SlideShare ist ein Scribd-Unternehmen logo
1 von 65
·Ó¸ÃÃÁ¹ÙÞ
: ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
·Ó¸ÃÃÁ¹ÙÞ
: ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
พิมพ์ครั้งแรก	 	 พฤษภาคม ๒๕๕๖
จำนวนพิมพ์	 	 ๕,๐๐๐ เล่ม
จัดพิมพ์และเผยแพร่	 สำนักงานปฏิรูป (สปร.)
	 	 	 ๑๒๖/๑๔๖  ชั้น ๔ อาคาร ๑๐ ชั้น
	 	 	 สถาบันบำราศนราดูร  ซอยติวานนท์ ๑๔
	 	 	 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐
	 	 	 โทร ๐๒-๙๖๕ ๙๕๓๑-๓ โทรสาร ๐๒-๙๖๕ ๙๕๓๔
	 	 	 www.reform.or.th
เรียบเรียง	 	 สลิลทิพย์ เชียงทอง และ อินทิรา วิทยสมบูรณ์
บรรณาธิการ	 	 ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ
กองบรรณาธิการ	 พรรณทิพย์  เพชรมาก, จันทนา เบญจทรัพย์,
	 	 	 สิริกร เค้าภูไทย
ที่ปรึกษา	 	 ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, ศ.ดร.สุริชัย หวันแก้ว,  
	 	 	 รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ, ผศ.ทศพล สมพงษ์
	 	 	 ไพสิฐ พาณิชยกุล, สน รูปสูง, โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์
	 	 	 แก้ว สังข์ชู, สมสุข บุญญะบัญชา,
	 	 	 กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร, บำรุง คะโยธา,
	 	 	 ภาณุวุธ บูระ, ชาติวัฒน์  ร่วมสุข, ฑิฆัมพร กองสอน
รูปเล่มและหน้าปก	 อินทิรา  วิทยสมบูรณ์
ภาพประกอบ	 	 ฑีฆทัศน์ สุวรรณเครือ
พิมพ์ที่	 	 	 ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล๊อก
ร่วมขับเคลื่อนโดย 	 คณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น 	
	 	 	 “ธรรมนูญภาคประชาชน”  
	 	 	 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
	 	 	 สำนักงานปฏิรูป (สปร.)
คำนำ
เมื่อชุมชนท้องถิ่นลุกขึ้นมาเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใน
ชุมชนด้วยตนเอง แทนการพึ่งพารัฐ เปลี่ยนสถานะจากผู้รอรับ เป็นผู้จัด	
การและลงมือปฏิบัติด้วยจิตสำนึกของความเป็นพลเมือง ตระหนักและ	
เข้าใจในสิทธิและอำนาจที่แท้จริงที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญ  ขณะที่รัฐปรับ	
บทบาทเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริม แทนการสั่งการ ทำให้และควบคุม
	 หลากหลายเครื่องมือ -- แผนแม่บทชุมชน แผนชีวิตสาธารณะ	
การฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นสภาองค์กรชุมชนฯลฯ  เหล่านี้ได้สร้างและพัฒนา	
แกนนำคนรุ่นใหม่ให้เกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติ  การค้นหาวิเคราะห์	
ปัญหา  พัฒนาแผนกิจกรรม/โครงการ ดำเนินการขับเคลื่อน/เชื่อมโยง
สรุปบทเรียน จัดการความรู้ ขับเคลื่อน ยกระดับประเด็นงาน กระบวน	
การเหล่านี้เป็นวงล้อวัฏจักรของขบวนการพัฒนาองค์กรชุมชน เมื่อ	
องค์กรชุมชนสามารถดำเนินการและแก้ปัญหาในชุมชนได้สำเร็จสร้าง	
ความเชื่อมั่น เห็นคุณค่าและเรียกศักดิ์ศรีของตนเองกลับคืนมา เกิดการ	
ขยายผลเชื่อมโยงทำให้เกิดพลังภาคีของชุมชนจัดการตนเอง อำนาจ	
ของการจัดการตนเองนั้นมีเครื่องมือสำคัญคือธรรมนูญประชาชน  	
การเขียนธรรมนูญนั้นเพื่อนำสิทธิ อำนาจของประชาชนที่ปรากฎอยู่ใน	
รัฐธรรมนูญนั้นออกมาปฏิบัติโดยความเห็นชอบของทุกฝ่ายในชุมชน	
ท้องถิ่น หรือจังหวัด กระบวนการแต่ละขั้นตอนเป็นสิ่งไปเสริมสร้าง	
ประชาธิปไตยชุมชน ประชาธิปไตยที่กินได้ แก้ปัญหาได้ และสร้างความ	
อยู่เย็นเป็นสุขได้จริง
“ทำ – ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการ
ตนเอง”     จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือให้กลุ่มองค์กรชุมชนที่มีความพร้อม	
ในการเขียนธรรมนูญฉบับประชาชน ซึ่งคู่มือฉบับนี้จะเป็นคู่มือให้เห็น	
แนวคิดสำคัญและกระบวนการเขียนธรรมนูญ ด้วยการถอดบทเรียน	
จากพื้นที่ชุมชนที่ได้จัดทำธรรมนูญมาแล้ว   คู่มือเล่มนี้เป็นการจัดทำ	
ครั้งแรก ฉะนั้นเนื้อหาอาจยังไม่สมบูรณ์ครบถ้วน แต่เมื่อท่านได้นำไปใช้	
ก็จะเกิดการถอดบทเรียนอีกครั้ง ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงเนื้อหาให้	
สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
	 	 	 	 	 	 เชื่อมั่นและศรัทธา
					 สำนักงานปฏิรูป (สปร.) และ
			 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
						 พฤษภาคม ๒๕๕๖
สารบัญ
คำนำ		 	 	 	 	 	 	 ๓	
					
บทนำ		 	 	 	 	 	 	 ๗
๑  ปลดพันธนาการสู่อิสรภาพ	 	 	 	 ๙
๒  ทำความเข้าใจอำนาจที่แท้จริง		 	 	 ๑๕
๓  สิทธิที่ต้องใช้	 	 	 	 	 	 ๒๓
๔  ปฏิบัติการทางปัญญาสู่ธรรมนูญประชาชน	 	 ๒๙
๕  สู่อิสรภาพ	 	 	 	 	 	 ๔๗
ข้อแนะนำ	 	 	 	 	 	 	 ๕๖
ข้อแตกต่างระหว่างข้อบัญญัติท้องถิ่นกับ		 	 ๕๗
ธรรมนูญประชาชน	 	
รายชื่อพื้นที่เรียนรู้	 	 	 	 	 	 ๕๙	
บรรณานุกรม		 	 	 	 	 	 ๖๒
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
บทนำ
ในช่วง ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา กระบวนการทำงานขององค์กร
ชุมชนมีการสร้างสรรค์ พัฒนา ยกระดับความเข้มข้นโดยลำดับ    
นับตั้งแต่ชุมชนพึ่งตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง มาถึงการฟื้นฟูชุมชน
ท้องถิ่น แผนแม่บทชุมชน ประชาธิปไตยชุมชนในรูปของสภา
องค์กรชุมชน    พัฒนาสู่ธรรมนูญชุมชน      ธรรมนูญลุ่มน้ำ   ธรรมนูญ
ประชาชนในระดับจังหวัด
	 กระบวนการ “ธรรมนูญประชาชน” สะท้อนการเข้าถึงสิทธิ
อำนาจ ประชาธิปไตยของชุมชนท้องถิ่น ที่มิได้มองรัฐเป็นศูนย์กลาง	
แบบเก่า แต่มองชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแต่ละชุมชนมีต้นทุนทาง	
ประวัติศาสตร์  วิถีวัฒนธรรม ความเชื่อ องค์ความรู้ภูมิปัญญา มีระบบ	
นิเวศ ที่มากมายและมีความแตกต่างหลากหลาย กระบวนการลุกขึ้นมา	
สร้างกติกาข้อตกลงในการจัดความสัมพันธ์  การอยู่ร่วมกันในชุมชนการ	
จัดความสัมพันธ์กับทุนและรัฐ     ตลอดจนแนวนโยบาย     ยุทธศาสตร์การ	
พัฒนาร่วมกันโดยที่ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดที่เรียกว่า   ”ธรรมนูญ”จึง	
เป็นการปฏิบัติการของสิทธิและอำนาจของชุมชนโดยตรง
	 การสร้างอำนาจขององค์กรชุมชนจากฐานรากนั้น เริ่มจากการ	
จัดการตนเองจากเรื่องเล็กๆ    พัฒนามาสู่การทำกิจกรรมแก้ปัญหาชุมชน	
เป็นประเด็น  การจัดทำแผนแม่บทชุมชนแบบบูรณาการ ซึ่งถือเป็นการ	
เชื่อมร้อยคนในชุมชนที่จะเริ่มทำแผนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาที่เกิด	
ขึ้นในชุมชน จนเกิดความเข้มแข็งเรื่อยมา จนสามารถพัฒนาไปสู่การจัด	
๗
ทำ-ธรรมนูญ
ตั้งสภาองค์กรชุมชนซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนาระบอบประชาธิปไตย	
ชุมชนที่มีกฎหมายรองรับ       การพัฒนาและดำเนินการในพื้นที่จนกระทั่ง	
ตกผลึก  จนถึงขั้นชุมชนจัดการตนเองที่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างทาง	
สังคมบางประการ  ได้เกิดการร่วมจัดทำธรรมนูญประชาชน  ธรรมนูญ	
ที่บัญญัติโดยชุมชน และที่สำคัญคือ การนำไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ  	
กระบวนการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องคิดร่วมกัน วางแผนร่วมกัน การ	
ปฏิบัติการร่วมกัน การสรุปบทเรียนร่วมกัน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่	
สร้างสรรค์ ฟื้นฟูอำนาจในการจัดการตนเองของชุมชนให้งอกงามขึ้น	
อย่างต่อเนื่อง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม	
จากฐากรากอย่างแท้จริงในอนาคต
	 คู่มือธรรมนูญประชาชนเล่มนี้ เป็นการถอดบทเรียนเบื้องต้น	
จากกระบวนการขับเคลื่อนปฏิบัติการจริงในการทำ ”ธรรมนูญชุมชน”
ของขบวนองค์กรชุมชนทั้งระดับตำบล ระดับลุ่มน้ำ ระดับประเด็นและ	
ระดับจังหวัด ซึ่งมีความน่าสนใจตั้งแต่กระบวนการริเริ่ม การขับเคลื่อน
การเรียนรู้ ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคและบทเรียนต่างๆ ที่น่าสนใจ	
มากมาย
	 หวังว่ากระบวนการสร้างสรรค์ธรรมนูญประชาชนจะเป็น	
ประโยชน์ในการทำงาน การเข้าถึงสิทธิ และอำนาจของพี่น้ององค์กร	
ชุมชนที่กำลังขับเคลื่อนงานอยู่ ตลอดจนเอื้อประโยชน์ต่อองค์กร หน่วย	
งาน ภาคีต่างๆ ที่ทำงานสนับสนุนการทำงานขององค์กรชุมชน
	 คู่มือเล่มนี้ยังไม่สมบูรณ์แบบเป็นก้าวแรกในการบุกเบิกเส้นทาง	
ของพลังชุมชน หวังว่าในระหว่างการก้าวเดินจะมีองค์ความรู้ บทเรียน	
ที่ดีๆ   อีกมากมายจากพี่น้ององค์กรชุมชนที่นำคู่มือนี้ไปใช้ปฏิบัติการที่จะ	
มาช่วยกันแต่งเสริมเติมต่อให้คู่มือเล่มนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในอนาคต
๘
ปลดพันธนาการสู่อิสรภาพ
๑.
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
นับตั้งแต่  มีการปฏิรูประบบบริหารราชการในสมัยรัชกาลที่๕
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕ มีการจัดระบบบริหารราชการแผ่นดินไทย
แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
เกิดการปรับเปลี่ยนระบบราชการ   แบ่งแยกย่อยหน่วยทบวง
กรม กอง จากส่วนกลางลงสู่ระดับจังหวัด หากแต่อำนาจการ
ตัดสินใจก็ยังรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางเป็นหลัก
	 การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง	
การปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองแบบ	
ประชาธิปไตยตัวแทนในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ แต่ประชาธิปไตย	
ดังกล่าวนั้นก็ยังเป็นประชาธิปไตยระดับชาติ ที่ไม่ได้กระจายอำนาจถึง	
ระดับท้องถิ่นหรือชุมชนแต่อย่างใด
๑๑
พันธนาการ
ทำ-ธรรมนูญ
	 ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี	
พ.ศ.๒๕๔๐ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตย	
ระดับท้องถิ่น ให้ความสำคัญต่อการเมืองภาคพลเมือง การให้สิทธิและ	
กระจายอำนาจการปกครองแก่ท้องถิ่น อีกทั้งยังมี พ.ร.บ.กำหนดแผน	
และขั้นตอนกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นในปี พ.ศ.	
๒๕๔๒
	 แม้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพ.ศ.๒๕๔๐ จะถูก	
ยกเลิกไป แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๐ ก็ได้สนับสนุน	
และรับรองสิทธิของภาคประชาชนในการจัดการตนเองในส่วนต่างๆ ของ	
รัฐธรรมนูญเพิ่มเติมขึ้น
	 ระยะเวลาที่ล่วงเลยมากว่า ๘๐ ปีของการมีประชาธิปไตย แต่	
สิทธิและอำนาจของชุมชนท้องถิ่นในการเข้าไปมีส่วนร่วมบริหารจัดการ	
ท้องถิ่นก็ยังเกิดน้อยมาก รัฐยังคงรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ทั้งยัง	
ผูกขาดและกำกับดูแลส่วนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดโดยผ่านกลไกราชการ	
ส่วนภูมิภาค
	 ภายใต้โครงสร้างความสัมพันธ์เช่นนี้ อำนาจระหว่างรัฐส่วน	
กลางกับชุมชนท้องถิ่น จึงเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ ไม่ถ่วงดุล เป็น	
พันธนาการที่ผูกขาดผูกมัด และกักขังสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามรัฐธรรมนูญ
๑๒
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
   
