมอ เพราะได้รับสารอาหารไม่ทั่งถึง ในดินแต่ละพื้นที่มีสารอาหาร และ สารตกค้างที่ ไม่เท่ากัน ทําให้เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกันทั้งแปลง ใช้เวลาในการปลูกนาน มีปัญหาโรคพืช และ แมลง จากการที่มี การพัฒนาสายพันธุ์ และ การหันมาใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ ปุ๋ ยชีวภาพ การใช้ยาฆ่าแมลงที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น และ ปรับปรุงการปลูกข้าวหลายประการ ทําให้ผลผลิตของข้าวเพิ่มขึ้นเป็น ๓๐๐ – ๑,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจุบันปุ๋ ยที่ใส่ลงไปในดินส่วนมากเป็นปุ๋ ยเคมี ซึ่งพืชสามารถดูดซับ และ นําไปใช้ในการสังเคราะห์ แสงได้ แต่ปุ๋ ยเคมีมีคุณสมบัติบางประการที่ไม่เหมาะสม เพราะองค์ประกอบของปุ๋ ยเคมีมีแต่แม่ปุ๋ ย หรือ ธาตุ อาหารหลัก (Main Elements) ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน N, ฟอสฟอรัส P, และ โปแตสเซี่ยม K ซึ่งไม่มีการให้ สารอาหาร หรือ แร่ธาตุที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอื่นได้ ปุ๋ ยเคมีโดยทั่วไปจะขาดส่วนธาตุอาหารรอง (Minor Elements), แมกนิเซี่ยม Mg, แคลเซี่ยม Ca, กํามะถัน S, และ ธาตุอาหารเสริม (Trace Elements) สังกะสี Zn, โคบอล Co, แมงกานีสโบรอน Mn, เหล็ก Fe, นิเกิล Ni, ทองแดง Cu ,โมลิบดินัม Mo, และ โซเดียม Na ซึ่ง สารเหล่านี้ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็เพียงพอที่จะทําให้พืชแข็งแรงต่อ โรค และ แมลง มีผลผลิตสูงขึ้นอย่าง มาก การให้แม่ปุ๋ ย, เหล็กคีเลท, และ Trace Elements อาจพอเพียงสําหรับพืชบางประเภท แต่อาจต้องมีการเพิ่ม ฮอร์โมนบ้าง หรือ ไคโตซาน บ้างหากพืชต้องการ โดยปกติธาตุไนโตรเจนในดินจะสูญเสียไปโดยการถูกกัดเซาะของดิน กล่าวคือ การถูกกัดเซาะของดิน โดยนํ้า ในขณะเดียวกันธาตุฟอสฟอรัสจะหลงเหลืออยู่ในดินที่ถูกนํ้ากัดเซาะ ทําให้ธาตุโปแตสเซี่ยมที่เหลืออยู่ใน ดิน พืชไม่สามารถนําไปใช้งานได้ การสูญเสียธาตุอาหารในดินจะมีอยู่ตลอดเวลา ทําให้ต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ ยเคมี
  • 7. ขึ้นเรื่อยๆ เพราะดินไม่สามารถดูดซับปุ๋ ยเคมีไว้ได้ เพราะดินเสื่อมสภาพอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากปุ๋ ยเคมีไม่มี คุณสมบัติในการรักษาดินให้คงสภาพทนต่อการกัดกร่อน, เก็บความชื้น, เก็บธาตุอาหาร, และ มีความร่วนซุย ในอดีตถึงปัจจุบันชาวนาทํานาโดยอาศัยความชํานาญ หรือ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน แต่ไม่มีความชํานาญใน เรื่องของสารเคมี และ การใช้เครื่องมือทดสอบ ปัจจุบันชาวนาไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพดิน และ นํ้า อีกทั้ง ยังไม่เข้าใจทฤษฎีของปุ๋ ย, โรคพืช และ ยาฆ่าแมลง เพราะภาครัฐมิได้มีการเผยแพร่ และ ถ่ายทอดความรู้ ให้แก่ชาวนา อย่างเป็นรูปธรรม และ จริงจัง หากชาวนาเข้าใจถึงทฤษฎีของปุ๋ ย, โรคพืช และ ยาฆ่าแมลง อย่างถ่องแท้เมื่อผนวกเข้ากับความชํานาญ หรือ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน จะทําให้ชาวนาสามารถเพิ่มผลผลิตของข้าวได้อย่างแน่นอน ภาครัฐต้องสนับสนุนทาง วิชาการ และ เครื่องมือในการตรวจสอบ ให้แก่ชาวนา ภาครัฐต้องออกมาให้ความรู้กับชาวนาทุกหมู่บ้าน เพื่อให้ เข้าใจในทฤษฎีของปุ๋ ย, โรคพืช, ยาฆ่าแมลง และ การใช้เครื่องมือทดสอบดิน ทดสอบนํ้า การเพิ่มผลผลิตของข้าวให้มีปริมาณสูง โดยสามารถลดปริมาณนํ้าที่ใช้, ปุ๋ ยเคมี และ ยาฆ่าแมลง เพื่อลด ต้นทุนการผลิต, ลดปริมาณสารตกค้างในดิน, ลดโรคพืช และ ป้ องการดินเสื่อมสภาพ มีความจําเป็นที่ต้องมีการ สํารวจหาข้อมูลของพื้นที่เพาะปลูก อาทิเช่น ประเภทของนํ้า, ประเภทของดิน, ความหนาของชั้นสารอาหารใน ดิน, ความหนาของชั้นดินแต่ละประเภท, ปริมาณสารอาหารในแต่ละพื้นที่ของแปลง, ความเป็นกรด, กลาง, ด่าง, และ ความเค็มของดิน, ปริมาณสารพิษตกค้างในดิน, ภูมิทัศน์ของแปลงปลูกข้าว เพื่อนํามาทําแผนที่ของแปลง ปลูกข้าว ใช้ในการ ปรับสภาพนํ้า, ปรับสภาพพื้นที่, ปรับปริมาณสารอาหาร, ปรับความเป็น กรด, ด่าง, กลาง และ เค็ม ของดิน, ปรับปริมาณยาฆ่าแมลงที่จําเป็น เพื่อให้เหมาะสมต่อพันธุ์ข้าว และ การปลูกข้าวในแต่ละพื้นที่ของ แปลงปลูกข้าว ทําให้ต้นข้าวในแปลงเจริญเติบโตสมํ่าเสมอ เพราะได้รับสารอาหารทั่งถึงไม่เหลือสารตกค้าง จึง สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกันทั้งแปลง และ ใช้เวลาในการปลูกสั้นขึ้น อีกทั้งยังลดปัญหาโรคพืช, ศัตรูพืชลงได้ จึงเป็นการแก้ปัญหา และ เพิ่มผลผลิตของข้าวอย่างยั่งยืน ซึ่งคาดว่า ผลผลิตของข้าวจะเพิ่มขึ้นจาก ๓๐๐ – ๖๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ เป็น ๓,๐๐๐-๖,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจุบันมีผลการศึกษาวิจัย และ พัฒนาการปลูกข้าวอยู่มากมาย ซึ่งการวิจัยส่วนใหญ่เน้นแต่การวิจัยเป็น แต่ละหัวข้อ เมื่อได้ผลสําเร็จก็มิได้มีการนําผลการวิจัยดังกล่าว มาวิจัยแบบรวมหัวข้อ หรือ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ มิได้มีการนําผลการวิจัยต่างๆเผยแพร่ออกมา หรือ ทําให้เป็นรูปธรรมต่อชาวนา ดังนั้นชาวนาจึงยังคงใช้ วิธีการปลูกข้าวแบบดังเดิม ทําให้มีต้นทุนสูง และ ผลผลิตตํ่า รายได้ของชาวนาตํ่า จึงยากจน ดังนั้นจึงมีความ จําเป็นที่จะต้องส่งเสริม และ เผยแพร่ผลการวิจัย และ การพัฒนาการปลูกข้าว ที่ได้ผลผลิตสูงให้แก่ชาวนาได้ นําไปใช้และ พัฒนาต่อไป
  • 8. ทฤษฎี สมมติฐาน และ/หรือ กรอบแนวความคิดของการพัฒนาแบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม การปลูกข้าวในอดีตถึงปัจจุบัน ยังคงใช้วิธีการปลูกข้าวแบบดังเดิมซึ่งต้องใช้นํ้ามาก แต่ได้มีการใช้ เครื่องจักรกล เข้าช่วยเพื่อเป็นการผ่อนแรง ได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าว เพื่อให้มีความต้านทานโรค, มีผลผลิต ที่สูงขึ้น, มีสายพันธุ์ ที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม และ พื้นที่เพาะปลูก มีการเปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ ยเคมี และ ยา ฆ่าแมลงที่เป็นเคมี มาเป็นปุ๋ ยชีวภาพ และ ยาฆ่าแมลงชีวภาพ เพื่อลดปริมาณสารพิษตกค้างในดิน และ ป้องกัน ดินเสื่อมสภาพ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้บางส่วน แต่ไม่ยั่งยืน เพราะผลผลิตที่ได้ยังไม่แน่นอน ต้นข้าวใน แปลงเจริญเติบโตไม่สมํ่าเสมอ เพราะได้รับสารอาหารไม่ทั่งถึง ในดินแต่ละพื้นที่มีสารอาหาร และ สารตกค้างที่ ไม่เท่ากัน ทําให้เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกันทั้งแปลง ใช้เวลาในการปลูกนาน มีปัญหาโรคพืช และ แมลง การเพิ่มผลผลิตของข้าวให้มีปริมาณสูง อีกทั้งสามารถลดปริมาณนํ้าที่ใช้, ปุ๋ ยเคมี และ ยาฆ่าแมลง เพื่อ ลดต้นทุนการผลิต, ลดปริมาณสารตกค้างในดิน, ลดโรคพืช และ ป้องการดินเสื่อมสภาพ มีความจําเป็นที่ต้องมี การสํารวจหาข้อมูลของพื้นที่เพาะปลูก อาทิเช่น ประเภทของนํ้า, ประเภทของดิน, ความหนาของชั้นสารอาหาร ในดิน, ความหนาของชั้นดินแต่ละประเภท, ปริมาณสารอาหารในแต่ละพื้นที่ของแปลง, ความเป็นกรด, กลาง, ด่าง, และ ความเค็มของดิน, ปริมาณสารพิษตกค้างในดิน, ภูมิทัศน์ของแปลงปลูกข้าว เพื่อนํามาทําแผนที่ของ แปลงปลูกข้าว เพื่อใช้ในการ ปรับสภาพนํ้า, ปรับสภาพพื้นที่, ปรับปริมาณสารอาหาร, ปรับความเป็น กรด, ด่าง, กลาง และ เค็ม ของดิน, ปรับปริมาณยาฆ่าแมลงที่จําเป็น เพื่อให้เหมาะสมต่อพันธุ์ข้าว และ การปลูกข้าวในแต่ ละพื้นที่ของแปลงปลูกข้าว ทําให้ต้นข้าวในแปลงเจริญเติบโตสมํ่าเสมอ เพราะได้รับสารอาหารทั่งถึง ในดินแต่ ละพื้นที่มีสารอาหารเท่าเทียวกัน และ ไม่เหลือสารตกค้าง จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกันทั้งแปลง และ ใช้เวลา ในการปลูกสั้นขึ้น อีกทั้งยังลดปัญหาโรคพืช, ศัตรูพืชลงได้ จึงเป็นการแก้ปัญหา และ เพิ่มผลผลิตของข้าวอย่าง ยั่งยืน การปรับปรุงการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ร่วมกับการปลูกพืชแบบ SRI และ ปัจจัยอื่นๆ ทําให้เกิดเป็น ระบบ อาร์ เอ็ม เอ็ม ซึ่งมีความเหมาะสมต่อพันธุ์พืช และ ภูมิประเทศ สามารถทําให้พืชสมบูรณ์แข็งแรง, มี ภูมิคุ้มกันต่อโรคพืช และ ศัตรูพืช พืชจึงเจริญเติบโตไว ใช้นํ้าน้อย สามารถปลูกข้าวในฤดูแล้ง หรือ นํ้าน้อยได้ ให้ผลผลิตสูง ทําให้ลดปริมาณปุ๋ ยเคมี และ ยาปราบศัตรูพืชเคมี ลงได้อย่างมาก ทําให้ลดปริมาณสารตกค้าง และ ทําให้ดินสมบูรณ์ขึ้น จึงทําให้มีต้นทุนการผลิตที่ตํ่าลง การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (Soiless Culture) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hydroponic นั้นเป็นกรรมวิธีที่ นักวิทยาศาสตร์การเกษตรได้ใช้มานานกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว พืชจะถูกปลูกให้อยู่ในนํ้าที่มีสารละลายต่างๆ ตามที่พืช ต้องการ รากของพืชจะยึดเกาะอยู่กับวัสดุที่เป็นกลาง ไม่เน่าเปื่อย เช่น กรวดหยาบ, ทรายหยาบ, หินภูเขาไฟบด เป็นก้อนเล็กๆ ฯลฯ อาหารที่จะใช้เลี้ยงพืชอยู่ในรูปสารละลาย ใส่ในภาชนะที่ปลูกพืชอยู่ วิธีนี้จะทําให้พืชได้ อาหารอย่างสมบูรณ์ เติบโตเร็ว รากเกาะวัสดุปลูกแช่อยู่ในนํ้ายา เชื้อราจึงไม่สามารถอยู่ได้ พืชจะได้รับการปลูก
