Diese Präsentation wurde erfolgreich gemeldet.
Die SlideShare-Präsentation wird heruntergeladen. ×

วิทย์

Anzeige
Anzeige
Anzeige
Anzeige
Anzeige
Anzeige
Anzeige
Anzeige
Anzeige
Anzeige
Anzeige
Anzeige
Nächste SlideShare
วิทย์
วิทย์
Wird geladen in …3
×

Hier ansehen

1 von 21 Anzeige

Weitere Verwandte Inhalte

Anzeige

Ähnlich wie วิทย์ (20)

วิทย์

  1. 1. หลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท<br />จัดทำโดย<br />ด.ญ.อนัญญา ใฝ่ใจ เลขที่ 36<br />ด.ญ.ณัฐธิดา ปัญญาวงศ์ เลขที่ 40<br />ด.ญ.ศิรภัสสร ยะนา เลขที่ 41<br />ด.ญ.ศิริภัทรา ยะนา เลขที่ 42<br />ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1<br />เสนอ<br />อาจารย์จิราภรณ์ ไชยมงคล<br />กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์<br />โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม<br />
  2. 2. เครื่องใช้ไฟฟ้าคือ อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปอื่น เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่<br />1. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานแสงสว่าง<br />2. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน<br />3. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล<br />4. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง<br />
  3. 3. 1.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานแสงสว่าง<br />หลอดไฟเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงสว่างให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ ซึ่ง โธมัสเอดิสัน เป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไฟเป็นครั้งแรก โดยใช้คาร์บอนเส้นเล็กๆ เป็นไส้หลอดและได้มีการพัฒนาเรื่อยมาเป็นลำดับ<br />
  4. 4. ประเภทของหลอดไฟ<br /> 1. หลอดไฟฟ้าธรรมดา มีไส้หลอดที่ทำด้วย ลวดโลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูง เช่น ทังสเตนเส้นเล็กๆ ขดเอาไว้เหมือนขดลวดสปริงภายในหลอดแก้วสูบอากาศออกหมดแล้วบรรจุก๊าซเฉื่อย เช่น อาร์กอน (Ar) ไว้ ก๊าซนี้ช่วยป้องกันไม่ให้หลอดไฟฟ้าดำ ลักษณะของหลอดไฟเป็นดังรูป<br />
  5. 5. หลักการทำงานของหลอดไฟฟ้าธรรมดา<br />กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดซึ่งมีความต้านทานสูงพลังงานไฟฟ้า<br />จะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ทำให้ไส้หลอดร้อนจัดจนเปล่งแสง<br />ออกมาได้ การเปลี่ยนพลังงานเป็นดังนี้<br />พลังงานไฟฟ้า >>>พลังงานความร้อน >>>พลังงานแสง<br />
  6. 6. 2. หลอดเรื่องแสง หรือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ (fluorescent)<br /> เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสงสว่าง ซึ่งมีการประดิษฐ์ในปี ค.ศ. 1938 โดยมีรูปร่างหลายแบบ อาจทำเป็นหลอดตรง สั้น ยาว ขดเป็นวงกลมหรือครึ่งวงกลม เป็นต้น<br />
  7. 7. หลักการทำงานของหลอดเรืองแสง<br /> เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้หลอดจะทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้น ความร้อนที่เกิดทำให้ปรอทที่บรรจุไว้ในหลอดกลายเป็นไอมากขึ้น เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไอปรอทได้จะคายพลังงานไฟฟ้าให้ไอปรอท ทำให้อะตอมของไอปรอทอยู่ในภาวะถูกกระตุ้น และอะตอมปรอทจะคายพลังงานออกมาเพื่อลดระดับพลังงานของตนในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต เมื่อรังสีดังกล่าวกระทบสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวในของหลอดเรืองแสงนั้นก็จะเปล่งแสงได้ โดยให้แสงสีต่างๆ ตามชนิดของสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ภายในหลอดนั้น<br />