    เมื่อท้องถิ่นตัดสินใจเลือกโครงการพัฒนาของตนเองไม่ได้	
ส่งผลให้โครงการพัฒนาที่ถูกกำหนดมาจากส่วนกลางไม่สอด	
คล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้น
หลายอย่างจึงขัดแย้งกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม สังคมของชุมชน โดย	
เฉพาะอย่างยิ่งโครงการขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ	
สร้างนิคมอุตสาหกรรม ผลกระทบจากสารเคมี ปัญหาน้ำเสีย	
นโยบายการจัดการทรัพยากรดินน้ำป่า เกษตรกรไร้ที่ดินทำกิน	
การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ การประกาศเขตป่าทับซ้อนที่ชาวบ้าน	
นโยบายการท่องเที่ยวที่ไม่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมรวมทั้งปัญหา	
พื้นฐานอย่างความยากจน ค่าครองชีพสูง ปัญหาหนี้สิน รวมทั้ง	
สวัสดิการสังคมที่ไม่ทั่วถึงและครอบคลุม
	 ปลดพันธนาการ สู่อิสรภาพ
	 อำนาจรัฐส่วนกลาง เป็นดังโซ่ตรวนพันธนาการ เป็นอุปสรรค	
สำคัญที่ทำให้ท้องถิ่นไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง
	 อำนาจที่รวมศูนย์ที่ส่วนกลางส่งผลให้ประชาชนอ่อนแอลง จน	
ไม่สามารถจัดการพึ่งพาตนเองได้ ต้องรอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐ	
อยู่ตลอดเวลา ขณะที่รัฐต้องกำกับดูแลประชาชนที่มีความหลากหลาย	
และมีจำนวนกว่า ๖๕ ล้านคน
“
”
๑๓
ทำ-ธรรมนูญ
	 เมื่อรัฐไม่อาจตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของชุมชน	
ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายได้จึงถึงเวลาแล้วที่ชุมชนท้องถิ่นจะต้องลุก	
ขึ้นมาจัดการตนเอง เปลี่ยนสถานะจากผู้รอรับมาเป็นผู้จัดการ ส่วน	
รัฐนั้นต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้กำกับ ผู้สั่งการมาเป็นผู้ให้การสนับสนุน	
ให้ประชาชนใช้สิทธิและอำนาจในการจัดการตนเองได้อย่างเต็มกำลัง
	 เมื่อภาคประชาชน ประชาสังคม ตื่นตัวลุกขึ้นมาจัดการตนเอง	
ได้ทั้งในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ ผ่านการนำเสนอนโยบาย	
สาธารณะต่อรัฐ กระบวนการมีส่วนร่วมเช่นนี้ ย่อมก่อให้เกิดความ	
เข้มแข็งและยั่งยืนในการพัฒนาประเทศ
	 การกระจายอำนาจลงสู่ชุมชนท้องถิ่น สู่พลเมือง สร้าง	
กลไกให้ชุมชน พลเมืองเข้าถึงและมีสิทธิในการจัดการตนเอง	
จัดการฐานทรัพยากร ฐานชีวิต เข้าถึงองค์ความรู้ชุมชน สร้าง	
ประชาธิปไตยที่หยัดยืนบนฐานจัดการตนเอง...จึงเป็นการปลด	
พันธนาการสู่อิสรภาพอันแท้จริง  
	 ทั้งนี้ การกระจายอำนาจ หมายถึง การที่ประชาชนมี	
ส่วนร่วมสนใจปัญหา วิกฤติ เห็นและเข้าใจสาเหตุแห่งปัญหา	
ต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า แล้วเข้ามาร่วมคิด ร่วม	
วางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมสรุปบทเรียน ติดตาม	
ประเมินผลร่วมรับผลประโยชน์โดยเป็นสิทธิเสรีภาพอำนาจอัน	
ชอบธรรม ที่จะเรียกร้องจากอำนาจรัฐและภาครัฐ อันหมายถึง	
อำนาจทางการเมือง ราชการและท้องถิ่นต้องคืนและกระจาย	
อำนาจสู่ประชาชน(สมพันธ์     เตชะอธิก    และทศพล     สมพงษ์,   ๑๐๘
คำศัพท์เพื่อการสนับสนุนการเมืองภาคพลเมือง,กรุงเทพฯ	
: สภาพัฒนาการเมือง ๒๕๕๕)
“
”๑๔
๒.
ทำความเข้าใจอำนาจที่แท้จริง
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ให้สิทธิ
และอำนาจแก่ปวงชนชาวไทยไว้อย่างชัดเจน ดังปรากฏหลัก
คิดและอำนาจแห่งสิทธินี้ไว้ในบททั่วไป มาตรา ๓ บัญญัติ
ว่า“อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์
ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี
และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
	 ชุมชนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยของตนได้โดยตรง เพื่อให้เข้า	
ถึงสิทธิต่างๆ ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ เป็นการใช้อำนาจเพื่อ	
ร่วมกันตัดสินใจกำหนดวิถีชีวิตและอนาคตชุมชนของตนเองโดยมีจุดมุ่ง	
หมายเพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน
	 โดยอำนาจอธิปไตยของคนในชุมชนประกอบด้วยอำนาจ๓ด้าน	
คือ
๑๗
อำนาจที่แท้จริง
ทำ-ธรรมนูญ
	 อำนาจทางนิติบัญญัติเป็นอำนาจในการกำหนดกฎกติกาเพื่อใช้	
ร่วมกันในชุมชน เช่น กติกาว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรม	
ชาติ กติกาว่าด้วยการจัดสวัสดิการ เป็นต้น
	
	 อำนาจทางการบริหาร ได้แก่ อำนาจในการที่จะบริหารจัดการ
กิจการต่างๆ ของชุมชน เช่น การจัดการป่าชุมชน การจัดการทรัพยากร	
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน การจัดการเงินและการคลังของ	
ชุมชน เป็นต้น
	 อำนาจทางตุลาการ ได้แก่ อำนาจในการพิจารณาตัดสินคุณค่า	
ต่างๆ ที่ประสงค์จะให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การตัดสินใจในการพัฒนา	
ชุมชน การตัดสินใจในทางเลือกที่จะดำเนินการ การตัดสินใจในการ	
กำหนดแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นต้น(ทศพลสมพงษ์,ประชาธิปไตย
ชุมชน จากแนวคิดสู่การจัดการ, กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนา	
การเมือง ๒๕๕๕)
	 ดังนั้น “อำนาจที่แท้จริง” จึงเป็นอำนาจที่มีอยู่ ดำรงอยู่ และ	
เกิดขึ้นอยู่ในชุมชนท้องถิ่นหลายแห่ง..เป็นอำนาจของการจัดการตนเอง	
ตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
	 ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติและมอบซึ่งสิทธิและ	
บทบาทหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองไว้ด้วย
๑๘
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
	 “ความเป็นพลเมือง” นั้นหมายถึง การที่ปัจเจกบุคคลต่างๆ	
แสดงความสนใจหรือมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกระตือรือร้น โดย	
ต้องการพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ของตนเองและส่วนรวม
	 ทั้งนี้ การแสดงออกซึ่งสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิด	
เห็น การแสดงออกโดยการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อพิทักษ์สิทธิ	
ของตนเองครอบครัวชุมชนสังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม	
ความถูกต้องชอบธรรมทางการเมือง ล้วนแสดงความเป็นพลเมืองที่มี	
อารยธรรมในสังคมประชาธิปไตย (สมพันธ์ เตชะอธิก และ ทศพล
สมพงษ์, ๑๐๘ คำศัพท์ เพื่อการสนับสนุนการเมืองภาคพลเมือง,
กรุงเทพฯ : สภาพัฒนาการเมือง ๒๕๕๕)
	 ด้วยเหตุนี้ สำนึกของความเป็นพลเมืองจึงไม่ใช่เพียงเรื่องของ	
ตนเองเท่านั้น หากยังครอบคลุมถึงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และ	
การเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา หรือจัดการพัฒนา สร้างสรรค์	
สังคมในด้านต่างๆ ด้วยผู้ที่รู้ปัญหาและแก้ปัญหาได้ดีก็คือคนในท้องถิ่น	
เอง
๑๙
ทำ-ธรรมนูญ
	 ชุมชนท้องถิ่น จึงจะต้องเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วย	
ตนเองก่อนเป็นหลัก แทนการคิด หรือฝากความหวังพึ่งพารัฐแต่เพียง	
ฝ่ายเดียว เปลี่ยนสถานะจากผู้รอรับ เป็นผู้จัดการและผู้ลงมือกระทำ	
ด้วยสำนึกแห่งความเป็นพลเมือง ใช้สิทธิและอำนาจที่แท้จริงที่มีอยู่ใน	
รัฐธรรมนูญเพื่อจัดการตนเอง จัดการชุมชนท้องถิ่น
	 “การจัดการตนเอง” เป็นเรื่องของตัวเราเองล้วนๆ เป็น	
กระบวนการจัดการของชุมชนท้องถิ่นในการเข้ามามีส่วนร่วม	
ในการแก้ไขปัญหาสารพัดสารพันของท้องถิ่นที่มีรูปธรรมยืนยัน	
ได้ว่าอำนาจในการจัดการตนเองนี้สามารถตอบสนองต่อชีวิตต่อ	
ชุมชน ทำได้จริงและแก้ปัญหาต่างๆ ของชุมชนได้อย่างเห็นผล
	 ทั้งนี้ ชุมชนจัดการตนเอง หมายถึง ชุมชนท้องถิ่น อัน	
ได้แก่ ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมินิเวศน์ ที่มีจิตสำนึกสาธารณะ รู้	
เป้าหมาย เชื่อมั่นวิถีพลังชุมชน มีความสามารถในการบริหารจัด	
การชุมชนอย่างมีส่วนร่วม และจัดความสัมพันธ์กับภาคี ใช้ข้อมูล	
แผนการจัดการความรู้และทุนชุมชน(คน     องค์กรชุมชน     ทรัพยากร	
ฯลฯ) เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในทุกด้านอย่างเป็นระบบ	
เพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“
”
๒๐
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
	 จะจัดการตนเองได้อย่างไร
	 “ต้องมีเครื่องมืออะไร?”
	 แผนชุมชนพึ่งตนเอง แผนแม่บทชุมชน แผนชีวิตสาธารณะ การ	
ฟื้นฟูชีวิตชุมชนท้องถิ่น      การจัดกองทุนสวัสดิการ      สภาองค์กรชุมฯลฯ    เป็น	
เครื่องมือสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างการมีส่วนร่วม	
มีความหลากหลายของกระบวนการทำงาน เทคนิควิธีการ รวมทั้งการ	
พัฒนากลไกต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน และบริบทเงื่อนไขปัจจัย	
แวดล้อม   มีการสรุปบทเรียนและถอดความรู้ระหว่างการทำงาน  จน	
พัฒนาเป็นชุดความรู้หรือหลักสูตรประจำชุมชน ชุมชนท้องถิ่นหลาย	
แห่งสามารถยกระดับพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชุมชน	
จัดการตนเอง รวมทั้ง ยังเป็นพื้นที่รูปธรรมในการขยายผลสร้างการ	
เรียนรู้ให้กับพื้นที่อื่นๆ  
	 “ธรรมนูญประชาชน”  ทำให้อำนาจของการจัดการตนเองเกิด	
พลังและเกิดการปฏิบัติใช้อย่างสมบูรณ์ เป็นเครื่องมือที่มีอำนาจมีสิทธิ	
ตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติและมอบให้แก่พลเมือง
	 หากมีนโยบายหรือโครงการด้านการพัฒนาใดที่ไม่สอด	
คล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ และส่งผลกระทบทั้งทางสังคม	
วัฒนธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติต่อพื้นที่ คนในพื้นที่นั้นๆ ก็สามารถ	
ยืนหยัดต่อสู้ และแสดงสิทธิในการจัดการพื้นที่ตนเองได้ โดยใช้	
ธรรมนูญเป็นหลักฐานยืนยันและแสดงสถานะของตนเอง อีกทั้งยังเป็น	
เครื่องมือในการประสานสร้างความร่วมมือกับภาคีภาครัฐในระดับ	
ต่างๆ
๒๑
ทำ-ธรรมนูญ
	 หนทางสู่ธรรมนูญประชาชน
	 แม้ธรรมนูญประชาชนจะไม่ใช่เรื่องยากและไกลตัวแต่ก็ไม่ใช่	
เรื่องง่ายที่ท่องจำไปใช้ หรือลอกเลียนแบบกันได้ เพราะธรรมนูญนั้นเป็น	
เรื่องการตื่นตัว เรียนรู้ และแน่นอนว่า
	 “ธรรมนูญประชาชน”
	 ไม่ใช่เป็นเพียงรูปเล่ม แต่เป็นเรื่องของ
	 “จิตสำนึกของคนในพื้นที่” และ
	 “การนำไปใช้ปฏิบัติการ”
	
	 การทำธรรมนูญประชาชน จึงมีองค์ประกอบหลายส่วน หลาย	
ระดับ และหลายกระบวนการ ขั้นตอน และเทคนิค  รวมทั้งหลายคำเรียก	
ขาน ไม่ว่าจะเป็นธรรมนูญ ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบชุมชน ฯลฯ
	
	 หัวใจสำคัญของธรรมนูญนั้นอยู่ที่การจัดรูปแบบของอำนาจ
ใหม่นี้ให้เกิดปฏิบัติการ เกิดการยอมรับร่วมกันทั้งยอมรับในเงื่อนไข
กฎเกณฑ์และยอมรับในมาตรการการควบคุมต่างๆ
๒๒
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
สิทธิที่ต้องใช้
๓.
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
“สิทธิ”หมายถึงอิสรภาพที่รับรองไว้โดยกฎหมายสิทธิสำคัญ
ในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิใน
การพูด สิทธิการพิมพ์ การนับถือศาสนา สิทธิในการเคลื่อนที่
เคลื่อนย้ายไปไหนมาไหน ที่อยู่อาศัย สิทธิในการประชุม และ
สิทธิในการทำการใดๆภายใต้กรอบกติกาการเมืองกฎหมาย
จารีตประเพณีอันดีงาม ซึ่งอาจจะกล่าวในด้านกว้างๆ ทั่วไป
ว่า พลเมืองทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย
อันจำเป็นรวมถึงการได้รับการศึกษา ทำงาน แสดงออก และ
สิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดย
ไม่เว้นสิทธิทางการเมือง (สมพันธ์ เตชะอธิก และ ทศพล
สมพงษ์, ๑๐๘ คำศัพท์ เพื่อการสนับสนุนการเมืองภาค
พลเมือง, กรุงเทพฯ : สภาพัฒนาการเมือง ๒๕๕๕)
๒๕
อำนาจประชาชน
ตามรัฐธรรมนูญ
ทำ-ธรรมนูญ
	 ธรรมนูญเป็นอำนาจของประชาชนตามรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิให้	
อำนาจประชาชนในการจัดการตนเอง ธรรมนูญจึงเป็นสิทธิที่ต้องใช้
	 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้เปิดโอกาส	
ในการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นและ	
เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน อันเป็นศักดิ์และสิทธิของ	
ประชาชนที่จะใช้อำนาจที่ระบุไว้ในกฎหมายสูงสุดนี้ในการจัดการ	
ตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชุมชน
	 ดังนั้นการเขียนธรรมนูญของชุมชนจึงเป็นการเขียนเพื่อนำสิทธิ	
นำอำนาจที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญนั้นออกมาปฏิบัติใช้โดยเป็นไปตาม	
ความเห็นชอบร่วมกันของคนกลุ่มต่างๆ ฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน	
ซึ่งกระบวนการเช่นนี้เป็นการสนับสนุนประชาธิปไตยชุมชนให้เป็นจริง
	 “ประชาธิปไตยชุมชน” หมายถึง กระบวนการที่ให้
ประชาชน คนจน คนรวย ทุกกลุ่มอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย มา
ใช้สิทธิร่วมกันในการบอกปัญหาความต้องการของตน เพื่อ
นำไปสู่การกำหนดนโยบายและวางแผนการพัฒนาชุมชนใน
ทุกด้านที่ตอบสนองกับความต้องการและแก้ปัญหาชุมชน
ที่มีความเป็นธรรม รวมทั้งร่วมกันปฏิบัติการตามแผนและ
ติดตามตรวจสอบการทำงานร่วมกันระหว่างท้องถิ่น ท้องที่
และชุมชน (สน รูปสูง, คู่มือประชาธิปไตยชุมชน, กรุงเทพฯ
: สภาพัฒนาการเมือง, ๒๕๕๔)
๒๖
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
	 โดยมาตราที่เกี่ยวข้องและสามารถใช้อ้างถึงสิทธิได้นั้น
ประกอบด้วย
	 หมวด๓สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยส่วนที่๑๒สิทธิชุมชน	
มาตรา ๖๖ และ มาตรา ๖๗
	 หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๓ แนวนโยบาย	
บริหารราชการแผ่นดิน  มาตรา ๗๘ (๒)  และ มาตรา ๗๘ (๓)
	 หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๔ แนวนโยบาย	
ด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุขการศึกษา และวัฒนธรรม  มาตรา	
๘๐ (๔)
	 หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๘ แนวนโยบาย	
ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   มาตรา ๘๕ (๕)
	 หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๑๐ แนวนโยบาย	
ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน  มาตรา ๘๗
	 หมวด๑๔การปกครองส่วนท้องถิ่น  มาตรา๒๘๑  มาตรา๒๘๒	
วรรค ๒   วรรค ๓  วรรค ๔ และ วรรค ๕
๒๗
ทำ-ธรรมนูญ
สิทธิชุมชนตามพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน
นอกจากรัฐธรรมนูญจะเป็นรากฐานกฎหมายที่ให้สิทธิแก่
ประชาชนในการจัดการตนเองแล้วนั้น พระราชบัญญัติสภา
องค์กรชุมชน พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นกฎหมายอีกฉบับที่มีสาระ
สำคัญในการสนับสนุนสิทธิของชุมชน     ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ยก
ระดับเวทีประชุมปรึกษาหารือร่วมกันของคน/องค์กรชุมชน
ในตำบลให้มีกฎหมายรองรับ เกิดความชอบธรรมแก่ขบวน
องค์กรชุมชน โดยมาตราที่เกี่ยวข้องและสามารถนำใช้อ้าง
สิทธิได้นั้น ได้แก่ หมวด ๑ มาตรา ๒๑ (ภารกิจของสภา
องค์กรชุมชนตำบล)
พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงเป็นอีกเครื่องมือ
หนึ่งที่จะประสานความร่วมมือกับท้องถิ่น ท้องที่ และรับรอง
สถานะการทำงานของชุมชนอีกด้วย
๒๘
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ปฏิบัติการทางปัญญาสู่
ธรรมนูญประชาชน
๔.
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
	