  • 9. เลี้ยงโดยไม่มีเชื้อราเข้าทําลาย นํ้ายาที่ใช้ในการปลูกพืชจะมีการให้ฟองอากาศผ่านอยู่เสมอ พืชจึงได้รับทั้งอาหาร และ ออกซิเจนตลอดเวลา ซึ่งออกซิเจนจะละลายปนเข้ากับนํ้า ช่วยให้พืชเติบโตเร็วกว่าที่ปลูกโดยใช้ดิน เพราะ ออกซิเจนเข้าสู่รากพืชไม่สะดวก แม้ว่าจะได้มีการพรวนดินเป็นครั้งคราวก็ตาม อีกทั้งการพรวนดินจะทําให้ราก ของพืชกระทบกระเทือน และ ทําให้พืชชลอการเจริญเติบโต การพรวนดินต้องใช้แรงงานมาก การเลี้ยงแบบ Hydroponic สารละลาย และ ออกซิเจน จะผ่านรากของพืชได้โดยสมํ่าเสมอ พืชเจริญเติบโตเร็ว ไม่มีโรคที่แพร่ ระบาดอยู่ในดินมาทําลายพืชให้เสียหาย เมื่อต้นไม้แข็งแรงเติบโตเร็ว การให้ผลผลิตจะใช้เวลาน้อยกว่าพืชที่ปลูกในดิน ไม้ดอกออกดอกมาก พืชผักโตเร็วให้ผลผลิตสูง อีกทั้งอาจจะใช้วิธีนี้ปลูกผัก และ ผลไม้ ที่ปกติต้องปลูกในเขตหนาว นํามาปลูกใน เขตร้อนได้ ได้มีการทดลองว่าผักหลายอย่างที่ปลูกในที่เย็นบนดอย สามารถปลูกในภาคกลางที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ได้โดยพืชสามารถอยู่ได้อย่างสมบูรณ์ และ ให้ผลผลิตได้เป็นอย่างดี ความสําคัญของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินอยู่ที่ Chelate Iron ซึ่งเป็นส่วนประกอบสําคัญของคลอโรฟิล ที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสง ถึงแม้ว่าจะมีการให้ปริมาณแม่ปุ๋ ยแก่พืชในปริมาณสูง แต่หากดินขาด Chelate Iron ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการสังเคราะห์แสง พืชก็ไม่สามารถนําแม่ปุ๋ ยเหล่านั้นไปใช้ในการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่าเกิด Chlorosis จึงทําให้สิ้นเปลืองแม่ปุ๋ ยที่ใส่ให้แก่พืช เพราะแม่ปุ๋ ยเหล่านั้นพืชไม่สามารถนําไปใช้ได้ ยัง เป็นการสูญเสียแม่ปุ๋ ยไปโดยใช้เหตุ เหมือนการตํานํ้าพริกละลายแม่นํ้า อีกทั้งการใช้แม่ปุ๋ ยจํานวนมากทําให้เสีย ค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ยังทําให้ดินเสียอีกด้วย อีกทั้งการให้ปุ๋ ยของชาวนาในปัจจุบัน ที่ใส่ลงไปในดินส่วนมากเป็นปุ๋ ยเคมี ซึ่งพืชไม่สามารถดูดซับ และ นําไปใช้ในการสังเคราะห์แสงได้ เนื่องจากปุ๋ ยเคมีที่ใช้ มีคุณสมบัติบางประการที่ไม่เหมาะสม เพราะ องค์ประกอบของปุ๋ ยเคมีที่ชาวนาใช้ มีแต่แม่ปุ๋ ย หรือ ธาตุอาหารหลัก (Main Elements) ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน N, ฟอสฟอรัส P, และ โปแตสเซี่ยม K ซึ่งไม่มีการให้สารอาหาร หรือ แร่ธาตุที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอื่น ได้ ปุ๋ ยเคมีโดยทั่วไปจะขาดส่วนธาตุอาหารรอง (Minor Elements), แมกนิเซี่ยม Mg, แคลเซี่ยม Ca, กํามะถัน S, และ ธาตุอาหารเสริม (Trace Elements) สังกะสี Zn, โคบอล Co, แมงกานีสMn, โบรอน Bo, เหล็ก Fe, นิเกิล Ni, ทองแดง Cu, โมลิบดินัม Mo, และโซเดียม Na ซึ่งสารเหล่านี้ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอเพียงสําหรับพืชที่ จะทําให้พืชแข็งแรงต่อโรค และ แมลง เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นอย่างมาก การให้แม่ปุ๋ ย, เหล็กคีเลท (Chelate Iron), และ Trace Elements อาจพอเพียงสําหรับพืชบางประเภท แต่อาจต้องมีการเพิ่ม ฮอร์โมนบ้าง หรือ ไคโตซาน หากพืชต้องการ โดยปกติธาตุไนโตรเจนในดิน จะสูญเสียไปโดยการถูกกัดเซาะจากนํ้า ในขณะเดียวกันธาตุฟอสฟอรัส จะคงหลงเหลืออยู่ในดินที่ถูกนํ้ากัดเซาะ ธาตุโปแตสเซี่ยมที่เหลืออยู่ในดิน พืชไม่สามารถนํ้าไปใช้งานได้ การ สูญเสียธาตุอาหารในดินจะมีอยู่ตลอดเวลา ทําให้ต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ ยเคมีขึ้นเรื่อยๆ เพราะดินไม่สามารถดูดซับ
  • 10. ปุ๋ ยเคมีไว้ได้ เนื่องจากดินเสื่อมสภาพอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากปุ๋ ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการรักษาดินให้คงสภาพ ทนต่อการกัดกร่อน, เก็บความชื้น, เก็นธาตุอาหาร, และ มีความร่วนซุย การเลือกประเภทของปุ๋ ย และ กรรมวิธีการใช้ปุ๋ ย เป็นเรื่องสําคัญ ต่อการดูดซับสารอาหารของพืช และ การรักษาดินให้คงคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช การใช้ปุ๋ ยมีประสิทธิภาพสูงสุด ทําให้ลดต้นทุน และ เพิ่มผลผลิตได้สูง อีกทั้งยังลดปริมาณสารตกค้างในดินลงได้มาก ทําให้ดินไม่เสื่อมสภาพคงคุณสมบัติที่ เหมาะสมต่อการปลูกพืชได้ยาวนาน พืชมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคพืช และ ศัตรูพืชได้ดี ปุ๋ ยที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้ 1. มีสารอาหารครบ อันได้แก่ สารอาหารหลัก, สารอาหารรอง, และ สารอาหารย่อย 2. มีวัสุดที่ช่วยให้ดินร่วนซุย 3. พืชสามารถนําไปใช้งานได้ง่าย 4. มีสารพิษตกค้างตํ่า 5. ไม่ทําให้ค่าความเป็นกรด, ด่าง, กลาง และ เค็ม ของดินเปลี่ยนแปลง โรงงานผู้ผลิตปุ๋ ยไม่ต้องการขายเหล็กคีเลท และ/หรือ สูตรปุ๋ ยที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร เพราะจะทํา ให้ปริมาณการใช้แม่ปุ๋ ยลดลงเป็นจํานวนมากหากเกษตรกร รู้จักถึงการใช้เหล็กคีเลท และ/หรือ สูตรปุ๋ ยอื่นๆ ใน ปริมาณที่ถูกต้อง และ เหมาะสม จึงเป็นเหตุให้เหล็กคีเลท และ/หรือ ปุ๋ ยสูตรมีราคาแพง ไม่สามารถซื้อขายได้ โดยสดวกในท้องตลาด จึงมีความจําเป็นที่ต้องผสมเหล็กคีเลท และ/หรือ สูตรปุ๋ ย ที่เหมาะสมต่อพันธุ์พืช และ พื้นที่ที่ใช้ปลูกพืช ขึ้นใช้เองจากสารเคมีที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด เหล็กคีเลท ที่มีขายอยู่ในต่างประเทศ มัก ทําเป็นสูตรปุ๋ ยสําเร็จรูป มิได้แยกขายเฉพาะแต่เหล็กคีเลท การสั่งตัวยาสําเร็จจากต่างประเทศทําได้ง่าย แต่มีราคา แพง จนไม่สามารถดําเนินการในรูปของการค้าได้ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆ ในราชอาณาจักรไทย ที่มีคณะเกษตร, พืชสวน, หรือ ป่าไม้ ได้มีการทดลอง เรื่องการปลูกพืชไร้ดินมานานแล้ว การเตรียมตัวยาต่างๆ ไม่ใช่เรื่องลี้ลับแต่ประการใด ในวิทยานิพนธ์ของ ห้องสมุดต่างๆ ได้แสดงวิธีปลูก วิธีผสมนํ้ายาไว้อย่างชัดแจ้ง สมควรที่เอกชนจะได้นําวิทยาการเหล่านี้มาใช้ ประโยชน์ ในการเกษตรขนาดเล็ก หรือ ใหญ่ เพื่อได้ผลผลิตคุณภาพสูงราคาเหมาะสม เพื่อใช้บริโภค หรือ ส่งออกสู่ตลาดโลก เพื่อเป็นรายได้ช่วยการครองชีพในขณะภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า เป็นการประหยัดเงินตรา ต่างประเทศได้มาก สารเคมีบางตัวอาจต้องสั่งจากต่างประเทศ แต่เป็นสารขั้นพื้นฐานที่มีราคาไม่แพงจนเกินไป เมื่อนํามาผลิตเป็นตัวยาเพื่อใช้ในระบบ Hydroponic ย่อมถูกกว่ามาก ทําให้สามารถขยายการเพาะเลี้ยงต้นไม้ได้
  • 11. อย่างกว้างขวาง และ มีราคาถูกกว่าสั่งตัวยาสําเร็จจากต่างประเทศ เป็นการใช้ภูมิปัญญาของคนไทยเพื่อประหยัด ดุลย์การค้าได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีผลการศึกษาวิจัย และ พัฒนาการปลูกข้าวอยู่มากมาย ซึ่งการวิจัยส่วนใหญ่เน้นแต่การวิจัยเป็น แต่ละหัวข้อ เมื่อได้ผลสําเร็จก็มิได้มีการนําผลการวิจัยดังกล่าว มาวิจัยแบบรวมหัวข้อ หรือ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ มิได้มีการนําผลการวิจัยต่างๆเผยแพร่ออกมา หรือ ทําให้เป็นรูปธรรมต่อชาวนา ดังนั้นชาวนาจึงยังคงใช้ วิธีการปลูกข้าวแบบดังเดิม ทําให้มีต้นทุนสูง และ ผลผลิตตํ่า รายได้ของชาวนาตํ่า จึงยากจน ดังนั้นจึงมีความ จําเป็นที่จะต้องส่งเสริม และ เผยแพร่ผลการวิจัย และ การพัฒนาการปลูกข้าว ที่ได้ผลผลิตสูงให้แก่ชาวนาได้ นําไปใช้และ พัฒนาต่อไป
  • 12. ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช โดย เฉพาะ การปลูกผัก และ พืชที่ใช้เป็นอาหาร เนื่องจากประหยัดพื้นที่ และ ไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดินทําให้ได้ พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร ปัจจุบันนี้ในเทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดินหลายแบบด้วยกัน ประวัติ นักวิจัยด้านเมตาบอลิซึมของพืชได้ค้นพบว่าพืชจะดูดซึมสารอาหารมาเป็นไอออนในนํ้า ซึ่งมีโครง สร้างไม่ซับซ้อน ในสภาพตามธรรมชาตินั้น ดินจะทําหน้าที่เป็นแหล่งสารอาหาร แต่ดินเองนั้นไม่จําเป็นต่อการ เติบโตของพืช เมื่อสารอาหารในดินละลายไปกับนํ้า รากของพืชก็จะสามารถดูดซึมสารอาหารนั้นได้ เมื่อใส่ สารอาหารที่จําเป็นสําหรับพืชไว้ในแหล่งนํ้าที่สร้างขึ้น ก็ไม่จําเป็นต้องใช้ดินเพื่อเป็นแหล่งอาหารของพืชอีก ต่อไป พืชส่วนใหญ่จะเติบโตด้วยวิธี ไฮโดรโปนิกส์ ได้ แต่เติบโตได้ดีมากน้อยแตกต่างกัน การปลูกพืชไร้ดินนี้ ทําได้ง่าย สะดวก และ ประหยัดพื้นที่ แต่ต้องมีอุปกรณ์ที่จําเป็นอย่างอื่น นอกจากสารอาหารสําหรับพืชที่ละลาย อยู่ในนํ้าแล้ว ประโยชน์ ไฮโดรโปนิกส์ นั้นมีประโยชน์หลักๆ ๒ ประการด้วยกัน 1.ช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นสําหรับการเติบโตของพืช แทนที่จะเป็นการใช้ดินอย่างเดิม ทําให้กําจัดตัวแปรที่ไม่ทราบออกไปจากการทดลองได้จํานวนมาก 2.พืชหลายชนิดจะให้ผลผลิตได้มากในเวลาที่น้อยกว่าเดิม และ มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม ในสภาพแวดล้อม และ สภาพการเศรษฐศาสตร์หนึ่งๆ การปลูกพืชแบบ ไฮโดรโปนิกส์ จะให้ผลกําไร แก่เกษตรกรได้มากขึ้น และ ด้วยการปลูกที่ไม่ใช้ดิน จึงทําให้พืชไม่มีโรคที่เกิดในดิน ไม่มีวัชพืช และ ไม่ต้อง จัดการดิน และ ยังสามารถปลูกพืชใกล้กันมากได้ ด้วยเหตุนี้พืชจึงให้ผลผลิตในปริมาณที่มากกว่าเดิม ขณะที่ใช้ พื้นที่จํากัด นอกจากนี้ยังมีการใช้นํ้าน้อยมาก เพราะมีการใช้ภาชนะ หรือ ระบบวนนํ้าแบบปิด เพื่อหมุนเวียนนํ้า เมื่อเทียบกับการเกษตรแบบเดิมแล้ว นับว่าใช้นํ้าเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น ไฮโดรโปนิกส์ เหมาะอย่างยิ่งสําหรับ ผู้ที่ต้องการปลูกพืชโดยการการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้มากที่สุด และ มีความหนาแน่นสูงสุด ตัวอย่างของความพยายามในช่วงแรกๆ ที่จะปลูกพืชไร้ดิน ก็คือ สวนลอยบาบิโลน เมื่อราว ๖๐๐ ปีก่อน คริสตกาล และ สวยลอยแห่งอัสเต็กซ์ ในช่วงคริสตศวรรษที่ ๑๑ นักวิจัยการปลูกพืชไร้ดินคนแรกๆ ก็คือ จอห์น วูดเวิด (John Woodward) ชาวอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๒ เขาได้ปลูกพืชในนํ้า โดยได้เติมดินลงไปหลายชนิด
