Más contenido relacionado Similar a Macro Economics c6 นโยบายการคลัง Similar a Macro Economics c6 นโยบายการคลัง(18) Más de Ornkapat Bualom(6) Macro Economics c6 นโยบายการคลัง4. การคลังสาธารณะ (Public Finance)
การใช้จ่ายเงินเพื่อบริหารประเทศของรัฐบาล วิธีการแสวงหารายได้ของรัฐบาล
ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายเงิน และการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล การคลัง
รัฐบาลส่วนใหญ่ประกอบด้วย
◦ งบประมาณแผ่นดิน ( Government Budget )แผนการเกี่ยวกับการหารายได้และการใช้
จ่ายเงินตามโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล
◦ หนี้สาธารณะ ( Public Debt )เกี่ยวกับวิธีการกู้เงินของรัฐบาลประเภทเงินกู้ถือเป็ นรายรับที่
มีภาระต้องชําระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนและผลของการก่อหนี้ที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้ง
ในปัจจุบันและอนาคต
◦ นโยบายการคลัง ( Fiscal Policy )ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของ
รัฐบาลอันจะมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันและอนาคตนโยบายกาคลังเป็ นเครื่องมือ
ควบคุมและแก้ไขให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีเสถียรภาพ
5. 1.งบประมาณแผ่นดิน ( Government Budget )
งบประมาณแผ่นดิน คือ แผนการใช้เงินของรัฐบาลที่จัดทําขึ้นเพื่อแสดงรายรับ
รายจ่ายของโครงการต่างๆ ที่กําหนดไว้ในปีถัดไป
งบประมาณมีกําหนดเวลา 12 เดือน หรือ 1 ปี โดยงบประมาณที่จัดทําขึ้นในแต่ละ
ปีงบประมาณเรียกว่า งบประมาณประจําปี (annual budget) แต่ละรอบจะนับจาก 1
ตุลาคม – 30 กันยายน เช่น งบประมาณแผ่นดินปี 2563 (1 ตุลาคม 2562 – 30
กันยายน 2563)
6. นโยบายงบประมาณ
◦ งบประมาณสมดุล คือ รายได้และรายจ่ายของรัฐบาลมีจํานวนเท่ากัน
◦ งบประมาณขาดดุล คือรายได้ของรัฐบาลตํ่ากว่ารายจ่าย
◦ งบประมาณเกินดุล คือ รายได้ของรัฐบาลสูงกว่ารายจ่าย
7. ประเภทงบประมาณแผ่นดิน
1. งบประมาณรายรับ
◦ งบรายได้
◦ งบเงินกู้หรือหนี้
สาธารณะ
◦ เงินคงคลัง
2. งบประมาณรายจ่าย
• รายจ่ายเศรษฐกิจ
• รายจ่ายด้านการศึกษา
• รายจ่ายด้านสาธารณูปโภค
• รายจ่ายด้านบริการสังคม
• รายจ่ายด้านการป้องกันประเทศ
• รายจ่ายด้านการรักษาความสงบภายในประเทศ
• รายจ่ายด้านบริหารทั่วไป
• รายจ่ายด้านการชําระหนี้เงินกู้
• รายจ่ายด้านอื่นๆ
9. 2.หนี้สาธารณะ ( Public Debt )
หนี้สาธารณะ เกิดจาก การกู้โดยตรง หรือการคํ้าประกันเงินกู้ของรัฐ เรียกอีกชื่อ
ว่า หนี้ของรัฐบาล (อังกฤษ: Government debt) คือหนี้ที่ถือโดยรัฐบาลกลาง, หน่วยการ
ปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรของรัฐ รวมไปถึง รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการคํ้าประกันหนี้สิน
โดยรัฐบาล
การเกิดขึ้นของหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลก มาจากการดําเนิน
นโยบายของรัฐแบบขาดดุล หรือก็คือรายได้ของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ ทําให้ต้องมีการ
กู้เพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละรอบปีงบประมาณ
12. ผลกระทบทางเศรษฐกิจของหนี้สาธารณะ
◦ ผลกระทบต่องบประมาณรายจ่าย เป็ นภาระที่ต้องแบ่งภาษีส่วนหนึ่งชําระหนี้คืนทําให้
งบประมาณขาดดุล
◦ ผลกระทบต่อการลงทุนและตลาดการเงิน ทําให้ตลาดทุนมีเงินทุนน้อยลงอัตราดอกเบี้ยสูง
การลงทุนของธุรกิจลดลง
◦ ผลกระทบต่อภาวะดุลการค้าและอุปสงค์การกู้เงินมาเพื่อใช้จ่ายของรัฐเป็ นการเพิ่ม