เมื่อรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เปิดช่อง
ทาง เปิดโอกาส ให้สิทธิและกระจายอำนาจเพิ่มมากขึ้นแล้ว
การทำธรรมนูญในระดับชุมชนท้องถิ่นจึงไม่ใช่เรื่องยากเลย
	 หัวใจของธรรมนูญประชาชน คือ การใช้อำนาจตาม
รัฐธรรมนูญเพื่อจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น ดังนั้นจะ
เริ่มต้นทำธรรมนูญ ต้องเริ่มต้นจากมองหันกลับมามองคำว่า
“ตนเอง” ทั้งในสถานะบุคคล และคนในฐานะส่วนหนึ่งของ
ชุมชน
	 ทั้งนี้ ธรรมนูญนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบและหลายระดับ ดัง	
ตัวอย่างต่อไปนี้
๓๑
ทำ-ธรรมนูญ
	
	 ธรรมนูญระดับประเด็น : เป็นธรรมนูญที่เกิดขึ้นในกลุ่มหรือ	
องค์กรชุมชนที่มองเห็นปัญหาหรือปรากฎการณ์ในประเด็นใดประเด็น	
หนึ่ง แล้วจึงมีกระบวนการในการระดมปัญหา ระดมความคิดเห็น จน	
นำมาสู่การร่วมกันออกแบบ กำหนดข้อตกลง และปฏิบัติใช้ในประเด็น	
นั้นๆ โดยการยอมรับร่วมกันของกลุ่มหรือองค์กรชุมชนที่เชื่อมร้อยและ	
เกาะเกี่ยวกัน เช่น ธรรมนูญสุขภาพตำบลหนองยาว อำเภอพนมสาร	
คาม จังหวัดฉะเชิงเทรา  
	 ธรรมนูญสุขภาพตำบล : เป็นเครื่องมือที่ทุกคนมีส่วนร่วมใน	
การออกแบบธรรมนูญเพื่อการจัดการสุขภาพ จัดการคุณภาพชีวิตใน	
วิถีเกษตร โดยที่กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.	
๒๕๕๔ เริ่มจากแกนนำจากทุกหมู่บ้านที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ	
รวมตัวกันจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ จัดเวทีพูดคุย	
ทุกหมู่บ้าน ประกอบด้วย ๔ ภาคส่วน คือ ท้องถิ่น นักวิชาการ ภาค	
๓๒
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ราชการและขบวนองค์กรชุมชน    โดยมีสถานีอนามัย     โรงเรียนพัฒนากร	
เป็นพี่เลี้ยงให้กับคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญสุขภาพและได้บูรณาการ	
เครื่องมือหลากหลาย เช่น แผนแม่บทชุมชน เวทีประชาคมตำบล สภา	
องค์กรชุมชน แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เป็นต้น
	 ธรรมนูญระดับชุมชน : เป็นธรรมนูญที่เกิดขึ้นในระดับชุมชน	
คนในชุมชนร่วมกันออกแบบ และกำหนดข้อตกลง และปฏิบัติการใช้	
โดยการยอมรับร่วมกันของคนในชุมชน คนในพื้นที่นั้นๆ เช่น ระเบียบ/	
ข้อบังคับการใช้ที่ดินและทรัพยากรหมู่บ้านสมานมิตร ตำบลดอนศิลา	
อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
	 จากปัญหาที่ดินทำกิน ทั้งชุมชนได้ร่วมกันพัฒนาการใช้ประโยชน์	
พื้นที่ทำกินร่วมกัน พื้นที่ “หน้าหมู่” หรือ “โฉนดชุมชน” การจัดการ	
ที่ดินหน้าหมู่ ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสูง กระบวน	
การสร้างจิตสำนึกให้แก่คนทั้งชุมชนให้รักและหวงแหนผืนดินที่หาอยู่หา	
กิน  จึงจำเป็นต้องกำหนดระเบียบ/ข้อบังคับขึ้น  เป็นระเบียบที่ทุกคนมี	
ส่วนร่วมในการกำหนดระเบียบ  เมื่อผู้ใช้เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ เมื่อนำ	
มาปฏิบัติจะไม่เกิดความขัดแย้ง หรือการเรียกร้อง ต่อรองที่ขัดกับความ	
ถูกต้องและระเบียบ/ ข้อบังคับของบ้านสมานมิตร
๓๓
ทำ-ธรรมนูญ
	 ธรรมนูญระดับตำบล : เป็นธรรมนูญที่ขยับจากระดับชุมชน	
เป็นระดับท้องถิ่น/ ตำบล โดยเริ่มจากฐานปัญหาของแต่ละชุมชน เกิด	
การขยับรวมกันในภาพของปัญหาทั้งตำบล   นำไปสู่การออกแบบกำหนด	
ข้อตกลง และปฏิบัติการใช้ โดยการยอมรับร่วมกันของคนในตำบลนั้นๆ	
เช่น     ธรรมนูญประชาชนกฎระเบียบตำบลบัวใหญ่     อำเภอนาน้อย   จังหวัด	
น่าน
	 แผนชุมชนเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทุกคนในตำบลมาร่วมกัน	
คิด เป็นเวทีชวนคิด ชวนคุย กระตุ้นด้วยคำถามเพื่อการแก้ปัญหา การ	
ดูแลทุกข์สุขร่วมกัน ข้อมูลที่เก็บได้ต้องนำมาจัดระบบ แบ่งเป็นหมวด	
หมู่ ได้แก่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม	
การศึกษา สาธารณสุข เศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การเมืองการ	
ปกครองและองค์กรชุมชนและวิเคราะห์จุดแข็งของทุนชุมชน    เช่น   ทุนคน	
ทุนทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ทุนวัฒนธรรมภูมิปัญญา ทุนภาคี เป็นต้น   	
โดยมีสภาองค์กรชุมชนเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนงานของ	
ประชาชนในตำบลในทุกด้านเกิดการวางแผนพัฒนาสังคม   เศรษฐกิจและ	
ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมตำบลบัวใหญ่ในช่วงสิบปีข้างหน้าของคนบัวใหญ่
	 กฎระเบียบตำบลบัวใหญ่ ข้อห้ามที่เกิดจากเวทีระดมปัญหา หา	
ทางป้องกัน และเสนอบทลงโทษ ข้อห้ามเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติ	
สุขของคนในชุมชน และการวางแผนอนาคตเพื่อให้คนรุ่นหลัง มี-ใช้-	
รักษา-ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓๔
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
	 ธรรมนูญระดับภูมินิเวศ : เป็นธรรมนูญที่เชื่อมโยงภาพปัญหา	
กว้างมากขึ้น เป็นการเชื่อมในพื้นที่ที่ใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน	
มองเห็นภาพปัญหาที่เชื่อมโยงส่งผลต่อกันและกันจนเกิดการขยับเชื่อม	
ในระดับภูมิเวศ เพื่อออกแบบ กำหนดข้อบังคับ และปฏิบัติใช้โดยการ	
ยอมรับของชุมชนในภูมินิเวศนั้นๆ เช่น ธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี จังหวัด	
สงขลา
	 กระบวนการจัดทำลุ่มน้ำภูมีนั้น มีผู้แทนจากทุกภาคส่วน ได้แก่	
กลุ่มองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ สถาบันการศึกษา	
วัด มัสยิด ประชาชน บริษัท/โรงงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรวม	
ถึงภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับทรัพยากรในพื้นที่ลุ่มน้ำ	
รัตภูมี จัดเวทีระดมความคิดเห็นในการยกร่างธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี โดย	
มีเป้าหมายสุขภาวะที่ดีของชุมชนคนลุ่มน้ำภูมี  เมื่อได้ร่างธรรมนูญลุ่ม	
น้ำภูมีแล้วได้จัดเวทีประชาพิจารณ์ผู้เข้าร่วมเวทีมาจากตัวแทนทุกภาค	
ส่วน องค์กรในพื้นที่ องค์กรภาคีสนับสนุน ในพื้นที่ตลอดลุ่มน้ำ  เมื่อปรับ	
แก้ไขตามข้อเสนอจากเวทีประชาพิจารณ์ จึงนำกลับมาเสนอในเวที	
สาธารณะอีกครั้ง เพื่อลงฉันทามติในการรับร่างธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี และ	
ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
๓๕
ทำ-ธรรมนูญ
๓๖
	 ธรรมนูญระดับจังหวัด:เป็นธรรมนูญที่เคลื่อนในภาพใหญ่เป็น	
การขยับจากฐานชุมชนหลายชุมชน หลายตำบล หลายอำเภอจนครอบ	
คลุมทั้งจังหวัด เกิดการร่วมกันออกแบบ กำหนดข้อบังคับและปฏิบัติ	
การใช้ในพื้นที่ทั้งจังหวัดโดยการยอมรับร่วมกันของคนในจังหวัดนั้นๆ	
รวมทั้งเกิดการเชื่อมร้อยการทำงานร่วมกับราชการส่วนจังหวัดนำมาสู่	
การขับเคลื่อนในระดับแผนยุทธศาสตร์จังหวัด เช่น ธรรมนูญภาค	
ประชาชน ฅนอำนาจเจริญ  จังหวัดอำนาจเจริญ
	 คนอำนาจเจริญ มีต้นทุนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมายาวนาน มี	
เครื่องมือสำคัญ เช่น แผนแม่บทชุมชน สภาองค์กรชุมชน ที่ช่วยให้เกิด	
กระบวนการพัฒนาอย่างมีระบบ ขณะเดียวกัน สภาองค์กรชุมชนมี	
บทบาทในการเชื่อมร้อยขบวนและขับเคลื่อนงาน เกิดการบูรณาการ	
แผนงานและงบประมาณร่วมกับภาคีท้องถิ่น จากต้นทุนที่สะสมมานาน	
ทำให้กระบวนการพัฒนาเติบโตขึ้น มีความเข้มแข็งทุกระดับ จึงได้ร่วม	
กันจัดทำธรรมนูญประชาชน ฅนอำนาจเจริญ  จนเกิดการยกระดับการ	
ทำงานพัฒนาชุมชนขึ้นมาเป็นโครงข่ายและการมีส่วนร่วมในรูป
“จังหวัดจัดการตนเอง”เพื่อขับเคลื่อนขยายผลสร้างการเรียนรู้ในมิติ	
ท้องถิ่นระดับจังหวัด ด้วยมุ่งหวังว่ากลไกจังหวัดจัดการตนเองนี้จะก่อ	
ให้เกิดการทำงานพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม บูรณาการทุกประเด็น	
ทุกต้นทุน ทุกศักยภาพในพื้นที่จังหวัด เพื่อนำไปสู่เป้าหมายหลัก คือ	
การจัดการตนเองตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับจังหวัด โดยประชาชน	
ในจังหวัดสามารถกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์การทำงานของจังหวัด	
อย่างมีส่วนร่วมโดยมีกระบวนการผลักดันให้รัฐกระจายอำนาจและ	
สิทธิในการจัดการจังหวัดของตนเอง
	 ธรรมนูญประชาชน ฅนอำนาจเจริญ เป็นแนวทางการกำหนด	
แผนพัฒนา มีเป้าหมายสู่ความอยู่ดีมีสุข
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
จากการถอดบทเรียนพบว่า
	 : ธรรมนูญประชาชน มีด้วยกันหลายระดับ หลายรูป	
แบบหรือโมเดล โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ปัจจัยตามบริบทและความ	
พร้อมของพื้นที่นั้นๆ แม้ธรรมนูญจะมีหลายระดับที่มีความแตก
ต่างกันในสาระภายในธรรมนูญนั้นๆ หากแต่วิธีการขึ้นรูป หรือก่อ
ร่างลงมือทำธรรมนูญนั้นมีองค์ประกอบกระบวนการและขั้นตอน
ที่มีจุดร่วมไม่ต่างกัน
	 : ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเขียนธรรมนูญนั้น เกิดจาก	
	 ๑.ปัญหาในชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อน	
ทั้งชุมชนหรืออาจส่งผลกระทบต่อชุมชนข้างเคียงด้วยมีการแก้ไข	
ปัญหาด้วยเครื่องมือต่างๆ มาแล้ว จนในที่สุดต้องมากำหนดข้อ	
ตกลงการใช้ชีวิตร่วมกันของชุมชน
	 ๒.ความพร้อมของคนในชุมชน เป็นชุมชนที่มีต้นทุนการ	
ทำงานมานาน เกิดการยกระดับการทำงานพัฒนาไปสู่ชุมชนจัด	
การตนเอง
	