  • 13. การปลูกพืชครั้งนั้นเป็นการสาธิตว่า นอกจากนํ้าแล้วในโลกเรานั้นมีสสารหลายขนิดที่พืชต้องการ ครั้นเมื่อกลาง คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ นักสรีรวิทยาพืช (plant physiologists) ชาวเยอรมัน ชื่อซาคส์ (Sachs) และ คนอพ (Knop) ได้ปลูกพืชในสารละลายอย่างง่ายของเกลืออนินทรีย์เมื่อ พ.ศ. 2472 ศาสตราจารย์ Gericke แห่งมหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย ที่เมืองเดวิส ได้สาธิตว่าพืชจะเติบโตโดยไม่ใช้ดิน สามารถเติบโตไปได้จนโตเต็มที่ ครั้งนั้นเขาได้ ปลูกมะเขือเทศในนํ้า จนได้ผลขนาดใหญ่อย่างน่าแปลกใจ และ เขาได้เทียบคําศัพท์ในภาษากรีก ที่มีความหมาย ว่า การเกษตร คือ geoponics ซึ่งหมายถึง ศาสตร์แห่งการปลูกพืชโดยใช้ดิน ด้วยเหตุนี้เขาจึง คิดคําใหม่ว่า " ไฮโดรโปนิกส์ " (hydroponics) ซึ่งหมายถึง การปลูกพืชในนํ้า จากภาษากรีก hydros (นํ้า) และ ponos (แรงงาน) เทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดิน มีการใช้เทคนิคต่างๆ มากมายในการปลูกพืชแบบไร้ดิน บ้างก็ใช้วัสดุจําพวกโลหะเฉื่อย เป็นตัวคํ้ายัน รากของพืช บ้างก็ใช้วัสดุแบบอื่นๆ โดยให้สารละลายที่มีสารอาหารโดยตรงแก่รากด้วยวิธีต่างๆ ที่หลาก หลาย การปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์ สําหรับราชอาณาจักรไทยเพิ่งมีการปลูกพืชด้วยวิธีนี้เป็นเชิงพาณิชย์มาไม่นาน และ ยังไม่แพร่หลายมาก แต่ในระดับงานวิจัยได้มีการศึกษาค้นคว้ากันมากว่า ๓๐ ปีแล้ว โดยการวิจัยเริ่มแรกทําการทดสอบกับพืชผัก หลายชนิดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าเทคนิคปลูกในสารละลายแบบนํ้าลึก (liquid culture, deep water) ประสบความสําเร็จน่าพอใจ แต่ระบบให้นํ้าไหลผ่านรากพืชเป็นชั้นบางๆ (nutrient film technique, NFT) ในขณะนั้นยังต้องมีการปรับปรุง และ พัฒนา ในระยะ ๑๐ ปีนี้มีการวิจัยในหลายสถาบัน เช่น ระหว่างปี ๒๕๓๐ - ๒๕๓๕ ได้มีการศึกษาเพื่อ พัฒนาการปลูกพืชไม่ใช้ดิน ณ พระราชวังสวนจิตรลดา เพื่อจะได้นําเทคนิคนี้ไปใช้ในการปลูกพืชในพื้นที่ที่ดิน มีปัญหาในการเพาะปลูก การปลูกพืชใช้ระบบวัสดุปลูกรดด้วยนํ้าสารละลายธาตุอาหาร โดยใช้กระบะบรรจุ สารละลายธาตุอาหารเป็นแปลงปลูก พบว่าสามารถปลูกพืชได้หลายชนิด เช่น พืชผัก ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง กะหลํ่าดอก ผักกาดหัว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักกาดหอม คึ่นฉ่าย ผักชี หอมแบ่ง มะเขือ มะเขือเทศ แตงเทศ ไม้ ดอก ได้แก่ ดาวเรือง บานชื่น พิทูเนีย กุหลาบ และ ไม้ประดับ เช่น โกสน หมากผู้หมากเมีย สาวน้อยประแป้ง ไผ่ ฟิลิปปินส์ ซึ่งผลจากการวิจัย ได้มีผู้สนใจนําไปปรับใช้ในการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์เป็นการค้าจนถึง ปัจจุบัน (กระบวน, ๒๕๔๒) ด้านกองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร ก็ได้มีการทดลองปลูกพืชผักหลายชนิด เช่น ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดขาวปลี ผักกาดฮ่องเต้ และ ผักกาดหัว โดยใช้สารเคมีสูตร Hoagland แต่เติมโซเดียม และใช้ เหล็ก EDTA เป็นสารให้ธาตุเหล็ก ทําการปลูกในถังพลาสติก หุ้มด้วยกระดาษเพื่อลดอุณหภูมิ และ ใช้แผ่นโฟม
  • 14. รองด้วยผ้าพลาสติกกันนํ้าออก มีการให้ก๊าซอ๊อกซิเจนด้วยปั๊มอากาศ และ หมั่นดูแลไม่ให้นํ้ายาแห้ง พบว่าเป็น วิธีที่ได้ผลดีพอสมควร สถาบันที่มีการวิจัยการปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๒๖ คือสถาบันเทคโน โลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาถึงขั้นจัดทําโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ คํานวณปริมาณธาตุอาหารในการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช (อิทธิสุนทร, ๒๕๔๒) และ ดัดแปลงระบบที่ ใช้อยู่เป็นระบบขนาดเล็กเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว หรือ ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นงานอดิเรกอีกด้วย (อิทธิสุนทร, 