  8. 8. อุปกรณ์ที่ใช้เพื่อให้หลอดเรืองแสงทำงาน<br />1. สตาร์ตเตอร์ (starter) ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์อัตโนมัติในขณะหลอดเรืองแสง ยังไม่ติดและหยุดทำงานเมื่อหลอดติดแล้ว<br />2. แบลลัสต์ (Ballast)ทำหน้าที่เพิ่มความต่างศักย์ เพื่อให้หลอดไฟเรืองแสงติดในตอนแรกและทำหน้าที่ ควบคุมกระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอด ให้ลดลงเมื่อหลอดติดแล้ว<br />แบลลัสต์<br />สตาร์ตเตอร์<br />
  9. 9. วิธีการประหยัดไฟฟ้า<br />ปิดสวิตซ์ไฟเมื่อเลิกใช้งาน<br />หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟที่บ้าน เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง<br />ควรใช้โคมไฟแบบมีแผ่นสะท้อนแสงในห้องต่าง ๆ เพื่อช่วยให้แสงสว่างจากหลอดไฟ กระจายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ <br />
  10. 10. 2. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน<br /> เตารีดไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นความร้อนเทอร์โมสตัท แผ่นขดลวดความร้อน แผ่นทับผ้า และปุ่มปรับความร้อนเตารีดไฟฟ้าใช้แผ่นขดลวดความร้อนทำด้วยลวดนิโครมแผ่น แบนๆ วางสับไปมาไม่ได้ทำเป็นขดลวดเหมือนเตาไฟฟ้า หรือ อาจที่เรียกว่า ไส้เตารีด ซึ่งจะสอดอยู่ภายในระหว่างไมก้า (Mica) 2 แผ่น ไมก้านี้เป็นวัตถุทนไฟและเป็นฉนวนด้วย <br />
  11. 11. หลักการทำงานของเตารีดไฟฟ้า<br /> เตารีดไฟฟ้าเมื่อใช้เต้าเสียบ เสียบเต้ารับแล้ว กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขดลวดให้ความร้อน คือแถบลวดนิโครม หรือขดลวดความร้อน และจะถ่ายเทความร้อนให้กับแผ่นทับผ้า ทำให้แผ่นทับผ้าร้อน การตั้งอุณหภูมิให้มีความร้อนมากหรือน้อยเท่าไร ขึ้นอยู่ชนิดของผ้าที่จะรีด<br />
  12. 12. ชนิดของเตารีดไฟฟ้า <br /> 1.เตารีดไฟฟ้าแบบธรรมดาเตารีดไฟฟ้าชนิดนี้เป็นเตารีดไฟฟ้าที่ให้ความร้อนแก่เตารีดตลอดเวลาไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ เมื่อใช้เตารีดเสียบเต้ารับแล้วขดลวดความร้อนจะให้ความร้อนตลอดเวลา เมื่อต้องการลดอุณหภูมิต้องดึงเต้าเสียบออก และถ้าต้องการเพิ่มอุณหภูมิก็ใช้เต้าเสียบเสียบเต้ารับใหม่อีกครั้ง ซึ่งเตารีดชนิดนี้ไม่นิยมกันเพราะเกิดอันตรายได้ง่าย <br />2.เตารีดไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติเตารีดชนิด นี้เป็นเตารีดไฟฟ้าที่มีเครื่องปรับอุณหภูมิ หรือเทอร์โมสตัท<br /> สามารถตั้งอุณหภูมิตามที่ต้องการได้ <br />
  13. 13. 3.เตารีดไฟฟ้าชนิดไอน้ำ เตารีดชนิดนี้เป็นเตารีดไฟฟ้าที่มีที่เก็บน้ำไว้ในตัวเตารีดโดยทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องพรมน้ำตลอดเวลาที่รีดผ้า เมื่อเตารีดร้อนก็จะทำให้น้ำภาชนะภายในที่เก็บเดือด เมื่อต้องการใช้น้ำก็กดปุ่มให้ไปน้ำพุ่งออกมา จึงรีดผ้าได้เรียบดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามที่ใช้ในเตารีดชนิดนี้ต้องเป็นน้ำสะอาด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดเป็นตะกอนอุดตันได้ <br />
  14. 14. วิธีการประหยัดไฟฟ้าจากเตารีด<br />1. เมื่อเลิกใช้งานต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที<br />2. ตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่<br />3. การใช้งานอย่าวางเตารีดใกล้สิ่งที่จะติดไฟได้ง่าย เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ขึ้นได้<br /> 4.  เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของเตารีด ต้องไม่แตกร้าว และสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับ และไม่เปื่อยชำรุด<br />