	 เป้าหมายของการทำธรรมนูญ คือ ต้องการให้
ชุมชนเกิดความอยู่ดีมีสุข
“
”
๓๗
ทำ-ธรรมนูญ
คนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการทำธรรมนูญ ดังนั้น
ต้องเริ่มต้นจากการสำรวจตรวจตราตนเอง ...พื้นที่ที่จะร่วม
กันทำธรรมนูญนั้นควรจะต้องมีคนที่มีความเป็นพลเมืองเพื่อ
เป็นคณะทำงานหรือคณะกรรมการที่ขับเคลื่อนขยายผล
แนวคิดนี้ต่อชุมชน
	 “ความเป็นประชากรมีได้นับตั้งแต่เกิดจนตาย
	 แต่ความเป็นพลเมืองเกิดขึ้นโดยสำนึก
	 และการมีส่วนร่วม”
คน คือ องค์ประกอบที่สำคัญ
ในการขับเคลื่อน
	 สิ่งสำคัญที่พลเมืองควรจะต้องมี คือ
	 ๑.“สำนึกความเป็นพลเมือง”การรับรู้ในสิทธิหน้าที่ของตนเอง	
ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคม และต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ไข	
ปัญหาของสังคม มองที่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน	
เมื่อประชาชนมีสำนึกพลเมืองจะนำมาสู่การรวมตัวกันเพื่อจัดการ	
ปัญหาของชุมชน หรือปัญหาในประเด็นต่างๆ ที่เผชิญร่วมกัน (เธียรชัย	
ณ นคร และคณะ, ประชาธิปไตยชุมชน : กลไกการขับเคลื่อนภาค
พลเมืองเข้มแข็ง, กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง ๒๕๕๓)
๓๘
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
	 ๒.“ความรู้”   ความรู้ที่ทำให้คนเข้าใจเรื่องราวของตนเอง มี	
ความรู้ในเรื่องของตนเองเห็นปัญหาตนเองเห็นสิทธิของตนเองเพื่อจะ	
นำไปสู่การตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วม
	 ๓.“ปฏิบัติการ” คนที่มีจิตสำนึกพลเมือง มีความรู้ความเข้าใจ	
และตื่นตัว จะเข้ามามีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆ	
และจะเป็นฐานพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาของชุมชน	
และสามารถขยายแนวคิดไปสู่ผู้อื่นได้
๓๙
ทำ-ธรรมนูญ
ปฏิบัติการสู่การเขียนธรรมนูญประชาชน
ทำงานสร้างมิตร ขยับเพื่อสร้างสมดุล
	 การทำธรรมนูญประชาชนเกิดขึ้นจากฐานชุมชน และต้องเชื่อม	
ประสานภาคีให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนจัดทำ	
ธรรมนูญประชาชน
	 จัดความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนร่วมทาง มิตรร่วมบ้าน ผสาน	
ความรู้ และเติมทุนซึ่งกันและกัน เพราะการทำธรรมนูญประชาชนไม่ใช่	
การโตเดี่ยวเนื่องด้วยสาระต่างๆที่ประกอบร่างเป็นธรรมนูญประชาชน	
นั้นมีด้วยกันหลากหลายประเด็น หลากหลายผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มี	
ส่วนได้ส่วนเสีย
	 รวบรวมปัญหา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน จัดระบบข้อมูล  	
เชื่อมร้อยภาคีส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ	
วิเคราะห์ข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปสู่การยกร่างธรรมนูญ	
ประชาชนร่วมกัน
๔๐
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
วงน้ำชา วงกาแฟ เวทีประชุม
	 จัดวงพูดคุยกันต่อเนื่อง ทั้งวงคุยอย่างไม่เป็นทางการ เช่น วง	
น้ำชาวงกาแฟคุยกันตามงานบุญงานประเพณีหรืองานสังคมอื่นๆเช่น	
งานศพ งานแต่งงาน เป็นต้น และวงคุยอย่างเป็นทางการตามวาระ เช่น	
เวทีประชาคมหมู่บ้าน เวทีประชุมของกลุ่มกิจกรรม กลุ่มองค์กรต่างๆ	
ของชุมชน เช่น เวทีประชุมของสภาองค์กรชุมชน
	 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่เรียนรู้ธรรมนูญประชาชน     เพื่อเปิดรับ	
มุมมอง แนวคิด ความรู้ที่หลากหลาย สร้างแรงบันดาลใจจากพื้นที่	
รูปธรรมที่เข้มแข็ง และยังเป็นการขยายมิตร สร้างเพื่อนร่วมทาง
	 ภาคีที่มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำธรรมนูญ
ขอให้พิจารณาจากฐานต้นทุนของชุมชนเป็นหลัก    เพราะ
แต่ละพื้นที่มีบริบท มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน หน่วยงาน
และภาคีที่เข้าร่วมกระบวนการอาจต่างกัน ภาคีเหล่านี้
ประกอบด้วย ภาคีภายใน เช่น ตัวแทนกลุ่ม/องค์กร/
เครือข่าย    สภาองค์กรชุมชน   ตัวแทนโรงเรียน    วัด    มัสยิด
โบสถ์ ตัวแทนส่วนราชการ หน่วยงาน ท้องที่ ท้องถิ่น
ผู้ประกอบการเอกชน เป็นต้น และภาคีภายนอกพื้นที่
เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา เป็นต้น
“
”
๔๑
ทำ-ธรรมนูญ
แกนนำก่อการดี
	 แกนนำในการก่อการทำธรรมนูญนี้ทำหน้าที่ในการบริหาร	
จัดการและสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และการร่วมแก้ไขปัญหา	
อีกทั้งยังต้องเป็นกลไกในการทำหน้าที่เชื่อมร้อย   ประสานภาคีเครือข่าย	
ความสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เชื่อมทุน เชื่อมโอกาส เชื่อม	
ความรู้ โดยอาจแยกเป็นทีมทำงาน ดังนี้
	 	 ทีมที่หนึ่ง ทีมยุทธศาสตร์ คุณสมบัติคือมองภาพรวม	
งานของพื้นที่ เพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อน รวมทั้งทำหน้าที่ในการ	
ประสานภาคีภาครัฐ ท้องถิ่น ท้องที่ และประสานหน่วยงานภาคี	
ภายนอก
	 	 ทีมที่สอง ทีมประสาน เชื่อมโยงขบวนองค์กรชุมชน	
สภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด ใช้สภาองค์กรชุมชนและงานประเด็น	
เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนยกระดับการทำงาน
	 	 ทีมที่สาม ทีมปฏิบัติการในพื้นที่ตำบล ทำงานเพื่อ	
สร้างการเรียนรู้อย่างจริงจังเข้มข้นในพื้นที่สร้างความรู้สร้างสำนึกให้	
กับคนในชุมชน
การพูดคุยกันบ่อยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ระหว่างกันอันเป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการปรับทัศนคติ
สร้างความรู้ความเข้าใจใหม่ที่จะโยงไปถึงการสร้าง
สำนึกร่วมกันของความเป็นชุมชนขึ้นมาด้วย
“
”
๔๒
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
การจัดการความสัมพันธ์กับภาคีต่างๆ ในท้องถิ่น
	 สร้างความร่วมมือกับภาคีต่างๆ ในท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงาน	
รัฐ เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ภาคีในการที่ประชาชนจะเขียน	
ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง ตามสิทธิอันชอบธรรมตามรัฐ	
ธรรมนูญ
	 การจัดการความสัมพันธ์กับภาคีต่างๆ ทั้งการเชื่อมร้อยกับภาคี	
อื่นๆ ในท้องถิ่น และการประสานงานกับราชการส่วนจังหวัด โดยสิ่ง	
สำคัญที่จะทำให้เกิดการประสานกันได้ง่ายขึ้นนั้น อาศัยองค์ประกอบ ๒	
ส่วน คือ
	 องค์ประกอบที่หนึ่ง คือ รูปธรรมการทำงาน ที่เห็นได้
จริง พิสูจน์ได้
	 องค์ประกอบที่สอง คือ ลักษณะท่าทีของคนทำงาน
ที่ประนีประนอม ใช้คนให้เหมาะสมกับศักยภาพและลักษณะ
งาน
๔๓
ทำ-ธรรมนูญ
สิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือการจัดความสัมพันธ์ของ
ชุมชนกับภาคีส่วนต่างๆ ว่าอยู่ในระดับใด มีความ
ร่วมมือระดับใด   เช่น      การจัดทำแผนร่วมกันการจัดทำ
ข้อบัญญัติตำบล การพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ชุมชน ฉะนั้น
ในการพัฒนาชุมชนไปสู่ชุมชนจัดการตนเองนั้น จะ
ต้องวิเคราะห์ให้เห็นปัจจัยภายในและภายนอกตัวชี้
วัดที่สำคัญคือความเข้มแข็งของชุมชนที่จะเป็นพลัง
ในการขับเคลื่อนงานทุกๆ ด้าน
“
”
๔๔
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
เขียนธรรมนูญ
	 ร่วมกำหนดร่วมออกแบบและยกร่างหลังจากได้ข้อมูลเห็น	
สภาพปัญหา     จึงร่วมกันออกแบบวิธีการ      แนวทางในการจัดการกับปัญหา	
นั้นๆ กำหนดเป็นธรรมนูญที่เป็นของตนเอง “คิดเอง เขียนเอง ทำเอง”
เพื่อสร้างข้อตกลงร่วม กำหนดทิศทางการพัฒนาร่วมของคนในพื้นที่
	 องค์ประกอบของธรรมนูญประชาชนควรประกอบด้วย    ๓    กรอบ	
เนื้อหา คือ
	 ๑.ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยหมวดพื้นฐาน ปรัชญา แนวคิด
สภาพทั่วไปของชุมชน
	 ๒.เนื้อหาของธรรมนูญประชาชน  ประกอบด้วยเรื่องสังคมการ	
เมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ  แบ่งเป็น	
หมวดหมู่ และมีรายละเอียดที่ชัดเจนในแต่ละหมวด โดยแต่ละเรื่องควร	
ประกอบไปด้วยหลักการของประเด็นนั้นๆเป้าหมายที่จะทำร่วมกันและ	
มาตราการรวมถึงข้อตกลงและกติกา
	 ๓.บทเฉพาะกาล ประกอบด้วย เรื่องบทลงโทษต่อสิ่งที่จะมา	
กระทบต่อชุมชนให้ปรากฎอย่างชัดเจน เพราะการเขียนระบุบทลงโทษ	
จะใช้อ้างอิงได้เมื่อเกิดกรณีปัญหาหรือการละเมิดเกิดขึ้นรวมทั้งเงื่อนไข	
ในการแก้ไขธรรมนูญว่าสามารถดำเนินการได้อย่างไร
	 จัดเวทีประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นรอบด้าน ฟังทุก	
เสียงสะท้อนเพื่อนำมาปรับแก้หรือทำให้คนในพื้นที่ยอมรับร่วมกันได้
	 ประกาศใช้เป็นการประกาศใช้ธรรมนูญประชาชนต่อพื้นที่	
สาธารณะเพื่อยืนยันสิทธิตามธรรมนูญและยืนยันเจตนารมณ์ของ	
ประชาชน
	 ปฏิบัติการใช้ธรรมนูญประชาชนในพื้นที่  นำธรรมนูญประชาชน	
ที่ประกาศใช้มาปฏิบัติจริง มีมาตรการในการจัดการเมื่อเกิดการละเมิด	
ธรรมนูญประชาชนเพื่อให้ธรรมนูญประชาชนมีความศักดิ์สิทธิ์
๔๕
ทำ-ธรรมนูญ
สิ่งพึงระลึกในการเขียนธรรมนูญ
	 ต้องประสานและผนึกกำลังที่หลากหลายการเขียนธรรมนูญ	
ประชาชนนั้นเป็นกระบวนการซึ่งต้องผสานและผนึกพลังที่หลาก	
หลาย ได้แก่
	 ๑. พลังชุมชน : สร้างความเข้มแข็งสภาองค์กรชุมชน
	 ๒. พลังทางสังคม : ภาคีร่วมพัฒนา-สานพลัง
	 ๓. พลังความรู้ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ-การจัดการ
	    ความรู้ 	
	 ๔. พลังภูมิปัญญาท้องถิ่น : องค์ความรู้ท้องถิ่น ข้อมูล
	    ชุมชน
	 ๕. พลังสื่อ : สื่อสารสาธารณะ-สื่อท้องถิ่น เช่น วิทยุชุมชน
	    หนังสือพิมพ์ เอกสารเผยแพร่ เวทีเสวนาผ่านวิทยุ เป็นต้น
	 อย่ายึดติดภาษาราชการ ภาษาวิชาการ ควรเป็นภาษาที่	
ชาวบ้านอ่านแล้วเข้าใจ และปฏิบัติตามได้
	 ต้องมีความชัดเจนว่าเนื้อหาสาระของประเด็นในธรรมนูญ
ประชาชนนั้นมีเป้าหมายเพื่ออะไร และไปสัมพันธ์กับปรัชญา หลัก
คิด หรือมีมาตราใดในกฎหมายรองรับ
	 บทเฉพาะกาล ประกอบด้วยเรื่องการแก้ไขธรรมนูญประชาชน	
ที่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาการแก้ไข วิธีการแก้ไข การเปลี่ยนแปลง	
ของคณะกรรมการ/ ผู้ที่จะดำเนินงานการแก้ไข และการประกาศใช้	
เมื่อใด  
๔๖
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
สู่อิสรภาพ
๕.
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
การทำธรรมนูญประชาชนนั้น สิ่งสำคัญคือการที่คนลุก
ขึ้นมาเคลื่อนไหวพร้อมกัน      ธรรมนูญประชาชนไม่ใช่เรื่อง
ของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่องของจิตสำนึกของความ
เป็นพลเมืองที่ตระหนักถึงส่วนรวมการเขียน“ธรรมนูญ”
ที่เป็นของตนเอง “คิดเอง เขียนเอง ทำเอง” สร้าง
ข้อตกลงร่วม กำหนดทิศทางการพัฒนาร่วมของคนใน
พื้นที่ เป็นการสร้างการยอมรับและระเบิดออกมาจาก
ภายใน  พัฒนาระบบประชาธิปไตยชุมชนให้เป็นจริง
	 ...สร้างสำนึกใหม่ให้เกิดขึ้นในชุมชนได้เมื่อไหร่
ความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นเมื่อนั้น
“
”
๔๙
ทำ-ธรรมนูญ
	 พลังของความเปลี่ยนแปลงเล็กๆที่เกิดขึ้นจากฐานชุมชนท้องถิ่น	
เป็นฐานพลังที่สำคัญอย่างมาก เมื่อหลายๆ พลังเล็กๆ รวมตัวกันย่อม	
กลายเป็นมวลพลังที่ใหญ่ขึ้นหลายชุมชนรวมตัวกันเกิดภาพระดับตำบล	
จากตำบลหลายๆ ตำบลรวมกัน เป็นอำเภอ และขยับสู่การเคลื่อนใน	
ระดับจังหวัดในที่สุด และเมื่อเคลื่อนถึงระดับจังหวัดเมื่อใด พลังของคน	
แต่ละคนนั้นย่อมเป็นพลังที่ย่อมจะส่งผลสะเทือนให้เกิดขึ้นได้
	 การตื่นตัว การเคลื่อนไหวของประชาชนกับเครื่องมือใหม่อย่าง	
ธรรมนูญประชาชน หากมีการเคลื่อนส่งต่อไม้กันได้อย่างต่อเนื่องและ	
ยกระดับขึ้นไปๆ  ย่อมส่งผลสะเทือนต่อการรับรู้ของผู้คนในสังคมด้วย	
กันเอง เห็นความตื่นตัวของประชาชนเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และ	
สะเทือนต่อหน่วยงานราชการภาครัฐที่ทำให้รัฐต้องหันกลับมาคำนึงถึง	
พลังของพลเมืองของตนมากขึ้น เกิดการรับฟังและเปิดพื้นที่ให้ในการ	
ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาจังหวัด สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทาง	
โครงสร้างอำนาจ เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นและภาคประชาสังคมมีสิทธิและ	
ศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับภาครัฐ
๕๐
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
               อย่าละเลย พลังของตนเอง
เพราะแม้ว่าเราจะเป็นเพียงหยดน้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทร
      แต่มหาสมุทรก็เกิดได้เพราะหยดน้ำ...ไม่ใช่หรือ
“
”
๕๑
ทำ-ธรรมนูญ
	
	
	 หากถามว่า “ทำแล้วจะได้อะไร?”
	 “มีธรรมนูญแล้ว จะนำพาชีวิตเรา ชีวิตครอบครัว
	 เราเดินไปบนเส้นทางไหน?”
	 คำตอบอย่างง่ายที่สุด คือ
	 ๑. “สร้างคน ได้พลเมือง” : กระบวนการในการขับเคลื่อน	
ทำธรรมนูญ ใช่เพียงจะได้ผลลัพธ์เป็นธรรมนูญหรือเครื่องมือในการใช้	
ปฏิบัติร่วมกันในพื้นที่แล้ว แต่กระบวนการตั้งแต่การก่อเกิดยังพัฒนา	
สร้างพลเมืองอีกด้วย คนที่มีความตื่นตัว มีความรู้ความเข้าใจ และ	
ตระหนักถึงพลัง อำนาจของตนเอง อีกทั้งยังเป็นคนที่มีส่วนร่วมสูง คน	
ที่ก้าวข้ามความเป็นประชากรเป็นคนที่มีความพลเมือง อันจะเป็นฐาน	
พลังสำคัญในการพัฒนาถิ่นเกิดและสังคมต่อไป
	
	 ๒. “จับต้อง กินได้” : เราสามารถจับต้อง รับรู้ถึงการมีอยู่ของ	
อำนาจของเรา อันเป็นอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้แก่ประชาชน	
ได้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมจริงๆ ไม่ใช่เพียงอำนาจบนหิ้งหรือ	
อำนาจที่จบลงที่คูหาเลือกตั้งเพียงเท่านั้น
๕๒
ธรรมนูญ...ให้อะไร
:ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
	 ๓. “แก้ปัญหาได้” : ธรรมนูญประชาชนเป็นเครื่องมือในการ	
จัดการตนเองในระดับพื้นที่ได้ ธรรมนูญประชาชนเกิดจากฐานปัญหาที่	
ชาวบ้านมาร่วมกันหาทางออกร่วมกัน   สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน สรุป	
บทเรียนและยกระดับด้วยการเขียนธรรมนูญประชาชน เพื่อกำหนด	
กติกาการอยู่ร่วมกัน
	
	 ๔.“อยู่เย็นเป็นสุขได้”:เมื่อคนในชุมชนมีสำนึกร่วมกัน  รู้สึกถึง	
ความเป็นเจ้าของร่วมกัน เห็นคุณค่าของความเป็นพี่เป็นน้องเป็นชุมชน	
ร่วมกัน สังคมที่เคยต่างคนต่างอยู่ ต่างคิด ต่างทำ ก็ย่อมเปลี่ยนแปลง	
เป็นสังคมของการมีส่วนร่วม สังคมของการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่	
จัดการความขัดแย้งด้วยความเป็นพี่น้องเครือญาติ
๕๓
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง

Weitere ähnliche Inhalte

Was ist angesagt?

เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptpronprom11
 
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทยสถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทยPadvee Academy
 
Ptt อาณาจักรสูโขทัย
Ptt อาณาจักรสูโขทัยPtt อาณาจักรสูโขทัย
Ptt อาณาจักรสูโขทัยYim Wiphawan
 
อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันอารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันPannaray Kaewmarueang
 
วิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้าวิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้าNodChaa
 
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยPannatut Pakphichai
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัยการเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัยKamonchanok VrTen Poppy
 
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง247515การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475JulPcc CR
 
สรุปงานการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน (ล่าสุด)
สรุปงานการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน (ล่าสุด)สรุปงานการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน (ล่าสุด)
สรุปงานการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน (ล่าสุด)ปิยนันท์ ราชธานี
 
งานภาษาไทย (อนุสรา)
งานภาษาไทย (อนุสรา)งานภาษาไทย (อนุสรา)
งานภาษาไทย (อนุสรา)Chutima Tongnork
 
กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้montira
 
19ประชาคมอาเซียนมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเรา
19ประชาคมอาเซียนมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเรา19ประชาคมอาเซียนมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเรา
19ประชาคมอาเซียนมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเราพัน พัน
 
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 1 ป.6
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 1 ป.6หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 1 ป.6
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 1 ป.6sompriaw aums
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยPaew Tongpanya
 
Heritage Trust กับการพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลา
Heritage Trust กับการพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลาHeritage Trust กับการพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลา
Heritage Trust กับการพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลาFURD_RSU
 
แนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยมแนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยมGolfzie Loliconer
 
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยาใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยาPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
ดนตรีไทยสมัยสุโขทัย
ดนตรีไทยสมัยสุโขทัยดนตรีไทยสมัยสุโขทัย
ดนตรีไทยสมัยสุโขทัยPitchyJelly Matee
 

Was ist angesagt? (20)

เศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPptเศรษฐกิจพอเพียงPpt
เศรษฐกิจพอเพียงPpt
 
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทยสถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย
 
Ptt อาณาจักรสูโขทัย
Ptt อาณาจักรสูโขทัยPtt อาณาจักรสูโขทัย
Ptt อาณาจักรสูโขทัย
 
อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันอารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมัน
 
วิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้าวิจัยด้านโรคซึมเศร้า
วิจัยด้านโรคซึมเศร้า
 
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัยการเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
การเมืองการปกครองอาณาจักรสุโขทัย
 
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง247515การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
 
สรุปงานการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน (ล่าสุด)
สรุปงานการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน (ล่าสุด)สรุปงานการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน (ล่าสุด)
สรุปงานการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าลำพูน (ล่าสุด)
 
งานภาษาไทย (อนุสรา)
งานภาษาไทย (อนุสรา)งานภาษาไทย (อนุสรา)
งานภาษาไทย (อนุสรา)
 
กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้
 
19ประชาคมอาเซียนมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเรา
19ประชาคมอาเซียนมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเรา19ประชาคมอาเซียนมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเรา
19ประชาคมอาเซียนมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเรา
 
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 1 ป.6
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 1 ป.6หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 1 ป.6
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา หน่วยที่ 1 ป.6
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
 
Heritage Trust กับการพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลา
Heritage Trust กับการพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลาHeritage Trust กับการพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลา
Heritage Trust กับการพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลา
 
แนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยมแนวคิดเสรีนิยม
แนวคิดเสรีนิยม
 
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยาใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
 
หน่วย 3
หน่วย 3 หน่วย 3
หน่วย 3
 
ดนตรีไทยสมัยสุโขทัย
ดนตรีไทยสมัยสุโขทัยดนตรีไทยสมัยสุโขทัย
ดนตรีไทยสมัยสุโขทัย
 

Ähnlich wie ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง

อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกKlangpanya
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสารwasamon2531
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสารmontiya2530
 
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตรคู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตรDental Faculty,Phayao University.
 
อาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดิน
อาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดินอาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดิน
อาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดินNiran Kultanan
 
รวมคู่มือ
รวมคู่มือรวมคู่มือ
รวมคู่มือboomlonely
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยKlangpanya
 
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมเมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมFURD_RSU
 
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้าบทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้าTeeranan
 
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนงานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1Taraya Srivilas
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานีTaraya Srivilas
 
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”Tum Meng
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Cake WhiteChocolate
 
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้Anchalee BuddhaBucha
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2Pisan Chueachatchai
 

Ähnlich wie ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง (20)

อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
ประวัติศาสตร์ไทย 3
ประวัติศาสตร์ไทย 3ประวัติศาสตร์ไทย 3
ประวัติศาสตร์ไทย 3
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสาร
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสาร
 
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตรคู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
คู่มือ นวัตกรสังคม เนื้อหาหลักสูตร
 
อาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดิน
อาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดินอาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดิน
อาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดิน
 
รวมคู่มือ
รวมคู่มือรวมคู่มือ
รวมคู่มือ
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
355
355355
355
 
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมเมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
 
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้าบทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
บทบาทของกองทัพในทศวรรษหน้า
 
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนงานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานี
 
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”
 
เต็มรูปแบบ
เต็มรูปแบบเต็มรูปแบบ
เต็มรูปแบบ
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
 

Mehr von Tum Meng

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น Tum Meng
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขTum Meng
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan LifeTum Meng
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้Tum Meng
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยTum Meng
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทTum Meng
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)Tum Meng
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)Tum Meng
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้Tum Meng
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนTum Meng
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....Tum Meng
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราTum Meng
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่Tum Meng
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)Tum Meng
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)Tum Meng
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าTum Meng
 

Mehr von Tum Meng (20)