2 ๒๕๔๒) เมื่อมีการตื่นตัวเรื่องการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ บริษัทเจริญโภคพันธุ์ก็ได้ทําการศึกษาความเป็น ไปได้ ในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้เทคนิคนี้ควบคู่กับระบบโรงเรือน แต่ใน ที่สุดก็ไม่ได้นําเทคโนโลยีนี้มาใช้ (เปรมปรี, ๒๕๔๒) เอกชนอีกรายที่ทําการศึกษาวิจัยเพื่อหาเทคนิคการปลูก พืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมสําหรับราชอาณาจักรไทย เนื่องจากเล็งเห็นว่าจะเป็นวิธีการปลูกพืชที่ จําเป็นในอนาคต คือบริษัท ที เอ บี วิจัย และ พัฒนา จํากัด ดําเนินการที่อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยได้รับ ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ระยะหลังได้มีการนําการปลูกพืชด้วยวิธี ไฮโดรโปนิกส์ มาปลูกพืชผักเป็นการค้ากันบ้างแล้วในประ เทศไทย โดยระบบที่นํามาใช้กันแพร่หลายมีอยู่ ๒ ระบบ คือ ระบบ NFT ซึ่งเป็นระบบสําเร็จรูปที่นําเข้าจาก ประเทศออสเตรเลีย และ ระบบสารละลายหมุนเวียนชนิดไม่เติมอากาศ ซึ่งศึกษาและพัฒนาขึ้น ณ พระราช วัง สวนจิตรลดา ข้อดี และ ข้อเสียการปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์ การปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชโดยใช้หลักวิชาการแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่โดย การเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน แต่ไม่นําดินมาใช้เป็นวัสดุปลูก พืชสามารถเจริญเติบโตได้โดยอาศัยธาตุอาหาร ต่างๆ ที่ละลายลงในนํ้าเพื่อทดแทนธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น ๑. สามารถปลูกพืชได้ต่อเนื่องตลอดปี เมื่อเก็บผลผลิตผักแล้วสามารถปลูกพืชผักรุ่นต่อไปได้ทันทีเนื่อง จากไม่ได้ปลูกพืชลงดินจึงไม่ต้องทิ้งระยะเวลาเพื่อทําการพักดิน ตากดิน กําจัดวัชพืช และ เตรียมแปลงปลูกใหม่ การปลูกพืชในดินต่อเนื่องเป็นเวลานานยังทําให้เกิดปัญหาดินเสื่อมสภาพ แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ สามารถปลูกพืชต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องกลัวปัญหานี้ เนื่องจากแหล่งอาหารของพืชไม่ได้มาจากดิน แต่มาจากธาตุ อาหารต่างๆ ที่ให้ทางสารละลายธาตุอาหาร นอกจากนั้นการปลูกพืชด้วยเทคนิคนี้ไม่ขึ้นกับฤดูกาล เพราะมีการ ควบคุมสภาพแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ปลูกได้ต่อเนื่องตลอดปี ๒. สามารถปลูกพืชได้แม้ในที่ที่ไม่มีพื้นที่สําหรับปลูกพืช การอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองซึ่งที่ดินมีราคา แพง ผู้อยู่อาศัยในที่ที่มีพื้นที่จํากัด เช่น ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ อาคารชุด และ หอพัก ไม่มีพื้นที่สําหรับปลูกพืช
  • 15. สามารถปลูกพืชผักสวนครัว สมุนไพร หรือไม้ดอกไม้ประดับ ได้โดยใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ขนาดเล็กวาง บริเวณพื้นที่ว่างที่มีอยู่เล็กน้อย เช่น ริมหน้าต่าง ทางเดิน ดาดฟ้า พื้นที่เล็กๆ หลังบ้าน ๓. สามารถปลูกพืชในที่ที่ดินไม่เหมาะสม ในบางพื้นที่มีพื้นที่อยู่มากมาย แต่ใช้ทําการเพาะปลูกพืช ไม่ได้เนื่องจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินทะเลทราย พื้นที่ที่เป็นหิน พื้นที่ภูเขา ดินเค็ม ดินกรด ดินด่าง พื้นที่ อยู่ในเขตแห้งแล้ง หรือ ขาดแคลนนํ้าชลประทานการแก้ปัญหาเหล่านี้ทําได้ยาก ต้องใช้เวลานาน และ ใช้ งบประมาณมาก สามารถใช้พื้นที่ที่มีอยู่ปลูกพืชได้ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ เพราะนอกจากไม่ต้องใช้ดินเป็นแหล่ง อาหารสําหรับพืชแล้ว ยังเป็นวิธีที่ใช้นํ้าน้อย และใ ช้อย่างมีประสิทธิภาพ พืชไม่มีปัญหาขาดนํ้า ไม่มีการสูญเสีย นํ้าจากการซึมลึก การไหลทิ้ง หรือ การแย่งนํ้าจากวัชพืช ไม่มีปัญหาการให้นํ้ามากเกินไป ๔. พืชเจริญเติบโตได้เร็ว และ ให้ผลผลิตสูง การปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิมไม่สามารถกําหนดปริมาณธาตุ อาหารให้พอดีกับความต้องการของพืชได้ นอกจากนั้นยังมีการสูญเสียธาตุอาหารจากกระบวนการต่างๆ ที่ เกิดขึ้นในดิน และ ในอากาศ ตลอดจนการแย่งธาตุอาหารจากวัชพืช แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ สามารถควบคุมปริมาณสารอาหารได้ดีกว่าการปลูกในดิน สามารถกําหนดปริมาณธาตุอาหารให้ตรงกับความ ต้องการของพืช พืชได้รับสารอาหารในรูปอนินทรีย์โดยตรง ทําให้การใช้ปุ๋ ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังไม่มีปัญหาการแย่งธาตุอาหารโดยวัชพืช จึงทําให้พืชเจริญเติบโตเร็วและได้ผลผลิตสูง ในอีกแง่ หนึ่ง ถ้าคํานึงถึงผลผลิตต่อปี ผลผลิตจากการผลิตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ก็จะสูงกว่าการปลูกด้วยวิธีดั้งเดิม