ปริมาณเงินในระบบ อาจทําให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
◦ การกู้เงินจากธนาคารกลาง ทําให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นเกิดเงินเฟ้อได้
13. 3.นโยบายการคลัง
นโยบายการคลัง (Fiscal policy) คือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้และ
รายจ่ายของรัฐบาล ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษี (Tax) ประเภทต่างๆ
เช่น ภาษีสรรพาสามิต ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็ นต้น
นโยบายการคลังเป็ นเครื่องมือของรัฐบาลในการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง
หรือที่เรียกว่าการรักษเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เมื่อรัฐบาลตัดสินใจเพิ่มหรือลดภาษี ย่อม
ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ
*ยกตัวอย่างเช่น การขึ้นอัตราภาษีมีผลให้เงินสดที่อยู่ในมือเราลดลง เนื่องจากรายได้ส่วน
หนึ่งต้องนําไปจ่ายภาษีมากขึ้น เงินที่เหลือจะใช้จ่ายก็จะลดลง ทําให้เศรษฐกิจชะลอตัว
14. นโยบายการคลังสามารถแบ่งได้เป็ น 2 ประเภท
◦ นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy)
การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ เรียกว่า “งบประมาณขาดดุล”
(deficit budget) ใช้เมื่อเศรษฐกิจถดถอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่ออัดฉีดเงินเข้า
ระบบเศรษฐกิจ
◦ นโยบายการคลังแบบหดตัว (contractionary fiscal policy)
การที่รัฐบาลจ่ายน้อยกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้เรียกว่า “งบประมาณเกินดุล ”
(surplus budget) ใช้เมื่อเกิดปัญหาเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ เพื่อดูดเงินออกจาก
ระบบเศรษฐกิจ
20. อัตราภาษี
◦ อัตราคงที่ เช่น ภาษีการค้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร
◦ อัตราก้าวหน้า เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งการเก็บตามอัตรานี้ได้รับการยกย่องว่า
ให้ความเป็ นธรรมแก่ประชาชน
◦ อัตราภาษีถอยหลัง เช่น ภาษีบํารุงท้องที่ ซึ่งมีลักษณะที่ถดถอย กล่าวคือยิ่งที่ดินมีราคา
ต่อไร่สูง จะเสียอัตราภาษีตํ่ากว่าที่ดินที่มีราคาต่อไร่สูง
*รัฐอาจเก็บภาษีแบบเหมาจ่าย (Lump Sum Taxes) เป็ นการเก็บภาษีล่วงหน้าไว้
จํานวนหนึ่งโดยไม่กําหนดจากรายได้
21. รายจ่ายของรัฐบาล
◦ รายจ่ายประจํา เช่น เงินเดือน สวัสดิการต่างๆ ,
ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคและบริการ
◦ รายจ่ายเพื่อการลงทุน เช่น การสร ้างโครงสร ้าง
พื้นฐาน การลงทุนรัฐพาณิชย์โครงการต่างๆของ
รัฐตามนโยบายรัฐบาล
◦ รายจ่ายเพื่อชําระหนี้ เช่น หนี้จากการกู้ยืม การ
ซื้อพันธบัตรคืน การคืนเงินคงคลัง
Ga
G
Y
0
24. เครื่องมือนโยบายการคลัง
1. ค่าใช้จ่ายรัฐบาล คือ เมื่อเงินเฟ้อ รัฐงดค่าใช้จ่าย เพื่อลดปริมาณเงินหมุนเวียนใน
ระบบ
2. รายได้รัฐบาล คือ เก็บภาษีเพิ่มเมื่อต้องการลดปริมาณเงินในระบบ
3. หนี้สาธารณะ คือ ก่อหนี้เพิ่มเพื่อนําเงินมาใช้จ่าย เป็ นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ
4. งบประมาณแผ่นดิน คือ ตัดสินใจใช้งบประมาณเกินดุลแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
26. งานกลุ่ม
◦ แบ่งเป็ น 4 กลุ่ม (ห้องละ 2 กลุ่ม)
◦ ค้นหาข้อมูลการใช้นโยบายการคลังที่ผ่านมาของรัฐบาลไทย มา 1 เหตุการณ์
◦ นําเสนอ หัวข้อ “นโยบายการคลังที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ” โดยตัวแทนกลุ่ม
หน้าชั้นเรียน พร ้อมตอบข้อสักถามของอาจารย์และเพื่อนๆ ในคาบต่อไป