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
 

ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง

  • 1.
  • 3. ·Ó¸ÃÃÁ¹ÙÞ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม ๒๕๕๖ จำนวนพิมพ์ ๕,๐๐๐ เล่ม จัดพิมพ์และเผยแพร่ สำนักงานปฏิรูป (สปร.) ๑๒๖/๑๔๖ ชั้น ๔ อาคาร ๑๐ ชั้น สถาบันบำราศนราดูร ซอยติวานนท์ ๑๔ ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร ๐๒-๙๖๕ ๙๕๓๑-๓ โทรสาร ๐๒-๙๖๕ ๙๕๓๔ www.reform.or.th เรียบเรียง สลิลทิพย์ เชียงทอง และ อินทิรา วิทยสมบูรณ์ บรรณาธิการ ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ กองบรรณาธิการ พรรณทิพย์ เพชรมาก, จันทนา เบญจทรัพย์, สิริกร เค้าภูไทย ที่ปรึกษา ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, ศ.ดร.สุริชัย หวันแก้ว, รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ, ผศ.ทศพล สมพงษ์ ไพสิฐ พาณิชยกุล, สน รูปสูง, โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ แก้ว สังข์ชู, สมสุข บุญญะบัญชา, กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร, บำรุง คะโยธา, ภาณุวุธ บูระ, ชาติวัฒน์ ร่วมสุข, ฑิฆัมพร กองสอน รูปเล่มและหน้าปก อินทิรา วิทยสมบูรณ์ ภาพประกอบ ฑีฆทัศน์ สุวรรณเครือ พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล๊อก ร่วมขับเคลื่อนโดย คณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น “ธรรมนูญภาคประชาชน”   สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานปฏิรูป (สปร.)
  • 4. คำนำ เมื่อชุมชนท้องถิ่นลุกขึ้นมาเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใน ชุมชนด้วยตนเอง แทนการพึ่งพารัฐ เปลี่ยนสถานะจากผู้รอรับ เป็นผู้จัด การและลงมือปฏิบัติด้วยจิตสำนึกของความเป็นพลเมือง ตระหนักและ เข้าใจในสิทธิและอำนาจที่แท้จริงที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญ ขณะที่รัฐปรับ บทบาทเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริม แทนการสั่งการ ทำให้และควบคุม หลากหลายเครื่องมือ -- แผนแม่บทชุมชน แผนชีวิตสาธารณะ การฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นสภาองค์กรชุมชนฯลฯ เหล่านี้ได้สร้างและพัฒนา แกนนำคนรุ่นใหม่ให้เกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติ การค้นหาวิเคราะห์ ปัญหา พัฒนาแผนกิจกรรม/โครงการ ดำเนินการขับเคลื่อน/เชื่อมโยง สรุปบทเรียน จัดการความรู้ ขับเคลื่อน ยกระดับประเด็นงาน กระบวน การเหล่านี้เป็นวงล้อวัฏจักรของขบวนการพัฒนาองค์กรชุมชน เมื่อ องค์กรชุมชนสามารถดำเนินการและแก้ปัญหาในชุมชนได้สำเร็จสร้าง ความเชื่อมั่น เห็นคุณค่าและเรียกศักดิ์ศรีของตนเองกลับคืนมา เกิดการ ขยายผลเชื่อมโยงทำให้เกิดพลังภาคีของชุมชนจัดการตนเอง อำนาจ ของการจัดการตนเองนั้นมีเครื่องมือสำคัญคือธรรมนูญประชาชน การเขียนธรรมนูญนั้นเพื่อนำสิทธิ อำนาจของประชาชนที่ปรากฎอยู่ใน รัฐธรรมนูญนั้นออกมาปฏิบัติโดยความเห็นชอบของทุกฝ่ายในชุมชน ท้องถิ่น หรือจังหวัด กระบวนการแต่ละขั้นตอนเป็นสิ่งไปเสริมสร้าง ประชาธิปไตยชุมชน ประชาธิปไตยที่กินได้ แก้ปัญหาได้ และสร้างความ อยู่เย็นเป็นสุขได้จริง
  • 5. “ทำ – ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการ ตนเอง” จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือให้กลุ่มองค์กรชุมชนที่มีความพร้อม ในการเขียนธรรมนูญฉบับประชาชน ซึ่งคู่มือฉบับนี้จะเป็นคู่มือให้เห็น แนวคิดสำคัญและกระบวนการเขียนธรรมนูญ ด้วยการถอดบทเรียน จากพื้นที่ชุมชนที่ได้จัดทำธรรมนูญมาแล้ว คู่มือเล่มนี้เป็นการจัดทำ ครั้งแรก ฉะนั้นเนื้อหาอาจยังไม่สมบูรณ์ครบถ้วน แต่เมื่อท่านได้นำไปใช้ ก็จะเกิดการถอดบทเรียนอีกครั้ง ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงเนื้อหาให้ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เชื่อมั่นและศรัทธา สำนักงานปฏิรูป (สปร.) และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พฤษภาคม ๒๕๕๖
  • 6. สารบัญ คำนำ ๓ บทนำ ๗ ๑ ปลดพันธนาการสู่อิสรภาพ ๙ ๒ ทำความเข้าใจอำนาจที่แท้จริง ๑๕ ๓ สิทธิที่ต้องใช้ ๒๓ ๔ ปฏิบัติการทางปัญญาสู่ธรรมนูญประชาชน ๒๙ ๕ สู่อิสรภาพ ๔๗ ข้อแนะนำ ๕๖ ข้อแตกต่างระหว่างข้อบัญญัติท้องถิ่นกับ ๕๗ ธรรมนูญประชาชน รายชื่อพื้นที่เรียนรู้ ๕๙ บรรณานุกรม ๖๒
  • 7.
  • 8. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง บทนำ ในช่วง ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา กระบวนการทำงานขององค์กร ชุมชนมีการสร้างสรรค์ พัฒนา ยกระดับความเข้มข้นโดยลำดับ นับตั้งแต่ชุมชนพึ่งตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง มาถึงการฟื้นฟูชุมชน ท้องถิ่น แผนแม่บทชุมชน ประชาธิปไตยชุมชนในรูปของสภา องค์กรชุมชน พัฒนาสู่ธรรมนูญชุมชน ธรรมนูญลุ่มน้ำ ธรรมนูญ ประชาชนในระดับจังหวัด กระบวนการ “ธรรมนูญประชาชน” สะท้อนการเข้าถึงสิทธิ อำนาจ ประชาธิปไตยของชุมชนท้องถิ่น ที่มิได้มองรัฐเป็นศูนย์กลาง แบบเก่า แต่มองชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแต่ละชุมชนมีต้นทุนทาง ประวัติศาสตร์ วิถีวัฒนธรรม ความเชื่อ องค์ความรู้ภูมิปัญญา มีระบบ นิเวศ ที่มากมายและมีความแตกต่างหลากหลาย กระบวนการลุกขึ้นมา สร้างกติกาข้อตกลงในการจัดความสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกันในชุมชนการ จัดความสัมพันธ์กับทุนและรัฐ ตลอดจนแนวนโยบาย ยุทธศาสตร์การ พัฒนาร่วมกันโดยที่ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดที่เรียกว่า ”ธรรมนูญ”จึง เป็นการปฏิบัติการของสิทธิและอำนาจของชุมชนโดยตรง การสร้างอำนาจขององค์กรชุมชนจากฐานรากนั้น เริ่มจากการ จัดการตนเองจากเรื่องเล็กๆ พัฒนามาสู่การทำกิจกรรมแก้ปัญหาชุมชน เป็นประเด็น การจัดทำแผนแม่บทชุมชนแบบบูรณาการ ซึ่งถือเป็นการ เชื่อมร้อยคนในชุมชนที่จะเริ่มทำแผนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาที่เกิด ขึ้นในชุมชน จนเกิดความเข้มแข็งเรื่อยมา จนสามารถพัฒนาไปสู่การจัด ๗
  • 9. ทำ-ธรรมนูญ ตั้งสภาองค์กรชุมชนซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนาระบอบประชาธิปไตย ชุมชนที่มีกฎหมายรองรับ การพัฒนาและดำเนินการในพื้นที่จนกระทั่ง ตกผลึก จนถึงขั้นชุมชนจัดการตนเองที่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างทาง สังคมบางประการ ได้เกิดการร่วมจัดทำธรรมนูญประชาชน ธรรมนูญ ที่บัญญัติโดยชุมชน และที่สำคัญคือ การนำไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ กระบวนการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องคิดร่วมกัน วางแผนร่วมกัน การ ปฏิบัติการร่วมกัน การสรุปบทเรียนร่วมกัน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ สร้างสรรค์ ฟื้นฟูอำนาจในการจัดการตนเองของชุมชนให้งอกงามขึ้น อย่างต่อเนื่อง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม จากฐากรากอย่างแท้จริงในอนาคต คู่มือธรรมนูญประชาชนเล่มนี้ เป็นการถอดบทเรียนเบื้องต้น จากกระบวนการขับเคลื่อนปฏิบัติการจริงในการทำ ”ธรรมนูญชุมชน” ของขบวนองค์กรชุมชนทั้งระดับตำบล ระดับลุ่มน้ำ ระดับประเด็นและ ระดับจังหวัด ซึ่งมีความน่าสนใจตั้งแต่กระบวนการริเริ่ม การขับเคลื่อน การเรียนรู้ ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคและบทเรียนต่างๆ ที่น่าสนใจ มากมาย หวังว่ากระบวนการสร้างสรรค์ธรรมนูญประชาชนจะเป็น ประโยชน์ในการทำงาน การเข้าถึงสิทธิ และอำนาจของพี่น้ององค์กร ชุมชนที่กำลังขับเคลื่อนงานอยู่ ตลอดจนเอื้อประโยชน์ต่อองค์กร หน่วย งาน ภาคีต่างๆ ที่ทำงานสนับสนุนการทำงานขององค์กรชุมชน คู่มือเล่มนี้ยังไม่สมบูรณ์แบบเป็นก้าวแรกในการบุกเบิกเส้นทาง ของพลังชุมชน หวังว่าในระหว่างการก้าวเดินจะมีองค์ความรู้ บทเรียน ที่ดีๆ อีกมากมายจากพี่น้ององค์กรชุมชนที่นำคู่มือนี้ไปใช้ปฏิบัติการที่จะ มาช่วยกันแต่งเสริมเติมต่อให้คู่มือเล่มนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในอนาคต ๘
  • 11.
  • 12. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง นับตั้งแต่ มีการปฏิรูประบบบริหารราชการในสมัยรัชกาลที่๕ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕ มีการจัดระบบบริหารราชการแผ่นดินไทย แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เกิดการปรับเปลี่ยนระบบราชการ แบ่งแยกย่อยหน่วยทบวง กรม กอง จากส่วนกลางลงสู่ระดับจังหวัด หากแต่อำนาจการ ตัดสินใจก็ยังรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางเป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองแบบ ประชาธิปไตยตัวแทนในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ แต่ประชาธิปไตย ดังกล่าวนั้นก็ยังเป็นประชาธิปไตยระดับชาติ ที่ไม่ได้กระจายอำนาจถึง ระดับท้องถิ่นหรือชุมชนแต่อย่างใด ๑๑ พันธนาการ
  • 13. ทำ-ธรรมนูญ ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ.๒๕๔๐ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตย ระดับท้องถิ่น ให้ความสำคัญต่อการเมืองภาคพลเมือง การให้สิทธิและ กระจายอำนาจการปกครองแก่ท้องถิ่น อีกทั้งยังมี พ.ร.บ.กำหนดแผน และขั้นตอนกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ แม้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพ.ศ.๒๕๔๐ จะถูก ยกเลิกไป แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๐ ก็ได้สนับสนุน และรับรองสิทธิของภาคประชาชนในการจัดการตนเองในส่วนต่างๆ ของ รัฐธรรมนูญเพิ่มเติมขึ้น ระยะเวลาที่ล่วงเลยมากว่า ๘๐ ปีของการมีประชาธิปไตย แต่ สิทธิและอำนาจของชุมชนท้องถิ่นในการเข้าไปมีส่วนร่วมบริหารจัดการ ท้องถิ่นก็ยังเกิดน้อยมาก รัฐยังคงรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ทั้งยัง ผูกขาดและกำกับดูแลส่วนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิดโดยผ่านกลไกราชการ ส่วนภูมิภาค ภายใต้โครงสร้างความสัมพันธ์เช่นนี้ อำนาจระหว่างรัฐส่วน กลางกับชุมชนท้องถิ่น จึงเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ ไม่ถ่วงดุล เป็น พันธนาการที่ผูกขาดผูกมัด และกักขังสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามรัฐธรรมนูญ ๑๒
  • 14. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง เมื่อท้องถิ่นตัดสินใจเลือกโครงการพัฒนาของตนเองไม่ได้ ส่งผลให้โครงการพัฒนาที่ถูกกำหนดมาจากส่วนกลางไม่สอด คล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้น หลายอย่างจึงขัดแย้งกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม สังคมของชุมชน โดย เฉพาะอย่างยิ่งโครงการขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ สร้างนิคมอุตสาหกรรม ผลกระทบจากสารเคมี ปัญหาน้ำเสีย นโยบายการจัดการทรัพยากรดินน้ำป่า เกษตรกรไร้ที่ดินทำกิน การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ การประกาศเขตป่าทับซ้อนที่ชาวบ้าน นโยบายการท่องเที่ยวที่ไม่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมรวมทั้งปัญหา พื้นฐานอย่างความยากจน ค่าครองชีพสูง ปัญหาหนี้สิน รวมทั้ง สวัสดิการสังคมที่ไม่ทั่วถึงและครอบคลุม ปลดพันธนาการ สู่อิสรภาพ อำนาจรัฐส่วนกลาง เป็นดังโซ่ตรวนพันธนาการ เป็นอุปสรรค สำคัญที่ทำให้ท้องถิ่นไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง อำนาจที่รวมศูนย์ที่ส่วนกลางส่งผลให้ประชาชนอ่อนแอลง จน ไม่สามารถจัดการพึ่งพาตนเองได้ ต้องรอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐ อยู่ตลอดเวลา ขณะที่รัฐต้องกำกับดูแลประชาชนที่มีความหลากหลาย และมีจำนวนกว่า ๖๕ ล้านคน “ ” ๑๓
  • 15. ทำ-ธรรมนูญ เมื่อรัฐไม่อาจตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นที่มีความหลากหลายได้จึงถึงเวลาแล้วที่ชุมชนท้องถิ่นจะต้องลุก ขึ้นมาจัดการตนเอง เปลี่ยนสถานะจากผู้รอรับมาเป็นผู้จัดการ ส่วน รัฐนั้นต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้กำกับ ผู้สั่งการมาเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้ประชาชนใช้สิทธิและอำนาจในการจัดการตนเองได้อย่างเต็มกำลัง เมื่อภาคประชาชน ประชาสังคม ตื่นตัวลุกขึ้นมาจัดการตนเอง ได้ทั้งในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ ผ่านการนำเสนอนโยบาย สาธารณะต่อรัฐ กระบวนการมีส่วนร่วมเช่นนี้ ย่อมก่อให้เกิดความ เข้มแข็งและยั่งยืนในการพัฒนาประเทศ การกระจายอำนาจลงสู่ชุมชนท้องถิ่น สู่พลเมือง สร้าง กลไกให้ชุมชน พลเมืองเข้าถึงและมีสิทธิในการจัดการตนเอง จัดการฐานทรัพยากร ฐานชีวิต เข้าถึงองค์ความรู้ชุมชน สร้าง ประชาธิปไตยที่หยัดยืนบนฐานจัดการตนเอง...จึงเป็นการปลด พันธนาการสู่อิสรภาพอันแท้จริง ทั้งนี้ การกระจายอำนาจ หมายถึง การที่ประชาชนมี ส่วนร่วมสนใจปัญหา วิกฤติ เห็นและเข้าใจสาเหตุแห่งปัญหา ต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า แล้วเข้ามาร่วมคิด ร่วม วางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมสรุปบทเรียน ติดตาม ประเมินผลร่วมรับผลประโยชน์โดยเป็นสิทธิเสรีภาพอำนาจอัน ชอบธรรม ที่จะเรียกร้องจากอำนาจรัฐและภาครัฐ อันหมายถึง อำนาจทางการเมือง ราชการและท้องถิ่นต้องคืนและกระจาย อำนาจสู่ประชาชน(สมพันธ์ เตชะอธิก และทศพล สมพงษ์, ๑๐๘ คำศัพท์เพื่อการสนับสนุนการเมืองภาคพลเมือง,กรุงเทพฯ : สภาพัฒนาการเมือง ๒๕๕๕) “ ”๑๔
  • 17.
  • 18. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ให้สิทธิ และอำนาจแก่ปวงชนชาวไทยไว้อย่างชัดเจน ดังปรากฏหลัก คิดและอำนาจแห่งสิทธินี้ไว้ในบททั่วไป มาตรา ๓ บัญญัติ ว่า“อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” ชุมชนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยของตนได้โดยตรง เพื่อให้เข้า ถึงสิทธิต่างๆ ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ เป็นการใช้อำนาจเพื่อ ร่วมกันตัดสินใจกำหนดวิถีชีวิตและอนาคตชุมชนของตนเองโดยมีจุดมุ่ง หมายเพื่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน โดยอำนาจอธิปไตยของคนในชุมชนประกอบด้วยอำนาจ๓ด้าน คือ ๑๗ อำนาจที่แท้จริง
  • 19. ทำ-ธรรมนูญ อำนาจทางนิติบัญญัติเป็นอำนาจในการกำหนดกฎกติกาเพื่อใช้ ร่วมกันในชุมชน เช่น กติกาว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรม ชาติ กติกาว่าด้วยการจัดสวัสดิการ เป็นต้น อำนาจทางการบริหาร ได้แก่ อำนาจในการที่จะบริหารจัดการ กิจการต่างๆ ของชุมชน เช่น การจัดการป่าชุมชน การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน การจัดการเงินและการคลังของ ชุมชน เป็นต้น อำนาจทางตุลาการ ได้แก่ อำนาจในการพิจารณาตัดสินคุณค่า ต่างๆ ที่ประสงค์จะให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การตัดสินใจในการพัฒนา ชุมชน การตัดสินใจในทางเลือกที่จะดำเนินการ การตัดสินใจในการ กำหนดแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นต้น(ทศพลสมพงษ์,ประชาธิปไตย ชุมชน จากแนวคิดสู่การจัดการ, กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนา การเมือง ๒๕๕๕) ดังนั้น “อำนาจที่แท้จริง” จึงเป็นอำนาจที่มีอยู่ ดำรงอยู่ และ เกิดขึ้นอยู่ในชุมชนท้องถิ่นหลายแห่ง..เป็นอำนาจของการจัดการตนเอง ตามสิทธิที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติและมอบซึ่งสิทธิและ บทบาทหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองไว้ด้วย ๑๘