เนื่องจากการเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น และ ปลูกต่อเนื่องได้ตลอดปีไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทําให้สามารถปลูกพืชได้มากครั้ง กว่าในเวลาเท่ากัน ๕. ผลผลิตมีความสมํ่าเสมอ สะอาด และ คุณภาพดี เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารตามที่พืช ต้องการ ตลอดจนควบคุมปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมได้ทั่วถึง ทําให้ได้ผลผลิตที่มีความสมํ่าเสมอ มีรูปร่าง สี ขนาด ใกล้เคียงกัน ผลผลิตไม่ได้สัมผัสกับดิน จึงสะอาดและดูน่ารับประทาน การปลูกพืชวิธีนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะ ที่จะผลิตพืชผักที่ต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพ และ ความสมํ่าเสมอ เช่น ผักส่งออก ผักทดแทนการนําเข้า และ ผัก ส่งขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต ๖. ใช้แรงงานน้อยลง การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์จะใช้แรงงานน้อยกว่าการปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม เนื่องมาจากไม่ต้องมีการเตรียมดิน ไม่ต้องทําการเขตกรรม เช่น ให้นํ้า ใส่ปุ๋ ย กําจัดวัชพืช มีศัตรูพืชน้อยกว่า จึง ใช้แรงงานในการกําจัดน้อยกว่า การเพาะเมล็ด การย้ายปลูก การเตรียมแปลงปลูก และ การเก็บเกี่ยว ทําได้ง่าย กว่า จึงใช้แรงงานน้อยกว่า ๗. ลดการใช้สารเคมี เนื่องจากมีการควบคุมสภาพแวดล้อม ควบคุมศัตรูพืชได้ง่าย เพราะการไม่ใช้ดิน ในการปลูกพืช ทําให้ไม่มีปัญหาโรคแมลงที่อยู่ในดินตลอดจนไม่มีปัญหาวัชพืช ส่วนโรคแมลงที่ระบาดทาง อากาศก็สามารถลดการใช้สารเคมีได้โดยการใช้โรงเรือนตาข่าย
  • 16. ๘. ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล และ ทุกสภาพอากาศ เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับ ความต้องการของพืช และ มีการควบคุมสภาพแวดล้อมอื่นๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การที่ สามารถปลูกพืชได้ตลอดไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทําให้สามารถควบคุมราคาได้โดยไม่ขึ้นลงตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชด้วยเทคนิคนี้ก็มีข้อจํากัด ได้แก่ ๘.๑ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง ทําให้ผลผลิตที่ได้มีราคาแพง ต้องเลือกปลูกพืช ที่มีราคา ค่าใช้จ่ายที่ทําให้ต้นทุนสูงจะเป็นค่าก่อสร้างโรงเรือน ค่าสารเคมี ค่าอุปกรณ์ และ ค่าดูแลรักษา การลงทุนระยะแรกอาจไม่คุ้ม แต่จะให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว และ ต้องดําเนินการในพื้นที่มากจะคุ้มกว่า พื้นที่น้อย ๘.๒ ต้องใช้เทคนิคขั้นสูง ผู้ปลูกต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคที่เลือกใช้เป็นอย่างดี นอก จากนี้ยังต้องมีความรู้ในเรื่องธาตุอาหารพืช นํ้า สรีรวิทยาของพืช สารละลาย และ เครื่องมือควบคุม ระบบต่างๆ อีกด้วย ๘.๓ มีโอกาสเกิดโรคที่มาจากนํ้าได้ง่าย และ ยากต่อการควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกใน สารละลาย ไม่ว่าจะเป็นระบบหมุนเวียน หรือ ไม่หมุนเวียน ถ้ามีการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบราก โรคจะ แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และ ยากต่อการป้องกันกําจัด เพราะพืชแต่ละต้นใช้สารละลายในแหล่ง เดียวกันเชื้อจะระบาดไปทั่วระบบในเวลาอันสั้นโดยติดไปในสารละลาย การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของพืชไม่ว่าจะปลูกด้วยวิธีดั้งเดิม หรือ ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ ถูก ควบคุมโดยปัจจัยทั้งภายใน และ ภายนอก การเรียนรู้ถึงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นเรื่องจําเป็น เนื่องจากเป็นความรู้พื้นฐานที่สําคัญในการกําหนดความสําเร็จ หรือ ล้มเหลวในการปลูกพืช การเจริญเติบโต ของพืชที่ปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งอาจจําแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้๓ กลุ่ม ดังนี้ ๑. พันธุกรรม เป็นปัจจัยภายในตัวพืชเองเพราะเกี่ยวข้องกับยีนซึ่งอยู่ในโครโมโซมของพืช ยีนเป็น ตัวกําหนดลักษณะต่างๆ เช่น ความสูง รูปร่าง สี นอกจากนั้นยังเป็นตัวกําหนดว่าพืชจะเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิต สูง หรือ สามารถต้านทานศัตรูพืชได้ดีเพียงใด ปัจจัยทางพันธุกรรมจะมีอิทธิพลร่วมกับสภาพแวด ล้อม ดังนั้น ในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ได้ลักษณะตามต้องการ จะต้องแยกความแตกต่าง ทางพันธุกรรมออกจากความแตก ต่างทางสภาพแวดล้อมให้ได้ ในประเทศที่มีการปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์เป็นการค้าอย่างแพร่หลาย เช่น ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม จะให้ความสําคัญกับการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อปลูกด้วยวิธีนี้โดยเฉพาะ การปลูก พืชโดยวิธีนี้จึงให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกพืชในดิน ต่างจากประเทศไทยซึ่งการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ยัง มีน้อยส่วนใหญ่จึงใช้พันธุ์พืชพันธุ์เดียวกับที่ใช้ปลูกในดิน ๒. สารควบคุมการเจริญเติบโต ไม่ว่าการปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม หรือ ปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ พืชมี สารควบคุมการเจริญเติบโต และ การพัฒนาของส่วนต่างๆ อยู่ตลอดเวลา สารควบคุมการเจรญเติบโตของพืช
  • 17. เป็นสารอินทรีย์ซึ่งไม่จํากัดว่าพืชสร้างขึ้นเอง หรือ มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น สารปริมาณเพียงเล็กน้อยในช่วงเพียง ส่วนในล้านส่วน (ppm) ก็สามารถกระตุ้น ยับยั้ง หรือ เปลี่ยนสภาพทางสรีรวิทยาของพืชได้ โดยสารควบคุมการ เจริญเติบโตจะไปควบคุมการทํางานของจีน (gene) ในการสร้างโปรตีน กระตุ้นการทํางานของเอนไซม์ต่างๆ หรือ เปลี่ยนแปลงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเยื่อหุ้มทั้งหลาย ๓. สภาพแวดล้อม เป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งการตอบสนองต่อปัจจัย ต่างๆเหล่านี้ไม่ได้แตกต่างกันไม่ว่าจะปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม หรือ ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ ปัจจัยที่เป็นตัวควบคุม การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของพืชมีอยู่หลายปัจจัย ปัจจุบันการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์มีอยู่มากมาย หลายระบบ เนื่องจากมีการพัฒนากันมาเป็นเวลานาน ให้เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของประ เทศต่างๆ อย่างไร ก็ตามระบบต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมีพื้นฐานมาจากระบบหลักๆ ตามลักษณะการให้สารละลายธาตุอาหารแก่บริเวณ รอบๆ รากพืช ๓ ระบบ ได้แก่ (ถวัลย์, ๒๕๓๔) ๓.๑ แบบปลูกให้รากลอยอยู่กลางอากาศ (aeroponics) เป็นระบบที่มีการหมุนเวียนสารละลาย ธาตุอาหาร ส่วนรากของพืชจะแขวนห้อยกลางอากาศลอยอยู่ภายในกล่อง หรือ ตู้ที่เป็นห้องมืด จากนั้นจึงเติม ธาตุอาหารแก่รากพืชด้วยการใช้ปั๊มอัดผ่านหัวฉีด ฉีดพ่นสารละลายให้เป็นฝอยละเอียด เป็นระยะ ๆ ตาม ช่วงเวลาที่กําหนด เพื่อให้รากคงความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง ร้อยละ ๙๕-๑๐๐ ข้อดีของระบบนี้คือ รากพืชไม่ ขาดออกซิเจน และ จะเจริญเติบโตได้เต็มที่ ข้อเสียของระบบนี้คือ ตู้ปลูกมักมีอุณหภูมิสูงกว่าภายนอก และ ต้อง ลงทุนค่าวัสดุอุปกรณ์ค่อนข้างสูง จึงมักใช้ในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาทางสรีระวิทยาของพืช หรือ ใช้ระบบ ขนาดเล็กเพื่อปลูกพืชเป็นงานอดิเรกมากกว่าที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์ ๓.๒ แบบปลูกในวัสดุปลูก (substrate culture) เป็นการปลูกในลักษณะที่คล้ายกับการปลูกพืช บนดินมากที่สุด การดูแลรักษาจึงคล้ายกับการปลูกพืชในกระถาง แต่ใช้วัสดุปลูกอื่นแทนดินเพื่อให้รากพยุงลํา ต้นอยู่ได้ การปลูกในวัสดุปลูกปริมาณของวัสดุปลูกจะน้อยกว่าดินมาก คือรากพืชจะมีพื้นที่ในการหานํ้า และ อาหารไม่เกิน ๕ ลิตรต่อต้น ดังนั้นการจัดการเกี่ยวกับนํ้า และ ธาตุอาหารจะต้องดูแลเป็นพิเศษ ต้องควบคุม ปริมาณนํ้าในวัสดุปลูกให้เหมาะสม โดยนอกจากใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายนํ้าดี อุ้มนํ้าได้น้อย มีอัตราส่วน ระหว่างนํ้า และ อากาศที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องควบคุมการให้สารละลายต้องระวังไม่ปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งจน ไม่มีความชื้นเหลืออยู่ เพราะถ้าแห้งถึงระดับหนึ่งรากอาจไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ทําให้เกิดความเสียหาย ได้ วิธีที่เหมาะสมคือ ให้ครั้งละน้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ เหตุนี้เองระบบควบคุมการให้นํ้าอัตโมัติจึงเป็นสิ่งจําเป็น สูตร และ ความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารจะต้องเหมาะสมกับชนิดพืช ช่วงการเจริญเติบโต และ สภาพ ภูมิอากาศ ก่อนปลูกควรปรับ pH ของวัสดุปลูกให้อยู่ในช่วง ๕.๕-๖.๐ โดยใช้สารละลายกรดไนตริกเจอจาง ข้อ ควรระวังอีกอย่างหนึ่ง คือต้องเก็บเศษรากพืชที่เหลือออกจากวัสดุปลูกให้หมดเมื่อต้องเริ่มปลูกพืชครั้งใหม่