  15. 15. 3.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล<br /> พัดลมไฟฟ้า ของ BMW E36<br /> หลักการทำงานของ พัดลมไฟฟ้า สำหรับ 4 สูบ<br /> 1. ถ้าสวิทต์กุญแจอยู่ตำแหน่ง off (พร้อมที่จะดึงกุญแจออกได้) จากวงจร พัดลมมันจะดับ<br /> 2. ถ้าสวิทต์กุญแจอยู่ตำแหน่ง run (เช่น เวลาเราดับเครื่องโดยบิดกุญแจมากิ๊กเดียว ไม่ใช่ 2 กิ๊กมาตำแหน่ง off ) จะเป็นดังนี้<br /> 2.1 พัดลม high speed จะติดเมื่อ pressure ของน้ำยาแอร์ สูงกว่า 18 bar(จนกว่า pressure จะลงมาที่ 15 bar) "หรือ" อุณหภูมิ. หม้อน้ำสูงกว่า 88 องศา)<br /> 2.2 พัดลม low speed จะติดเมื่อ high speed relay ไม่ได้ทำงาน"และ" อุณหภูมิ หม้อน้ำสูงกว่า 80 องศาc<br /> ข้อสังเกตุ 4 สูบจะใช้ motor ตัวเดียว แต่ใช้ R drop เอาสำหรับ low speed ของ 6 สูบ จะต่างกัน <br />
  16. 16. วิธีประหยัดไฟฟ้าเกี่ยวกับพัดลม<br />1. เลิกเปิดพัดลมทิ้งไว้เมื่อไม่มีใครอยู่<br />2. ถ้าใช้พัดลมที่มีระบบรีโมคอนโทรล ต้องถอดปลั๊กทันทีที่เลิกใช้งาน<br />3. เปิดลมแรงให้กับพอดี เพราะยิ่งเปิดลมแรงขึ้น ยิ่งใช้ไฟมากขึ้น<br />4. หมั่นทำความสะอาดใบพัด ตะแกรงครอบและแผงหุ้มมอเตอร์ พัดลม อย่าให้มีฝุ่นเกาะ<br />5.อย่าให้ใบพัดโค้งงอผิดส่วน ความแรงจะลดลง<br />6. ตั้งพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก<br />
  17. 17. 4. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานเสียง<br />ลำโพง<br />หลักการทำงาน<br /> ลำโพง ประกอบด้วย โครงลำโพงและจะมีแม่เหล็กถาวรติดอยู่ พร้อมเหล็กประกบบน-ล่าง ซึ่งจะมีแกนโผล่ขึ้นมาด้านบนทำให้เกิดเป็นช่องว่างแคบๆ เป็นวงกลมเราเรียกว่าช่องแก๊ปแม่เหล็ก (Magnetic Gap) ซึ่งแรงแม่เหล็กทั้งหมดจะถูกส่งมารวมกันอย่างหนาแน่นที่ตรงนี้ ถ้าแม่เหล็กมีขนาดเล็กก็ให้แรงน้อย (วัตต์ต่ำ) ขนาดใหญ่ก็มีแรงมาก (วัตต์สูง) ในปัจจุบันจะมีลำโพงที่ออกแบบให้มีวัตต์สูงเป็นพิเศษ โดยใช้แม่เหล็กขนาดใหญ่ และบางแบบจะซ้อน 2 หรือ 3 ชั้น จะได้วัตต์สูงขึ้นอีกมาก<br />
  18. 18. วอยซ์คอยล์ คือ ขดลวดกำเนิดเสียง จะลอยอยู่ภายในช่องแก็ปแม่เหล็กนี้ ซึ่งมันจะรับพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องขยายที่ป้อนเข้าไปจะทำให้มันเกิดอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นโดยกลับขั้วไปมาตามสัญญาณทางไฟฟ้าที่ป้อนเข้ามา เพราะสัญญาณOUT PUTจากเครื่องขยายนั้นเป็นสัญญาณไฟสลับ ทำให้เกิดการดูดหรือผลักกันกับแม่เหล็กถาวรที่ก้นลำโพง เป็นการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ส่งแรงการสั่นสะเทือนนี้ผ่านไปยังกรวย (Cone) ที่เชื่อมติดกับตัววอยซ์คอยล์อยู่ให้สั่นตามไปด้วย โดยมีสไปเดอร์ (Spider) และขอบ(Surround) เป็นตัวคอยยึดให้ทั้งชุดที่ขยับเข้าออกนี้ได้ศูนย์กลางอยู่ตลอดเวลาไม่เซไปเซมา <br />
  19. 19. เพื่อผลักอากาศให้เป็นคลื่นวิ่งมาเข้าหูของเราให้ได้ยินเป็นเสียงต่างๆนั่นเอง วอยซ์คอยล์นี้ก็มีหลายแบบ คือ แบบ 2 ชั้น 4 ชั้น แบบเปลือกกระดาษ/ไฟเบอร์/ไมก้า หรือแบบเปลือกโลหะ แบบที่เป็น 4 ชั้นและมีเปลือกเป็นโลหะก็จะมีวัตต์สูงกว่า มีความทนทานมากกว่าแบบอื่น เพราะเมื่อวอยซ์คอยล์ทำงานไปนั้นมันจะมีความร้อนเกิดขึ้น ถ้าใช้วอยซ์ 4 ชั้นลวดจะมีขนาดใหญ่กว่ากระแสผ่านได้มากกว่า และมีเปลือกโลหะที่ช่วยระบายความร้อนออกจากขดลวดได้ก็จะได้วอยซ์คอยล์ที่มีความทนทานมากขึ้นอีกมาก<br />
  20. 20. 1. ปิดสวิตซ์ทุกครั้งหลังจากเลิกใช้<br /> 2. ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้<br /> 3. หมั่นทำความสะอาดเครื่องเสียง<br />วิธีการประหยัด<br />
  21. 21. บรรณานุกรม<br />http://www.mmv.ac.th/supphapong/sci%20926.htm<br /> http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/11/Electricity-web/html/content-html/device-html/heat.html<br /> http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=432<br /> <br />

×