  • 20. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง “ความเป็นพลเมือง” นั้นหมายถึง การที่ปัจเจกบุคคลต่างๆ แสดงความสนใจหรือมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกระตือรือร้น โดย ต้องการพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ของตนเองและส่วนรวม ทั้งนี้ การแสดงออกซึ่งสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิด เห็น การแสดงออกโดยการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อพิทักษ์สิทธิ ของตนเองครอบครัวชุมชนสังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความถูกต้องชอบธรรมทางการเมือง ล้วนแสดงความเป็นพลเมืองที่มี อารยธรรมในสังคมประชาธิปไตย (สมพันธ์ เตชะอธิก และ ทศพล สมพงษ์, ๑๐๘ คำศัพท์ เพื่อการสนับสนุนการเมืองภาคพลเมือง, กรุงเทพฯ : สภาพัฒนาการเมือง ๒๕๕๕) ด้วยเหตุนี้ สำนึกของความเป็นพลเมืองจึงไม่ใช่เพียงเรื่องของ ตนเองเท่านั้น หากยังครอบคลุมถึงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และ การเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา หรือจัดการพัฒนา สร้างสรรค์ สังคมในด้านต่างๆ ด้วยผู้ที่รู้ปัญหาและแก้ปัญหาได้ดีก็คือคนในท้องถิ่น เอง ๑๙
  • 21. ทำ-ธรรมนูญ ชุมชนท้องถิ่น จึงจะต้องเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วย ตนเองก่อนเป็นหลัก แทนการคิด หรือฝากความหวังพึ่งพารัฐแต่เพียง ฝ่ายเดียว เปลี่ยนสถานะจากผู้รอรับ เป็นผู้จัดการและผู้ลงมือกระทำ ด้วยสำนึกแห่งความเป็นพลเมือง ใช้สิทธิและอำนาจที่แท้จริงที่มีอยู่ใน รัฐธรรมนูญเพื่อจัดการตนเอง จัดการชุมชนท้องถิ่น “การจัดการตนเอง” เป็นเรื่องของตัวเราเองล้วนๆ เป็น กระบวนการจัดการของชุมชนท้องถิ่นในการเข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาสารพัดสารพันของท้องถิ่นที่มีรูปธรรมยืนยัน ได้ว่าอำนาจในการจัดการตนเองนี้สามารถตอบสนองต่อชีวิตต่อ ชุมชน ทำได้จริงและแก้ปัญหาต่างๆ ของชุมชนได้อย่างเห็นผล ทั้งนี้ ชุมชนจัดการตนเอง หมายถึง ชุมชนท้องถิ่น อัน ได้แก่ ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมินิเวศน์ ที่มีจิตสำนึกสาธารณะ รู้ เป้าหมาย เชื่อมั่นวิถีพลังชุมชน มีความสามารถในการบริหารจัด การชุมชนอย่างมีส่วนร่วม และจัดความสัมพันธ์กับภาคี ใช้ข้อมูล แผนการจัดการความรู้และทุนชุมชน(คน องค์กรชุมชน ทรัพยากร ฯลฯ) เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในทุกด้านอย่างเป็นระบบ เพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและการพัฒนาอย่างยั่งยืน “ ” ๒๐
  • 22. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง จะจัดการตนเองได้อย่างไร “ต้องมีเครื่องมืออะไร?” แผนชุมชนพึ่งตนเอง แผนแม่บทชุมชน แผนชีวิตสาธารณะ การ ฟื้นฟูชีวิตชุมชนท้องถิ่น การจัดกองทุนสวัสดิการ สภาองค์กรชุมฯลฯ เป็น เครื่องมือสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างการมีส่วนร่วม มีความหลากหลายของกระบวนการทำงาน เทคนิควิธีการ รวมทั้งการ พัฒนากลไกต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน และบริบทเงื่อนไขปัจจัย แวดล้อม มีการสรุปบทเรียนและถอดความรู้ระหว่างการทำงาน จน พัฒนาเป็นชุดความรู้หรือหลักสูตรประจำชุมชน ชุมชนท้องถิ่นหลาย แห่งสามารถยกระดับพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชุมชน จัดการตนเอง รวมทั้ง ยังเป็นพื้นที่รูปธรรมในการขยายผลสร้างการ เรียนรู้ให้กับพื้นที่อื่นๆ “ธรรมนูญประชาชน” ทำให้อำนาจของการจัดการตนเองเกิด พลังและเกิดการปฏิบัติใช้อย่างสมบูรณ์ เป็นเครื่องมือที่มีอำนาจมีสิทธิ ตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติและมอบให้แก่พลเมือง หากมีนโยบายหรือโครงการด้านการพัฒนาใดที่ไม่สอด คล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ และส่งผลกระทบทั้งทางสังคม วัฒนธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติต่อพื้นที่ คนในพื้นที่นั้นๆ ก็สามารถ ยืนหยัดต่อสู้ และแสดงสิทธิในการจัดการพื้นที่ตนเองได้ โดยใช้ ธรรมนูญเป็นหลักฐานยืนยันและแสดงสถานะของตนเอง อีกทั้งยังเป็น เครื่องมือในการประสานสร้างความร่วมมือกับภาคีภาครัฐในระดับ ต่างๆ ๒๑
  • 23. ทำ-ธรรมนูญ หนทางสู่ธรรมนูญประชาชน แม้ธรรมนูญประชาชนจะไม่ใช่เรื่องยากและไกลตัวแต่ก็ไม่ใช่ เรื่องง่ายที่ท่องจำไปใช้ หรือลอกเลียนแบบกันได้ เพราะธรรมนูญนั้นเป็น เรื่องการตื่นตัว เรียนรู้ และแน่นอนว่า “ธรรมนูญประชาชน” ไม่ใช่เป็นเพียงรูปเล่ม แต่เป็นเรื่องของ “จิตสำนึกของคนในพื้นที่” และ “การนำไปใช้ปฏิบัติการ” การทำธรรมนูญประชาชน จึงมีองค์ประกอบหลายส่วน หลาย ระดับ และหลายกระบวนการ ขั้นตอน และเทคนิค รวมทั้งหลายคำเรียก ขาน ไม่ว่าจะเป็นธรรมนูญ ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบชุมชน ฯลฯ หัวใจสำคัญของธรรมนูญนั้นอยู่ที่การจัดรูปแบบของอำนาจ ใหม่นี้ให้เกิดปฏิบัติการ เกิดการยอมรับร่วมกันทั้งยอมรับในเงื่อนไข กฎเกณฑ์และยอมรับในมาตรการการควบคุมต่างๆ ๒๒
  • 25.
  • 26. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง “สิทธิ”หมายถึงอิสรภาพที่รับรองไว้โดยกฎหมายสิทธิสำคัญ ในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิใน การพูด สิทธิการพิมพ์ การนับถือศาสนา สิทธิในการเคลื่อนที่ เคลื่อนย้ายไปไหนมาไหน ที่อยู่อาศัย สิทธิในการประชุม และ สิทธิในการทำการใดๆภายใต้กรอบกติกาการเมืองกฎหมาย จารีตประเพณีอันดีงาม ซึ่งอาจจะกล่าวในด้านกว้างๆ ทั่วไป ว่า พลเมืองทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย อันจำเป็นรวมถึงการได้รับการศึกษา ทำงาน แสดงออก และ สิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดย ไม่เว้นสิทธิทางการเมือง (สมพันธ์ เตชะอธิก และ ทศพล สมพงษ์, ๑๐๘ คำศัพท์ เพื่อการสนับสนุนการเมืองภาค พลเมือง, กรุงเทพฯ : สภาพัฒนาการเมือง ๒๕๕๕) ๒๕ อำนาจประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ
  • 27. ทำ-ธรรมนูญ ธรรมนูญเป็นอำนาจของประชาชนตามรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิให้ อำนาจประชาชนในการจัดการตนเอง ธรรมนูญจึงเป็นสิทธิที่ต้องใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้เปิดโอกาส ในการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นและ เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน อันเป็นศักดิ์และสิทธิของ ประชาชนที่จะใช้อำนาจที่ระบุไว้ในกฎหมายสูงสุดนี้ในการจัดการ ตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชุมชน ดังนั้นการเขียนธรรมนูญของชุมชนจึงเป็นการเขียนเพื่อนำสิทธิ นำอำนาจที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญนั้นออกมาปฏิบัติใช้โดยเป็นไปตาม ความเห็นชอบร่วมกันของคนกลุ่มต่างๆ ฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งกระบวนการเช่นนี้เป็นการสนับสนุนประชาธิปไตยชุมชนให้เป็นจริง “ประชาธิปไตยชุมชน” หมายถึง กระบวนการที่ให้ ประชาชน คนจน คนรวย ทุกกลุ่มอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย มา ใช้สิทธิร่วมกันในการบอกปัญหาความต้องการของตน เพื่อ นำไปสู่การกำหนดนโยบายและวางแผนการพัฒนาชุมชนใน ทุกด้านที่ตอบสนองกับความต้องการและแก้ปัญหาชุมชน ที่มีความเป็นธรรม รวมทั้งร่วมกันปฏิบัติการตามแผนและ ติดตามตรวจสอบการทำงานร่วมกันระหว่างท้องถิ่น ท้องที่ และชุมชน (สน รูปสูง, คู่มือประชาธิปไตยชุมชน, กรุงเทพฯ : สภาพัฒนาการเมือง, ๒๕๕๔) ๒๖
  • 28. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง โดยมาตราที่เกี่ยวข้องและสามารถใช้อ้างถึงสิทธิได้นั้น ประกอบด้วย หมวด๓สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยส่วนที่๑๒สิทธิชุมชน มาตรา ๖๖ และ มาตรา ๖๗ หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๓ แนวนโยบาย บริหารราชการแผ่นดิน มาตรา ๗๘ (๒) และ มาตรา ๗๘ (๓) หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๔ แนวนโยบาย ด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุขการศึกษา และวัฒนธรรม มาตรา ๘๐ (๔) หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๘ แนวนโยบาย ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา ๘๕ (๕) หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๑๐ แนวนโยบาย ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มาตรา ๘๗ หมวด๑๔การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา๒๘๑ มาตรา๒๘๒ วรรค ๒ วรรค ๓ วรรค ๔ และ วรรค ๕ ๒๗
  • 29. ทำ-ธรรมนูญ สิทธิชุมชนตามพ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน นอกจากรัฐธรรมนูญจะเป็นรากฐานกฎหมายที่ให้สิทธิแก่ ประชาชนในการจัดการตนเองแล้วนั้น พระราชบัญญัติสภา องค์กรชุมชน พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นกฎหมายอีกฉบับที่มีสาระ สำคัญในการสนับสนุนสิทธิของชุมชน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ยก ระดับเวทีประชุมปรึกษาหารือร่วมกันของคน/องค์กรชุมชน ในตำบลให้มีกฎหมายรองรับ เกิดความชอบธรรมแก่ขบวน องค์กรชุมชน โดยมาตราที่เกี่ยวข้องและสามารถนำใช้อ้าง สิทธิได้นั้น ได้แก่ หมวด ๑ มาตรา ๒๑ (ภารกิจของสภา องค์กรชุมชนตำบล) พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงเป็นอีกเครื่องมือ หนึ่งที่จะประสานความร่วมมือกับท้องถิ่น ท้องที่ และรับรอง สถานะการทำงานของชุมชนอีกด้วย ๒๘
  • 31.
  • 32. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง เมื่อรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เปิดช่อง ทาง เปิดโอกาส ให้สิทธิและกระจายอำนาจเพิ่มมากขึ้นแล้ว การทำธรรมนูญในระดับชุมชนท้องถิ่นจึงไม่ใช่เรื่องยากเลย หัวใจของธรรมนูญประชาชน คือ การใช้อำนาจตาม รัฐธรรมนูญเพื่อจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น ดังนั้นจะ เริ่มต้นทำธรรมนูญ ต้องเริ่มต้นจากมองหันกลับมามองคำว่า “ตนเอง” ทั้งในสถานะบุคคล และคนในฐานะส่วนหนึ่งของ ชุมชน ทั้งนี้ ธรรมนูญนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบและหลายระดับ ดัง ตัวอย่างต่อไปนี้ ๓๑
  • 33. ทำ-ธรรมนูญ ธรรมนูญระดับประเด็น : เป็นธรรมนูญที่เกิดขึ้นในกลุ่มหรือ องค์กรชุมชนที่มองเห็นปัญหาหรือปรากฎการณ์ในประเด็นใดประเด็น หนึ่ง แล้วจึงมีกระบวนการในการระดมปัญหา ระดมความคิดเห็น จน นำมาสู่การร่วมกันออกแบบ กำหนดข้อตกลง และปฏิบัติใช้ในประเด็น นั้นๆ โดยการยอมรับร่วมกันของกลุ่มหรือองค์กรชุมชนที่เชื่อมร้อยและ เกาะเกี่ยวกัน เช่น ธรรมนูญสุขภาพตำบลหนองยาว อำเภอพนมสาร คาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ธรรมนูญสุขภาพตำบล : เป็นเครื่องมือที่ทุกคนมีส่วนร่วมใน การออกแบบธรรมนูญเพื่อการจัดการสุขภาพ จัดการคุณภาพชีวิตใน วิถีเกษตร โดยที่กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เริ่มจากแกนนำจากทุกหมู่บ้านที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ รวมตัวกันจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ จัดเวทีพูดคุย ทุกหมู่บ้าน ประกอบด้วย ๔ ภาคส่วน คือ ท้องถิ่น นักวิชาการ ภาค ๓๒
  • 34. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง ราชการและขบวนองค์กรชุมชน โดยมีสถานีอนามัย โรงเรียนพัฒนากร เป็นพี่เลี้ยงให้กับคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญสุขภาพและได้บูรณาการ เครื่องมือหลากหลาย เช่น แผนแม่บทชุมชน เวทีประชาคมตำบล สภา องค์กรชุมชน แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เป็นต้น ธรรมนูญระดับชุมชน : เป็นธรรมนูญที่เกิดขึ้นในระดับชุมชน คนในชุมชนร่วมกันออกแบบ และกำหนดข้อตกลง และปฏิบัติการใช้ โดยการยอมรับร่วมกันของคนในชุมชน คนในพื้นที่นั้นๆ เช่น ระเบียบ/ ข้อบังคับการใช้ที่ดินและทรัพยากรหมู่บ้านสมานมิตร ตำบลดอนศิลา อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จากปัญหาที่ดินทำกิน ทั้งชุมชนได้ร่วมกันพัฒนาการใช้ประโยชน์ พื้นที่ทำกินร่วมกัน พื้นที่ “หน้าหมู่” หรือ “โฉนดชุมชน” การจัดการ ที่ดินหน้าหมู่ ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสูง กระบวน การสร้างจิตสำนึกให้แก่คนทั้งชุมชนให้รักและหวงแหนผืนดินที่หาอยู่หา กิน จึงจำเป็นต้องกำหนดระเบียบ/ข้อบังคับขึ้น เป็นระเบียบที่ทุกคนมี ส่วนร่วมในการกำหนดระเบียบ เมื่อผู้ใช้เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ เมื่อนำ มาปฏิบัติจะไม่เกิดความขัดแย้ง หรือการเรียกร้อง ต่อรองที่ขัดกับความ ถูกต้องและระเบียบ/ ข้อบังคับของบ้านสมานมิตร ๓๓
  • 35. ทำ-ธรรมนูญ ธรรมนูญระดับตำบล : เป็นธรรมนูญที่ขยับจากระดับชุมชน เป็นระดับท้องถิ่น/ ตำบล โดยเริ่มจากฐานปัญหาของแต่ละชุมชน เกิด การขยับรวมกันในภาพของปัญหาทั้งตำบล นำไปสู่การออกแบบกำหนด ข้อตกลง และปฏิบัติการใช้ โดยการยอมรับร่วมกันของคนในตำบลนั้นๆ เช่น ธรรมนูญประชาชนกฎระเบียบตำบลบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย จังหวัด น่าน แผนชุมชนเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทุกคนในตำบลมาร่วมกัน คิด เป็นเวทีชวนคิด ชวนคุย กระตุ้นด้วยคำถามเพื่อการแก้ปัญหา การ ดูแลทุกข์สุขร่วมกัน ข้อมูลที่เก็บได้ต้องนำมาจัดระบบ แบ่งเป็นหมวด หมู่ ได้แก่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุข เศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การเมืองการ ปกครองและองค์กรชุมชนและวิเคราะห์จุดแข็งของทุนชุมชน เช่น ทุนคน ทุนทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ทุนวัฒนธรรมภูมิปัญญา ทุนภาคี เป็นต้น โดยมีสภาองค์กรชุมชนเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนงานของ ประชาชนในตำบลในทุกด้านเกิดการวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมตำบลบัวใหญ่ในช่วงสิบปีข้างหน้าของคนบัวใหญ่ กฎระเบียบตำบลบัวใหญ่ ข้อห้ามที่เกิดจากเวทีระดมปัญหา หา ทางป้องกัน และเสนอบทลงโทษ ข้อห้ามเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติ สุขของคนในชุมชน และการวางแผนอนาคตเพื่อให้คนรุ่นหลัง มี-ใช้- รักษา-ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๓๔
  • 36. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง ธรรมนูญระดับภูมินิเวศ : เป็นธรรมนูญที่เชื่อมโยงภาพปัญหา กว้างมากขึ้น เป็นการเชื่อมในพื้นที่ที่ใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน มองเห็นภาพปัญหาที่เชื่อมโยงส่งผลต่อกันและกันจนเกิดการขยับเชื่อม ในระดับภูมิเวศ เพื่อออกแบบ กำหนดข้อบังคับ และปฏิบัติใช้โดยการ ยอมรับของชุมชนในภูมินิเวศนั้นๆ เช่น ธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี จังหวัด สงขลา กระบวนการจัดทำลุ่มน้ำภูมีนั้น มีผู้แทนจากทุกภาคส่วน ได้แก่ กลุ่มองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ สถาบันการศึกษา วัด มัสยิด ประชาชน บริษัท/โรงงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรวม ถึงภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับทรัพยากรในพื้นที่ลุ่มน้ำ รัตภูมี จัดเวทีระดมความคิดเห็นในการยกร่างธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี โดย มีเป้าหมายสุขภาวะที่ดีของชุมชนคนลุ่มน้ำภูมี เมื่อได้ร่างธรรมนูญลุ่ม น้ำภูมีแล้วได้จัดเวทีประชาพิจารณ์ผู้เข้าร่วมเวทีมาจากตัวแทนทุกภาค ส่วน องค์กรในพื้นที่ องค์กรภาคีสนับสนุน ในพื้นที่ตลอดลุ่มน้ำ เมื่อปรับ แก้ไขตามข้อเสนอจากเวทีประชาพิจารณ์ จึงนำกลับมาเสนอในเวที สาธารณะอีกครั้ง เพื่อลงฉันทามติในการรับร่างธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี และ ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ๓๕
  • 37. ทำ-ธรรมนูญ ๓๖ ธรรมนูญระดับจังหวัด:เป็นธรรมนูญที่เคลื่อนในภาพใหญ่เป็น การขยับจากฐานชุมชนหลายชุมชน หลายตำบล หลายอำเภอจนครอบ คลุมทั้งจังหวัด เกิดการร่วมกันออกแบบ กำหนดข้อบังคับและปฏิบัติ การใช้ในพื้นที่ทั้งจังหวัดโดยการยอมรับร่วมกันของคนในจังหวัดนั้นๆ รวมทั้งเกิดการเชื่อมร้อยการทำงานร่วมกับราชการส่วนจังหวัดนำมาสู่ การขับเคลื่อนในระดับแผนยุทธศาสตร์จังหวัด เช่น ธรรมนูญภาค ประชาชน ฅนอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ คนอำนาจเจริญ มีต้นทุนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมายาวนาน มี เครื่องมือสำคัญ เช่น แผนแม่บทชุมชน สภาองค์กรชุมชน ที่ช่วยให้เกิด กระบวนการพัฒนาอย่างมีระบบ ขณะเดียวกัน สภาองค์กรชุมชนมี บทบาทในการเชื่อมร้อยขบวนและขับเคลื่อนงาน เกิดการบูรณาการ แผนงานและงบประมาณร่วมกับภาคีท้องถิ่น จากต้นทุนที่สะสมมานาน ทำให้กระบวนการพัฒนาเติบโตขึ้น มีความเข้มแข็งทุกระดับ จึงได้ร่วม กันจัดทำธรรมนูญประชาชน ฅนอำนาจเจริญ จนเกิดการยกระดับการ ทำงานพัฒนาชุมชนขึ้นมาเป็นโครงข่ายและการมีส่วนร่วมในรูป “จังหวัดจัดการตนเอง”เพื่อขับเคลื่อนขยายผลสร้างการเรียนรู้ในมิติ ท้องถิ่นระดับจังหวัด ด้วยมุ่งหวังว่ากลไกจังหวัดจัดการตนเองนี้จะก่อ ให้เกิดการทำงานพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม บูรณาการทุกประเด็น ทุกต้นทุน ทุกศักยภาพในพื้นที่จังหวัด เพื่อนำไปสู่เป้าหมายหลัก คือ การจัดการตนเองตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับจังหวัด โดยประชาชน ในจังหวัดสามารถกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์การทำงานของจังหวัด อย่างมีส่วนร่วมโดยมีกระบวนการผลักดันให้รัฐกระจายอำนาจและ สิทธิในการจัดการจังหวัดของตนเอง ธรรมนูญประชาชน ฅนอำนาจเจริญ เป็นแนวทางการกำหนด แผนพัฒนา มีเป้าหมายสู่ความอยู่ดีมีสุข
  • 38. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง จากการถอดบทเรียนพบว่า : ธรรมนูญประชาชน มีด้วยกันหลายระดับ หลายรูป แบบหรือโมเดล โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ปัจจัยตามบริบทและความ พร้อมของพื้นที่นั้นๆ แม้ธรรมนูญจะมีหลายระดับที่มีความแตก ต่างกันในสาระภายในธรรมนูญนั้นๆ หากแต่วิธีการขึ้นรูป หรือก่อ ร่างลงมือทำธรรมนูญนั้นมีองค์ประกอบกระบวนการและขั้นตอน ที่มีจุดร่วมไม่ต่างกัน : ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเขียนธรรมนูญนั้น เกิดจาก ๑.ปัญหาในชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อน ทั้งชุมชนหรืออาจส่งผลกระทบต่อชุมชนข้างเคียงด้วยมีการแก้ไข ปัญหาด้วยเครื่องมือต่างๆ มาแล้ว จนในที่สุดต้องมากำหนดข้อ ตกลงการใช้ชีวิตร่วมกันของชุมชน ๒.ความพร้อมของคนในชุมชน เป็นชุมชนที่มีต้นทุนการ ทำงานมานาน เกิดการยกระดับการทำงานพัฒนาไปสู่ชุมชนจัด การตนเอง เป้าหมายของการทำธรรมนูญ คือ ต้องการให้ ชุมชนเกิดความอยู่ดีมีสุข “ ” ๓๗
  • 39. ทำ-ธรรมนูญ คนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการทำธรรมนูญ ดังนั้น ต้องเริ่มต้นจากการสำรวจตรวจตราตนเอง ...พื้นที่ที่จะร่วม กันทำธรรมนูญนั้นควรจะต้องมีคนที่มีความเป็นพลเมืองเพื่อ เป็นคณะทำงานหรือคณะกรรมการที่ขับเคลื่อนขยายผล แนวคิดนี้ต่อชุมชน “ความเป็นประชากรมีได้นับตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ความเป็นพลเมืองเกิดขึ้นโดยสำนึก และการมีส่วนร่วม” คน คือ องค์ประกอบที่สำคัญ ในการขับเคลื่อน สิ่งสำคัญที่พลเมืองควรจะต้องมี คือ ๑.“สำนึกความเป็นพลเมือง”การรับรู้ในสิทธิหน้าที่ของตนเอง ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคม และต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ไข ปัญหาของสังคม มองที่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เมื่อประชาชนมีสำนึกพลเมืองจะนำมาสู่การรวมตัวกันเพื่อจัดการ ปัญหาของชุมชน หรือปัญหาในประเด็นต่างๆ ที่เผชิญร่วมกัน (เธียรชัย ณ นคร และคณะ, ประชาธิปไตยชุมชน : กลไกการขับเคลื่อนภาค พลเมืองเข้มแข็ง, กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง ๒๕๕๓) ๓๘
  • 40. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง ๒.“ความรู้” ความรู้ที่ทำให้คนเข้าใจเรื่องราวของตนเอง มี ความรู้ในเรื่องของตนเองเห็นปัญหาตนเองเห็นสิทธิของตนเองเพื่อจะ นำไปสู่การตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วม ๓.“ปฏิบัติการ” คนที่มีจิตสำนึกพลเมือง มีความรู้ความเข้าใจ และตื่นตัว จะเข้ามามีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆ และจะเป็นฐานพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาของชุมชน และสามารถขยายแนวคิดไปสู่ผู้อื่นได้ ๓๙
  • 41. ทำ-ธรรมนูญ ปฏิบัติการสู่การเขียนธรรมนูญประชาชน ทำงานสร้างมิตร ขยับเพื่อสร้างสมดุล การทำธรรมนูญประชาชนเกิดขึ้นจากฐานชุมชน และต้องเชื่อม ประสานภาคีให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการขับเคลื่อนจัดทำ ธรรมนูญประชาชน จัดความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนร่วมทาง มิตรร่วมบ้าน ผสาน ความรู้ และเติมทุนซึ่งกันและกัน เพราะการทำธรรมนูญประชาชนไม่ใช่ การโตเดี่ยวเนื่องด้วยสาระต่างๆที่ประกอบร่างเป็นธรรมนูญประชาชน นั้นมีด้วยกันหลากหลายประเด็น หลากหลายผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย รวบรวมปัญหา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน จัดระบบข้อมูล เชื่อมร้อยภาคีส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ วิเคราะห์ข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปสู่การยกร่างธรรมนูญ ประชาชนร่วมกัน ๔๐
  • 42. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง วงน้ำชา วงกาแฟ เวทีประชุม จัดวงพูดคุยกันต่อเนื่อง ทั้งวงคุยอย่างไม่เป็นทางการ เช่น วง น้ำชาวงกาแฟคุยกันตามงานบุญงานประเพณีหรืองานสังคมอื่นๆเช่น งานศพ งานแต่งงาน เป็นต้น และวงคุยอย่างเป็นทางการตามวาระ เช่น เวทีประชาคมหมู่บ้าน เวทีประชุมของกลุ่มกิจกรรม กลุ่มองค์กรต่างๆ ของชุมชน เช่น เวทีประชุมของสภาองค์กรชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่เรียนรู้ธรรมนูญประชาชน เพื่อเปิดรับ มุมมอง แนวคิด ความรู้ที่หลากหลาย สร้างแรงบันดาลใจจากพื้นที่ รูปธรรมที่เข้มแข็ง และยังเป็นการขยายมิตร สร้างเพื่อนร่วมทาง ภาคีที่มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำธรรมนูญ ขอให้พิจารณาจากฐานต้นทุนของชุมชนเป็นหลัก เพราะ แต่ละพื้นที่มีบริบท มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน หน่วยงาน และภาคีที่เข้าร่วมกระบวนการอาจต่างกัน ภาคีเหล่านี้ ประกอบด้วย ภาคีภายใน เช่น ตัวแทนกลุ่ม/องค์กร/ เครือข่าย สภาองค์กรชุมชน ตัวแทนโรงเรียน วัด มัสยิด โบสถ์ ตัวแทนส่วนราชการ หน่วยงาน ท้องที่ ท้องถิ่น ผู้ประกอบการเอกชน เป็นต้น และภาคีภายนอกพื้นที่ เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา เป็นต้น “ ” ๔๑
  • 43. ทำ-ธรรมนูญ แกนนำก่อการดี แกนนำในการก่อการทำธรรมนูญนี้ทำหน้าที่ในการบริหาร จัดการและสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และการร่วมแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังต้องเป็นกลไกในการทำหน้าที่เชื่อมร้อย ประสานภาคีเครือข่าย ความสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เชื่อมทุน เชื่อมโอกาส เชื่อม ความรู้ โดยอาจแยกเป็นทีมทำงาน ดังนี้ ทีมที่หนึ่ง ทีมยุทธศาสตร์ คุณสมบัติคือมองภาพรวม งานของพื้นที่ เพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อน รวมทั้งทำหน้าที่ในการ ประสานภาคีภาครัฐ ท้องถิ่น ท้องที่ และประสานหน่วยงานภาคี ภายนอก ทีมที่สอง ทีมประสาน เชื่อมโยงขบวนองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด ใช้สภาองค์กรชุมชนและงานประเด็น เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนยกระดับการทำงาน ทีมที่สาม ทีมปฏิบัติการในพื้นที่ตำบล ทำงานเพื่อ สร้างการเรียนรู้อย่างจริงจังเข้มข้นในพื้นที่สร้างความรู้สร้างสำนึกให้ กับคนในชุมชน การพูดคุยกันบ่อยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกันอันเป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการปรับทัศนคติ สร้างความรู้ความเข้าใจใหม่ที่จะโยงไปถึงการสร้าง สำนึกร่วมกันของความเป็นชุมชนขึ้นมาด้วย “ ” ๔๒
  • 44. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง การจัดการความสัมพันธ์กับภาคีต่างๆ ในท้องถิ่น สร้างความร่วมมือกับภาคีต่างๆ ในท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงาน รัฐ เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ภาคีในการที่ประชาชนจะเขียน ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง ตามสิทธิอันชอบธรรมตามรัฐ ธรรมนูญ การจัดการความสัมพันธ์กับภาคีต่างๆ ทั้งการเชื่อมร้อยกับภาคี อื่นๆ ในท้องถิ่น และการประสานงานกับราชการส่วนจังหวัด โดยสิ่ง สำคัญที่จะทำให้เกิดการประสานกันได้ง่ายขึ้นนั้น อาศัยองค์ประกอบ ๒ ส่วน คือ องค์ประกอบที่หนึ่ง คือ รูปธรรมการทำงาน ที่เห็นได้ จริง พิสูจน์ได้ องค์ประกอบที่สอง คือ ลักษณะท่าทีของคนทำงาน ที่ประนีประนอม ใช้คนให้เหมาะสมกับศักยภาพและลักษณะ งาน ๔๓
  • 45. ทำ-ธรรมนูญ สิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือการจัดความสัมพันธ์ของ ชุมชนกับภาคีส่วนต่างๆ ว่าอยู่ในระดับใด มีความ ร่วมมือระดับใด เช่น การจัดทำแผนร่วมกันการจัดทำ ข้อบัญญัติตำบล การพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ชุมชน ฉะนั้น ในการพัฒนาชุมชนไปสู่ชุมชนจัดการตนเองนั้น จะ ต้องวิเคราะห์ให้เห็นปัจจัยภายในและภายนอกตัวชี้ วัดที่สำคัญคือความเข้มแข็งของชุมชนที่จะเป็นพลัง ในการขับเคลื่อนงานทุกๆ ด้าน “ ” ๔๔
  • 46. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง เขียนธรรมนูญ ร่วมกำหนดร่วมออกแบบและยกร่างหลังจากได้ข้อมูลเห็น สภาพปัญหา จึงร่วมกันออกแบบวิธีการ แนวทางในการจัดการกับปัญหา นั้นๆ กำหนดเป็นธรรมนูญที่เป็นของตนเอง “คิดเอง เขียนเอง ทำเอง” เพื่อสร้างข้อตกลงร่วม กำหนดทิศทางการพัฒนาร่วมของคนในพื้นที่ องค์ประกอบของธรรมนูญประชาชนควรประกอบด้วย ๓ กรอบ เนื้อหา คือ ๑.ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยหมวดพื้นฐาน ปรัชญา แนวคิด สภาพทั่วไปของชุมชน ๒.เนื้อหาของธรรมนูญประชาชน ประกอบด้วยเรื่องสังคมการ เมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งเป็น หมวดหมู่ และมีรายละเอียดที่ชัดเจนในแต่ละหมวด โดยแต่ละเรื่องควร ประกอบไปด้วยหลักการของประเด็นนั้นๆเป้าหมายที่จะทำร่วมกันและ มาตราการรวมถึงข้อตกลงและกติกา ๓.บทเฉพาะกาล ประกอบด้วย เรื่องบทลงโทษต่อสิ่งที่จะมา กระทบต่อชุมชนให้ปรากฎอย่างชัดเจน เพราะการเขียนระบุบทลงโทษ จะใช้อ้างอิงได้เมื่อเกิดกรณีปัญหาหรือการละเมิดเกิดขึ้นรวมทั้งเงื่อนไข ในการแก้ไขธรรมนูญว่าสามารถดำเนินการได้อย่างไร จัดเวทีประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นรอบด้าน ฟังทุก เสียงสะท้อนเพื่อนำมาปรับแก้หรือทำให้คนในพื้นที่ยอมรับร่วมกันได้ ประกาศใช้เป็นการประกาศใช้ธรรมนูญประชาชนต่อพื้นที่ สาธารณะเพื่อยืนยันสิทธิตามธรรมนูญและยืนยันเจตนารมณ์ของ ประชาชน ปฏิบัติการใช้ธรรมนูญประชาชนในพื้นที่ นำธรรมนูญประชาชน ที่ประกาศใช้มาปฏิบัติจริง มีมาตรการในการจัดการเมื่อเกิดการละเมิด ธรรมนูญประชาชนเพื่อให้ธรรมนูญประชาชนมีความศักดิ์สิทธิ์ ๔๕
  • 47. ทำ-ธรรมนูญ สิ่งพึงระลึกในการเขียนธรรมนูญ ต้องประสานและผนึกกำลังที่หลากหลายการเขียนธรรมนูญ ประชาชนนั้นเป็นกระบวนการซึ่งต้องผสานและผนึกพลังที่หลาก หลาย ได้แก่ ๑. พลังชุมชน : สร้างความเข้มแข็งสภาองค์กรชุมชน ๒. พลังทางสังคม : ภาคีร่วมพัฒนา-สานพลัง ๓. พลังความรู้ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ-การจัดการ ความรู้ ๔. พลังภูมิปัญญาท้องถิ่น : องค์ความรู้ท้องถิ่น ข้อมูล ชุมชน ๕. พลังสื่อ : สื่อสารสาธารณะ-สื่อท้องถิ่น เช่น วิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ เอกสารเผยแพร่ เวทีเสวนาผ่านวิทยุ เป็นต้น อย่ายึดติดภาษาราชการ ภาษาวิชาการ ควรเป็นภาษาที่ ชาวบ้านอ่านแล้วเข้าใจ และปฏิบัติตามได้ ต้องมีความชัดเจนว่าเนื้อหาสาระของประเด็นในธรรมนูญ ประชาชนนั้นมีเป้าหมายเพื่ออะไร และไปสัมพันธ์กับปรัชญา หลัก คิด หรือมีมาตราใดในกฎหมายรองรับ บทเฉพาะกาล ประกอบด้วยเรื่องการแก้ไขธรรมนูญประชาชน ที่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาการแก้ไข วิธีการแก้ไข การเปลี่ยนแปลง ของคณะกรรมการ/ ผู้ที่จะดำเนินงานการแก้ไข และการประกาศใช้ เมื่อใด ๔๖
  • 49.
  • 50. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง การทำธรรมนูญประชาชนนั้น สิ่งสำคัญคือการที่คนลุก ขึ้นมาเคลื่อนไหวพร้อมกัน ธรรมนูญประชาชนไม่ใช่เรื่อง ของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่องของจิตสำนึกของความ เป็นพลเมืองที่ตระหนักถึงส่วนรวมการเขียน“ธรรมนูญ” ที่เป็นของตนเอง “คิดเอง เขียนเอง ทำเอง” สร้าง ข้อตกลงร่วม กำหนดทิศทางการพัฒนาร่วมของคนใน พื้นที่ เป็นการสร้างการยอมรับและระเบิดออกมาจาก ภายใน พัฒนาระบบประชาธิปไตยชุมชนให้เป็นจริง ...สร้างสำนึกใหม่ให้เกิดขึ้นในชุมชนได้เมื่อไหร่ ความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นเมื่อนั้น “ ” ๔๙
  • 51. ทำ-ธรรมนูญ พลังของความเปลี่ยนแปลงเล็กๆที่เกิดขึ้นจากฐานชุมชนท้องถิ่น เป็นฐานพลังที่สำคัญอย่างมาก เมื่อหลายๆ พลังเล็กๆ รวมตัวกันย่อม กลายเป็นมวลพลังที่ใหญ่ขึ้นหลายชุมชนรวมตัวกันเกิดภาพระดับตำบล จากตำบลหลายๆ ตำบลรวมกัน เป็นอำเภอ และขยับสู่การเคลื่อนใน ระดับจังหวัดในที่สุด และเมื่อเคลื่อนถึงระดับจังหวัดเมื่อใด พลังของคน แต่ละคนนั้นย่อมเป็นพลังที่ย่อมจะส่งผลสะเทือนให้เกิดขึ้นได้ การตื่นตัว การเคลื่อนไหวของประชาชนกับเครื่องมือใหม่อย่าง ธรรมนูญประชาชน หากมีการเคลื่อนส่งต่อไม้กันได้อย่างต่อเนื่องและ ยกระดับขึ้นไปๆ ย่อมส่งผลสะเทือนต่อการรับรู้ของผู้คนในสังคมด้วย กันเอง เห็นความตื่นตัวของประชาชนเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และ สะเทือนต่อหน่วยงานราชการภาครัฐที่ทำให้รัฐต้องหันกลับมาคำนึงถึง พลังของพลเมืองของตนมากขึ้น เกิดการรับฟังและเปิดพื้นที่ให้ในการ ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาจังหวัด สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทาง โครงสร้างอำนาจ เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นและภาคประชาสังคมมีสิทธิและ ศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับภาครัฐ ๕๐
  • 52. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง อย่าละเลย พลังของตนเอง เพราะแม้ว่าเราจะเป็นเพียงหยดน้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทร แต่มหาสมุทรก็เกิดได้เพราะหยดน้ำ...ไม่ใช่หรือ “ ” ๕๑
  • 53. ทำ-ธรรมนูญ หากถามว่า “ทำแล้วจะได้อะไร?” “มีธรรมนูญแล้ว จะนำพาชีวิตเรา ชีวิตครอบครัว เราเดินไปบนเส้นทางไหน?” คำตอบอย่างง่ายที่สุด คือ ๑. “สร้างคน ได้พลเมือง” : กระบวนการในการขับเคลื่อน ทำธรรมนูญ ใช่เพียงจะได้ผลลัพธ์เป็นธรรมนูญหรือเครื่องมือในการใช้ ปฏิบัติร่วมกันในพื้นที่แล้ว แต่กระบวนการตั้งแต่การก่อเกิดยังพัฒนา สร้างพลเมืองอีกด้วย คนที่มีความตื่นตัว มีความรู้ความเข้าใจ และ ตระหนักถึงพลัง อำนาจของตนเอง อีกทั้งยังเป็นคนที่มีส่วนร่วมสูง คน ที่ก้าวข้ามความเป็นประชากรเป็นคนที่มีความพลเมือง อันจะเป็นฐาน พลังสำคัญในการพัฒนาถิ่นเกิดและสังคมต่อไป ๒. “จับต้อง กินได้” : เราสามารถจับต้อง รับรู้ถึงการมีอยู่ของ อำนาจของเรา อันเป็นอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้แก่ประชาชน ได้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมจริงๆ ไม่ใช่เพียงอำนาจบนหิ้งหรือ อำนาจที่จบลงที่คูหาเลือกตั้งเพียงเท่านั้น ๕๒ ธรรมนูญ...ให้อะไร
  • 54. :ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง ๓. “แก้ปัญหาได้” : ธรรมนูญประชาชนเป็นเครื่องมือในการ จัดการตนเองในระดับพื้นที่ได้ ธรรมนูญประชาชนเกิดจากฐานปัญหาที่ ชาวบ้านมาร่วมกันหาทางออกร่วมกัน สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน สรุป บทเรียนและยกระดับด้วยการเขียนธรรมนูญประชาชน เพื่อกำหนด กติกาการอยู่ร่วมกัน ๔.“อยู่เย็นเป็นสุขได้”:เมื่อคนในชุมชนมีสำนึกร่วมกัน รู้สึกถึง ความเป็นเจ้าของร่วมกัน เห็นคุณค่าของความเป็นพี่เป็นน้องเป็นชุมชน ร่วมกัน สังคมที่เคยต่างคนต่างอยู่ ต่างคิด ต่างทำ ก็ย่อมเปลี่ยนแปลง เป็นสังคมของการมีส่วนร่วม สังคมของการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จัดการความขัดแย้งด้วยความเป็นพี่น้องเครือญาติ ๕๓